แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
แล้วที่นี้ฟังในทีวี แล้วก็ให้จิตใจมันไปตามที่ว่า เมื่อเราบวชชีถือศีล 8 พร้อมทั้งสรณาคมณ์ นี่ขอจะลาสิกขาชีนี่ ก็ต้องตั้งใจเปลี่ยนจากศีล 8 เป็นศีล 5 ส่วนสรณาคมณ์นั้น หาได้คืนไม่
แล้ว พุทธัง สรณัง คัจฉามิ นั่นไม่ได้บอกคืน ต้องจำไว้ตลอดชีวิตด้วยว่า อันนี้ไม่มีการคืน ไม่มีการเข้าการออก มันจะขาดก็ต่อเมื่อเราไปถือศาสนาอื่น ถึงเราก็ไม่เป็นอันต้องคืน จิตใจอย่าให้มันเลื่อนลอยหรืองมงาย คืนหมดรับกันใหม่หมด นี่ต้องจำไว้จนตลอดชีวิตด้วยนั่น เขาเรียกสรณคมณ์ ไม่มีการคืน จะเปลี่ยน จะอะไรก็ว่า เปลี่ยนแต่ศีลสิกขาบท อย่างชีอย่างฆาราวาส
งั้นเราจะไปเปลี่ยนผ้าหรือไป.. แล้วจิตใจมันต้องรู้ว่าเราทำอะไร อย่าให้มันเลื่อนลอย หรืออย่าให้มันไม่รู้ว่าทำอะไรกันแน่ หรือว่าเข้าใจผิด คืนกันหมด แล้วค่อยรับกันใหม่ ไม่ถูก ที่สำคัญกว่านั้น คือว่า บวชแก้บน แล้วคราวนี้จะสึก ต้องคิดว่า พ้นบุญที่บนไว้ แล้วยกเลิกแล้ว ไม่ถูกไม่ (นาทีที่ 04.33) บวชแก้บน เราได้บนไว้ว่า จะเอาคุณพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ให้จิตมันมั่นคง โรคภัยไข้เจ็บมันจะได้หาย คนถูกโรคภัยไข้เจ็บหาย(นาทีที่ 04.56) แล้วก็เลิกกัน แบบนี้มันไม่ได้ มันไม่ใช่เรื่องซื้อขาย ไม่ใช่เรื่องทำกับหมอ จ้างรักษาหายแล้วเลิกกัน มันไม่ถูกนี่ ธรรมเนียมที่ใช้ ธรรมเนียมที่พูดไม่ค่อยจะถูก เราต้องเข้าใจเสียใหม่ บนแล้วหาย แล้วบวช ที่นี้เราไม่กลับไปอีก ไม่กลับตามอย่างเดิมไม่ ถึงบวชแล้วสึก จิตใจต้องอยู่สูง ในระดับที่เราได้ขึ้นมาจนถึงนี้แล้ว แล้วกลับไปที่เดิม เดี๋ยวไม่สบายอีก จะทำยังไงที่นี้
เราต้องมีจิตใจที่สูงกว่าก่อนบวช บวชเข้ามาต้องมีจิตใจที่สูง ที่กล้าหาญ ที่แน่ เชื่อแน่ ก็กลับสึกไปนี้ อย่าให้มันอ่อนเหมือนเดิม ขี้ขลาดเหมือนเดิม กลัวเหมือนเดิม หรือต่ำเหมือนเดิม แบบนี้จะเรียกว่า แก้บนด้วย แล้วก็รอดตัวไปหมด ควรจะเข้าใจว่า เหมือนเขาพูด ๆ กัน บวชเท่านี้วัน บวชเท่านั้นวัน แล้วกลับไปตามเดิมอีก ไม่ถูก อย่างทำอย่างนั้น ทุกอย่างที่เราหาได้ ในเวลาบัดนี้ จะต้องรักษาเต็มที่ตลอดเวลา เรื่องวิชาความรู้อะไรก็ตาม ที่ว่าไหว้พระได้ ว่าศีลได้ ว่าอะไรนี้ อย่าให้มันหมดไปเสีย จะอยู่ ๆ คุ้มครองเรื่อย เดี๋ยวสึกแล้วปล่อยให้หมดไปเสีย อะไรก็หมดไป ๆ เดี๋ยวจะกลับไปสภาพเดิม
สิ่งไหนที่เราได้จำ ก็รู้จำ แล้วความรู้สึกในใจก็ต้องอยู่ ในระดับใหม่ระดับที่สูงกว่า ต้องถือธรรมะ ให้เป็นหลักยิ่ง ยิ่งขึ้น อย่าไปเห็นแก่สะดวกสบาย เหมือนกับเด็ก ๆ จะไม่ค่อยนึกถึงเรื่องศีลเรื่องธรรม เรื่องอะไร ไม่ใช่จะว่านะ ถ้าจิตใจมันกลับไปต่ำแบบนั้น มันเจ็บไข้อย่างเดิมอีก มันไม่คุ้ม เจ็บไข้แบบนี้กลับมาอีก ต้อง(อุตส่าห์)รักษาจิตใจให้แน่วแน่ไว้แหละ ให้เชื่อว่ายังคุ้มครองอยู่แหละ คุณพระพุทธเจ้ายังคุ้มครองที่ยิ่งต่อไปข้างหน้า (นาทีที่ 07.51) ให้จิตใจเข้มแข็ง จะได้ป้องกันไม่ให้โรคกลับมาอีก หรือให้โรคอื่น ๆ เกิดขึ้นอีก เดี๋ยวต้องบนกันอีก จะต้องบวชกันอีก มันจะลำบากแหละ
บวชทีนึง ให้มันคุ้มไปตลอดเลย หรือว่าจะสึกออกไปที่นี้ก็มันต้องเอาทุกอย่าง เอาไว้เหมือนเดิม มันสึกเพราะให้อยู่ ให้ไปเข้าโรงเรียนได้ จากความรู้ก็ต้องเรียนเพิ่มเติมอีก มันสึกแล้วก็เรียนได้ หนังสือธรรมะธัมโมมันก็มี นี่กลัวจะกลับไปเป็นเหมือนเด็ก ๆ เหมือนเมื่อเดิมอีก มันจะขาดทุน มันจะไม่หลุด แล้วก็ไม่หลุดบุญ แล้วจะไม่คุ้มครอง อย่าให้เป็นอีก ตั้งใจไปเรื่อย ๆ จะมีคุณพระคุ้มครองเต็มที่อยู่เรื่อย ใจคอสบายให้นอนหลับสนิท ไม่ให้สะดุ้งวิตกกังวล หรือไม่ให้อ่อนแอเศร้าสร้อย โรคมันจะได้หายขาดไปเสียที จิตใจของเราจะได้เก่งกว่าเดิม การเล่าเรียนต่อไปมันจะได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ที่เขาได้พูดเป็นหลักกันไว้ หรือพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ ว่าทุกอย่างมันอยู่ที่จิตใจ ขึ้นอยู่กับจิตใจ จิตใจรวนเร ไม่รวนเร จิตใจรวนเร ร่างกายรวนเร ร่างกายรวนเรโรคภัยไข้เจ็บก็เกิดขึ้นมา ที่นี้เราต้องรักษาจิตใจให้แน่วแน่ให้มั่นคงให้ถูกต้อง แล้วร่างกายมันจะเข้มแข็งแน่นเฟ้นไปตาม โรคภัยไข้เจ็บก็เกิดยาก กลัวกลับไปถึงบ้าน ไปพบเพื่อนพบฝูง เดี๋ยวไปกลับเป็นเด็ก ๆ เหมือนเดิมอีก จะได้ประโยชน์น้อย
ถ้าให้ดีที่สุด เรากลับไปนี้ ก็ต้องไปนำเพื่อนนำฝูงได้มั่ง เรื่องทำความดีทำบุญรับศีลทำทาน มันจะได้รอดตัว มันจะได้ไม่ได้เจ็บไม่ได้ไข้ ไม่ต้องบวชต้องบนขึ้นมาอีก เราบวชชีนี้ กลับออกไปบ้าน มันต้องมีอะไรมาก ไม่ใช่กลับไปเท่าเดิม นี่เข้าใจผิด อ้าว บวชแล้ว แก้บนแล้ว หลุดบนแล้ว กลับบ้านเอาเท่าเดิม อะไรกระโจนเข้าไปตามแบบเดิมตามรูปเดิม ไม่ไหวแหละ บวชตั้งเยอะ บวชแล้วต้องรู้สา ที่นี้มันต้องรู้สาทุกอย่าง ต้องไม่ออดแอด ต้องไม่ดื้อดึง ทางหนึ่งไม่ออดแอด ทางหนึ่งไม่ดื้อดึง(นาทีที่ 11.05)
คนสมัยนี้ เขาไม่คอยเชื่อฟังพ่อแม่ เขาไม่ค่อยจะเกรงใจพ่อแม่ แล้วก็ไม่ได้อบรมสั่งสอนกันแบบวัดวาอาราม ไปกันใหญ่ แล้วผลสุดท้ายตัวเองเดือดร้อน ไม่ใช่พ่อแม่เดือดร้อน ตั้งอกตั้งใจเสียใหม่ ให้มันมีการเปลี่ยนแปลง ให้เอาความรู้ความอะไร ติดกลับไปให้มาก ให้ต่อสู้กับไอ้ความอ่อนแอ ความหวาดกลัว ความหวั่นไหว ให้มันเก่งกว่าเดิม เราก็ไม่รู้จะพูดอะไรดีไปกว่านี้ เพื่อให้มันเก่ง ให้มันเก่งกว่าเดิมนี่ เก่งกว่าเมื่อก่อนเข้ามาบวชนี้ ทุก ๆอย่างแหละ การที่จะเล่าเรียนหรือรู้ หรือว่าการที่มีจิตใจเข้มแข็ง หรือว่า การประพฤติศีลธรรม อะไรก็ตามใจให้มันดีกว่าเดิม อย่าลืมเสีย เดี๋ยวก็กลับไปเท่าเดิม กลับไปเท่าเดิม
เขาจะล้อนั่น ว่าบวชทั้งทีไม่มีอะไร ที่แปลกขึ้น ที่ดีขึ้น กลับไปเท่าเดิม หรือว่ายิ่งแรงกว่าเดิม ต้องระวังที่สุด อย่าให้ใครล้อได้ ให้มันน่านับถือ มันน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม พี่น้องจะได้นับถือ พ่อแม่ก็จะได้สบายใจว่า เธอมันรอดตัว เอาตัวรอดได้ มีความรู้มีความพฤติ ต้องได้อันนี้ด้วย ถึงจะเรียกว่า หมด หมดข้อบน แก้บนมันหลุดไปแล้ว ตัวที่ง่าย ๆ ง่าย ๆ แล้วลืมเสีย ที่สึกเขาไม่ได้มีว่า คำสึกโดยเฉพาะ เหมือนกับบวชเณรบวชพราหมณ์ แต่เราต้องรู้เองว่า เราขึ้นไปศีล 8 สรณาคมณ์ไม่คืน แล้วก็ขอศีล 8 เป็นศีล 5 ก็ขอสะดวกที่อยู่บ้านเรือน ในการกินอาหารหรือว่า ไม่พยายามจากเดิม (นาทีที่ 13.59) หรือว่าจะถือศีล 8 แล้วนี้อยู่ในวัด
ยังอยู่อีก 3 วันไม่ใช่หรือ (ถามคน) หา นี่สึกแล้ว อยู่ที่วัดอีก 3 วัน นี่รักษาศีล 5 หรือศีล 8 (ถาม) (หัวเราะ) หือ ถือศีล 8 (หัวเราะ) อะไรนะ เอาสิ ได้ศีล 5 แหละ เอาสิ ศีล 5 เต็มที่ แล้วตื่นถึงจะได้กินอะไรบ้าง กินผลไม้กินอะไรบ้างก็ยังดี ยังไหว้พระสวดมนต์ อยู่ 2-3 วันก่อน อ่านทุกวันให้เอาไปด้วย กลับไปถึงบ้านเวลาว่าง เอาหนังสือธรรมะนี่แหละ อย่าไปเอาหนังสืออื่นเลย หนังสือเล่าเรียน โรงเรียนอ่านแหละ แต่หนังสืออ่านเล่นอย่าอ่านเลย มันฟุ้งซ่าน จิตใจฟุ้งซ่าน ร่างกายอ่อนแอ เจ็บ โรคภัยไข้เจ็บมีมาก หนังสือนี้มันแน่วแน่ จิตใจเข้มแข็ง ความเชื่อความอะไรมันเข้มแข็ง ร่างกายมันเข้มแข็ง แล้วต่อสู้โรคภัยไข้เจ็บได้ ก็ยังถืออยู่แบบนี้ เราคิดว่า คงจะคุ้มครองได้แน่นอน ไม่ให้โรคกลับมาอีก โรคภัยที่เป็น ให้มันหาย ไม่ให้มันกลับมาอีก เป็นอันว่าแก้บนหลุดออกไปเสียที คือ อย่าอาย พอเราไหว้พระสวดมนต์ หรืออ่านหนังสือธรรมะ กลัวเพื่อนจะล้อ ไม่ต้องกลัวแล้วก็ไม่ต้องอาย เพื่อนเขาอ่านหนังสืออ่านเล่น เราก็อ่านหนังสือธรรมะธัมโม มันจะช่วยให้เราจิตใจเข้มแข็งอยู่ต่อไป โรคภัยจะไม่มารบกวนเราอีก
เราเดือดร้อน ก็เพราะโรคภัยรบกวน จนต้องบวชแก้บน จึงจะต้องเอาเรื่องของธรรมะเรื่องของศีลของอะไรเนี่ย เป็นที่พึ่งต่อไปอีก เราบวช เขาแนะนำให้เราถือสรณาคมณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไร ก็นั้นเรื่องจำ ๆ กันไว้ ถือกันไว้ ปฏิบัติกันไว้จนตลอดชีวิต เรื่องศีลเปลี่ยนได้ตามเวลา ตามโอกาส มีพระพุทธเจ้า นับถือพระพุทธเจ้า ทำตาม เชื่อฟังและทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ต้องโต้แย้ง ไม่ต้องบิดพลิ้ว แล้วนับถือพระธรรม พระธรรมมีว่าอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้น นับถือพระสงฆ์หมายความว่า พยายามจะเป็นผู้ปฏิบัติตามที่พระสงฆ์ปฏิบัติ ให้ดีที่สุด เราก็จะได้เป็นพระสงฆ์ด้วยเหมือนกัน เราปฏิบัติให้เหมือนกับพระสงฆ์ เขาเรียกนับถือพระสงฆ์ ในที่สุดก็คือ ปฏิบัติดี เพื่อพระพุทธ เพื่อพระธรรม เพื่อพระสงฆ์ นี่ปฏิบัติดีทั้งนั้น พยายามเอาอันนี้ไว้ได้ เราก็เหมือนมีพระพุทธ มีพระธรรม มีพระสงฆ์เหมือนอยู่ด้วยตลอดเวลาแหละ ในจิตใจ ได้คุ้มครองจิตใจ ไม่มีทางที่จะทำผิด ทำอะไรที่เรียกว่า ได้ห้ามไว้ พระพุทธเจ้าได้ห้ามไว้ พระธรรมได้บัญญัติห้ามไว้ พระสงฆ์ก็ไม่ทำเลย
ที่นี้ได้บวช ขอให้รับสรณาคมณ์ เรื่องศีล 5 บางอย่างอาจจะไม่ได้รับมาอธิบายให้เพียงพอ
ศีล 5 ข้อที่หนึ่ง อย่าไปประทุษร้ายชีวิต หรือแม้แต่ร่างกาย หรือว่าอวัยวะของสิ่งที่มีชีวิตให้มันตายเสีย มันลำบาก เจ็บปวดแหละ ต้องถือแบบนั้นแหละ ทั้งคนและสัตว์ ไม่ประทุษร้ายชีวิตและร่างกายของมันให้ลำบาก ให้เจ็บปวด เจตนาที่คิดจะทำร้าย
ข้อสอง อทินนาเนี่ย ไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ไม่ลักไม่ขโมย แล้วก็ไม่ทำให้ของเขาเสียหายไป นี่ไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่น หรือของคณะอื่น หรือของอะไรก็ตามใจแหละ ในทุกอย่างทุกทาง ไม่ต้องพูดแต่ว่า ลัก ลัก อย่างเดียวไม่ ไอ้ลักมันคือ คลุมเครือมาก (นาทีที่ 19.18) เพียงทำให้ของเขาเสียหาย ก็ไม่ควร นี่เขาสรุปรวมไว้ในข้อนี้
ข้อที่สาม ศีล 5 ไม่ประทุษร้ายสิ่งคนอื่นที่เขารักใคร่หวงแหน
ข้อที่สี่ ไม่ประทุษร้ายประโยชน์ความดีของผู้อื่นด้วยวาจา เป็นเครื่องมือประทุษร้าย ประโยชน์กับความดี ทำให้ผู้อื่นเสียไปหมด เราพูดเท็จ ที่พูดต้องมีผู้เสียประโยชน์ เสียความดี หรือเสียอะไร ที่ไม่ควรจะเสีย อย่าพูดชนิดนั้นเป็นอันขาด ให้มันรวมหมดเลย พูดเท็จก็ไม่พูด พูดหยาบคายก็ไม่พูด ส่อเสียดยุยงก็ไม่พูด เพราะเรื่องไม่จริงทั้งนั้น แม้แต่พูดไม่มีประโยชน์ พูดพล่อย ๆ ไม่มีประโยชน์ หยอกกันเล่นมากเกินไป เขาเรียกว่ามันไม่จริง
ข้อที่ห้า บรรดาสิ่งที่ทำให้เรามีใจคอผิดปกติ อย่าไปแตะต้องเป็นอันขาด เขาเรียกว่า ของเมา ตามใจอะไรที่ทำให้จิตใจผิดปกติ เขาเรียกของเมาทั้งนั้น ที่เป็นวัตถุ กินเข้าไปดมเข้าไปสูดเข้าไปทาเข้าไป ลูบไล้ตามตัว ที่มึนเมาสุราและเมรัย หรือเครื่องมึนเมาอย่างอื่น นี่ก็เรียกมึนเมา เห็นเข้า ทำเข้าแล้ว จิตใจผิดปกติหมด มันก็เลยเลอะเทอะไปทุกเรื่องเลย ยังมีของเมาเกี่ยวกับจิตใจ เรื่องเขาบ้าก็หนักเวลานี้ บ้าสวยบ้างาม บ้าเรื่องหนังเรื่องละครเรื่องกามอารมณ์ จนไม่เชื่อฟังพ่อแม่ เรื่องของมึนเมามันดึงไป นี่จะแรงกว่าเหล้าเสียอีก เรื่องบ้าสวยบ้างามบ้าสนุกสนาน บ้าทางกามอารมณ์ อยู่ในพวกของเมา เสียสติสัมปชัญญะหมดเหมือนกัน นี่ก็ต้องนับอยู่ในของเมาด้วย อย่าไปยุ่ง ถ้าหากยังรักจะดี เด็กพวกนั้นมันไม่รู้จักอะไรแล้ว จึงไม่รู้ ไม่รู้จักจะรักดี มันก็สนุกกันใหญ่ แล้วก็เลวกันใหญ่
หนังสือพิมพ์ลงอยู่ไม่กี่วันที่เชียงใหม่ โรงเรียนผู้หญิง ชั้นดีเลิศของเชียงใหม่ นักเรียนหญิงมาทำไม่ดี อย่างน่าเกลียดน่าชัง ตามถนนหนทาง ตามร้านอาหาร ตามร้านกาแฟ เมื่อก่อนไม่เคยมี มันไปถึงขนาดนี้ เพราะมันไม่อายนี่ ไม่อายเพราะมันเมามันบ้าไปแล้ว ไปเสพไปกินไปพบไปนึก ไปติดอยู่ในของเมานั่นแหละ จึงทำแบบนั้นได้ เมื่อก่อนทำไม่ได้ ใครทำแบบนั้น อายเหลือเกินผู้หญิง เดี๋ยวนี้ผู้หญิงไม่รู้จักอาย คนไปเมาไอ้เรื่องสมัยใหม่ กระทั่งมันกินยาอะไรกัน กินยา...เข้าไปแล้ว จิตใจเคลิ้ม (นาทีที่ 22.36) สบายบอก ไม่รู้แบบไหน แต่เรื่องบ้าทั้งนั้น
นี่เราอย่าไปเอาของเมาชนิดใดชนิดหนึ่ง ทุกชนิด ข้างนอกข้างในอย่าไปแตะต้อง ต้องรักตัวและรักธรรมะ นี่เรียกว่าของเมา สิกขาบทที่ห้า
หากถือศีลห้าข้อได้บริบูรณ์ตามนี้ แล้วก็ใช้ได้ เป็นอันว่าดีทุกอย่างแหละ ร่างกายก็สบาย จิตใจก็สบาย คนอื่น ๆ พ่อแม่พี่น้องก็พลอยสบาย แล้วบุญนี่แหละช่วยไม่ให้เจ็บไม่ให้ไข้ ไม่ให้มีแต่ ไม่มีเรื่องที่จะเสียหาย ไอ้เรื่องที่ชอบสวยชอบงาม แต่งเนื้อแต่งตัวให้มันเกินไป หรือว่าแต่งเนื้อแต่งตัวตัววิปริตผิดปกติ บ้า ๆ บอ ๆ เขาเรียกว่า เมา โง่ ให้มันอยู่ในข้อนี้ด้วย ประดับประดาเรื่องลูบไล้ทาส่งเสริมความรู้สึกทางสนุกสนาน อยู่ในข้อนี้
ยิ่งกินข้าวค่ำ อย่ากินให้มัน ให้เลยเถิด กินแต่พอสมควร ก็เรียกว่า ถือศีลข้อนี้อยู่บ้าง
นี่เราจะเปลี่ยนจากศีล 8 เป็นศีล 5 เรื่องสรณาคมณ์ไม่เปลี่ยน รักษาศีล 5 รักษาดีที่สุด มันก็ยังเท่า ๆ เดิมนั่นแหละ เท่า ๆ รักษาศีล 8 บอกให้รู้ไว้ ให้รู้แบบนี้ มันจะมีอะไรเต็ม มันจะได้ไม่พร่อง จะได้แก้บน ดีแหละ หลุดแหละ หลุดตลอดกาลเลย เพราะเราไม่ได้ลดอะไร
ในที่สุดก็เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา แล้วเชื่อฟัง บุตรมีหลายชนิด ชนิดที่ดีที่สุด คือ บุตรที่เชื่อฟัง พระพุทธเจ้าว่า ถึงว่าเรามันไม่ชอบ อย่างบิดามารดาเขาต้องการ เราก็ต้องเชื่อบิดามารดาถูกไว้ก่อนแหละ เพราะเราไปชอบสิ่งที่ไม่ควรนี่ มันก็เลยไม่ตรงกันกับที่บิดามารดาต้องการ เกิดทะเลาะกัน ต้องยอมให้บิดามารดาเป็นฝ่ายถูกไว้ก่อน อย่างน้อยเราคิดว่า ได้ชีวิตมาแต่บิดามารดา ไม่ใช่เราเกิดเองได้ เราก็ต้องยอมให้บิดามารดาเป็นฝ่ายถูกไว้ก่อน ค่อยพูดค่อยจา ในที่สุดมันก็ถูก ถูกจริง ๆ หาผิดไปได้ เพราะถ้าไม่เชื่อฟังบิดามารดา ไม่ต้องพูดกัน เขาบัญญัติไว้เสร็จแล้ว ว่าเป็นบุตรที่ใช้ไม่ได้ แล้วที่นี้เราไปทำพิธีลาสิกขาอย่างชี มีสิกขาอย่างอุบาสิกาไปตามเดิม ไม่ใช่หมดเลย ไม่ใช่ เลิกถือสิกขาแปดข้อ อย่างชี แล้วก็ไปถือสิกขาห้าข้อ อย่างอุบาสิกาธรรมดา เรียกว่าถือเคร่งถือเต็มเปี๊ยะเลย ก็เท่ากับถือแปด (นาทีที่ 26.16)
ให้ตั้งใจแบบนี้เวลานี้ เวลาทำพิธี ที่เขาเรียกว่าลาสึก อย่าให้สึกหรอ ลาสิกขา ไม่ใช่ลาสึก ลาสึกเดี๋ยวก็สึกหรอ ให้เหลือน้อยนิดเดียว หรือกร่อนเกือบจะขาดไปเลย ลาสึก สึกหรอ มันก็อะไร ๆ สึก พูดผิด ภาษาไทย พูดผิด ลาสิกขา ลาศึกษา ไม่ใช่ลาสึก (นาทีที่ 26.53) ลาสึกแล้วสึกสิกขา ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องเศร้าสร้อย ไม่ต้องกลัว แล้วจะถึงกลับไปนี้ก็ ไม่ใช่ ๆ มันจะเลวลง เราก็มีสติสัมปชัญญะแหละ เปลี่ยนสิกขานี่ เป็นผ้านุ่งอะไรต่ออะไร มีสติสัมปชัญญะ ปกติพอใจอยู่ตลอด ว่า ทำดีแล้ว ถูกแล้ว
สิ่งต่าง ๆ ที่เราได้ทำมา ตั้งแต่มาบวช จนถึงบัดนี้ ถูกต้องหมดแล้ว ไม่มีอะไรผิดบกพร่องเลย เขาเรียกว่า ได้บุญ ๆ บุญคุ้มครอง ร่างกายสบาย จิตใจสบาย โรคภัยไข้เจ็บมันไม่รบกวน อดทน(อุตส่าห์) ถือได้แบบนี้ เรียกว่ากล้าหาญ แน่ใจแบบนี้ นี่มาพูดให้ฟังเสียก่อน กลัวจะมีจิตใจรวนเร โลเล เข้าใจผิด เรียกว่ากลุ้ม (นาทีที่ 27.59)ใ นขณะที่จะลาสิกขา นั่น นั่นแหละมันจะขาดทุน มันจะไม่ดีไปในทางโชคดี ถือว่า ถ้าได้บวชแล้วโชคดี แล้วอยู่ตลอดเวลา ให้โชคดี ให้กลับ ลาสิกขาไป ให้โชคดี ไม่ใช่ร้าย ไม่ใช่ลดลง ไม่ใช่หดหัวลง นั่นแหละพอใจ แน่ใจว่าเราทำดีแล้ว ถูกแล้ว ต้องมีความเจริญไปในตามทางของธรรมะ ของศาสนาเป็นแน่นอน แล้วทุกคน ญาติ ๆ ทุกคนพลอยได้รับความสุขใจไปด้วย มีสติสัมปชัญญะ ลาสิกขาอย่างชี เป็นอุบาสิกาธรรมดา เอาละไป ไปผลัดผ้า ทำอะไรให้เรียบร้อย แล้วมารับศีลห้า สรณาคมณ์ไม่คืนนะ
ไปกับแม่ ไปนุ่งผ้ากันใหม่
ที่นี้อาราธนาศีล อาราธนาศีลห้า...(เสียงอาราธนาศีลห้า)
มะ ถ้าว่า มะยัง ก็ว่า มะ
ถ้า อะหัง ก็ว่า มิ
จำไว้เป็นความรู้สำหรับนักเรียน
ถ้า มะยัง ต้องว่า มะ
ถ้า อะหัง ภันเต ต้องว่า มิ
อย่า มะ เลย ...(เสียงอาราธนาศีล)
นะโมตัสสะ 3 จบ
บูชาไตรสรณาคมณ์
นี่สรณาคมณ์ รับแล้วรับอีก ไม่ใช่คืน ที่นี้ศีลห้า
อาราธนาศีลห้า
อิมานิ ปัญจะ สิกขา ปะทานิ สะมาทิยามิ ทำไมว่าไม่ได้ ศีลแปดต้องว่า ว่าได้ไหม ศีลแปดไม่ใช่หรือ
อิมานิ อัฏฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาทิยามิ
อัฏฐะ เป็น ปัญจะ ต้องว่าให้ได้ ทีหลัง เราว่า ศีลทั้งแปดนี้ ยังรักษาไว้ให้ดี ในฐานะเป็นนิจศีล ถือเป็นเสนะ คือ รักษาเป็นนิตย์ รักษาไว้ อามะ ภันเต ที่รับไว้ แบบนี้แหละ อามะ ภันเต อย่างนั้น ที่นี้รักษาให้ครบแหละนะ ที่ไม่ต้องเสียสละนะ
ถ้าทำผมอย่างผู้ชาย ผ้านุ่งอย่างผู้ชาย มันขาดศีลมุสานะ ยกเลิกกันที ว่ายังไง มันไม่ได้ มันยกเลิกกันที มันหลอกคนอื่นว่า เราเป็นผู้หญิง แต่ว่า ให้เขาเข้าใจเป็นผู้ชาย มันหลอกคนอื่น ไม่ได้ มันจะมีบาปที่ไหนไม่รู้ มันก็บาปนี้ก็ไม่แน่ เป็นโรคภัยไข้ หยุดกันที หยุดทำให้คนอื่นเข้าใจผิด มันขาดศีลมุสา ถึงไม่ได้พูดกับปาก แต่มันก็แสดงด้วยท่าทาง เขาเรียกว่าพูดเหมือนกัน เป็นวาทะเหมือนกัน
ถ้าถามว่า เห็นไม่เห็น พยักหน้า ถือว่าเห็น มันก็พูดพยักหน้า การพูด พูดได้หลายอย่าง ท่าทางกริยาก็ได้ หนังสือก็ได้ แสดงอาการแบบนั้นแบบนี้ก็ได้ เวลานี้เรามันเปลี่ยนแปลงกันแหละ แสดงหนหลัง ยกเลิกกันไป (นาทีที่ 36.23) ต่อไปรักษาศีลให้เคร่งครัด เฉพาะศีลมุสา รักษาให้เคร่งครัด ไม่ทำท่าอย่างผู้ชาย เพราะเราเป็นผู้หญิง ไม่แต่งตัวอย่างผู้ชาย ไม่อะไรอย่างผู้ชาย คนอื่นเข้าใจผิด ขาดศีลข้อนี้มันจะลำบาก
อย่าเปิดกันแหละ อย่าเปิดทำแบบนี้ตอนแรก ใครเห็นก็ได้รู้ว่า ผู้หญิง ก็เราไม่หลอกเขาแหละ ไม่ใช่พูดเล่นนะเรื่องนี้ คนที่ขาดศีลขาดอะไร มันไม่ใช่บุญนะ มันจะเป็นบาป บางคนโชคร้าย ไข้เจ็บขึ้นมาอีก มันก็ต้องรักษาศีลให้ถูกต้องแหละ ปาณา อาทินนา กาเม มุสา สุรา พ้นสมัยแล้วแหละ เราเด็ก ๆ ทำให้มันหยุดได้ ยกเลิก แต่งตัวผู้ชายยกเลิก ไม่จริง รักษาศีล รักษาไม่ได้ เดี๋ยวนี้จริงแหละ บอกพ่อบอกอะไรเสียด้วย ว่า ยกเลิกกันที ต้องรักษาศีลข้อสี่ไว้ให้ได้ ทำให้เขาเข้าใจผิด แม่ก็รู้เสีย แม่ก็คอยเตือนว่า อย่าทำเลย แบบนั้นมันจะเกิดผิดศีลผิดอะไรเข้า ไม่มีโชคดี
ตั้งหน้าตั้งตาเล่าเรียนแหละ ให้ดีที่สุดนั่นแหละ เพื่อนจะล้อ อ้าว นี่ไปสึก ไปสึก(ผู้)ชายมาเมื่อไร ช่างหัวมันแหละ เรามันเลิกไปหมด สึกไปหมดแล้ว ที่นี้ธรรมดาปกติสามัญที ตั้งหน้าตั้งตาอุตส่าห์เล่าเรียน อย่าเสียใจ อย่าอ่อนใจ อย่าต้อง ให้เชื่อพระพุทธเจ้าเอาไว้แหละ จะเป็นบุญ จะได้ช่วยได้ เสร็จแล้วหมดแล้ว ทำสนุก ๆ พักนึง
สอบชั้นไหน (ถาม) ป. 2 รู้ข่าวว่าได้ใช่ไหม ได้เรื่อย ๆ มศ.3 มศ 4 มศ.5 อย่างน้อยอีก 3 ปี หมดเลย การเรียนเบื้องต้น ตามใจเรียนอะไร ค่อยว่ากัน แล้วมันเป็นคนจริง คนที่เข้มแข็ง กล้าหาญ มีศีลมีอะไร มีศีลมีสัตย์มีธรรม
ที่นี้ก็เป็นเรื่องให้พร เราไม่ต้องให้พร พรหมน้ำมนต์ไม่ เราให้พร ก็เหมือนว่ามาแล้วแต่หนหลัง ทำให้ดี มันเป็นพรหมดเลย ถึงอย่างไรก็ได้ว่า ให้ฟัง ได้ฟัง ได้เชื่อ ได้ทำตาม แล้วมันเป็นพรหมดแหละ มีแต่ความเจริญทุกทิวาราตรี
ตั้งใจเสียใหม่ เหมือนกับเกิดมีจิตใจอย่างใหม่ขึ้นมา แล้วรักษาไว้ตลอดไป อย่าเปลี่ยนเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนตลอดไป ถ้าใครประพฤติดี ประพฤติถูก แล้วมันเป็นเครื่องคุ้มครอง มันก็เรียกเป็นพร ของคุ้มครอง พรนี้อยู่ที่ประพฤติให้ดี ถึงเวลามันก็คุ้มครอง
รดน้ำ มันก็ไม่ได้ เท่าแต่รดน้ำ สำหรับคนขี้ขลาดเท่านั้นแหละ สำหรับคนใจคอปกติ ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ไอ้น้ำมันมี 2 น้ำ ไอ้น้ำของศีล น้ำของพระธรรมนั่น รดสิ ประพฤติทางกาย วาจา ใจ เรียกว่ารดน้ำ ไอ้น้ำในโอ่ง น้ำในบ่อ สำหรับคนป่าเถื่อนสมัยไหนก็ไม่รู้ทำกัน หาช่วยได้ไม่ สำหรับคนที่ฉลาดแล้ว ช่วยได้แต่คนขี้ขลาด คนงมงาย ช่วยได้
เกือบจะทุกวัน คนมาที่นี้ ให้เรารดน้ำมนต์แหละ ไม่รู้ เกือบจะทุกวัน ไอ้คนที่มันอยากจะรดน้ำมนต์ บ้างมาขอพระเครื่อง บอกมัน ทำไม่ได้ ที่อื่นเขาทำมากแล้ว ไปหาที่อื่นเถอะ ที่นี้ต้องการให้รดน้ำพระธรรม รดน้ำพระธรรม นี่บุญ น้ำมนต์ คือ พระพุทธ พระธรรม ทางกายทางวาจาทางใจ ที่รดน้ำมนต์
เราปฏิบัติดีอยู่ที่เนื้อที่ตัว นั่นแหละพระเครื่องที่แขวนคอ พระเครื่องมาแขวนคอ กันอย่าให้ลืม (หัวเราะ) มันอยู่ที่คอ แล้วก็จะได้ประพฤติดีทางกายทางวาจาทางใจ เขาเรียกว่าคุ้มครอง แขวนพระเครื่องแล้วทำชั่ว ไม่มีอะไรช่วยได้เลยรดน้ำมนต์ให้เย็น สะท้านแล้ว ถ้าทำไม่ถูกไม่ดี มันไม่คุ้มอะไรไม่ได้เลย
หากกันลืม คราวหลังจะให้หนังสือไปอ่านมั่ง เป็นฆาราวาส เป็นนักเรียน ต้องมีธรรมะ เป็นฆาราวาสต้องมีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เคยได้ยินไหม จำไว้แบบนี้ก็ได้ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เราจะว่าให้ฟังอีกสองเที่ยว ระวังให้ดี ๆ คอยฟังให้ดี จำให้ได้เลย สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ฟังอีกเที่ยว สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ นี่เรียกว่า ฆาราวาสจะทำ ไปเปิดดูในหนังสือนวโกวาท มันจะมี คำอธิบายมันก็มี
ว่าต้องมีสัจจะ ต้องจริง คนจริง จริงแหละ ไม่ดีไม่เอา ถ้าเอาต้องดี ทำที่จะดี จริง ตรง เปิดเผย นี่ก็ให้หยุดแต่งตัวผู้ชาย เพื่อจะจริง ต้องเป็นคนจริง สัจจะ จริงทุกอย่าง พูดจริง ทำจริง อะไรจริง จริงเพราะหน้าที่ที่จะต้องทำ คือ การศึกษาเล่าเรียนนี่จริง
ที่นี่ ทมะ ท.ทหาร แล้วก็ ม.ม้า เขาเรียกว่าบังคับ คือ บังคับตัวเอง บังคับจิตใจอย่าให้เหลวไหลออกไป ให้มันจริงอยู่ตามเดิม ไม่บังคับเดี๋ยวก็หมดจริงแหละ ต้อง ทมะ บังคับตัวเอง คนอื่นบังคับ มันไม่ได้ ใครจะเข้าไปบังคับหัวใจ มันก็ลำบาก เรา ๆต้องบังคับเอง เรียกว่า บังคับตัวให้อยู่ในร่องในรอย ให้รักษาความจริงไว้ให้ได้ ตั้งใจจริง
ข้อที่สาม ขันตี หรือขันติ นี่แหละ อดทน ถ้าบังคับจะทำให้ดี มันต้องลำบากบ้าง เลยต้องอดทน อยากจะไปดูหนัง ตั้งสัจจะเอาไว้ว่า ไม่ดู ถ้าบังคับให้ไปดู เขาบังคับให้ไปดู มันก็กระวนกระวายใจ ต้องทน อดทน เมื่อสิ่งไหนเขาห้ามว่า อย่าทำเลย มันไม่ดี เราก็เสียใจน้อยใจ ต้องอดทน แล้วต้องไปเสียเวลาเจ็บปวดอยู่ นี่เขาเรียกว่า ขันติ อดทน อดทนต่อความร้อนความหนาว อดทนต่อความเจ็บความไข้ อดทนคำด่าคำว่า อดทนต่อความบีบคั้นของกิเลส ที่จะทำให้เรามันเหลวไหล ต้องอดทน ไม่ทำตาม เขาเรียกว่า ขันตี
ข้อสุดท้ายเรียกว่า จาคะ ๆ สละ ๆ อะไร สละสิ่งที่ควรสละ สิ่งไหนไม่ควรมีในการประพฤติธรรม...(นาทีที่ 45.12) ในบ้านในเรือนไม่ควรมี สละทิ้ง เอาไว้แต่สิ่งที่ควรจะมี ไม่ต้องให้เป็นทุกข์เดือดร้อน หรือเสียชื่อ อย่ามี ถ้าเป็นความประพฤติ ที่ไม่ควรจะประพฤติทางกายก็ตาม ทางวาจาทางใจ ถ้าไม่ควรประพฤติ สละมันเสีย นี่เขาเรียกว่า จาคะ สละ เอาของให้เพื่อนมั่ง เขาเรียกว่า จาคะ ของนั่นมันควรจะให้เพื่อน ถ้าเอาไว้แล้วจะกลายเป็นคนขี้เหนียวมากเกินไป ต้องให้เพื่อนเสีย ให้เพื่อน เพื่อนขอบใจไปจนตาย ถ้าเรากินเองคนเดียว เดี๋ยวก็หมด กินแล้วก็หมด นี่ถ้าถ่ายออกมาก็หมด ถ้าให้เพื่อน เพื่อนยังขอบใจ อีกนาน ถ้าเอาไปทำบุญมันก็อยู่ไปอีกนาน มันเป็นการสละในสิ่งที่ควรสละ
นี่เขาเรียกสัจจะ ข้อที่หนึ่ง จริงใจ ทมะ ข้อที่สอง บังคับใจ ข้อที่สาม ขันติ อดกลั้นในใจ ข้อที่สี่ จาคะ สละสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในใจ พอสิ่งนั้นออกหมด ใจก็สะอาด สว่าง สงบแหละ เธอก็จำข้อนี้ ถ้ายังไม่เคยจำ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ว่าไปเรื่อย ๆ พอสว่างก็นึกถึง(คำ)นี้ เสียสัจจะไม่ได้ ต้องมีธรรมะ
...(เสียงสุนัข) ผูกไว้ที...
พอค่ำลง เราต้องคิดบัญชีว่า เราเสียอะไรไปบ้าง สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ อย่าให้มันเสียแหละ ให้มันมีแต่ได้ ตลอดชีวิตเลย ทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชายทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ต้องถือสี่ข้อนี้ เพื่อจะรักษาศีลให้ได้ เพื่อจะทำงานให้ดี ทุกอย่างที่จะทำให้ดี ก็ต้องธรรมะสี่ข้อนี้ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
จำได้หรือยัง (ถาม) หือ ไหนลองว่าสิ...(เด็กพูด)..จาคะ
สัจจะ ทมะ ไม่ใช่ธรรมะ ทมะ ๆ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
จำให้ได้คืนนี้ สัจะ จริง ทมะ บังคับ ขันติ อดทนได้ จาคะ สละได้ ถ้าถือทั้งสี่ข้อนี้ แล้วก็ดีหมด ทุกอย่างดีหมด เรื่องที่เรามีปัญหาอะไร หมดเลย
เรื่องที่ไม่แต่งตัวเหมือนผู้ชาย ก็จะหมดปัญหาไปด้วย เพราะมันจริง คนจริงต้องบังคับ มันก็สบายแหละ ไม่มีอะไรต้องปิดบัง หรือว่าซ่อนเร้น หรือว่าทำให้ลำบากเรื่อยไป
นี่เราก็มาถือศีลห้าให้ดีที่สุด แล้วก็ทำสี่อย่าง สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้ดีที่สุด ก็พอแล้ว ตลอดชีวิต
ศีลห้าข้อที่หนึ่ง ให้ถือศีลห้า ต้องถืออย่างที่เราว่ากัน ไม่ใช่อย่างที่เขาถือ ๆ พูด ๆ กัน
เด็ก ๆ ศีลห้าข้อที่หนึ่ง ต้องไม่ประทุษร้ายร่างกาย อวัยวะ อะไรก็ สิ่งที่มีชีวิตให้มันเจ็บให้มันตาย โดยวิธีใดก็ตาม
ข้อที่สอง ไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ให้เสียหายไป หรือเอามาเป็นของตัว โดยวิธีใดก็ตาม
ข้อที่สาม ของรักของผู้อื่น อย่าไปแตะต้อง ทำใจ
ข้อที่สี่ มุสาวาส อย่าได้ใช้สัญลักษณ์ที่วาจา คำพูด ตัวหนังสือ กริยาท่าทางอะไร แสดงสิ่งที่ไม่จริง สิ่งที่ไม่จริง แสดงได้ด้วยวาจาได้ ด้วยคำพูดก็ได้ ด้วยตัวหนังสือก็ได้ ด้วยท่าทางด้วยการแต่งกาย เหมือนกับว่า พระ ถือพระปลอมองค์หนึ่ง ไม่ใช่พระ คุณเอาจีวรมาห่ม หลอกให้คนอื่นว่าเป็นพระ เขาว่าใช้จีวรเป็นเครื่องพูดเท็จ จีวรเป็นเครื่องพูดเท็จก็ได้นะ คำว่าพูดเท็จ กว้าง ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เสียประโยชน์ เสียความดี เสียเวลา แม้แต่เสียเวลาไป
แล้วก็ข้อที่ห้า ไม่ประทุษร้ายสติสัมปชัญญะ...ของตัวเอง (นาทีที่ 50.27) ไม่ประทุษร้ายความปกติของจิตใจของเราเอง เรากินของเมาทำของเมา ใจคอมันเสียความปกติ เสียความถูกต้อง นี่ประทุษร้ายตัวเอง ประทุษร้ายจิตใจของตัวเอง ประทุษร้ายความถูกต้องจิตใจของตัวเอง เสียหมด นี่เขาเรียกว่าว่าศีลข้อห้า ทุกอย่างเลย เมาที่ไหนก็ตามใจ ประทุษร้ายสติสัมปชัญญะ....(นาทีที่ 50.54) ให้ถือศีลข้อห้าแบบนี้ ให้ถือศีลแปด ศีลสองร้อย สามร้อยโน้น ไม่มีทางจะสึกได้ ถือได้ตั้งแต่เด็กผู้ใหญ่ คนแก่คนเฒ่าที่ไหนก็ถือได้
ถือศีลห้าข้อ หรือถือธรรมะสี่ข้อ แล้วนี้เป็นพร เป็นพร แล้วมันจะคุ้มครองอยู่นั่น แล้วมันก็รดน้ำมนต์อยู่ตลอดเวลาแหละ เพราะมันถือศีลถือธรรมอยู่ตลอดเวลา มันจึงเหมือนรดน้ำมนต์อยู่ตลอดเวลา มันมีพระเครื่องคุ้มครองอยู่ตลอดเวลา นั่นแหละพูดทั้งหมดนี้ ไม่ใช่พูดเล่น พูดจริง สุดที่จะจริง ไม่ใช่พูดเล่น ไม่ใช่พูดชนิดที่ว่า แฝงอะไรไว้ พูดในความจริงทั้งหมด ต้องทำให้ดี ๆ มันก็ได้ที่ดีที่สุด เท่าที่มนุษย์จะได้นั่นแหละ แน่นอนแหละ เอานี้แบบนี้ อย่าไปเอาสิ่งหลอก ๆ ลวง ๆ
นี่อันว่าในที่สุด ในการเรียนไตรสิกขาของเราก็สิ้นสุดลงไปแล้ว เสร็จเรียบร้อยแล้ว เปลี่ยนสิกขาจากชี ไปเป็นอุบาสิกาธรรมดา ให้จำไว้ว่า เราเป็นอุบาสิกาที่ดีในพระพุทธศาสนา นวกะที่ดีในพระพุทธศาสนา ได้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกทิวาราตรีเทอญ
ปิดประชุม...กราบได้ ไป...
แล้วนี่เขาบันทึกเสียง เอาไปให้พ่อเปิดฟังดู ให้พ่อคอยเตือนไว้ด้วย อย่าให้เราพูดเสียเวลาเปล่า