แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในโอกาสแห่งการลาสิกขานี้ ควรจะได้ทำความเข้าใจอะไรกันบางอย่าง เพราะฉะนั้นขอให้ตั้งใจฟังให้ดีที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ข้อแรกก็คือ ข้อที่ว่าเราไม่ได้สลัดความเป็นพุทธบริษัท เพียงแต่ว่าเปลี่ยนระเบียบการประพฤติปฏิบัติ จากการประพฤติปฏิบัติ อย่างภิกษุมาเป็น การปฏิบัติอย่างอุโบสก แต่ก็คงเรียกว่าพุทธบริษัทอยู่นั่นเอง จึงไม่มีความสูญเสียอะไร เราตั้งใจจะทำให้ไม่ผิดไม่ให้ลำบาก ไม่ให้เสียหาย ไม่ให้เดือดร้อน จึงได้ลาสิกขาเพื่อประพฤติปฏิบัติ อย่างอุบาสก ก็มีเหตุผลก็มีความจำเป็นก็มีความเหมาะสมที่ทำอย่างนั้น เราก็ไม่ได้เป็นทุกข์หรือเสียใจหรือลำบากเพราะเหตุนี้ จะยังมีความพอใจอยู่ไป ไม่ได้สลัด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ได้สลัด พระพุทธศาสนา แต่จะประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนาในระดับที่เหมาะสม กับโอกาสกับความสามารถกับสิ่งแวดล้อมทั่วๆไปของเรา ซึ่งถ้าทำได้ดีที่สุดมันก็จะมีผลเหมือนกัน เพราะฉะนั้นความสำคัญที่ว่า อยู่ที่ว่าเราจะทำได้ดีที่สุดมากกว่า จะเป็นภิกษุ หรือเป็นอุบาสกมันดีอยู่ที่ทำให้ถูกต้องให้สุดความสามารถ ในหลักธรรมมะที่ว่าด้วยความดับทุกข์ ถ้าเราตั้งอกตั้งใจ กังวลในวิชาความรู้เท่าที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้ว ถ้ายังคงเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งอย่างถูกต้องโดยใจความอยู่เสมอ นั้นอย่าได้ประมาทข้อนี้ คือข้อที่นึกถึงหลักในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีไว้กำจัดทุกข์ในการทำงาน ในการเป็นอยู่ ในการบริโภค ผลของงาน ในการเผชิญหน้ากันกับอุปสรรคทั่วๆไป กระทั่งอุปสรรคภายในคือความแก่ ความเจ็บ ความตาย ถ้าเราเอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้หมด มันก็เรียกว่ามีผลเหมือนกันไม่ว่าจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ขอให้นึกถึงส่วนนี้เป็นหลัก พยายามชำระปะปังให้แจ่มกระจ่างอยู่เสมอ ให้เคลื่อนไหวทุกๆอิริยาบถ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ด้วยความรู้สึกสติสัมปชัญญะในทางธรรมมะอย่าให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้ ถ้าเมื่อใดมีความร้อนใจ เมื่อนั้น เรียกว่าตกนรก ถ้าเมื่อใดมีความโง่เมื่อนั้นมีความเป็นสัตว์เดรัจฉาน เมื่อใดมีความหิวกระวนกระวายไม่มีที่สิ้นสุดในทางจิตใจเมื่อนั้นเป็นเปรต เมื่อใดมีความกลัวอย่างไม่มีเหตุผล เมื่อนั้นก็เป็นอสูรกาย เมื่อฟังแล้วเราก็จะตั้งพระพุทธ พระธรรม ระมัดระวังควบคุมให้ดี ไม่ให้มีการตกอบาย คือไม่ร้อนใจ ไม่กระหายทางจิตใจ จนไม่มีความสงบสุข และก็ ไม่โง่ ไม่กลัว อย่างคนที่ไม่มีความรู้อะไร ธรรมะช่วยได้หมด ในเรื่องนี้ ให้เราทำอะไรได้โดยไม่ต้องร้อนใจ ความผิดพลาดเกิดขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องร้อนใจ ให้แก้ไขไปด้วยด้วยสติปัญญา สติสัมปชัญญะ ไอ้ร้อนใจ เป็นทุกข์ เอะอะโวยวายนั้น มันเป็นความไม่จำเป็นต้องทำ คือไม่มีธรรมะนั่นเอง ถ้ามีธรรมะก็ระงับใจคอให้ปกติได้โดยไม่ต้องร้อนใจให้ตัวเองลำบากให้คนอื่นลำบาก แต่ว่าไม่ใช่ว่าจะไม่แก้ไข ไม่ร้อนใจหมายความว่าไม่เป็นทุกข์ ใจคอก็สงบ ปกติดี งั้นแก้ไขดี ไม่ร้อนใจดี จะแก้ไขได้ดี นี่คือธรรมะช่วยฆราวาสได้ โดยเหตุนี้ ไม่อย่างนั้นแล้วฆราวาสจะตกนรกทั้งเป็น ได้ตลอดเวลา เพราะว่ามีเรื่องร้อนใจ มากกว่านักบวช ถ้าเรารู้ธรรมมะพอเราป้องกันจะแก้ไขในการร้อนใจนี่ได้ ไอ้สิ่งทีเรียกว่านรกทั้งเป็นไม่ต้องมี นี่เรียกว่าไม่ตกนรก คือเป็นอบายข้อที่ 1 ไม่ต้องโง่ หมายความว่า คนที่โง่นี่ มันโง่ในสิ่งที่ไม่ควรจะโง่ สิ่งที่เราไม่รู้ เราควรศึกษาให้รู้ สิ่งที่โง่มันงมงาย ไม่อาจจะเอาวิชาความรู้มาใช้เอาไปเข้าใจผิด สิ่งต่างมาใช้โดยไม่รู้ เป็นความโง่ กระทั่งไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม คนเราเกิดมาทำไม เป็นความโง่ พื้นฐาน ถ้ามีความโง่ข้อนี้ล่ะก็ อย่างอื่นๆก็จะโง่ไปหมด ถ้าเรามีความรู้ว่า เกิดมาทำไม ถูกต้อง เขาก็ต้องรู้เองว่า ควรจะทำอะไร ควรจะต่อสู้อย่างไง ควรจะแก้ไขอย่างไง ควรจะไปจุดหมายปลายทางอย่างไง อย่างนี้เรียกว่าไม่โง่ หรือถ้าเข้ามาอีก แล้วถ้าคนอย่างเรา ตัวเรา ซึ่งเรารู้จักตัวเราเองมากกกว่าใครเรามีความสามารถอย่างไร มีกิเลสอย่างไร มีสมรรถภาพอย่างไร เราก็รู้ เราควรจะทำการงานที่มันตรงกับสมรรถภาพที่มันตรงกับเหตุผลเหล่านี้ ทำได้อย่างนี้เรียกว่าไม่โง่ เพราะเรารู้ว่าทำอะไร ควรทำอย่างไร เราเกิดมาเพื่อประโยชน์อะไร เราทำได้ตามนั้น ซึ่งการทำงานผิดพลาด ไม่เหมาะสมกับ สมรรถภาพ ไม่เหมาะสมกับอะไรของตัวนี่ก็เป็นความโง่ เราไม่รู้จักศึกษาแก้ไขสมรรถภาพ มันก็เป็นความโง่ มีสมรรถภาพอยู่แล้วไม่รู้จักใช้มันก็เป็นความโง่ มันเริ่มจะเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันไปหมด เราต้องแก้ไขสิ่งที่จะเป็นความโง่ไปให้หมด ด้วยการปรับปรุงความรู้ คือปัญญา ถึงจะพ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งไม่มีความรู้เลยว่า เกิดมาทำไม รู้น้อยเกินไปเพียงว่าหิวก็หากิน มนุษย์ต้องไปไกลกว่านั้น ถึงขนาดที่ว่าเกิดมาทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย ทำโลกนี้ให้งดงามด้วย เกิดมาแสดงความสามารถของความเป็นมนุษย์ให้ถึงที่สุดด้วย นั่นจึงไม่ใช่เรื่องปากเรื่องท้อง เรื่องลกเมียเพียงอย่างเดียว มันต้องทำอะไรมากกว่านั้น หลายท่า หรือหลายสิบท่า ถึงจะเรียกว่าสมกับที่ เกิดมาเป็นมนุษย์ นี่ตอบอีกว่าเป็นมนุษย์ที่ได้พบกับพระพุทธศาสนา ทำอะไรได้มากอีกต่อไปอีก เพราะความมีปัญญาอย่างพุทธบริษัท มีกำลังใจ มีกำลังความรู้ความสามารถ ในทางจิตใจมากกว่าคนอย่างอื่น ถึงจะสมกับเป็นพุทธบริษัท นั้นจึงว่าเกิดมาเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ นั่นถือว่าธรรมชาตินี้สร้างคนมาวิเศษ เหนือที่จะวิเศษในด้านทางกาย ในทางจิตใจ ถ้าเขารู้จักใช้มันปรับปรุงรู้จักใช้มันให้ดีที่สุด เขาจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่ไม่เคยนึกเคยฝัน และดีจนบรรยายไม่ได้ พูดบรรยายไม่ได้ ต้องไปชินไปทำด้วยตนเอง เพราะเราจึงหวังให้คนอื่นมาอธิบายได้ให้น้อยที่สุด เราพยายามทำมัน และรู้จักมันด้วยตัวของเราเอง เนี้ยเรียกว่าส่งที่ดีที่ที่สุดที่มนุษย์จะต้องไปให้ถึงโดยเฉพาะที่เป็นพุทธบริษัท โดยมากรู้แต่ว่าเรื่องปากเรื่องท้อง เรื่องลูกเรื่องเมียด้วยอะไรแคบๆ อย่างนี้จึงพูดว่า แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ทำเป็น ไม่ต้องมนุษย์ มันจะคล้ายกับสัตว์เดรัจฉาน ถ้าว่าไม่มีธรรมะ สิ่งที่เรียกว่าพระธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง คนก็จะคล้ายกับสัตว์เดรัจฉาน เท่ากันกับสัตว์เดรัจฉาน คนสมัยโบราณดึกดำบรรพ์โน้น เขาพูดไว้แล้วก่อนพระพุทธเจ้า ตรัสรู้เสียอีก ที่ว่า
อาหาระนิททา ภะยะเมถุนัญจะ
สามาญญะเมตัปปะสุภิ นะรานัง...การกินอาหาร การหาอาหารมากิน ก็ดี การแสวงหาความสุขจากการนอนก็ดี การขี้ขลาด หนีภัย กลัวก็ดี การประกอบกิจกรรมของสัตว์ที่เป็นคู่ก็ดี ๔ อย่างนี้มีเสมอได้กันในระหว่างสัตว์มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน
สัทธัมโม หิ เตสัง อะธิโก วิเสโส ....
แปลว่า ธรรมมะเท่านั้น ที่ทำความผิดแปลกแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์
ธัมเมน หีนา ปสุภิ สมานา
เพราะปราศจากธรรมะแล้วคนก็จะเสมอกับสัตว์ ฟังแล้วมันก็มีความสำคัญอย่างยิ่งอยู่ สิ่งที่เรียกว่าธรรมะ คือ การทำความผิดแปลกแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ ที่นี่เราบวชมานี้ เราก็มุ่งหวังจะศึกษาสิ่งนี้ ให้เข้าใจสิ่งนี้ ให้รู้สิ่งนี้ ให้ได้รับสิ่งนี้ สิ่งที่เรียกว่าธรรมมะ เพื่อทำการผิดแปลกระหว่างคนกับสัตว์ เราจะอยู่เป็นบรรพชิต หรือจะอยู่เป็นอุบาสก ฆราวาส ก็ต้องอาศัยสิ่งที่เรียกว่าธรรมะนี่เอง แตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ นี่เป็นข้อใหญ่ เป็นใจความที่กว้างขวางที่สุด ไม่ใช่เพียงแต่เรื่อง ทำมาหากิน เลี้ยงปากเลี้ยง ท้องลูกเมียอย่างเดียว จะต้องทำทุกอย่าง ให้ประกอบไปด้วยธรรมะ ในเรื่องหาอาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็ต้องประกอบไปด้วยธรรมะไม่อย่างนั้นไปไม่รอดในระยะยาว จะมีทรัพย์สมบัติก็ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ไม่งั้นมันก็ไปไม่รอด จะมีเกรียติยศชื่อเสียงมันก็ต้องมีสิ่งที่เรียกว่าธรรมะเป็นรากฐาน ไม่งั้นมันก็ไปไม่รอด เป็นเรื่องปลอม ไม่ใช่ของจริง ถ้าไม่มีธรรมะเป็นของปลอม ในชีวิตครอบครัวยิ่ง ยากลำบากอีก เพราะว่าเราสู้รบกับตัวเราเองคนเดียวมันก็ยากอยู่แล้ว มันก็ต้องการธรรมะมากอยู่แล้ว ยิ่งมีครอบครัวมันก็ยิ่งมีปัญหาให้แก้ไขมากขึ้นไปอีก งั้นมันก็ต้องมีธรรมมะมากขึ้นไปอีก นี่พอฟังแล้ว ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ในการที่จะมีธรรมมะเพื่อสิ่งเหล่านี้ ครบถ้วนถูกต้อง สมบูรณ์ เรียกว่าเป็น บัณฑิต เรียกกันมาแต่ก่อนพระพุทธกาล ว่าบัณฑิต คือคนที่มีสมรรถภาพวิชาความรู้ พร้อมที่จะควบคุมหรือดำเนินกิจของตัว เพื่อให้ลุล่วงไปได้ บวชไปเรียนไปก็ตาม เว้นระยะหนึ่งให้มี ความรู้เรื่องโลก เรื่องการงาน เรื่องชีวิต โดยหลักทางธรรมะให้พอไว้ก่อน ความรู้ทางธรรมะที่พอแล้ว เขาเรียกว่าบัณฑิต นี่บัณฑิตจะลงมือตั้งต้น ด้วยการมีชีวิตใหม่ โดยการมีครอบครัวหรืออะไรก็ทำได้ดีมาก เลวมาก ไม่เปะปะ ปราศจากความโง่โดยสิ้นเชิงเราจะรู้โลกหน้า ชีวิตภายใน ชีวิตจิตใจ ที่เรียกกันว่าโลกหน้า มันก็รู้ทั่วถึงด้วย แปลว่าโลกนี้ก็รู้ทั่วถึง โลกหน้าก็รู้ทั่วถึงในส่วนตัวนี้ เกี่ยวกับผู้อื่นก็รู้ทั่วถึง ก็แปลว่าผู้อื่นเราก็รู้ ตัวเองก็รู้ และรู้ทั้งโลกนี้ รู้ทั้งโลกหน้า กระทั่งรู้ในขั้นสุดท้าย รู้ในพ้นโลก รู้ในเรื่องเกี่ยวกับนิพพาน แม้ว่ายังไปไม่ถึง ก็ควรรู้ไว้ ไว้เป็นจุดหมายปลายทาง เพื่อให้เรารู้อย่างถูกต้องว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร ขอให้เข้าใจไว้ เพื่อเราที่ว่ารู้ธรรมะ รู้จับต้นจนปลาย รู้หนทางจากต้นทางถึงปลายทาง แม้ว่ายังเดินไม่ถึง เราต้องรู้ว่าควรเดินไปทางไหน นั่นเป็นข้อที่ทำให้เรารู้ว่า เรา เกิดมาทำไม มนุษย์เกิดมาทำไม ถ้าพูดอย่างที่ถูกที่สุด เราเกิดมาเพื่อทำทำเพื่อ นิพพานให้แจ้งแก่ตน แก่คน เป็นคนๆไป ถ้าพูดอย่างนี้ไม่เข้าใจ แถมหัวเราะเยาะเอาด้วยซ้ำ แล้วก็ยังไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร นิพพานคือจุดสูงสุด ของความพ้นทุกข์ความดับทุกข์ เดี๋ยวนี้เราไต่ไปตามระยะต้นๆ ซึ่งเป็นการดับทุกข์พ้นทุกข์เหมือนกัน แต่ในระยะต้นๆ แล้วก็เรื่อยไป ยันไปถึงจุดที่สุด ดับทุกข์สิ้นเชิง คือนิพพาน โดยที่ถูกแล้วนิพพานมันก็คือ จุดปลายทางของทุกคนที่เกิดมาแล้วจะไม่รู้แปลว่าอะไร เพื่อศึกษาเพื่อปฏิบัติ เพื่อประกอบการงาน เพื่อรู้ ธรรมะถึงที่สุด เพื่อดับทุกข์ถึงที่สุดนั่นเอง งั้นเราจะมองได้ว่าชีวิตนี้ ถ้ามองในแง่หนึ่งการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง หรือมองอีกแง่หนึ่งคือ ชีวิตนี้คือการปฏิบัติธรรมะนั่นเอง ปฏิบัติธรรมะเรื่อยไปไปถึงจุดหมายปลายทาง เพราะงั้น การทำงานก็คือการปฏิบัติธรรมะ การปฏิบัติธรรมะ ก็คือการทำงานที่ถูกต้องของมนุษย์เรา การทำมาหากินก็รวมอยู่ด้วยในคำว่าการงาน การทำมาหากินก็รวมอยู่ด้วยในคำว่า การปฏิบัติธรรมะ ข้อนี้ก็เคยพูดเคยอธิบายไว้บ่อยๆ ยิดยาว แต่สรุปใจความแล้วสรุปให้ได้ว่า เราต้องทำงานนี้ในฐานะที่เป็นการปฏิบัติธรรมะ คือการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางของมนุษย์ให้เรียกว่าปฏิบัติธรรมะหมด แม้เราจะทำไร่ทำนาค้าขายนั่นก็เป็นการปฏิบัติธรรมะหมด ถ้าเราทำให้ดีให้ถูกให้มีอุดมคติอย่างมนุษย์ อย่างน้อยมันก็เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่ง เพื่อให้ชีวิตนี้อยู่ได้ดำเนินไปได้ หรือมันเป็นการดำเนินชีวิตโดยตรง การงานมีชีวิตล่วงไปอย่างถูกต้อง คำว่าอย่างถูกต้องมีความถูกต้องอยู่ในตัวการงาน การงานนั่นคือธรรมะ อยู่ที่ความถูกต้อง ถ้าการงานที่มีความถูกต้องอย่างนี้แล้ว อาจจะไม่มีความทุกข์ไม่เหมือนการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงเรียกว่าการทำงานเป็นการปฏิบัติธรรมะ ที่นี่มองกันอีกอย่างหนึ่งละเอียดยิ่งขึ้นไปคือ การทำการงาน ไม่ว่าชนิดไหน ต้องมีธรรมะเข้ามารวมอยู่ด้วยถึงจะทำไปได้ เช่นเรามีความรู้ ความฉลาดนั้น เราจะมีปัญญา สติ นี่ก็เป็นธรรมะข้อหนึ่ง แล้วก็มีความพากเพียร วิริยะในการทำงาน นี้ต้องเรียกว่าเป็นธรรมะข้อหนึ่ง มีสุขุมรอบคอบ ไม่สะเพร่า เป็นสติสัมปชัญญะ อย่างยิ่งนี่ก็เป็นธรรมะสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่จะต้องเอามาใช้ในการทำงาน ต้องมีสมาธิ ในความหนักแน่นมั่นคง มีจิตใจพร้อมที่คิดจะนึกจะทำ นี่ก็คือตัวธรรมะสูงสุดในพระพุทธศาสนา งั้นเรา ต้องมีขันติ ความอดกลั้น อดทน นี่ก็เป็นตัวธรรมะในพุทธศาสนา เราต้องมีอุเบกขา มีความคอยได้รอได้ รอให้การงานมีวิวัฒนาการไป นั่งรอ นั่งคอย ดูมันไปด้วยใจคอที่สงบสุขเป็นปกติ เหมือนอย่างว่าเราปลูกต้นไม้ไปแล้ว ใส่ปุ๋ยแล้ว พรวนดินแล้ว เราก็ต้องรอได้คอยได้ ในการที่จะให้มันเจริญงอกงามขึ้นไปตามลำดับ ถ้าเราไปร้อนใจตอนนี้มันก็คือความโง่ ตกนรก ที่รอไม่ได้คอยไม่ได้ กระสับกระส่ายภายในจิตใจ ต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเปลี่ยนอาชีพอื่น ไม่ ไม่ เรียกว่า ขาดคุณธรรมเรียกว่าอุเบกขาอย่างยิ่ง เรามีหน้าที่ทำให้ทุกสิ่งอย่าง เรียบร้อยให้มันเดินไป เรามีหน้าที่ถือบังเหงียนเฉยๆเรียกว่ารอได้ คอยได้ เมื่อเราฟังแล้ว กล่าวโดยไม่ผิดเลยว่า ธรรมะสำหรับปฏิบัติสำหรับปฏิบัติเพื่อบรรลุ นิพพานมีอยู่เท่าใด ธรรมะเหล่านั่น ต้องนำมาใช้ในการงานให้หมดให้หมด หรือมันต้องจำเป็นต้องอย่างยิ่งเอามาใช้หมด ไม่งั้นจะต้องล้มเหลว แต่ที่ว่าเอามาใช้หมดแล้วนี้ ในระดับเดียวกัน หรืออัตราเดียวกัน หรือ อัตราที่ลดน้อยลงมา กว่าการปฏิบัติเพื่อนิพพานด่วนเหมือนของบรรพชิต อย่างบรรพชิตต้องการที่จะรีบไปนิพพานด่วนจึงรีบ ในอัตราตรึงเครียด เข้มแข็งสูงสุด ส่วนฆราวาสนี้ดำเนินไปในทางนิพพานอย่างช้าๆ สบายๆตามวิสัยของฆราวาส ธรรมะที่นำมาใช้มันจึงอยู่ในระดับที่น้อยกว่า ต่ำกว่า แต่ว่ามีชื่อเหมือนกัน มีจำนวนครบถ้วนเหมือนกัน เราจะได้เข้าใจว่า ฆราวาสคนละโลกคนละมุมกับพระกับบรรพชิต ที่แท้มันไปทางเดียวกัน แนวเดียวกัน แต่ไปในอัตราที่เรียกว่าช้าเร็วกว่ากัน เพราะว่าเป็นบรรพชิตนั่นตัดออกจากทางโลก กังวล ผูกพัน เครื่องทวงอะไรต่างๆออกไปมาก มันจึงออกไปได้เร็ว ส่วนฆราวาสเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่าพาอะไรไปด้วยมากๆหน่อย พาเพื่อนผู้อื่นเช่นครอบครัวเป็นต้น ไปด้วยมันจึงช้า คือมีความคิดกว้างสำหรับผู้อื่นด้วย บ้านเมืองด้วย ประเทศชาติ ศาสนาด้วย นี่มันก็ต้องช้า แต่ว่าไม่ได้หมายความว่าช้าจนไปไม่ได้ หรือช้าอย่างเสียหาย ต้องมองเห็นว่าไอ้ช้านี้เพื่อประโยชน์ที่กว้างออกไป นั่นมันต้องช้า มีเรื่องที่ต้องตระเตรียม ทำให้ช้า แต่เมื่อได้ผลมากก็ได้ผลมาก เพื่อผู้อื่นด้วย เพื่อผลที่มากหรือกว้างกว่ากัน แต่ว่าฆราวาสส่วนมากไม่ได้คิดอย่างนี้เพราะมันโง่เหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน งั้นจึงว่าเราต้องทำความรู้ให้กระจ่างจากความโง่ ไม่ต้องเป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งเป็นอบายข้อที่ 2 ข้อที่ 3 ที่เรียกว่า มีความหิวไม่มีที่สิ้นสุด นี่เรียกเป็นเปรต นี่ระวังให้ดี เพราะความเป็นฆราวาสมันมีเรื่องที่จะต้องการมาก ต้องทำมาก ถ้าไม่ต้องการจะทำได้อย่างไร เดี๋ยวนี้มีคนเข้าใจผิดเรื่องจิตว่างเรื่องอะไรอยู่มาก ไอ้เราควรจะเข้าใจถูก เราไม่ต้องหิว ไม่ต้องกระหายทางจิตใจเราก็ทำการงานได้ คือทำได้ด้วยสติสัมปชัญญะ ทำได้ด้วยสติปัญญา ไม่ทำด้วยความหิวกิเลสตัณหาโลภะ ราคะ อะไรต่างๆที่เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา ทำด้วยสติปัญญา สุขุมรอบคอม ด้วยสติที่เยือกเย็น งั้นเราจะไม่มีความหิวในการกระทำ ในขณะที่บริโภค เราไม่บริโภคด้วยความหิว แต่เราบริโภคด้วยสติปัญญา ด้วยสติสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว ถ้าเราทำผิดในเรื่องนี้ เราก็จะเป็นคนมันหิวอยู่เรื่อย กินจนท้องแตกก็ยังหิวอยู่เรื่อย หรือเป็นคนมีอะไรแล้วเก็บไว้แล้วมันก็ยังหิวอยู่เรื่อย เป็นคนที่มีลักษณะหิวเรื่อย มีเงินร้อยล้านพันล้านหมื่นล้านแปดล้าน ก็ยังหิวอยู่เรื่อย มีทรัพย์สมบัติ มีลูกมีเมีย มีสิ่งบำรุงบำเรอต่างๆไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ ก็ยังหิวอยู่เรื่อย อย่างนี้คือ เป็นเปรต หิวอยู่เรื่อย ไม่มีระยะหยุดพัก ยิ่งต้องกำจัดไอ้ความรูสึกที่เป็นความหิว ความทุกข์นี่ออกไป ให้เหลือแต่สติปัญญา สติสัมปชัญญะ แล้วก็ทำการงานไป บริโภคผลของการงานไปหรือแม้แต่พักผ่อนไป เข้าใจคำว่าหิวหรือกระหานนี้ให้ดีๆ เราลดลงมาใช้คำว่าที่เป็นกลางหน่อย คือคำว่าต้องการ ในความต้องการ เราจะแยกเป็นสองทาง อย่างหนึ่งต้องการ ของกิเลสของความโง่ของกิเลสตัณหา เป็นความต้องการเหมือนกัน มีชื่อเรียกว่าโลภะบ้าง ตัณหาบ้าง ราคะบ้างอะไรก็ตาม ต้องการอีกสายหนึ่งคือ ต้องการด้วยสติปัญญา นี่เป็นความปรารถนาด้วยสติปัญญา อย่างนี้เขาไม่เรียกว่ากิเลสตัณหา ไม่เรียกว่า โลภะ ไม่เรียกว่าอะไร เพราะเป็นผู้รู้หน้าที่เป็นผู้รู้สิ่งที่ต้องทำ และเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่เกิดมาเพื่อต้องทำหน้าที่ หน้าที่เพื่อหน้าที่นี่ต้องทำ อย่างนี่เขาเรียกว่าความประสงค์ที่จะทำหน้าที่อย่างมนุษย์ ไม่ใช่ความหิวอย่างต้องการความโลภอะไรที่เป็นกิเลส จึงสรุปให้สั้นที่สุดว่า ถ้าความต้องการมาจากความโง่ความหลง ความต้องการเหล่านี้เป็นกิเลส ถ้าความต้องการนั่นมาจากสติปัญญา ลืมหูลืมตา สว่างไสว แจ่มแจ้ง อยู่เสมอความต้องการนั่นไม่ใช่กิเลส เป็นสิ่งที่ต้องมีต้องสร้างต้องกระทำต้องปรับปรุงเป็นความปรารถนาเช่น พระพุทธเจ้าต้องการบรรลุนิพพานในตอนแรกนี้ หรือว่าเรามีความปรารถนาที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานอย่างนี้ หมายความว่า มีความปรารถนาจะดับทุกข์ ความต้องการปรารถนานี้ไม่ใช่กิเลส แต่เป็นธรรมะ เป็นสิ่งที่ต้องมีในเบื้องต้น ความต้องการนี้มาจาก ฉลาดมาจากความรู้ มาจากวิชา แต่ความต้องการอีกฝ่ายโน้นมาจากอวิชชา มัตรงกันข้าม มันมาจากความโง่ ความหลง ความมืด มันจึงเป็นกิเลสตัณหาหมด และเผาคนเหล่านั่นไม่ให้รู้จักอิ่มจักพอได้ มันจึงกระหายอยู่ตลอดเวลา ตื่นอยู่ก็กระหาย นอนหลับอยู่ก็ยังฝันถึงความกระหาย อย่างนี้ เป็นความทรมานอยู่ตลอดเวลา เราเรียกว่าเป็นเปรตที่ถูกทรมานอยู่ตลอดเวลา อย่าให้มีขึ้นมา ความต้องการเหล่านั้น แม้แต่ไปเกี่ยวข้องกับ กามคุณ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรื่องเพศ ตรงกันข้ามเรื่องนี้ ต้องมีสติสัมปชัญญะถูกต้อง รู้จักหน้าที่ไปตามธรรมชาติ ปฏิบัติหน้าที่ไปตามธรรมชาติ การเกี่ยวข้องทางกามคุณด้วยสติสัมปชัญญะอย่างนี้ก็กลายเป็น การปฏิบัติธรรมะ เพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มนุษย์จึงยังมีความรู้สึกตามธรรมชาติที่จะต้อง เกี่ยวข้องกับรูปรสกลิ่นเสียง มันจะต้องมีระเบียบวินัยเพื่อที่จะประพฤติ ปฏิบัติ ในการที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง ขณะที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ รูปเสียงกลิ่น รส สัมผัสเหล่านั้น ประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสม มันกาลายเป็นธรรมะชนิดหนึ่งในขณะนั้น มันจึงแตกต่างกันลิบลับราวฟ้ากับดิน กับบุคคลบางประเภทคนที่เข้าไปมัวเมาเกี่ยวข้อง ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อย่างมัวเมา อย่างงมงายโง่เขลาในเรื่องเหล่านี้ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด กลายเป็นเรื่องของกิเลสตัณหา เป็นเรื่องของพวกผีปีศาจ ที่เลวมาก ในการที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกามรมย์เช่นนั้น ซึ่งเรารู้ว่าแม้ (33:48) เป็นพระอริยะเจ้าแล้ว ก็ยังมีเมียมีลูก มีบุตร มีภรรยาได้ เป็นการประพฤติธรรมะในตัวเสร็จ สูงขึ้นไปทุกที สูงขึ้นไปทุกที จนกว่าจะไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งมันก็เป็นธรรมชาติก็เหมือนกัน คนเรามีระดับมีขั้น ขั้นๆไปเป็นธรรมชาติ ต้องผ่านไปให้ดี ถูกต้องไปทุกๆขั้น ถ้าเรายังเป็นหนุ่มก็ต้องเกี่ยวข้องกับกามคุณ ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องให้เป็นไปด้วยดี มีลูกมีหลานยังต้องเกี่ยวข้อง ยังต้องเกี่ยวข้องกับลูกกับหลานก็ต้องประพฤติไปให้ดี มันก็สูงขึ้นไปทุกที ทุกขั้นทุกตอนเป็นธรรมะหมด นี่เรียกว่าไม่ต้องมีความหิวกระหาย ไม่ต้องทำอะไรด้วยความหิวหระหาย ให้ทำความด้วยสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา ก็คือไม่เป็นเปรต ไม่งั้นก็เป็นเปรตอยู่ในชีวิตในการงานอยู่ ในบ้านเรือนนั่นเอง ไม่ใช่โลกอื่นนะ มันคือตัวเราเอง ความเป็นเปรต ที่กระหิวหระหายทนทรมานอยู่เรื่อย เรียกว่าความเป็นเปรต อันที่ 4 อันสุดท้าย ของอบายคือเรียกว่า ความกลัว อสูรกาย มีความหมายของถ้อยคำนี้อยู่ที่ว่า ความไม่กล้าหาญ สุระแปลว่า กล้า อสุระแปลว่าไม่กล้า กายแปลว่าหมู่หรือคณะ อสูรกายแปลว่า หมู่คณะของคนที่ปราศจากความกล้า คือความกลัวนั่นเอง เป็นคนมีความกลัว ปราศจากความกล้า ในความกลัวนี้ นับรวมความลังเล ความสงสัย ความอะไร รวมๆกันไปหมด เรียกว่ากลัว กลัวอย่างงมงาย คนบางคน ทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชาย กลัวจิ้งจก กลัวตุ๊กแก อย่างนี้เรียกว่ากลัว ยุ่งยากลำบากไปหมด เป็นปัญหากันไปหมด กลัวไม่มีเหตุผลแบบนี้ เรียกว่าเป็นพวกอสูรกาย เป็นอบายชนิดหนึ่ง เราต้องไม่มีสิ่งที่น่าหัวเราะเหล่านี้ นับแต่กลัวผี กลัวนั่นกลัวนี่ สัมพันธ์ความโง่ ความโง่มีความกลัวก็มี กลัวสิ่งที่ไม่เห็นตัว กลัวกันมาก กลัวอะไรไม่รู้ บอกไมได้ ไม่มีตัวไม่เห็น แต่กลัวอย่างยิ่ง กลัวจะนอนไม่หลับ กลัวในทางจะเป็นโชคลาภ ให้เป็นลางร้าย ตัวเขาเองก็บอกไม่ถูก แต่ว่ามันกลัวอย่างมงายอย่างโง่เขลา มีชีวิตอยู่อย่างกลัวอย่างนี้เรียกว่า อสูรกาย นี่เป็นพื้นชั้นต่ำที่สุด เรียกว่า อบาย อบายภูมิ กลัวขนาดนี้ จะต้องไม่มีสิ่งเหล่านี้ เช่นเป็นพระอริยะเจ้า เป็นพระโสดาบันนี้ เป็นผู้หญิงนี้ จะมากลัว จะมัวมากลัวจิ้งจกตุ๊กแกไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ เรามีความฉลาดพอ ความกลัวที่มีปัญหามากกับพวกเราคือ ไม่กล้าทำสิ่งที่ควรจะทำ คำพูดคำนี้กว้างขวางมา มันกินความกว้างมาก เสร็จแล้วก็คือความกลัว จนไม่กล้าทำ สิ่งซึ่งที่แท้ควรจะทำ บางคนไม่กล้าศึกษาธรรมมะในพระพุทธศาสนา กลัวว่าจะเครอะคระโง่ ไม่ทันสมัย บิดามารดาบางคนไม่อยากให้ลูกหลานบางคนเรียนธรรมมะ กลัวว่าไม่ทันสมัย กลัวว่าจะไม่ทำมาหากินกลัวไปบวชเป็นพระ เณร เสียจนไม่มีที่พึ่ง นี่ก็กลัวมาก คนแก่ๆ บางคนกลัวขนาดนี้ กระทั่งกลัวการอื่นๆที่รวมแล้วเป็นเหตุไม่กล้าทำสิ่งดีๆที่ควรทำไม่กล้าเกี่ยวข้อง กระทั่งกลัวอันหลังสุด ซึ่งแม้แต่คนที่มีการศึกษาดีเรียนเมืองนอกเมืองนามาก็กลัว กลัวว่ามีธรรมะธัมโมแล้วมันจะจืดชืดไม่เป็นรสไม่มีรสในชีวิต นี่คือความกลัวอย่างยิ่ง ไม่กล้าไปแตะต้องสิ่งที่เรียกว่ามรรคผล นิพพาน ที่ฆราวาสควรจะได้รับ หรือแตะต้อง ความกลัวสัมพันธ์กับความโง่ เราต้องไม่กลัวสิ่งเหล่านี้ เมื่อสึกออกไปแล้ว เราต้องไม่อายไม่กลัวในการที่จะทำพิธีรีตองต่างๆทางศาสนาให้คนอื่น บ้านอื่นเขาวานก็ไม่ต้องอายต้องกลัว อย่างนี่ถึงจะเรียกว่าไม่มีความกลัวอย่างโง่ๆ มันเป็นความเข้าใจผิดแล้วก็ไปกลัว ถ้าใช้ให้เราทำอะไรได้ อาราธนาศีลได้ นี่มันก็ดี เขาเรียกนับถือเรา เขาจะได้ใช้ให้เราผู้ที่มีความสำคัญต่อกัน ไอ้ความกลัวคือคนไร้ความสามารถ คือคนถอยหลังเข้าซอกเข้าซองไป ไม่ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่แสดงความสามารถให้ผู้อื่น เห็นความขลาดของตัวนี้ คือความกลัวอย่างโง่ๆ คนที่บวชแล้ว ที่เราทำแล้วเราต้องไม่กลัวในสิ่งที่ไม่ควรจะกลัวแต่เราไม่ใช่บ้าบิ่นนะ ไอ้พวกบ้าบิ่นมันไม่กลัวด้วยความโง่ นั่นคือความโง่ มันไปสงเคราะห์อยู่ในความโง่เป็นสัตว์เดรัจฉาน เหมือนจิ้งหรีดอย่างนี่มันก็ไม่กลัว กัดกันตายก็ไม่กลัว เรียกว่า บ้าบิ่น ในที่นี้มันไม่กลัวเพราะมีความแน่ใจ มีสติปัญญา มีความสามารถพอ จึงไม่กลัว อะไรหมด แม้ชีวิตเกิดพลาดเสียสละได้เพื่อประโยชน์ใหญ่หลวง เขาเรียกว่าไม่กลัวแต่ไม่ใช่เรียกว่าบ้าบิ่น จะถูกมอมให้เมาด้วยเหล้าด้วยยาหรือต่างๆหรือฆ่าให้ตายยังไงก็ไม่กลัว อย่างนี้ไม่ใช่ อย่างนี้เราไม่นับรวมในส่วนนี้ นั่นมันบ้าบิ่น เรื่องโง่ ไม่กลัวอย่างบ้าหลัง เปรียบเทียบให้ฟัง เพราะว่าพระอรหันต์ก็ไม่กลัวตาย ไอ้โจรใจร้ายมันก็ไม่กลัวตาย สัตว์บางชนิด เช่น จิ้งหรีด ไก่ชน มันก็ไม่กลัวตาย ไอ้ความไม่กลัวตายอย่างนี้ก็มีรากฐานต่างกัน สัตว์บางพันธุ์บางชนิดก็ไม่กลัวตาย ก็อาจจะมีมานะจัด มีกิเลสจัด ก็ไม่กลัวตาย พวกโจรไม่กลัวตาย เพราะมันถูกอบรมมาให้โลภจัด กลัวจัดมันก็ไม่กลัวตาย แต่ถ้ามันไม่กลัวตายมันก็มีสติปัญญาอย่างยิ่ง จะเอาไอ้การกลัวตายมาพูดนี้มันไม่พอ มันปนกันยุ่งหมด มันต้องเอารากฐานความไม่กลัวตายมาพูดกัน ไอ้เรามีธรรมะ ปัญญา จึงไม่กลัวตาย ทำอะไรทุกอย่างก็ไม่กลัว สำเร็จด้วย นี่เราก็ไม่เป็นอสูรกาย ขอให้นึกทบทวนอยู่ในใจเสมอว่ายังไงๆก็ตามเราต้องไม่ตกอบายในทั้ง 4 นี้ คือ ไม่ตกนรก ไม่เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เป็นเปรต ไม่เป็นอสูรกาย แล้วก็ต้องไม่เป็นใน ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เมื่อในชีวิตนี้ไม่เป็นแล้ว โลกหน้าโลกอื่นไม่เป็น ไม่เป็นแน่ ขออย่าได้ตกอบาย 4 อย่างในโลกนี้ ทั้งในโลกไหนในโลกอื่นๆไม่ตกแน่ จงหายโง่หายหลง จงรู้จักสิ่งที่เรียกว่าอบายให้ถูกต้อง เพราะมันตกที่นี่เดี๋ยวนี้ทุกวันทุกคืน นรกมีใจความความสำคัญอยู่ที่ความร้อนใจ เมื่อใดมีความร้อนใจเป็นทุกข์ดั่งไฟเผา เมื่อนั้นเรียกว่าตกนรก เดรัจฉานคือความโง่ เมื่อใดโง่อย่างน่าสงสาร อย่างน่าสมเพส เมื่อนั่นก็เป็นสัตว์เดรัจฉานแล้ว วันหนึ่งโง่ 10 ครั้งก็เป็นสัตว์เดรัจฉาน10ครั้ง เมื่อไหร่มีความหิวกระหาย ทะเยอทะยานเมื่อนั่นเป็นเปรตนะ วันหนึ่งก็อาจจะเป็นได้หลายครั้งเหมือนกันแล้วแต่คน ถ้ามีความกลัวไม่มีเหตุผลขึ้นมา เมื่อนั่นก็เป็นอสูรกายแล้ว มีจิตใจตะเหลิดเปิดเปิง ทางไหนไม่รู้แล้วอย่างนี้ เรียกว่าอสูรกายแล้ว นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย นี่คือสิ่งเรียกว่าเป็นอบาย เป็นความเสื่อมเสีย มีความจมลงไปในกองทุกข์ งั้นเราต้องไม่มี เมื่อเราบวช เป็นบัณฑิตแล้ว แล้วต้องรู้สิ่งเหล่านี้ดี อย่าได้คิดว่าอย่างโง่ๆเขลาๆเรื่องนี้พอตายแล้วเข้าโลงแล้วจึงค่อยคิดกัน ค่อยพูดกัน นี่มันบ้าที่สุด เรื่องมันเกิดอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้เวลานี้ ตั้งตาเราคลอดมาจากท้องมารดา งั้นต้องพูดกันเดี๋ยวนี้เวลานี้ ต้องแก้ไขเดี๋ยวนี้ ถ้ามีความยากจนเกิดขึ้น ร้อนใจเพราะว่าความยากจนเป็นทุกข์ทรมานอยู่ นี่มันคือนรก ที่แท้จริงร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องรอ ตายแล้วเข้าโลงแล้ว เมื่อเราทำงานผิดๆพลาดๆในการงานประจำวันแล้ว อย่างโง่เขลา นั่นคือสัตว์เดรัจฉานแล้ว ละอายให้มาก กลัวให้มาก แม้แต่เราทำอะไรผิดพลาดเล็กๆน้อยๆด้วยความโง่เขลา ก็ต้องเสียใจให้มากเพราะมันมีลักษณะเหมือนสัตว์เดรัจฉานเสียแล้ว อย่าได้ปล่อยให้จิตใจมันหิวกระหาย กระวนกระวาย ให้มันสงบเย็นเสมอ ทำการงานให้จิตใจสงบเย็น แล้วก็อย่าได้กลัวอย่าได้นอนสะดุ้ง ตื่นขึ้นมาอย่าได้เพลีย อย่าได้ท้อแท้ เพราะมีความกลัวอยู่ตลอดคืนในตอนหลับเพราะต้องมีความกล้าอยู่ตลอดเวลา ตื่นขึ้นมาต้องมีความกล้า ต้องสดใสเข้มแข็ง ต้องร่าเริง ตลอดวันตลอดคืน อยู่ด้วยความกล้าหาญ คือความแน่ใจในชีวิต ในการงาน อยู่ตลอดเวลา อย่างนี้พอแล้ว เรียกว่าเป็นบัณฑิตได้แล้ว ขอให้กำหนดจดจำไว้ให้ดี แม้ว่าจะมีการพูดอธิบายอย่างอื่น ความหมายก็เหมือนกันหมดอย่างที่อธิบายในวันนี้ ในวันนี้ยกเรื่อง อบายทั้ง 4 มาแสดงให้เห็นว่าอย่าได้มีอย่าได้มาเกี่ยวข้องในชีวิต มีนเป็นธรรมะหมด ชีวิตนี้ก็จะเป็นธรรมะทันที เพราะไม่มีอบาย หรือ อธรรมะไม่มี มีธรรมะอยู่ เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ดำเนินประโยชน์จิตถึงที่สุด เอาตัวรอดได้ทั้งตัวเองและผู้อื่น ทั้งประเทศและชาติศาสนา เอารอดได้ จำความหมายของคำว่าบัณฑิตให้แม่นยำ บัณฑิตตะ ภาษาบาลี คือ สองคำรวมกัน บัณดะ ดิดตะรวมกัน บัณดะ ปัญญาเครื่องมือเอาตัวรอด อิดตะอีกคำ แปลว่ามี รวมกันผู้มีปัญญาเอาตัวรอด เมื่อใดเรามีคือเราเอาตัวรอดได้ ก็เรียกว่าเป็นบัณฑิต ไม่ว่าจะแขนงไหน เป็นเรื่องเอาตัวรอดดีด้วย ในทางที่ถูกที่ควร ไม่ใช่คดโกง เอาตัวรอดด้วยความคดโกงประเดี๋ยวมันก็เอาตัวรอดไม่ได้ มันจะเสื่อมเสีย จมในอบายทั้ง 4 ที่แท้มันก็จมอบายอยู่แล้วตั้งแต่แรกความคดโกง เริ่มตั้งแต่คดโกง เสร็จแล้วมันก็จมลงไปหนักขึ้นหนักขึ้น อย่างนั้นเขาไม่เรียกว่าเอาตัวรอด ด้วยเหตุที่ว่าปัญญามีอยู่ 2 คำ ในไทยหรือบาลีก็ตาม ถ้าปัญญา บริสุทธ์ภาษาบาลีเรียกว่าปัญญา ถ้าปัญญาไม่บริสุทธิ์ ภาษาบาลีเรียกว่า เฉโก เป็นแต่เพียงความฉลาดไม่รู้ว่าไปทางไหน แต่เป็นความฉลาดปราดเปรียว ความฉลาดเลยไปทางทุจริต เรียกว่าฉลาด โลกในภาษาไทย ใช้คำว่าฉลาด ฉลาดในทางคดโกง ความฉลาดอย่างนั่นเรียกว่าเฉโก ความฉลาดทางธรรมมะเรียกว่าปัญญา ปัญญา ปันดาเป็นบัณฑิต ทางที่ฉลาดบริสุทธิ์ ปัญญา เราจึงไม่ควรคิดหวังจะพึ่งปัญญาคดโกง แม้จะเอาตัวรอดในขณะหนึ่งก็ไม่ควรคิดถึง มันจะกลับใส่อบาย จงหวังพึ่งปัญญาในทางถูกอยู่เรื่อย เมื่อเธอมีปัญญาอย่างนี้ จะชนะอบายทั้ง 4 ได้ ในทุกๆโลกทั้งกับตัวเองและผู้อื่น ก็เลยได้นามว่าเป็นบัณฑิตเต็มตัว เมื่อหมดอบายได้มันก็หมดปัญหาคนเรา เพราะว่ามีชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุขไปเรื่อยๆจนถึงนิพพานได้ ขอแต่ให้เป็นอันว่า ขอให้ปิดกั้นสิ่งที่เป็นอบายให้หมดโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง ไม่อยากจะนั่นอีกต่อไป ถึงจะปลอดภัย คำว่าพระโสดาบันเราอธิบายง่ายๆอย่างนี้ได้ว่าคือผู้ที่ ปิดอบายได้ คำอื่นไม่ต้องพูดก็ได้ อยู่ในตัว ขอให้ปิดอบายเด็ดขาดได้ ไม่ตกนรกคือความร้อนใจ ไม่เป็นสัตว์เดรัจฉานคือความโง่ ไม่เป็นเปรตคือความหิวไม่มีที่สิ้นสุด ไม่เป็นอสูรกายคือความขลาดอย่างไม่มีเหตุผล จิตใจนี้วัฒนาการสูงพอที่จะไม่ถอยหลัง มีแต่จะไปข้างหน้าเรื่อย มันคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน ไปตามลำดับ ได้ แม้ในชีวิตฆราวาส ในชีวิตขอบผู้ครองเรือน ในตามลำดับ ตามผลของนิพพาน ใกล้นิพพานทุกที เป็นมรรคผลในขั้นต้นๆได้ในฆราวาส เป็นพระโสดาบัน เราไม่ต้องเสียใจไม่ต้องน้อยใจไม่ต้องอ่อนเพลีย ท้อแท้ว่า เราหันหลังให้แก่นิพพาน ไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นก้าวช้าๆ อย่างมั่นคง อย่างหนักแน่น อย่างมีภาระมากเรื่องที่จะพูดกันอย่างสำคัญที่สุดของผู้ที่บวชแล้ว ลาสิกขา คือเรื่องนี้ ขอให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเราจะชำระทั้งหมดความผิดพลาดแต่หนหลังให้หมดสิ้น มันจะเหมือนเกิดใหม่ ตั้งต้นใหม่ด้วยความถูกต้องอย่างเดียว ให้ผลจากความถูกต้องนี้เป็นผลโดยตรงจากการได้บวชได้เรียนจากเรา จะได้ไม่มีความผิดพลาดต่อไปในอนาคต เรารู้หนทางและเราพยายามเดินตามด้วยสติปัญญา ด้วยสมรรถภาพ และด้วยสิ่งสำคัญที่สุด คือการบังคับตัวเอง ระลึกถึงคำว่าบังคับตัวเองไว้ให้มาก ธรรมมะคำสอนไม่ต้องการมากนัก ไม่ต้องการกี่คำ พูดอย่างนั้นดีกว่า และการบังคับตัวเองให้ทำตามธรรมะ ด้วยคำสั่งสอนต้องการมาก ไม่มีที่สิ้นสุด ต้องการเท่าภูเขาเลากา ไม่มีที่สิ้นสุด จึงพูดเสียใหม่กันลืม ไอ้พุทธธรรมะนี่เราพูดกัน 15 นาทีก็พอ จะปฏิบัติกันตาย ก็ไม่หมด สำหรับคำพูดเพียง 15 นาที งั้นจึงไม่ต้องการอะไรบ้าง ที่พูดนี่ก็พอแล้ว ก็เหลืออยู่แต่ว่าทำให้ได้ การทำให้ได้ ไปรวมใจความสำคัญอยู่ที่ว่า เราต้องบังคับตัวเราเองให้ได้โดยสิ้นเชิง เราเห็นคนที่เล่าเรียนธรรมมะก็ยังติดคุกติดตาราง เป็นมหาเปรียญก็ต้องไปติดคุกติดตาราง เป็นผู้เรียนธรรมะจากพระไตรปิฎกก็ต้องไปติดคุกติดตาราง เพราะเหตุอย่างเดียวคือบังคับตัวเองไม่ได้ ไปเล่าเรียนมามาก เรื่องทำไร่ทำนา เรื่องค้าขายก็ดี มันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราเหตุผลที่ว่าไม่บังคับตัวเอง ให้ทำตามหลักวิชานั้นให้ได้ เสร็จแล้วก็ทำไม่สำเร็จ เพราะมีความเหลวไหล ตกเป็นทาสกิเลส งั้นเราต้องอยุ่ในพวกบังคับตัวเองให้ได้ การปฏิบัติธรรมะยากอยู่ที่ตรงนี้ ต้องอาศัยธรรมมะ เรียกว่าธรรมมะ (55.47) หิริและโอตัปปะ หิริ คือความละอายต่อสิ่งที่ควรละอายต่อสิ่งที่ทำ โอตัปปะคือความกลัว ต่อสิ่งที่ควรกลัว ธรรมมะข้อแรกที่ดูถูกดูหมิ่น แต่ที่จริงอันนี้คือธรรมมะเด็กเอาตัวรอดได้ เดี๋ยวนี้คนไม่ละอายต่อความชั่ว เห็นๆๆกันอยู่ไม่ต้องระบุบุคคล มองที่ธรรมะจะเห็นเป็นหลัก มองที่คนไม่ละอาย โดยแท้จริงต่อความชั่ว ไม่ละอายต่อความชั่วเบียดเบียนกัน เรื่องเล็กเบียดเบียนกัน เรื่องใหญ่เป็นมหาสงคราม ในโลกนี้เบียดเบียนกันไม่เชื่อพระเจ้า ไม่เชื่อศาสนา ไม่มีความละอาย หาเรื่องมากลบเกลื่อนตัวเป็นผู้ถูกเสมอ ที่จริงตัวเป็นผู้ผิดควรละอายอย่างยิ่ง อันนี่มันก็ไม่กลัวเรื่องนรกหมกไหม้ มันก็ไม่กลัว ลงโทษก็ไม่กลัวเลยทำความชั่ว เมื่อเราทำพลาดไปแล้วจงเก็บมาละอายให้มาก พอค่ำลงต้องคิดบัญชีในทางจิตใจ วันนี้ทำอะไรผิดพลาด แล้ววันหลังมันจะดีขึ้น เพราะความละอายและความกลัว ไม่พลาดไม่เผลอ ไอ้ความพลาด ความเผลอ เพราะเราละอายให้มาก ไม่กลัวให้มาก ยกตัวตัวอย่างทางวัตถุที่คนทั่วไปรู้ ไม่เผลอไปทำผ้านุ่งหลุด ที่ถนนหนทางสี่แยกสี่แยกไม่เผลอเลย ไม่เผลอ เพราะอะไร เพราะมันระวังมากกลัวละอายไว้ล่วงหน้า จึงไม่เผลอไปทำผ้านุ่งหลุดกลางถนน ร้อยคนทั้งร้อยพันคนทั้งพัน ไอ้ความชั่วความเลวที่น่าละอายมันกลับไม่ละอายคิดว่าไม่มีใครเห็นหรือว่าคนอื่นเขาก็เป็นกัน ก็เลยไม่ละอายไม่กลัว เมื่อไม่ละอายไม่กลัวก็พลาดเรื่อยเผลอเรื่อย การทำการงานก็คือการปฏิบัติธรรมมะ เมื่อเราทำผิดพลาดในการงานแม้เล็กน้อยวันหนึ่งๆเราก็ควรละอายให้มากควรกลัวให้มาก วันรุ่งขึ้นจะได้ไม่ผิด ไม่พลาด ทำไมเราไม่เดินตกร่อง เพราะเรากลัวเจ็บขา ขาหัก เรากลัว ไอ้การงานชีวิตการปฏิบัติธรรมะ มันมีร่องอยู่ทั่วไปหมด ระวัง อย่าตกร่อง ตกไปแล้วละอายมาก กลัวมาก เมื่อไม่ตกอีก ขอให้มีความหวังในเรื่องนี้ให้มาก โดยปกติเราอยู่ได้ด้วยสติปัญญา ระมัดระวังทำด้วยสติปัญญา ถ้าเกิดเผลอและพลาดก็ละอายให้มาก กลัวให้มาก มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา เวลาทำพลาดต้องมีหิริและโอตัปปะ จึงเรียกว่าพูด 5 นาที ปฏิบัติจนตายก็ไม่หมด คนเราถึงจะเอาตัวรอดได้ ขอให้มีความเป็นบัณฑิตกันในส่วนนี้ ไม่ใช่เป็นบัณฑิตในวิชาความรู้ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด บัณฑิตได้ตามความสำเร็จตามปรารถนา ในที่สุดนี้ก็ขอให้ฟังให้ดี ให้รู้ว่า ธรรมมะนี้เป็นพร ธรรมมะนี้เป็นมิ่งขวัญ ธรรมมะนี้เป็นโชคดีเป็นฤกษ์ดียามดี เป็นอะไรที่ดีๆ ที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เป็นน้ำมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ จงไปรดจิตใจอยู่เสมอ เป็นฤกษ์ดี เป็นโชคดีอยู่เสมอ ก็หมดเรื่องกัน ไอ้รดนำมนต์หลอกๆตามวัดนั้นเป็นเรื่องของคนโง่ มันจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน อสูรกายได้ก็ดีถ้าไปรดน้ำมนต์แบบนั้น มันเพราะไม่ใช่น้ำมนต์ของพระพุทธเจ้า ลองรดน้ำมนต์แบบของพระพุทธเจ้าคือธรรมะ ซึ่งเป็นเหมือนน้ำ และน้ำศักดิ์สิทธิ์รดอยู่ทุกวันด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยหิริโอตัปปะ แล้วเราก็จะได้รับการคุ้มครองจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีความเจริญงอกงามสมตามที่ได้อุตส่าห์บวชอุตส่าห์เรียน อุตส่าห์ทนประพฤติพรหมจรรย์ให้ถึงตัวธรรมมะ รู้แจ้งธรรมมะแล้วให้รักษาไว้ยังคงมีอยู่ในชีวิตจิตใสจนตลอดกาล จึงถือโอกาสรดน้ำมนต์ด้วยธรรมะอย่างว่านี้เป็นเวลาร่วมชั่วโมงแล้วสำหรับเธอจะออกไปเป็นพุทธบริษัท อย่าฆราวาสที่ดี เรื่องเบ็ดเตล็ดอยากจะแนะนำ เพื่อความเป็นอย่างนั้นมากขึ้น ต้องทำตัวใกล้ชิดต่อศาสนา พระสงฆ์ วัดวาอาราม อุปฌาอาจารย์อยู่เสมอ อย่าละอายในพิธีทางศาสนา อย่าเบื่อที่จะศึกษาเพิ่มเติม ไตร่ถามเพิ่มเติม ให้เป็นผู้ที่ว่าใช้เวลาว่างในการหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับธรรมะอยู่เสมอ อนุสรณ์ที่เตือนใจที่ดีที่สุดบางทีจะเป็นคือจีวรและบาตรนี้ อยากจะแนะนำให้เอาอย่างสมเด็จกรมพระยาดำรงฯที่ท่านเก็บบาตรกับจีวรไว้เป็นเครื่องเตือนใจไว้ในห้องพระของท่าน ถ้าทำได้ลองดู บาตร จีวรย้อมให้สวย ขัดให้สวย ไว้ในที่ที่เราถือว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ในตู้ พระ ในห้องพระหรืออะไรก็ตาม นี่เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ พอเหลือบเห็นแล้วเตือนใจว่าเคยบวชแล้วนะอย่างนี้มีอิทธิพลมาก ยังจะดีกว่ารูปถ่ายที่เป็นพระ เมื่อเราทำผิดทำพลาดอะไร ไอ้บาตรจีวรนี้ จะเตือนได้มาก เป็นอนุสาวรีย์ด้วย เป็นผู้ตักเตือนอย่างดีด้วย เพราะงั้นลองดู บ้านเรือนจะได้เป็นบ้านเรือน เพื่อจะได้มีห้องพระ ห้องที่ไว้พระพุทธรูป พระไตรปิฎก ไว้หนังสือธรรมะ ไว้บาตรไว้จีวร ถ้ามีลูกมีหลานต้องแนะนำลูกหลาน ว่าห้องนั้นศักดิ์สิทธิ์นะ ต้องกราบพระพุทธรูป ต้องกราบบาตร จีวร เป็นเครื่องหมายธรรมมะ ของพ่อ หรือว่าพ่อก็เคย ก็ต้องกราบสิ่งเหล่านี้ อย่างนี้เป็นการสร้างนิสัย สร้างเชื้อที่ดี ของครอบครัว ของลูกของหลานของเหลนทั่วไป อะไรเรื่อยไป นี่เป็นตัวเอย่างที่ดีอย่างหนึ่ง เอาไปคิด ว่าเราต้องมีตัวอย่าง วัตถุอนุสรณ์เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจตัวเอง เพื่อจะช่วยบังคับตัวเราได้ง่าย ยิ่งขึ้นทุกวัน ทุกเดือนทุกปี เมื่อเราประสบความสำเร็จแล้ว ประโยชน์ทางโลกๆก็เจริญ คือ เจริญด้วยทรัพย์สมบัติด้วยด้วยเกรียติยศ ชื่อเสียง ด้วยคนรักใคร่ ด้วยการสังคมที่ดีในโลกเป็นครอบครัวที่พูดกันรู้เรื่อง ไม่มีอุปสรรคต่อกันและกันเจริญในทางธรรมมะในส่วนกิจส่วนตัว ทั้งในเรื่องโลกนี้และเรื่องโลกหน้า ในเรื่องพ้นโลกคือนิพพานในที่สุดนี้ก็ขอให้กำหนดจดจำสิ่งเหล่านี่ไว้นำไปประพฤติปฏิบัติตัวอยู่ตลอดเวลาเป็นผู้เจริญก้าวหน้าในทางพระศาสนา ในทางของสมเด็จพระศาสดาตรงตามความประสงค์มุ่งหมายของการที่ได้บรรพชาอุปสมบทนี้จงทุกๆประการเถิด..