แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย วันนี้เราจะได้พิจารณากันถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ด้วยปรมัตถธรรม เรียกว่าการมีชีวิตอยู่ด้วยปรมัตถธรรมกันแล้ว (นาทีที่ 1.40) เราได้ศึกษาเรื่องปรมัตถธรรมมาแล้วพอสมควร สามารถจะดำเนินชีวิตชนิดที่ประกอบอยู่ได้ด้วยธรรมประเภทนี้ การที่จะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยธรรมะประเภทนี้ก็หมายความว่า เรารู้แล้วเราก็ปฏิบัติ แล้วเราก็มี เรารู้เรื่องปรมัตถธรรมว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องปฏิจจสมุปบาทและการควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทน่ะ นี่เรียกว่าเรารู้เรื่องปรมัตถธรรม นี่ก็มีการปฏิบัติสติ สมาธิ ปัญญา หรือที่เรารวมกันเป็นเรื่องของอานาปานสติ ภาวนานี้เราก็มีการปฏิบัติในส่วนปรมัตถธรรม ในที่สุดเราก็มีตัวปรมัตถธรรม คือความถูกต้องในระดับสูงสุดของการมีชีวิต นี้ก็มีชีวิตชนิดที่อยู่เหนือปัญหาโดยประการทั้งปวง เรียกว่าเป็นจุดหมายปลายทาง เนี่ยเรียกว่าเราเรียนรู้แล้วเราก็ปฏิบัติ แล้วเราก็มี มีสิ่งนั้น ซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติ นี้ขอให้ทำความเข้าใจกันอย่างนี้ว่าจะมีชีวิตอันประเสริฐ ใช้คำว่าอย่างนั้นเถอะ อยู่ด้วยการมีปรมัตถธรรมได้อย่างไรกัน นี่ก่อนแต่จะพูดถึงเรื่องนี้โดยตรง ทีนี้ก็มาให้ใคร่ครวญดูการเป็นอยู่ตามธรรมชาติตามธรรมดาทั่วไปซึ่งเต็มไปด้วยปัญหา ก็ปล่อยไปตามธรรมดาไม่มีเรื่องธรรมะเข้ามาควบคุม หรือว่ามันมีอยู่ตามธรรมดาน่ะมันเป็นอย่างไรบ้าง มันเป็นการรู้จักตัวเอง แล้วก็รู้ปัญหาของตัวเอง ก็มีการทำที่พึ่งให้แก่ตัวเอง ไอ้สิ่งที่ควรจะรู้หรือเห็นชัดอย่างแน่นอนก็คือเรื่องเดียวกับธาตุ ธา-ตุ ธาตุ เพราะว่ามันเป็นสิ่งสุดท้ายที่รองรับสิ่งทั้งปวง เป็นธาตุตามธรรมชาติ มีพระบาลีว่า บุรษนี้ประกอบอยู่ด้วยธาตุ 6 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ คำว่าบุรุษนี้ในที่นี้หมายถึงคน ไม่ได้หมายเฉพาะผู้ชาย ในบาลีมักจะเป็นอย่างนี้อยู่บ่อยๆ ใช้คำว่าบุรุษ แต่หมายถึงคนทั้งปวงทั้งหญิงทั้งชาย บุรุษนี้ประกอบอยู่ด้วยธาตุ 6 ก็หมายความว่า คนเรานี้ประกอบอยู่ด้วยธาตุ 6 นี้ก็ควรจะมองเห็นนะ เพราะว่ามันเป็นตัวปัญหา หรือจะเป็นตัวยืนโรงอยู่สำหรับจะเป็นปัญหา ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเนี่ย 4 อย่างนี้รู้จัก คือพูดกันอยู่โดยทั่วไป แต่ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณนั่นไม่ค่อยจะได้ยินได้ฟัง ต้องเรียนกันโดยเฉพาะ ที่พูดกันอยู่ทั่วไปในหมู่ประชาชน ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังรู้จักผิดๆ สำหรับสิ่งที่เรียกว่าธาตุ เช่นจะพูดว่าดินก็หมายถึงดินหรือของแข็งก็เรียกว่าธาตุดิน ธาตุน้ำก็หมายเอาน้ำหรือของเหลว ธาตุไฟก็หมายเอาไฟเลย ธาตุลมก็หมายเอาลมเลย อย่างนี้มันก็ได้ และมันก็ถูกหละนะ แต่มันยังเด็กไป มันถูกสำหรับเด็กๆ ด้วย ไอ้ความรู้สึกอย่างเด็กๆ ไอ้คำว่าธาตุในความหมายที่ ที่ถูกต้อง หรือตามที่เป็นจริง ก็หมายถึงคุณสมบัติ หรือคุณค่าของมัน สิ่งใดกินเนื้อที่ สิ่งใดมีการกินเนื้อที่ สิ่งนั้นเรียกว่าธาตุดิน คือมันต้องการเนื้อที่แล้วก็กินเนื้อที่ ไอ้ความที่มันกินเนื้อที่นั่นน่ะ มันจึงเรียกว่าแข็งหรือของแข็ง ไม่ได้หมายความว่าดิน ก้อนดิน หรือว่าเนื้อหนังในร่างกาย โดยความหมายตื้นๆ อย่างนั้น อะไรก็ตามที่มันกินเนื้อที่ออกไปมันก็เรียกว่าธาตุดิน ที่อะไรก็ตามที่มันมีคุณค่าเกาะกุมกันอยู่ เกาะกุมกันอยู่ ไม่ยอมแยกสลายจากกัน คือวิ่งเข้าหากันแล้วเกาะกุมกันอยู่ นี่ก็เรียกว่าธาตุน้ำ ดูง่ายๆ ก็เห็นว่าน้ำมีลักษณะอย่างไร ถ้ามีใครผ่าน้ำออกไปมันก็วิ่งเข้าหากัน มันมีลักษณะที่จะวิ่งเข้ารวมกันอยู่เรื่อยไป ลักษณะนี้เรียกว่าธาตุน้ำ ที่นี้ก็เราพูดกันแต่เพียงของเหลว ทีนี้ภาษาธรรมะที่แท้จริงน่ะมันสิ่งที่มีคุณค่า ยึดหรือเกาะกุมไม่ให้กระจายออกไป ถ้ามันไม่มีธาตุนี้ ไอ้โลกมันอาจจะไม่อยู่เป็นโลกก็ได้ คือมันกระจายออก ออก ออกไปจากกัน ละลายไปหมด จะมีธาตุอยู่ธาตุหนึ่งมีอานุภาพให้เกาะกุม เกาะกุม เกาะกุมกันอยู่ นี่ธาตุน้ำคือสิ่งที่มีคุณค่า ให้มันเกาะกุม ให้มันรวมตัวกันอยู่ ทีนี้ธาตุไฟ ก็มีคุณค่าคือร้อน เมื่อร้อนก็เผา นี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง จะเป็นไฟเผา หรือไฟให้เกิดการอบอุ่น อะไรก็ตามมันมีลักษณะเผาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สูญหายไปไม่มากก็น้อย ธาตุไฟมีลักษณะแผดเผาให้เปลี่ยนแปลงไป ทีนี้ธาตุลม มีลักษณะให้เคลื่อนไหว ให้มันเคลื่อนไหว มันอยู่นิ่งไม่ได้ แล้วมันก็มีกำลังที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือไม่เที่ยง นี่เรียกว่าธาตุสี่ แต่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วก็ไประบุไอ้ที่ตัวไอ้ที่เห็นได้ด้วยตา มันต้องเห็นได้ด้วยใจ เห็นได้ด้วยใจ เช่นเราตัดเนื้อคน คนเป็นๆ น่ะ มาก้อนหนึ่ง แล้วก็บอกว่านี้ธาตุดิน อย่างนี้มันก็ถูกสำหรับลูกเด็กๆ แล้วก็ว่าเนื้อที่ตัดมาก้อนหนึ่งน่ะมันก็มีธาตุดิน ส่วนที่แข็งน่ะกินเนื้อที่ นั้นก็มีธาตุน้ำที่เป็นเลือดเป็นน้ำเหลืองเป็นอะไร มันเป็นธาตุน้ำน่ะ มันทำให้สิ่งต่างๆ เกาะกุมกันอยู่ด้วยนั่นน่ะ และในเนื้อก้อนนั้นก็มีอุณหภูมิความร้อนระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยอำนาจของความร้อน และในเนื้อก้อนนั้นมันก็มีธาตุลม คือแก๊สน่ะที่ระเหยอยู่เสมอ เนื้อก้อนเดียวมีตั้งสี่ธาตุนั่นน่ะ นี่ถ้ารู้ธาตุโดยถูกต้องมันก็รู้อย่างนี้ ไม่ใช่ดินคือดิน น้ำคือน้ำ ไฟคือไฟ ลมคือลม แต่มันหมายถึงคุณสมบัติหรือคุณค่าของสิ่งนั้นๆ แยกกันอย่างนี้ จึงทำให้เราเข้าใจผิด ดินที่ดิน น้ำที่น้ำ ไฟที่ไฟ มันก็เข้าใจร่างกายนี้ผิด ในร่างกายนี้มันมีครบ แต่ในความหมายที่ว่า คุณค่าเค้าเรียกว่ากินเนื้อที่ สำหรับเกาะกุมไว้อย่าให้กระจายหลุดออกไป แล้วก็อุณหภูมิที่เผาผลาญให้เกิดความเปลี่ยนแปลง แล้วก็ลมที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ถ้าไม่มีธาตุลมมันก็เคลื่อนไหวไม่ได้ ทีนี้รู้จักธาตุสี่ว่ามันมีอยู่ในอัตภาพนี้ ในฐานะที่เป็นวัตถุธาตุ นี่ธาตุถัดไปนี่คือธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ เราพูดถึงธาตุวิญญาณมาก่อนดีกว่า ไอ้ 4 ธาตุทีแรกนี้มันเป็นธาตุฝ่ายวัตถุ มันเป็นวัตถุ เป็นเรื่องของวัตถุ นี้วิญญาณธาตุเป็นธาตุที่เป็นฝ่ายจิตใจ ไม่มีตัววัตถุ แต่มันก็มีความเป็นตัวธาตุอยู่อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน นี่สำหรับทำหน้าที่รู้สึกเรียกว่าวิญญาณธาตุ ธาตุสำหรับรู้แจ้งรู้จักสิ่งทั้งปวง คือจิตใจ ธาตุใจ เรียกว่าธาตุวิญญาณแทนที่จะเรียกว่ามโนธาตุ มันเรียกว่าธาตุวิญญาณอยู่ชัดๆ ธาตุนี้สำหรับทำให้ร่างกายรู้สึกได้ รู้สึกแล้วก็คิดนึกแล้วก็บังคับบัญชาอะไร(นาทีที่ )ให้ร่างกายเป็นไปตามอำนาจของจิตใจได้ นี้ก็เป็นฝ่ายนาม ไม่ใช่รูป นี้ธาตุที่ประหลาดที่สุดคืออากาศธาตุ อากาศนี่ไม่ใช่ลม อากาศแปลว่าว่าง ธาตุแห่งความว่าง ไม่มีอะไรเลย มันมีความว่างอยู่เป็นพื้นฐาน สิ่งต่างๆ มันก็ตั้งอยู่บนหรือในความว่าง บนความว่างหรือว่าในความว่าง ถ้ามันไม่มีที่ว่างก็ไม่มีอะไรจะตั้งอยู่ได้ ก็มันมีที่ว่างจึงเป็นเหตุให้อะไรๆ ต่างๆ มันตั้งอยู่ได้ บนโลกนี้มันก็ตั้งอยู่ได้ ไอ้ธาตุต่างๆ ที่เป็นทางวัตถุก็ตั้งอยู่ได้ ฉะนั้นมารู้จักไอ้ความว่างนี้ให้ดีๆ มันเข้าใจยาก นี่ถ้าเป็นความว่างในฝ่ายปรมัตถธรรมแล้วมันยิ่งละเอียดลึกซึ้งมากน่ะ มันว่าง ว่างจากตัวตน เดี๋ยวนี้เอาแต่ในทางฝ่ายวัตถุ วัตถุธรรมดานี่ เมื่อมันมีความว่างอยู่ เราจึงมานั่งกันอย่างนี้อยู่ได้ มันมีที่ว่างให้มานั่ง ไอ้ความที่มันว่างอยู่สำหรับให้สิ่งอื่นตั้งอยู่ได้นี่เค้าก็จัดเป็นธาตุธาตุหนึ่งด้วยเหมือนกันนะ เป็นสติปัญญาที่ลึกซึ้ง มันมีเป็นพื้นฐานทั่วไป ว่างอะไรๆ ก็บรรจุอยู่ในที่ว่าง แล้วมันกลายเป็นของมีประโยชน์ ไอ้ว่างน่ะกลับมีประโยชน์ ถ้าไม่มีที่ว่างมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ ตั้งอยู่ไม่ได้ มันมีที่ว่างให้เกิดขึ้นมา ให้ตั้งอยู่ในที่สุด แต่ว่าถ้วยชาม แก้วน้ำ ถ้ามันไม่ว่างใส่อะไรลงไปไม่ได้ มันก็ใช้ไม่ได้สิ มันก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าเก้าอี้ไม่ว่างมันก็นั่งไม่ได้ ใช้ไม่ได้ ห้องหับหรือบ้านเรือนไม่ว่างมันก็เข้าไปอยู่ไม่ได้ นี่ก็มีความหมายหรือคุณค่า คือว่างสำหรับให้สิ่งต่างๆ หรือธาตุอื่นๆ เข้าไปตั้งอาศัยอยู่ เอ้าทีนี้เราก็ดูคราวเดียวกันนี่ มีธาตุว่างอยู่เป็นพื้นฐานทั่วไป ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม กุมกันเข้าทั้ง 4 ธาตุเป็นส่วนร่างกาย มันตั้งอาศัยอยู่บนความว่าง ในเมื่อมีกายมันก็เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งธาตุจิต จิตก็อาศัยอยู่ที่กาย ธาตุทั้ง 4 เป็นกายตั้งอยู่ที่ความว่าง และธาตุจิต ธาตุวิญญาณก็ตั้งอาศัยอยู่ที่ร่างกาย ดูสิสัมพันธ์กันอย่างแยบคาย อย่างน่าประหลาด น่าอัศจรรย์ ฉะนั้นขอให้มองดูตัวเองแล้วก็รู้จักสิ่งเหล่านี้ มองดูสิ่งที่สมมติว่าร่างกายของกูนี่ อัตภาพนี้ ให้เห็นว่ามันอยู่กันอย่างไร มันสัมพันธ์กันอยู่อย่างไร ธาตุวัตถุคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุใจ ธาตุวิญญาณ คือ จิตใจ นี่ก็อาศัยกันอยู่ แล้วก็ยังอาศัยกันอยู่บนความว่างอีกทีนึง จิตอาศัยกาย ทั้งจิตทั้งกายอาศัยอยู่บนความว่างนี่ มีปัญหาเล็กน้อยข้อนี้ ดิน น้ำ ลม ไฟ น่ะมันเป็นธาตุรูปและ จิตและวิญญาณเป็นธาตุนามและ ไอ้ว่างน่ะ ไอ้ความว่างนั่นน่ะเป็นรูปหรือเป็นนาม โดยมากเราก็พูดกันว่าเป็นนาม ความว่างน่ะเป็นนาม อาตมาว่าไม่เป็นรูปไม่เป็นนามดีกว่า ไอ้ความว่างน่ะ อย่าเป็นรูปอย่าเป็นนามเลย ถ้าเป็นนามก็เป็นจิตใจที่นึกได้ ถ้าเป็นรูปก็เป็นของแข็ง มันไม่ใช่รูปไม่ใช่นามซะดีกว่า อาศัยไม่ใช่รูป ไม่ใช่นามในชั้นต้นๆ มันก็สูงขึ้นไปจนจะถึงนิพพานที่ว่างไม่ใช่รูปไม่ใช่นามในความหมายที่ลึกซึ้ง พูดแต่เพียงนามและรูปดูจะไม่ค่อยหมด ไม่ค่อยหมดจด มีรูป มีนาม แล้วก็มีไม่ใช่รูปไม่ใช่นามอีกซักเรื่องหนึ่งก็จะดี แต่ถ้าพูดอย่างนี้มันก็พูดสำหรับถูกด่า เพราะเค้าเชื่อกันอยู่อย่างอื่น สอนกันอยู่อย่างอื่น พูดอะไรแปลกออกไปมันก็ถูกด่า ไอ้เรื่องถูกด่าหรือไม่ถูกด่านี้ไม่สำคัญหละ มันอยู่ที่ความจริงที่สำเร็จประโยชน์ ถ้ารู้แล้วมันเป็นความจริงสำเร็จประโยชน์ได้ละก็ แต่ว่ามันรู้สึก น่ะที่เรารู้จักกันมันน้อยเกินไป ที่รู้จักเพียงรูปและนาม รูปและนาม ไม่รู้จักสูงขึ้นไปถึงความไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม แต่ถ้ารูปมันก็มีไอ้วัตถุ แต่ถ้านามมันก็มีน้อมนึกคิดอะไรได้ไปตามเรื่องของมัน ไอ้ความว่างมันจะคิดนึกอะไรได้ อันนั้นคือมันสำคัญก็คือว่ามันมีเหตุมีปัจจัย รูปร่างกายมีเหตุมีปัจจัยสำหรับรูปหรือร่างกาย นาม นามนี่ก็มีเหตุมีปัจจัยสำหรับนามคือใจ แต่ความว่างนี่มันไม่ต้องมีเหตุมีปัจจัย เป็นธาตุอิสระของมันเองไม่ต้องมีเหตุไม่ต้องมีปัจจัย นั่นมันแปลกอย่างนั้น ถ้าเรารู้จักมันดี ก็ใช้ประโยชน์ได้ นี่ถ้าไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน เอามาสวมเท่ากับคำว่าว่างจากตัวตน ว่างจากการที่จะยึดถือ แล้วก็ว่างจากสมมติบัญญัติไปด้วยก็ได้ ถ้าพูดพูดได้ สมมติบัญญัติความว่างเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่โดยเนื้อแท้มันก็ไม่ควรจะสมมติบัญญัติอะไรให้กับความว่าง พูดถึงพอให้มันเป็นเรื่องเป็นราว เอาหละบุรุษนี้ประกอบอยู่ด้วยธาตุ 6 กันทุกคน มันก็รวมลงไปถึงสัตว์เดรัจฉานด้วย ถ้าศึกษากันอย่างละเอียดก็จะรวมลงไปถึงต้นไม้ แต่พอพูดว่าต้นไม้มีธาตุ 6 ก็ถูกด่าด้วยกัน แต่ด้วยที่คนมีอย่างไร ต้นไม้มันก็จะต้องมีอย่างนั้น มีความรู้สึกเหมือนที่คนรู้สึก คือมันมีส่วนรูปที่เป็นส่วนกาย ส่วนรูปที่เป็นต้นไม้ และต้นไม้นั้นมีความรู้สึก มีความรู้สึกเหมือนที่คนรู้สึกแต่ว่ารู้น้อยรู้สึกน้อย แล้วทั้งหมดนั้นก็ตั้งอยู่บนความว่างเหมือนกัน ครูบาอาจารย์คณะหนึ่งไม่ยอมพูดหรือไม่ยอมสอนว่า ต้นไม้ก็มีความรู้สึกหรือมีจิตมีวิญญาณ แล้วก็หาว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราพูดว่าต้นไม้มีจิตมีวิญญาณมีความรู้สึกเค้าก็หาว่ามิจฉาทิฏฐิแล้วก็ด่าเอา ก็ไม่เป็นไรด่าก็ด่าไป แต่ขอให้ดูดีๆ แม้ต้นไม้ก็มีความรู้สึก รู้สึกเป็น รู้สึกตาย ไม่อยากตาย ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อไม่ตาย ศึกษาโดยละเอียดโดยทางวิทยาศาสตร์ก็จะพบอย่างนั้น ต้นไม้นี่ก็มีความรู้สึกและกลัวตาย ดิ้นรน ต่อสู้หนีตาย แต่มันเป็นของเคลื่อนไหวไม่ได้ มันดูไม่ออกมันดูยาก ต้องมีเครื่องมือพิเศษ สำหรับศึกษาสำหรับรู้ได้ ต้นไม้ก็มีความรู้สึก ที่พูดอย่างนี้ก็คล้ายๆ กับว่าตามความเป็นจริง สิ่งที่มีชีวิตแล้วประกอบอยู่ธาตุ 6 เสมอไป แล้วเราก็จะได้มีจิตใจกว้าง เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันแม้กับสิ่งที่เรียกว่าต้นไม้ ไม่ต้องพูดถึงสัตว์เดรัจฉานน่ะมันเห็นง่ายกว่าต้นไม้ แล้วก็มาถึงคน คนก็ดี สัตว์ก็ดี ต้นไม้ต้นไร่ก็ดี มันมีลักษณะที่ประกอบอยู่ธาตุ 6 เหมือนกัน แต่พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่าบุรุษนี้ เรื่องราวน่ะปัญหานั่นมีมันอยู่ที่คน พูดถึงแต่คนก็พอ เรามาพูดเรื่องคนที่มันเป็นตัวปัญหากันดีกว่า ประกอบด้วยธาตุ 6 ก็ต้องรู้จักให้ถูกต้อง แล้วก็ปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้อง แล้วก็จะไม่มีปัญหา ถ้าปฏิบัติต่อธาตุทั้ง 6 ไม่ถูกต้อง มันก็มีปัญหาสารพัดอย่าง จนได้เป็นทุกข์ จนได้เป็นทุกข์ อาศัยธาตุ 6 ประชุมกัน ไอ้ชีวิตอัตภาพนี้มันก็มี แล้วมันก็จะต้องมีอะไรล่ะ มีความโง่ มีกิเลส มีความไม่รู้ว่ากิเลส แล้วก็ทำกรรมที่ไม่ควรกระทำ นั่นเพราะไม่รู้ มันก็เลยเป็นทุกข์ ถ้ารู้กันเสียให้ถูกต้อง จัดการกันเสียให้ถูกต้องทั้ง 6 ธาตุ นี่มันก็มีประโยชน์ นิทานอุปมาของคนโบราณเค้าเล่ากันมาดีมากสำหรับจะเข้าใจหรือเด็กๆ ก็จะรู้โดยง่าย แต่เดี๋ยวนี้เค้าเกลียดนิทานว่าคนโบราณ มีเรื่องวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้ามาแทนที่ แล้วก็ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ ก็เลยไม่รู้ทั้งใหม่ทั้งเก่า เค้าเล่าเป็นอุปมาว่าไอ้คนหนึ่งแข็งแรง เป็นบุรุษแข็งแรงแต่ตามันบอด ทีนี้บุรุษอีกคนหนึ่งไม่แข็งแรงเป็นง่อยเดินไม่ได้แต่ตามันดี ตามันดี เผอิญวันหนึ่งมันมาพบกันเข้า ทำความเข้าใจกันว่าเราต้องรวมกัน รวมกัน ตาบอดกับตาดีเนี่ยรวมกัน ก็ให้ตาดีขึ้นขี่คอตาบอด เป็นคนเดียวกันแล้วก็ไปได้ ไปไหนไปได้ หากินได้ อะไรได้ เนี่ยเป็นนิทานสมมติ ด้วยเรื่องร่างกายกับจิตใจ ร่างกายมันก็ตาบอด จิตใจมันก็ตาดีแต่เดินไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ นี่ก็ใช้ร่างกายทำ มันก็เลยได้กินร่วมกัน ทีนี้คู่หูหรือเป็นเกลอกันเนี่ย ระหว่างรูปกันนาม และกายกับใจต้องระวังให้มันมีความถูกต้องในข้อนี้ ถ้าชวนกันไปทำผิดมันก็เดือดร้อนด้วยกัน ทำถูกมันก็สบายด้วยกัน ทีนี้ศึกษาให้ละเอียด รู้จักกายกับใจ หรือนามกับรูปนี่ให้ดีๆ แล้วก็ปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดีที่สุด ให้ถูกต้องที่สุด และชีวิตนี้ก็จะไม่เป็นปัญหา ไอ้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยากนั่นน่ะคือปรมัตถธรรม อุตส่าห์ศึกษาให้เข้าใจ เข้าใจ เข้าใจ มีปรมัตถธรรมน่ะถูกต้อง อัตภาพและชีวิตนี้ก็เป็นไปในทางที่ไม่เป็นทุกข์ มีความปลอดภัย มีความรุ่งเรืองจนกระทั่งสูงสุด เนี่ยเรื่องหนึ่ง นิทานเรื่องหนึ่ง คนเราประกอบอยู่ธาตุ 6 มีลักษณะเหมือนกับตาดีตาบอด สหกรณ์การร่วมมือกันมันก็เป็นไปได้ เป็นอยู่ได้ สรุปให้สั้นที่สุดก็คือว่าร่างกายกับจิตใจนี่ทำสหกรณ์คือร่วมมือ ร่วมมือกันให้ดีที่สุด ให้ถูกต้องที่สุด จะเกิดเหตุและผล อันสูงสุด ความลับเกี่ยวกับเรื่องนี้เราเรียกว่าปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม ธรรมที่มีความหมายลึกซึ้งที่เราพูดกันมา 3-4 วันน่ะ ทีนี้ขอให้ดูว่าชีวิตโดยพื้นฐานต้องการปรมัตถธรรม เรียกว่าธาตุ ธาตุ อย่ารู้ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่เพียงที่เด็กๆ มันรู้ มันไม่พอ ถ้าตามหลักธรรมะมันหมายถึงคุณ คุณสมบัติ หรือคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ตัวสิ่งนั้น เช่นธาตุดินน่ะไม่ใช่ตัวก้อนดิน แต่หมายถึงคุณค่าของสิ่งที่กินเนื้อที่ กินเนื้อที่ เพราะว่าแม้แต่ปรมาณูสักหนึ่งปรมาณูที่ละลายอยู่ในเลือดน่ะมันก็กินเนื้อที่ แต่มัน ตามันมองไม่เห็นน่ะ ถึงแม้ว่าตัวน้ำ เป็นธาตุน้ำ น้ำก็กินเนื้อที่ไปตามแบบธาตุน้ำ ฉะนั้นความเป็นธาตุดินก็มีอยู่ในธาตุน้ำ ความเป็นธาตุน้ำมันก็มีอยู่ในธาตุดิน คือมันเกาะกุมกันอยู่ไม่แยกจากกัน อุณหภูมิก็มีอยู่ในทุกธาตุ แก๊สคือความเคลื่อนไหวก็มีอยู่ในทุกๆ ธาตุ ถ้ารู้จักธาตุกันอย่างนี้แล้วก็เป็นปรมัตถธรรม ขอให้ท่านกำหนดรู้ไว้เป็นเรื่องแรกนะ อ้าวทีนี้คำว่าธาตุ ธาตุมันคือเครื่องหมาย คือมันเป็นที่รวมของไอ้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจนยุติเป็นลักษณะอย่างนั้น อย่างนั้น เด็ดขาดลงไป นี่คำว่าธาตุในอีกความหมายหนึ่ง คือมันมีอะไรเป็นปกติ เป็นเครื่องสังเกต เป็นความหมายเฉพาะ เป็นปกติ เป็นปกติจนกลายเป็นพื้นฐานของเรื่องทั้งหมดได้อย่างหนึ่งก็เรียกว่าธาตุได้ด้วยเหมือนกัน ทีนี้ไม่เกี่ยวกับรูปไม่เกี่ยวกับนามแล้ว ไม่เกี่ยวกับกายและใจ มันเกี่ยวกับคุณสมบัติที่แน่นอนลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งเนี่ยตลอดกาลก็เรียกว่าธาตุ ทีนี้ที่ควรรู้จักก่อน เร็วๆ ก็คือ ไอ้ 4 ธาตุ กามธาตุ-ธาตุทางกาม ธาตุที่เป็นกาม ไอ้รูปธาตุ- ธาตุที่เป็นรูป อรูปธาตุ-ธาตุที่ไม่เป็นรูป นิโรธธาตุ-ธาตุแห่งความดับ มันก็เลยเป็นลักษณะพื้นฐานของจิตใจ จิตใจตามปกติของคนทั่วๆ ไป ปุถุชนทั่วไป มันมีลักษณะเป็นกาม คือความใคร่ ไอ้สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เรื่องกามอย่างอย่างนี้ เรื่องเพศอย่างนี้ ก็เพศตรงกันข้ามแล้วก็ยิ่งมีความหมายมาก เป็นกามทาส คนธรรมดาตกอยู่ในกามทาส มีกามทาสเป็นเครื่องรองรับ เป็นเครื่องปรับปรุงชีวิต อันนี้ก็เรียกว่าธาตุที่หนึ่งกามทาส ที่สูงขึ้นมารูปธาตุ คือจิตใจมันไม่ต่ำทรามถึงขนาดนั้นน่ะ มันไม่หลงกาม มันมาเอารูปที่บริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวกับกาม เป็นความสงบ เช่นความสงบที่ได้จากการปฏิบัติสมาธิ ประเภทที่มีรูป รูปฌานน่ะ แล้วก็ฝังแน่นอยู่ที่นั่น มักจะเป็นพวกฤาษี ชีไพร มุนีอะไรนั่น เป็นพวกนั้นไปเลย เป็นพวกหนึ่งไปเลย เค้ามีรูปธาตุเป็นที่มุ่งหมาย เป็นที่ดำรงของจิต นี่เรียกว่ารูปธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ นะ มันธาตุแห่งจิตใจ ที่หลงใหลยึดมั่นถือมั่นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่ารูป ที่ปราศจากกาม ซึ่งคนธรรมดายากที่จะเป็นได้ จะเป็นได้ก็เป็นพักๆ ขณะเล็กน้อย ถ้าเป็นเต็มที่ก็เป็นระดับเป็นฤาษีมุนี ที่มีสมาธิเป็นที่พอใจ จนมีคำกล่าวที่ประหลาดๆ ว่าเข้าฌานนานนับเดือนไม่เขยื้อนเคลื่อนกายา จำศีลกินวาตา เป็นผาสุกทุกคืนวัน อาตมาเชื่อว่าคนแก่ๆ บางคน บางคนเคยอ่านหนังสือเล่มนี้เป็นมูลบทบรรพกิจ เข้าฌานนานนับเดือนไม่เขยื้อนเคลื่อนกายา จำศีลกินวาตา เป็นผาสุกทุกคืนวัน เป็นพวกมุนีเป็นพวกฤาษีนี่นะ พวกนี้ชีวิตของเขาอยู่ด้วยรูปธาตุ มีรูปธาตุเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหรือค้ำจุน ถ้าสูงขึ้นไปเป็นอรูปธาตุ คุณมองเห็นไหมไอ้อรูปธาตุน่ะมองเห็นไหม ไอ้รูปธาตุน่ะมันยุ่งมันเกะกะ มันมีรูป เอาไม่มีรูปกันดีกว่า นี่ก็เรียกว่าเกิดสมาธิชนิดที่ไม่มีรูป อากาศบ้าง วิญญาณบ้าง ความไม่มีอะไรบ้าง ทำสมาธิในสิ่งที่ไม่มีรูปจนพอใจในความเป็นอย่างนั้น จิตของเขาก็มีอรูปธาตุเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เป็นเครื่องดำรงไว้ เนี่ยเป็นธาตุสำหรับจิตใจ เข้าถึงอันละเอียดสูงขึ้นไปอีกเรียกว่าอรูปธาตุ เนี่ยธาตุทั้ง 3 เนี่ยมันเป็นเรื่องของความมีภพมีชาติมีวัฏฏะ เป็นกามธาตุบ้างเป็นรูปธาตุบ้างเป็นอรูปธาตุบ้าง เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าเบื่อ จึงเกิดมีธาตุที่พบใหม่สุดท้ายว่า นิโรธธาตุ ธาตุแห่งความดับ ความดับแห่งสิ่งเหล่านั้นน่ะ ไอ้กามไอ้รูป ไอ้อรูปน่ะที่วิ่ง วนเวียนว่ายเวียนอยู่เสมอ ถ้าไปถึงธาตุคือนิโรธธาตุมันหยุดมันดับมันหยุดไปมันหมดไป ดูที่คนธรรมดากัน คนธรรมดาก็มีกามธาตุ เริ่มก็มีตั้งแต่เล็กๆ ไปตามประสาเด็กนี่กามธาตุ พอผ่านหนุ่มสาวเป็นพ่อบ้านแม่เรือนไปแล้วก็ไม่สนใจเรื่องกามธาตุ ไปสนใจเรื่องรูปธาตุ เป็นเรื่องท้องเรื่องข้าวเรื่องของเรื่องวัวควายไร่นาเรื่องทรัพย์สมบัติที่เป็นรูปธาตุนั่น พอแก่มากไปอีก เบื่อชักจะเบื่อ เบื่อไปสนใจอรูปธาตุ ไปสนใจเกียรติยศชื่อเสียง อำนาจวาสนา ไปสนใจบุญกุศลซึ่งเป็นอรูปธาตุ โดยมากก็ไปไม่ค่อยถึงเนี่ย ตายซะก่อน แต่ทว่าถ้าขึ้นมาได้ถึงนี่ก็มักจะตายเสียก่อน ไม่ค่อยขึ้นไปถึงนิโรธธาตุ คือไม่รู้จักเบื่อสิ่งเหล่านี้ ไม่ทันจะเบื่อสิ่งเหล่านี้ กระหายอยู่ในสิ่งเหล่านี้ เรียกว่าเข้าโลงไปแล้วไม่ถึงธาตุที่ 4 ไอ้ถ้าสมบูรณ์โดยแท้จริงนะควรจะว่า มนุษย์เราคนหนึ่งขลุกขลักอยู่กับธรรมชาติยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง มันก็ไปติดพันอยู่กับรูปธาตุล้วนๆ ไม่มีกามไม่เกี่ยวกับกาม แล้วก็สูงขึ้นไปอีกก็อรูปธาตุ ยิ่งไม่เกี่ยวกับกาม เนี่ยบางทีก็เบื่อสั่นหัว พอกันทีหยุดพอกันทีเป็นนิโรธธาตุ เช่นเป็นพระอรหันต์ไปเสียมันก็เพราะนิโรธธาตุ เนี่ยธาตุมีไว้เตรียมไว้สำหรับรับรอง รับรองพวกเรา 4 ธาตุนะ 4 ธาตุ กามทาสเป็นกันมากๆ ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นหนุ่มสาวจนได้สมรสมีครอบครัวแต่งงาน มีกามทาสเป็นหลักใหญ่ แล้วก็ไปมีรูปทาสทรัพย์สมบัติ แล้วก็มามีอรูปธาตุ ชื่อเสียงบุญกุศล แต่ถ้ามันโชคดีน่ะคนนั้นได้รับธรรมะได้ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเพียงพอ รู้จักนิโรธธาตุคือรู้จักดับ เย็น หยุด คือนิพพาน ความหมายของนิพพานเสียก่อนแต่ที่จะเข้าโลง ก็นับว่าดีมากแล้ว ก็ผ่านไปครบทั้ง 4 ธาตุ เป็นธาตุสุดท้ายคือนิโรธธาตุ ถึงแล้วก็เรียกว่ามีนิพพาน ควรจะพยายามผ่าน คือสอบไล่ผ่านไปทั้ง 4 ธาตุ ให้มันถึง 4 ธาตุ ความลับมันมีอยู่อย่างนี้ หรือปรมัตถธรรมที่ลึกซึ้งมันมีอยู่อย่างนี้ คือท่านทั้งหลายมาสนใจศึกษาธรรมะแล้วก็ควรรู้ว่ามันมีอยู่อย่างนี้ คือมันมีอยู่ทั้ง 4 ชั้น จะสอบไล่ได้ทุกชั้นผ่านไปถึงชั้นสุดท้ายหรือไม่ก็ดูเอาเอง อย่างน้อยก็ควรจะดูเอาเองว่าเรากำลังอยู่ในชั้นไหน เราอยู่ในชั้นไหน ถ้าไม่รู้ว่าอยู่ในชั้นไหนมันก็เลือกทำไม่ถูก มันก็ไม่ ไม่รู้จักเลื่อนชั้นน่ะ ถ้ารู้ว่าอยู่ชั้นไหน มันเบื่อมันก็เลื่อนชั้นน่ะมันทำให้เลื่อนชั้นได้ นี่รู้ธรรมะไว้ทั้งหมดเพื่อเลื่อนชั้น เพื่อเลื่อนชั้น ให้ไปเข้าในคำพูดที่ว่าเกิดมาชาติหนึ่งให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ ก็หมายความว่าสอบไล่ได้ทั้ง 4 ชั้น ผ่านกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ แล้วก็ลุถึงนิโรธธาตุ สำหรับนิโรธธาตุน่ะจะขอพูดย้ำอีกครั้งหนึ่ง เพราะได้เคยพูดมาบ้างแล้ว ว่าเราไม่ต้องถึงนิพพาน ยังไม่ถึงนิพพานโดยสมบูรณ์หรอก มันก็มีนิพพานน้อยๆ ในความหมายเดียวกันได้ที่เรียกว่านิพพุติ นิพพุติ นิพพุติ นี่ทุกคราวที่พระเค้าให้ศีลน่ะ มาทำบุญทำทานอะไรกันมีพิธีแล้วก็มีการรับศีล พระก็ให้ศีลน่ะ สีเลนะ นิพพุติง ยันติ นี่ว่ากันเรื่อยไปน่ะ แต่เราไม่รู้ว่าอะไรทั้งผู้ให้และผู้รับอย่างนี้แย่ คือเย็นอกเย็นใจในความหมายแห่งนิพพานยังไม่ถึงสูงสุด แต่มีความเย็นอย่างเดียวกัน เย็นอกเย็นใจ กิเลสไม่รบกวน มันก็เข้าไปอยู่ในพวกนิโรธธาตุ พ้นกาม พ้นรูป พ้นอรูป ไปได้มากเหมือนกัน จึงขอให้มีชีวิตอยู่ด้วยนิโรธธาตุเถิด จะไปชั้นเล็กชั้นน้อยก็ยังดี ท้ายมันก็ค่อยๆ ไปถึงที่สุด เดี๋ยวค่อยคุยกันอีกทีเรื่องนิพพาน ในขั้นตอนนี้ก็จะพูดถึงเรื่องคำว่าธาตุ ธาตุ ธา-ตุ ธา-ตุ น่ะ ให้รู้จักสิ่งนี้ให้เพียงพอ แล้วก็จะได้ผลในข้อที่ว่า ไม่เห็นว่าเป็นอัตตา ตัวตนอะไร ให้เห็นว่ามันเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ ถ้าเป็นรูปก็เป็นรูปธาตุ ถ้าเป็นนามไม่มีรูปก็เป็นนามธาตุ ถ้ามันเป็นว่างก็ไม่ต้องเป็นรูปเป็นนาม แต่ที่ไอ้ว่างน่ะมันมันไม่ค่อยจะได้เกี่ยวข้องกัน ปัญหาที่มาทำให้เรายุ่งยากลำบากมันก็อยู่แค่ที่เป็นรูปหรือเป็นนาม เป็นนามเป็นรูปเป็นกายเป็นใจ นี่ถ้ามองเห็นแต่เพียงว่ามันเป็นนามเป็นรูปไม่ใช่ตัวตนว่าดี ถ้าเป็นตัวเป็นตนมันก็มีปัญหาก็มีความทุกข์ เอารูปเป็นตัวตนก็มีความทุกข์ไปแบบนึง เอานามเป็นตัวตนก็มีความทุกข์ไปแบบนึง ไม่เอา คือปฏิเสธไป มันตัดไปว่ารูปและนามเท่านั้น ไม่ใช่ตัวกู ไม่ใช่ตัวตน เนี่ยความรู้เรื่องธาตุมันมีประโยชน์อย่างนี้ ท่านทั้งหลายจะถือเอาประโยชน์ได้มากน้อยเท่าไร ก็แล้วแต่ความรู้หรือการปฏิบัติ ถ้าสามารถปฏิบัติอานาปานสติก็จะชนะได้ ชนะได้ทั้งสามธาตุน่ะ แล้วมันก็มีนิโรธธาตุ เป็นการเป็นอยู่ เป็นการทรงอยู่ หรือเป็นอยู่แห่งชีวิต อาตมาจึงเรียกว่าชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปรมัตถธรรม เพราะมันมีความรู้เรื่องนี้โดยสมบูรณ์ ทีนี้ก็จะพูดถึงคำว่าอายตนะ อายตนะ เด็กๆ หรือคนชาวบ้านไม่ค่อยพูดไม่ค่อยรู้ หรือบางทีก็รู้น้อยไปรู้นิดเดียว คำว่าอายตนะนั่น นั่นแหละมันเป็นไอ้ตัวเรื่อง เป็นตัวเรื่อง อายตนะภายในคือตาหูจมูกลิ้นกายใจ อายตนะภายนอกคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ต้องรู้จักดีอย่างนี้ คำนี้แปลว่าสิ่งที่สัมผัสได้หรือติดต่อได้ หรือเป็นเครื่องติดต่อหรือการติดต่อ คำนี้แปลเป็นไทยยากที่สุด อย่าแปลดีกว่าเรียกตามเดิมน่ะว่าอายตนะ สิ่งที่สัมผัสติดต่อได้ ก็ดูถ้าเราไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจ ถ้าไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจ ปัญหาอะไรจะเกิด เด็กก็ดี ผู้ใหญ่ก็ดี ... (นาทีที่ 46.35) เพราะมันมีตาหูจมูกลิ้นกายใจ ตาหูจมูกลิ้นกายใจนี่ เรื่องมันเต็มไปหมด ไม่มีอายตนะภายใน คือตาหูจมูกลิ้นกายใจมันก็พอแล้ว มันไม่มีปัญหา อายตนะภายนอกก็เหมือนกันน่ะ ถ้ามันไม่มี ไอ้ตาหูจมูกลิ้นกายใจมันก็เป็นหมัน มันไม่รู้จะติดต่ออะไร แต่อันนี้มันเป็นของคู่ มันมีเป็นคู่ อยู่ในโลกนี่ อยู่ในจักรวาลนี้ มีตาหูจมูกลิ้นกายใจเป็นฝ่ายที่จะติดต่อ มีน็นHoHoHolodkiddg
รูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะธรรมารมณ์เป็นฝ่ายที่จะถูกติดต่อ แล้วมันก็มีการติดต่อคือการสัมผัสอายตนะ สัมผัสด้วยอายตนะ ทีนี้มันมีอะไรบ้าง อายตนะอายตนะนี่ ส่วนใหญ่มันก็มีอันอย่างที่ว่านี้ แต่มันยังมีพิเศษ ละเอียด ยิ่งขึ้นไป จนมีอายตนะทางฝ่ายวัตถุธรรมหรือรูป แล้วก็มีอายตนะทางฝ่ายอรูป แล้วก็มีอายตนะที่เหนือรูป เหนืออรูป อายตนะทางรูปธรรมก็คือตาหูจมูกลิ้นกายใจรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะธรรมารมณ์ที่พูดมามากแล้ว อายตนะนี้ธรรมดา มีอยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมดา นี่อายตนะที่สูงขึ้นไปเป็นรูป เป็นอรูป มันต้องมีรูปมันจึงจะมีอรูป อายตนะที่เป็นอรูปมันก็ต้องยิ่งไปกว่าลึกไปกว่าต้องสัมผัสด้วยสิ่งอื่น ไม่ใช่สัมผัสด้วยตาหูจมูกลิ้นกายใจธรรมดา ก็คืออากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่อายตนะอรูปมีอยู่ 4 คืออากาศคือวิญญาณ คือความไม่มีอะไร แล้วก็เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่อายตนะที่ลึกลึกลึกลงไป นี่เป็นทางนามธรรม แล้วก็ชนิดที่ไม่มีรูปเสียด้วย ทีนี้ก็ถึงอายตนะสุดท้าย อายตนะที่เหนือทั้งหมด นั่นก็เรียกว่าพระนิพพาน ถ้าไม่เรียนรู้ธรรมะให้ลึกเพียงพอจะไม่เคยได้ยิน คำว่านิพพานเป็นอายตนะ แต่ถ้าเคยศึกษามาอย่างทั่วถึง ก็มีชัดอยู่ในพระบาลีในพระพุทธดำรัส อัฏฐิภิกขะเวตะทายตะนังนะอาโปนะเตโชนะวาโย (นาทีที่ 49.36) เรื่อยไป คือมีอายตนะอันหนึ่ง ไม่ใช่ดินน้ำลมไฟ ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญานัญจายตนะ ไม่ใช่เกิด ไม่ใช่ดับ ไม่ใช่ตั้งอยู่ นั่นน่ะคือพระนิพพาน ก็เป็นอายตนะ เนี่ยสิ่งที่เราจะสัมผัสได้ด้วยจิตใจเรียกว่าอายตนะ มันก็มีอยู่เป็นสามชั้น คือชั้นรูปธรรมธรรมดา กะอรูปเสียงกลิ่นรสโผฎฐัพพะธรรมารมณ์ นั่น.. (นาทีที่ 50.15) ก็เป็นสูงสุดอยู่ที่กาม ที่ฝ่ายกาม จะสัมผัสอายตนะธรรมดาได้ไม่ยากก็ด้วยจิตธรรมดา ด้วยจิตคนธรรมดาเนี่ย จิตมนุษย์คนธรรมดาเนี่ยก็สัมผัสอายตนะธรรมดาเหล่านี้ได้ และก็สัมผัสอยู่เป็นประจำวัน เอ้าทีนี้จะสัมผัสอายตนะไอ้ที่เป็นอรูปน่ะ อรูปฌานน่ะ ต้องด้วยจิตอื่นและ ต้องด้วยจิตอย่างอื่นและ จิตอย่างธรรมดาสัมผัสไม่ได้ มันต้องเป็นจิตที่อบรมให้มีสมาธิ สมาธิ สมาธิสูงสุดขึ้นไปถึงระดับอรูป นี่จะมาที่จิต จิตถึงระดับอรูป จิตชนิดนี้ก็สัมผัสอายตนะอรูป อรูปฌานทั้ง 4 ได้ นี่ได้จิตอีกชนิดหนึ่งแล้วเห็นมั๊ย ทีนี้จะสัมผัสอายตนะพระนิพพานต้องด้วยจิตอื่นอีก ไม่ใช่จิตที่แล้วมา คือต้องจิตที่อบรมดีแล้ว จิตที่อบรมดีแล้ว ฉลาดแล้ว ไม่มีอวิชชาแล้ว หลุดพ้นแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากไอ้เรื่องโลกๆ บ้าๆ บอๆ นี้แล้ว มันจึงจะสามารถสัมผัสอายตนะคือนิพพาน มีจิตธรรมดาธรรมดาสำหรับสัมผัสอายตนะธรรมดา มีจิตอบรมเป็นพิเศษสูงสุดในฝ่ายสมาธิ จิตนี่ก็สัมผัสอายตนะที่เป็นอรูป จิตสูงขึ้นไปมากเหมือนกัน แล้วมีจิตพิเศษสุดถึงที่สุด ฉลาด สะอาด สว่าง สงบ ไปถึงที่สุด และจิตนี้ก็สัมผัสอายตนะอันสูงสุด คืออายตนะนิพพาน ทีนี้คุณก็สังเกตดูเอาเองสิว่าเรื่องมันยาวกี่มากน้อย มันสั้นยาวกี่มากน้อย มันไกลกี่มากน้อย ไอ้สิ่งที่เราควรจะสัมผัส หรือสัมผัสให้ได้ ไม่เสียชาติเกิดน่ะ มันก็คือนิพพาน นิพพานนายตนะ เป็นจิตให้หลุดพ้น เป็นจิตหลุดพ้นและก็ให้สัมผัส อายตนะนิพพาน ถ้ามัวมาหลงอยู่ในอายตนะธรรมดา รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ จมกาม จมอยู่ในกาม กามธาตุ มันไกลลิบ ต้องขึ้นไปถึงอรูปธาตุ นี่จิตอบรมดีแล้วสามารถสัมผัสอรูปธาตุ นี่ถ้ามันจะต้องไปอีก ไปต่อไปอีก หยุดอยู่แค่นั้นไม่ได้ มันก็เป็นถึงนิโรธธาตุ มีนิโรธธาตุเมื่อใดสัมผัสก็นิพพาน นี่สรุปความเป็นสั้นๆ ว่าคือไอ้เรื่องที่มนุษย์จะต้องรู้จักและสัมผัส สัมผัสให้ถูกต้องนั่น มีอยู่ถึง 3 ชั้น หรือ 3 ระดับ มันคือจิตธรรมดาสัมผัสอายตนะธรรมดา จิตสมาธิถึงที่สุดก็สัมผัสอายตนะที่เป็นอรูป แต่ยังเป็นภพเป็นชาติอยู่นั่นน่ะ ทีนี้จิตที่อบรมจนหลุดพ้น หลุดพ้น เป็นจิตหลุดพ้นแล้ว ก็สัมผัสพระนิพพาน ด้วยนิโรธธาตุเป็นนิโรธธาตุ แล้วก็ดูว่าเรานี่อยู่ที่จุดไหน เราอยู่ที่จุดไหน ติดตันอยู่ที่ อะไร หลงใหลอยู่ที่ ที่ไหน ทีนี้ก็หลงใหลอยู่ที่อายตนะธรรมดาธรรมดาในโลกียะเนี่ย ไอ้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏัฐพะธรรมารมณ์ ก็มีอายตนะ มันก็ติด ติดติดพันอยู่ในอายตนะ มันก็เกิดกิเลส ทุกข์ ผูกพันกันอยู่ที่นี่ จึงเรียกว่าคนธรรมดา ก็ติดพันอยู่ที่อายตนะธรรมดานี่ ไม่ขึ้นถึงอรูป ไม่ขึ้นถึงนิโรธ ถ้ารู้เรื่องนี้ก็กลายเป็นปรมัตถธรรม ถ้าปฏิบัติได้ในเรื่องนี้ มันก็ได้รับผลของปรมัตถธรรม คือหลุดพ้นจากโลกนี้และก็ได้สัมผัสพระนิพพาน เป็นโลกุตตระคือเหนือโลก เนี่ยสิ่งที่เราจะเกี่ยวข้องหรือจะสัมผัส เรียกว่าอายตนะ เป็นผู้สัมผัสก็มี ถูกสัมผัสก็มี การสัมผัสก็มี ล้วนแต่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าอายตนะทั้งนั้น จะทำอย่างไรได้ จะทำได้อย่างไร มันก็อยู่ที่การพัฒนาจิต พัฒนาจิตที่ถูกทาง ถูกต้อง ให้จิตสูงสูงขึ้นไป ขอใช้คำที่ถูกต้องและปลอดภัยก็คือคำว่า ภาวนา ภาวนา นี่ถ้าใช้คำว่าพัฒนา พัฒนานี่มันไม่แน่ แล้วก็พัฒนาในภาษาบาลี วัฒนา วัฒนานี่ มันมีความหมายเพียงแค่มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น บ้าๆ บอๆ ก็เรียกว่าพัฒนา ของรกขึ้นมาก็เรียกว่าพัฒนา ผมยาวเต็มหัวก็เรียกว่าพัฒนา นี่คำว่าพัฒนาแปลว่าบ้าก็ได้ คือมากจนเป็นบ้าก็ได้ แต่เราก็เอามาใช้ในภาษาไทย เป็นคำดี เป็นคำวิเศษไปแล้ว อาตมาเพียงแต่ขอบอกว่าในภาษาบาลี คำว่าพัฒนาน่ะไม่ปลอดภัย แปลว่าบ้าก็ได้ แต่ถ้าใช้คำว่าภาวนา ภาวนานี่ปลอดภัย คือใช้แต่ในทางที่มันถูกต้อง ถูกต้อง ที่เป็นไปเพื่อสันติสุข สันติภาพ หรือนิพพาน โลกยิ่งพัฒนาแล้วก็ยิ่งบ้า พอพูดอย่างนี้พุทธทาสก็ถูกด่า เพราะทั้งหมดก็ต้องการพัฒนา พัฒนา อยู่ทั่วโลกพัฒนา แต่ไม่ได้ยืนยาว ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งบ้า ถ้าภาวนา ภาวนานี่จะไม่บ้า คือมันจะบริสุทธิ์ มันจะสะอาด มันจะถูกต้อง ให้เป็นไปแต่ในทางที่มันถูกต้อง ที่มันเจริญ มันเจริญโดยส่วนเดียว นี้มันก็เกี่ยวกับว่ามีความรู้ถูกต้อง ถ้าไปหลงพัฒนามันก็บ้า จะเรียกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ได้ แต่ถ้ามาพอใจในภาวนา ภาวนา นี่ไม่มีทางผิด มันก็ขึ้นอยู่กับทิฏฐิถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง คนธรรมดามันก็ชอบอารมณ์ทางกามรมณ์ มันก็ชอบพัฒนาพัฒนา ไอ้ส่วนภาวนาภาวนานี่มันชำระชะล้างให้สะอาด ให้สูงถึงความสะอาด คนส่วนใหญ่ก็ไม่ชอบ เพราะว่ามันไม่สนุกมันไม่โลดโผน แต่เมื่อมันพัฒนาสุดเหวี่ยงไปแล้ว ถึงกับเป็นบ้าไปแล้ว มันจึงได้นึกถึงว่า ภาวนากันเถิด จึงต้องมีไอ้สิ่งที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ แหมคำนี้สำคัญเหลือเกิน ไม่ใช่คำสำหรับพูดเล่นๆ นิดเดียว มันดับทุกข์ทั้งหมด หายโง่หายอะไรทั้งหมด เป็นพระนิพพานได้ก็เพราะสัมมาทิฏฐิ ถ้าตรงกันข้ามเรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ มันก็ให้ผลตรงกันข้าม พระบาลีน่ะ สัมมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพังทุกขัง อุปัจคุง มิจฉาทิฏฐิสมาทานา สัตตา คัจฉันติ ทุคคะติง ถ้ามีมิจฉาทิฏฐิก็ไปสู่ทุคคติ สัตตา คัจฉันติ ทุคคะติง ก็สมาทานมิจฉาทิฏฐิ เอ้าสมาทานสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิสมาทานัง สัพพังทุกขัง อุปัจคุง ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงได้เพราะสัมมาทิฏฐิ ก็ดูเอาเองเรากำลังเป็นยังไง นี่กำลังลำบากอยู่ด้วยความทุกข์ ทุคคติก็มีมิจฉาทิฏฐิ ถ้าไม่มีความทุกข์อะไรเลยก็เพราะสัมมาทิฏฐิ แต่มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายน่ะนะ เป็นเรื่องยากเรื่องสูงสำหรับที่จะมีสัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์ เค้าไม่ค่อยสอนกัน ครูบาอาจารย์เป็นพระเป็นเณรเค้าไม่ค่อยได้สอนว่าไอ้สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐินี้ พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสไว้เป็น 2 ขยัก คือสัมมาทิฏฐิธรรมดาสามัญสำหรับคนที่ยังมีอัตตา คนธรรมดามีอัตตา ก็จัดสัมมาทิฏฐิไว้ให้ระดับหนึ่ง ถ้าคนที่มันจัดเป็นอนัตตา เลิกเป็นอัตตากันโดยสมบูรณ์ก็จัดสัมมาทิฏฐิไว้ให้อีกระดับหนึ่งซึ่งสูงกว่าตรงนี้ แต่ก็น่าเห็นใจที่ท่านทั้งหลายไม่ได้เคยอ่านพระบาลี พระสูตรเหล่านั้นก็ไม่ได้เคยได้ยินว่าสัมมาทิฏฐินี้ถูกจัดไว้เป็น 2 ขยัก เรียกว่าสาสวาสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิที่ยังมีเจืออยู่ด้วยอาสวะ อนาสวาสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิที่ไม่มีอาสวะเลย สัมมาทิฏฐิระดับแรกเนี่ยคือสำหรับคนที่ยังเป็นทั่วไปเป็นปัญญาอ่อนเป็นปุถุชนเต็มที่ นี่ก็จัดให้ในลักษณะที่ยังมีตัวตนเหลืออยู่ ความยึดมั่นว่าตัวตนมันยังเหลืออยู่บ้างในทางที่ไม่เป็นโทษไม่เป็นอันตราย สัมมาทิฏฐิที่มีอาสวะหรือความยึดถือตัวตนเหลืออยู่บ้างเนี่ยมาก่อน จำเป็นก่อน เช่นทิฏฐิว่าบุญมีบาปมี บิดามารดามี นรกสวรรค์มี โลกนี้โลกหน้ามี เอ้อโลกนี้มีโลกอื่นมี สัตว์เป็นโอปปาติกะมี เนี่ยสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ยังเจืออยู่ด้วยตัวตน มีภพมีชั้น มีผู้อื่นมีนรกมีสวรรค์ มีพ่อมีแม่ มีบุญมีบาป นี่สัมมาทิฏฐิในชั้นที่ยังสำหรับคนธรรมดา มีอัตตาตัวตนเหลืออยู่ แต่ว่าเพียงเท่านี้มันก็ไม่ค่อยจะมี เพียงเท่านี้มันไม่ใช่สูงสุด มันก็ไม่ค่อยจะมี มันเป็นไม่มีบุญไม่มีบาป ไม่มีสวรรค์ไม่มีนรก สัตว์โอปปาติกะนี่สำคัญมาก คือการเกิดทางวิญญาณ ไม่ต้องเกิดทางท้องแม่ นั่งอยู่ตรงนี้เกิดเป็นอะไรก็ได้ คิดอย่างสัตว์ก็เกิดเป็นสัตว์ คิดอย่างคนก็เกิดเป็นคน คิดอย่างเทวดาก็เกิดเป็นเทวดา คิดอย่างปุถุชนก็เป็นปุถุชน คิดอย่างอริยะก็เป็นอริยะ นี่เรียกว่าโอปปาติกะสัตว์ เพราะมีอันนี้มันจึงง่ายที่เราจะละจากคนชั่วเป็นคนดี ละจากคนดีเป็นคนหลุดพ้นสูงสุดไป ดับไปอะไรไปนิพพาน นี่โอปปาติกะมีก็หมายความว่าอย่างนี้ ถ้าถือว่าไม่มีไม่มีมันก็โง่เต็มที่ มันก็ไม่เกิดเป็นอะไรที่จะดีขึ้นไปตามลำดับได้ สาสวาสัมมาทิฏฐิตามตัวหนังสือก็แปลว่าสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะเจืออยู่ คือมีความรู้สึกว่าตัวตนเจืออยู่ ก็ทำให้ดี ทำให้ดี ทำให้ดี สบายดี พอใจ แล้วก็ได้ นี่สัมมาทิฏฐิภาคแรก นะภาคแรก แต่พอมาถึงอนาสวาสัมมาทิฏฐิมันไม่มีตัวตน มันไม่มีสัตว์ มันไม่มีคน มันเหนือบุญเหนือบาป เหนือนรกเหนือสวรรค์ เหนือการเป็นอยู่ เหนือภพเหนือชาติ ไม่มีการเกิดแก่เจ็บตาย นั้นมันก็เป็นพระอริยะเจ้าบรรลุนิพพานไป สัมมาทิฏฐิชนิดสูงอนาสวา ตามบทว่าสัมมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพังทุกขัง อุปัจคุง อุปัจคุง แปลว่าข้ามล่วง สัพพังทุกขัง แปลว่าทุกข์ทุกชนิด ไม่ว่าชนิดต่ำ ชนิดกลาง ชนิดสูง นี่หมายถึงอนาสวาสัมมาทิฏฐิ ถ้าเรายังไม่ถึงขั้นนั้นก็ยังขั้นอาสวะไปก่อน เชื่อว่าบุญมีบาปมี นรกมีสวรรค์มี ทำไปแต่ในทางที่ให้ดีให้เป็นสุข มีตัวตนเหลืออยู่พอสมควร อย่าให้มากจนถึงว่าเห็นแก่ตน เห็นแก่ตน แล้วก็เป็นสัตว์นรกไปเลย มีตัวตนที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่ดี ดำรงชีวิตเป็นตัวตนที่ดี ก็พอจะเรียกว่ามีสัมมาทิฏฐิได้ แต่เป็นชนิดภาคแรก มันก็ยังมีอาสวะเหลืออยู่ นี่ท่านทั้งหลายก็สำรวจดูอาสวะของเราอยู่ในระดับไหน อยู่ในระดับภาคแรกหรือภาคปลาย แต่ถ้ายังมีตัวตน อยากดีหวังดีอะไรดีอยู่ก็เรียกว่าทางภาคต้นนะ ขออภัยที่พูด ที่มาเรียนธรรมะก็เหมือนกันนะ ถ้าเพื่อตัวกูดี ตัวกูดี มันก็เป็นสัมมาทิฏฐิภาคแรก ถ้ามาเรียนธรรมะเพื่อเลิกตัวกูเสียให้หมด เลิกตัวกูได้หมด นั่นแหละสัมมาทิฏฐิภาคหลังเป็นอนาสวาสัมมาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงตรัสไว้เป็น 2 ขยักอย่างนี้ เพื่อว่าเด็กๆ หรือคนปัญญาอ่อนมันยังไม่สามารถจะลุถึงสัมมาทิฏฐิชั้นสูง ก็เอาธรรมดานี่อาสวะไปก่อน คือละชั่วแล้วก็ทำดี พอมาถึงทำดีนี่ก็ต้องระวัง อย่าบ้าดี เมาดี หลงดี ติดดี มันจะเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่ทันรู้ ละชั่วทำดีถูกต้อง ดำรงอยู่ในความดี เป็นปกติ ไม่บ้าดี เมาดี ไม่หลงดี ก็ใช้ได้แล้ว มันก็มีสัมมาทิฏฐิชนิดที่ควรจะมีในภาคแรกแล้วค่อยๆ ขยายสูงขึ้นไปจนที่ว่า เหนือดีเหนือชั่ว เหนือทั้งหมด ก็คือไม่มีตัวตน เลิกตัวตน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็สัมมาทิฏฐิภาคแรกนั้นเป็นการมีตัวตน ปรับปรุงตัวตนให้ดี ให้อยู่ในสภาพที่ทนได้ พอสัมมาทิฏฐิชั้นหลังก็เลิกตัวตนหมดเลย ไม่ต้องมีตัวตนไม่ต้องมีปัญหาเรื่องตัวตน นั่นมันก็เป็นฝ่ายโลกกุตตระหรือเป็นนิพพาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปรมัตถธรรมน่ะมันมีอยู่ สำหรับอยู่ในโลกนี่ก็มีอยู่ สำหรับธรรมดาทั่วไป ถ้าปรมัตถธรรมสำหรับออกไปจากโลกเลย เหนือโลกไปเลยนั่นก็มีอยู่ มันแล้วแต่ว่าสัมมาทิฏฐิในชั้นไหน เราจงดูตัวเอง รู้จักตัวเองว่ามีสัมมาทิฏฐิในระดับไหน ปรับปรุงให้มันเลื่อนขึ้นไปจนถึงระดับสูงสุด ระดับสูงสุดบรรลุพระนิพพาน พ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไอ้เรื่องดีดีน่ะมันเป็นเรื่องเป็นปัญหา มันถูกแล้วล่ะที่ว่าต้องการความดีกัน แต่ถ้าบ้าดี เมาดี หลงดี แล้วก็แย่ แย่กว่าที่จะไม่มีอะไรดีเลย แล้วมันจึงมีการบ้าบุญ เมาบุญ หลงบุญ บ้าสวรรค์ เมาสวรรค์ หลงสวรรค์ อย่างนี้ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ ดูจะเป็นมิจฉาทิฏฐิเสียมากกว่า ถ้ามีก็ต้องไม่บ้า ไม่หลง ไม่เมาอะไร มีแต่ความถูกต้อง สำหรับจะมีตัวตน มีตัวตนสำหรับที่จะอยู่ในโลกโดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ไม่เป็นปุถุชนเต็มขั้น ไม่เป็นปุถุชนเต็มขั้นก็หมายความว่าเป็นอริยะชนอยู่บ้าง นี่ช่วยได้ด้วยสัมมาทิฏฐิ เราจงดูตัวเองว่าอยู่ในสัมมาทิฎฐิประเภทไหน เอาล่ะทีนี้ก็จะพูดถึงไอ้หัวข้อ ใจความของหัวข้อที่จะพูด มีปรมัตถธรรม เรียนแล้ว ปฏิบัติแล้ว ได้รับผลแล้ว มันก็จะสรุปใจความได้ว่ามันหมดไปหรือมันว่างไปจากอะไร ใช้คำว่าว่าง ว่างไปจากอะไร เพื่อที่จะพูดว่าเต็มหรือมี มีอยู่ด้วยอะไร ปรมัตถธรรมทำให้ว่างจากอะไร ทีนี้มันก็ว่างจากไอ้กิเลส พูดกันง่ายๆ ก็ว่ากิเลสตัณหาอุปปาทาน มันแล้วแต่จะเรียก ถ้าเราเรียกเป็นวิทยาศาสตร์ก็ว่าว่างจากความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ คือดีชั่ว ดีชั่ว ดีชั่ว ว่างจากความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ ทุกคู่ อย่าให้ความหมายของความเป็นคู่มาครอบงำ มันก็มีอิสรภาพ มีเสรีภาพ คือไม่ดีไม่ชั่ว เอ้าพูดกันข้อนี้ก่อน เพราะว่าดีมันก็ยุ่งวุ่นวายไปตามแบบดี ก็ดูคนที่บ้าดี เมาดี หลงดีนี่ ไอ้ชั่วมันก็ไม่ไหว มันกัดเจ็บปวดเหลือทน เหนือดีเหนือชั่วนั่นแน่ะสบาย ให้ชัดให้ต่ำลงมาอีกสำหรับเด็กๆ ก็ว่าเหนือหัวเราะเหนือร้องไห้ หัวเราะนี่ก็หัวเราะเรื่อยไปมันก็ตายเหมือนกันน่ะ ร้องไห้มันก็ไม่ไหว หรือว่าคนโตๆ เนี่ยเหนือดีใจเหนือเสียใจ อย่าดีใจอย่าเสียใจ คือไม่ยินดีไม่ยินร้าย ดีใจดีใจดีใจก็เนื้อเต้น กินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ นั่นดีใจ เสียใจก็กินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ อย่าดีใจอย่าเสียใจ ปกติ ปกติ ไอ้คู่อื่นๆ ก็เหมือนกันน่ะ คู่อื่นๆ ยังมีอีกมาก เหนือแพ้เหนือชนะ ไม่รู้สึกว่าฉันแพ้หรือฉันชนะ ไม่รู้สึกว่ากำไรหรือขาดทุน มันก็เป็นอิทัปปัจยตาตามเรื่องของมัน อย่ามาหลงยึดถือกำไรหรือขาดทุน มันได้หรือเสียกำไรหรือขาดทุน ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ไอ้คู่คู่คู่คู่เหล่านี้ ทุกคู่มันก็เกิดทุกข์ มีการยึดถือยึดมั่นถือมั่นแล้วก็เกิดทุกข์ ทีนี้บางทีจะต้องพูดถึงเรื่องว่าคู่ที่สำคัญที่ลึกซึ้งที่สุด คือความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย ความเป็นชายก็มีปัญหาไปตามแบบชาย ความเป็นหญิงก็มีปัญหาไปตามแบบหญิง ถ้าไม่มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชายมันก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย เมื่อวันก่อนได้พูดถึงทีนึงแล้วว่าจิตแท้ๆ จิตเดิมแท้ๆ ธรรมชาติแท้ๆ ไม่มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชายติดอยู่ในจิตนั้น จิตประภัสสรตามธรรมชาติ ไม่มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย คือมันเป็นจิตที่ว่าง มันจึงประภัสสรก่อนแต่ที่จะเกิดกิเลสใดๆ เรียกว่าประภัสสร ในจิตชนิดนี้ไม่มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย นี้มันก็มีเจตสิกธรรมที่ทำให้ความหมายเกิดขึ้นมาเป็นหญิงหรือเป็นชาย ภูริ
ทรินทรีย์ อินทรีย์แห่งความเป็นชาย อิททรินทรีย์ อินทรีย์แห่งความเป็นหญิง อินทรีย์นี้มันอยู่ในลักษณะเป็นเจตสิกธรรม เกิดขึ้นมาจากสิ่งแวดล้อม เมื่อร่างกายนี้มันใส่อวัยวะหรือต่อมไตสำหรับเป็นเพศชายมาแล้ว พอถึงเวลาถึงโอกาสมันก็ทำหน้าที่ มันจึงค่อยปรุงเป็นความรู้สึกว่าเป็นชายหรือหญิง นี่อินทรีย์แห่งความเป็นชายหรือความเป็นหญิงเพิ่งเกิดและครอบงำจิต สูญเสียความเป็นประภัสสร ก็เป็นหญิงเป็นชาย เป็นชายก็มีปัญหาอย่างชาย เป็นหญิงก็มีปัญหาอย่างหญิง ถ้าโง่เกินไปมันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนั้นเลิกความเป็นหญิงเป็นชายเสียมันก็ไม่มีปัญหาเหล่านี้ แล้วก็อย่าลืมนะธรรมดาแท้ๆ คนธรรมดาแท้ๆ นี่บางเวลาไม่รู้สึกว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย นี่ตอนนี้ไม่ต้องการเรื่องทางเพศเลย มันก็มีอยู่บ้างแต่มันน้อยไป ถ้าอบรมจิตถึงขนาดรู้ความจริงเรื่องนี้แล้วก็ไม่มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย เพราะจิตเดิมแท้ๆ ไม่มีความเป็นหญิงหรือเป็นชาย เมื่อเอากิเลสตัณหาอุปาทานออกหมดแล้ว มันก็ไม่มีความเป็นหญิงหรือเป็นชาย เพราะฉะนั้นพระอรหันต์น่ะไม่มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย แม้ร่างกายจะเป็นหญิงหรือเป็นชาย แต่จิตพระอรหันต์ไม่มีความเป็นหญิงหรือเป็นชาย พ้นจากความเป็นหญิงหรือเป็นชาย พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่มีปัญหาเรื่องเพศหญิงเพศชายอย่างนี้เป็นต้น นี้รวมเรียกว่าว่าง ว่างจากไอ้ความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ๆ คู่ๆ ซึ่งมีอยู่มากมายนับไม่ไหว ดีชั่ว บุญ-บาป สุข-ทุกข์ นรก-สวรรค์ ได้-เสีย แพ้-ชนะ กำไร-ขาดทุน ได้เปรียบ-เสียเปรียบ เป็นคู่ๆ คู่ๆ ทำให้จิตกระเพื่อม คือปรุงแต่งไปทางใดทางหนึ่ง ไม่มีความสงบสุข เลยใช้คำรวมได้ว่าว่างจากอิทธิพลแห่งความเป็นของคู่ ความเป็นคู่ๆ มันมีอยู่กี่คู่ก็สุดแท้ อย่ามาครอบงำจิตใจนี้ จิตใจนี้ก็ว่างจากอิทธิพลแห่งความเป็นของคู่ กุศลก็ไม่เอาอกุศลก็ไม่เอานั่นน่ะมันจึงจะเป็นนิพพาน ถ้ายังมาบ้ากุศลหรืออกุศลอยู่มันไม่นิพพานน่ะ นั้นจึงเป็นเรื่องของเหนือกุศลเหนืออกุศล เหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์ เหนือนรกเหนือสวรรค์ เหนือหมด นี่หล่ะว่างจากอิทธิพลของสิ่งที่เป็นคู่ ท่านไปคิดดูเอง จะสบายกี่มากน้อย ไม่ต้องดีใจ ไม่ต้องเสียใจไม่ต้องหัวเราะไม่ต้องร้องไห้ ไม่ต้องพองขึ้น ไม่ต้องแฟบลง เพียง เพียง เพียงอย่างเดียวเท่านี้ก็เหลือ วิเศษเหลือประมาณแล้ว มันเป็นปกติปกติปกติ สงบเย็น สะอาดสว่างสงบกันอยู่ที่ตรงนี้ นี่ก็ว่างจากความตกอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งที่เป็นคู่ๆ โดยเฉพาะก็ว่าดีชั่ว แล้วมันก็ว่างจากสังขาร จะใช้คำว่าอิทธิพลแห่งสังขารก็ได้ แต่ว่าสังขารสังขารในภาษาไทยนี้ มันผิดความหมายเดิม มันแคบ มันกลายเป็นร่างกาย คำว่าสังขาร สังขารนี่ช่วยตั้งใจฟังให้ดี เดี๋ยวนี้มันหมายถึงอะไร สังขารแปลว่าการปรุงแต่ง มีความหมายได้รอบตัว สิ่งที่ปรุงแต่งสิ่งอื่นให้เกิดขึ้นก็เรียกว่าสังขาร สิ่งที่ถูกสิ่งอื่นปรุงแต่งขึ้นมามันก็เรียกว่าสังขาร กิริยาอาการที่ปรุงแต่งนั่นก็เรียกว่าสังขาร ถ้ารู้อย่างนี้แล้วก็รู้จักคำว่าสังขารครบถ้วน ไปปรุงแต่งเค้าก็เรียกว่าสังขาร ถูกเค้าปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร ไอ้การปรุงแต่งนั่นก็เรียกว่าสังขาร ไปงานศพก็จะได้ยินคำนี้ประเสริฐที่สุด แต่ก็เป็นแรกกันซะหมด เตสัง วูปสโม สุโข จบบทสุดท้ายเพื่อพิจารณา อนิจจา วตสังขารา อุปปาทวยธัมมิโน อุปปัชฌิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปสโม สุโข เตสัง วูปสโม สุโข ถ้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นบรมสุข ทีนี้คนไม่รู้มันก็ตาย ตายเลยบรมสุข อย่างนี้มันโง่ดักดานต่อไปอีก มันไม่ใช่ตาย อุปสมะ สงบซะได้ เสสังสังฆารานัง ซึ่งสังขารเหล่านั้น คือเราจะไม่อยู่ในวิสัยที่จะปรุงแต่งอะไร และไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง แล้วก็ไม่มีการปรุงแต่ง เนี่ยเรียกว่าระงับสังขารเสียได้ นี่จะเป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่ใช่ว่าตายเข้าโลงแล้วก็ระงับสังขารได้ นี่เรียกว่าว่าง ว่างจากสังขารโดยทุกความหมาย ว่างจากสังขาร ว่างจากความเป็นสังขารในทุกความหมาย ไม่ปรุงแต่งสิ่งใด ไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง แล้วก็ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ นี่ว่างว่างจากสังขารคืออย่างนี้ เมื่อปรมัตถธรรมเป็นไปถึงที่สุด มันก็ว่างจากสังขาร ทีนี้จะพูดกันให้เป็นบุคคลาธิษฐาน มันก็เรียกว่าว่างจากภพ ว่างจากภพคือความเป็นหรือความเกิดมาเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง กามภพนี่ก็หลงใหลในกาม รูปภพก็หลงใหลในรูป อรูปภพก็หลงใหลในอรูป เป็นภพเสมอกันเป็น 3 ภพ ว่างจากภพนี่คือนิพพาน ปรมัตถธรรมช่วยให้เกิดความว่างจากภพ และรู้จักภพ ก็ไม่หลงใหลในภพ ก็เรียกว่าว่างจากภพ นี่ให้ละเอียดลงไปมันก็ว่างจากอุปปาทาน กามุปาทานยึดมั่นในกาม ทิฏฐุปาทานยึดมั่นในทิฏฐิความคิด ความเห็น สีลัพตุปาทานยึดมั่นในศีลวัตรปฏิบัติ ปิดความหมายเดิม อัตตวาทุปาทานยึดมั่นในตัวตนจนปากปากพูดออกมาว่าตัวตน อุปปาทานนี่เป็นของมีประจำสัตว์ สามัญสัตว์ กามเป็นที่ตั้งแห่งความพอใจก็ยึดมั่น ยึดมั่นในกาม ทิฏฐิความคิดความเห็นของตนมีอยู่อย่างไรก็ยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นเหตุให้ไม่ยอมใคร คือดื้อดึงไม่ยอมใคร เป็นความโง่ชนิดที่ทำให้ไม่ยอมใคร เถียงพ่อเถียงแม่เถียงครูบาอาจารย์อย่างโง่ๆนั่นน่ะ ด้วยทิฏฐิ ทิฏฐุปาทาน สีลัพตุปาทานการปฏิบัติศีลพรตหรือวัตร มีเพื่อความมุ่งหมายอย่างนี้ มันก็ไปยึดถือเสียเป็นอย่างอื่น เช่นว่าศีลเนี่ยปฏิบัติเพื่อขจัดกิเสลหยาบๆ เพื่อดับทุกข์หยาบๆ มันก็ยึดถือเสียว่าปฏิบัติศีลแล้วก็จะมีสวยมีรวยจะได้ลาภ ทำสมาธินี่ก็จะเพื่อเห็นเลข 3 ตัวเนี่ย ทำปัญญาก็จะได้รู้จักเอาเปรียบคนให้มากที่สุดนี่ ถ้าคิดไปอย่างนี้แล้วก็เป็นสีลัพตุปาทาน คำนี้แปลว่าลูบคลำของที่สะอาดให้มันสกปรก ศีลสมาธิปัญญาเป็นของสะอาด พอความโง่นี้มาแตะต้องมาลูบคลำแล้วกลายเป็นของสกปรก เป็นสีลัพตุปาทาน ระวังให้ดีนะ จะกำลังมีอยู่ เบ้อเร่อเบ้อร่าด้วยกันก็ได้ จะปฏิบัติธรรมะเพื่ออะไร ถ้าเพื่อดับกิเลสดับทุกข์ก็ใช้ได้ แต่ถ้าเพื่อมีตัวกูอย่างนั้นอย่างนี้อย่างนั้น หรือว่าจะให้เกิดการได้เปรียบ เช่นหนทางกิเลสล่ะก็ผิดหมด ว่างจากอุปปาทานทั้ง 4 ไปศึกษาเพิ่มเติมเอาใหม่ กามุวาทานยึดมั่นกาม ทิฏฐุปาทานยึดมั่นทิฏฐิความคิดความเห็น สีลัพตุปาทานยึดมั่นสิ่งที่ปฏิบัติ ให้ถูกและให้มันกลายเป็นผิดเป็นหลงไปเสีย อัตตวาทุปาทานยึดมั่นว่าเป็นตัวตนตัวตนจนออกปากว่าตัวกูของกูอยู่เรื่อยไป ว่างน่ะว่างจากอุปปาทาน เป็นผลของไอ้ปฏิบัติปรมัตถธรรม น่ะที่ละเอียดก็จะพูดว่าว่างจากสิ่งเศร้าหมองทุกชนิดใช้คำว่าสิ่งเศร้าหมองน่ะดี กินความดี มันรวมหมดทั้งบุญทั้งบาปทั้งอะไร ถ้าทำให้เศร้าหมองมันก็ใช้ไม่ได้ คือมันไปยึดมั่นเข้าแล้วมันก็เศร้าหมองไปหมด แต่ในที่นี้เราก็เรียกว่ากิเลส พอว่างจากกิเลสคือกิเลสที่เกิดตามธรรมดานั่นน่ะ แล้วก็ว่างจากอนุสัยแห่งกิเลส คือความเคยชินของกิเลสที่จะเกิดกิเลสอีกนี่ก็ว่าง และก็ว่างจากอาสวะหรืออนุสัยที่มันจะไหลกลับออกมาเป็นอาสวะนี่ก็ว่าง เลยไม่มีการกระทำที่เป็นกิเลส ไม่มีการกระทำที่เป็นการสะสมความเคยชินแห่งกิเลส ไม่เป็นการกระทำที่เป็นกิเลสไหลกลับออกมาจากความเคยชินที่สะสมไว้ นี่เรียกว่าว่างจากสิ่งเศร้าหมองโดยประการทั้งปวง อ้าวทีนี้ก็พูดให้น่าฟัง น่าตกใจ หรือให้ถูกด่าอีกนั่นหละ คอยฟังให้ดีๆ ให้ว่างจากศรัทธา คุณว่ายังไง เออ ก็สอนๆ กันอยู่ให้มีศรัทธา ให้มีศรัทธา ให้มีศรัทธา แต่พอจบสุดท้ายของการปฏิบัติแล้วไม่ต้องมีศรัทธา ถ้ายังไม่เป็นพระอรหันต์นะ มันก็ต้องมีศรัทธาอย่างนั้นอย่างนี้ ศรัทธาในที่พึ่งนั่นน่ะ พอเป็นพระอรหันต์แล้วไม่ได้ไต้องการที่พึ่งอะไร จึงไม่ต้องมีศรัทธาในอะไร พระอรหันต์ไม่มีศรัทธาเหลืออยู่ในอะไร นี่บ้าหรือดี ควรจะถูกด่าหรือไม่ถูกด่า ทีแรกอุตส่าห์มีศรัทธา อุตส่าห์มีศรัทธา ศรัทธา ศรัทธา ปฏิบัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติ พอหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะแล้วไม่ต้องการใช้ศรัทธา นี่เรียกว่าเป็นคนไม่มีศรัทธา นี่หละว่างจากศรัทธาเป็นพระอรหันต์ และที่จะให้ถูกด่ามากขึ้นไปอีก ก็คือว่างจากสรณะ คนธรรมดาเป็นทุกข์ต้องการที่พึ่ง มีสรณะ สรณาคม สรณะ พอเป็นพระอรหันต์แล้วจะต้องการสรณะอะไรล่ะ มันไม่มีปํญหา มันไม่มีความทุกข์ สรณะก็เงียบหายไป ว่างจากสรณะ เนี่ยมันคิดดูสิว่ามันละเอียด สิว่ามันลึกซึ้งสักกี่มากน้อย เดี๋ยวนี้เรามีปัจจัย คือ สร้างสมความดี สร้างสมบารมี ก็มีปัจจัยปัจจัยที่ดี พอถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติแล้วไม่ต้องการปัจจัยอะไร จะเรียกว่าเลิกปัจจัย คือไม่มีการต้องการปัจจัย ก็เรียกว่าเลิก เลิกปัจจัย มันก็ไม่มีอะไรรบกวนจิตใจ แม้แต่ทางกายเราก็ไม่ต้องการให้กระหาย ทางจิตก็ไม่ต้องการให้กระหาย ไม่มีปัจจัยก็ไม่มีการปรุงแต่ง แล้วมันก็อยู่เหนือกฏปฏิจจสมุปบาทส่วนที่จะทำให้เป็นทุกข์ มันก็เหลืออยู่แต่ส่วนที่จะทำให้ไม่เกิดทุกข์ เนี่ยรวมคำว่าว่างจากอะไร ว่างจากอะไร ว่างจากสิ่งที่เป็นปัญหายุ่งยาก หรือเป็นความทุกข์น่ะโดยประการทั้งปวง นับตั้งแต่ว่าว่างจากอิทธิพลของสิ่งที่เป็นคู่คู่คู่ กระทั่งแม้แต่ความเป็นหญิงเป็นชายก็ว่างไป ว่างจากการปรุงแต่งหรือสังขารทุกชนิด ก็ว่างจากภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ว่างจากอุปปาทานทั้ง 4 อุปปาทาน ว่างจากไอ้สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีต้องพึ่งพาอาศัย เดี๋ยวนี้ไม่ไม่ต้องมีเพราะมันหลุดพ้นแล้ว อืมนี่ก็ว่างจากสิ่งเศร้าหมองรบกวนคือกิเลสน่ะทุกชนิด ทั้งชนิดที่เรียกว่ากิเลส ทั้งชนิดที่เรียกว่าอนุสัย ทั้งชนิดที่เรียกว่าอาสวะ ดีกี่มากน้อย ถ้าถามอย่างนี้น่ะผู้ถามน่ะโง่หรือบ้า มันไม่ต้องถามว่าดีกี่มากน้อย มันพ้นดีไปซะแล้ว ทั้งหมดที่ว่านี้ดีกี่มากน้อย ถ้ายังสงสัยอยู่อย่างนี้คือมันยังไม่รู้ ถ้ามันรู้มันจะไม่ถามอย่างนี้ เพราะว่ามันอยู่เหนือไอ้ที่เรียกว่าดีซะแล้ว เนี่ยว่างเนี่ยส่วนที่เป็นว่าง เอ้าทีนี้ก็จะพูดถึงส่วนที่มันไม่ว่างคือเต็มขึ้นมาเต็มขึ้นมากันอีกสักชุดหนึ่ง เมื่อมีการประพฤติกับธรรมในลักษณะปรมัตถธรรมอย่างนี้ มองในทางหนึ่งมันมีในสิ่งที่เรียกว่าเต็มขึ้นมาครบถ้วนขึ้นมา อันแรกก็เต็มแห่งรัตนะ เต็มแห่งรัตนะ มีพระพุทธ มีพระธรรม มีพระสงฆ์เต็มที่ มีสรณะเหล่านั้นเต็มที่ เมื่อหลุดพ้นไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ก็มีความเป็นพุทธะซะเองด้วย เป็นธรรมะซะเองด้วย เป็นสังฆะซะเองด้วย นี่เรียกว่ามันมีความเต็มเปี่ยมแห่งสรณะ นี่แบบนี้มองกันในแง่บวกนะ แต่อย่าไปยึดถือเป็นบวก แต่ตามปกติมันจะมีความเต็มในลักษณะอย่างนี้ขึ้นมา ถ้าจะมองดูในทางที่เป็นผล ก็มันมีความสะอาด มีความสว่าง มีความสงบเต็มอยู่โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องพยายามมันก็มีเต็มอยู่นั่นน่ะ ถ้าปฏิบัติธรรมะถึงขนาดนี้แล้วมันสะอาดเต็ม สว่างเต็ม สงบเต็ม คือไม่สกปรกด้วยกิเลสเรียกว่าสะอาด สว่างไม่มีอวิชชา รู้แจ้งประจักษ์ เอ้าแล้วก็สงบคือไม่มีสิ่งรบกวน ถ้ารวมอีกทีก็เป็นอิสรภาพเสรีภาพเต็ม ไม่มีอะไรรบกวน ไม่มีอะไรผูกพัน ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ก็เรียกว่าเสรีภาพ คือหลุดไปจากสิ่งผูกมัด รัดรึง กักขัง อะไรก็ตาม นี่เราก็เรียกว่าเต็มได้เหมือนกันนะ เต็มไปด้วยคุณธรรมของความสะอาดของความสว่างของความสงบ แล้วก็จะเต็มไปด้วยคุณธรรมที่ควรจะมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิโดยสมควรแก่อัตตภาพของตน เป็นสัมมาทิฏฐิสาสวะก็ได้ อนาสวะก็ได้ ขอให้มีสัมมาทิฏฐิเหอะ แล้วมันก็จะตั้งต้นไปจนถึงจุดปลายทางตามหลักแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เพราะว่าเมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว มันก็มีความต้องการประสงค์ถูกต้องเป็นสัมมาสังกัปโป แล้วถ้าสัมมาทิฏฐิมีดีแล้ว มันก็พูดจาถูกต้อง ทำการงานถูกต้อง ดำรงชีวิตถูกต้อง มันก็มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาทิฏฐิสามารถจะควบคุมให้มีความเพียรพยายามแต่ในทางที่ถูกต้อง มันก็มีสัมมาวายาโม มันก็มีสัมมาสติเพราะมันควบคุมกันอย่างถูกต้อง แล้วก็มีสัมมาสมาธิตั้งมั่นแห่งจิตถูกต้องโดยอัตโนมัติ นี่สัมมาทิฏฐิมันช่วยอย่างนี้ เป็นรุ่งอรุณของพระนิพพานน่ะ คือมีรุ่งอรุณแล้วมันก็ต้องมีแดด มีกลางวัน สัมมาทิฏฐิก็มี แล้วก็จะเหมือนกับมีรุ่งอรุณ แล้วมันก็จะสว่างเป็นกลางวันน่ะ จนบรรลุพระนิพพาน เพราะนั้นเราจึงพยายาม พยายามที่สุดที่จะปรับปรุงสัมมาทิฏฐิ หรือสร้างสรรไอ้สัมมาทิฏฐินี่ให้เต็มที่ อยู่ระดับไหนก็ทำของระดับนั้นให้เต็มที่ นี่ก็เรียกว่าเต็มไปด้วยสัมมาทิฏฐิ รอดน่ะแน่นอน มีอรุณแล้วก็มีสว่างกลางวัน เอ้าทีนี้จะพูดกันในทางที่ลึกไปกว่าก็คือว่า มีชีวิตว่าง มีชีวิตว่าง คำนี้คงจะแปลกหูสำหรับท่านทั้งหลายโดยมากน่ะ เขาเรียกว่าสุญญตาวิหาร วิหารคือการเป็นอยู่ สุญญตาคือความว่าง สุญญตาวิหารแปลว่าการเป็นอยู่ด้วยความว่าง คือด้วยจิตที่ว่างจากอุปปาทาน จิตว่างจากอุปปาทานตลอดเวลา ชีวิตนั้นเรียกว่าสุญญตาวิหาร การอยู่ด้วยสุญญตาคือความว่าง ในจิตใจนั้นไม่มีการยึดถือสิ่งใดโดยความเป็นตัวตนเป็นของตน หรือจะมีอะไรเข้ามา เข้ามา เข้ามา จะปรุงแต่งให้มันไม่ว่าง มันก็ว่าง มันก็ว่าง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น มันก็ว่าง เนี่ยจิตที่อยู่ด้วยความว่าง พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้น่ะจะจะจะ เรียกว่าท่านจะอวดหรืออะไรก็ไม่รู้อ่ะ แต่ท่านก็จะพูดอยู่ว่าตถาคตอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร แล้วไม่ไม่คิดว่าพระอรหันต์จะเป็นผู้อวด แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสตรัสในทำนองที่เรามองเห็นว่าคล้ายๆ กับอวดน่ะ ตถาคตอยู่ด้วยสุญญตาวิหาร จิตว่างจากตัวตน จากของตนอยู่เสมอไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เดี๋ยวนี้นั่งอยู่ในวัดว่าง ไม่มีใครมา ประเดี๋ยวมีคนมาเป็นกองทัพเลย มีราชามหากษัตริย์มา มีกระทั่งว่า ไอ้พ่อค้ามาพราหมณ์มา กระทั่งว่าพวกเดียรถีย์ที่เป็นอุปสรรค ศัตรูมา เอ้ามาดีก็มีมาร้ายก็มีมาเถอะมาเถอะ จิตก็ยังว่าง จิตก็ยังว่าง ไม่หวั่นไหวไปตาม นี่เรียกว่าอยู่ด้วยความว่างถึงขนาดนี้ เราอยู่กันด้วยความว่างขนาดนี้บ้างหรือเปล่า เดี๋ยวมีปัญหาเรื่องกินเรื่องอยู่ เรื่องลูกเรื่องหลาน เรื่องอะไร คอยหวังอยู่แต่ความเป็นบวก คือโชคดีความดีอะไรดีๆ ความเป็นบวกที่จะมาคอยๆ อยู่อย่างนั้นแหละ มันไม่ว่างน่ะ มันหิว มันทรมานอยู่ หรือมีความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวงหึงอยู่ ตัวอย่างเพียงแต่เห็นบุรษไปรษณีย์เข้ามาในบ้านถืออะไรมาหน่อยหนึ่ง คราวนี้จิตมันก็หวั่นไหวแล้ว คือไม่รู้ว่าจดหมายฉบับนั้นเป็นข่าวดีหรือข่าวร้าย อืม สงสัยว่าโทรเลขฉบับนั้นจะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้าย มันหวั่นไหว ตุ๊บตั๊บ ตุ๊บตั๊บ ตุ๊บตั๊บ ไปหมดแล้วนี่ คนธรรมดามันเป็นอย่างนี้ มันไม่ว่าง เพียงถ้ามันเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายขึ้นมา มันก็ยิ่งไม่ว่าง ข่าวดีก็ดีใจจนเนื้อเต้น ข่าวร้ายก็กลัวมันก็ซบเซาไปเลย นี่เรื่องเพียงเท่านี้ เพียงบุรุษไปรษณีย์เดินเข้ามาในบ้านเจ้าของบ้านจิตไม่ว่างและ ถ้าคนขอทานเข้ามาก็คิดไปอย่าง คนร่ำรวยเข้ามาคิดไปอย่าง อันธพาลเข้ามาคิดไปอย่าง เต็มไปด้วยความไม่ว่าง แต่จิตของพระอรหันต์มันว่างไปหมด โดยเฉพาะจิตของพระพุทธเจ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ว่างว่าง ว่างคงที่ตลอดเวลา นี่เรียกว่ามันเต็มอยู่ด้วยความว่าง การเป็นอยู่ด้วยความว่างหรือสุญญตาวิหาร เราควรจะได้เห็นของเราบ้าง หรือมีมีของเราบ้าง มีความสันโดษ ถ้าไม่มีธรรมะมันอยากเรื่อยหิวเรื่อยมีตัณหาเรื่อย พอหมดกิเลสตัณหาก็มีความสันโดษ พอใจ ยินดีที่มีอยู่เนี่ย สันโดษสูงสุดนี้จะไม่มีในหมู่มนุษย์ มันไปมีต่อเมื่อเป็นพระอรหันต์ คุณคงไม่เข้าใจที่จะคัดค้าน มันมีสันโดษแต่ปากน่ะคนในโลกนี้ พอเป็นพระอรหันต์แล้วมันไม่มีกิเลสให้ต้องการมันเลยสันโดษอัตโนมัติ เมื่อมีการบรรลุพระอรหันต์ทันใดนั้นจะมีความสันโดษสูงสุดเกิดขึ้นมาด้วย เพราะมันหมดความต้องการ มันไม่ต้องการอะไร มันก็พอใจ มันก็หยุด มันก็ยินดีในความหยุดต้องการ นี่ถ้าถ้าเรามีธรรมะสูงสุดเราจะมีสันโดษ คือสิ่งที่จะให้เกิดความยินดีพอใจ ฉะนั้นใครๆ อยากคุยไปเลย สันโดษกันเดี๋ยวนี้มันก็สันโดษเด็กๆ สันโดษเล็กๆ น้อยๆ สันโดษแท้จริงมันมีเมื่อหมดตัณหาเมื่อหมดความต้องการ ถ้ามีปรมัตถธรรมถึงที่สุดบรรลุธรรมแล้วมันก็มีสันโดษ มีสันโดษได้จริง แล้วจะพูดอีกสักคำที่กำลังเป็นปัญหา คือจะมีอตัมมยตา ไม่เคยได้ยินใช่ไหม อตัมมยตา ภาวะแห่งจิตใจที่อะไรๆ จะปรุงแต่งไม่ได้ บาปอกุศลก็ปรุงแต่งจิตนี้ไม่ได้ บุญหรือกุศลก็ปรุงแต่งจิตนี้ไม่ได้ ปัจจัยอะไรทางตาหูจมูกลิ้นกายใจก็ปรุงแต่งไม่ได้ โลกธรรมฝ่ายดีก็ปรุงแต่งไม่ได้ ฝ่ายชั่วก็ปรุงแต่งไม่ได้ จิตที่อยู่ในสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อย่างนี้เรียกว่าอตัมมยตา ไม่สำเร็จมาแต่สิ่งปรุงแต่งนั้นๆ เดี๋ยวนี้อะไรมันก็ปรุงแต่งได้ เพราะมันมีได้ทั้งสองทางนี่ ทางบวกทางลบก็ปรุงแต่งกันเรื่อยไม่หยุด ถ้าอยู่เหนือความเป็นบวกเป็นลบแล้วอะไรจะปรุงแต่งได้ ก็เรียกว่ามีอตัมมยตา มีอตัมมยตาก็ปรุงแต่งไม่ได้ ก็ไม่มีกิเลส เพราะมันสิ้นกิเลสมันจึงจะปรุงแต่งไม่ได้ ดังนั้นความเป็นอตัมมยตาก็มีความเป็นพระอรหันต์หรือความหมายแห่งความเป็นพระอรหันต์ ถ้าปรุงแต่งได้ ปรุงแต่งได้ก็เป็นปุถุชน ปรุงแต่งน้อยเข้าน้อยเข้าก็เป็นพระอริยเจ้า ไม่ปรุงแต่งเลยก็เป็นพระอรหันต์ เดี๋ยวนี้จะมีภาวะของจิตที่อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ก็เรียกว่าอตัมมยตา มันตกค้างอยู่ในพระไตรปิฎกไม่มีใครเอามาพูดนะ พออาตมาเอามาพูด ก็ว่าเอาอะไรมาหลอกคน เอาอะไรไม่รู้มาหลอกคน ย้อมแมวขายเลยหละไอ้นี่ ที่จริงมันเป็นเรื่องที่ค้าง ตกค้างอยู่ในพระไตรปิฎก มีอยู่หลายแห่งแต่ไม่ได้เอามาพูดกัน ฉะนั้นก็ควรจะได้ยินซะด้วยว่าอตัมมยตาความที่อะไรๆ ปรุงแต่งจิตนี้ไม่ได้อีกต่อไป มันมาจากการปฏิบัติธรรมะสูงสุดมาแล้วตามลำดับ มีปรมัตถธรรมที่เห็นมาแล้วตามลำดับ ตามลำดับ คือเห็นอนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา แล้วก็เห็นธัมมะทิฏฐตา ธัมมณียามะตา (นาที่ที่ 101.40) อิทัปปัจจยตา แล้วก็เห็นสุญญตา ตถาตา อตัมมยตามันเป็นอันสุดท้ายของความเห็นที่ถูกต้อง เห็นจนไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร อะไรก็มาปรุงแต่งไม่ได้นี่เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรนี่ ภาวะที่ปรุงแต่งไม่ได้นี้เรียกว่าอตัมมยตา จะเกิดกิเลสอีกไม่ได้ ใช้ความรู้สึกเป็นบวกเป็นลบอีกไม่ได้ ไม่หลงดีหลงชั่ว หลงบาป หลงบุญหลงบาป ไม่หลงในอะไรหมด เนี่ยสบายเท่าไร อตัมมยตาคือความที่อะไรๆ ปรุงแต่งจิตไม่ได้ ผู้ใดมีอตัมมยาผู้นั้นเป็นอตัมมโย คือเป็นพระอรหันต์เมื่อถึงที่สุดแห่งปรมัตถธรรมแล้ว อตัมมยตามันก็มีขึ้นมา ก็เป็นอตัมมโย คือเป็นพระอรหันต์ เนี่ยจะเอาหรือไม่เอา จะพอใจหรือไม่พอใจก็ไปดูเอง เดี๋ยวนี้จิตอยู่ในสภาพที่อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ เห็นตามที่เป็นจริงจนไม่ยึดมั่นถือมั่นในอะไรๆ หรืออะไรๆ จะเข้ามาก็ตามใจ เราปรุงแต่งไม่ได้ ทบทวนมาแต่ที่ว่าว่างจากอะไร ว่างจากอะไร แล้วก็มีอะไร มีอะไร มีอะไร สรุปรวมแล้วมันว่างจากความหลงที่ของที่เป็นคู่แล้วมันก็เต็มเปี่ยมอยู่ด้วยความปกติ ปกติ ปกติ เป็นอตัมมยตา เนี่ยเรื่องมันก็จบ ไอ้ที่ว่างว่างก็ว่างไปจากที่มันควรจะมี เต็มเต็มเต็มมันก็อัตโนมัติ เต็มเต็มเต็มขึ้นมา ตามที่มันจะเต็มขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เราก็ถึงที่สุดแห่งธรรมะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ เรื่องมันก็มีอยู่อย่างนี้ แล้วทีนื้ก็อยากจะพูดอีกสักนิดก็เรื่องนิพพาน เมื่อตะกี้บอกแล้วเดี๋ยวจะพูด อาตมาก็ขอพูดเรื่องนิพพาน นิพพานนี่เป็นเรื่องที่น่าสงสาร พูดอย่างนี้คุณก็คงจะฟังไม่ถูก นิพพานน่ะเป็นเรื่องที่น่าสงสารเพราะคุณ คนมนุษย์น่ะมันมองข้าม ไอ้คนปุถุชนมันมองข้ามนิพพาน มันไม่รู้จักคุณค่าของนิพพาน คือความที่ไม่ปรุงแต่ง หยุดปรุงแต่ง สงบระงับ ไม่มีกิเลส แม้ชั่วขณะนี้มันก็เป็นนิพพาน ถ้ามันปรุงแต่งตลอดวันนะ ถ้าปรุงแต่งตลอดวันตลอดคืน เราก็หัวเราะร้องไห้กันตลอดวันตลอดคืนมันก็ตาย ฉะนั้นการที่มันไม่ปรุงแต่ง ไม่ปรุงแต่งตามธรรมชาตินั้นมันมีอยู่ เช่นเวลาพักผ่อนนอนหลับ มันก็ไม่ปรุงแต่ง หรือตื่นอยู่นี่บางเวลามันก็ไม่ปรุงแต่ง ถ้ามันปรุงแต่งเรื่อยไป เราก็ยินดียินร้าย ยินดียินร้าย ยินดียินร้าย เดี๋ยวมันก็ตาย ไม่กี่ชั่วโมงก็ตายแล้ว พระนิพพานน่ะคือความที่หยุดถูกปรุงแต่ง ไม่ยินดียินร้าย สงบเย็น นั่นน่ะมันเป็นความหมายของนิพพาน ชีวิตจึงไม่ตาย ถ้าปรุงแต่งกันตลอดเวลาไม่ไม่ถึง 2 วันก็ตาย ตายเพราะการปรุงแต่งของกิเลส มันจึงมีเวลาการพักผ่อนโดยธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ อาตมาเห็นลูกหมาแล้วก็อายมัน ลูกหมาบางทีมันก็นั่งหลับตาอย่างเนี้ย สบาย เวลานั่นมันก็หลับไม่มีการปรุงแต่ง แล้วลูกหมามันยังทำเป็น แล้วเราจะทำไม่เป็นมันก็ ก็แย่มาก มันจึงมีเวลาที่ไม่ปรุงแต่ง ที่หยุด ที่สงบ ที่ระงับ จะเรียกว่าสมาธิก็ได้ จะเรียกอะไรก็ตามใจ แต่ว่าเวลานั้นมันไม่มีอะไรปรุงแต่ง มันไม่มีความร้อนแห่งกิเลส ทีนี้ก็มีความหมายแห่งนิพพาน ช่วยให้สิ่งที่มีชีวิตได้รอดตายอยู่ได้ เพราะว่ามันมีการพักผ่อนที่สมควร คือเวลาที่กิเลสไม่ปรุง ไม่รบกวนมันมีบ้าง มันสมควร แล้วมันจึงไม่ตาย นี่คือนิพพาน ทุกคนน่ะมันรอดอยู่ได้ด้วยความ ความจริงข้อนี้ แต่แล้วก็ไม่มีใครขอบคุณนิพพาน นี่นี่อาภัพที่สุด อาตมาจึงใช้คำว่าน่าสงสารพระนิพพาน ที่ทำทำประโยชน์ให้มากแล้วไม่มีใครขอบคุณ จึงมองเห็นความจริงข้อนี้ แล้วก็ส่งเสริมให้มันถูกต้อง ให้มันพักผ่อนจริง พักผ่อนจริง เวลาพักผ่อนมีความเป็นนิพพานคือสงบเย็นไม่ถูกปรุงแต่ง สงบเย็น สงบเย็น หล่อเลี้ยงไว้ให้เพียงพอ 24 ชั่วโมงให้สงบเย็นสัก 2-3 ชั่วโมงก็พอแล้ว แต่ธรรมดามันก็มีการนอนหลับพักผ่อนอยู่ด้วย แต่ถ้ากิเลสมันยังรบกวนยังฝันอยู่มันก็ไม่ได้พักผ่อน รู้ธรรมะรู้ธรรมะจนเกลียดไอ้ความปรุงแต่งแล้วมันก็จะพักผ่อนโดยอัตโนมัติ เรียกว่ารู้จักพระนิพพาน ช่วยชีวิตคนทุกคนอยู่ตลอดเวลา นี่เรียกว่านิพพานตามธรรมชาติ ที่เราไม่ได้ตั้งใจจะทำมันก็มี มันก็มี ขอบคุณขอบคุณ นี่นิพพานเกิดเองตามธรรมชาติ หล่อเลี้ยงสิ่งที่มีชีวิตไว้ไม่ให้ตายหรือเป็นบ้า ถ้ามันปรุงแต่งคิดนึกเรื่อยมันก็เป็นบ้า แล้วในที่สุดมันก็คือตาย นี่นิพพานตามธรรมชาติก็ให้รู้จักไว้ จัดเวลา จัดทุกๆ อย่างให้เหมาะสมที่จะมีการพักผ่อน ใน 24 ชั่วโมงให้มันมีการพักผ่อน คืออยู่กับพระนิพพานบ้างน่ะตามสมควร เรียกอย่างพวกอื่นก็เรียกว่าอยู่กับพระเป็นเจ้าซะบ้างตามสมควรน่ะมันก็เป็นผลดี นี่เราอยู่กับพระนิพพานกันเสียบ้าง หยุดการปรุงแต่งกันเสียบ้างมันก็ดี เนี่ยคือคำว่านิพพานแปลว่าดับลงไปแห่งความร้อน ความร้อนคือกิเลส กิเลสไม่ต้องมายุ่งเมื่อนั้นก็เป็นนิพพาน นิพพานแปลว่าเย็น นิพพานไม่ได้แปลอย่างอื่นนะ นะก็เย็นที่นี่และเดี๋ยวนี้ไม่ต้องรออีกหลายหมื่นปี ตายแล้วจึงจะได้นิพพาน ไม่ต้องตายและไม่ต้องรอ อีกหลายหมื่นปี ถ้าไม่มีกิเลสไม่รบกวน ได้เท่าไรมันก็นิพพานเท่านั้นที่นี่และเดี๋ยวนี้ จึงปฏิบัติธรรมะสูงสุดในชั้นปรมัตถธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหลักเกณฑ์ของอานาปานสติ เป็นนายเหนือร่างกาย ได้เป็นนายเหนือเวทนา ได้เป็นนายเหนือจิตได้ และได้เป็นนายเหนือสิ่งที่มาปรุงแต่งที่จะมาหลอกให้ยึดมั่นถือมั่นได้พอ เป็นนายหมดเนี่ยเราก็พอ เนี่ยเป็นการมีนิพพาน การอยู่กับนิพพานในระดับใดระดับหนึ่งตามสมควรแก่อัตภาพ นี่เป็นนิพพานโดยหลักทั่วๆ ไป เย็นเพราะไม่มีไฟ กิเลสคือไฟ เมื่อเย็นก็เรียกว่านิพพานทางจิตใจ ก่อนแต่พุทธกาลดึกดำบรรพ์โน่นเค้าก็เรียกว่านิพพาน ทางวัตถุน่ะไม่ได้มีนิพพานเรื่องนี้สักที แต่มนุษย์ก็รู้จักคำว่านิพพาน นิพพานก็ดับแห่งไฟ ดับแห่งของร้อน ถ่านไฟแดงๆ ไอ้เตาลุก เอ่อออกมาจากไฟ เย็นลงดำก็เรียกว่าถ่านไฟนิพพาน ข้าวหุงสุกใหม่ๆ ร้อนกินไม่ได้ รอตอนเย็นกินได้ก็ ก็เรียกว่าข้าว ข้าวสุกมันนิพพาน อะไรมันร้อนเอาน้ำราดให้มันเย็นลงไปก็เรียกว่าทำให้มันนิพพาน ความเลวร้ายอะไรทำให้มันสงบระงับลงไป ก็เรียกว่านิพพาน นิพพานอย่างนี้ก็พูดกันอยู่เป็นภาษาธรรมดา ไม่ใช่ภาษาธรรมะไม่ใช่ศาสนา แต่พอเกิดพระศาสนา เกิดเรื่องความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์หรือว่ากิเลสขึ้นมา ก็ยืมเอาคำนั้นน่ะมาใช้ เพราะคนทั้งหลายรู้จักดีว่าเย็นน่ะมันคืออะไร เย็นน่ะคือไม่หนาวไม่ร้อน หนาวก็ไม่ไหว ร้อนก็ไม่ไหว เย็นคือพอดีสบายดี เนี่ยมันอยู่ระหว่างที่ว่า ไม่บวกไม่ลบ ไม่บวกไม่ลบ ถ้าบวกก็ร้อนอย่างบวก ถ้าลบก็ร้อนอย่างลบ สุขก็ยุ่งอย่างสุข ทุกข์ก็ยุ่งอย่างทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ มีความหมายเป็นนิพพาน นิพพานระดับสูงสุดของพระอรหันต์ท่านจัดไว้เป็น 2 ขั้น นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ หมายความว่าพระอรหันต์หมดกิเลสแล้วแต่ความรู้สึกทางอายตนะยังมีอยู่ ถ้ารู้สึกสุขทุกข์ สุขเวทนาทุกขเวทนาอย่างนี้เหลืออยู่ คืออายตนะยังทำหน้าที่อยู่ นี่เรียกว่าท่านยังมีอุปาทิข้อนี้เหลืออยู่ คือความที่อายตนะยังทำหน้าที่ตามหน้าที่ พระอรหันต์ประเภทนี้จึงรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ รู้สึกว่าอย่างนี้ก็เรียกว่าพอใจอย่างนี้ก็เรียกว่าไม่พอใจแต่ว่าไม่ได้ปรุงแต่งให้จิตใจเป็นกิเลสเพราะกิเลสมันสิ้นแล้ว แต่อายตนะของเรารู้สึกความหมายสูงสุดสุขทุกข์ยังเหลืออยู่นี่เรียกว่า สอุปาทิเสส นิพพานธาตุ นี่ต่อไปจากนั้นอายตนะไม่ทำงานอย่างนั้นไม่มีความรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เลย นี่เรียกว่า อนุปาทิเสส นิพพานังธาตุ อายตนะไม่ทำหน้าที่แยกเป็นบวกเป็นลบเป็นสุขเป็นทุกข์ เวทนาเป็นของเย็น สีติปวิธสันติ สัพพะเวทยิตานิ (นาทีที่ 112.15) เวทนาอะไรจะเกิดขึ้นก็เป็นเย็นไปหมด ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบคือไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ นี่เรียกว่าอนุปาทิเสส นิพพานังธาตุ แต่เค้าอธิบายกันอย่างอื่นก็มีนะ ตามใจ แต่ท่านต้องตัดสินเอาเองนะว่าคำอธิบายอันไหนช่วยให้ดับทุกข์ได้ก็เอาอันนั้นแหละ นิพพานธาตุสอนตามพระบาลีอธิบายอย่างนี้ แต่คนสอนสอนกันอยู่ไม่ได้สอนอย่างนี้ พระอรหันต์เป็นๆ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ตายเรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพานจบ มีประโยชน์อะไรล่ะตายแล้ว ไม่ต้องตาย ที่นี่มีนิพพานได้ทั้งสองความหมาย ลองพยายามข้ามชั้น ไม่ได้อวดดี แต่ลองพยายามทำตาม อะไรมันจะทำให้เกิดพอใจหรือไม่พอใจขึ้นมาอย่าให้มันเป็นอย่างนั้นเอง เช่นว่า ลิ้นกินอาหารอย่าให้มันมีความหมายเป็นอร่อยหรือไม่อร่อย เพราะอย่างนั้นเอง ถ้าอาหารคำนี้มันไม่อร่อย ก็มันอย่างนี้เอง อาหารคำนี้มันอย่างนี้เองเนี่ย นี่ถ้ามันเปรี้ยว ก็มันอย่างนี้เองจะไปโกรธแค้นทำไม ถ้าหวานก็อย่างนี้เองจะไปยินดียินร้าย จะไปยินดีไปกับมันทำไม ฝึกอย่างนี้สิ ฝึกให้คงที่อย่างนี้ได้ ฝึกนิพพานโดยตรงโดยเร็ว ตามรอยพระอรหันต์ ไม่ให้เกิดความหมายเป็นบวกหรือเป็นลบ ไม่ยินดีหรือไม่ยินร้าย อ้าวทีนี้ถ้ามันรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ รู้สึกยินดีหรือยินร้ายก็มันเท่านั้นเองเช่นนั้นเองแค่นั้นเอง อย่าเอามาปรุงจิตใจให้หวั่นไหวมากมายไป นี่ก็ได้เหมือนกัน เป็นการตามรอยพระอรหันต์ ในความหมายของพระนิพพานอยู่มากเหมือนกันแหละ สิ่งนี้ให้เกิดความยินดีหรือยินร้ายตามปกติ เรารู้สึกไม่ให้มันเกิด แล้วต่อไปมันก็จะไม่มียินดียินร้าย มันก็เย็น เย็นสนิทไม่ปรุงเป็นบวกไม่ปรุงเป็นลบเนี่ยนิพพานสุดท้าย อนุปาทิเสสนิพพานังธาตุ ในพระบาลีสุภาษิตอธิบายตรัสไว้อย่างนี้ เรายังไม่เป็นพระอรหันต์ แต่เรายังอยากจะตาม เดินตามรอยท่านน่ะไปโดยเร็ว ก็ฝึกอย่างนี้ก็แล้วกัน เมื่ออายตนะสัมผัสอารมณ์อย่าให้มันเกิดยินดียินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ ถ้ามันเกิดพอใจหรือไม่พอใจก็รู้เท่านี้เองเช่นนี้เองไม่มากกว่านี้ ไม่มากกว่านี้มันเป็นเช่นนี้เอง ที่พอใจก็เช่นนั้นเองไม่พอใจก็เช่นนั้นเอง หวานก็เช่นนั้นเอง ขมก็เช่นนั้นเอง นี่มันก็จะได้ง่ายเข้า หรือตามรอยพระอริยะ พระอรหันต์ได้ง่ายเข้า ใกล้พระนิพพานได้ง่ายเข้า เดี๋ยวนี้ที่นี่ ไม่ต้องรออีกหมื่นปีอีกแสนปี และไม่ต้องรอต่อตายแล้ว ศึกษาพระนิพพาน ศึกษาพระนิพพาน ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานอยู่ตลอดเวลาโดยลักษณะอย่างนี้ ท่านไม่เข้าใจก็ศึกษาให้เข้าใจ ชั่วเวลาที่มาศึกษากัน 9 วัน 10 วัน แต่เสร็จแล้วให้การศึกษานั่นติดไปจนตลอดชีวิต ปฏิบัติได้จนตลอดชีวิต ก็คุ้มค่า เช่นมันไม่ยินดียินร้ายมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง ขมก็เช่นนั้นเอง หวานก็เช่นนั้นเอง ก็เลิกกัน ไม่ยินดียินร้าย มันเป็นสักว่านามและรูป สักว่าธาตุตามธรรมชาติเหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ฝึกอย่างนี้มันเร็วที่สุด เป็นวิปัสสนาสูงสุด เร็วที่สุดแต่ว่าก็ไม่มีใครคิดจะทำแล้วไม่รู้จักที่จะทำ ควบคุมอายตนะไม่ให้หวั่นไหวไปในทางบวกหรือทางลบ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ มันก็ค่อย รู้เข้า รู้เข้า มันก็จะได้ถึงที่สุดเอง แต่เดี๋ยวนี้การศึกษาแผนใหม่เค้าเกลียดนิพพาน เค้าจัดพระนิพพานไว้ว่าเป็นข้าศึกของการพัฒนา ใครมาสนใจนิพพานแล้วคนนั้นจะไม่พัฒนา เค้าว่าอย่างนั้น ก็ตามใจเขา อาตมาว่าสนใจพระนิพพานนั่นน่ะคือการภาวนาที่จะนำไปสู่ผลดี ไม่พัฒนาให้เป็นบ้า ไม่พัฒนาจนเป็นบ้า พัฒนากันหลงจนเป็นบ้าในโลกเต็มไปทั้งโลก พัฒนาโดยกิเลส ภาวนาโดยปัญญา โดยสัมมาทิฏฐิ สร้างสัมมาทิฏฐิเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น สามารถควบคุมอายตนะตาหูจมูกลิ้นกายใจ ให้สัมผัสสิ่งเหล่านั้นเข้ามาในลักษณะที่ว่ามันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธาตุตามธรรมชาติเป็นต้น แล้วก็ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ความปกติปกติ ก็จะเกิดขึ้นเกิดขึ้น มากขึ้นมากขึ้น ก็จะถึงระดับเป็นพระอริยเจ้าชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วก็เป็นพระอรหันต์ในที่สุด สรุปความว่าเนี่ยคือการมีชีวิตอยู่ด้วยปรมัตถธรรม หรือผลของการเป็นอยู่ด้วยปรมัตถธรรมที่ชีวิตนี้จะได้รับ นี่เป็นการบรรยายในครั้งนี้ 2 ชั่วโมงเศษนั้น ก็ขอขอบคุณ ขอบคุณ เป็นผู้ฟังที่ดี ถ้าเข้าใจได้ด้วยแล้วยิ่งดียิ่งดี ปฏิบัติได้ด้วยก็ยิ่งดียิ่งดี นี่อย่างน้อยก็ขอขอบคุณที่ตั้งใจฟัง ไม่ต้องพูดชนิดที่ว่าเป่าปี่ให้เต่าฟัง เพราะว่ามีคนฟังถูก ขอขอบคุณขอบคุณ ขอยุติการบรรยาย
เดินโดยไม่ต้องมีผู้เดิน บทเรียนสูงสุด ทำโดยไม่ต้องมีตัวผู้ทำ คือไม่มีอัตตา มีตัวตน มีแต่การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ