แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ตั้งใจฟังให้ดี ลาสิกขา ลาสิกขา เป็นเณร ไม่ได้ลาศาสนา ไม่ได้ยกเลิกพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้ยกเลิก ไม่ได้ยกเลิกความเป็นพุทธบริษัท และตั้งใจลาสิกขาเฉพาะตอนเป็นสามเณรด้วยจิตใจเข้าใจรู้ เรื่องดีแล้ว.......0.45..........ทำใจให้ถูกต้องว่าต้องทำด้วยจิตใจไม่ใช่ทำแต่ปากหรือท่าทาง กันเสมอ.1.05 .ตั้งนะโมตามธรรมเนียมของพุทธบริษัท ทำอะไรก็ต้องให้มีสติปัญญาให้มีสติสัมปชญะ ก็ตั้งนะโม ระลึกถึงพระพุทธเจ้า มีสติสัมปชญะ.อย่างถึงว่าทำ..........ลาคืนสิกขาให้เรียบร้อยโดยเข้าใจว่าเราบอกว่า ข้าพเจ้าเข้า 1.33…….เข้าถึงสิขาอย่างสามเณร เพื่อให้ข้าพเจ้าเป็นคฤหัสต่อไป …กราบ ๓ หนแล้วกราบ แล้วนะโม.1.40….เราได้กล่าวคืนสิกขา แสดงความประสงค์ด้วยจิตใจรู้เรื่องในการกระทำของตนอย่างถูกต้อง ฉะนั้นเราจึงไม่มี 2.42 อีกต่อไป
ที่นี่ก็จะให้โอวาทตามธรรมเนียม ผู้ลาสิกขา ส่วนสำคัญที่สุดก็คือว่าให้เรารู้จัก “พา” เอาประโยชน์หรืออานิสงค์ของการได้บรรพาชานี้กลับไปบ้าน อย่าไปอย่างโง่เขลามือเปล่าไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เมื่อบรรพาชานี้ ถ้าเราทุกคนบวชจริงทำจริง มันก็ได้อานิสงค์มากมายอยู่ เราเองก็จะได้นั่นเป็นข้อที่ 1 ) ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดาเป็นต้นก็จะได้นี่เป็นข้อที่ 2 ) เพื่อนมนุษย์โลกทั้งหลายก็พลอยได้นี่เป็นข้อที่ 3) หนึ่งเรากลับไปนี้ต้องมีอะไรดีกว่าเมื่อยังไม่ได้บวช ต้องมีอะไรดีกว่าก่อนที่จะบวช นั้นต้องเอาไป จะประพฤติปฏิบัติอย่างไรในระหว่างนี้ ให้เป็นคนมีธรรมะข้อไหนกี่ข้อ ให้ธรรมะนั้นกลับไปด้วยไปบ้าง อย่างน้อยก็มีสัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ
สัจจะคือความจริงใจ ทะมะคือบังคับตัวเอง ขันติ- อดทน จาคะ- สละ เรามีความตั้งใจจริง เล่าเรียนจริง อะไรจริง ปฏิบัติจริงก็เรียกว่าสัจจะ สัจจะไปเรื่อย ทะมะนี้เรียกว่าบังคับตัวเองตลอดเวลาที่บวชอยู่มันมีการบังคับตัวเอง นับตั่งแต่ไม่นอนสาย มาทำวัตรสวดมนต์ ขวนขวายเรียนนั้น เรียนนี่ ทำนั่น ทำนี่ บังคับตัวเอง อยู่ตลอดเวลา ให้นิสัยนี่ติดไปบ้างด้วย คือบังคับตัวเองให้ทำอะไรอยู่ในระเบียบมีความถูกต้อง
ร่องรอย ขันตินั้นต้องอดทน อดทนต่อความยากลำบากการเจ็บไข้ได้ป่วย หนาวร้อนเย็น หรือไรก็ช่างก็ต้อง อดทนต่อกิเลสมันบีบคั้น กิเลสจะบีบคั้นเราให้ทำเลว ทำเหลว เช่นอยากไปดูหนังใจจะขาดนี่เราก็ไม่ไปเรามันอดทนได้ เมื่อมันจะต้องอดทนก็ต้องอดทนให้ได้ จาคะก็แปลว่าสละ อะไรไม่ดีที่ไม่ควรอยูกับเราก็สละการ การกระทำก็ดีการพูดจาก็ดีความคิดก็ดี ที่เลว ๆ ที่ไม่ควรอยู่กับเราต้องสละออกไป
จำได้มั้ย 4 คำอะไร อ้าวจำได้ สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ , สัจจะนี้จริง ทะมะนั้นบังคับให้มันจริง ขันติอดทนให้มันเป็นจริง จาคะอะไรเป็นข้าศึกแก่ความจริงก็สละ สละ อย่างน้อยก็เอาของวิเศษนี่ติดไปบ้าง อย่าให้สึกเปล่า กลับไปเปล่า ให้ท่องไว้เรื่อง สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ วันนี้ทำอะไรผิดบ้าง ไม่มีสัจจะ ไม่มีทะมะ ไม่มีขันติ ไม่มีจาคะ ก็เสียใจ นี่ ๔ อย่าง และยังมี ๔ อย่างประจำวัดนี้ จารึกอยู่ในโพธิสัตว์โน่น สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ ,สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ , สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ ว่างัย ว่างัย สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ , สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ สุทธิว่าอะไร สุทธิแปลว่าอะไร- บริสุทธิหมดจด ไม่มีชั่วไม่มีเลว แล้วปัญญา - รู้ที่ควรรู้ , เมตตา – รักผู้อื่น, ขันติ-มันก็ซ้ำอยู่ท่อนนี้ . สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ โน่นอันโน้น สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ นี้ก็พอ ๘ อย่างคุ้มครองหมดมีแต่เมตตารักผู้อื่นคำเดียว ไม่ฆ่า ไม่ขโมย ไม่ประพฤติล่วงของรักผู้อื่น ไม่พูดเท็จไม่ทำอะไรเมามายให้ผู้อื่นรำคาญ นี่เรียกว่าเราได้ส่วนที่เราจะได้ เรากลับไปเราเอาไปด้วย ญาติทั้งหลาย บิดา – มารดาเป็นต้น จะพึ่งได้หากฟังดี ๆ วาต่อไปนี้ เราจะไม่ทำให้บิดา –มารดาต้องร้อนใจอีกต่อไปด้วยเรื่องอะไรก็ตาม จะไม่ทำให้บิดา –มารดาร้อนใจอีกต่อไป เราได้บวชแล้ว เราจะทำบิดา –มารดาให้เย็นเหมือนกับน้ำรด นี่เขาเรียกว่าโปรดบิดา-มารดา สรุปว่าอย่าให้บิดา-มารดาต้องร้อนใจเพราะเราอีกต่อไป ไม่ ....11.30…….ก็ทำให้ท่านสบายใจทุกอย่าง
ที่นี้อย่างที่ ๓ ที่มนุษยจะพลอยได้นี้ เราบวชนี้ เราต้องไปสืบอายุพระศาสนาไว้ ประพฤติ ปฏิบัติให้ยังคงมีศาสนาไว้ในโลก แล้วคนทั้งโลกก็จะพลอยได้รับประโยชน์จากศาสนาที่เราสืบไว้ เราจะสืบศาสนาไว้ด้วยการประพฤติศาสนานั้นเอง แม้จะลาสิกขาแล้วก็ยังเรียนได้ ยังปฏิบัติได้ ยังอธิบายชี้แจงสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้เข้าใจได้ อย่างนี้เรียกว่าสืบอายุพระศาสนา คนทั้งหลายในโลกก็พลอยรับประโยชน์จากเรา ให้เพื่อนมนุษย์พลอยได้เพราะการบวชของเรา เราก็รู้จักสืบอายุพระศาสนา เอาละเป็นอันว่าได้กันทั้ง ๓ ฝ่าย เธอผู้บวชเองก็ได้ อะไรกลับไป บิดา-มารดาก็พลอยได้รับความชื่นอกชื่นใจสบายใจตลอดเวลา และเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ก็พลอยได้รับประโยชน์จากการที่เรามีความรู้ความเข้าใจในพระศาสนา สืบอายุไว้ ให้เป็นประโยชน์ไปตลอดกาลนาน นี้เรียกว่าประโยชน์มหาศาลเหลือที่จะกล่าวได้ ที่นี้เขาว่าไอ้คนที่บวชแล้วสึกไปนี้ เขาถือเป็นโอกาสเสมือนกับว่านับคะแนนใหม่ ตั้งต้นกันใหม่ นับคะแนนใหม่ถือว่าต่อนี้ไป มันจะไม่มีคะแนนลบคือไม่ทำผิดอีกต่อไปไอ้ก่อนหน้านี้ ก่อนหน้าโน้น มันมีผิดบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง อย่าไปเสียใจกับมันเลย แล้วก็แล้วไป แต่ว่าไอ้ที่ผิดเป็นว่าไม่ทำอีก ต่อไปนี้มันก็มีแต่คะแนนบวกเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น คะแนนลบไม่ต้องมี มันก็ได้ ๕ เรื่อยไปนาน ๆ จนแก่ จนเฒ่า มันก็มีแต่คะแนนแห่งความดีมีแต่คะแนนบวก ให้ทำเหมือนอย่างว่าลบกระดานดำ คะแนนเลอะเทอะ ลบหมดให้ว่าง ที่นี้ก็ ศูนย์ใหม่ เป็น ๑,๒,๓,๔,๕ มีแต่ฝ่ายบวก คิดดี……14.50……..
ถ้าว่าทำได้อย่างนี้ นี่แหละคือสูงสุดเหลือประมาณ ต้องการที่ได้บวชแม้ว่าจะบวชในระยะอันสั้น แต่ได้ทำให้มันถูกต้องครบถ้วนทุกอย่างทุกประการก็คือทำได้ เมื่อตะกี้พูดว่าอย่างน้อยมันก็จะต้องดีขึ้นกว่าเดิม ทุกอย่าง ดีกว่าเดิมทุกอย่าง มีสัจจะมากกว่าเดิม มีทะมะมากกว่าเดิม มีขันติมากกว่าเดิม มีจาคะมากกว่าเดิมอย่างนี้จำได้แล้วใช่ไหมไหนว่าอีกทีเผื่อลืมอะไร สัจจะมานำหน้าก่อนจะบวช สัจจะทะมะ ไม่ใช่ สัจจะ ธรรมะ ทะมะนี่ไป หาหนังสือเล่มนี้มาอ่านเขามี เรายังจะต้องทำต่อไปอีกมาก กว่าจะเป็นผู้ใหญ่สูงอายุ ประสพความสำเร็จในเกิดการเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ถือหลักนี้ตลอดไป แม้ว่าจะเรียนหนังสือ แม้ว่าจะไปประกอบอาชีพ สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ เรียนหนังสือให้จริง สัจจะก็บังคับให้มันจริง ขันติเหน็ดเหนื่อยลำบากก็ทน จาคะอะไรเป็นข้าศึกแก่การเรียนก็เอาออก ก็เอาออกไป ก็เอาออกไป เป็นความขี้เกียจ เหลวไหล เพ้อเจ้อ เป็นเจ้าชู้ เป็น เอาออก เอาออก เอาออก เป็นข้าศึกของการเรียน ก็เลยมี สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ ในการเรียน พอถึงเหตุการณ์ที่ทำการงานอีก ก็เหมือนกันอีกละมีสัจจะทำให้จริงในการงานนนั้น ทะมะบังคับให้ทำในการงานนั้น ขันติอดทนตลอดเวลา คือการทำงานนั้น และจาคะอะไรที่เป็นข้าศึก ทำทำความเสียหายแก่การงานนั้น ก็เว้นหมด ละหมด ไม่ที่สุดแม้จะ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เลี้ยงอะไรมันก็ต้อง สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะด้วย ไม่เชื่อลองไปสังเกตุดู มันจะดีกว่าเดิม มันจะมีดีกว่าเดิม เอา สัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะไป ก็ไปที่ตรงไหนตรงนนั้นก็จะมีผลดีถึงที่สุด และก็ดีกว่าเดิม ทีแรกที่เราไม่เคยมีที่เกี่ยวกับประโยชน์ พลอยได้ที่แฝงออกไป เราทำตัวเป็นผู้นำเพื่อนฝูง ในอันเกี่ยวกับศาสนา ให้มากที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ ถ้ามีโอกาสให้เราทำตัวเป็นผู้นำเพื่อนฝูงในทางศาสนา ชักชวนกันศึกษา ชักชวนกันประพฤติปฏิบัติ หรือแม้แต่ทำพิธีรีตองอะไรบ้าง เกี่ยวกับศาสนา เราก็ต้องทำได้ นำได้
นอกจากว่า นะโมก็ไม่มีผิดพลาด แต่ว่าไม่มีผิดพลาด นะโมก็ต้องว่าทุกคราวที่จะตั้งต้นทำอะไร เป็นการตั้งต้น เรียกสติสัมปชญะให้มา ให้สมบูรณ์ แล้วจึงทำ แล้วจึงตั้ง นะโมเพื่อเหตุนั้น คนที่ไม่ตั้งนะโมบางคน ลวก ๆ ไม่ให้สำรวมจิตใจให้ดีเสียก่อนแล้วจึงทำอะไร ถ้ามันเป็นคนตั้งนะโมหมายความว่าสำรวมจิตใจ เรียกว่าสูงสุดถูกต้องเสียก่อน จึงจะทำอะไร เราจะเห็นได้ว่าพิธีทั้งหลาย หรือการจะทำอะไรที่สำคัญ ๆ เขาก็คิดถึงพระพุทธเจ้า ตั้งนะโมซะก่อน เหมือนกับทูลถามพระพุทธเจ้าเสียก่อนว่าเราจะทำนี่ ถูกมั้ย จะ
ดีมั้ย อะไรเรียกว่านึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนที่จะทำอะไร ประโยคนี้สำคัญมาก ทูลถามพระพุทธเจ้าก่อน แต่จะทำอย่างไรหมายความว่าเรื่องนั้นมีปัญหา มีความยาก มีความลึกลับพอสมควร เว้นก่อนแต่จะทำเรื่องนั้น เราทำเหมือนไปถาม ไปทูลถามพระพุทธเจ้าเสียก่อนว่า เรื่องนี้ควรทำมั้ย และควรทำอย่างไร คือไปยั้งคิดนะเอง เหมือนกับไปตั้งนะโมไว้ก่อน ไปทูลถามว่า ไป ยั้งคิด เราไปยั้งคิด นึกให้รอบคอบให้ทั่วถึง ทั้งหมดที่เราได้เรียนมา เหมือนกับตั้งปัญหาเรื่องนี้ถ้าไปทูลถามพระพุทธเจ้า ท่านจะตรัสว่าอย่างไรเสมอ เราจะทำอะไรรี ๆขวาง ๆ ดื้อดึงพ่อแม่หรือจะไปริเป็นเจ้าชู้ เป็นอะไอย่างนี้ มันก็ต้องทำเหมือนกับว่าทูลถามพระพุทธเจ้าเสียก่อนว่าเรื่องนี้ท่านจะว่าอย่างไร ประเดี๋ยวนึกได้คิดได้มันเลิกไม่ทำ ที่ไม่ดี มันก็ไม่ทำ มันจะไปทำแต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าว่าควรทำ ไอ้ที่ควรทำ ชนิดที่เป็นคะแนนบวกเรื่อยมันก็ไม่มีคะแนนลบเกิดขึ้น ที่บวชอยู่นี้มันก็เรียนเพิ่มอยู่เรื่อย คือออกไปแล้ว ก็ต้องเรียนเพื่มอยู่เรื่อย ไม่ใช่หยุดเสีย มันจะได้ใช้เป็นพระพุทธเจ้า สำหรับไว้ทูลถามว่าเรื่องนี้ควรทำมั้ย เรื่องนี้ควรทำอย่างไร เราจะมีพระพุทธเจ้าที่ตอบคำถามให้แก่เราได้
ทีนี้เราลาออกไปเป็นคฤหัสถ์ เป็นคฤหัสถ์ต้องอะไรนะ นี่ยังไม่รู้ยังไม่เคยคิด ยังไม่ได้สนใจที่จะจับหลักให้ได้ เป็นคฤหัสถ์ก็ต้องทำหลายอย่างก็จริง แต่ว่ามันมีอยู่สัก ๓ หัวข้อ คฤหัสถ์ต้องมีทรัพย์สมบัติพอ พอตัว พอสมควรที่เราจะทำได้ เป็นคฤหัสถ์ก็ต้องมีเกียรติยศ ชื่อเสียงพอตัว เป็นคฤหัสถ์ก็ต้องมีคนดีที่รักเรา พอ พอตัว แล้วเราอย่าไปประพฤติ สำมะเลเทเมา ทำลายทรัพย์สมบัติ มันต้องมีทรัพย์สมบัติพอตัว ต้องสะสมไว้เหมือนกับจอมปลวก สะสมขึ้นมา เราไม่ทำชั่ว เราไม่ทำเลว เพื่อจะได้ทรัพย์สมบัติ ทำแต่ดี ๆ ที่ถูกที่ควร เพื่อที่จะมีทรัพย์ ไม่ทันไร ฆราวาสคนนั้นเขาก็มีทรัพย์สมบัติพอตัว ถ้าฆราวาสจะต้องมีเกียรติยศชื่อเสียงพอตัว ไม่มีทรัพย์สมบัติ ก็ไม่มีใครนับถืออะไร ไร้ประโยชน์ ต้องมี ชื่อเสี่ยง เกียรติยศให้เขานับถือ ต้องรู้ว่า และก็ต้องมีคนรักเราพอตัว ต้องมีอะไรดี ๆให้เขารัก ให้มีคนดี ๆ ที่รักเราพอตัว คือมากเหมือนกันมากอยู่ในโลกนี้ ต้องมีคนที่รักเราจำนวนพอตัว มากกว่า ด้วย จะอยู่ด้วยความมีคนเกลียดชัง และอยู่ด้วยความมีคนรักเราพอตัว ผู้ใหญ่รักเรา ผู้เสมอกว่าเราก็รักเรา เด็ก ๆ กว่าเราก็รักเรา คนต่ำกว่าเราก็รักเรา คนเสมอเราก็รักเรา คนดีกว่าเราก็รักเรา อย่างนี้เขาเรียกว่ามีคนรักเราพอตัว ถ้ามันมีแต่คนรัก มันก็ ๆ ตกต่ำไม่ได้ หรือเป็นทุกข์ไม่ได้ มีแต่คนที่คอยช่วยเหลือรอบด้าน เขาเรียกว่า มีทรัพย์สมบัติพอตัว มีเกียรติยศชื่อเสียงพอตัว มีคนรักใคร่เอ็นดูพอตัวมาก ๆ นี้แปลว่าฆราวาส คนนั้นทำได้อย่างนี้ นั้นแหละเป็นยอดสุดของฆราวาส ที่ดีที่สุด มันเป็นเป้าหมายที่เราเล็งไว้ ทุกคนมีเป้าหมายถ้าเป้าหมายนั้นถูกต้องก็ดีมาก และก็ทำให้ถึงเป้าหมายนั้นในเวลาอันสมควร นี้เรียกว่ามีทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง มีคนรักใคร่ จำได้มั้ย มีสัจจะ ทะมะ ขันติ จาคะ มีสุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ พอประสพความสำเร็จก็จะมีทรัพย์สมบัติพอตัว มี
เกียรติยศชื่อเสียงพอตัว มีคนรักเราพอตัว และขอให้เจอพาสิ่งเหล่านี้กลับไป กลับไปบ้านกับสิ่งเหล่านี้ ให้กลับออกไป อย่าให้มือเปล่า อย่าให้เสียเวลาเปล่า มือเปล่า ก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้ กลับไปแล้วก็ต้องรักษาไว้ตลอดเวลา ทำไมถึงจะไม่คิดเก็บบาตร หรือจีวรไว้ดูเป็นที่ระลึก ทำไมจึงไม่ยึด ไอ้คนบางคนก็ไม่ค่อยคิดว่า ไม่คิดว่าบาตร จีวรนี้ เก็บไปไว้ ดูเป็นที่ระลึกแก่การที่ได้บวช ยิ่งกว่าไอ้รูปภาพถ่ายเสียอีก รูปถ่ายไม่ค่อยมีอำนาจอะไร แต่ บาตร – จีวรมีอำนาจ เรียกว่า ขู่เอาไว้ ว่าอย่านะ อย่านะ อย่าไป ทำอะไรให้ไม่สมกับที่เคยบวชมาแล้ว มีคนหลายคนเขาทำ เอาละในที่สุดนี้ก็จะให้พรนะ
ฟังให้ดี คำแนะนำ ตักเตือนอะไรที่ได้พูดไปแล้ว ให้พยายามประพฤติ กระทำให้สำเร็จจนเกิดผลดี คำว่าพรแปลว่าดี คำว่าดีแปลว่าพร เพราะฉะนั้นใครทำให้มันดี คนนั้นก็มีพร แม้จะไม่มีใครให้พร มันก็มีพร เพราะว่าเราได้ทำตรงกับคำว่าพรคือดี ก็ให้ทำความดี ให้มีความเจริญ ตามทางของความดี หรือพร ก้าวหน้าอยู่ทุกทิวาราตี เทอญ