แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ให้นั่งสับหว่างกันเมื่อเวลาจะยืน จะทำอะไร จะทำวัตร จะได้สะดวก ถอยหลังสะดวก กราบสะดวก ให้ถอยไปนิดนึงไม่งั้นช่วงเวลากราบหัวจะชนอันนี้ หัวแตกกันเลย ตามธรรมเนียมต้องทำวัตรก่อน เอาล่ะ ทำวัตรเลยนะ เป็นยังไงบ้าง เขาเรียกว่าอะไร แล้วให้ตอบ ว่าไงล่ะ เขาเรียกว่าทำวัตรใช่มั๊ย เอาล่ะยืนขึ้นแล้วกล่าวขออุกาสวันทา(กล่าววาจาขอบรรพชา)
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปัญญัง มัยหัง,
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ, สวดให้พร้อมเพรียงกันนะ
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต เอาละ กราบ 1 ครั้ง ต้องทำให้ดีนะ อย่าทำแบบเสียไม่ได้ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต, อุกาสะ ทะวารัตตะ เยนะ
กะตัง, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต, อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีโทษ หน้าที่คืออะไร ถ้าอยู่ในระหว่างเราสองฝ่าย ก็ขอให้อโหสิกรรม ด้วยการทำอโหสิกรรมในวันนี้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะกราบเท้าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ กล่าวสาธุซิ สาธุ กราบ 1 ครั้ง ต้องกล่าวให้หมด ท่องให้หมด เพื่อให้มีความรู้
วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปัญญัง มัยหัง,
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ
เอาละ ให้นั่งพับเพียบ พนมมือก่อน พูดให้รู้เรื่องก่อน ฟังให้ดี ๆ นะ ไม่ฟังดี ๆ เราไม่พูดนะ เอาละ นั่งให้เรียบร้อย ฟังให้ดี ๆ ให้ถูกต้องตามธรรมเนียม สิ่งที่กระทำเมื่อสักครู่นี้ที่ผ่านมา เขาเรียกว่า ทำวัตร อุปัชฌาย์อาจารย์ เขาเรียกกันว่า ทำวัตรหมายความว่ามันเป็นการทำตั้ง 3 อย่าง คือ ทำให้จิตใจ ให้ครบ ให้ถี่ถ้วน 3 อย่างคือ อุกาสะ วันทา มิภันเต ขอแสดงความเคารพ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต คือขอโทษ มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปัญญัง มัยหัง ทาตัพพัง นี้เรียกว่าแลกเปลี่ยนส่วนบุญ รวม 3 อย่างนี้เขาเรียกว่าทำวัตรแต่ต้องทำด้วยจิตใจ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขอแสดงความเคารพ นี่คือทำด้วยจิตใจ ไม่ใช่ใจลอย ไม่ใช่ใจฟุ้งซ่านไปอยู่ที่อื่น ทำด้วยจิตใจ ขอแสดงความเคารพ ขอแสดงความเคารพด้วยปาก ว่า วันทามิ ภันเต ด้วยกายคือการยืน การใหว้ต่าง ๆอยู่แล้ว ด้วยใจก็ต้องทำด้วย จิตใจต้องแสดงความเคารพด้วย มันถึงจะครบด้วย กาย วาจา ใจ อย่างนี้มันก็จะถูกต้อง นี้เราเหมือนไม่ได้ตั้งใจก็ได้ ปากว่ารัว ๆ ไม่ค่อยพร้อมกันด้วย อย่าสักแต่ว่าทำพิธีครึ่ง ๆ ผ่าน ๆไป ถ้าใครไม่ได้ตั้งใจให้มันถูกต้อง ก็ให้ตั้งใจเสียใหม่ วันทามิ ภันเต คือการแสดงความเคารพ ตามธรรมเนียมต้องแสดงความเคารพก่อน แล้วค่อยจะทำอะไร ๆ ต่อไป หลังจากแสดงความเคารพแล้ว จึงจะขอโทษ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต แปลว่าอะไร สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต แปลว่าอะไรเหรอ อ้าว ไม่สนใจเหรอ นี้ก็ไม่สนใจ ถ้าสนใจต้องถาม ถามท่านจันท์ ถามใคร ๆ ที่เขารู้ สัพพัง อะปะราธัง แปลว่าโทษทั้งปวง คำว่า ถะ ขอจงงด เม แก่กระผม ของดโทษทั้งปวงแก่กระผม ว่า ขะมะถะเม ภันเต เราต้องถาม ถ้าไม่เข้าใจ แล้วก็จดลงในสมุด ว่าาบวชเณรครั้งหนึ่ง แล้วได้ทำอะไรบ้าง หมายความว่าอะไร ถ้าสังเกตดูฝรั่งมาเมืองไทย มาเห็นพิธีรีตรอง เขาจด แล้วมันฉลาด แต่เราคนไทย ไม่สนใจ ไม่จดไม่จำ แล้วก็ไม่รู้จนวันตาย ทำยังไงจะได้บอกลูกบอกหลานอย่างถูกต้อง ต่อไปเราโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น เราต้องรู้ ต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นเธอต้องสนใจ ต้องจดจำสมุดโน๊ต บันทึกประจำตัวมีอยู่แล้ว มีอะไรไม่เข้าใจ ให้พยายามถามและจดไว้ ไม่นานก็จะมีสติปัญญามาก นี้แค่ทำวัตร ก็ต้องทำตั้ง 3 อย่าง ขอให้เข้าใจการทำวัตร จดไว้ ไม่ว่าจะเป็นการทำวัตรตอนสึก หรือทำวัตรตอนไหนก็ตามก็มี 3 อย่าง
อย่างที่ 1 อุกาสะ วันทา จดไว้ว่าต้องเคารพ สัพพัง อะปะราธัง ก็จดว่าคือ ขอโทษ อย่างที่ 3 มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา ต้องจดให้ถูก คนเราก็ต้องฉลาดถ้าทำแบบนี้ ถ้าทำครึ่ง ๆ ไม่ค่อยฉลาด ก็โง่ดักดานอยู่อย่างนั้น มินา อะนุโมทิตัพพัง บุญที่ผมทำไปนั้น ขอให้อาจารย์อนุโมทนา สามินา กะตัง ปัญญัง มัยหัง ทาตัพพัง บุญที่อาจารย์ทำนั้น ก็แบ่งให้ผมบ้าง ต้องเข้าใจว่าอย่างนี้ด้วย ไม่ใช่ท่องเป็นนกแก้ว นกขุนทอง เนี่ยแหละเขาเรียกว่าทำวัตร ทำเสร็จแล้ว เป็นบุพพาทของการทำพิธีต่างๆ ให้จำใว้นะ มี 3 อย่าง ให้ทำเพื่อแสดงความเคารพก่อน ขอโทษ และแลกเปลี่ยนส่วนบุญ สิ่งนี้เขาทำกันมาเป็น 100 ปีแล้ว และอาจจะถึงพันปีก็ไม่แน่ แต่ว่าหลายร้อยปีแน่ ๆ มีหลักฐานแสดงปู่ย่าตายาย ก็เคยทำกันมา แบบนี้เคยไปสอนที่ศรีลังกา ศรีลังกาก็ยังทำอยู่จนบัดนี้ ไปสอนศรีลังกาสมัยกรุงศรีอยุธยาโน้น หรืออาจก่อนหน้านั้น หรืออาจจะเป็นสมัยสุโขทัย แล้วศรีลังกาอาจจะเคยมาสอนเราก่อน แล้วเราไปสอนศรีลังกาทีหลังอีก ศรีลังกาเสื่อมสูญไปหมดแล้ว จนคนไทยต้องไปสอน ก่อนนั้นคนศรีลังกาสอนคนไทยอยู่แล้วอาจเป็นสมัยสุโขทัย ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็เกือบพันปีแล้ว ลูกหลานอย่าโง่ อย่าอวดดี ยกเลิก ประเพณี ระเบียบต่าง ๆ
นี้ไงล่ะ เขาใส่น้ำกันแบบนี้นะ น้ำเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่ง เด็กอะไรที่ไม่โง่ ก็คิดเอาเองนะว่า ไม่ใช่แค่เอาน้ำใส่แก้วมาวางใว้ ให้ครบ ๆ คิดเอาเอง น้ำอะไร ความหมายอะไร เขาคงจะเตือนอะไรเราสักอย่าง จึงมีน้ำใส่มาด้วย คงจะถอดแบบ และสรงน้ำ ถ้าเอาน้ำมาแบบนี้ ถ้าเป็นรุ่นอายุของอาจารย์ ก็หมายความว่าเอามาล้างหน้า เอามาลูบแขน บางทีก็เอามาล้างหน้า ถ้านับถือมาก รักมาก ก็นำมากิน เวลาเราไปทำวัตร อาจารย์อุปัชฌาย์ของเรา อาจารย์เอาน้ำนี้มากินกิน เอามาแบ่งใส่กันคนละนิด ได้ 1แก้ว เอามาล้างหน้า เอามากิน อุปัชฌาย์จึงจะทำแบบนั้น คนแก่มากประจำบ้าน ประจำเมืองคือท่านเจ้าคุณไชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ ว่าจะเป็นอุปัชฌาย์ของเราก้ไม่ใช่ แต่เป็นที่เคารพนับถือทั้งบ้านทั้งเมือง เราก้ไปทำกัน ท่านก็กินน้ำ แล้วเอาน้ำลูบหน้า ลูบตา เขาทำกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ คนรุ่นปัจจุบัน โง่ อวดดี ยกเลิกของเก่า ๆ ในทางจิตใจมันก็เสื่อม ถ้ายังทำสืบทอดกัน จิตใจก็ยังนึกถึงกันอยู่ ก็ยังเก็บรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ได้ ดังนั้นเมื่อเราทำวัตร ก็ต้องทำแบบนี้ ให้จำไว้เขาทำกันมาเกือบพันปี น้ำเนี่ยแสดงถึงสัญญลักษณ์อะไร ๆ หลาย ๆอย่าง อย่างเลว ๆ ก้เป็นการสรงน้ำอาจารย์ ก็กินกันนิดนึง เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น ท่านผู้เฒ่าก็จะฉันน้ำเนี่ย เอาน้ำมาลูบแขนกันบ้าง แสดงความรัก แสดงความยินดีซึ่งกันและกันมาก ดีกว่าทำแบบหลอกกัน ถ้าเขากินน้ำของเธอ เธอจะดีใจหรือไม่ดีใจ แล้วทำไมเธอไม่เอามาล่ะ ปู่ย่า ตายายฉลาดกว่าคนรุ่นนี้มาก เขาเคยทำแบบนี้กันมา อย่าไปยกเลิกของเขาซะไปตามก้นฝรั่ง จนยกเลิกสิ่งที่ปู่ย่าตายายเคยทำกันไว้จนหมด นี้อยากให้เสร็จเร็ว ๆ จะรีบกลับแล้วเหรอ หรืออยากจะให้เสร็จเร็ว ๆ และจะให้กลับแล้วล่ะ รำคาญมากแล้วเหรอ อยากจะให้เสร็จเร็วๆใช่มั๊ย จะได้กลับไปคุยกันก็ได้ ดูเหมือนจะอยากได้แบบนั้น เราสังเกตเห็นนะ เด็กสมัยนี้ไม่เคยตั้งใจทำอะไรให้จริงจัง พวกเธอรำคาญมากแล้วใช่มั๊ย หรืออยากจะกลับแล้วเหรอ ถ้าไม่ใช่ ก็ตั้งใจฟังซิ อย่านั่งเหมือนไม่สนใจ กำลังพูดให้เข้าใจ สิ่งนี้เขาทำกันมาหลาย 100 ปีแล้ว ดอกไม้ ธูปเทียน เขาเอาใว้สักการะบูชา ส่วนน้ำไม่รู้ว่ามีความหมายอะไรบ้าง แต่อย่างน้อยก็นำมาสรงอาจารย์ หรือนำมาให้กินน้ำแสดงจิตใจ ผู้กพัน รักใคร่ โดยยึดถือกันว่าน้ำเป็นการแสดงจิตใจของเธอ น้ำคือ น้ำใจของเธอ คิดอย่างนี้กันหรือไม่ ถ้าเข้าใจกันอย่างนี้ แสดงว่าจิตใจก็ยังดี ศีลธรรมก็ยังดี นี้คือเรื่องทำวัตร ต้องพูดแยกเป็นเรื่องๆ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เข้าใจ ทำวัตรมีไม่เยอะ ความหมายมีกี่อย่าง อะไรบ้าง ตอบมา 3 ข้อ (เณรตอบคำถาม) คนนี้ดี จำได้เร็ว ต่อไปตัวเล็ก ตอบซิ (เณรตอบข้อ 3 ผิด) เขาเรียกว่าการแลกเปลี่ยนส่วนบุญ ต่างคนก็ต่างให้ทั้ง 2 ฝ่าย เป็นการแลกเปลี่ยน ไม่ใช่การแบ่งบุญ ทั้งหมดนี้เรียกว่าการทำวัตร ตอนไหนที่เรียกว่าการแสดงความเคารพ พูดว่าอย่างไร คำบาลีว่าอย่างไรการแสดงความเคารพ ว่าไงล่ะ(เณรตอบ) แล้วทำตอนไหนล่ะ ถึงเรียกว่าแสดงความเคารพ เธอว่าไงล่ะ (เณรตอบ) ใช่ มันมีคำว่า "วันทามิ"อยู่แล้ว วันทานั้นแหละคือการทำความเคารพ วันทามิ อุกาสะ กระผมขอโอกาส วันทามิ ขอแสดงความเคารพ คือ วันทา ผมขอโทษก็คือ สัพพัง อะปะราธัง คำว่าธังนี้คือ ขอโทษ ส่วนคำว่า นา กะตัง ปัญญัง มัยหัง ขอให้รับส่วนบุญของกระผม และขอให้แบ่งส่วนบุญให้กระผมด้วย เป็นอันตกลง ก็กล่าวสาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ก็คือการแสดงความตกลง เอาล่ะ ไหนลองตอบมาทั้ง 3 อย่างซิ เรื่องการเคารพ ไม่ต้องอธิบายนะ เพราะอุปัชฌาย์อาจารย์ก็ต้องเคารพ ในเรื่องขอโทษ เธอมีโทษอะไรบ้างที่ต้องขอ(มีการตอบกันไปมากับเณร) มีอะไรบ้าง โทษระหว่างเราที่ต้องขอ มีอะไรบ้าง เณรล่ะ มีอะไรบ้าง ไม่มีเหรอ เธอก็ไม่มีเหรอพวกเธอไม่เข้าใจ พระก็ไม่ได้สอน บางทีพระเองก้ไม่เข้าใจ ขอโทษ โทษล่วงเกิน โทษด้วยกายก็ดี โทษด้วยวาจาก็ดี โทษด้วยใจก็ดี ด้วยใจถ้าเราคิด ทำนองเป็นการหลบหลู่ หรือทำนองโกรธ เวลาโดนอาจารย์ว่ากล่าว หรือดุ โกรธ เหล่านี้เรียกว่ามีโทษ การเอาแต่พูดเล่น พูดหัวกันก็นี้แหละมีโทษ ห้ามแล้วไม่เชื่อฟัง ยังไปทำ ฝืนคำสั่ง เหล่านี้เรียกว่าหลบหลู่ดูถูกอาจารย์ ถ้าเณรคนไหนแกล้งทำให้ผิดจากที่อาจารย์ได้สั่งไว้ก็แปลว่าหลบหลู่ดูถูกอาจารย์ มีโทษ ถ้ามีอยู่ก็ต้องขอโทษ ไให้มันหมดไป ถ้าโทษมีอยู่มันก็มีบาปติดตัว ถ้าพวกเรามีสิ่งที่กล่าวมานี้ เคยคิดโกรธที่ถูกดุ ว่ากล่าว หรือ แอบพูดแบบนินทา เมื่อโกรธ ก็ไปนินทาหรือดื้อ ไม่ทำตามคำสั่งดื้อตาใส เขาเรียกว่ามีโทษ มันคือการกระทำผิดต่ออาจารย์ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องขอโทษ ณ.เวลานี้แหละคือให้ขอโทษถ้ามี ก็คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม 3 อย่าง ถ้ามีโทษแม้เพียงอันใด ถ้ามีในระหว่างเรากับเธอ 2 ฝ่าย ก็ให้หมดโทษคืออโหสิกรรม อย่างน้อยเธอก้ได้ขอโทษในวันนี้ การขอโทษนี้แหละเขาเรียกว่า ทำ 3 นิติกรรม 3 นิติกรรมแปลว่าอะไร (มีการถามตอบ) นั้นแหละในเมื่อไม่สนใจ ถ้าอาจารย์ ผู้ช่วย เขาช่วยฝึกซ้อมกับเธอในคำถามเหล่านี้ และเธอก็ควรถามทันทีว่า 3 นิติกรรมคืออะไร อาจารย์บอกไม่ได้ แสดงว่าอาจารย์ไม่รู้เหมือนกัน ต้องรู้ ต้องบอกได้ว่า 3 นิติกรรมคืออะไร ถึงเราจะทำวัตรกันเวลาไหน ด้วยเหตุอันได วันไหน ก็เป้นแบบนี้แหละ 3 นิติกรรมไม่ได้มีความหมายอะไรมากมาย แปลว่าสิ่งที่ควรกระทำ นิติ แปลว่า ควร สมควร ตามนิติกรรม คือเป็นสิ่งที่แต่ละคนควรกระทำ เธอได้ทำ 3 นิติกรรมในเรา ได้ใช้อำนาจ 3 นิติกรรมนี้ขอให้โทษทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่มีอยู่กลายเป็นอโหสิกรรม ทำเตรียมไว้เลย จากวันนี้จนตราบเข้าสู่พระนิพพานเลย แต่วันต่อไปถ้ามีโทษอีก ก็ขออีก เหล่านี้เป็นเรื่องดี เป็นเรื่องผู้บริสุทธิ์ สะอาด ไม่มีบาปติดตัว และเป็นสวัสดีมงคล เป็นเรื่องสวัสดีมงคล เธอก็ไม่มีบาปติดตัวการแสดงความเคารพอยู่เสมอ มันทำให้ไม่ดื้อ ให้มีนิสัย อ่อนโยน สุภาพ ไม่ดื้อ ต่างขอโทษซึ่งกันและกัน จะเป็นคนไม่ดื้อกระด้าง และก็ไม่ปกปิดความลับ ความชั่ว ขอโทษ ถึงฝึกไปแล้วก็ต้องขอโทษ เราไปทำอะไรล่วงเกินผู้อื่นก็ต้องขอโทษ ไม่งั้นเราจะมีบาป มีความชั่วเก็บไว้ มันจะซวย มันจะเลว มันจะซวย โตขึ้นจะยิ่งซวย มีลูกหลานไม่รู้เรื่องอะไรเลย แลกเปลี่ยนส่วนบุญกันนี้ก็เพราะว่าคนส่วนมากเห็นแก่ตัว ไม่อยากแบ่งปัน ยิ่งในเรื่องความดีก็ยิ่งหวงเก็บไว้คนเดียว ไม่อยากจะแบ่งปันให้หัดนิสัยเสียใหม่ว่า ให้รักเพื่อนมนุษย์ อย่าเอาเปรียบ อย่าฉ้อ อย่าโกงให้รู้จักคิดถึงเพื่อน เมื่อเรามีความสุข เพื่อนก็มีความสุข ถ้าเพื่อนดี ถ้าเราดี ให้เพื่อนดี เขาจึงบอกว่าให้แลกเปลี่ยนส่วนบุญ ครั้งนี้ทำกับอาจารย์ก่อน ทีหลังก็ไปทำกับเพื่อน ทำกับคนทุกคน นั้นแหละคือเป็นคนดี คนนิยมแบบนี่ มันเป็นจริง มันดีมาเป็น 100 ปี หลายพันปีแล้ว คนเขาดีกันมาแบบนี้ อย่างนี้เขาเรียกว่าทำวัตร ประกอบด้วยการกระทำ 3 อย่าง ทำเสร็จไปแล้วเป็นเรื่อง ๆไปแล้ว ต่อไปจะพูดเรื่องสึก เรื่องสึกเนี่ยมันเป็นเรื่องง่าย ง่ายที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็ต้องทำให้ครบทั้งทางกาย วาจา ใจ ทางกายคือเปลี่ยนผ้านุ่ง ผ้าห่ม นี้คือทางกาย เป็นการแสดงการฝึก และทางวาจา เขาก็บอกว่า ผมสึก ต้องพูดเป็นภาษาบาลี ไม่ใช่ท่องเป็นภาษาไทย ท่องยังไง ท่องยังไงเป็นภาษบาลี ลองท่องดูก่อน (สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ เณรตอบ) นั้นแหละ เป็นภาษาบาลี ภาษาบาลีเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า เราต้องกล่าวให้จริงจัง ไม่ใช่การกระทำเล่น ๆ หมายถึงว่าเป็นภาษาบาลี สิกขัง ปัจจักขามิ กระผมขอบอกคืนสิกขาอย่างสามเณร ฟังให้ดีนะ และต้องนึกในใจอย่างนี้นะ กระผมบอกคืนขอสิกขาอย่างสามเณร คิหีติ มัง ธาเรถะ จงถือว่ากระผมเป็นคฤหัสถ์ คิหิติ แปลว่า เป็นคฤหัสถ์ มัง แปลว่า กระผม ธาเรถะ แปลว่าจึงถือว่าผมเป็นคฤหัสถ์ เราประกาศตัวว่าเราเป็นคฤหัสถ์ ขอคืนสิกขาอย่างสามเณร นี้คือลาสิกขาด้วยวาจา คำว่าด้วยใจ ต้องนึกไปตามที่ปากว่า ปากว่าสิกขัง ปัจจักขามิ ก็ต้องรู้ว่าเราขอคืนสิกขาอย่างสามเณร ขอให้อาจารย์ถือว่าผมเป็นคฤหัสถ์ ข้อสำคัญมันมีอยู่นิดเดียว นั่นคือเธอต้องรู้ว่าคืนสิกขาอย่างสำนึก แต่ไม่ได้คืนหมด ไม่ได้คืน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้คืนศาสนา ไม่ได้คืนความเป็นพุทธบริษัท เพียงแต่ว่าจะคืนสิกขาอย่างสามเณรไปถือสิกขาอย่างคฤหัสถ์ยังมีสระณาคมยังมีความเป็นพุทธบริษัท เพราะฉะนั้นอย่าเข้าใจผืด ว่าเลิกกัน ล้างกันหมดเลย นั่นมันโง่ดักดานไปด้วย บอกลาสิกขา ลาสิกขาสามเณรมันมีนิดเดียวเท่านี้แหละ นอกเหนือจากนี้ก็ไม่ได้ลา ไม่ได้คืน ตั้งใจให้ถูกว่าจะบอกลาเฉพาะสิกขาของสามเณร ขอให้ทุก ๆคนเข้าใจให้ถูกต้อง เมื่อปากว่า ใจจะได้นึกถึง มันก็ละเมอ ๆ ไม่ได้รู้สึกตามที่บวช เราบอกคืนสิกขา เราลาสิกขา คือลาสิกขาอย่างสามเณรเท่านั้นเอง อย่้างอื่นไม่ลา ไม่คืน ด้วยใจก่อน ต้องทำในใจของเราก่อน ขอลาแล้ว ต้องลาสิกขาด้วยจิตใจด้วย ปากก็พูดออกไปให้เขาได้ยิน และทางร่างกายก็ต้องแสดงให้ปรากฏ ด้วยการเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่ม เดรื่องหมายอะไร ต่าง ๆ เอาละ คนหัวแถวท่องก่อน (เริ่มท่อง) ไม่เอา คุกเข่าท่องนโม หันหน้ามาทางนี้ (ทุกรูปต้องกล่าวนะโม 3 จบและท่องลาสิกขา)กราบ แปลว่าอะไร เธอได้กลาวว่าอะไร เธอได้กล่าวคำพูดว่าอะไร (มีการตอบ) ขอเป็นคฤหัสถ์ (มีการตอบ) ใช้ได้ ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าได้แล้ว เอาล่ะต่อไป คุกเข่าลงแล้วกราบ ทำให้ดี ๆ อย่าลุกลี้ลุกลน ทำช้า ๆ ว่านโม (ทุกรูปต้องกล่าวนะโม 3 จบและท่องลาสิกขา) ท่องดัง ๆ ท่องว่าอะไร ท่องว่าอะไร (มีการตอบ) ถือว่าขณะนี้ผมเป็นคฤหัสถ์ เอาล่ะ กราบ แล้วก้ไปได้ คนต่อไป กราบเสียก่อนนะ ท่องนโม(ทุกรูปต้องกล่าวนะโม 3 จบและท่องลาสิกขา) แปลว่า (มีการตอบ) เอาล่ะ กราบ แล้วก็ไปได้แต่งตัวใหม่ให้เรียบร้อย คนต่อไป (ทุกรูปต้องกล่าวนะโม 3 จบและท่องลาสิกขา) รูปนี้ออกเสียงไม่ชัดเจน คำว่าปัจ เป็นปัน) หมายความว่าอะไร (มีการตอบ) เธอเรียนจากใคร ปัจเป็นปันจักคามิ เรียนจากใคร(มีการตอบ) มีในหนังสืออะไร (มีการตอบ) ฝิดนิดนึง ต้องปัจ ปัจแปลว่าคืน ปัด จะ ก็แปลว่า คืน กราบ และไปได้ คนต่อไปลุกขึ้น กราบก่อนนะ (ท่อง) เดี๋ยว ๆ ถือศีลแปดกันเหรอ(มีการตอบ)ศีลแปด เขาไม่กินข้าวนะ ท่องใหม่ ท่องให้พร้อม ๆ กัน (ท่อง) ท่องนโมให้ดี พร้อม ๆ กัน ท่องนโม 3 จบ (ท่อง) ให้มีความตั้งใจ สมาทาน สรณคมน์
คือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงค์ เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ ด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้น ว่าเป็นสรณะเพียงอย่างเดียว สรณะอื่นไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงค์แล้ว อย่างอื่นไม่มี ท่องพุทธทังซิ...ท่องเอง..(ท่อง) เอาล่ะ สรณคมน์จบแล้ว ตอนนี้ให้ตั้งใจสมาทานลาสิกขาบท 8 ประการ อุบาสก ถึงแม้เราจะเป็นเด็ก ๆ ก็เรียกว่าอุบาสกได้เหมือนกัน สมาทานศีล 8 ประการเป็นพิเศษ ตามกำหนดที่ตั้งใจใว้กี่วัน ถือกี่วันเหรอ ถือวันเดียว หรือถือกี่วัน (มีการตอบ) ถือวันเดียว การถือศีลแปดใหต้ตั้งใจว่า วันนี้จะถือศีลแปด สมาทานลาสิกขาบททั้ง 8 ท่อง ปาณา(ท่อง) ไม่เรียบร้อย ไม่เอา ท่องใหม่ ตั้งใจดี ๆ ตั้งใจท่อง ดี ๆ(ท่อง) ทำไมคนนี้ท่องไม่เหมือนเพื่อน ท่องใหม่ ท่องให้พร้อม ๆ กัน สมา ทิยามิ เอาท่องทีหลัง เอาเริ่มที่ อทินนา(ท่อง) ตอนนี้ก็ท่องคำสมาทานสรุปรวมทั้ง 8 องค์ อิมานิ(ท่อง) กราบ แล้วนั่งราบไปเลย ตั้งใจฟังให้ดีนะ นั่งให้สบายนะ ขยับออกมา อย่าไปวางซ้อนมันนะ อย่าไปวางซ้อนมัน เราได้สละสิกขาอย่างสามเณรไป และลาสิกขาอย่างคฤหัสถ์ ในครั้งแรก เรายังไม่ได้ถอยไปจนสุดทางซะทีเดียว ถอยไปเล็กน้อย ถือศีล 8 และก็ถือศีล 5 และก็สุดท้าย ได้ความรู้ไว้ว่าศีล 8 กับศีล 10 ต่างกันอย่างไร เมื่อสักครู่ที่ผ่านมาท่องผิด ถ้าไม่ได้สังเกต หรือไม่ได้คำแนะนำอธิบาย มันก็จะบกพร่อง จำไว้เป็นความรู้ว่าศีล 8 ต่างกับศีล 10 อย่างไร เอา มาลา กับ นัจจคี รวมกันเป็น 1 ข้อ และจบเพียง กิจจา มีเพียง 1 ข้อที่ยังไม่ได้รับ คือ ชาตะรูปะ ปริยัติ ดังนั้นก็รับเฉพาะศีลเณร 9 ข้อ เข้าใจมั๊ย เจ้าใจแล้ว ก็จำใว้ จะได้ฉลาด ไม่งมงาย ยิ่งนานวัน ยิ่งฉลาดเป็นสิ่งที่ดี อายุยิ่งมากยิ่งฉลาดรุ้มากขึ้นเป็นสิ่งที่ดี นั่นก็รู้ นี่ก็รู้ ศีล 8 ของคฤหัสถ์ นั้นเท่ากับศีล 9 ของเณร ตัดออกเพียงข้อเดียว เข้าใจหรือยัง เอามาลา มารวมกับนัจจคี มันกลายเป็นสองข้อแฝด คนโง่ ๆ คนอวดดี คนฉลาดเขาไม่สังเกตหรอก รับแล้ว ก็แล้วไป แต่ถ้าเป็นพระ เป็นอาจารย์ ยังไม่ค่อยรู้มั่ง ไม่สังเกต สติสัมปชัญญะ ไม่คิด ไม่นึก ทำแต่ในกลุ่มพระเท่านั้นเรามันเป็นเด็ก อุตส่าห์คิด อุตส่าห์นึก อุตส่าห์สังเกตจะเห็นนะว่าศีล 8 เท่ากับศีล 9 สามเณร
ข้อที่ 1 ไม่ให้เบียดเบียนชีวิต ร่างกายของสิ่งมีชีวิต ถือให้เป็นความหมายกว้าง ๆ แบบนี้
ข้อที่ 2 ไม่เบียดเบียนทรัพย์สมบัติ ของผู้อื่น ทุกๆประการ
ข้อที่ 3 ศีล 8 การกระทำของเพศคู่ ที่เป็นหญิงกับชาย หมดทุกอย่าง ทุกอย่างเลยที่เป็นเรื่องของคู่ ที่ยังถืออยู่ และข้อมุสา คือไม่พูดเท็จโดยประการทั้งปวง
ข้อที่ 5 สุรา อย่าไปทำสิ่งที่มึนเมา ทำให้เราผิดปกติ ทุกอย่างเลยสิ่งที่มึนเมาทุกอย่างเลย จะเป็นเหล้า หรือเป็นอะไรก็ตามใจจะเป็นการกิน การสูดดม การทา การอบ การใดก็ตาม ถ้ามันเกิดความมึนเมา หรือทำให้สติสัมปชัญญะที่ปกติ ใจคอที่ปกติ ผิดปกติ เรียกว่าขาดศีล ไปเล่นของเล่นที่มัวเมา ก็ต้องสงเคราะห์เข้าใว้ในข้อนี้ ถ้าทำให้จิตใจมันผิดปกติส่วน วิกาลโภชน์นยกเว้นอาหาร ของสามเณร อีกวันนึง คือนับจาก คีตะ มาลาคันธะ อธิบายแล้ว อธิบายกันแล้ว ตอนที่เรานั่งพูดกันที่โน้น อธิบายแล้ว เนื่องจากการกระทำหรือดูการกระทำ ที่บ้า ๆบอ ๆ เราไม่ทำเอง และเราไม่ไปดูไปแลมัน นัจจคีตะวา คีตะ ไปดูได้แต่ต้องเป็นการดูเพื่อศึกษา และมีประโยชน์ การเล่น การฟ้อนรำ การอะไรที่มันเป็นการศึกษา และมีประโยชน์ ทำกันได้ ดูกันได้ แต่แค่เพียงมีประโยชน์ แต่ให้โทษต่อจิตใจ เช่นเราไปดูหนัง จะเป็นการศึกษาก็มีประโยชน์ได้ แต่ไปดูหนังที่ระยำหมา ที่คนสมัยนี้ทำขึ้นมา หรอกเอาสตางค์ของคนที่ขาดศีล หนังที่ระยะหมา มีอีกมาก ทำเพื่อหลอกเอาสตางค์เด็ก ๆให้เด็กนิสัยเสีย อย่างนี้เรียกว่า ขาดศีล นี้การยกตัวอย่างเฉพาะเรื่องดูหนัง การดูศิลปะอะไรๆก็เหมือนกัน ถ้าเป็นการศึกษานั้นดูได้ เพื่อจะมีประโยชน์ แต่ถ้าเราดูไปแล้วไม่มีประโยชน์ ก็ไม่มีประโยชน์ มันเสีย มันเสียหาย และมันก็เลว เลวที่ขาดศีล และมีข้อ อุจจา ยังต้องถือมีอีก 1 วัน เขาไม่นอนบนฝูก บนหมอน บนเตียง ให้ความสบาย อบอุ่น ชอบในการนอน ที่นอนทำให้เราชอบในการนอน ไม่อยากจะลุกขึ้น ไม่อยากโน้นนี้ สิ่งนี้เขาห้าม ให้นอนที่นอนที่พอพักผ่อน พอสมควร แล้วลุกขึ้น แต่ข้อนี้ถ้าถือปฏิบัติขณะอยู่บ้านได้ยิ่งดี เด็กคนไหนถือศีลข้ออุจจา นี้ได้ยิ่งดี จะเป็นเด็กที่เข็มแข็ง ไม่เห็นแก่ความสุขทางเนื้อหนัง ให้นอนฝูก มันอุ่นสบาย มันไม่อยากจะลุกขึ้น มันอุ่นสบาย มันไม่อยากจะลุกขึ้น นอนคลุมโปงอยู่อย่างนั้น ถ้าเรานอนบนเสื่อ บนสาดบาง ๆ มันจะไม่สบาย ไม่ชวนให้นอน มันเย็น มันชวนให้ลุกขึ้น ไปทำการทำงาน เขาจึงไม่ไห้พระนอนบนเสื่อสาดอาสนะ ที่มันสบายเหมือนกับฆราวาส นอนอบอุ่นไปเรื่อย ๆไม่อยากจะลุกขึ้น ถ้าเด็กนักเรียนถือชอบแบบนี้ การเรียนจะไม่ดีขึ้นเหรอ คนชอบนอนมาก เดี๋ยวนี้คนนิสัยเลว ชอบสบาย ชอบอบอุ่นเพียงแค่เนื้อหนัง ควรนอนที่นอนที่มันแค่เพียงนอนได้ หลับได้พอสมควร จะได้ตื่นเร็ว ๆ ไปทำอะไรได้ ไปอาบน้ำ ไปเรียนหนังสือ ไปโรงเรียน เราแนะนำศีลข้อ อุจจานี้ ถึงจะสึกไปแล้วก็ยังถือปฏิบัติได้ อย่าชอบนอนที่นอนที่สบาย ที่อุ่น ที่ไม่อยากจะลุกขึ้น นี้เรียกว่าการตั้งสมาทานศีล 8 ต่อไปก็เป็นสมาทานศีล 5 แต่ความมุ่งหมายก็เหมือนกัน ศีลข้อ นัจจคี นี้ รวมอยู่ในข้อสุราก็ได้ เพราะเป็นเรื่องมัวเมา เรื่องโง่ เรื่องมัวเมา ไปดูการเล่น ฟ้อนรำ ดนตรีหรืออะไรก้ได้ที่เป็นเรื่องมัวเมา เหมือนของเมา ทำให้สติสัมปชัญญะเสียไป อย่าไปใกล้มัน มันเหมือนเราดื่มกิน ในทางตา ทำให้สติสัมปชัญญะฟั่นเฟือน สิ่งยั่วยวน เหมือนการกินเหล้าชนิดหนึ่ง นี้แหละเรื่องศีล เรารับศีลกลับไปเป็นคฤหัสถ์ที่ดี อย่างน้อยมีศีล 5 ถืออย่างกว้าง ๆ ถ้าถือศีล 5 กว้าง ๆ ก็พูดเสียเลยว่า อย่าเบียดเบียนชีวิต ร่างกาย ของผู้อื่น สัตว์อื่น ทุกอย่าง ทุกประการเลยทำให้ตายก็ไม่ได้ ทำให้เจ็บปวดก็ไม่ได้หรือแม้แต่ทำให้ตกใจก้ไม่ควร สิ่งนั้นเขาเรียกเบียดเบียน นี้ถือเป็นเรื่องโง่ ๆ แกล้งฆ่าสัตว์ให้ตาย ตายหรือไม่ตายก้ไม่ควรทำ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไปตบมือโห่ให้เขาเดือดร้อน หรือว่าสัตว์บางชนิด ไปเอื้อม ไปตบมือให้มันกลัว ก้ไม่ควรทำ เด็กเขาไม่ค่อยคิด มันเป็นการเห็นแก่ตัว อย่าไปประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ทรัพย์สมบัติอะไรต่าง ๆก็แล้วแต่ ทรัพย์สมบัติที่เขามีอยู่เป็นของเขา อย่าไปประทุษร้ายมาเป็นของเรา อย่าประพฤติประทุษร้ายในของรักของผู้อื่น อยู่ในศีลข้อ กาเม ของเขารัก อย่าไปทำให้เขาชอกช้ำ เจ็บช้ำน้ำใจ ของรักมันมีความหมายทุกอย่าง แม้แต่ของเล่นถ้าเขารัก หรืออะไรที่เขารักอย่าไปแตะต้องให้เขาเดือดร้อนน้ำใจ ไม่ใช่การไปลักโขมยมา แต่เป็นการไปทำให้เขาช้ำใจ มันไม่ควรทำ ข้อมุสานี้คือ อย่าเป็นคนคดโกงโดยประการทั้งปวง ข้อสุราก็พูดแล้วนะ อย่าไปทำสิ่งที่ทำให้ใจคอผิดปกติ เสียความรู้สึกผิดชอบชั่วดี อย่าไปทำ ตัวหนังสือเขาว่า ไม่ดื่มกินสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเช่นสุราและเมรัย เป็นต้น เขาพูดมาเป็นตัวอย่าง สุราและเมรัย เป็นต้น รวมถึงของอื่นทุก ๆอย่างที่ทำให้เกิดความประมาทให้ยกเลิกหมด เข้าใจมั๊ย วันนี้ถือศีล 8 วันต่อไปก็ถือศีล 5 และบางโอกาศถ้านึกพอใจขึ้นมา ก็ถือศีล 8 วันวิสาข อาสาฬห ถือศีล 8 ไม่เห็นแก่ปาก แก่ท้อง ไม่เห็นแก่ความสนุกสนาน ถือศีล 8 เป็นครั้งคราวก็ดี นั้นแหละ เราแนะนำอย่างนี้แหละ นี้คือเรื่องศีล เรื่องทำวัตรเสร็จแล้ว เรื่องลาสิกขาเสร็จแล้ว เรื่องรับศีลก็เสร็จแล้ว มีแต่เรื่องให้พร ให้ศีลให้พร ให้คู่กัน ให้พรก็หมายความว่า อธิษฐาน อธิษฐานจิต ตั้งใจ หรือว่าพยายามให้เธอมีความสุขความเจริญ ความสุขความเจริญนี้เป็นเรื่องที่เธอต้องทำเอง เราให้พรขอให้พร ว่าให้ประสบความสำเร็จ ให้มีการกระทำให้มันสำเร็จ ให้ประพฤติให้ดี ถูกตามที่อธิบายให้ฟังทุกอย่างเล่าเรียนกันมาตลอดเวลา ขอให้เธอสามารถปฏิบัติได้สำเร็จ ลำดับต่อไป เมื่อสึกไปแล้วจะต้องถือหลักในการทำวัตร ต้องเคารพต่อบุคคลที่ควรเคารพ เช่น พ่อแม่ เป็นต้น ก็ต้องขอโทษ อดโทษต่อพ่แม่ เป็นต้น และรวามทั้งเพื่อนฝูงด้วย ต้องแลกเปลี่ยนส่วนบุญซึ่งกันและกันเรื่อย ๆ ไป ทำซิแล้วจะมีความสวัสดีมงคล นั่นแหละคือพร ถือศีลให้จริงจัง แล้วมันจะกลายเป็นพร ถือศีลให้ได้ดี มันกลายเป็นพร พรแปลว่าของดี คุ้มครอง มันขึ้นอยู่กับว่า เธอตั้งใจทำดี ดีก็กลายเป็นพร เราก้ได้ แต่สนับสนุนด้วยจิตใจว่าขอให้เธอทำให้ได้ นี้เขาเรียกว่าให้พรด้วยจิตใจ ให้เธอมีแสงสว่างในจิตใจ ต้องให่พรตามแบบพระพุทธเจ้า เราไม่เคยอ่านพบ หรือสังเกตเห็นโดยเหตุผลอะไรก็ตาม พระพุทธเจ้าให้พรด้วยวิธีชุบน้ำมนต์ คนหรือว่าชยันโตไม่มี เพราะใครจะทำก็ได้เหมือนกัน เป็นธรรมเนียมไทย ใครจะทำก็ได้ พรมน้ำมนต์ ชยันโตตามธรรมเนียมไทยก้ได้ แต่ตามพุทธกาลไม่มี พระพุทธเจ้าไม่เคยให้พรใคร ชนิดที่ให้ชยันโต หรือพรมน้ำมนต์ พระพุทธเจ้ามีแต่หัวเราะและว่า ถ้าคนมันจะหมดบาปด้วยน้ำมนต์ ด้วยน้ำศักดิ์สิทธิ์ ปลาเต่าปล่อยให้หมดบาป ไปดูได้เลยเพราะว่า เต่าปลาอยู่ในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา คนก็จะหมดบาป หมดเสนียด อับปรีย์ จัญไรนั้น ต้องทำให้ถูกต้อง ให้ดี ๆเราจะเล่าเรื่องของคนที่เขาสึก เราสวดน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ พรมน้ำมนต์ชยันโต ตกค่ำไปดูหนังที่ตลาด กลับมาระหว่างทางถูกตีหัว พรมน้ำมนต์ตอนเช้า ชยันโตตอนเช้า ค่ำก็ไปดูหนังที่ตลาด กลับมาถูกตีหัวทันที คิดดูซิ ว่ามันได้คุ้มเสียซะเมื่อไร ไม่ทำความดี หมายความว่า คนๆนี้ทนไม่ไหวแล้ว ผ้าเหลืองร้อน มันจะระเบิดแล้ว อยากจะสึกตามในผ้าเหลืองร้อน มันจึงทนไม่ได้ ตกค่ำต้องไปดูหนัง สึกวันนี้ คืนนี้ไปดูหนัง ความอยากมันมากขนาดนั้น จนทนไม่ได้ ดีแล้วล่ะ มันต้องมีอะไรที่แกะกะระรานในทางไม่ดี จึงได้ถูกตีหัว ถือว่าเท่าเทียมกันไป จำใว้นะ ต้องคุมให้ได้นะ การให้พรตามแบบพระพุทธเจ้า คือการให้แสงสว่าง เพื่อความเข้าใจว่าเราเพื่อจะได้ฝึกฝนให้เป็นผู้อดกลั้น อดทนและตามแบบอย่างพระพุทธเจ้าเป็นอยู่ ต้องเป็นไปด้วยความอดทน อดกลั้น ดังนั้นเราสรุปความที่ว่า กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคูคือเลียนแบบพระพุทธเจ้า ตอนนี้เรานั่งกลางดิน คือเลียนแบบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั่ง นอน กลางดิน พระพุทธเจ้าประสูตรกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน นิพพานกลางดิน ส่วนมากอยู่กลางดิน ถ้าเธอนึกถึงข้อนี้ของท่านไว้จะดี จะได้เป็นอยู่ให้มันต่ำ ๆเหมือนกับพระพุทธเจ้า แต่คิด ๆก็ทำให้มันสูง ๆ เหมือนพระพุทธเจ้า เรามากลายเป็นคฤหัสถ์ ให้มันพอใจ รักใคร่ในความเป็นอยู่ที่ต่ำ ๆ อยู่กับบ้านเมืองที่มันมีแต่ความสนุกสนานยั่วยวน มันก็จะสนุกสนาน เอร็ดอร่อยไปทางหนังเสียหมด หนทางที่จะฉิบหาย เรียกว่าหัดเปลี่ยนมาอยู่แบบต่ำ ๆบังคับตัวเองจิตใจจะได้ดี ไม่เกิดกิเลศ กิเลศมันเกิดได้ยากเราจะได้เป็นคนดี การเล่าเรียนก็จะดี อะไร อะไร ก็จะดีหมดถ้าคนเรามันดี ถ้าคนเรามันดี มันก็ดีหมดทุกอย่าง เมื่อมาบวชที่นี่ ก็มาฝึกหัดอยู่ให้มันต่ำ อยู่ด้วยความระมัดระวังให้มันต่ำอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าใจมันสูง กินอยู่มันต่ำ ใจมันก็สูง อุตส่าห์เข้ามาบวชให้มันลำบาก เพื่อให้ได้ความรู้เรื่องนี้ ทำให้จิตใจมันไม่โง่ ไม่หลง มัวหลงแต่เรื่องเอร็ดอร่อย ส่วนเรื่องที่ดีจริงๆ ก็ไม่เอา เราจึงมาอยู่ให้มันต่ำ ๆไม่เห็นแก่ของเอร็ดอร่อย จะได้เอาแต่ของที่มันดีจริง ๆ นี้ล่ะ ถ้าใครถืออย่างนี้ได้ก็ถือเป็นพรทันที นี้ล่ะ พระพุทธเจ้าให้พรอย่างนี้ล่ะ ให้พยายามบังคับตัวเองให้อยู่ในร่องในรอยสำหรับฆราวาสทั่วไป พระพุทธเจ้าให้พรไว้ 4 ประการคือ สัจจะ ธม ขันติ จาคะ เคยอ่านกันแล้วเหรอเรื่องนี้ (มีการตอบ) เธอล่ะ (มีการตอบ) ไม่อ่านเองล่ะ มัวแต่จะเล่น จะวิ่ง เล่นกันเสียหมด หนังสือก็มี ไม่หาอ่าน ตามโต๊ะอ่านหนังสือก็มี เรื่องสัจจะ ทม ขันติ จาคะ 4คำนี้ จำใว้ให้แม่น พรของพระพุทธเจ้ามี 4 คำ จำให้แม่น สัจจะ ทม ขันติ จาคะ จำได้มั๊ย สัจจะ ทม ขันติ จาคะ มันก้ไม่ค่อยมีใครมาพูดให้ฟังหรอก เป็นเณรเคยได้ฟังมาบ้างหรือเปล่าก้ไม่รู้ สัจะ คือเป็นคนจริง ทม คือ บังคับตนเอง ขันติ คือ อดทน จาคะ คือ สละสิ่งเลว ๆ ออกไปให้หมด สัจจะ ทม ขันติ จาคะ 4 อย่างนี้ จำได้แล้วเหรอ(มีการตอบ) ทม ไม่ใช่ ธรรมะ ท ทหาร ม ม้า อ่านว่า ทะมะ ไม่ใช่ธรรมะ สัจจะ ทม ขันติ จาคะ สัจจะคือ อะไร สัจจะแปลว่าอะไร (มีการตอบ) สัจจะ แปลว่าจริง จะ แปลว่าจริง ทำจริง เป็นคนจริง พูดจริง ทำจริง คือสัจจะ ต้องเป็นคนจริง อย่าเหลาะแหละ อย่าคดโกง มัวแต่เหลาะแหละ เล่นหัวเพื่อน เขาเรียกไม่จริง เข้าใจมั๊ย ไม่เป็นคนทำจริง ถ้าคดโกงยิ่งฉิบหาย มันไม่จริงรุนแรงเกินไป ทม ก็บังคับตัวเอง บังคับจิตใจที่จะให้รับผิดชอบ ไม่เหลวไหล ไม่บังคับตัวเองก็กินข้าวตอนค่ำ ใครกินข้าวตอนค่ำบ้างเมื่อมาบวชเณร ใคร (มีการตอบ) ไม่ได้นะ มันไม่บังคับตนเอง มันก็ขาดศีล ถ้าไม่บังคับตนเอง ต้องมีทม คือบังคับตัวเอง หิวก็อดทน ต่อไปมีขันติ ขันติแปลว่าอดทน น้ำตาไหลก็อดทน ไม่ทำผิด ให้ทนกับหลาย ๆอย่าง เมื่อทำงาน แต่ยังไม่ได้ผล ก็ต้องทนรอ รอจนกว่ามันจะได้ผล บางคนทำงาน ยังไม่ทันได้ผล ก็เลิกทำเสียก่อน โกรธ โมโห ไม่ทน ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่มีทางจะทำอะไรได้ประโยชน์ได้ แต่ต้องทน ในข้อสุดท้าย จาคะ แปลว่าสละ สิ่งใดไม่ควรมี ก็ควรสละ ความชั่ว ความเลว ความขี้เกียจ ทุกอย่างไม่ควรจะมีในตนเอง ต้องสละ 4 คำสัจจะ ทม ขันติ จาคะ พระพุทธเจ้าให้พรไว้สำหรับฆราวาส เอาล่ะ ทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง สัจจะ (มีการตอบ) ใช่ มันคือ ความจริง มันเป็นจริง ทม ทม (มีการตอบ)ว่าอะไร อะไร ทมก็คือ บังคับตัวเอง คำนี้แปลว่าบังคับ ทมแปลว่าบังคับ บังคับตนเองให้อยู่ในความถูกต้อง ขันติ (มีการตอบ) จาคะล่ะ (มีการตอบ) ใช่ จาคะ ชาวบ้านเขาพูดกันบ่อย บริจาค บริจาค นี้ล่ะจาคะ บริจาคด้วยสละ เขาไม่ได้หมายถึงสละเงิน สละทอง สละสิ่งของอะไรโดยตรง สิ่งไหนควรสละ นั้นต้องสละ โดยเฉพาะความชั่ว ต้องสละความชั่วที่เขาสละเงิน เขาเรียกสละความตระหนี่เหนียว การสละความตระหนี่เหนียว เป็นการสละเงิน ที่เราชอบ ที่เราหวง สัจจะ ทม ขันติ จาคะ เราก้ได้แล้วนะ เรียกว่ามีพรของพระพุทธเจ้า ไปเรียนหนังสือก็ต้อง สัจจะ ทม ขันติ จาคะ จะละความชั่วก็ต้อง สัจจะ ทม ขันติ จาคะ จะทำความดีก็สัจจะ ทม ขันติ จาคะ จะหาเงิน จะสะสมทรัพย์สมบัติก็สัจจะ ทม ขันติ จาคะ จนกระทั่งแก่เฒ่าไปแล้วก็ยึดถือสัจจะ ทม ขันติ จาคะ ตลอดไป เราต้องจำไว้ตลอดชีวิต นั้นแหละ ถ้านับถือพระพุทธเจ้าให้จำ 4 ข้อนี้ไว้ตลอดชีวิต เมื่อสักครู่เราพูดกันแล้วเกี่ยวกับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สรณะ ต้องจำ 4 ข้อนั้ไปตลอดชีวิต นี้ล่ะเรียกว่าให้พร เอาล่ะ เราจะทำตามอย่างที่อาจารย์ของเราเคยทำ น้ำส่วนนี้เขาหมายความว่า น้ำใจ หรือจิตใจของพวกเธอ อะไรล่ะ (มีการตอบ) แสดงเป็นสัญญลักษณ์เครื่องหมาย เป็นน้ำใจ เป็นจิตใจของพวกเธอ เรายินดีรับน้ำใจของพวกเธอให้มันใสสะอาดไม่มีโทษเหมือนกับน้ำเหล่านี้ เรายินดี เอาล่ะ อุปปัชฌาย์อาจารย์ก็ทำลูบตัว ลูบแบบนี้ แสดงว่าก็ยินดีในการกระทำของเธอ แต่ทว่า พรมน้ำมนต์ก็หมายความว่า เขาให้ธรรมะ ให้ธรรมะที่มันมีความเย็น ความบริสุทธิ์ ไม่โกหก ไม่หลอกลวง ทำแต่ดี มันก็จะเย็น มันก็จะสะอาด น้ำเหล่านี้เขาเอาไว้ทำ อาบให้ร่างกายสะอาด ใช่มั๊ย (มีการตอบ) และ ทำให้เย็นสบายด้วยมิใช่หรือ คิดดูซิ แล้วยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกหลายอย่าง แต่สำหรับในที่นี่ มันใสมาก ดังนั้น เรารวมกันทั้งหมดนี้ น้ำของเธอทุกคน เรารับใว้ในฐานะเป็นน้ำใจของเธอ ดังนั้นเรา ให้เธอกลับไปในฐานะเป็นการแสดงน้ำใจของเรา เรามีความหวังดีต่อเธอ ขอให้เธอได้รับประโยชน์จากเรา คือมีจิตใจที่เป็นความสะอาด สว่าง สงบ ถ้าอย่างนั้นเธอต้องกิน เอ้า เธอกินนิดนึง แล้วส่งให้คนนี้กิน แล้วให้คนนี้กิน แล้วเธอจะได้เป็นเพื่อนกัน กินนิดเดียวก็พอ เอ้าล่ะ ส่งให้เธอ ส่งให้กินกันทุกคน เอาล่ะคุกเข่าซิ ก็จะทำพิธีสาบานเป็นเพื่อนกันแล้วนะ น้ำในตอนนี้แทนพระธรรม กระทำแทนพระพุทธเจ้าถ้าทำเหมือนอย่างพระพุทธเจ้า เอาล่ะ วางลง