แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อ่าท่านสมาชิกและคณะธรรมะปัญญาและท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย วันนี้อาตมาตั้งใจจะพูดเรื่องพรหมจรรย์และอาทิพรหมจรรย์ เป็น 2 คำ หรือ 2 เรื่องอยู่ แต่มักจะถูกเอาไปปนกันจนไม่ได้ความ พรหมจรรย์ก็คือตัวพรหมจรรย์กัน(1.56) ปฏิบัติเพื่อที่สุดแห่งความทุกข์ นี้อาทิพรหมจรรย์ก็คือจุดตั้งต้นนี่ของพรหมจรรย์ เรื่องที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ หรือจุดตั้งต้นของการปฏิบัติ มันก็แล้วแต่จะหมายถึง มีคำว่าอาทิเติมเข้ามา พรหมจรรย์กับอาทิพรหมจรรย์เราควรจะรู้จักดีทั้ง 2 อย่าง แต่อาตมาอยากจะให้ทราบความหมายที่แท้จริงและกว้างขวางของคำว่าพรหมจรรย์นี้เป็นพิเศษ บางคนอาจจะหัวเราะเยาะก็ได้ว่าใจความสำคัญที่สุดของคำว่าพรหมจรรย์มีอยู่ 2 คำสั้นๆ ที่จะมองไปในทางคำว่ากลาง กลาง อยู่ตรงกลางนี่ก็ได้ หรือจะมองไปอีกคำหนึ่งคือว่าว่าง ว่างจากสิ่งที่เป็นสาระแห่งอัตตา เรียกว่าว่างก็แล้วกัน นี่ถ้ารู้จักความหมายของคำว่ากลางกับคำว่าว่าง ก็จะรู้จักสิ่งที่เรียกว่าพรหมจรรย์ได้โดยง่าย เราพิจารณากันถึงไอ้คำ 2 คำนี้เป็นพิเศษ เราก็จะเข้าใจไอ้คำที่เป็นหลัก เป็นพระบาลี คือเป็นหมวดเป็นหมู่เป็นระบบเป็นอะไรได้โดยง่าย
ถ้ามีความเป็นกลาง ถูกต้องหมดไปทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นก็คือเป็นตัวพรหมจรรย์เป็นตัวพุทธศาสนา บางทีจะไม่ต้องเรียนอะไรกันมากก็ได้ ถ้าเข้าใจคำว่ากลาง และคำที่พูดกันอยู่ตามปกติ คำหนึ่งคือคำว่ามัธยัสถ์ มัธยัสถ์นี่ คำนี้ถูกนำมาใช้ผิดความหมายในประเทศไทย มันกลายเป็นเรื่องกระเหม็ดกระแหม่อดออมอะไรนี่เป็นทำนองนั้น แต่คำๆนี้มันมีความหมายว่า ตั้งอยู่ตรงกลาง มัธยะ มัธยะ (5.26) นี่แปลว่ากลาง สัธธะ หรือ อสัธธะ (5.31) นั่นแปลว่าตั้งอยู่ มัธยัสถ์นั่นคือตั้งอยู่ตรงกลาง มีความหมายอย่างเดียวกับมัชฌิมา มัชฌิมา มัชฌิมาแปลว่ามีอยู่ที่ตรงกลาง มัธยัสถ์แปลว่าตั้งอยู่ที่ตรงกลาง ถ้าปฏิบัติถูกต้องใน 2 ความหมายนี้แล้ว มันก็จะถูกต้องตามหลักที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา นั้นเดี๋ยวนี้เราไม่รู้ว่าจะตรงกลางกันอย่างไร นั้นถ้าจะใช้คำให้ต่ำลงมาอีกเพราะเด็กๆ (6.18) ก็ต้องใช้คำว่าพอดี พอดี แต่แล้วคำว่าพอดีมันก็อธิบายอยาก บางคนเค้าเอากิเลสหรือความต้องการของเค้ามาเป็นเครื่องวัด มันก็เป็นเรื่องพอดีของกิเลส มันก็ไม่เกี่ยว มันไม่ใช่พอดีของความถูกต้องที่เป็นธรรมะ นี่มันจะน่าหัวถ้าเราจะพูดให้พวกอื่นฟังว่าพุทธศาสนาไม่ได้สอนอะไร สอนแต่เรื่องความพอดี คือความเป็นกลางหรือความพอดี เค้าก็จะหัวเราะกันใหญ่ หรือพวกเรากันเองที่เรียนมากจนจะจบพระไตรปิฎกไปแล้ว ก็คงจะหัวเราะเหมือนกัน อาตมาก็เคยมองข้ามหัวเราะไอ้คำพูดง่ายๆเหล่านี้ ต่อมาก็เพราะว่าอ้าวมันไม่อยู่ที่ เรียกว่ากลางถนนหนทางนี้ก็ได้ ความเป็นกลางและความพอดีนี่ความหมายมันเหมือนๆกัน ถ้าจะมองให้มันต่างกันก็มี ถ้ามันเป็นกลางมันก็ไม่ฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ คือไม่ขาดไม่เกิน หรือพอดีมันก็อยู่ตรงนั้นแหละ ไม่ขาดไม่เกิน ไม่มากไม่น้อย ไม่สั้นไม่ยาว นั้นขอให้ทราบว่าไอ้ความพอดีย่างนี้มีเองโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิตตามธรรมชาติ นี่มันเป็นหลักการของธรรมชาติที่ต้องประพฤติอย่างนี้ ชีวิตในจักรวาลนี้มันจึงรอดๆมา ถ้าไม่มีความถูกต้อง มัน (8.24)เป็นกลางหรือความพอดีแล้ว มันก็พังทลายกันหมดแล้วจักรวาลนี้ มีความเหมาะสมถูกต้องพอดี มันจึงไม่ชนกัน ไม่อะไรกัน ในที่สุดแต่ว่าไอ้สัตว์ทั้งหลายมันรู้จักไอ้คำพอดี มันจึงอยู่มาได้ ทำรังอยู่ก็ทำพอดี กินหญ้ากินอาหาร ก็กินแต่พอดี กินแต่พอดี นี่มันมีความพอดีอื่นๆอีกหลายอย่างหลายประการ ชีวิตของสิ่งที่มีชีวิตจึงรอดมาได้ แม้ในหมู่คนเรานี้ก็เหมือนกันแหละ มันมีความพอดีโดยอัตโนมัติที่อยู่ในการกิน การนอน การอาบ การถ่าย การออกกำลัง การทำการงาน การอะไร มันทำพอดี แล้วมันก็รอดมา ใครทำเกินพอดี คนนั้นก็ลำบาก มันมีปัญหาเกิดขึ้น ในความเป็นกลางกับความพอดีนี่ ความหมายมันเหมือนๆกัน แต่เราไม่คิดอย่างนั้น เราก็มุ่งแต่ที่จะมากตามที่กิเลสมันต้องการ ในความพอดีมันก็เลยไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ตรงไหน แม้แต่สถานะของตัวแท้ๆ มันก็ไม่รู้ว่าควรจะอยู่ในสภาพอย่างไร จะมีอะไรพอดี เครื่องใช้ไม้สอยมันก็ยังไม่ค่อยจะถูกต้อง มันมีเกิน มันมีมันมักจะมีเกิน เพราะกิเลสตัณหามันต้องการ ไอ้ส่วนที่ขาดนั้นมันไม่ค่อยชอบ มันก็ไม่ต้องมี มันก็ไม่ค่อยจะมีเรื่องราวอะไรมาก ถ้ามันขาด ก็ยิ่งหาๆๆ ให้มันมากๆๆจนเกินพอดี มันอยู่แต่เรื่องไม่พอดี เรื่องไม่พอดี นี้เรียกว่าความไม่เป็นกลาง หรือความเป็นกลางคือความพอดีตามธรรมชาติ ถ้าไม่มีความพอดีมันตายหมด มันตายหมดแล้ว ไอ้คำที่มันง่ายหรือต่ำลงกว่านั้นอีกก็คือไอ้ความเหมาะสม ความเหมาะสมมีก็รอด ความไม่เหมาะสมก็ตาย เดอะพลิกเก็ต เดอะเซอร์ไวฟวอล (11.25)ได้ยินเค้าถือเป็นหลักอยู่อย่างนั้น นั่นทางหลักวิทยาศาสตร์ อะไรเหมาะ อันนั้นอยู่ อะไรไม่เหมาะ อันนั้นก็ไป นี่มันเป็นหลักหัวใจของพระพุทธศาสนา แล้วเราก็ไม่รู้สึก แล้วเราก็ไม่สนใจคำว่าความเหมาะสม ความพอดี แล้วมันไปรวมอยู่ที่คำว่าไอ้เป็นกลาง ถ้าไม่เป็นกลางพอดีไม่ได้ ไอ้ฝ่ายโน้นก็มากไปมากไป ไอ้ฝ่ายนี้ก็น้อยไปอย่างนี้
นี่ขอให้เข้าใจคำว่ามัชฌิมา มัชฌิมานี่ความเป็นกลาง ไม่ถูกต้อง จะมีความถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาได้โดยอัตโนมัติ พูดอย่างนี้จ้องจะเอาเปรียบหน่อย แต่มันมีความจริงอย่างนั้น เราถือหลักบนความถูกต้องพอเหมาะพอดี มันจะเป็นการถูกหลักพุทธศาสนาโดยอัตโนมัติ แล้วคนที่เค้าไม่เคยเรียนพุทธศาสนา เค้าก็มีพุทธศาสนาได้ เรามีความเจริญได้ เพราะเค้ารู้จักทำให้มันถูกต้องพอเหมาะพอดีหรือเป็นกลาง เพราะเป็นเรื่องที่เป็นได้ตามธรรมชาติดังที่กล่าวแล้ว ไอ้ระบบสุริยะจักรวาลนี้ต้องมีความถูกต้อง ความพอดี ความเป็นกลาง ความอะไรควบคุมอยู่อย่างยิ่ง มันจึงไม่แตกสลาย ก็เลยแบ่ง ขอแบ่งเอามาใช้ในส่วนบุคคลแต่ละคน แต่ละคน หรือแต่ละชีวิต มีความถูกต้องเหมาะสมหรือความเป็นกลาง จำคำว่าเป็นกลาง กลาง กลาง นี้ไว้เป็นหลัก เพราะมันเป็นคำที่ใช้อย่างเต็มที่ อย่างมั่นอย่างมั่นคงในพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นเรื่องโลกุตตะระก็ใช้คำว่ามัชฌิมาเถอะ แต่ถ้าเป็นเรื่องบ้านเรือนโลกียะนี่ก็ใช้คำว่ามัธยัสถ์นี่ก็แล้วกัน อยู่ในโลกอย่างมัธยัสถ์ ออกไปจากโลกอย่างมัชฌิมาปฏิปทา นี้จะพบที่สุดแห่งความทุกข์คือพระนิพพาน นิพพานในบ้านในเมืองในโลกนี้เรียกว่านิพพุตติ นิพพุตติ (14.10) คือความสงบเย็น นี้ก็มาจากความเป็นกลาง ความถูกต้อง ความเหมาะสมเหมือนกัน เรียกว่าก็มาจากมัธยัสถ์ มันก่อให้คนในโลกอยู่อย่างมัธยัสถ์ มันก็มีนิพพานอย่างโลกๆ คือนิพพุตติ (14.31) นี่ เค้าให้มีความเป็นกลางอย่าฟุ้ง (14.35)คือมัชฌิมา มัชฌิมาปฏิปทา นี่จะออกไปจากโลกคือโลกุตตะระ ความไม่มัชฌิมานี่ขอให้ดูอย่างเป็นกลาง ดีกับชั่วคู่นี้มัชฌิมามั๊ย มัชฌิมาที่ตรงไหน ดีก็เป็นฝ่ายบวกสุดไปก่อน ชั่วก็เป็นฝ่ายลบสุดไปก่อน มัชฌิมามันอยู่ที่ตรงไหน มัชฌิมามันก็อยู่ที่เหนือดีเหนือชั่วนั่น ใช้คำว่าเหนือโลกุตตะระยิ่งหรือเหนือ ไม่ใช้คำว่าอยู่ตรงกลาง เราพูดกับพวกฝรั่งก็สอนให้เค้าระมัดระวังคำนี้ที่สุดแหละ เพราะฉัน(15.35)ใช้คำว่าบียอนหรืออะเบอฟ (15.36) ฉัน (15.37) ไม่ได้ใช้คำว่าบีทวีน (15.39) ที่อยู่ตรงกลาง ไอ้อยู่ตรงกลางนี่ปลอดภัย เข้าไปข้างไหนเมื่อไรก็ได้ แต่ถ้าอะเบอฟหรือบียอนหรืออัลตรา (15.50)เสียแล้ว มันก็หมดๆปัญหาสำหรับที่จะสร้างให้มันเป็นกลางจริงๆ บุญกับบาปมันก็ไม่ใช่เป็นกลาง มันก็มีบวกลบนั่นแหละ สุขหรือทุกข์มันก็ยังไม่ใช่เป็นกลาง มันบวกจัดลบจัด มันต้องเหนือ ต้องเหนือความหมายเหล่านี้ มันจึงจะเป็นกลาง แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าอทุกขมัทสุขเวทนา (16.24) เวทนาที่หมายความว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันก็ยังไม่ใช่กลาง เพราะมันยังมีความหมายผูกพันอยู่กับสุขและทุกข์ อทุกขมัทสุขเวทนา (16.36) นี้ ไม่ๆใช่เรื่องเหนือหรือเป็นกลาง มันยังอยู่ระหว่างสุขและทุกข์ ยังเกลือกกลั้วกับสุขและทุกข์ ยังมีเจตนาที่จะมีความสุข แต่ถ้าใช้คำว่าอุเบกขา มันก็ๆๆต้องอธิบายกัน
อุเบกขามันหลายความหมาย ที่จริงอุเบกขาในเวทนามันไม่มีแล้ว ไม่มีตะกุอุเบกขาเวทนา โดยเฉพาะในกุทันต (17.07)ทั้งหมด ถึงอภิธรรมก็ไม่ใช่จะเป็นจะมีอุเบกพิมสี่ (17.12) ไปอย่างโน้นซะมากกว่า ที่เรียกว่าอุเบกขาเวทนา (17.16) ถ้ามันไม่กุศลหรือว่าอกุศล ก็ใช้ๆคำอื่น ใช้คำว่าอัพพยากริต อัพพยากริต (17.28) คำว่าอัพพยากริต (17.30) นี่มันก็แปลไม่มันแปลว่า ยังกล่าวไม่ได้ว่าเป็นอะไร หรือยังไม่ได้บัญญัติว่าเป็นอะไร ยังไม่ได้บัญญัติว่าเป็นถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป นี่มันก็ยังไม่ใช่กลาง อัพพยากริต (17.44) ในความหมายธรรมดาอย่างนี้ นี่มันก็ยังไม่ใช่กลาง ไม่ใช่กลาง แต่ถ้าเล็งไปถึงคำว่าอุเปกขึ้นสี่ อุเปกขึ้นสี่ (17.54) มันเป็นใหญ่ในความเป็นอุเบกขา นี่ๆมันก็มีลักษณะเอียงไปในทางที่จะๆเป็นกลาง นี่มันก็กลายเป็นว่าเราเรียนภาษากันเสียแล้ว แต่ข้อนี้มันก็มีความจริงว่าต้องเรียนภาษาด้วย เพราะว่าภาษาจำมาไม่ถูกต้องก็มี ตีความหมายผิดๆก็มี ขยายออกไปเกินขอบเขตก็มี ถ้ายังธรรมะมันกลายเป็นต้องเรียนภาษาด้วย คือภาษาไอ้ส่วนที่มันเกี่ยวกับธรรมะนั่นแหละ นั้นอย่าได้รำคาญที่จะต้องพูดกันถึงเรื่องถ้อยคำในเรื่องภาษา คือเดี๋ยวนี้ในส่วนทั่วๆไปของประชาชนทั้งหมดนี่มันยังไม่ต้องการความเป็นกลาง ต้องการความเป็นบวก หรือเป็นบุญหรือเป็นกุศลยิ่งขึ้นๆ เค้าไม่ต้องการความเป็นกลาง ดังนั้นจึงไม่ๆสนใจพระนิพพาน หรือมันไม่น้อมเอียงไปทางพระนิพพาน น้อมเอียงแต่ไปในทางที่ฝ่ายบวก เรียกว่าบุญกุศลความสุขอะไรก็แล้วแต่ จตุพิธพร จตุพิธพร (19.24) คือพระให้พรนี่ คนทั้งหลายทั้งมวลต้องการกันนักจตุพิธพร (19.30) อายุ วรรณะ สุขะ พละ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ดูอันไหนที่เป็นกลาง มันไม่มี มันมีแต่เรื่องบวกทั้งนั้น จตุพิธพร (19.42)ที่ต้องการกันนักถ้าเป็นสินค้า ก็เป็นสินค้าที่ขายดีที่สุด ถ้าเรามัวต้องการแต่จตุพิธพร (19.52)อย่างนี้มันไม่พบความเป็นกลาง มันถะเล้มันถะไหลไปในทางบวกมากขึ้น ทางบวกมากขึ้น นี่เรียกว่ามันเป็นกลาง ไม่ได้พูดกันโดยหลักของธรรมชาติหรือในความหมายในทางวิทยาศาสตร์ มันก็มีอยู่อย่างนี้
นี้ก็เราก็จะพูดกันถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรง นี่ต้องพูดกันถึงไอ้ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยชื่ออย่างอื่น คือเรื่องของธรรมชาติ เรื่องที่นักวิทยาศาสตร์จะเข้าใจได้ดีที่พอพูดถึง ทีนี้ก็จะพูดถึงความเป็นกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา เป็นกลางสำหรับจะไปสู่ปลายทางของพรหมจรรย์ ใช้ภาษาธรรมดาๆคือตรงกันข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว มันไม่เป็นไปตามความพอดี ความเหมาะสม หรือความเป็นกลางตามธรรมชาตินั้นๆ ดังนั้นมัชฌิมาแท้จริงมันก็ต้องเหนือความหมาย หรือความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ๆๆๆๆ ทุกคู่ บุญบาป สุขทุกข์ ดีชั่ว ได้เสีย กำไรขาดทุน แพ้ชนะ ได้เปรียบเสียเปรียบ ทุกคู่ทุกๆคู่นั้นแหละ มันจะต้องอยู่เหนือความหมายทุกๆคู่ มันจึงจะเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ฟังดูก็ไม่น่า ไม่น่าเชื่อ เหนือความหมายทุกคู่มันจึงจะเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ความเป็นกลางก็ให้ไปอยู่เหนือความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ ทุกๆคู่ คือต้องตรวจดูให้ธรรมะที่เป็นไปเพื่อนิพพานแล้วมันก็มันไม่มาติดอยู่กับความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ๆนี่ บุญบาป สุขทุกข์อะไรก็ตาม มันออกไปจากไอ้ความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ๆ นี้เราก็ยังใช้คำว่าถูกต้อง ถูกต้อง อีกซักคำหนึ่ง ความเป็นธรรมะแท้คือความถูกต้อง ถ้ามันถูกต้อง มันก็ถูกต้องสำหรับเสร็จ (22.43) เหนือปัญหาหรือเหนือความทุกข์ ถ้าอย่างนั้นยังไม่เรียกว่าถูกต้องตามความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา มันถูกต้องอย่างอื่น ถูกต้องของพวกอื่น มีวิธีคิดอย่างอื่น เช่นวิธีคิดอย่างลอจิกหรือวิธีคิดอย่างฟิลอโซฟี่ ตอนนี้มันก็มีความถูกต้องในความหมายอย่างอื่น มันจะไม่ออกไปจากไอ้ความเป็นคู่หรือความดับทุกข์โดยประการสิ้นเชิง มันต้องมาดูที่ว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดูให้ดีเถอะ มันหาความเป็นคู่ไม่ค่อยได้ มันค่อยๆเหนือความเป็นคู่ออกไปทุกทีทุกที ยิ่งไปถึงไอ้สุญญตา อัตถาตา (23.33) แล้วก็ไม่มีวี่แววกลิ่นอายความเป็นคู่ มันจะเรียกว่าทั้งคู่ว่างไปด้วยกัน ทั้งคู่มันเช่นนั้นเอง เช่นนั้นเองไปด้วยกัน มันจึงอยู่เหนือการปรุงแต่งของเหตุของปัจจัยโดยประการทั้งปวง ก็เรียกเป็นคำสุดท้ายว่าอะตัมมะญัตตา อะตัมมะญัตตา (23.59) ที่แปลว่าที่อาศัยปัจจัยนั้นๆอีกต่อไป ตั้งอยู่นั้น มันยะ (24.08)ก็สำเร็จมา แต่อะตัมมะญัตตา (24.12)ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัยนั้นๆอีกต่อไป คือไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ไม่อยู่ในขอบเขตของปัจจัยหรือการปรุงแต่งต้นเหตุตามปัจจัย ก็เอ่ยเรียกว่าถูกต้องถึงที่สุด กลายเป็นความคงที่คงที่อยู่ในความถูกต้อง แม้ว่าคำนี้จะเป็นคำที่แปลกหูสำหรับท่านทั้งหลาย ก็ขอร้องให้ช่วยจำไว้ก่อนแล้วศึกษาไปเรื่อยๆ ในที่สุดจะพบในสิ่งๆนี้ มันเป็นจุดสูงสุดของความจริงของวิปัสสนาและของผลที่จะได้รับ ของผลที่จะได้รับสูงสุดในพระพุทธศาสนา อะตัมมะญัตตา (25.05) ซ่อนไม่เรียกว่าซ่อน เอ่อแต่ตกค้างมากกว่า ตกค้างอยู่ในพระไตรปิฎกไม่เอามาพูดกัน อาตมาไปเห็นเข้าก็มันทนอยู่ไม่ได้ เพราะมันเป็นจุดสุดท้าย หัวใจของพระพุทธศาสนาในจุดสุดท้าย นี่ออกไปได้ตามลำดับ ตามลำดับ จะสูงขึ้นไปได้ก็ด้วยอาศัยสิ่งนี้ เมื่อสิ่งใดปรุงแต่งไม่ได้สิ่งนั้นก็ต้องมีอะตัมมะญัตตา (25.40)อย่างใดอย่างหนึ่งมาพาไปพาไปตามลำดับ สูงขึ้นไปสูงขึ้นไป เป็นอะตัมมะญัตตา (25.47) อันสุดท้าย ก็บรรลุนิพพาน
ในการปฏิบัติธรรมนี้ถ้าไม่มีอะตัมมะญัตตา (25.55)นี่ก็ไปติดอยู่ที่นี่ ติดอยู่ที่บุญกุศลนี่ หรือจะที่จตุพิธพร แต่เมื่อเห็นว่าสิ่งนี้อาศัยไม่ไหว ไม่ๆๆทำผิดอยู่อย่างทุกข์อย่างนี้เลื่อนขึ้นไป ที่แท้ก็หลงใหลอยู่ในกาม กามรูปธรรมๆ (26.15)ประเภทกามน่ะ กามาวะจะระ กามาวะจะระ คือธรรมะนิสัยกาม ประเภทกาม คือต่อมาเห็นกามไม่ๆอาจจะดับทุกข์ ทีนี้ก็เลื่อนไปหารูป รูปาวะจร ต่อมาก็เห็นว่าไม่ดับทุกข์ได้จึงเลื่อนไปที่อะรูปาวะจร แล้วก็ไปติดตันอยู่ที่นั่น จนกว่าพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น จึงนำออก จึงนำออกจากอะรูปาวะจะระ อะรูปาวะจรได้จริง ท่านไปศึกษากับดาบส อารดาบสองค์สุดท้ายมันก็เรื่องนี้ ที่มันไปติดอยู่ในอะรูปฌาน (27.08) ขั้นสุดท้าย พระพุทธเจ้าท่านว่ามันไม่ใช่ มันไม่ใช่ที่สุดทุกข์ จริงๆแสดงเรื่องอะตัมมะญัตตา (27.17) ออกมาเสียจากอะรูปาวะจะระขั้นๆสุดท้าย คือเนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ (27.27) ฉนั้นเรากล่าวได้ว่าอะตัมมะญัตตา (27.30) นี่คือส่วนที่ดึง ดึงคนหรือดึงมนุษย์นี่ขึ้นมาตามลำดับ ขึ้นมาตามลำดับ ขึ้นมาตามลำดับ มาจากสภาพที่มันตกต่ำตกต่ำ คือสิ่งนั้นที่เคยรักเคยพอใจหรือเคยอาศัยเคยเป็นอยู่ด้วยกันนั้นน่ะ หมดความหมายหมดคุณค่าดึงไว้ไม่ได้ ก็เลื่อนไป ก็เลื่อนไป แล้วก็เลื่อนไปจนกว่าจะถึงอันสุดท้าย เรียกว่าอะตัมมะญัตตา (28.04) อันสุดท้าย ผู้มีอะตัมมะญัตตา (28.08) เรียกอะตัมมโญ (28.09) คือพระอรหันต์ ตัวหนังสือแท้ๆแปลว่า ไม่อาศัยอยู่กับปัจจัยนั้นๆอีกต่อไป หรือไม่สำเร็จอยู่ด้วยปัจจัยนั้นๆอีกต่อไป เป็นอิสระของตัวเองแล้วก็ออกไป เป็นคำที่อธิบายยาก อรรถกถาก็ไม่ได้อธิบาย หรืออธิบายไม่ได้ แล้วก็ก็วินิจฉัยไม่ถูก อธิบายไว้สั้นๆเพียง 2 คำว่า มิตัณหา คือไม่มีตัณหา เราเรียกว่าอะตัมมะญัตตา (28.46) นี่โดยตัวหนังสือก็ไม่ถูกแล้ว มันผิด มิตัณหาก็ไม่มีตัณหา นี่ก็อันปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้ เพราะๆพระไตรปิฎกแปลเป็นไทยออกมา มันก็แปล แปลอะไรก็ไม่รู้ แปลไปตามพอใจ ไม่ๆใช้คำว่าอะตัมมะญัตตา (29.06) เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั่วไปจึงไม่ได้ยินคำว่าอะตัมมะญัตตา (29.12) เพราะโดนแปลเป็นอะไรเสียแล้วก็ไม่รู้ เนื้อในพระบาลีแท้ๆก็เป็นคำที่เข้าใจยาก กระทั้งเป็น (29.22) ของฝรั่งเกี่ยวกับคำๆนี้ก็มักจะเว้นเสียไม่ได้แปล ถ้าไม่ไปดูในพระบาลี ในตัวพระไตรปิฎกบาลีก็จะไม่พบคำๆนี้ เพราะแปลเป็นไทยแปลเป็นอย่างอื่นไปเสียแล้ว คนธรรมดาสามัญชาวบ้านทั่วไป ก็เลยไม่ได้ยินไม่ได้ยินคำๆนี้ จึงขอให้ช่วยจำไว้ก่อน ถ้าว่ายังไม่เข้าใจเดี๋ยวนี้ก็ค่อยติดตามเรื่อยๆไป อะตัมมะญัตตา (29.51) เป็นขั้นสุดท้ายของสิ่งที่จะต้องเห็นด้วยวิปัสสนา และเป็นขั้นสุดท้ายของผลของการปฏิบัติธรรมที่เราจะได้รับ คือเราต้องมาถึงขั้นที่ปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้ นั่นก็คือนิพพานนั่นแหละ แต่พูดกันโดยๆกิริยาอาการ หรือโดยความหมายของกิริยาอาการ นี่เป็นออกมาเป็นคำว่าอะตัมมะญัตตา (30.21) อันปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้ พระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้ก็เหมือนกัน ไม่เป็นคู่ ไม่เป็นคู่ มันอยู่ที่ความเป็นอย่างนี้ อนิจตาก็ดี ทุกขตาก็ดี อนัตจะตาก็ดี ธรรมะทิฐะตาก็ดี ธรรมะณีญามะตาก็ดี ทีฆะปะติปัตตาก็ดี สุญญตาก็ดี ตัดถาตาก็ดี อะตัมมะญัตตา (30.38)ในที่สุดนี้ก็ดี ไม่มีความหมายแห่งความเป็นคู่ หลุดพ้นออกไปแล้วจากความหมายแห่งความเป็นคู่ มันๆยังมีคำอื่นอีกนะ มันมากเกินไปไม่ต้อง เพียง 9 คำนี้มันก็เหลือหลายแล้วที่จะแสดงให้เห็นธรรมะสูงสุด ที่ค่อยๆออกไป ออกไป ออกไปจากความเป็นคู่ คือไม่มีอะไรปรุงแต่งได้ ถ้ายังเป็นสังฆะตะ (31.25) มีอะไรปรุงแต่งได้ มันก็ไม่กลางได้ ต่อเมื่อมันเป็นอสังฆะตะ (31.32) อันอะไรๆปรุงแต่งไม่ได้ มันจึงจะอยู่เป็นกลางได้ เป็นความถูกต้อง เป็นความพอดี เป็นความไม่หวั่นไหว เป็นความไม่เปลี่ยนแปลง เราจึงรู้ว่าไอ้ความเป็นกลางน่ะ ความถูกต้องพอดีสูงสุดอยู่ที่นั่น สูงสุดอยู่ที่นั่น แต่ไอ้ที่ต่ำลงมา ต่ำลงมา ต่ำลงมา มีเยอะแยะแล้วเราก็ไม่ค่อยจะสนใจมัน เพราะมันไปพ่ายแพ้แก่กิเลสที่ต้องการไอ้ความบวก ความเป็นบวก ความไปในทางฝ่ายบวก ถ้าจะดูคำว่าธรรมชาติ ธรรมชาติ ก็ยิ่งก็เห็นในแง่ของธรรมชาติโดยทั่วไป ธรรมชาติโดยทั่วไปมีความถูกต้อง ไม่มีความเป็นบวกเป็นลบ ถ้าออกมาเป็นความเป็นบวกเป็นลบ มันก็จะสูญความสูญเสียไอ้ความสลายทั่วไปในความสูญเสีย ในตัวของธรรมชาติแล้วยิ่งไม่มีความเป็น 2ฝัก 2 ฝ่ายนี่ มันเป็นกลางที่สุด ตายตัวที่สุด มันหน้าที่หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ก็จะดับทุกข์ได้ มันก็ต้องมีความเป็นกลางหรือถูกต้องที่สุด ไม่ตกไปเป็นทาสของฝ่ายบวก ไม่ตกไปเป็นทาสของฝ่ายลบ นี่ก็เรียกว่าเป็นกลางถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็จะสบายที่สุด ไม่ทุกข์เลย มันก็อยู่ที่ว่ามันเป็นกลาง นี่รู้เรื่องคำว่ากลางๆๆ กันไว้ให้ถึงที่สุด ก็จะเข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนานั้นได้โดยง่าย
นั้นคำสำคัญๆมันจะแสดงความหมายแห่งความเป็นกลาง หรือไม่เป็นคู่ทั้งนั้น คำสำคัญที่สุดที่เราได้ยินหรือได้ใช้กันอยู่เป็นปกติก็คือคำว่ามีราคะ (33.42)นี่ นี่มันเริ่มต้นออกจากโลก คลายตัวออกจากโลกมีราคะ (33.47) เริ่มเหนือความเป็นกลาง แล้วก็มีโลทะ มีโลทะ (33.52) มันดับ มันเป็นอิสระจากทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อเป็นนิพาน เป็นนิพพาน มันเป็นความว่างจากสิ่งปรุงแต่ง เรียกว่ากลางที่สุด ถ้ายังไม่ว่างจากสิ่งปรุงแต่ง นั้นก็ถูกปรุงแต่ง แล้วก็เป็นสังขาร สังขาร มันว่างหรือเป็นกลางไม่ได้ สังขาร สังขาร มันถูกปรุงแต่ง มันต้องไม่ถูกปรุงแต่ง มันจึงจะเป็นว่างหรือเป็นกลาง หรืออีกทีหนึ่งก็ว่ามันไม่มีมิติก็แล้วกัน ความว่าง ความเป็นตรงกลาง ความเป็นกลางสูงสุดจนถึงความว่าง มันไม่มีมิติใดๆก็ๆดีกว่า ไอ้ความถูกต้องความเป็นกลางความว่างนี่ มันไม่มีมิติใดๆเป็นเครื่องกำหนด มันอยู่เหนือการถูกกำหนดด้วยมิติหรือประมาณ ที่เราใช้กันเดี๋ยวนี้ว่ามิติๆ ในยุคพระพุทธเจ้าในพระบาลีก็มีใช้เหมือนกัน แต่ว่าใช้คำว่าประมาณไม่ได้ใช้คำว่ามิติ มิตินี่นั่นคนใช้กันที่นี่ แต่มันก็เป็นคำภาคำในภาษาบาลีหรือสันสกฤตที่เค้าเลยใช้กันอยู่ในความหมายอื่น แต่ที่เราใช้กันในความหมายว่าไดเมนชั่นเดี๋ยวนี้เราก็ๆใช้ในพระบาลีพบคำว่าประมาณ ประมาณเอา ประมาณ ประมาณไม่มีแต่พระอรหันต์ ประมาณใดๆใช้ไม่ได้แก่พระอรหันต์ ไม่รวมคำว่าไม่มีมิติที่จะบัญญัติหรือกำหนดได้ นี่มันเป็นกลางที่สุด นำไปสู่ความหมายที่ว่าว่างที่สุด จะเรียกคำหมดปัญหา หมดปัญหาที่สุด มันก็อยู่ที่ความเป็นกลางนั่นแหละ นี้ความไม่มีมิติที่จะกำหนดอย่างนั้นอย่างนี้ ไอ้ความเป็นข้างหรือเป็นกลางนี้ ก็หมดๆๆไป มันเหลืออยู่แต่ความถูกต้องที่จะเรียกว่าความเป็นกลาง ทีนี้เรามาดูกันให้มันต่ำลงมา ถ้าเราในบ้านเรือนชาวบ้านธรรมดาเดินถนนจะปฏิบัติหลักเกณฑ์อันนี้ได้สักกี่มากน้อย ที่จริงก็ปฏิบัติได้มาก แต่เรามันไปๆยึดติดในคำพูดที่เข้าใจไม่ได้มันเสียมากเกินไป ในบ้านเรือนนี่เราจะพูดว่าไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ชาวบ้านมีความสามารถบังคับจิตไม่ให้บวกหรือลบ คือดีใจหรือเสียใจนี่ นั่นแหละมัชฌิมาปฏิปทาสูงสุด เพราะว่าดีใจมันก็เหนื่อย มันก็ถูกปรุงแต่งยิ่งกว่าเสียใจซะอีก ไอ้เสียใจมันก็ลำบากทุกข์ยาก ไม่ไหวเหมือนกัน มันก็ถูกปรุงแต่งไปอีกทางหนึ่ง ถ้ามันไม่ ไม่ดีใจและไม่เสียใจนี่ กลางที่สุด อย่าง (37.29)ว่างที่สุด พอดีที่สุด ถูกต้องที่สุดก็ได้ แล้วสอนเด็กๆหรือว่าสอนคนที่เค้าไม่เข้าใจไอ้คำลึกๆหรือแม้ชาวต่างประเทศ ให้รู้ว่าเพราะว่าไม่ดีใจไม่เสียใจ ไม่มูฟไม่เอ็กไซด์เสียนั่นแหละ คือความเป็นกลาง ความเป็นกลางถ้ายังเปลี่ยนสะดุ้งหวั่นไหวทางใดทางหนึ่งอยู่ มันก็ไม่มีความเป็นกลาง อีกคำหนึ่งที่เรียกกันว่าความสมดุล สมดุล อาตมาออกคำว่าออกเสียงตามพระตามหลักพระบาลี อาจออกเสียงว่าสมดุล ออกเสียงกันว่าสะมะดุล นั่นก็คำเดียวกันนั่นแหละ มันสมดุล มันก็ไม่มีขาดมีเกิน ไม่มีหย่อน ไม่มีอะไร มีความสมดุล นั่นแหละกลางๆๆ หรือถูกต้อง หรือพอดี ในความหมายต่ำที่สุด ขอให้มีแต่ตั้งต้นมีเถอะ แล้วมันก็จะเขยิบสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนถึงเป็นเรื่องของนิพพาน เพราะคำว่ามัธยัสถ์นั่นแหละถือเป็นหลัก อย่าให้แปลความเป็นขี้ตืดขี้เหนียวหรืออะไรไปเสีย เอาตามๆตัวหนังสือให้ถูกต้อง ว่าตั้งอยู่ในท่ามกลาง เรามีความมัธยัสถ์ก็หมายความว่า ตั้งอยู่ในความถูกต้อง ซึ่งเป็นกลาง ไม่มากไม่น้อย ไม่สั้นไม่ยาว ไม่อะไรทุกอย่างแหละ ก็เรียกว่าเป็นกลาง หรือว่ามัธยัสถ์ นี้คือความเป็นกลางอย่างสูงสุด แล้วก็ไปสู่พระนิพพาน อย่างธรรมดาก็จะอยู่กันที่นี่ด้วยความปกติสุข นี้สอนเด็กๆเรื่องความเป็นกลางให้ถูกต้อง จะช่วยได้มาก ถึงเค้าจะไม่ไปนิยมบวกจนลืมตัว จนเป็นอันธพาล เพราะความหลงในฝ่ายบวก บอกว่าไม่พอดี มันไม่พอดี มันดึงไปในทางที่ให้ผิดยิ่งๆขึ้นไป มันจะต้องเสียใจทีหลัง
ทีนี้ก็มาดูให้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงไอ้คำว่ามัชฌิมา ตามหลักของพระพุทธศาสนาหรือพระองค์ตรัสไว้ ทรงระบุไปยังอริยมรรคมีองค์ 8 ประการนั่น ถ้าเราเรียกกันอีกชื่อหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทามีองค์ 8 ประการ แต่เราเรียกให้มันวิเศษให้มันศักดิ์สิทธิ์รู้สึกประมาณนั้น เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ ไม่ค่อยใช้คำว่ามัชฌิมาปฏิปทา นี้มันแหวก 2 ข้างอยู่ตรงกลาง ตรงดิ่งไปยังนิพพาน ไปยังนิพพาน ปฏิบัติธรรมชนิดที่ตรงดิ่งไปยังนิพพานล่ะก็ จะต้องลักษณะเป็นกลางทั้งนั้น มิฉะนั้นมันก็จะติดอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป กุศลหรืออกุศล เรามีที่สังเกตว่า ข้อปฏิบัติชื่อนั้นจะต้องมีคำว่าสัมมา สัมมา กำกับอยู่ข้างหน้า เช่นคำว่าสติ ถ้าไม่มีสัมมากำกับอยู่ข้างหน้า ไม่เป็นที่แน่นอนว่าสตินั้นจะนำไปสู่นิพพาน พยามะ (41.49)ก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีคำว่าสัมมานำอยู่ข้างหน้า มันไม่แน่ว่าจะไปนิพพาน สมาธิก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีสัมมานำอยู่ข้างหน้า มันไม่แน่ว่าจะไปนิพพาน คือมันไม่ถูกต้องและมันก็ไม่เป็นกลาง ตั้งแต่สัมมาทิษฐิ สัมมาสังกับโป (42.07) สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต (42.09) สัมมาทั้ง 8 เลยนี่ สังเกตได้ง่ายว่าต้องมีสัมมา มีความหมายของคำว่าสัมมา สัมมา อันถูกต้องนำอยู่ข้างหน้า แต่ทีนี้เพื่อให้ชัดขึ้นไปอีกว่าสัมมา สัมมา นั้นมันๆมีกฎเกณฑ์อย่างไร จึงตรัสไว้ในที่อื่นอีกมากมายหลายแห่งต่อหลายสิบแห่งว่า ต้องมีกฎเกณฑ์เป็นวิรา อ่า เป็นวิเรกณิจิตตัง วิรากณิตจิตตัง วิโรกณิตจิตตัง อุปัททะกรุณามี (42.35) อย่างน้อย 4 อย่าง บางทีก็ตรัสมากไปจนถึง 10 อย่าง แต่ความหมายเดียวกัน มันรวมอยู่ที่นี่แหละ มันต้องอาศัยวิเวก เป็นไปเพื่อวิเวกในที่สุด ต้องอาศัยวิราคะ วิราคะ (42.54) หรือคลายกำหนัดเรื่อยไป แล้วก็มีลักษณะนิโรธะ นิโรธะ (43.00) ดับสิ่งที่ควรดับเรื่อยไป อุปัททะกรุณามี (43.04) มีลักษณะน้อมไปเพื่อสละ โยนทิ้ง คือไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน มีลักษณะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน แม้จะจำยากหรือเป็นภาษาบาลีมากไปหน่อย ก็พยายามจำเถอะ มีประโยชน์ วีรากณิตจิตตัง (43.24) อาศัยวิเวก อาศัยความปรารถนาที่จะหลีกออกมาเสียจากไอ้สิ่งผูกพันทั้งหลาย มากลายเป็นวิเวก วิเวก เพื่อวิเวก แล้วก็โดยวิเวก อย่างนี้ก็เริ่มคลายๆความผูกพัน คลายความผูกพัน เรียกว่าวิราคะ วิราคะ (43.43) ไม่กำหนัด เมื่อมันคลายความกำหนัดความยึดความผูกพันแล้ว มันก็ต้องดับตัว มันก็อิสระจะดับลง ดับลง ดับลง ทั้งหมดนั้นรวมเรียกว่าโยนทิ้ง โยนทิ้ง โยนทิ้ง โยนทิ้ง ไม่เอาอะไรมายึดไว้ สะสมไว้ให้เป็นตัวตนหรือเป็นของตน มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น นี่ตามหลักพระบาลีมีอยู่อย่างนี้สำหรับสิ่งที่เรียกว่าเป็นกลาง ตรงกลาง หรือว่าถูกต้อง นั่นก็จะนำไปสู่พระนิพพาน ทั้งหมดนี้สำเร็จอยู่ที่คำว่าเป็นกลางคำเดียว อยากจะแนะให้สังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า คำว่าเป็นกลาง เป็นกลาง หรือความถูกต้องนี่ มันสามารถจะตอบคำถามที่สำคัญๆได้ทุกคำถาม ถ้าถามว่าทำไม ทำไมจะต้องทำ ก็เพราะมันยังไม่เป็นกลาง มันยังไม่ถูกต้อง มันต้องทำให้เป็นกลาง ถ้าจะถามว่าทำอย่างไร ทำอย่างไร ก็คือทำให้มันเป็นกลาง ทำเมื่อไร เมื่อมันไม่เป็นกลาง เมื่อมันยังไม่เป็นกลาง ทำให้เป็นกลาง ทำที่ไหน ก็ที่ๆทำให้มันเป็นกลาง ทำเท่าไรกี่มากน้อย มันก็เท่าที่เป็นกลาง เท่าที่เป็นกลาง ถ้ามีคำ มีๆคำอธิบายหรือคำบัญญัติความหมายที่ถูกต้องของคำว่าเป็นกลาง เป็นกลาง คือมัชฌิมาหรือมัธยัสถ์ก็ตาม มันจะตอบคำถามได้ทั้งหมด แล้วแต่จะถามว่าทำไม อย่างไร หรือเมื่อไร หรือที่ไหน หรือเท่าไร จะมีกี่คำถาม มันก็ตอบได้ด้วยคำว่าเป็นกลางนั่นแหละ เป็นจุดที่จะต้องจบหรือว่าหมดปัญหาไปได้ เพราะมันเป็นกลาง มันสรุปความได้ว่ามันไม่อาจจะเกิดกิเลส ไม่อาจจะเกิดกิเลส ไม่อาจจะเกิดเป็นบวกเป็นลบ ไม่มีความหมายแห่งบวกลบ มันก็ไม่มีทางที่จะเกิดกิเลส ไม่เกิดกิเลสก็ไม่เกิดทุกข์ ไม่เกิดการกระทำหรือกรรมหรืออะไรที่ทำให้ในที่สุดต้องเวียนว่ายไปตามกรรม นั่งดูแล้วมันน่าหัวเราะ ความจบสิ้นมันอยู่ที่ความเป็นกลาง พอเป็นกลางมันก็จะจบสิ้น ถ้ามันเอียงซ้ายเอียงขวา เป็นบวกเป็นลบ มันไม่มีทางที่จะจบสิ้น ก็เลยถือ (46.47)เอาเอง อาการที่ว่าไม่อาจจะเกิดกิเลส ไม่อาจจะเกิดกิเลสนี่ เป็นใจความสำคัญของคำว่าถูกต้อง พอดี มัธยัสถ์ หรือเป็นกลาง ความพอดีก็รวมอยู่ในส่วนนี้ แต่ว่าดูเป็นคำพูดเล่น ที่จริงไม่ใช่เรื่องพูดเล่น ไอ้คำว่าพอดีมันก็ตรงกับคำว่ามัชฌิมาปฏิปทา ทั้งหมดนี้มันเป็นคำอธิบายขยายความหรือเป็นคำตอบของคำว่าพรหมจรรย์อยู่แล้ว อยู่ในตัวแล้ว
พรหมจรรย์ พรหมจรรย์ แปลว่าความประพฤติอันประเสริฐ ประเสริฐยังไง ประเสริฐที่มันดับทุกข์ได้โดยประการทั้งปวง ดับทุกข์ได้โดยประการทั้งปวง ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ อาจจะเป็นคำที่เค้าใช้พูดกันอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้าก็ได้ แต่เค้ามีความหมายอย่างอื่น อธิบายอย่างอื่นไปตามหลักและชื่อนั้นๆ พอพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ท่านก็ใช้คำนี้ในลักษณะที่ว่าดับทุกข์ ดับทุกข์ตามแบบของพระองค์ ก็เรียกว่าพรหมจรรย์ เรียกว่าชี้ระบุพรหมจรรย์ไปที่ตัวการปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา ทีนี้อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ นั่นแหละว่าเป็นตัวพรหมจรรย์ เป็นตัวพรหมจรรย์ ถ้าใช้ถ้าระบุชี้ไปที่ชื่ออื่น ธรรมชื่ออื่น ธรรมะชื่ออื่น มันต้องมีความหมายอย่างนี้ นี้ต้องมีความหมายว่าดับทุกข์ได้ เพราะไม่ติดอยู่ใน 2 ฝ่าย ไม่ติดอยู่ใน 2 ฝ่าย ถ้าใช้ชื่อว่าอริยมรรคมีองค์ 8 แล้ว ไม่ต้องอธิบายกันมากมาย มันอยู่ตรงกลาง มันไม่ติดอยู่ใน 2 ฝ่ายอยู่แล้วในตัว คือคำว่าสัมมา สัมมา สัมมา นี้อย่างหนึ่ง แล้วคำว่าวิเวกณิจิตตัง วิโยคณิจิตตัง วิราคณิจิตตัง โวสัพทะปะระมาณิ นี่ยิ่งรับไปกันใหญ่ (48.54) เมื่อมันไม่เอียงไปฝ่ายไหน มันสรุปความว่าพรหมจรรย์อันประเสริฐ ประพฤติอันประเสริฐ นั่นคือดับทุกข์ได้สิ้นเชิง เราก็ศึกษาเอา ดูๆถูกตัวอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นตัวพรหมจรรย์ สัมมาทิษฐิ (49.31) ต้องมาก่อนนะ แล้วก็อย่าลืมว่ามีอยู่เป็น 2 ระดับ คือ สาสะวากับอะนาสะวาสัมมาทิษฐิ สัมมาทิษฐิ (49.40)ที่พูดไว้สำหรับผู้มีตัวตนก็เอาไว้แบบหนึ่ง สำหรับหมดตัวตนก็เอาไว้แบบหนึ่ง อย่าเอามาทะเลาะ อย่าเอามาทะเลาะกัน สำหรับผู้มีตัวตนก็มีดีมีชั่ว มีบุญมีบาป มีสุขมีทุกข์ พอที่จะนำไปสู่ไอ้ความสุขหมดอันสุดท้าย เพราะว่าจะพูดอย่างไม่มีตัวตนเลยโดยประการทั้งปวงตั้งแต่คำแรกนี้ไม่มีใครเข้าใจ นี้ต้องมีพูดตั้งต้นด้วยว่าไอ้ชั่วนี่มันไม่ไหว ก็เลื่อนมาถึงดี ไอ้ดีนี่ก็ยังเป็นสังขารปรุงแต่งเรื่อยมาไม่รู้จักจบ มันเลยต้องเนื้อดี เนื้อดีอีกทีหนึ่ง ยังมีสัมมาทิษฐิที่เป็นสาสะวะ (50.34) สำหรับผู้คนในโลกในหมู่คนผู้ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่ แล้วก็มีชนิดอะนาสะวะ (50.42) นี่สำหรับคนที่จะหลุดไปจากโลก นี่สัมมาทิษฐิ (50.47) ของอริยมรรค แต่ถ้าสำหรับอริยมรรคโดยตรงในเรื่องของอริยสัจแล้ว ไม่ๆต้องมี ไม่ต้องมีชนิดสาสะวา (50.57) เพื่อคนยึดมั่นถือมั่น พูดเป็นอะนาสะวา (51.01) เป็นอริยสัจสี่ไปเลย เห็นอริยสัจสี่ไปเลย หรือถ้าจะพูดอีกอย่างหนึ่งซึ่งถูกกว่าก็คือ เห็นปฏิจสมุบาท (51.13) เพราะว่าอริยสัจสี่นี่ขยายความให้ยาวให้สมบูรณ์ก็คือ ปฏิจสมุบาท (51.19) เลยเรียกได้ว่าอริยสัจสี่อย่างย่อนี้มี 4 อย่าง อริยสัจสี่อย่างพิสดารนี้ก็มี 11 หรือ 12 อย่าง นี้เราอย่าไปเถียงกันเรื่องว่า ผู้ที่ยังจะต้องปฏิบัติดี จะต้องสร้างสรรค์ความดี จะต้องอะไรดี นี้เป็นเรื่องที่ยังจะต้องต่อสู้เพื่อความเป็นกลาง ยังต้องต่อสู้ เพราะติดรวมอยู่ในระหว่างที่ว่ามันไม่เป็นกลาง ก็ต่อสู้เพื่อหลุดออกมาเสีย นี่เรียกว่าเป็นอย่างโลกๆ หรืออย่างสาสะวะหรืออาสะวะ (52.04) ไอ้ความเศร้าหมองมันเจืออยู่ ทิฐิตัวหนังสือแปลว่าความเห็น แต่มันลงความรู้ความเชื่อความอุดมคติความเป็นอุดมคติอะไรอยู่ในนั้นเสร็จ คำว่าทิฐิ ทิฐินี่ มีความเชื่ออย่างใดก็ต้องได้ทิฐิอย่างนั้น มีความพอใจมีความเป็นอุดมคติยึดมั่นอย่างไร มันก็รวมอยู่ในนั้น คือเป็นทิฐิ ทิฐิอย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมันต้องถูกต้อง ต้องถูกต้อง คือเป็นกลาง คือเป็นกลาง สำหรับจะไม่ติดอยู่กับฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา ไม่ติดอยู่ฝ่ายกามสุขสันนิกาลโยค (53.05) หรือไม่ติดอยู่ในฝ่ายอัตตะติละมะณิถาลโยค (53.07) คือไม่ฝ่ายบวกและไม่ฝ่ายลบ ทิฐิอันถูกต้อง สังกัปปะ (53.18) จึงจะถูกต้อง ถ้าทิฐิไม่ถูกต้องเสียแล้ว สังกัปปะ (53.23) ก็เฉเถลไถล เพราะมันเป็นไปตามอำนาจของทิฐิ เมื่อทิฐิมันถูกต้อง มันต้องการจะออกจากความทุกข์โดยแท้จริงแล้ว ไอ้สังกัปปะ (53.35) มันก็ไปตามแนวนั้น คือปรารถนาที่จะออกจากความทุกข์ที่มองเห็นชัดแล้วว่ามันเป็นอย่างไร ถ้าต้องทำให้กลมกลืนกันให้ดี ให้สังกัปปะ (53.49)ถูกต้องเพราะมีทิฐิถูกต้อง มันก็มีทิฐิถูกต้อง ก็ช่วยให้สังกัปปะ (53.56) มันถูกต้อง ทีนี้เรื่องศีล ทีนี้เรื่องศีล ไม่ต้องสงสัย มันลาก ถูกลากไปเอง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาทีโว (54.06) นี้มีได้โดยหลักพื้นฐาน แม้ไม่ถึงขนาดที่เป็นองค์แห่งอริยมรรค มันก็ต้องเป็นหลักพื้นฐาน มีความเป็นอยู่ตามหลักพื้นฐาน เป็นไปตามหลักพื้นฐาน มันลงโทษอยู่ในตัวเอง ลองทำสิ นี้เรียกว่าเป็นไอ้ความถูกต้องพื้นฐาน แม้จะไม่นำมาเกี่ยวกับทางศาสนาเพื่อพระนิพพาน มันก็มีอยู่แล้ว ทีนี้ก็มาถึงสัมมามายามะ (54.38) พากเพียร พากเพียร ถูกต้องก็คือตรงไปยังพระนิพพาน สติๆก็ระลึก หมายความว่าควบคุมไอ้ความถูกต้องทั้งหมดไว้ให้มันคงอยู่ในความถูกต้อง ทีนี้เรามีสัมมาสมาธิ คือตั้งใจมั่น คือกำลังใจถูกต้อง ถูกต้อง นี่ก็ทั้งหมดทุ่มเทให้ที่นี่ จงดูความติด (55.14)สัมพันธ์กันในระหว่างธรรมะทั้ง 8 ประการนี้ เราก็จะพบว่าโอ้พรหมจรรย์ พรหมจรรย์ ถูกต้อง ถูกต้อง แล้วก็ดับทุกข์ได้จริง ดับทุกข์ได้จริง
นั้นขอให้รู้จักอริยมรรคมีองค์ 8 ในฐานะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางของตัวมันเองนี่แหละ จุดหมายปลายทางของพรหมจรรย์นั่นแหละ อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นตัวพรหมจรรย์ และตัวพรหมจรรย์มีจุดหมายปลายทาง ไอ้ทางนี่ก็นำไปสู่จุดหมายปลายทาง มันก็พบกันเข้ากับพระนิพพานที่เป็นจุดหมายปลายทาง ในฐานะที่เป็นอายะตะนะสูงสุดกว่าอายะตะนะใดๆ เมื่อท่านทั้งหลายเข้ามาเรียนพระพุทธศาสนาจะได้พบคำว่าอายะตะนะ อายะตะนะ มันก็พูดกันอยู่แต่ในขั้นต้นๆ อายะตะนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นภายใน อายะตะนะคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผสสัพพะ (56.45) ธรรมารมณ์ อายะตะนะภายนอก รู้จักกันแต่อายะตะนะที่เป็นสังฆะตะธรรม (56.53) อย่างนี้ เรียกว่าเป็นของธรรมดาสามัญในโลกอย่างนี้ แล้วก็จะประหลาดใจ หรือจะถึงกับสะดุ้งเมื่อได้ยินว่า แม้พระนิพพานก็เป็นอายะตะนะ พระพุทธเจ้าท่านว่าอายะตะนะนั้นมีอยู่ในที่ไม่เกิด ไม่ตั้งอยู่ ไม่ดับไป นี่คือพระนิพพาน นั่นก็เรียกว่าอายะตะนะ นั้นขอให้เข้าใจถูกต้องเสียว่าอายะตะนะคำนี้ มันแปลว่าสิ่งที่ติดต่อได้ สามารถติดต่อได้ ที่เป็นชั้นพื้นฐานก็มีอายะตะนะ 6 อายะตะนะภายใน 6 ภายนอก 6นี่เป็นอายะตะนะพื้นฐาน แล้วที่เป็นสูงขึ้นมา เป็นเรื่องทางจิตที่สูงขึ้นมา ก็มีอายะตะนะประเภทอะรูปฌาณ (58.01) นี่ อากาสานัญจายะตะนะ วิญญานัญจายะตะนะ อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญาณาสัญญายะตะนะ (58.03) นี่เป็นอาจะนะ (58.14) ที่สูงขึ้นมาจากไอ้ต้น แต่ก็ยังไม่สูงสุดจนถึงกับเป็นพระนิพพาน อายะตะนะจึงมีอยู่ 3 กลุ่ม ต่ำสุดก็คืออายะตะนะสำหรับรู้สึกอารมณ์ตามธรรมดา ที่สูงขึ้นมาก็เป็นพวกอายะตะนะอะรูปฌาณ (58.34) ทั้ง 4 ถ้าสูงสุดหมดก็เป็นอายะตะนะนิพพาน เราก็จงรู้จักว่าสิ่งที่เรียกว่าอายะตะนะนั้น คือสิ่งที่สามารถติดต่อได้ หรือต้องติดต่ออยู่แล้ว หรือติดต่ออยู่แล้วตามธรรมชาติ หรือจะต้องไปติดต่อไปถึงที่สุด ฉะนั้นอายะตะนะอันสุดท้ายคือพระนิพพาน เป็นจุดหมายปลายทางของพรหมจรรย์ พรหมจรรย์ พยายามไปถึงจุดหมายปลายทาง พูดถึงพระนิพพาน คืออายะตะนะสูงสุด อันสุดท้าย ในโรงเรียนไม่ค่อยได้พูดได้สอนกันถึงคำว่าอายะตะนะมีความหมายอย่างนี้ นักเรียนนักศึกษาจึงรู้กันแต่เรื่องอายะตะนะภายนอก 6 ภายใน 6 มันไม่หมด นั่นคือต้องรู้ว่าไม่มีอะไรที่ไม่ใช่อายะตะนะ เพราะทุกสิ่งมันติดต่อได้ ศึกษาได้ เกี่ยวข้องได้ ทำให้มีได้ก็เรียกว่าอายะตะนะ แล้วอายะตะนะสูงสุดนั้นคือพระนิพพาน เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางแห่งพรหมจรรย์ สังเกตได้อีกว่าเป็นผลของพรหมจรรย์ เราประพฤติพรหมจรรย์ คือประพฤติประเสริฐ เพื่ออยู่เหนือความทุกข์โดยประการทั้งปวง ถ้าถึงแล้วก็เรียกว่าถึงอายะตะนะ คือพระนิพพาน นี่เป็นอันว่าเรื่องพรหมจรรย์นี่ชัดเจนพอแล้ว การปฏิบัติที่ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง นำไปถึงจุดหมายปลายทาง คือสิ้นสุดแห่งความทุกข์ เรียกว่าพรหมจรรย์ มีความหมายทั่วไปในทั่วไปว่าถูกต้อง พอดี เป็นกลาง ถูกต้อง พอดี เป็นกลาง ถ้าว่าไม่ถูกต้อง ไม่พอดี ไม่เป็นกลาง มันไปไม่รอด มันไปไม่รอด มันติดตันอยู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มันก็ต้องแหวกช่องให้มันออกไปได้ไปรอด นี่มันมีความเป็นกลาง มีความถูกต้อง มีความพอดี ดังนั้นถ้าเราสอนเรื่องความถูกต้อง หรือความพอดี หรือความเป็นกลางนี่ ก็คือสอนพระพุทธศาสนานั่นเอง แม้ว่าเราจะไม่ใช้คำในพระพุทธศาสนา เราใช้คำไทยๆว่าถูกต้อง พอดี และเป็นกลางแล้ว ก็คือสอนพระพุทธศาสนานั่นแหละ นี้ควรจะปรับปรุงการสอนที่จะไปสอนเด็กเล็กๆหรือว่าสอนไอ้คนที่ยังๆต่ำมาก หรือแม้กระทั่งไปสอนพวกอันธพาลนั่นก็ตาม ต้องช่วยให้เค้ามองเห็นประโยชน์สูงสุดของความเป็นกลาง ความถูกต้อง ความพอดี หรือเป็นอยู่อย่างเป็นกลาง พวกอันธพาลนั้นมันเกินข้อดีไปเยอะ
ทีนี้ก็เหลืออยู่แต่คำว่าอาทิพรหมจรรย์ อาทิพรหมจรรย์ เงื่อน (61.58)ต้นแห่งพรหมจรรย์ เรื่องนี้ต้องขอเล่าเรื่องเลยดีกว่ามันง่ายดี ว่าครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่โดยพระองค์เดียว พระองค์ก็ทรงสาธยายขึ้นมา เพื่อพระองค์เองฟังเองก็สุดแท้ สาธยายขึ้นมาว่าจะขุ้น จะปะติด จะรูเป จะอุปัชเฌติ วิญญานัง (62.25) อาศัยรูปด้วย อาศัยตาด้วย จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้น ทินนัง ธรรมานัง สังฆะติ พัสโส้ (62.35) การถึงพร้อมอยู่แห่งธรรมทั้ง 3 นี้เรียกว่าผัสสะ คือตาด้วย รูปด้วย จักษุวิญญาณด้วย สามอย่างนี้ทำงานร่วมกันอยู่เรียกว่าผัสสะ ผัสสะปัจจะยาเวทนา (62.50) ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาปัจจิยา ตัณหาเวทนา (62.56) เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยเกิดอุปาทาน อุปาทานปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยเกิดชาติ ตรงนี้สังเกตดูให้ดีเพราะประหลาด (63.09) ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อมีชาติแล้วก็มีทุกข์ทั้งปวง นี่เรื่องตา พอเรื่องตาจบแล้วก็เรื่องหู เรื่องจมูก เรื่องลิ้น ไปตามลำดับโดยข้อความอย่างเดียวกัน สรุปใจความสั้นๆก็ว่า อาศัยอายะตะนะภายในกับอายะตะนะภายนอก ปฏิจจะ (63.35) ซึ่งกันและกัน แปลว่าอาศัยซึ่งกันและกัน ปฏิจจะ (63.40) แปลว่าอาศัย แล้วก็เกิดวิญญาณ เกิดวิญญาณทั้ง 6 อายะตะนะภายในอายะตะนะภายนอกและวิญญาณ 3 อย่างนี้ ทำงานร่วมกันอยู่ เค้าเรียกว่าผัสสะ เราจำสังเกตให้เห็นให้แน่นอนว่าผัสสะนี้ประกอบด้วยองค์ 3 ไม่ใช่ประกอบด้วยองค์ 2 เพียงอารมณ์และจิตใจ หลักนี้ตายตัวมากกว่าผัสสะ ต้องประกอบไปด้วยองค์ 3 คือมีอายะตะนะภายนอกเป็นอารมณ์ อายะตะนะภายในเป็นผู้สัมผัส และสัมผัสด้วยวิญญาณ จึงเรียกว่า 3 ประการ 3 ประการ ถึงกันอยู่เรียกว่าผัสสะ ถ้าไม่ครบ 3 ไม่เป็นผัสสะ ผัสสะมีแล้วมันก็มีเวทนา รู้สึกไปตามอำนาจของผัสสะ เวทนามีแล้วมันก็ให้เกิดความอยากหรือตัณหาไปตามอำนาจของเวทนา ถ้าเวทนาเป็นบวก มันเกิดตัณหาอย่างหนึ่ง เวทนาเป็นลบมันเกิดตัณหาอย่างหนึ่ง เวทนายังไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ มันเกิดตัณหาอย่างหนึ่ง นั้นตัณหาเป็นไปตามอำนาจของเวทนา นั้นความอยากจึงแยกไปได้เป็นอยากจะได้ จะเอาก็มี อยากไม่ได้ไม่เอาก็มี อยากทำลายก็มี นี่มันคือจึงแยกไปตามอำนาจของเวทนา เราดูให้ดีๆว่าตัณหามันมีหลายแง่หลายมุม พอมีตัณหาคือความอยากๆๆเป็นความอยากเท่านั้น ความอยากเท่านั้นแหละ ความอยากเป็นไปแก่กล้าเข้า แก่กล้าเข้า มันก็มีปฏิกิริยาอันหนึ่งกระโดดออกมา เป็นตัวกู ตัวกู ผู้อยาก อัตตาผีหลอกตัวกูผู้อยากนี้ก็โผล่ออกมา เรียกว่าอุปาทาน อุปาทาน มันจะสังเกตเห็นเสียแต่เดี๋ยวนี้ว่าอุปาทานว่าอัตตานี้ไม่ใช่ของจริง เป็นอัตตาผีหลอก เป็นปฏิกิริยาออกมาจากความอยาก อยากอะไรก็ตามใจ อยากเถอะมันจะไม่เกิดความโง่กูผู้อยากตามมาทีหลังเสมอไป นี่มีกูผู้อยาก ก็เป็นอุปาทาน มีอุปาทานกูผู้อยากแล้ว แต่คล้ายๆว่ามันตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ผู้อยากขึ้นมาแล้ว ที่เป็นตัวผู้อยากในอนาคต นี่เรียกว่าภพๆ ที่เรียกว่าภพนี่เป็นไปถึงที่สุดเข้า มันก็เป็นชาติ คือมันคลอดออกมาเป็นตัวกูอย่างนั้น ตัวกูอย่างนั้น ตามที่มันมีตัณหาอุปาทานอย่างไร มันจึงมีตัวกูออกมาดีบ้างเลวบ้าง หรือตามเรื่องของไอ้ตัณหาอุปาทาน นี้มันก็มีความทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อะไรทุกอย่างทุกอย่าง มันรวมกันอยู่ในชาติ นี่จัดว่าเพราะชาติเป็นปัจจัย ทุกข์ๆทั้งปวงมันจึงมี นี้ตั้งข้อสังเกตไว้นิดหนึ่งว่าในปฏิจัตสมุบาท (66.56) ที่ท่านตรัสว่าชาติเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ แต่ในเรื่องอริยสัจสี่ท่านตรัสว่า ชาติเป็นตัวทุกข์เสียเอง เพราะในที่นั้นมันจะชี้ มุ่งหมายจะชี้ที่ตัวทุกข์ ตัวทุกข์ ตัวทุกข์ ส่วนชาติมันก็มีลักษณะแห่งความทุกข์ ดังนั้นตัวชาติจึงมีการถูกระบุว่าเป็นตัวทุกข์ แต่พอมาถึงไอ้เรื่องปฏิจัตสมุบาท (67.24) ไม่ได้มุ่งหมายจะชี้ตัวทุกข์ แต่มุ่งหมายจะชี้ความที่มันเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน สิ่งที่เรียกว่าชาติจึงถูกระบุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ชาติปัจจะยา ธะราระณังโสกะทุกข์ (67.37) ทุกข์ทั้งปวงนั้น นี่คอยดูว่ามันประหลาดที่ว่าพระองค์ประทับนั่งอยู่พระองค์เดียว ทำไมจึงเอาเรื่องนี้มาสาธยาย มันจะเป็นสิ่งที่เต็มปรี่อยู่ในพระทัย ความรู้แจ้งอันนี้เต็มปรี่อยู่ในพระทัย แต่ท่านว่าพอมีเวลาเหมาะสม นั่งอยู่พระองค์เดียวก็สาธยายออกมา ในที่สุดมีภิกษุองค์หนึ่งแอบฝา แอบฟังอยู่ข้างฝาข้างหลัง พระพุทธเจ้าทรงเหลือบไปเห็นเข้า อ้าวแกอยู่นี่ แกอยู่นี่ เอาไป เอาไป จตุคันหัตตุ (68.36) รับเอาไป รับเอาไป สิ่งนี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ ใช้คำว่าอาทิพรหมจรรย์ แปลว่าจุดตั้งต้น หรือเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ แห่งการประพฤติพรหมจรรย์ หมายความว่าต้องรู้เรื่องนี้ พรหมจรรย์จึงจะมีหลักฐาน มีรากฐาน มีอะไรทุกอย่าง ถ้ามันไม่มีความรู้เรื่องทุกข์ เรื่องดับทุกข์ มันจะประพฤติพรหมจรรย์ได้อย่างไร แล้วมันจะประพฤติพรหมจรรย์ไปทำไม เพราะมีความรู้เรื่องทุกข์ เรื่องดับทุกข์ เรื่องปฏิจัตสมุบาท (69.11) มันก็เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา หรือไอ้วิริยะ หรือทุกสิ่งล่ะที่จะประพฤติพรหมจรรย์ บำเพ็ญโพธิปัตติยธรรม (69.24) หรือว่าอะไรก็ตาม ส่วนสำเร็จแล้วก็ได้รับผลดับทุกข์เป็นพระนิพพาน ขอให้เราสังเกตกันว่ามันมีคำว่าอาทิ อาทิ เติมเข้ามา คือเป็นจุดตั้งต้นหรือเป็นเงื่อนๆต้น พรหมจรรย์ก็มีอยู่อย่างหนึ่ง จุดตั้งต้นหรือเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ก็มีอยู่ เมื่อเรามีเงื่อนต้นครบเงื่อนต้นที่ถูกต้องแล้ว มันก็เดินไปได้โดยง่าย
ทีนี้สังเกตให้ดีๆจะพบว่าปฏิจัตสมุบาท (70.05)ที่พระพุทธองค์ทรงนำมามาสาธยายด้วยพระองค์เอง ด้วยพระองค์เอง อย่างเด็กๆท่องสูตรคูณนั้น มันไม่เหมือนกันแท้ เด็กๆท่องสูตรคูณเพราะมันจะลืม แต่พะระพุทธเจ้าทรงสาธยายปฏิจัตสมุบาท (70.21) นี้ไม่ใช่เพราะจะลืม แต่เพราะมันอัดอั้นอยู่ มันระบายออกมา ตรัสรู้แล้วใหม่ๆไปพิจารณาธรรมในเรือนแก้ว ก็คือท่องปฏิจัตสมุบาท (70.35) สาธยายปฏิจัตสมุบาท (70.37) นั้น จงสังเกตว่าปฏิจัตสมุบาท (70.41) นี้ขึ้นต้นในข้อที่ว่า อายะตะนะภายใน อายะอายะตะนะภายนอก แล้วเกิดวิญญาณ หมายความว่ามันตั้งจุดตั้งต้นที่อายะตะนะ แต่ว่าปฏิจัตสมุบาท (71.02) ที่เอามาสอนกันตามโรงเรียนหรือที่ไหนต่างๆนั้น มันมีมากไปกว่านั้น คือมันตั้งต้นที่อวิชชา แล้วสังขาร แล้ววิญญาณ แล้วนามรูป แล้วจึงถึงอายะตะนะ ทำไมมันจึงเพิ่มออกไป (71.16)อย่างนั้น ข้อนี้ก็เพราะเหตุว่า เท่ากับมันถามว่าแล้วอายะตะนะที่คุณเอามาตั้งต้นนั้นมันมาจากไหนเล่า ถ้าถูกถามอย่างนี้มันก็ต้องว่า อายะตะนะมันมาจากนามรูป นามรูปมันก็มาจากวิญญาณ วิญญาณมาจากสังขาร สังขารมาจากอวิชชา ถ้าอยากถามกันว่าอายะตะนะนี่มาจากไหน มันก็หยุดๆแค่นี้ ไปถึงดับทุกข์ ถึงเกิดทุกข์แล้วดับทุกข์ ถ้ามาถามหรืออยากรู้เกินออกไปว่าไอ้นั้นมาจากไหนกัน มันก็ต้องอธิบาย มันจึงเกิดเป็นปฏิจัตสมุบาท (71.56) ตั้ง 11 หรือ 12 อาการขึ้นมา ถ้าจะตั้งต้นที่อาจะนะ (72.03)มันจะเพียงแต่ 8 หรือ 9 อาการเท่านั้นแหละ แต่ก็คือสิ่งเดียวกัน สิ่งเดียวกัน เราไม่พูดมาตั้งแต่อวิชชา เรามาพูดถึงไอ้สิ่งที่มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็พูดออกไปจนๆถึงเรื่องทุกข์ ถ้าจะให้อธิบายก็อธิบายได้ ก็มันๆไม่แปลกอะไรหรอก อวิชชา อวิชชา เป็นธาตุตามธรรมชาติ เป็นอวิชชาธาตุตามธรรมชาติ มีประจำอยู่ในๆๆทั้งหมดในจักรวาลนี้ อวิชชาธาตุมีอยู่ ก็ไปเอาไอ้ก็ไปทำให้เกิดการปรุงแต่ง เพราะมีอวิชชามันจึงเกิดอาการปรุงแต่ง เพราะมันโง่มันจึงเกิดอาการปรุงแต่ง ถ้ามันไม่โง่มันไม่เกิดอาการปรุงแต่ง เพราะมีอวิชชามันจึงสับประดน เกิดทำให้เกิดอาการปรุงแต่งคือสังขาร สังขาร การปรุงแต่งก็ดี การถูกปรุงแต่งก็ดี อาการที่ปรุงแต่งนั้นก็ดี สังขารนั้นตามความหมายแท้ๆ ผู้ปรุงแต่งก็ได้ผู้ถูกปรุงแต่งก็ได้ อาการที่ปรุงแต่งก็ได้ นั่นเรียกว่าสังขาร แต่ (73.31)ตามพระบาลีแท้ๆไปแจกเป็นว่า กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ปรุงแต่งให้เกิดการเป็นไปทางวาจา ทางกาย ทางใจ แต่มักจะซ้อนกันตามศาลาวัดนี่เป็นปุญญาธิสังขาร อปุญญาธิสังขาร อนินทาณิสังขาร (73.47) นั้นไม่พบในพระบาลี แต่ 3 คำนี้พบในที่อื่น เอามาผสมรวมกันที่นี่ได้ สังขารที่แจกเป็นปุญญา อปุญญานิสัง (74.01) นี่หายากในพระบาลี มีแต่แผ่น 2 แผ่น (74.04) ในพระไตรปิฎก แต่ถ้ามีตรงๆในเรื่องปฏิจัตุบาท (74.09) แล้ว ก็จะอธิบายเป็นกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ทั้งนั้น หมายความว่ามันจะเกิดสมรรถภาพหรือว่าคุณสมบัติ หรือกำลังหรืออำนาจในการที่จะเคลื่อนไหวทางกาย เคลื่อนไหวทางวาจา เคลื่อนไหวทางจิตใจในอนาคต ความไม่รู้เป็นธาตุตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการปรุงแต่ง เมื่อการปรุงแต่งมันก็จะต้องมีสิ่งที่ถูกๆปรุงแต่ง มันก็ไปคว้าเอาวิญญาณธาตุตามธรรมชาติมา วิญญาณธาตุที่เป็นตามธรรมชาติมา เอามาปรุงขึ้นให้เป็นวิญญาณธาตุทางอายะตะนะ สำหรับจะประจำทางอายะตะนะ สำหรับจะรู้แจ้งอารมณ์ วิญญาณธาตุตามธรรมชาตินั้นก็ไม่ได้มีหน้าที่อะไรนักหนา มีในฐานะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งอยู่ตามธรรมชาติ เดี๋ยวนี้มาทำให้เป็นวิญญาณธาตุทางอาจนะ (75.12) สำหรับรู้แจ้งทางอารมณ์ ก็คือวิญญาณสำหรับจะรู้แจ้งทางอารมณ์ขึ้นมาแล้ว ก็สามารถหรือง่ายที่จะเอามาประกอบกันเข้ากับร่างกาย ให้เป็นคู่กันเป็นนามรูป เป็นนามรูป ไอ้พวกวิญญาณธาตุน่ะคือพวกนาม แล้วไอ้ๆพวกรูปก็คือธาตุตามธรรมชาติฝ่ายรูป เอามารวมกันเป็นนามรูป เมื่อเป็นนามรูปแล้ว มันก็มีอายะตะนะครบถ้วนเป็นที่ตั้งแห่งอายะตะนะครบถ้วน มันก็ไปเข้ารูปปฏิสาร (75.43) แล้ว คือพระพุทธเจ้าท่านกล่าวเพียงว่าอายะตะนะถึงการเกิดวิญญาณ เกิดผัสสะ เกิดนั้นไป (75.51)
นี้เราจะศึกษาปฏิจัตสมุบาท (75.55) กันในตั้งต้นมาตั้งแต่อวิชชาก็ได้ แต่ก็จะไม่จำเป็นมั๊ง จำเป็นที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งก็เอาสมควรแก่เวลา ประหยัดเวลาก็ตั้งต้นที่อายะตะนะ เพราะว่าเราเดี๋ยวนี้ทุกคนมีอายะตะนะตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมันจะเป็นไปอย่างใด จะทำอะไรได้บ้าง ก็ศึกษา การที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นตัวอย่าง ขอทบทวนอีกทีนะ ช่วยจำให้ดี เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วข้างนอกมันก็มีรูป รส กลิ่น เสียง โผสสัพพะ (76.31) ธรรมารมณ์ ถ้ามันจับคู่กันเมื่อใดมันก็เกิดวิญญาณตามคู่ของมัน เป็นคู่ๆไว้ อายะตะนะภายในมี 6 ไปจับคู่กับอายะตะนะภายนอก 6 วิญญาณที่เกิดขึ้นมันก็ 6 วิญญาณ 6 วิญญาณ 6 รวมกัน ทำหน้าที่ร่วมกันกับอายะตะนะภายในและภายนอก อาการนี้เรียกว่าผัสสะ ผัสสะ คือการกระทบกัน กระทบ กระทบกันตามธรรมชาติในขั้นแรก เป็นสักว่ากระทบ ยังไม่เกี่ยวข้องไปถึงมโนวิญญาณ เรียกว่าปฏิพัทธิ์สัมผัส (77.16) คือตาเห็นรูป มันก็รู้จักเพียงคลื่นแสงของสิ่งที่เป็นรูป นั้นจึงรู้จักแต่มิติสีสันวรรณะเท่านั้นว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น ไม่รู้ว่าเป็นอะไร นี่เป็นสัมผัสอันแรก แล้วสัมผัสอันที่ 2 ตามมาคือมโนวิญญาณ มาสัมผัสในส่วนที่จักษุวิญญาณเป็นต้นสัมผัสไว้แล้ว จึงรู้ว่าอ๋อนี่คืออะไร นี่คือดอกกุหลาบ นี่คือขี้หมา นี่คืออะไรแล้วแต่ มันเป็นรูปธรรม หมายคุณค่าของไอ้สิ่งที่สัมผัสไว้ทีแรก เช่นด้วยวิญญาณฝ่ายรูปสัมผัสฝ่ายรูป และวิญญาณที่สัมผัสฝ่ายนามรูปความหมายคือคุณค่า แต่อย่างไรก็ดี จะเป็นไอ้ๆสัมผัสชั้นไหนก็เรียกว่าสัมผัสทั้งนั้น ในตอนแรกรู้เพียงมิติของรูป ของเสียง ของกลิ่น ของอะไรนั้น ไม่รู้ว่าความหมายอะไร นี่เรียกว่าปฏิพัทธิ์สัมผัส (78.28) เรคคอคนิชั่น (78.30) เฉยๆ ต่อมาจิตมาสัมผัส นี้รู้ความหมายเรียกว่า อธิวัจจนะสัมผัส (78.38) ที่ยืมเอาชื่อมาใช้ว่ามันเป็นสัมผัส อธิวัจจนะ(78.45)สัมผัสนี้ จะรู้ความหมาย ครั้งแรกรู้แต่รูปร่างสีสันวรรณะหรือมิติทั้งหลายของมัน สัมผัสโดยมโนวิญญาณทำให้รู้ความหมายของมันด้วย มันอยู่ 2 ขั้นตอนของสัมผัส ก็เรียกว่าสัมผัสด้วยกันน่ะ เราจงศึกษากันตรวจดูให้ดี ถ้ารู้แต่เพียงตา ก็รู้ว่ารูปร่างมีมิติอย่างนั้นอย่างนี้ สีสันอย่างนี้อย่างนั้น เพราะมันเอาสัมผัสอาศัยสัญญาเป็นรากฐานโดยอ้อม นี้ไกล นี้โต๊ะนี่ก็อะไรก็แล้วแต่ จะสัมผัสได้ว่ามีความหมายอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร สัมผัสแล้วก็มีเวทนา มีตัณหา อุปาทานอย่างที่ว่ามาแล้ว แต่ว่าความสำคัญอย่างยิ่งตรงนี้มันมีอยู่ที่ว่าในขณะสัมผัสนั่นแหละ จะโง่หรือจะไม่โง่ คืออวิชชามาเป็นเจ้ากี้เจ้าการในการสัมผัส หรือว่าวิชชามาเป็นเจ้ากี้เจ้าการในการสัมผัส สัมผัสจึงถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ชนิด คือสัมผัสด้วยอวิชชา มันก็โง่ๆไปสำหรับจะเป็นบวกเป็นลบ แล้วไปเกิดตัณหา แต่ถ้าว่ามันสัมผัสด้วยวิชชา วิชชา รู้แจ้ง รู้แจ้งนั้นควรที่จะไม่โง่ ไม่เป็นไอ้บวกเป็นลบ ไม่เป็นไอ้ให้เกิดตัณหาอุปาทาน นั่นไอ้จุดสัมผัสนั่นล่ะเป็นจุดสำคัญที่สุด ถ้าสัมผัสโง่ก็ไปฝ่ายทุกข์ ถ้าสัมผัสไม่โง่ก็เป็นปัญญา ก็เป็นฝ่ายไม่ทุกข์หรือฝ่ายที่ไม่เกิดทุกข์ นี้เราจงระวังให้ดี ที่เราสัมผัสสิ่งใดๆ ขอให้มีสติสัมปชัญญะมาทันมาเร็วมาถูกต้องมาเพียงพอ แล้วก็ไม่โง่ต่อสิ่งที่สัมผัสนั้น ก็เรียกว่าวิชชาสัมผัส วิชชาสัมผัส สัมผัสด้วยวิชชา ถ้าสัมผัสไปด้วยความโง่ เหมือนคนหลับตา มันก็ไปตามไอ้ความหลอกลวงของไอ้สิ่งเหล่านั้น คือมีความหมายเป็นบวกหรือเป็นลบ ถ้าอย่างนี้ก็เรียกว่าอวิชชาสัมผัส อวิชชาสัมผัส มีอยู่ 2 สัมผัส ระวังให้ดี ระวังให้ดี จะควบคุมปฏิจัตสมุบาท (81.11) ก็ควบคุมกันที่ตรงนี้ ให้มันเป็นวิชชาสัมผัสไว้เสมอ อย่าได้เป็นอวิชชาสัมผัสเลย พอเป็นอวิชชาสัมผัสแล้ว มันก็สูญเสียความถูกต้องความอะไรหมดสิ้น มันก็ไปตามบุญตามกรรม มันก็ไปสู่ไอ้ความหลงความเข้าใจผิด คือเป็นบวกหรือเป็นลบ แล้วก็เกิดอาการอยากอย่างโง่เขลาไปตามบวกตามลบ แล้วก็เกิดตัวกูอย่างโง่เขลา เป็นตัวกูบวกเป็นตัวกูลบ ก็มีภพมีชาติออกมาเป็นอย่างนั้น ก็ไปเอาแต่ความทุกข์ ถ้าสัมผัสมันฉลาด มันมีวิชชา มันพอที่จะรู้ว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ แล้วก็ไม่หลงทั้งบวกและทั้งลบ เวทนาจะออกมาเป็นบวกและเป็นลบ มันก็ไม่หลง มันก็ไม่เกิดตัณหาโง่หลงบวกหลงลบ มันก็ไม่เกิดอุปาทานโง่ คือตัวกูบวก ตัวกูลบ นี่คือเรื่องปฏิจัตสมุบาท (82.21) ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นอาทิพรหมจรรย์
ถ้าผู้ใดมีความประสงค์จะประพฤติพรหมจรรย์ให้ถูกต้อง แต่ต้นจนปลาย ผู้นั้นจึงรู้จักไอ้สิ่งที่เป็นอาทิพรหมจรรย์ อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ แล้วก็ได้ตรัสแก่ภิกษุที่มาแอบฟังอยู่ข้างหลัง เอ้าเอาไป เอาไป นี่คืออาทิพรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีโชคดี ได้รับคำสอนเรื่องอาทิพรหมจรรย์คือเรื่องปฏิจัตสมุบาท (83.00) เอาไปเป็นจุดตั้งต้นของบำเพ็ญพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อดับเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง อาทิพรหมจรรย์ อาทิมันแปลว่าตั้งต้นหรือว่าจุดตั้งต้น สตารท์ทิ้งพอยน์ท (83.16) คือจุดตั้งต้น มีแล้วก็สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้เป็นไปได้ด้วยดี นี่เราจึงมีความรู้เรื่องปฏิจัตสมุบาท (83.29) กันให้ถูกต้องเพียงพอ ถ้าเราพยายามเราเข้าใจได้ แต่ถ้าเราพูดกันอย่างโง่ๆว่าลึกเกินไป อย่าเอามาสอน มันเป็นหมันหมดเลย สิ่งที่เป็นอาทิพรหมจรรย์ก็เป็นหมัน ไม่ถูกเอามาสั่งสอน คนก็ไม่อาจจะประพฤติพรหมจรรย์ถูกต้อง จึงขอร้องให้ท่านทั้งหลายธรรมดาสามัญนี้ศึกษาไว้ สำหรับประพฤติปฏิบัติด้วยตนเองให้มันถูกต้อง แล้วก็บอกแก่ลูกแก่หลานให้มันมีความรู้ เตรียมตัวรู้ไปอย่างถูกต้อง ที่เป็นครูบาอาจารย์ก็ศึกษาไว้อย่างถูกต้อง ก็สอนลูกศิษย์นักเรียนอะไรก็ตามว่า ไอ้ความทุกข์มันตั้งต้นอย่างนี้ พอเรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้างนอกมีรูป เสียง กลิ่น รส โผสสัพพะ (84.19) ธรรมารมณ์ พอถึงกันเข้าเกิดสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณ เมื่อ 3 ประการนี้ทำหน้าที่กันอยู่เรียกว่าผัสสะ ผัสสะมีแล้วก็เกิดเวทนารู้สึกไปตามผัสสะ เวทนาเกิดแล้วก็เกิดความอยากไปตามเวทนา ความอยากมากแล้วก็เกิดตัวกูผู้อยาก เกิดตัวกูผู้อยากเป็นจุดตั้งต้นขึ้นในจิตใจแล้ว ก็เรียกว่ามีภพ มีภพแล้วก็มีชาติ มีชาติแล้วก็รวบรวมไว้เป็นความทุกข์ สอนมันก็ของธรรมดา ของที่เห็นได้ด้วยตาตามธรรมดา มันก็เรื่องวัตถุธรรมทั้งหลาย เด็กๆของเราก็จะมีความรู้เรื่องอาทิพรหมจรรย์ จุดตั้งต้นของพรหมจรรย์ แล้วเกลียดๆ (85.06)กลัวความทุกข์ แล้วเค้าก็จะค่อยๆปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดความทุกข์ อย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังนั้นอย่าเอาเรื่องปฏิจัตสมุบาท (85.21) ไปไว้ซะที่อื่นที่ไหนเลย เอามาไว้เป็นเรื่องของมนุษย์ธรรมดา ให้รู้จักธรรมชาติแล้วก็ที่ไปถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ต้องขออธิพูดทำความเข้าใจกันซักหน่อยว่าในพระบาลีอธิบายอย่างนี้ เรื่องปฏิจัตสมุบาท (85.42) มีลำดับอย่างนี้ มีอธิบายอย่างนี้ ไม่อธิบายเอาไว้ชาตินี้บ้างชาติโน้นบ้างชาติก่อนบ้าง ชาติไหนอะไรบ้างอย่างในวิสุทธิมรรค คัมภีร์วิสุทธิมรรคก็จะมาสอนกันอยู่ในโรงเรียนนักธรรม นี้เป็นปฏิจัตสมุบาท (85.59) สำหรับสอนผู้ที่ยังมีตัวตน เป็นสัมมาทิษฐิชนิดสาสะวาสัมมาทิษฐิในปฏิจัตสมุบาทชนิดนั้น ยังเป็นสาสะวา (86.06) จึงมีอาสะวะเจืออยู่สำหรับสอนผู้มีตัวตน ถ้าสอนปฏิจัตสมุบาท (86.17) ตามพระบาลีไม่ข้ามภพข้ามชาติ ไม่มีตัวตนที่จะไปพบชาติไหนแล้วก็เป็นสัมมาทิฐิที่สมบูรณ์ที่ถูกต้อง เรียกว่าอะนาสะวาสัมมาทิษฐิ (86.26) สัมมาทิฐิชนิดนี้ทำให้รู้จักปฏิจัตสมุบาท (86.31) ตัวจริง ปฏิบัติแล้วดับทุกข์ได้แจ้งได้จริง เป็นพระนิพพานได้จริง นี้ขอให้ทำความเข้าใจรู้กันไว้ว่าเรื่องปฏิจัตสมุบาท (86.41) ที่สอนกันอยู่ในเวลานี้ ภายในอินเดียในพม่าในลังกา มันอยู่เป็น 2 ความหมายอย่างนี้ แล้วก็สอนกันมากชนิดที่มีตัวตน มันก็ดี มันก็ไม่ใช่ให้โทษอะไร มันเป็นสาสะวาสัมมาทิษฐิ (86.57) สำหรับจะช่วยให้รอดอยู่ในโลกนี้ ดับทุกข์อย่างง่ายๆในโลกนี้ ทำไปก่อนมันก็ดีเหมือนกัน แต่ไม่ดับทุกข์สิ้นเชิง จนกว่าจะรู้จักปฏิจัตสมุบาท (87.11) ที่ชนิดอ้าชนิดที่ไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตน เพราะว่าเรื่องปฏิจัตสมุบาท (87.17) นี้ เรื่องที่ต้องการให้แสดงว่าไม่มีตัวตน ไล่มาดูสิตั้งแต่อวิชชามาจนถึงความทุกข์ ไม่มีตัวตนที่ตรงไหน มีแต่การปรุงแต่งแห่งธรรมชาติตามธรรมชาติ เป็นลำดับ เป็นลำดับ เป็นลำดับ เป็นลำดับ ไม่มีตัวตนที่ตรงไหน นี้เรื่องปฏิจัตสมุบาท (87.37) เรื่องสอนความเป็นกลางที่สุด มีพระบาลีบางแห่งบอกชัดเรื่องปฏิจัตสมุบาท (87.45) นี้สอนเรื่องเป็นกลาง คือสุญญตามากที่สุด ถ้ารู้เรื่องปฏิจัตสมุบาท (87.51) ก็จะพบความเป็นกลางคือมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาเป็นกลาง ไม่มีบวกไม่มีลบ ไม่มีซ้ายไม่มีขวา มีแต่กระแสการปรุงแต่งที่ปรุงไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้นทฤษฎีเรื่องปฏิจัตสมุบาท (88.08) นั้น มันคือทฤษฎีเรื่องความเป็นกลาง หรือเป็นมัชฌิมาปฏิปทามากที่สุด แต่หลักเกณฑ์อันนี้ไม่ค่อยได้ยินเอามาสอนกันในโรงเรียนนักธรรม หรือว่าในศาลาวัดทั่วๆไปก็ไม่ค่อยได้ยินว่าเรื่องปฏิจัตสมุบาท (88.26)
นั้นเรื่องมัชฌิมาปฏิปทา เรื่องปฏิจัตสมุบาท (88.30) แล้วก็เรื่องสุญญตา เรารู้กันเสียเดี๋ยวนี้เถอะว่าเรื่องปฏิจัตสมุบาท (88.36) สอนให้เห็นชัดว่ามันไม่มีตัวตนที่ตรงไหน ก็สอนสุญญตา เรื่องปฏิจัตสมุบาท (88.43) ไม่มีติดนั่นติดนี่ มีแต่ปรุงกันไปเรื่อยปรุงกันไปเรื่อย ก็มีความเป็นกลางเป็นมัชฌิมาเรื่อยไป ทีพอมันเกิดความทุกข์ ความทุกข์ก็ต้องจัดเป็นกลาง แต่ว่าคนเอาตามความรู้สึกของตน ก็เกลียดๆความทุกข์ ก็จัดว่าเป็นฝ่ายลบ แต่ปฏิจัตสมุบาท (89.06) ไม่จัดเรื่องอะไรเป็นฝ่ายลบหรือฝ่ายบวก ไม่มีคำว่าบุญว่าบาปในปฏิจัตสมุบาท (89.11) ไม่มีคำว่ากุศลหรืออกุศลในๆเรื่องปฏิจัตสมุบาท (89.16) เพราะมุ่งหมายจะบอกแต่ว่าปรุงอย่างนี้เกิดผลอย่างนี้ ปรุงอย่างนี้เกิดผลอย่างนี้ ปรุงอย่างนี้เกิดผลอย่างนี้ ดังนั้นเราจึงสามารถมีจิตใจอยู่เหนือบุญ เหนือบาป เหนือกุศล เหนืออกุศล หรือเหนือสิ่งที่เป็นคู่ๆๆ ปฏิจัตสมุบาท (89.36) อย่างนี้นำไปสู่พระนิพพาน ปฏิจัตสมุบาท (89.39) อย่างมีตัวตน นี้เป็นประโยชน์ทางศีลธรรมในขั้นต้นๆ จะได้มีศีลธรรมกลัวบาปกล้าบุญมาก ก็มีประโยชน์เหมือนกัน ประโยชน์ปฏิจัตสมุบาท (89.50) ที่มีตัวตนนั้น เป็นประโยชน์ทางศีลธรรม เพราะปฏิจัตสมุบาท (89.56) ที่ไม่มีตัวตนนั้น เป็นประโยชน์ทางปรมัตถธรรม หรือ โลกกุตตะระธรรม (89.58) ก็เลยมีไว้ 2 อย่าง ไม่ต้องไปตัดทิ้ง แต่เห็นได้ชัดว่ามันเป็นคำอธิบายชั้นหลัง เพื่อประโยชน์ทางจริยธรรม ทางโลกียธรรม ทางศีลธรรม แล้วก็อยู่ในประเภทที่เป็นสาสะวาสัมมาทิษฐิ (90.22) สัมมาทิฐิที่ยังมีอาสะวะเจืออยู่ เดี๋ยวนี้เราก็ได้พูดอาทิพรหมจรรย์ พูดเรื่องอาทิพรหมจรรย์ คือปฏิจัตสมุบาท (90.39) ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นตัวพรหมจรรย์ เรื่องปฏิจัตสมุบาท (90.47) เป็นอาทิพรหมจรรย์ เพราะว่าเห็นแล้วจะทำให้เกิดการขะมักเขม้นตั้งใจจริงในการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 เห็นความทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ อย่างไรอย่างไรชัดเจนแล้ว มันก็เกิดไอ้ความไอ้ปลงลง ปลงหมด ปลงความเชื่อ ปลงความเพียร ปลงอะไร ปลงหมดลงไปสำหรับการประพฤติไปตามกฎเกณฑ์อันนั้น
นี้เพราะฉะนั้นมีความรู้เรื่องอาทิพรหมจรรย์ไว้เถอะ คำนี้แปลกนะอาทิพรหมจรรย์ อาทิพรหมจรรย์ มีๆกล่าวไว้อย่างอื่นก็มี แต่ที่กล่าวไว้อย่างชัดเจน อย่างเต็มที่ อย่างๆที่เรียกว่าลงหลักปักฐานนั่นก็คือปฏิจัตสมุบาท (91.40) เป็นอาทิพรหมจรรย์ ในที่บางแห่งยังพบธรรมะชื่ออื่นเช่นว่า ความซื่อตรง ความไม่หลอกลวง ความซื่อตรงต่อความเป็นสมณะ ไม่หลอกลวงความเป็นสมณะนี้ เป็นอาทิพรหมจรรย์ก็มีเหมือนกัน แต่เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด เป็นเรื่องเล็กน้อย สู้เรื่องปฏิจัตสมุบาท (92.04) ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เอง ท่านตรัสกับภิกษุนั่น อ้าวแกอยู่ที่นี่ ดีแล้ว ดีแล้ว เอาไป เอาไป นี่คืออาทิพรหมจรรย์ นี่คืออาทิพรหมจรรย์ ที่เราก็ประพฤติพรหมจรรย์ แล้วพรหมจรรย์ในที่นี้ก็มีหลักอยู่ ที่ว่าฟังแล้วไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นกลางถูกต้องพอดี เป็นกลาง เป็นกลาง เป็นกลาง นั่นคือตัวพรหมจรรย์ ไม่ๆเอียงไปฝ่ายลบ คือทำความลำบากยุ่งยากให้มีประโยชน์ แล้วก็ไม่เอียงไปฝ่ายบวก คือหลงใหลในกาม ถ้าจะพูดให้เป็นคู่กัน มันก็พูดว่าไม่หลงใหลในกาม แต่ก็ไม่ไปบ้าทำลายอวัยวะหรือวัตถุที่เป็นปัจจัยแก่กาม ไม่หลงใหลในกาม แล้วก็ไม่จำเป็นที่ต้องไปทำลายร่างกาย หรือประสาทหรืออะไรที่เป็นวัตถุปัจจัยแก่ๆกาม ถ้าไปประพฤติอัตตะละมกิกถาวิโยค (93.26) ก็คล้ายๆทำอะไรร่างกายหรือทำระบบประสาทให้มันเสียไปหมด จนไม่สามารถบริโภคกาม นี้มันเกินไปในฝ่ายลบ ถ้ามันหลงในเรื่องกาม มันก็เกินไปในฝ่ายบวก ดังนั้นอยู่ตรงกลางๆๆก็ใช้ไปเถอะ (93.46) ให้เข้าใจง่ายขึ้นมาก็ ถูกต้อง ถูกต้อง แล้วพอดี พอดี ถ้าว่าพอดี พอดีไปเลย เป็นคำสูงสุดกับเขาด้วยในพระพุทธศาสนา เพราะถ้ามันถูกต้องแล้ว มันก็ต้องพอดี ถ้าไม่พอดีมันไม่ถูกต้อง เพราะว่าในความพอดีเหมือนกันมันขจัดปัญหา ความเป็นกลางมันจึงจะถูกต้อง ถ้าไม่เป็นกลางมันไม่ถูกต้อง ถ้ามันไม่ถูกต้องมันไม่พอดี ยังไม่พอดีมันก็ไม่ๆๆกำจัดทุกข์ไม่ดับทุกข์ วันนี้ก็พูดกันเรื่องพรหมจรรย์ และเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ แล้วแสดงหัวใจของพรหมจรรย์ทั้งหมดทั้งสิ้นด้วยคำง่ายๆว่าเป็นกลาง แล้วขยายความออกไปว่าถูกต้อง ถูกต้อง พอดี พอดี ถ้าเราสอนกันแต่เรื่องถูกต้องและพอดีและเป็นกลางแล้ว เท่ากับสอนเรื่องหัวใจพุทธศาสนาเหมือนกัน ถ้าเผอิญมีลัทธิศาสนาใดศาสนาหนึ่งเค้าไม่พูดถึงไอ้เรื่องเหล่านี้ เค้าพูดแต่เรื่องตรงกลางๆ ถูกต้อง และพอดี อย่างนี้ก็เท่ากับเค้าสอนพุทธศาสนาเหมือนกัน เราไปว่าเค้าไป (95.06) อย่าไปดูถูกเค้า พอเราเห็นใครสอนเรื่องความถูกต้องพอดี ทำอะไรพอดี มันก็เป็นการสอนธรรมะสูงสุดในพระพุทธศาสนา แล้วมันก็มีความพอดีตามความหมายในโลกียะ ในวิสัยโลก เราก็อยู่กันด้วยความพอดี พอดี กินอาหารก็พอดี ออกกำลังกายก็พอดี ใช้เงินก็พอดี หาเงินก็พอดี แม้แต่จะทำน้ำแกงน้ำซุปสักถ้วย มันก็ต้องพอดี มันก็ไม่เค็มเกินไป ไม่จืดเกินไป มันมีความพอดี พอดี แล้วมันก็จะไม่รกรุงรัง ถ้าในบ้านเรือนของเรามีแต่ความถูกต้องและพอดี มันจะเรียบร้อย ถ้ามันไม่ถูกต้องไม่พอดี มันก็จะเป็นไปในทางเกินๆๆทางกิเลสตัณหา บ้านเรือนก็รกลงไปด้วยสิ่งที่เกินหรือไม่จำเป็น ก็ควรจะละอาย นั้นช่วยไปดู บ้านเรือนของใครมีส่วนเกินสิ่งเกินเกะกะรกรุงรัง ก็ระบายออกไปเสียดีกว่า จะได้ถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา คือว่าเป็นกลาง ถูกต้อง พอดี จะทำอะไรสักนิ๊ดหนึ่ง ก็ให้มันถูกต้องและพอดี คือมันมีความเป็นกลาง ชีวิตนี้อยู่ได้ด้วยความถูกต้องและพอดี เรามีเลือด มีเนื้อ มีหนัง มีกระดูก มีอะไรต่างๆ มันอยู่ได้ด้วยความถูกต้องและพอดี ในสิ่งที่มันเกี่ยวข้องกับมัน เกี่ยวข้องกับมัน มันจึงสบายอนามัยดี เพราะมันมีหัวใจของพระพุทธศาสนา คือความถูกต้องและพอดี อนามัยเลวเพราะมันมีความผิดพลาดจากหลักพระพุทธศาสนา มันไม่มีความถูกต้องและพอดี เพราะฉะนั้นหลักสูงสุดในพระพุทธศาสนา เอามาใช้กับบ้านเรือนตามธรรมดาง่ายๆนี้ก็ได้ ให้มีเกิดให้มันเกิดมีความถูกต้องและพอดี โลกนี้มีความถูกต้องและพอดี จึงอยู่ได้ไม่สลาย ต้นไม้ต้นไร่สัตว์เดรัจฉานนี้มัน อยู่ได้ด้วยความถูกต้องและพอดีทั้งนั้น บรรดาชีวิตแล้วก็อยู่ด้วยความถูกต้องและพอดี ถือได้ว่าความถูกต้องและพอดีเป็นรากฐานของชีวิต เรื่องมันก็จะจบ ชีวิตตั้งอยู่ได้ ที่เหลือแต่เพียงพัฒนาให้เจริญ พัฒนาให้เจริญ มันก็เป็นไปอย่างถูกต้องและพอดีในความหมายนั้น ในขั้นนั้นคือขั้นที่มันเจริญขึ้นไปกว่าธรรมดา รอดอยู่ได้นี้ก็เพราะถูกต้องและพอดี เจริญขึ้นไปอีกก็เพราะถูกต้องและพอดีที่มันเพิ่มขึ้นไป เพิ่มขึ้นไป จนกว่าจะถึงที่สุด ที่ไม่ควรจะเพิ่มอีกแล้ว
นี่จุดจบของพรหมจรรย์ก็คือพระนิพพาน ตามความหมายตามตัวหนังสือแปลว่าเย็น หรือไปหมดแห่งความร้อน ไปหมดแห่งความร้อน เย็นๆๆในทุกความหมายเรียกว่านิพพาน แต่ถ้าว่าเย็นในทางจิตในทางกิเลสแล้วก็เป็นความหมายในทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ คำว่านิพพาน นิพพาน ในคำสูงสุดของพระพุทธศาสนานี้ แต่ก่อนนี้ก็เป็นคำธรรมดาใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป ในครัวมีคำว่านิพพานใช้ คือร้อนหรือไฟลุก ก็เรียกว่ามันไม่นิพพาน ถ้าดับก็เรียกว่ามันนิพพาน ไม่ใช่คำสูงสุดศักดิ์สิทธิ์ประเสริฐอะไร เป็นเรื่องเย็นลงแห่งความร้อน ในคำที่เหมาะอยู่คำหนึ่งคือคำว่าเค้วนช์ เคว้นช์ (99.18) นี่ เอาความหมายว่าเคว้นช์ (99.20) ก็เย็นลงแห่งความร้อน มันไม่ได้หมายความว่าตาย เดี๋ยวนี้ครูสอนนักเรียนในโรงเรียนว่า นิพพานแปลว่าตายของพระอรหันต์ นี่เสียหายหมด พระอรหันต์ไม่ตาย พระอรหันต์ต้องไม่ตาย ถ้าตายไม่ใช่พระอรหันต์ แล้วนิพพานคือความตายของพระอรหันต์ มันก็ผิดหมดเท่านั้นเอง มันว่าตายแห่งความทุกข์ ตายแห่งกิเลสก็ได้ นี่ตายแห่งความร้อน ไฟดับสมัยโบราณนั้นก็เรียกว่าไฟนิพพาน เอาน้ำรดให้เย็นก็ทำให้มันนิพพาน ทำให้หมดอันตราย ให้หมดปัญหา ก็เรียกว่าทำให้มันนิพพาน เข้าใจสูงขึ้นมาตามลำดับ ลำดับนิดนึง สมัยหนึ่งก็เอากามารมณ์เป็นนิพพาน แล้วกามารมณ์มันดับไอ้ความเดือดร้อนอะไรชนิดหนึ่ง ได้พักหนึ่ง ก็ได้พูดถือว่าเป็นนิพพาน และต่อมาพวกที่ๆร้องโอ้ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่เอา ก็เปลี่ยนเป็นว่าไอ้สมาธิฌาณสมาบัติ (100.29) เป็นนิพพาน อย่างนี้ก็เป็นอยู่นานพักหนึ่งทีเดียว นั้นจนกระทั่งพระพุทธเจ้าเกิดน่ะ อุทธกะ (100.38)ดาบสสอนเนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ (100.39) เป็นนิพพาน นี่ก็เอาสมาธิสมาบัติ (100.44) เป็นนิพพานชั้นสูงสุด พระพุทธเจ้าไม่ๆเห็นด้วย เรียกว่าความสิ้นกิเลสดับไฟหมดสิ้นกิเลส จึงจะเป็นนิพพาน แล้วก็สมบูรณ์ที่พระพุทธเจ้า นิพพานชั้นลูกเด็กๆเล็กๆแต่ก่อนมา ก็เลื่อนขึ้นมา เลื่อนขึ้นมา เลื่อนขึ้นมา นี้คือประวัติหรือประวัติศาสตร์ของคำว่านิพพาน ตั้งแต่ไฟดับ ก็เรียกว่าไฟนิพพาน ของร้อนเย็นลง ก็เรียกว่ามันนิพพาน เอาน้ำรดโลหะร้อนให้เย็นลงในชั่งในๆๆห้องช่างทอง ก็เรียกว่านิพพาน นี่บาลีใช้ตรงๆอย่างนี้นิพพาพะยะ (101.33) ทำให้นิพพานคือทำให้มันเย็น มันกระทั่งว่าทำให้สัตว์ที่ดุร้ายให้มันหมดความดุร้าย ก็เรียกว่าทำให้มันนิพพาน เอากามารมณ์มาดับความใคร่อันรุนแรงเสียหน่อยหนึ่ง ก็เรียกว่านิพพาน เมื่อเช้านั่งสมาธิเอาสมาบัติมาดับเอาไฟของกิเลสเสีย ก็เรียกว่านิพพาน แต่ยังไม่สมบูรณ์ สมบูรณ์จนเมื่อดับกิเลสสิ้นเชิงโดยวิธีของปฏิจัตสมุบาท (102.06) คือดับตัวตนเสียได้ เพราะว่าถ้าเห็นปฏิจัตสมุบาท (102.11) โดยครบถ้วนตลอดสาย จะไม่เห็นว่ามีตัวตนที่ตรงไหน ดังนั้นความดับตัวตนเสียได้ เป็นนิพพานในขั้นสมบูรณ์ นี้ขอให้พวกเราทั้งหลายรู้จักคำว่าพรหมจรรย์ หรือคำรู้จักจุดตั้งต้นของพรหมจรรย์ และรู้จักจุดหมายปลายทางที่สุดจบของพรหมจรรย์ หมายความว่าพรหมจรรย์ พรหมจรรย์ คำนี้มีใจความสำคัญอยู่ที่ว่าเป็นกลาง ถูกต้อง และพอดี ขอยืมพระพุทธเจ้ามาใช้ในบ้านในเรือนในทำการทำสวนทำนาทำอะไรก็ตามเถอะ เอาพรหมจรรย์มาในความหมายว่าเป็นกลาง ถูกต้อง และพอดี มันจะไม่เกิดปัญหาใดๆขึ้นมา จะเป็นพุทธบริษัทเต็มตัว เต็มตัว เพราะมีพรหมจรรย์คือความเป็นกลาง ความถูกต้อง ความพอดี จะอธิบายอีกคำหนึ่งด้วยคำว่าความว่างก็เหมือนกันแหละ ให้เป็นเรื่องยืดยาวอย่างนี้ก็ได้ ความว่างเป็นตัวพรหมจรรย์ แต่นั่นเป็นปรมัตถ์อย่างยิ่ง ยิ่งๆขึ้นไปอีก ก็น่าจะพูดกันเหมือนกัน แต่ปรมัตถ์ธรรมดาๆนี้ก็คือความเป็นกลาง ความถูกต้อง ความพอดี เป็นตัวพรหมจรรย์ นี้ขอให้ท่านทั้งหลายผู้แสวงหาธรรมะปัญญา ปัญญาทางธรรมะ รู้จักธรรมะให้ยิ่งๆขึ้นไป สูงยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง เดี๋ยวนี้รู้จักจุดตั้งต้นคือโพธิ แล้วก็จะรู้จักเนื้อตัวของมันคือความเจริญของสติปัญญาไปเรื่อยๆ ไปถึงจุดหมายปลายทาง ก็เรียกว่าจุดจบ หรือ (104.16)ผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ เกิดมาทั้งทีมีความถูกต้น อ้า มีความถูกต้องตั้งแต่จุดตั้งต้น จนถึงจุดปลายทางแล้วก็พอแล้ว ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ การบรรยายนี้ก็ 2 ชั่วโมงแล้ว ขอขอบพระคุณอุตส่าห์ทนฟังด้วยความอดทน แล้วก็ขอแสดงความหวังล่วงหน้าว่าจะเอาไปคิดไปนึก ให้มีความเข้าใจแจ่มแจ้งแตกฉาน แล้วสอนบุตรหลานสอนอนุชนรุ่นหลัง สอนคนทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องนี่ ให้ประพฤติถูกต้องต่อสิ่งที่เรียกว่าพรหมจรรย์ คือการประพฤติการกระทำอันประเสริฐ มันก็จะได้ชื่อว่าช่วยกันสนองพระคุณพระพุทธองค์ ผู้ทรงประสงค์จะให้ธรรมะนี้มันแพร่หลาย และพร้อมกันนั้นมันก็จะเป็นการช่วยสร้างโลกนี้ให้มีสันติภาพ ถ้าทำให้โลกนี้มันมีความรู้ในทางธรรมะ ก็เป็นกุศลอันใหญ่หลวง จึงไม่เสียหลาย ไม่เสียหลาย ในการที่เรารู้จักพรหมจรรย์ รู้จักเงื่อนๆต้นของพรหมจรรย์ รู้จักความจบสุดๆท้ายของพรหมจรรย์ นี้ขอยุติการบรรยายด้วยการสมควรแก่เวลา ขอบคุณ ขอบคุณ และก็ขอปิดประชุม