แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
.ของสมณะที่เป็นพื้นฐานของสมณะ ด้วยการกระทำที่เรียกว่าเตรียมสมณะ สามเณรแปลว่าอะไร เตรียมสมณะ เตรียมเพื่อจะเป็นสมณะแปลว่าอะไร คนนี้ นี่คนนี้ แปลว่าอะไร สมณะแปลว่าสงบเสงี่ยม เอาคำว่าเสงี่ยมเอาออก ไม่ต้อง เสงี่ยมแปลว่า ลดค่า ผู้สงบ สงบเสงี่ยมๆ ภาษาชาวบ้าน แปลว่าแช่มช้อย สวยงามอย่างภาษาบ้าน ๆ ผู้สงบ เลยๆ ไป แปลว่ามีความสงบ สงบจากอะไรใครตอบได้ ไม่เคยได้ฟังสงบจากความวุ่นวาย ความดิ้นรนกระวนกระวาย ความเร่าร้อนกระวนกระวาย สงบจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย นี่ก็หมายความว่าเธอไม่รู้จักความกระวนกระวาย ใครเคยมีความกระวนกระวาย ใครเคยมีความกระวนกระวาย เอาไอ้นี่ทำไมยกขึ้นยกลงเหมือนกับรำ กระวนกระวายด้วยอะไร เธอกระวนกระวายด้วยอะไร กระวนกระวายด้วยอะไร จิตใจไม่สงบ ด้วยอำนาจของอะไร จิตใจไม่สงบด้วยอำนาจของอะไร ใครตอบถูก คนนี้ โลภ โกรธ หลง แสดงว่าเคยเรียนมาบ้างเคยฟังมาบ้าง โลภ โกรธ หลง เรียกรวมๆ เขาเรียกว่าอะไร ใครตอบได้ เธอ เรียกว่าอะไร กิเลส กิเลสแปลว่าอะไร ใครตอบได้ หา กิเลสแปลว่า สกปรก คำว่ากิเลส ตัวหนังสือคำนี้แปลว่า สกปรก เขาเรียกของสกปรกทั่วๆ ไปในบ้านในเรือนนี่แหละ ว่าของสกปรก พอเป็นเรื่องของจิตใจเขาเอาคำนี้เป็นเรื่องสกปรกของจิตใจ คือความโลภ โกรธ ความหลง ใครเคยมีความโลภ คนนี้ไม่รู้จัก เป็นอย่างไร ความโลภ ความโลภเป็นอย่างไร ใครตอบได้ ไหนว่าเคยมี หลอกเราแล้ว เป็นอย่างไร อยากได้ของมาก ๆ ยังไม่ถูก ยังไม่ถูกแท้ ถูกครึ่งเดียว เป็นอย่างไรความโลภ เมื่อกี้บอกเคยมีความโลภกันทุกคนพอถามเข้าจริงไม่รู้แล้ว ว่าเป็นอย่างไร หลอกกันแล้ว อยากได้ด้วยความโง่ๆ นี่เรียกว่าความโลภ ถ้าอยากด้วยสติปัญญา มีเหตุผลที่ควรจะอยาก เขาไม่เรียกว่าความโลภ เขาเรียกว่าความต้องการที่ถูกต้อง ความปรารถนาที่ชอบที่ถูกต้องถ้าอยากได้ด้วยความโง่ ตามใจมากหรือน้อยก็ตามใจเขาเรียกว่า ความโลภ ใครเคยมีโทสะ ๆ คนนี้คงไม่รู้จักโทสะ โทสะแปลว่าอะไร หา คนนี้แหละคนเล็กนี่แปลว่าอะไร ไม่รู้ฟังไม่รู้ฟังไม่ถูก ใครรู้ว่าโทสะแปลว่าอะไร ยกมือ เมื่อกี้บอกว่าเคยมี โลภะ โทสะ โมหะ โทสะแปลว่าอะไร ความโกรธ ตัวหนังสือเขาแปลว่าความคิดไปในทางประทุษร้าย โลภะแปลว่าความโกรธ โทสะแปลว่าความคิดไปในทางประทุษร้าย โมหะ แปลว่าอะไร ใครตอบได้ โมหะแปลว่าอะไร ความหลง ถ้าไม่รู้จัก โลภะ โทสะ โมหะ ก็หมายความไม่เคยเรียนซะเลยไม่เคยศึกษาซะเลยในทางธรรม โลภะ โทสะ โมหะ สามอย่างแปลว่า เรียกว่า กิเลส แปลว่า ความสกปรก สิ่งสกปรก มีขึ้นมาแล้วทำให้ กระวนกระวาย ถ้าไม่มีก็เรียกว่า สงบ คำว่าสงบเรียกว่าสมณะ สมณะ ผู้สงบ สามเณระ แปลว่าเตรียมสำหรับเป็นสมณะ สมณะอยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด ใครตอบได้ หือสมณะอยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด การศึกษาไม่พอการสั่งสอนยังไม่พอ ความคิดนึกก็เคยตัน สมณะแปลว่าผู้สงบ ผู้สงบอยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด ตอบให้ชัดๆ เธอ ตอบให้มันชัดๆ สมณะอยู่ทั้งที่บ้านและที่วัด เราก็ว่าแบบนั้นเหมือนกัน สมณะอยู่ที่บ้านก็มี อยู่ที่วัดก็มี เธออาจจะไม่เคยได้ยินข้อนี้ สมณะที่หนึ่ง สมณะที่สอง สมณะที่สาม อยู่ที่บ้านก็ได้คือพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เขาอยู่ที่บ้านก็ได้ แต่พระสมณะที่สี่ คือพระอรหันต์ไม่อยู่บ้าน อยู่ที่ไหน วัดก็ไม่อยู่ อยู่ที่ไหน ใครตอบได้ มันไม่อยู่ที่ไหนแหละ อยู่ที่วัดก็ได้ อยู่ที่วัดก็ได้ก็เหมือนไม่อยู่ มันไม่มีตัวมีตนที่ไหน ก็เหมือนไม่อยู่ที่ไหน แต่เอาเป็นว่าอยู่ที่วัด เธอเตรียมสมณะเพื่อจะเป็นผู้สงบ สึกแล้วอยู่ที่ไหน เณรสึกแล้วอยู่ที่ไหน เณรสึกแล้วอยู่ที่บ้าน ไปเป็นสมณะที่บ้านได้หรือไม่ได้ เพราะทุกคนต้องสึกนี่ได้อย่างไรว่ามาดู ว่าอยู่ที่บ้านเป็นสมณะกันอย่างไร ใครรู้เข้าใจว่ามา อย่ากระวนกระวาย อย่าดิ้นรนกระวนกระวาย อย่าให้โลภะ โทสะ โมหะแสดงบทบาทของมัน เราสงบหรือว่าเย็น คล้ายกับเตรียมเป็นสามเณรมาบวชมาฝึกมาหัด เตรียมเป็นสมณะอยู่ที่บ้านก็ได้ เตรียมสมณะเพราะบวชอยู่ไม่กี่วัน ให้เป็นว่ากลับไปบ้านแล้วเป็นสมณะได้ เมื่อคนอื่นเขาดิ้นรนกระวนกระวาย เดือดร้อนด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เราก็ไม่ทำเช่นนั้น เราละอายเช่นนั้นเราละอาย เธอเป็นนักเรียน เป็นนักเรียนก็ไม่แสดง โลภะ โทสะ โมหะออกมา เมื่อบวชแล้วเขาฝึกควบคุม โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อบวชเณร บวชชั่วคราวบวชเพื่อฝึกการควบคุม โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าไม่ได้ฝึกในข้อนี้การอบรมก็ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเธอได้รับการอบรมเพื่อบังคับ โลภะ โทสะ โมหะ อย่างไรเมื่อบวชอยู่ ขอให้ติดไปที่บ้านด้วยเมื่อสึกแล้วระหว่างบวชเนี่ยเขาฝึกอะไรบ้าง เท่าที่ทราบ ควบคุมโลภะ โทสะ โมหะ ทำลายโลภะ โทสะ โมหะ ไม่ให้มันแสดงออกมาในระหว่างที่เธอบวชเนี่ยทำอย่างไรกันบ้าง เพื่อบวชควบคุมโลภะกันอย่างไร ตอบได้ ว่าบวชควบคุมโลภะอย่างไร ใครตอบได้ยกมือ แล้วอาจารย์ไม่ได้สอนหรือสอนแล้วเราไม่รู้ เมื่อบวชแล้วไม่ต้องการอะไร หัดอยู่อย่างไม่ต้องการใช้เงิน ระหว่างที่บวชอยู่นี้ใครต้องใช้เงินบ้างยกมือ ระหว่างบวชนี่ใครใช้เงินบ้าง แล้วนี่ใครมีสตางค์บ้าง โหมีทุกคน ตายละ เอาใช้ทำอะไร ใช้หรือเปล่า ใช้ทำอะไร ซื้อเทียนไม้ขีด ไม่ต้อง ไม่ใช่ ถ้าฝึกกันอย่างแท้จริง ไม่ต้อง เทียน ไม้ขีดไม่ต้อง หัดอยู่อย่างไม่ต้องใช้เงินตลอดเวลาที่บวช อย่าเอามาแหละ นี่มันไม่จริง มันกลัว เอาสตางค์มาด้วย พอหิวก็ไปซื้อกาแฟมาฉัน นี่ไม่เก่ง เรามาฝึกหัดอย่างยิ่ง ฝึกหัดเพื่อจะไม่ให้เป็น โลภ ไม่ต้องการเกินความจำเป็น นี่เราฝึกหัดไม่ให้โลภ ต้องการมากต้องการอาหารมาดำรงชีวิตต้องการเป็นอยู่อย่างง่ายที่สุด อย่างไม่ต้องการใช้เงิน มีเสื้อ มีผ้าจีวรชุดเดียว ในระยะเวลาที่บวชอยู่นี่ที่ฝึกอยู่นี่ เขาฝึกควบคุมโทสะตลอดเวลา ต้องไม่โกรธ ในระหว่างบวชอยู่นี้ต้องควบคุมโทสะอยู่ตลอดเวลา ไม่โกรธ ในเวลาที่บวชนี้กี่วันมาแล้ว ใครโกรธใครบ้างไหมยกมือซิ ในระหว่างที่บวชใครโกรธใครบ้าง ถ้าพูดไม่จริงนะ ต้องถือศีลนะ โกรธใคร ตัวอย่างเรื่องอะไร หือไม่ต้องคิด เรื่องจริงไม่ต้องคิด เรื่องจริงนี่โกรธเรื่องอะไร หา ต่อยกันร้ายจริง ต่อยกันเรื่องอะไร หา ไหนคู่ต่อย ยกมือคนไหน ยกมือ ไหนคนไหน ไม่อยู่แล้ว อยู่ที่ไหน เวลานี้อยู่ที่ไหน อยู่ที่พักไม่มา มีเหรอ นั่นแหละ จำไว้ โกรธเพราะไม่ได้อย่างใจ โกรธเรื่องอะไรจำไว้ ต่อไปนี้ไม่มี ไม่มีต่อย ต้องคุยกันให้รู้เรื่อง ทำความเข้าใจ ไม่ต้องต่อย เมื่อสึกไปแล้ว ไม่ต้องต่อยเมื่อสึกไปแล้วเนี่ยต้องไม่โกรธไม่ต่อย ความหลง นี่พูดยาก เพราะถ้ายังไม่รู้ ก็คือเขาเรียกว่า ยังโง่ ยังหลงอยู่ ต้องศึกษาให้มันรู้ ให้มันหายโง่ หายหลง ธรรมะสำหรับจะให้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ จะละกิเลสเหล่านี้ได้ เราอยากจะแนะซักหมวดหนึ่งเขา เรียกว่า ฆราวาสธรรม เป็นพระเป็นเณรใช้ได้ สึกไปเป็นฆราวาสยิ่งดี ยิ่งใช้ได้ ใครเคยอ่าน ฆราวาสธรรมสี่อย่าง ใครเคยอ่าน ให้เรียกว่า หญ้าปากคอกเลยหญ้าปากคอกใครรู้จักหญ้าปากคอกใครเคยเลี้ยงควายใครเคยเลี้ยงควายต้องรู้จักหญ้าปากคอก หญ้าที่อยู่ปากคอกควาย ควายเดินเข้ากัดที เดินออกกัดที เพราะมันอยู่ปากคอก หมายความต้องใช้มาก เพราะมันอยู่ปากคอก ธรรมะเหมือนกับหญ้าปากคอก คือ สัจจะ ทมะ ขันตี จาคะ ฟังอีกทีอย่านั่งโง่ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ใครจำได้แล้ว สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ใครจำได้แล้วยกมือขึ้น ใครจำได้ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ สามสี่คนเอง จำได้ ใครจำได้ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เอ้าว่าพร้อม ๆ กัน สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เอ้า สัจจะ จริง ทมะ ข่มใจ ขันติ อดทน จาคะ สละ คอยฟังให้ดี อย่าหลับ สัจจะ จริงใจ จริงไม่ได้ให้ท่องจะบอกให้ฟัง สัจจะแปลว่าจริง เราเป็นคนจริง ถ้าเราเป็นเณรจริง ต้องไม่ต่อย กันหรอกเป็นเณรให้จริง จริงในการบวช บวชให้จริง อดกลั้นอดทนให้จริง ตั้งใจว่าจะเป็นสามเณระ จะเป็นสามเณรให้จริง จะเป็นเหล่ากอของสมณะต้องเป็นให้จริง เตรียมเป็นสมณะต้องเตรียมให้จริง เป็นคนจริง จริงต่อความเป็นสามเณรของเราแหละ เมื่อกลับไปเมื่อสึกแล้วก็จริงในความเป็นสมณะแหละ เป็นสมณะที่บ้านจะบังคับความโลภ ความโกรธ ความหลง จริง เขาเรียกว่าจริง เรื่องจริงหมดเลย จริงต่อผู้อื่น ไม่โกหก จริงต่อหน้าที่การงาน ต้องทำจริง จริงต่อเวลา ก็จริง ในที่สุดต้องจริงต่อความเป็นสมณะนี่เอง เมื่อบวชนี่บวชจริง ได้ปฏิบัติจริง จริงหรือไม่จริง บวชเล่นหรือบวชจริงกันนี่ ใครบวชจริง กันทุกคน ใครบวชเล่น นั่นแหละดีแหละ บวชจริงกันทุกคน จะได้เป็นสมณะ เตรียมสมณะเรื่อยไป อยู่ที่วัดเป็นสมณะ สึกอยู่ที่บ้านเป็นเตรียมสมณะ ขอให้มันจริง ข้อที่สองเขาเรียก ทมะ คือ อดกลั้น อดทน ทมะหน่ะบังคับตัวเอง ขันติ อดกลั้นอดทน จาคะ สละออกไปเสีย บังคับตัวเอง ถ้าว่าเธอบังคับตัวเอง เธอจะไม่โกรธ เธอจะไม่โลภ เหมือนที่ว่าไปเมื่อกี้ จะไม่โลภ จะไม่โกรธ จะไม่หลง หลงโดยมากจะเป็นกันไปโดยมาก คือ ไม่เชื่อฟังครูบาอาจารย์ เป็นคนสะเพร่า เป็นคนทำอะไรไม่คิดไม่นึก ผลุนผลันๆเค้าเรียกคนหลง เราอย่าหลงแบบนั้น ข้อหนึ่งสัจจะ เป็นให้จริง เตรียมสมณะเตรียมให้จริง ข้อสอง ทมะ บังคับให้ได้ตามนั้น ขันติ คืออดทน ระหว่างบวชต้องอดทนอะไรบ้าง ใครนึกเห็น ใครนึกออก อดทนอะไรบ้าง อดทนข้าว มันไม่ถูก อดทนอะไร อดทนความหิว หิวเมื่อไหร่ ไม่ได้กินเมื่อไหร่ ไม่ได้ฉันเมื่อไหร่ ทำยังไงถึงหิวทำไมเราต้องอดทนหิว คือไม่ได้กินทันที ไม่ได้กินตามเวลา ต้องอดทนบ้างเป็นธรรมดา คือทุกคนแหละ พระ เณร ทุกองค์ พระพุทธเจ้าก็มี บางคราวก็ต้องไม่ได้ฉันต้องอดทนหิว เป็นของธรรมดา เราต้องขาดแคลนบ้างอะไรบ้าง นอกจากทนหิว แล้วทนอะไรอีก กิเลส กิเลสรบกวนเธอ เอาทนง่ายๆ อะไรอีก ความอยากอะไรอีก อยากนอน นั่นแหละต้องอดทน ไม่ได้เล่น ไม่ได้หัวเราะ ไม่ได้กินตามต้องการต้องอดทน ทนหนาว ผ้าห่มไม่พอต้องทนหนาว บางทีก็ต้องทนร้อน บางทีก็ต้องทนยุง บางทียุงกัด ถ้าโกรธ ไม่มีความอดทน ถ้าโกรธ ถ้ายุงมาก็ถือว่ายุงมาร้องเพลงให้เราฟัง อย่าโกรธ ถ้ามันกัดเจ็บก็ถือว่าเสียค่าฟังเพลง ไปฟังเพลงไปดูหนังต้องเสียสตางค์ให้เขานะ นี่ยุงมาร้องเพลงให้ฟังต้องคิดสตางค์ต้องเจ็บนิดหน่อย ต้องตกลงกันได้ ต้องไม่โกรธ ใครยุงกัดแล้วโกรธ ยกมือ พูดจริง ถ้าไม่ยกมือถือว่าเป็นเรื่องหลอกเรา นี่เราจะบอกเสียใหม่ว่าถ้ายุงกัดถือว่ามันร้องเพลงให้เราฟัง ถ้าอยู่วัดนี่ต้องถือหลักเสียใหม่คือต้องกินข้าวจานแมว ข้าวที่มีคลุกๆ กันกินเหมือนจานแมว อาบน้ำในคู ในลำธาร นอนกุฏิเล้าหมู กุฏิเล็กๆ นอนฟังยุงร้องเพลงถ้าฝึกได้อย่างนี้ ก็คืออดทนมาก ขันติอดทน เมื่อไม่ได้บวชอยู่ที่บ้าน นอน ตื่นตอนนอนตอนไหนอยู่ที่บ้านตื่นตอนไหน ตีหก อยู่ที่นี่ตื่นกี่โมง ตีระฆังตีสี่ ถ้าใครทำได้คนนั้นต้องบังคับตน ธรรมะบังคับตนให้ตื่นตั้งแต่ตีสี่ ตื่นมาแล้วหนาวต้องอดทน หนาวๆ ต้องมาทำกิจ แล้วแต่จะมีกิจอะไร บังคับตนให้ตื่นแต่ดึกก็ได้ ให้ปฏิบัติตามกฎ ตามระเบียบ แม้แต่จะนอนต้องนอนให้เรียบร้อย ต้องบังคับตัวเองให้นอนให้เรียบร้อย ไม่บังคับตัวเองนอนไม่เรียบร้อย ใครนอนดิ้นผ้าเปิดหลับแล้วอาจารย์มาตีบ้างมีไหม ใครถูกตีบ้าง หือ หลับแล้วนอนดิ้นอาจารย์มาตีมีบ้างไหม มันไม่เก่ง ทั้งอาจารย์ลูกศิษย์มันไม่ได้เอาใจใส่กันขนาดนั้น เราสั่งว่าเณรคนไหนนอนแล้วนอนดิ้นผ้าเปิดให้ตีเลยตีได้เลยให้นอนเสียใหม่ นอนต้องนอนแบบราชสีห์ ไม่ใช่นอนเหมือนหมา ใครตอบได้นอนอย่างราชสีห์นอนยังไง ใครรู้เรื่อง พูดไม่ค่อยจะเป็น ใครตอบได้ ไหนใครตอบ จำได้ เคยได้ฟังการอธิบาย ก็จำได้นอนอย่างราชสีห์ ต้องตอบว่า นอนอย่างมีสติสัมปชัญญะราชสีห์นอนอย่างมีสติสัมปชัญญะเต็มที่ หมานอนอย่างไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็ได้ เขาว่าเขาเปรียบไว้ ราชสีห์จะต้องตั้งใจว่านอนอย่างไร ดูแล สังเกต สังกา มีสติสัมปชัญญะนอน วางเท้าอย่างไร วางมืออย่างไร พื้นดินอยู่อย่างไร หันหัวไปทิศทางไหน แล้วต้องตื่นขึ้นมาไม่ได้ดิ้น อยู่เหมือนเดิม ต้องดีใจนอนเหมือนราชสีห์ ถ้าเห็นรอยดิ้นตอนหลับนี่นอนเหมือนหมา เราไม่เป็นหมาเราเป็นราชสีห์ เราต้องนอนใหม่ต้องแก้ตัว ต้องนอนใหม่ นอนจนนอนดีอย่างราชสีห์ จึงจะไปหากิน ถ้าไม่งั้นยอมต้องอดตาย นอนเหมือนหมานี่แหละนอนให้มันตายเลยไม่ต้องไปหากิน นี่เขาเรียกบังคับตัว บังคับตน ทุกอย่าง บังคับตนให้ถูกต้อง ในระหว่างที่บวชนี่ ก็ต้องการแบบนี้ ถ้าบอกว่ากี่อย่างบอกไม่ถูก มากมายนัก ต้องบังคับตัวหลายสิบอย่างแหละ ต้องบังคับตัวหลายสิบอย่างแหละจึงจะได้อานิสงฆ์จากการบวช บังคับตัวต้องเจ็บ รู้สึกเจ็บ เจ็บในใจ ไม่ได้ดั่งใจ กิเลสมันต่อสู้ มันเจ็บใจ เหมือนคนไม่ได้ดั่งใจ เหมือนคนที่อยากไปดูหนังแล้วไม่ได้ไปดู มันเจ็บใจ ต้องอดทน โชคดี โชคดีแล้ว บุษบาหล่นลงมา ต้องเสียสละ เสียสละ จาคะ คือเสียสละ เธอได้สละอะไรกันบ้างในระหว่างบวช เธอเสียสละอะไรกันบ้าง ฟังเราดีกว่า นึก มีปัญญาสำหรับคิด สำหรับนึกหรือสังเกต เราต้องเสียสละแหละ ความสนุกสนานแหละ เราต้องเสียสละ ความไม่ได้อย่างใจ เราต้องเสียสละ ความขี้เกียจ ต้องเสียสละ เห็นแก่นอนต้องเสียสละ สิ่งใดไม่ควรจะมีในใจสิ่งนั้นต้องเสียสละ โดยเฉพาะ ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งๆ ไม่ควรมีในจิตใจ ต้องสละ สี่อย่างนะ ต้องจำไป ว่าตลอดเวลาถ้าได้อบรมดี ระหว่างบวชนี่ถ้าได้อบรมดี จะต้องอบรมเรื่อง สัจจะ คือความจริงตรงตามระเบียบหมด ทมะคือบังคับตนให้ทำตรงตามระเบียบหมด ขันติ คืออดทนตลอดเวลา จาคะ สิ่งไม่ดีสละหมด นับตั้งแต่สละจากวัตถุ ก่อนบวชใครสูบบุหรี่ เอ้า ยกมือใหม่ยกให้สูงอย่ายกครึ่งเดียวก่อนบวชใครสูบบุหรี่ ระหว่างบวชเณรนี่ใครสูบบุหรี่ใครขโมยสูบบุหรี่ ไม่อดทนไม่บังคับตัวไม่อดทน ถ้ามี นี่เรียกว่า สละ แม้แต่บุหรี่เป็นการสละ การสูบบุหรี่เป็นโมหะหรือไม่เป็น การสูบบุหรี่เป็นโมหะหรือไม่เป็น ใครตอบได้ ยกมือ การสูบบุหรี่เป็นโมหะเป็นหรือไม่เป็น เป็นอย่างไร เหตุใดจึงเป็น โง่ ไปทำสิ่งที่ไม่ดีว่าดี ทำสิ่งที่ให้โทษว่าเป็นประโยชน์ สูบบุหรี่นี่เอาควันไฟเข้าไปรมปอด ใช่ไม่ใช่ ใครรู้จักปอด ใครรู้จักปอด ปอดอยู่ตรงไหน สูบบุหรี่คือการเอาควันไฟเข้าไปรุมปอด ตามธรรมชาติปอดไม่ต้องการให้รุมด้วยควันไฟ คนมันเอาควันไฟเข้าไปรมปอด มันโง่หรือฉลาด โง่หรือฉลาด ใครเห็นว่าโง่ ใครเห็นว่าฉลาด การที่เราเคยสูบบุหรี่นี่เรียกว่าโง่หรือฉลาดไปคิดดู ซึ่งเรานี่บวชเณรเราสละจาคะสละสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน ของข้างนอกเราสละ ของข้างในเราสละความคิดเลวๆ สละ ในระหว่างบวชเณรเราถือศีลได้มาก ยอมสละนี่แหละ อ้าวสี่ข้อนี่เรียกว่าฆราวาสธรรม ที่เป็นบรรพชิตปฏิบัติได้ดี เมื่อกี้ใครว่าจำได้ ใครยังจำได้ ใครลืมแล้ว ใครลืมแล้ว สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เอ้าว่าใหม่ ว่าใหม่ว่าอีก คนนี้ว่าคนเดียว ว่าซิ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ว่าอีก อีก สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะต้องรู้จัก สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ถ้าการอบรมนี้ทำไปตามหลักการและถูกต้อง สามเณรต้องได้รับการอบรมอย่างน้อยสี่อย่างนี้ สัจจะ จริง ทมะ บังคับตัวให้จริง บังคับให้อยู่ในระเบียบ ให้มันถูกต้อง อดทน อดทนภายนอกอดทนภายใน อดทนเรื่องอาหารการกิน อดทนเรื่องลม ฝน แดด อดทนเรื่องเหน็ดเหนื่อย เดินไกล เจ็บปวดต้องอดทนเพื่อนว่าเพื่อนด่าเพื่อนล่วงเกินต้องอดทนไม่ต้องต่อยไม่ต้องชก นี่เค้าเรียกว่าอดทนภายนอก อดทนภายในก็คือกิเลส กิเลสมันมาชักจูงมันมาเชื้อเชิญให้ทำในสิ่งที่ผิดๆ ไม่ทำมันขบมันกัดเอาเราก็ต้องอดทน เรียกว่าอดทน จาคะสละทุกอย่าง ที่ไม่ดีสละทุกอย่างระหว่างบวชนี่ ได้รับการอบรมเพื่อทำตัวให้ดี ให้เป็นสมณะในอนาคต เตรียมเป็นสมณะ ใช้ธรรมะอย่างน้อยสี่อย่างนี้ซึ่งเป็นหลักใหญ่ที่สุด มีพุทธภาษิตว่าดีที่สุดไม่เชื่อให้ไปถามพวกอื่นดู ให้ไปถามลัทธิอื่นดู เจ้าลัทธิอื่นดูว่ามีอะไรดีกว่าสี่อย่างนี่ เธอจำให้เม่นยำ เอาไปแหละปฏิบัติให้ดี สึกให้เอาไปด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้อยู่ที่ริมฝีปากให้เตรียมตัวทันที เมื่อนึกได้แล้วปฏิบัติทันที สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ นี่เรื่องที่เราปฏิบัติเพื่อตัวเราให้ดีขึ้นจนเป็นสมณะ สี่อย่างก็พอ มากพอ เธอเห็นว่าไม่สำคัญเธอจะไม่จำ ถ้าเธอเห็นว่าสำคัญเธอจะจำทันที พูดทีแรกจำเลยถ้ารู้สึกว่าสำคัญ ใครยังยืนยันว่าจำได้ สี่อย่างนี้ ใครยืนยันว่าจำได้ คนนี้ไม่จำได้ เที่ยวนั่งเล่นตลอดเวลา จีวรก็ไม่ห่ม เรียกว่าไม่จริง ไม่มีระเบียบ ไม่บังคับตัว เอ้าห่มจีวรซะทีนั่งให้เรียบร้อย จะได้มีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ห่มให้ดี ถ้าเธอถือได้ทั้งสี่อย่างนี้เรื่องส่วนตัวรอด เรื่องเกี่ยวกับเรามันจะรอดมันจะก้าวหน้ามันจะรอด ที่นี้พูดถึงเรื่องผู้อื่นทีเกี่ยวกับผู้อื่นเกี่ยวกับสังคมที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้อื่น เพื่อประโยชน์ผู้อื่นเขาเรียกต่อสังคมต่อเราเองก็มีส่วนหนึ่งแล้ว ประโยชน์เรา ประโยชน์ต่อผู้อื่น พระพุทธเจ้าก็สอนอยู่สี่อย่างด้วยกัน ประโยชน์ต่อผู้อื่นเรียกว่า ทาน ปิยะวาจา สมานัตตตา อัตถจริยา สี่อย่างนี้ใครเคยได้ยิน ใครเคยได้ยิน ทาน ปิยวาจา สมานัตตตา อัตถจริยา ใครเคยได้ยิน ใครเคยได้ยิน แว่วๆ เหลวไหล หนังสือโอวาทพวกนี้ เคยเปิดดูไหม ทานแปลว่า การให้ ให้ของของเราแก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ผู้อื่น เขาเรียกว่าทาน ใครเคยให้อะไรกับใครระหว่างบวชบ้าง ใครเคยให้อะไรใครเคยให้อะไร เธอให้อะไรน้ำในกาก็ยังดีเวลามาพร้อมๆกันบางบาตรมีกับข้าวว บางบาตรไม่ค่อยมีกับข้าว บางบาตรมีขนม บางบาตรไม่มีขนม เคยให้กันบ้างเหรอ เคยให้ปันกันบ้าง ใครเคยให้ ใครไม่เคยให้ ใครเคยให้ ถ้าเรานั่งฉันกันอยู่ด้วยกันบางอย่างเพื่อนไม่มี ถ้าแบ่งให้เพื่อนบ้างแสดงว่าเคยให้ ถึงเรื่องอื่นก็เหมือนกันสิ่งของจะใช้จะสอย ถ้าเพื่อนไม่มีเราก็ให้ ใครเคยเห็นว่าเพื่อนไม่มีของอร่อยเพื่อนไม่มี เรามีถึงเรากลบข้าวไม่ให้เพื่อนเห็น คือคิดไม่ให้ เนี่ยคนไม่ให้ ถ้าคนจะให้จะพยายามเปิดเผยให้เพื่อนเห็นแบ่งให้เพื่อนกิน ถ้าเพื่อนไม่เอาทีแรกเพื่อนไม่เอา เราก็ขอร้องให้เพื่อนเอา เราให้เพื่อนกิน เราไม่ต้องกิน แต่เราเอม ให้เพื่อนกินแต่เราเอม ใครเคยทำบ้าง ให้เพื่อนกินเราเอมเราไม่ต้องกิน เราไม่ได้กิน นี่มันไม่เคยเอื้อเฟื้อ ความคิดจะให้เพื่อนกินมันอร่อยกว่าคิดจะกินเอง เราให้เพื่อนกินเราเอม เราจะเอมไปหลายๆวันอาจจะเอมไปหลายๆปีนะถ้าเรากินเองเราไม่สนใจเรื่องเอมเรื่องอะไร เดี๋ยวก็ลืมแต่ถ้าเราจะตั้งใจให้เพื่อนกินเจตนาให้เพื่อนกินแล้ว เพื่อนกินเราจะเอมไปตั้งหลายๆวันหลายๆเดือนหลายๆปี นี่คือประโยชน์ของการให้ทาน ให้สบายกว่าเอาให้ไปดีกว่าการเอา เอาทำให้เห็นแก่ตัว โลภ ให้ไปจะไม่เห็นแก่ตัว ไม่โลภ ให้ทาน ให้ทานให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ได้รับความสุข ใครตั้งแต่เกิดมาไม่เคยให้ทานเลย ตั้งแต่เกิดไม่เคยให้ทานใครเลย ใครไม่เคยยกมือซิ ที่นี้ข้อที่สอง ปิยะวาจา ปิยะวาจา ข้อหนึ่งการให้ ข้อสองปิยะวาจา ตลอดเวลาที่บวชเนี่ยใครพูดดีๆ ใครพูดหยาบคาย ใครพูดกระโชกกระชาก พูดหยาบคาย ใคร ใครพูดคำหยาบ พูดกระโชกกระชากหยาบคาย จำเป็นอะไรที่จะพูดกระโชกกระชากหยาบคาย มันจะนำไปสู่การต่อยกันนั้นและเมื่อกี้มีการต่อยอยู่คู่หนึ่งไม่ใช่เหรอ นั่นแหละ เมื่อเราไม่ต้องการฟังการพูดหยาบคาย เพื่อนก็เหมือนกันไม่ต้องการจะฟังคำหยาบคาย ทั้งสองฝ่ายต้องพูดสิ่งที่น่าฟัง พอมาบวชถึงต้องให้พูดกันเสียใหม่เพราะอะไร พอมาบวชต้องหัดพูดใหม่เปลี่ยแปลงการพูดเสียใหม่ให้ถูกต้องตามแบบของพระของเณร เพราะเรามันเป็นเพื่อนกันไม่ใช่เป็นศัตรูกันเราต้องพูดจาดีเราต้องแบ่งปันกันดี ต้องพูดเสียใหม่ให้ไพเราะให้ติดเป็นนิสัยเมื่อสึกไปแล้วต้องพูดจาให้ไพเราะ ไม่กระโชกโฮกฮากไม่หยาบคาย เณรคนไหนพูดจากระโชกโฮกฮากให้อาจารย์ตีได้เลยระหว่างฝึก ข้อที่สาม สมานัตตตา ทำตนเป็นเพื่อนเสมอกัน เป็นเพื่อนเสมอกันอย่ายกตัวเหนือผู้อื่น อย่ายกตัวเหนือผู้อื่นหรืออย่าลดตัวลงจนน่าเกลียดบางคนแกล้งแสดงละครทำตัวต่ำจนน่าเกลียดไม่จริง ไม่ใช่ใจจริงโดยมากยกทตัวเหนือผู้อื่นเราดีกว่าผู้อื่นไม่ยอมเสมอ นั่นแหละเป็นเหตุให้อยู่กันไม่ได้หรือว่าอยู่กันไม่เรียบร้อยไม่ราบรื่นพยายามทำตัวให้เสมอเหมือนกับน้ำเราใส่ไปเท่าไรมันก็เกลี่ยเสมอกันดี น้ำใหม่กับน้ำเก่ามันเสมอกันดีเราอยู่กันเล็กบ้างใหญ่บ้างมาใหม่บ้างเก่าบ้างอะไรบ้างมาถึงให้เข้ากันให้ดีให้เสมอกันให้ดีโดยว่าวินัยถือระเบียบให้เสมอทุกคนถือศีลอย่างเดียวกัน เมื่อถือศีลอย่างเดียวกันต้องเสมอกันจะต้องยกตนห่มท่านทำไม มีอะไรดีก็ไม่ต้องไปข่มผู้อื่น ไม่ต้องดูถูกผู้อื่นถ้าขืนไปดูถูกผู้อื่นมันก็หมดดีทันทีไปดูถูกผู้อื่นมันทำลายดี เรามีอะไรดีบ้าง ถ้าไปดูถูกผู้อื่นดีละลายหมดเมื่อยกตนข่มผู้อื่น ถ้ามีดีต้องรักษาดีให้มาก อย่าไปเที่ยวยกตนข่มเหงผู้อื่น ก็สอนว่าไม่ต้องอวด ดีนะ ถ้าดีจริงไม่ต้องอวด ถ้าอวดแล้วดีที่ไม่จริง ถ้าใครคิดว่าดีดีกว่าคนอื่นดีไม่จริง ดีที่ไม่อวดเก็บไว้จะเป็นดีที่จริง ถ้าจะให้ผู้อื่นให้ก็ให้เลยสอนเลยไม่ต้องอวดดีทับคนอื่นถ้าจะแนะนำคนอื่นอะไรก็ได้ก็เป็นเรื่องของให้ความดีไม่ใช่ยกตนข่มผู้อื่น สมานัตตตา ทำตนเสมอกัน ข้อที่สี่เรียกว่า อัตถจริยา ประพฤติประโยชน์ต่อกัน ในระหว่างบวชกันมาแล้วหลายวันใครทำตัวเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนบ้างคนไหนอย่างไร เราอยากจะรู้ใครได้ประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้างยกมือ ในระหว่างที่บวชใครได้ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างไรบ้าง ยกมือ เหลว การบวชนี้ไม่ได้รับการฝึกฝนที่สมบูรณ์ บางทีเธอคิดไม่เป็นมองไม่เห็นที่จะไม่ประพฤติประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้างคงเป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยก็ช่วยทำอะไรต่อต่ออะไรผู้อื่นบ้างไม่มากก็น้อย นิดๆหน่อยๆ ใครเคยปูเสื่อให้เพื่อนนั่ง ยกมือ ใครเคยปูเสื่อให้เพื่อนนั่ง จริงหรือไม่จริง ใครเคยจัดที่นั่งให้เพื่อน ใครเคยตักน้ำให้เพื่อนกินเพื่อนยังไม่มาเราช่วยเหลือเตรียมอะไรไว้ให้ นี่เป็นระเบียบใครไม่ทำนี่เลวเต็มทีไม่ทำตามระเบียบเสียเลย พวกที่ไปบิณฑบาตก็ไปบิณฑบาตแหละพวกที่อยู่ข้างหลังต้องไปตักน้ำมาตั้งเสื่อปูเสื่อมา เตรียมพร้อมให้เพื่อนมา คนที่ไปบิณฑบาตก็เหมือนกันแหละมันก็ต้องเป็นการประพฤติประโยชน์ไปบิณฑบาตให้เพื่อนฉันมันต้องมีนั่นแหละ แม้แต่แมวมันยังรู้จักจับหนูนี่คิดดูเป็นคนทั้งทีไม่รู้จักทำประโยชน์ให้ผู้อื่นมันไม่ไหว แม้แต่แมวมันยังรู้จักจับหนูทำประโยชน์ให้เจ้าของบ้าน เราเป็นคนทั้งทีต้องรู้จักทำประโยชน์ให้เพื่อนมนุษย์ในโลกบ้างเรียกว่าประพฤติบำเพ็ญประโยชน์ เราควรจะทำให้มากกว่านั้นเรามีเจตนาจะบำเพ็ญประโยชน์ทำประโยชน์ให้เพื่อนมนุษย์มากกว่านั้นไม่ดูดาย ถ้าเพื่อนเจ็บเพื่อนไข้เราก็ช่วยเหลือเต็มความสามารถ ประพฤติประโยชน์แก่ผู้อื่น ข้อที่หนึ่ง ทาน การให้ปัน ข้อที่สองปิยวาจา พูดวาจาไพเราะ ข้อที่สามสมานัตตตา ทำตัวเสมอกันเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน อย่ายกหูชูหาง ข้อที่สี่อัตถจริยา เป็นผู้ประพฤติประโยชน์สงเคราะห์ต่อกันตลอดเวลา หนึ่งทาน ว่า สองปิยวาจา สามสมานัตตตา สี่อัตถจริยา อัตถจริยา หนึ่งทานการให้ปัน สองปิยวาจาพูดจาไพเราะ สามสมานัตตตาวางตนเสมอกัน สี่อัตถจริยาประพฤติประโยชน์แก่กันและกัน เธอต้องฝึกมากที่สุดระหว่างบวช สึกไปแล้วประพฤติให้มากที่สุดมันจะมีความสุขมีความสงบเป็นสมณะ ถ้าประพฤติต่อสังคมไม่ถูกต้องมันจะเกิดปัญหายุ่งยากขึ้นไม่สงบ ส่วนตัวเองประพฤติธรรมะสี่อย่างคือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ส่วนเกี่ยวสังคมประพฤติธรรมะสี่อย่าง คือ ทาน ปิยวาจา สมานัตตตา อัตถจริยา ถ้าได้ฝึกฝนไว้ในระหว่างบวชเพียงพอติดตัวสึกออกไปเรียกว่าการอบรมนี้ไม่เป็นหมันเป็นผลบวชทีหนึ่งได้ผลที่ได้รับคือตัวเราได้รับประโยชน์ด้วยคนอื่นได้รับประโยชน์ด้วยมันก็ดีแหละ คือมีศีลธรรมกันครบถ้วนทุกฝ่าย มีศีลธรรมก็สงบปกติสงบเป็นสุขถ้าคนไหนมันจริงมันก็จำไปแหละกลับไปก็จดแหละถ้ามันจริงกลับไปถึงที่พักก็จด สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะเพราะมันเป็นคนจริง ถ้ามันเป็นคนไม่จริงเวลานี้มันก็ไม่จำ มันนั่งฟังพอให้หมดเวลามันก็ไม่จำมันก็ไม่จริงถ้าเป็นคนไม่จริงก็ไม่บังคับตัวไม่มีหลักเกณฑ์จะบังคับตัวไม่ได้ประพฤติอดกลั้นอดทน ไม่ได้สละสิ่งที่มีในตน มันมีอะไรที่ไม่ควรมีในตนเต็มไปหมดจริงไปหมดต่อไปตามเดิมนั่นแหละ เธอทำให้ดีๆ ต้องมีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะเมื่อบวชอยู่แล้วเมื่อสึกไป สำหรับผู้อื่นเธอมีทาน ปิยวาจา สมานัตตตา อัตถจริยาทั้งเมื่อบวชและเมื่อสึก แล้วเธอก็จะได้สังคมที่ดีได้ประโยชน์ทั้งในทางโลกและทั้งในทางธรรม ประโยชน์ในโลกก็เพื่อในโลก ทางธรรมก็เพื่ออยู่เหนือโลก ประโยชน์ในโลกก็มีทรัพย์สมบัติพอควร มีเกียรติยศชื่อเสียงพอควร มีมิตรสหายที่ดีพอควร นี่เป็นเรื่องในอนาคตแต่ควรจะจำไว้นะถ้าเกิดมาไม่เสียชาติเกิด เกิดมาไม่เสียชาติเกิดฆราวาสคนนั้นมันต้องมีทรัพย์สมบัติพอตัว ต้องมีเกียรติยศชื่อเสียงพอตัว ต้องมีเพื่อนที่ดีพอตัว นี่เรียกว่าไม่เสียชาติเกิดถ้าใครไม่ได้เท่านี้เรียกว่าเสียชาติเกิด นี่ถ้าว่าประโยชน์ทางธรรมคือเราไม่มีความทุกข์ในจิตใจของเราไม่มีความทุกข์มีธรรมะ พอในใจจะไม่เป็นทุกข์ในสิ่งใดๆ อะไรมันทำให้เป็นทุกข์เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง เราแก้ไขให้มันถูกต้องเราไม่ต้องเป็นทุกข์เรื่องร้องไห้ไม่มี เรื่องหลงใหลยินดีพอใจก็ไม่มี เขาเรียกว่าไม่ต้องหัวเราะไม่ต้องร้องไห้สบายดี เอาประโยชน์ทางธรรมทางจิตใจที่สูงขึ้นไปแต่ว่าเอาประโยชน์ทางโลกโลกให้ได้ก่อน มีทรัพย์สมบัติพอสมควร มีชื่อเสียงพอสมควร ให้มีเพื่อนที่ดีๆมิตรสหายมีสังคมที่ดีๆ เท่าที่ควรจะมี ที่เราบวชประพฤติอบรมตัวเองอย่างที่ว่า มีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ มีทาน ปิยวาจา สมานัตตตา อัตถจริยา ไม่ต้องสงสัยถ้ามีประโยชน์ทางโลกสมบูรณ์ มีทรัพย์สมบัติ มีเกียรติยศชื่อเสียง มีมิตรสหายที่ดี นี่ประโยชน์ทางธรรมหัวใจของเรา ทุกข์ไม่เป็น เป็นทุกข์ไม่เป็น เป็นทุกข์กับเขาไม่ได้ ไม่รู้จักทุกข์ เอาแหละพอแล้ว เธอมาบวชสามเณรกัน มาบวชเรียนเป็นสมณะ สมณะอยู่ที่บ้านก็ได้ อยู่ที่วัดก็ได้ เพราะเราต้องสึกไปอยู่ที่บ้านไปเป็นสมณะที่บ้าน ดีที่สุดตามหลักที่เขามีกันเป็นโสดาบันก็มี สกิทาคามี อนาคามีก็มีที่เขาอยู่กันที่บ้าน เราจะเป็นสมณะไม่ว่าจะอยู่ที่วัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน ต่อไป ความเป็นสมณะที่สมบูรณ์อยู่เรื่อยมันเตรียมอยู่เรื่อย มันเตรียมสมณะต่อไปจะเป็นสมณะที่สมบูรณ์ อยู่ที่บ้านก็ได้อยู่ที่วัดก็ได้ตามเรื่องแหละ การมาบวชเณรของเราก็ได้ประโยชน์ไม่เสียเปล่า ไม่เหนื่อยเปล่า ไม่เป็นหมันเปล่านั่นแหละ เราพูดเท่านี้ ให้จำไว้สี่ข้อปฏิบัติเพื่อตัวเองสี่ข้อ ปฏิบัติสังคม เราเป็นสมณะให้ได้ยิ่งๆขึ้นไปทุกๆที อย่าเป็นแค่เตรียมสมณะอยู่เท่าเดิม เราใหญ่ขึ้นทุกวันๆจะเป็นสามเณรอยู่เรื่อยไปไม่ได้ ต้องเป็นสมณะในที่สุด ปิดประชุมวันนี้ปิดประชุม