แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อีกอย่างหนึ่งถ้าพูดกันเสียแล้วช่างน่าจะสงสาร คนพาลด้วย (0.29) จิตใจไม่ปกติ เราเลยเป็นผู้มาขัดคอ ผู้ได้ (0.36) มาส่งเสียงจุกจิกจู้จี้นี้กลายเป็นผู้ขัดคอ นั้นจึงขอร้องว่าให้ฟังกันทั้งหมด ให้เข้าใจ ให้พอใจ ให้มีปีติปราโมทย์และได้บุญประเภทนั้น ก็ไหนๆก็ตั้งใจว่าจะมาเอาบุญ (ทั้งหมดท่านพุทธทาสได้กล่าวเป็นภาษาใต้) ทีนี้ เอ่อ,คนที่จะบวชก็ตั้งใจฟัง นั่งพนมมือ อ่า, ฟังด้วยความตั้งอกตั้งใจ มีความสำคัญมากในการที่จะต้องฟัง และฟังจนเข้าใจ เพื่อว่าจะได้ส่งใจไปตาม คือว่าเปลี่ยนจิตใจไปตามถ้อยคำที่ว่านั้น มันจึงจะเปลี่ยนจากความเป็นฆราวาสไปสู่ความเป็นบรรพชิต เพราะฉะนั้นอย่าได้ฟังอย่างใจลอย อย่าได้ฟังอย่างหลับๆ ตื่นๆ พอแล้วๆ ไป ขอให้ตั้งใจฟังจริงๆ ด้วยความแจ่มใสเข้าใจแล้วค่อยพยายามที่จะส่งใจไปตามนั้น คือเปลี่ยนจิตใจไปตามคำพูดนั้น เพื่อเปลี่ยนความเป็นฆราวาสไปสู่ความเป็นบรรพชิต ซึ่งจะได้อธิบาย อ่า, ส่วนที่จำเป็นให้ได้ยินได้ฟัง เอ่อ,ไปตามที่มันจำเป็นจะต้องฟัง จะต้องพูดให้ฟัง
ข้อแรกที่สุด เราได้กล่าวคำเป็นภาษาบาลี ซึ่งบางคนก็ทราบไว้ว่าอย่างไร บางคนก็ทราบครึ่งๆ กลางๆ บางคนก็ยังไม่ทราบก็ได้ นี่ถ้าไม่ทราบว่าอะไร ว่าไปแต่ปากมันก็เป็นเรื่องพูดแต่ปากอย่างนกแก้ว นกขุนทอง เพราะนั้นมันก็เสียประโยชน์ คือเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นถ้าเมื่อตะกี้นี้ไม่เข้าใจว่าอะไร หรือไม่ได้ทำในใจว่าอย่างไร ก็จงทำในใจเสียเดี๋ยวนี้ เราได้กล่าวคำเป็นภาษาบาลีออกไปแล้ว ๒ อย่างๆ ละ ๓ ครั้ง อย่างแรกที่ว่า เอสาหัง ภันเต สุจิละ ปรินิตัมติ เป็นต้นนั้น เป็นการเหมือนกับการรายงานตัวเอง บอกกล่าวว่าตนเองเป็นอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร นี่ ๓ ครั้งก่อน แล้วต่อมาได้กล่าวอีก (3.20) ๓ ครั้งเป็นการขอโดยตรงว่าข้าพเจ้าขอบรรพชา นี่ดูธรรมเนียมหรือระเบียบที่เป็นแบบฉบับในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นความรู้พิเศษออกไปว่า การที่เราจะเข้าไปหาใคร หรือขออะไร เอ่อ,จากใครนี้ ไม่ควรจะเข้าไปถึงก็บอกขอตรงๆ มันเป็นมรรยาทที่หยาบ จึงมีว่า ไปบอกรายงานตัวว่าข้าพเจ้าเป็น เอ่อ,ผู้ที่นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ปรินิพพานนานแล้ว รวมทั้งพระพุทธด้วย รวมทั้งพระสงฆ์ด้วย บัดนี้ใคร่ (4.04)จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นี่พูดเป็น เอ่อ,คล้ายๆ กับบอกความประสงค์หรือรายงานตัวว่าเป็นอย่างไร ยังไม่ได้ขออย่างนี้ ๓ ครั้งก่อนโดยมรรยาทที่ดีที่สุด ที่จะควรจำไว้เป็นแบบฉบับ
เพราะต่อมาก็ อหังภันเต ปะพะจัง ยาจามิ นี่ขอโดยตรงว่า ขอบรรพชา จงทำการบรรพชาให้ด้วยอาศัยความเมตตา กรุณา โดยผ้ากา เอ้อ, ด้วยผ้ากาสายะเหล่านี้แล้วก็ ๓ ครั้ง นี่เป็น เอ่อ,ความรู้ที่ควรจะรู้เอาไว้ อย่างยิ่ง ว่าเรากล่าวอะไรออกไป เรามีระเบียบ ที่ดีงามอย่างไรในการที่จะไปขออะไรกับใครนั้น จะต้องพูดอย่างไรกันก่อน เป็นหลักใช้ได้ทั่วไป นี่เราก็ทำในใจซะเดี๋ยวนี้ ว่าเราได้กล่าวไปอย่างนั้น ด้วยความรู้สึก และได้ขออย่างนั้น ด้วยความรับผิดชอบ ว่าได้ขอจริงและจะทำตามขอจริงๆ ทีนี้ก็ทำในใจต่อไปว่า ไอ้การกระทำที่นี่ เวลานี้ เดี๋ยวนี้ เป็นเรื่องทำจริง ไม่ใช่ทำเล่น ไม่มีเหลือส่วนที่เป็นทำเล่นแม้แต่นิดเดียว เพราะว่าเราได้กระทำในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ สีมา ของสงฆ์ กระทำต่อที่ประชุมอันศักดิ์สิทธิ์ คือพระสงฆ์ซึ่งประชุมกันในนามของพระพุทธเจ้า แล้วก็ได้กล่าวคำเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ คือเป็นภาษาบาลีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แล้วก็ร้องขอสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้ เอ้อ, ประเสริฐที่สุด หรือศักดิ์สิทธิ์ที่สุด คือการบรรพชา เพียงเท่านี้ก็เห็นได้ว่าเป็นเรื่อง เอ่อ,ไม่ใช่ เอ่อ, เป็นๆเรื่องจริง อ่า, เป็นเรื่องจริงถึงที่สุด ไม่ใช่เป็นเรื่องเล่น หรือ อ่า, ไม่ใช่เป็นเรื่องละเมอๆ ต้องเป็นเรื่องที่เข้าใจแจ่มแจ้งและก็ทำไปด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ นี่ ขอให้มีจิตใจอย่างนี้ อย่างนั่งใจลอย อย่านั่งครึ่งหลับ ครึ่งตื่นก็ค่อยส่งใจไปตามคำที่พูด ที่นี้สำหรับการขอบรรพชานั้น ผู้ขอต้องทราบว่ามันเป็นอะไรจึงได้ขอ ถ้าไม่ทราบว่าเป็นอะไร ขอไปตามธรรมเนียม ตามไอ้แบบปากว่านี้มันก็ไม่สมบูรณ์ เราต้องรู้ว่าสิ่งที่เราขอนั้นคืออะไร รู้กันอยู่แล้วว่าขอบรรพชา บรรพชาคืออะไร ตามตัวหนังสือคำว่าบรรพชา แปลว่า ไปหมด เว้นหมด บรรพชา บ-พ-ช นี้มาเป็นภาษไทยว่าบวช บ-ว-ช บะ วะ ชะ แปลว่าไปหมด หรือ เว้นหมด ไปหมด เว้นหมด จากความเป็นฆราวาส นี่เป็นเครื่องหมายของคำๆนี้ แล้วก็จะต้องเว้นจากสิ่งที่ควรเว้นอื่นๆ ต่อไปอีกให้สมบูรณ์ เราจะต้องมีจิตใจที่ปักแน่นลงไปเดี๋ยวนี้ ว่าจะเว้นหมดจากความเป็นฆราวาสไปหมดจากความเป็นฆราวาสกันจริงๆ คือว่า อย่างที่เห็นอยู่นี้ก็จะไม่นุ่งห่มอย่างฆราวาสอีกต่อไป จะไม่กินอยู่อย่างฆราวาสอีกต่อไป จะไม่กระทำอย่างฆราวาสอีกต่อไป จะไม่คิด ไม่นึก ไม่ใฝ่ ไม่ฝันอย่างฆราวาสอีกต่อไป ขอให้มีความปลอบใจ เอ่อ, แน่วแน่อย่างนี้ ที่นี้ เอ่อ,การที่จะสลัดความเป็นฆราวาสอย่างสิ้นเชิงนี้ ยังจะต้องถือสิกขาวินัย ตามที่วางไว้อย่างไรอีกด้วย จะต้องเว้นข้อที่ควรเว้นโดดเด็ดขาดด้วย จึงเป็นบรรพชาที่สมบูรณ์ ที่นี้จะต้องรู้ต่อไปว่า ว่าเราเว้นอยู่อย่างนี้ ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ มันจะต้องเกิดความเจ็บปวดบ้างเป็นธรรมดา ในทางด้านจิตใจ เพราะว่าเราเคยชินแต่การตามใจตัวเอง บัดนี้มาเปลี่ยนเป็นผู้ที่บังคับตัวเอง จะไม่ตามใจตัวเองคือตามใจกิเลสของตน อีกต่อไป จะต้องต่อสู้กับกิเลสนั้น ด้วยการบังคับตัวเอง มันจึงต้องเจ็บปวดบ้างเป็นธรรมดา ในทางจิตใจจะต้องทน นั้นเราจึงปักใจเสียแต่เดี๋ยวนี้ว่า เราจะทน เราสมัครที่จะทน แม้ว่าจะต้องทนจนน้ำตาไหลก็จะทนให้ได้ อย่างที่เรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ด้วยน้ำตา อย่างนี้ก็ต้องทำได้ เป็นอันว่าสิ่งที่เรียกว่า บรรพชานั้น เป็นเครื่องขูดเกลา (9.03) ต้องมีความเจ็บปวดและจะต้องทน นั้นเราจะสมัครใจปักใจแน่วแน่ ว่าจะรับเอาความที่ต้องทนนี้ เป็นของเราตามที่เราขอว่า ขอบรรพชา ปฏิบัติตนอยู่ในลักษณะที่เป็นความเว้นหมด ไปหมด จากความเป็นฆราวาส สมาทานอยู่ด้วยดีในสิกขาของบรรพชิต อยู่ตลอดเวลาด้วยความอดกลั้นอดทน นี่คือบรรพชาที่เธอทั้งหลายได้กล่าวคำขอ ขอให้รู้ว่าตนได้ขอสิ่งนี้ในลักษณะอย่างนี้ แล้วก็จะไม่ เอ่อ,หลบเลี่ยง บิดเบี่ยงบ่ายอะไร ไม่มีข้อแก้ตัวอะไร ที่จะไม่ทำให้เคร่งครัดตามที่กล่าวนี้ นี้คือคำว่าบรรพชา ที่นี้เรื่องต่อไปที่เราควรจะทราบไว้คืออานิสงส์ของการบรรพชา ประโยชน์ที่จะพึงได้จากการบรรพชา ถ้าถือตาม เอ่อ,ธรรมในคัมภีร์ เอ่อ, ข้อธรรมในคัมภีร์หรืออะไรแล้ว มันก็มาก มากจนพูดไม่หมด ใน เอ่อ,เวลาอันสั้นนี้ จำเป็นจะต้องสรุปเอาแต่ใจความที่สำคัญเพียง ๓ อย่าง กล่าวคือ อานิสงส์ ที่เธอผู้บวชเองจะพึงได้รับอย่าง ๑ อานิสงส์ที่ญาติ ทั้งหลาย มี บิดา มารดาเป็นต้น จะพึงได้รับด้วย นี้อีกอย่าง ๑ และอานิสงส์เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย หรือโลกเป็นส่วนรวม ศาสนาเป็นส่วนรวม จะพึงได้รับด้วย นี้อีกอย่าง ๑ เป็น ๓ อย่างด้วยกัน อานิสงส์อย่างที่แรกที่ผู้บวชจะพึงได้รับนั้น มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ คือ เป็นโอกาสที่จะฝึกฝนจิตใจของตน อย่างมีระเบียบ อย่างเคร่งครัด อย่างจริงจัง สักวาระหนึ่ง ให้เป็นจิตใจ เอ่อ, ที่เรียกว่าดี ถึงที่สุดที่จิตใจมันจะดีได้ นี่แปลว่า เป็นโอกาสที่เราจะฝึกฝน การอดกลั้นอดทน การบังคับตัวเอง เอ่อ, ความหนักแน่นมั่นคงนี่ โอกาสนี้เป็นโอกาส ถ้าฝึกแล้ว ก็จะได้รับผลพิเศษชนิดที่ไม่ อ้า, ไม่ได้รับจากที่อื่น แม้ว่าจะเคยศึกษาเล่าเรียนมา อ่า,จนกระทั่งเป็น มีปริญญา มีอะไรก็ตาม มันก็ไม่เคยรับบทเรียน ที่เป็นการฝึกฝนจิตใจอย่างนี้ เพราะฉะนั้นคนเราจึงต้องบวช เพื่อมีโอกาสสำหรับฝึกฝนจิตใจในลักษณะนี้ จะได้ครบถ้วนบริบูรณ์ อ่า, ในการที่มนุษย์คนหนึ่ง ๆ จะฝึกฝนตนเองได้อย่างไร นี้ประโยชน์ เอ่อ, ที่สูงไปกว่านั้นก็คือว่า จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้รับ มันเป็นภาวะที่สูงกว่าธรรมดา คือภาวะที่จิตใจสะอาด สว่าง สงบ สูงไปกว่าธรรมดา ถ้าเราไม่บวช มันเป็นมันไม่เป็นโอกาสที่จะได้รับ หรือได้รับโดยง่าย นั้นเราจึงถือโอกาสบวชว่าอย่างไรๆ ก็จะได้พบปะกับสิ่งเหล่านี้หรือ (12.35) สักขณะหนึ่ง จะได้รู้แล้วจะได้มีอยู่เป็นอุปนิสัยเรื่อยไป แปลว่าให้รู้จักสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ คือภาวะอีกชนิดหนึ่ง ของจิตใจ ที่มีความสะอาด ความสว่างและความสงบ นี่เธอจงพยายามอย่างยิ่ง ให้เป็นการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง และก็จะได้รับอานิสงส์ ส่วนตัวเองนี้ ครบถ้วน บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ฉะนั้นจึงต้องมีความตั้งใจ แน่วแน่ลงไปว่า เราจะต้องเอาให้ได้ จะต้องอดกลั้นอดทน จะต้องฝึกการอดกลั้นอดทน เป็นการบังคับตัวเองนี่แหละ เป็นข้อใหญ่ มันหมายถึงการบังคับจิตใจ หรือบังคับกิเลส ซึ่งอยู่เป็นฆราวาสนั้น ไม่มีโอกาสที่จะทำบทเรียนบทนี้ ที่นี้ก็ทำแล้วก็ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ด้วย คือจิตใจชนิดที่ดีกว่าธรรมดา ที่เป็นฆราวาสมันยากที่จะรู้จักกันได้ นี้เรียกว่าเพียงเท่านี้เท่านั้นน่ะไม่ต้องพูดถึงอย่างอื่น มันก็เป็นของประเสริฐที่สุดแล้วที่เราจะพึงได้ และควรแก่การที่เราจะอดกลั้นอดทน แม้ว่าจะต้องประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยน้ำตา ทีนี้อานิสงฆ์ข้อต่อไปที่จะได้แก่ ญาติทั้งหลาย มี บิดา มารดา เป็นต้นนั้น หมายความว่าโอกาส แห่งการบวชนี้ เป็นการบวชเพื่อทดแทนพระคุณ พร เอ้อ, ทดแทนคุณบิดามารดาด้วย เราอาจจะแทนคุณบิดามารดาได้โดยวิธีหลายอย่างหลายชนิด แต่มันไม่เหมือนกัน เอ้อ, การแทนคุณบิดา มารดาอย่างสูงสุดนี้ คือการทำ บิดา มารดา ให้เป็นญาติ ในพระศาสนายิ่งขึ้น นี้เธอทั้งหลายลองคิดดูว่า ทำอย่างไร บิดา มารดา จึงจะเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น ตามหลักก็มีว่า เราจะต้องทำให้บิดามารดา มีจิตใจที่มีศรัทธาฝังแน่นในพระศาสนายิ่งขึ้น มีสัมมาทิฐิในพระศาสนามากยิ่งขึ้น หรือมีคุณธรรมอย่างอื่นๆ ในพระศาสนานี้มากยิ่งขึ้น นี้วิธีอื่นมันไม่มี นอกจากดีไปกว่าวิธีที่ว่าเราบวช เมื่อเราบวชแล้ว บิดา มารดา ก็เพิ่มศรัทธา เพิ่มประสาทะ เพิ่มความหนักแน่น แน่นแฟ้น อ่า,ในธรรมในศาสนา ตลอดถึงมีสัมมาทิฏฐิที่ตั้งมั่น อย่างน้อยก็เป็นการเสียสละลูกหลานให้ออกบวชยอมเสียประโยชน์อย่างอื่นเพื่อลูกหลานได้บวช อย่างนี้มันก็เป็นการแสดงถึงสัมมาทิฏฐิอยู่แล้ว นี้โดยในตัวมันเอง มันช่วยให้มีความแน่ใจ หรือมั่นใจหรือว่าฝังจิตฝังใจ เอ้อ,ในพระศาสนานี้ขึ้นมากไปกว่าเดิม เขาจึงถือว่าการบวชของกุลบุตรนั้น เป็นการทำให้บิดามารดาเป็นญาติในพระศาสนามากยิ่งขึ้นหรือถึงที่สุด เป็นการสนองพระคุณผู้มีบุญคุณอย่างยิ่ง อ่า, ชั้นสูงสุด นี่เราต้องทำได้ เราต้องเสียสละได้ทุกอย่างแม้แต่ชีวิตก็ควรจะสละได้เพื่อบิดามารดา อย่าไปคิดว่าจะต้องการอย่างหนึ่ง ท่านต้องการอย่างหนึ่ง แล้วต่างคนต่างมีเหตุผลที่จะแยกทางกันทำอย่างนี้ไม่ถูก เป็นความคิดที่สมัยใหม่เกินไป ถ้าเป็นความคิดอย่างโบราณของไทยๆหรือเป็นความคิดอย่างไทย วัฒนธรรมอย่างไทย ซึ่งมีรกรากมาจากพุทธศาสนาแล้ว ลูกทุกคนจะต้องคิดว่าชีวิตนี้ได้มาจากบิดามารดานั้น ต้องเป็นของบิดามารดาทั้งหมด ต้องเป็นไปตามความประสงค์ของบิดามารดาทั้งหมด เพราะว่าเราเกิดเราเองก็ไม่ได้ แล้วเราก็ไม่ได้เกิดจากโพรงไม้ที่ไหน เราก็เกิดมาจากบิดามารดาโดยเฉพาะ ไม่มีอะไรที่เรา เอ่อ, ทำได้เองแม้แต่นิดเดียว นั้นจึงต้องถือว่าเป็นของบิดามารดาทั้งหมดนั้น จึงพยายาม อ่า, สุดความสามารถของตนที่จะให้ตรงตามความประสงค์หรือถูกอกถูกใจของบิดามารดาด้วยการกระทำทุกอย่าง และมีการบวชนี้แหละเป็นอย่างสูงสุดในการกระทำเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงกระทำ เรียกว่าทำบิดามารดาให้ได้รับความพอใจ เอ่อ, ชนิดสูงสุดด้วย และก็ทำให้ท่านมีความเป็นญาติในพระศาสนา อย่างแน่นแฟ้น มั่นคง รับประกันได้ว่าไม่กลับถอยหลังด้วย เท่านี้ก็พอแล้ว เป็นการสนองพระคุณบิดามารดา ในด้านจิตด้านวิญญาณอย่างสูงสุด คู่กันไปกับการสนองคุณทางวัตถุ ให้ข้าว ให้ของ ให้การอุปการะให้อะไรต่างๆ นั้นเป็นเรื่องฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายร่างกาย เราก็ทำเหมือนกันและทำอยู่ตาม เอ่อ, เต็มความสามารถ นี้ยังมีโอกาสพิเศษที่ทำในทางด้านจิตใจ คือการทำให้บิดามารดาเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้นดังนี้ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามนี้ เธอทั้งหลายจะต้องเป็นผู้บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง และได้ผลจริงๆ จึงจะได้ผลอันนั้น เพราะฉะนั้น อ่า, ขอให้พยายามปักใจแน่วแน่ลงไปในการกระทำอย่างนี้ สำหรับอานิสงส์ข้อที่ ๓ ที่ว่าจะพึงได้แก่ มนุษย์โลกทั้งหลายและศาสนาเป็นส่วนรวมนั้น ข้อนี้ขอให้เธอทุกคนหมายมั่นปั้นมือว่าเราบวชนี้จะเป็นการสืบอายุพระศาสนาด้วย เราบวชนี้เพื่อเป็นการสืบอายุพระศาสนาให้ยืดยาวออกไปด้วย เราเป็นหนี้บุญคุณของผู้ที่ตายไปแล้ว ที่เขาสืบอายุพระศาสนามาตามลำดับ ตามลำดับ จนมาถึงพวกเราวันนี้ จนถึงเราได้บวชในวันนี้ ก็เพราะมีผู้สืบอายุพระศาสนาเป็นลำดับ ลำดับกันมา เพราะฉะนั้นเราต้องไม่ดูดาย เราต้องสำนึกในบุญคุณข้อนี้ เราจะตอบแทนด้วยการบวชสืบอายุพระศาสนาไว้ สำหรับพระศาสนานั้นจะมีอายุอยู่ได้ก็เฉพาะต่อเมื่อมีคนบวชจริง แล้วก็เรียนจริง แล้วก็ปฏิบัติจริง แล้วก็ได้ผลจริง มีการเล่าเรียนจริง เขาเรียกว่ามีปริยัติศาสนา มีการปฏิบัติจริงเขาเรียกว่ามี ปฏิบัติศาสนา และมีการได้ผลจริงเขาเรียกว่ามีปฏิเวทศาสนา มีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท อย่างนี้แล้วเรียกว่า ศาสนายังมีชีวิตอยู่ยังไม่สูญหายไป นั้นเราต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง เป็นการสืบอายุพระศาสนา อีกอย่างหนึ่ง อย่าคิดว่า เราบวชชั่วเวลาเล็กน้อยไม่กี่เดือน จะสืบได้อย่างไร นั้นเป็นความเข้าใจผิด บวชกี่วัน กี่เดือน ก็เป็นการสืบอายุพระศาสนาเท่านั้นวัน เท่านั้นเดือน ขอแต่ให้ตั้งใจทำให้จริงๆก็แล้วกัน ในช่วงของเราแล้ว เราจะต้องทำดีที่สุด สุดฝีไม้ลายมือ แล้วก็รับ แล้วก็มอบให้แก่ผู้อื่น รับทอดเป็นช่วงๆไป นี่เขาสืบศาสนากันมาในลักษณะอย่างนี้ เมื่อเราสำนึกในการ เอ่อ, กระทำที่เขากระทำมาจนมีประโยชน์แก่เราแล้ว เราก็ต้องทำเพื่อประโยชน์แก่คนข้างหน้าต่อไปอีก นี้ก็เป็นการ เอ่อ, เอ่อ, เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง นี้เมื่อศาสนามีอยู่ในโลก โลกนี้ก็มีความร่มเย็นเพราะอำนาจของศาสนานั้น เพราะฉะนั้นคนทั้งโลกก็ได้รับประโยชน์จากการกระทำของเรา เป็นไปเพื่อความร่มเย็นจริงๆ ในทางด้านจิตใจเป็นอย่างน้อย และถ้ามนุษย์นี้ มีจิตใจเป็นธรรมประกอบอยู่ด้วยศาสนาแล้ว ความเดือดร้อนทางวัตถุก็จะหมดไปด้วย คือจะไม่มีการเบียดเบียนกัน จะไม่มีการละโมบ อ่า, แข่งขันแย่งชิงกัน มันก็เป็นความสงบในส่วนสังคมด้วย ไม่เพียงแต่เฉพาะบุคคล เอ่อ, แต่ละคน นั้นจึงควรสืบอายุพระศาสนาไว้ให้ยังคงมีอยู่ในโลกเพื่อเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของโลก เดี๋ยวนี้เราก็กำลังทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้นขอให้พยายามด้วยการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริงเป็นการสืบอายุพระศาสนาจริง รวมเป็นอานิสงส์ ๓ อย่าง คือ เธอผู้บวชจะได้รับ และญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นจะได้รับและ เพื่อนมนุษย์ทั้งโลกหรือศาสนาเป็นส่วนรวมจะพึงได้รับ นี้เมื่อมาคำนึงดูถึงอานิสงส์ทั้ง ๓ ประการนี้แล้วจะเห็นได้ว่า มันสูงสุด เอ่อ,ประเสริฐที่สุด มากมายมหาศาลที่สุด เป็นการสมควรแล้วที่เราจะใช้ชีวิตของเรานี้เป็นเดิมพัน อ่า, ลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น นั้นเราไม่ต้องกลัว ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องระแวง จะต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะเสียสละทำให้ได้เต็มตามนั้นแม้จะต้องเสียชีวิตก็ยอม แต่ว่าเรื่องมันไม่ต้องถึงกับต้องเสียชีวิตและเป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่พอจะทำได้ด้วย จึงขอให้ตั้งอกตั้งใจทำ นี่มีจิตใจแน่วแน่ลงมาอย่างนี้ นี่เรียกว่าประโยชน์หรืออานิสงส์ของบรรพชา ทีนี้ก็มาถึงวัตถุที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชา ที่หมายความว่ารากฐานของบรรพชา รากฐานของบรรพชานั้นคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราบวชนี้อุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เหมือนกับที่เธอทั้งหลายก็ได้กล่าวไปเมื่อตะกี้ (สักครู่?) นี้ เรียกกันว่า เอสาหัง ภันเต ภันตนนั้น มันแสดงว่าบวชนี้อุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และก็มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้นเป็นรากฐานอยู่ในจิตใจเพื่อการบรรพชาจะได้งอกงามเจริญดี งอกงามดี เหมือนต้นไม้ที่ได้ดินดี ได้น้ำดี ได้อากาศดี ได้เครื่องแวดล้อมดี มีความเจริญ นี่บรรพชาก็จะต้องอาศัย เอ่อ, วัตถุที่ตั้งที่อาศัยชนิดนั้น ในลักษณะอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน ที่นี้สำหรับสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น ไม่ได้หมายว่าตัววัตถุหรือตัวบุคคลแต่หมายเอาคุณ อ่า, คุณสมบัติ เอ่อ, หรือหัวใจ อ่า, ของสิ่งนั้นๆ เช่นพระพุทธเจ้ามีคุณธรรมหรือมีหัวใจของท่านเป็นความสะอาด เป็นความสว่าง เป็นความสงบนั่นแหละคือองค์พระพุทธเจ้าแท้ ส่วนเนื้อหนังของท่านนั้นไม่ใช่องค์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เองอย่างนั้นว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม การที่จะเห็นเพียงร่างกายนี้ เอ้อ, ไม่ได้ ทีนี้พระธรรมก็เหมือนกัน ไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่เสียงแสดงธรรม ไม่ใช่คัมภีร์หนังสือ แต่เป็นคุณธรรมอันหนึ่ง อ่า, คือความสะอาด สว่าง สงบ อีกด้วยเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเราจะเล่าเรียนปริยัติก็เรียนเพื่อความสะอาด สว่าง สงบ ถ้าเราจะปฏิบัติธรรมะ ก็ปฏิบัติเพื่อความสะอาด สว่าง สงบ ก็ได้ผลของการปฏิบัติมาเป็นมรรคผลนิพพานก็คือตัวการแห่งความสะอาด สว่าง สงบนั่นเอง นั้นความสะอาด สว่าง สงบอีกนั่นแหละเป็นหัวใจของพระธรรม ทีนี้สำหรับพระสงฆ์นั้นไม่ใช่ตัวบุคคล แต่หมายถึงคุณสมบัติอันสูงสุดที่มีอยู่ในบุคคลก็คือความสะอาด สว่าง สงบอีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นคำ ๓ คำนี้เป็นที่รวม อ่า, ของความหมายของ อ่า, คำว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นเธอจงมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ชนิดนี้อยู่ในหัวใจเป็นรากฐานของการบรรพชา คือมีจิตใจสะอาด สว่าง สงบ ตามแนวของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่เสมอไป แล้วบรรพชานี้ก็จะเจริญงอกงาม เหมือนต้นไม้ที่ได้ดินดีเป็นต้น จึงหวังว่าทุกคนจะมีจิตใจที่อุทิศการบรรพชาของตนนี้ต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีลักษณะ หรือภาวะหรือคุณสมบัติแห่งความเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้นอยู่ในจิตใจเป็นประจำตลอดไป ก็เรียกว่าเป็นการบรรพชาที่ดีที่มีรากฐานมีวัตถุที่ตั้งที่อาศัยที่ดี นี้เรียกว่าวัตถุที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชา เดี๋ยวนี้เธอจงมีความเข้าใจในข้อที่ว่าบรรพชาคืออะไร อานิสงส์ของบรรพชาคืออะไร วัตถุที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชาคืออะไรเหมือนอย่างที่ว่ามานี้ แล้วใจของเธอก็จะเปลี่ยนไปก็จะน้อมไปเพื่อบรรพชานั้นโดยในตัวมันเอง ละห่างจากความเป็นฆราวาสไปสู่ความเป็นบรรพชิตได้ในตัวมันเอง นี่เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้เป็นเบื้อง (26.23)แรกเกี่ยวกับการบรรพชา
นี้เรื่องต่อไปอีกเรื่องหนึ่งก็คือว่าเราจะต้องชำระ ชะล้าง สะสางจิตใจของเราให้เหมาะสมแก่ผ้ากาสายะเหล่านี้ เมื่อตะกี้นี้เธอก็ได้ขอร้องว่า จงทำจงๆทำการบรรพชาข้าพเจ้าด้วยผ้ากาสายะเหล่านี้ ทีนี้จะเอาผ้ากาสายะเหล่านี้มาห่มให้แก่คนผู้มีจิตใจยังไม่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือทำเข้าก็จะมีแต่โทษด้วยกันทุกฝ่าย ท่านจึงวางระเบียบไว้ให้ชำระ เอ่อ, สะสางจิตใจของผู้ที่บรรพชานั้นให้มีความเหมาะสมเสียก่อน และข้อนั้นก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการบอกให้สละไอ้ความรู้สึกคิดนึกอย่างฆราวาส นั่นเองออกไปเสียได้แก่ ความโง่ ความหลงของพวกฆราวาสนั้นที่เราเคยชินมาตั้งแต่เกิด จนกระทั่งนาทีสุดท้ายที่จะมาบวชนี้ เราจะต้องสลัดมันออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่อง ความสวย ความงาม ความลุ่มหลงในสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยั่วยวน ทุกอย่างที่เราเคย เอ่อ, หลงมาแต่ปางก่อนจึงไม่เคยรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ เอ่อ, น่าขยะแขยง แต่เราไปเห็นเป็นสิ่งที่น่ารักและสวยงาม ถ้าจิตใจยังหลงอยู่อย่างนั้นแล้วยังไม่ควรแก่ผ้ากาสายะ นั้นมาพิจารณากันเสียเดี๋ยวนี้ให้จิตใจสลัดทิ้งสิ่งเหล่านั้นออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความสวยความงามในสิ่งที่เคยหลง ท่านให้ยกตัวอย่างมาเพียง ๕ ประการก็พอแล้ว คือเรื่องผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ถ้าเราเข้าใจสิ่งทั้ง ๕ นี้ดีก็เข้าใจทุกสิ่งได้เอง สำหรับ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้ก็หมายความว่าสิ่งเหล่านี้เป็น เอ่อ, เคยเป็นที่ตั้งแห่งความหลงของเรา เช่นเรื่องผมเราเคยหลงที่จะแต่งของเราให้สวยไว้อวดคนอื่น และก็มองผมของคนอื่นที่สวยถูกจิตถูกใจของเรา ก็มีจิตใจใฝ่ฝันอยู่แต่เรื่องความสวยนั้น นี้เป็นความโง่ของฆราวาสที่จะติดอยู่ในใจของเธอในเวลานี้ไม่ได้ จะต้องสลัดให้หมดออกไป แล้วจึงจะมีจิตใจสมควรแก่การนุ่งห่มผ้ากาสายะ ดังนั้นท่านจึงสอนให้พิจารณาสิ่งนี้โดยความเป็นของปฏิกูล ว่าผมหรือที่เรียกโดยภาษาบาลีว่าเกสานี้ มีความเป็นปฏิกูลอย่างน้อยในลักษณะ ๕ อย่าง คือว่าโดยรูปร่างของมันก็น่าเกลียด อ่า, เป็นเส้นยาวๆ นี้ถ้าว่าโดยสีสันวรรณะของมันก็น่าเกลียด คือจะเป็นสีดำ สีหงอก สีอะไรก็ตามใจเป็นสีที่น่าเกลียด ถ้าจะว่าโดยกลิ่นของมันก็เป็นกลิ่นที่น่าเกลียด ถ้าจะว่าโดยที่เกิดที่งอกของมัน ที่เกิดอยู่ที่หนังศีรษะหล่อเลี้ยงไว้ด้วยเลือด น้ำเหลืองนี้ มันก็น่าเกลียด ทีนี้ว่าโดยหน้าที่การงานของมัน มีอยู่บนศีรษะสำหรับรับฝุ่นละอองเหล่านี้ มันก็เป็นหน้าที่การงานที่น่าเกลียด เราดูโดยรูปร่าง อ่า, โดยสีสันวรรณะ โดยกลิ่น โดยที่เกิดที่งอก และโดยหน้าที่การงานมันก็ล้วนแต่น่าเกลียด เรียกว่าเป็นของปฏิกูล นี้เรามาโง่ถึงขนาดที่ไปอบ ไปย้อม ไป เอ่อ, ดัด ไปแต่ง ไปทำอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นการปกปิดความน่าเกลียด นี้มันทำไปด้วยอำนาจของความหลงหรือความโง่ แต่พวกฆราวาสเขาไม่ถือว่าเป็นความโง่ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่เป็นฆราวาสแล้ว เราจะเป็นบรรพชิตแล้วจึงต้องสลัดความโง่นั้นออกไป โดยเห็นอยู่ตามที่เป็นจริงว่ามันเป็นของปฏิกูล
เรื่องที่ ๒ อือ, โลมา หรือขนนี้ พิจารณาอย่างเดียวกับผม แตกต่างกันเพียงว่ามีอยู่ตามเนื้อตัวทั่วๆ ไป นี้เรื่องที่ ๓ เล็บ เรียกโดยภาษาบาลีว่า นขา นี้ก็ดูอย่างเดียวกันอีกว่า โดยรูปร่างของเล็บก็น่าเกลียด โดยสีสันวรรณะของเล็บก็น่าเกลียด โดยกลิ่นเล็บก็น่าเกลียด โดยที่เกิดที่งอกของเล็บก็น่าเกลียด โดยหน้าที่การงานของเล็บคือสำหรับแคะ ควัก แกะ เกานี้มันก็เป็นหน้าที่การงานที่น่าเกลียด อย่างน้อยใน ๕ อย่างนั้นก็เป็นของน่าเกลียด นี้เราก็มาใช้ความโง่คิดแต่ว่า อ้า,เป็นความสวยงาม จึงตกแต่งมันอะไรมันตามที่มันจะนิยมกัน ทำกันมาแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธกาลจนกระทั่งบัดนี้ เดี๋ยวนี้จะเป็นบรรพชิตแล้วก็ต้องหมดความโง่อย่างเด็กๆ นี้ มาเป็นผู้รู้ตามที่เป็นจริงว่ามันเป็นอย่างไร เอ่อ, เลิกความหลงใหลในสิ่งสวยงามนี้ ว่าโดยเนื้อแท้มีความเป็นปฏิกูลอยู่ตามธรรมชาติ นี้เรื่องที่ ๔ ฟัน อ่า, หรือเรียกโดยภาษาบาลีว่า ทันตา มีความเป็นปฏิกูลที่เห็นได้ง่ายที่สุด ถ้าไม่มีริมฝีปากหุ้มห่อแล้วเราก็มองหน้ากันไม่ได้ นี่เรียกว่า เอ้อ, ฟันนี้ โดยรูปร่างก็น่าเกลียด โดย เอ้อ, สีสันวรรณะที่เหมือนกระดูกนี้ก็น่าเกลียด โดยกลิ่นของมันก็น่าเกลียดอยู่ตามธรรมชาติ โดยที่เกิดที่งอกอยู่ในเงือก เอ้อ, ในเหงือกนี้มันก็น่าเกลียด และโดยหน้าที่การงานสำหรับเคี้ยวบดอาหารนี้มันก็เป็นหน้าที่การงานที่น่าเกลียด นั้นเราจะไม่มองมันๆไปในแง่ที่สวยงาม ถึงทำให้หอม ทำให้ขาว ทำให้แวววาวอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของคนที่หลงอยู่แต่ใน เอ้อ, ความ เอ้อ, ต่ำๆ ง่ายๆ ตื้นๆ อย่างเด็กๆ จิตใจชนิดนั้นไม่เหมาะแก่ผ้ากาสายะ นั้นเราต้องสลัดออกไป แม้ว่าจะมีการบำรุงรักษาฟันบ้างก็ไม่ใช่ในลักษณะที่หลงใหลในความสวยความงาม ทีนี้เรื่องสุดท้ายคือ หนัง หรือเรียกโดยภาษาบาลีว่าตโจนี้ มีความเป็นปฏิกูลอย่างยิ่ง อย่างเดียวกันอีก โดยรูปร่างหนังนี้ก็น่าเกลียด โดยสีสันวรรณะนี้มันก็น่าเกลียด โดยกลิ่นของมันก็น่าเกลียด โดยที่เกิดที่งอก หุ้มอยู่ทั่วตัวนี้มันก็น่าเกลียด และหน้าที่การงานของมันคือรับฝุ่นละอองไปทั่วทั้งตัว เป็นที่ถ่ายเข้าถ่ายออกแห่งความร้อน และสิ่งสกปรกเหล่านี้มันก็เป็นเรื่องน่าเกลียด ฉะนั้นไม่ควรจะไปหลงในข้อที่ว่ามันงาม และบำรุงรักษาตกแต่งไปในทางสวย ทางหอม ทางอะไรต่างๆ ที่เขานิยมทำกัน และเราก็เคยกระทำมาจนกระทั่งนาทีสุดท้าย เดี๋ยวนี้จะต้องหมดความคิดชนิดนั้น โดยเห็นว่ามันเป็นของปฏิกูลตามธรรมชาติ อีกอย่างหนึ่งนอกจากจะเป็นปฏิกูลแล้วยังเป็นอันตราย พวกสัมผัสผิวหนังนี้เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ยิ่งกว่าสิ่งใด นั้นจึงมองเห็นว่าเป็นทั้งปฏิกูลและทั้งอันตราย จะไม่ไปลุ่มหลงในเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหนังนี้อีกต่อไป เมื่อเป็นดังนี้จิตใจของเราก็ละ อ่า, จากความเป็นฆราวาสมาสู่ความเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว เธอจงฟังให้ดี มีความเข้าใจแล้วส่งใจไปตามคำพูดนี้ เปลี่ยนจิตใจ เอ่อ, มาตามคำพูดนี้ก็เป็นผู้มีความเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะ นี้เราก็จะได้ทำการบรรพชาต่อไป ทีนี้ระเบียบของท่าน อ่า, มีไว้ให้บอกตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยพยัญชนะคือภาษาบาลีอีกส่วนหนึ่ง โดยอรรถ คือความหมายนั้นก็คือที่ได้พูด ได้อธิบายให้ฟังแล้ว เป็นภาษาไทย นี้โดยพยัญชนะสำหรับจำ หรือสำหรับ เอ่อ, ระลึกโดยง่ายนี้ สรุปอยู่เป็นภาษาบาลี ซึ่งท่านวางเป็นระเบียบไว้ให้บอกกันในเวลาที่จะทำการบรรพชานี้
ฉะนั้นก็จง เอ่อ, ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐาน โดยส่วนพยัญชนะอีก (35.14)ต่อไป จงตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ)
โดยปฏิโลม
ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)ถ้าจำได้ลองว่าดู
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
ดี หมายความว่าจำได้ดี และพร้อมกันนั้นก็มี เอ่อ,ใจคอปกติ คือมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกของตัวดีเหมาะสมแก่การบรรพชา เมื่อได้สังเกตเห็นความพยายาม และคุณสมบัติข้อนี้แล้วมีความยินดีที่จะทำการบรรพชาให้เธอ มีความเจริญงอกงามในศาสนา สมความปรารถนาของการบรรพชาทุกประการ
จงตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ)
โดยปฏิโลม
ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา).จำได้ก็ลองว่าดู
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (นขา) (ทันตา) ทันตา (นขา) (โลมา) (เกสา)
อีกรอบหนึ่ง
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
อีกรอบหนึ่ง
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
ว่าชดเชยอีกรอบ
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
ดี ถูกต้องดี มีสติสัมปชัญญะดี พอใจ----(นาทีที่ 38.44 – 38.46 ไม่สามารถฟังได้ชัด) ขอให้มีความเจริญงอกงามในศาสนา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการ ---(นาทีที่ 38.53 – 38.55 ไม่สามารถฟังได้ชัด)
ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา)โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ)
โดยปฏิโลม
ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
ลองว่าดู
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
ดี จำได้ดี มีสติสัมปชัญญะดี ---(นาทีที่ 39.47 – 39.50 ฟังได้ไม่ชัด) ขอให้มีความเจริญในพระศาสนา และขอให้สมปรารถนาของการบรรพชาทุกประการ ---(นาทีที่ 39.54 – 40.00 ฟังได้ไม่ชัด) ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐาน โดยภาษาบาลีโดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ)
ปฏิโลม
ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา)
ลองว่าดู
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) (ทันตา) (นขา) (โลมา) (เกสา)
(เกสา) (โลมา) (นขา) (ทันตา) (ตโจ)
(ตโจ) ---(นาทีที่ 40.37 -40.43 ไม่มีเสียงในเทป)
(นาทีที่ 40.45 – 42.32 สวดเป็นภาษาบาลี จึงไม่ได้ถอดเทป)
(นาทีที่ 42.34 -42.50 เป็นภาษาใต้ ได้ถอดเทปเท่าที่จะฟังได้) เข้ามาไกลลิบ เข้ามาไกลลิบ กระผมทั้งหลายขอประเดียง ไอ้กระผมขอประเดียงพระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ใช้สิทธิของสงฆ์ในการที่จะรับอุปสัมปทา มีอยู่ไหม (42.50)
นาทีที่ 42.54 – 43.32 ท่านพุทธทาสได้สวดมนต์เป็นภาษาบาลี
นาทีที่ 43.33 – จนจบ พระสงฆ์สวดมนต์เป็นภาษาบาลี