แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสมาชิกสหายธรรมะปัญญา และท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย การบรรยายครั้งนี้อาตมาจะกล่าวโดยหัวข้อ ว่า ธรรมะ จริยะ ปริโยสาร(นาทีที่ 01.23 ) นั่นคือจุดจบหรือจุดสุดท้ายสิ้นสุดลงแห่ง พรหมจรรย์ จะได้พูด ได้พูดถึงจุดตั้งต้นแห่งพรมจรรย์ และก็องค์ของพรหมจรรย์ และก็จุดสุดท้ายของพรหมจรรย์ เพื่อความสมบูรณ์ โดยรู้สึกว่าไอ้คำ ๆ นี้ไม่เป็นที่เข้าใจโดยประจักษ์ อีกแต่พวกเราเป็นส่วนมาก ที่จริงคำว่าพรหมจรรย์ในภาษาบาลีนั้น ใช้หลายความหมาย แต่ในความหมายนี้ ให้หมายถึงการปฏิบัติ เพื่อถึงที่สุดแห่งความทุกข์ ในความหมายอย่างอื่น ต่ ำ ๆ ลงมาก็มี ก็คือความไม่เคยประกอบกิจกรรมของคนที่อยู่กันเป็นคู่ นี้ก็เรียกว่าพรหมจรรย์ การตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอธิษฐานจิตไม่ให้เด็ดขาด โดยเด็ดขาด ไม่ให้เว้นแม้แต่สัก ไม่ให้เสียไปแม้แต่สักครั้งเดียว จนตลอดเดือนตลอดปี ตลอดชีวิต การกระทำที่จริงจังอย่างนั้นก็เรียกว่าพรหมจรรย์ ก็ยังมีความหมายอย่างอื่นอีก เดี๋ยวนี้นอกจากหมายเฉพาะความปฏิบัติธรรมะในพระพุทธศาสนา เพื่อจะทำที่สุดแห่งความทุกข์ ทุกขส นันตะ กริยายะ (นาที่ที่ 03.16 ) เพื่อกระทำที่สุดแห่งความทุกข์นี้คือตัวพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นตัวพระพุทธศาสนาเอง สอนท่านทั้งหลายแจ่มแจ้ง ในส่วนทิษฎี(นาที่ที่ 03.34) ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนที่จะต้องปฏิบัติ ปฏิบัตินั้นเป็นอย่างไร แล้วผลที่มาออกมาอย่างถูกต้องนั้นถูกต้องเป็นอย่างไร บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมจึงไปพูดถึงผลที่จะได้ในตอนสุดท้าย นี่ก็เพื่อความประสงค์อันถูกต้อง เพื่อมีความตั้งใจถูกต้องว่าจะ เอาอะไรจะได้อะไร ถ้าความหมุ่งหมายนั้นผิด และไอ้การกระทำข้างต้นมันก็พลอยผิด วัตถุประสงค์สุดท้ายก็ถูกต้องด้วยเหมือนกัน ดังนั้นเราจึงรู้จัก ปริโยสาน ถึงระดับสุดท้ายหรือผลสุดท้าย หรืออันสุดท้ายของพรหมจรรย์ด้วย จดจุดจบจุดสุดท้ายของพรหมจรรย์ สรุปลงได้ด้วยคำพยางค์เดียวในภาษาไทย ว่า ว่าง ว่าง อย่างเดียวนะ เป็นคำสรุปความทั้งหมดของจุดจบ ของ พรหมจรรย์ ในฐานะเป็นปรากฎการณ์ก็ได้ ในฐานะเป็นผลที่จะพึงได้รับ ก็ได้ เชื่อแล้วให้มันจบลงที่ตรงนั้น แล้วปัญหามันก็มาอยู่ตรงที่ว่าง ว่าง แม้ในประเทศไทยเราก็น่าสงสารที่ไม่เข้าใจคำว่า ว่าง นักศึกษาในกรุงเทพ ยังเข้าใจคำว่า ว่าง ว่างแปลว่าสูญเปล่า คำว่าสูญ สูญญะ มันแปลว่าว่าง แต่ก็มีความหมายเป็นสูญเปล่าสูญญะสูญเปล่า ที่แท้สูญญนั้นคือว่าง เนี่ยมีปัญหาอยู่ อีกทางหนึงเขาก็ว่าไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเสียเลยมันก็แปลก มันกลายว่าว่างชนิดที่มีสิ่งที่ควรจะมีถึงที่สุด คนที่ว่าว่างไม่มีอะไรเลย ก็ไม่นึกคิดอะไรเลย ไม่รู้สึกอะไรเลย หรือทำอะไรก็ไม่ได้ ว่างแบบนั้นไปเสียก็มี ว่างอย่างไม่มีความคิด นึกรู้สึกหรือการกระทำ อีกทางหนึ่งว่าว่างสูญเปล่าของเน่าจริง(นาทีที่ 6.30) อย่างเนี้ย เป็นข้าศึกในการปฏิบัติธรรม นึกไว้เข้าใจถูกต้องว่าว่างนี่มัน ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย แล้วก็ไม่ใช่สูญเปล่า ในความว่างนั้นก็มีคุณค่า เพราะว่ามันว่างจากความรู้สึกว่าตัวตน ความรู้สึกอย่างอื่นที่ควรจะมีมันยังมีอยู่ครบถ้วน แต่ความรู้สึกว่าตัวตนหรือความรู้ความคิด ความเห็นความยึดถือว่าตัวตน นั้นมันไม่มีเลย ก็เลยเรียกว่าว่างอย่างยิ่ง อย่างยิ่งคือมันไม่มีสิ่งที่รู้สึกว่าสำคัญที่สุดก็คือตัวตน เพราะว่าว่างจากตัวตนคือว่างอย่างยิ่ง ส่วนความคิด ความนึกความรู้สึกหรือการกระทำที่เป็นประโยชน์มันก็ยังมีอยู่ สำหรับผู้ถึงแล้วซึ่งความว่าง ผู้ถึงแล้วซึ่งความว่าง พระบาลีที่เกี่ยวกับความว่าง มีอยู่ชัด ไม่ต้องสงสัยหรือไม่ต้องเถียงกัน ยัง ยังกะโลโกสูญโญ อัตเตนวา อัตนีเยวา(นาที่ที่ 7.56) มีเท่านี้ โลกนี้ว่างจากอัตตา จากอัตนียา คำสองคำนั้น จำไว้ด้วยเถอะมันมีประโยชน์ ว่างจากอัตตา คือตัวตน ว่างจากอัตนียา คือสิ่งที่เป็นของตน อัตนียาแปลว่าเกี่ยวข้องอยู่กับตน ว่างจากของตน และว่างจากสิ่งที่เป็นของ ของตน ของตนเป็นของตน มันว่างจากตนแล้วมันก็ว่างจากของ ๆ ตนนั้นก็แน่นอน แต่เพื่อให้ชัดให้หมด จดสิ้นเชิง พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสอย่างพระพุทธเจ้าชัดเจนที่สุด ว่าว่างจากตน ว่างจากของตน อัตตาตัวตน อัตนียาแปลว่าของตน ถ้าในลักษณะที่เป็นอารมณ์ร้าย อารมณ์โกรธเคืองว่าตัวกูของกู จะเป็นภาษาที่ไพเราะกว่านั้น อะหังการะ มะมังการะ กระทำความรู้สึกว่า อหังคือฉัน มะมังการะ จะทำรู้สึกว่าของฉัน นี่เป็นเรื่องเดียวกัน ว่าตนและของตน คำว่าว่าง ในคำที่เป็นหลักมันว่างจาก มันว่างเฉพาะจากสิ่งที่เป็นตัวตนหรือของตน อย่างอื่นมันก็ไม่ต้องว่าง สติปัญญาหรือการกระทำที่ถูกต้องก็ยังมีอยู่ แม้ในสิ่งที่เรียกว่าจิตว่าง จิตว่างนั้นนะ ทุกคนก็มักจะคิดว่าไม่มีความรู้สึกไม่มีอะไรเลย นอนตายเหมือนกับต้นไม้ แต่มันกลับมีอะไรมาก มากกว่าธรรมดา มีสติปัญญา เป็นอิสระ สูงกว่าธรรมดา ในจิตที่ว่างนั้นกลับเต็มไปด้วยสติปัญญาความรู้ที่ถูกต้องและก็สามารถกระทำสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุด อย่างที่พระอรหันต์ทั้งหลายท่านกระทำกัน กระทำกันคอยมองไปที่นั่นว่าพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้านั่น ท่านทำอะไรได้บ้าง มองไปถึงว่ามีความเสียสละมากน้อยเท่าไหร่ ถ้าไม่ว่างจากตัวกูมันไม่เสียสะ ว่างจากตัวกูแล้วเสียสละ สูงสุด ดูพระพุทธเจ้าเป็น เป็นตัวอย่างหรือว่าเป็นเครื่องทดสอบ พูดกันสักนิดก็จะดีนะ ว่าพระพุทธเจ้าท่านเสียสละอย่างไร ตามที่ถือกันเป็นหลักทั่วไปในบาลี หัวรุ่งอย่างนี้ อัพภาสัพเพวิโลกะนัง(นาทีที่ 11.08 ) หัวรุ่งอย่างนี้ ท่านสอดส่องพระยาน ไว้ว่าวันนี้จะไปทำอะไรที่ไหน นี่หมายความเมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อไม่ใช่ว่ายังไม่เป็น ไม่ใช่เมื่อพระพฤติพรหมจรรย์ คือประพฤติพรหมจรรย์เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนี่ก็หัวรุ่งอย่างนี้ทรงใคร่ครวญจะไปทำอะไรที่ไหนในวันนี้ คือประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านในเมืองที่ท่านเกี่ยวข้องอยู่ว่ามันควรจะไปทำอะไรที่ไหน รุ่งขึ้นก็ไปบิณบาต หกพันเหสทินทันตะ(นาทีที่ 11.48 )ไปที่นั่นไปที่ตรงนั้น ไปที่ตั้งจิตตั้งใจวง่าจะไปแก้ไข หรือไปโปรดหรือไปช่วย หาหนทางวิธี ได้พบปะกับบุคคลคนนั้นที่เป็นตัวเหตุการณ์หรือต้นเหตุ และก็ได้พยายยามโดยอุบายที่ฉลาดลึกซึ้งจนสำเร็จประโยชน์ตามที่พระองค์ประสงค์ ก็คือได้ได้พบปะสนทนา ได้ยอมให้ถามปัญหา ได้โต้เถียง ได้ขัดแย้ง อะไรก็แล้วแต่ชนิดที่สุดสำเร็จประโยชน์ในการทำให้ผู้นั้น เห็นธรรม เข้าถึงธรรม บรรลุธรรม เพราะฉะนั้นคำว่าไปบิณฑบาตไม่ได้ไปขอทานอาหาร นี้มันมุ่งหมายถึงการไปทำกิจ บางทีผ่านไปในหมู่ข้าศึก เดรถีอื่นที่มันฆ่าศึกแก่กันและกันก็ยังทำได้ นี้ตอนเที่ยงก็พักผ่อนเพราะว่าไปฉัน บางทีก็รับอาหารเอาไปฉัน ในที่สบายในที่ป่า ที่สะดวกสบายตามพอพระทัยพอพักผ่อนกลางวันไปด้วย ตอนเที่ยงตอนบ่าย ที่ว่าวิหารหมายความว่า ไม่อยู่พักผ่อนกลางวัน ตอนเย็นกลับมาที่ที่พักที่วัด ที่สำนัก ตอนบ่ายก็เป็นโอกาสสำหรับประชาชน ไปทูลถามไปฟังไปอะไรก็แล้วแต่ ประโทเส ภิกขุ โอวาทัง( นาทีที่ 13.42) หัวค่ำจะเป็นโอกาสของภิกษุ สามเณร ประจำวัด จะได้เข้าไปติดต่อเข้าไปเฝ้าเข้าไปทูลถามเข้าไปศึกษา อัตถะชัตเต มัชเชเทวปัญหะนัง(นาทีที่ 13.58) พอเที่ยงคืนก็แก้ปัญหาเทวดา เอาคำว่าบุคคลชั้นสูงสุด ในโลกนี้ ในในบ้าน ในมนุษย์ ในมนุษโลกนี้ เช่นพระราชาเป็นต้น แล้วก็เทวดาจริง ๆ ที่มาจากสวรรค์เป็นต้น รวมเรียกเทวดาในโลกนี้ก็มาทูลถาม แก้ปัญหาและให้คำตอบแก่เทวดาเหล่านั้น จะเป็นปกติวิสัยที่พระราชามหากษัติย์ ที่ไปเฝ้า งั้นพระศาสดาเลยมาเที่ยงคืนต้องไปอย่างกองทัพ กองทัพเพลิง มีแสงสว่าง มีทหารแวดล้อม มีอะไรตาม ทำเนียมของพระราชา ผู้มีข้าศึกศัตรูปองร้ายมาก นี่เที่ยงคืน ถ้าเลยเที่ยงคืนดึกดื่นเที่ยงคืน จะพักสักนิด เดี๋ยวเดี๋ยวก็หัวรุ่งอีกแล้ว พะโทเส หัวรุ่งนี่ก็ ไม่ใช่ประโทเสนะ(นาทีที่ 15.12 )พูดผิดไปแล้ว คือว่า หัวรุ่ง เนี่ย สอดส่องไปทั่วโลกอีก ปทุเส กะเทกาเลพับพาสัพเพวิเลกะนัง พับเพพับพะหมายความว่า (นาทีที่ 15.33) คนไหนมันถึงขนาดหรือยัง คนไหนมันไม่ถึงไม่ถึงขนาด หากคนไหนถึงขนาดก็ไปโปรดคนนั้น ในเวลาหัวรุ่งอยู่นี่ ท่านทำงานครบวงจรทั้งวันและคืน ที่ว่าจิตมากไปด้วยพระกรุณา แต่ว่าไม่ใช่กุศลเจตสิก มันเป็นปัญญาบารมีที่เหลือซาก เป็นปัญญาบารมีที่เหลือซาก พระพุทธองค์ไม่ได้ทรง ทำอะไรเพื่อกุศลเพื่อความดี แต่บารมีที่ได้บำเบ็ญไว้มาก มันผลักไสไป เป็นพลังงานส่วนเกินหรือส่วนชิน ที่เรียกกันในภาษาเด็ก ๆ ในวิทยาศาสตร์ว่าโมเมนตั้ม โมเมนตั้ม มันชินเป็นนิสัยเป็นเช่นนี้ แรงที่เหลืออยู่จากการที่กระทำสูงสุดจนเคยชิน เหลืออยู่สำหรับทำเรื่อยไปเพราะมันมีแรงพุ่งไปมากแล้ว มาจากยกมือยกเท้า ยกแจวยกพายหยุดเครื่องจักรเสียเรือเรือก็ยังวิ่งไป(นาทีที่ 17.12) พระมหากรุณาที่บริสุทธิ์นี่ ไม่ใช่กุศลเจตสิก เพราะมันเหนือกุศลซะแล้ว นี่ตัวอย่างว่าคนจิตว่าง คนจิตว่างมาทำอะไรได้บ้าง เหนือความว่าง ความว่างนั่นมันหมายความว่าอย่างไร ทีนี้เราก็มาดู ไอ้คำว่าความว่าง กันอีกที พระองค์ตรัสสอนเป็นหลักปฏิบัติ จงดูโลกนี้โดยความเป็นของว่าง สูญญโตโลทัง วิกะสุ(นาทีที่ 18.02) มีสติดูโลกนี้โดยทำเเป็นของว่างอยู่ทุกเมื่อเทอญ หมายความว่าผู้ปฏิบัติยังไม่สำเสร็จนั้น ต้องมีสติมันก็ดูโลกนี้ในลักษณะที่เป็นของว่าง ว่างจากตัวตน ว่างจากของตน อย่างที่กล่าวแล้ว จะพบภาวะเช่นนั้น คือสามารถดำรงค์จิตชนดที่ไม่มีตัวตน มันก็เลยไม่มีตนนะ ไม่มีตนที่จะเกิดจะแก่จะเจ็บจะตาย หรือมัจจุราชจะมองไม่เห็น มัจจุราชจะตามหาไม่พบ เพราะว่า สัตว์นั้นหรือบุคคลนั้นโดยสมมุติมันไม่มีตัวตนซะแล้ว นี่เราไม่ชอบไม่มีเจตนาหรือไม่ชอบที่จะมองโลก โดยความเป็นของว่างจากตัวตน เราจะมองกันแต่ว่าที่ไหนมีอะไรน่าปรารถนา น่าสนุกสนาน น่าเอร็ดอร่อย น่ายึดได้ น่ายึดครอง น่ามีไว้นี่เป็นซะอย่างนี้ หรือถ้าทำตามอย่างพระพุทธเจ้าว่ามีสติมองเห็นอะไรที่ เข้ามาสู่ความรู้สึกคิดนึกของเรา เห็นแต่ความเป็นของว่างจากตัวตน ตัวตนอยู่เสมอ นั่นแหละคือการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด ในเรื่องของไอ้ ความว่าง หรือก็เป็นยอดสุดของพรหมจรรย์ จะทำให้ถึงซึ่งความว่าง ทีนี้ก็ไม่เชื่อดูว่าการอยู่ด้วยความว่าง มีชีวิตอยู่ด้วยความว่างนี้เป็นอย่างไร มันมีความหมายที่ละเอียด ละออหรือละเอียดซึ่งโดยพระพุทธองค์ทรง ยืนยันว่า ตถาคตอยู่ด้วยความว่าง อยู่ด้วยธรรมะเครื่องอยู่ชื่อสูญญตา สูญญตาเวหาระ(นาทีที่ 20.26) ธรรมะเป็นเครื่องอยู่เรียกว่า สูญญตา ตถาคตมีชีวิตแต่ละวัน วันนี้ด้วยสูญญตาวิหาร ก็หมายความยืนยันว่าง ว่างตลอดเวลา ว่างจากตัวตนของตนตลอดเวลา มันจึงไม่มีอะไรที่รบกวนได้ ไอ้คำตรัสนั้นท่านยกตัวอย่าง ด้วยเลยว่า มันว่างอยู่ตลอดเวลาอย่างนั้น มันไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น แม้ว่าจะมีประชาชน อุบาสกอุบาสิกามาเต็มวัด หรือแม้ว่าพระราชามหากษัตรย์จะมาเต็มวัดหรือจะมี เดรถีผู้ประสงค์ร้ายอาฆาตมาดร้ายเข้ามาเต็มวัด หรือจะมีคนบ้าบางคนมาก็ตาม มันไม่มีความเปลี่ยนแปลง ไอ้ความว่าง ไอ้ความสูญญะตาวิหาร มันไม่เปลี่ยนแปลง มันคงที่ คงที่ จิตเป็นอย่างไรเมื่อไม่มีใครมาเลยก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครมาเต็มวัดก็เป็นอย่างนั้น มันไม่เกิดอะไรเพิ่มขึ้นเป็นตัวตน อย่างนี้ท่านเรียกว่าสูญญะตาวิหาร เป็นธรรมะเครื่องอยู่ของตถาคตท่านอยู่อย่างนี้ ข้อนี้ก็ควรพินิจ พิจารณากันโดยดี ๆ เพราะว่าเราอาจจะเอาตัวอย่างได้ ทำตามได้ ตัดสินใจควรดูโดยดี แต่ถ้าเป็นชั้นเลิศ อย่าไปหวังให้มันมากเกินไป เอาธรรมดา ๆ สูญญะตาวิหารชั้นธรรมดา ชั้นเลิศมันมีชื่อยาวไปว่า ปรมานุตะระ ศูญญะตา (นาทีที่ 22.24 ) สูญญะตาอันเป็นชั้นอะนุตระ เป็นปรมะ คืออย่างยิ่ง คืออย่างที่ไม่มีอะไรเหนือไปอย่างนั้น สำหรับของพระพุทธองค์ ที่ว่าเราโดยทั่วไปก็น่าจะสนใจ มันเป็นสิ่งที่ที่มีค่าสิ่งมีค่าคงคงที่ปกติ คงที่ปกติ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น หรือตามปกติมันทำไม่ได้ คนธรรมดา ทำไม่ได้ เพียงแต่เห็นบุรุษไปรษณีย์เข้ามาในบ้านถือกล่องจดหมายกระเดิดกระดาษมันก็เกิดหวั่นไหวแล้ว โทรเลขนี้เรื่องอะไรก็ไม่รู้ บางทีก็เปิดจดหมายด้วยมือที่สั่น สูญญะตาอะไรกัน นี่เรามันไม่มีอันนั้นเลย ถ้าว่ามีจิตปกติอะไรจะเข้ามาอะไรจะเกิดขึ้นมันก็คงที่ คงที่ มันเป็นปกติ ประชาชนธรรมดา ปกติอยู่ไม่ได้เพราะว่าเขาหวังอะไรมากเกินไป เขาเครียด อยู่ด้วยสิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ มันเลยหาความว่างไม่ได้ ลองพยายามดูสิมันได้เท่าไหร่ก็ยังดี วันหนึ่งได้ สักครึ่งชั่วโมงสองชั่วโมง ห้าชั่วโมง หกชั่วโมง แต่ยอมเหมือนว่าคนตายแล้ว คนตายแล้วฉันไม่หวังอะไร ไม่กลัวอะไร นี่จะรักษาไอ้ความว่างเนี่ย ไว้ให้เป็นสิ่งประเสริฐ ประเสริฐที่สุดคือเป็นตัวพระนิพพาน หรืออย่างน้อยก็เป็นสัญลักษณ์ของพระนิพพาน เป็นไวพจน์ ของพระนิพพาน ทำด้วยมากเท่าไหร่ก็เป็นผลดีเท่านั้น แล้วมันไม่มีการพักผ่อน ชนิดไหนจะยิ่งไปกว่าการมีจิตว่าง ถ้าจิตไม่ว่างไม่เป็นการพักผ่อน ถึงนอนก็สะดุ้งเสียวฝันร้ายไปตามเรื่อง ถ้ามันว่างจากความยึดมั่นถือมั่นก็จะนอนหลับสนิท เป็นการพักผ่อน ไม่ใช่นั้งพักผ่อนก็ยังเป็นการพักผ่อน ดีกว่าที่จะไปพักผ่อนที่ชายทะเลสนุกสนานสวนเสเฮฮา ไปพักผ่อนโดยการดื่มการกินของพวกนั้น เป็นเรื่องที่น่าหัว การทำจิตปกติคือสละกันหมดแล้ว สละตัวตนของตนไปหมดแล้ว ไม่มีอะไรที่จะวิตกกังวลที่จะทำได้ จะเกิดความว่างชนิดนี้ขึ้นมา เป็นสิ่งที่ทำได้น่าทำ น่าทำ เพราะว่าเป็นชีวิตเย็น แล้วประพฤติพรหมจรรย์ในความหมายที่ว่ากลาง กลางหรือถูกต้องพอดี มาจุดสุดท้ายก็มาถึงว่าง ๆ ตลอดทาง ตลอดทางไอ้นี้มีแต่เย็น เย็น เย็น ตรงตามความหมายของคำว่านิพพาน นิพพาน มีคำว่าความว่าง อันมีความหมายอย่างนี้ มีคุณค่าอย่างนี้ นี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แต่โดยเหตุที่มาเข้าใจคำนี้ผิดหรือสอนกันผิด ๆ คนเขาเกลียดตัวความว่างไปเสียอีก ไม่มีอะไรก็น่ากลัวที่สุด แต่มันตรงกันข้ามคือมันไม่มีอะไร เฉพาะที่เป็นอันตรายที่เป็นฝ่ายเลวฝ่ายร้าย เป็นอันตรายฝ่ายทุกข์ คือตัวตนตัวตน แต่มันก็มีสิ่งที่ควรจะมีคือความสงบเย็น ความสงบเย็นหรือจะเรียกว่าความว่าง มันไม่มีไม่มีอะไรสงบเย็นเท่ากับความว่าง ไม่มีอิสระภาพใด ๆ มากเท่ากับอิสระภาพคือความว่างนั่น มุ่งกันที่ข้อนี้ ถ้าพยายามดำรงจิตให้ว่าง ความสุขสงบเย็นแล้วก็มีเสรีภาพสูงสุด ทีก็อยากจะอธิบายวิธีปฏิบัติต่อไป สรุปความสั้น ๆ เหมือนที่เคยพูดเคยบอกกันมาแล้ว มาทำงานทุกชนิด ด้วยจิตว่าง ทำงานทุกชนิดด้วยจิตที่ว่าง ถ้าเขาฟังกันผิวเผินหรือเท่าที่เขาพูดกันศึกษากันก็ปฏิเสธว่าทำไม่ได้ ทำไม่ได้ เพราะเขาไม่รู้ว่าจิตว่างนั่นคืออะไร ในทีนี้ถ้าที่พูดมาแล้วว่างจากตัวกู ว่างจากของกู ว่างจากความรู้สึกว่าตัวกู ว่างจากความรูสึกว่าของกู ว่าง มันอะไรเหลืออยู่ มันคือความอิสระของจิต สติปัญญาของจิต ในความเข้มแข็งของจิต ความเป็นอิสระของจิต มันก็ทำได้ดี มันกลายเป็นความพูดที่ เข้าใจผิด ได้ต่อไปอีกว่าทำงาน ด้วยจิตที่ไม่มีตัวกู ลืมตัวกู ไม่มีความหมายแห่งตัวกูแล้วก็ทำงาน ท่านทั้งหลายลองฝึกดูนิด ๆ ก่อนก็ได้ ถ้ามันยังมีตัวกูเหลือกูมันก็วิตกกังวัล เสียสมาธิ ถ้าไม่มีตัวกูของกูมันก็ทำเต็มที่ของสมาธิของสติของปัญญา งั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งไอ้งานที่เป็นศิลปะเหรือเป็นประณีตศีล ผู้ทำต้องทำด้วยจิตว่าง ถ้าไม่กระทำด้วยจิตว่งมันไม่มีความประณีตถึงที่สุด มันลืมตัวหมดไม่มีอะไรด้วยซ้ำไป เหลือแต่สติปัญญาที่จะทำลงไป เช่นว่าจะเขียนภาพ มันก็เหลือแต่พู่กันกับสีที่จะป้ายลงไปในแผ่น แผ่นที่จะเขียน ขณะนั้นสูงสุดในการที่ว่า มีจิตว่างจะเขียนภาพ ที่จะทำงานฝีมือชนิด ใด ๆ ก็ตาม ถ้ายังเป็นห่วงว่าจะผิดจะถูกจะได้ จะเสียจะตัวกูจะไม่ได้เกียรติยศชื่อเสียงอย่างนี้มันทำไม่ได้ดี เข้าใจว่าศีลปินที่มันเขียนภาพ สูงสุดออกมาขายภาพหนึ่งเป็น ล้าน ๆ มันทำด้วยจิตว่างลืมตัวทั้งนั้นนะ ทีนี้ตามธรรมดาที่เราจะทำงานตามธรรมดาไม่ใช่ชั้นศิลปะ ถ้ายังมีตัวกูตัวกูอยู่มันก็รบกวนรบกวน มันยังเป็นการทรมานด้วย คือไม่ได้ตาม ที่ต้องการทันอกทันใจ แล้วมันก็เครียด แล้วมันก็เครียด แม้แต่จะไถนา ถ้าไถด้วยจิตว่างมันก็สนุกดี ถ้าไถด้วยจิตที่คิดจะเป็นเรื่องของตัวกู มันก็จะเหนื่อย เหนื่อย ทำงานอย่างอื่นก็เหมือนกัน แม้ไม่ใช่งานศิลปะก็ยังจะต้องทำด้วยจิตอิสระจากความรู้สึกที่ว่าบวกหรือลบจะได้หรือจะเสีย ข้อนี้มันหมายความว่าได้คิดนึกมาดีแล้วว่าจะทำอย่างไร สติปัญญาพิจารณาใคร่ครวญดีแล้วว่าเราจะอย่างนี้ ในสถานะอย่างนี้ควรจะทำอะไร จะเป็นลูกจ้างหรือจะเป็นเจ้าของงาน หรืออะไรสุดแท้เราควรจะทำอย่างควรจะทำอย่าง ควรจะทำอะไร แล้วควรจะทำอย่างไรก็มีแผนผังที่ชัดเจนละเอียดแล้ว ทีก็เหลืออยู่แต่ทำไปเช่นนั้นด้วยสติปัญญาสัมปะชัญญะ ไอ้ ตัวกูไม่มีเหลือ ไอ้ตัวกูอย่าเอามา เข้ามาผสมผสมโลง ถ้ามีตัวกู มันก็มีความต้องการ ต้องการ ต้องการรบกวน รบกวน อยู่ด้วยความต้องการไม่ทันอกไม่ทันใจมันก็เครียด ๆ แล้วจะไปทำอะไรได้ แม้ที่สุดแต่ว่าจะศึกษาธรรมะ จะพิจารณาธรรมอันลึกซึ้ง ตัวกูอย่างนี้ ตัวกูมีแล้วมันก็ไม่ ไม่มีแสงสว่างหรือมันไม่ออกมาเป็นความรู้ที่ถูกต้อง ถ้ามันต้องยกให้เป็นของธรรมชาติ ธรรมชาติไปหมดแล้วก็ อย่างนี้มันยิ่งกว่าเครื่องจักร มันยิ่งกว่าเครื่องจักรเพราะมันเป็นนามธรรมมันว่าง มันเป็นไอ้ เรื่องทางฝ่ายจิต ทำหน้าที่ เหมือนเครื่องจักรก็ได้ ยิ่งกว่าเครื่องจักรก็ได้ มันก็จะพิจารณาธรรมข้อใดแจ่มแจ้งออกมา แล้วก็อย่าได้ความรู้สึกว่าตัวตนของตนเข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวตนของตนมันก็มีความเห็นแต่ตนมันก็หวังผลงานในทางฝ่ายบวกเรื่อยไป ก็เกลียดกลัวฝ่ายลบอยู่ตลอดเวลา แล้วมันจะทำได้ดียังไง ฝ่ายหนึ่งทะเยอทะยาน ฝ่ายหนึ่งก็กลัวว่าผิด มันว่างจากอิทธิพลของสิ่งเหล่านี้เรียกว่า ไม่มีตัวตนที่จะทำ ไม่มีตัวตนที่กระทำกลับเป็นการกระทำที่ดีเลิศ ไม่มีตัวตน แม้ที่เกิดมาหรือเกิดอยู่ด้วยซ้ำไป มันก็ไม่มีปัญหาที่ว่าจะต้องเกิดแก่เจ็บตายนี้เป็น เดี๋ยวนี้ก็เคล็ดซะได้ ที่จริงเป็นความจริง เป็นความจริงแท้ ของธรรมชาติที่เราจะต้องรู้จัก เราจะต้องเข้าถึง อุบายวิธีอันนี้ เราอาจจะสอนลูกเด็ก ๆ ให้เข้าใจ เรื่องทำงานทุกชนิด ด้วยจิตว่าง จะเป็นประโยชน์ แก่ลูกเด็ก ๆ เหล่านั้นที่สุด ให้เขาศึกษาเอาเอง โดยว่าเอ้าลองดู ว่ากำลังโกรธใครหรือโกรธใครหรือโกรธอะไรอย่างเต็มที่ กินข้าวอร่อยไหม กินข้าวอร่อยไหม หรือจะนอนหลับได้ไหม หรือจะทำการบ้านอย่างเรียนให้ดีได้ไหม โกรธใครอยู่ หรือเกลียดใครอยู่ อิจฉาริษยาใครอยู่ หลงรักอะไรอยู่ มันก็ทำไม่ได้ มันรู้สึกได้ด้วยตนเองว่าทำไม่ได้ แม้ที่สุดแต่ว่าจะรับประทานอะไร ถ้าจิตกำลังประกอบด้วยความรู้สึกเลวร้าย โมโหร้าย หรือกำหนัดรักใคร่อะไรก็ตาม มันมีรสชาติอย่างไร มันมีรสชาติอย่างไร เด็ก ๆ เขาก็พอจะเข้าใจได้ ทำเป็นบทเรียนแล้วก็เข้าใจได้ โดยที่เขาหลุดพ้นหรือ ว่าอารมณ์มันเสีย ในรูปราคะ ก็ได้โทสะก็ได้ โมหะก็ได้ ลองกินอะไร จะได้รสอย่างไรจะได้รสอย่างไร เดี๋ยวเมื่ออารมณ์มันปกติก็ลองกินกินดูสิมันจะได้รสอะไร ในที่สุดก็จะพักผ่อนถ้าอารมณ์มันร้าย มันผักพ่อนได้อย่างไร เด็ก ๆ ก็พอจะเข้าใจได้ว่าเราจะ รักษาอารมณ์ปกติ แล้วก็บอกว่านั่นแหละ เขาเรียกกันว่าจิตมันว่าง จากความรบกวน ของอารมณ์ร้ายทั้งหลาย ในประเภทราคะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดีมันไม่มา รบกวน ความปกติแห่งร่างกายก็มี การไหลเวียนแห่งโลหิตก็ดี อะไรก็ดีระบบประสาทระบบสมองก็ดี อะไรก็ดี เธอควรจะฝึกฝนในการใช้ประโยชน์ของความมีจิตชนิดนี้ ให้มากที่สุด ให้มากเท่าที่จะทำได้ ชี้ชัดให้มันถึงถึงในความหมายของตัวตน ตัวตน มันก็สูงขึ้นมาถึงความเห็นแก่ตน ความเห็นแก่ตน ถ้าความเห็นแก่ตนกลุ้มไปหมด มันทำอะไรไม่ได้ จิตมันไม่สามารถจะทำอะไรได้ มันกวดทิ้งไปหมดเลย ตัวตนก็ดี ความเห็นแก่ตนก็ดี ก็เป็นจิตที่อิสระ สะอาดสว่างสงบพอสมควรนั้น แล้วก็ทำอะไรก็ทำได้ดี ถ้าลูก เด็ก ๆ ได้รับการสั่งสอนกันอย่างนี้ เขาคงจะทำอะไรได้ดี คือปลอดภัยแก่ชีวิตของเขา ยิ่งกว่าที่กำลังเป็นอยู่เดี๋ยวนี้ คือปล่อย ปล่อยไปตามเรื่อง นี้ขอสรุป ใจความสั้น ๆ แต่เพียงว่า ไอ้ว่าง ๆ เนี่ยมันเป็นจุดหมายปลายทางของการประพฤติพรหมจรรย์ เราเคยเข้าใจผิดกันอย่างไร เคยสอนผิด ๆ ว่าว่างนั้นทำอะไรไม่ได้ ว่าว่างนั้นสูญเปล่า ก็เลยไม่มีใครใช้ ใช้จิตที่มีสมรรถภาพสูงสุด คือจิตว่าง แล้วขอให้เข้าใจ ไอ้การประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหมด ไปรวมจุดอยู่ที่สุดสูงสุดอยู่ที่ความว่าง เลยใช้คำว่าชีวิตที่ว่าง ก็คือชีวิตที่ไม่ถูกบรรทุกด้วยของหนัก ชีวิตในรูปแบบของขันธ์ห้า นี่คือรู้สึกกันดีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ไม่ถูกบรรทุกด้วยของหนัก ของหนัก ในที่นี้คืออุปาทานยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสิ่งใดว่าชีวิตนั้นเป็นตัวตนว่าเป็นของตน ยึดถือสิ่งใดสิ่งนั้นก็เป็นของหนักขึ้นมาทันที แล้วคนที่แบกของหนักถือของหนักนั่น มันจะทำอะไรได้ดี มันสูญเสียเสรีภาพ มันสูญเสียสมรรถภาพ อะไรกัน ระหวังอย่าให้ชีวิตนี้แบกของหนัก แบกของหนัก และของหนักมันมีละเอียดซับซ้อนหลายชั้นหลายชนิด ยังจะต้องศึกษากันต่อไปอีก แต่เชื่อว่ามันเป็นตัวกรอง ข้อแรกก็คือ ชีวิตนั่นแหละ ตัวชีวิตเองนั่นแหละ แยกเป็นขันธ์ทั้งห้า มันก็ยึดเป็นตัวกูของกูมันก็หนักทันที ก่อนที่เป็นร่างกายก็เป็นตัวกูหรือส่วนที่เป็นความนึกคิดรู้สึกเป็นของกู มันก็ล้วนแต่แบกของหนัก หลายอย่างหลายประการ ชีวิตเป็นของหนักส่วนหนึ่งแล้วก็ยังมีละเอียดลงไปว่า อะไร ๆ ที่หามาใส่ให้แก่ชีวิต บุญ เอ้า แม้แต่คำว่าบุญ พอเอามาเป็นตัวกูของกู บุญก็กลายเป็นของหนัก กลายเป็นของหนัก นี้กิเลส กิเลสอย่างไรก็ตามพอเกิดขึ้นในตนก็กลายเป็นของหนัก หรือการที่ต้องรับผลกรรมต้องเป็นไปตามกรรมนี่ก็เป็นของหนัก ท่านใช้คำรวม ๆ กันว่าสังขารนะ การปรุงแต่ง สังขารเป็นของหนัก สิ่งที่ปรุงแต่ง สิ่งอื่นก็เรียกว่าสังขาร สิ่งที่ถูกสิ่งอื่นปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร กิริยาอาการแห่งการปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร สังขารมีความหมายสามอย่างอย่างนี้ เมื่อเป็นทุกข์ก็เป็นของหนัก เป็นของหนัก มีการปรุงแต่งที่ไหนก็มันเกิดตัวกูของกูที่นั่นมันก็เป็นของหนักที่นั่น นี้ขอให้รู้จักไว้ให้ดีๆ บางทีก็ไปเป็นผู้หลงปรุงเสียเอง หลงปรุงเสียเองทั้งที่มันไม่จำเป็น มันจะมีชีวิตเบาหรือชีวิตแบกของหนัก ตอนนี้ใคร่ครวญดูให้ดี ไปยึดมั่นในสิ่งใด สิ่งนั้นก็กลายเป็นของหนัก ไปมีความรักในสิ่งใดสิ่งนั้นเป็นของหนัก ไปมีความเกลียดสิ่งใดสิ่งนั้นก็เป็นของหนัก ไปมีความกลัวในสิ่งใดสิ่งนั้นก็เป็นของหนัก วิกตกกังวลอาลัยอาวรณ์ ในสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นของหนัก ความรู้สึกที่เลวร้ายทุกชนิดเป็นต้นเหตุให้เกิดของหนัก พอมีชีวิตชนิดที่ปราศจาก ต้นเหตุแห่งของหนัก หรือว่าของหนักโดยตรงโดยเฉพาะ นี้ก็เพราะว่าสามารถทำจิตนี้ให้มันฉลาด มีปัญญาอย่างที่เรียกว่าตรัสรู้ ตามที่เป็นจริงว่า สิ่งทั้งปวงสิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนว่าของตน สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ประโยคนี้สำคัญมาก เพราะมีกล่าวถึงหลายหน เมื่อมีผู้ทูลถามถึงไอ้หัวใจของการประฏิบัติ พระพุทธเจ้าท่านตรัสตอบด้วยคำนี้ สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ สัพเพธัมมา แปลว่าสิ่งทั้งปวง นาลัง ไม่ควร อภินิเวสายะ ตัวหนังสือแปลว่าฝังจิตฝังตัวเข้าไป ตัวหนังสือแปลว่าอย่างนั้น แต่ใจความของมันคือยึดมั่นถือมั่น เพราะว่าการยึดมั่นถือมั่นในสิงใดก็ได้การฝังจิตฝังชีวิตจิตใจเข้าไปในสิ่งนั้น อภินนิเวส แปลว่าฝังเข้าไป ฝังเข้าไป แต่เอาใจความกันใหม่ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่ายึดมั่นถือมั่น เพราะในหนังสือเรียนเขาแปลไว้ว่า อันธรรมทั้งปวงอันที่ใคร ๆ ที่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่ตัวหนังสือแท้ ๆ มัน มันมีใจความว่าไม่ควรฝังตัวเข้าไป เข้ายึดครองโดยความเป็นตัวตนของตน สิ่งทั้งปวงในที่นี้ไม่ยกเว้นอะไร ไม่ยกเว้นอะไร ดี ชั่ว บุญ บาป สุข ทุกข์ หรือแม้กระทั่งว่า พระนิพพาน เอ้าพระนิพพาน สูงสุดยอดปรารถนา ก็อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเข้า พอไปยึดมั่นถือมั่นเข้ามันก็กลายเป็นไม่ใช่นิพพาน นิพพานแห่งความยึดมั่นถือมั่นมันเป็นอีกชนิดหนึ่ง นิพพานแห่งความไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้ถึงด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นมันอีกชนิดหนึ่ง เพราะมันจะมีการเกิดมีนิพพานแท้ นิพพานไม่แท้ นิพพานปลอม นิพพานจริงขึ้นมาระวังให้ดี การหมายมั่นนิพพานเป็นตัวตนถูกห้ามไว้ ในการอ่าผิด เป็นของผิด ไม่ยึดว่าเป็นนิพพานว่าเป็นตัวตนว่าเป็นของตนสูงสุด ข้างล่าง ข้างล่างนี่ไม่ยึดมั่น ไม่ยึดมั่น เสร็จแล้วหมดแล้ว แล้วพอมาถึงนิพพานก็ยึดเอานิพพานตัวตนเรื่อง มันก็จบ ถึงในสิ่งที่เรียกว่านิพพานได้เลย ต้องไม่ยึด ถือมั่นว่าตัวตนโดยตลอดสาย ตลอดสายตั้งแต่ ก ถึง ฮ ทุกอย่างทุกชนิดทุกขั้นตอน คำว่า สัพเพธัมมา นั้นมันเป็นคำที่เป็นปัญหา ถ้าแปลว่าธรรมทั้งปวง ไอ้คนก็เข้าใจเป็นว่าพระธรรม คำสั่งสอนไปเสียก็มี แต่ถ้าว่าธรรมทั้งปวงในที่นี้มันหมายถึงสิ่งทั้งปวง ธรรมะในที่นี้ในกรณีนี้หมายความทางความว่า สิ่ง สิ่งในความหมายของภาษาไทยตัวกลาง ธรรมสัพเพธัมมา แปลว่าสิ่งทั้งปวง ถ้าแปลว่าธรรมทั้งปวงเดี๋ยวเกิดเข้าใจผิด เด็ก ๆ เข้าใจผิด ยายแก่ แล้วเข้าใจผิด แปลซะว่าสิ่งทั้งปวง รูปธรรมก็ดี นามธรรมก็ดี อะไรก็ดี สังขารก็ดี อวิสังขารก็ดี เคยทำทั้งปวง สิ่งทั้งปวงนั้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนของตน แทนที่จะฝังตัวเข้าไปในสิ่งใด มันต้องมีความต้องการ ที่จะเอาเป็นตัวตน หรือจะเอาเป็นของตน ถ้าไม่มีความหวังอันนี้ มันก็ไม่ ไม่ฝังตัวเข้าไปมันก็ไม่สนใจด้วยซ้ำ ถ้าสนใจจนถึงกับฝังจิตฝังใจเข้าไปมันก็ด้วยความหมาย ว่าจะได้มาเป็นตัวตนหรือของตน มีพระบาลีที่แสดงเป็นใจความชัด ๆ ว่าถ้ารู้ข้อนี้นะคือรู้ทั้งหมด รู้เพราะเรื่องพรหมจรรย์ทั้งหมด รู้ข้อนี้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพียงแต่รู้ เขาเรียกว่ารู้ทั้งหมด ถ้าปฏิบัติข้อนี้ ปฏิบัติที้งหมดเลย ไม่เหลืออะไร ถ้าได้รับผลจากข้อนี้ ก็หมายความว่าได้รับผลหมดทั้งหมดไม่มียกเว้นอะไร การรู้ก็ดี การปฏิบัติก็ดี การได้รับผลก็ดี สรุปรวมอยู่อีกครั้งว่า ไม่ยึดมั่น สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความเป็นของตน เพราะไม่ยึดมั่นมันก็ว่าง มันก็ว่าง มันว่าง ถ้ายึดมั่นมันก็ไม่ว่าง ฟังให้ดีว่าไอ้ความยึดมั่นให้ทั้งแง่บวกและแง่ลบไม่ว่างทั้งนั้น รักก็ไม่ว่าง เกลียดก็ไม่ว่าง โกรธก็ไม่ว่าง ไม่โกรธก็ไม่ว่าง ชอบก็ไม่ว่าง ไม่ชอบก็ไม่ว่าง มันทั้งบวกทั้งลบ ไปยึดถือย่างบวกก็ไม่ว่างอย่างบวก ไปยึดเป็นลบก็ไม่ว่างอย่างลบ ไม่มี ทางยึดถือเป็นบวกเป็นลบคือเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล มันจะว่าง คือมันเหนือบุญหนือบาป เหนือที่เป็นที่คู่ ๆ ทุกคู่ ๆ ไปเลย นี้เป็นใจความโดยสรุป พอว่างเป็นจุดจบของพรหมจรรย์ เราจะศึกษาสังเกตุกันตามสามัญสำนึก ที่เด็ก ๆ ก็เข้าใจได้ นี้ก็กระทำได้ อย่างที่ว่ามาแล้วนี้ ทีนี้ก็จะศึกษากันอย่างจริงจังเป็นวิชาการ เป็นหลักวิทยาการหรือว่าเป็นศาสตร์อันหนึ่ง หรือศึกษา โดยหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละดีที่สุด ขันธ์ห้าก็ใช้ได้ โดยปฏิจจสมุปบาท ที่ว่ามาแล้ว ขอให้เข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นไป แจ่มแจ้งขึ้นไปมาแต่ต้น ตาหู จมูก ลิ้น กายใจ ตัวตนไหม ก็สั่นหัว(นาทีที่ 49.21) รูปเสียงกลิ่นรส บทสภธรรมเป็นอารมณ์ (นาที่ที่ 49.25 )เป็นตัวตนไหม ก็สั่นหัว(นาทีที่ 49.27) วิญญาณที่เกิดขึ้นมาโดยการอาศัยอายานะทั้งสองนั้นวิญญาณนั้น เป็นตัวตนไหม ก็สั่นหัว(นาทีที่ 49.35) ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจกันเป็นพิเศษคือวิญญาณ วิญญาณ ในพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงผลที่เกิดขึ้นมาจากการอาศัยของอายานะทั้งสอง เกิดดับเกิดดับหรือ กระเท่าวิญญาณในศาสนาอื่นในลัทธิอื่นในอินเดียก่อนพุทธกาล ถึงแม้ในสมัยพุทธกาลก็มีวิญญาณความหมายอื่น หมายถึงตัวตน ตัวตนที่จะเวียนว่ายตายเกิดนั่นแหละวิญญาณชนิดนั้น วิญญาณนั้นไม่มีในเปฏิจจสมุปบาทป็นของเก่า ของเก่าก่อนพุทธกาลที่ยึดถือกันในอินเดียมาแต่โบร่ำโบราณกันตั้งแต่สมัย (นาที่ที่ 50.17)คนป่าคนเถื่อนก็รู้จัก นี่คือวิญญาณชนิดนั้น วิญญาณของพ่อของแม่ของผัวของเมีย เวียนว่ายตายเกิดมีพิธีรีตรอง ใหญ่โต ตั้งมาตั้งแต่สมัยคนป่า สมัยจีน วิญญาณอย่างนั้นยังมาเกี่ยวข้อง วิญญาณที่เกิดจากการอาศัยกัน ระหว่างอายานะภายนอกภายในวิญญาณ อย่างนี้ก็ ไม่มี ตัวตน ทำอย่างทำหน้าที่ร่วมกันเข้าเรียกว่าผัสสะ ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตัวตน ไม่ใช่โดยตัวตน มันเป็นทำธรรมชาติ ตามธรรมชาติ แล้วสามอย่างนี้ถึงกันเข้าเรียกว่ามีการกระทบกันเข้าอย่างลึกซื้งอย่างละเอียดเรียกว่าผัสสะ ผัสสะก็ไม่ใช่ตัวตน ออกมาเป็นเวทนา ก็เป็นเพียงปฏิกิริยาของผัสสะมันก็ไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สิ่งที่รู้สึกกับเวทนานั้นก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงกระแสจิตตามธรรมชาติ เวทนาแล้วก็ออกมาเป็นตัณหา ตัณหาก็ไม่ใช่ตัวตน ความอยากนั้นเป็นปฏิกิริยาของตัณหา ความโง่ขึ้นมามีตัวกู ผู้อยากให้มีก็ผีหลอก ไม่ใช่ตัวตน ตัณหาให้เกิดปาทาน ปาทานนั้นปกฏิกิริยาของตัณหาก็ไม่ใช่ตัวตน ภพชาติทั้งหลายก็ไม่ใช่ตัวตน ถ้ามันมาจากสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนเป็นลำดับ ลำดับมา นั้นของทุกข์ทั้งหลายมันก็ไม่ใช่ตัวตน นี้ศึกษาจาก ปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสายอย่างนี้ ก็ดีมาก ถ้าละเอียดละออและหมดจดสิ้นเชิง เอาปฏิจจสมุปบาท มาเป็นบทเรียน มาศึกษาให้มองเห็นว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ปฏิจจสมุปบาท ว่าแต่ละเอย่างละอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ เรียกว่า สฏิจจสมุปบัณธรรม(นาทีที่ 52.20 )ถ้าเรียกให้ถูกก็เรียกว่า สฏิจจสมุปบัณธรรม สฏิจจสมุปบัณธรรม(นาทีที่ 52.24 )แต่ละอย่าง ๆ นี้ก็ไม่ใช่ตัวตน และไม่ใช่ของตน และกิริยาที่มันปรุงแต่งกันระหว่าง สิ่งสองสิ่ง สองขั้นตน นี้จะเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท กริริยาที่ปรุงแต่งกันนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน ปฏิจจสมุปบาทก็ไม่ใช่ตัวตน สฏิจจสมุปบัณธรรม(นาทีที่ 52.51 ) ที่ปรุงเป็นปฏิจจสมุปบาทก็ไม่ใช่ตัวตนแล้วก็หมดไม่มีเหลือ ความทุกข์ทั้งหลายก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท อ้าวแล้วก็มีคนแย้งว่าแล้วถ้านอกปฏิจจสมุปบาทหละ ควรจะเป็นตัวตน แล้วก็พิสูจน์กันอยากมันก็เถียงกัน เมื่อกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท เป็นไปตามธรรมชาติ นอกกระแส นอกกระแสปฏิจจสมุปบาทก็เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เนี่ยเราจึงถือว่า สังขัตธรรม(นาทีที่ 53.32 ) ก็ไม่ใช่ตัวตน อสังขตธรรม(นาทีที่ 53.37 )ก็ไม่ใช่ตัวตน สังขารก็ไม่ใช่ตัวตน วิสังขารก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีความหมายแห่ง ตัวตน เป็นเพียงธรรมชาติมีอยู่สองชนิด คือมีการปรุงแต่งและไม่มีการปรุงแต่ง ศึกษากันอย่างนี้โดยอาศัยหลักปฏิจจสมุปบาทชัดเจน ครบถ้วนเกลี้ยงเกลาลึกซึ้งในเชิงว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน แล้วก็ธรรมทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นเหลือว่าตัวตน หัวใจพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับข้อนี้มันมีอยู่สองบท บทที่จะถือเป็นหลัก สัพเพธัมมา อนัตตา นี่ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ธรรมทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ที่จริงก็ความหมายอย่างเดียวกัน ก็พูดแยกออกไปให้เห็น อะไรลึกซึ้งกว่ากันบางอย่าง รวมความแล้วว่าสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนด้วย ไม่ควรจะยึดถือว่าตัวตนด้วย เพราะมันไม่มีความหมายหรือคุณค่าใด ๆ ที่เป็นตัวตน ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหมดทั้งสิ้นก็เพื่ออย่างนี้ เพื่อให้เห็นความจริงข้อนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งระบบเพื่อเห็นความจริงข้อนี้ เมื่อเห็นข้อนี้มันก็ไม่ยึดมั่นสิ่งใด มันไม่ยึดมั่นสิ่งใด มันก็ว่างจากการยึดมั่นถือมั่น นี่คือความว่าง ความว่าง ตัวเรามีชีวิตอยู่ด้วยความว่าง นี่เรียกว่าสุญญตาวิหาร ตามแบบพระพุทธเจ้า ไม่ใช่จะอวดดีทำเทียมหรือทำแข่งกับพระพุทธเจ้า หากแต่ว่าทำตามอย่างเพื่อจะทำความดับทุกข์สิ้นเชิงตามแบบของพระองค์ หรือทรงสั่งสอนไว้อย่างนี้ ก็ขอโอกาสพูดซะตรงนี้สักทีเถอะว่ามันก็จะดีนะว่า เรารับอะไรมันรับอะไรมันเอามาเพียงครึ่งเดียว ไม่รับมาตลอด ก็คือบทที่เอามาสวดท่อง กันอยู่เป็นประจำว่า สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดแก่เจ็บตาย ไม่พ้นจากความเกิดแก่เจ็บตาย แต่ได้เอามาสวดทีละบท ๆ เรามีความเกิดเป็นธรรมดา ไม่พ้นจากความเกิดไปได้ มีความแก่เป็นธรรมดาไม่พ้นจากความแก่ไปได้ มีความ มีความตายเป็นธรรมดา ไม่พ้นจากความตายไปได้ เรามีกรรมเป็นของตัว จะต้องรับผลแห่งกรรมนั้นไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้ ที่น่าสงสารที่สุดคือมันมาเอาครึ่งเดียว มันเอามาสวดมาท่องมายึดถือกันเพียงครึ่งเดียวแล้วก็ร้องไห้โฮ ๆ ดูสิ มันไม่มีที่พึงไม่มีทางจะแก้ไข มีความเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดาแล้วก็ร้องไห้โฮ ๆ แต่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ว่า ถ้าสัตว์เหล่าใดด้วยถือเอาเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาจะพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดาจะพ้นจากความแก่ มีเจ็บเป็นธรรมดาจะพ้นจากความเจ็บ มีความตายเป็นธรรมดาดจะพ้นจากความตายเป็นธรรมดา ที่ มีกรรมเป็นของตนสามารถประพฤติปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม ความสิ้นกรรม หมดกรรม ตอนนี้ไม่เอามาท่องกัน ไม่เอามาท่องกัน ท่องครึ่งค่อน คล้าย ๆ จับตัวเองขังคุกแล้วนั่งร้องไห้อยุ่ งั้นขอว่า ใครจะท่องจะสวดท่อง แล้วก็ขอให้เลยไปถึงได้อาศัยพระพุทธเจ้าผู้ชี้ทาง ให้ประพฤติ ปฏิบัติ ถอนตัวตนของตนซะได้ หมดตัวตนของตนได้ แล้วจะพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตาย ก็จะพ้นกรรม พ้นกรรมและความที่ต้องเป็นไปตามกรรมก็จะพ้นหมด นี่คือประโยชน์และอานิสงค์สูงสุดของการที่ หลุดพ้นจาก ความยึดถือว่าตัวตนว่าของตน คือ ว่างจากตัวตน จากของตนนั่นแหละ ขอให้สนใจเป็นพิเศษถึงขั้นนั้นกันเถิด เพราะว่าได้อาศัยพระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตร เป็นมิตรที่สูงสุดอย่างยิ่งแล้ว ท่านสอนข้อนี้ท่านให้ปฏิบัติข้อนี้ ท่านชี้ทางไว้อย่างนี้ เดี๋ยวก็หลุดพ้นเหนือสิ่งเหล่านี้ ตามพระพุทธองค์ไป อยู่ไม่ใช่ตนไม่ใช่ของตนนี่มันมีอย่างนี้ ไอ้ส่วนที่มันจะแก้ปัญหาได้ จะดับทุกข์ได้ เราไม่เอามาพูดกันเราเอามาพูดกันเพียงครึ่งเดียว กลายเป็นฝังหรือขังตัวเองไว้อยู่ในกองทุกข์เกิดแก่เจ็บตายหรือเป็นไปตามกรรมเป็นไปตามกรรม เคยบอกกล่าวกันเสียใหม่ว่าเราพ้นจากเกิดแก่เจ็บตายก็ได้ เราพ้นจากกรรมและผลกรรมและความที่ต้องเป็นไปตามกรรมก็ได้ เพราะมีความรู้สูงสุดของพระพุทธองค์คือเรื่องสุญญตา คือว่างจากตัวตนว่างจากของตน ทางความว่างจากตัวตน ว่างจากของตนแล้วมันก็ไม่มีปัญญหาอะไรเหลือ เนี้ยความสำคัญ ของข้อนี้ ก็ขอย้ำอีกทีหนึงจะเห็นชัดเจนแจ่งแจ้งได้จากการศึกษาปฏิจจสมุปบาท ฉะนั้นขออย่างท้อใจอย่ากลัวหรือเขี้เกียจหรือเบื่อหน่ายในการที่จะศึกษา ปฏิจจสมุปบาท แม้ว่ามันจะยุ่งยากบ้างศึกษาลำบากบ้างเก็เอามาศึกษา ทุกขั้นตอนมันจะแสดงความไม่มีตัวตนจะสุขสบายจริง ทีนี้ก็อยากจะพูดลงมาถึงขันธ์ห้า ขันธ์ห้า ถ้ารู้เรื่องขันธ์ห้าโดยถูกต้อง มันก็จะรู้ความไม่มีตน ไม่มีของตน ด้วยเหมือนกัน ถ้ารู้โดยไม่ถูกต้อง โดยตาม ๆ กันมาอย่างที่เขาสอนกันมาอยู่ก่อนพุทธกาลก็ดี นึกเอาเองก็ดี มันก็ผิดหมดมันก็มีตัวตน อ้าวร่างกาย รูปกายประกอบไปด้วยระบบประสาท ครบทั้งตาหูจมูกลิ้นกายใจ มันทำอะไรได้ ร่างกายนี้มันทำอะไรได้ มันถือเอาว่าเป็นตัวตนระดับหนึ่ง ร่างกายรูปขันธ์นี้เป็นตัวตน ทีนี้เวทนามันรู้สึกอะไรได้ สัญญามันสำคัญมั่นหมายอะไรได้ สังขารมัรนึกคิดอะไรได้ วิญญาณันรู้จักอารมณ์นั้น ๆ ได้ มันก็ต้องเป็นตัวตน ถ้าไม่มีตัวตนมันจะทำอะไรได้หละ ก็เลยเอาขันธ์ทั้ง ห้า แต่ละ อย่าง ละอย่าง มาเป็นตัวตนทั้งหมดทั้งสิ้น นี่เป็นปัญหาหนัก ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทมันยากกว่าเรื่องขันธ์ทั้งห้า ศึกษาเรื่องขันธ์ทั้งห้ามันค่อยสบายหน่อย ค่อยสะดวกหน่อย ก็อาศัยเรื่องขันธ์ทั้งห้าเป็นหลัก รูปพรรณ ส่วนที่ภาพส่วนที่เป็นรูปนี่ก็มีเป็นธรรมชาติ ก็มีตามธรามชาติเป็นของธรรมชาติ และจิตใจก็เป็นธาตุตามธรรมชาติ เป็นธาตุนามธรรม เป็นธาตุในการปล่อยจิต มันทำหน้าที่ ตามเรื่องราวของมัน ไม่มีส่วนใดที่จะต้องเป็นตัวตน แม้ว่ามันจะทำหน้าที่ได้อย่างประหลาด จิตคิดนึกได้อย่างประหลาดเกิดขึ้น เวทนาก็รู้สึกได้ละเอียดอย่างยิ่ง สัญญาก็สำคัญมั่นหมายได้อย่างยิ่ง เห็นแล้วมันก็เป็นอย่างนั้นเองมันมีลักษณะเป็นอย่างนั้นเอง มีธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง ขันธ์ห้านี้เกิดอยู่เป็นประจำ เกิดดับอยู่เป็นประจำตามธรรมชาติ เป็นขันธ์ล้วน ๆ เป็นเบญจขันธ์ล้วน ๆ แต่ถ้าเข้าไปจับฉวยมาเป็นของกูแล้วมันก็กลายรูปเป็นอุปทานขันธ์ ถ้ามันเป็นเบญขันธ์ล้วน ๆ มันไม่กัดมันไม่กัดใคร แต่พอมาเป็น ปัจจุบาทานขันธ์(นาทีที่ 1.02.33) ของผู้ใดก็กัดผู้นั้น กัดผู้นั้น รูปเป็นของใครมันก็กัดผู้นั้น เวทนาเป็นของใครมันก็กัดผู้นั้น อันจำไว้ให้มั่นว่าเบญจขันธ์ล้วน ๆ นะ ไม่กัดใคร แต่พอเป็น เป็นจุปาทานขันธ์(นาทีที่ 01.02.49 )คือยึดครองว่าเป็นตัวตน โดยผู้ใดแล้วมันก็กัดผู้นั้น งั้นเรามีเบญจขันธ์ได้โดยไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวพยายามไปเรื่อย ๆ พอยึดมั่นถือมั่นถูกกัดแล้วก็ว่างก็ปล่อยเสียตั้งต้นไปใหม่ไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะว่าถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซะเลยมันก็เป็นพระอรหันต์โน่นไปสุดท้ายโน่น เดี๋ยวนี้ยังเป็นปถุชนตัณหาด้วยกิเลสอยู่ก็ รู้จักควบคุมไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ถ้วยสติสัมปะชัญญะสมาธิปัญญา คือธรรมะที่จำเป็นจะต้องมีต้องใช้ แล้วก็อยู่ได้ด้วยเบญจขันธ์ล้วน ๆ นี่มันก็อย่างเดียวกันหละ พอเบญจขันธ์ถูกยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวกูของกู มันก็กลุ้มกลุ้มอยู่ด้วยอุปาทาน จิตใจก็ไม่ปกติ มันก็ความหนักเป็นความทุกข์เป็นความเครียด เด็ก ๆ ที่เรียนหนังสือก็เรียนไม่ได้ดี จะทำงานก็ทำไม่ได้ดี ผู้ใหญ่จะทำก็ไม่ได้ดี พอวางเสียอย่าเอาเบญจขันธ์มาเป็นตัวกูของกูก็ทำได้ดี ความรู้เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสูงสุด สุดไปโน่นไม่ใช่ เป็นเรื่องเดี๋ยวนี้เป็นเรื่องที่ต้องรู้กันเดี๋ยวนี้ จะได้มีชีวิตชนิดที่ไม่มีความทุกข์กันเดี๋ยวนี้ จะได้เป็นพุทธบริษัท แท้จริงถูกต้องกันเดี๋ยวนี้เ คือมีชีวิตที่จะไม่ยึดมั่นถือมันเป็นของตน ทีนี้ มีสติสัมปชัญรู้สึกตัวอยู่ ตลอดเวลา แล้วระบบคำสอนในพระพรุทธศาสนามีมากมาย แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ จะสรุปใจความสำคัญมาอยู่ที่สติปฐานสี่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นกาย ไม่ยึดมั่นถือมั่นเวทนา ไม่ยึดมั่นถือมั่นจิต ไม่ยึดมั่นถือมั่นธรรม ทั้งปวงว่าเป็นตัวตน อาตมาขอท้าทายอย่างนี้ กระทั่งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ นั่นนะมีใจความสำคัญอยู่ที่ไม่ยึดมั่นสิ่งใดโดยความเป็นของตน พอมันง่ายเข้าเอาแจกแจกไอ้ตัว สิ่งที่เป็นจะยึดมั่นถือมั่นให้เป็นสี่อย่าง คือร่างกายอย่างหนึ่ง แล้วเวทนาซึ่งเป็นที่ประสงค์มุ่งหมายของสัตว์ทั้งหลายนี่ก็อย่างหนึ่ง แล้วจิตที่เป็นตัวการรู้สึกคิดนึกแล้วให้พึงอยากกระทำนั้นอย่างหนึ่ง แล้วก็ธรรมทั้งหลายทั้งปวงซึ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นนั่นอีกอย่างหนึ่ง รวมเป็นสี่อย่าง อย่าได้เกิดดความโง่ความหลง ด้วยอวิชชาไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนของตน ก็เรียกปฏิบัติทั้งหมดหัวใจทั้งหมดแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ หัวใจอยู่ที่นี่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสยืนยันอย่างนี้ ว่าปฏิบัติอานาปานสติสมบูรณ์ ก็คือสติปัฏฐานสมบูรณ์ สติปัฏฐานสมบูรณ์ ่โภชชงค์สมบูรณ์ ่โภชชงค์สมบูรณ์ มรรคมีองค์แปดก็สมบูรณ์แล้วมันก็ ก็หมดหมดเรื่อง จงปฏิบัติอานาปานสติให้สมบูรณ์ใสสี่ความหมาย และสติปัฏฐานก็สมบูณณ์ แล้วโภชชงค์ก็สมบูรณ์ อริยมรรคก็สมบูรณ์ ท่านตรัสว่าเมื่อตถาคตอยู่ด้วยอานาปานสติวิหารธรรมก็ได้ ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันนี้ก็แปลกหน่อยที่ท่านใช้คำว่าอานาปานสติ ไม่ได้ใช้คำว่าสติปัฏฐาน ไม่ได้อยู่ในวิหารธรรม คืออานาปานสติก็ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ อาตมาอยากจะแนะนำหรือขอร้องให้สนใจศึกษาเป็นพิเศษเรื่องอานาปานสติสี่ประการ ศึกษาที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าอยู่ด้วยวิหารธรรมอันนี้แล้วจะตรัสรู้ แล้วถ้าว่ายังจิตใจในอาสติปัฏฐานก็ ก็เอาถ้อยคำที่ต่อไปจากนั้น ท่านตรัสว่าอานาปานสติสมบูรณ์แล้วสติปัฏฐานสี่ก็จะสมบูรณ์ สติปฐานสี่สมบูรณ์แล้ว โภชชงค์ ก็จะสมบูรณ์ มรรคมีองค์แปดก็จะสมบูรณ์ก็จะถึงจุดหมายปลายทาง แต่ว่าจะแยกเข้าธรรมะละเอียด แทรกอยู่ในระหว่างนั้นอีกหลาย ๆ อย่างก็ได้ ถ้าไม่จำเป็นตรัสลักษ์อย่างนี้โดยตรงอย่างนี้ อานาปานสติสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว สติปฐานสี่ก็สมบูรณ์ เมื่อสติปัฏฐานสี่สมบูรณ์แล้ว โภชชงค์เจ็ดก็สมบูรณ์แล้ว โภชชงค์สมบูรณ์แล้ว อริยมรรคมีองค์แปดก็สมบูรณ์ เมื่ออริยมรรคมีองค์แปดนั้นสมบูรณ์มันก็บรรลุธรรมะอันสูงสุด เนี่ยขอให้เราศึกษากันในส่วนความผิดพลาดของเราเองในการที่เกี่ยวข้องกับธรรมะเหล่านี้ ศึกษาปฏิจจสุมปบาทจึงลุความว่าง แม้ศึกษาขันธ์ห้า ทั้งห้าพอจะรู้ความว่าง หรือเอากันเพียงสิ่งเดียวว่าศึกษาไอ้สิ่งที่เรียกกันว่าธาตุ ธาตุหรือ ธาตุ ทั้งหมดก็ได้เหมือนกัน ศึกษาธาตุทุก ๆ ธาตุ ธาตุ ทุกๆ ธาตุ เป็นธาตุตามธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวตนและของตน ข้อนี้มีเรื่องที่จะต้องบอกให้ทราบว่าธรรมดา เราถูกสอนถูกบอกกันว่ามีแต่เพียงสี่ธาตุคือดินน้ำลมไฟ หรือมากกว่านั้น เติมอีกสองธาตุ คือธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ แล้วก็สอนกันอยู่เพียงหกธาตุ แต่ที่พบในพระบาลีพระพุทะเจ้าตรัสว่าทุกอย่างเป็นธาตุ ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธาตุ ไม่ใช่มีเพียงแค่หกอย่าง อายตนะก็เป็นธาตุ กล่าวเวทนาก็เป็นธาตุ กุศลก็เป็นธาตุ อกุศลก็เป็นธาตุ กิเลสก็เป็นธาตุ นิพพานก็เป็นธาตุ สังกธาตุก็เป็นสังกธาตุ ทุก ๆ อย่างทุกประการเป็นธาตุหมด แม้แต่ความว่างนี้ก็เป็นธาตุ คำว่าธาตุในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ ก็ต้องอธิบายพวกฝรั่งฟังสักทีก็เวียนหัว มันหาคำที่สำเร็จอย่างนั้นไม่ได้ เอาหละเป็นอันว่า เดี๋ยวนี้เรามองเห็นสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นธาตุ เวทนาก็เป็นธาตุ สุขเวทนาก็เป็นธาตุ ทุกขเวทนาก็เป็นธาตุ อทุกขมสุขเวทนาก็เป็นธาตุ ตาหูจมูกลิ้นกายใจก็เป็นธาตุ รูปเสียงกลิ่นรสบทสภ(นาทีที่ 01.10.04)ก็เป็นธาตุ วิญญาณทั้งหลายก็เป็นธาตุ ผัสสะทั้งหลายก็ เป็นธาตุหมดไม่มีอะไรไม่เป็นธาตุ หรือเป็นธาตุก็สักว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติมันก็ไม่ใช่ตัวตน ปล่อยให้เป็นธาตุตามธรรมชาติ อย่ายึดถือมาเป็นตัวตนอย่างนี้มันก็ได้เหมือนกัน แต่บางทีมันคงจะทำยาก สำหรับผู้เรียนมาอย่างอื่น เรียนมาเพียงสี่ธาตุ หรือเรียนมาเพียงหกธาตุ แต่ที่แท้ที่ตรัสไว้โดยพระพุทธเจ้าเองไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธาตุ สังกตธาตุมีมากมายมหาศาล อสังกตธาตุก็มีแต่นิพพาน เห็นด้วยความเป็นธาตุ และก็ไม่เห็นด้วยความเป็นตัวตน เมื่อไม่เห็นด้วยความเป็นตัวตน มันก็ว่าง มันก็ไม่ได้จับฉวยอยู่ที่อะไร ถ้าว่าง ถ้าว่างคือมันไม่ได้จับฉวยอยู่ที่อะไร มันไม่ได้ผูกพันธ์อยู่กับอะไร มันก็ไม่ได้ไปติดอยู่กับอะไร พวกฝรั่งใช้คำนี้ดีมาก คือว่า แอทแทค(นาทีที่ 01.11.16) มันก็ใช้มันเต็มที่ แล้วคิ้ง คิ้ง คิ้ง คิ้งทู้ (นาทีที่ 01.11.22) มันก็ใช้สำหรับคำนี้ แกส แกส แกส แอท แกส แอท(นาทีที่ 01.11.25) ก็ใช้สำหรับคำนี้ ที่เราใช้ในเพียงไทย คำว่ายึดมั่นถือมั่น คำเดียว ลองคิดดูเถอะ ยึดมั่นถือมั่น แอทแทค คิ้ง คิ้ง คิ้ง ทู้ (นาทีที่ 01.11.38) มันเอียงไปหาเอียงไปเกาะเกมไปจับ กาสตะครุบ(นาทีที่ 01.11.43)ไป ไม่ทำอย่างนี้ ต่อสิ่งทั้งปวงที่สักแต่เป็นธาตุตามธรามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ ว่าขันธ์ ว่าเบญจขันธ์ เมื่อไม่มีอาการเหล่านี้มันก็เรียกว่าว่างและได้หยุดก็ได้ หลุดพ้นก็ได้ ความหมายเดียวกันถ้าว่างมันก็คือหยุด ถ้าหยุดมันก็เป็นสุข หรือพักผ่อนหรือหลุดพ้น แต่ถ้าว่าสิ่งนี้เป็นสุขก็ขอให้ใช้ความหมายอื่น คือสุขที่ไม่คู่กับทุขก์ พระนิพพาน เมื่อพูดอย่างโฆษณาชวนเชื่อก็ตรัสว่า นิพพานเป็นสุขยิ่ง แต่เมื่อตรัสอย่างแท้จริงอย่างไม่โฆษณาชวนเชื่อก็ตรัสว่าที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวง นิพพานคือที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวง แต่ถ้าจะให้มันคนโง่ปุถุชนสนใจก็ตรัสว่า นิพพานความสุขอย่างยิ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ดีความสุขในที่นี้ สุขในที่นี้มันก็มีหมายความต่างจากความสุขจากภาษาชาวบ้าน ซึ่งคู่กับทุกข์ คามสุขนั้นมันเป็น มัน มันอาศัยตัณหา อาศัยอวิชชา ของชาวบ้านนะ มันเลยรู้สึกเป็นสุข แต่ความสุข ความสุขแบบนนิพพานนี้อย่า ไม่ต้องอาศัยอวิชชา อาศัยตัณหา อาศัยอะไร อาศัยสติปัญญาสูงสุด แล้วก็รู้ว่ามันไม่สุขมันไม่ทุขก์นั่นเรียกว่าสุขอย่างยิ่ง ถ้าสุขอย่างชาวบ้าน นั้น คือมันยังติดอยู่ในฝ่ายบวก มันต้องไม่มีจิตดอยู่ทั้งฝ่ายบวกฝ่ายลบ ก็คือเหนือสุขเหนือทุกข์ เหนือบุญเหนือบาป เหนือกุศล เหนืออกุศล จึงจะเรียกว่าถึงที่ว่าง ว่าง แล้วก็ว่างอย่างไม่มีขอบเขตเสียด้วย อาตมาขอรบกวนเวลา พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ เรื่องความเป็นกลาง และก็พูดถึงเรื่องความว่าง อันสุดท้ายนี้ว่า ในฐานะเป็นประโยชน์สารเป็นจุดจบแห่งพรหมจรรย์ จึงรู้จักเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ รู้จักระแสแห่งพรหมจรรย์ และรู้จักจุดสุดท้ายประโยสารแห่งพรหมจรรย์ ก็พอที่จะกล่าวได้ว่า เป็นความรู้ที่สมบูรณ์ มันไม่มากเกินไป ถ้ามากเกินไป มันก็เป็นเรื่องหอบฟาง เป็นบ้าหอบฟางมันก็ไม่รู้จะใช้อะไรมันนก็จะไม่ได้รับประโยชน์อะไรกัน เราจะมีไว้ตรง ๆ ใช้ประโยชน์กันตรง ๆ ก็รับประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ทีนี้ก็มีธรรมะที่จำเป็น ที่ได้มาจากการปฏิบัติอานาปานสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสติปัญญา สัมปชัญญสมาธิ ไอ้ตัวใหญ่ ๆ สี่ตัวนี่ ก็เกลอ เกลอ สี่เกลอ ช่วยได้ นอกนั้นเอามาเป็นบริวารของสี่เกลอ เช่น วิริยะ ขันติ โสทสะ หิริโอตะปะ (นาที่ 01.15.15) แล้วก็มาเป็นบริวาร แล้วไอ้สี่เกลอนี้มันทำหน้าที่สมบูรณ์ แบบ มันสำคัญอยู่ที่ปัญญา ปัญญาศึกษา พอกพูน หรือประกอบก็ได้ ให้มีครบถ้วนไว้ ว่าสิ่งทั้งปวง ทั้งปวงนั้น อนัตตา ถ้าใครเข้าใจชัดเจนขึ้นไปก็ดูตั้งแต่อนิจตา (นาทีที่ 01.15.45 ) ก็ดูที่ทุกขตา หน้าเสพด้วย ก็ดูด้วยอนัตตา มันก็ไม่ใช่ตน ปัญหามีอยู่หน่อยตรงคำว่าทุกขตา ทุกขตา ทุกขาตามุ่งกันอยู่แต่เป็นทุกขทรมาน เป็นทุกทรมาน เขา ก็ไม่เลิกไม่เข้าใจ แม้ที่เรียกว่าความสุข ความสุข มันก็มีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เหมือนกัน ไอ้ตัวความสุขดูให้ดีมันก็มีความไม่เที่ยงแบบเป็นทุกข์เหมือนกัน งั้นเราถือกันเอาตามตัวหนังสือนั่นเหมาะที่สุด ทุกขตาแปลว่าสิ่งที่น่าเกลียดน่าชัง เป็นความทุกข์จากที่เจ็บปวดก็ดี จะเป็นความทุกข์ เพราะว่ามันไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ก็ดี มันรวมกันอยู่ในำคำนี้ ว่ามันช่างน่าเกลียด ความทุกข์นี้มันน่าเกลียด มันขบกัดซะน่าเกลียด มันหลอกลวงมันน่าเกลียด แม้จะเป็นความสุข ว่ามันก็ยังน่าเกลียดเพราะมันหลอกลวง ไม่เห็นไม่เที่ยง หรือเห็นเป็นทุกข์ แล้วก็เห็นอนัตตา แล้วก็เห็นอีกธรรมมัติจิตตา ว่า ธรรมชาติ ธรรมดา คืออย่างนี้ ธรรมชาติ ธรรมดา คือไม่เทียงเป็นทุกข์เป็นอันนัตตา เป็นอย่างนั้น เป็นธรรมัตจิตตา เป็นธรรมดา ของธรรมชาติให้เห็นชัดอยู่ ทั้งปวงไม่เที่ยงเรียกเป็นอนัตตา แล้วเมื่อถามว่าทำไมเป็นอย่างนี้ ก็เห็นชัดว่ามันเป็นธรรมนียามาตา มันมีกฎเกณฑ์ของธรรมชาติบังคับอยู่ควบคุมอยู่ มันจึงเป็นอย่างนี้ เรียกว่าธรรมะนียามะตา มันมันกฎเกณฑ์ของธรรมชาติบังคับอยู่ ควบคุมอยู่ มันจึงเป็นอย่างนี้ เรียกว่าธรรมะนียามะตา ในธรรมชาติทั้งหลายมีกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติก็ควบคุมตัวธรรมชาติเป็นไปตามกฎ เนี่ยคือสิ่งที่เราเรียกว่าธรรมะนียามะตา เมื่อสิ่งทั้งหลายจะย่อมเป็นไปตามกฎอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ ก็คือมันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เลยเรียกขึ้นมาอีกชื่อหนึ่งว่า อิทัปปัจจยตา นี่ คือตัวปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา ความที่ต้องเป็นไปตามปัจจัย ความที่ต้องเป็นไปตามปัจจัยตลอดไป นี่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เลยเห็นว่าอู๊ย จะไปเอาอะไรกับมันเป็นตัวตน มันก็ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมันอยู่เนียงนิจ มันเหลืออยู่ อีกสิ่งเดียวนั้นคือที่ว่าไม่ต้องเป็นไปตามนั้น ออกไปเสียจากกระแส อันนี้ต่างหากเรียกว่าพระนิพพาน เดี๋ยวนี้ไม่เห็นว่าทุก ๆ อย่างในอัตตภาพชีวิต ไอ้นี่มันเป็น เป็นเป็นสิ่งที่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์อันนี้ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เห็นหนักเข้า หนักเข้าก็ โอ้มันว่างจากตัวตนคือสุญญตา เห็นสุญญตาหนักเข้า หนักเข้าก็จะเข้าใจว่า อ๋อมันมีเท่านี้เอง เช่นนี้เอง เท่านี้เอง เช่นนี้เอง ไม่แปลกอะไรไปจากนี้มันก็เฉยได้ เรียกว่าอตัมมยตา ต่อไปนี้ปัจจัยอะไร ปัจจัยอะไร ๆ มาปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป เรียกว่าอตัมมยตา มีอยู่เก้าตา เห็นว่าง่ายดี แล้วก็นำมาบอกมากล่าวกัน พระพุทธเจ้าไม่ได้เคยใช้ว่าคำว่าเก้าตา แต่ว่าไอ้ ตา ๆ เหล่านี้ได้ตรัสไว้ที่นั่นที่นี่ ที่โน่นจนครบไปหมด อาตตมาเองไปรวบรวมเอามาเป็นชุดเก้าตา ให้ง่ายให้สะดวกแก่ผู้ที่จะศึกษา จนตั้งต้นเห็นอนิจจะตาความไม่เที่ยง หรือเห็นอัตตาความน่าเกลียด คือต้องเป็นไปตามความไม่เที่ยง แล้วก็เห็นอนัตตาคือความไม่ใช่ตัวตนซะเลย แล้วก็เห็นอันนี้คือความเป็นธรรมชาติธรรมดา เรียกว่า ธัมมติตา(นาทีที่ 01.19.52 ) แล้วนี่ก็เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เรียกว่า ธรรมมัญญานะตา(นาทีที่ 01.19.56) กิริยาอาการของมันเป็นอย่างนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา คือ ปฏิจจสมุปบาทในความหมายทั้งหมด ใช้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตและมีชีวิต ถ้าเราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ความหมายมันแคบเข้ามามันมาใช้ได้กับสิ่งที่รู้สึกสุขหรือทุกข์และไม่มีชีวิต ใช้คำว่า อัตถะอิทับปัจจะยะตา(นาทีที่ 01.20.18 ) ก็ครอบหมดไม่ยกเว้นอะไร นี่ก็เห็นว่าว่างจากตัวตน มีแต่สิ่งที่ไหลเวียนไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจอย่างนี้ เรียกว่าว่างจากตัวตน ที่มั่นคงถาวรจะไปยึดถือเอาเป็นตัวตนได้ เรียกว่าเห็นสุญญะตา นี่เราพูดกันมาตลอดเวลาว่าว่าง ว่าง ว่าง ว่าง เมื่อเห็นเช่นนั้น เช่นนั้นเอง ก็เรียกว่าตถา ตถาตา ผู้ใดเห็นตถาเรียกว่าตถาคต ผู้ใดเห็นซึ่ง ตถา ซึ่งเรียกว่าตถาคต คือความเป็นพระอรหันต์ ถึงซึ่งถาไปแล้ว เห็นตถาไปแล้ว ก็คือพระอรหันต์ ภาวะสุดท้ายก็เรียกว่า อัตตัมยตา คงทิ (นาทีที่ 01.21.09 ) ไม่ปรับตัวว่ากับปัจจัยอะไร ปัจจัยอะไรก็ไม่สามารถจะปรุงแต่งได้อีก ทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล อย่างน่าดู อตัมมยะตา แม้ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็พยายามฝึกให้เป็นอตัมมยะตา ไม่ให้ปัจจัยใ ด ๆ เข้ามาปรุงแต่งได้ ไม่ให้ความเป็นบวกหรือเป็นลบของสิ่งใด ๆ มาปรุงแต่งจิตใจได้ ให้เขยื้อนให้ไขว้เขวไปได้ นึกถึงไอ้คำตะกี้ว่าสุญญตาวิหาร สุญญตาวิหารอยู่ด้วยสุญญตา ไม่มีอะไร ๆ ที่ทำให้จิตใจหวั่นไหวไปได้ ขอย้ำอีกทีว่าคนธรรมดา เพียงเห็นบุรุษไปรณีย์เดินเข้ามาในบ้านก็หวั่นไหวแล้ว มันหวั่นไหวเหตุการณ์อะไรจะเกิดอะไรขึ้นในจดหมาย นั้น ในโทรเลขฉบับนั้น มันเป็นเอามาก ๆ ถึงขนาดนี้ เดี๋ยวนี้เราไม่หวั่นไหว แม้บุรุษไปรณีย์จะหอบจดหมายมาสักหอบหนึ่งก็ไม่หวั่นไหว แล้วผู้ใหญ่ผู้หลักผู้มีเกียรติเข้ามาในบ้านจิตก็อย่างเดิม ทายกเข้ามาในบ้านก็อย่างเดิม ยาจกเข้ามาในบ้านก็อย่างเดิม จิตอย่างเดิมไปหมด สุญญตาวิหาร ทั้งนั้นทั้งนี้ก็เพราะว่ามันมีอตัมมยะตา เพราะเอามาบอกเอามาสอนกันครั้งแรกก็ถูกด่ามาย้อมแมวขาย เอาธรรมะมาจากที่ไหนก็ไม่รู้หลอกคน ก็มาชี้ให้ดูว่านั่น นั่นมันอยู่ในพระไตรปฏกไอ้ตรงนั้น ตรงนั้นมันก็มีอยู่ตั้งหลายแหล่งมันจึงเงียบไป นี่นี่ขอให้สนใจคำที่เป็นไพเราะ อตัมมยตา อตัมมยตา ตัวหนังสือแท้ ๆ มันก็ว่า ไม่อาศัยปัจจัยอะไร ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัยอะไร ไม่ถูกสร้างถูกปรุงโดยปัจจัยอะไร พูดให้ฝรั่งฟังก็ไม่ถูกโปรดิ้วซะโดยสิ่งใด ๆ อะไร คือ อตัมมยตาแล้วก็เป็นอันนว่า อาตตมาก็เลยพูดมาถึงจุดสุดท้ายของพระพรหมจรรย์ ขอให้ท่านทั้งหลายเอาไปต่อกันเองว่า ตั้งต้นอย่างไรดำเนินมาอย่างไร และจุดจบของมันอย่างไร พุทธศาสนาเรา เนี้ย ความรู้อย่างนี้เป็นหลัก แล้วเราก็อย่ามาไปดูถูกศาสนาอื่น เพราะว่าประชาชนที่นั่นยุคนั้นมันมีความรู้อย่างอื่น มีวัฒนะธรรมอย่างอื่น มีอะไรอย่างอื่น เขาก็ต้องสอนแบบอื่น พุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศหรือในหมู่มนุษย์ที่มีวัฒนธรรมอย่างนี้ ที่มีความนึกคิดอย่างนี้ ที่มีภูมิของจิตอย่างนี้ ก็ต้องสอนอย่างนี้ แต่แล้วมาดูวิธีอีกทีโอ้ในที่สุดมันมาจบลงที่ว่าอย่างไปเห็นแก่ตัว อย่าไปเห็นแก่ตัว ถ้าเห็นแก่ตัวจะเกิดกิเลสทุกชนิด พุทธศาสนาเราโชคดีที่ว่าสอนให้ไม่มีตัว ไม่มีตัวมันก็ไม่เห็นแก่ตัวปฏิบัติตามนั้นแล้ว ก็ไม่เกิดกิเลสทุกชนิด ถ้าลัทธิศาสนาไหนไปสอนว่ามีตัวมีตัวเขาก็จะต้องสอนให้ ทับลงไปว่าทำอย่างไรจึงจะไม่เห็นแก่ตัว จะต่อสู้อย่างไร จะลากเอาตัวมาอย่างไร เพื่อไม่ให้เห็นแก่ตัว เขาก็ลำบากกว่าเรา ทีนี้เขาก็มีอุบายตามแบบของเขา เช่นว่า ไอ้ตัว ตัวนี้ กูไม่เอาแล้ว เอาไปให้พระเจ้า ไปถวายพระเจ้า แล้วเสียแต่พระเจ้า เพื่อจะหลีกเลี่ยงความเห็นแก่อย่างนี้มันก็ยังพอดูได้ จะอยู่ร่วมกันโดยไม่เห็นแก่ตัว กับเรา เราชาวพุทธที่ไม่มีตัว เขามีตัวแต่เขาเอาไปให้พระเจ้าซะแล้ว ก็ได้เหมือนกัน เราว่างจากตัวด้วยกันมาพูดกัน พยายามทำให้โลกไม่มีความเห็นแก่ตัว พอไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่เกิดกิลสใด ๆ ได้ ก็ไม่เกิดความทุกข์ใด ๆ ได้ นี่เป็นสำคัญลึกซึ้งที่สุด แต่คำพูดมันพูดยาก ความรู้มันคล้าย ว่า พูดเล่น พอไม่เห็นแก่ตัวก็ไม่เกิดกิเลสใด ๆ ไม่เกิดกิเลสใด ๆ มันก็ไม่มีความทุกข์ใด ๆ นั้นจงพยายามไม่ให้เห็นแก่ตัว สอนลูกหลานเล็ก ๆ ไม่ให้เห็นแก่ตัว การศึกษาของเราให้มันสูงสุดอยู่ที่สอนความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัวแล้วปัญหามันจะไม่มี เมื่อประชาชนมันเห็นแก่ตัวมันเต็มอัดอยู่อย่างนี้แล้วจะไปบอกเขาว่าอย่าเลือกผู้แทนที่มาจ้างให้เลือก มันป่วยการ มันป่วยการ เพราะประชาชนมันเห็นแก่ตัวเห็นแก่ตัว ถ้าสอนไม่ให้เห็นแก่ตัวได้ นะไม่ต้องบอกประชาชน ประชาชนมันก็ไม่เลือกผู้ที่มาจ้างให้เลือกอยู่ดี นี้ประโยชน์ของความไม่เห็นแก่ตัว มันไม่ทำผิดคิดร้ายใด ๆ มันไม่เกิดการกระทำความผิดทั้งทางแพ่ง ทั้งทางอาญาหรอก ถ้ามันไม่เห็นแก่ตัวมันก็สบายมันก็ไม่ต้องมีศาลไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีเรือนจำ ถ้าไม่เห็นแก่ตัว ขอให้ช่วยกันทำความเข้าใจในเรื่องนี้ มันจะปิดศาล ปิดเรือนจำ ปิดตำรวจ ปิดอะไรในตัวเอง ถ้าไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว และอะไร ๆ มันจะดีกว่านี้ นี่มันก็จะหวังยากแล้ว เมื่อไหร่เขาจะจัดการศึกษากันอย่างนี้สักทีเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เราก็ได้แต่พูด ไม่มีอำนาจอะไรไปจัด แต่ถ้าช่วยกันโวย ๆ ไปบ่อยบางทีมันก็จะมีผู้สนใจ การศึกษาโลกนี้ไปเพื่อ การไม่เห็นแก่ตัว เป็นศาสนาเดียว ศาสนาเดียวของโลกทั้งจักรวาล แก้ปัญหาได้หมดสิ้นแล้วก็ว่าง ว่าง ว่าง แล้ว ก็ว่างจากปัญหา ว่างจากความทุกข์ ว่างจากปัญหา ใช้ได้ แล้วการบรรยายนี้ก็สมควรแก่เวลา อาตมาก็รู้สึกว่าเจ็บคอ แล้วก็ไม่ค่อยมีแรงจะพูด จึงต้องขอยุติการบรรยายในวันนี้ ไว้เพียงเท่านี้ แล้วก็ขอปิดประชุม