แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทแก่ผู้ที่จะทำการอุปสมบท ปี 2525 ทำพิธีที่เรือวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2525 (อุปสมบทเณร)
(เสียงมัคทายก) ว่าตามกันนะ ข้าแต่คุณพระบิดา คุณพระมารดา ผู้เจริญและท่านผู้มีพระคุณ อันสูงสุด หาสิ่งใดเปรียบมิได้ ที่กระผมทั้งหลาย จะตอบแทน สนองพระคุณ สนองพระคุณ ให้สิ้นสุดได้ และท่านผู้มีอุปการะคุณทั้งหลาย และญาติทั้งหลาย บัดนี้ กระผมมีความรู้สึก สำนึกถึงพระคุณ ที่ท่านทั้งสอง ได้เลี้ยงกระผมมา ด้วยความลำบาก และท่านได้ตั้งความปรารถนาเอาไว้ เป็นระยะยาว บัดนี้ ความปรารถนา ของคุณพระบิดา ของคุณพระมารดา และญาติทั้งหลาย สมความประสงค์แล้ว พร้อมกับกระผมทั้งหลาย มีความพอใจ เต็มใจ สมัครใจ จะบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง เพื่อสนองพระคุณ อยู่ด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้ กระผมจึงกราบ ขอกล่าวคำอโหสิกรรม ว่าการกระทำอันใด ที่กระผมทั้งหลาย ได้กระทำ ล่วงเกิน ต่อคุณพระบิดา คุณพระมารดา และญาติทั้งหลาย มีการกระทำ ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยน้ำใจก็ดี ซึ่งเรียกว่ากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีการกระทำ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง หรือประมาทพลาดพลั้ง รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เจตนาหรือไม่ได้เจตนา หรือเพราะความมืดมน กลฑการ(นาทีที่ 4.35) กิเลสห่อหุ้มในสันดาน จึงได้ล่วงเกินโทษอันนั้น เพราะฉะนั้นกระผมทั้งหลาย จึงกราบขอความเมตตา กรุณา โปรดยกโทษ อโหสิกรรม ให้กระผมทั้งหลายด้วย กระผมทั้งหลาย จะสำรวมระวัง ในกาลต่อไป และขอคุณพระบิดา คุณพระมารดา และญาติทั้งหลาย จงอนุโมทนา รับเอาส่วนบุญ ซึ่งจะได้จากกระผม บรรพชา อุปสมบทในวันนี้ จงทั่วกันเทอญ
(เสียงท่านพุทธทาส) ต่างคนต่างว่า ต่างคนทำ ไม่ใช่ว่าเราว่าเฉพาะเรา เฉพาะคนๆ ไม่ ไม่ผูกพันกันเป็นหมู่ จึงว่าเอสาหัง อย่างคนเดียวขอ ทุกคนว่าของตนไม่ผูกพันกัน พร้อมกันเลย
(เสียงผู้ที่จะทำการอุปสมบท)
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
ละเภยยาหัง ภันเต
ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง
*ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง
อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(เสียงท่านพุทธทาส) เธอทั้งหลายตั้งใจฟัง ให้สำเร็จประโยชน์ การกระทำสำเร็จประโยชน์ เพราะเราเข้าใจ ความหมายความมุ่งหมายในการกระทำหรือการกระทำนั่นเอง ว่าเราจะทำอะไร ไม่ใช่ทำแต่ท่าทาง ฉะนั้นจงตั้งใจให้ดี ให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังกระทำ บัดนี้เธอทั้งหลายได้ขอบรรพชา เพื่อจะบรรพชาในพระพุทธศาสนา จึงได้กล่าวประกาศตัวว่า มีศรัทธา เลื่อมใสพอใจ ถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ถ้าจะบรรพชา แล้วก็ขอบรรพชาโดยไม่มีปริกัปคือขอเต็มที
อย่างน้อยเธอต้องรู้ บรรพชา รู้จักบรรพชาที่ขอน่ะว่ามันคืออะไร บรรพชาที่ขอนั้นคือ ระเบียบ ขั้นปฏิบัติ ขอรับเอาระเบียบการปฏิบัติ อันนี้ เพื่อปฏิบัติ ระเบียบปฏิบัติ อันนี้ เพื่อสามเป็น เพื่อเป็นสามเณร แล้วขอระเบียบปฏิบัติเพื่อไปปฏิบัติให้เป็นสามเณร มีฉันหนึ่งกร (นาทีที่ 12.35) เรียกว่า บรรพชา หรือจะให้ความหมาย กว้างเป็นบรรพชาในฐานะทั่วไปก็ได้ คือว่า จะออกจากโลกฆาราวาส มาสู่โลกของบรรพชิต นี้เรียกว่า บรรพชา เราขอ ด้วยความสมัครใจ และต้องยึดถือถ้อยคำว่าขอจริง จะรับเอาไปปฏิบัติจริง คือ จะเรียนจริง ปฏิบัติจริง ให้ได้ผลจริง
ให้บรรพชานั้นเป็นระเบียบปฏิบัติ ซึ่งเป็นการขูดเกลา คือขูดของเลวของร้าย ของเสียให้ออกไปให้หมด ให้เหลือแต่ของสะอาด นี้เรียกว่าขูดเกลา คือขูดของสกปรกให้เหลือแต่ของที่สะอาด เค้าเรียกว่า สัลเลขธรรม บรรพชาเป็นสัลเลขธรรมอย่างยิ่ง มันจึงขูดเกลาความเป็นฆราวาสออกไป เธอปฏิบัติ เพื่อขูดเกลาความเป็นฆราวาส บัดนี้เราจะไม่ให้มีความเป็นฆราวาสเหลืออยู่ ในใจ ในกาย ในวาจา จะไม่คิดนึกอย่างฆราวาสอีกต่อไป ทุกอย่างจะไม่กระทำอย่างฆราวาส จะไม่มีอากัปกิริยาอย่างฆราวาส จะไม่พูดจาอย่างฆราวาส ไม่นุ่งห่มอย่างฆราวาส เธอจำว่าไอ้สิ่งที่เคยทำเมื่อเป็นฆราวาสนั้นเอาออกไป ไม่ต้องเหลืออยู่ในบรรพชานี้แหละข้อสำคัญ
บวชแล้วยังลุกลิกเล่นหัว เหมือนยังกับเป็นฆราวาสน่ะมันใช้ไม่ได้ มันคนโง่ คนบ้า คนหลง คนไม่รู้อะไร บวชแล้วยังลุกลิกเล่นหัวเหมือนฆราวาส ฉะนั้นต้องคอยนึกถึงไว้เสมอ คอยนึกถึงไว้เสมอ อย่าเผลอ จะมีอะไรอย่างฆราวาสเหลือ ในครั้งแรกมันต้อง ระวังมากแหละเพราะมันเรื่องของแปลกของใหม่นี่ จนกว่าจะเคยชิน นี่ตั้งใจไว้ให้ดีๆ ว่าในชั้นแรกนี่จะระวังที่สุด
ทีนี้ก็มัน สูงขึ้นมาอีก ก็คือว่าเกี่ยวกับจิตใจโดยเฉพาะ เราจะพยายาม ให้มีความมุ่งหมาย เป็นผู้บรรพชา ตลอดเวลาแหละ อย่าเผลอ ปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยๆ ไป จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในตัวเราในจิตของเรา ในเนื้อตัวของเรา มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นนักบวชเพิ่มขึ้นๆ แม้จะบวชชั่วคราวมันก็ได้มาก มันก็ได้การเปลี่ยนแปลงมากพอ ก็จะเกิดเหมือนกับเป็นคน คนใหม่ มีอะไรดี มีอะไรไม่น่าตำหนิ นี่เรียกว่าบรรพชา ฉะนั้นเมื่อขอแล้ว บวชแล้ว ก็ต้องอดกลั้นอดทน ประพฤติ ปฏิบัติ มันจะลำบากบ้างก็อย่าไปเห็นแก่ความลำบาก จะหิวบ้างจะกระหายบ้าง จะขาดแคลนบ้างอะไรบ้างก็ไม่ต้อง ไม่ต้องสนใจดีกว่าอย่าให้บรรพชาเสียไป
นี่บรรพชาฟังดูให้ดี เธอขอนะไม่ใช่ใครมายัดเยียดให้เธอขอเอง บรรพชาต้องเป็นอย่างนี้เท่านั้นเป็นอย่างอื่นไม่ได้ จึงบอกให้รู้กันเสียก่อน ว่าขอสิ่งนี้และจงปฏิบัติอย่างนี้นี่เรื่องที่หนึ่ง เรื่องที่สองเธอควรจะรู้ต่อไปก็คือว่า ประโยชน์หรืออานิสงส์ของการบรรพชา เรารู้กันอยู่แล้วบ้างไม่ รู้ไม่หมดก็มี ว่าบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง นั้นมันจะได้ผลอะไร ได้ผลมากจนบรรยายไม่ไหวโดยรายละเอียด บรรยายไม่ไหวบรรยายแต่หัวข้อว่าประโยชน์อานิสงส์จากผู้บวชจะพึงได้ ประโยชน์อานิสงส์แก่ญาติทั้งหลายจะพึ่งได้ ซึ่งแก่โลกทั้งปวงจะพึงได้
ถ้าเราบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง เราก็เกิดความเปลี่ยนแปลง เป็นสัตบุรุษยิ่งขึ้น เป็นบัณฑิตยิ่งขึ้น รู้สิ่งที่จะทำให้เอาตัวรอดได้ยิ่งขึ้น ด้วยการบวชจริงเรียนจริงนะ ไม่ใช่มาบวชแต่ท่าทางร้องโอย นี่เราจะได้ประโยชน์สูงสุด คือได้รับความ การบังคับตนอยู่ตลอดบรรพชานี้จะทำให้เกิดนิสัยอันใหม่ คุ้มครองตัวจากกิเลสได้ ข้อนี้ก็ค่อยเรียนศึกษาต่อไปในระเบียบสิกขาวินัย แล้วจะค่อยรู้เองว่ามันเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ทีนี้ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นจะพึงได้นี่ เป็นการบวชสนองพระคุณ เป็นสิ่งที่ต้องนึกถึง ว่าเราเกิดมาจะต้องนึกถึง พระคุณของบิดามารดา และหวังจะตอบแทน ท่านถือกันว่า ตอบแทนคุณของบิดา มารดา นี้ไม่มีอะไรดีไปกว่า ทำบิดา มารดา ให้เป็นสัมมาทิฏฐิยิ่งขึ้น แต่เขาใช้คำว่าเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น การบวชของเธอทำให้ บิดามารดาเข้าวัดเข้าวามากขึ้นรู้จักธรรมะธรรมโมมากขึ้น นี่เป็นสัมมาทิฏฐิยิ่งขึ้น ใกล้ชิดพระศาสนายิ่งขึ้น บิดามารดาก็พลอยได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ จึงมีค่ามากกว่าสิ่งใดๆ
จะเรียนรู้ตอบแทนด้วยวัตถุสิ่งของ ก็ยังไม่มากเท่ากับว่า การให้ผลทางจิตใจ ทำให้เกิดผลทางจิตใจแก่บิดามารดา ดังนั้นเราจึงบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง แทนคุณจริง เพื่อประโยชน์แก่บิดามารดาด้วย ข้อที่สามได้ประโยชน์แก่คนทั้งโลก หมายความว่าเราบวชสืบอายุพระศาสนา ถ้าบวชกี่วัน กี่เดือน กี่ปี ก็มันก็สืบเท่านั้นแหละ ดังนั้นเรานี่ระหว่างจะบวชอยู่น่ะ ต้องทำให้ดี บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ย่อมเป็นการสืบอายุพระศาสนา
ถ้าบวชหลอก บวชเล่น แบบนี้ก็เป็นการทำลายศาสนา ยิ่งขาดทุน ฉะนั้นระวังอย่าทำเล่นกับเรื่องนี้ ทำเล่นแล้วมันก็ไม่ มันไม่ได้ผล แล้วมันยังขาดทุน มันยังเป็นการทำลายหมดแหละ ทำลายความหวังของตนเอง ทำลายความหวังของบิดามารดา ทำลายศาสนาเพราะบวชไม่จริง เขาให้อุทิศ ชีวิตจิตใจ ว่ามันจะต้องมีแต่การบวชจริง ตั้งใจกันเสียแต่เดี๋ยวนี้ มันจะได้สมบูรณ์แต่ต้นจนปลาย ตั้งใจกันเสียเดี๋ยวนี้ว่าจะบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา ทยอยๆๆๆ กันไปไม่พักไม่ขาดตอนนี่
เรามีศาสนาอยู่ในโลก โลกก็ได้รับประโยชน์จากศาสนา ทั้งโลกก็ได้รับประโยชน์ ความสุขในโลก ของโลก ทั้งโลก ซึ่งพระศาสนาก็ไม่สูญหาย สืบอายุพระศาสนาด้วยเพื่อความสุขในโลกทั้งโลกด้วย พิจารณาแล้วมันมีประโยชน์มหาศาล มหาศาลเกินไปเกินที่จะพรรณาได้ ฉะนั้นเราควรจะเสียสละทุกอย่างเพราะประโยชน์ มหาศาล แม้จะต้องสละชีวิตก็ยังจะเอานะ ถ้ามันได้ผลพรรณนั้นจริง เราจะต้องตาย เราก็เอานะ แต่นี่ไม่ต้องตาย แต่ก็ทำให้ดีให้ดีที่สุด เธอก็ย่อมจะได้ประโยชน์เหล่านั้น เราก็ได้ ญาติทั้งหลายก็ได้ สัตว์โลกทั้งปวงก็ได้ พระศาสนาก็ได้ จะเอา.....(นาทีที่ 22.24) แม้จะต้องตายก็เอาควรจะแลกเอาได้ นี้เรียกว่าประโยชน์จากการบรรพชา เป็นเรื่องที่สอง
เรื่องที่สามความตั้งมั่นของบรรพชา รากฐานของบรรพชาก็คือความศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในการเลื่อมใสถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะนั่นเอง ...(นาทีที่ 23.04) อุทิศทั้งหมดเพื่อพระรัตนตรัยนี่นั่นแหละ มันเป็นพื้นฐานแก่มั่นคง เรายังหวัง อุทิศพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในเรา ทำให้ในเรามี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่นคือ ความสะอาด สว่าง สงบ แห่งจิต นั่นเป็นความหมายของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ทำให้ความหมายของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีอยู่ในจิตทุกอย่างก็จะตั้งมั่นอยู่ บุญ ภาวะของจิตชนิดนั้น จิตชนิดนั้นมันให้สำเร็จประโยชน์ได้ทุกอย่างทุกประการ เช่นนี้เราให้เป็นรากฐานของบรรพชา มุ่งหมายจะทำให้จิต สะอาด สว่าง สงบ ตลอดเวลาในทุกกรณี บรรพชาของเราก็จะมีรากฐานที่ดี มีพื้นฐานที่ดี จะเจริญงอกงาม เหมือนกับต้นไม้ ได้ดินดี อากาศดี อาหารดี น้ำดี อะไรดี มันเจริญงอกงาม บรรพชานี้เมื่อได้รากฐานดีก็จะเจริญงอกงาม จึงไม่มีเรื่องเล่นๆ หรือไม่มีเรื่องงมงาย บวชแล้วก็ไม่เป็นบวช เพราะฉะนั้นหาความเจริญไม่ได้ นั่นแหละเป็นว่าเรา รู้เรื่องสามเรื่องแต่เป็นเรื่องสำคัญในการบรรพชา
ที่รู้ว่าบรรพชา ที่เราขอน่ะมันคืออะไร จะได้ปฏิบัติให้เต็มตามความหมาย ให้รู้ว่าประโยชน์ อานิสงส์ของบรรพชานี้ คืออะไร จะต้องทำให้ได้ หวังในอานิสงส์นี้แล้ว ย่อมมีกำลังใจที่จะปฏิบัติ ในบรรพชานั้นเต็มที่ และรู้ว่ารากฐานของบรรพชานั้นอยู่แก่จิตใจอันมั่นคงอุทิศต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีภาวะของความสะอาด สว่าง สงบ แห่งจิต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในจิต ของเราตลอดเวลา
ถ้าทำได้อย่างนี้ก็คือไม่งมงาย ไม่หลับหูหลับตางมงายทำ เรารู้เรื่องที่เรากำลังจะทำและเราจะทำต่อไป รู้ รู้ชัดเจนแน่นอนแล้วก็ทำ แล้วก็ลืมตาทำไม่ ไม่ใช่คนหลับตาทำ นี่เรื่องหนึ่งสุดท้ายก็คือว่ามันมีระเบียบให้บอก ตจปัญจกกัมมัฏฐาน เพราะว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงถึงไม่มาก เธอเป็นฆราวาสมาหยกๆ มีจิตใจเปลี่ยนแปลง ไม่ทันก็ได้ คือว่าเมื่อการรู้สึกอย่างฆราวาสเดิมๆ มาเยี่ยมเยียนอีกก็จะไม่มีอะไรก็จะกำจัด เพราะฉะนั้นก็จึงให้มุสอน ตจปัญจกกัมมัฏฐานกำจัดไอ้ความคิดอย่างฆราวาสออกไปเสีย ถ้ากลับมาอีกก็ขับไล่ไปเสียไอ้นั่นคือความรักสวยรักงาม
ฆราวาสมีความรักสวยรักงาม ไม่ต้องพูดรู้อยู่แล้วว่าบ้าเท่าไรเรื่องสวยเรื่องงามน่ะมันบ้าเท่าไรรู้อยู่แล้ว แต่ว่ารู้ต่อไปคือว่า เอาไว้ไม่ได้ ถ้าอยากจะบวชน่ะเอาไว้ไม่ได้ ไอ้ความรักสวยรักงามน่ะเอาไว้ไม่ได้ ฆราวาสต้องมีจิตใจ จะไม่หลงใหลในเรื่องความสวยความงาม ผ้าเหลืองนี้ผ้ากาสายะนี่เป็นสัญลักษณ์ของพระอรหันต์ ของผู้ไม่มีความโง่ความหลงใดๆ เราจะต้องรู้จักกำจัดความโง่ความหลงเหล่านั้นที่จะมารบกวนเราอีก ก็คือความรักสวยรักงาม หรือถ้าว่าเวลานี้มีความรู้สึกต่ำมากยังรักสวยรักงาม มันก็ไม่ควรจะนุ่งห่มผ้ากาสายะเหล่านี้เลย เพราะฉะนั้นเธอจงเตรียมใจฟังให้ดีเตรียมใจเพื่อให้สลัดในความรักสวยรักงาม มีจิตใจเกลี้ยงเกลาพอที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะได้โดยชอบธรรม
เรื่องรักสวยรักงามนี่มีมาก แต่ท่านนิยมให้เอามาพูดกันสัก ๕ ข้อก็พอ คือ เรื่องผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ห้าข้อนี้ก็พอ ถ้ามันรู้จักสละห้าข้อนี้ได้แล้วมันก็สละได้หมดแหละ มันเหมือนๆกันแหละ เรื่องผมงาม เราก็เคยตกแต่งผมให้งาม สนใจในบุคคลที่มีผมงาม เคยโง่เคยหลงเท่าไรก็รู้อยู่แก่ใจ เดี๋ยวนี้ให้มาดูกันเสียใหม่ว่าผมนั้นมันไม่ได้งามเหมือนที่เราเคยโง่ มันเป็นตามธรรมชาติ มันมีปฏิกูลตามธรรมชาติ เส้นผมน่ะมีความปฏิกูลตามธรรมชาติ รูปร่างของเส้นผมก็ไม่งาม สีสันวรรณะของเส้นผมมันก็ไม่ได้งาม กลิ่นของมันก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของผมมันก็น่าเกลียด หน้าที่ของเส้นผมอยู่บนหัวรับฝุ่นละอองนี้มันก็น่าเกลียดมันล้วนแต่น่าเกลียด ให้ดูสักห้าอย่างก็พอว่ารูปร่างของมันก็น่าเกลียด สีสันวรรณะของมันก็น่าเกลียด กลิ่นของมันก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของมันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของมันก็น่าเกลียด และเรายังคิดว่างาม
มันโง่มาแต่เล็ก มันโง่มาแต่เล็ก พ่อแม่มันไม่ได้สอนเรื่องนี้ นี่เด็กๆมันก็เห็นเป็นของงาม มันก็งามมาเรื่อยๆ จนบัดนี้ มันจึงให้โกนทิ้งไปเสียเลย และก็อย่าให้เหลืออยู่เป็นเยื่อใย เห็นว่าผมหรือเกสานี่เรียกว่าเกสาในภาษาบาลี เป็นของน่าเกลียดตามธรรมชาติ โดยอาการทั้งห้าแต่ว่าแล้ว
ทีนี้ก็พิจารณาเรื่องที่สองคือ ขน ซึ่งเรียกโดยภาษาบาลีว่า โลมา มีอยู่ทั่วๆๆไปทั้งตัว ที่จริงมันก็คือ เรื่องอย่างเดียวกับผมนั่นแหละแต่ว่าเส้นมันเล็ก รูปร่างแปลกไปบ้างประปราย ละเอียด ถ้าเห็นผมน่าเกลียดอย่างไร ก็พึงเห็นขนทั่วตัวน่าเกลียดอย่างนั้น ก็จะได้ไม่หลงรัก พิจารณาโดยอาการทั้งห้าเหมือนกัน ว่ารูปร่างของเส้นขนก็น่าเกลียด สีของเส้นขนก็น่าเกลียด กลิ่นของเส้นขนก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของเส้นขนก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของขนก็น่าเกลียด หน้าที่การงานก็ให้แก่รับฝุ่นละอองไปทั้งตัว หรือเหมือนกับเป็นคอยแย่งรูขนให้เหงื่อคาวออกมันนี่มันก็น่าเกลียด
เรื่องที่สาม เล็บ เล็บเป็นบาลีว่า นขา เคยแต่งกันมาก มี มี มีของทาเล็บให้เล็บงาม ความจริงมันก็เป็นเรื่องโง่เหมือนกันแหละ แต่ว่างามกับน่าเกลียดว่าของเดิมก็มี ไอ้ยาทาเล็บมันทำให้เล็บน่าเกลียดกว่าของเดิมก็มี นี่มันคนโง่ที่จะทำไปได้ ว่าแต่เราอย่าไปหลง ไอ้เรื่อง เล็บ ว่างาม ให้พิจารณาว่าเป็นของน่าเกลียด ด้วยอาการทั้งห้านั่นแหละ ว่ารูปร่างของเล็บก็น่าเกลียด สีสันวรรณะของเล็บก็น่าเกลียด กลิ่นของเล็บก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของเล็บก็น่าเกลียด หน้าที่การงานสำหรับควัก สำหรับเกา ก็น่าเกลียด ไม่ต้องเห็นว่าเล็บงาม
เรื่องถัดไป ฟัน เรียกตามบาลีว่า ทันตา ทันตาในปาก ข้อนี้เข้าใจได้ง่ายคือว่า ถ้าอย่าไปเอาใจใส่กับฟัน ปล่อยไว้ไม่ดูแลรักษาแล้วก็จะแสดงความน่าเกลียดอย่างยิ่ง เดี๋ยวนี้เรามาพิจารณาโดยอาการทั้งห้าแล้ว ว่ารูปร่างของสีฟันนี้น่าเกลียด สีสันวรรณะของสีฟันนี้ก็น่าเกลียด กลิ่นของฟันนี้ก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของฟันนี้ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานสำหรับเขี้ยวสำหรับบดนี้ก็น่าเกลียด มันไม่ควรจะหลงว่าฟันนั้นเป็นของงาม เพียงแต่รักษาให้สะอาดก็พอแล้ว อย่ายาสีฟันถูฟันเพื่อความงาม ใช้ให้ทำเพียงสะอาดก็พอแล้ว สมัยก่อนก็ใช้ง่ายๆ ใช้ใช้แต่กิ่งไม้เล็กๆ เคี้ยวหรือถู สมัยนี้ใช้ยาถูฟันกระทำขึ้นทำให้ฟันขาวเป็นเงามีกลิ่นหอมไกล มันเพิ่มความโง่ มันเพิ่มความโง่ เพิ่มความหลง เพิ่มความเสียเวลา ถ้าใช้ไม้สีฟันอย่างแบบของโบราณได้ก็เป็นการดี หรือว่าเอานิ้วถูเกลือถูก็พอ นี่จะเรียกว่ามันไม่โง่ในเรื่องทำให้ฟันสวยงาม
เรื่องสุดท้าย หนัง เรียกโดยภาษาบาลีว่า ตโจ คือหนังผิวหนังทั่วไปทั้งตัว เป็นที่ตั้งแห่งการ ตบแต่ง ลูบทา ขัดสี ยอม...(นาทีที่ 34.39) ก็หลงใหลกันใหญ่ และยังเป็นที่รับสัมผัสทางกามอารมณ์ด้วยผิวหนังนี่ มาพิจารณากันเสียใหม่ว่ามันน่าเกลียด ผิวหนังนี่รูปร่างก็น่าเกลียด สีสันวรรณะก็น่าเกลียด กลิ่นก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกก็น่าเกลียด หน้าที่การงานหุ้มห่อร่างกาย ปิดบังของสกปรก เป็นที่ไหลเข้าไหลออกแห่งเหงื่อไคลและความร้อนความหนาว ก็เห็นว่าน่าเกลียด ทีนี้ก็หยุดกันที เรื่องใครจะประเทืองผิวหนังนี่ ที่ว่าหลงใหลในเรื่องผิวหนังสวยให้หยุดกันที เธอคิดดูนะ มันหายโง่ไปเท่าไร มันมีความเปลี่ยนแปลงในจิตใจเท่าไร ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ จิตใจเปลี่ยนแปลงเท่าไร ความเปลี่ยนแปลงเท่านี้ คือความเพียงพอที่จะนุ่งผ้ากาสายะ ถ้าเหมือนเดิมน่ะไม่ควร จะนุ่งห่มผ้ากาสายะเหล่านี้ ถ้าเปลี่ยนแปลงมาตามที่เราว่านี่แหละมันก็เหมาะสม พอสมที่จะได้นุ่งห่มผ้ากาสายะ
ดังนั้นท่านจึงมีการ โบราณ อาจารย์ทั้งหลาย ระเบียบ พระวินัยนี้ก็จึงมีให้ทำให้บอกตจปัญจกกัมมัฏฐาน แม้เพียงห้าประการก็จะเพียงพอ สำหรับให้ผู้บรรพชานั้นหยุดความหลงใหล ในเรื่องความสวยความงาม แล้วจะได้เป็นเครื่องมือเป็นหลักเกณฑ์ที่เป็นประจำตัว จะต่อสู้กิเลส ซึ่งจิตจะน้อมไปหาความสวยความงาม เรื่องเพศเรื่องอะไรอีก ในเมื่อมาบวชแล้ว มันจึงต้องรู้ไว้ เพื่อจะได้ป้องกัน ไม่ให้เกิด แต่ถ้าว่าได้เกิดขึ้นมาจะได้ต่อสู้จะได้ขับไล่ไป ให้จิตใจของเรายังคงเหมาะสมแก่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะไปตามเดิม นี่เรียกว่า กรรมฐานห้าประการ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งทุกคนรู้จักดี ทุกคนมีสติสัมปชัญญะรู้เอาเองว่าเรามันเคยหลง บัดนี้หลงอีกไม่ได้ ถ้าหลงก็ไม่เป็นบวชแหละ มันกลายเป็นบวชแต่เปลือกแหละ จิตใจมันไม่ได้บวช ไม่สำเร็จประโยชน์
ทีนี้ก็มี ระเบียบวินัยการตจปัญจกกัมมัฏฐานนี้ โดยภาษาบาลีอีกครั้งหนึ่ง มาทีละคน
ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ) นี้ตามลำดับ
นี้ทวนลำดับ ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา) จำได้ว่าอะไร
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) สามเที่ยวเรียบร้อย แสดงว่ามีความจำหรือมีสติสัมปชัญญะใช้ได้ แล้วเพื่อจะให้แน่นอนว่าเรามี ความจำดีมีความมั่นคงดี รู้สึกตัวดี และก็มีคำอธิบายเรื่องนี้อย่างที่พูดมาแล้ว เรื่องเห็นว่ามีความเหมาะสมแก่จะบรรพชา จึงทำการบรรพชาให้เธอ ให้มีความเจริญงอกงามในพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา สมตามความมุ่งหมาย ของการบรรพชาทุกประการ
...ถอยหลังไปจนกว่าจะพ้นนี่...
ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ) นี้ทวนลำดับ นี่อันนี้ตามลำดับ
ทีนี้ทวนลำดับ ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา) ว่าเลย
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) นี่สามเที่ยว เรียบร้อย ทั้งโดยตามลำดับและทวนลำดับ นี้แสดงว่ามีสติสัมปชัญญะดี ใจคออยู่กับเนื้อกับตัว ปกติดี ถ้าเธอจำได้มีสติสัมปชัญญะปกติดีในขณะนี้ ควรจะบรรพชาได้ เราจึงมีความยินดีของการบรรพชาให้เธอ ขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในบรรพชา ในศาสนาของพระศาสดา ตามความประสงค์
ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ) นี้เขาเรียกกันว่าไปตามลำดับ
นี้ทวนลำดับก็คือ ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา) จำได้ว่าอะไร
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อืม แสดงว่าจำได้ ไม่พร่ำเพ้อ ไม่งกๆ เงิ่นๆ มีสติสัมปชัญญะปกติดีในขณะนี้ เจ้าจะเข้าใจสิ่งทั้งปวงถูกต้อง เราจึงมีความยินดีทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้เธอเจริญงอกงาม ในศาสนาของสมเด็จพระศาสดา สมตามความประสงค์การบรรพชา
ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ)
ทวนลำดับคือ ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา) ลองว่าดู
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) เอาแหละพอไปได้น่ะ เรายินดีจะบรรพชาให้เธอ ขอให้มีความเจริญงอกงามในบรรพชา ในศาสนาของสมเด็จพระศาสดา ตามความประสงค์
ตั้งใจรับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ)
ทวนลำดับคือ ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา) จำได้ ลองว่าดู
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(โลมา เกสา) ไม่ถูกๆ (เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) ตั้งใจให้ดีว่าอีกทีให้เรียบร้อยที่สุด
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อือ มันอยู่แก่ตั้งใจ มันอยู่แก่ตั้งใจให้ปกติ แล้วมันก็ไม่ฟั่นเฟือน มันก็เรียบร้อยดี จำไว้นะทำอะไรก็ตั้งใจให้ดีที่สุด เอาละเราทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้มีความเจริญงอกงามในการบรรพชา ในศาสนาของสมเด็จพระศาสดา ตามความประสงค์เทอญ
รับตจปัญจกกัมมัฏฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกสา (เกสา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตโจ (ตโจ)
ทวนลำดับคือ ตโจ (ตโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกสา (เกสา) ลองว่าดู
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) อีกที
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา)
(เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา) มันทด มันทดสอบไอ้ความปกติของจิตใจ มีสติสัมปชัญญะอยู่กับเนื้อกับตัวหรือไม่ จึงให้ว่าโดยอนุโลมโดยปฏิโลม เอ้า,เข้ามาเรายินดีทำการบรรพชาให้เธอ ขอให้มีความเจริญงอกงามในบรรพชา ในศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา สมตามความประสงค์
(ฟังไม่ออก และไม่มีเนื้อความสำคัญ....) (นาทีที่ 49.38 – 53.25)
(บทสวด นาทีที่ 53.27 – 60.18)
เอ้า, คุกเข่าว่าไอ้อะหังภันเตนิสสะยังยาจามินี่ว่าพร้อมกัน
(บทสวด นาทีที่ 61:48-62.05)
เอ้า, รอไว้ก่อน ว่าทีละคน
(อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ)
ปฏิรูปัง (อามะ ภันเต สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต) กราบนั่งก่อน
ว่าเลยไม่ต้องรอ
(อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ)
ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต)
(อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ)
ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต)
(อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ)
ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต)
(อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ, อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ)
ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต), ปฏิรูปัง (สาธุ ภันเต)
คุกเข่าพร้อมกัน
(อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร, อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร, อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร)
กราบ เอ้า,นั่งๆๆๆ ฟังอีกนิดหน่อย เธอฟังให้เข้าใจเรื่อยไปแหละ ตั้งใจฟังอีกที ตั้งใจฟังอีกที นี่เขาเรียกว่าขอนิสัย คือการขอให้เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อมีการขอแล้วมีการรับแล้วก็ชื่อว่าเป็นผู้มีนิสัยแล้ว คือมีความเป็นอุปัชฌายะและความเป็น...(นาทีที่ 65:25) ดังนั้นเธอจงปฏิบัติวัตรต่ออุปัชฌายะและอุปัชฌายะก็ปฏิบัติวัตรต่อสัทธิวิหาริก มีรายละเอียดที่เราจะต้องเล่าเรียนศึกษาต่อไปในคัมภีร์ในตำรา แต่ถ้ารวมความแล้วก็มีสรุปความได้ว่า จะต้องเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร มัยหัง ภาโร นี่ คือว่าอุปัชฌายะเอาใจใส่ต่อเธอ เธอเอาใจใส่ต่ออุปัชฌายะ ในการที่จะดูแลสุขทุกข์ปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะเชื่อฟังและปฏิบัติตาม โดยมีหลักว่าจะต้องอยู่ในสายตาของอุปัชฌาย์ เพื่อจะช่วยป้องกันไม่ให้ทำผิด เพราะฉะนั้นเขาจึงไปบิณฑบาตร แม้แต่ไปบิณฑบาตรก็ไปด้วยอุปัชฌาย์ แต่ถ้าเมื่อทำไม่ได้ก็ไปด้วยผู้ที่อุปัชฌายะมอบหมาย ต่อไปนี้เธอจงอยู่ในสายตาของอุปัชฌาย์หรือผู้แก่อุปัชฌายะมอบหมาย ให้เขาได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือนได้ทุกเวลาทุกหนทุกแห่ง อย่า อย่าทำตนเป็นผู้เป็นอิสระ ต้องทำตนเป็นผู้อยู่ในการดูแลของอุปัชฌายะหรือผู้ที่อุปัชฌายะมอบหมายตลอดเวลา นี่เขาเรียกว่าการถือนิสัย บัดนี้ก็มีการถือนิสัยแล้ว มีความผูกพันธ์เป็นอุปัชฌายะและสัทธิวิหาริกแล้ว จะต้องมีอุปัชฌายะเสียก่อนจึงจะขออุปสมบทได้ ผู้ที่ไม่มีอุปัชฌายะนั้นขออุปสมบทไม่ได้ ไม่เป็นการขอ เพราะว่าอุปสมบทต้องมีอุปัชฌายะเป็นผู้รับรองชักนำ เวลานี้เราก็มีอุปัชฌายะแล้วพร้อมที่จะขออุปสมบทและทำการอุปสมบท แต่ที่นี่ทำไม่ได้เราไมได้สมบทเป็นสีมาจะต้องขึ้นไปทำบนภูเขา วันนี้เราไม่ได้เริ่มแรกบนภูเขาเพราะฝนมันตกจึงมาทำเสียที่นี่
เอาละเป็นอันว่าเสร็จนี้แล้วก็จะขึ้นไปบนภูเขาเพื่อสวดญัตติกรรมด้วยวาจา เอ้า, กราบอีกทีให้มันสิ้นสุดโครงการของการถือนิสัย ถ้ามีอะไรเลี้ยงพระจัดการเสียให้เสร็จ ของถวายพระก็ถวายเสร็จเอาบาตรไปตั้งข้างหน้าหันหน้าไปทางโน้น ให้เขาตักบาตรให้เสร็จ เอาไปเถอะบาตรของใครใครเอาไปไปนั่งข้างล่าง ไปนั่งข้างล่าง ไปนั่งข้างล่าง ไปนั่งข้างล่างหันหน้าไปทางโน้น ถวายเสร็จเลยให้พระให้พระใหม่ถวายเลย นั่นล่ะเอาไปนั่งก่อนที่โน่นก่อน นี่ของใครเหลืออยู่ใบนี่ ให้พระใหม่ถวายดีกว่าเรียบร้อยกว่า ให้พระใหม่เป็นผู้ถวายก็เรียบร้อยกว่า มาฝ่ายนี้บ้างได้ ๆ ๆ นี่ตรงนี้ว่างนี่ตรงนี้ได้ ให้เสร็จเรื่องนี้ไปเสียที
นาที่ที่ 71:00 - 78 ไม่มีเนื้อความสำคัญ มีบทสวดกรวดน้ำช่วง, ให้พรผู้บวช, ให้พรทายกทายิกา นาทีที่ 72 เป็นต้นไป