แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เพื่อนสหธรรมิกทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาทเป็นหัวใจของการศึกษา อานาปานสติเป็นหัวใจของการปฏิบัติ บัดนี้เราจะได้พูดกันถึงเรื่องอานาปานสติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อานาปานสติ ช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการที่เราจะปฏิบัติตามกฏของปฏิจจสมุปบาท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อานาปานสติเป็นการปฏิบัติในระดับสมาธิและวิปัสสนา แต่ก็มีศีลซ่อนอยู่ในนั้นพร้อมด้วยเสร็จ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ความตั้งใจจะปฏิบัติ มันเป็นตัวศีล ปฏิบัติเป็นสมาธิ แล้วก็เกิดความรู้แจ้งเห็นแจ้ง ก็เป็นวิปัสสนา เป็นการปฏิบัติพร้อมกันไปทั้ง ศีล สมาธิ และวิปัสสนา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อดูกันถึงคำแปล หรือความหมายของคำๆนี้ ก็มีใจความสำคัญว่า การกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ควรกำหนด อยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก
/เสียงภาษาอังกฤษ/
โดยตัวหนังสือแล้ว กำหนดอะไรก็ได้ เช่นท่านคิดถึงบ้าน คิดถึงบ้าน คิดถึงอะไรอยู่ ถึงบ้านทุกหายใจเข้าออก ก็เป็นอานาปานสติเหมือนกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จะกำหนดถึงวัตถุสิ่งของ เอ่อ, กำหนดสถานที่ กำหนดถึงเพื่อน กำหนดถึงธรรมะ ธรรมะในที่สุด เป็นวัตถุแห่งการกำหนด กำหนดอยู่ทุกหายใจเข้าออก ก็เรียกว่าอานาปานสติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ดังนั้น อานาปานสติจึงถูกใช้ไปในทางเรื่องโลกๆก็ได้ ของเด็กๆก็ได้ อย่างยักษ์มารก็มี ตามกำลังใจ กำลังอานาปานสติ นี่ว่าแล้วแต่เราจะใช้ในเรื่องโลก หรือเรื่องธรรมะ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สรุปความให้สั้นที่สุดก็ว่า วิธีการใช้ลมหายใจ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะมีได้ นั่นเอง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราจะดูกันถึงประวัติ อ่า, ของวัฒนธรรมข้อนี้ ว่ามีอยู่อย่างไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะต้องดูมาตั้งแต่คนป่า สมัยแรก Primitive ที่สุด คนป่าคนที่ยังเกือบจะไม่นุ่งผ้า นี้น่ะ และเขาก็รู้จัก ใช้ลมหายใจในแง่ที่เขาประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เป็นเพราะว่ามันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ธรรมชาติล้วนๆ มันก็มีอยู่แล้ว เช่นเวลาเราเหนื่อย เรารู้สึก เหนื่อย ร่างกายมันก็มีวิธีการหายใจของมัน เพื่อจะกำจัดความเหนื่อย ให้มันหายไปโดยเร็ว หรือว่าต่อสู้กับความ เหนื่อย จนถึงกับว่ามีอาการหอบๆๆ มันก็วิธีการของธรรมชาติ ที่ใช้ลมหายใจ ในการแก้ปัญหา มันเป็นเรื่องตาม ธรรมชาติถึงขนาดนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เลือดออกมาก ถ้าทำลมหายใจให้ละเอียด เลือดก็จะออกน้อย นี่เป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่มีความลับ ที่มีประโยชน์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คนป่ารู้จักใช้มันแล้ว ลูกหลานก็ใช้ให้ดีมากขึ้นมากขึ้น จนฤาษีมุนีในป่าเขารู้จักใช้ ในระดับที่ดีมาก ที่มีประโยชน์มาก จนกระทั่งพวกหมอพวกแพทย์พวกอะไรก็รู้จักใช้ พวกยักษ์พวกมารที่จะรบราฆ่าฟันกัน
ก็รู้จักใช้ คือประโยชน์อานาปานสติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
มันทำให้เกิดความรู้เรื่องเกี่ยวกับการหายใจนี่ ขึ้นมาระบบหนึ่งทีเดียว เรียกชื่อกันว่า ปราณายามะ
ปราณายามะ แปลว่า การควบคุมปราณ หรือลมหายใจ นี้เป็นแม่บทพื้นฐานของระบบอานาปานสติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ระบบปราณายามะ นั้นใช้กันทั่วไปในทุกๆลัทธิ และต่างลัทธิ ต่างปรับปรุงให้เหมาะให้ดี ยิ่งๆขึ้น จนพวกเราชาวพุทธ ก็ปรับปรุงระบบอันนี้ขึ้นมาเป็นระบบอานาปานสติ ตามแบบของชาวพุทธโดยเฉพาะ ที่พระพุทธเจ้าท่านนำมาทรงแสดง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในระบบอานาปานสติของเรา ก็มีการควบคุมบังคับ หรือใช้ลมหายใจอยู่อย่างเต็มที่
(เสียงผู้บรรยายแปล) ยังไง…
ในระบบอานาปานสติที่เรากำลังใช้อยู่นี่ จะหาพบ การควบคุมการใช้ การบังคับลมหายใจ อยู่อย่าง อย่างเต็มที่ อย่างมากที่สุด
(เสียงผู้บรรยายแปล) ออ ครับๆ กาย ????(14.28) ผมไม่ได้ยิน /หัวเราะ/ …ที่อาจารย์พูด ผมไม่ได้ยิน กายมัน ????(14.36) …ครับ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จนกระทั่งมันกลายเป็นประเพณี เป็นความนิยมตามประเพณีว่า คนเราโดยเฉพาะคนหนุ่ม คนหนุ่ม จะต้องรู้จักฝึกอานาปานสติ เอ่อ, เป็นความรู้ประจำตัวเสมอไป มันจึงแพร่หลายมากในยุคพุทธกาลในอินเดีย ในหมู่ชนที่เป็นนักศึกษา เด็กชายสิทธัตถะจึงทำอานาปานสติได้ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ตามที่เราได้ยินได้ฟังมา ในเรื่องของพุทธประวัติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
อาจจะกล่าวได้ว่าทุกลัทธินิกายศาสนาในอินเดียนั้น มีระบบปราณายาม การควบคุมบังคับลมหายใจ
เป็นรากฐานของการปฏิบัติอยู่ด้วยกันทั้งนั้นเลย ทุกๆลัทธินิกาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า เมื่อพระองค์อยู่ด้วยอานาปานสติวิหาร คือปฏิบัติอานาปานสติอยู่น่ะ ได้บรรลุ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในคำตรัสตรงๆอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แล้วพระองค์ก็ได้ทรงแนะ ให้ใช้ระบบอานาปานสตินี้ แก้ปัญหาต่างๆ ที่มันจะเกิดขึ้น แม้ในเรื่องของ วินัย ก็ได้แนะให้ใช้อานาปานสติ แก้ปัญหาของภิกษุฆ่าตัวตาย เพราะการปฏิบัติ กายคตาสติ อย่างนี้เป็นต้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทำไมเราจะต้องมีปัญหา ว่าจะใช้ระบบไหนดี จะบัญญัติระบบการปฏิบัติขึ้นมาอีกหลายๆระบบ หลายสิบระบบอย่างนี้ มันยุ่งกว่าเก่า ระบบอานาปานสติระบบเดียวก็แก้ปัญหาได้หมดอยู่แล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นระบบเย็น และระบบสะดวก ระบบเย็นคือมันไม่มีเรื่องร้อน ไม่มีเรื่องยุ่งยาก
ลำบากที่น่ากลัว กรรมฐานอื่นยังมีระบบ...ยังมีความรู้สึกที่น่ากลัววุ่นวาย อานาปานสติ เรื่องเย็นๆๆๆ ท่าเดียว ระบบสะดวกก็ไม่ต้องเอาอะไรไปที่ไหน ลมหายใจมันมีอยู่ในตัวแล้ว ถ้าเป็นระบบอื่นก็ต้องเที่ยวหานั้นหานี้ ไปหาซากศพ ไปหากสิณ มันไม่สะดวก อานาปานสติเป็นระบบเย็น และระบบสะดวกอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราจะได้พิจารณากันถึงคำว่า ปราณ หรือปราณะ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำนี้หมายถึงลมหายใจโดยตรง ลมหายใจโดยเฉพาะ คนเขาจะเห็น มองเห็นในข้อที่ว่า มีลมหายใจก็คือ มีชีวิต มีชีวิตก็คือมีลมหายใจ ความหมายของคำว่าปราณ เลยออกไป ออกไปถึงคำว่าชีวิต คำว่าปราณ เลยมี ความหมาย ว่าลมหายใจก็ได้ ว่าชีวิตก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในภาษาชาวบ้านธรรมดาคนเดินถนน ในสมัยนั้นคำว่าปราณ มันจะหมายถึงชีวิตกันมากกว่า
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตัวอย่างในสิกขาบถที่ ๑ ของเราว่า ปาณาติปาตา เวระมะณี เว้นจากการทำสัตว์ให้ตกล่วงจากปราณ ปาณะ ทำสัตว์ให้ล่วงตกล่วงจากปราณ คือทำให้มันหมดชีวิต ตกล่วงจากปราณ คือตกล่วงไปจากชีวิต คือทำให้มันหมดชีวิต คำว่าปราณอย่างนี้หมายถึงชีวิต
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในภาษาไทยเรายังพูดเอาเปรียบว่า ลมปราณ ลมปราณ หมดลมปราณก็คือตาย หมดลม คือหมดปราณ หมดปราณ คือหมดลม หมดลมปราณ คำว่าปราณจึงหมายถึงชีวิตก็ได้ หมายถึงลมหายใจก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ดังนั้น อานาปานสติ คำนี้ก็หมายถึงการ รู้จักจัด รู้จักกระทำ ให้ลมหายใจนี้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เรียกกันง่ายๆว่า ระบบอานาปานสติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราก็มาถึง มาพูดกันถึงเรื่องระบบการปฏิบัติโดยตรง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๔ หมวด คือการ ทำลมหายใจในตัวลมหายใจเอง ทำลมหายใจในตัวสิ่งที่เรียกว่าเวทนา กับทำลมหายใจสิ่งที่เรียกว่าจิต กับทำลมหายใจในสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ หรือธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หมวดที่ ๑ เรียกว่า หมวดกาย พระ…พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่า เรากล่าวว่า ลมหาย…ลมหายใจเป็นกาย ชนิด…ชนิดใดชนิดหนึ่ง ลมหายใจเป็นกายชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงถูกนำมาผนวกไว้ในหมวดกายนี้ด้วย เหมือนกัน กายเนื้อก็ เรียกว่ากาย ลมหายใจก็เรียกว่ากาย คำว่ากาย จึงกินความหมายไปถึง ลมหายใจก็ได้ ร่างกายเนื้อหนังนี่ก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
การปฏิบัติข้อที่ ๑ ของหมวดกายนี้ก็คือ การศึกษาเรื่องลมหายใจยาว ที่ใช้คำว่า สิกขา น่ะ คือศึกษา ทำการศึกษา อ่า, ในเรื่องของลมหายใจที่ยาว จนรู้จักลมหายใจยาวในทุกแง่ทุกมุม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราศึกษาจนรู้ว่าลมหายใจยาวนี่ มีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร มีอิทธิพล โดยเฉพาะมีอิทธิพล
ต่อร่างกายนี้อย่างไร ให้ผลเกิดขึ้นอย่างไร ศึกษากันทุกแง่ทุกมุมเกี่ยวกับเรื่องของลมหายใจยาว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ยาวมากมีผลอย่างไร ยาวน้อยมีผลอย่างไร ยาวตามธรรมดามีผลอย่างไร ศึกษากันจนรู้จักอย่างชัดเจน
คล่องแคล่ว ในเรื่องลมหายในยาวเป็นข้อแรกก่อน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๒ ก็ศึกษาเรื่องของลมหายใจสั้น ในทำนองเดียวกันว่ามันมีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร มีผลเกิดขึ้นแก่ร่างกายอย่างไร อ่า, ศึกษากระทั่งรู้ว่ามูลเหตุ ทำไมมันจึงยาว ทำไมมันจึงสั้น
ทำไมมันจึงสั้น นี่เรารู้จักทั่วถึงหมดเกี่ยวกับลมหายใจ ลมหายใจสั้น ในบทเรียนที่ ๒
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พร้อมกันนั้นเราก็สามารถเปรียบเทียบ เปรียบเทียบว่ามันต่างกันอย่างไร เมื่อไรมีเหตุให้ลมหายใจยาว เมื่อไรมีเหตุให้ลมหายใจสั้น เราได้รับผลต่างกันอย่างไร รู้จักละเอียดลออทั่วถึงทุกแง่ทุกมุม เรื่องลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น นี่เรื่องลมหายใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ความยาวหรือความสั้น ของลมหายใจน่ะ มันแสดงให้รู้จักอารมณ์ อารมณ์ในที่นี้คือความรู้สึก ความรู้สึก ของจิตใจ ว่ากำลังเป็นอย่างไร จิตใจกำลังเป็นอย่างไร รู้ได้ด้วยลมหายใจที่มันต่างกัน เป็นยาวเป็นสั้น เป็นหยาบ เป็นละเอียด เป็นหนักเป็นเบา เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มีกฏเกณฑ์อยู่อย่างตายตัว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ บทเรียนที่ ๓ รู้จักกายทั้งปวง สัพพะกายะปะฏิสังเวที รู้จักกายทั้งปวง สัพพะ แปลว่าทั้งปวง คำแปลในภาษาอังกฤษ เคยพบเห็นผิดๆโดยมาก คือแปลว่า Whole สัพพะ ไม่ได้แปลว่า Whole สัพพะ แปลว่า All ใครเห็นคำแปลไหนแปลว่า Whole เราไปแก้เสียเถอะ ต้องแปลว่า All รู้จักกายทั้งปวง คือทั้งกายลม และกายเนื้อ คือทั้งลมหายใจและร่างกาย ที่อาศัยลมหายใจตั้งอยู่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ข้อนี้ต้องศึกษาให้เห็นความสัมพันธ์กัน เนื่องกัน อย่างที่ไม่อาจจะแยกกัน ระหว่างกายลมหายใจ กับกายเนื้อหนังของเรา มีความสัมพันธ์กันอยู่อย่างสนิท หยาบด้วยกัน ละเอียดด้วยกัน ระงับด้วยกัน
มัน มันแล้วแต่ว่า ลมหายใจจะเป็นอย่างไร มันก็สร้างให้กายมีความรู้สึกอย่างงั้น หรือว่ากายเป็นอย่างไรมันก็
แสดงออกทางลมหายใจ ให้รู้สึกได้ว่ากายเป็นอย่างงั้น นี่เราจึงรู้สึกทั้ง ๒ กาย พร้อมกันไป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เราจะรู้หรือเห็นว่า เห็นได้ว่า เราสามารถบังคับกายเนื้อ ร่างกาย กายเนื้อนี่ได้ โดยการบังคับกายลม เราไม่สามารถจะบังคับกายเนื้อลงไปตรงๆว่าอย่างงั้นอย่างนี้ แต่เราสามารถบังคับกายลม ที่เราบังคับกายลมให้ละเอียด ไอ้ร่างกายก็ระงับละเอียด เราจะบังคับกายเนื้อตรงๆไม่ได้ เราจึงอาศัยทางกายลม ลมหยาบร่างกายหยาบ ลมละเอียดร่างกายละเอียด ลมสงบระงับร่างกายสงบระงับ บังคับได้ตามความประสงค์ โดยผ่านทางลมหายใจ นี่เรียกว่าบังคับกายเนื้อได้โดยผ่านทางกายลม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
บทเรียนที่ ๔ หมวดนี้ คือฝึกการบังคับลมหายใจ จัด จัดการ หรือปรับปรุง แล้วแต่จะเรียก ให้ลมหายใจ ระงับ เรียกว่า ทำกายสังขารให้ระงับลมหายใจ เรียกว่า กายสังขาร คือเป็นเครื่องปรุงแต่งร่างกายนี้ เดี๋ยวนี้เราจะ ฝึกการบังคับลมหายใจ ให้ระงับๆๆ ให้มากเท่าที่จะทำได้ ให้มีผลเป็น ร่างกายระงับๆๆมาก โดยสมควรกัน นี่เป็นหัวใจของการปฏิบัติบทเรียนที่ ๔
ข้ามการถอดเสียง เพราะมีการตัดต่อเสียงซ้ำ นาทีที่ 43.08 – 43.16
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตัวอย่างที่เราจะเห็นได้ง่ายๆ เช่นว่า เราโกรธจนตัวสั่น ความโกรธมากจนตัวสั่น พอเราบังคับลมหายใจ ทำลมหายใจให้ละเอียด ให้สงบระงับแล้ว อาการที่โกรธจนตัวสั่น นั่นมันจะหยุดไป นี้เรียกว่าบังคับไอ้กายได้ โดยทางผ่าน…โดยผ่านทางลมหายใจ ขอให้สังเกตดูก็จะเข้าใจได้เองตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/