แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมมีโทษหน้าที่แต่อย่างใด ถ้ามีอยู่ในระหว่างเรา ๒ ฝ่ายก็ให้เป็นอโหสิกรรม แต่อำนาจการทำตามนิติกรรมในวันนี้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กราบเท้า กราบครู พระนิพพานเทอญ สาธุ
การลาสิกขา ก็ต้องทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ ตั้งใจฟังให้ดีๆ พยายามทำจิตใจไปตามที่พูดด้วย การลาสิกขานี้ไม่เป็นสังฆกรรม มันจึงไม่ต้องทำในเสมาก็ได้ เรายังถือโอกาสสะดวกๆ ไม่มีใครทำในโบสถ์ ในเสมา เพราะว่าเมื่อเราลาสิกขาแล้วใครๆ ก็เห็นหมด ไม่เหมือนจะเป็นพระก็ต้องมีหลักฐานมีอะไรจึงต้องทำในโบสถ์ทำให้สงฆ์รู้เห็นรับรอง ที่นี้ก็ต้องทำในใจให้ถูกต้อง วันลาสิกขานี่ไม่ใช่ลาหมด เดี๋ยวจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องลาหมดลาพระพุทธ ลาพระธรรม ลาพระสงฆ์ได้เลยนั่นเข้าใจผิด นี่ก็เป็นการลาสิกขาอย่างภิกษุ เพราะงั้นเราต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าเราลาสิกขาอย่างภิกษุไม่ได้ลาพระรัตนตรัย ไม่ได้ลาสรณาคมณ์ ไม่ได้บอกคืนสรณาคมณ์ นั่นแหละคำที่เขาให้ลาสิกขาก็ยังมีว่า แต่ว่าสิกขัง ปัจจักขามิ บอกคืนสิกขาอย่างภิกษุ คิหีติ มัง ธาเรถะ จงถือข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ เราก็ต้องทำในใจให้ถูกต้องตามนั้น ไม่งั้นมันก็มันก็ผิด ใครๆ เข้าใจเหมาๆ ว่าลาหมดเลย นี่ก็ลาความเป็นพุทธบริษัทกันเลย
เราลาสิกขาด้วยกาย คือ เราเปลี่ยนครื่องแต่งเครื่องแต่งตัว เราลาสิกขาด้วยวาจา คือเรากล่าวคำประกาศคืนสิกขา ยืนยันความเป็นคฤหัสถ์ นี่ก็เราลาสิกขาด้วยใจ นี่ต้องทำในใจให้ถูกต้อง เหมือนกับว่า มันจึงเป็นการลาสิกขาครบทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทำให้สำเร็จประโยชน์ตามนี้ นั่นก็คือว่า การลาสิกขานี้อยู่แก่ใจเป็นส่วนสำคัญ ในเวลานั้นเราก็ต้องมีใจให้ถูกต้องแน่นอน ในกรณีชนิดนี้ไม่มีปัญหา ตัวเราได้ตั้งใจแล้วว่าบวช ๓ เดือน เราก็มีจิตใจว่าจะลาสิกขา แต่ถ้าในกรณียังไม่สึก ไม่อยากสึก ไม่ยอมสึก มีเรื่องบังคับให้สึก อะไรนี่มันไปอีกอย่างหนึ่งก็ต้องปรับปรุงกันมาก มันถึงจะเป็นการสึก ที่นี้เรามันก็สึกแน่ เราไม่มีปัญหาในข้อนี้ มันจึงทำในใจง่าย เมื่อเรากล่าวคำคืนสิกขาในภาษาบาลีแล้วก็ทำได้ง่าย ทำในใจได้ง่าย ขอให้เข้าใจ
เป็นในการลาสิกขาว่า “นโม” นั่นแหละ จะทำอะไรก็ต้องขึ้นด้วย “นโม” จบด้วย “นโม” จบด้วย ขึ้นด้วยกราบ จบด้วยกราบ เราจะว่า “นโม” พร้อมๆ กัน พอถึงที่บอกคืนสิกขาก็ว่าทีละคนไม่รับผิดชอบร่วมกัน ว่าที่ละคนนี่ดี ว่า ๓ หนตามปกติ แต่ถ้าว่าในใจไม่เรียบร้อย ที่ว่าไม่เรียบร้อยคือในใจไม่รู้สึกว่าเรียบร้อย อยากว่าอีก ๔ หน ๕ หน ๗ หนนี่แหละ แต่คิดว่าแน่ แน่ใจว่าเรียบร้อยจึงไปกราบ อยู่ได้ด้วยการกราบ การทำในใจเรียบร้อย ในวันนี้ต้องทำใจคอให้ปกติ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ประมาท ไม่งกๆ เงิ่นๆ ทำใจคอให้ปกติ แล้วก็รู้ความหมายของการลาสิกขา และทำในใจให้ถูกต้องตามความหมายการลาสิกขาด้วยใจที่คอปกติ นั่นแหละจะเป็นสวัสดิมงคล หรือเป็นศีล เป็นพร คือใจคอปกติ อย่าเพิ่งฟุ้งซ่าน อย่าไปคิดอะไรให้ยุ่งยากมากมาย มีสติสัมปชัญญะในการลาสิกขา ต้องมีสติสัมปชัญญะในการทำในใจและก็กล่าวคำบอกคืนสิกขา
--- ช่วงนาทีที่ 09:45 – 24:58 เป็นช่วงของการลาสิกขา ---
ผู้ใดกล่าวคำบอกคืนสิกขาแล้ว พร้อมทั้งกาย วาจาใจ คนนั้นจึงไม่มีสิทธิ สิทธิที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะอีกต่อไป เราจึงไปเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่ม
เราได้กล่าวคืนสิกขาถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีสิทธิในการนุ่งห่มผ้ากาสายะอีกต่อไป ไปเปลี่ยนไปเครื่องนุ่งห่ม ………
--- รับศีล ๘ และสวดมนต์ ---
ขอให้ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยความเคารพเอื้อเฟื้อแยบคายอีกครั้งหนึ่ง เป็นการให้โอวาทตามระเบียบตามธรรมเนียมแก่ผู้จะลาสิกขา ข้อแรกขอให้นึกถึงการบวช ก็ได้บวชแล้วและก็ลาสิกขาแล้ว ให้ได้ประโยชน์ ให้ได้อานิสงส์ของการบวชอย่าให้เสียที อย่าให้เสียเวลา อย่าให้เสียผ้าเหลือง อย่าให้เสีย มันเขาเรียกว่าไม่เป็นกุศลเลย งั้นอย่าประมาท และขอให้เอาประโยชน์จากการบวชไปติดตัวไปจนตลอดชีวิต การบวชนั้นถ้าว่าสรุปความทั้งหมด ทั้งหมดทั้งธรรมะ ทั้งวินัย สรุปความก็หมายความว่าบังคับตัวเองนี่ข้อแรก การบังคับตัวเอง คนเรามัน มันเสื่อม หรือมันเสียหาย แล้วก็ทั้งฉิบหายเพราะไม่บังคับตัวเอง เพราะบังคับตัวเองไม่ได้ หรือเพราะไม่บังคับตัวเองก็มี บังคับตัวเองไม่ได้ก็ต้องฝึก ฝึกให้บังคับได้ต้องฝึกกันทุกๆ อย่าง เราบวชนี่บวชเพื่อฝึกบังคับตัวเองตลอดเวลาที่บวช เรื่องอื่นไม่สำคัญ เรื่องเล่าเรื่องเรียน ก็เป็นเรื่องที่สอง ที่สาม ที่สี่ เรื่องบังคับตัวเองมาเป็นใจความสำคัญและก็เป็นเรื่องที่หนึ่ง ขอให้นึกถึงว่าเราบวชนั้นเรามีการบังคับตัวเอง ก็รู้อยู่แล้วนี่ ให้กินอย่างไร ให้นอนอย่างไร ให้พูดจาอย่างไร ให้มีกิริยาท่าทางอย่างไร ก็ต้องให้เป็นไปตามสิกขาตามวินัย นั่นจึงเป็นการบังคับตัวเองอยู่ในตัวตลอดเวลา ถ้าไม่สนใจในข้อนี้ก็ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ไม่ค่อยได้อานิสงส์
ที่เรามาหัดบังคับตัวเองทางกาย วาจา มันไม่สำคัญเท่าจิตใจ จิตใจกำลังจะบันดาลโทสะ หรือมันจะโลภ หรือมันจะทุกข์ทนหม่นหมองอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทำให้เกลี้ยงเกลา อันนี้เรานึกถึงไว้เสมอเราก็ไม่เสียทีบวช ถ้าเราสลัดหมด ถ้าเราไปกระโจนด้วยสู่สภาพเดิม มันก็เหมือนกับไม่ได้บวช บวชแล้วต้องระลึกถึงอยู่เสมอ ความหมายหรือเจตนารมณ์ หรือต้องการบวชเพื่อบังคับตัวเองไม่ใช่รักษาแต่เราบังคับได้ ว่าเราจะไม่โกรธง่ายๆ เร็วๆ หรือไม่โกรธเหมือนเดิม เราจะไม่หลงใหล ไม่ละโมบโลภมาก ไม่หลงไม่ใหลเหมือนเดิม คือมันทำให้เป็นทุกข์ บางทีก็เสียหายหรือบางคนก็ถึงกับฉิบหายเลยกับการไม่บังคับตัวเอง นั่นแหละเอาไปทำในใจไว้ตลอดเวลา นี่แหละเป็นเหตุให้เขาได้เรียกว่าบัณฑิต ผู้ได้บวชแล้วเป็นที่พอใจในการบวช พอจะ พอจะคุ้มครองตัวก็เรียกบัณฑิต เป็นธรรมเนียมมาแต่อินเดียนมนานกาเล มาถึงเมืองไทยเขาก็เรียกบัณฑิต ธรรมเนียมนี้มันเลือนลางไปเต็มที จึงกลายเป็นเรียกว่า “ทิด” เฉยๆ ของเดิมก็คือบัณฑิต ฑอ-นางมณโฑ สระอิ ตอ อ่านว่า บันฑิต ต่อมามันเหลือแต่ ฑิต เหลือมาเหลือเป็นมันเป็น ทิต ก็ออกเสียง “ฑอ-นางมณโฑ” เป็น “ท-ทหาร” ก็เลยเป็นทิด นักการก็เปลี่ยนตัว “ต” ให้เป็น “ด” สะกด แล้วมันก็เป็นบ้าๆ บอๆ เราบวช ต้องให้ตรงตามความหมายเดิมว่า ผู้แก่เรียนในเรื่องสำหรับจะไปต่อสู้โลกครบถ้วนแล้วเรียกว่า “บัณฑิต” อันนี้มีมาแต่ในอินเดียตั้งแต่ครั้งโบราณกาล คนจะเข้าไปอยู่ในอาศรมใดอาศรมหนึ่ง ทุกคนดีพอก็จะออกไปต่อสู้โลก คนหนุ่มพอจะออกไปต่อสู้โลก ได้ พอไปได้ เขาก็เรียก “บัณฑิต” จะออกไปต่อสู้โลก มีครอบครัวมีอะไรก็ตามเรื่อง ให้มันชนะ บัณฑิตมีปัญญาเป็นเครื่องเอาตัวรอด คนซื่อสำคัญจำไว้นะ
บัณฑะ คือ ปัญญา ปัญญาก็เป็นเครื่องรักษาตัวรอด อิษ นี่ก็แปลว่า มี หรือถึง ปัณฑะ อิษฐะ (นาทีที่ 30:40) รวมกันเป็น “บัณฑิต” แปลว่า ผู้มีปัญญาเอาตัวรอด ถ้าเอาตัวไม่รอดก็ไม่เป็นบัณฑิต ทีนี้เอาตัวรอดนี่มันมีวิธีปฏิบัติ ก็คือไอ้นี่ล่ะ ยอมให้เรื่องบังคับตัวเอง ถ้าแยกออกไปก็เป็น สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ๔ อย่างนี่พูดอธิบายเป็นรายละเอียดในหนังสือหาอ่านก็ได้โดยรายละเอียด หรือแปลโดยใจความมีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ทางฆราวาสเขาเรียกว่า ฆราวาสธรรม
สัจจะ เป็นคนจริง
ทมะ เป็นผู้ที่มีการฝึกฝนบังคับตัวเอง
ขันติ อดกลั้นอดทน
จาคะ นั้นสละสิ่งที่ไม่ควรจะเอาไว้
สัจจะจริง มันก็จริงอยู่นี่แต่เห็นเป็นของเล่นก็เลยไม่ค่อยจะจริง นี่สึกแล้วเป็นบัณฑิตแล้วนี่มันไม่มีทางแก้ตัวแล้วมันก็ต้องทำให้ดี คือทำให้จริง มันเป็นคนจริง จริงโดยจิตใจ จริงทุกอย่างทุกประการ จริงในคำพูด จริงในการกระทำ จริงต่อตัวเอง จริงต่อเพื่อนฝูง จริงต่อเวลา จริงต่อหน้าที่การงาน แต่รวมแล้วมีอยู่คำเดียวคือ จริงต่อความเป็นมนุษย์ จริงต่ออุดมคติของความเป็นมนุษย์ ความเป็นมนุษย์ทำให้คนดี ได้รับประโยชน์สูงสุดของความเป็นมนุษย์ ถ้าจริงต่ออุดมคติความเป็นมนุษย์ อย่างอื่นก็จริงตามไปหมดถ้าเป็นคนจริง เขาเรียกว่า สัจจะ
ทมะ ต้องบังคับ เพราะว่าคนปุถุชนธรรมดานี่มันมีกิเลสมันจึงต้องบังคับ มันจึงไม่ยอมให้ไปตามกิเลส บังคับให้อยู่ในระเบียบ ในความถูกต้องในธรรมะ เรื่องจริงถ้าไม่บังคับมันก็ไม่จริงอยู่ได้มันก็ละลายหมด จะจริงอยู่ได้ก็ต้องมีการบังคับ
จะต้องมีขันติอดทน บังคับเขามัน มันเจ็บปวด ถ้าไม่ทนมันเลิกบังคับไปละ มันจึงต้องมีความอดทนมากพอถึงจะบังคับไว้ได้ อดทนทุกอย่างเลย ความลำบากก็อดทน ความเจ็บปวดก็อดทน อะไรก็อดทน แต่ว่ารวมแล้วมันอดทนต่อการบีบคั้นของกิเลส กิเลสจะตามหาความชั่ว บีบคั้นเราอดทน กับกิเลสจะบังคับแต่เมื่อเรายังไม่ชนะมัน มันบีบคั้นเราๆ ก็ต้องอดทน ถึงในที่สุดนี่ เคล็ดดีอยู่แค่ว่าบริจาค สิ่งที่ไม่ควรเอาไว้ต้องบริจาค คือความเลว ความกิเลสหนา ต้องหาช่องบริจาค ด้วยวิธีต่าง ๆ นานา ไม่ใช่หมายความว่าบริจาคความขี้เหนียวด้วยการให้ทานอย่างเดียวไม่ใช่ ต้องบริจาคหมดหน่ะ สิ่งใดไม่ควรเอาไว้ นิสัยสันดาน อะไรที่ไม่ควรเอาไว้ ไม่ได้ว่าทุกสิ่งของที่ไม่ควรเอาไว้ นี่ก็ไม่ควรเอาไว้ เพราะมันทำให้เรามันมีกิเลสง่าย นี่แหละทางที่จะให้สำเร็จความเป็นบัณฑิต สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ คือสอบไล่ของความเป็นบัณฑิตนี่ทำได้หรือเปล่า ก็สอบไล่ ก็มีเครื่องวัดก็เป็นฆราวาส ก็ให้ไว้ ๓ อย่างแต่เดิมนะ มีทรัพย์สมบัติพอ พอตัว แล้วก็มีจิตที่จะชื่อเสียง พอตัว แล้วมีเพื่อนฝูงสังคมดีพอตัว พอตัวก็หมายความว่าพอดีพอเหมาะ ไม่ใช่ว่ามากเกิน แต่ก็ไม่ใช่ว่าน้อยเกิน ไม่มากเกินไม่เกินจำเป็นลำบากเปล่าๆ จะทำให้เผลอ ประมาท แล้วทำชั่วได้ง่าย แต่ว่าพอตัวนี่ไม่ใช่หมายความว่าพอกินไปวันๆหนึ่ง พอตัวแปลว่ารู้ประมาณเอาเอง เรามีสติปัญญาสามารถ โอกาสให้เราพออยู่ได้สบายนะ ทั้งครอบครัว ถ้าไม่มีทรัพย์สมบัติพอตัวก็ยังสอบไล่ตก ถ้าไม่มีจิตที่จะชื่อเสียงพอตัวก็ยังสอบไล่ตก ถ้าไม่มีคนดีๆ นับถือนับท้าย ก็ยังสอบไล่ตก ถ้าไม่มีทรัพย์สมบัติ ก็เรียกว่าภัยมันไม่ ประมาทได้ และต้องมีชื่อเสียงจริง ชื่อเสียงบริสุทธิ์ มีทรัพย์สมบัติได้มาด้วยความบริสุทธิ์ก็พอจะนับถือตัวเองได้ มีคนดีๆ เพื่อนนะเพื่อนก็ดีๆ ไม่ใช่เพื่อนเลว มากพอ ไอ้คำว่าเพื่อนนี่จะต้องรู้ว่ามันทั้งข้างล่าง และตรงกลาง และข้างบน เพื่อนจะต่ำกว่าเราก็เป็นเพื่อนรักได้เหมือนกัน ฐานะต่ำกว่าเราก็เป็นเพื่อนได้ ถ้าฐานะเท่ากันเสมอกันก็เป็นเพื่อนได้ อยู่สูงกว่าในเบื้องบนมันก็เป็นเพื่อนได้ เราต้องมีเพื่อนอย่างนี้มาตั้งแต่บิดา มารดา ครูบาอาจารย์รักใคร่ เจ้านายรักใคร่ ร่วมบุญ เป็นเพื่อนเท่าๆ กันรักใคร่ แล้วก็รุ่นน้อง ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชารักใคร่นี่ก็เรียกว่า “เพื่อน” ตามความหมายนี้ มีเงินไม่มีใครรักก็มี มีเกียรติยศมีคนเกลียดก็มี มีชื่อเสียงมากมีคนเกลียดก็มี เพราะมันทำมาไม่เข้าเรื่อง มันก็ยังกำกับกันไป เพราะมันมีทั้ง ๓ อย่างนี้ มันต้องมีคนรัก ทั้งข้างบนข้างล่างตรงกลางแวดล้อมมันก็เรียกโซ่ทอง มันเป็นความจริง เราไม่อาจทำให้คนรักเราทั้งโลกแต่ว่าเรามันทำได้ก็ลักษณะเป็นเครื่องวัดได้ว่าเรานั้นเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น เป็นที่นับถือของผู้อื่น เรียกในภาษาโรงเรียน ภาษานักธรรม ๓ คำสั้นๆ ว่า “ทรัพย์” คำหนึ่ง “ยศ” คำหนึ่ง “ไมตรี” คำหนึ่ง นี่พูดกันมาแต่เดิม เขาเรียกว่า ทรัพย์ ยศ ไมตรี มีทรัพย์สมบัติพอตัว มีเกียรติยศพอตัว มีไมตรีคือความรักใคร่ความเป็นมิตรรอบด้าน ถ้ามี ๓ อย่างนี้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วก็เหมือนว่าสอบไล่ได้ คนนี้เกิดมาทีก็สอบไล่ได้ เป็นฆราวาส หรือเป็นคฤหัสถ์ที่ใช้ได้ สอบไล่ได้ สมกับที่เป็นบัณฑิต ที่บัณฑิตออกมาแต่มหาวิทยาลัยเรื่องชีวิต
สำหรับพุทธบริษัทเรา เราเอาวัดนี่เป็นมหาวิทยาลัย อินเดียเขาก็มีวัด วัดตามแบบ แบบของอินเดีย แบบโบราณ แบบพราหมณ์ แบบฮินดู แบบอะไรไปตามเรื่อง แต่ความมุ่งหมายเพื่อให้คนหนุ่มสึกออกไปดี ลาออกไปจากสำนักแล้วไปเป็นมนุษย์สมบูรณ์ถูกต้อง ให้มันหมดปัญหาไม่ใช่เรื่องว่าเกิดมาในหน้าที่ของฆราวาส ให้ถูกต้องครบถ้วนบริบูรณ์ ต่อจากนั้นก็เอือม ก็เบื่อ มันค่อยบวชจริงกันเลย ก็เรียกว่า ท่อนปลายของชีวิต ไอ้เรื่องเหล่านี้ไม่ทำความพอใจให้ได้ ลาภยศ ไมตรีเป็นของเล่นๆ เป็นของเด็กแล่นไปแล้ว งั้นจึงขอให้บวชแบบจริงแล้วก็ไปในทางจิตทางใจไปเจริญ งั้นไม่ต้องพูดอย่างนี้
เมื่อว่าบวช สึก เป็นบัณฑิต ขอให้ถือว่าแบบนี้ก็แล้วกัน เอาละเรื่องแต่หนหลัง ผิดพลาดยกเลิกกัน ที่มีคดีอยู่ก็บ้างยกเลิกกัน ตั้งต้นใหม่ ตั้งต้นใหม่แล้วลบให้เป็นศูนย์ ตั้ง ๐, ๑, ๒, ๓, ๔ ให้เป็นบวกเรื่อยไปอย่าให้มีลบ นี่การบวช นี่ต้องไม่ ต้องรับผิดชอบ ผิดไม่ได้นะ เมื่อก่อนผิดก็ได้เพราะว่าไม่รู้ ไม่ได้บวช ไม่ได้เรียน ไม่รู้อะไร ผิดบ้างก็ได้ แต่เดี๋ยวนี้ผิดไม่ได้ ถ้าผิดต้องเรียกตัวเอง ไอ้ชาตินั้น ชาตินี่มันเจ็บๆ มันจะได้ไม่ผิด มันดีแล้วจะได้มีโอกาสบวช ลดตัวลงได้ถึงได้บวช พอได้บวชก็ได้เรียนๆๆๆ ให้รู้ ที่นี้ก็ลงมือทำใหม่ ตั้งต้นใหม่ ระดับใหม่ให้ดีกว่าเดิม มุ่งหมายสูงกว่าเดิม ให้ขยันขันแข็งยิ่งกว่าเดิม ก็สอบไล่ได้เร็วๆ มีทรัพย์ มียศ มีไมตรี มีให้มันได้เร็วๆ มันเป็นเครื่องวัดว่าสอบไล่ได้
ทั้งหมดนี้มันเป็นความประสงค์อันแท้จริง หรือเป็นตัวจริงของการบวช ของคนหนุ่ม ของคน ยังไม่ได้บวชเลย ค่อยสำเร็จประโยชน์ เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ นี่หล่ะคือศีล คือพร ก็ศักดิ์สิทธิ์ ก็คุ้มครองได้จริง ไอ้เรื่องรดน้ำมนต์ เรื่องอะไรต่ออะไรบ้าอะไรๆ บอๆ สำหรับเด็กเล็กๆ สำหรับคนขี้ขลาด สำหรับคนไม่รู้อะไร พอเป็นกำลังใจบ้าง เสร็จแล้วก็ไม่ค่อยสำเร็จประโยชน์ เพราะไม่ปฏิบัติ ข้อนี้ต้องรู้ว่าตามหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า...พุทธัง .....สุปันโน สุมุตโตจะ ผู้ที่ตั้งธรรมจารีตด้วย (นาทีที่ 41:18) เมื่อปฏิบัติถูกต้องอยู่นั่นแหละ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เมื่อนั้นแหละฤกษ์ดียามดี คณะดี ครูดี อะไรดีหมดเลย โชคดีอะไร งั้นถ้าอยากจะมีฤกษ์ดียามดี โชคดีอะไรก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งกาย วาจา ใจ ไม่มีมากกว่านั้น นอกนั้นเป็นเรื่องหลอกๆ ทั้งหมด รดน้ำมนต์ รดทำไม รดเพื่อให้จิตใจมัน เชื่อตัวเอง แล้วไปปฏิบัติดี ปฏิบัติดีอยู่แล้ว น้ำมนต์มันก็ดี นี่มันสึกชยันโต มันน่าหัวเราะ ชยันโต มันถึงว่าจะชนะ ตัวหนังสือทุกๆ ตัว เรื่องของเรื่องชยันโต พระพุทธเจ้าชนะมาร และขอให้เราเป็นผู้ชนะเหมือนนั้น นี่มันสึกยั นโต แล้วมันไปแพ้มันไปฉิบหาย บางทีถึงขนาดค่ำลงนี่ไปดูหนัง ชักสึกตอนเช้า ค่ำไปดูหนังถูเขาตีหัวว่ามีเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไม่ใช่เรื่องพูดหลอกกันไม่ใช่ มันเรื่องจริง มันถึงขนาดนั้น ชยันโต อุบายนั้นรดน้ำมนต์กันยังไงก็ควบคุมไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นน้ำมนต์ที่ไม่จริง ถ้าน้ำมนต์จริงๆ มันก็คือธรรมะ ธรรมะที่จะพูดให้ฟังนี่แหละ โดยเฉพาะที่จะพูดให้ฟังนี่แหละ คือธรรมะเป็นน้ำมนต์เป็นอะไรของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน จำไว้นั่นแหละ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ น้ำมนต์มีตลอดเวลา จงคุ้มและคุ้มครอง นี่มันโกรธเสียนี่ หรือโมโหเสียนี่ เรียกว่า จิตเป็นกิเลสอย่างอื่น ธรรมะหมดไม่มี ไม่มีอะไรคุ้มครอง พระพุทธเจ้าไม่อยู่กับตัว มันก็ต้องวินาศแหละไม่มีใครแช่งไว้ วินาศ วินาศในตัวเองนะ เพราะไปทำความวินาศไว้ ต้องทำให้ดีๆ
เอาละทีนี้มันก็มีอยู่ว่า มันจะมีเรื่องเตือนๆ บ้าง ต้องคอยเตือนไว้บ้างอย่าให้ลืม ลืมข้อนี้ จะแขวนพระเครื่อง หรือว่าจะมีอะไรจะเป็นเครื่องเตือนก็ได้ ก็ขอให้เครื่องเตือนให้สำเร็จประโยชน์ ฉันถ่ายรูปไว้ดูนี่ก็ได้ ฉันจะได้ด่าตัวเอง แขวนพระแขวนคอทำเลว ไอ้ชาติหมาแหละ มีรูปถ่ายยืนตรงๆ ว่าได้บวช แล้วไปทำเลว ก็ไอ้ชาติหมาหน่ะ ไอ้ว่าครู ที่จะเป็นเครื่องเตือนสติได้ดี ไอ้นี่ เราว่าไอ้นี่ พระใส่บาตรนี่แหละ ถ้าเป็นคนที่มีจิตใจจริงจังมันถึงจะดี ข้อนี้ไปเห็นมาแต่ในวังกรมพระยาดำรง ในตู้พระที่ใหญ่โตมีพระใส่บาตรอยู่ตัว ตั้งไว้ด้วยกัน ฉันยังพูดว่า โอ้ นี่ต้องของพ่อมาบวช ไว้ให้ลูกไหว้ ความจริงเอาไว้เตือนตัวเอง อย่าให้ทำอะไรไม่สมกับแกบวชแล้ว ไม่ใช่ว่าพิการเอาไปทิ้งไปขว้างเอาไปให้ใครทำงั้นมันหยาบคายมาก ฉันจะเอาไว้ขู่ตัวเอง ไว้เตือนตัวเองนี่ดีที่สุด ซักให้สะอาดเอาไว้ให้ลูกไหว้ก็ได้ แต่ว่าทางที่ดีเอาไว้เตือนตัวเองนะไม่ได้เสียทีว่าบวชแล้ว นี่มีอิทธิพลมากกว่ารูปถ่าย ถ้าเหลือบไปเห็นบาตร เห็นผ้าเหลือง มันเป็นเครื่องหมายแต่พระพุทธเจ้า ให้คณะพระสงฆ์ในนามของพระพุทธเจ้าให้มันดูว่ามากไป ก็ยังเห็นรูป เห็นรูปถ่าย ไอ้รูปถ่ายนี่มันเห็นก็ชินไป ถ้ายิ่งติดอยู่ในห้องรับแขกด้วยไม่ทันไรก็ชิน มันไม่ช่วยได้ ถ้าติดไว้ในห้องส่วนตัวนานๆ เห็นทีก็จะสะกิดอยู่ เห็นรูปถ่ายก็เห็นพระ แม้แต่บาตร จีวรนี่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น เก็บไว้ในตู้เอาออกมาดูบ่อยๆ เอาไว้ในที่ๆ เหมาะสม เอาไว้ในห้องพระถ้ามีห้องพระ ถ้าเชื่อก็ลองดูไป ไอ้นี่แหละเครื่องเตือนสติดีที่สุด ทำให้สะอาดให้สวยที่สุดทั้งบาตร ทั้งฝาบาตร ทั้งจีวรต้องซักให้ดี รีดให้ดีให้สวยที่สุดนะ ใครถามก็ว่าให้ลูกไหว้ เผื่อลูกมันจะอยากบวชบ้าง ความจริงเอาไว้ขู่ตัวเอง ไว้ด่าตัวเองถ้าทำผิดทำชั่ว นี่เป็นเครื่องรับประกัน ก็จะเป็นศีลเป็นพร หรือเป็นน้ำมนต์ หรือเป็นให้ยิ่งขึ้นไปอีก ขอให้คิดอะไรให้รอบคอบ ให้เกิดความไม่ประมาท ไอ้ครั้นมันเลวถึงขนาดว่ามันผ้าเหลืองร้อนเป็นไฟตลอด พรรษาจะออกง่าย แล้วมันสึกไปด้วยจิตใจเหมือนกับคนบ้า เปิดกรงขังให้ไปเที่ยวตามสบายใจ มันคิดอย่างนั้น มีมากนะไอ้คนหนุ่มๆ ที่บวชสมัยนี้ มันอยู่ด้วยความอึดอัด ตกนรกทั้งเป็น รอจะถึงวันออกพรรษาจะได้สึก ตลอดเวลาจิตใจเลวใช้ไม่ได้เลย แล้วมาสึกออกไปด้วยความประมาทนี่ จริงไหม สึกตอนเช้าค่ำไปดูหนังถูกเขาตีหัวเลยมันมีอย่างนั้นนะ นั่นมันไม่ไหวแล้ว มันไม่มีจิตใจที่จะอยู่ จะทำ จะอะไรเลย เราจะต้องมีสติสัมปชัญญะการบวชนี่เขาให้ฝึกในเรื่องการมีสติสัมปชัญญะมากเป็นพิเศษ ทำอะไรด้วยความหนักแน่นแบบนับ ๑ ถึง ๑๐ ก่อน มันก็มีสติสัมปชัญญะเสียก่อนแล้วค่อยจึงตัดสินใจ ค่อยพูดค่อยจา มันทันนี่ ไม่ใช่มันไม่ทัน ให้มันดีให้มันถูก จะยกตัวอย่างกรมพระยาดำรง ให้ฟังเป็นตัวอย่าง บางคนอาจจะไม่เคยเห็นกรมพระยาดำรง พูดช้า และโดยเฉพาะตอนปลาย ตอนบั้นปลายชีวิตเราไปเยี่ยมไปเฝ้าไปสนทนาเรื่องโบราณคดี อธิบายโบราณคดีให้เราฟัง พูดช้ากว่าพระเทศน์นะ หลับตา พูดช้ายิ่งกว่าพระเทศน์ช้าๆ พูดโบราณคดี สติสัมปชัญญะอย่างนี้ไม่มีผิด เราแค่จำชื่อผิดแกเรียก “มหาหลง” แกพูดให้มหาเอื้อมฟังว่านานๆเข้าเทอมๆ อะไรอย่างนี้ (นาทีที่ 48:48) พูดไม่รู้จักเบื่อ พูดจนเราเกรงใจว่ามันจะนานเกินเวลาแล้วแกยังพูดอยู่นั่น หลับตาพูดเหมือนกับพระเทศน์แต่ช้ากว่าพระเทศน์นะ นั่นแสดงว่าเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะเหลือประมาณไม่รู้จักเบื่อ พูดจนเราเกรงใจว่ามันจะนานเกินเวลาแล้วแกยังพูดอยู่นั่น หลับตาพูดเหมือนกับพระเทศน์แต่ช้ากว่าพระเทศน์นะ นั่นแสดงว่าเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะเหลือประมาณ ท่านจึงบัญชาการงานในหน้าที่มาได้ด้วยดี คือไม่ผลุนผลัน คือทำอะไรไม่ผลุนผลัน ตั้งแต่หนุ่มมาไม่ผลุนผลัน จนกระทั่งแก่เฒ่า ท่านก็ยิ่งไม่ผลุนผลัน แล้วยิ่งสำรวมดี มันก็ไม่ไม่เลือน ไม่เฟือน ไม่ฟั่นเฟือน อายุ ๘๐ กว่าปีก็ไม่ฟั่นเฟือน ดีขนาดนั้น คนทำอะไรผลุนผลันๆ ไม่เท่าไรก็ฟั่นเฟือน ไม่ทันแก่เลยมันก็ฟั่นเฟือน มันก็ตีกันยุ่งไปหมด
จำๆ กันไว้ไอ้การบวช ฝึกให้มีสัมปชัญญะให้หนักแน่นให้บึกบึน ให้ไม่มีผิด งั้นอย่าทำให้จิตใจรัวๆๆๆๆ บวชก็รัว สึกก็รัวๆ ไปก็รัว นี่ก็ยิ่งกว่าเดิม คนที่ทำผิดจะยิ่งกว่าเดิม จะไม่นับถือศาสนาด้วยซ้ำไป สึกไปที่นี้ ก็เข้ามาทำผิดทำเข้าใจผิดได้หมด สึกไปจะไม่นับถือศาสนา คนนี้จะยิ่งกว่าเดิม ไหนๆ ก็เข้ามาแล้วทำให้มันถูกต้อง แล้วจะรักศาสนา จะมีศาสนายิ่งกว่าเดิม มันได้พูดเป็น ๒ แพร่งในวันนี้ ถ้าทำผิดจะเกลียดศาสนายิ่งกว่าเดิม และนี่เรื่องจะสึกมันก็เรียบร้อยสมบูรณ์ มันก็ยังเหลือแต่ว่าตั้งต้นกันใหม่ให้ดี ให้มีความเจริญก้าวหน้า ให้เหมือนกับพระพุทธเจ้าเองไม่ใช่เรา ให้พระพุทธเจ้าเองมาให้ศีลให้พรมารดน้ำมนต์อะไร ธรรมะนั้นแหละเป็นศีลเป็นพร เป็นน้ำมนต์จะคุ้มครองแล้วก็ดีตลอดกาลตลอดชีวิต แล้วนี่สึกแล้วก็ ตามธรรมเนียมโบราณเขาอยู่วัดอย่างน้อย ๓ วันถึง ๗ วันเลยก็มีแล้วแต่ใจ เผื่อว่าจะถอยไปอย่างมีระเบียบนั่นแหละ ไม่ใช่ว่าถอยไปวันนี้ สึกวันนี้ไปดูหนังกลางคืนถูกตีหัวให้ ให้มันถอยไปอย่างมีสติสัมปชัญญะ ใครจะอยู่ ๑ วัน ๒ วัน ๓ วัน ๗ วันนี่ก็ตามใจ แต่ว่าให้มีสติอยู่ตลอดเวลา และก็และก็แถมว่ายังรับใช้พระสงฆ์ เราก็บวชแล้ว เห็นนี่แล้วมันอาจจะประมาทไป พอสึกจึงมีระเบียบให้รับใช้พระสงฆ์ ข้างเลวที่สุดล้างส้วม กวาดวัด ทำความสะอาดอะไรต่างๆ ที่ทำได้ไม่ได้ นี่ก็เพื่อเตือนสติ เพื่อตั้งสติ เพื่ออะไรสติ คนๆๆๆๆโบราณปู่ย่าตายายฉลาดกว่าเราเสมอ อย่าอวดดีไป ต้องมีฉลาดกว่าเราเสมอ ตั้งอะไรไว้ในลักษณะดีที่สุด ขอให้ทุกๆคนนึกคิดให้ดีมีสติสัมปชัญญะ รวบรวมความจำความรู้สึกคิดได้เองในช่วงที่ได้บวชนี้ อย่าประมาทนะ แล้วให้วิญญาณการบวช ส่วนดีของการบวช อานิสงส์ของการบวชนั้นนะอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้ไม่ประมาทประกอบไปด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งฆราวาสธรรม แล้วมีความเจริญงอกงามในพระศาสนาตามสมเด็จพระศาสดา ไปตามวิสัยของฆราวาสทุกๆ ทิพาราตรี ตลอดกาลนานเทอญ