แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นักศึกษาทั้งอุบาสกและอุบาสิกา จะให้ทำอะไร (นาทีที่ 1.04-1.14 ได้ยินไม่ชัด) อาตมาขอแสดงความยินดีในการที่ท่านทั้งหลายมาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี่ ด้วยวัตถุประสงค์อันนี้ คือ ทำความเข้าใจในพระพุทธศาสนาโดยหวังว่าจะให้ถึงที่สุด คือ การบรรลุสิ่งที่ควรจะบรรลุ ที่เรียกกันว่า ที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ เรามุ่งหมายอย่างนั้นได้ที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ จะเรียกตามว่าแบบของพระพุทธเจ้าจริงๆ ท่านเรียกว่า พระนิพพาน แต่นี้อาจจะสูงไปๆ รู้สึกว่าสูงไปจนใครๆ ก็ไม่กล้า ไม่กล้ายกตัวเองหรือไม่กล้าประกาศตัวเอง แต่ความมุ่งหมายแท้จริงนั้น มันเป็นอย่างนั้นที่จะทำให้ถึงที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ ความทุกข์สลายไปๆๆจนเป็นจุดหนึ่งมีที่สิ้นสุดเป็นที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ ก็เรียกว่าพระนิพพาน เราจะทำกันถึงได้หรือถึงไม่ได้นั้น มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่การกระทำของบุคคลนั้นๆ แต่ว่าพระพุทธศาสนานี้มีพระนิพพานเป็นปริโยสาน คือ มีนิพพานเป็นที่สิ้นสุดของการกระทำ สิ้นสุดของการกระทำ เค้าว่าจะสิ้นทุกข์ หมดปัญหา พูดภาษาธรรมดาสามัญที่สุดก็ว่า หมดปัญหา ไม่มีปัญหาเหลืออยู่อีกต่อไป
คำว่า หมดปัญหา ก็หมายความว่า ไม่มีความทุกข์เหลืออยู่อีกต่อไป แล้วก็เรียกอีกอย่างหนึ่งที่แปลกหูว่า สัมมัตตะ แปลว่า ความถูกต้องๆ ความถูกต้องนั้นมันหมดปัญหา เมื่อมันมีความถูกต้องถึงที่สุด มันก็หมดปัญหาถึงที่สุด หมดปัญหาถึงที่สุด นี่คือ พระนิพพาน
ถ้ากล่าวโดยสรุปความ ก็พูดได้ว่า สมาธิ การกระทำเป็นสมาธิ สามารถจะแยกจิตให้ออกมาเป็นอิสระ แล้วก็เป็นความไม่มีปัญหา ไม่มีอารมณ์อะไรๆ เหลืออยู่ ไม่มีคำว่า ผู้นั้น ผู้นี้ คนนั้น คนนี้ อย่างนั้น อย่างนี้ เท่านั้น เท่านี้ แล้วก็ไม่มีอารมณ์อะไร ๆ ไม่มีอารมณ์สำหรับจะรู้สึกว่าใคร ว่าผู้ใด ว่าอย่างไร ว่าที่ไหน ว่าเมื่อไร ว่าเท่าไร ว่าเพราะเหตุใด ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหาอย่างนี้เหลืออยู่ นั่นแหละ คือ ถึงที่สุดแห่งความรู้หรือถึงที่สุดแห่งความดับทุกข์หรือถึงที่สุดของทุกสิ่งที่จะต้องทำ เรียกว่า จบพรหมจรรย์ จบสิ่งที่จะต้องทำ แต่ถ้าอธิบายกันให้ละเอียดโดยหลักวิชา ตามเทคนิคของพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ไปโดยระบบนี้ก็ได้เหมือนกัน ว่าเป็นสัมมาๆ เป็นความถูกต้องๆ ความถูกต้องของสัมมา 10 อย่าง คือ ความถูกต้องของสัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง สัมมาสัมกะโป ความปรารถนาถูกต้อง สัมมาวาจา การพูดจาถูกต้อง สัมมากัมมันโต การกระทำถูกต้อง สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง สัมมาวายาโม ความพากเพียรพยายามถูกต้อง สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง สัมมาสมาธิ ความจิตตั้งมั่น ความมีจิตตั้งมั่นอันถูกต้อง สัมมาญาณะ ความรู้ถูกต้องถึงที่สุด สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวง เรียกว่า 10 สัมมา ๆ เป็นความถูกต้อง เรียกรวมกันทั้ง 10 สัมมาว่า สัมมัตตะ แปลว่า ความถูกต้อง
เมื่อมีความถูกต้องแล้วมันหมดปัญหา มันหมดปัญหา คือ เป็นที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ แต่ถ้าเราจะสรุปในการปฏิบัติสั้นๆ เราใช้คำว่า สมาธิ คำเดียวก็ใช้ได้เหมือนกัน พอจะเห็นทาง เห็นเรื่องราว เห็นอัตถะว่าเป็นอย่างไร เพราะว่าถ้าจิตเป็นสมาธิแล้วก็หมายความว่า จิตสามารถแยกออกจากอารมณ์ทั้งปวงได้ เรียกว่า ปราศจากอารมณ์ จนไม่มีอารมณ์อะไรเหลือ ไม่มีอารมณ์ว่าผู้ใด ว่าใคร ว่าอย่างไร ว่าที่ไหน ว่าเมื่อไร ว่าเท่าไร ไม่มีอารมณ์เหลือนี้ก็เรียกว่า ไม่มีอารมณ์ สามารถที่จะทำจิตเป็นอย่างนี้ได้ โดยแยกจิตออกไปเสียจากอารมณ์ได้ แต่มันก็ไม่ใช่ว่าทำยาก ไม่ใช่ทำเล่นง่ายๆ เหมือนกันพูดด้วยปาก เป็นการกระทำที่ละเอียดลออลึกซึ้งซึ่งต้องใช้ความพยายาม ขอให้ท่านทั้งหลายลองพยายามดูว่า ถ้าจิตไม่มีอารมณ์อะไร แล้วมันจะเป็นอย่างไร จิตไม่มีอารมณ์อะไร ๆ จะเป็นอย่างไร ตื่นนอนขึ้นมาให้จิตไม่มีอารมณ์อะไร อยู่ต่อไป ไม่มีอารมณ์อะไรจนหลับลงไปอีก ก็ไม่มีอะไรอารมณ์อะไร มันสูงสุดๆๆ จนไม่มีอะไรจะสูงสุดเท่าจนถึงจิตจนไม่มีอารมณ์ ถ้ามันยังมีความรู้สึกคิดนึก มีความอยาก มีความประสงค์ มีความต้องการอยู่ว่า ใคร ทำไม อย่างไร เมื่อไร อะไร ได้อะไร เสียอะไร มากมายสารพัดอย่าง อย่างนี้เรียกว่า มันมีอารมณ์ มันไม่ใช่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ มันไม่หมดปัญหาๆ มันไม่มีความถูกต้องถึงที่สุด ซึ่งสามารถที่จะขจัดอารมณ์ออกไปเสียให้สิ้นเชิง
ในเมื่อท่านทั้งหลายมาใช้คำว่า สมาธิ เพียงคำเดียว จะทำสมาธิภาวนา เพียงคำเดียวก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้ารู้จักทำตามนั้นแล้วมันก็สำเร็จได้ด้วยคำพูดเพียงคำเดียวว่า สมาธิ มีสมาธิแล้วจิตสามารถแยก แยกจิตหรือแยกตัวเองออกมาได้จากอารมณ์ ไม่ให้มีอารมณ์ ไม่มีอารมณ์ใดๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว นี่จึงเรียกว่า สมาธิเป็นเหมือนหัวหน้าในคำพูดทางหลักของธรรมะทั่วๆ ไป ในปฏิสัมภิทามรรค ก็ใช้คำว่า สมาธิปมุกขา นั่นคือว่า ฉันทะเป็นที่ตั้ง เป็นมูลเหตุให้เกิดขึ้นมา ฉันทมูลกา เดี๋ยวลืมคำนี้ทุกที มนัสสิการ แปลง่ายๆ ว่าทำในใจๆ ทำในใจ นั้นคือ การทำให้สำเร็จประโยชน์ มนัสสิการะ คือ ทำไว้ในใจ มีฉันทะเป็นมูลแล้วก็ทำไว้ในใจว่าเป็นมูลอย่างไร แล้วก็ผัสสสมุทยา รู้ว่ามันปรุงขึ้นมาอย่างนี้ก็เพราะมีผัสสะ เวทนา สโมทนา อะไรๆ ก็เป็นผลเกิดขึ้น รู้ว่าเป็นผลอยู่ที่เวทนา แล้วก็เกิดสมาธิปมุกขา คำนี้ขอเตือนเป็นพิเศษ ใช้คำว่าสมาธิปมุกขา สมาธิเป็นประมุข หมายความว่า ทำอะไรๆ นี้มีสมาธิ แค่เป็นประมุข เป็นเหมือนแม่ทัพสูงสุด แม่ทัพที่จะบันดาลอะไรไป พาอะไรไป เหมือนกับกองทัพทั้งกองทัพ นั้นมีแม่ทัพเป็นหัวหน้า สมาธิปมุกขา เรามีการกระทำที่มีสมาธิเป็นประมุข แล้วก็ สตาธิปตยา (นาทีที่ 10.40) มีสติ เป็นอธิบดี บัญชางานต่างๆ แล้วก็ปัญโญตะรา (นาทีที่ 10.51) ปัญญานำหน้าสูงสุด เป็นผู้นำ เป็นผู้ให้ความคิด ให้ความนึก พิมุตสารา (นาทีที่ 11.03) มันก็จะออกไปได้เสียจากความทุกข์ สมโตคธา (นาทีที่ 11.07) ย่ำลงไปสู่อมตะ คือพระนิพพาน นิพพานะปริโยสานา (นาทีที่ 11.13) พระนิพพานเป็นสิ่งสุดท้าย พรหมจรรย์เป็นอย่างนี้ รวมความทั้งหมดมารวมอยู่ในคำว่าหัวหน้าคือแม่ทัพ แม่ทัพ นี่คือ สมาธิปมุกขา พูดให้ชัด ตรงๆ แปลว่าว่า ถ้ามีสมาธิ ทำสมาธิสำเร็จเพียงอย่างเดียว ก็สามารถทำจิตให้ไม่ให้มีอารมณ์ สามารถแยกจิตออกมาเสียไม่ให้มีอารมณ์ ไม่ให้มีอารมณ์อย่างที่พูดมาแล้วว่าใคร ว่าผู้ใด ว่าอะไร ว่าที่ไหน ว่าเมื่อไร ว่าเหตุใด ว่าเท่าไร อารมณ์ต่างๆ นี้มันไม่มี
ถ้ามันสามารถทำจิตให้มีสมาธิ ถ้าทำไม่ได้ก็คือคนโง่คนหนึ่งตามธรรมดา งั้นก็มีอารมณ์อยู่เรื่อยไป ใคร ที่ไหน อะไร อย่างไร เมื่อไร เหตุใด มีอยู่เรื่อยไป ถ้าจิตสามารถเป็นสมาธิ ตั้งต้นแยกออกมาด้วยสมาธิ หยุดความเป็นอารมณ์ต่างๆ ได้ เรียกว่า ไม่มีอารมณ์ ผลประเสริฐสูงสุด อานิสงส์สูงสุดอยู่ที่ความมีสมาธิ ความเป็นสมาธิ ไม่มีอารมณ์แล้วก็นำไปสู่พระนิพพาน เป็นจุดสุดท้ายเกิดเป็นปริโยสานที่เรียกว่า พระนิพพาน พูดง่ายๆ สั้นๆ สำหรับคนโง่ในทางภาษา ไม่รู้ในทางภาษา ไม่รู้อะไรในหลายๆ อย่าง ก็จะพูดว่า หมดปัญหาๆ คือไม่มีทุกข์ ก็หมดความทุกข์ มันไม่มีปัญหาที่จะต้องถามเกี่ยวกับความทุกข์ทั้งปวง ว่าผู้ใด ว่าใคร ว่าอะไร ว่าอย่างไร ว่าเมื่อไร ว่าที่ไหน เพราะเหตุใด เป็นต้น สารพัดคำว่า ปัญหา นี่คือความความสงสัย เมื่อไม่มีความสงสัยก็หมดปัญหา ไม่มีอารมณ์ จะถามขึ้นมาว่า ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร สารพัดที่จะถามขึ้นมาได้ ร้อยอย่างพันอย่าง ไม่มีอารมณ์เป็นพระนิพพาน ทำจิตให้ไม่มีอารมณ์ก็เป็นพระนิพพาน จะทำให้เป็นพระนิพพานไม่มีอารมณ์ได้ ก็ด้วยเหตุที่มีสมาธิเป็นหลัก เป็นประธาน เป็นเหมือนแม่ทัพ นี่มันเนื่องมาจากมูลเหตุ คือ ฉันทะ การกระทำในใจโดยแยบคาย แล้วก็ผัสสะ แล้วก็เวทนา แล้วก็สมาธิ ตัวกลาง ตัวศูนย์กลางแห่งสมาธิที่ สมาธิปมุกขา ขอให้ท่านมีการกระทำที่เป็นสมาธิเป็นประมุข แล้วมันก็สำเร็จ ให้การกระทำทั้งหมดทั้งสิ้นรวมกันแล้วมีสมาธิเป็นประมุข สามารถลากจิตหรือนำจิตออกมาเสียได้จากสิ่งที่เรียกว่า อารมณ์ อารมณ์ทั้งปวงไม่มี นี่ความเป็นสมาธิ
ประโยชน์สูงสุดของความเป็นสมาธิอยู่ที่นี่ เพราะสามารถทำให้บรรลุความไม่มีอารมณ์ เป็นพระนิพพาน ขอให้ท่านทั้งหลาย จงมีความสามารถ คือ สามารถที่จะกระทำให้จิตถึงจุดการกระทำอันสูงสุดอย่างนี้ คือ มีสมาธิเป็นประมุข แยกจิตออกเสียได้จากอารมณ์ แยกกันไปๆ จากอารมณ์โดยเด็ดขาดๆ ปรากฏชัดว่า ไม่มีความทุกข์เลย เป็นสิ่งสูงสุดในพระพุทธศาสนา เหตุผลของความเป็นสมาธิ ความมีสมาธิ แยกจิตออกจากอารมณ์จนกระทั่งว่าไม่มีอารมณ์ แล้วก็เป็นพระนิพพาน เรียกว่า อันโตพุทธสะ (นาทีที่ 15.18) แปลว่า ที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์หรือที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งคนโง่หรือคนธรรมดา ไม่โง่ก็ยังเข้าใจไม่ได้ เพราะมันสูง มันยาก ท่านเรียกว่า ตฐายตะนัง (นาทีที่ 15.37) นั้น หมายถึง พระนิพพาน คือ ความที่ไม่เป็นอะไร ไม่ใช่ธาตุดิน ไม่ใช่ธาตุน้ำ ไม่ใช่ธาตุไฟ ไม่ใช่ธาตุลม ไม่ใช่ธาตุอากาศัยนะ ไม่ใช่ธาตุวิญญาณอยาตนะ ไม่ใช่ธาตุอาจิอายาตนะ (นาทีที่ 15.55) ไม่ใช่ธาตุเทวอายตนะ (นาทีที่ 15.57) ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ระหว่างแห่งโลกใดทั้งปวง ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่ใช่การถึง ไม่ใช่การจุติ ไม่ใช่การอุบัติ เป็นความไม่ตั้งอยู่ เป็นความไม่เป็นไป เป็นความไม่มีอารมณ์ ขอบอกกล่าวให้รู้ว่า สูงสุดๆ อยู่ที่คำเพียง 3 คำ ไม่ตั้งอยู่ที่นี่ แล้วก็ไม่ไปที่ไหน แล้วก็ไม่มีอารมณ์อะไร นั่นแหละจำให้ดีๆ พระนิพพานสูงสุดอยู่ที่ความหมาย 3 คำ ว่า ไม่ตั้งอยู่ที่ไหน ไม่เป็นไปในที่ไหน แล้วก็ไม่มีอารมณ์อะไร ที่สำเร็จได้ด้วยการมีสมาธิตามลำดับๆ แล้วก็แยก
ความเป็นสมาธิมีอำนาจ มีอิทธิพลสูงสุดจนไม่มีอารมณ์อะไร ไม่มีอารมณ์ว่า ตั้งอยู่หรือเป็นไปหรืออารมณ์อะไรๆ เรียกภาษาบาลีว่า อติถัง (นาทีที่ 17.00) ไม่ได้ตั้งอยู่ อานาปวตัง (นาทีที่ 17.07) ไม่ได้เป็นไป อานารมณัง (นาทีที่ 17.08) ไม่ได้มีอารมณ์ ไม่เป็นอารมณ์ ไม่มีอารมณ์ ให้สูงสุด ท่านทั้งหลายมาเกิดขึ้น ฝึกฝน ฝึกกระทำสมาธิ ก็หมายความว่า อย่างนี้ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ก็แยกจิตออกไปจากอารมณ์ตามลำดับๆ ตามวิธีกันของพรหมจรรย์นี้ ซึ่งจะมีกี่อย่าง กี่ 10 อย่างก็แล้วแต่ มาสู่ความไม่มีอารมณ์ ไม่ได้ตั้งอยู่ ไม่ได้เป็นไปและไม่มีอารมณ์ ไม่ใช้อารมณ์ สูงสุดเป็นพระนิพพาน ที่นี่ก็เหลืออยู่แต่ว่า ท่านจะรู้สึกว่ามันง่ายหรือยาก มันก็แล้วแต่ความโง่หรือความฉลาดของคุณ ความโง่มันก็ทำไม่ได้ หรือว่ายากเกินไปจนทำไม่ได้ ถ้าฉลาดอยู่บ้าง ก็ค่อยๆ ทำได้ ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เห็น ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ กระทำ ค่อยๆ ทำ จนชิน สามารถรู้ความไม่มีอารมณ์ได้ พูดอย่างเด็กๆ พูดอย่างง่ายๆ พูดอย่างธรรมดาว่า ตื่นขึ้นมาไม่มีอารมณ์อะไร ทำได้ไหม ตื่นนอนขึ้นมา หลับอยู่ตื่นนอนขึ้นมา ไม่ให้มีอารมณ์อะไร ไม่ให้มีอารมณ์ว่าผู้ใด ว่าใคร ว่าอะไร ว่าที่ไหน ว่าเมื่อไร ว่าเท่าไร ว่าอย่างไร ว่าเหตุใด ไม่มีอารมณ์อย่างนี้ นั่นแหละเรียกว่า ไม่มีอารมณ์ สูงสุดเป็นพระนิพพาน ถ้ามันทำได้เด็ดขาด ถ้ามันได้ว๊อมๆ แว๊มๆ ก็ไม่ใช่พระนิพพาน ทำได้สูงสุดไม่มีอารมณ์อะไร โดยแท้จริงก็คือพระนิพพาน แปลว่าไม่เสียชาติเกิด ไม่เสียทีที่เกิดมาในพระพุทธศาสนา เป็นพุทธบริษัท สามารถทำจิตให้สูงสุด ได้โดยความไม่เป็นอารมณ์ ไม่ใช้อารมณ์ ไม่มีอารมณ์หรือไม่ใช่การตั้งอยู่ ไม่ใช่การเป็นไป และไม่มีอารมณ์ ไม่ใช้อารมณ์ ไม่มีอารมณ์ ไม่เป็นอารมณ์
ขอให้ท่านทุกท่าน ทุกๆ ท่าน ได้เข้าใจความหมายข้อนี้ว่ามีความหมายอย่างไร และทำอย่างไร พยายามกระทำให้เป็นไป กระทำให้ได้สูงสุดตามลำดับๆ ให้ถึงจุดสุดท้ายของความไม่มีอารมณ์ ความไม่มีอารมณ์ เรียกว่า อันโตทุกขสะ เป็นที่สิ้นสุดของความทุกข์ หรือที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ตถายะตะนัง อยาตะนัง บอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร เป็นอยาตนะ เป็นสิ่งที่สูงสุดที่ไม่ปรุงแต่งอะไร ไม่เป็นอะไร ไม่มีอะไร ไม่ต้องได้อะไร ไม่ต้องเสียอะไร ไม่มีปัญหาอะไรต่อไป นี่เรียกว่า ตถายตนัง อยาตนัง นั่น สิ่งสูงสุด คือ พระนิพพานๆ ขอให้ได้ประสบความสำเร็จ แม้แต่เพียงแต่รู้จัก เพียงรู้โดยเหตุโดยผล โดยอะไรสุดแท้แต่ตามลำดับๆ ไป ให้รู้เรื่องความไม่มีอารมณ์ ความไม่เป็นอารมณ์ จะเป็นที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ ด้วยกันจนทุกๆ คนเทอญ
นี่เป็น คำบรรยายรวบยอดมีความถูกต้องๆ สัมมาๆ ถูกต้องๆจนไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหาอะไรเหลืออยู่ในชีวิต ไม่มีความสงสัยอะไรๆ เหลืออยู่ในชีวิต ไม่มีความต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไรเหลืออยู่ในชีวิต เป็นที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ นิพพาน บดี ปริโยสานัง มีพระนิพพานเป็นประโยชน์สาสน์ มีอายตะนัง (นาทีที่ 21.05) คือ มีพระนิพพานนั้นเป็นจุดมุ่งหมาย เป็นวัตถุที่ประสงค์ที่สำเร็จได้ตามความประสงค์ทุกๆ ประการ เรื่องของพระนิพพานมีอย่างนี้ คือ ไม่มีอารมณ์อะไรที่เป็นที่ตั้งของความสงสัยหรือความต้องการ ขอให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมายอันนี้ ด้วยความมุ่งหมายอย่างนี้ ด้วยกันจนทุกๆ คนเทอญ
มีความพอใจในพระนิพพาน เป็นมูลเหตุให้ได้ไปตามลำดับๆในการกระทำๆ จงมีแต่ความเป็นสมาธิ นั่นแหละเป็นตัวแม่ทัพนำหน้าจะได้สมประสงค์ในความเป็นสมาธิ ความเป็นสมาธิเป็นเหมือนว่าหอก เป็นชนัก ที่ปักลงไปแล้วจับตัวมันขึ้นมา เหมือนตัวปลาที่อุดมไปด้วยชนัก ที่ปักหัวมันขึ้นมาได้ตามตรงการ ที่พูดให้เป็นปลา อุปมาที่มันไม่น่าฟัง(นาทีที่ 22.30 ฟังไม่ค่อยชัด) มันทำได้แต่อำนาจของสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วปักลงไปในตัว สิ่งที่เป็นอารมณ์ ไม่มีอารมณ์เหลือ ได้ตัวขึ้นมา ไม่ต้องมีอารมณ์อะไร สำเร็จได้ตามนี้ ขอให้พยายามต่อไปๆ ให้มีความถูกต้องตามสัมมาทิฐิ สัมมาสัมกะโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ ด้วยกันจนทุกๆ ท่าน ทุกๆ คนเทอญ