แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ตัวเล็กมานี่ มานั่งตรงนี้ ที่ว่างตรงนี้มี เมื่อวานใครยังจำได้ ธรรมะที่ต้องปฏิบัติส่วนตน ๔ อย่างใครจำได้ ใครจำได้บ้าง อันนี้ต้องแล้วแต่คนอื่นใช่ไหม คนอื่นยกมือเราก็จะยกมือด้วย ไม่ต้องยกตามคนอื่น คนนี้ละจำได้ไหม นั่งให้ตรงนั่งให้ตัวตรง นั่งแบบนี้เขาเรียกว่า นั่งขี้เกียจ นั่งไม่บังคับตัวเอง จำได้ไหม ได้หรือไม่ได้บอกไปเลย "ไม่ได้" คนนี้ละ "ไม่ได้ครับ" ตัวเล็กนี้ละ "ได้ครับ" อะไร "สัจจะ คมะ ขันติ จาคะ" คมะ นี่ไม่ถูก ทมะ ต้องสะกดด้วย ท สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ นี่ทั้งหมดเพื่อประโยชน์ภายในของเรา ประโยชน์ภายนอกเพื่อสังคม ใครจำได้ ภายนอก ๔ อย่างใครจำได้ ถ้าเราจะเอาจริง เรากลับไปแล้วเราต้องจด กลับไปถึงที่พักแล้วก็จดแล้วมันก็จะเป็นโอกาสให้จำได้ แต่นี่ไม่สนใจ ขี้เกียจจะจดจำ ในที่สุดการศึกษาก็ต้องจดต้องจำให้มันอยู่ กับเรา เธอเคยได้ยินคำว่า สุ จิ ปุ ลิ ใครเคยได้ยินคำนี้ ใครเคยได้ยิน เขาถือกันมาตั้งแต่โบราณก่อนพุทธกาล ทั้งหมดนี้ไม่มีใครเคยได้ยินเลยนะ เธอคนนี้เคยได้ยินคำนี้ไหม "ได้ยินแว่วๆ ไม่รู้ว่าอะไรครับ" สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว เว้นจาก สุ จิ ปุ ลิ แล้ว จะเป็นบัณฑิตกันได้อย่างไรโว้ย นี่เขาหมายถึงการเล่าเรียน บัณฑิตแห่งการเล่าเรียน ใครเดาได้ว่า สุ จิ ปุ ลิ มีความหมายว่าอย่างไร ใครได้ยกมือ ไม่ใช่นักศึกษา ไม่ใช่นักเรียน ไม่ใช่ผู้ที่จะฝึกฝนตนเอง
สุ ย่อมาจาก สุตะ แปลว่า ได้ฟัง สิ่งที่เราได้ฟัง
จิ ย่อมาจาก จินตะ แปลว่า คิด สิ่งที่เราได้คิด
ปุ ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า ถาม สิ่งที่เราได้ถาม
ลิ ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า สิ่งที่เราได้เขียน คือ จด
ฟัง คิด ถาม จด เขียนไว้ในหัวใจเรียกว่าจำ เขียนไว้ในกระดาษเรียกว่าจด เมื่อวานได้ฟังธรรมะ ๔ อย่างสองหมวด ใครจะได้คิดบ้างก็ยังไม่แน่ ใครคิดบ้างเมื่อวาน ๔ อย่างสำหรับเราและสำหรับผู้อื่น ใครคิดบ้าง ถ้ายกมือหันหน้ามาทางนี้ คิดเมื่อไร เราไม่สนใจจะคิดหรอก จำ จำ แล้วก็ลืม ไม่มีใครถามเลย ไม่มีใครซักถามเลย ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นคนโง่ ไม่ได้ซักถามเรื่องที่พูดเมื่อวานเลย ถ้ามีปัญญาก็จะต้องถาม ถามในเรื่องที่ฟัง ฟังแล้วคิดก็จะมีแง่ให้ถาม ไม่เข้าใจก็ถาม เข้าใจไม่พอ ก็ถาม แล้วก็ถามด้วยเหตุอย่างอื่นก็มี คนหลับในมันไม่ได้คิด มันหลับใน นั่งฟังยังหลับใน มันไม่ได้คิด ก็เลยไม่มีอะไรจะถาม ก็เลยไม่ได้ถาม พูดถึงจำมันก็ผ่านไปผ่านมา ผิวเผินแล้วก็ลืม กลับไปถึงที่พักก็ไม่ได้จด ใน ๔ ข้อ เมื่อวานสองหมวด ใครกลับไปที่พักเมื่อวานแล้วจดบ้าง สมุดนี่ถือมา อวดกัน บางคนก็ไม่มีด้วยซ้ำไป จะบอกคำบอก คนที่มีกระดาษจด
สุ จิ ปุ ลิ วินิตมุตโต
กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว
นี่อวดดี ไปเขียนลงหนังสือจีน แล้วจะเขียนคำแปลไว้ตรงไหน บรรทัดที่ ๑ ข้างใต้เขียนคำแปลว่า "เว้นจากฟัง คิด ถาม จำ ดีแล้ว" เขียนใต้คำบาลี บรรทัดที่ ๒ว่า "จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไรกันโว้ย" อย่างน้อยจำอันนี้ไว้ก็ยังดี นึกถึงบ่อยๆ ร้องตะโกนบ่อยๆว่า "เว้นจากฟัง คิด ถาม จำ ดีแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไรกันโว้ย" พอจะเข้าโรงเรียน ค่อยว่าคาถานี้ พอเลิกโรงเรียนกลับวัด กลับบ้านก็ว่าคาถานี้อีก กลับไปถึงที่อยู่ก็จะได้คิดได้จดอีกครั้งหนึ่ง ทำการบ้านก็เหมือนกัน ต้องฟัง ต้องคิด ต้องถาม ต้องจำ เขารอดตัวกันมาได้โดยวิธีนี้ตั้งแต่โบราณ คนสมัยนี้มันโง่ มันอวดดี มันว่าของคนโบราณเต่าล้านปี มันก็ไม่เคยจะฟัง ไม่เคยจะสนใจ คำสอนของคนโบราณมันจำได้แค่ ผิวเผิน คนปัจจุบันเรียนอะไรเรียนอย่างผิวเผิน ไม่เรียนแบบฝังรกฝังรากเหมือนคนโบราณ เธออ่านของเธอดังๆ อ่านเลยจะได้ไม่เสียเวลา "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว เว้นจากฟัง คิด ถาม จำ ดีแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไรกันโว้ย" พอจะเข้าโรงเรียน..." ไม่ ไม่ ไม่ต้องอธิบาย ไม่ใช่ตัวบท ตัวบทที่ต้องจำมีคำบาลี ๒ บรรทัด คำแปล ๒ บรรทัด คนสมัยก่อน สมัยอาจารย์ของอาจารย์กว่าจะลงมือเรียน กว่าจะเข้าห้องเรียน หรือจะไปเรียนก็ต้องว่าคาถาเหมือนกัน "มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ" ขอให้วาณีนางฟ้า ซึ่งเกิดจากดอกบัวคือพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งมุนี เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลาย จงผูกมัดจิตใจของข้าพเจ้าไว้ให้ยินดี เรียนบาลี เรียนพระไตรปิฎก รักจะเรียน จนจัดให้สิ่งที่เรียนนั้นเป็นนางฟ้า นางฟ้าใครๆก็รู้จัก ในฐานะที่ชอบกันมากที่สุดก็อยากจะให้การเรียนนั้นเป็นนางฟ้า คนจะได้รักมาก จะได้เรียนจริง ถ้าเธอรักการเรียนรักความรู้ เธอต้องจำได้ นี่พิสูจน์แล้วเมื่อวานเธอมันไม่จำ เธอไม่ได้ชอบ เธอไม่ได้รักการศึกษาอย่างกับคนที่รักนางฟ้า เขาอยากจะได้นางฟ้า ความรู้ บาลีคือพระธรรม เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหมาย ธรรมะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เราอยากจะเรียน เราอยากจะรู้ เราอยากจะเอามาเป็นที่พึ่ง เราจึงมาทำความตกลงใจ มาผูกพันจิตใจของข้าพเจ้าให้หลงใหลยินดี เราก็จะเรียนอยู่ตลอดเวลา เราก็จะเรียนสนุก คนชนิดนี้เท่านั้นก็จะทำ สุ จิ ปุ ลิ ได้จริง โดยทำความรู้ให้เหมือนนางฟ้าที่เราอยากจะได้ อยากจะเรียนให้สำเร็จ สุ จิ ปุ ลิ มันฟังดีที่สุด แล้วก็คิดละเอียดลออ มีเรื่องเราก็ต้องถาม ได้ความดีแล้วเราก็จดจำไว้เลย จำไว้ในใจดีที่สุด ถ้าจำในใจไม่ได้ก็จดไว้ในกระดาษ สงสัยต้องการเมื่อไรก็จะได้เอามาดู พูดให้สั้นเหลือ ๔ พยางค์ "ฟัง คิด ถาม จำ" "ฟัง คิด ถาม จำ" "ฟัง คิด ถาม จำ" "ฟัง คิด ถาม จำ" ใครจำได้ คนนี้จำไม่ได้ตามเคย ๔ คำ จำได้หรือไม่ได้ "ฟัง คิด ถาม จำ" อย่านั่งพิง ขี้เกียจ นั่งตรง เขยิบออกมาข้างนอกอีก นั่งพิง เอน นอน เป็นคนขี้เกียจ แสดงถึงความขี้เกียจ คนนี้นั่งให้ตรงๆ ไหนใครจำได้ ๔ คำ ไม่กล้ายกมือต้องดูคนอื่นก่อน ๔ คำอะไรบ้าง "ฟัง คิด ถาม จำ" ดังๆ พูดใหม่ช้าๆ "ฟัง คิด ถาม จำ" ไม่ได้ยิน เอาใหม่ "ฟัง คิด ถาม จำ" ถูกไหม ฟังคือฟังด้วยหู คิดคือ คิดจากหัวใจ จากสมอง ถามก็คือ ปาก ใจ จำก็คือหัวใจ จิตใจ จิตใจจำได้ถ้าจำไม่ได้ก็จดในกระดาษ ฟัง คิด ถาม จด คำเดิม ลิขิต นั่นแปลว่าจด แต่คำแปลคือ จดไว้ในหัวใจก็ได้ จดไว้ในกระดาษก็ได้ สมัยโบราณเขาไม่ได้มีกระดาษไม่ได้มีหนังสือ ไม่ได้เรียนหนังสือ ก็เลยจดไว้ในหัวใจ เมื่อวานพิสูจน์แล้วว่าเธอไม่ได้ฟังให้ดี ไม่ได้คิดตามให้ดี ไม่ได้ถามเลย เมื่อวานไม่มีใครถามเลย เพราะอะไรจึงไม่มีใครถามเลยเมื่อวาน เพราะอะไร "ไม่ได้คิดครับ" ไม่ได้คิด ไม่ได้คิดจึงไม่มีปัญหาจะถาม แล้วเพราะอะไรจึงไม่ได้คิด "เพราะฟังไม่ดีครับ" ไล่กันไปเรื่อยๆ ฟังไม่ดีจึงไม่ได้คิด เพราะไม่ได้คิดจึงไม่ได้ถาม ไม่ได้ถามมันก็ไม่รู้เรื่อง มันก็ไม่ได้จด ไม่ได้จำ เอาละ ตั้งต้นกันเสียใหม่ ฟัง คิด ถาม จำ วันนี้ฟังดี...หรือเปล่า ฟังดีแล้วเหรอ หรือฟังแบบเมื่อวาน…… เข้ามา ดึงเข้ามา ดึงอาสนะเข้ามา เราไม่ต้องการให้เธอนอน ดึงมาข้างหน้ามานั่งข้างหน้า ถ้าฟังดีก็จะรู้ว่าเรากำลังพูดเรื่องอะไร ใครตอบได้ว่าเรากำลังพูดเรื่องอะไร "กำลังพูดเรื่อง การฟัง การคิด การถาม การจำ ครับ" ดีแล้ว ถูกแล้ว แต่เป็นรายละเอียดเกินไป ลองสรุปความ ใครตอบได้ว่าเรากำลังพูดเรื่องอะไร ใครตอบได้บ้าง เรากำลังพูดเรื่องการเป็นบัณฑิต การที่จะเป็นบัณฑิตเป็นได้เพราะสาเหตุอะไร เธอลองตอบดู เป็นบัณฑิตได้เพราะสาเหตุอะไร "ฟัง คิด ถาม จำ ครับ" นั่นแหละ ตัวเล็กคนนี้ ตอบถูก เป็นบัณฑิตได้เพราะ ฟัง คิด ถาม จำ เป็นบัณฑิตนั้นคือเป็นอะไร ใครตอบได้ยกมือ ลองตอบดูว่าเป็นอะไร "เป็นผู้มีความรู้มากครับ" นั่นแหละ คือเป็นผู้ที่ฟัง คิด ถาม จำ นั่นคือผู้ที่มีความรู้มาก บัณฑิตถ้าแปลตามตัวหนังสือนั้นจะแปลว่าผู้ที่มีความเอาตัวรอด มีปัญญาเอาตัวรอดได้ ที่นั่งอยู่ตรงนี้ใครมีบ้าง ใครมีปัญญาเอาตัวรอดได้แล้ว ใครมีแล้วยกมือ ใครยังไม่มี ใครอยาก จะมี ใครไม่อยากจะมี ใครไม่อยากจะมีนั่งหลับไปละกัน อยากจะมีปัญญาเพื่อเอาตัวรอด เราจึงมาบวชเณร อยากจะเรียนหนังสือ อยากจะเรียนในโรงเรียน ยังไม่เอาตัวรอด การศึกษายัง ไม่สมบูรณ์ เราจึงมาบวชเรียนเรียนเพิ่มเติมให้การศึกษาสมบูรณ์ มีปัญญาสามารถเอาตัวรอดได้ รู้จักทำมาหากิน รอดแต่ชีวิต แต่จิตใจไม่รอด จิตใจยังเป็นทุกข์ ต้องรู้จักทำจิตใจให้ดี ทำจิตใจให้เก่งกล้าสามารถ ไม่รู้จักเป็นทุกข์ จึงจะเรียกว่ารอดสมบูรณ์ ร่างกายก็รอด จิตใจก็รอด หากว่าเราเรียนถูกต้องครบถ้วน เราก็จะมีความรู้ที่เราพูดกันเมื่อวาน นั่นแหละที่พูดเมื่อวานคือการเอา ตัวรอด ถ้าเรามีปัญญาก็จะเอาตัวรอดได้ เรามีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ทำตัวเราให้มันรอด เรา มี ทาน ปิยะวาจา สมานัตตา อัตถจริยา ทำให้เพื่อนของเรารอดไปด้วย ทั้งเราและเพื่อน เขาเรียกว่ารอดโดยสมบูรณ์ มันต้องฟัง คิด ถาม จำ เรื่องที่พูดกันเมื่อวานเรื่อยไปเลย ตลอดชีวิต สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ต้องพูดกันเรื่อยไปเลย ทำสุ จิ ปุ ลิ เรื่อยๆไปเลย ทาน ปิยะวาจา สมานัตตา อัตถจริยา นี่ก็ต้องทำเรื่อยๆเหมือนกัน เราฟังว่าจะทำสัจจะอย่างไร ฟังศึกษาเรื่อยไป คิดเรื่อยไป ถ้าสงสัยก็ไปถามคนที่เขารู้ แต่คิดเองให้ดีก่อน คิดไม่ออกจริงๆค่อยไปถามคนอื่น อย่าชอบถามมาก แต่หากไม่รู้จริงๆแล้วยังไม่ถาม ขี้เกียจถามก็มี เพราะกลัวจะแสดงโง่ ให้เขาเห็นว่าเราโง่ ไม่รู้อะไรเลย ไม่อยากจะถามก็มี เขาเรียกว่ามันอมภูมิ ภูมิโง่ อมไว้ไม่ยอมแสดงออกมา เราก็ถาม ไม่ต้องกลัว บางทีเรากลัวเขาจะหาว่าโง่ บางครั้งก็กลัวอาจารย์ กลัวอย่างไม่มีเหตุผล ก็ไม่อยาก จะถามเพราะกลัว ความกลัวนี่เป็นความโง่ สัจจะ ความจริง เราก็พูดไปแล้ว สอบถามดูว่าใครจำ ได้บ้าง สัจจะความจริงนี่คือจริงอะไรบ้าง ใครตอบได้ว่าจริงอะไรบ้าง ที่เราได้พูดกันไปเมื่อวาน จริงต่ออะไรบ้าง "ต่อการกระทำครับ" กระทำอะไร ถ้าใครยังนึกได้เราได้พูดไว้ว่าจริงต่อความเป็นสามเณรของเรา เราได้พูดหรือไม่ได้พูดเมื่อวาน ใครได้ยินว่าเราพูดว่าจริงต่อความเป็นสามเณร คนนั้นไม่ฟังมันนั่งหลับ เราพูดนะเมื่อวาน มีพยาน มีคนได้ฟังนอกนั้นมันไม่ได้ฟัง จริงต่อความเป็นสามเณรของเราคือเป็นสามเณรให้ถูกต้อง เป็นสามเณรให้จริง ถ้าเป็นสามเณรไม่จริงมันจะกลายเป็นอะไรใครตอบได้ "ตอบได้ครับ" เป็นอะไร "เป็นสามลิงครับ" ถ้าเป็นสามเณรไม่จริงมันก็จะเป็นสามลิง จำไว้นะ เป็นสามเณรไม่จริง ก็ได้เป็นสามลิง ดุ๊กดิ๊ก ดุ๊กดิ๊ก นั่งตาปรือ เหมือนกับลิงเวลาไม่ทำอะไรก็จะนั่งตาปรือ ใครเคยเห็นลิงนั่งหลับตาปรือบ้าง นั่นแหละ มันนั่งหลับตาปรือ มันไม่ฟัง มันไม่ ได้ยิน ก็เลยจำไม่ได้ เราเป็นสามเณรจริง จริงต่อความเป็นสามเณรก็ถูกต้องหมดแล้ว แล้วมันก็จริงทุกอย่างเลย จริงต่อเพื่อนฝูง จริงต่อคำพูด จริงต่อเวลา จริงต่อหน้าที่ จริงทุกอย่างเลย เป็นสามเณรที่จริง อันนี้ต้องฟังให้ดี ฟังให้เข้าใจกว่าเมื่อวานนะ ให้เข้าใจสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ให้จริงกว่าเมื่อวาน นั่งตรงๆ ไม่ให้นั่งพิง ต้องฝึกให้มีทมะ บังคับตัวเองบังคับได้ ไม่ต้องคล้อยไปตามความขี้เกียจ ไม่สบายเราต้องอดทน เมื่อเราไม่ได้ทำตามที่เราต้องการก็ดี ไม่ได้ทำให้สนุกหรือถูกบังคับไม่ให้สนุก เราก็ต้องเจ็บปวดในใจเราก็ต้องอดทน เหมือนกับเราบวช ถ้าเราทำจริงก็ต้องอดทนตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ต้องใช้ความอดทนตลอดเวลา ใครรู้สึกบ้างระหว่างบวชเราต้องใช้ความอดทนตลอดเวลา ใครรู้สึกบ้าง ใครรู้สึกว่าไม่ต้องใช้ความอดทน ต้องดูคนอื่น ถ้าคนอื่นยกมือเราก็ยกมือ นี่มันไม่ใช้ความรู้ของเรานะ ใครว่าต้องใช้ความอดทนนิดหน่อย ใครว่าต้องใช้ความอดทนมากที่สุด คนที่ต้องใช้ความอดทนนิดหน่อยนั่นแหละหมายความว่าต้องใช้ความอดทนนิดหน่อยเลยไม่ค่อยจะสำเร็จ ความอดทนมันก็ลำบาก มันก็ต้องลำบากในการอดทน มันก็ต้องเจ็บปวดบ้าง เราก็ต้องอดทน ทำการทำงานให้ได้ผลก็ต้องอดทนมาก เล่าเรียนให้สำเร็จก็ต้องอดทนมาก อยากจะให้ดีก็ต้องอดทนมาก อดทนละความชั่วมาก มันก็จะได้ดี สิ่งที่ จะทำให้ดี ให้หาย ให้สบาย ให้เป็นสุขนั้น เราเห็นว่ามันต้องผ่านความอดทนมาทั้งนั้น ใครเคยเห็นอะไรบ้างที่ได้ผลดีโดยที่ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องอดทน มีอะไรบ้างในโลกนี้จะได้ดี ได้สบาย ได้พ้นทุกข์ได้โดยไม่ต้องมีความลำบากหรืออดทน การงานทุกอย่างจะต้องอดทนจึงจะได้ผลของการงาน กินยารักษาโรค โดยส่วนมากมันก็ขม เหม็นหรือว่าเผ็ด ยามันก็ไม่อร่อยแต่เราก็ต้องกิน ต้องอดทนกิน แล้วมันก็ได้ผลคือหาย หายจากโรค ใครเคยดื้อไม่ยอมกินยา ยกมือหน่อย เมื่อตอนเด็กๆใครดื้อไม่ยอมกินยา โง่หรือฉลาด "โง่" โง่ยังไง รู้จักว่าขม รู้จักว่าไม่กิน นี่แสดงว่าฉลาดโง่ ฉลาดที่จะโง่ เธอนึกถึงตอนเด็กเราไม่ค่อยจะยอมทำแม้แต่กินยา หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดีมีประโยชน์ เรามันยังโง่ แล้วใครยังจะเก็บความโง่นี้ไว้อีกตลอดไป การรักษาโรคเหมือนกับผ่าตัดนี่มันต้องเจ็บปวดมาก เรายังต้องอดทน ในอนาคตเราต้องทำอะไรอีกมาก เราต้องอดทน เราต้องมีความอดทน แก้ความยากจนด้วยความอดทน อยากมีความสุขความสบายต้องอดทน ในเบื้องต้นก็ยังต้องสอนให้อดทนถึงจะได้ความสบาย คนมันโง่ มีไม้วางอยู่เขายกเหวี่ยงไปข้างหนึ่ง ไม่ใช่ลากไปลากมา ถ้าลากไปลากมามันจะหนัก ถ้ายกด้านใดด้านหนึ่งแล้วเหวี่ยงไปมันก็จะเบา ความโง่จะทำให้เหนื่อยมากเกินจำเป็น จริงหรือไม่จริง ถ้ามันโง่มันก็จะเหนื่อยมากเกินจำเป็น ถ้ามันฉลาดมัน ก็จะไม่เหนื่อยมาก ถ้าจำเป็นมันก็อาจจะเหนื่อยบ้างหรือเหนื่อยน้อย เราจึงไม่ควรจะโง่ ถ้าไม่โง่ ก็ต้องพยายามเป็นอะไร เป็นอะไร "เป็นอรหันต์" โอ้ว สุดยอดเลย เธอละถ้าไม่อยากจะโง่เป็นอะไร "มีปัญญาครับ" ถูกแล้ว เป็นคนไม่โง่ เป็นคนฉลาด เป็นคนมีปัญญา เขาเรียกว่าเป็นบัณฑิต เพิ่งพูดไปเมื่อสองสามนาทีที่แล้วเอง ก็ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นบัณฑิต เป็นบัณฑิตต้องไม่โง่ มีปัญญารักษา เอาตัวรอดได้ เรียนให้สำเร็จประโยชน์ ให้แก้ปัญหาของตนเองได้ เป็นบัณฑิตต้องทำอย่างไร ใครตอบได้ ถ้าเป็นบัณฑิต ต้องทำอย่างไร "ฟัง คิด ถาม จำ ครับ" เราต้องพูดให้ติดปาก ฟัง คิด ถาม จำ ฟัง คิด ถาม จำ นี่เป็นเครื่องมือสำหรับการเป็นบัณฑิต ธรรมมะสำหรับเป็นบัณฑิต วิธีที่จะเป็นบัณฑิต ตลอดเวลาที่บวชเณรก็มีเครื่องที่ทำให้เป็นบัณฑิตไหม เรามี ฟัง คิด ถาม จำ ตลอดเวลาที่บวชเณรด้วยไหม ใครตอบได้ มีหรือไม่มี ใครว่ามี ใครว่าไม่มี ไม่มีเพราะสาเหตุอะไร เพราะอาจารย์ไม่สอน หรือเพราะเธอไม่ทำ เราต้องคิดว่าอาจารย์ต้องสอนต้องอบรม แต่เธอ ไม่สนใจ ไม่ฟัง ไม่คิด ไม่ชอบคิด แล้วก็ไม่ชอบถาม ขี้เกียจถามแค่เพราะว่ากลัว กลัวครูกันไปหมด และก็ไม่จำนี่แหละ พูดเมื่อวานนี่ยังไม่จำ จำไม่ได้ คราวนี้เราต้องพูดให้ติดปาก ตื่นนอนขึ้นมาแล้วให้นึกถึงข้อนี้ สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว ถ้าเราตื่นนอนแล้วนึกถึงข้อนี้ พอเข้าห้องเรียนก็พูดถึงข้อนี้ เลิกเรียนก็พูดถึงข้อนี้ ก่อนนอนก็พูดถึงข้อนี้ สุ จิ ปุ ลิ ก็เคยสำเร็จประโยชน์มาเลย เขาเลยเอามาสอน ประกาศนียบัตรของนักเรียนรุ่นก่อนๆ จะมีดวงตราทรงกลมพิมพ์ไว้ตรงส่วนบนของประกาศนียบัตร และมีตัวหนังสือเหล่านี้อยู่รอบวงกลม สุ จิ ปุ ลิ วินิ มุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว ให้นักเรียนดู ให้นักเรียนนึกได้ จะได้ขยันเรียน นักเรียนรุ่นก่อนๆจะพูดคำนี้ได้ทั้งนั้น แต่นักเรียนสมัยนี้เราไม่รู้ว่าเขาพิมพ์ข้อความนี้ไว้สำหรับประกาศนียบัตรหรือเปล่า ใครจำได้แล้วคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้เป็นบัณฑิต ใครจำได้ยกมือ ยกมือสูงๆ สี่คน ลองตอบดู ไม่ต้องดูที่จด "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" ถูกหรือไม่ถูก ที่พูดมาคิดว่าถูกไหม คนนี้ละ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" ถูกหรือยัง คิดว่าที่ตอบมาถูกไหม เธอลองตอบดู "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" ไม่ถูกเลยสักคน สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว ต้องท่องเป็นคำกลอน ดูที่จดแล้วพูดใหม่ ใกล้จะหมดเวลาแล้ว อย่าให้ผิดนะ คำคำเดียวอย่าพูด ให้ผิด ตรวจสอบดูว่าเขียนถูกไหม สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว เว้นจากฟัง คิด ถาม จำ เสียแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไรกันโว้ย ใครจำได้ยกมือขึ้น มีคนเดียวเหรอ ใครจำได้อีกบ้าง พรุ่งนี้ต้องจำให้ได้หมด เรื่องสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ต้องจำได้ เรื่องทาน ปิยะวาจา สมานัตตา อัตถจริยา ต้องจำให้ได้ สุ จิ ปุ ลิ ฟัง คิด ถาม จำ ต้องจำให้ได้ พรุ่งนี้มาพูดกันอีกถ้าพรุ่งนี้เรามาเจอกันอีก เราต้องจำได้ เด็กจะฉลาดฟัง ๓ รอบก็จำได้ เด็กจะไม่ฉลาดได้ยิน ๑๐ รอบ จำไม่ได้ เด็กโง่ฟัง ๒๐ รอบก็จำไม่ได้ เด็กโง่ของโง่ฟัง ๑๐๐ รอบก็จำไม่ได้ ใครจะสามารถพูดให้ฟังถึง ๑๐๐ รอบได้ ต้องตั้งใจฟังให้ดี คอยเงี่ยหูฟังให้ดี คอยกำหนดจดจำให้ดี ใครจำได้ ยกมือขึ้น ต้องไม่ดูหนังสือ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส บณฺฑิโต ภเว" นี่เค้าเรียกว่ายังไม่ถูกต้อง เราต้องอ่านออกเสียงว่า ปณฺ ปณฺฑิโต สะกดด้วย ป คือ สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว ต่อไปใครจำได้ยกมือ เธอตอบ๓ ครั้งแล้ว ลองตอบดู "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส บณฺฑิโต ภเว" ไม่ใช่ บณฺ ต้อง ปณฺฑิโต ภเว เรามันฟังหยาบ จำหยาบ พูดหยาบ มันจึงไม่ละเอียด มันจึงผิดๆ คนที่พูดอะไรหยาบๆทำอะไรหยาบๆ จะพูดนะโมก็ยังพูดไม่ได้ คนนี้ลองพูด นะโมดู "นะโม ธัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" นะโม ธัสสะ มันผิดแล้ว คนอื่นใครพูดได้ลองดู "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" ถูกแล้ว "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" ลงท้ายด้วย ธัสสะนะ ไม่ใช่ ตัสสะ คนนี้ลองพูดอีกครั้ง "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทตัสสะ" ยังไม่ถูก ลงท้ายต้องธัสสะ ที่ถูกคือ "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ" น่าขันหรือไม่น่าขัน แค่นะโมยังพูดกันไม่ได้ ใครจำได้แล้ว สุ จิ ปุ ลิ ใครจำได้ยกมือ คนเดียว สองคน เสียเวลาเป็นชั่วโมง เรื่องนิดเดียวยังจำไม่ได้ เขาเรียกว่า หัวขี้เลื่อย ในสมองมีแต่ ขี้เลื่อย ลองพูดดู "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺติโต ภเว" ปณฺติโต ยังไม่ถูก ใครได้อีก "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กขัง โส ปณฺฑิโต ภเว" กขัง ถูกหรือไม่ถูก ยังไม่ถูกนั่งลงๆ ใครได้อีกยกมือ กถัง ไม่ใช่ กหัง กถังแปลว่าอย่างไร โส แปลว่าเขาผู้นั้น ปณฺฑิโต เป็นบัณฑิต ภเว แปลว่าจะพึงเป็น ให้เวลาอีกสองนาที ใครจำได้แล้วยกมือสูงๆ มีคนเดียว คนนั้นลองพูดดู "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" คำไหนที่มักพูดผิดให้พูดช้าๆ ดังๆ ให้ชินปาก ใครจำได้อีกบ้าง "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" กี่ครั้งถึงจะพูดได้ถูกต้อง พูดผิดห้าถึงหกครั้งถึงจะพูดได้ถูกต้อง มันไม่ชอบ มันไม่รักที่จะจำ ลองพูดพร้อมๆกันเลย "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" ลองอีกครั้ง "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" ไม่เอา ไม่เรียบร้อย พูดใหม่อีกครั้ง "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว" ก็ยังมีบางคนพูดผิดอยู่ ไปฝึกพูดเอาเอง แก้ไขด้วยตนเอง พรุ่งนี้ต้องพูดให้ได้ ให้ฟังอีกครั้งหนึ่งแล้วไปฝึกพูดดู ฟังให้ดีๆ สุ แปลว่าฟัง จิ แปลว่า คิด ปุ แปลว่า ถาม ลิ แปลว่า จด วินิมุตโต แปลว่า เว้นขาดแล้ว สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต แปลว่า เว้นขาดแล้วจากการคิด ถาม จำ กถัง แปลว่า อย่างไรโว้ย โส แปลว่า เขาผู้นั้น ปณฺฑิโต แปลว่า เป็นบัณฑิต ภเว แปลว่า จะพึงเป็น ถ้าพูดผิด เขาบอกว่าบาป เพราะจะทำให้มันผิด เธอต้องระวังอย่าพูดให้ผิด กถังแปลว่าอะไร ใครตอบได้ ไม่มีสักคนเดียว โสแปลว่าอะไร ไม่มีใครหัวไว มีแต่พวกหัวทึบ หัวขี้เลื่อยทั้งนั้น โสแปลว่า เขาผู้นั้น ปณฺฑิโต แปลว่าอะไร "บัณฑิตครับ" ภเว แปลว่าอะไร ภว ภเว แปลว่า จะพึงเป็น จะพึงได้ ตั้งใจพูดใหม่พร้อมๆกันอีกครั้ง หมดเวลาแล้ว ปิดประชุม ทุกคนกราบ