แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เพื่อนสหธรรมมิก กัลยาณมิตร และสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ต่อไปนี้ก็จะได้บรรยายอานาปานสติหมวดที่ ๔ ที่ค้างมาแต่วันก่อน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หมวดที่ ๑ จัดการกับเรื่องกาย หมวดที่ ๒ กับเวทนา หมวดที่ ๓ กับจิต ในส่วนหมวดที่ ๔ นี้ เกี่ยวกับธรรม ธรรมตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับมนุษย์เรา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ธรรมชาติหมวดหนึ่ง เราหลงไปยึดถือเข้า จึงเกิดทุกข์ ธรรมชาติอีกหมวดหนึ่ง เป็นความจริงที่จะแก้ไข ปัญหาเหล่านั้นได้ แต่ก็เรียกว่าธรรมชาติเสมอกันแหละ บัดนี้เราจะศึกษาเรื่องธรรมชาติทั้ง ๒ หมวดนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หมวดที่ ๑ ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี พิจารณากันถึงความเป็นอนิจจังโดยเฉพาะของสิ่งที่เรายึดถืออยู่นั่นแหละ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สังเกตแล้วจะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ได้เอาเรื่องของอนิจจัง นี่ เป็นจุดตั้งต้น เรื่องของการที่จะศึกษา ให้รู้ความจริงของธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ญาณทั้งหมดจะมีจำนวนกี่ญาณ กี่สิบญาณก็ตาม แบ่งออกได้เป็น ๒ ตอน ญาณพวกแรกนี่ เรียกว่า ธรรมฐิติญาณ เพื่อให้เรารู้จักความจริงของธรรมชาติว่าเป็นอย่างไร หมวดที่ ๒ เรียกว่า ธรรม…อ่า, นิพพานญาณ เพราะรู้ความจริงของหมวดแรกแล้วทำให้เกิดญาณหมวดที่ ๒ รู้ว่านิพพานเป็นอย่างไร เรียกว่า ธรรมฐิติญาณ หมวดแรก นิพพานญาณ หมวด ๒
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การเห็นอนิจจังเป็นญาณตั้งต้นหรือเป็นจุดตั้งต้น อ่า, ของญาณ ธรรมอันที่เรียกว่า ธรรมฐิติญาณ เมื่อเห็นอนิจจังแล้ว จะเห็นทุกขัง เห็นอนัตตา เห็นอะไรต่อไปเรื่อยๆไป จนกว่าจะเกิด นิพพิทาญาณ ซึ่งเป็นฝ่าย นิพพานญาณ เดี๋ยวนี้เราจะพิจารณากันถึงเรื่อง อนิจจัง นี่โดยละเอียด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จริงอยู่ที่ว่าเราอาจจะเห็นอนิจจังความไม่เที่ยงในสิ่งใดๆ ก็ได้รอบตัวเราทั่วโลก แต่เห็นอย่างนั้น มันเห็นด้วยตา เดี๋ยวนี้เราจะต้องการเห็นด้วยจิตใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ดังนั้น เทคนิคของการปฏิบัติระบบนี้ จึงหันมาดูอนิจจัง ที่เป็นภายในและดูด้วยความรู้สึก ไม่ใช่ดูด้วยตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มันเป็นการเห็นด้วยความรู้สึก เห็นความรู้สึก ด้วยความรู้สึก เช่น รู้สึกลมหายใจยาว ก็ดูความไม่เที่ยง รู้สึก รู้สึกนะ ไม่ได้ดูด้วยตา รู้สึกความไม่เที่ยงของลมหายใจยาว ว่าลมหายใจยาวไม่เที่ยงอย่างไร ไม่เที่ยงอย่างไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นับตั้งแต่ว่าทีแรกไม่ได้มีลมหายใจ แล้วก็มามีลมหายใจ ตัวลมหายใจนั้นก็ไม่เที่ยง แล้วเมื่อมี ลมหายใจยาว ไอ้ความยาวนั้นก็ไม่เที่ยง เราดูไอ้ความไม่เที่ยง ที่ตัวสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่สมมติ แล้วก็ดูด้วยความรู้สึก ด้วยความรู้สึก ไม่ใช่ดูด้วยตา สัมผัสด้วยความรู้สึก ก็เรียกว่าดูได้เหมือนกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ลักษณะอาการของลมหายใจยาวก็ดี อิทธิพลที่มันเกิดขึ้นแก่ความรู้สึกก็ดี อะไรๆทุกอย่างที่เนื่องกันอยู่ กับลมหายใจยาว มันก็ล้วนแต่ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง คือมันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ลมหายใจสั้นก็เป็นอย่างเดียวกัน ในทุกความหมาย ว่ามันไม่เที่ยงไม่จริง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อาการที่กายลมกับกายเนื้อ อาศัยกันสัมพันธ์กันไปด้วยกันอย่างนี้ ก็มีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไป ตามเหตุตามปัจจัย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การที่เราบังคับลมหายใจให้ละเอียด และกายเนื้อก็พลอยละเอียดไปด้วยได้ แม้จะสำเร็จ มันก็ยังไม่เที่ยง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ปิติชนิด Rapture ก็ไม่เที่ยง ชนิด Contentment ก็ไม่เที่ยง ปิติทุกชนิดไม่เที่ยง ผลของมัน อิทธิพลของมัน ที่มีต่อจิตใจก็ไม่เที่ยง ปิติไม่เที่ยง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ความที่ปิติปรุงแต่งจิตคือความคิดความนึก นั่นยิ่ง ยิ่งแล้วใหญ่ ยิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างรุนแรง หรือไม่เที่ยง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การบังคับปิติไม่ให้ปรุงแต่งจิตได้นั้น ยิ่งวุ่นวาย ยิ่งดิ้นรน ยิ่งไม่เที่ยง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จิตชนิดต่างๆ อย่างที่เราออกชื่อกันมาแล้ว แต่ละชนิดทุกชนิดทุกอาการ ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การบังคับจิตให้ปราโมทย์ ความปราโมทย์นั้นก็ไม่เที่ยง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การทำจิตบังคับจิตให้เป็นสมาธิ ในทุกความหมาย สมาธินั้นหรือผลของมัน ก็ไม่เที่ยง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การทำจิตให้ปล่อยจากอารมณ์ที่ยึดถืออยู่นั้นก็คือความไม่เที่ยง เห็นอยู่ชัดๆ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่หมายความว่า เราย้อนมา อ่า, ทำอานาปานสติ ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ไปจนถึงหมวดที่ ๓ ๑๒ อาการนี้แสดง ความไม่เที่ยงอย่างชัดเจน เห็นได้อย่างชัดเจน ลึกซึ้งละเอียดละออยิ่งกว่าความไม่เที่ยงที่ดูกันภายนอก อย่างอื่นๆ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การเห็นความไม่เที่ยงในสากลจักรวาล ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ทั่วสากลจักรวาล ก็ไม่สู้เห็น ความไม่เที่ยง ไม่เที่ยงในภายใน ในภายใน ในความรู้สึก อย่างที่กล่าวมาแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ความไม่เที่ยง นำไปสู่การเห็นความเป็นทุกข์ คือไม่พึงปรารถนา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การเห็นความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ ก็นำไปสู่การเห็นอนัตตา Not self
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การเห็นอนัตตา ก็นำไปสู่การเห็นธรรมดา ธรรมชาติธรรมดาของการตั้งอยู่ตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า ธัมมัฏฐิตตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ธัมมัฏฐิตตา ก็นำไปสู่การเห็น ธัมมนิยามตา คือเห็นว่าธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การเห็นที่ว่ามันต้องเป็นไปตาม การบังคับของกฎธรรมชาติ อาการนั้นเรียกว่า อิทัปปัจจยตา การที่ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อเห็นทั้งหมดนี้แล้วก็เรียกว่าเห็น สุญญตา ความว่างจากความหมายแห่งตัวตน ไม่มีความหมายที่ควร จะเรียกว่าตัวตนแต่ประการใด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เห็นความว่างจากตัวตนโดยประการทั้งปวงอย่างนี้แล้ว ชื่อว่าเห็น ตถตา หรือ ตถาตา ก็ได้ คือความเป็น เช่นนั้นเอง ของธรรมชาติทั้งปวง ความเป็นเช่นนั้นเองเฉพาะ เฉพาะ ของมัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อเห็นตถาตาโดยประจักษ์เช่นนี้แล้ว จิตก็เข้าถึงความเป็นของคงที่ คงที่ คงที่ อะไรปรุงแต่งไม่ได้ อะไรมาทำให้เปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ จิตคงที่อยู่ในลักษณะของความถูกต้องของจิตนี้ เราเรียกว่า อตัมมยตา อตัมมยตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทิวเขาร็อคกี้ ในอเมริกา ทิวเขาแอลป์ ในยุโรป หิมาลัย ในเอเชีย ยังหวั่นไหว ยังหวั่นไหว เมื่อแผ่นดิน มันไหว แต่ว่าจิตที่มีอตัมมยตา ไม่มีทางที่จะหวั่นไหว ไม่มีอะไรทำให้จิตที่ถึงอตัมมยตาหวั่นไหวได้ นั่นมัน มีความมั่นคง ยิ่งกว่าภูเขาไปเสียอีก
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พูดในเรื่องใกล้ตัวที่จะมองเห็นได้ง่ายๆ โดยการเปรียบเทียบ หญิงสาวคนหนึ่งมีอตัม…อ่า, มี อตัมมยตา นี่ จิตไม่หวั่นไหว รูปสวยงามที่สุด ให้เจ้าชู้ ชายชู้หนุ่มแสนฉลาด มาตั้งฝูงหนึ่ง ก็เกี้ยวเอาไปไม่ได้ เพราะความมี อตัมมยตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในทางที่กลับกัน ชายหนุ่มรูปงามคนหนึ่ง ให้นางงามจักร…มา อ่า, นางงามจักรวาลมาสักฝูง นางฟ้ามา สักฝูง ก็ดึงหัวมันไปไม่ได้ เพราะมันมีอตัมมยตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนขั้นที่ ๑ ของหมวดที่ ๔ เห็นอนิจจตา จนถึง อตัมมยตา เอ่อ, ในขนาดนี้แล้ว ก็ทำให้เกิดอาการ ถัดไป คือ วิราคะ จางออกๆ คลายออกๆ แห่งความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ที่เคยยึดถือ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้มีอตัมมยตา คงที่อยู่ในความถูกต้อง อะไรๆจะมาดึงเขาให้ไปทำความผิดความชั่วไม่ได้ เขาไม่อาจจะเห็นแก่ตัว เขาจะคดโกงอะไรไม่ได้ เพราะความมีอตัมมยตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในบทเรียนลำดับที่ ๒ อตัมมยตา ความคงที่ คงที่ คงที่ อยู่ในความถูกต้อง น่ะ ทำให้ วิราคะ คลายความยึดถือ คลายความยึดถือในทุกสิ่งที่ยึดถืออยู่ นี่เรียกว่า วิราคานุปัสสี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อสิ่งใดมันคลายออก จางออกๆๆ ไปไม่มีหยุด มันก็ถึงความสิ้นสุด คือความดับ เรียกว่า นิโรธานุปัสสี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในบทเรียนที่ ๓ นี้ เราก็เห็นความจางออกจนหมดลง จางออกจนหมดลง หมดลงของกิเลส ของอุปาทาน ของความทุกข์ ของสังขาร หรือของอัตตาก็ได้ แล้วแต่เราจะเรียก สิ่งเหล่านี้จางลงๆ และหมดไป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ก็มาถึงบท บทเรียนที่ ๔ บทสุดท้าย เห็นความที่ บัดนี้สลัดคืนออกไปหมดแล้ว สลัดคืนสิ่งที่ ที่ยึดมั่นถือมั่นไว้ สลัดคืนโยน โยนออกไป โยนกลับออกไปหมดแล้ว นี่เรียกว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จะพูดเปรียบเทียบ อย่างธรรมดาสามัญในโลกให้เข้าใจง่ายเข้าว่า ก็ต้องพูดว่า เมื่อก่อนนี้เราโง่เราหลง เราไปเอาของธรรมชาติมาเป็นของเรา นี่เราเป็นขโมย เราเป็นคนโกง เราเป็นคนทุจริต ไปเอาของธรรมชาติ มาพูดว่าเป็นตัวเรามาเป็นของเรา บัดนี้เราปฏิบัติถึงที่สุด หมดสิ้นกิเลสแล้ว เราคืนให้เจ้าของ คืนให้เจ้าของ คืนให้เจ้าของ ไม่เอาสิ่งใดไว้ นี่อุปมาเหมือนอย่างนี้แหละ เรียกว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี้ก็ดูพอจะเห็นได้ง่ายๆว่า ธาตุ ขันธ์ อายตนะ สิ่งต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายเรานี่ มันของธรรมชาติ แต่เราก็มา ถือว่าตัวกู ของกู ของกู ตัวกู นี่เป็นขโมยชัดๆ มันปล้นซึ่งหน้า อย่างนี้มันก็เรียกว่า ต้องถูกลงโทษ มันก็ต้องเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะมีตัวกูของกู เกิดแก่เจ็บตายก็ของกู อะไรก็ของกู ยุ่งไปหมด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(เสียงผู้บรรยายแปล) ยังไงนะ อายตนะ ธาตุ …
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ธาตุทั้งหลาย ขันธ์ทั้ง ๕ อายตนะทั้งหมด
(เสียงผู้บรรยายแปล) อ๋อ ครับ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทรัพย์สมบัติ เงินทอง ข้าวของ วัวควายไร่นา อำนาจวาสนาบารมี มันของธรรมชาติ และมันปล้นเอามา เป็นตัวกู เอามาเป็นของกู มันเกิดปัญหายุ่งไปหมด ด้วยอำนาจของความเห็นแก่ตัว อันเกิดมาจากตัวกูของกู มีตัวกูของกูก็เห็นแก่ตัว ก็ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ยุ่งไปหมด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราคดโกงขโมยเอาของธรรมชาติมาเป็นของตน มันก็เกิดความเห็นแก่ตัว แล้วก็ทำผิดไปหมด ด้วยความเห็นแก่ตัว จนเกิดปัญหาสารพัดอย่าง ไม่ว่าปัญหาอะไรมันเกิดมาจากความเห็นแก่ตัวทั้งนั้น มันมีมูลมาจาก ไปปล้นจี้เอาของธรรมชาติมาเป็นตัวกู มาเป็นของกู เลิกข้อนี้เสียก็จะหมดปัญหา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราคืนของที่ปล้นจากธรรมชาติมาเป็นของตัวให้ หมดไปๆ ก็หมดความเห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัว ราษฎรทุกคนก็ไม่เห็นแก่ตัว สมาชิกรัฐสภาทุกคนก็ไม่เห็นแก่ตัว รัฐบาลทุกคนก็ไม่เห็น แก่ตัว แล้วมันจะมีปัญหาอะไร มันจะเกิดความประเสริฐเลิศขึ้นมาสักเท่าไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นายทุนก็ไม่เห็นแก่ตัว ชนกรรมาชีพก็ไม่เห็นแก่ตัว นายจ้างก็ไม่เห็นแก่ตัว ลูกจ้างก็ไม่เห็นแก่ตัว มันก็พูดกันรู้เรื่อง เกินกว่าที่จะรู้เรื่อง โลกนี้มันก็มีสันติภาพ หรือสงบเย็น เป็นนิพพานอย่างโลกๆ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่จะเห็นได้ว่า ธรรมะอันประเสริฐของพระพุทธเจ้านั้น ไม่เพียงแต่ก็…แก้ปัญหาทางจิตใจเพื่อไปนิพพาน สามารถแก้ปัญหาแม้เรื่องโลกๆ โลกๆ โลกที่สุด ที่โลกนี้ ได้ด้วยอาการอย่างนี้ นี่ขอให้มองเห็นด้วย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะสรุปใจความของอานาปานสติได้ดังต่อไปนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หมวด เอ่อ, หมวดที่ ๑ เรารู้จักกาย กายทุกชนิด ควบคุมกายทุกชนิดได้ การปฏิบัตินี้เป็นสมาธิ และเป็นศีล อย่างยิ่งอยู่ในตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หมวดที่ ๒ เรารู้จักและควบคุมเวทนา เวทนาทั้งหลายได้ หมวดนี้เป็นทั้งสมาธิและทั้งศีล อย่างยิ่งอยู่ในตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หมวดที่ ๓ เรารู้จักและควบคุมจิตได้ ทุกชนิด ทุกความหมาย นี่ก็เป็นสมาธิและเป็นศีลอยู่ในตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
๓ หมวดนี้ มีสมาธิ มีศีล อยู่อย่างเต็มที่ มีวิปัสสนาอยู่โดยอ้อม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หมวดสุดท้าย หมวดที่ ๔ เราควบคุมธรรมะ ควบคุมธรรมะ คือความยึดมั่นถือมั่นในธรรมะ ควบคุม ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในธรรมะ ในธรรมชาติใดๆ ไม่มีความยึดมั่นในธรรมชาติใดๆ สามารถควบคุมความยึดมั่น ไว้ได้ นี่เป็นวิปัสสนาถึงที่สุดเลย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พูดอย่างไม่มีใครเชื่อ ก็พูดว่า เดี๋ยวนี้เราควบคุมจักรวาล จักรวาลทั้งหมดทั้งสิ้นได้ จักรวาลทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เป็นปัญหาอะไรๆกับเราอีกต่อไป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ต่อไปนี้ก็จะได้บรรยายกันถึงเรื่องนิพพาน ตามที่ได้สัญญาไว้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นิพพาน เป็นผลแห่งการปฏิบัติอานาปานสติได้สำเร็จ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราศึกษาปฏิจจสมุปบาทอย่างครบถ้วนทั่วถึง แล้วเราก็ปฏิบัติอานาปานสติอย่างครบถ้วนทั่วถึง แล้วผลก็เกิดขึ้นมาเป็นนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อืม, ดังนั้นสิ่งทั้ง ๓ นี้มันเนื่องกัน สิ่งทั้ง ๓ นี้มันเนื่องกัน รู้ปฏิจจสมุปบาท ถ้าไม่ปฏิบัติอานาปานสติ ปฏิบัติอานาปานสติทำให้ได้นิพพาน ๓ อย่างนี้ต้องเนื่องกัน เนื่องกันจึงจะสำเร็จประโยชน์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ข้อแรกก็จะพูดกันถึงสิ่งที่เป็นปัญหา ปัญหาก็คือ ไม่มีใครต้องการนิพพาน โดยเข้าใจว่านิพพานคือ ความตายนิรันดร ตายนิรันดร มีแต่สั่นหัวเพราะไม่ต้องการนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เขาเห็นว่านิพพานพ้นสมัย สมัยนี้ปฏิบัตินิพพานไม่ได้ หรือไม่มีประโยชน์อะไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หน่วยราชการบางแห่ง ไม่ออกชื่อ รังเกียจพระนิพพานว่าเป็นอุปสรรคแห่งการพัฒนา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ไม่ให้พูดเรื่องนิพพาน ไม่เอาหลักของนิพพานมาใช้ ไม่ให้เกี่ยวข้องกับพระนิพพานโดยประการทั้งปวง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ตามความเป็นจริง มันไม่เป็นเช่นนั้น มันไม่เป็นเช่นนั้น โดยประการทั้งปวง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คิดดูสิ ขอให้ลองคิดดูทุกคน ถ้าไม่มีนิพพาน มันก็ไม่มีพุทธศาสนา ไม่มีเรื่องนิพพาน มันก็ไม่มีพุทธศาสนา หรือจะมีพุทธศาสนาไปทำไม ถ้าไม่มีเรื่องนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มีเหตุผลที่เราจะทำเรื่องของพระนิพพานให้มีประโยชน์แก่โลกสมัยปัจจุบันนี้ โลกในยุคปัจจุบันนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แม้ว่าจะไม่ทำอย่างเต็มที่ เต็มขนาดเต็มที่ เราก็สามารถที่จะทำในลักษณะที่ให้ได้รับประโยชน์ เป็นสันติภาพในโลกปัจจุบันนี้ อย่างน่าพอใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราจะมาพิจารณากันให้ละเอียดว่า นิพพาน นิพพาน คืออะไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อกล่าวโดยทั่วไปอย่างกว้างๆ นิพพาน นิพพาน นี่ เป็นสิ่งที่มนุษย์ ได้พูด ได้ เอ่อ, ได้พยายามที่จะบรรลุ กันมาแล้ว ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ยุค ยุคดึกดำบรรพ์แรกมีมนุษย์นั่นแหละ เขามีความหมาย ความมุ่งหมายที่จะ มีนิพพาน พูดถึงนิพพานกันมาเรื่อยๆ นี่ไม่ค่อยจะมีใครคิดถึงว่า นิพพานเป็นที่สนใจของมนุษย์ มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นิพพานมีความหมายว่า เย็น ไม่ใช่แปลว่า ตาย เย็นอกเย็นใจ เย็นอกเย็นใจ เป็นที่สนใจหรือปรารถนา มาแล้วตั้งแต่ยุคคนป่าดึกดำบรรพ์ มันก็ต้องการความหยุดพัก เย็นอกเย็นใจ หยุดพักอย่างเย็นอกเย็นใจ นั่นแหละคือนิพพานในขั้นต้นที่สุด จุดตั้งต้นที่สุด มีได้แม้ในพวกคนป่า
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เขารู้จักแสวงหาความเย็นอกเย็นใจ เย็นอกเย็นใจที่สูงขึ้น สูงขึ้น ตามลำดับ สูงขึ้นตามลำดับ สูงขึ้นตามลำดับ นี่คือวิวัฒนาการของนิพพานในจุดตั้งต้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในบาลี พรหมชาลสูตร มีข้อความแสดงไว้ชัดเจนว่ามนุษย์พวกหนึ่ง ได้เอากามคุณหรือกามารมณ์ เป็นพระนิพพาน เพราะมันหยุดความกระหายความหิวความร้อนใจของเขาได้อย่างหนึ่งชนิดหนึ่ง ยุคนี้คนพวกนี้ถือเอากามารมณ์เป็นนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ต่อมาคนที่ฉลาดกว่านั้น โอ้ย, นี่ไม่ไหว นี่ไม่ไหว นี่มันซ่อนความร้อนไว้ข้างในนี่ มันซ่อนความร้อนอยู่ ข้างใน เขาหาไปทางอื่น เขาก็พบว่า ความระงับแห่งจิต ที่เรียกว่าสมาธิหรือฌานนั่นแหละ เป็นนิพพาน พวกฤาษี มุนีในป่าในดงก็ค้นคว้ากันใหญ่ หาฌาน หาสมาธิที่ยิ่งขึ้นไป ในความหมายของนิพพาน นิพพานคือฌาน ในยุคนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จตุตถฌาน ความสงบระงับแห่ง จตุตถฌาน ถูกถือเอาเป็นนิพพานอยู่เป็นระยะยาว ยิ่งกว่าฌานใดๆ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บาลี ปารายนวรรค โสลดปัญหา ขุททกนิกาย (58.42) นี่ ได้กล่าวถึงคนพวกอื่น เอ่อ, คนในลัทธิอื่น มาเฝ้าพระพุทธเจ้า มาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลขอ ขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระนิพพานตามแบบของพระองค์ นิพพานตามแบบของพระพุทธเจ้า นี่หมายความว่า เขามีนิพพานตามแบบของเขาอยู่แล้ว เขาไม่พอใจ ไม่ ไม่ไว้ใจ เขามาขอให้พระพุทธเจ้าช่วยแสดงนิพพานตามแบบของพระพุทธเจ้า อย่างนี้ก็มีอยู่
(เสียงผู้บรรยายแปล) หมวด หมวดไหนของ…
ปารายนวรรค ปารายนวรรค ปารายนวรรค โสลดปัญหา ขุททกนิกาย
(เสียงผู้บรรยายแปล) ครับ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(แทรกขึ้นว่า) อย่างของพระองค์ อย่างของพระองค์
(เสียงผู้บรรยายแปล) ครับ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี้แสดงว่าในอินเดียในยุคพุทธกาลนั้น ต่างลัทธินิกาย ลัทธิศาสนา ก็มีนิพพานของตน นิพพานของตน อย่างของตน อย่างของตน กันด้วย…ด้วยกันน่ะ ทุกๆนิกาย หรือทุกๆศาสนา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงนิพพานตามแบบในพระพุทธศาสนา เขาก็ชอบใจ คือเป็นพระอรหันต์ กลับไป นี่ มันต่างกันอย่างนี้ นิพพานแบบของลัทธิอื่นนิกายอื่นก็เป็นอย่างอื่น ในพุทธศาสนาเราก็เป็นอย่าง ในพุทธศาสนาเรา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำสอนที่เรียกว่า อุปนิษัท อุปนิษัท ของฮินดู เขาสอนว่า นิพพาน ไอ้, สูงสุดอย่างนิพพานของเรานั้น คือปรมาตมัน ปรมาตมัน จะอยู่ในที่ไหนก็ไม่ต้องพูดแหละ แต่พูดว่าพอ อาตมัน อาตมัน นี่บริสุทธิ์หลุดพ้น จากโลกนี้เป็นอาตมันหลุดพ้นแล้ว มันไปรวมอยู่ที่นั่น ที่นั่นเลยเรียกว่า ปรมาตมัน ไปรวมอยู่ที่ อาตมันอันใหญ่ อันสูงสุดอันประเสริฐ นิพพานของชาวฮินดูเขาเป็นอย่างนั้น แล้วก็มีนิยมนับถือกันมาก นิยมนับถือกันมาก โมกษะ โมกษะ นี่ หลุดพ้น หลุดพ้นแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น นิยมนับถือกันสูงสุดอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรื่องที่เล่าแล้วท่านอาจจะไม่เชื่อ ที่อินเดีย วันนั้นเรานั่งไปในรถไฟ รถไฟขบวนหนึ่งก็มาถึง เทียบเคียงกัน อย่างนี้ หน้าต่างพูดกันได้ ผมก็บอกให้คนเอาสตางค์ให้ตาแก่สกปรกคนหนึ่ง เขาสั่นหัว ไม่เอาๆ ต้องการโมกษะ ต้องการโมกษะ เราแย่เลย /หัวเราะ/ เขาไม่ต้องการสตางค์ แต่ต้องการโมกษะ คือไปอยู่กับปรมาตมัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่ท่าน้ำ ที่เบนาเรส ยายแก่คนหนึ่งผอมจนแทบจะไม่มี ไม่มีเนื้อ มีแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่แล้ว ให้สตางค์ไม่เอา ให้สตางค์ไม่เอา มานั่งอยู่นี่ทำไม ต้องการโมกษะ ต้องการโมกษะ ให้สตางค์ไม่เอา มันมากถึงอย่างนี้ ที่เบนาเรสน่ะ พาราณสี ที่ท่าน้ำ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มันน่าละอายที่ว่า เราชาวพุทธไม่ได้ต้องการนิพพาน มากเหมือนชาวฮินดูต้องการโมกษะ โมกษะ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในยุควัตถุนิยมแห่งโลกปัจจุบันนี้ นิพพานคืออะไร แน่แล้วเขาไม่สนใจนิพพานในพระพุทธศาสนา แต่เขามีนิพพานของเขา แล้วนิพพานนั้นคืออะไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นิพพานของเขาก็คือ ความร่ำรวยหรืออำนาจผูกขาด หรือการได้ครองโลก
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในยุควัตถุนิยม วัตถุนิยม มันเป็นเสียอย่างนี้ นิพพานที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา กลายเป็นสิ่งที่ไม่… ไม่น่าสนใจ บางคนไม่ชอบ บางคนเกลียด บางคนเกลียดนิพพาน ว่าไม่มีความหมายอะไร มันเป็นเสียอย่างนี้ ในยุควัตถุนิยม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่พวกเราชาวพุทธ มองดูพวกเราชาวพุทธ เรายังสามารถมีนิพพานในพระพุทธศาสนา ตามสมควร ตามสมควร คำนี้ ตามสมควรแก่อัตภาพ ตามสมควรแก่อัตภาพ เรายังสามารถมีพระนิพพานอันแท้จริง ตามสมควรแก่อัตภาพ เราจะได้พูดกันต่อไป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นิพพานคืออะไร เมื่อกล่าวโดยคำพูดที่ใช้พูดกันอยู่ในอินเดีย หมายถึง การดับเย็นแห่งของร้อน ดับเย็นแห่งของร้อน ในพระบาลีแท้ๆนี้ ก็มีคำว่า ปชฺโช ตสฺเสว นิพฺ พานํ นิพฺ พานํ ของไฟ ปชฺโช ตส แปลว่าไฟ ปชฺโช ตสฺเสว นิพฺ พานํ นิพฺ พานํ ของไฟ ไฟดับเรียกว่า ไฟนิพพาน พอว่าไฟดับหรือของร้อนดับ ก็เรียกว่านิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำนี้ใช้อยู่ทั่วไป ทุกหนทุกแห่งในบ้านในเมือง กระทั่งในครัว ในครัว เด็กๆจะร้องบอกคนข้างนอกว่า โอ้, เดี๋ยวนี้ ข้าว ซุป หรือซุปยาคุ ซุปน่ะ นิพพานแล้ว นิพพานแล้ว มาๆๆ มากินได้ ยาคุ ซุป ข้าว นิพพานแล้ว มา มากินได้ นี่ ใช้คำนิพพานกับสิ่งเหล่านี้ ในลักษณะอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อช่างทองเขาหลอมทองละลาย ละลายในเบ้า แล้วก็เทออกมา เอาน้ำรดให้ไอ้ทองนั้นเย็น เอาน้ำเย็นรด ให้ไอ้ทองที่ร้อนนั้นเย็น นี่เขาก็เรียกว่า ทำให้มันนิพพาน ภาษีบาลีว่า นิพพาเปยย แปลว่าทำให้มันนิพพาน ทำก้อนทองที่ร้อนนี้ให้เย็น ให้จับได้ เอาน้ำรดลงไป เรียกว่า ทำให้มันนิพพาน ดูความหมายของคำว่านิพพานซิ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(แทรกขึ้นว่า) นิพพาเปยย นิพพา นิพพานาเปยย นิพพานาเปยย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในความหมายที่สูงขึ้นมา ในความหมายที่สูงขึ้นมา ไม่ใช่วัตถุน่ะ แต่เป็นเรื่อง อ่า, การกระทำที่ จับสัตว์ในป่า เลวร้าย ดุร้าย ดุร้ายที่สุด จับมา แล้วก็ฝึก ฝึกๆๆๆๆ จน อ่า, จนเหมือนกับแมว ไม่มีอันตรายเหมือนกับแมว ช้างในป่า จับมาฝึกจนเชื่องเหมือนกับเป็นคนรับใช้ อย่างนี้ มันหมดความดุร้าย หมดความโง่ หมดอันตราย หมดอันตราย นี่ก็เรียกว่าทำให้มันนิพพานเหมือนกัน ไม่ได้แปลว่าฆ่าให้ตาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เดี๋ยวนี้ ความหมายของความเย็นสนิท เย็นสนิทๆ มันถูกตีความหมายผิด แปลไปเป็นว่าตาย ตายนิรันดร ตายอย่างนิรันดร นี่ มันผิด ผิดเหลือที่จะกล่าวได้ว่าผิดอย่างไร มันผิดเหลือประมาณ ความเย็นสนิท ถูกแปลงความหมายว่า ตายนิรันดร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่นี้ก็เอาตามพระพุทธภาษิต พระบาลี พระพุทธภาษิตโดยองค์…โดยตรง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ราคะคโย โทสะคโย โมหะคโย นิพพานัง (1.15.14) ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ คือนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ราคะ โทสะ โมหะ มันเป็นไฟ ไฟ ไฟยิ่งกว่าไฟที่เรามีอยู่ ไฟในครัว ไฟที่ไหนไฟ ก็ไม่ร้อนเท่ากับไฟ คือราคะ โทสะ โมหะ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นิพพานก็คือดับไฟสูงสุด ดับไฟสูงสุด คือไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ดับไฟสูงสุดก็เป็นนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มีนิพพานแท้จริงสูงสุด สูงสุดอยู่ที่สิ้นกิเลส แต่ว่าถ้าสิ้นกิเลสบ้าง ยังไม่หมด สิ้นกิเลสบ้าง สิ้นกิเลสเท่าไร ก็เป็นนิพพานน้อยๆ เท่านั้น มีนิพพานชนิดน้อยๆ น้อยๆ ไปตามลำดับ ความเย็นอกเย็นใจ ตามธรรมดา ความเย็นอกเย็นใจในสมาธิ ความหมดกิเลสอย่างพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ยังไม่ถึงที่สุด นี่ก็เรียกว่านิพพานระดับหนึ่ง ระดับหนึ่ง ระดับหนึ่ง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แล้วทีนี้เราก็จะถือเอาตามพระบาลีที่ชัดเจน ชัดเจนยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือพระบาลี อิติวุตตกะ ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ขุททกนิกาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในที่นั้นเรียกชื่อว่า นิพพานธาตุ นิพพานธาตุ นิพ-พา-นะ-ธา-ตุ ไม่ได้เรียกว่านิพพานเฉยๆ คือถือว่า นิพพานนั่นเป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นธาตุของพระนิพพาน ที่เรียกว่านิพพานธาตุ จำคำไว้ดีๆว่า ต้องเรียกว่า นิพพานธาตุ อย่าเรียกว่านิพพานเฉยๆ แต่เรามาพูดกันตามธรรมดา เราพูดกันว่านิพพานเฉยๆ นิพพานธาตุมี มีอยู่เป็นธรรมชาติ มีอยู่เป็นธรรมดา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นิพพานเป็นธาตุมีอยู่ตามธรรมชาติ ทั่วไปทุกหนทุกแห่งไม่ว่าที่ไหน เป็นธาตุตามธรรมชาติ ไม่ต้องไป ไม่ต้องไป ยิ่งไปยิ่งไม่ถึง ไม่ถึงได้ด้วยการไป ฉะนั้นขอทุกคนอย่าได้พูดว่า ไปนิพพาน ไปนิพพาน มันเป็นคำพูดที่ บ้าบอที่สุด ถ้าพูดว่าไปนิพพาน น่ะ เพราะไม่ต้องไป ทำจิตให้หมดจากเครื่องห่อหุ้ม อวิชชาความโง่ที่ห่อหุ้มจิต ปลดออกไปให้หมด แล้วนิพพานก็มาถึงจิตเอง เราไม่ต้องไปหานิพพาน ยิ่งไปยิ่งไม่ได้ ยิ่งไม่มี ยิ่งไม่ถึง นิพพานนี้ไม่ต้องไป เป็นธาตุมีอยู่ตามธรรมชาติ พอทำจิตให้หมดจากเครื่องห่อหุ้ม แล้วนิพพานก็สัมผัสกับจิต เหมือนกับว่า พอเราเปิดหน้าต่างแสงสว่างก็เข้ามาอย่างนั้นแหละ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การปฏิบัติอานาปานสติ การปฏิบัติอานาปานสติ เป็นวิธีการลอก ลอกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตออกไปเสีย อวิชชา อุปาทานมันห่อหุ้มจิตอยู่ วิธีปฏิบัติอานาปานสติ ปฏิบัติแล้วมันลอกไอ้สิ่งที่ห่อหุ้มจิตออกไปเสีย นิพพานธาตุก็จะสัมผัสกับจิตเอง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระบาลีนั้นว่า นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งนิพพานที่มีอุปาทิเหลือ อีกอย่างหนึ่ง นิพพานที่ ไม่มีอุปาทิเหลือ เป็น ๒ อย่างอยู่ด้วยกัน มีอุปาทิเหลือกับไม่มีอุปาทิเหลือ นี่ นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง อย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อุปาทินั่นแหละคือคำที่เป็นปัญหา อุปาทิ ธรรมดาหมายถึงกิเลส บางพวกก็ว่า เล็งถึงกิเลส บางพวกก็ว่า เล็งถึงร่างกาย ร่างกายชีวิตนี้ แต่ในที่นี้ อุปาทิหมายถึงความร้อน หรือความรู้สึกของเวทนา ความรู้สึกของเวทนา เรียกว่าอุปาทิ ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ร่างกาย แต่ความรู้สึกของเวทนา ในความหมายเป็นบวกเป็นลบ ถ้าความรู้สึกนั้นเหลืออยู่ เรียกว่า อุปาทิเหลืออยู่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะฟังพระบาลีนั้นโดยตรง แปลตามตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ อย่างมีอยู่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
๒ อย่างนั้นเป็นอย่างไรเล่า
/เสียงภาษาอังกฤษ/
๒ อย่างนั้นคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ภิกษุเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ประพฤติพรหมจรรย์จบแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สิ่งที่จะต้องทำ ทำเสร็จแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ปลงของหนักลงได้แล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ประโยชน์ที่ควรต้องการได้รับแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สังโยชน์ที่จะผูกมัดไว้ในภพนี้ ก็ตัดขาดแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
๘ คำนี้เป็นความหมายของพระอรหันต์ ชนิดนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ถึงตอนสำคัญ ที่จะต้องควรได้ยินคำบาลีด้วย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตัสสะ ติถันเตวะ ปันจิ ทริยานิ (1.28.50) ตัสสะ ติถันเตวะ ปันจิ ทริยานิ
คือว่า อินทรีย์ทั้ง ๕ ของภิกษุนั้น ยังตั้งอยู่ อินทรีย์ทั้ง ๕ ของภิกษุนั้น ยังตั้งอยู่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เตสัง อวิคา ตัตตา (1.29.27) เพราะว่ามันยังไม่ถูกกำจัด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เขาจึงมีความรู้สึก สิ่งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เขายังมีความรู้สึกต่อสิ่งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตัสสะโย ราคะคโย โทสะคโย โมหะคโย (1.30.08) แปลว่า สิ้น…ความสิ้นราคะใด ความสิ้นโทสะใด ความสิ้นโมหะใดของภิกษุนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทะยังวุจติ สอุปาทิเส นิพานธาตุ (1.30.35) นี้ นี้ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ใจความสำคัญว่า สิ้นอาสวะ สิ้นอาสวะ เป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ว่าอินทรีย์ยังไม่ถูกจำกัด สิ้นอาสวะ เป็นพระอรหันต์แล้ว
(เสียงผู้บรรยายแปล) จำกัด หรือ …
อินทรีย์ยังไม่ถูก กำจัด คือทำลายน่ะ
(เสียงผู้บรรยายแปล) ครับ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ความรู้สึกที่ทำให้รู้สึกว่า สิ่งไรน่าพอใจ สิ่งไรไม่น่าพอใจ สิ่งไรเป็นทุกข์ สิ่งไรเป็นสุข มันยังเหลืออยู่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ว่าความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะของภิกษุนั้น ของภิกษุนั้น คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่เรื่อง สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่นี้ก็ตรัสต่อไปว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้น เป็นอย่างไรเล่า
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ประพฤติพรหมจรรย์จบแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทำกิจที่ควรจะทำหรือต้องทำเสร็จแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ของหนักปลงลงได้แล้ว ปลงของหนักลงได้แล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ได้รับแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สังโยชน์ที่จะผูกพันให้จิตอยู่ในภพนี้ก็ขาดแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เธอหลุดพ้นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
๘ คำนี้เหมือนกัน ขอให้ฟัง ๘ คำนี้เหมือนกัน ภิกษุอรหันต์องค์นั้นมี ๘ คำ คุณสมบัติ ๘ คำนี้ เหมือนกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ตอนนี้ก็มาถึงคำที่ไม่เหมือนกัน ขออ้างบาลีหน่อยหนึ่ง เดี๋ยวไม่เชื่อ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ปัสสะ ยิเทวะ ภิกขเว (1.34.27) ในอัตภาพนี้ นั่นเชียว ในอัตภาพนี้นี่เองของภิกษุนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สัพพะ เวทะยิตานิ สีติ วิสันติ (1.34.52) เวทนาทั้งปวงเป็นของเย็นสนิท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ยังมุตจะติ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (1.35.10) นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี้หมายความว่า เวทนาที่ปรากฏ มันจะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นบวกหรือเป็นล จะไม่มีความรู้สึกว่า น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ ไม่มีความรู้สึกว่า เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เวทนานั้นไม่มีความหมาย ที่ทำให้เกิด ความหมายเป็นเวทนาที่ร้อน เวทนาที่ร้อน มีความร้อน จึงว่าเวทนาเย็นสนิท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ข้ามการถอดเสียงนาทีที่ 1.36.02 – 1.36.36 เพราะซ้ำ
ความหมายเหมือนกัน เหมือนกัน เป็นอรหันต์ด้วยกัน ต่างกันแต่ว่านี้เวทนายังไม่เย็นสนิท นี้เวทนาเย็นสนิท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จึงมีคำพูดชัดเจนว่า เย็นสนิทในอัตภาพนี้ เย็นสนิทในอัตภาพนี้ ไม่ใช่ต่อตายแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พูดอีกอย่างหนึ่งก็พูดว่า สิ้นราคะ โทสะ โมหะ ด้วยกัน แต่นี่เวทนายังไม่เย็นสนิท อันนี้เวทนาเย็นสนิท คืออย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เพื่อให้เข้าใจง่าย เราก็เปรียบเทียบกับคนธรรมดา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คนธรรมดาพอได้รับเวทนา เขาก็รู้สึกว่าพอใจ หรือไม่พอใจ คือเป็นเวทนาที่น่ารัก หรือไม่น่ารัก เช่นว่า กินอาหารอร่อยหรือไม่อร่อย อย่างนี้ แล้วเขาก็เกิดอุปาทาน กิเลส ยึดมั่นในความอร่อย หรือในความไม่อร่อย นี่คนธรรมดาเป็นอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่พระอรหันต์พวกแรก สิ้นราคะ โทสะ โมหะ แล้ว เสวยเวทนา เช่นว่า กินอาหารอร่อยหรือไม่อร่อย นี่ก็รู้ว่าอย่างนี้เรียกว่าอร่อย อย่างนี้ก็เรียกไม่อร่อย แต่ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดอุปาทาน ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปาทาน ถ้าคนธรรมดามันเกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน พระอรหันต์ไม่เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ว่าคนธรรมดาเราน่ะ จะเกิดยินดียินร้าย ทุกทีที่มีอาหารอร่อยหรือไม่อร่อย เกิดกิเลสทั้งอร่อย และทั้งไม่อร่อย นี่คือคนธรรมดา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้นิพพานธาตุที่ ๒ สำหรับพระอรหันต์องค์ที่ ๒ ท่านไม่รู้สึก ไม่รู้สึกในความหมายว่า อร่อย หรือไม่อร่อย รู้สึกแต่ว่าอาหาร อาหาร ก็กินเข้าไป เท่านั้น ไม่มีความหมายอย่างอื่น นี่อาหารอร่อย หรือนี่อาหารไม่อร่อย นี้น่าพอใจ นี่ไม่น่าพอใจ นี่ก็ยิ่งไม่อาจจะเกิดกิเลสใดๆ พระอรหันต์องค์นี้ ไม่มีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นบวกหรือเป็นลบ ในอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระอรหันต์องค์ที่ ๑ ไม่รู้สึกความเป็นบวกเป็นลบ หรือว่าเป็นบวกเป็นลบในอารมณ์ที่มากระทบ… รู้สึกว่าเป็นบวกหหรือเป็นลบในสิ่งที่มากระทบ อรหันต์องค์ที่ ๒ ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ ในอารมณ์ที่มากระทบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่อย่าลืมว่าแม้ท่านรู้สึกว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ มันก็ไม่เกิดกิเลสอยู่นั่นเอง มันไม่เกิดกิเลสอยู่นั่นเอง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระอรหันต์ทั้ง ๒ องค์นี้ยังไม่ตาย ล้วนแต่ไม่ตาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราลองทำตามอย่างพระอรหันต์กันบ้างสิ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
กินอาหารอร่อยหรือไม่อร่อย ก็รู้สึกแต่เพียงว่า มันอร่อยหรือไม่อร่อย อย่าเกิดกิเลส ชอบใจยึดมั่นถือมั่น ไปหามาไว้อีก ไปปล้นเขามา ไปโกงเขามา นี่เป็นเหตุคอรัปชั่น เพราะมันตกเป็นทาสของความ เป็นบวกและเป็นลบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อร่อยหรือไม่อร่อย เท่านั้นเอง ปล่อย ปล่อยเท่านั้นเอง อย่าให้มันยินดีหรือยินร้าย ในความอร่อยหรือ ความไม่อร่อย ทำอย่างนี้คือตามรอยพระอรหันต์อย่างยิ่งเลย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในโลกนี้มันมีอารมณ์ อารมณ์มากเหลือเกิน มากนักไม่ไหว ที่จะเข้ามากระทบเราทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางตาว่าสวย ไม่สวย ทางหูว่าไพเราะ ไม่ไพเราะ ทางจมูกว่าหอม ว่าเหม็น ทางลิ้นว่าอร่อย ไม่อร่อย ทางผิวหนังว่านิ่มนวล หรือแข็งกระด้าง ทางจิตก็ว่าน่ายินดี ไม่น่ายินดี นี่ อารมณ์ทั้งหลายมันมากระทบ ก็อย่าโง่กับมัน ว่า เอ้อ, อันนี้ฝ่ายน่ายิน ดีอันนี้ฝ่ายไม่น่ายินดี แต่ฉันจะไม่ยินดี กูไม่ยินดีกับมึง กูไม่ยินร้ายกับมึง ใช้คำอย่างนั้นสิ แล้วมันก็จะถอยออกไป นี่เรียก ปฏิบัติตามรอยพระอรหันต์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนง่ายๆ ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด ที่เราจะฝึกจะปฏิบัติประจำวันก็คือ กินอาหาร นั่นแหละ เพราะเรากินอาหารประจำวันทุกวัน พอกินอาหารเข้าไปในปาก มันรู้สึกว่าอร่อย เพียงแต่รู้สึกว่าอร่อย แล้วก็หยุด กูไม่อร่อยกะมึง กูไม่ดีใจอะไรกะมึง ถ้าไม่อร่อย กูก็ไม่ยุ่งยากโกรธแค้นอะไรกะมึงนี่ อย่าให้ความอร่อย หรือความไม่อร่อยมันมีอิทธิพลเหนือจิตใจเรา ปฏิบัติอย่างนี้คือปฏิบัติตามรอยพระอรหันต์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ความลับอย่างยิ่ง ช่วยจำว่า ความอร่อยทำให้เกิดความรู้สึกว่า ตัวกูผู้อร่อย ความไม่อร่อยทำให้เกิด ความรู้สึกว่า ตัวกูผู้ไม่อร่อย “ตัวกูผู้” น่ะ เพิ่งเกิดทีหลัง อร่อยมันเกิดอย่าง ไม่อร่อยมันเกิดอย่าง หยุด หยุดเสีย อยู่มันเพียงว่า เอ้อ, มันก็ อร่อยหรือไม่อร่อยตามสมมุติ จะไม่เกิดตัวกูผู้อร่อย หรือตัวกูผู้ไม่อร่อย มันก็ไม่เกิด ความเห็นแก่ตัวใดๆ ทั้งหมดทั้งสิ้น ก็ไม่มีปัญหา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พูดให้เป็นวิทยาศาสตร์หน่อยนะ ตัวความรู้สึกที่เป็นบวก ทำให้เกิด ตัวกูบวก ความรู้สึกที่เป็นลบ ทำให้เกิด ตัวกูลบ แต่จะเป็นตัวกูบวกหรือตัวกูลบ มันใช้ไม่ได้ทั้งนั้นแหละ บ้าทั้งสองอย่างแหละ มันจะเกิดความเห็นแก่ตัว แล้วมันจะทำลายโลก มันจะทำลายโลก อย่าเอาเลย ทั้งตัวกูบวกและตัวกูลบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อย่าให้เกิดความรู้สึกเป็นบวก หรือเป็นลบ แต่ให้มีความรู้สึกคงที่ คงที่ ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ คงที่ คงที่อยู่ในความถูกต้อง ที่เรียกว่า อตัมมยตา อตัมมยตา คงที่อยู่ในความถูกต้องไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ คงที่อยู่ในความถูกต้องไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ ผมอยากจะพูดคำนี้สักพันครั้ง กลัวว่าท่านจะลืม คงที่อยู่ในความถูกต้องไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สรุปความในเรื่องนิพพานนี้ว่า สิ้นกิเลสแล้วเวทนายังไม่เย็นสนิท นี่อย่างหนึ่ง สิ้นกิเลสแล้วเวทนาเย็นสนิท นี้อย่างหนึ่ง รวมกัน ๒ อย่างนี้เรียกว่านิพพาน ๒ อย่าง นิพพานธาตุ ๒ อย่าง โปรดเข้าใจว่าไม่ได้ตาย ไม่ได้ตาย แต่ว่าเย็นๆอยู่ที่นี่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระนิพพาน พระนิพพาน เติมคำว่าพระเข้าไปหน่อย เพราะเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุด นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา พระนิพพานเป็นธรรมะสูงสุดยิ่งกว่าสิ่งใด เป็นผลเกิดมาจากการที่เราศึกษาปฏิจจสมุปบาท ศึกษาปฏิจจสมุปบาท แล้วเราปฏิบัติอานาปานสติ ปฏิบัติอานาปานสติ จึงมีผลออกมาเป็นนิพพาน นิพพาน ทั้ง ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(แทรกขึ้นว่า) ปรมัง วทันติ พุทธา นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรื่องนิพพานจบแล้ว ที่นี้ก็เหลือแต่ปัญหาเรื่องคำ คำพูด มันมีคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่า ปรินิพพาน ทั้งพระไตรปิฎก ผมค้นแล้วคำว่านิพพาน นิพพานไม่ได้หมายถึงความตาย ไม่มีตรงไหนที่หมายถึงความตาย แต่ถ้าจะให้หมายถึงความตาย ในกรณีของความตายของเบญจขันธ์นี่ ท่านใช้คำว่า ปรินิพพาน เช่น พระองค์ตรัสว่า ปรินิพพานจะมี ๓ เดือนแต่นี้ ท่านแน่พระทัยว่า สามเดือนแต่นี้จะดับขันธ์แล้ว จะปรินิพพาน ปรินิพพานจะมี ๓ เดือนแต่นี้ ถ้าท่านหมายถึงความตาย จงใช้คำว่า ปรินิพพาน สำหรับพระอรหันต์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แต่ในที่สุด ก็มันยังมีการทำให้สับสนอยู่นั่นแหละ คือเอาคำว่าปรินิพพานหมายถึงตาย มาใช้เป็นไม่ตาย เป็นนิพพานอย่างไม่ตายอีกก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เพราะมันมีใครคนใดคนหนึ่ง กล่าวเป็นภาษาบาลีปรากฏอยู่ แม้ในพระไตรปิฎกว่า ปรินิพพุทโธ โสภควา ปรินิพพาน นายะ ธัมมัง เทเสติ (1.59.44) พระผู้มีพระภาคนั้นปรินิพพานแล้ว แล้วได้แสดงธรรมเพื่อ การปรินิพพาน ปรินิพพานอย่างนี้ไม่ได้หมายถึงตาย ตายแล้วจะแสดงธรรมได้ยังไง นี่ปรินิพพานอย่างนี้ก็ต้องตาย ตายของกิเลส ตายอย่างยิ่งของกิเลส ไม่ได้หมายความถึงความตายของพระองค์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(เสียงผู้บรรยายแปล) บาลีว่ายังไง
ปรินิพพุทโธ โสภควา ปรินิพพาน นายะ ธัมมัง เทเสติ นี่ ปรินิพพานแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อปรินิพพาน แสดงธรรมเพื่อให้เรารู้จัก ปรินิพพาน
(เสียงผู้บรรยายแปล) พระพุทธ ทรงตรัสเอง หรือผู้อื่นพูด
ผู้อื่นพูด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอให้เข้าใจว่า คำว่านิพพาน หรือปรินิพพาน ก็ดี ใช้กันอย่างสับสน หมายถึงตายแล้วก็มี หมายถึงไม่ตายก็มี ใช้กันอย่างสับสน แต่ แต่เรื่องอันแท้จริง ใจความอันแท้จริงก็เหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้ว นิพพานจะเย็น เย็นๆที่นี่โดยไม่ต้องตาย เรื่องกิเลสออกแล้วนิพพานก็ถึงเอง เป็นอันว่าจบเรื่องนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอให้พยายามสุดความสามารถ ในการศึกษาปฏิจจสมุปบาท พยายามสุดความสามารถ ในการ ปฏิบัติอานาปานสติ แล้วพระนิพพานก็จะปรากฏแก่เรา ปรากฏแก่เรา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอบพระคุณ ขอบพระคุณ เป็นผู้ฟังที่ดี ๒ ชั่วโมงแล้ว ขออภัยถ้าทำให้เกิดความรู้สึกปวดเมื่อย ขอยุติการบรรยาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
วันนี้ไม่ตอบปัญหาแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เพราะมีเรื่องที่จะต้องทำ
(เสียงผู้บรรยายแปล) หือ ไม่มีเรื่อง…
เพราะผมมีเรื่องที่จะต้องทำ หมอมา หมอมา
/เสียงภาษาอังกฤษ/