แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
คำว่าประเคนนี่มันเป็นคำที่ ไม่รู้ว่าภาษาอะไรกันแน่ เป็นภาษาไทยไม่ใช่ภาษาบาลีแน่ ภาษาบาลีก็มีว่า พวกปาติโมกข์ที่ว่าเป็นคำตรัส นั้นมีว่า ภิกขุใดกลืนกินอาหารที่มิได้มีผู้ให้ กลืนกินอาหารที่มิได้มีผู้ให้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์
โย ภิกขุ โย ปะนะ ภิกขุ อะทินนัง มุขะทวารัง อาหารัง อาหะเรยยะ บาลีมีเท่านี้ ภิกษุใดกลืนอาหารที่มิได้มีผู้ให้ อะทินนัง มิได้มีผู้ให้
มุขะทวารัง ล่วงทวารปาก
ปาจิตติยัง ก็เป็นปาจิตตีย์
โยปะนะภิกขุ ก็ภิกษุใด
อาหะเรยยะ กลืน
อาหารัง ซึ่งอาหาร
อะทินนัง ที่มิได้มีผู้ให้
มุขะทวารัง ล่วงทวารปาก
ปาจิตติยัง โทษคือปาจิตตีย์ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น
ที่นี่เราก็ตีความหมายกันจนกลายเป็นว่า อย่างนั้นอย่างนี้ ไอ่ ตัวมันมีว่าไม่มีผู้ให้ อาหารที่ไม่มีผู้ให้ ก็ เอ่อ เป็นอันว่าต้องมีผู้ให้ ที่นี้ให้คือทำอย่างไร ในบาลีมันไม่มี พระพุทธเจ้าตรัสแต่เพียงว่าอาหารที่ไม่มีผู้ให้ ที่ไม่ถูกให้ ที่ไม่มีผู้ให้ ที่นี้อรรถกถาเขาแก้ว่าต้องมีผู้ยื่นให้ ต้องมีผู้มายื่นให้ ที่นี้เมื่อถือตามตัวหนังสือจากอรรถกถา มันก็กลายเป็นว่าต้องยื่นให้อย่างที่เรียกกันว่าประเคนเดี๋ยวนี้ ก็เลยเป็นว่าต้องมี มีคนมายื่นให้ด้วยการประ เอ่อที่เรียกว่าประเคน ส่วนบาลีนั้นเขาพูดเฉยๆ ว่าต้องมีผู้ให้ เพราะว่าไม่มีผู้ให้ ฉันไม่ได้ ต้องมีผู้ให้
นี่มันจึงเกิดมีการยื่น ประเคน ทีนี้พวกที่เขาถือตามตัว เขาให้มีการให้ก็แล้วกัน จะยื่นให้หรืออะไรให้ก็เขาว่า เรียกว่าให้ ก็เรียกว่าถือเอาความหมายตามบาลี ให้มีผู้ให้โดยวิธีที่เรียกว่าเป็นการให้ก็ใช้ได้ มันก็ไม่ต้องเคนก็ได้ มีการบอกว่าให้แล้ว ถวายแล้ว นิมนต์ๆ ก็ฉัน ก็ไปนั่งล้อมฉันกันเอง อย่างที่พม่า เขาจัดไว้เป็นโต๊ะๆๆๆๆ ทีนี้พระไปถึงก็ไปนั่งสวดนั่งอะไรอยู่ที่อาสนะ พอถึงเวลาฉันก็นิมนต์ๆ ถวายๆ ก็เลยไป ลุกขึ้นไป นั่งแล้วฉันเลย นี่ที่พม่า ถูกต้อง ไม่ผิดวินัย ก็เรียกว่าแบบหนึ่ง จะถูกหรือผิด จะเคร่งหรือหลวมก็คิดเอาเอง
วันนี้ผมจะเลี้ยงอย่างที่เคยเลี้ยงที่สวนโมกข์ ที่สวนโมกข์ที่อยู่กันน่ะทำอย่างนี้ บางวันต้องใส่น้ำปลา ก็เอาน้ำปลามาแล้ว แต่ว่าวันนี้คงไม่ต้องใส่ ถึงใส่คงจะเกิน เอ้า, คุณเอามาสิ นี่ คุณเอา เอา เอาฝาบาตรมาสิ ผมจะให้ เอามาสิ ให้ชิม เอาฝาบาตรมาแล้วกัน ฝาบาตรที่ใส่ของหวานน่ะ ฮะ (นาทีที่ 06:10 เสียงผู้ชายแทรก : ไม่ใช่ของหวาน ใส่น้ำแกง) น้ำแกงเหรอ ฉะนั้นใส่อะไร เอาบาตรมา ของผมมันต้องอร่อยกว่าของคุณแน่ เพราะมันคลุก เอ้า เอาไป เอาคุณน่ะ บาตรมา วันหลังคุณก็ต้องทำอย่างนี้แล้วก็ให้ผมบ้าง เอาบาตรมาสิ นั่นแหละ คล้ายๆ กันแหละโว้ย เอามาๆๆ นั่นแหละคุณเอามา อยู่แถวหน้า เอามา เอ้า, คุณน่ะ คุณอยู่แถวหน้าเอามา มาเอา อย่าเพ่อปนกัน ฉันของผมดูสิ นี่ให้แต่แถวหน้า ถ้าให้หมดเดี๋ยวอด อือ เอาไป นี่เราทำอย่างนี้กันเป็นอ่างกะละมังใหญ่ บางวันมันเหลือทน มันไม่มีอะไร ต้องใส่น้ำปลา แล้วก็แบ่งกัน นี่มันอร่อยเหมือนกันทุกคำแหละ แล้วก็เลยไม่ต้องมีความคิดว่าฉันหมูฉันปลาฉันเนื้อฉันผักอะไร ไม่ต้องมีความคิด หลับตาฉันก็ได้ไม่มีก้าง
ทีนี้พอพระไทยไปที่พม่า ไปร่วมพิธีกันอยู่พักใหญ่นะ ตอนนั้น พระไทยไม่ฉัน พระไทยนั้นไม่ฉัน ไม่ฉัน นิ่งเฉยเสีย ก็ถามกันขึ้น ที่นี้พวกพม่าก็ต้องประเคน พม่าก็ต้องประเคนอย่างพระไทยสิ ตอนนั้นผมอยู่ด้วย มันโต๊ะกลม เท่านี้นี่ ฉันตั้ง ๖ องค์ ๘ องค์น่ะโต๊ะหนึ่ง พอเราไปนั่งล้อมเพื่อจะฉันแล้ว เขาก็จะประเคน เพราะพระไทยไม่ฉัน ต้องประเคน ที่นี้มันมา ๔ คน มาหามโต๊ะทั้งโต๊ะ พระไทย ไม่เอาๆๆ หามโต๊ะนี่ไม่ถูกวินัย ประเคน ต้องเป็นของเล็ก ยกด้วยบุรุษคนเดียวไหว จึงจะได้ ตามอรรถกถาฎีกาว่าอย่างนั้น ทั้งที่บาลีมันไม่มี บาลีมันมีว่าให้ มาหามโต๊ะ ๔ คน ประเคน พระไทยไม่เอาๆ ก็เลยต้องยื่นให้ทีละจานๆ เลยหัวเราะกันใหญ่ พระพม่าก็พลอยหัวเราะไปด้วย จะหัวเราะเยาะหรือหัวเราะอะไรก็ไม่รู้ ทีหลังเป็นว่าต้องประเคนหมด ถ้าพระพม่า ถ้าพระไทยอยู่ด้วยก็ต้องประเคนแบบพระไทย
บาลีมันไม่มี มันก็ให้ ให้ก็แล้วกัน ถือตามอรรถกถา ตามฎีกาต้องยื่น พอยื่นแล้วก็มีบัญญัติว่าของนั้นต้องเล็ก พอบุรุษคนเดียวยกไหว ถ้าของมันหนัก บุรุษคนเดียวยกไม่ไหว ต้องทำอย่างอื่น นี่คือประเคนตามแบบไทย ที่ลังกาก็เหมือนๆ พม่า แต่ว่าประเทศไทยนี่เคร่งที่สุดเรื่องประเคน
ทีนี้คุณก็เป็นคนไทยก็ต้องถือหลักอย่างไทย อย่าไปเกิดเรื่อง ถ้าต้องทำอย่างนั้นก็ทำอย่างนั้น แต่ถ้ามันมีเหตุผลที่ไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ไม่ต้องทำอย่างนั้นก็ได้ ที่ว่าน่าหัว เช่นว่าหลวงตาไปในบ้าน ได้หมากดิบมา ได้พวกนี้มา เอ้า มาถึงก็ก็ก็ใส่ย่ามมา มาถึงวัดก็โยนโครมไป หมากดิบ ก็โยนโครม เอ้า, เด็กมาประเคนที ประเคน ประเคนหมากนี่ นี่เป็นเรื่องที่น่าหัว พระพม่าพระนั่นเขาก็หัว เขาหัวเขาคือเขาถามว่า ไอ้เด็กนั่นน่ะมันเอาสิทธิไหนมาเป็นเจ้าของ จะมาประเคน มาให้ เด็กนั่นมันไม่มีเจ้าของในความเป็นเจ้าของเลยสักนิดหนึ่ง ก็เลยเป็นพิธีที่น่าหัว ก็อ้างว่าให้มันมีการให้ตะพึด ให้มันมีการให้ แล้วก็ให้มาที่บ้านแล้ว เขาให้แล้ว สำหรับส่งมาทางไปรษณีย์ พอได้รับ จะฉันต้องประเคนอีกทีนึง เด็กมันไม่ ไม่มี ไม่มีความเป็นเจ้าของ มันก็ต้อง ต้องประเคนอีกที
วันนั้นมันโดนเข้ากับผมเอง เหมือนจะห้าแต้มแต่เราก็ไม่ใช่ห้าแต้ม คือนั่งรถด่วนเข้าไปกรุงเทพ แล้วพอดีพร้อมกันกับพระลังกาองค์หนึ่ง เขามาจากปีนัง นัดให้มาพร้อมกัน ไปด้วยกัน ขึ้นรถกลางคืน สว่างขึ้นก็จะต้องฉันอาหาร ญาติโยมเขาใส่ชะลอม เป็นชะลอมให้ ของหวานของคาวของอะไรอยู่ในนั้น ที่นี่ผมไปกับพระ ๒ องค์ พระองค์หนึ่ง สองทั้งผม พระไม่ค่อยสบาย คือพระลังกา พระอินเดียไม่ใช่พระลังกา แต่เขาบวชที่ ที่ลังกา องค์นั้นผู้มีชื่อเสียง แกก็มาคนเดียว ก็เลยมานั่งด้วยกัน พอสว่างขึ้นก็ฉัน ผมก็ต้องไปบอกให้ฆราวาสที่เขานั่งอยู่ใกล้ๆ นั้นน่ะ มาช่วยประเคนที พระองค์นั้นก็เลยดู มองผมว่านี่ทำไม ว่าทำอะไร ทำไม ทำไมไปบอกเขามาประเคน เพราะมันของๆ เรา รู้กันอยู่ว่าของๆ เรา เอามาเอง ต้องไป ไปวานคนอื่นมาประเคน มายื่นให้ (นาทีที่ 14.32 – 15.12 คล้ายมีเสียงพูด แต่เบามากๆ ฟังไม่ได้ยินเลย) เขาถือความหมายและถูกต้องด้วย เมื่อมันเป็นของเราและมีผู้ให้มาแล้ว จะต้องยื่นอะไรกันอีก
แต่อย่าลืมว่าไอ้เรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมนี่อย่าไปนั่นนะ อย่าไปต่อต้าน ก็ทำไปก็แล้วกัน อยู่เมืองไทยก็ทำไป ไปเมืองนอกก็ทำเท่าที่จะทำได้ ผมทำเท่าที่จะทำได้ โดยบอกว่าถ้าเราไม่ทำอย่างนี้แล้วเพื่อนจะไม่คบ ฉะนั้นเราต้องทำอย่างนี้ ฉะนั้นคุณต้องช่วยประเคน ให้ถูกต้องตามธรรมเนียมของพระไทยเท่านั้น ไม่ใช่วินัย แต่ถ้ามีเหตุผลอย่างอื่นมันก็ไม่ต้องก็ได้ แต่ถ้ามันจะเป็นที่ยุ่งยากในหมู่คณะ เราก็ต้องทำให้ถูกต้อง
ผมแรกขึ้นไปเชียงใหม่ ครั้งแรกๆ ไปทะเลาะกับเจ้าชื่นเรื่องนี้ เจ้าชื่นเขาจะไม่ประเคน ไม่ คือไม่ยื่น บอกว่ามาฉันอย่างพม่า วิธีพม่าที่เชียงใหม่ เรื่องทะเลาะกัน บอกว่าไม่ได้ มันต้องไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพื่อทำให้โจษจันกันอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องทำให้ถูกต้องตามนี้ ไอ้เรื่องเหตุผลมันก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้ไม่ใช่งมงายเพราะว่าเรามันรู้อยู่
พวกที่เขาเคร่งเกินไป อย่างเราฉันอยู่ ใครถอยหลังมาถูกสำรับ อย่างนี้ก็ให้เคนใหม่แล้ว ให้ประเคนใหม่แล้ว ถ้าเด็กเล็กๆ มันเข้ามา ไม่ทันรู้ หรือว่าแม้ถอยหลังไปถูกนี่ เราก็ให้ประเคนใหม่แล้ว ประเคนใหม่แล้ว เสียประเคนแล้วว่าอย่างนี้ ถึงขนาดนี้ เพราะฉะนั้นเราจะเห็นไอ้ภาพที่ประหลาดๆ กำลังฉันอยู่ ที่นี่เมื่อมีใครเข้ามาธุระอะไร พระก็เอามือจับสำรับ จับอะไรไว้ ก็แสดงอาการหวงไว้ เพื่อไม่ให้ขาดประเคน แต่ตอนนี้อรรถกถาก็อธิบายไว้ถูกต้อง ถ้ามีใครมาจะขอแบ่ง ขออะไร เราก็บอกว่าเอาไปได้ นี่ก็เอาไปได้ ก็โดยไม่ต้องขาดประเคน อันนี้ถือโดยอรรถกถา ต้องเอามือจับไว้ คล้ายกับสุนัขมันฮื่อ ฮื่อ ไว้อย่างนั้นน่ะ ไม่ให้เอา ยังหวงมาก แต่แล้วก็ต้องทำ ทำคือว่ามันจะได้ไม่เกิดเรื่อง ไม่งมงายเพราะว่าทำด้วยความรู้ ทำเพื่อรักษาระเบียบพระไทย
นี่เรื่องประเคน น่าหัว ของๆ เราต้องประเคน ต้องให้เราอีกทีหนึ่ง คนอื่นไม่มีสิทธิที่จะให้ก็ต้องให้
รวมความแล้วต้องถือเป็นหลักไว้ทุกเรื่อง สิ่งใดถ้ามันจะทำให้เกิดโกลาหลวุ่นวายขึ้นมา ก็อย่าทำ ยอมทำตามแบบ ตามธรรมเนียม ตามประเพณีของพระไทย ของเมืองไทย มีอะไรหลายๆ อย่างที่พระไทยทำได้เกินกว่า เกินกว่าบาลี เกินกว่าพุทธบัญญัติ เมื่อผู้อื่นไม่ ผู้อื่นเขาไม่ได้ถือก็อย่าไปว่าเขา น้ำไม่ต้องประเคน บาลีว่าเว้นไว้แต่น้ำไม่ต้องประเคน กับไม้เคี้ยวถูฟันนั้นไม่ต้องประเคน เพราะไม่ได้กิน ไอ้น้ำนี่มันดื่ม น้ำมันมีทั่วไป ที่ในเมืองไทยเราถือว่าน้ำก็ต้องประเคน ถ้าว่าน้ำ มันน้อย มันเล็กน้อย มันไม่ใช่น้ำในโอ่ง ใน ในสระก็ต้องประเคน เพราะว่าอาจมีน้ำเล็กน้อยนั้นน่ะที่เขาหวง ถ้าพูดถึงน้ำชา น้ำอัดลม นั่น มัน มัน มันนอกเรื่อง คนละเรื่อง นี่หมายถึงน้ำธรรมดา ไม่ต้องประเคน
แต่ถ้ามันเป็นพิธีรีตองที่เขาต้องการจะประเคน ก็รับ อย่าไป อย่าไปทัดทาน อย่าไปอธิบาย รักษาธรรมเนียมไทย แม้น้ำก็ต้องประเคน มหานิกายเป็นประเคนหมด น้ำเนิ้มประเคนหมด พวกธรรมยุต น้ำดูเหมือนเขาไม่ประเคน ไม่ต้องประเคน ขวดน้ำ กาน้ำ การให้นั้น ให้ลับหลังก็ได้แต่ให้มันเป็นให้จริงๆ เช่น ตกลงกันไว้ว่าถ้าให้แล้วเอามาวางไว้ตรงนี้ หรือแสดงอะไรไว้ให้ทราบอย่างนี้ อย่างนี้ก็ได้ ในอรรถกถาก็มีอธิบาย ตอนเราไม่ได้ปฏิบัติ ก็ต้องให้ประเคน
เมื่อดูทั่วถึงแล้ว สังเกตแล้วเห็นได้ว่าไอ้ ไอ้เมืองไทยของเรานี่ดี ทำให้มันรอบคอบ เคร่งครัดไว้ มิฉะนั้นมันจะเป็นช่องทางให้คนไม่จริง คนทุจริต ถือโอกาสสวมรอย ทำอย่างที่เรียกว่าใช้ไม่ได้ อย่างเห็นว่าวางตรงนี้แล้ว เขาให้แล้ว เอาแล้ว เอาแล้ว มันไม่แน่ ถ้าเป็นการยื่นให้ ก็มีกฎว่าของนั้นต้องยกขึ้นไหวและของนั้นมันอยู่ใน ในระยะสั้น หรือระยะหัตถบาส มันจะเสือกให้ไปไกลกว่านี้ไม่ได้ คำว่าหัตถบาส คุณรู้เสียทีว่ามันระยะหนึ่งศอกจากตัวเรา นั่นเขาเรียกว่าหัตถบาส หนึ่งศอกจากตัวเราโดยรอบ นั่นเรียกว่าหัตถบาส ไอ้ของนั้นหรือบุคคลนั้นย่อมเข้ามาถึงหัตถบาส ตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายนิ้วตอนนี้เขาเรียกว่าหัตถะ ดังนั้นหัตถะแปลว่าศอก ข้อศอกถึงปลายนิ้วเรียกว่าหัตถะ ทั้งหมดเรียกว่าพาหา พาหาโดยตรงตั้งแต่ข้อศอกถึง ถึงบ่า ไอ้บ่าแท้ๆ เขาเรียกว่าอังสะ คำว่าอังสะแปลว่าบ่า
ทีนี้วินัยก็มีบัญญัติว่าต้องอยู่ในหัตถบาสบ้าง ต้องอยู่นอกหัตถบาสบ้าง แล้วแต่มันบัญญัติ หัตถบาส คือวง วงหนึ่งศอกออกไปจากตัว ที่นี่เรายังถือผิดจากเขาอยู่อย่าง คือว่าถ้าผู้หญิงเข้ามาใกล้ใน ในลัก ในเขตของหัตถบาส อย่างนี้เราจะห่มคลุม ห่มคลุมเหมือนกับห่มไปนอกวัด อย่างผู้หญิงเขามาตักบาตร ตักอะไร หัวจะชนกันนี่ เขาเข้ามาใกล้อยู่ในหัตถบาสของเรานี้ เราจะห่มคลุม เพราะเขาพาบ้านมาด้วย เราถือเหมือนเข้าไปในบ้าน เราห่มคลุม ที่อื่นเขาไม่ถือ อาจจะมี แต่ผมไม่ทราบ แต่ว่าธรรมยุตเขาไม่ถือ ไปเถียงกันที่พม่า ถ้ามันเป็นเขตในวัด ก็ไม่รู้จะต้องห่มเฉวียงอย่างนี้ตะพึดไป เรื่องนี้บางพวก เช่นพวกอินเดีย ลังกาบางนิกาย ไม่ใช่ทุกนิกาย เขาจะไม่มีห่มคลุมเลย ไปที่ไหนก็ตามใจ จะไม่มีห่มคลุมเลย เขาจะเปิดเฉียงอยู่ข้างหนึ่ง ว่านักบวชเป็นอย่างนั้น แล้วก็ถามผมเรื่องนี้เหมือนกัน ว่าเราเมืองไทยนี่ถือตามวินัยอย่างนั้นๆ ตีความหมายอย่างนั้น ทีนี้พวกหนึ่งเขาตีความหมายว่าต้องเข้าไปในบ้านจึงจะห่มคลุม นี่ผมถือว่า ถ้าเขามาใกล้ชิดตัว ต้องเรียกเขาพาบ้านมาด้วย ต้องห่มคลุม นี่ทางพวกพม่านั้นว่าถ้าจะให้เรียบร้อยเป็นพิธี พิธีการ พิธีรีตองต้องห่มคลุม จะในวัด ในอะไรก็ตามใจ ต้องห่มคลุมหมด
ไอ้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ อย่าไปเถียงกัน อย่าไปทะเลาะกัน บอกว่าธรรมเนียมของประเทศเรา ธรรมเนียมของประเทศเขา ไอ้ความถือเคร่ง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ หยุมหยิม ครั้งพุทธกาลก็เคยมี ที่เขาเรียกว่าสังฆเภท ในที่สุดเกิดสังฆเภท พวกหนึ่งถือหยุมหยิมเกินไป พวกหนึ่งไม่ยอมถือ เลยแตกกันเป็นสังฆเภท ไม่ร่วมอุโบสถ สังฆกรรม พระพุทธเจ้าขอร้องให้เลิกเสีย ก็ไม่เลิก จนพระพุทธเจ้าต้องหนีไป นี่ประชาชนไม่เล่นด้วยกับไอ้พระที่ทะเลาะแล้วแตกกันอย่างนี้ ไม่ ไม่ใส่บาตร ในที่สุดก็ต้องกลับดีกัน
ฉันผลไม้สบายกว่าฉันขนม
ต้องช่วยกันดูนะ อันตราย กิ่งไม้แห้ง ต้องช่วยกันดู ดูแล้วก็ต้องช่วยกันจัดการเอาลงเสีย
อย่างนี้ก็คลุกได้ หั่นชิ้นๆ นี่ก็คลุกข้าว พร้อมไปเลย อร่อย
ฉะนั้นไอ้เรื่องถือวินัย เรื่องอะไรนี้จะต้องศึกษาความมุ่งหมาย หรือทำให้ตรงความมุ่งหมาย จะต้องมีผู้ให้เสียก่อน ก็ถือว่าไม่ขโมย และไม่มักง่าย ไม่มีผู้ให้นี่ มันก็รู้สึกอยู่ว่า มันก็มีลักษณะแห่งขโมยโดยตรง โดยอ้อม ให้มันแน่ว่าของนี้ไม่มีใครยึดถือสิทธิ ไม่กินของด้วยอาการแห่งขโมย ทีนี้ขโมยธรรมดา ขโมยตามความหมายธรรมดานี้ไม่เท่าไหร่ ไอ้ขโมยความหมายลึก ยังมี คือปฏิบัติตัวไม่สมแก่ความเป็นภิกษุ แล้วไปกินของที่เขาถวายความเป็นภิกษุ อย่างนี้ก็เรียกว่าขโมยเหมือนกัน แม้แต่จะให้มาหรือใส่บาตรมา อะไรมาก็เรียกว่าขโมย ถ้าเราทำตัวไม่มีความเป็นภิกษุ ถ้าไปฉันของที่เขาถวายมาในลักษณะที่ถวายแก่ภิกษุ จัดว่าเป็นขโมยได้ ขโมยในทางธรรม ไอ้ตะกี้นั่นเป็นขโมยทางวินัย อย่าเป็นขโมยทั้งทางธรรมทั้งทางวินัย ทำตัวไม่สมกับความเป็นสมณะ บริโภคปัจจัยที่เขาถวาย อันนี้เขาเรียกว่ามีความเป็นขโมยบ้าง มีความเป็นผู้หลอกลวงบ้าง
คำว่าเนกัตตะ นี้เป็นปัญหาว่าเราหลอกหลวง หรือว่าเราเป็นนายพราน แต่ความหมายเดียวกัน นายพรานที่เขาจะดักสัตว์เขาจะต้องมีอะไรหลอกลวง มีเหยื่อ มีนกต่อ มีอะไรก็ตาม เป็นเรื่องหลอกลวง ผู้ประพฤติด้วยการหลอกลวงคือนายพราน พวกหนึ่ง หรือจะเรียกว่าผู้หลอกลวงก็ได้ ภิกษุฉันอาหารที่ไม่ ที่ตัวไม่มีคุณสมบัติตรงตามนั้นเขาเรียกว่าผู้หลอกลวง หรือว่าเป็นขโมย หรือว่าเป็นนายพรานผู้ใช้เหยื่อ อุตส่าห์พยายามทำให้ดีที่สุดด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ก็ไม่เกิดการหลอกลวงอันนี้ขึ้น เรื่องที่ต้องยื่นให้ ต้องประเคนก็ให้เป็นเรื่องของวินัย ไม่ขโมยอย่างวินัย ไม่ขโมยอย่างธรรมะก็คือว่า จะต้องประพฤติตัวให้สมกับ การถวายปัจจัยสี่ของทายกทายิกาทั้งหลาย คิดว่าท่านทำไว้ดีมาก ดีที่สุด การบัญญัติวินัย การบัญญัติธรรมะ การแสดงธรรมะนั่นนะ มันทำให้ดีมาก ดูๆ แล้วจะไม่เห็นว่าทำให้ดีกว่านี้ได้อีก ที่บัญญัติไว้ มันจะทำประกันหรือยึดโยงกันอยู่ในตัว ผิดพลาดไม่ได้ เสียหายไม่ได้
ระหว่างบวช ๓ เดือนนี้ทำให้มันไม่ช่องที่จะติเตียนตัวเอง นั่นจะะเป็นดีที่สุด ก็ไม่ให้ผู้อื่นติเตียนด้วยนะ แต่เราไม่นึกถึงก็ได้ ถ้าเราติเตียนตัวเองไม่ได้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีช่องที่จะติเตียน ถ้าติเตียนก็ติเตียนผิด ช่างหัวมัน เราทำอย่างที่เราติเตียนด้วยเองไม่ได้ เป็นอันว่าพอ ผู้อื่นติเตียนก็เพราะว่าเข้าใจผิด ถ้าป้องกันได้ก็ป้องกัน ถ้าป้องกันไม่ได้ก็ช่างหัวมัน เรามันเป็นคนตรงไปตรงมา เอาตามที่ผิดถูก ที่จริงเสมอ ย่อมไม่มีเรื่องที่จะต้องทะเลาะวิวาทกับใคร ไม่มีเรื่องที่จะต้องเสียใจอะไรกับใคร อย่าไปติเตียนผู้อื่น ไม่ใช่หน้าที่ เดี๋ยวจะเกิดการทะเลาะวิวาท เว้นไว้แต่มีหน้าที่ หน้าที่นี้ก็ไม่ใช่หน้าที่เพื่อติเตียน เป็นหน้าที่ที่บอกให้รู้ ไม่ถือว่าเรามีหน้าที่ติเตียนผู้ทำผิด เว้นไว้แต่ในวงแคบ ในวงจำกัด ที่มันต้องทำอย่างนั้นเป็นการลงโทษ โดยทั่วไปไม่มีหน้าที่จะติเตียนใคร
นี่เอาให้หมี กล้วยกับเงาะนี่ ขนมลูกตาลนี้ให้ปลา สองลูกนี้ไม่พอ ปลาที่มีอยู่ทั้งหมด
ทีนี้ก็นิมนต์ ไม่ต้องเสียเวลามาก ไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไปอ่านหนังสือ ไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ อย่าไปคุยไปทะเลาะกันนะ อย่าไปสรวลเสเฮฮาเสีย
ต้องประพฤติต่อบาตรอย่างวัตถุศักดิ์สิทธิ์ บาตรนี้ไม่ใช่ของใช้ แต่เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ ต้องทำอย่างทะนุถนอม ปรานีปราศรัยให้ถูกตามวินัย อย่าลากกระชากถู บาตรกับจีวรเป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์