แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
คู่สนทนา : อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อัปปะราทัง ขะมะถะเม ภันเต มะยากะตัง ปุณยัง สามินา อนุโมทิตะภัง สามินา กะตัง ปุญยัง มัยหัง ทาตะภัง สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ท่านพุทธทาส : อือ, เอา สัพพังเลย สัพพัง สัพพัง
คู่สนทนา : สัพพัง อัปปะราทัง ขะมะถะเม ภันเต
ท่านพุทธทาส : กราบทีหนึ่ง อืม, แล้วก็ อุกาสะ ทวาระตะเย ว่าอุกาสะ ทวาระตะเย
คู่สนทนา : อุกา อุกาสะ ทวาระติ
ท่านพุทธทาส : ระตะเย นะกะตัง
คู่สนทนา : อุกาสะ ทวาระตะเย นะกะตัง สัพพัง
ท่านพุทธทาส : อัปปะราทัง
คู่สนทนา : อัปปะราทัง ขะมะถะเม ภันเต
ท่านพุทธทาส : อะหัง ขมามิ ทะยาปิเม กะมิตะพัง อ้าว อุกาสะ ขะมา อุกาสะ ขมามิ ภันเต
คู่สนทนา : อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
ท่านพุทธทาส : กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีอันใดถ้ามีอยู่ ระหว่างเรา ๒ ฝ่าย ขอให้เป็นอโหสิกรรม ได้มาการทำ กรรมในวันนี้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตราบเข้าสู่พระนิพพานเทอญ
คู่สนทนา : สาธุ..
ท่านพุทธทาส : ยืน ยืน ยืน
คู่สนทนา : วันทามิ ภันเต สัพพัง อัปปะราทัง ขะมะถะเม ภันเต มะยากะตัง ปุณยัง สามินา อนุโมทิตะภัง สามินา กะตัง ปุญยัง มัยหัง ทาตะภัง สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
นั่งลง กราบ อ้าว, นั่งลงก่อน พับเพียบ ต้องจำไว้นะ ไอ้แบบทำวัตรนี่มันดี มันจะมีประโยชน์ ถ้าว่าเข้าใจแล้วมีไว้ ทำไว้สอนรุ่นต่อ ๆ ไป จะมีประโยชน์ จะเป็นสวัสดิมงคล อย่าทำเพียงเงอะ ๆ งะ ๆ ว่าแต่ปาก สัพพัง อัปปะราทัง ขะมะถะเม ภันเต นี่เป็นเรื่องขออภัยโทษ ที่ทำอยู่นี่ ละก็แลกเปลี่ยนส่วนบุญ มะยากะตัง ปุญยัง สามินา อนุโมทิตะภัง เป็นต้น นี่แลกเปลี่ยนส่วนบุญ ซึ่งกันและกัน วันทามิ ภันเต นะ ขอแสดงความเคารพ เธอกำลังไม่รู้ว่าทำอะไรอยู่ เธอควรจะรู้นะว่า วันทามิ ภันเต แสดงความเคารพ สัพพัง อัปปะราทัง เป็นต้น ว่าขออภัยโทษ ถ้ามันมี มะยากะตัง ปุญยัง สามินา อนุโมทิตะภัง นี้ แลกเปลี่ยน ส่วนบุญซึ่งกันและกัน ถ้าเรามีให้เธอ ถ้าเธอมีให้เรา ก็ต้องทำด้วยจิตใจ ถ้าจะบวช ก็ให้มัน มีความเจริญ ทางจิตใจ แล้วก็จะต้องรู้สิ่งเหล่านี้ จะทำด้วยจิตใจ แล้วก็มีความเจริญในทางจิตใจ นี่เธอมันต้องรู้ ความหมายอันนี้ ตลอดเวลา ที่ทำอยู่เวลานี้นะ
และต่อไปข้างหน้า ก็ต้องถือหลักอันนี้ ไม่อย่างนั้น ก็ไม่มี ไม่มีสวัสดิมงคล นี่จะต้องเคารพคนที่ ควรเคารพ คนที่ควรเคารพบางทีอายุมากกว่า หรือเขามีอะไรดีกว่า หรือไม่ก็แปลว่า ชาติตระกูลสูงกว่า ก็ยังถือไว้ก่อนก็ได้ มันมันดีกว่า ที่จะไม่เคารพ และขอโทษนี่ก็ว่าให้มันเป็นนิสัยเลย คนปากแข็ง คนใจแข็ง มันไม่ยอมขอโทษใคร ถ้าเราดูคนโบราณ ปู่ย่าตาทวด เขาจะเป็นคนอ่อนโยน ขอโทษ และขอโทษก็จริง ๆ ด้วย คนสมัยนี้มันขอโทษกัน แต่ปากนะ แล้วก็ตลบก้นหลอกเมื่อหันหลังให้
แลกเปลี่ยนส่วนบุญ นี่ก็หมายความว่า เพื่อชักจูงซึ่งกันและกัน ผูกพันซึ่งกันและกัน ให้มันทำ ความดี ทำบุญ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แม้แต่เพื่อนในโรงเรียนกัน ก็ต้องแลกเปลี่ยน ไอ้ส่วนที่มันดี สิ่งที่มันดี สิ่งที่มัน จะทำให้เจริญ หรือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน วัตถุสิ่งของก็แลกเปลี่ยนนะ แต่ในที่นี้เราใช้คำว่า แลกเปลี่ยน ซึ่งส่วนบุญ ความดี เพราะฉะนั้นเรื่องทำวัตรนี่ถ้าทำได้ถูกต้อง แล้วก็จะมีประโยชน์ มีอานิสงส์ เป็นสวัสดิมงคล อย่าเงอะ ๆ งะ ๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบ ทำไว้
เรื่องบวชทุก ทุกคราวที่ผิดพลาด มันจะได้ทำได้ดี แล้วต่อไปบวชจริงจะทำได้ดี มีเพื่อน มีน้อง มีอะไร จะบวชเราก็สอนได้ดี เดี๋ยวนี้ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรกัน เอาแต่ทำตามพิธีธรรมเนียม เพ้อ ๆ ละเมอ ๆ ไม่ดี ควรจะทำให้ได้ประโยชน์เต็มที่ นี่ยังเป็นเรื่องตอนต้นของการที่จะทำอะไรซึ่งเป็นกิจจะลักษณะ เรียกว่า ทำวัตร นี่ก็ต้องทำ เป็นเบื้องต้น ของทุกสิ่งทุกเรื่อง ที่มันเป็นกิจจะลักษณะ และทำด้วยจิตใจ สำรวมจิตใจให้มันดี ให้มันเข้ารูป เข้าเรื่อง
คราวนี้จะลาสิกขา ลาสิกขา นี่ก็ลาเฉพาะสิกขาบท สิกขาบทที่ ถือเฉพาะเรื่องเฉพาะคน ไม่ใช่ว่า ลาสิกขา คือ ลาจากศาสนา ลาจากพระธรรม นี่ก็ต้องรู้ไว้นะ ให้รู้อะไรที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น ๆ ถ้าเราไปที่ โรงเรียน เขาถามว่าลาสิกขาทำอะไรกันหว่า ก็เขาขอเปลี่ยนลาสิกขาบท อย่างที่สามเณรถือ ไปเป็น สิกขาบท อย่างที่ฆราวาสถือ นี่เขาเรียก ลาสิกขา คือ ลาสิขาบท สิกขาบทมีหลายชนิด อย่างฆราวาสถือ ก็มี อย่างเณรถือก็มี อย่างอุบาสิกา แม่ชีถือก็มี อย่างพระถือก็มี ภิษุณีถือก็มี มันเรียกว่า สิกขาบททั้งนั้น
การลาสิกขาบท ความหมายก็หมายความว่า ผ้าที่ผู้ลานั้นถืออยู่ ขอเปลี่ยน แล้วเราก็ใช้ แก่ที่จะลา กลับไปหาฆราวาส ไปเป็นฆราวาส เธอก็ต้องจำคำแต่ละคำ เป็นความรู้ใช้ในโรงเรียน ในสังคม ไม่ใช่ว่า เลิกถือศาสนากันที นี่ก็ มันเป็นเรื่องที่เสียหายหมด ไม่เพียงแต่ว่า ไม่รู้หรือโง่เขลา มันเป็นเรื่องที่เสียหาย หมด ในทางการกระทำนั้น ฉะนั้นเดี๋ยวนี้เราจะลาสิกขาจากสามเณร คำลาสิกขาว่าอย่างไร เราต้องเข้าใจ สิกขัง ปัจจักขามิ ข้าพเจ้ากล่าวคืนสิกขา คิหิติ มังธาเรถะ ขอให้ท่านจงถือ หรือทรงไว ้ซึ่งข้าพเจ้าว่าเป็น คฤหัสถ์ จงถือว่าข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์ ทรงไว้หรือถือไว้ ทำความเข้าใจ ว่าข้าพเจ้าขอเป็นคฤหัสถ์ นี่ก็ว่าด้วยปาก
ที่นี้ทางร่างกายเราก็ไปแสดงอาการเปลี่ยน เครื่องนุ่งห่มแต่งตัวนี่ ในทางจิตใจก็ต้องเป็นด้วย ว่าเราจะลาสิกขา จะเปลี่ยนสิกขา โดยร่างกาย โดยวาจา โดยจิตใจ และทำให้เข้ารูปเข้าเรื่อง ที่จะลา สิกขาบท เดี๋ยวนี้ไม่มีปัญหา เธอ อา, เป็นผู้ที่จะตั้งใจไว้แล้ว จะบวชเท่านี้แล้วจะลาสิกขา ใจก็ลาสิกขา ด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นคนที่เขาไม่อยากลาสิกขา มีเรื่องมาบังคับให้ต้องลา นี่ลำบาก ใจมันไม่ลา อย่างนี้เขาก็ ลำบาก ต้องทำจนกว่าใจมันจะลา เดี๋ยวนี้เรา เรามันเป็นอันว่าลาแน่ เพราะใจเราตั้งไว้อย่างนั้น อย่างนี้ เรียกว่า ลาสิกขา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ดังนั้นเมื่อกล่าวคำลาสิขา ก็ต้องรู้สึก ที่ (นาทีที่ 10:54) ด้วยสติสัมปชัญญะนะ อย่าหลับครึ่ง ตื่นครึ่ง ว่าเพ้อ ๆ เพราะเดี๋ยวนี้มันมีการเปลี่ยนแปลง จะลาสิกขาจากสามเณรไปเป็นฆราวาส ปากของเรา ว่า สิกขัง ปัจจักขามิ ใจเราก็ต้องรู้ ว่าเราว่าอะไร เราจะทำให้ตรงตามนั้น นั้นเรียกว่า สิกขัง ปัจจักขามิ กำหนดด้วยใจ ด้วย นี่เตรียมพร้อมแล้ว จะไปผลัดผ้าที่ไหนนะ ที่ตรงนั้น ก็ได้เหมือนกัน
เอาละ เออ, เขาจะทำอะไรถ้ามันเป็นกิจจะลักษณะนี้ นี่เขาทำวัตรก่อนอย่างที่ว่านี้ และหลังจาก นั้น ก็จะตั้งนะโม ๓ หนนะ แล้วจึงว่า คำลาสิกขา ทำด้วยจิตใจ ถ้าจิตใจเรารู้ว่ามันถูกต้องดีแล้ว พอใจแล้ว อะไรแล้ว หลังจากนั้น เราก็กราบลง เป็นการแสดงว่าเรา กล่าวคำด้วยจิตใจโดยสมบูรณ์
ลุกขึ้นคุกเข่า ว่านะโม ๓ หน แล้วว่าคำกล่าวคืนสิกขา
คู่สนทนา : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สิกขัง ปัจจักขามิ ขิหีติมัง คาเรถะ
สิกขัง ปัจจักขามิ ขิหีติมัง คาเรถะ
สิกขัง ปัจจักขามิ ขิหีติมัง คาเรถะ
ท่านพุทธทาส : กราบ แล้วก็ไป เปลี่ยนผ้า
คู่สนทนา : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
ท่านพุทธทาส : กราบทีหนึ่ง
คู่สนทนา : สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ
ท่านพุทธทาส : อ่ะ, อาราธนาศีล ศีล ๕ หรือ ศีล ๘
คู่สนทนา : ศีล ๘ ครับ
อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามิ
ทุติยัมปี อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามิ
ตะติยัมปี อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามิ
ท่านพุทธทาส : กราบ ว่าถูกต้อง เรื่องดี จำเรื่องดี
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คู่สนทนา : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ท่านพุทธทาส : พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
คู่สนทนา : ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ท่านพุทธทาส : ติสะระณะ คะมะนัง นิทิตัง
คู่สนทนา : อามะ ภันเต
ท่านพุทธทาส : ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : อะพรัหมะจะริยา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : อะพรัหมะจะริยา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : สุราเมระยะมัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : สุราเมระยะมัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระนะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระนะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฎฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : อิมานิ อัฎฐะสิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
คู่สนทนา : อิมานิ อัฎฐะสิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ อัฎฐะสิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ อัฎฐะสิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
ท่านพุทธทาส : สีเลนะ สุคะติงยันติ สิเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุทติงยันติ ตัสสะมา สีลัง นิโส ทะเย
คุกเข่ากราบ
อ้าว, การลาสิกขาก็สมบูรณ์ นี้นั่งฟังไอ้เรื่อง อะไรบางอย่างบ้างต่อไป ก็อย่างน้อยที่สุด ฆราวาสศีลถูกต้อง นำผู้อื่นบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีลถูกต้อง คราวนี้ ยาย ย่า ตาอะไรคงจะดีใจ และพอจะดีใจ ที่มันยังทำเป็น และมันทำถูกต้องทุกตัวหนังสือ ทุกตัวอักษร ดังนั้นเธออย่าไปตามเพื่อน ไอ้ส่วนที่โรงเรียนที่นักเรียนที่อะไรของเขา ก็ไปตามเรื่องสมัยใหม่ แต่ถ้าไอ้เรื่องเกี่ยวกับศาสนา วัดวาอาราม ก็ต้องอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเราก็ทำถูกต้องทั้ง ๒ เรื่อง ถ้ามันจะเป็น มันจะขัดข้องอะไร มันก็ ก็ดี
ให้เธอพยายามที่จะ รักษาไว้ ท่องเอาไว้ อย่าให้ลืมเสีย นึกถึงอยู่เสมอ เพราะอย่างน้อยก็เป็น ความรู้ภาษาบาลี น้อยคนที่ว่าศีล ๕ ให้ถูกต้องเรียบร้อยได้ ศีล ๘ ต่อไปก็ บางคำก็ว่าไม่ได้เลย เดี๋ยวนี้ก็มัน ว่าได้แล้ว นัจจะคีตวาทิตวิสูกทัสสนา นี้ อุตส่าห์จำ มันจะช่วยข้างหน้า ช่วยให้การเรียนเรื่องต่าง ๆ มันมีประโยชน์ ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น ถ้าเราเคยได้ยินคำว่า นัจจะคีตวาทิตวิสูกะ มาแล้ว เราไปได้ยิน ได้ฟังเรื่องฝ่ายโน้นเข้า เราก็มีทางที่จะเดาถูกก่อนคนอื่นนะ ก่อนนักเรียนคนอื่นนะ มันจะมีประโยชน์ อย่างนั้น
นัจจะ ฟ้อนรำ คีตะ ขับเพลง วาทิตะ ประโคม วิสูกะ ไม่เล่นหวย อย่างไอ้นั้น ทัสนะ นี่ดู ดูไอ้ของ ที่มันยั่วยวนกิเลส แล้วก็ มาลา ระเบียบดอกไม้ คันธะ กลิ่นหอม วิเลปะนะ เครื่องลูบไล้ตามตัว ธาระนะ เอามาแขวน เอามาเสียบ มาไว้เข้าที่ตัว มัณฑนะ ประดับ ตกแต่งมันเป็นมากมาย ภูสนะ วิภูสนะ ที่ว่า ทำด้วยผ้า ประดับด้วยผ้า หุ้มห่อด้วยผ้า ของสวยงามอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าเราจะไปเรียนคำแปลของมัน เราต้องจำไอ้ตัวบาลีให้ได้ หรือต่อไปเราจะต้องไปเรียน ถ้าสมมุติต้องไปเรียน ทางอักษรศาสตร์ ทางไอ้นี่ อย่างนี้ยิ่งมีประโยชน์มาก
เรื่องนี้ไม่ต้องเชื่อคนอื่น เพราะฉันเองเป็นคนผ่านมาแล้ว จะไปเรียนบาลี เรียนอะไรได้เร็ว ก็เพราะว่า เรียนรู้เรื่องคำ เรื่องศัพท์ฆราวาส มาก่อนล่ะ มาเมื่อก่อนเป็นฆราวาสมาก่อนแล้ว มันช่วยกัน ไอ้เรื่องภาษา อะไรที่จำได้แล้ว เข้าใจแล้ว อย่าให้ลืมเสีย แม้แต่ทำวัตร วันทามิ ภันเต นี่ว่าอะไร สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเต มันว่าอะไร เดี๋ยวมันจะรู้ นั่นรู้นี่ เช่น อะปะราธัง นี่ก็ไป เข้าไปยังพบอีก ในภาษา หนังสือธรรมดามันก็มี นี้คนมันโง่ คนมันอวดดี พระเณรทั้งหลายมันยังอวดดี มันยังไม่อุตส่าห์ เก็บหอม รอบริบไอ้สิ่งเหล่านี้ไว้ มันควรจะได้เล็ก ได้น้อย ผสมไปเรื่อย ตลอดเวลา มันอวดดี ก็ไม่ได้อะไรเลย ทางธรรมะก็ไม่ได้ ทางภาษา ทางนิสัย จิตใจ ความประพฤติก็ไม่ได้ มันบวชกันเสียเปล่าโดยมากอย่างนั้น เธอดูที่ไหนที่ไหน นี้เราอย่าเป็นอย่างนั้น กับเขาเลย
ให้มันได้ข้อที่หนึ่งทางจิตใจ ความประพฤติมารยาท นิสัยจิตใจมันเปลี่ยนหมดไปในทางที่ดี นี่ได้ อานิสงส์การบวช นี่ทางความรู้ล้วน ๆ ก็ให้มันได้ ได้มากขึ้นด้วย เป็นความรู้นั่นรู้นี่ รู้ทางภาษา รู้ทาง ธรรมะ อะไรก็ตาม เป็นความรู้ขึ้นมาอย่างหนึ่ง คนละอย่างกับที่ว่ามันเปลี่ยนจิตใจ เปลี่ยนกิริยามารยาท นี่มันเป็นเรื่องธรรมะโดยตรง ธรรมะก็ได้ ความรู้ก็ได้ นี้ความรู้เบ็ดเตล็ด ความสามารถเบ็ดเตล็ด อะไรก็ได้ เช่น ถ้าครูเขาจะให้เราเป็นหัวหน้าชั้น ให้บูชาพระ ให้อาราธนาศีล ให้อาราธนาธรรม นี่ก็ทำ ต้องทำได้ นี่อาราธนาธรรมยังไม่เคย ก็ไปหาเรียนดู ที่เขาว่า พรหมา จะ โลกา ธิปะติ สะหัมปะติ (นาทีที่ 24:51) ว่าให้ถูกต้องทุกตัว
อาราธนาศีลก็ว่าให้ถูกต้องทุกตัวอักษร นี่ก็สามารถแยกออกมาเป็น อะหัง ว่ามิได้ ก็จะดี ดีกว่าคน บางคนมันโง่ มันก็ต้องว่า มะยัง รวม ๆ ไปก่อน ตามธรรมเนียมก็ได้เหมือนกัน แต่มันไม่ดี เท่าที่ว่าเรามัน รู้ว่าคนเดียวว่ายังไง หลายคนว่ายังไง เป็นความรู้ภาษาบาลีกันหน่อยหนึ่งแล้ว นี่สึกออกไปก็ยังจะได้อะไร ได้ทำประโยชน์แก่ตน และแก่ผู้อื่น
ทีนี้เรื่องเกี่ยวกับธรรมะ ศาสนานี่ ก็มีมาก ให้หาอ่านเอาเองบ้างก็ได้ ในในคำบรรยาย ก่อนก่อน โน่น ที่เขาพิมพ์ กันตัวหนังสือไป ก็มี อ่านดู แต่ในที่นี้ก็อยากจะ สรุปแต่ใจความ ก็เตือนว่า เราเป็นคนที่ บวชแล้ว อย่างน้อย ก็บวชเณร อย่าทำอะไรให้ผิด ให้เขาดูถูกได้ว่าอย่างน้อยก็เคยบวชเณรแล้ว ครึ่งพระ ผู้ที่บวชเณรแล้ว มันต้องทำอะไรดีกว่าผู้ที่ไม่เคยบวช และไม่ต้องทำอะไรผิดพลาดอย่างน่า ขายหน้า อย่างคนที่ไม่เคยบวช จำไว้
เรื่องบังคับตัวเองสำคัญมาก ฆราวาสธรรม ๔ ข้อ เคยอ่าน เคยฟังหรือเปล่า หา อ่า, ไม่เคยนะ ระหว่างบวชนี่ควรจะเคย ควรจะอ่าน จะศึกษาให้เข้าใจ แตกฉานในเรื่อง ๔ คำนี้ มันมีความสำคัญมาก สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ นี่ท่องคำบาลีได้ คำอธิบายมันแฝงเนื่องอยู่ด้วยคำบาลีบทนี้ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ควรจะได้เรียนนานแล้ว คุณวิจารณ์ควรจะแนะให้อ่านนานแล้ว สัจจะมีความ จริงใจ อะไรมันจริงในทุกอย่างแหละ มันจริงไปในทางที่ถูกที่ควร อย่าไปจริงเถรตรง อย่าไปจริงบ้า บ้าบิ่น จริงบ้าบิ่น อย่างนี้ไม่เอา จริงบ้าบิ่น ทมะ บังคับตัวเอง ให้มันจริงอยู่ได้ ไม่บังคับมันก็จริงอยู่ไม่ได้ ขันติ ต้องอดทน เมื่อบังคับแล้วมันเจ็บปวดก็ต้องทนได้ จาคะ นี่ก็คอยสละออกไป สละออกไป สิ่งอะไรที่ไม่ควร จะมีอยู่ในจิตในใจ นี่สละออกไป สละออกไป จึงจะเรียกว่า มีเครื่องมือที่จะเป็น ฆราวาสที่ดี
อันนี้เขาเรียกว่าฆราวาสธรรม ๔ อย่าง นี้รวมกันแล้วเรียกว่า ฆราวาสธรรม นี่เธอจำไว้สำหรับไป ใช้ประโยชน์ ในทุกกรณี ของการเป็นฆราวาส นับตั้งแต่เรียนหนังสือ ในโรงเรียนที่เรียนต่อไปนี้ สัจจะ ให้มันจริงในการเรียน ทมะ บังคับตัวเองให้สม่ำเสมอ ในการทำการเรียน ขันติ ก็ต้องทน ด้วยเรื่องอะไร ก็ต้องทนนะ บางทีก็ต้องทนอยู่ดึกบ้าง ก็ยังต้องทน เรียนให้มันสำเร็จ ในตอนที่มันต้องเรียนบ้าง แล้วทน การบีบคั้นของกิเลส ที่ทำให้เราเหลวไหล ไปดูหนังดูอะไรเสีย นี่มันบีบคั้น เราก็ต้องทน ๆ ก็ยังเรียนอยู่ได้ สิ่งที่เป็นข้าศึกแก่การเล่าเรียนต้องสละออกไป และสิ่งที่เป็นความไม่เหมาะสมทุกอย่าง ต้องสละออกไป
อย่างไม่สูบบุหรี่ นี่เขาเรียก จาคะ อันหนึ่ง มันสละสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ในตัวเราออกไป นี่อบายมุขทั้งหลาย เขาเรียกว่า สิ่งที่ควรสละ
อบายมุข ๖ จำได้นี่ อบายมุข ๖ อย่าง จำได้ไหม แล้วเคยจดไว้ในสมุดนะ เขาสอนที่โรงเรียน จดไว้ ในสมุด นั่นนะมันไม่จริง มันมีแต่ความรู้ในสมุด หรือศีลธรรมในสมุด และมันก็ไม่อยู่ที่การปฏิบัติ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการเล่น เล่นการพนัน เกียจคร้านทำการงาน คบคนชั่วเป็นมิตร เท่านี้มันถ้าจำ ไม่ได้ มันก็แย่สิ อย่าไปสนใจเรื่องสวยเรื่องงาม เรื่องเพศนี่ให้มันมากเกินไป นี่ควรจะไปทำกันเสียใหม่ ให้มันจำได้ หัวข้อธรรมะไม่กี่หมวด และก็ไม่กี่คำสำหรับฆราวาส ดื่มน้ำเมา อบายมุข นี่ต้องหมายถึง ของเมาว่าทุกชนิด ไม่เพียงแต่เหล้า อะไรที่ทำให้มึนเมาทุกชนิด
เดี๋ยวนี้มีของแรงกว่าเหล้า ที่เป็นปัญหาอยู่ที่ ทั่วโลก ต้องทุ่มเทเงินทองปราบปราบกัน เฮโรอีน เอ็มเอ็มดี (นาทีที่ 03:56) อะไร กระทั่งยาอะไรที่กินเข้าไปแล้ว มันเหมือนกับคนบ้า มันเหมือนในใจมัน สบายเหมือนกับขึ้นสวรรค์ อาการมันเหมือนคนบ้า นี่ก็คือของเมา รวมอยู่ในคำว่าเมา ของเมาทั้งนั้น แม้กระทั่งกัญชา หรืออะไรก็ตาม ที่ทำให้เสียมันสติสัมปชัญญะ เขาเรียก ของเมา ขึ้นชื่อว่าเป็นของเมา เขายกตัวอย่าง สุราและเมรัย แต่หมายถึงของเมาทุกชนิด คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความประมาท ความลืมหลง แก่สติสัมปชัญญะ เรียกว่า ความประมาท อะไรกินเข้าไปแล้ว สืบสูบเข้าไปแล้ว ทาเข้าไปแล้ว ดมเข้าไป แล้ว ฉีดเข้าไปแล้ว ถ้ามันสูญเสียการสติสัมปชัญญะ เรียก ของเมา หรือว่าสิ่งมอมเมา
ที่เที่ยวกลางคืน ไม่ต้องให้อธิบาย ไปดูหนัง ดูอะไร มันเป็นนิสัยของคนที่บังคับตัวเองไม่ได้ ดูการเล่น กลางวันและกลางคืน อะไรก็ตาม มีการเล่นที่ทำให้เคลิบเคลิ้มไป เดี๋ยวนี้มีมาก พวกบาร์ ไนท์คลับอะไรต่าง ๆ เล่นการพนัน ผีชนิดหนึ่ง ลองไปแตะเข้าแล้วยาก ที่จะถอนออก ฉิบหายกันอย่างที่ว่า เลือดเย็น มันรู้ว่าฉิบหายมันก็ยังเอา จนมันฉิบหายหมด เรียกว่า ฉิบหายอย่างเลือดเย็น นี่ขี้เกียจทำงาน การเรียนก็เรียกว่าการงาน อื่น ๆ ก็เรียกการงาน ขี้เกียจ ไม่ชอบไม่สนุกในการงาน คบคนชั่วเป็นมิตร คนชั่วก็รู้กันแล้ว คบเข้ามันก็ ค่อย ๆ ไป ค่อย ๆ ไปทีละนิด ทีละนิด ทีละนิด ผลสุดท้าย ก็ไม่ ไม่รักพ่อแม่ ไม่เชื่อพ่อแม่ ไปเชื่อคนที่มันเลว ที่ดึงไปทำเลว
ขอให้จำหัวข้ออย่างน้อยเป็นหัวข้อ เป็นหมวด หมวดไว้เสียบ้าง ฆราวาสธรรมคืออะไร อบายมุขคืออะไร ทิศทั้ง ๖ คืออะไร ไปหาหนังสือนวโกวาทอ่านดู ทิศ นี่คือ สังคม ว่าที่จริงแล้ว ที่ว่า ทิศ คือ สังคม เราต้องปฏิบัติให้ถูกต้องต่อสังคมทุกทิศทุกทาง ทิศข้างหน้าบิดามารดา ทิศข้างหลังบุตรภรรยา ทิศข้าง อือ, ขวา ครูบาอาจารย์ ทิศข้างซ้ายเพื่อน ทิศข้างบนสมณะพราหมณ์ ทิศข้างล่าง อ่า, คนใช้ กรรมกร เรายังจำได้อยู่เลย คิดดูสิ แล้วเธอเป็นนักเรียน กำลังเรียนนี่จำไม่ได้ จดไว้ในสมุดเท่านั้น สมุดก็เต็มไปด้วยของจด แล้วก็ไม่ได้รู้ ได้ใช้ ไม่มีประโยชน์ มันอวดดีกันนะ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เหมือนกัน มันอวดดีกันเสียหมด ไม่ได้ ไม่พยายามจะฟัง ไม่พยายามจะจดจำ ไม่พยายาม ไม่พยายาม จะปฏิบัติ ไม่พยายามที่จะพูดอยู่เสมอ ให้พูดถูกต้อง ให้เข้าใจยิ่งขึ้น
นี่เป็นตัวอย่าง ว่าเราเป็นฆราวาส ได้บวชได้เรียน สิ่งที่จะไป ช่วยให้การเป็นฆราวาสมันดีขึ้น เธอมาบวชระหว่างปิดภาค เพื่อจะเอาอะไรไปบางอย่าง ติดไป เพื่อที่จะช่วยให้ เมื่อไปเป็นฆราวาสมันดี กว่าทีแรก กว่าคราวก่อน ๆ นี้ก็มีอย่างนี้ อะไรที่ได้ยินได้ฟัง ได้ฝึกได้ฝน ในเวลาที่บวชอยู่นี้ก็ เอาติดไป อย่าประมาท อย่าปล่อยให้มัน เพ้อเจ้อ บวชแล้วก็กลับประมาท
ที่จำไม่ได้ ไปหาเอาใหม่นะ ไปท่องกันใหม่ ไปนั่นกันใหม่ อย่าให้เสียทีบวช ยังมี มีโอกาสที่จะ แก้ตัว อย่างน้อยฆราวาสธรรมหมวดหนึ่ง ต้องจำได้แม่นยำ ได้รู้ความหมายดีและปฏิบัติด้วย อบายมุข ๖ หมวดหนึ่ง และทิศ ๖ หมวดหนึ่ง นี่ ๓ หมวดนี้ มันก็รอดตัวสำหรับฆราวาส จำได้ ๓ หมวดอะไรบ้าง หา
คู่สนทนา : ฆราวาสธรรม ๔
ท่านพุทธทาส : ฆราวาสธรรม ๔ แล้วอะไรอีก แล้วอะไรอีก อือ, ก็ไปดูสิ ตามหัวข้อนี่ ต้องจำได้ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการเล่น เล่นการพนัน เกียจคร้านกระทำการงาน คบคนชั่วเป็นมิตร ท่องไว้ เหมือนกับสูตรอะไร ที่เราท่องในโรงเรียน ทิศต้อง ทิศเบื้องหน้าก่อนละ และก็เบื้องหลัง และก็เบื้องซ้าย เบื้องขวา หรือเบื้องขวา หรือเบื้องซ้ายก็ตามใจ และข้างบน และข้างล่าง ก็มีทั้งนั้น มันจำง่ายตาม ธรรมชาติอยู่แล้ว รอบตัวละก็เบื้องข้างบนและข้างล่าง นี่เขาเรียกว่าสังคม ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
ทีนี่เธอก็เป็นเพียงนักเรียน ถ้าเป็นฆราวาส ที่ออกไปครองเรือนจริง ๆ ก็จะพูดเรื่องฆราวาส นั่นเอาไว้พูดที่หลัง คงจะได้บวชพระ บวชเณรต่อไปอีกเดี๋ยวนี้พูดกันแต่เรื่องนักเรียน เป็นบุตรที่ดีของ บิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อนในโรงเรียน ๓ ประการนี่ก็เอาตัวรอดได้ สำหรับการเป็นนักเรียน ต้องบุตร เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา อย่าทำบิดามารดาร้อนใจ ศิษย์ที่ดีของ ครูบาอาจารย์ ไม่รู้ คนอื่นมันจะเลวอย่างไร เป็นศิษย์ที่เลวอย่างไร เราก็จะเป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะเป็นอย่างไร ก็ไม่ตำหนิติเตียน ส่วนที่เขาดีเขาถูกต้อง เขาสอนให้มันมีมากมายเหลือเกิน ถ้าเขาจะมีบกพร่องบ้างก็เป็นเรื่องส่วนตัวของเขานี่ อย่าไปหยิบมาเป็นเรื่องจองหอง ไม่เคารพ ครูบาอาจารย์ เหมือนคนโง่
ที่จะไม่ให้ใครผิดพลาดกันเสียเลย มันไม่ได้ ครูบาอาจารย์ หรือแม้นักปราชญ์ก็ยังพลาดได้ ส่วนนั้นก็แล้วไป เราเห็นแล้วเราก็กลับไม่พลาดนะ ไอ้ส่วนดีตั้งมากมาย ก็ต้องเอา รับเอา นี่เป็นนักเรียน แท้จริง ต้องเคารพครูบาอาจารย์ตลอด แม้ว่าในโรงเรียนเขาจะเปลี่ยนกันมาก ๆ เราอย่าเพิ่งเปลี่ยน เรายอมเขาว่า เรามันล้าสมัยก็ได้ การแต่งเนื้อ แต่งตัว พูดจา กิริยา ท่าทาง เรายอมเขาว่าล้าสมัยก็ได้ เดี๋ยวนี้ไอ้แบบฝรั่งมันเข้ามา เด็กผู้หญิงมันก็ยั่ว เด็กผู้ชายมันก็บ้า การเรียนมันเป็นเรื่องบ้า มันเป็นผีปีศาจ กันไปหมด น้อยคนที่จะคงสภาพอยู่ อย่างถูกต้องความเป็นนักเรียน เราอยู่ในพวกที่คงสภาพไว้ อย่างถูกต้อง ก็จะถูกคนเขามองว่าล้าสมัยบ้าง อะไรบ้าง ก็คนบ้าทั้งนั้นนั่นแหละ
คนดีเขาจะไม่มองเราอย่างนั้น เขาจะชมว่าเรานี่ เอาตัวรอดอยู่ได้ ในท่ามกลางไอ้คนทั้งหลาย ที่มันเปลี่ยนแปลงกันมาก กว่าจะเสร็จการเรียนนี่ อีกกี่ปีก็ทน เขาเรียกว่าเป็น พรหมจารีย์ เด็ก ๆ นี่เกิดมา จะกว่าถึงวันสมรส แต่งงาน เป็นพ่อบ้านแม่เรือน ตอนนี้เขาเรียกว่า พรหมจารีย์ เป็นผู้ประพฤติอย่างดี ที่สุด คือ เคร่งครัดที่สุด เป็นเด็ก ๆ เคร่งครัดที่สุด ในระเบียบวินัยทั้งหลาย เขาเรียกว่า พรหมจารีย์ เขาเรียกกันมาแต่เดิมหลายพันปี ระเบียบที่เขาวางไว้ เป็นพรหมจารีย์ อย่าไปจู้จี้เรื่องเพศ เรื่องบ้าอะไร แล้วมันจะเสียส่วนพรหมจารีย์ คือ การเรียนจะเสีย จิตใจจะเสีย การประพฤติปฏิบัติจะเสีย ให้มันสิ้นเรื่อง นั้น การเรียนเสียก่อน ต่อไปจะเป็นฆราวาส ถือครองบ้านเรือน มีคู่ มันจึงค่อยคิดกัน อย่าเพิ่งทำ
เดี๋ยวนี้มันปนกันยุ่งทั้งหมด เสียหมด และต่อไปมันก็จะเป็นฆราวาส ครองเรือนที่ดี ผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป
ตอนนี้หลับหูหลับตาเอากันแต่ เรื่องพรหมจารีย์ ให้ดีที่สุด กันเสียก่อนเถอะ คือ การเล่าเรียน เรียนทั้งหนังสือ เรียนทั้งความประพฤติ เรียนทั้งจิตใจ ส่วนลึกคือธรรมะ เป็นชั้น ๆ เรียนหนังสือจำได้ คิดได้อะไร สอบไล่ได้ เรียนหนังสือ และความประพฤติต้องปฏิบัติ ตามที่วัยเรียนอย่างเรา และจิตใจนี่รู้กัน ไว้บ้างก็ได้ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องสุญตา เรื่องไม่ยึดมั่นถือมัน คือชนิดที่อย่าให้ต้องเป็นทุกข์นะ ธรรมะเท่านี้ก็พอสำหรับเด็ก อย่าให้เป็นทุกข์เสีย อย่าต้องนั่งร้องไห้ อย่าทำฆ่าตัวตาย เด็ก บ้า ๆ บอ ๆ
ประโยชน์เท่านี้ก็ดูมากมาย เท่าภูเขาแล้วนะ สำหรับผู้ที่ยังเป็นนักเรียน เป็นนักศึกษา ว่าจะเป็น ฆราวาส ดังนั้นเธอต้องอาศัยไอ้ ๔ อย่างที่ว่า สัจจะ จริง จริงต่อไอ้ความเป็นนักเรียน เป็นนักศึกษานี่ จริงต่ออุดมคติที่เราหมายมั่นปั้นมือไว้ว่าเราจะทำอะไร แล้วก็จริงต่อเพื่อนฝูง จริงต่อพ่อแม่ จริงต่อ ครูบาอาจารย์ จริงต่อเวลา การงาน จริงไปหมดนะ ถ้าจริงต่อพ่อแม่ มันก็กบฏพ่อแม่ไม่ได้ ลับหลังพ่อแม่ ทำเลวไม่ได้ ที่แอบไปทำเลวกันที่ไหน เขาเรียกว่า หมดสัจจะต่อบิดามารดา ครูบาอาจารย์แล้ว มันไม่มี สัจจะ นี่ทมะก็มาช่วยสัจจะเอาไว้ ให้สัจจะอยู่ได้ ขันติก็คอยต่อสู้ให้สัจจะอยู่ได้ จาคะก็ช่วยให้สัจจะอยู่ได้ ไอ้สิ่งที่มันเป็นข้าศึกแก่สัจจะ ก็ต้องคอย ๆๆ ละไปเรื่อย
ยกตัวอย่างเช่นว่า เขาจะถือสัจจะ ว่าไม่ทำชั่วทำเลวอย่างนี้ แล้วก็จาคะ คือ สละไอ้รสอร่อยที่จะได้ จากการทำชั่วทำเลว นั้นเสีย เช่นว่า จะไปดูหนัง ดูละคร ไปไนท์คลับ ไปไอ้นี่ อันนี้เรียกว่า ที่นั่นมันจะชวน ให้ทำเลว ก็ต้องยอมสละมัน สละความสนุกสนาน เอร็ดอร่อย ที่จะได้จากที่นั่น ไปสละ ถ้าไม่สละมันจะ มากขึ้น ๆ เดี๋ยวก็ติด เท่านั้น กระทั่งสัจจะนี้เสียแล้ว การเล่าเรียนก็เสีย เขาไม่ได้มีไว้สำหรับให้คนดี เขามีไว้สำหรับหาเงินหาประโยชน์ของผู้จัด อย่างผู้หญิงก็มายั่วนี้ ไม่ใช่ว่าเขาจะเอาความดีอะไรมาให้เรา เขาต้องการจะได้เงินจากเรา จะได้ประโยชน์จากเราอย่างนี้ นี้เรามันโง่ก็ไปจ่ายให้เขา แล้วเราก็ไม่ได้มี อะไรดีขึ้น นอกจากสนุกแว็บเดียว นี่คือ ความโง่อันใหญ่หลวง
นี่ถ้ามีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ แล้วมันป้องกันไว้ได้นะ ขอให้เข้าใจมันป้องกันไว้ได้ ไม่ใช่ว่าป้องกัน อะไรบ้าง ก็นึกถึงอบายมุข ๖ ว่ามันเลวทั้งนั้น ป้องกันเอาไว้ได้ ไปทำเข้ามันเป็นอบายทันที ที่นี้และเดี๋ยวนี้ ก็ได้ เพราะฉะนั้นทำประพฤติดี ประพฤติให้ถูกต้อง ต่อบิดามารดา ครูบาอาจารย์ มิตรสหายนะ บรรพชิต ทั้งหลาย หรือกระทั่ง ถ้าต่อไปข้างหน้ามันมีบ่าว ไพร่ คนใช้ หรือมีบุตรภรรยา ก็ปฏิบัติถูกต้อง เดี๋ยวนี้เรา ยังไม่มี คล้าย ๆ ยังขาดอยู่สัก ๒ ทิศ แต่ว่าก็ยังมีเต็มอยู่ทั้ง ๔ ทิศนะ ในทิศทั้ง ๖ ดังนั้นเธอจะต้องมี ความรู้ดี และก็มีเกียรติยศ ชื่อเสียงว่าเป็นผู้ทำความดี มีความรู้ดี จงสะสมความรู้นี้เอาไว้เป็นต้นทุน เป็นทรัพย์ สมบัติ เป็นอะไรต่าง ๆ สำหรับการศึกษาเล่าเรียน จะสุด ๆ อย่างที่เรียนที่เราจะเรียนกันได้ ต่อไปแล้วค่อยประกอบอาชีพ ต่อไปก็จะมีครอบครัว มีอะไรไปตามธรรมเนียม ตามเรื่องตามราว
เพราะฉะนั้นก็เป็นเอาเป็นว่า วันนี้มันเป็นการพูด ให้รู้ลู่ทาง แนวทาง หรือลู่ทาง เราให้พรด้วย การพยายามทำให้เธอเข้าใจ และช่วยตัวเอง เขาเรียกว่า ธรรมะ พรของพระพุทธเจ้า ธรรมะถ้ามีแก่ใคร ก็เป็นพรแก่บุคคลนั้น เป็นของรดให้เย็น เป็นการดับทุกข์ เขารดน้ำมนต์กัน น่าหัวนะ เปียกปอนไปหมด ค่ำลงมันก็ทำชั่วก็มี คนสึก แต่ถ้าเธอเธอจำเอาอันนี้ไว้เป็นพร คุ้มครอง เป็นเครื่องรางคุ้มครองตลอดเวลา ทำชั่วไม่ได้ สบาย เจริญ นี่เราเรียกว่า รดน้ำมนต์ แบบพระพุทธเจ้าให้พร นี่ก็ต้องเอาไปด้วย ไอ้ที่ว่านะ สำคัญมาก อะไรที่เราทำได้ ที่นี้ต้องเอาไปด้วย เอาไปด้วย อย่าทิ้งไว้ที่นี้ ออกไปจากวัดนี้แล้วทำไปได้ดีที่สุด ที่เขาต้องการให้เราทำ ถ้าได้ไปเป็นผู้นำนักเรียน ในชั้นด้วยก็ยิ่งดี กระทั่งช่วยเหลือประชาชนข้างเคียง บ้านไหนเขาจะขอร้องให้อาราธนาศีล อาราธนาธรรมก็ทำได้ ก็ยิ่งดี เพราะฉะนั้นจะต้องได้บ้าง เอาละพอกันที สำหรับการลาสิกขา