แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ให้ดัง ๆ หน่อย ว่าดัง ๆ หน่อย
(อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อุนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต,
อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ.
สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ.)
อือ เดี๋ยวๆๆ ว่าไปรอบที่สอง
(สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ.)
อือ พอแล้ว จะเอาสามหนหรือ
(สามหนครับ)
เออ เอา
(สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง กาสาวัง ทัตวา , ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ.)
เอ้า,เข้ามา ถ้าแบบนี้เขาห่มจีวรให้ก่อน ห่มอังสะให้ก่อน เข้ามาสิ แล้วนั่งพนมมือ นี่ตั้งใจฟังให้ดี ถ้าเข้าใจดีทำจิตใจให้ถูกต้องแล้วก็สำเร็จประโยชน์มากที่สุด เดี๋ยวนี้ก็ได้กล่าวคำขอบรรพชาเพื่อจะบรรพชาในพระพุทธศาสนา แล้วก็อ้างถึงข้อว่าจะทำให้แจ้งซึ่งนิพพานเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ทั้งปวง เธอรู้หรือเปล่าว่าคำนั้นเขาว่าอย่างนั้น สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ทั้งปวง เดี๋ยวนี้เราบวชเพื่ออะไร (เพื่อศึกษาธรรมะ) เพื่อศึกษาธรรมะ แล้วทำไมว่าเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานล่ะ ว่ายังไงกันแน่ ก็รู้นะที่ว่าตะกี้นั่นว่า สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานเป็นที่ออกจากทุกข์ทั้งปวง เดี๋ยวนี้เราบวชสองเดือนใช่ไหม (ครับ) เอานิพพานเล็ก ๆ นิพพานนิดหน่อย นิพพานก็แปลว่าเย็น เคยรู้บ้างหรือเปล่า นิพพานแปลว่าเย็น (ไม่เคยครับ) ก็รู้เสียสิ นิพพานแปลว่าเย็น ไอ้บวชของเธอนี้ต้องเย็น จึงจะไม่ขัดกับที่ว่าเราทำให้รู้แจ้งซึ่งพระนิพพาน แล้วต้องให้คนอื่นเย็นด้วย บิดามารดาให้ญาติทั้งหลายพลอยเย็นด้วย มันจึงจะตรงกับคำที่พูด มิฉะนั้นเป็นเรื่องน่าหัวเราะเล่นตลกแล้วก็หลอกเขา
บวชสองเดือนเพื่อศึกษาธรรมะ หมายถึงธรรมะอะไร เธอหมายถึงธรรมะอะไรที่ว่าบวชสองเดือนศึกษาธรรมะ ยังไม่รู้อีก เอ้า,ตั้งใจลงไปว่ายังไงบวชสองเดือนศึกษาธรรมะ ก็อย่างเดียวกันแหละ เรื่องเดียวกันแหละ ธรรมะก็เรื่องทำให้มันเย็น ดังนั้นศึกษาธรรมะช่วงสองเดือนนี้ก็ศึกษาเรื่องทำให้เย็น อย่าให้ไฟมันเกิดร้อนขึ้นมา แล้วไว้ค่อยศึกษากันต่อไปว่ามีอะไรบ้าง แล้วมันจะเย็นอย่างไร ถ้าทำกันจริง ๆ ก็พอจะรู้ แล้วก็ทำให้เย็นได้พอสมควรเหมือนกันแหละถึงแม้สองเดือนนี้ แล้วเอาไว้ประพฤติปฏิบัติต่อเมื่อลาสิกขาไปแล้วด้วยก็ยังได้ มันก็ได้ตลอดชีวิตไปเลย ถ้าเรายังจำไว้แล้วศึกษาและปฏิบัติเรื่อย ๆ ไปก็เย็นไปเรื่อย ๆ ถ้านิพพานโดยแท้จริงถึงที่สุดเป็นยังไง เธอรู้ไหม (ตาย) ว่าอย่างไรนะ ตาย บวชเพื่อตาย นั่นแหละไม่รู้ ไม่ต้องตาย นิพพาน ก็ตับกิเลสดับทุกข์ หมดจดสิ้นเชิงเป็นพระอรหันต์ ก็เรียกว่านิพพานโดยแท้จริง เป็นพระอรหันต์ไม่ต้องตาย แต่ว่าในที่สุดก็ตายแหละ นั่นมันเรื่องของร่างกาย ไม่ใช่เรื่องของนิพพาน เรื่องนิพพานนี้ไม่ต้องตาย ไม่รู้สึกว่าตาย ไม่มีใครตาย นั่นแหละมารู้เสียบ้างตอนนี้ก็ยังดี ดีกว่าไม่รู้เสียเลย ที่จริงควรจะศึกษาให้รู้กันมาเสียตั้งแต่วันแรก ๆ นะ เข้าใจอย่างนี้ เดี๋ยวนี้เอาเป็นว่าเรามันบวชช่วงสองเดือน นิพพานในที่นี้ก็หมายถึงเย็นพอประมาณ ไม่ถึงกับเป็นพระอรหันต์ แต่อย่าทำตัวเองให้ร้อน อย่าทำพ่อแม่ให้ร้อน อย่าทำใคร ๆ ให้ร้อน นั่นแหละพอได้นิพพานน้อย ๆ ในระดับน้อย ๆ ต้น ๆ บวชนี้เพื่อทำไอ้ข้อนี้ให้แจ้ง ข้อเดียวทำให้ใครไม่ร้อน นี่ข้อนี้จะต้องทำให้แจ้งต่อไปนี้
คนเรามันร้อนเพราะอะไร (เพราะมีกิเลส) เพราะมีกิเลส กิเลสอะไรบ้างล่ะ (อบายมุขทั้งห้า) อบายมุข อบายมุขทั้งห้า ทั้งห้าหรือทั้งหก นั่นก็ร้อนถูกแล้ว กิเลสก็หมายถึงอันอื่น ก็หมายถึง โลภะ โทสะ โมหะ เพราะโลภะ หรือเพราะโทสะ คนก็โง่ไปทำอบายมุขมันก็ร้อน รวมความแล้วทำผิดมันก็ร้อน เข้าใจไหม (เข้าใจครับ) ถ้าทำผิดแล้วมันก็ร้อนแหละ ไม่ว่าใครทำผิด ทางกาย ทางวาจา ทางจิต ทางความคิดนึกอะไรก็ร้อนทั้งนั้น ดังนั้นเราบวชนี้ก็เพื่อให้รู้ว่าทำอย่างไรไม่ผิด ทำอย่างไรจึงจะถูก มันก็ไม่ร้อน ไม่ใช่ทำพ่อแม่ให้ร้อน มันคืออะไร มันเป็นเพราะเหตุอะไร ส่วนที่ทำพ่อแม่ให้ร้อนมันมีอะไรบ้าง (มีโทสะ) โทสะของใคร (ของผม) เธอเคยมาแล้วเหรอ โทสะของผมนั้นมันก็เคยมาแล้วเหรอ หรือว่ายังไง โทสะอย่างเดียวเหรอ ที่ทำพ่อแม่ให้ร้อนนั่นมีอะไรบ้าง เอาเท่าที่มองเห็นก็ได้ หรือที่เป็นมาแล้วจริง ๆ ก็ได้ ก็เราต้องการทำให้คนเย็น ให้เราเย็น ให้คนอื่นเย็น ให้พ่อแม่เย็น เราก็ต้องรู้อะไรมันทำให้เราร้อน ทำให้พ่อแม่เขาพลอยร้อน คนอื่นเขาพลอยร้อน เอ้า,ตัดบทกันก็แล้วกัน เคยทำให้พ่อแม่ร้อนไหม (เคยครับ) อะไรบ้างล่ะ สรุปแล้วก็คือไม่เชื่อฟัง มันไปสรุปรวมอยู่ที่เราไม่เชื่อฟังแล้วก็ร้อนแหละหลายๆ อย่าง ดังนั้นบวชนี้ก็ต้องเรียนเพื่อให้รู้จักเชื่อฟัง ให้เป็นคนที่ดี ให้เป็น ถ้าเป็นเด็กเป็นเด็กที่ดี รู้จักเชื่อฟัง เราก็เย็น พ่อแม่ก็เย็น คนอื่นก็พลอยเย็น อย่าทำกิเลสใส่เขา นี่พอจะรู้ความประสงค์ของการบวชว่าบวชนี้ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน คือเย็น ก็ดับทุกข์ทุกชนิดได้
เมื่อตะกี้ก็บอกว่าขอบรรพชา และก็บอกว่าให้ช่วยรับเอาผ้ากาสายะนี้ทำการบรรพชาให้ แล้วก็ขอผ้ากาสายะนี้เพื่อทำบรรพชาให้ ทีนี้บรรพชาคืออะไรรู้หรือยัง (การบวชครับ) บวช ทำอะไรบ้าง การบวชนั่นก็มีความหมายว่า เว้น เว้นหมดจากไอ้ความเป็นฆราวาส ความเป็นฆราวาสคืออะไรนี่เธอรู้จัก รู้แล้วหรือ ฆราวาส (ไม่รู้) ไม่รู้ ฆราวาสคือคนอยู่ที่บ้าน อยู่อย่างที่บ้านเขาเรียกฆราวาส ทีนี้บรรพชาคือเว้นหมดจากความเป็นฆราวาส เดี๋ยวนี้เราก็จะไม่นุ่งห่มอย่างฆราวาส ไม่กินอยู่อย่างฆราวาส ไม่พูดจาอย่างฆราวาส ไม่กระทำทุกอย่างอย่างฆราวาส ไม่คิดนึก ก็ไม่คิดนึกอย่างฆราวาส เว้นจากความเป็นฆราวาสเสียนี้เขาเรียกว่าบรรพชา ดังนั้นแกก็ขอบรรพชา คือ ระเบียบที่เขามีว่าต้องปฏิบัติอย่างนี้ ๆ จึงจะเว้นหมดจากความเป็นฆราวาส ทีนี้รู้แล้วนะว่าฆราวาสคืออะไรนะ (คือคนที่อยู่ที่บ้าน) คนที่อยู่อย่างชาวบ้าน อยู่ตามบ้าน นั่นเขาเรียกฆราวาส เดี๋ยวนี้เราก็จะเป็นผู้ที่เว้นจากฆราวาส นี้ก็เป็นเรื่องเรียนเหมือนกันแหละ เรียนให้รู้ธรรมะนะ ฆราวาสอยู่ที่บ้าน บรรพชิตอยู่ที่วัด ทำอะไรต่างกัน ตรงกัน เราจะไม่ (นาทีที่ 14.48) ก็ต้องเว้นจากไอ้ระเบียบสิกขาบทต่าง ๆ ที่จะต้องเรียนต่อไปในเมื่อบวชแล้ว ในชั้นต้นนี้เอาแต่เพียงว่าเว้นจากความเป็นฆราวาสโดยสิ้นเชิง ทีนี้มันต้องลำบากบ้างนี่จะว่ายังไง (อดทน) ต้องอดทนนั่นถูกแล้ว ฉะนั้นเดี๋ยวนี้ก็เตรียมอดทนไว้นะ เตรียมอดทนไว้ล่วงหน้า บวชเข้าจะได้เป็นเณรที่ดี
ทีนี้บรรพชาแล้ว บวชแล้ว ต้องทำให้ได้อานิสงส์สามอย่าง อานิสงส์ที่หนึ่ง คือ เราผู้บวชจะได้เอง อานิสงส์ที่สอง คือ ญาติทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นจะพลอยได้ ในส่วนที่สาม ศาสนาพลอยได้ คือ มีสืบอายุศาสนาไว้ คนทั้งโลกก็จะพลอยได้เพราะว่ามันมีศาสนาอยู่ในโลก เธอเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยไหม ที่คนทั้งโลกมันจะพลอยได้ ฮึ,เป็นอะไรที่เล็กน้อยไหม ไอ้สิ่งที่ทำเป็นประโยชน์แก่คนทั้งโลกเป็นเรื่องเล็กน้อยไหม (ไม่ครับ) ไม่ ไม่เล็กน้อยใช่ไหม นี่พูดให้ได้ยินหน่อยสิพูดเบานักนี่ พูดดังหน่อยสิ ดังนั้นเราควรจะอดทนได้ เพราะมันไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย นี่เราผู้บวชได้คือเราจะต้องดีกว่าเมื่อยังไม่บวช หลายอย่างหลายประการ และบิดามารดาได้ ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาพลอยได้ เขาพลอยได้อะไร(บุญครับ) ได้บุญ บุญคือยังไง ได้ยังไง ฮึ,ลองว่ามาสักอย่างสองอย่างสิว่าได้บุญยังไง (บุญจากการบวชครับ) บุญจากการบวชของเธอนั่นแหละ แล้วพ่อแม่บิดามารดา ไอ้ญาติเขาพลอยได้นั่นเขาพลอยได้ยังไง ลองยกตัวอย่างมาสิ เช่นอะไรบ้าง รู้แต่ว่าบุญเฉย ๆ แต่พูดไม่เป็น แล้วบุญคืออะไร ถูกนะที่ว่าได้บุญนี้ถูกนะ แต่ว่าบุญคืออะไร ก็ต้องมองเห็นกันได้ ได้บำเพ็ญบุญหลาย ๆ อย่างนี้ถูกแล้ว แต่ที่เขามุ่งหมายนั้น เขาให้พ่อแม่มีความเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น คือ บิดามารดาเป็นผู้มั่นคงในพระศาสนามากขึ้น เพราะว่าลูกได้บวช ได้พอใจ ได้ยินดี ได้มีศรัทธาเพิ่มขึ้น แล้วก็มีอะไร ๆ เพิ่มขึ้นนี่ก็เรียกว่าญาติทั้งหลายก็พลอยได้รับประโยชน์ เพราะเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น นี่เราบวชอยู่ ก็มีการสืบอายุพระศาสนาอยู่เรื่อย ๆ ไม่ขาดตอน คนนั้นบวชที คนนี้บวชที สืบต่อกันไว้เรื่อย อย่าให้หายไปจากโลกนี้ ก็ได้บุญ ได้ผลได้อานิสงส์แก่คนทั้งโลกได้
ศาสนานั้นไม่ใช่สิ่งมีชีวิต หรือมีความรู้สึกอะไร แต่ถ้าเราบวชให้ดีให้เป็นประโยชน์แก่ศาสนา คือศาสนาจะได้อยู่ อยู่ก็เพื่อประโยชน์แก่คนในโลก สามข้อนี้ไม่พูดโดยละเอียด เดี๋ยวจะจำไม่ไหว เอาแต่ว่าเราก็ต้องได้ ญาติทั้งหลายก็ต้องได้ คนทั้งโลกก็ต้องได้ ได้ต่อเมื่อเรามันบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ไม่เหลวไหลนะ ถ้าเหลวไหลก็ไม่ได้ และก็ไม่ได้เลยทุกฝ่าย ฉะนั้นต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริงกัน เข้าใจไหมว่าจริง ๆ นี่คือทำยังไง(คือการทำให้จริงจัง) ทำให้จริงจัง นั่นเขาก็เรียกว่าจริง คำว่าจริงคือยังไงบ้าง คือให้มันถูกต้อง ให้มันถึงที่สุด และให้มันถูกต้อง ไม่บกพร่อง บวชแล้วไม่จริงก็มีอยู่มาก มาเรียนไม่จริง บวชไม่จริง ปฏิบัติไม่จริงก็มีอยู่มาก มันก็ไม่ได้อะไร นี่เราต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง สุดความสามารถเท่าที่เราจะทำได้เท่าไร เรามีเรี่ยวแรง มีสติปัญญาอะไรเท่าไร เราทำให้สุดความสามารถ ที่บวชนี้อุทิศ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นเหมือนกับเจ้าของพระศาสนา คือประกาศพระศาสนา เราชอบใจพระศาสนาจึงได้บวช พระธรรมคือศาสนา พระสงฆ์ก็คือผู้ที่สืบอายุพระศาสนา แต่ว่าทั้งหมดนั้นก็เพื่อมีจิตใจ สะอาด สว่าง สงบ ฉะนั้นถ้าอยากมีพระพุทธเจ้าจริง มีพระธรรมจริง มีพระสงฆ์จริง ก็ต้องทำใจให้สะอาด สว่าง สงบ จิตใจชนิดนั้นเขาเรียกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราอาจจะเอามาทำให้มีอยู่ในเราได้
พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลก็นิพพานไปเสียแล้ว เหลือแต่เป็นพระพุทธรูปในโบสถ์ ก็เอามาใส่ในจิตใจไว้ได้ เดี๋ยวนี้พระพุทธเจ้าแท้จริง คือการที่จิตมันสะอาด สว่าง สงบ เราทำให้มีในจิตใจของเราได้มากขึ้น ๆ นี่พระธรรมก็คืออย่างเดียวกัน ความที่จิตมันสะอาด สว่าง สงบ ความเป็นอย่างนั้นเรียกว่าพระธรรม ทีนี้พระสงฆ์ก็คือ คนทั้งหลายที่ได้ฟังพระพุทธเจ้าแล้ว ทำจิตใจให้เป็นอย่างนั้นได้แล้ว ทำสืบ ๆ ต่อกันมาโดยทางภายนอกนี่ยังมีอยู่ ดังนั้นเราทำจิตชนิดนั้นเราก็ชื่อว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฉะนั้นการบวชนี้มีโอกาสที่จะทำจิตให้เป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้มากกว่าเป็นฆราวาส เพราะความเป็นฆราวาสมันยุ่งนัก นี่ก็มาบวชเสียที ให้มีโอกาสทำจิตใจให้เป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้มากขึ้น ถ้าทำจิตใจได้อย่างนี้ ไอ้การบวชของเรามันก็จริง ฉะนั้นการบวชมันอยู่ที่ความมีจิตใจเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีความเมตตา กรุณา เพิ่มขึ้น ก่อนนี้เคยโมโหโทโสดุร้าย ตบตี ตบตีด่าว่าใครบ้างหรือเปล่า (เคยแต่ว่า เคยนินทาครับ) นั่นเธอต้องจำไว้นะ ก่อนนี้มันเคยทำ ต่อไปนี้มันทำไม่ได้ ต้องมีจิตใจที่เมตตา กรุณา โดยกาย โดยวาจา โดยใจ ต้องมีความเป็นพระอยู่ที่นั่น อย่ามีหน้าอัน (นาทีที่23.53) นี่พระบาลีเขาว่าอย่างนั้น มีหน้าอัน (นาทีที่ 23.56) เหมือนกับคนที่เป็น คนเกลียดชังอะไรอยู่ตลอดเวลานะ เหมือนจิตใจไม่สะอาด ไม่สว่าง ไม่สงบ เลย
เอาหละเดี๋ยวนี้เราก็รู้คำว่าบรรพชาคือไปหมดเว้นหมดจากฆราวาส เรารู้อานิสงส์ของบรรพชาที่เราก็ต้องได้ ญาติทั้งหลายก็ต้องได้ สัตว์โลกทั้งหลายก็ต้องได้ และรู้หัวใจของบรรพชา ซึ่งมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันแท้จริง อยู่ในจิตใจของเราคือ ความสะอาด สว่าง สงบ ก็เรียกว่าพอจะเข้าใจเรื่องบรรพชาแหละ การขอบรรพชานี้คงไม่ละเมอเพ้อฝัน และพอจะมองเห็นกันว่ามันเป็นอะไร เข้าใจไหม (เข้าใจครับ) บรรพชาคืออะไร (การบวชละเว้นจากฆราวาสครับ) อือ, แล้วละเว้นอะไรอีก อ้าว,ก็ลืมเสียแล้ว ก็ละทุกอย่างที่เขาต้องมีไว้ให้สามเณร ภิกษุ สามเณรจะต้องละอีกหลาย ๆ อย่างยิ่งๆ ขึ้นไป บรรพชาจริงแล้ว ได้ประโยชน์ ได้อานิสงค์ยังไง (ได้อานิสงค์ได้แก่ตัวเราเอง ญาติพี่น้อง และสัตว์โลก) ดี จับใจความได้ เธอยังจับใจความได้ครบถ้วน ทีนี้การบรรพชามันมีหัวใจของบรรพชาอยู่ที่ไหน (อยู่ที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครับ) ใจความสำคัญ ความหมายอันสำคัญ ของบรรพชาอยู่ที่ความมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ประจำใจ เมื่อเรามีอย่างนี้อยู่ประจำใจมันก็ทำง่ายสิ จะเว้นนั้นเว้นนี่ หรือว่าได้ประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ทำง่าย นั่นเรียกว่าพอเข้าใจเรื่องบรรพชา นี่เรื่องต่อไปเขาก็มีการบอกกรรมฐาน ๕ ประการ สำหรับจะใช้เป็นเครื่องซักฟอกจิตใจให้ไกลจากความเป็นฆราวาส เมื่อเป็นฆราวาสชอบสวยชอบงามหรือเปล่า (ชอบครับ) ชอบมากเหรอ (ครับ) แล้วเดี๋ยวนี้เป็นยังไง ก็ยังชอบอยู่สิ (เลิกแล้วครับ) เลิกยังไงได้ล่ะ ยังไม่ได้คิดนึกอะไรสักที เลิกยังไง เขาก็กำลังจะพูดเรื่องนี้แหละ แล้วต่อไปนี้เลิกโง่ ไปหลงรักสวยรักงาม ถ้าอย่างนั้นไม่เป็นการบวชหรอก ไม่เป็นบรรพชา มันยังเป็นฆราวาส ยังเหมือนฆราวาส ชอบสวยชอบงาม แต่งเนื้อแต่งตัว ชอบเพศตรงกันข้ามด้วยยิ่งมากเรื่องกันไป ดังนั้นอย่าเอาไว้เลยตอนนี้ เลิกคิดเรื่องสวยเรื่องงาม จะได้รู้ตามที่เป็นจริงว่ามันเป็นอย่างไร ในสิ่งต่าง ๆ ที่เราเคยทำให้มันงาม
ขอยกมาสำหรับบอกคนบวช คนที่จะบวชนี่ ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ผม อยู่บนศีรษะ ถ้าเป็นบาลีเขาเรียกว่า เกสา เราเคยทำให้มันสวยมันงามแล้วอวดคนอื่น แล้วก็ดูของคนอื่นที่มันงาม โง่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย เดี๋ยวนี้เขาให้รู้ให้ถูกต้อง ว่าที่แท้ตามธรรมชาตินั้นมันไม่งาม ไปประดับตกแต่งนั้นมันไม่ใช่ธรรมชาติ แล้วมันต้องโง่ ต้องทำใจว่ามันโง่ มันจึงจะรู้สึกว่างาม ถ้ารู้อยู่วันนี้เราไปแต่งมันนี่ เราไปทามันนี่ ก็รู้ว่ามันไม่งาม เดี๋ยวนี้ต้องแกล้งทำโง่ มันหอม มันงาม มันสวย ทีนี้เรามาดูกันสักหน่อยว่าตามธรรมชาตินั้นเป็นอย่างไร รูปร่างของเส้นผมตามธรรมชาตินี่ น่าเกลียด หรือไม่งาม เธอฟังถูกไหม รูปร่างของเส้นผมตามธรรมชาติ ไม่งาม เป็นเส้นดำ ๆ ยาว ๆ สีของมันก็ไม่งาม กลิ่นของมันก็ไม่งาม คือไม่ มันเป็นกลิ่นเหม็นตามธรรมชาติ แล้วมันงอกที่ไหน (งอกที่หัว) งอกบนหนังศีรษะ เลยงอกบนสิ่งที่ไม่งาม ทีนี้มันมีหน้าที่อยู่บนศีรษะนั่นเพื่อรับฝุ่นละออง เขาก็เรียกว่ามันไม่งาม เป็นอันว่าเรื่องผมนี้โดยธรรมชาติแล้วไม่งาม คนมันแกล้งทำโง่ ทำลืมเสียในข้อนี้ ประดับประดา ตกแต่ง ใส่สี ใส่กลิ่นอะไรเข้าไป เพราะฉะนั้นฆราวาสมันโง่กว่าคนบวชไอ้ข้อนี้แหละ ดังนั้นเราจะบวช เราต้องหยุด หยุดชนิดนั้นเสียที
ทีนี้สิ่งที่สอง เรียกว่า ขน อยู่ทั่ว ๆ ตัว พิจารณาอย่างเดียวกับ ผม ก็ได้เพียงแต่มันเล็กใหญ่กว่ากันเท่านั้น เพราะขนทั้งหลายนี่รูปร่างก็ไม่งาม สีสันวรรณะก็ไม่งาม กลิ่นก็ไม่งาม ที่เกิดที่งอกของมันก็ไม่งาม หน้าที่รับฝุ่นละอองทั่วไปทั้งตัว สำหรับทำให้เหงื่อเข้าออกนี้มันก็ไม่งาม สิ่งที่สามก็เรียกว่า เล็บ บาลีก็เรียกว่า นะขา เขาแต่งให้มันงาม มาตั้งแต่ครั้งหลายพันปีมาแล้วนู่นเขารู้จักแต่งเล็บ เดี๋ยวนี้ให้รู้ว่ามันไม่งาม รูปร่างของเล็บก็ไม่งาม สีสันของเล็บก็ไม่งาม กลิ่นของเล็บก็ไม่งาม ที่เกิดที่งอกของเล็บก็ไม่งาม หน้าที่ของเล็บก็ไม่งาม หน้าของเล็บคือทำอะไร เธอใช้เล็บทำอะไร เธอเคยใช้เล็บของเธอทำอะไร (ใช้แกะใช้เกาครับ) ใช้เกา ใช้ควัก พอเข้าใจได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องสวยงาม ทีนี้เรื่องที่สี่ก็ ฟัน ในปาก บาลีเรียกว่า ทันตา อันนี้ถ้าเปิดดูก็เข้าใจได้ทันทีว่าไม่งาม รูปร่างของฟันก็ไม่งาม สีของฟันก็ไม่งาม กลิ่นของฟันก็ไม่งาม ที่เกิดที่งอกของฟันก็ไม่งาม หน้าที่ของฟัน หน้าที่การงานของฟันสำหรับทำอะไร (เคี้ยวครับ) โดยเฉพาะ โดยตรงโดยเฉพาะคือเคี้ยว ไม่ใช่ไว้กัดคนใช่ไหม หน้าที่โดยตรงมันไว้เคี้ยว ก็เห็นว่าเป็นอย่างนั้นนะ เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงว่าฟันงาม
สุดท้าย หนัง ผิวหนังทั่วไปเลย ภาษาบาลีเขาเรียกว่า ตะโจ ว่าหนัง ให้พิจารณาอย่างเดียวกันอีก หนังมีอยู่ในทั่วไปทั้งตัว หุ้มห่ออยู่ทั่วไปทั้งตัว รูปร่างก็ไม่งาม สีสันก็ไม่งาม กลิ่นก็ไม่งาม ที่เกิดที่งอกก็ไม่งาม หน้าที่ของมันก็ไม่งาม หนังตัวไปทั้งตัวมีหน้าที่ยังไง ร่างกายนี้มีผิวหนังไว้ทำหน้าที่อย่างไง เดี๋ยวก่อน นี่เรียนม. อะไร (ม.ศ.สอง ครับ) ม.ศ.สอง ม.ศ.สอง ก็ต้องรู้แล้ว ในหนังสือสำหรับ ม.ศ.หนึ่ง ม.ศ.สอง เขามีเรื่องผิวหนังทำอะไร ไม่จำใช่ไหม ดูเอาเองก็ได้ ที่เข้าออกแห่งเหงื่อไคล แห่งความร้อน ที่รับฝุ่นละออง ก็มีของไอ้หนังเก่าเป็นหนังตายหลุดกร่อนออกมาเสมอ ก็เรียกว่าไม่งาม พอจะเข้าใจว่าทั้งห้าอย่างนี้ไม่งาม แล้วไปดูส่วนอื่นเถอะก็ล้วนแต่ไม่งาม นี้ก็เอามาแต่ที่เราจะเห็นได้ง่าย ๆ พอจะเข้าใจกันได้ง่าย ๆ ทุกคนว่ามันไม่งามแล้วเราก็เคยหลงกันว่างาม เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายก็ยังหลงกันว่ามันเป็นของงาม ให้สวย ให้งาม ให้หอม ให้อะไรต่าง ๆ นั้นเป็นความรู้สึกของฆราวาส เดี๋ยวนี้เป็นบรรพชิต ได้บรรพชาแล้วจะคิดอย่างนั้นไม่ได้
รับ ตจปัญจกกรรมฐาน นี้โดยภาษาบาลี คุกเข่าพนมมือ ว่าตามเรา เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ อย่างนี้เขาเรียกว่ากล่าวไปตามลำดับ ทีนี้เราจะกล่าวทวนลำดับ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา จำได้ไหม ลองว่าดู (เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา โลมา) เอ้า, เอาใหม่ ทวนลำดับ ตะโจ (ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา) เอาอีกเที่ยวหนึ่ง (เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา) อีกเที่ยวหนึ่งให้มันแน่นอน (เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา) ต้องให้ว่าถึงสามเที่ยวเพื่อว่าจำได้แน่นอน แล้วว่ามีจิตใจปกติดี ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระสับกระส่าย จึงว่าได้ถูกต้องทั้งตามลำดับ และทวนลำดับ เห็นใจคอปกติพอสมควร เอาละควรแก่การบรรพชาได้ ฉะนั้นเราจึงทำการบรรพชาให้แก่เธอ ในชั้นนี้ไปนุ่งห่มผ้ากาสายะ แล้วก็มารับสรณคมน์ที่หลัง นัดกันไปทางไหน เอ้า, เดินค่อย ๆ ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องรีบร้อนไปเลย
(วันทามิ ภันเต) ดัง ๆ (สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ติสะระนะ สีลานิ) ฮึ,ไม่ถูก ติสะระเณนะ (ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะ เม ภันเต,อะหัง ภันเต , ติสะระณะสีลัง ยาจามิ.ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต , ติสะระณะสีลัง ยาจามิ.) เอาใหม่ ๆ อะหัง ภันเต (อะหัง ภันเต ติสะระณะสีลัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระณะสังลัง ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระณะสีลัง ยาจามิ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ.)
ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ.
(อามะ ภันเต)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
(พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ)
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
(ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ)
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
(ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
(ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
(ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
(ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ)
เราจะว่าอย่างแบบมะการัน(นาทีที่39.34) ตามแบบนี้ของเขาด้วย
พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ (พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ)
ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ (ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ)
สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ (สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ (ทุติยัมปิ พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ (ทุติยัมปิ ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ (ทุติยัมปิ สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ (ตะติยัมปิ พุทธัม สะระณัม คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ (ตะติยัมปิ ธัมมัม สะระณัม คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ สังฆัม สะระณัม คัจฉามิ ติสะระระคะมะนัง นิฏฐิตัง
(อามะ ภันเต)
อือ เดี๋ยวนี้เป็นสามเณร โดยสมบูรณ์แล้ว รับสมาทานสิกขาบทต่อไปด้วย โดยว่าตามเราอีกครั้งหนึ่ง
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ )
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ )
ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคะหะณา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
(อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ)
กราบ เอ้า ถ้ามีน้ำ กรวดน้ำ เอาน้ำมา หือ มีไหม ดูสิ ถวายนี่ด้วยจิตเป็นสมาธิ นี่ทำการอุทิศแผ่สวนกุศลให้แก่บุคคล ที่ควรจะอุทิศ แล้วก็ขยายออกไปเรื่อย ๆ จนทั่วทั้งสากลจักรวาล ทีแรกนั้นคิดถึงญาติที่ใกล้ชิดที่สุด ที่ล่วงลับไปแล้ว ปู่ตาย่ายายอะไรก็ได้ แล้วก็ไกลออกไป ห่างออกไป ๆ จนกระทั่งญาติห่าง ๆ กระทั่งมิใช่ญาติ กระทั่งศัตรู กระทั่งสัตว์ทั้งหลาย เราทำไปในฐานะที่ว่าเราต้องนึกถึงสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นว่ามันเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อพระกำลังว่า ยะถา วาริวะหา นี่เราก็ทำการกรวดน้ำด้วยจิตอย่างนี้ พอเขาขึ้นบท สัพพีติโย แล้วก็เริ่มกรวดน้ำ พนมมือรับพร
ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา
จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา ฯ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
ตั้งจิตให้พรผู้บวช ให้พร ทายก ทายิกา