แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การทำวัตรนี่ก็เสร็จไปแล้ว นี่ก็เหลือแต่การกล่าวคำ บอกคืนสิกขาอย่างสามเณร ให้ตั้งใจฟังให้ดี ๆ ก่อน เดี๋ยวนี่การลาสิกขาชนิดอย่างสามเณร ไม่ได้บอกคืน ไปเสียทั้งหมด ไม่ได้บอกคืนธรรมะ บอกคืน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้บอกคืน แต่ให้รู้ไว้ในใจ เดี๋ยวจะเข้าใจผิด แต่ว่าเราบอกคืนหมดไม่มีอะไร เหลือแล้วไปตั้งต้นกันใหม่ ถึงเราจะกล่าวคืนสิกขา เราก็ไม่ได้คืนส่วนที่เป็นพระรัตนตรัย หรือสรณคมน์ ยังคงเป็นพุทธบริษัทอยู่ เป็นพุทธมามกะอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนสิกขา อย่างสามเณร มาเป็นสิกขาที่สะดวก เป็นสิกขาของคฤหัสถ์ เป็นนักเรียน ต่อไป
ที่นี้ได้อนุญาตจากอุปัชฌาย์แล้วว่าให้ลาสิกขาได้ ได้รับอนุญาตแล้ว เมื่อทุกคนบิดามารดานั้น เขาก็ไม่ได้ขัดข้องนะ ดังนั้นก็ควรจะลาสิกขาได้ นี้กล่าวคืนสิกขานี่เขาว่า สิกขัง ปัจจักขามิ คิหิติ มังธาเรถะ ว่าได้ไหม แปลว่าอะไร อ้าว, แล้วกัน ถ้าอย่างนั้นก็ว่าแต่ปากสิ ใจก็ไม่รู้สิ เดี๋ยวนี้ก็ต้องรู้นะ สิกขัง ปัจจักขามิ นั้นแปลว่า ข้าพเจ้ากล่าวคืนซึ่งสิกขา สิกขัง ปัจจักขามิ ว่าอย่างนั้น ต้องทำในใจว่าอย่างนั้น อย่าให้มันเป็น แต่ปากว่า ทำอะไรจะเป็นแต่ปากว่าเสียหมด คิหิติ มังธาเรถะ จงถือข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ถือข้าพเจ้าว่าเป็น คฤหัสถ์ ถือว่าข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์ คิหิติ มังธาเรถะ ปากของเธอก็ว่า จิตใจของเธอต้องรู้สึกอย่างนั้นสิ มันจึงจะเป็นเรื่องเป็นราวสำเร็จประโยชน์ได้ ถ้ามัวว่าแต่ปาก ใจไม่รู้ว่าอะไร ว่าไปนั้นไม่รู้ว่าอะไร ก็งมงาย มีแต่จะโง่มากขึ้น
เดี๋ยวนี้คนมันโง่ในทางศาสนามากขึ้น เพราะมันดีแต่ว่าแต่ปาก เธอต้องจำไว้ด้วยอย่าว่าแต่ปาก นี้เขาทำในใจด้วย แล้วปากก็ว่าด้วย จิตใจของเราก็ต้องการจะสึกใช่ไหม จิตใจของเราก็ต้องการจะลาสิกขา ใช่ไหม อ้าว, ไม่ได้สิ ไม่อย่างนั้นไม่อยากลาก็ไม่ลาสิ เดี๋ยวนี้จะอยาก ไม่อยากก็รู้แต่ว่ามันต้องอยากนั่นแหละ มันต้องต้องการใช่ไหม ไม่อย่างนั้นมันจะตรงกับจิตใจได้อย่างไร เมื่อเธอมีความต้องการ และมีความแน่ใจ มันมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันอยากจะลาสิกขา เพื่อไปทำตามที่ควรจะทำ มันต้องสลัดจิตใจชนิดที่เรียกว่า ไม่อยากลานั้นนะออกเสียก่อน ก็จะต้องลาแน่ ๆ แล้วใช่ไหม เออ, มันไม่มีทางจะหลีกเลี่ยง ต้องมีจิตใจที่จะ ลาสิกขา มันก็หลอกเราสิ ปากว่าอย่าง ใจเป็นอีกอย่างไม่ได้
ก็ละเป็นอันว่า ลาสิกขานะ ใจก็ลาสิกขา ปากก็ลาสิกขา วาจา แล้วกายมันก็ลาสิกขา เดี๋ยวมันก็ไป เปลี่ยน เปลี่ยนผ้าเสียนะ อย่างนั้นตกลง
นี่การทำอะไรในพิธีทางพุทธศาสนานี่เขาต้อง นโม ๓ จบก่อนเสมอ เขาตั้งทำไมกัน หา, เพื่ออย่าให้ มันลืมพระพุทธเจ้า ทำอะไรนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน จริงไหม ดีไหมถ้าทำอะไร จะทำอะไร ต้องนึกถึง พระพุทธเจ้าก่อน นี่มันดีไหม มันดีอย่างไร อ้าว, ก็จำติดใจเพื่อไม่ให้มันผิด ไม่ให้มันมีอะไรที่เป็นการทำผิด นี่คนมันโง่ ทำอะไรก็ไม่ค่อยนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน มันจึงแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ได้ เป็นพระเป็นเณรทั้งที มันก็ใช้ไม่ได้ ทำอะไรมันไม่นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน อยากจะกินมันก็กิน อยากจะโกรธมันก็โกรธ อยากจะทำ อะไรโขมงโฉงเฉงก็ทำไป
นี่เราต้องถือหลัก ทำอะไรต้องนึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน และนี่เราจะลาสิกขาก็ต้องนึกถึงพระพุทธเจ้า ก่อน เพราะเรามันก็บวชอุทิศพระพุทธเจ้า ใช่ไหม จะบวชกับอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ไหน ที่วัดไหน การบวชนี่ มันอุทิศพระพุทธเจ้าทั้งนั้น นี่มันมีสติสัมปชัญญะระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนว่า นโม ๓ ครั้ง แล้วก็มี สติสัมปชัญญะ ที่จะกล่าวคำ คืนสิกขา เอ้า, ตั้งนโม ๓ ครั้ง (นาทีที่ 08:22-08:56 เสียงสวดมนต์)
ที่นี้เราก็ ไปเปลี่ยน ผ้านุ่งผ้าห่ม ไปเปลี่ยนออกไปเปลี่ยน จะขอศีล ๘ หรือจะขอศีล ๕ เอ้า, จะขอศีล ๘ ก็ว่ามา (นาทีที่ 09:08-14:50 เสียงสวดมนต์)
นั่งราบหน่อย ฟังอีกนิดหน่อย ตั้งใจฟังให้ดีที่สุด เป็นเวลาที่มันมีความหมายหรือสำคัญอยู่สำหรับเธอ เดี๋ยวนี้เราก็ลาสิกขาบทอย่างสามเณร ออกไปเป็นสิกขาบทอย่างคฤหัสถ์ เธอต้องทำตัวเป็นคฤหัสถ์ที่ดี ต่อไป มีศีล ๕ มีศีล ๘ ในบางโอกาส มีศีล ๕ อยู่เป็นประจำ เมื่อเข้าใจในสิกขาบทเหล่านั้นแล้วก็ปฏิบัติให้ดี ถ้ากล่าวโดยใจความนี้ ศีล ๕ ก็มีว่าข้อที่ ๑ อย่าประทุษร้ายร่างกายชีวิตของผู้อื่น สัตว์อื่นโดยประการใด ๆ ก็ตาม ข้อที่ ๒ ว่าอย่าประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่นโดยประการใด ๆ ก็ตาม วิธีใด ๆ ก็ตาม ข้อที่ ๓ อย่าประทุษร้ายของรัก ของใคร่ของผู้อื่น โดยวิธีใด ๆ ก็ตาม นี่ข้อที่ ๔ อย่าใช้วาจาเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่น เสียความเป็นธรรม ความยุติธรรม ความถูกต้อง ทรัพย์สมบัติ หรือพูดที่ไม่ควรจะพูด ข้อที่ ๕ อย่า ประทุษร้ายสติปัญญา สมปฤดีของตัวเองเสีย มันดี ๆ อยู่ อย่าไปทำให้มันเสียโดยการ ใช้ของมึนเมาทุกชนิด เป็นวัตถุมึนเมา หรือว่าไอ้การกระทำที่ช่วยมึนเมา ความคิดนึกที่ทำให้มึนเมา นี่เราไม่เอาทั้งนั้นแหละ
บางคราวถือศีล ๘ ก็เว้นอย่างที่เธอก็รู้อยู่แล้วว่าเณรเขาเว้น อาหารตอนวิกาล เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประดับประดาทั้งหลาย แล้วก็ไม่ต้องนอนในที่นั่งที่นอนที่มันสบาย ไม่หรูหราโอ่โถงเกินไปอย่างนี้ มันเป็นคนบ้าชนิดหนึ่ง นี่รู้ไว้ว่ามันมีสิกขาบทสำหรับคฤหัสถ์อยู่อย่างนี้ ไปหารายละเอียดเอาเอง
ที่นี้เรามันก็ทำการปฏิญาณสัญญากันว่า จะสิกขาสมาทานสิกขาบทอย่างคฤหัสถ์ ที่นี้เรื่องธรรมะนี่ มันก็เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ ให้ดีกว่าเมื่อยังไม่ได้บวช เดี๋ยวเมื่อบวชแล้ว ทำผิดเขาก็ไม่ให้อภัย เพราะเรามันบวช แล้ว และมันก็จริงอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้จัก ทำตัวให้เหมาะสมกับผู้ที่บวชแล้ว สำหรับเราเด็ก ๆ นี่เราก็มี เรื่อ อย่าง เด็ก ๆ เราไม่พูดกับเธออย่างคนหนุ่ม ที่จะออกไปมีเหย้าเรือน เดี๋ยวนี้เธอมันยังเป็นเด็ก ๆ ก็ต้องพูดอย่างเกี่ยวกับเด็ก ๆ หรือยุวชน ซึ่งมันมีหลักว่าจะต้องไปเป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของ ครูบาอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติในอนาคต แล้วก็เป็นสาวกที่ดีของ พระพุทธเจ้าตลอดไป
แต่เดี๋ยวนี้ปัญหาเฉพาะหน้ามันมาอยู่ที่ ว่ามันเป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา ถ้าเป็นบุตรที่ดีของ บิดามารดา ได้แล้วมันจะดีหมดแหละ ที่นี้เป็นบุตรที่เลวก็เลวหมดแหละ ฉะนั้นบุตรที่ดีของบิดามารดา ให้สำเร็จ ได้ข้อเดียวก็พอ ต้องเชื่อฟังบิดามารดา เขาแบ่งบุตรไว้ ว่าทำอะไรได้ดีกว่าบิดามารดาก็มี ทำอะไร ได้ เสมอกันกับบิดามารดาก็มี ทำอะไรได้ต่ำกว่าบิดามารดา หรือทำอะไรได้เลวกว่าบิดามารดาก็มี นั้นไม่ต้องฟัง ถ้าเชื่อฟังบิดามารดาแล้วก็ใช้ได้ เป็นบุตรที่ดี เราทำอะไรได้น้อยกว่าบิดามารดา แต่ว่าเราเป็นคนเชื่อฟัง บิดามารดา มันก็ดีอย่างนี้ ถึงว่าเราจะทำอะไรได้ดีกว่าบิดามารดา เก่งกว่า เราก็ยังต้องเชื่อฟังบิดามารดา มันจึงจะเป็นบุตรที่ดี
ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านว่า บุตรที่เชื่อฟังบิดามารดา หรือใช้คำว่าเชื่อฟังเฉย ๆ เป็นบุตรที่ประเสริฐ ที่สุด บิดามารดาก็ยังอยู่ใช่ไหม หา, เคยเชื่อฟังบิดามารดาหรือเปล่า เธอเป็นคนเชื่อฟังบิดามารดาหรือเปล่า เคยเถียงหรือเปล่า เคยทำบิดามารดาเดือดร้อนน้ำตาไหลบ้างหรือเปล่า นี่ถ้าทำอะไรผิดพลาดไปก็ต้องไปทำคืน ไปขอโทษ โดยตั้งใจว่าจะไม่ทำอย่างนั้นอีก ขอขมาโทษ บุตรที่ทำให้บิดามารดาร้อนใจน้ำตาไหล เขาเรียกว่า บุตรไม่รู้คุณบิดามารดา จับบิดามารดาใส่ลงไปในนรก หรือความเดือดร้อนถึงร้องไห้ ถ้าเรามีความเชื่อฟัง บิดามารดา มันก็ไม่มีเรื่องอย่างนั้นใช่ไหม จำให้ดี ถ้ามีความเชื่อฟังบิดามารดาอย่างเดียว ไม่มีการที่จะทำให้ บิดามารดาต้องร้องไห้
เธอเคยทำผิดล่วงเกินอะไรบางอย่างแล้ว เสียใจ ต้องไปขอโทษบิดามารดานี่เคยมีไหม ไม่เคยมีใช่ไหม ต่อไปนี้ต้องมี ต้องสัญญากันว่าต่อไปนี้ต้องมี ถ้ามันมีอะไรทำผิดไปต่อบิดามารดา แม้แต่ล่วงเกินด้วยคำพูด สักนิดหน่อย หรือแม้แต่คิดว่า ไม่ไหวแล้ว อยากจะนี่แล้ว นี่ต้องไปสารภาพ แม้บิดามารดาเขาไม่ทราบไม่รู้ เราก็ต้องไปสารภาพ ขอโอกาส ขอโทษ ขอสมาลาโทษ ว่าได้คิดผิดไปอย่างนั้น ได้พูดผิดไปอย่างนั้น ได้ทำผิด ไปอย่างนั้น ไปขอโทษ แล้วจะไม่ทำอีก นี่จึงจะสมกับผู้ที่ได้บวชแล้ว เป็นเณรแล้ว กล้าทำไหมต่อไปนี้
ที่นี้ต้องสัญญากันหน่อย ถ้ามันมีอะไรทำผิด ด้วยการพูดนี่จะมีมาก เผลอไป บางทีกำลังโมโห ไปตวาดเอาแม่เข้าก็มี อย่างนี้เรียกว่า ผิดหรือไม่ผิด ก็ไปขอโทษ เพราะฉะนั้นทำผิดต่อใครก็ขอโทษกับคนนั้น ทีนี้บิดามารดาเป็นผู้มีบุญคุณ ต้องขอโทษเป็นอย่างยิ่งทีเดียว จำไว้เถอะ ต่อไปนี้ขึ้นศักราชใหม่ ก็ต้องรู้จัก ขอโทษบิดามารดาแล้วละ ก่อนที่แล้วมามันไม่เคยก็ตามใจ แต่ตอนนี้ต้องต้องได้แล้วแหละ ต้องกล้าหาญพอ ต้องไม่กระดากในการทำอย่างนี้ ต้องไม่ละอาย ในการขอโทษบิดามารดาใช่ไหม จึงจะเป็นคนที่ดี เป็นบุตรที่ดี มีความกตัญญู
เอาละเป็นอันว่าจะต้อง ขยับออกไปก่อน จะต้องเพียร ไม่ได้บวชชีนะ จะต้องมีอะไรที่เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ขอโทษบิดามารดาเป็น ถึงคนอื่นเขาจะหัวเราะเยาะ หรือบางทีบิดามารดาเอง ก็อาจจะ หัวเราะเยอะ ว่าเดี๋ยวนี้เป็นอย่างไรหว่า ก็บอกว่าเดี๋ยวนี้มันได้รับคำสั่งสอนมาอย่างนี้ บวชแล้วได้รับคำสั่งสอน มาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรนั่นนี่ ก็ต้องขอโทษ ต้องไม่ละอายนะ ถ้าละอายอย่างนี้เขาเรียกว่า ละอายในที่ ไม่ควรละอาย เม่ือทำอย่างนี้กับบิดามารดาได ้ก็ทำกับครูบาอาจารย์ได้ แล้วต่อไปก็ทำกับเพื่อนฝูงได้ ถ้าทำผิดก็ ต้องขอโทษ โดยเฉพาะกับบิดามารดา นี่ต้องอย่างยิ่ง เพราะเขามันเกิดเรามา ให้ชีวิตเรามา เป็นไอ้ผู้ที่มีบุญคุณ สูงสุด ในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย
นี่ขอให้เป็นผู้เชื่อฟัง ถ้าบิดามารดาต้องการอย่างไรต้องอย่างนั้น แม้จะเอาชีวิตเราก็ยังได้ อย่าพูดถึงว่า ไม่ตามใจเราในบางประการนะ เรายอมเสียสละชีวิตชาตินี้ ถ้าบิดามารดาต้องการอย่างโน้น ไม่ได้ต้องการ อย่างเราต้องการก็เอา นั่นเพราะเราเป็นเด็กที่มีบิดามารดา มีความกตัญญูสูงสุด นี่บวชทีหนึ่งก็อย่างน้อย ต้องได้อย่างนี้จึงจะสมควร พอเชื่อฟังบิดามารดาแล้วมันไม่มีเรื่อง ไม่ใช้เงินเปลือง ไม่เป็นเจ้าชู้แต่เล็ก ไม่เหลวไหล ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท ไม่อะไรหมดนะ ในโรงเรียนก็ดีหมดนะ ต่อไปมันก็ดีหมด ในที่สุดเราก็ได้ เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของ ประเทศชาติ เป็นพุทธมามกะที่ดีของพระพุทธเจ้า
กี่อย่างทั้งหมด บุตรที่ดีของบิดามารดา และศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เพื่อนที่ดีของเพื่อน พลเมืองที่ดี ของประเทศชาติ สาวกที่ดีพุทธมามกะที่ดี ก็ของพระพุทธเจ้านะ เป็นให้มันหมดทั้งนั้นแหละ เพราะมันตั้งต้น มาจากอันนี้ เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดาให้ได้เสียก่อนเถอะ มันไปตามลำดับของมันเอง นี่ก็เรื่องที่เราจะพูด กับเธอ ให้มีศีล แล้วมีธรรมะ นี่ให้รักษาไอ้เกียรติ หรือฐานะของผู้ที่บวชแล้ว นี่ดีนะ กล่าวคำทำวัตรก็ได้ อย่าลืมเสียนะ ทำวัตร อุกาสะ วันทา นี่ อย่าลืมเสียนะ อุตส่าห์นึกถึงไว้ หรือว่าจดไว้ก็จดไว้ เวลาว่าบ่อย ๆ นึกถึงไว้ จะได้ใช้ต่อไปอีกข้างหน้า อุกาสะ วันทามิ ภันเต นี้ขอแสดงความเคารพ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต นี่ขอโทษ ขออดโทษ มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา นี่แลกเปล่ียนส่วนบุญ แลกเปลี่ยนความดี ส่วนบุญ ซึ่งกันและกัน
นี่จำไว้ หรือเพียงว่าให้นึก ไว้ในใจก็ได้ ว่าเราจะต้องมีการเคารพผู้ควรเคารพ เลยต้องขอโทษทุกคน ที่เราทำผิด เราควรจะขอโทษ หรือแม้ว่าไม่คิด ไม่นึกว่าจะต้องผิด แต่สงสัยว่าอาจจะล่วงเกิน ก็ขอโทษได้ ก็แลกเปลี่ยนส่วนบุญ อย่าเป็นคนเห็นแก่ตัว อย่าอิจฉาริษยา มันจะฉิบหายกันหมด ถ้ามัวแต่อิจฉาริษยากันนะ นี่เราจึงต้อง รู้จักแลกเปลี่ยนส่วนบุญ หรือความดีซึ่งกันและกัน ใน ๓ ประการนี้ มันอยู่ในคำทำวัตรนะ ดังนั้นถ้าเธอทำได้ก็เป็นการดี นี่เรียกว่า เราบวชทีหนึ่ง ทำวัตรก็เป็น บูชาพระรัตนตรัยก็เป็น อาราธนาศีลก็เป็น บางทีในที่ประชุมแห่งหนึ่ง ไม่มีใครว่าเป็นเราว่าเป็นอย่างนี้ เขาก็จะขอบใจบิดามารดา ก็จะเห็นว่า เป็นของ (นาทีที่ 27:25) ครูบาอาจารย์ว่านี่มันทำยังไงได้ บางทีครูอาราธนาศีลไม่เป็นเดี๋ยวนี้ ถ้าเราอาราธนาศีลเป็น มันก็ มันก็ดีทั้งนั้น
คนเดียวว่า อะหัง หลายคนว่า มะยัง คนเดียวลงท้ายว่า มิ หรือ มะ เออ, คนเดียวลงท้ายว่า มิ ยาจามิ หลายคนลงท้าย มะ ขึ้นต้นคนเดียว อะหัง ถ้าหลายคนก็ต้องขึ้นต้น มะยัง อย่างนี้ก็ต้องจำให้ได้ อะไรที่จะต้อง ทำได้ ต้องทำให้ได้ ไม่อย่างนั้นมันเป็นคนบกพร่อง เหลวไหล อันนี้ก็ไม่ได้ บวชตั้งหลายหนแล้วก็ยังว่า อิติปิโส นโม ไม่ได้ พระเณรบวชตั้งหลายปีแล้ว ยังว่าอะไรก็ไม่ได้ อย่างนี้มันก็ถูกเขานินทา ไม่ต้องพูดถึงเธอ แม้แต่เป็นพระเป็นเณร ก็ถูกเขานินทา
เราต้องทำสิ่งที่ควรจะทำได้ ได้เสมอ ก็จะเป็นคนที่เขานับถือ เป็นคนมีประโยชน์ เป็นคนจะทำ อะไรได้สะดวก เมื่อคนเขานับถือ แล้วมันมีความสะดวก ใครเป็นคนแนะให้บวช คราวนี้ หลวงตาเทียน ลำพังตัวมันไม่อยากบวช ครั้งหนึ่งแล้ว ปีกลายก็บวชเหมือนกัน ปีละครั้งก็พอ ถ้าอยากบวชปีละครั้ง ก็พอเวลาปิดภาค แทนที่จะไปเหลวไหลอย่างอื่น มาศึกษาเพิ่มเติม บวชปีละครั้ง ถ้าคิดจะบวชปีละครั้ง เก็บไว้ จีวรนี้ บาตร ทำความสะอาดให้ดี รักษาให้ดี ถึงเวลาก็บวชได้ปีละครั้ง ดีไหม ถึงไม่ไม่บวชอีก ก็ควรจะเก็บไว้ดู มันจะได้ทำให้เราคิดได้ ว่าเราบวชแล้ว ต้องทำตัวให้ดี ๆ ถ้าเห็นบาตร เห็นจีวร ตัวเก็บไว้ มันจะได้นึกทำตัวดี ๆ หรือว่าบางทีไอ้น้องไอ้พี่ มันก็อยากจะบวชได้บ้าง อยากจะบวชบ้าง เห็นจีวร บาตรของเราดี
นี่เราเป็นคนที่ไม่ละอาย ในสิ่งที่ไม่ควรละอาย ละอายในสิ่งที่ควรละอาย มันก็ดี นี้บางคนมันละอาย จนไม่กล้าบวช บวชแล้วจะทำอะไรให้ดีสักหน่อย มันก็ละอาย เก็บบาตรจีวรเอาไว้ดู มันก็ละอาย นี่มันโง่มาก เช่นว่า เราได้ บอกเธอ ผู้ลาสิกขาบท แล้วก็อายุยังน้อย ตามสมควรแก่เหตุผล หรือว่าแก่ฐานะ หรือไอ้เรื่องราว ของเธอแล้ว ก็จำไว้ให้ดี ไปประพฤติปฏิบัติตามนี้ ไอ้นั่นนะมันจะเป็นพร เป็นศีล เป็นพร นี่เขาจะรัดรดน้ำมนต์ น้ำพร นี้มันก็คุ้มครองเธอไว้ได้ ไม่เสียหาย ไม่ตกต่ำ แล้วก็ไม่เป็นทุกข์ด้วย
จำไว้ให้ดี ๆ ปฏิบัติตนให้มันมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีล ๕ เป็นประจำ มีศีล ๘ เป็นบางโอกาส เชื่อฟังบิดามารดา ให้เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เชื่อฟังครูบาอาจารย์ เป็นศิษย์ที่ดีของ ครูบาอาจารย์ รักเพื่อนซื่อตรงต่อเพื่อน เพราะว่าเรามันอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน แล้วคนมี อ่า, คนหนึ่งมันมีหน้าที่ประพฤติต่อหมู่คณะ ขึ้นไปถึงประเทศชาติ แล้วเป็นสมาชิกที่ดีของ ประเทศชาติ หรือของโลกก็ทำไอ้ แล้วอีกทีหนึ่งก็ นึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ดีของพระพุทธเจ้า คือ ปฏิบัติถูกต้อง เอาละมันก็เท่านี้แหละ เอ้า, กราบ