แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เอ้า, ตั้งใจฟังให้ดี นั่งพนมมือฟังให้ดีที่สุด ถึงว่าเวลาจะน้อยไม่ค่อยสะดวก เราก็ยังจะต้องพูดทำความเข้าใจตามที่จำเป็น คือเธอจะต้องรู้ว่าการบวชนี้ มันบวชด้วยจิตใจด้วย ไม่ใช่บวชแต่ว่าทางกาย ทางวาจาว่า มันต้องเป็นเรื่องทางใจด้วย ดังนั้นเธอต้องเข้าใจ แล้วเธอก็จะต้องทำจิตใจให้เป็นไปตามที่พูดให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจด้วย มันจึงจะเป็นการบวช เราจึงบอกว่าเธอจงตั้งใจฟังให้ดี
ในขั้นแรกเธอจะต้องทราบในถ้อยคำที่ได้ว่าไปแล้ว เราฟังถูก เราถือเอาแต่เนื้อความ บางคนว่าทุติยัมปาหัง บางคนว่าทุติยัมปิ อย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน เอาแต่ใจความ บางคนว่า ร เป็น ล บางคนว่า ล เป็น ร นี่เราถือเอาแต่ใจความ เอาแต่ใจความแล้วก็ตรงตามเรื่อง เธอนั้นจะต้องทำในใจให้ถูกให้ตรงตามคำที่ว่า เอสาหังภันเต ว่าสามเที่ยวนี้ แสดงตัวว่านับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ คล้ายจะบรรพชา และเลยไปถึงอุปสมบท รอบที่สองว่าอีกสามครั้ง ขอบรรพชา ขอจงเอาผ้ากาสายะนี้ทำการบรรพชาให้ข้าพเจ้าด้วยความเมตตากรุณา ถ้าเมื่อตะกี้เธอไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีความรู้สึกในความหมายอันนี้ เพราะไม่รู้ เพราะแปลไม่ได้ หรือเพราะใจลอยก็ตาม เวลานี้จะต้องทำ ทำในใจว่าได้พูดไปพรรณ์นั้นจริง และได้ยืนยันคำพูดนั้นด้วย ยังคงยืนยันคำพูดนั้นตลอดกาล คือยืนยันว่านับถือพระรัตนตรัย และจะบรรพชาอุปสมบท และร้องขอการบรรพชาอุปสมบทด้วยตนเอง เราต้องรักษาถ้อยคำของเราให้มันเป็นการขอที่แท้จริง ให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ขอไปนั้นจริง ๆ ด้วยใจคอปกติ อย่าฟุ้งซ่าน อย่าใจลอย อย่าอะไรหมด เพราะว่าเวลานี้เราจะบวช จะบรรพชา จะอุปสมบทแล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามความหมายของการบรรพชาอุปสมบท
ในข้อแรกควรจะรู้ใจความของคำว่าบรรพชา คือบวช ปัพพัชชัง เป็นไทย ๆ ก็ว่าบวช บวชแล้วไปหมด เว้นหมด จากความเป็นฆราวาส ทีนี้เลิกเป็นฆราวาส จะไม่คิดอย่างฆราวาส จะไม่พูดจาอย่างฆราวาส จะไม่กระทำอย่างฆราวาส จะไม่ใฝ่ฝันอย่างฆราวาส ตั้งใจให้เด็ดขาดไปเสียที แม้แต่จะฝัน นอนฝันก็อย่าให้ฝันอย่างฆราวาสอีกต่อไป ถ้ามันไปเกิดฝันอย่างไปเกิดฝันอย่างฆราวาสจนเสียใจขึ้นมา ว่าเรามันยังเหลวไหลเต็มทีมาก ยังมีความคิดนึกใฝ่ฝันอย่างฆราวาส แต่ถ้าว่าตั้งใจให้ดี ให้แน่วแน่ คอยอธิษฐานจิตอยู่เสมอ มันก็จะเลิกคิด เลิกนึก แม้แต่เลิกฝันอย่างฆราวาสนี่ เพราะฉะนั้นเวลานี้เป็นเวลาที่เราต้องทำใจให้ดี คือจะเปลี่ยนจากฆราวาสเป็นบรรพชิต บรรพชา แปลว่า ไปหมด เว้นหมดจากความเป็นฆราวาส และยังจะต้องเว้นจากสิกขาบท ตามสิกขาบทต่าง ๆ ที่มีไว้สำหรับผู้บวช นี่เราจะต้องทำสุดกำลังจิตใจทั้งหมด แม้จะต้องลำบากยากใจ จะต้องอดทนอดกลั้นจนน้ำตาไหลก็จะต้องทนได้ ต้องอย่าให้เสียไปในเรื่องของการบรรพชา สำหรับอุปสมบทนั้นคือเป็นภิกษุ ทำตัวให้นับเนื่องเข้าไปในหมู่ของภิกษุนั้นทีหลัง ทีแรกนี้บรรพชาเป็นสามเณรก่อน แล้วจึงค่อยอุปสมบทเป็นภิกษุ นับเนื่องเข้าไปในหมู่ของภิกษุ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามระเบียบวินัยของภิกษุ ทีนี้บางข้อถ้าไปล่วงละเมิดเข้าก็เลิกเป็นภิกษุไปเลย นี่มีอยู่พวกหนึ่ง ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ตามวินัยสำหรับความเป็นภิกษุ จึงจะมีสิทธิที่จะอยู่ในหมู่แห่งภิกษุ มิฉะนั้นต้องออกไป นี่เรากำลังขอ ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ขอบรรพชาก่อน แล้วก็อุปสมบท เรียกว่าเราเอาข้อระเบียบไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่เรา
ทีนี้ก็จะต้องรู้อานิสงส์ของการบวช ว่าถ้าเราบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริงมันก็ได้ผลจริง จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง เมื่อตอนเช้านี้เราว่าบวชนี้ โดยแท้จริงก็คือละบ้านเรือนมาอยู่กับพระพุทธเจ้าเสียสักชั่วคราว จะกี่เดือนกี่ปีก็ตามใจ พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ คือธรรมวินัย ก็ได้ทรงแสดงไว้ ทรงบัญญัติไว้ เรามาปฏิบัติธรรมวินัยตามที่ได้ทรงแสดงไว้ บัญญัติไว้ นี่เรียกว่ามาอยู่กับพระพุทธเจ้าสักคราวหนึ่ง กลับออกไปแล้วก็จะเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงจากเดิมนั่นแหละ อานิสงส์ที่เธอจะได้ และบิดามารดาก็พลอยได้อานิสงส์ที่ลูกได้บวช ทำให้พ่อแม่ใกล้ชิดพระศาสนา เป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น และโลกทั้งปวง สัตว์โลกทั้งหลายก็พลอยได้ เพราะว่าได้มีความร่มเย็นเป็นสุขอยู่ในโลกที่มันมีพระศาสนา และเราก็ได้ บิดามารดาผู้มีบุญคุณก็ได้ สัตว์โลกทั้งหลายก็ได้ ฉะนั้นเราก็ควรจะทำให้สุดความสามารถ เพราะมันมีความได้มากเกินไป มากเกินเหลือประมาณ นี่เธอจงตั้งใจ แม้จะลำบากอย่างไร และก็ขอให้ได้ นี่เรียกว่าอานิสงส์ของการบวช
คราวนี้เธอยังจะต้องรู้ว่าการบวชนี้มันอุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เหมือนกับเราว่า เราจะต้องมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เราอุทิศนี้แหละเป็นรากฐานของบรรพชา คือมีจิตใจสะอาด สว่าง สงบ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จำไว้ดี ๆ ว่าคำว่าสะอาด สว่าง สงบแห่งจิตใจนี่มันเป็นความหมายของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราสามารถมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาอยู่ในจิตใจของเรา โดยการมีความสะอาด สว่าง สงบแห่งจิตใจนั่นเอง มันเป็นความจริงตามธรรมชาติว่าบรรพชามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่ตั้ง เป็นที่อาศัย เป็นที่เจริญงอกงาม ดังนั้นเธอจงพยายามทำจิตใจให้สว่าง สะอาด สงบ ให้สุดที่ที่จะทำได้ และเราก็จะมีบรรพชา ซึ่งมีที่ตั้งที่อาศัยที่เจริญงอกงามดี เหมือนต้นไม้ ถ้าได้ดินดีได้อาหารดี ได้อากาศดี อะไรดีมันงอกงาม บรรพชาของเราก็เหมือนกัน ขอให้สนใจ
เอ้า, ทีนี้ก็ว่า เราจะนุ่มห่มผ้ากาสายะแล้ว เราต้องมีจิตใจที่เหมาะสมกับผ้ากาสายะซึ่งเป็นเครื่องหมายของพระอรหันต์ เอาล่ะทีนี้ก็จะต้องเปลี่ยนจิตใจจากเดิม เมื่อก่อนเคยโง่ เคยหลงเรื่องความสวยความงาม เวลานี้ต้องหมดกันที ต้องหมดกันที ฉันมีวิธีทำให้หมดกันที ให้หายโง่เรื่องความงามนะ ที่เรียกว่ากรรมฐานปฏิกูล เธอจงฟังให้ดี ตามที่มีระเบียบวินัย ท่านสอนกันไว้ ท่านให้ยกมาพิจารณากันสัก ๕ อย่างก็พอ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เราเคยเห็นเป็นของสวยของงาม นี่จำเป็นจะต้องมองเห็นตามที่เป็นจริงว่ามันปฏิกูล เช่นผมนี่ ปฏิกูล รูปร่างก็ปฏิกูล สีสันวรรณะก็ปฏิกูล ที่เกิดที่งอกก็ปฏิกูล หน้าที่การงานก็ปฏิกูล เป็นอันว่าเราเลิกเห็นว่าสวยว่างาม ทีนี้ก็ขนก็เหมือนกันกับผมอยู่ทั่วตัว เห็นเป็นของปฏิกูลอย่างเดียวกัน เล็บก็เป็นของปฏิกูลว่ารูปร่างก็น่าเกลียด สีสันวรรณะก็น่าเกลียด มีกลิ่นน่าเกลียด มีที่เกิดที่งอกอันน่าเกลียด มีหน้าที่การงาน แกะเกานี่ก็น่าเกลียด นี่ฟัน ในปากมีรูปร่างน่าเกลียด สีสันน่าเกลียด มีกลิ่นน่าเกลียด ที่เกิดที่งอกน่าเกลียด มีหน้าที่การงานสำหรับเคี้ยวบดก็น่าเกลียด ทีนี้ก็มีหนังหุ้มห่อร่างกาย เราเคยถือเป็นของสวยของงาม เคยประดับประดา ลูบทาตกแต่ง ให้เราเห็นตามความเป็นจริงว่ามันเป็นของปฏิกูล รูปร่างน่าเกลียด สีสันน่าเกลียด มีกลิ่นน่าเกลียด มีที่เกิดที่งอกอันน่าเกลียด แล้วก็มีหน้าที่การงานที่หุ้มห่อสิ่งสกปรกภายในไว้นี่ก็น่าเกลียด นี่เปลี่ยนแปลงถึงขนาดว่าสิ่งที่เคยเห็นว่าสวยว่างามกลายเป็นสิ่งที่น่าเกลียด นี่เขาเรียกว่าเปลี่ยนแปลง ถ้าเธอมีจิตใจเปลี่ยนแปลง คือไม่หลงในสิ่งที่เคยหลงแล้วก็เรียกว่าเหมาะ มีจิตใจเหมาะที่จะนุ่งผ้ากาสายะ เธอจงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ตามนี้ สิ่งที่เคยหลงว่าสวยว่างามมาแต่ก่อนนั้น เธอจงเห็นตามเป็นจริงว่ามันเป็นของปฏิกูล ยกตัวอย่างมา ๕ อย่างก็พอ แต่ก็ต้องการว่าทั้งหมดเลย ที่เคยเห็นว่าสวยว่างามทั้งหมดเลย ต้องมามองเห็นตามธรรมชาติธรรมดาว่าเป็นของปฏิกูล นี่เขาเรียกว่าการทำจิตใจให้เหมาะสมที่จะนุ่งผ้ากาสายะ ซึ่งเธอต้องทำบัดนี้
นี่เป็นเรื่อง ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน จะต้องจดจำไว้สำหรับต่อสู้กับความรู้สึกคิดนึก ที่มันจะน้อมกลับไปยังเป็นฆราวาสอีก เราจึงถือไว้เป็นเครื่องต่อสู้กิเลส และเจริญความรู้ความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้เรื่อย ๆ ไปจนสูงถึงเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็จะละความยึดถือได้ ป้องกันกิเลสได้มากขึ้นไปอีก เอาละเวลาไม่อำนวย ที่จะมาพูดกันให้มันละเอียด เอาแต่ใจความว่าเราจะต้องเลิกโง่ชนิดที่ไม่สมควรกับผ้ากาสายะเสีย แล้วมาฉลาดสะอาดพอสมควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะบัดนี้ นี่คือความสำคัญ ใจความสำคัญของการที่จะบวชกันเดี๋ยวนี้ หวังว่าเธอคงจะเข้าใจ และเธอก็คงจะมีจิตใจเปลี่ยนแปลงตามคำที่เราพูด แต่ทีนี้มีระเบียบวินัยที่จะต้องรับกัมมัฏฐานนี้ด้วยวาจาเป็นภาษาบาลีกันอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเธอจึงรับ ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐานโดยภาษาบาลีด้วยวาจา ตามระเบียบนั้น
เอ้า, มาสี่คนตรงนี้ เธอตั้งใจรับ ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน โดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ผู้บวชท่านที่ ๑ว่าตามทีละคำ) นี่ว่าเรียงลำดับ ทวนลำดับคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา (ผู้บวชว่าตามทีละคำ หลังจากนั้นว่าเรียงลำดับและทวนลำดับทั้งหมด ๓ รอบ) อีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา เพื่อความแน่นอนว่าอีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา สิ่งทั้ง ๕ อย่างนี้มีคำอธิบายอย่างที่กล่าวมาแล้ว เธอกลับไปปฏิบัติ เธอมีจิตใจปกติ รับ ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน ทั้งโดยอนุโลม และปฏิโลมเรียบร้อยดี แสดงว่ามีสติสัมปชัญญะ ทุกอย่างคงจะเป็นไปด้วยดี เราเห็นความข้อนี้แล้ว พอใจในการกระทำของเธอ ยินดีเพื่อทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการ
ตั้งใจรับ ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน โดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ผู้บวชท่านที่ ๒ ว่าตามทีละคำ) นี่ว่าโดยอนุโลม ที่เป็นปฏิโลมคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา (ผู้บวชว่าตามทีละคำ) จำได้บ้างว่าอะไร (ผู้บวชว่าเรียงลำดับและทวนลำดับทั้งหมด ๓ รอบ)เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา อีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา เอ้า, เพื่อความแน่นอนว่าอีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ดี ว่าได้เรียบร้อยดี แสดงว่ามีจิตใจปกติดี มีสติสัมปชัญญะดี คงจะฟังทุก ๆ คำที่ได้พูดไปนี้ รู้ความหมายของสิ่งทั้ง ๕ นี้แล้วสำหรับปฏิบัติ เราพอใจในสภาพของเธอ ยินดีทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้มีความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุก ๆ ประการ
ตั้งใจรับ ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ผู้บวชท่านที่ ๓ ว่าตามทีละคำ) ทีนี้ปฏิโลม ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา (ผู้บวชว่าตามทีละคำ) ลองว่าดู (ผู้บวชว่าเรียงลำดับและทวนลำดับทั้งหมด ๓ รอบ) เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา อีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา อีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ดี เรียบร้อยดี ปกติดี มีสติสัมปชัญญะดี และคงจะเข้าใจคำแนะนำชี้แจงเหล่านี้ เกี่ยวกับสิ่งทั้ง ๕ นี้ มีจิตใจเปลี่ยนแปลง เหมาะสมสำหรับผ้ากาสายะนี้ ฉันพอใจในการบรรพชาของเธอ ยินดีทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา สมตามความหมายของการบรรพชาทุก ๆ ประการ
เข้ามานี่ เอ้า, ตั้งใจรับ ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน โดยภาษาบาลี เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ผู้บวชท่านที่ ๔ ว่าตามทีละคำ) ที่เป็นปฏิโลมคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา (ผู้บวชว่าตามทีละคำ) ลองว่าดู (ผู้บวชว่าเรียงลำดับและทวนลำดับทั้งหมด ๓ รอบ)เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา อีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา เพื่อความแน่นอนอีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ดี จำได้ดี ปกติดี แสดงว่าอารมณ์ปกติดี เหมาะสมที่จะทำการบรรพชา เราพอใจในสภาพนี้ของเธอ ยินดีทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการเทอญ
เอ้า, เข้ามาข้างใน ตั้งใจรับตั้งใจรับ ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน โดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ผู้บวชท่านที่ ๕ ว่าตามทีละคำ) โดยปฏิโลมคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา (ผู้บวชว่าตามทีละคำ) ลองว่าดู(ผู้บวชว่าเรียงลำดับและทวนลำดับทั้งหมด ๓ รอบ) เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา อีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา อีกที เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ, ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา เตรียมจิตใจของเธอให้มันปกติ ได้ทดลองดูทั้งสามรอบ แสดงว่ามันก็มีความปกติพอสมควร มีสติสัมปชัญญะพอสมควรที่จะทำการบรรพชาได้ เราพอใจในสภาพของเธอ ยินดีทำการบรรพชาให้เธอ เข้ามานี่สิ ขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุก ๆ ประการเทอญ
นาทีที่ 43.49 – 56.50 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
กราบ นั่งพนมมือฟัง นั่งตามสบายก็ได้ บัดนี้เธอมีนิสสัยที่ได้แล้วในอุปัชฌายะ เราต้องทำตามวินัย ต้องมีอุปัชฌายะ มีนิสสัยแล้วจึงจะขออุปสมบทได้ ถ้าไม่มีนิสสัย ไม่มีอุปัชฌายะก็ยังจะขออุปสมบทไม่ได้ บัดนี้เธอเป็นผู้มีนิสสัยที่ได้แล้ว มีแล้ว เราเป็นอุปัชฌายะ เธอทั้งหลายมีนิสสัยในเรา จึงอ้างได้ต่อพระสงฆ์ทั้งหลายว่าเป็นผู้มีอุปัชฌายะ และขออุปสมบทได้ ทีนี้เรื่องต่อไปก็มีว่า มีฉายาชื่อเป็นภาษาบาลีเพื่อการสวดกรรมวาจา สามเณรชินโน ชื่อชินโก สามเณรจเร ชื่อจรณโก สามเณรมานพ ชื่อ มานวโก สามเณรคเชญ มีชื่อว่า คโชคโม จำไว้สำหรับตอบคำถาม เมื่อการถามเป็นภาษาบาลี กินนาโมสิ, อะหัง ภันเต...นามะ พระอุปัชฌายะมีชื่อภาษาบาลีว่าอินทปัญโญ จำไว้สำหรับตอบคำถาม ถ้าเขาถามเป็นภาษาบาลี จะได้ตอบว่า อายัสมา ภันเต อินทปัญโญ นามะ นี่จะต้องสวดกรรมวาจาเป็นภาษาบาลี ไม่ต้องออกชื่อเรานะ ต้องรู้ว่าเขาหมายถึงเรา ต้องทำให้ถูกต้องตามเรื่องตามราวเสมอไป นี่ก็มีการบอกบริขาร ต่อไป นี่ทีละสององค์ใช่ไหม สององค์ไปนั่งตรงไหนก่อน ไปนั่งที่ ถือไปนั่งตรงโน้นก่อน เข้ามานี่ เวลากราบอย่าให้มันไกลนัก อีกคนเข้ามานี่ อย่าให้อยู่ไกลห่างเกินกว่า ๑ ศอก นี่ก็เข้ามานี่นิดหนึ่ง
นาทีที่ 59.59 – 1.03.50 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ขอให้พระสงฆ์ทั้งหลายกระทำในใจให้ถูกต้องว่า แม้ว่า อุปสัมปทาเปก ว่าพร้อมกัน จะได้กล่าวโดยเอกวัจนะโวหาร คือเฉพาะคน เฉพาะคน ไม่ได้ผูกพันกันเป็นหมู่ จึงเรียกว่าสำนวนเป็นเอกวัจนะ ว่าคนเดียว คนเดียว นี่ขอให้สงฆ์ทั้งหลายได้ยินอยู่ ได้ฟังอยู่ ได้เข้าใจว่าเจ้านะพูดอย่างตัวเอง เพื่อตัวเอง ของตัวเอง คนเดียว คนเดียว
นาทีที่ 1.04.27 - 1.05.20 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
กราบ...นั่ง กระผมขอเผดียงพระสงฆ์ทั้งหลายให้ใช้สิทธิของสงฆ์ ในการจะรับอุปสัมปทาเปก เพื่อการอุปสมบทหรือไม่
นาทีที่ 1.05.43 - 1.15.48 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
เอ้า, ไปนั่งต่อ ต่อแถว ...คุณต้องเอามานั่งชิดนี่ องค์นี้ เอาของออกไปเสีย มานั่งชิดองค์นี้ เอาบาตรไว้ภายนอก เราอยู่ภายใน
นาทีที่ 1.16.05 - 1.16.46 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
รอบหลัง ๆ ไม่ต้องนะโม
นาทีที่ 1.16.48 - 1.22.03 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
เข้ามาใกล้ มาอยู่ในหัตถบาทเลย ถึงยังไม่เป็นพระก็อยู่ในหัตถบาทได้ สำหรับอุปสัมปทาเปก ว่าเฉพาะคน ของใครว่าเฉพาะคน
นาทีที่ 1.22.33 - 1.23.31 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
กราบ เธอต้องรู้สึกในใจว่าเธอขออุปสมบท กระผมขอเผดียงพระสงฆ์ทั้งหลาย ใช้สิทธิของสงฆ์ในการรับอุปสัมปทาเปกหรือไม่
นาทีที่ 1.23.48 - 1.34.14 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
กราบ ระวังบาตร...กราบ เอ้า, มานั่งเข้าแถวกันทั้งหมดอีกที มานั่งเข้าแถวเป็นแถวทั้งหมดอีกที ไม่ต้อง วางข้างหน้า วางข้างหน้า บาตรวางข้างหน้า เอาบาตรวางข้างหน้า ปีหนึ่งว่าทีหนึ่งมันลืม ให้คอยทัก ปีหนึ่งว่าทีก็ลืม ให้คอยทักนะ นั่งราบ
เธอตั้งใจฟังให้ดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการบอกสอนควบคู่กันไปกับการบรรพชาอุปสมบท เขาเรียกว่าบอกอนุศาสน์ หากเข้าใจดีแล้วต้องปฏิบัติตาม อย่าให้มันเกิดความเสียหายขึ้นได้ อนุศาสน์น่ะคือว่าสิ่งที่ต้องรีบบอก เมื่อบรรพชาอุปสมบทเสร็จ มันมีความจำเป็นอยู่ในตัว ฉะนั้นต้องรีบบอก ต้องรีบบอก ต้องรีบจำ รีบกำหนดจดจำ
นาทีที่ 1.35.30 - 1.35.55งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้อนุญาต ได้ทรงบัญญัติให้บอก นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔ เมื่อได้ทำการอุปสมบทแล้ว สำหรับนิสสัย ๔ ข้อที่แรกคือ การบรรพชาอาศัยข้าว อาหารบิณฑบาตให้ได้มาด้วยลำแข้ง เธอจงขวนขวายในอาหารบิณฑบาตห็นป่านนี้จนตลอดชีวิตของการบรรพชา แต่ถ้ามีเรื่องอดิเรก เช่นว่าสังฆภัตร เป็นต้นก็รับได้เหมือนกัน แต่ในฐานะเป็นอดิเรกเท่านั้น
นาทีที่ 1.36.30 - 1.36.43 งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ผู้ใดบรรพชาอุปสมบทแล้ว มีเครื่องนุ่งห่มคือบังกุลจีวร ได้แก่ผ้าเปื้อนฝุ่นทิ้งอยู่ตามที่ต่าง ๆ เอามาซัก เย็บย้อมทำเป็นจีวรได้ เธอพึงขวนขวายในเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนั้นจนตลอดชีวิตของการบรรพชา แต่ถ้ามีอดิเรก ลาภผ้าสำเร็จรูป มีคณบดีจีวรเป็นต้น ผ้าทำด้วยฝ้าย เป็นต้น ก็รับได้เหมือนกัน แต่เป็นอดิเรกลาภ
นาทีที่ 1.37.16 – 1.37.29 งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ผู้ใดบรรพชาอุปสมบทแล้ว มีที่อยู่ที่อาศัยคือโคนไม้ เธอพึงขวนขวายในเสนาสนะเห็นปานนั้นจนตลอดชีวิตของการบรรพชา แต่ถ้ามีอดิเรกลาภ เป็นวิหาร เป็นกุฏิวิหารควรแก่สมณะบริโภคก็รับได้เหมือนกัน
นาทีที่ 1.37.53 – 1.38.02 งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ผู้ใดบรรพชาอุปสมบทแล้ว อาศัยยาแก้โรคคือเภสัช ประกอบขึ้นด้วยน้ำมูตรเน่า คือน้ำมูตรนั่นเอง น้ำมูตรชื่อว่าเน่าโดยกำเนิด หมายความว่าให้ใช้ยาที่ธรรมดาที่สุด ธรรมชาติที่สุด กลางบ้านที่สุด หาได้ง่ายที่สุด ไม่ต้องนึกถึงยาแพง ๆ อะไรนิดก็วิ่งไปโรงพยาบาล นี่มันขัดกันกับเรื่องของการบรรพชา เธอพึงขวนขวายในเภสัชเห็นปานนั้นจนตลอดชีวิตของบรรพชา แต่ถ้ามีอดิเรกลาภเกิดขึ้นเป็นเภสัช ประกอบด้วยเนยใส เนยข้นก็รับได้เหมือนกันในฐานะเป็นอดิเรกลาภ นี้เรียกว่านิสสัย
นาทีที่ 1.38.58 - 1.39.24งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ผู้ใดอุปสมบทแล้ว ไม่พึงประกอบเมถุนธรรม ในที่สุดแม้แต่ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ภิกษุประกอบเมถุนธรรมแล้วย่อมหมดความเป็นภิกษุ เปรียบเสมือนบุรุษศีรษะขาดแล้วไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยร่างกายนั้นอีกต่อไป เธอไม่พึงกระทำโดยเด็ดขาดตลอดชีวิตของการบรรพชา
นาทีที่ 1.39.52 - 1.40.27งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ผู้ใดบรรพชาอุปสมบทแล้วไม่พึงถือสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แม้ที่สุดแต่ว่าหญ้ากำมือเดียว ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ได้ราคาบาทหนึ่งก็ดี เท่ากับบาทหนึ่งก็ดี เกินกว่าบาทหนึ่งก็ดี ย่อมไม่มีความเป็นภิกษุเหลืออีกต่อไป เหมือนกับว่าใบไม้เหลืองหล่นจากต้นแล้วไม่อาจจะกลับเป็นใบไม้เขียวอีก ฉันใดก็ฉันนั้น เธอไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
นาทีที่ 1.40.59 – 1.41.31งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ผู้ใดบรรพชาอุปสมบทแล้วไม่พึงแกล้งฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตาย แม้ที่สุดแต่มดดำมดแดง ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย แม้ที่สุดแต่มนุษย์ในครรภ์ ย่อมไม่มีความเป็นภิกษุเหลืออยู่ต่อไป เปรียบเหมือนว่าหินก้อนเดียว หักออกเป็นสองก้อนแล้วไม่อาจจะกลับเป็นก้อนหินก้อนเดียวดังเดิมได้อีกฉันใดก็ฉันนั้น ดังนั้นจึงไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต
นาทีที่ 1.41.57 – 1.42.35 งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ผู้ใดบรรพชาอุปสมบทแล้วไม่พึงแกล้งอวดอุตริมนุสสธรรม คือคุณธรรมที่ยิ่งไปกว่ามนุษย์ธรรมดาจะพึงมี แม้ที่สุดแต่จะอวดว่าเราเวลานี้เป็นคนชอบเสนาสนะอันสงัดเสียแล้วก็ยังไม่ควรจะอวด ภิกษุอาศัยความปรารถนาลาภ หรือปรารถนาไม่ดี เป็นต้นแล้วก็อวดอุตริมนุสสธรรมว่าได้ฌาน ได้สมาธิ ได้สมาบัติ ได้วิมุตติ ได้มรรค ได้ผล เช่นนี้แล้วก็เรียกว่าไม่มีความเป็นภิกษุเหลือแล้ว เหมือนกับต้นตาล แค่ถูกทำลายแค่เหง้าแค่ยอดย่อมไม่งอกงามได้อีกฉันใดก็ฉันนั้น ดันนั้นไม่พึงกระทำจนตลอดชีวิต อันนี้เรียกว่าอกรณียกิจมีอยู่ ๔ อย่างจำไว้ให้แม่นยำ อย่าไปแตะต้อง
ทีนี้ก็เรื่องสิกขา ๓ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายของการบรรพชาอุปสมบท
นาทีที่ 1.43.40 – 1.44.51 งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เป็นพระอรหันต์ได้ตรัสไว้เป็นอเนกปริยายดีแล้วในเรื่องศีล ในเรื่องสมาธิ ในเรื่องปัญญา เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา ทั้งนั้นเป็นไปเพื่อบรรเทาเสียซึ่งความเมา เป็นเหตุให้ตัดเสียซึ่งวัฏฏะ ตัดเสียซึ่งตัณหา เป็นไปเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อนิพพาน ในสามประการนั้นเมื่ออบรมศีลดีแล้ว จิตหรือสมาธิย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ เมื่ออบรมสมาธิดีแล้ว ปัญญาย่อมมีอานิสงส์ใหญ่ มีผลใหญ่ เมื่อปัญญาอบรมดีแล้ว จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คือกามาสวะ ภวาสวะ ด้วยเหตุดังนั้นเธอบวชอุปสมบทมาแล้ว เข้ามาแล้วในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ จงพยายามมีความเคารพเอื้อเฟื้อ ทำให้ดีในศีลสิกขา ในจิตสิขา ในปัญญาสิกขา ด้วยความไม่ประมาทอย่างยิ่งตลอดเวลา ให้สำเร็จประโยชน์สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าเราบรรพชานี่ บรรพชาทำไม เพื่อประโยชน์อะไร บรรพชาเพื่ออะไร อะไรเป็นที่ตั้ง ตลอดถึง ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน อันบุคคลผู้บวชใหม่พึงสมาทานอยู่เป็นปกติ เพื่อเป็นเครื่องต่อสู้ป้องกันกิเลสที่ใกล้จะเวียนกลับไปหาความเป็นฆราวาสโดยจิตใจอีก ขอให้ทำในใจให้แยบคาย ให้ดีที่สุด แม้ในเวลาที่จะหลับลงไป ก็ทำสติสัมปชัญญะในความเป็นสมณะของเรา แม้มืด ไม่มีไฟ ดับมืดแล้วเราก็คลำศีรษะของเราดูได้ว่าหัวโล้น นี่มันจะได้ไม้ลืมความเป็นสมณะของเรา แม้แต่ในเวลาจะมืด ดับไฟ อุบายชนิดนี้เธอจะต้องจำใส่ใจ
มีรายละเอียดต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะต้องได้รับคำสั่งสอนอบรมสืบไปตามลำดับ ถ้าหวังจะได้ประโยชน์แท้จริงแล้วอย่าประมาทเลย อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย พยายามกระทำตามที่จะได้รับคำแนะนำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในโอกาสข้างหน้า นี่เวลามันน้อยไม่อาจจะพูดเรื่องอะไรโดยพิสดารได้
ขอบอกกล่าวว่าบัดนี้เธอได้เป็นภิกษุแล้ว สามเณรก็ได้เป็นสามเณรแล้ว จงดำรงตนให้มีความเป็นภิกษุเป็นสามเณรให้ดีที่สุด สุดที่สามารถที่จะทำได้ อย่าให้เสียจนถึงกับพูดว่าไม่คุ้มค่าผ้าเหลือง มีอยู่บ่อย ๆ ว่าไม่ปฏิบัติอะไรให้ดี มันก็ไม่คุ้มค่าผ้าเหลือง ไม่คุ้มค่าเหนื่อยที่จะเอาพระสงฆ์มาทำการบวช ไม่คุ้มค่าเหนื่อยของญาติกาทั้งหลายที่มาร่วมบรรพชาอุปสมบท อนุโมทนา เราอย่าทำให้คนเหล่านี้ผิดหวัง เราจงบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ให้ได้ผลจริง และสอนได้จริงตามที่เรารู้ สอนเท่าที่เรารู้น่ะสอนได้ แม้บวชวันนี้จะสอนใครบ้างก็ได้ แต่สอนเท่าที่เรารู้ อย่าสอนให้มากกว่าที่รู้ สอนเท่าที่เราได้เข้าใจ สอนเท่าที่เราได้ลองปฏิบัติดูแล้ว สอนเท่าที่เราเคยได้รับผลดีมาแล้วอย่างไรนี้สอนได้ ถึงแม้จะบวชไม่กี่วัน แม้ว่าใครก็มีความชอบธรรมที่จะสอนได้ ตามที่ได้เรียนมา ตามที่ได้เข้าใจ ตามที่ได้ลองปฏิบัติดูแล้ว ตามที่ได้เคยรับผลมาบ้างแล้ว นี่เรียกว่าบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง รู้จริง สอนจริง ช่วยกันสืบอายุพระศาสนา ได้บุญเหลือที่จะประมาณได้ เอาล่ะเป็นอันว่าการบรรพชาอุปสมบทในวันนี้ได้เสร็จสิ้นลงด้วยดี เป็นการทำดีที่สุดที่เราจะทำได้ และเป็นธรรมเนียมของพุทธบริษัท เมื่อทำแล้ว ความดีอะไรก็ตามต้องอุทิศส่วนกุศลเพื่อบุคคลอื่นด้วยเสมอไป เดี๋ยวเราจะได้กรวดน้ำ ถวายไทยทานก่อนแล้วจึงจะยถา เอ้า, ก็ได้ ถวายทานก่อนแล้วค่อยยถา เอ้า, กราบ
ตามระเบียบ ตามธรรมเนียม ตามประเพณีของพุทธบริษัทเมื่อได้ทำบุญทำกุศลแล้ว ต้องอุทิศส่วนกุศล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบิดามารดา ญาติทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปถึงยังผู้ไม่ใช่ญาติ แม้แต่ศัตรู แม้แต่คนทั่วไป แม้แต่กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน หรือในโลกอื่น ๆ ที่มีชีวิต มีความเป็นอยู่ มีความต้องการ ขอให้ได้รับส่วนกุศลที่เราได้ทำในวันนี้ คือการบรรพชาและอุปสมบท ให้ได้รับประโยชน์สุขจากส่วนกุศลอันนี้โดยสมควรแก่คติวิสัยของสัตว์นั้น ๆ ทุกคน ทุกจำพวก ทำในใจดังนี้ เมื่อพระกำลังว่า ยถา วาริวหาฯ เรารินน้ำให้เล็กที่สุด หมายความว่าให้ตั้งใจให้เล็กที่สุดเหมือนน้ำ อุทิศด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ให้รินน้ำนี่เข้าใจว่าต้องการให้จิตเป็นสมาธิ จึงให้รินน้ำให้เล็กที่สุด ด้วยจิตที่กำลังเป็นสมาธิ ให้อุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทั้งปวง ดังนั้นเธอจงทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งเขาได้ทำไว้ดีแล้ว จับแก้วน้ำด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วรินด้วยมือข้างหนึ่งให้เล็กที่สุด มีจิตควบคุมดีแล้วมันก็จะรินได้เล็กดี นี่เขาเรียกว่าความเป็นสมาธิโดยอัตโนมัติ และจิตที่เป็นสมาธิอัตโนมัติอุทิศส่วนกุศล นั่นแหละอย่างสุดท้ายที่เราจะต้องทำในวันนี้ ญาติโยมทั้งหลายก็เหมือนกันแหละ ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลเพื่อคนอื่นที่เขาไม่ได้มา
นาทีที่ 1.52.54 - 1.54.36 งไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ให้พรผู้บวชใหม่
นาทีที่ 1.54.39 - 1.55.30 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
ให้พรญาติโยม ทายก ทายิกาทั้งหลาย
นาทีที่ 1.55.37 – 1.58.16 ไม่ได้ถอดเสียง เป็นบทสวดมนต์
เอ้า, พระบวชใหม่หันหน้าไปฝ่ายโน้น เอาบาตรตั้งข้างหน้า เอาบาตรตั้งข้างหน้า จับสายบาตรไว้ ให้โยมเขาใส่บาตร เอาไปตั้ง นั่งกันเป็นแถว บาตรวางข้างหน้า ถือสายบาตรไว้ ออกไปอีก ออกไปอีก โยมไม่ต้องขึ้นมา ออกไปอีก ออกไปริมเลย ออกไปริมเลย เขาให้หนังสือเล่มหนึ่ง เราไม่เห็นมี…หนังสือน่ะ จะดูว่าหนังสืออะไร มาจากไหน