แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
กราบ แล้วพนมมือ
นั่งเข้ามาใกล้ ตั้งใจฟังให้ดี
การกระทำชนิดนี้สำเร็จประโยชน์ด้วยจิตใจ เมื่อเธอตั้งใจฟังให้ดี ทำในใจให้ดี ให้ถูกต้อง ให้ครบถ้วน ให้สำเร็จประโยชน์ในการบรรพชา นั่งให้สบายสะดวก อย่าให้เหน็บอย่าให้ขัด เดี๋ยวฟังไม่รู้เรื่อง เราจะบรรพชาเป็นสามเณร มันเป็นความคิดที่ดี พร้อมจะมีประโยชน์หลายอย่างหลายทาง นับตั้งแต่ว่าเป็นการศึกษา อะไรบางอย่างนะนี่ ถ้าเธอได้ทำได้ผ่านเป็นเป็นการศึกษา และก็จะได้ปฏิบัติ ให้ได้แบบบุญกุศล ต้องทำให้ดี ตั้งใจทำให้ดีก็จะได้ประโยชน์ในทุกๆ อย่างทุกๆ ทาง บัดนี้เธอได้กล่าวคำขอบรรพชา หลังจากได้ประกาศตนว่านับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ใคร่จะได้บรรพชาและก็ขอบรรพชา ต้องทำในใจให้ตรงกับคำพูด ที่ขอน่ะ ถ้าไม่ทราบคำแปลก็ต้องทราบเสียเดี๋ยวนี้ว่าเราได้ประกาศตัวว่านับถือพระรัตนตรัย ใคร่จะบรรพชาและขอบรรพชา ทุกๆ อย่างได้กล่าวถึงสามครั้ง นี่เป็นจุดเริ่มต้น ตั้งต้น เป็นการกระทำจริง ที่แท้จริง ไม่ใช่ทำเล่นๆ ทำในนามของศาสนา ทำเพื่อจะเอาบุญเอากุศลอันแท้จริงอันใหญ่หลวง นี่เธอก็ต้องทราบถึงข้อที่ว่าบรรพชา ขอไปนี่มันคืออะไร ที่ว่าเราขอระเบียบปฏิบัติ ที่ประเสริฐที่สุด ที่สำหรับมนุษย์จะปฏิบัติ เรียกว่าระเบียบของการบรรพชา ขอรับระเบียบนี้เพื่อจะเป็นการปฏิบัติตลอดเวลา เท่าที่กำหนดไว้ แม้ว่าชนิดคือเป็นเพียงสามเณร ทว่าเรายังไม่ทราบมาจะเป็นมากกว่านั้นได้ บรรพชานี้ก็เรียกว่าเว้นหมดจากความเป็นฆราวาส นั่นเรียกว่ามีจะต้องถือว่าเราเว้นจากความเป็นฆราวาสเว้นทุกอย่าง แบบนื้เขาใช้คำว่าสละ สละบิดามารดาสละญาติ สละทรัพย์สมบัติ สละทุกอย่างเพื่อออกบรรพชา
ครั้นแล้วก็เว้นจากความเป็นฆราวาสทุกอย่าง จะไม่พูดไม่คิดไม่ทำกิริยาท่าทางไม่ใฝ่ฝันอย่างฆราวาสอีกต่อไป ระหว่างที่บรรพชานี้ โดยปักใจ ตั้งใจแน่วแน่ ตั้งแต่บัดนี้ว่าต่อไปนี้ระหว่างที่บรรพชานี้จะไม่ทำอะไรอย่างฆราวาส การคิดการนึกการพูดจาการกินการอยู่ การนุ่งการห่ม ทุกอย่างทุกประการจะไม่ทำอย่างฆราวาส ถึงจะลำบากก็ต้องอดทน มันถึงจะเป็นบรรพชาขึ้นมาได้ซึ่งเธอจะต้องอธิษฐานจิตให้เฉียบขาดลงไป ว่าตลอดเวลานี้ จะทำให้ดีที่สุด อย่าเพียงแต่ว่าโกนหัวแล้วห่มจีวรแล้วก็จะ แซด ๆ พอ ยิ่งไปเล่นหัวกับเด็กยิ่งไปทำอะไรอย่างที่ว่าเด็กๆ อย่างฆราวาส มันไม่เป็นบรรพชา มีอีกอย่างว่าที่ต้องเว้นในระเบียบ สิกขาบท อะไรต่าง ๆ ที่วางไว้สำหรับผู้เข้าบรรพชาจะต้องถือ ข้อนี้ต้องรีบศึกษา มันไม่ใช่เพียงแต่ศีลสิบข้อ มันมีอย่างอื่นด้วย นี่ก็เว้นตามสิกขาบทด้วย เว้นจากเพศฆราวาสโดยสิ้นเชิงด้วยเขาเรียกว่าบรรพชา แปลว่าบวช นี่บรรพชานี้ทำเพื่อให้ขูดเกลา เขาเรียกว่ากิเลสตัณหา คือขูดเกลาสิ่งที่ไม่ควรจะมีในตนให้ออกไปเสีย มันต้องอดทนนะ เพราะเรามันเคยเล่นเคยหัวเคยกินเคยนี่ พอไปเว้นนี้มันเจ็บปวด มันอยากจะทำ ไม่ได้ทำ มันเจ็บปวด นี่เราต้องอดทน ต้องอาศัยความอดทน บรรพชาจึงจะอยู่ได้เพราะบรรพชามันเป็นเช่นนี้เอง คือมันขูดเกลาซึ่งเธอไม่ต้องกลัวไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องเสียดาย อย่าเสียดายว่าจะไม่ได้เล่นได้หัวนะ นี่ก็ต้องต้องไม่เสียดาย ก็ต้องสละมัน มันก็ต้องไม่ไม่กลัวว่ามันจะลำบากไม่ต้องกลัว ก็ตั้งใจจะได้สิ่งที่ดีกว่าเลยไม่ต้องกลัว
บรรพชาเป็นสิ่งขูดเกลา มันต้องเจ็บปวดบ้าง ก็มีอานิสงส์อันมากมาย เราควรจะต้องทราบอานิสงส์ของบรรพชาบ้างตามสมควร ที่เวลาจะอำนวยให้ เมื่อเธอบวชนี้อย่างน้อยต้องให้ได้อานิสงส์ซักสามประการ สาม สามประเภทนะ คืออานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ตัวเธอเองประเภทหนึ่ง อานิสงส์ที่จะได้แก่ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้นประเภทหนึ่ง และอานิสงส์ที่จะได้แก่ส่วนรวม ที่จะได้แก่ศาสนาเป็นส่วนรวม จะพลอยเป็นประโยชน์ไปถึงเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นส่วนรวม ให้มันใหญ่ออกไป ใหญ่ออกไป ข้อที่หนึ่งได้แก่เราผู้บวชคนหนึ่ง ข้อที่สองได้แก่ญาติทั้งหลายมีบิดามารดาเป็นต้น ข้อที่สามต้องได้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงและได้กับพระศาสนานั้นเองด้วย คือสืบอายุพระศาสนาให้ยืนยาวนะ ข้อที่หนึ่งที่ว่าเธอเองผู้บวชจะพึงได้นี่มันหมายความว่า ต่อเมื่อเธอจะต้องพยายามบวชให้จริง เรียนให้จริง ปฏิบัติให้จริง ให้ได้ผลตามการบวชจริงๆ จึงจะได้รับอานิสงส์ส่วนตัว ให้บวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงให้มันเปลี่ยนแปลงหมด ไอ้ความเหลวไหลโลเลได้เปลี่ยนแปลงหมด 9.29 แต่ถ้าไม่บวชจริงมันก็ยังมีไอ้สิ่งแต่ แต่เดิมก็ยังมี แต่ถ้าว่าบวชจริงมันขูดเกลาของมันเอง มันถึงจะโลเลเหลาะแหละลอกแลกแล้วมันขูดเกลาออกไป ความไม่อดกลั้นอดทน ความเห็นแก่กิเลสนี่ก็หมดไป มีจิตใจประเสริฐเกิดขึ้นมา ชนิดหนึ่ง จิตใจ ก็มันสูงก็มันดี ก็สะอาด ก็สว่าง ก็สงบ อย่างน้อยในระหว่างนี้ก็ขอให้ได้อานิสงส์นี้แหละ ในระหว่างที่บวชให้สูงสุดแหละ แล้วมันจะเหลือติดไป เมื่อสึกแล้วมันก็ยังมีอยู่อีกประเภทหนึ่ง มันดีกว่าไม่บวชแหละ
นี่บางคนก็บวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริง ได้ผลจริง จะได้ตั้งแต่ยังบวชอยู่ และได้แม้ว่าสึกออกไป เป็นคนขอให้มันเหมาะสมไปทุกๆประการ นี่เอาเท่านี้ก็พอแล้ว ส่วนตัวเราผู้บวช และนี่ประเภทที่สองบวชเพื่อให้ได้อานิสงส์แก่ญาติมีบิดามารดาเป็นต้น นี่ก็เรียกว่าบวชสนองคุณ แทนพระคุณของผู้มีพระคุณ การแทนคุณนั้นมีได้หลายอย่างแต่ว่าไม่ประเสริฐเท่ากับว่าทำบุคคลนั้นให้ได้บุญ ให้ได้กุศล ให้ได้สัมมาทิฐิ ให้ได้ศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป นี่ก็เธอต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง เอาล่ะก็พ่อแม่เป็นต้นจะได้รับอานิสงส์ คือมีศรัทธา มีความเลื่อมใส มีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบในพระพุทธศาสนาให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป ฉะนั้นถ้าเห็นแก่พ่อแม่จะตั้งใจสนองคุณพ่อแม่และญาติทั้งหลายแล้วต้องเอาจริง ต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริงตลอดเวลา ให้มันเกิดอานิสงส์ขึ้นมาจริงๆ นี่เป็นการได้ที่ดีที่สุดในการแทนคุณผู้มีบุญคุณแทนคุณอย่างอื่นก็ยังมีแต่ไม่ดีเท่าไม่สูงเท่าการทำให้พ่อแม่เป็นญาติในพระศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป เราอาจจะแทนคุณพ่อแม่ด้วยการให้เงินให้ของเลี้ยงดูให้เมื่อยามเฒ่ายามแก่ อย่างโน้นและอีกหลายอย่าง แต่ว่าการแทนคุณนั้นไม่เท่าการทำให้พ่อแม่เป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้นไป นี่เธอเป็นเครื่องดึงญาติทั้งหลายให้มาหาศาสนา ให้เป็นญาติในพระศาสนา ให้ยิ่งขึ้นไป คือรู้พระศาสนาและยิ่งขึ้นไป เข้าถึงพระศาสนายิ่งขึ้นไป นี่ก็ให้บวชจริงเรียนจริงเพื่ออานิสงส์อันนี้ด้วย
นี้อานิสงส์ประเภทที่สาม นี่ก็บวชสืบอายุพระศาสนา ถ้าไม่มีไม่มีใครบวชต่อ ๆ ๆ ๆ กันศาสนามันหมด มันจึงมีคนบวชแล้วเรียน แล้วปฏิบัติแล้วสอนต่อๆ กันมาศาสนาจึงยังอยู่ ดังนั้นเราถึงแม้จะบวชไม่กี่วันกี่เดือนก็เถอะ ถ้าทำจริงเรียนจริง มันก็เป็นการสืบอายุพระศาสนา ชั่วเวลาแค่เราบวชโดยตรงนะ ก็เรียกว่าสึกไปแล้วเราก็ยังรู้จักปฏิบัติซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ศาสนาช่วยสืบอายุพระศาสนา ตามประสาฆราวาสยังได้อีกส่วนหนึ่ง แต่มันไม่มากเท่าเมื่อเราบวชอยู่ นี่เมื่อเราบวช เราก็เรียนศาสนา ปฏิบัติศาสนา แนะนำสั่งสอนผู้อื่นในทางศาสนา นี่ก็จะสืบอายุพระศาสนา การบวชของเธอจึงมีประโยชน์แก่ศาสนาด้วยคือสืบอายุพระศาสนา ตลอดเวลาแค่บวช กระทั่งเวลาที่สึกไปแล้วก็ยังรู้จักทำตามหน้าที่ของตนของตน ทีนี้เมื่อศาสนายังอยู่ ในโลกนี้ โลกนี้ก็มีความสงบสุข สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้มีความสงบสุขเพราะมีศาสนา ดังนั้นการบวชสืบอายุพระศาสนาของเราจึงว่ามีประโยชน์มีผลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยเหตุนี้ ถ้านึกได้อย่างนี้แล้วก็จะยินดี มีปิติมีปราโมทย์ มีปิติปราโมทย์เป็นบุญเป็นกุศล ไม่มีความทุกข์ ทีนี้จะรู้ประโยชน์ของการบวชพอสมควรแล้วก็ให้รู้จักว่า การบวชจะมั่นคงนี่เพราะว่าเรามันรู้จักยึดถือสิ่งที่เป็นที่ตั้งของการบวช มั่นคงที่ตั้งของการบวชนี่คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราบวชตามพระพุทธ เราปฏิบัติธรรมตามพระธรรม เราทำตัวอย่าง ทำตามอย่างพระสงฆ์ ถ้าทำได้จริงก็จะมีอะไรเหมือนๆ กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีใจความสำคัญอยู่ที่ความสะอาด ความสว่าง ความสงบของจิตใจ
เมื่อเธอทำความสะอาดสว่างสงบไว้ในจิตใจ ก็เธอมีความ มีพระพุทธ มีพระธรรม มีพระสงฆ์อยู่ในใจ เรามีสิ่งนี้อยู่ในใจ มันก็มั่นคง มันมีความมั่นคง บรรพชามีหลักสำหรับเกาะสำหรับยึดแล้วมันก็มั่นคง พยายามตลอดเวลาให้มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในความหมายนี้อยู่ในใจตลอดเวลา นี่ก็เรียกว่าวัตถุที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชา เราต้องรู้เรื่องบรรพชา เรื่องอานิสงส์ของบรรพชา เรื่องวัตถุที่ตั้งที่อาศัยของบรรพชา ให้แจ่มแจ้งพอสมควรถึงจะเหมาะแก่การที่จะบวช ทีนี้ก็มีเรื่องก็จะให้บอก “ตจปัญจกกรรมฐาน” แล้วผู้ก็จะบวชก็จะได้ละความเป็นฆราวาสได้จริงยิ่งขึ้นไปอีก จึงนิยมให้บอกกรรมฐานห้าประการคือผม เรื่องผม เรื่องขน เรื่องเล็บ เรื่องฟัน เรื่องหนัง สักห้าประการก็พอ คือให้รู้ว่าสิ่งที่มนุษย์เคยหลงใหลกันนัก บัดนี้เราจะไม่หลงแล้ว ไม่หลงใหลแล้ว
ผม เกศา เรียกว่าเรียว เกศาเคยเป็นที่ตั้ง ความหลงใหล ใครเป็นฆราวาสเรียกว่าคนฆราวาสทั่วไปก็หลงใหล เราเห็นในความเป็นความเป็นปฏิกูล ดูเส้นผมแล้วพิจารณาเห็นเป็นปฏิกูล รูปร่างก็ปฏิกูล สีสันวรรณะก็ปฏิกูล ที่เกิดที่อาศัยก็ปฏิกูล หน้าที่การงานของมันก็อยู่บนศรีษสำหรับรับฝุ่นละอองก็ปฏิกูล ล้วนแต่ปฏิกูล มันก็จึงไม่หลงไม่โง่ว่าจะมีผมงาม ตั้งใจว่าต้องทำผมให้งาม ก็เรียกว่าละความหลงใหลแต่กาลก่อนในเรื่องผมเสียได้
ขน เรียกว่าโลมานี่ก็เหมือนกันผิดกันแต่มันอยู่ตามตัวพิจารณาเหมือนกัน ยังมีเล็บ เรียกว่า ๆ นขา เราไปเห็นเป็นของสวยก็ชอบให้มันสวย ก็ดูให้ดี ให้เห็นเป็นปฏิกูล รูปร่างของมันก็ปฏิกูล สีของมันก็ปฏิกูล กลิ่นของมันก็ปฏิกูล ที่เกิดที่งอกของมันก็ปฏิกูล ที่อยู่ปลายนิ้วนี่มีหน้าที่การงาน ต้องกวักต้องเกานี่ก็ปฏิกูล
ฟัน นี่ก็เรียกว่าทันตา นี่ก็ปฏิกูล ส่องกระจกแล้วฟันเปิดปากออกดู มันจะน่าเกลียดน่าชังทุกประการ รูปร่างน่าเกลียดสีสันน่าเกลียด มีกลิ่นน่าเกลียด ที่เกิดที่งอกมันก็น่าเกลียด หน้าที่การงานเคี้ยวบดนี่ก็น่าเกลียด เลิกหลงใหลว่าฟันมันสวยกันสักที บวช บวชเป็นเณรแล้วนี่ไม่ไปหลงใหลเรื่องฟันสวย อะไรสวย นี่
ก็มีสุดท้ายเรื่องหนังน่ะ บาลีเรียกว่าตะโจ ผิวหนังทั่วไปทั้งตัว ก็ต้องทำการ ลอกล้วงคือขัดล้างออก อาบทาอะไรอย่างอื่น ให้มันกลบความเป็นปฏิกูล แต่โดยเนื้อแท้ตามธรรมชาติมันเป็นของปฏิกูลคือน่าเกลียดน่าชัง รูปร่างของผิวหนังก็น่าเกลียด สีสันของหนังนี่ก็น่าเกลียด กลิ่นของหนังก็น่าเกลียด ที่เกิดที่งอกของผิวของเนื้อนี่ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานสำหรับระบายเหงื่อระบายขี้ไคล รับฝุ่นละอองมันก็น่าเกลียด แล้วก็ยังเป็นที่ตั้งแห่งความสัมผัสทางกามารมณ์ยิ่งกว่าสิ่งใดๆ นี่ก็ยิ่งอันตราย มันเลยหลงยึดหลงยุด หลงใหลในสิ่งที่เป็นของน่าเกลียดและอันตรายกันเสียที ถ้ามองเห็นข้อนี้จิตใจของเรามันก็เบื่อหน่ายในเพศฆราวาส มันอยากจะบรรพชามันก็จริง ทีนี้ให้มีการรับกรรมฐานนี้โดยภาษาบาลี แค่ตั้งใจรับกรรมฐานด้วยภาษาบาลีให้ดีอีกครั้งหนึ่ง ผู้เข้าตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐานโดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้
เกศา (เกศา) โลมา (โลมา) นขา (นขา) ทันตา (ทันตา) ตะโจ (ตะโจ)
นี้ก็เรียกว่าว่าไปตามลำดับ นี่ก็อีกอย่างก็ทวนลำดับ
ตะโจ (ตะโจ) ทันตา (ทันตา) นขา (นขา) โลมา (โลมา) เกศา (เกศา)
ถ้าจำได้ลองว่าดู
(โยมว่า : เกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกศา)
มันไม่ใช่จะต้องการให้รู้ว่าจำได้อย่างเดียว ต้องการจะรู้ว่าใจคอปกติหรือไม่ ถ้าใจคอปกติมันก็ว่าได้ดี ว่าได้ถูกต้องมันไม่ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ นี่ก็แสดงว่าใจคอปกติ จึงเหมาะสมสำหรับการบรรพชา เราพิจารณาดูแล้วเห็นว่าเธอก็มีความเหมาะสม สำหรับจะบรรพชาแน่ ดังนั้นจึงยินดีต้องการบรรพชาให้เธอ ด้วยการแก่จะห่มจีวรอันแรกง่ายๆ เข้ามาให้มีความเจริญงอกงามในศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา สมดังประสงค์มุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการเทอญ
นะโมตัสสะ พระคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ (โยมสวดตามสามจบ)
พุทธธังสะระณัง คัจฉามิ (พุทธธังสะระณัง คัจฉามิ)
ธรรมมังสะระณัง คัจฉามิ (ธรรมมังสะระณัง คัจฉามิ)
สังฆังสะระณัง คัจฉามิ (สังฆังสะระณัง คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ พุทธธังสะระณัง คัจฉามิ (พุทธธังสะระณัง คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ ธรรมมังสะระณัง คัจฉามิ (ธรรมมังสะระณัง คัจฉามิ)
ทุติยัมปิ สังฆังสะระณัง คัจฉามิ (สังฆังสะระณัง คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ พุทธธังสะระณัง คัจฉามิ (พุทธธังสะระณัง คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ ธรรมมังสะระณัง คัจฉามิ (ธรรมมังสะระณัง คัจฉามิ)
ตะติยัมปิ สังฆังสะระณัง คัจฉามิ (สังฆังสะระณัง คัจฉามิ)
สะระณะคะมาณัง นิฉิตัง (อามะภัณเต)
มีความเป็นสามเณรนี้แล้วและก็รับสรณคมน์ เธอจงจำไว้ว่าเราเป็นสามเณรแล้ว เมื่อเวลา ๑๕.๒๐ น. สิบห้านาฬิกายี่สิบนาที จำไว้ด้วย ทีนี้ก็ถือโอกาสรับสิกขาบทด้วยเสียเลย ตั้งใจรับสิกขาบทสิบประการต่อไป
ปาณาติปาตา เวระมณี
อะทินนาทานา เวระมณี
อะพรัหมะจริยา เวระมณี
มุสาวาทา เวระมณี
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี
วิกาละโภชะนา เวระมณี
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมณี
มาลาคันธะวิเลปะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมณี
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี
ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมณี
(สมาทานสามครั้ง) กราบ
ก็จะให้พร เธอได้ตั้งใจเพื่อการบรรพชาในพระพุทธศาสนา ด้วยเจตนาก็ดี ก็เรียกว่าเป็นกุศลอันแรงกล้า และก็ขอให้ ขอให้ ระมัดระวัง ตั้งใจทำให้ดีที่สุดนะ ให้เณรนี่วางตรงหน้านี้ เหมือนได้กล่าวมาแล้วนี้ว่าเราจะต้องบวชจริงเรียนจริงปฏิบัติจริงให้ได้ผลจริง แล้วพยายามทำในใจจึงขอแค่ว่า อะไรมันหลอกลวงมันไม่จริง เช่นความหลงใหลในความงามต่างๆ มันไม่จริง พึงระลึกนึกให้ได้ถึงความจริงที่ว่ามันเป็นปฏิกูล และนี่มันจะช่วยให้จิตใจมันปกติอยู่ได้ ให้สำเร็จประโยชน์ในการได้อานิสงส์ แก่ตัวเองแก่ญาติทั้งหลาย และแก่ศาสนาและส่วนรวม ทีนี้ตามธรรมเนียมของพุทธบริษัท ทำอะไรก็ต้องนึกถึงสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง นี่เรามันได้บรรพชาได้ประกอบการกุศลอย่างสูงอันหนึ่งแล้ว ให้นึกถึงสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเพราะฉะนั้นต้องกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงให้เขารู้กับคำอนุโมธนาของพระ ให้กำลังอนุโมธนา เรียกว่า ยถา วาริวหา นี่ละ เธอทำในใจอุทิศส่วนกุศลให้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตามลำดับ เหมือนฝนตกลงมาในที่สูงมันไหลไปตามลำดับ ให้บุญกุศลของเราถึงแก่บิดามารดาให้ญาติใกล้ชิดเป็นต้น และญาติห่างๆ และไม่ใช่ญาติ ศัตรูคู่เวรสัตว์ทั้งหลายในสากลจักรวาล ตั้งใจอยู่นั่นแหละกรวดน้ำ
นี่เวลาเขาว่ายถาก่อนถึงว่าสัพพี แล้วก็ตั้งใจกรวดน้ำ แล้วก็รินน้ำให้เป็นสายเล็กที่สุดและมันมีสติ สัมปชัญญะ ใจคอปกติ เป็นสมาธิดี เมื่อทำอย่างนั้น เมื่อเป็นสมาธิแล้ว อุทิศส่วนกุศลนั่นย่อมจะดีกว่าที่ว่าทำด้วยจิตสงสาร แล้วก็กล่าวว่า ยถาวาริวหา แล้วเธอก็พยายาม จับแก้วขึ้นรินน้ำกรวดในใจนึกอุทิศส่วนกุศลแก่สัตว์ทั้งหลายตามวิธีที่เราว่าแล้วนี้ เอาละเตรียมตัวนะ
(ยถาวารีวหา ปุราปาริปุเรณติสาคะรัง เอวะ เมวะ อิธโตทินนัง เปตานัง อุปปะกัมปะติ อิชชิตัง ปะติทัง ตุมหัง ขิปปะเมวะชะนิชันตุ สัพเพ ปาเรนขุสังขะปา จันโทปะนะระโสยะถา มะนิโชติระโสยะถา …)
นี่จะให้พรเธอโดยตรง (สวดให้พร)
นี่ให้พรญาติโยมทั้งหลายด้วย (สวดให้พร)