แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
มีปัญหายังไงบ้าง ถ้าบอกได้ก็ดี ที่ทำให้ต้องมานี่มีปัญหายังไงบ้าง หรือไม่รู้จักตัวเอง เหตุผลที่ว่ามีปัญหายังไงถึงเดือดร้อน ถึงต้องมาที่นี่ มีความประสงค์อย่างไร มันมีอะไรเป็นปัญหาที่เราจะต้องแก้ไข แก้ไขไม่ได้จึงต้องมาที่นี่ในทำนองนั้น ว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง จะเป็นเรื่องการเป็นอยู่หรือการเล่าเรียน หรือจิตใจหรืออะไรก็ตาม ถ้าไม่มีปัญหาก็ไม่ต้อง ไม่ต้อง ก็ไม่ต้องอะไรคนเราถ้าไม่มีปัญหา เดี๋ยวนี้มีการเล่าเรียนอยู่ใช่ไหม แล้วมีปัญหายังไงบ้าง อ้าว, ว่ายังไง (นาทีที่ 01.49น.) เออ, ปัญหาเท่านั้นก็ได้ ก็บอกอย่างนั้นซิ บวช บวชให้ศพกี่ศพ (นาทีที่ 02.00น.) นอกนั้นบวชทำไม (นาทีที่ 02.02น.) ศพนั่นเขาเรียก บวชหน้าศพ สักกี่วัน (นาทีที่ 02.13น.) ก็เผื่อจะบวชจนโรงเรียนเปิดภาค (นาทีที่ 02.20น.) ใครเป็นคนคิดให้บวชหน้าศพ (นาทีที่ 02.28น.) แล้วทราบว่าอย่างไรถึงว่าบวชหน้าศพ (นาทีที่ 02.34น.) คนหมายถึงคนที่ตายไปแล้ว แล้วถ้าคนยังเป็นๆ ไม่ตอบแทน (นาทีที่ 03.00น.) ทดแทนพ่อแม่ก็ควรจะบวชทั้งที่อยู่และที่ตายแล้ว ก็ๆ ก็เป็นธรรมเนียมมาอย่างนั้นแล้วเรามองเห็นหรือเปล่าว่ามันจะตอบแทนอะไรได้ (นาทีที่ 03.20น.) หมายถึงคนที่ยังไม่ตายสบายใจ คนที่ตายแล้วสบายใจอย่างไรได้ แล้วทำไมมานี่ (นาทีที่ 03.50น.) ทำไมไม่อยากสึก ก็ตลอดเวลาที่ยังไม่สึกก็คิดจะมาทีนี่ก็คิดว่าจะไม่สึกเหรอ (นาทีที่ 04.10น.) คิดว่าจะสึก ก็คิดว่าจะมีประโยชน์อะไรบ้าง มาที่นี่ก็ลองหาดู ยังไม่เคยบวชใช่ไหม (นาทีที่ 04.52น.) บวช ก็เห็นเขาบวช เขาได้อะไรบ้าง เราเคยเห็นเขาบวช แล้วเคยเห็นเขาได้อะไรกันบ้าง ลองว่ามาเท่าที่เคยเห็นแล้วนะ (นาทีที่ 05.33น.) เจ้าอาวาสวัดไหน วัดนอกธนบุรี แล้วนี่มาจากวัดไหน กี่วัด (นาทีที่ 06.07น.) แล้วทำไมมาพบกัน รู้จักกัน (นาทีที่ 06.12น.) มันก็ยังโทษใครไม่ได้ เดี๋ยวนี้มันธรรมเนียมประเพณี ไอ้ธรรมเนียมก็เป็น เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องเสาะแสวงหาเอาเอง ถ้ามันไม่ ถ้าเห็นว่ามันไม่ได้ ถ้าเห็นว่าได้แล้วก็ ก็ได้ ก็นี่พยายามให้มันได้ ถ้าเห็นว่ายังไม่ได้ก็ต้องเสาะหาให้มันได้อะไรที่เป็นประโยชน์ บางวันมันมีอะไรหนวกหูแบบนี้แหละ (นาทีที่ 07.54น.)
คนที่บวช บวชแต่เล็กๆ บวชแต่เล็กๆ นี่ก็มีอยู่ ๒ ชนิด บางทีบวชเลย บางทีก็บวชชั่วคราว ไอ้บวชเลยเขาก็ไม่ค่อยมีปัญหา เขาเรียนไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย เติบโตไปเรื่อย เจริญไปเรื่อยจนเป็นบวชพระ บวชอะไรอย่างนั้น ก็ไปอีกแบบหนึ่ง ทีนี้เราบวชชั่วคราวอย่างนี่ มันก็เหมือนกันไม่ได้ มันเลยกลายเป็นว่าเราบวชชั่วคราวนี้เพื่อให้รู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่การที่เราจะสึกกลับออกไปนั้น คือไปเล่าเรียน เพราะนั้นก็ต้องสนใจในข้อนี้ อะไรที่มันจะเป็นประโยชน์แก่การที่เราจะกลับสึกออกไปเท่าที่มันจะมีได้ที่นี่กันก็คือ มาเป็นอยู่แบบที่ตรงกันข้ามจากที่อยู่กันที่กรุงเทพ นั่นแหละมันก็มีอย่างนั้น
ทีนี้จะฟังไม่ถูกว่าตรงกันข้ามกันทำไม ถ้ามันตรงกัน ถ้ามันเหมือนกัน มันก็ไม่ต้องมา ก็คือไม่มีปัญหา ผิดกันนี่หมายความว่าเรามันอยู่อย่างตามระเบียบ ตามแบบฉบับของบุคคลผู้มีการบังคับตัวเอง มีเท่านั้น สรุปแล้วมันมีเท่านั้น จะอยู่กันอย่างสมัยใหม่ อย่างในเมืองหลวงอย่างอื่นนี่เขามันเรียกว่ามันไม่มีการบังคับตัวเอง เราก็เลยไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าบังคับตัวเอง ก็เลยมันคล้ายๆ กับว่ารู้อะไรด้านเดียวแล้วก็ทำตะบึงตะบันไปด้านเดียว ไม่ชอบการบังคับตัวเอง เดี๋ยวนี้เขาว่าเป็นประชาธิปไตย มันเลยเถิดแม้แต่ตัวเองก็ไม่บังคับ เพราะนั้นมันเป็นเรื่องผิดใหญ่โตไปมากมายทีเดียว ว่าเป็นอิสระ อิสระเลยกระทั่งจนว่าไม่ต้องบังคับ กิเลส ไม่ต้องบังคับตนเอง กลัวจะเสียอิสรภาพ ไอ้เด็กอันธพาลคิดอย่างนั้น ที่ว่าถูกห้ามไม่ให้ทำ ศีลวินัยเขาห้ามไม่ให้ทำอะไร ไม่ได้ทำแล้วมันเสียอิสรภาพว่าไม่ได้ แค่สนุกสนาน เอร็ดอร่อย ในความเป็นอันธพาลก็คิดไปอย่างนั้น เนื่องจากไม่บูชาไม่ชอบไอ้การบังคับตัวเองให้อยู่ในระเบียบในวินัย ก็แน่นอนว่าอันธพาลแน่นอน
เรียกว่าอยู่รู้จักการบังคับตัวเองเสียบ้าง อย่าเห็นว่ามันเป็นเรื่องไม่มี ไม่มีความหมายเช่นว่า วัดนี้มีระเบียบอย่างนี้ก็สักว่าเป็นระเบียบ ทำให้พอเป็นระเบียบของวัด อย่าคิดอย่างนั้น เพราะก่อนแต่จะมีระเบียบอะไรออกไปก็ ก็คิดกันแล้วคิดกันอีก ไม่ให้นอนสาย ไม่ให้สูบบุหรี่หรือไม่ให้กินอยู่แบบตามใจตัวเองนี่ มันมีความหมายอย่างนั้น มันมีความหมายไม่ให้ตามใจตัวเอง คนนอนสาย คนสูบบุหรี่ คนกินเล่นตามสบายนี่มันทำให้นิสัยมันเสีย ไม่มีการบังคับตัวเอง เราจะอยู่ได้กี่วันที่นี่ ถ้าจะเอาประโยชน์ก็ ก็ต้องทำอย่างนั้นแหละให้สุดความสามารถ นั่นนะเขาเรียกว่าบวช คำว่า บวช ก็คือการเว้นไอ้ที่ต้องเว้น ใจความมันก็เป็นการบังคับตัวเองทันทีให้อยู่ในระเบียบในวินัยที่เขาทำไว้ดีแล้วสำหรับคนเราจะได้มีจิตใจดี เรื่องนี้พูดยาก ถ้าพูดก็ไม่ยากแต่เข้าใจยาก เพราะว่าเด็กๆ นี่ไม่เคยเห็นว่าคนแก่รุ่นก่อนๆ นะเขาอยู่กันอย่างไร เขาทำกันอย่างไร เขานิยมอะไร แล้วบางทีไปเห็นไปทราบเข้าก็จะคิดว่าพ้นสมัยแล้ว พ้นสมัยแล้ว เราไม่ต้องทำแล้ว เด็กรุ่นนี้ไม่ต้องทำแล้ว มันก็จริงเหมือนกัน แต่ว่าที่ว่าไม่ต้องทำแล้วนั่นแหละมันจะไปทางไหนกันก็ดูให้ดีๆ มันไปในทางบังคับตัวเองเตลิดเปิดเปิงไปเลย ไม่ๆ ไม่บังคับตัวเอง ปล่อยตามใจตัวเองเตลิดเปิดเปิงไปเลย เพราะนั้นการเรียนจึงไม่ค่อยจะได้ผล นี่สมัยนี้มีการเรียนปนเล่นยิ่งไม่ค่อยได้ผล นี่สมัยนี้ครูดุหรือว่าตีนักเรียนก็ไม่ได้ด้วยแล้วก็เลยไปกันใหญ่ เพราะนั้นเราก็หาวิธีเอาเองนะ เมื่อเขาไม่บังคับ ไม่ช่วยบังคับ เมื่อโรงเรียนเขาไม่ช่วยบังคับ เราก็หาวิธี หาระเบียบเอาเองที่จะบังคับตัวเองให้มันเป็นระเบียบ ถ้าโรงเรียนเขามีสำหรับบังคับก็ดี เพราะนั้นเรายินดีที่จะให้มันมีการบังคับให้มากเข้าไว้ ไอ้คนที่เขายังไม่เห็นประโยชน์ของการบังคับตนเองนี่เพราะเขาไม่ชอบ เหยียดว่าพ้นสมัยแล้ว อะไรแล้ว แต่ที่จริงมันมีประโยชน์ที่สุดที่ทำให้การเรียนสำเร็จหรือคนเรามันฉลาด มีความสามารถ คนแต่ก่อนเขามีระเบียบวินัยถี่ยิบ แม้แต่กระทั่งเป็นนักเรียนไปแล้ว กระทั่งว่าเป็นหนุ่ม เป็นสาว เป็นผู้ใหญ่ไปแล้ว มันก็มีเรื่องที่เขาต้องระมัดระวังกันมากกว่าเดี๋ยวนี้ คือเขากลัวบาป เขาอยากได้บุญและเขากลัวบาป ส่วนคนสมัยนี้เขาไม่ต้องการอย่างนั้น ต้องการแค่ให้สนุก ให้สนุก ให้เอร็ดอร่อย ให้สนุกไปวันๆ หนึ่ง แม้แต่ในการเล่าเรียนก็ต้องการให้สนุก การเล่าเรียนที่สนุก ก่อนนี้เขาแยกกันเด็ดขาด เล่นก็เล่น เรียนก็เรียน ไม่ปนกัน เล่นก็เล่น ไอ้เรียนก็เครียดที่สุด เพราะนั้นคนมันจึงเข้มแข็งในทางนี้ เดี๋ยวนี้ก็เรียนอย่างสบาย วิชาความรู้ที่เรียนก็เป็นเรื่องสบายๆ มาทำงานก็ทำอย่างสบายๆ เงินเดือนก็แพง เราแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรแก่บ้านเมือง นี่ลองสังเกตดูข้อนี้
สามเณร: บุญกับบาปนี้มีจริงไหมครับ (นาทีที่ 18.38น) ที่ถามนี้รู้จักบุญหรือบาปได้อย่างไร รู้จักบุญกับบาปได้อย่างไร ยัง แล้วทำไมถึงถามว่ามีจริงไหม ถ้ารู้จักบุญและบาปแล้ว มันก็เห็นว่ามีจริงซิ ใช่ไหม ก็ต้องถามว่ามีจริงไหม มันก็ไม่รู้จักหรือมันสงสัยลังเล มันต้องมีแน่ มันมีแน่ยิ่งกว่าแน่ เพราะว่าอย่างน้อยมันก็มีคำพูด ๒ คำนี้อยู่แล้ว โดยชื่อมันต้องมีแน่ โดยคำพูดต้องมีแน่ แล้วคนแต่โบราณกาลนู้นเขาก็บัญญัติมันขึ้นโดยที่มันมีปัญหาเกิดขึ้นจริงๆ คำว่า บุญ ตัวหนังสือนี้มันแปลว่า สุขใจ มีความสุข สุขใจ มีความผาสุก คือสุขใจก็ได้ คือว่ามันอิ่ม มันอิ่มหรือมันเต็ม มันอิ่ม มันอิ่มอกอิ่มใจ ทีนี้ถ้าว่าสูงขึ้นไปมันแปลว่า ล้างบาป บุญ นี้แปลว่า สิ่งซึ่งอาจจะล้างบาป นี่เธอเห็นว่ามันมีไหมไอ้ๆ ความสุขใจความสบายใจ มันมีมาจากหลายๆ ทาง มีมาจากทางดีก็ได้ คือมันมีความคิดถูกต้อง มีการกระทำถูกต้อง ก็ทำความดีที่แท้จริงแล้วมันพอใจตัวเอง พอใจตัวเองว่าเราดี มันไม่มีเวลาไหนที่ว่าเราจะมีความสุขมากไปกว่าเวลาที่เรารู้สึกว่าเราดี ลองคิดดู ในเวลาที่เราภาคภูมิใจ สบายใจที่สุดนะคือเวลาที่เรารู้สึกว่าเราดีหรือมีดี อันนี้เขาเรียกว่า บุญในชั้นแรก เพราะว่ามันรู้สึกว่ามีดีมันต้องแน่ใจว่าได้ทำดี ที่ดีนั้นมันอาจจะดีจริงก็ได้ ดีไม่ค่อยจริงก็ได้ ดีมากดีน้อยดีอะไรก็ได้ หรือว่าดีหลอกๆ ก็ได้ คือเข้าใจว่าดี ถึงแม้ว่าเราจะเข้าใจว่าดีทั้งที่มันไม่ได้ดีจริงหรือว่าดีนักมันก็มีความสุขเหมือนกัน อย่างคนมันมีธนบัตรเก๊แต่มันไม่รู้นี่มันก็สบายใจเหมือนกัน แต่ถ้ามันเกิดรู้ว่าเก๊ขึ้นมามันจึงจะหมดความสบายใจ ทีนี้เราเพื่อความปลอดภัยเราก็แสวงหาไอ้บุญที่มันดีที่มันเก๊ไม่ได้ พอเราสบายใจทีแรกแล้วมันไปได้สบายใจตลอดไป ที่มันพิสูจน์ให้เห็นว่ามันดีจริงอยู่เสมอ มันอุตสาห์ถือหลักอย่างนั้น ถ้ามีดีแล้วให้มันดีจริงๆ แล้วให้พอใจ ให้ยินดีที่มันดีจริงๆ แล้วก็สบายใจ สบายใจนั้นก็เรียกว่าบุญ มันก็ แต่มันก็มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างนี้ เข้าใจผิดเอาดีไม่จริงมาเป็นดีไปพักหนึ่ง ทีนี้ก็มันก็เปลี่ยนเพราะว่าถ้ามันดีจริงมันก็ไม่รู้จักเปลี่ยน มันก็สบายใจไปได้เรื่อย
ทีนี้ที่เกี่ยวกับโลกหน้า เกี่ยวกับต่อตายแล้วนั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเขาเชื่ออย่างนั้น เขาสบายใจมันก็เป็นบุญของเขาเหมือนกัน ไอ้เรานี้ไม่ต้องฝากไว้กับโลกหน้า เราต้องดีจริงๆ ที่นี่ ถ้าดีจริงๆ ที่นี่ตายแล้วมันก็ดีแล้วไม่ต้องคิดก็ได้ ขอให้มันดีที่นี่ดีอย่างถูกต้องเถอะ ถ้าตายแล้วมาเกิดอีกมันก็ต้องดีแน่ เพราะนั้นอย่าไปคิดทำดีต่อๆ ต่อเกิดใหม่โลกหน้า คิดว่าดีที่นี่เดี๋ยวนี้ ถ้าทีนี่มันดีตายแล้วมันต้องดีแน่ นี้เรียกว่าชั้นแรก เราสบายใจเพราะว่าเรามีความดี ความดีนั้นคือบุญ ทำให้เป็นสุข เพราะว่าเรานับถือตัวเราได้ เพราะเราพอใจตัวเราได้ ถ้าเราเลวเราชักเกลียดชังตัวเอง มันก็เลยไม่มีความสุข มันก็เป็นบาป พอเรารู้สึกว่าเราเลวแล้วเราก็จะต้องกระสับกระส่ายว่าเรามันเลว คนอื่นรู้เข้ามันก็ไม่ไหว ถึงไม่มีคนอื่นรู้เรามันก็กระสับกระส่าย มันไม่มีความสุข มันก็คือบาป มันคล้ายๆ กับว่าพลิกคนละข้างนะ อยู่ใกล้ๆ อยู่ติดกัน พอพลิกอย่างนี้ก็เป็นบาปพลิกอย่างนี้ก็เป็นบุญ ถ้ามันทำดี ทำถูก พอใจตัวเองได้ มันก็เป็นบุญ ถ้ามันทำไม่ดี ติเตียนตัวเองได้นี่ก็ มันก็เป็นบาป เพราะนั้นเธอจะต้องเห็นให้มันชัดว่ามันมีจริงยิ่งกว่ามีจริง บางอย่างเสียอีก บางอย่างก็มีจริงแต่ก็ไม่ค่อยจะมีจริงเท่าอันนี้ ถ้ากระทำชนิดที่ถูกต้องแล้วมันก็สบายใจ มันนับถือตัวเองขึ้นมา พอทำไม่ถูกต้องมันก็เกลียดน้ำหน้าตัวเองขึ้นมา มันก็เป็นบาป นี้ที่แน่นอน ทีนี้ที่พูดว่าต่อตายแล้ว ต่อแล้วมันขึ้นอยู่กับที่นี่ ขึ้นอยู่กับที่ว่าทำดีจริงหรือไม่จริงเดี๋ยวนี้ ถ้าทำบาปเดี๋ยวนี้ตายไปมันก็ถ้าเกิดอีกมันก็ต้องเป็นบาป เพราะมันสะสมไว้แต่ไอ้เรื่องบาปหรือเชื้อบาป นี่เรามันหมดไปทีหนึ่งที่เรียกว่า บุญ นี่ซึ่งทำให้สบายใจ อิ่มใจ
ทีนี้ก็อันที่ ๒ เรียกว่ามัน ล้างบาป เมื่อตะกี้ก็พูดกันคนละที บุญกับบาป คือต่างกัน บุญให้ดีใจ ให้สบายใจ บาปให้ร้อนใจ แยกไปคนละอัน ทีนี้พูดอีกทีหนึ่งในฐานะที่มันสัมพันธ์กัน บุญเป็นเครื่องล้างบาป เพราะนั้นถ้าทำบุญขึ้นไอ้บาปนั้นมันจะหายไป มันอยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะนั้นเราทำให้กาย วาจา ใจ ให้เป็นบุญ ไอ้บาปมันก็เกิดไม่ได้ หรือว่ามันทำบาปอยู่ก่อนพอเราทำบุญเข้ามาบาปก็หายไป หรือว่าแล้วแต่ใครจะ จะมีกำลังมาก ถ้าบุญกำลังน้อยมันก็ชนะบาปไม่ได้ เราเปรียบเป็นของ ๒ อย่างเห็นง่ายๆ ว่าแมวกับหนูนี้ ถ้าหนูอยู่ก็หมายความว่าแมวมันทำอะไรไม่ได้ ถ้าแมวอยู่หนูมันก็หายไป มันอยู่ด้วยกันไม่ได้ หรือมันเหมือนกับบวกกับลบ ไอ้บุญนะเหมือนกับบวกทำให้ฟูให้สบายใจ ไอ้บาปมันก็ลบ ได้บุญเข้ามาบาปมันก็ถูกกำจัดออกไป ทั้งที่เราทำบุญนะบาปมันก็ถูกกำจัดออกไป เขาจึงเรียกว่าไอ้บุญนั้นนะคือสิ่งสำหรับล้างบาปหรือกำจัดบาป ดีก็กำจัดชั่ว เว้นเสียแต่ว่ามันทำชั่วเสียมากมายเกินไป ทำดีนิดหนึ่งมันกำจัดไม่ไหว ก็เรียกได้ว่าไอ้ตัวสำหรับบวกมันมีน้อยตัวลบมันมากมหึมา เพราะนั้นก็เป็นลบอยู่นั่นแหละ ที่ถามว่าบุญบาปมีจริงไหมนี่ให้มองเห็นมันมีจริงอย่างนี้ บุญ คือการกระทำทางกายก็ได้ วาจาก็ได้ ใจก็ได้ ที่ทำแล้วสบายใจ พอใจตัวเอง นับถือตัวเองมีความสุข ทีนี้บาปก็ทำด้วยกายก็ได้ วาจาก็ได้ ใจก็ได้ มันตรงกันข้าม พอคิดจะทำมันก็ชักจะสงสัยลังเลว่าถ้าจะแย่ ว่าต้องละอายเขาหรือจะต้อง มันไม่สุขใจตั้งแต่แรกคิดจะทำ ถ้าทำเข้ามันก็อาจจะได้ความเอร็ดอร่อย สนุกสนานทางเนื้อทางหนัง ถ้าเกิดเข้าผลของบาปนั้นมันร้ายกาจกว่านั้นมาก มันทำให้เลวลง ทำให้เป็นคนเลวลง เลวลง จนไม่รู้อะไรดี อะไรชั่ว อะไรบุญ อะไรบาป มันก็เลยจะต้องไม่มีความพอใจตัวเองอะไรแล้ว และในที่สุดมันมาถึง ไอ้บาปมันมาถึง เดือดร้อน แต่บางทีมันต้องการเวลาบ้าง ทั้งบุญและทั้งบาปนี่ เราคิดว่าทำบาปแล้ว อ้าว, ทำไมไม่เดือดร้อน ไม่ๆ ไม่เป็นทุกข์ มันต้องการเวลาบ้าง เพราะนั้นอาจที่บาปมันยังไม่ให้ผลนี่ไอ้คนทำมันก็โง่ไปพลางก่อน บาปมันยังไม่ทันจะให้ผลคนทำมันก็โง่ไปพลางก่อน คือคิดว่าบาปนี่ไม่ให้ผล คือบาปนี่ไม่มี คือบาปนี่เป็นของดีไปเลย มันไปขโมยเขา เขาจับไม่ได้ เอามากินมาใช้สนุกสนานเอร็ดอร่อยไป ก็คิด เอ่อ, บาปนี้มันก็ดี นี่มันโง่ มันโง่ดักดานเสียแล้ว แต่พอมันมาถึงเข้า ถึงบทที่มันแสดงเข้า เหมือนกับตกนรกทีนี้ ทีนี้ดีก็เหมือนกันแหละ บุญ บุญคือดี อย่างนี้ มันต้องเวลา บางกรณีมันต้องการเวลาบ้าง ทีนี้คนก็ไม่เข้าใจ เราทำดีจะตายไม่เห็นได้ดี นี่มันก็ถ้าคิดอย่างนั้นมันก็ยังโง่อยู่ มันก็ดูไปซิ ทำดีมันก็ดี ทำชั่วมันก็ชั่ว ไอ้ที่จะได้ผลทันทีเสียอีก อีกส่วนหนึ่งมันไม่แน่ มันต้องการเวลาบ้าง แต่ที่มันแน่ก็พอเราทำดีเราก็เป็นคนดี พอเราทำชั่วเราก็เป็นคนชั่ว ใครเห็นไม่เห็นก็ตามใจ เพราะเราถือกันว่านั้นคือทำ อันนั้นคือดี นั้นคือชั่ว พอทำเข้าแล้วมันก็ดีก็ชั่ว นี้แน่นอน พอทำมันก็ดีหรือชั่วเสร็จเลย
ทีนี้ผลดีที่จะตามสนองให้เป็นปฏิกิริยาอย่างหนึ่งมันไม่แน่ ที่มาช้า มาช้าจนรอไม่ไหวเพราะเหตุว่ามันทำสับ สลับ สลับปนเปกันไปมาก ทั้งบุญทั้งบาปทำสับสลับปนเปกันไปมาก ในคนๆ หนึ่ง นี้บาปทำไว้มาก ทีนี้เกิดมาทำบุญไว้เข้าไม่ได้รับผลบุญ บาปทั้งหลายให้ผลก็เลยเข้าใจผิด เข้าใจผิดอย่างนี้เขาเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ถ้าลองเป็น มิจฉาทิฏฐิ แล้วยุ่งหมด คือจะเลอะเทอะ ยุ่งหมดแล้วก็จะนำไปสู่ความเห็นผิด เข้าใจผิด ทำผิด ทีหลังเพราะว่าไอ้หลักมันผิด เพราะนั้นความเห็นผิดนี้เขาก็จัดไว้ในฝ่ายบาป นี้เพื่อจะแยกให้มันละเอียด ให้มันทำง่ายหรือว่าทำได้ดีเขาก็ต้องแยกให้มันเป็น ทางกาย ทางวาจา ทางใจ พูดรวมๆ กันมันเข้าใจยาก ทางกายก็มีการกระทำทางกายที่เห็นว่าดี ทางวาจาก็คือพูด ทางการพูดจาที่ดี ที่ถูกต้อง ที่มีประโยชน์ ทีนี้ทางจิตนี่ก็คิดนึก ที่ดี ที่ถูกต้อง ที่มีประโยชน์ เพราะนั้นบุญนี้ทำได้ ทางกาย ทางวาจา ทางจิต ถ้าเรามีหลักอย่างนี้อยู่ในส่วน ส่วนจิตใจในส่วนศีลธรรม ไอ้เราก็ปลอดภัย ปลอดภัยทางจิตใจ เราเรียนแต่หนังสือในโรงเรียน สอบไล่ได้มันเรื่องอาชีพทั้งนั้นแหละ มันไม่เกี่ยวกับดีชั่ว มันเอาไปเป็นเพียงอาชีพ ทีนี้อาชีพนั้นใช้ชั่วก็ได้ ใช้ดีก็ได้ ถ้าในระหว่างที่ทำอาชีพดีอยู่ แต่ถ้าไปทำกรรม ทำบุญบาปอื่นผิดเข้าอาชีพนั้นก็ช่วยไม่ได้นะ มันยุ่งไปหมด วิชาอาชีพที่ทำไว้ดี ทำไว้สูง มันก็เป็นเรื่องอาชีพเหมือนกัน ทำได้ก็ให้ได้ผลได้ชื่อเสียง ได้เงิน ได้อะไรมา แต่มันยังมีอีกส่วนหนึ่งคือ ความสุข ความทุกข์ นี่มันไม่ค่อยเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ มันเกี่ยวกับจิตใจ มีเงินมาก มีเกียรติมากไม่เคยมีความสุขเลยก็มี ข้อนี้ต้องจำไว้ด้วยเพื่อไปสังเกตดูบุคคลบางคน มีเกียรติมาก มีอำนาจมาก มีเงินมากแต่ก็หาความสุขยาก นอนตาไม่ค่อยหลับ วิตกกังวลเหมือนกับทนทุกข์ทรมานอยู่เสมอ แล้วก็ตั้งใจไว้ไม่ดีหรือเขาทำผิดไว้มาก ทำบาปมาก นึกถึงตัวเองทีไรแล้วใจหาย เขาเห็นแต่ความชั่วของตัว ไม่เห็นความดีที่น่าชื่นใจเลย แต่ว่าเงินมาก เงินแยะ เยอะแยะไปหมด แต่ว่านึกถึงตัวเองทีไร โว้ย, มันเศร้า นี่คือคนบาป เป็นคนบาป เหมือนตกนรกทั้งเป็น เป็นคนบาป นี่ถ้าฟังให้ดีแล้วจะเห็น และเข้าใจว่าบุญมันมีหรือไม่มี บาปมันมีหรือไม่มี มันมียิ่งกว่ามีอีก แต่ถ้าเราไม่เห็น เราไม่เข้าใจ มันก็เหมือนกับไม่มี เหมือนกับลมๆ แล้งๆ แต่ที่จริงมัน มันมีจริงเหลือเกิน ทั้งที่มันไม่มีรูปร่าง มันอาจแสดงออกมาทางกายวาจาได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่รูปร่างของบุญหรือบาปโดยตรง เพราะบุญหรือบาปนั้นเขาเล็งถึงจิตใจที่ดีหรือเลว แล้วก็เล็งถึงเจตนาความตั้งใจที่จะกระทำด้วย เอาละการถามถึงเรื่องบุญเรื่องบาปนี่ก็ดีมาก เพราะมันเป็นสิ่งที่จะคู่กันไปกับมนุษย์ ตั้งแต่ต้นจนปลายแหละ แล้วแต่ว่าจะปลายถึงไหน ปลายถึงนิพพานก็ได้ มันจะคู่กันไปกับมนุษย์ บุญและบาปนี่ จนกว่าถึงไอ้วินาทีสุดท้ายที่เราจะรู้สึกได้ ที่เราจะเป็นอยู่ได้ อย่าทำเล่นกับมัน
มีเรื่องอะไรอีก (นาทีที่ 35.16) นี่ก็เป็นปัญหาอันหนึ่ง ซึ่งถูกแล้วมันก็มีอยู่จริง เราไม่ฉลาดมากพอเราจึงไม่มองเห็นได้ทุกอย่าง ไอ้ความรู้สึกไม่สบายใจโดยไม่มองเห็นเหตุผล นั่นมันไม่ใช่ไม่มีเหตุผล ไม่ใช่ไม่มีเหตุผล มันก็มี มันมีเหตุที่ต้อง ที่ทำให้มองเห็น ความหงุดหงิด ความไม่สบายใจอะไรก็ตามที่ว่ามัน มันเป็นทุกข์แก่เรา แต่เราไม่มองเห็น มันก็มีอยู่ เขาก็เรียกว่ามันเป็นเรื่อง กรรมเหมือนกัน แต่ว่ากรรมที่มันละเอียดหรือมันซับซ้อน มันเป็นส่วนน้อย เราจะยกเว้นเช่น โรคภัยไข้เจ็บ โดยจะไม่ถือว่า ไม่ถือว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราเป็นโรคภัยไข้เจ็บชนิดที่ทำให้เกิดหงุดหงิด บอกไม่ถูกนั้นนะ เมื่อๆ เราไม่สบายเรามักจะเป็นอย่างนี้ ก็จะไม่ถือเอาอย่างนั้นเป็นหลัก มันเป็นเรื่องไม่สบาย ก็ไปหายากินเสีย ที่เราเกิดความคิดนึกชนิดที่ไม่ถูกต้อง เกิดวิตกกังวล เกิดความหวาดความระแวง สงสัยลังเล เขาเรียกว่า ความไม่แน่ใจ ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญ เขาเรียกว่า นิวรณ์ ภาษาบาลีเรียกว่า นิวรณ์ ภาษาไทยมันก็คือ สิ่งรบกวนจิต สิ่งที่รบกวนจิตหรือว่าไม่ให้จิตได้รับความพักผ่อน ความแจ่มใส ความสุข เรียกว่านิวรณ์ พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ว่ามันมีมูลมาจาก โมหะ มันๆ มันมีมูลมาจาก อวิชชา มันหล่อเลี้ยงอวิชชา มันเป็นด้วยความไม่รู้ถ้าพูดให้ถูก พูดอย่างไทยๆ มันก็คือความไม่รู้ อวิชชาเกิดนิวรณ์ นิวรณ์ให้เกิดอวิชชา หล่อเลี้ยงกันอยู่อย่างนี้ ก็คือความไม่รู้ที่เรามีอยู่ ความที่เราปราศจากความรู้ เราไม่มีความแน่ใจ ในสิ่งที่เราคิดจะทำหรือว่าที่เรากระทำแล้วหรือว่าจะกระทำอะไรก็ตาม ความที่ไม่มีความรู้พอในเรื่องนี้มันก็รำคาญเพราะไม่รู้ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้อะไรด้วย ไม่แน่ใจว่าจะได้อะไรด้วย มันเลยไม่มีอะไรที่ ที่แน่ใจไปเสียหมด ก็เลยไม่สนุกในการที่จะทำอะไร นี้เขาเรียกว่ามันไม่มีความสุข เพราะจิตมันไม่ มันไม่เด็ดขาดลงไปได้คือ ไม่เป็นสมาธิได้ ถ้าเป็นสมาธิได้มันก็มีความสุข ถ้ามันมีความสุขได้มันก็มีสมาธิ เพราะนั้นไปทำวิธีที่ว่าให้จิตมันเป็นสมาธิโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้มันแน่ใจไปเสียทางใดทางหนึ่ง จะทำอะไรก็คิดให้มันรู้ว่าจะทำอะไร แล้วควรจะทำอย่างไร แล้วทำด้วยจิตที่มันแน่นอนลงไป มันกลายเป็นสมาธิในการกระทำนั้น ไอ้ความลังเล ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญ มันก็หายไป ตอบอย่างภาษาธรรมะ แปลว่าจิตมันไม่เป็นสมาธิ แต่ในเวลาอย่างนี้จะทำจิตให้เป็นสมาธิก็ยาก ก็ยากเหมือนกัน ก็ต้องแก้ไขกันไปให้ ให้ฉลาดที่สุด ทั้งร่างกายทั้งจิตใจ แก้ไขกันไปพร้อมๆ กัน เช่นลุกขึ้นหรือว่าเปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนการกระทำ อย่างนี้ ไปตั้งต้นใหม่อันใดอันหนึ่งที่มันชัดเจนดี ง่ายกว่า เห็นชัดกว่าให้มันเป็นสมาธิอยู่ด้วยได้การงานอันนั้น มันก็เกิดสมาธิขึ้น การฟุ้งซ่านรำคาญนั้นก็หมดไปแล้ว ทางกายก็ช่วยได้ด้วยการออกกำลังแก้ความฟุ้งซ่านก็ได้ หรือว่าทำสมาธิง่ายๆ กำหนดอะไรที่มันง่ายๆ ให้มัน ให้มันเปลี่ยน ให้มันดึงมาเสียทางนี้ ดูจุดอะไรเล่น หรือว่ากำหนดลมหายใจซักพักหนึ่งเพื่อเปลี่ยนอารมณ์ ก็จะระงับไปไอ้ความเลื่อนลอย ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญของจิตนี้ได้ นี่เข้าหรือหลักมันมีอยู่อย่างนี้ แล้วก็ไปพยายามศึกษามัน ทดลอง ทดสอบ ทดลอง ค้นคว้ากับมัน แล้วมันก็จะสอนให้อีกและในที่สุดเราก็จะแก้ไขได้ นี่ถ้าทำอย่างนี้ก็ไม่ยากแล้ว เดี๋ยวนี้มันมาตามที่ว่าเรามันเคย เคยสบาย เคยตามใจตัวเอง ไม่เคยมีระเบียบอะไรที่มันเป็นระเบียบ ความเป็นสมาธิมันก็ไม่มี มันมาจากความเลื่อนลอย ตามสบาย
มีปัญหาอะไรอีก ใครมีปัญหาอะไรอีกก็ว่ามา อ้าว, แล้วก็เป็นว่าที่บวชนี่ถ้าๆ บวชจริง ถ้าให้มันเป็นไปตามความประสงค์การบวชจริงแล้วต้องหยิบไอ้เรื่องเหล่านี้ ที่กำลังพูดนี่ขึ้นมาศึกษา มาพิจารณา มาทบทวนอยู่ เป็นความรู้ นี่เขาเรียกส่วนความรู้ เรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องดี เรื่องชั่ว นี่เอามาศึกษาเป็นความรู้อยู่ให้เห็นแจ้ง ให้มันถูก ให้มันตรงยิ่งๆ ขึ้นไป นี้เป็นส่วนความรู้นะ
ทีนี้ที่เป็นส่วนการปฏิบัตินั้นก็คืออย่างที่ว่าเมื่อตะกี้ ตั้งอยู่ชนิดที่อยู่ในระเบียบวินัยของพระ ของเณรก็แล้วแต่เรียก ให้ดีที่สุดรวมความแล้วก็คือ บังคับตัวเองตลอดเวลา อย่าเห็นแก่ปาก เห็นแก่ท้อง เห็นแก่นอน เห็นแก่สบาย เห็นแก่อะไร ที่นี่เราพูดขึ้นไว้เป็นหลักง่ายๆ แต่บางคนก็ไม่ค่อยเข้าใจ เห็นเป็นของพูดเล่นหรือพูดว่า กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู เป็นอยู่อย่างทาส ยืดยาวไปจนตลอดนี่ แต่ว่า เพียงแต่ว่า กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู เป็นอยู่อย่างทาสนี้ก็พอแล้ว คือไม่ตามใจกิเลส ไม่เอา ไม่เอาเอร็ดอร่อย สนุกสนาน เอาแต่เท่าที่มันเหมาะสม คือจำเป็น กินข้าวจานแมว กินข้าวเท่าที่มันจะหิวเท่านั้นนะ อาบน้ำในคู ก็หมายความว่าไม่ต้องอยู่ตึก อยู่ร้าง อยู่อะไรที่มันสำเริง สำราญ สำอาง แบบชีวิตกลางดินเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ตึก อยู่ที่สบาย ที่มีแอร์หรือมีห้องน้ำ สะดวกสบาย ร่มก็ไม่มี รองเท้าก็ไม่มี นึกถึงพระพุทธเจ้ากันบ้าง เพราะเธอมักจะไม่นึก คือลืมไปว่าบวชนี่ ไม่ได้นึกว่าบวชอุทิศพระพุทธเจ้า ที่จริงการบวชมันต้องเป็นการบวชอุทิศพระพุทธเจ้าทั้งนั้นแหละ ทุกคนแหละ แต่นั่นมันลืมไป มันเลยไม่ ไม่รู้สึกในข้อนี้ มันก็เลยไม่ทำตามพระพุทธเจ้า ถ้าบวชอุทิศพระพุทธเจ้าแล้วมันก็ต้องทำตามพระพุทธเจ้า มันจึงจะได้ผลอย่างที่จะได้จากพระพุทธเจ้า เดี๋ยวนี้เราบวชแล้วก็ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ไม่รู้ทิศไม่รู้ทาง บวชหน้าศพก็ตาม บวชจริงก็ตาม บวชอะไรก็ตาม ถ้ามันไม่รู้ทิศรู้ทางแล้วมันก็เหลวทั้งนั้นแหละ ถ้ารู้ทิศรู้ทางแล้วแม้แต่บวชหน้าศพมันก็ได้ผลเต็มที่เหมือนกัน มันเป็นชีวิตที่อยู่ในระเบียบวินัยที่บังคับตัวเอง เป็นอยู่อย่างทาส นั่นก็หมายความว่าให้ ไม่พูด ไม่เถียง ไม่ปริปาก เป็นไปด้วยความอดทน จำไว้สัก ๓ คำก็พอแล้ว
กินข้าวจานแมว
อาบน้ำในคู
เป็นอยู่อย่างทาส
กลับไปถึงบ้านก็ทำได้ ไม่ใช่ว่าทำได้เฉพาะที่อยู่ที่นี่ คือว่ากินแต่พออยู่ได้ และอยู่อย่างพออยู่ได้ ทั้งกินทั้งอยู่ตามที่พออยู่ได้ นั้นเป็นอดทน เป็นอยู่อย่างทาส ต้องอดทน ต้องไม่ปริปาก ต้องไม่เถียง แม้ว่าเราเป็นฝ่ายถูก เราก็ไม่เถียง เราหัวเราะได้ (นาทีที่ 46.23น) ไอ้เรื่องอย่างนี้ต้องถือว่าเขามีความหมายอย่างไร เรายังไม่รู้ เพราะนั้นเราก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเวลาคัดค้านหรือว่าไปเสียเวลารับรองเข้าไปทั้งที่เรายังไม่มีเหตุผล ถ้าว่ามันมีสวรรค์จริงๆ นรกจริงๆ อยู่ที่ตัวบุญตัวบาปนี่ ถืออย่างที่คนโบราณเขาถือจะถูกกว่า เช่นว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นี่ไม่เคยได้ยินบ้างเหรอ (นาทีที่ 47.09น) ทีนี่จะขึ้นไปโปรดพุทธมารดาลง ไปโปรดนรกนั่น มันไม่มี ในพระคัมภีร์ที่แท้จริงมันไม่มี มันมีแต่ในคัมภีร์เล่มหลังๆ คัมภีร์ที่เขาแต่งขึ้นเพื่อความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นพุทธภาษิตตรัสว่า ฉันได้ขึ้นไปบนสวรรค์นั่นมันไม่มี ถึงแม้ในพระไตรปิฎกเองมันก็ไม่มี พระไตรปิฎกเองที่เขาเรียกว่าผู้ร้อยกรองพระไตรปิฎก ร้อยกรองขึ้นก็ไม่มีข้อความชนิดนี้ ว่าพระพุทธเจ้าได้ขึ้นไปสวรรค์หรือลงไปนรกก็ตาม มันไม่มี ทีนี้มันมีพระคัมภีร์พวกหนึ่งเขาเรียกว่า อรรถกถาฎีกา หรืออะไรออกมานี่ คราวนี้ มันมี แล้วมันยิ่งมีมากขึ้น แล้วมันยังวิจิตรพิสดารมากขึ้น ถ้าเราเห็นด้วยไม่ได้ ก็ไม่ต้อง ไม่ต้องไปนึกถึง ถ้าเราไปกลัวหรือไปพอใจนรกสวรรค์ที่จริงๆ ทำบาป ทำชั่ว ทำเลว ก็ไปนรกทันที เมื่อใดร้อนใจเมื่อนั้นเป็นนรก เมื่อนั้นตกนรกในร่างกายนี้แหละ สภาพนี้ ในที่นั่งนี้ คือเมื่อใดมันไหว้ตัวเองได้ พอใจตัวเองเมื่อนั้นเป็นสวรรค์ทันที ที่นั่น ตรงนั้น ในร่างกายนั้นมีจิตใจเป็นเทวดา เป็นผู้มีความสุขอย่างแท้จริง ไอ้เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ มันเป็นคำพูดที่ทำยุ่ง มันปนกันหมด โดยนรกสวรรค์ของผู้อื่นด้วยแล้วยิ่งเละเทะใหญ่ เอาปนกันยุ่งใหญ่ เอานรกเอาสวรรค์ของชาวพุทธก็แล้วกัน ของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงคือว่า ผลของความดีเป็นสวรรค์ ผลของความชั่วเป็นนรก พอเราเสวยผลของความดีด้วยใจของเรา ใจนี้ก็เป็นใจที่กำลังอยู่ในสวรรค์ ถ้าเสวยผลของความชั่วแล้วมันก็เป็นใจที่กำลังอยู่ในนรก นี่มันมีจริง ปู่ย่า ตายายของเราพูดว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ยังไม่เก่งเท่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่าสวรรค์ นรกนี่มันอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา เขาเรียกว่า ผัสสายตนิกนรก ผัสสายตนิกสวรรค์ นี้เป็นพระพุทธภาษิตซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎก ไปเปิดดูก็ได้ นรกอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สวรรค์อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ถ้ามันผิดเมื่อไรมันเป็นที่นั่นทันที ทางตาก็ได้ ทางหูก็ได้ นี่พระพุทธเจ้าขยับแคบเข้ามาถึงอย่างนี้ ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ คนโบราณพูดไว้ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นั้นมันยัง ยัง มันยังมัวกว่า มันชี้ว่าที่ชัดว่า ที่ตา ที่หู แล้วก็ที่ใจด้วยเหมือนกัน ไม่ได้ ไม่ได้ตัดทิ้งลงไป ที่ใจ นี้ทั้ง ๖ นี่ นี่มันน่ากลัวกว่าและจริงกว่า และเห็นได้กว่า จะเห็นได้ชัดกว่า เมื่อใดตาร้อนเป็นไฟ เมื่อใดหูร้อนเป็นไฟ เมื่อใดจมูกร้อนเป็นไฟ หมายความว่าเกิดไอ้ความร้อนใจขึ้นมาทางนั้นแหละ ก็เรียกว่านรก นรกที่เป็นไปทางอายตนะแห่งการสัมผัส ผัสสายตนิกนรก นรกที่มันอยู่ที่อายตนะแห่งการสัมผัส อายตนะแห่งการสัมผัสก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับจะสัมผัสกันกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันมี ๖ อย่าง เป็น ๖ คู่ทั้งข้างในเรียกว่า อายตนะภายใน ข้างนอกก็เรียก อายตนะข้างนอก พอพบกันแล้วก็มันก็แยกกัน ๒ ทาง คือว่าถ้ามันเอาความโง่เข้ามาประกอบแล้วก็อวิชชาเกิดขึ้น แล้วก็ มันก็เป็นไปเพื่อ เพื่อนรก ไม่มากก็น้อย แต่ถ้ามันเอาสติปัญญา วิชชาอะไรเข้ามาประกอบเป็นวิชชาแล้วก็มันก็เป็นไปเพื่อสวรรค์ ที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ ที่ทางอายตนะทั้ง ๖ นี้ จะเกิดนรกจะเกิดสวรรค์ขึ้นได้โดยที่ แล้วแต่ว่าความโง่หรือความฉลาดมันไปผสมโรงกันขนาดไหน ความโง่เขาเรียก อวิชชา ความฉลาดเขาเรียกว่า วิชชา ทำไมไม่เคยอ่านนรกสวรรค์อย่างนี้กันเลยเคยชินกับนรกสวรรค์ชนิดโน้นมันมากเกินไป (นาทีที่ 51.58น) แต่ว่าก็ถูกแล้ว ที่ว่าคิดอย่างนี้ เพราะว่าตามฝาผนังโบสถ์เขาเขียนแต่นรกสวรรค์กันอย่างนั้น ใช่ไหม แล้วนรกสวรรค์อย่างที่พระพุทธเจ้ามามันเขียนได้ ใครจะเขียนภาพจิตใจ มันไม่ได้ จะเขียนภาพไอ้นรกสวรรค์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเขียนไม่ได้ มันต้องเขียนบิดพลิ้วเป็นไอ้ ภาพบุคคลาธิษฐาน ให้ตกนรกแบบนั้นนะ แบบที่จับใส่หม้อน้ำร้อนต้ม แทงไอ้หลาว อะไรที่ทำให้มันเป็น แสดงความหมายให้มันเดือดร้อน แสดงผล ภาพของผล บาป นรก ก็เลยถือโอกาสเขียนให้ครบ ขู่คนที่จะทำชั่วให้มันครบ ที่ใต้ถุนเวทีนี้ก็มี เห็นไหม ดู แยกเป็นอย่างๆ นรกชนิดไหน ใครตก แสดงให้มันง่าย ให้มันชัดขึ้นสำหรับคนที่ ชาวบ้านทั่วไป คนโกงตาชั่งก็แสดงไว้ด้วยการถูกเหยียบด้วยตาชั่ง ที่หลังแล้วก็ชั่ง นี่เขาเรียกว่าสอนศีลธรรม
ออกไปอีก ออกไปอีกระยะหนึ่ง ตัวศีลธรรมที่เกี่ยวกับนรกสวรรค์นี่ มันอยู่ที่นี่ อยู่ที่อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ มันก็รับอารมณ์แล้วถ้ามันโง่ก็เป็นนรกที่นั่นทันที ถ้ามันฉลาดก็เป็นสวรรค์ที่นั่นทันที นี่นรกจริงตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ แต่มันเขียนภาพไม่ได้และคนมัน คนส่วนมากมันโง่ เข้าใจเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะนั้นพระอาจารย์ครั้งหลังๆ จึงเขียนอย่างอื่น เป็นนรกที่เขาพูดกันไว้แล้วก่อนพระพุทธเจ้า ไอ้นรกอย่างที่เขียนฝาผนังโบสถ์ คำเหล่านี้พูดกันไว้แล้วก่อนพระพุทธเจ้าเกิด มันก็พูดกันแต่เรื่องดีชั่ว แล้วพูดกันแต่เรื่องบุญและบาป เพราะนั้นเราจะต้องกลัวบาปและเราก็หวังที่จะให้มันเป็นบุญ แล้วถ้ามันเลยไปจากอีกนั้นทีหลังมันก็จะค่อยไปอยู่เหนือบาปเหนือบุญ เหนืออะไรกันอีกได้ แต่มันจะขึ้นไปอยู่เหนือบุญโดยไม่รู้จักบุญมันทำไม่ได้ มันต้องผ่านบาปไปยังบุญ ผ่านบุญไปยังนิพพาน ถ้าบวชจริง บวชนาน บวชยาวกันก็มีโอกาสศึกษาเรื่องนี้ เข้าใจตลอดทั้งนั้น แต่ถ้าเราไม่มีโอกาสบวชนานเราบวชได้เป็นระยะน้อยๆ เราก็ศึกษาเพียงหลักที่ว่าเราจะไม่ตกนรก หรือว่าให้มันเป็นไปในทางบุญอยู่ในตัวมันเอง โดยตลอดเวลา ก็ต้องลงมือตั้งต้นด้วยการฝึกฝนการบังคับตัวเอง การบังคับตัวเองอย่างที่พูดแล้วในที่นี้ ให้ทุกๆ เวลามันเป็นการบังคับตัวเองให้อยู่ในระเบียบ หรือว่าอยู่ในความถูกต้อง ให้สัมมา สัมมา คำนั้นแปลว่า ถูกต้อง ให้มันเป็นความถูกต้องนั้นนะ อะไรให้มันเป็นความถูกต้อง ความคิด การกระทำ การพูดจา การนึก การ ทุกอย่าง เป็นความถูกต้องแล้วเรียกว่า ความถูกต้อง ๘ ประการ รวมกันเป็น มรรค เป็นอริยมรรค ไปนิพพาน ไปดูเอาในหนังสือ ก็ไปจำเอาไว้ให้เป็นหลัก ดีกว่าไปท่องจำสูตรอะไรที่มันบ้าๆ บอๆ จำไว้ได้แต่เพียงประกอบอาชีพ แต่มันไม่ช่วย เดี๋ยวนี้ทั้ง ๕ คนนี้ใครจำได้บ้าง มรรคมีองค์ ๘ ความถูกต้อง ๘ ใครจำได้ เธอจำได้ไหม โตกว่าเพื่อน อ่านหนังสือ อ่านหนังสือที่เขาพิมพ์ เธอไม่เคยอ่านเลย มันก็ต้องมีหนังสือฆราวาสธรรม บรมธรรม อะไรมันต้องมี พูดถึงเรื่องความถูกต้อง ๘ ประการ เพราะว่ามันเป็นหัวใจ คือเป็น Nucleus หรือ Essence (นาทีที่ 56.51น) หรืออะไรก็ตามใจ มันของพุทธศาสนานะ ความถูกต้อง ๘ ประการ เป็นบาลี พระก็สวดกันอยู่บ่อยๆ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา นี้ คือความถูกต้องในทางความคิด ความเห็น ความรู้ ความเชื่อ นี่ แต่ท่านเรียกความคิดเห็นอย่างเดียว แต่มันคือความรู้ ความคิด ความเห็น ความเชื่อ อะไรต่างๆ อย่างนี้ เรียกว่า ทิฏฐิ มี ทิฏฐิ ถูกต้อง เขาก็มีความปรารถนา ความต้องการ ความหวัง รวมเรียกว่า สังกัปปะถูกต้อง สังกัปปะ แปลว่าดำริ ใฝ่ฝัน ปรารถนา หวัง จ้อง แล้วถูกต้อง สัมมาวาจา พูดจาถูกต้อง สัมมาสัมมันโต การกระทำถูกต้อง สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตอย่างถูกต้อง กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคูนะแหละถูกต้อง นี่ก็ สัมมาวายาโม พากเพียร ความพยายามตลอดสายต้องถูกต้อง สัมมาสติความรู้สึกตัว ความรู้สึกสมประดี ควบคุมตัวเอง รู้สึกตัวเองจะต้องถูกต้อง เรียกว่าสัมมาสติ สติถูกต้อง และสัมมาสมาธิ กำลังใจที่ระดมทุ่มเทลงไป ต้องถูกต้องคือสมาธิถูกต้อง รวมเป็นถูกต้อง ๘ อย่างนี้ เป็นตัวพรหมจรรย์นี้ เป็นตัวธรรมวินัยอย่างนี้ เป็นตัวหนทางอย่างนี้ เป็นตัวข้อปฏิบัติซึ่งจะนำเสียให้ออกจากความทุกข์ เป็นตัวศาสนาไปอย่างนั้น ไปดูจะเห็นว่ามันเป็นการบังคับตัวเอง เป็นการบังคับตัวเอง อันนี้เป็นเครื่องรับประกันไม่ให้ทำบาปอยู่ในตัว รับประกันให้มันเป็นบุญอยู่ในตัว รับประกันให้มันสูงไปกว่าบุญอีกอยู่ในตัว ถ้าเดินตามทาง ทางนี้ ทางมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้ ทีนี้คนที่บวชเข้ามาก็เพื่อที่จะเดินอย่างนี้ แต่มันยังเดินไม่ได้ถูก มันยังไม่ทันจะเดินถูก เพราะมันแค่บวชเข้ามา มันต้องศึกษาไป ศึกษาไป จนให้เห็นว่าถ้าเรากำลังเดินอยู่ในทาง ๘ อย่างนี้ ที่อยู่เป็นพระเป็นเณรนี่เดินดีหน่อย เดินเร็วหน่อย เดินน่าดูหน่อย พอออกไปเป็นชาวบ้านมัน มันก็สะเปะสะปะหน่อย เพราะเรื่องมันมาก แต่เราก็ต้องพยายามให้มันดีที่สุดเท่าที่มันจะดีได้ เพราะมันต้องเดินทางนี้อยู่ตลอดเวลา เดินทางอื่นมันก็ลงไปสู่ทางผิด นี่บาป ไม่มีประโยชน์ จะเรียกว่าบวชก็ได้ ปฏิบัติก็ได้ จะเรียกว่าเดินตามทางนี้ก็ได้ เหมือนๆ กัน ถ้าเดินอยู่ตามทางนี่จะสูบบุหรี่ได้ไหม ไอ้เณรตัวเล็กว่ายังไง ไม่ได้ ตัวนี่ ตัวเล็กนี่ ถ้าเดินไปตามทางนี่มันจะเหลวไหลในการเรียนได้ไหม มันมีความเห็นที่ถูกต้องนี่ ความพยายาม ความตั้งใจถูกต้อง พูดจาถูกต้อง การงานถูกต้อง อะไรถูกต้องหมด นี่คนเดินในทางนี้นี่มันจะทำไม่ได้ มันทำไม่ได้เอง มันจะกินเหล้า จะสูบบุหรี่ จะไปเที่ยวผู้หญิงนะไม่ได้เอง มันจะเหลวไหลในการเรียนก็ไม่ได้ มันจะใช้เงินเปลืองก็ไม่ได้ เพราะมันไม่เป็นสัมมาทิฎฐิ นี่ ถ้าที่มันจะทำอย่างนั้นมันไม่เป็นสัมมาทิฎฐิ มันผิด ตรงกันข้ามเสียแล้ว มันไม่เชื่อพระพุทธเจ้าเสียแล้ว มันโกหกเสียแล้ว มันบวช มันเหลืองๆ อุทิศให้พระพุทธเจ้าแต่มันไม่ทำตามพระพุทธเจ้า มันโกหก หน้าไหว้หลังหลอกต่อพระพุทธเจ้าเสียแล้ว เมื่อทุกคนมองเห็นในข้อนี้แล้วก็จะยินดีที่จะมีกำลังใจการที่จะอดทน อดทน ทุกอย่าง เพื่อให้ทุกอย่างมันถูกต้องทั้ง ๘ ประการนี้ เพราะมีคำพูดอยู่คำหนึ่งเขาพูดเผื่อไว้สำหรับบางคน เขาพูดว่าให้ ให้แน่ใจว่าเราจะประพฤติพรหมจรรย์แม้ด้วยน้ำตา ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยน้ำตา เขาพูด เธอนี่ฟังถูกไหม ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยน้ำตา เรารู้ว่าเธอฟังไม่ถูก ประพฤติพรหมจรรย์คือ บวช คือบวช คือพยายามกระทำอยู่อย่างนักบวชนี่เขาเรียกประพฤติพรหมจรรย์ ทีนี้ประพฤติด้วยน้ำตาก็หมายความว่า ไม่ยอมให้มันผิด ไม่ยอมให้มันเสียหาย มันอดทนที่จะให้ถูกอยู่เรื่อยจนน้ำตาไหล เข้าใจไหม อย่าหนีโรงเรียน อย่าเหลวไหลในชั้นเรียน ทนจนน้ำตาไหล ก็ทนได้ แล้วการเรียนจะดีหรือไม่ดี นี่ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่มันใช้ได้หมดไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะไปเป็นเด็กดีตัวเล็กๆ ชั้นอนุบาลมันก็เป็นเด็กที่ดี ครั้นโตๆ โตขึ้นมาจนกระทั่งออกจากมหาวิทยาลัย กระทั่งไปเป็นบุคคลที่ดีในสังคม ในประเทศชาติ ไม่ต้องเปลี่ยน หลักการนี้ไม่ต้องเปลี่ยน หลักการที่ว่ามีความถูกต้อง ๘ ประการนี้ไม่ต้องเปลี่ยน คือหลักการที่ว่าไม่ตกนรกอยู่เรื่อย ขึ้นสวรรค์อยู่เรื่อย คือพอใจตัวเองอยู่เรื่อย ไม่เคยรู้สึกเกลียดชังตัวเองเลย เธออุตส่าห์เรียนรู้เรื่องนี้นะในระหว่างบวชนี้ เพราะว่าสึกไปแล้วมันก็หาเวลายาก ในระหว่างบวชอยู่ที่นี่ เวลาเรียนเรื่องนี้ให้เข้าใจ มันไม่มาก ถ้าเรียน ถ้าศึกษาถูกวิธีมันไม่มากเดี๋ยวมันก็เข้าใจ นี้พอเข้าใจแล้วก็พยายามปฏิบัติ