แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พวกเราทุกคนจะเข้าใจเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย และจะทำหน้าที่เพื่อความดี ความจริง ความถูกต้อง ความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อเงิน หรือ ความมีชื่อเสียง เงินและชื่อเสียงจะกลับมาหาตัวเราเองในภายหลังถ้าเราตั้งใจทำความดี โดยปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีความรู้ มีสติปัญญาให้ครบถ้วนและถูกต้องมีสติรู้กาละเทศะว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เท่าไร และเมื่อไร โดยเราสามารถวัดได้จากความสุข ความสงบ ความพอใจในตนเอง ไม่เกรงกลัวต่อความตาย เมื่อเราทำความดี ความจริงเป็นสิ่งยึดถือ ก็ไม่ต้องเกรงกลัวต่อความตาย ถ้ายังกลัวก็แสดงว่าาเรายังไม่แน่ใจในการทำความดีของเราหรือยังทำความดีได้ไม่เพียงพอ ถ้าคนดียังกลัวตาย ยังมีปัญหา ยังมีความทุกข์ ยังนอนไม่ค่อยหลับ จงแก้ไขให้มีความมั่นใจว่าเราตายในความดี ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องอื่นๆ แล้วจะทำให้เราสามารถนอนหลับได้สบาย นี้แหละคือความดี เป็นเครื่องวัดลักษณะความหมายของสิ่งที่เรียกว่าความดีที่มนุษย์ควรจะได้รับ เอาล่ะ เรามีเวลาจำกัดเดี๋ยวจะล่วงเลยเวลาไปเสียก่อนจึงขอสรุปเรื่องก่อนว่าคือ"ดี" คำเดียว แต่ต้องดีจริง ไม่ใช่ดีจอมปลอม ดีจริงคือถูกต้องและมีประโยชน์ ไม่มีใครเดือดร้อนเพราะความดี นั่นแหละคือดีจริง ดังนั้นความดีจึงมีอำนาจสูงสุดเหนือสิ่งใด เป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพระเจ้าในศาสนาทุกศาสนา เป็นทุกอย่างของสิ่งที่ดี ไม่มีอะไรดีไปกว่าความดี เหล่านี้คือพูดตามแบบภาษาชาวบ้าน ตามภาษาทางโลกที่เรียกกันว่า" ความดี" คือความจริง ความถูกต้อง เป็นสิ่งที่จะมีแต่ด้านประโยชน์เพียงด้านเดียว หาสิ่งที่เป็นโทษไม่ได้ ขอให้มีความผูกพัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือเป็นความดีร่วมกัน ร่วมกันทำความดีเท่านั้น จะมีจำนวนกี่ร้อยคน กี่พันคน กี่ล้านคน กี่ร้อยล้านคน ก็ตามใจ ให้มีความผูกพันกัน มีความดีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น โลกนี้ก็จะมีความสุข ดังนั้นพวกเราก็จะมีความสุข ถ้าคนอื่นไม่เห็นด้วย แต่พวกเราทำ พวกเราก็มีความสุข คือกลุ่มที่ยึดถือความดีเป็นหลักก็จะมีความสุข ความตายก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้ ความเจ็บปวด ความตายก็ทำอะไรเราไม่ได้ อย่าไปให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ ให้อยู่กับความดี แม้ชีวิตจะดับไป ก็ปล่อยให้ดับไป มีชีวิตอยู่ ก็อยู่ไป ไม่มีความทุกข์ ชีวิตต้องเป็นไปตามกรรมที่ได้ทำไว้ เช่น อายุจะยืนยาวหรือ สั้น หรือปานกลาง ก็เป็นไปตามกรรม ไม่ต้องเสียใจหรือ ไม่ต้องดีใจ เพราะต้องเป็นไปตามกรรม แต่เราไม่ทุกข์เท่านั้น หัวใจของเราก็ไม่ทุกข์เช่นกัน นี้แหละคือ ดี ความดีที่เราได้กระทำมาแล้วในอดีต ขอให้พอใจในความดีที่เราได้ทำ แต่ถ้าเป็นความชั่วขอให้หยุดการกระทำนั้น ยกเลิกความคิดเหล่านั้น สิ่งที่ผิด สิ่งที่เป็นความชั่ว สิ่งที่ไม่ดี ขอให้ยกเลิก อย่ากระทำอีกเลย ถ้ายังฝืนที่จะกระทำ ก็จะทำลายความดี จะตัดทอนความดี จะมีปัญหายุ่งยากตามมาในภายหลัง จึงขอให้หยุดการกระทำนั้นๆ มุ่งทำแต่ความดีเท่านั้นเอง ทุกอย่างก็จะจบลง เพราะฉะนั้นความดีมีอำนาจเหนือสิ่งใด ๆ เรานำมาเป็นที่พึ่งได้ ขอให้ความดีที่กระทำมาแล้วในอดีต และความดีที่จะกระทำต่อไป จงเป็นเครื่องคุ้มครองทุก ๆ ท่าน ให้สามารถครองตนอยู่ในความดี มีความสุข ความเจริญในความดี ตลอดกาลเทอญ
(กล่าวบูชาพระรัตนตรัย)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว,
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งหมู่พระสงฆะเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
(คำอาราธนาศีล ๕)
มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(คำนมัสการ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(กล่าวซ้ำ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (กล่าวซ้ำ)
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ(กล่าวซ้ำ)
(ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าวว่า) ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง (ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า)
"อามะ ภันเต"
(พระท่านนำกล่าวสมาทานต่อไปว่า.-)
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,(กล่าวซ้ำ)
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,(กล่าวซ้ำ)
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,(กล่าวซ้ำ)
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,(กล่าวซ้ำ)
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ (กล่าวซ้ำ)
อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ, สะมาทิยามิ (กล่าวซ้ำ)
(ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าว ผู้รับศีลไม่ต้องว่าตาม)
อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ,
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา,
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย.
(ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า) "สาธุ ภันเต"
(นั่งลงและให้พนมมือ และตั้งใจพัง)
ขอโอกาสทุกๆคน ชาวบ้าน ทั้งหญิงและชาย ขอให้อยู่กันอย่างสงบ ถ้าอยากจะได้รับผลบุญมาก ต้องเข้าใจในสิ่งที่จะกระทำ (ย้ำ) ต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนได้กระทำ จึงจะได้รับผลบุญมาก คือ เข้าใจ พอใจ รู้สึกยินดี ปราโมทย์จะได้รับผลบุญมากขอให้ทุกคนตั้งใจฟัง เข้าใจและสนใจไปด้วยกัน ร่วมมือกันอธิษฐานให้สำเร็จประโยชน์ ให้ลูกหลานได้บวชเป็นอย่างดี จึงขอให้ทุกคนสงบชั่วขณะในเวลานี้
ต่อไปนี้ เจ้านาคทุก ๆ คนให้ตั้งใจฟังเป็นพิเศษ เพราะการบวช เราบวชด้วยใจ สิ่งสำคัญอยู่ที่จิตใจ อย่านั่งละเมอ ใจลอยปล่อยให้พิธีการเสร็จสิ้นไปโดยไม่ใส่ใจ ต้องมีความเข้าใจ ต้องให้ความสนใจไปด้วยกัน คำที่จะพูดทุก ๆคำ ทุก ๆตอน เราจะขอให้กล่าวคำขอบรรพชาทีละคนเพื่อความถูกต้องเรียบร้อย ชัดเจน ต่างคนก็ต่างมาจากสถานที่ต่างกัน และในเวลาอันสั้นจึงไม่มีเวลาซ้อมให้พร้อมเพรียงกันได้ในจำนวนหลายคน จึงขอให้กล่าวทีละคน ไม่ใช่จะกล่าวผิดบ้าง ถูกบ้าง กล่าวบ้าง ไม่กล่าวบ้าง กล่าวบางคำ ไม่กล่าวบางคำ ลักษณะเช่นนี้ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องยอมเสียเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อให้กล่าวทีละคน ให้ครบถ้วนทุกคำถึงแม้จะไม่ไพเราะ แต่ขอให้ได้กล่าวครบถ้วนทุกคำ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักภาษาบาลี บางคนอาจรู้จักภาษาบาลีได้ บางคนอาจไม่รู้ บางคนอาจสนใจ แต่ที่จำเป็นต้องรู้คำแปลที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ เป็นต้น ท่อง 3 จบแรกที่ขึ้นต้นว่า เอสาหํ ภนฺเต นั้นเป็นการประกาศตัวเราว่าเรานับถือพระพุทธเจ้าแม้จะเสด็จปรินิพพานมานานแล้ว ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ และปรารถนาจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้น ให้กล่าว 3 ครั้ง ถ้าก่อนหน้านี้ยังไม่ได้ตระหนัก ก็ให้เริ่มตอนนี้เลย ว่าคำภาษาบาลีที่กล่าวไปแล้วนั้น มีความหมายเช่นนี้ ต้องรู้ความหมาย ต้องรับรู้ใว้ในใจ อย่าสักแต่ท่องเหมือนนกแก้ว นกขุนทอง และ 3 รอบหลังเป็นการขอบรรพชาโดยตรง ขอวิงวอนให้ทำการบรรพชาด้วยผ้าไตร (สากกายะ)เหล่านี้ด้วยความเมตตา ให้เป็นไปตามคำกล่าวที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ตลอดเวลา หลังจากนั้นก็ขอให้ตั้งปณิภาณในใจต่อไปว่าเวลานี้คือเวลาปฏิบัติจริง ขณะนี้คือการปฏิบัติจริง เพื่อการบวชจริง ๆ เป็นการเรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง เราได้กล่าวคำเป็นภาษาบาลี เป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าเพื่อขอสิ่งสูงสุดคือการบรรพชาในท่ามกลางผู้คน พระสงฆ์ทั้งหลายซึ่งประชุมกันในนามพระพุทธเจ้าเป็นสังคมศักดิ์สิทธิ์สูงสุด และเป็นการประกอบพิธีในพัทธสีมา ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระศาสนาโดยตรง ซึ่งเป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นให้ปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ใจโลเลแม้แต่น้อย ต้องตระหนักว่าเป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ให้ลึกไปในจิตใจ ให้ทุกอย่างสำเร็จลุล่วงถึงที่สุด ห้ามมีการพูดเล่นแม้แต่น้อย และจิตใจก็ต้องตระหนักสอดคล้องกับสิ่งที่กล่าวออกไป และกริยาท่าทางที่แสดงออกมาก็ถูกต้องทุกอย่าง เป็นการขอบรรพชาด้วย กาย วาจา ใจ ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ท่ามกลางพระสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ขอสิ่งที่ประเสริฐ ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดคือการบรรพชา ขอให้รับฟังต่อไปว่าการบรรพชาคืออะไร ถ้าเราขอในสิ่งที่เราไม่รู้ว่าคืออะไร เราจะกลายเป็นคนละเมอ บางครั้งอาจเป็นคนบ้าๆ บอๆ เราต้องรู้ว่าเรากำลังขออะไร และเรากำลังขอบรรพชา และบรรพชาคืออะไร จะสักแต่กล่าวออกมาว่าบรรพชานั้น ไม่สมควร สิ่งที่เรียกว่าบรรพชาคือ ระเบียบ ปฏิบัติ ที่มีการจัดใว้อย่างเป็นระเบียบที่ดีมาก พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ เราต้องรับไว้เพื่อนำไปปฏิบัติ นั้นจึงหมายถึงการบรรพชา โดยใจความสำคัญ บรรพชาหรือคำว่าบวช แปลว่า ไปหมด ละเว้นหมด ไปหมดคือหมดไปจากการเป็นฆราวาส ต่อไปนี้ต้องสลัดความเป็นฆราวาสอย่างสิ้นเชิง เช่น ต้องไม่นุ่งห่มตามแบบฆราวาส จะไม่พูดจาตามแบบฆราวาสอีกต่อไป จะไม่มีกริยาอาการตามแบบฆราวาสอีกต่อไป จะไม่กินอยู่อย่างฆราวาสอีกต่อไป จะไม่มีความคิดนึกหรือความใฝ่ฝันตามแบบฆราวาสอีกต่อไป จะไม่ถือว่าเป็นผู้มีบ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ แม้กระทั่งญาติ คำว่าบรรพชานี้ต้องสละญาติ บิดา มารดา เป็นต้น ออกจากเรือน สละเรือนออกไป เราจึงเรียกว่าบรรพชา ตัวอักษรเป็นเช่นนี้ ความหมายก็เป็นเช่นนั้น คือไปหมดจากความเป็นฆราวาส ขณะนี้เรากำลังแสดงตัวเป็นผู้ขอบรรพชา ขอระเบียบข้อนี้ก็จะหมดจากความเป็นฆราวาส ละเว้นทุกอย่างในสิ่งที่ควรละเว้น สิกขาวินัยมีใว้สำหรับพระภิกษุ จะพึงละเว้นอย่างไรก็ต้องเว้นหมดจึงเรียกว่าบรรพชา สิกขาวินัยทั้งหมดนี้ย่อมช่วยในการขัดเกลา ดังนั้นจงแน่ใจตั้งแต่บัดนี้ว่าต้องรับการขัดเกลา อย่าได้คิดว่าจะหาทางพักผ่อน สบาย มีบางคนเอาเปรียบ บวชเพื่อการพักผ่อน หยอกเล่นกัน กลุ่มข้าราชการลาบวชได้เป็นระยะยาวเป็นเดือน ก็มีการเล่นหัวกันในระหว่างบวชซึ่งเป็นเรื่องเลวร้ายจริง ๆเราต้องได้บรรพชาตามความมุ่งหมายการบรรพชาขอมาปฏิบัติด้วยการ บวชจริง เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง ให้ได้ผลจริง สิ่งต่างๆต้องลืมให้หมด นอกจากมีความจริงในการบรรพชา ดังนั้นต้องสละความสนุกสนาน ความสบาย การตามใจตนเอง แม้การหยอกเย้าเล่นหัวกับพื่อนก็ต้องสละ จึงจะเป็นบรรพชา สิ่งนี้เรียกว่าสัลเลขธรรม เป็นเครื่องขัดเกลารับความเจ็บปวด ขอให้สมัครใจ ทนรับความเจ็บปวดในเวลานี้ หมายความว่า ถ้าการปฏิบัตืสิกขาวินัยอย่างแท้จริงต้องมีความอดทน นี้แหละคือความเจ็บปวด บางครั้งต้องอดทนจนน้ำตาไหล มีความต้องการจะทำอย่างนั้น จะทำอย่างนี้ เรียกว่ากิเลศครอบงำ หรือแม้แต่มีความอยากทานอาหารตามความเคยชิน ความหิวไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ต้องอดทน แม้ว่าน้ำตาไหลก็ต้องอดทน เพื่อไม่ให้การบรรพชาเสียหาย อาการเช่นนี้เรียกว่า การประพฤติพรมจรรย์ด้วยน้ำตา บำเพ็ญพรมจรรย์ด้วยน้ำตา ฟังง่าย ๆ เข้าใจได้ง่ายๆ หมายถึงจะไม่ยอมให้เกิดความเสียหายต่อพรมจรรย์แม้ต้องเสียน้ำตาการบรรพชา ถือเป็นผู้รักษาสิกขาวินัยได้บริสุทธิ์หมดจดได้อย่างสิ้นเชิง ในภาษาบาลีเปรียบเทียบไว้กับสังข์ เป็นหอยสังข์ซึ่งขัดเกลาดีแล้ว จะประพฤติพรมจรรย์ในฆราวาสให้บริสุทธิ์ไม่ได้ จึงมาบวชเพื่อว่าจะประพฤติพรรมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์เหมือนหอยสังข์ที่ถูกขัดเกลาดีแล้ว แล้วเราก็ได้ก้าวเข้ามาในระเบียบนี้ มีความมุ่งหมายเช่นนี้ และบรรพชาเช่นนี้ จึงขอให้มีจิตใจแน่วแน่ 100% ไม่มีช่องเหลือไว้สำหรับการลังเล เหลวไหล เหลาะแหละ เล่นหัวกันอีกต่อไป ยอมทนแม้ว่าจะต้องถึงกับน้ำตาไหลก็ยอมทน ตามปกติไม่ต้องถึงกับน้ำตาไหล แต่พูดเตือนไว้สำหรับบางคนที่อดทนจนถึงกับน้ำตาไหล ก็ต้องทน ไม่เสียทีที่มาขอบรรพชา นี้แหละคือการบรรพชา เพราะว่าระเบียบที่ใช้ขูดเกลากิเลศ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ต้องถือมั่นอย่างบริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้วนั่นต้องประกอบไปด้วยความอดทน ดังนั้นขอให้ตั้งใจไว้เลยว่าเราจะอดทน ไม่ยอมให้เสียหายโดยเด็ดขาดในส่วนของพรมจรรย์ นี้แหละคือการขอบรรพชา เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา ที่กล่าวว่า อะหัง ภันเต , ปัพพัชชัง ยาจามิ คือขอสิ่งนี้ ขอสิ่งที่เราต้องเอาไปปฏิบัติ เพื่อความอดทน ความสามารถ
จะกล่าวถึงข้อถัดไปคือ ประโยชน์หรืออานิสงฆ์ของการบรรพชา อานิสงฆ์ของการบรรพชานี้มีมากมายจนไม่สามารถจะกล่าวได้ครบถ้วน ไม่สามารถพูดรายละเอียดได้หมดจึงไม่อยากอ้างถึง พูดถึงแต่โดยสรุปเป็นใจความโดยย่อๆ 3 ประการ หรือ 3 ประเภท ตัวเรานี้เมื่อบวชแล้วต้องให้ได้อานิสงฆ์อย่างน้อย 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 อานิสงฆ์ที่ตัวเราผู้บวชจะได้แก่ตัวเอง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เราบวชนี้คือ ขอบรรพชา ขอปฏิบัติตนในสมณะบรรพชาประพฤติพรมจรรย์ให้ดี ให้เต็มความสามารถ เราจะได้อานิสงฆ์เช่นนี้ คือได้จิตใจใหม่ ร่างกายใหม่ ได้ชีวิตใหม่ ได้พบธรรมะสูงสุดคือ ความสะอาด สว่าง สงบซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับมนุษย์ และสูงสุดในพระพุทธศาสนา เมื่อเราได้สิ่งนี้ ก็กล่าวได้ว่าไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้พบพระพุทธศาสนา สิ่งเหล่านี้เราต้องบวชจริง เรียนจริง และปฏิบัติจริง แล้วจะได้จริง ๆ ถ้าคาดหวังสิ่งอื่น ก็ยากจะได้ เมื่อเราได้สิ่งนี้แล้ว ก็สามารถพูดได้ว่า เราได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ ไม่มีอะไรที่มีคุณค่ามากไปกว่านี้อีกแล้ว อยู่ในสมณะบรรพชิตต่อไป ก็จะใช้ชีวิตตามแแบบบรรพชิต เมื่อสึกออกไปเป็นฆราวาส ก็ต้องเป็นฆราวาสที่ดี ที่มีธรรมะ ที่มีหัวใจของพระพุทธศาสนาติดตัวตลอดไป จึงได้อานิสงฆ์ต่อผู้ที่ได้บวชต่อไป หรือผู้ที่จะสึกก็ตาม
ประเภทที่ 2 เป็นเรื่องบวชแทนพระคุณบิดามารดา และผู้มีพระคุณทุกท่านไม่ว่าผู้ใด ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า บวชทดแทนพระคุณบิดามารดา เรื่องตอบแทนบุญคุณ ความหมายของการกตัญญูกตเวที เป็นมนุษย์ต้องมีความกตัญญูกตเวที ถ้าไม่มีความกตัญญูกตเวที ก็จะหมดความเป็นมนุษย์ จะกลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่เพราะว่าเราเกิดมาจากบิดามารดา เกิดมาเองไม่ได้ ไม่ได้เกิดมาจากโพรงไม้ ชีวิตนี้ได้มาจากบิดามารดา แต่คนหนุ่ม ๆส่วนใหญ่ก็จะลืม ลืมไปว่าชีวิตทั้งหมดนี้ได้มาจากบิดามารดา เคยทำให้บิดามารดาน้ำตาไหลก็มี โดยไม่รู้สึกถึงบุญคุณ ลืม ไม่รับรู้ โง่เกินไปที่จะคิดถึง ถ้าคิดสักนิดว่าชีวิตทั้งหมดได้มาจากบิดามารดา เพราะฉะนั้นจงคิดเสมอว่า ร่างกายเราทั้งหมดเป็นของบิดามารดา ไม่ใช่เป็นของเรา ต้องให้เป็นของบิดามารดาก่อน และเมื่อบิดามารดามีความต้องการอย่างไรจึงจะทำเช่นนั้น และบิดามารดาก็อยากให้เราเป็นคนดี มีความสุข ในที่สุดก็คือเข้าใจกันได้ ยอมรับกันได้ระหว่างความต้องการของเรากับความต้องการของบิดามารดา โดยเราจะต้องมอบกาย ชีวิต จิตใจ ให้บิดามารดา ท่านต้องการอย่างไร เราก็มอบให้ท่านได้เลย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่ามีความกตัญญูกตเวที การจะตอบแทนบิดามารดามีคำกล่าวไว้ว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่าการบรรพชา อุปสมบท เพราะว่า การบรรพชา อุปสมบทของลูกหลานนั้น ทำให้บิดามารดาใกล้ชิดในพระศาสนายิ่งขึ้น เราจึงสมควรมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบิดามารดา แม้ว่าเราจะมอบเงิน มอบสิ่งของ บำรุงบำเรอหรือสิ่งอื่น ๆ ก็เป็นการทดแทนพระคุณบิดามารดาเหมือนกัน แต่ยังไม่ใช่สิ่งมีค่าสูงสุด ไม่ใช่สิ่งสูงสุดเพียงพอที่จะทำให้บิดามารดาใกล้ชิดในพระศาสนายิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนั้นถ้าเธอทุกคน บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริงแล้ว บิดามารดาได้ไกล้ชิดในพระศาสนา มีความเกั่ยวพันในพระศาสนา ได้ไกล้กับนิพพานมากขึ้นเท่านั้น เพราะว่า บิดามารดาจะได้มีความปิติ ปราโมทย์ในพระศาสนามากขึ้น จะมีศรัทธามากขึ้น จะมีสัมมาฐิติในพระศาสนามากขึ้น บิดามารดาก็จะปลอดภัย เอาตัวรอดพ้นจากอบายมุข ปลอดภัยจากทุกอย่างที่จะเป็นอันตราย พ้นจากความทุกข์ เราจึงถือว่า การตอบแทนพระคุณบิดามารดา ด้วยการบรรพชา อุปสมบทนี้ เป็นการตอบแทนอย่างสูงสุด ยิ่งกว่าการให้เงิน สิ่งของ เป็นต้น เราก็อย่าทำให้เป็นการกระทำที่เสียเวลาในช่วงดังกล่าว เราต้องให้ได้บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริงแล้วเป็นการตอบแทนบิดามารดาได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าอานิสงฆ์ประเภทที่ 2 เป็นเรื่องบวชแทนพระคุณบิดามารดา และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ประเภทที่ 3 การบวชของเราเป็นการบวชเพื่อสืบทอดพระศาสนา ศาสนายังคงมีอยู่ได้เพราะมีคนสืบทอด เพราะการบวช 3 เดือนหรือ 4 เดือน ก็เป็นการสืบทอด 3 เดือน 4 เดือน และส่งมอบต่อผู้อื่นต่อไป มีการสืบทอด ค่อย ๆทำกันไปอย่างนี้ ศาสนาจึงยังคงอยู่ได้ไม่หายไป และมีอยู่จนเราได้บวชในศาสนา เราต้องขอบใจต่อคนรุ่นก่อนทีได้มีการสืบทอดศาสนากันมาจนถึงเรา และเราก้ได้บวช ดังนั้นเราก็ได้มีการสืบทอดศาสนาต่อไป ดังนั้นอย่าบวชเพื่อทำลายศาสนาเลย ถ้าบวชมาแล้ว ทำไม่ดี ปฏิบัติไม่ดี ก็เป็นการทำงานศาสนาให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ไม่สืบทอดพระศาสนาเลย เราจึงต้องบวชเพื่อสืบทอดพระศาสนาโดยการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ศาสนานั้นยังคงมีอยู่ได้เพราะมีผู้เรียน และมีผู้ปฏิบัติ และมีผู้ได้รับผลของการปฏิบัติเป็นปฏิเวทศาสนา เมื่อมีครบทั้ง 3 อย่างนี้ เราเรียกว่าศาสนามีชีวิต ยังมีอยู่ ยังไม่สูญสิ้นไป ดังนั้นเธอจงตั้งใจ ให้บวชจริง เรียนจริง ได้ผลจริง และเป็นการบวชเพื่อสืบทอดพระศาสนาแล้วเราจะได้รับบุญมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทำให้ศาสนาไม่หายสาบสูญไป เราช่วยกันทำไห้ศาสนายังคงมีอยู่ คนอื่นๆในภายหลังจะได้บวชต่อ ๆ กันไปอีก เหมือนกับที่เราได้บวชเวลานี้ และอีกประการหนึ่งซึ่งสำคัญที่สุดสูงสุดของที่สุดนั้นคือว่า เราทำให้ศาสนายังคงมีอยู่ในโลก เพราะเราบวชจึงทำให้มีศาสนาอยู่ในโลก เมือ่มีศาสนาอยู่ในโลก คนทั้งโลกย่อมได้รับประโยชน์จากศาสนา ทำให้เราได้รับบุญเป็นผลพลอยได้ เราได้ทำดี ทำกุศลให้แก่คนทั้งโลก ถ้าเรานึกถึงสิ่งเหล่านี้แล้วจะทำให้เราทนได้ แม้จะต้องประพฤติพรรมจรรย์ด้วยน้ำตา เราก็ทนได้ ทนเพื่อคนทั้งโลกจะได้มีความสุข เราอย่าเป็นบรรพชิตที่เกเรเหลวไหล จงเป็นบรรพชิตที่แท้จริง บวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา ได้ประโยชน์ อานิสงฆ์แก่ตัวเองด้วย แก่บิดามารดาด้วย แก่คนทั้งโลกด้วย แก่ศาสนาเองด้วย จึงขอให้มีความตั้งใจในส่วนของอานิสงฆ์นี้ เก็บไว้ในใจ ตลอดวัน ตลอดคืน อย่ามัวแต่เหลวไหล เหลาะแหละ หัวเราะเล่นหัวกันอย่างที่ผ่านมา นี้แหละเรียกว่าอานิสงฆ์ของบรรพชาควรจะรับรู้เสียตั้งแต่บัดนี้ จะได้เกิดกำลังใจในการประพฤติพรมจรรย์ บรรพชา
เรื่องที่จะพูดต่อไปคือ เรื่องที่ตั้งที่อยู่อาศัยของบรรพชา วัตถุที่ตั้งที่อยู่อาศัยของบรรพชา คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า เขาเรียกว่า พระรัตนตรัยนี้คือวัตถุที่อาศัยของบรรพชา พูดเพียงแค่นี้อาจไม่เข้าใจ ต้องพูดให้ชัดเจนคือ ต้องมีหัวใจเป็นพระพุทธ เป็นพระธรรม เป็นพระสงฆ์บรรพชาของเราจึงจะมีที่ตั้ง ที่อาศัย เราต้องมีหัวใจเป็นชาวบ้านเหมือนเดิม ถ้าไม่มีที่ตั้ง ที่อาศัย ก็จะล้มละลายหมด หัวใจของพระพุทธเจ้าคือ สะอาด สว่าง สงบ หัวใจของพระธรรมคือ ความสะอาด สว่าง สงบหัวใจของพระสงฆ์คือ ความสะอาด สว่าง สงบ สะอาดคือ ไม่มีความผิด ความชั่ว ความลับ ความเลวใด ๆ สว่างคือ รู้แจ้ง เข้าใจถูกต้องในเรื่องความจริงของธรรมะทั้งปวง สงบคือ เย็น ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน มีความสะอาด สว่าง สงบ นี้เป็นหัวใจ หรือเป็นแกนของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราจงทำจิตใจให้มีความสะอาด สว่าง สงบ แล้วพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะมาอยู่ในจิตใจของเราพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นแล เป็นที่ตั้ง ที่อาศัยของบรรพชาของเรา บรรพชาของเราก็จะเจริญงอกงามดีเหมือนต้นไม้ได้แผ่นดินเป็นที่ตั้ง ที่อาศัยดี ได้น้ำ ได้อาหาร ได้อากาศดี เราย่อมเจริญงอกงาม จึงขอให้เราพยายามอดทน อดกลั้นให้มีแผ่นดินที่ดีอยู่ในหัวใจคือ มีคุณธรรม เป็นความสะอาด สว่าง สงบอยู่ในใจ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในใจ เพราะว่าเราบวชนี้เป็นการอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และหัวใจของเราก็จะเป็นแผ่นดินที่ดีสำหรับเป็นที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชา จงทำความเข้าให้ชัดเจนในข้อนี้ และปักใจ แน่วแน่ มั่นคงที่จะทำตามนี้ ดังนั้นก็ถือว่าสิ้นสุดสำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับการบรรพชา เธอก็ได้รู้แล้วว่าบรรพชาคืออะไร อานิสงฆ์ของบรรพชาคืออะไร วัตถุที่ตั้ง ที่อาศัยของบรรพชาคืออะไร จึงเป็นการสมควรแล้วแก่การขอบรรพชา และให้บรรพชา จากนี้ก็เป็นเรื่องการให้บรรพชาตามระเบียบที่ท่านได้วางไว้คือ ตจปัญจกกรรมฐาน เรื่อง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง 5 อย่างนี้เขาเรียกว่า ตจปัญจกกรรมฐาน สำหรับเป็นเครื่องชำระจิตใจของฆราวาสให้มีความเกลี้ยงเกลา สะอาด เพียงพอที่จะนุ่งห่มผ้าสากกายะในบัดนี้ ผ้าสากกายะหรือผ้าไตรนี้ เขาเรียกว่าธงชัยของพระอรหันต์ เป็นสัญญลักษ์ เครื่องหมายของพระอรหันต์ ถ้าเราจะเอามาห่ม มานุ่งโดยที่ไม่มีคุณสมบัติถูกต้อง เหมาะสม ย่อมเป็นบาป ดังนั้นเราต้องทำจิตใจของเราให้มีความเหมาะสม ที่จะนุ่งห่มผ้าสากกายะเหล่านี้ แล้วจะเอาธงชัยของพระอรหันต์มาห่ม มานุ่ง จะได้ไม่บาป แต่จะเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูลตลอดกาลนานได้ ถ้ายังมีจิตใจเหมือนชาวบ้าน ก็ยังไม่เหมาะที่จะนุ่งห่มผ้าสากกายะ ถ้ายังมีจิตใจเหมือนชาวบ้าน ก็หมายความว่า ยังมีจิตใจที่รักสวย รักงาม เมื่อช่วงเช้ายังมีการแต่งตัวเหมือนฆราวาสยังมีความสวยงามของร่างกาย แต่ขณะนี้เราโกนหัวแล้ว เรากำลังเตรียมตัวจะบวชแล้ว ดังนั้นต้องสลัดการกระทำเหล่านั้น และสลัดความรู้สึกแบบนั้น แต่ก็กลัวว่าจะคงมีค้างอยู่ในใจในเรื่องความสวย ความงาม ท่านจึงมีบัญญัติว่าให้มีการสอนปฏิกูลและสัญญา ตจปัญจกกรรมฐาน 5 ประการนี้เรื่อง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เรื่องที่ 1 คือ ผม ภาษาบาลีเรียกว่า เกศา เราเคยทำให้สวย ให้หอม ให้ยั่วยวน ด้วยความโง่ว่าสามารถหลอกคนอื่นได้ ให้มารักเรา และเราก็ชอบสวย ชอบงาม ขณะนี้เราก็สลัดทิ้งไปแล้ว โดยพิจารณาเห็นด้วยความเป็นปฏิกูล เพราะเส้นผมนั้น มีรูปร่างน่าเกลียด ปฏิกูลคือเป็นเส้นยาว ๆ มีสีสัน วรรณะ น่าเกลียด จะมีสีดำหรือขาว อย่างไรก็ตามนั้น สีก็น่าเกลียด และมีกลิ่นโดยธรรมชาติก็น่าเกลียด ปฏิกูลที่เกิด ที่งอกขึ้นมาบนหนังศรีษะก็น่าเกลียด และปฏิกูล หน้าที่การงานของผมบนศรีษะสำหรับรับฝุ่นละอองก็เป็นปฏิกูลที่น่าเกลียด ปฏิกูล จึงถือว่าเส้นผมมีความเป็นปฏิกูล โดยรูปร่างก็เป็นปฏิกูล โดยสีสัน วรรณะก็เป็นปฏิกูล โดยกลิ่นก็เป็นปฏิกูล โดยที่เกิด ที่ตั้งก็เป็นปฏิกูล หน้าที่การงานของมันก็เป็นปฏิกูล แต่เรามาลุ่มหลง มาทำให้สวย มาทำให้งาม ทั้งหญิงและชายเพื่อความโง่ซึ่งกันและกัน จะได้หลงใหลในสิ่งสวยงาม เมื่อเป็นฆราวาส ก็ตามใจ เราไม่พูด แต่บัดนี้มาเป็นบรรพชิต มาบรรพชาแล้วต้องพูดอย่างเด็ดขาดว่า ต้องล้างความโง่นั้นโดยสิ้นเชิง ไม่มีความหวังว่าผมจะสวย หรือ อะไรก็ตามจะยังคงสวยได้อีกต่อไป
เรื่องที่ 2 คือขน ภาษาบาลีเรียกว่าโลมา เราพึงพิจารณาว่าเป็นสิ่งปฏิกูลเหมือนกันกับผม แตกต่างจากผมมีเพียงเรื่อง ศรีษะ ขนมีอยู่ตามตัว ทั่วๆ ไป พิจารณาด้วยความเป็นปฏิกูลที่เหมือนกัน ว่ารูปร่างก็เป็นปฏิกูล สีสัน วรรณะก็เป็นปฏิกูล กลิ่นก็เป็นปฏิกูล ทีเกิดที่งอกตามผิวหนังก็เป็นปฏิกูล ที่รับฝุ่นละอองไปทั่วทั้งร่างกาย มันก็เป็นเรื่องปฏิกูล เมื่อขนมีอยู่ทั่วไปทั้งตัว ปฏิกูลทั่วทั้งตัว ก็ต้องถือว่าเป็นสิ่งปฏิกูล เราหยุดสวย หยุดงาม หยุดสวย หยุดนิ่มนวล กันเสียที เพราะมันไม่มีความเป็นฆราวาสหลงเหลืออยู่อีกแล้ว
เรื่องที่ 3 คือเล็บ ภาษาบาลีเรียกว่า นขา สิ่งที่เรียกว่าเล็บนี้นั้น เป็นที่ตั้ง ที่ประดับตกแต่งมายาวนานหลายพันปี หลายพุทธกาลตามที่ได้อ่านเจอในพระคัมภีร์ในเรื่องราวของเขา ก่อนพุทธกาลมีมนุษย์รู้จักการแต่งเล็บให้สวยมาก่อนแล้ว มิใช่เพิ่งแต่งกันในเวลานี้ วัตถุที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงมีความสวย ความงามเหล่านี้นั้น เราก็ต้องมาพิจารณาว่าด้วยความเป็นสิ่งปฏิกูล นั้นคือ เล็บ รูปร่างของเล็บก็น่าเกลียด สิสันวรรณะของเล็บก็น่าเกลียด กลิ่นของเล็บก็น่าเกลียด ที่เกิด ที่งอก ก็น่าเกลียด หน้าที่ของเล็บก็คือการเกาก็น่าเกลียด ไม่มีสิ่งต้องหลงใหลเกี่ยวกับความงาม เกี่ยวกับเล็บ ปล่อยให้เป็นเรื่องของคนบ้า คือกลุ่มฆราวาสที่ยังหลงใหลเรื่องสวย เรื่องงาม บรรพชิตต้องหยุดบ้าในเรื่องสวย เรื่องงาม นั่นแหละจึงจะนุ่งผ้าสากกายะได้
เรื่องที่ 4 คือ ฟัน ภาษาบาลีเรียกว่า ทันตา ฟันเป็นปฏิกูลนั้น เราจะเห็นได้ง่ายสำหรับทุกคน และก็พอจะเข้าใจได้ ถ้ายังมีริมฝีปากห่อหุ้มอยู่ ฟันก็เป็นสิ่งปฏิกูลมากขึ้นไปอีก จะวิ่งหนีจากกันไปเลยถ้าได้เห็นหน้า เราก็ต้องมาพิจารณาว่าด้วยความเป็นสิ่งปฏิกูล นั้นคือ รูปร่างของฟันเป็นซี่ยาว ๆนั้นก็เป็นสิ่งปฏิกูล สีสัน วรรณะของฟันที่มีสีเหมือนกระดูก เหล่านี้ก็คือปฏิกูล กลิ่นของฟันก็ปฏิกูล ที่เกิด ที่งอกในเหงือกก็ปฏิกูล หน้าที่ของฟันที่เขี้ยว บดอาหารก็เป็นสิ่งปฏิกูล นั้นก็เป็นเรื่องฟันสวย ฟันหอม ฟันงาม สุกใสเป็นไข่มุก ก็เป็นเรื่องของคนบ้าสำหรับฆราวาสที่จะยั่วยวนซึ่งกันและกัน ให้มีความลุ่มหลงอยู่ในเรื่องของฆราวาส บรรพชิตจะมีสิ่งเหล่านี้ไม่ได้
เรื่องที่ 5 สุดท้าย คือ หนัง ภาษาบาลีเรียกว่า ตโจ สิ่งนี้ก็พิจารณาได้ว่าด้วยความเป็นสิ่งปฏิกูลด้วย และเป็นอันตรายอย่างยิ่งด้วย ผิงหนังปฏิกูล หมายความว่า รูปร่างของหนังก็น่าเกลียด สีสันของหนังก็น่าเกลียด กลิ่นของหนังก็น่าเกลียด พูดแค่นี้ก็เข้าใจ ที่เกิด ที่งอกทั่วไปทั้งตัวหุ้มของสกปรกไว้ภายใต้สิ่งเหล่านี้ก็น่าเกลียด และผิวหนังมีหน้าที่การงานคือ รับฝุ่นละอองที่ถ่ายเข้า ออก ร้อน เกิดมีเหงื่อไคล เป็นหน้าที่การงานที่น่าเกลียดที่สุด เราจึงไม่ควรเห็นว่า ผิวหนังเป็นสิ่งสวยงาม จะผัด จะทา จะย้อม จะปรุงทำให้หอม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของคนบ้า บ้าสวย บ้างาม เป็นเรื่องของฆราวาส บรรพชิตต้องไม่มี เหล่านี้คือเรื่องปฏิกูลของผิวหนัง นอกจากนี้ที่ผิวหนังยังมีอันตราย หมายถึงสิ่งที่รับสัมผัสทางความรู้สึกโดยเฉพาะระหว่างเพศ ยิ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ จะเกิดกิเลส มีราคะ เป็นต้น ทางผิวหนังจะเกิดได้ง่ายกว่าสิ่งใด ดังนั้นจึงต้องระวังอีกด้านนี้ด้วย ว่าจงอย่าปล่อยให้เป็นที่ตั้งของกิเลสด้วย เป็นอันว่าทั้งผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้จิตใจเปลี่ยนแปลง หยุดโง่ หยุดหลงในส่วนของฆราวาสในเรื่องสวยงาม มีจิตใจสูงขึ้น สะอาด สว่าง สงบ พอสมควรที่จะนุ่งห่มผ้าสากกายะเหล่านี้ ดังนั้น เธอทุกคนจงทำความเข้าใจในถ้อยคำเหล่านี้ และมีจิตใจที่เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเรื่อย ๆตามคำแนะนำเหล่านี้ ย่อมจะมีจิตใจเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ แม้ช่วงเวลาอันเล็กน้อยนี้ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงในจิตใจ จากความไม่เหมาะสมกับผ้าสากกายะ กลายมาเป็นความเหมาะสมแก่ผ้าสากกายะ เราจึงควรทำการบรรพชาได้ ขอให้ทุกคนทำจิตใจให้ถูกต้อง แยบคาย ให้ปฏิบัติตามแนวนี้ตลอดเวลา ขณะนี้ก็เป็นเรื่องการบรรพชา ให้การบรรพชาด้วยการบอก ตจปัญจกกรรมฐาน เป็นภาษาบาลี (ท่านพุทธทาสบอกให้นาคขยับให้เข้ามาใกล้กัน และก้มศรีษะลง) จงตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐานเป็นภาษาบาลี ให้กล่าวตามเราดังต่อไปนี้
...เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ... (นี้คือโดยอนุโลม แต่ถ้าปฏิโลมคือการทวนลำดับ)
ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา...
เมื่อพูดได้แล้ว ก็จงลองกล่าวออกมา (นาคหมุนเปลี่ยนกันท่อง) ดี หยุดได้แล้ว การที่จะท่อง ตจปัญจกกรรมฐาน ทั้งโดยลำดับ และทวนลำดับ ก็เป็นอันถูกต้อง แสดงให้เห็นว่า จำได้ มีจิตใจปกติ ไม่ฟั่นเฟือน ไม่ประหม่า ไม่งก ๆ เงิ่น ๆ มีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัว จึงควรแก่การบรรพชา ขอให้มีความเจริญ งอกงาม ขอให้สำเร็จตามความมุ่งหมายการบรรพชาทุกประการ