แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๔ นี่ เป็นบทเรียนที่สำคัญมาก สำหรับหมวดที่ ๑ คือการบังคับกายสังขารคือลมหายใจ เราจะได้พิจารณากันโดยละเอียด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อประมวลมาจาก อ่า, คัมภีร์ คือข้อความในคัมภีร์ที่เป็นหลักฐานต่างๆ แล้ว ผมอยากจะเสนอแนะ ระบบวิธีการทำกายสังขารให้ระงบ เอ้อ, สงบระงับ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การกระทำอันนี้ เรียกในภาษาบาลีว่า อุบาย อุบาย มันจะมีความหมายตรงกับคำว่า Technique แต่มันมากกว่านั้น จะเรียกว่ามันเป็น Trick โดยตรงก็ได้ เป็นอุบายที่จะบังคับ ให้สำเร็จตามที่เราต้องการ ปราศจากอุบายหรือเทคนิคแล้ว มันได้ผลน้อยเกินไป หรือมันจะไม่ได้ผลเลยก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ถ้าจะเสนอแก่เพื่อนมนุษย์ของเราในยุคปัจจุบันนี้ ผมคิดว่า เราใช้คำว่า Art ดีกว่า ที่เป็นศิลปะ ที่งดงามที่สุดที่ ที่มีผลตั้งแต่แรกจนปลายเลย ดึงดูดใจอย่างที่สุด เราก็ใช้คำว่า Art ของการที่ทำให้ร่างกายระงับ โดยการทำลมให้ระงับ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ระยะแรกที่สุดเราเรียกว่า วิ่งตาม วิ่งตาม วิ่งตาม สมมุติขึ้นว่า จุดตั้งต้นข้างนอกอยู่ที่ ปลายจมูก สุดปลายจมูกด้านใน แล้วจุดสุดท้ายด้านในก็อยู่ที่ บริเวณ สะดือๆ ที่ จุดที่มันแสดงอาการกระเพื่อมอยู่ตรงนั้น แล้วลมหายใจก็สมมุติว่า วิ่งอยู่ระหว่างจมูกกับสะดือ เข้าออก เข้าออก แล้วกำหนดด้วยสติ ด้วยสติ จะเรียกว่า ด้วยจิตก็ได้ แต่ที่ถูกก็ด้วยสติ เมื่อเข้าก็กำหนดตามเข้าไป เมื่อออกมาก็กำหนดตามออกมา วิ่งเข้าวิ่งออกด้วยกัน ติดตามอยู่ข้างหลังอย่างนี้ ระยะนี้เรียกว่าวิ่งตาม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มันก็คงจะน่าหัวบ้างนะ ถ้าว่าเป็นนิโกร นิโกร จมูกของเขาเชิดขึ้นข้างบน ลมอาจจะไม่มีโอกาสกระทบ ปลายจมูกด้านในก็ได้ มันอาจจะกระทบที่ริมฝีปาก ริมฝีปากข้างบนด้านนอกนี่ก็ได้ นี่ อย่างนี้ ไม่ๆ มันเป็น เป็น ข้อเบ็ตเตล็ด ไม่ต้องคำนึงถึง คำนึงถึงแต่ว่าคนเราทั่วไปตามปกตินี้ กำหนดที่สุดปลายจมูก ด้านในกับบริเวณ สะดือ ข้างใน เอ่อ เป็น เอ่อ, จุด ๒ จุดที่ลมหายใจจะเดิน ดำเนิน เคลื่อนอยู่ แล้วก็กำหนดจิต หรือสติวิ่งตาม วิ่งตาม ให้สำเร็จให้จนได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านจะต้องสังเกตให้เห็นเองว่า ถ้าเราประสบความสำเร็จในการวิ่งตาม วิ่งตาม อยู่อย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อยที่สุดแล้ว ลมหายใจนั่นเอง จะมีอาการละเอียดหรือสงบระงับลงมาระดับหนึ่ง แม้ไม่ทั้งหมด ก็ระ...สงบระงับลงมาลำดับหนึ่ง อันดับหนึ่ง เป็นแน่นอน จะรู้สึกได้ด้วยตนเอง ว่ามันได้เริ่มระงับลงแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราก็เลื่อนขึ้นไป ให้สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง คือว่าไม่วิ่งตามแล้ว ทีนี้ไม่วิ่งตามแล้ว เฝ้าดูอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง จุดใดจุดหนึ่ง ไอ้จุดที่เหมาะที่สุดก็คือที่สุดจมูกด้านใน จุดปลายจมูกด้านในที่ลมกระทบ จุดนั้นมันเหมาะสมที่สุด อ่า, ที่จะใช้เป็นจุดสำหรับเฝ้าดู สติกำหนดอยู่ที่ตรงนั้น ไม่ต้องวิ่งตาม วิ่งตามมันยังหยาบกว่า พอมาหยุด อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เฝ้าดู ถ้าประสบความสำเร็จในการกระทำนี้ ลมหายใจก็จะสงบระงับลงไปอีกระดับหนึ่ง ลงไปอีกระดับหนึ่ง เป็นแน่นอน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อ่า, คนธรรมดาหรือคนที่มีความสามารถน้อย อาจจะทำหรือควรจะทำเพียงเท่านี้ แต่คนที่สามารถ สามารถพิเศษ มีสติปัญญาสามารถเป็นพิเศษ ควรจะทำต่อไป ต่อไป ไปถึงขั้นที่เรียกว่า สร้างนิมิต หรือมโนภาพ มโนภาพนิมิต ขึ้นที่จุดนั้น เรียกว่า สร้างนิมิตขึ้นมาที่จุดที่เฝ้าดู
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มันไม่ใช่ของจริง มันเป็นเพียงมโนภาพที่สร้างขึ้น เป็น Imaginative Object มันเป็นของที่สร้างขึ้น ไม่ใช่ของจริง แต่ก็สามารถจะสร้างขึ้นโดยการน้อมใจไป น้อมใจไป ประสงค์จะสร้างขึ้นมาอย่างไร หรือตาม ธรรมชาติมันก็อำนวยอยู่แล้ว ธรรมชาติของจิตอำนวยอยู่แล้ว ที่จะสร้างขึ้น มันจึงสามารถสร้างภาพนิมิต ขึ้นที่ ตรงจุดนั้น แล้วก็ต่างกันเป็นบุคคลๆไป ไม่ค่อยจะเหมือนกัน สร้างเป็นดวงสีขาว สร้างเป็นดวงสีแดง สร้างเป็น ดวงสีเขียว หรือให้มันมีลักษณะที่จะสังเกตได้ง่าย เช่นว่าเหมือนกับมีเพชร เพชรแวววาวเม็ดหนึ่ง อยู่ที่ตรงนั้น ก็ได้ หรือว่าให้เหมือนกับว่า เอ่อ, แมลงมุมชักใยสะท้อนแสง ใยแมงมุมสะท้อนแสง อยู่กลางแสงแดดแวววาว กำหนดได้ง่าย อย่างนี้ก็ได้ จะเรีียกว่า อะไรก็ได้ ถ้ามันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้กำหนดได้ง่ายๆ แล้วก็น้อมจิตไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็สามารถสร้างสิ่งที่เรียกว่า นิมิต ขึ้นมาที่จุดนั้น ก็ขอให้สังเกตดูเถิดว่า ลมหายใจจะต้อง ระงับ ละเอียดลงไปอีกสักเท่าไร จึงจะสามารถทำอย่างนั้นได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่ถ้าว่า เขาเป็นผู้มีความสามารถ ต่อไปอีก ก็เลื่อนขึ้นไป จนถึงขั้นที่เรียกว่า บังคับควบคุม สิ่งที่เรียกว่า นิมิต ควบคุมนิมิตให้เปลี่ยนแปลง นิมิตที่เห็นนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามการบังคับ การจัดสรร ให้ขนาด มันเปลี่ยน จากใหญ่เป็นเล็ก เล็กเป็นใหญ่ ให้สีมันเปลี่ยน จากสีนี้เป็นสีนั้น ให้มันเปลี่ยน เดินทางเคลื่อนไหว ให้มันไปให้มันมา ให้มันไปให้มันมา ให้มันหยุด ได้ตามต้องการ อย่างคล่องแคล่ว คล่องแคล่ว ตามความประสงค์ แล้วก็เรียกว่า สามารถมากทีเดียว ในการบังคับลมหายใจ ได้ลึกไปกว่าธรรมดา ซึ่งมันเลยไปถึงการบังคับจิต อยู่ในตัว บังคับกายอยู่ในตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ขั้นสุดท้าย ถ้าเขามีความสามารถ หรือมันอาจจะเป็นไปได้เพราะเขามีความสามารถ ก็จะกระทำใน ถึงขั้นที่เป็น อัปปนาสมาธิ ที่จะให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ฌาณ คือจะเลือกเอานิมิตต่างๆ เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เหมาะสมที่สุด เอามากำหนดอยู่ แต่อย่างเดียว ให้ๆๆ แน่วแน่ที่สุดๆ แต่เพียงอย่างเดียว แล้วในพร้อมกันนั้น ก็สามารถจะ ทำให้เกิดอาการ อาการของความรู้สึก ที่เราจะเรียกชื่อว่า องค์แห่งฌาณ องค์แห่งฌาณ คือมี วิตก กำหนดอารมณ์ วิจารณ์ พิจารณาอารมณ์ ปิติ พอใจในการกระทำ สุขะ รู้สึกเป็นสุข เพราะปิติ เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียวอยู่ที่นั่น ครบ ๕ องค์อย่างนี้แล้ว ความรู้สึก ๕ อย่าง มีพร้อม อาจจะเรียกร้องมาดู ได้อย่างนี้แล้ว ก็เรียกว่าเขาบรรลุ ปฐมฌาณ รูปฌาณที่ ๑
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านลองคำนวนดูได้เองว่า ถ้ามาถึงขั้นนี้ ขึ้นมาถึงขั้นนี้แล้ว มีความสงบระงับละเอียด ละเอียด ประณิต แห่งลมหายใจสักเท่าไร ทีนี้ทำต่อไป ปฐมฌาณที่ ๑ ประกอบไปด้วยองค์ ๕ มันก็ยังหยาบอยู่ ละ ละความรู้สึก ๒ อย่างขั้นต้นเสีย คือวิตก วิจารณ์ กำหนดอารมณ์ พิจารณาอารมณ์ ละเสีย ก็ยังเหลือแต่ ๓ คือปิติ สุข และเอกัคคตา นี่ก็เรียกว่า รูปฌาณที่ ๒ ซึ่งประณีต ละเอียด สงบระงับ ยิ่งกว่ารูปฌาณที่ ๑ นี่มันก็แสดงในตัวแล้วว่า กายสังขาร ระงับเท่าไร ลมหายใจระงับเท่าไร ร่างกายนี่ระงับเท่าไร ใน ในขณะแห่งฌาณที่ ๒
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่นี้ก็มองต่อไปเห็นว่า ไอ้ปิติ ปิติ นี่ยังหยาบ หยาบและยุ่งวุ่นวายรบกวน เอาออกไปเสีย ระงับความรู้สึก ที่เป็นปิติออกไปเสีย ก็มาถึงในฌาณที่ ๓ นี้ ก็เหลือแต่ สุข กับ เอกัคคตา พอเอาปิติออกไปเสียได้ ไอ้ความสงบระงับก็มีมากกว่าแต่ก่อน เป็นลักษณะของฌาณที่ ๓
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อันสุดท้ายเป็นฌาณที่ ๔ เปลี่ยนความสุข ความหมายของความสุข ซึ่งมันยังเป็นบวกเป็นลบนี่ ให้กลาย ไปอุเบกขา ไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา ไม่บวกไม่ลบ ฌาณนี้ก็เหลืออยู่แต่ อุเบกขากับเอกัคคตา เอกัคคตา เอกัคคตา หมายความว่า จิตมีอารมณ์อันเดียว มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มุ่งหมายข้างหน้า จิตมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เรียกว่า เอกัคคตา เดี๋ยวนี้ก็มาถึงเอกัคคตา ของ เอ่อ, ฌาณที่ ๔ ก็เรียกว่ามันระงับ ระงับๆประณีตละเอียด เหลือประมาณ ในส่วนลมหายใจและร่างกาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เทคนิคมีอยู่อย่างนี้แต่ทุกคนทำไม่ได้ ทุกคนทำไม่ได้ ผู้ใดไม่สามารถจะทำได้ ก็ต้องไม่...ไม่ต้องทำ มาถึงฌาณ ทำเพียงความสงบระงับในขั้นแรกๆ เพียงวิ่งตาม เฝ้าดู อะไรอยู่อย่างนี้ก็พอ เรียกว่าได ้อุปจารสมาธิ พอสมควร แล้วก็ข้ามไปกระทำอนาปานสติ หมวดที่ ๔ อนิจจัง ไปทางนู้นเลยก็ได้ นี่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะทำ ให้สมบูรณ์จนถึงขั้นมีฌาณ แต่ผู้ที่สามารถทำได้ก็ควรจะพยายาม จะมีผลดียิ่งขึ้นไปกว่าที่ ที่ไม่ได้ทำ นี่ ความ ประณีตละเอียดสงบระงับสงบของลมหายใจ สิ้นสุดอยู่ที่ จตุตถฌาณ จนถึงกับมีคำอธิบาย ซึ่งกำกวมมาก ว่าในขั้น จตุตถฌาณ นี้ไม่มีการหายใจ เราจะวิจารณ์กันดู
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เดี๋ยวนี้เราจะทดสอบ หรือสังเกตให้รู้จักความแตกต่างกัน ในระหว่างลมหายใจ ที่ว่ารุนแรงที่สุด ลมหายใจที่ปกติ ลมหายใจที่เบาที่สุด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เอาให้ขั้นที่สุด ไอ้ที่จะมากที่สุด อัดหมด scale เลย (34.48) ถ้าหายใจเข้า เข้าๆๆๆ ลองดู ลองดูเดี๋ยวนี้ก็ได้ หายใจเข้า เข้าๆๆ ให้มากที่สุด จะปรากฎว่า ท้องนี่ส่วนท้องนี่ มันจะยุบ มันจะมาใหญ่อยู่ที่ส่วนอก ตรงกันข้ามที่คำพูดว่า หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ ถ้าหายใจอย่างแรง อย่างสุดเหวี่ยงแล้ว หายใจเข้านี้ มันจะแฟบที่ส่วนท้อง จะมาป่องที่ส่วนอก พอหายใจออกให้แรงให้หมด มันจะแฟบที่ส่วนอก มันจะไปพองที่ส่วนท้อง หายใจเข้า มัน มัน ตรงกันข้ามที่เราพูดว่า หายใจเข้าพอง หายใจออกยุบ หายใจเข้าที่สุด ลองดูซิ เข้าๆๆๆ ๆๆๆๆ มันพองข้างบน มันยุบข้างล่าง หายใจออก ออกๆๆ มันพองข้างบนมันยุบข้างล่าง...มัน มันพองข้างล่าง มันยุบข้างบน นี่เห็นชัดว่ามัน มันมีระบบ ถ้าหายใจกันอย่างแรง อย่างสุดเหวี่ยง หายใจเข้าจะพองที่ท้อง หายใจออกจะยุบที่ท้อง จะยุบ เอ่อ, จะพองที่ท้อง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ก็หายใจตามธรรมดา หายใจตามธรรมดา หายใจเข้ามันก็พองออกมา ทั้ง ๒ อย่าง หายใจออกก็ยุบ ด้วยกันทั้ง ๒ อย่าง นี่ หายใจตามธรรมดา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แล้วทีนี้ก็หายใจเบาเป็นพิเศษ เบาเป็นพิเศษ ละเอียดหรือเบาเป็นพิเศษ จนไม่มีอาการปรากฎว่า พองหรือยุบแต่ประการใด ไม่มีอาการพองหรือยุบของท้อง หรือของหน้าอกแต่ประการใด ละเอียดจนไม่ปรากฎ อาการพองและยุบของสิ่งใด มันจึงทำให้หลงไปว่าไม่มีการหายใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอให้ลองฝึก ฝึกๆ การหายใจที่ละเอียดที่สุด จนไม่มีอาการปรากฏพองหรือยุบแต่ประการใด ขอให้พยายามฝึกฝนดูเถอะ มีประโยชน์มาก
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่แสดงว่าเราไม่เชื่อ เราคัดค้านคำอธิบายที่มีอยู่ในอรรถกถา ว่า จตุตฌาณไม่มีการหายใจ เราจะขอเสนอว่า มันมีการหายใจชนิดที่ไม่มีความรู้สึก เขาจะหาว่าเราดื้อหรือบ้าก็ตามใจ อยากจะอธิบายอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ไม่ต้องไปถามหมอหรอก เด็กๆมันก็รู้ว่าถ้าไม่หายใจมันก็ตายเท่านั้นเอง /หัวเราะ/
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เป็นอันว่าเดี๋ยวนี้เราประสบความสำเร็จ ในหมวดที่ ๑ Stage ที่ ๑ ที่เกี่ยวกับกายทั้ง ๒ ชนิดคือ กายลม และกายเนื้อ ถ้าสามารถฝึกได้จนถึงเกิดฌาณมันก็ดี แต่ถ้าไม่สามารถ ก็อย่าน้อยใจอย่าเสียใจเลย ไม่ต้องไปถึงฌาณ ก็ได้ มีสมาธิตามสมควรขั้นต้นแล้ว ก็เข้าไป เอ่อ, ขั้นสุดท้าย ที่จะทำให้หมดกิเลสน่ะ หมวดที่ ๔ ได้เลย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ปัญหาที่จะแทรกแซง ก็มีอยู่บ้างเล็กๆน้อยๆ คือปัญหาที่ว่า ถ้าเรามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน อิริยาบถ ในขณะที่ปฏิบัติสมาธิ เราจะนั่งตลอดไปไม่ได้หรอก มันทนไม่ไหว เราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ จะเป็นลุกขึ้นยืน หรือว่าเดิน หรือว่านอนเอนบ้าง ก็ต้องรักษาความเป็นสมาธิไว้ให้ได้ แม้จะไม่เต็มที่เหมือน ในขณะนั่ง แต่ในขณะเดินยืนหรือนอน ก็รักษาความเป็นสมาธิ ความหมายของสมาธิ อำนาจของสมาธิไว้ได้ เดินด้วยสมาธิ ยืนด้วยสมาธิได้ ความเป็นสมาธิส่วนหนึ่ง มาคงมีอยู่ในการเปลี่ยนอิริยาบถ ดังนั้นไม่ต้อง ไม่ต้องๆ เอ่อ, ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องวุ่นวาย มีสมาธิเมื่อเดิน พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ที่เดินทิพย์ มีสมาธิเมื่อยืน เรียกว่า ที่ยืนทิพย์ มีสมาธิเมื่อนอน เรียกว่า ที่นอนทิพย์ อย่างนี้ก็ยังมี หมายความว่าแม้เปลี่ยน อิริยาบถอยู่ ความเป็นสมาธิก็ไม่ได้สูญหายไปจนหมดสิ้น มันก็เหลืออยู่มากเหมือนกันแหละ ตามสมควร ถ้าต้องเปลี่ยนอิริยาบถ ต้องรักษาความเป็นสมาธิไว้ให้ได้ นี่ใจความสำคัญ ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนอิริยาบถ จงรักษาความเป็นสมาธิไว้คงมีอยู่ทุกอิริยาบถ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บัดนี้เราก็ สำเร็จการปฏิบัติในหมวดที่ ๑ ของอนาปานสติ คือ กายานุปัสสนา เรามาก็มาถึงหมวดที่ ๒ ที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนา จะจัดการศึกษากับสิ่งที่เรียกว่า เวทนา ต่อไป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สิ่ง สิ่งที่เรียกว่าเวทนานั้นไม่ใช่เล่น คือสิ่งสูงสุดที่บังคับมนุษย์ ให้กระทำทุกอย่าง ทุกอย่าง ตามที่เวทนา มันต้องการ ดีชั่วผิดถูกสุดแท้แต่เวทนามันต้องการอะไร แล้วก็บังคับเรานี่หรือสัตว์นี่ ให้ทำไปตามที่มันต้องการ เวทนานั้นๆ ฉะนั้นเวทนาจึงเป็นปัญหามาก มันบังคับข่มขี่สิ่งมีชีวิต ให้เคลื่อนไหวไปตามความต้องการ ของเวทนา เราจะบังคับมันให้ได้ และเราจะบังคับเวทนาประเภทสูงสุด แล้วเราก็จะเป็นการบังคับเวทนา ขั้นต่ำๆได้ เอาล่ะ เราจะศึกษาเรื่องการบังคับเวทนาหรือใช้เวทนา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอให้จำคำพูดสั้นๆ สำหรับหมวดนี้ว่า เราจะศึกษาเวทนา จนเราสามารถควบคุมเวทนา ศึกษาเวทนาจนสามารถควบคุมเวทนา นั่นแหละคือความมุ่งหมาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๑ ของหมวดนี้คือ ศึกษาสิ่งที่เรียกว่า ปิติ ปิติ เมื่อประสบความสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ หรือได้เวทนาที่ต้องการแล้ว มันก็มี ปิติ ปิติ ปิตินี้มีทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด อ่า, เป็น Rapture หยาบๆ เป็น Contentment อันละเอียดก็ได้ ศึกษามันทั้ง ๒ ชนิด จนให้รู้จักมันดีที่สุด ในเรื่องของปิติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราศึกษาจนสามารถควบคุมมันได้ นี่หมายความว่า เราจะเรียกร้องมันมาเมื่อไหร่ก็ได้ เราจะเรียกร้อง ให้ปิติเกิดขึ้นมาในจิตเมื่อไหร่ก็ได้ ตามที่เราต้องการ ถ้าเราต้องการ เราประสบความสำเร็จ เหนือปิติถึงขนาดนี้ เราเรียกร้องมันมาเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าเราต้องการ นี่เป็นกำไร เป็นกำไรที่ว่า จะมีความปิติสบายใจเมื่อไหร่ก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในกรณีนี้เราก็เอาปิติเกิดจากการประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหมวดที่ ๑ น่ะ อานาปานสติหมวดที่ ๑ เมื่อเราปฏิบัติสำเร็จแล้ว ปิติพอใจก็เกิดขึ้น เราเอาปิตินั้นมาก็ได้ มากำหนดอยู่ในใจ ซึมซาบอยู่ในใจ เสวยปิตินี้อยู่ในใจ หรือถ้าเราอาจจะแสวงหาปิติได้จากทางอื่น คือการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในของเราก็ได้ เอาปิติมาชิม มาดื่ม มาดื่มอยู่จิตใจนี่เรียกว่าหมวดที่ ๑ เอ้อ, ข้อที่ ๑ ของหมวดที่ ๒ น่ะ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้บทเรียนที่ ๒ ของหมวดนี้ก็คือ เห็นว่า โอ้, ปิตินี้หยาบ สั่น ไม่ระงับ ไม่สงบระงับ ปิตินี้หยาบหรือสั่นสะเทือนไม่สงบระงับ เราก็ไปกำหนดเอาความสงบระงับ เปลี่ยนชื่อเรียกว่าความสุข คือปิติที่หยุด หยุดฟุ้งซ่านหยุด Excite หยุดอะไรหมดนี่ มันเปลี่ยนชื่อเป็นความสุข คือปิติที่สงบเย็น ก็เรียกว่าความสุข บทเรียนที่ ๒ ก็เรากำหนดที่ตัวความสุข ดื่มความสุข ชิมรสของความสุข คล่องแคล่วจนเราสามารถเรียกร้องมาเมื่อไหร่ก็ได้ ต้องการความรู้สึกเช่นนี้เมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ประสบความสำเร็จในบทเรียนที่ ๒ ของหมวดที่ ๒
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่นี้ก็มาถึงบทเรียนที่ ๓ ของหมวดนี้ มันก็เป็นเรื่องของปัญญาเพิ่มขึ้นแล้ว โอ้ว, ไอ้สองอย่างนี้ สองอย่างนี้ปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งจิต เรียกว่า จิตตสังขารเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตทั้งปิติและทั้งสุข เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต มีปิติหรือสุขก็ตามขึ้นมาเมื่อไร มันปรุงแต่งให้เกิดความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ตามสมควรแก่ อ่า, เวทนานั้น มีความสุขหรือปิติก็ตาม เดี๋ยวนี้รู้จัก จิตตสังขาร เครื่องปรุงแต่งจิต
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อเรามีเวทนาเกิดขึ้น จะเป็นปิติหรือสุขก็ตาม เกิดเวทนาขึ้นแล้ว มันก็เกิดสิ่งที่ ๒ ตามมาคือ สัญญา สัญญา ความหมายมั่นว่าเป็นอะไรอย่างไร ตามความจำที่เคยจำมาแต่ก่อน แต่จะไม่ใช่ตัวความจำ ไม่ใช่ตัวความจำ สัญญาคือตัวความหมายมั่นไปตามความจำ เกิดความหมายมั่นไปตามสัญญา นั่นแหละ ก็ทำให้เกิดความคิดขึ้นมา เวทนามีขึ้นมา สัญญามั่นหมายไปลงไปในเวทนานั้น สัญญานั้นจะทำให้เกิดความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา นี่คืออาการที่เวทนาปรุงแต่งความคิดหรือจิต สังเกตดู รู้ได้ด้วยตัวเอง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราลดอำนาจหรือกำลังของเวทนา ปิติก็ตาม สุขก็ตาม ลดอำนาจหรือกำลังของเวทนาลงได้เท่าไร เราก็ลดกำลังของจิตตสังขาร คือกำลังที่จะปรุงแต่งจิตสังขาร กำลังที่จะปรุงแต่งจิต ได้เท่านั้น นี่เอามาทำในใจ อยู่อย่างนี้ ลดกำลังของเวทนาลง ก็ลดกำลังของจิตตสังขารลง เรียกว่าทำจิตตสังขารให้ระงับ ระงับอยู่ เป็นบทเรียนที่ ๔ ของหมวดนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อเราสามารถควบคุมเวทนา มีอำนาจเหนือเวทนา เราก็สามารถควบคุม สัญญา ความหมายมั่นตามเวทนานั้น เราก็สามารถควบคุมการปรุงแต่งทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราสามารถจะควบคุม กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท นี่เรียกว่า สามารถควบคุมจิตตสังขาร สามารถควบคุมจิตตสังขาร ให้ระงับอยู่ ระงับอยู่ จิตก็จะไม่คิดก็ได้ คิดไปแต่ในทางที่ถูกต้องเท่านั้น ก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าเราสามารถควบคุมเวทนาได้ นั่นก็คือเราสามารถควบคุมจักรวาล จักรวาล ทั้ง Universe ทั้งหมดได้ เราหายใจทีเดียว ยกเลิกจักรวาลหมดเลยได้ จักรวาลมันมีปัญหา ไม่มีอำนาจอะไรเหนือเรา ด้วยการหายใจของเราทีเดียว เมื่อเราประสบความสำเร็จในอานาปานสติข้อนี้ ควบคุมจิตตสังขารได้ เวทนาไม่มีอำนาจ ไม่มีอะไรอีกต่อไป เรียกว่า หายใจทีเดียวยกเลิกจักรวาลได้ จักรวาลไม่มีอำนาจเหนือเรา อะไรๆไม่มีอำนาจเหนือเรา เรามีจิตที่เป็นอิสระได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราก็มาถึงหมวดที่ ๓ ของอานาปานสติ ที่เรียกว่า จิตตานุปัสสนา ศึกษาเรื่องจิต จนสามารถควบคุม จิตได้ รู้เรื่องจิตจนสามารถควบคุมจิตได้ เรียกว่า จิตตานุปัสสนา เป็นหมวดที่ ๓ อ่า, เป็นหมวดที่ ๓ ของอานาปานสติทั้งหมด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๑ รู้จักจิตทุกชนิด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จิตมีโท... มีราคะหรือไม่มีราคะ จิตมีโทสะหรือไม่มีโทสะ จิตมีโมหะหรือไม่มีโมหะ เราดูอยู่ รู้อยู่ รู้จักจิตอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จิตกำลังฟุ้งซ่านหรือกำลังสงบ จิตมีคุณธรรมของจิตอย่างสูง หรือจิตไม่มีคุณธรรมของจิตอย่างสูง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จิตเป็นจิตสูงสุด หรือยังไม่เป็นจิตสูงสุด จิตตั้งมั่นหรือจิตไม่ตั้งมั่น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรายังเป็นผู้มีจิตไม่หลุดพ้น เรายังไม่สามารถรู้จักความหลุดพ้นโดยตรง แต่เราสามารถจะคำนวนได้ ที่ความไม่หลุดพ้น เรากำลังมีความทุกข์ มีความยึดมั่นถือมั่น กำลังมีความทุกข์อย่างนี้ อย่างนี้ แล้วคำนวนออกไป โดยนัยยะตรงกันข้าม ถ้าว่ามันหลุดพ้นแล้วมันจะเป็นอย่างไร นี่แหละเป็นเหตุที่เราเข้าใจความหลุดพ้นได้ ทั้งที่เรายังไม่หลุดพ้น เราก็รู้ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๒ เราสามารถเรียกร้องความบันเทิงพอใจ Joyfulness ให้เกิดขึ้นในจิต ให้เกิดขึ้นในจิต โดยที่ เรามีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในความปฏิบัติถูกต้อง ของเราจะหลุดพ้นได้จริง อะไรอย่างนี้ ก็มีความบันเทิงได้ บันเทิงได้ หรือว่าถ้าเราทำกายและจิตให้ระงับได้เท่าไรในเบื้องต้นในบทเรียนต้นๆ เราก็มีความบันเทิงได้ และนี่ก็ สามารถเรียกความบันเทิงให้เกิดขึ้นในจิต หรือทำจิตให้บันเทิงได้ตามความพอใจของเรา เมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๓ ทำจิตให้เป็นสมาธิ คือให้ตั้งมั่น ให้เป็นสมาธิในความหมายนี้ มีองค์ประกอบเป็น ๓ อย่าง คือ จิตบริสุทธิ์สะอาดจากนิวรณ์ นี่เรียกว่าบริสุทธิ์ แล้วก็จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว รวมกำลังทั้งหมดมาเป็น อารมณ์เดียว มีเอ...เอกัคคตาจิตมุ่งต่อพระนิพพาน นี่เรียกว่า สมาหิตะ สมาหิโต แล้วจิตเดี๋ยวนี้พร้อมที่จะทำหน้าที่ Active มี Activeness ในหน้าที่ อย่างยิ่งสูงสุด เรียกว่า กัมมนีโย มันมี ปริสุทโธ , มี สมาหิโต , มี กัมมนีโย องค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ แล้วเรียกว่า จิตเป็นสมาธิเต็ม เต็ม เต็มความหมาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอให้สังเกตความหมายของคำว่า กัมมนียะ กัมมนียะ Active ที่สุด ไม่ใช่แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ หรือซากศพ เข้าใจผิดกันอยู่ในข้อนี้มาก ไม่ๆ ไม่สนใจ ไม่รู้จักองค์ที่ ๓ ที่เรียกว่า กัมมนีโย Active ที่สุด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๔ เรียกว่า วิโมจะยะ ทำจิตให้ปล่อย ทำจิตให้ปล่อย ทำจิตให้ปล่อย ปลดปล่อย ภาษาคอมมิวนิสต์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ปล่อยจิตจากนิวรณ์ก็ได้ ปล่อยนิวรณ์จากจิตก็ได้ จิตออกมาเสียจากนิวรณ์ก็ได้ นิวรณ์ออกไปเสียจากจิต ก็ได้ เรียกว่าปลดปล่อยทั้งนั้น ความหมายมันกำกวมอย่างนี้แหละ จึงมีคนแปลคำนี้ผิดๆว่าปล่อยจิต ปล่อยจิต
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนขั้นที่ ๑ รู้จักจิตทุกชนิด บทเรียนขั้นที่ ๒ ทำจิตให้บันเทิงได้ตามต้องการ บทเรียนที่ ๓ ทำจิต ให้เป็นสมาธิตั้งมั่นตามต้องการ บทเรียนที่ ๔ ทำจิตให้ปล่อย ปล่อยๆ สิ่งที่มายึดมั่น มา มาหุ้มรุมจิต ๔ บทเรียน สามารถบังคับจิตสูงสุดอย่างนี้แหละ ก็เรียกว่า ประสบความสำเร็จในหมวดที่ ๓
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เวลาหมดเสียแล้ว ไม่สามารถจะบรรยายหมวดที่ ๔ ขอยกไว้วันหลัง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอบพระคุณท่านทั้งหลายเป็นผู้ฟังที่ดี ๒ ชั่วโมงแล้ว ขอให้ทำความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ ให้ไปใช้ให้สำเร็จประโยชน์ ด้วยกันทุกๆท่านเทอญ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(เสียงผู้บรรยายแปล) คำถามไหมครับ
วันนี้หมดเวลา… จะมีคนถามไหม
(เสียงผู้บรรยายแปล) ไม่ทราบ
เอ้า, มีเวลา ๑๕ นาทีสำหรับตอบคำถาม ขอเพียง ๑๕ นาที
/เสียงภาษาอังกฤษ/
-คำถามที่1-
(เสียงผู้บรรยายแปล) ก็ อาจารย์อธิบายปฏิจจสมุปบาทต่างกันจากพระพุทธโฆษาจารย์ เอิ่ม, พุทธโฆษาจารย์ แล้วอาจารย์จะรู้สึกว่าอาจารย์เป็นคนแรกที่จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ หรือเคยมีผู้อื่นเข้าใจอย่างนี้ด้วย แต่เขาปกปิด อย่างมีใครปกปิด เช่นพุทธโฆษา เป็นต้น
นี่เรื่องปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่เรื่องอนาปานสติ /หัวเราะ/ ผมก็ คือว่าจะถือเอาตามพระบาลี ในพระบาลี โดยตรงว่า อธิบายปฏิจจสมุปบาทอย่างไรดี ไม่ถือเอาตามคำอธิบาย อ่า, ของพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งอธิบายไปใน ลักษณะข้ามภพข้ามชาติ มันมีลักษณะแห่งอัตตา ข้ามภพข้ามชาติ มันก็เลยแยกออกไปเสียอย่างหนึ่งว่า ปฏิจจสมุปบาทข้ามภพข้ามชาตินั่นสำหรับ อ่า, ผู้ที่ยังเชื่ออย่างนั้น มีประโยชน์ทางศีลธรรม ศีลธรรมธรรมดา ของประชาชนนี่ อธิบายปฏิจจสมุปบาทอย่างนั้น ก็ดีเหมือนกัน แต่ถ้าโดยแท้จริง โดยที่แท้จริง ที่จะเป็น ปรมัตถธรรม ที่แท้จริงแล้ว ไม่ๆ ไม่มีอัตตาข้ามภพข้ามชาติ เอาตามพระบาลี เท่าที่ปรากฎอยู่ในพระพุทธภาษิต โดยตรง ก็อธิบายอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำอธิบายอย่างนั้นเหมาะสมสำหรับประชาชน ชาวอินเดียหรือชาวลังกาก็ตามใจ ที่ยังมีความยึดมั่น ในอัตตา ตัวตนเวียนว่ายตายเกิด อยู่มาก ขอยอมรับว่าดี ดี ยอมแพ้ ถ้าเอาประชาชนที่มีตัวตนเป็นหลักกันแล้ว อธิบายอย่างนั้นแล้วก็จะ จะมีประโยชน์กว่า ถ้าประชาชนที่มีสติปัญญาอย่างอิสระแล้ว ต้องยืนยันว่า อย่างนี้ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นอย่างไหนจะถูกคุณก็ลองปฏิบัติดูทั้ง ๒ อย่างก็แล้วกัน ตัดสินเอาเอง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ปฏิจจสมุปบาทที่แท้จริง ไม่ต้องกินเวลานานยาวทั้ง ๓ ชาติ ชาติอดีต ชาติปัจจุบัน ชาติอนาคต กินเวลา ยาวนานนับว่าหนึ่งรอบ แล้วจะเอาเวลาไหนมาสำหรับปฏิจจสมุปบาทมากมายล่ะ ปฏิจจสมุปบาทที่แท้จริง กินเวลานิดเดียวชั่วขณะจิต ก็รอบหนึ่งแล้ว ในวันเดียวเท่านั้น มีได้หลายรอบ หลายพันรอบ ชาติเดียวก็มีเป็น พันๆหมื่นๆรอบ นี่ ปฏิจจสมุปบาทที่แท้จริง ไม่ต้องกินเวลาถึง ๓ ชาติ เพียงวันเดียว ก็มีนับไม่ไหวแล้ว ปฏิจจสมุปบาทชนิดนี้ กำจัดความคิดเรื่อง สัสสตทิฐิ ว่ามีอัตตา ว่ามีตัวตน ถ้าปฏิจจสมุปบาทไหนไม่กำจัด สัสสตทิฐิ หรือความคิดว่ามีตัวตนแล้ว ยังไม่ ไม่ใช่ๆ พระพุทธประสงค์ ขอให้เพ่งเล็งไปยังปฏิจจสมุปบาทที่กำจัด ความคิดว่าตัวตน ได้ยินว่า อ่า, มีผู้เคยคิด เคยอธิบายอย่างนี้เหมือนกัน เขาแนะว่า มีหนังสือ คัมภีร์หนึ่งชื่อว่า อภิธัมมาวตาร อภิธัมมาวตาร ผมอยากจะเห็นหนังสือเล่มนั้นนัก แม้จะเป็นภาษา เป็นอักษรนาซีก็ตามเถอะ เขาบอกว่ามันหาไม่ได้ มันหาไม่ได้ มันขาดคราวพิมพ์ ใครหาพบ ช่วยส่งมาให้ผมที หรืออ่านเองก็ตามใจ หนังสือชื่อ อภิธัมมาวตาร อธิบายปฏิจจสมุปบาทอย่างไม่ข้ามภพข้ามชาติ ขอฝากไว้อย่างนี้ ไม่ใช่ผมเป็นคนแรก ถ้ามันเป็นความจริงอย่างนั้น ไม่ใช่ผมเป็นคนแรกที่อธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ไม่ข้ามภพไม่ข้ามชาติ ผู้เขียนคัมภีร์ อภิธัมมาวตาร อธิบายอย่างเดียวกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สำหรับคำอธิบายของพระพุทธโฆษาจารย์ มีอยู่มากมาย บางอย่างผมยอมรับได้และถือเอา บางอย่างไม่ยอมรับ ไม่ยอมรับโดยเด็ดขาด มีอยู่อย่างนี้ พอบอกกล่าวอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าสงสัยก็ลองปฏิบัติดู ถ้ามันดับทุกข์ได้ก็ถูกต้อง ถ้าดับทุกข์ไม่ได้ก็ไม่ ตัดสินเอาด้วยการลองปฏิบัติดู
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะไม่เถียงกันในลักษณะที่ทะเลาะกัน ทะเลาะกัน ก็ลองปฏิบัติดู ถ้าดับทุกข์ได้ก็ใช้ได้ ดับทุกข์ไม่ได้ก็ไม่ต้อง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
-คำถามที่2-
(เสียงผู้บรรยายแปล) ความแตกต่างกันระหว่าง Science กับ Religion มีอยู่อย่างไรครับ
ไม่ต้องมาถามผม ต้องไปถามนักวิทยาศาสตร์ /หัวเราะ/
(เสียงผู้บรรยายแปล) ก็ผมจะถามอาจารย์เพราะว่า อาจารย์จะ บัญญัติคำ(1.34.20) ใช้คำนี้ ไม่เหมือนกับ นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป อาจารย์ให้ความหมายพิเศษของอาจารย์ก็เลยอยากจะ....
เขามีคำอธิบายความหมายสำหรับวิทยาศาสตร์ แต่...