แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อาตมาขอแสดงความยินดี ในการที่ท่านสมาชิกจิตตภาวนา สามารถใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ได้ตามที่ต้องการ ในเวลาหัวรุ่งอย่างที่ว่านี้ ผู้ที่ไม่เคยใช้ ก็จะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร และคงจะได้ฝึกเดินสุญญตา เดินโดยไม่ต้องมีผู้เดินให้ได้มากขึ้น ระหว่างที่เดินมานี่ ใครเค้าจะพูดจะคุยตามใจเค้า เราจะมีสติเดินอย่างไม่มีตัวผู้เดิน แบบที่เค้านั่นไว้ว่า ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ นี่ก็ได้เหมือนกัน ก็จิตมันไปกำหนดแต่เพียงว่ามีอิริยาบท เป็นอิริยาบท ยกขึ้นย่างไปเหยียบลง ยกขึ้นย่างไปเหยียบลง เป็นอิริยาบทของธรรมชาติตามธรรมชาติ ของน้ำ และรูปร่างกาย ไม่มีตัวผู้เดิน มักจะสะดุด จะอะไรบ้างก็ยัง ไม่รู้สึกว่ามีตัวผู้สะดุด หรือตกอกตกใจ และก็ไม่คุยกัน ใครจะคุยกันก็ตามใจเค้า เราสามารถที่จะเดินไปในหมู่คนที่เค้าคุย เค้าคุยกันเอ็ดตะโรตามใจเค้าน่ะ นี่เราทำได้ทุกแห่ง ไม่ใช่ว่าจะต้องปิดเงียบไม่มีอะไรเลย ไม่ต้องไปทำในห้องปรับอากาศคนเดียวอย่างนั้นน่ะ โดยข้างเคียงมีคนอื่น มีอะไรต่างๆ แต่สามารถกำหนดอารมณ์ที่ต้องการกำหนด ขับไล่ หรือป้องกัน ไม่รู้สึกว่าตัวกู ตัวกู ไม่ต้องมา
มันมีความลับอย่างหนึ่ง ตามที่อาตมาได้สังเกตุเห็นมาว่า ไอ้ความสงัด ตัวความสงบสงัดเพื่อสมาธินั่น มันมีเมื่อจิตไม่มีตัวกู เมื่อจิตไม่มีตัวกู ให้ไปนั่งคนเดียวในป่าช้า แล้วคนเดียวโดด แล้วจิตไม่มีตัวกู แล้วตัวกูกลัวผีอยู่เนี่ย มันไม่เป็นสมาธิ มันสงัดไม่ได้ ถ้าจิตมันไม่มีตัวกู มันไม่มีตัวกู มันก็เป็นสมาธิโดยอัตโนมัติ กลางโรงละครจิตไม่มีตัวกู กำหนดอารมณ์ที่ต้องการกำหนดอยู่ได้ มันก็เป็นสมาธิได้ แม้ในกลางโรงละคร
ประโยคมีสั้นๆว่า เป็นสมาธิแท้จริง เมื่อจิตไม่มีความรู้สึกว่าตัวกู จะไปลองดูที่ตรงไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ ในเมื่อจิตไม่มีตัวกู ก็เป็นสมาธิทันทีโดยอัตโนมัติ นี่เรียกว่าเราจะต้องฝึก กันถึงขนาดนี้แหละ มีสมาธิได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ในที่เราต้องการจะมีสมาธิ มีอะไรมาให้จิตกำหนด ปิดทางเกิดแห่งตัวกูความรู้สึกว่าตัวกู ของกู หรือเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับตัวกูของกู
ไม่มาเกิด มันก็เป็นสมาธิ บางทีเป็นสมาธชนิดที่มีวิปัสนาซะด้วย จะมีความรู้แจ้งในสิ่งบางสิ่งบางอย่างซะด้วย ขอให้ฝึกหัดอย่างนี้สมาธิจะแท้จริงยิ่งขึ้น ให้สำเร็จประโยชน์ยิ่งขึ้น จิตไม่มีตัวกูเมื่อใดก็เป็นสมาธิเมื่อนั้น จะเป็นสมาธิหรือจะสมถะ ตั้งต้นๆ หยาบๆ คือฝ่ายสมถะไม่ได้เกี่ยวกับปัญญา แต่ถ้าว่าใส่ปัญญาเข้าไปด้วยมันก็ครบ ครบบริบูรณ์ทั้งศีลทั้งปัญญา เมื่อการที่มีชีวิตอยู่โดยจิตไม่มีความรู้สึกว่าตัวกู ว่าของกู
ดังนั้นจึงขอร้องเป็นอย่างมากให้หัดทุกอย่าง คือทุกอิริยาบท เดินยืนนั่งนอน อิริยาบทอะไรก็ตาม ให้เคลื่อนไหวไปโดยอิริยาบทนั้นๆ โดยไม่ต้องมีความรู้สึกว่ามีตัวกู กูเคลื่อนไหว อย่างกับเดินมานี่ไม่มีตัวกูเดิน ไม่รับประทานอาหารก็ระวัง ไม่มีตัวกู กูรับประทาน มีแต่ตามธรรมชาติ คือปาก รับประทานอาหารโดยทีไม่ต้องมีตัวกู มันจะไม่เกิดความรู้สึกว่าอร่อยหรือไม่อร่อย ถูกปากหรือไม่ถูกปาก
นั่นคือความฟุ้งซ่านไอ้ความโง่ เกิดความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ ดีใจ หรือเสียใจขึ้นมา มีอะไรบ้างก็รู้ได้เอง วันหนึ่ง วันหนึ่ง เราต้องทำอะไรบ้าง รับประทานอาหาร เรื่องอาบ เรื่องถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสวะ ไปนั่นมานี่ ลุกขึ้นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกูของกู เป็นผู้กระทำแต่เป็นไปโดยนามรูป นามรูปล้วนๆ ที่ปรากฎอยู่ด้วยสติและปัญญา สำคัญอยู่ที่นั่น
เวลานั้นนามรูปนั้นปรากฎอยู่ด้วยสติโดยเฉพาะอย่างยิ่งและก็ปัญญาตามสมควร เนี่ยเป็นกฎเกณท์หรือเป็นหลักโดยทั่วไป สำหรับการมีชีวิต ท่านจะมีชีวิตชนิดไหน เป็นชาวนา เป็นชาวสวน เป็นผู้ค้าขาย เป็นกรรมกร เป็นผู้ทำราชการ เป็นผู้ควบคุมคนงานก็สุดแท้แต่ มีสติอยู่ด้วยสติ อย่ามีตัวกู มันก็จะเรียบร้อย มันก็จะไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดวุ่นวายขึ้นมาในจิตใจ
ผู้ไม่มีสติ พออะไรไม่ตรงตามความต้องการหน่อย มันก็โกรธ บางทีก็ด่า ถึงกับด่าออกมาก็ได้ มันเป็นซะอย่างนั้น ถ้ามันไม่มีสติ ถ้ามันมีสติก็ควบคุมไว้ได้ ในความถูกต้อง ในความเป็นปกติ ทำไปแก้ไขไป บางทีก็หัวเราะเยาะได้ด้วย มันก็ไม่เกิดเรื่อง แม้แต่ครอบครัวของเราก็เหมือนกัน แม้แต่คนที่เกี่ยวข้องด้วย ที่มาทำธุระด้วยในหน้าที่การงานต่างๆ
มีสติสัมปชัญญะ ปฏิบัติต่อคนเหล่านั้น ที่เหนือเรา ดีกว่าเรา หรือที่ต่ำกว่าเรา ต่ำต้อยกว่าเรา ก็ปฏิบัติถูกต้องทั้งสองอย่าง ไม่ต้องมีความรู้สึกที่ร้อนเป็นไฟขึ้นมาในจิตใจ เนี่ยบทเรียนมันอยู่ที่นี่ หัดกระทำทุกอิริยาบทโดยไม่ต้องมีผู้กระทำ จึงขอร้องให้เดินมาอย่างบทเรียนนี้ ไม่ต้องมีผู้เดิน พยายามฝึกหัดหลายวันหน่อย ก็จะได้มากขึ้น มากขึ้น เหมือนกับว่าควบคุมสติไว้ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ดีขึ้น เร็วขึ้น และชีวิตนี้ก็จะลดปัญหา ไม่มีความร้อน ไม่มีความวุ่นวาย ไม่เกิดกิเลส ชนิดที่ว่ามันกัดเจ้าของ อย่างที่ออกชื่อมาแล้วให้เป็นตัวอย่าง ก็จำไว้บ้าง ความรักก็กัด ความโกรธก็กัด ความเกลียดก็กัด ความกลัวก็กัด ความตื่นเต้น ตื่นเต้นก็กัด วิตกกังวลก็กัด อาลัยอาวรณ์ก็กัด อิจฉาริษยาก็กัด ความหวงก็กัด ความหึงก็กัด ก็มันเผลอสติไปมีตัวกู ของกูเข้า มันก็รู้สึก บวก ลบ ยินดียินร้าย บวก ลบ ไม่สม่ำเสมอ ถ้าต้องการความปกติสม่ำเสมอ ก็ควบคุมไม่ให้มันเกิดตัวกู
ตั้งแต่ว่า ไม่ให้มันเกิดรู้สึกเป็น บวกหรือเป็นลบ ให้มันมีแต่เพียงว่า ถ้ามันเกิดเรื่องขึ้นอย่างนี้ๆ จะแก้ไขอย่างไร จะไม่นึกไปถึงเรื่องเสียเรื่องได้ เรื่องขาดทุน เรื่องกำไร ยังไม่นึก นึกแต่ว่าเรื่องนี้จะต้องแก้ไขอย่างไร จะต้องพูดจากับเขาอย่างไร จะต้องกระทำตอบกับเขาอย่างไร ต้องกำหนดในจิตใจของเราอย่างไร ในชีวิตนี้ก็เป็นชีวิตเย็น ไม่ร้อน เย็นน่ะเป็นประโยชน์ นี่คือเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า มีสติ มีสติ ฝึกกันจริงๆให้มีสติกันจริงๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับที่จะควบคุมกระแสแห่ง ปฎิจจสมุปบาท อย่างที่กล่าวมาแล้วเมื่อวาน
กระแสแห่ง ปฎิจจสมุปบาท นั้นคือกระแสแห่งความทุกข์ ถ้าควบคุมไม่ได้มันก็เกิดความทุกข์ ถ้าควบคุมได้ก็เปลี่ยนไปในทางที่ไม่เป็นทุกข์ไม่มีทุกข์ถ้ามีสติพอกับมันก็ควบคุมได้
สติ บทนิยามของสติสำหรับคนทั่วไป ถอดรูปมาจากพระคัมภีร์ คือความระลึกได้ ระลึกได้ ถึงสิ่งที่ควรรู้ และควรนำมาใช้ทันเวลาของเหตุการณ์นั้นๆ ระลึกได้ถึงสิ่งที่ควรรู้ หรือควรนำมาใช้ ใช้ปฏิบัติ ทันเวลาของเหตุการณ์นั้นๆ นั่นค่ะคือสิ่งที่เรียกว่า สติ ไม่ต้องภาวนาไม่ต้องพำพัม ไม่ต้องทำอะไร ระลึกได้เร็วทันควันเหมือนสายฟ้าแล่บ รู้สิ่งที่ควรกระทำ การที่ต้องฝึกให้มันมากกว่าธรรมดา ก็เพราะเรื่องกิเลสมันเป็นเรื่อง มันยิ่งกว่าธรรมดา มีสติตามธรรมดา เท่าที่ธรรมดามีมันไม่พอ ข้อนี้อย่ามองข้าม บรรดาสิ่งที่เรียกว่าชีวิต ชีวิตทุกชนิดทุกชั้นมีสติทั้งนั้นแหละ สุนัข แมว หมู หมา กา ไก่ ลิง ข้าง อะไรก็ตาม มันมีสิ่งที่เรียกว่า สติ สติอยู่ตามสมควร ก็ทั่งคนเรา ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็เหมือนคนสลบไป หรือว่าคนเสียสต ิมันก็ทำอะไรไม่ได้ แม้แต่จะเดินก็เดินไม่ได้ ทรงตัวไว้ไม่ได้ แล้วมันก็จะละเมอไป มันจะกินข้าวทางจมูกก็ไม่รู้ตัว ถ้ามันไม่มีสติ
เพราะฉะนั้นขอให้เห็นชัดทีเดียวว่ามันจำเป็นแก่สิ่งที่มีชีวิต รอดชีวิตอยู่ด้วยความมีสติ ไม่หกล้มคอหักตาย ลิงข้างกระโจนตามกิ่งไม้อ่างมีสติ นี่เรียกว่าสติตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติ มีสำหรับให้มีชีวิตอยู่ได้โดยปลอดภัย แต่ไม่พอสำหรับจะมีชีวิตที่สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนมีคุณธรรมชั้นสูง ที่เรียกว่า บรรลุมรรคผลนิพพาน มันไม่มี เมื่อมันไม่พอ เมื่อมันไม่พอมันก็ต้องฝึกทั้งนั้นแหละไม่มีทางอื่น ก็ฝึกให้มันพอ มันจึงเกิดการฝึกระบบอานาปานสติ ในที่นี้ก็ว่าจะควบคุมกระแสแห่ง ปฎิจจสมุปบาท ดังที่กล่าวมาแล้ว อย่าให้มันไวต่อความรู้สึกบวกหรือลบ ไม่ดีใจไม่เสียใจ ไม่โกรธไม่รัก คงที่อยู่เสมอ และปฏิบัติหน้าที่ไปให้เสร็จเป็นเรื่องๆไป
เราได้พูดเรื่อง ปฎิจจสมุปบาท มาโดยระเอียดแล้วนะเมื่อวาน ในวันนี้ก็พูดถึงมีสติควบคุม ให้มันเป็นไปได้ตามที่มันถูกต้อง ก็คือไม่เกิดความทุกข์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่จะต้องกำหนดจดจำไว้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีอัตตะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อะไรก็ตาม เมื่อมีอัตตะ จะต้องมีสติควบคุมอัตตะ ให้มันถูกต้องให้มันเดินไปถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วมันจะเกิด อัตตะโง่ ไม่รู้อะไร มันก็เป็นไปอย่างผิดๆ อัตตะมันผิด มันโง่ มันก็เกิดเวทนา โง่ ตัณหา โง่ อุปทาน โง่ คบชาติ โง่กันจนเต็มไปด้วยความทุกข์
พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้มากมาย สรุปรวมความไว้ เวลาที่สำคัญที่สุด ที่จะต้องควบคุมให้ได้ก็คือเวลาที่มีปัตตะ ทุกคนต้องมีปัตตะเกิดขึ้นตามหน้าที่การงานของตน แล้วแต่ว่าจะเป็นอะไร แม้แต่ว่าจะเป็นคนอิสระอยู่ในบ้านในเรือนของตนไม่ได้มีการเกี่ยวข้องกับคนภายนอก มันก้ต้องมีปัตสะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันยังทำหน้าที่อยู่ ถ้าทำผิดต่อปัตสะ ก็เกิดความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ คู่ตรงกันข้ามมันก็ไม่สบาย ถ้าไม่เกิดเป็นบวกหรือเป็นลบ มันก็อยู่ในความถูกต้องๆๆๆ ทุกกรณี ที่จะต้องฝึกให้มีสติเร็วพอ มากพอ ในทุกอัตสะ ในทุกกรณีของอัตสะ แยกออกเป็นเพื่อป้องกันกิเลสก็ตาม เพื่อกำจัดกิเลสออกไปเสียก็ตาม หรือเพื่อจะทำอะไรให้ดี เพื่อก้าวหน้าต่อไปก็ตาม มันล้วนต้องอาศัยสติเป็นเครื่องชักจูง
จนมีพระพุทธภาษิตว่า "สติ สัพพัตถะ ปัตถิยา" สติเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในทุกกรณี ตัวหนังสือเหมือนสติอันบุคคลอันพึงปรารถณาในทุกกรณี ปรารถณาเอามาใช้ไม่ว่ากรณีใด
ชีวิตนี้จะมีกรณีกี่ร้อยกี่พันอย่าง ทุกกรณีต้องมีสติเข้าไปเกี่ยวข้อง ป้องกันก็ได้ แก้ไขก็ได้ พัฒนาก็ได้ อะไรก็ได้ มันเกี่ยวข้องกับสติทั้งนั้น พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า ต้องใช้ในทุกกรณีๆ กรณีโลกโลก ที่รอดชีวิตอยู่ในโลกก็ต้องใช้สติ ที่จะฆ่ากิเลส ละกิเลส บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องด้วยสติ ขึ้นอยู่ที่เรารู้จักค่าของสติกันพอสมควรแล้ว
ทีนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่องสติอย่างไร โดยวิธีใดต่อไป เมื่อจะดูกันในแง่ของประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ มนุษย์ก็รู้จักใช้สติมาเป็น พันๆปี หมื่นปี แสนปี ล้านปีแล้วก็ได้ ตั้งแต่มนุษย์มันเริ่มละจากความเป็นสัตว์ป่ามาเป็นคน มันเริ่มเป็นคนขึ้นมา คนจากยุคแรกจากเป็นคนป่า เค้าก็ต้องมีไอ้สิ่งที่เรียกว่า สติ ไม่งั้นมันตายหมด ถ้าไม่อย่างนั้นมันตายหมดแหละ มีสติในระดับต่ำต้อยอย่างนั้น เค้าก็มี เริ่มรู้สึก แล้วก็ทำให้มากขึ้นมากขึ้น จนกลายเป็นวิชา หรือเป็นศาสตร์ ชนิดหนึ่ง จนกระทั่งมันกลายเป็นไสยศาสตร์ เวทมนต์ คาถา เสกเป่าอะไรไปตามเรื่อง มันเริ่มมาจากความมีสติ ความมีสติ
พวกยักษ์ พวกมาร ที่เราจะอ่านพบในเรื่องทั่วๆไป มันก็มี สติ เรียกกำลังจิต เรียกลมหายใจ พิเศษให้มีเข้มแข็งแกร่งกล้าในการรบ รบต่อไป ถูกตี ถูกทุบ นอนฟุบลงไปแล้วก็สำรวมสติใหม่ ลุกขึ้นลูบเนื้อลูบตัว รบต่อไปได้อีก สามารถสำรวมสติที่ศูนย์ไปกลับไปใหม่ พวกยักษ์ พวกมาร ก็ยังทำเป็น แล้วมันเนื่องกันอยู่หลายๆอย่างในตามธรรมชาติแท้ๆ ถ้าเรามีสติ หายใจละเอียดอ่อน ควบคุมให้มัน มีความละเอียดอ่อน สงบระงับ มันก็มีผลไปถึงว่าร่างกายสงบเย็น เลือดที่ออกที่แผลก็ไหลน้อย มีแผลมีเลือดไหลออกมา แผลฉกรรจ์ แต่ถ้ามัน...... ให้ได้ให้สงบให้มากที่สุด มันจะกลายเป็นว่าเลือดจะออกมาน้อย หรือจะให้หยุดก็ได้ นี่มันเรื่องทางเนื้อทางหนังก็ใช้เป็นประโยชน์ได้ ใช้กันมาแล้วตั้งแต่สมัยนู๊น จะกี่พันปีกี่หมื่นปีก็สุดแท้แต่
จนกระทั่งมันไปอยู่ในรูปไสยศาสตร์ปัดเป่าเวทมนต์คาถา อะไร ก็ใช้กันมาในอำนาจของจิตภาวนา อำนาจจิต ที่ฝึกในการมีสติ ได้้เรียกว่ามนุษย์เริ่มรู้จักก็ใช้กันมา จนสรุปเป็นคำที่มีความหมายมาก ว่า เรียกลมปราน เรียกลมปรานแห่งชีวิตเข้ามาหาตัว ถือว่าลมปรานแห่งชีวิตมีอยู่ในโลกมีอยู่ทั่วไป ทำสติเรียกเข้ามาหาตัว เรียกเข้ามาหาตัวก็เข้มแข็งได้เปรียบผู้อื่นและก็สามารถทำไอ้อย่างนี้ได้ นี่ก็เรียกว่าไม่เกี่ยวกับศาสนา ไม่เกี่ยวกับศาสนา เป็นเรื่องของอานาปนสติที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา และต่อมามันเข้ามาเกี่ยวกับศาสนาเพราะว่ามนุษย์มันเริ่มรู้จักมากขึ้น รู้จักสิ่งที่เรียกว่าชีวิตจิตใจ หรือคามทุกข์ หรือ กิเลสมากขึ้นๆๆ
จึงถูกนำมาใช้กับเรื่องกำจัดกิเลส สร้างความสงบสุขในทางจิตทางใจ ที่สูงขึ้นไป จนเกิดแบบทางศาสนาขึ้นมา อานาปนสติทางแบบศาสนาขึ้นมา แม้ที่สุดพวกฤาษีชีไพรมุนีในป่าในดง ก็ค้นพบขึ้นมาตามลำดับ ตามลำดับ ก็ไม่ใช่น้อยนะ ที่เค้าพบกันมาแล้วก่อนพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่น้อย สูงสุดเมื่อพระพุทธเจ้าท่านได้ค้นพบ ค้นพบแบบของท่านที่สูงสุด จนคุยได้ว่าไม่มีใครจะพบได้ดีไปกว่านี้ สูงไปกว่านี้ อานาปนสติตามแบบที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงค้นพบและบัญญัติไว้ สูงสุด ไม่มีใครค้นพบได้ดีไปกว่านี้ได้ เอาเป็นว่าเรายุติกันที่แบบของพระพุทธเจ้า แบบังสุดที่มนุษย์ค้นพบ เป็นไปเพื่อนนิพพาน แล้วมีระเบียบหลักเกณท์รัดกุมตามธรรมชาติ เพื่อมีความสงบสุขในขั้นต้นๆ ในระดับ....เมื่อมีสมถะสมาธิทางจิตล้วนๆก็มี เพื่อมีวิปัสสนาเกิดความเห็นแจ่มแจ้งลึกขึ้นไปจนทำลายอวิชาหรือกิเลสได้นี่ก็มี สำหรับจะเสวยความสุข เสร็จแล้วก็ในที่สุดก็เสวยความสุข ที่เกิดมาจากความหมดกิเลส นั้นน่ะ ก็ด้วยสติอีกเหมือนกันมีสติเสวยวามสุข มีสติปฏิบัติมาจนสำเร็จ มีสติเสวยความสุข อันเป็นผลเกิดมาจากการปฏิบัติ ให้ท่านต้องสนใจ ต้องได้สิ่งนั้น จนกระทั่งมีสติเสวยความสุขอันเกิดมาจากการปฏิบัติ ถึงจะหาพบได้ในอานาปานสติ แบบที่เราใช้กันอยู่ แบบที่พบขั้น ซึ่งจะได้อธิบายกันต่อไป
แต่เดี๋ยวนี้มาบอกให้รู้กันโดยทั่วๆไปว่ามันเป็นแบบสุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ เราได้ยินได้ฟังได้อ่านตำนานพุทธประวัติว่า เด็กชายสิทธัตถะอายุ 7 ขวบก็ทำอานาปานสติได้ เมื่อไปในพิธีแรกนาขวัญของพระบิดา แต่มันเป็นอานาปานสติชนิดที่ธรรมชาติธรรมดา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่สมาธิวิปัสสนาอะไรมากมายนัก แต่สามารถกำหนดสติ หยุดระงับได้ไม่น้อยทีเดียว เดี๋ยวมันก็ขยายต่อไป ขยายสูงขึ้นไป เป็นสมถะ เป็นฌาน เป็นสมาบัติ กระทั่งเป็นวิปัสสนา ตัดกิเลสตัณหาได้ด้วยประการทั้งปวง โดยพระพุทธเจ้า
และในที่สุดพระพุทธเจ้า ท่านได้อาศัยแบบที่เรียกว่าอานาปานสตินี้ เพื่อการตรัสรู้ และท่านก็ได้ตรัสรู้ในเวลาหัวรุ่งแห่งวันวิสาข โดยระบบอานาปานสติ ข้อความนี้ปรากฎชัดอยู่ในพระบาลีว่า ตถาคตได้อาศัยอานาปานสติวิหารถึงตรัสรู้ ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงแนะให้สาวกใช้ ก็ทรงสรรเสริญการปฏิบัติในระบบนี้ แม้ในเรื่องที่ปฏิบัติวินัย วินัยแท้ๆนะ ก็ยังทรงใช้ให้มีสติ สติจะปฏิบัติวินัยได้ดี มีศีลได้ดี ต่อไปก็มีสมาธิได้ดี มีวิปัสนาได้ดี เพราะว่ามีสติ พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ในระบบอานาปานสติ และทรงแนะให้ใช้ ทรงสรรเสริญ ทรงสรรเสริญ อาจจะมีคนไม่เชื่อแล้วหาว่าอาตมาพูดเอาเอง ก็ไปดูเอาเองในพระบาลี ยกมาว่าในหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เป็นต้น มันยืนยันเป็นตัวหนังสือชัด อยู่ว่าได้อาศัยระบบอานาปานสติ เป็นวิหารธรรมในวันที่ตรัสรู้ ในวันที่จะตรัสรู้ แล้วก็ตรัสรู้ได้ด้วยวิธีของอานาปานสติ เป็นวิธีเฉพาะรัดกุม
อย่างที่เรียกว่าอานาปานสติสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ที่เราเอามาใช้เป็นหลักปฏิบัติกันอยู่ที่นี่ ไม่ใช่มหาสติปัฏฐานสูตร มันยืดยาวอ่านตั้ง 6 ชั่วโมงไม่จบ ไม่เอาอันนั้นมากเกินไป นั่นมันอยู่ในคัมภีร์ทีฆนิกาย ยาวเฟื้อยอ่าน 6 ชั่วโมงไม่จบ ก็เรียกกันว่า มหาสติปัฏฐานสูตร แต่แม้ในกรุงเทพฯศาลาวัดในกรุงเทพฯติดคำคำนี้กันมาก อะไรก็มหาสติปัฏฐาน อะไรก็มหาสติปัฏฐาน แล้วคุณจะเอาไปเป็นอันเดียวกันมันคนละเรื่อง อานาปานสติสูตร อ่านชั่วโมงครึ่งชั่วโมงก็จบ ก็มีระเบียบปฏิบัติ 16 ขั้น 4 หมวด หมวดละ 4 ขั้น 16 ขั้น ส่วนมหาสติปัฏฐาน มากมายยืดยาว มีไม่รู้กี่หมวดต่อกี่หมวดนับเป็นสิบสิบหมวดนั่นแหละ และแจก.....เป็นชั่วโมง นั่นเค้าเรียกว่าระบบมหาสติปัฏฐาน มากเกินไปเก็บไวทีก่อนก็ได้ เท่าที่มันมีระบบอานาปานสติ รัดกุมที่สุด ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เนี่ยพอแล้ว ศึกษาให้ดีว่า 16 ขั้นอย่างไร 4 หมวด หมวดละ 4 ขั้นนั้นเป็นอย่างไร
มันมีความหมายเป็นธรรมะมันเป็นเนื้อธรรมะล้วนๆ มีแต่เนื้อหาสาระแล้วก็เป็นระบบที่ไม่ทบไปทบมา มันติดต่อกันไปตามลำดับ จนจบสูตรไม่ได้ซ้ำวกวนอะไร อันที่ 1 ก็จัดการเรื่องกาย สำเร็จแล้วก็ใช้เป็นเครื่องปฏิบัติ เรื่องเวทนาต่อไป ปฏิบัติเวทนาสำเร็จแล้วก็ ควบคุมจิตได้ ควบคุมจิตได้ก็ทำวิปัสสนาสูงสุดในเรื่องอนิจจา เป็นต้น บรรลุมรรคผลนิพพาน ติดต่อกันไปอย่างไม่มีวกวน ซ้ำซาก
เรียกว่าตั้งแต่จุดตั้งต้น จนไปถึงปลานทางก็คือบรรลุนิพพาน ไม่ต้องเปลี่ยนระบบ ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นว่า เดี๋ยวปฏิบัติระบบนั้น ระบบนี้ หลายระบบ อย่างคัมภีร์วิสุทธิมรรคมันจัดขึ้นมาใหม่เป็น 40 ระบบ นี่เราไม่เอาหรอก มีระบบอานาปานสติระบบเดียวเท่านั้นน่ะ ปฏิบัติไปตามลำดับ ตามลำดับ 16 ขั้น ก็จนกระทั่งนิพพาน นี่คืออานาปานสติแบบที่พระพุทธเจ้าท่านได้บัญญัติขึ้นไว้เป็นหลักอยู่ในพระบาลี แต่น่าอะไร น่าสงสาร น่าเสียดาย น่าเศร้าที่ไม่ค่อยจะมีใครสนใจ คนอื่นนั้นใช้...ระบบมหาสติปัฏฐานอ่านสักครึ่งวันก็ไม่จบ
นี่เรามองเห็นการได้เปรียบที่สุดของระบบนี้ คือว่าไม่ต้องเปลี่ยนระบบปฏิบัตจนถึงนิพพาน ไม่ต้องเปลี่ยนระบบ แล้วก็ะดวกไม่ต้องเที่ยวหาบหิ้วอะไร ถ้าถือกับศีลปฏิบัติกับศีล ก็เที่ยวยึดถือดวงกับศีลอยู่ ระบบ....ก็ต้องไปที่ป่าช้าที่นั่นที่นี่ มันสะดวกมันอยู่ในตัวเสร็จไปที่ไหนก็มีลมหายใจที่นั่น นี่มันสะดวกและมันก็ไม่มีอะไรที่น่าเกลียด น่าปฏิกูล น่ากลัว มันสงบแล้วระงับมันเยือกเย็นใจตลอดเวลา นี่คือความได้เปรียบของระบบอานาปานสติ เหนือระบบอื่นๆทั้งหลายใด ขอให้ทำความเข้าใจไว้
ที่นี้ก็มาสรุป ใจความให้มันสั้นให้รู้จักหรือเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า อานาปานสติ อานาปานสติ ตัวหนังสือแปลว่า กำหนดสิ่งที่ควรกำหนด อยู่ด้วยสติทุกครั้งที่หายใจออกเข้า มีสติกำหนดสิ่งที่ควรกำหนด และอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า นั่นคือคำแปลของคำว่า อานาปานสติ อานะ อาปานะ หายใจออกเข้า แล้วก็สติกำหนดสิ่งที่ถูกกำหนด อะไรออกมากำหนดตามลำดับ ซึ่งในที่นี้ก็มี 4 หมวด หมวดละ 4 ขั้น ก็ 16 อย่างที่จะต้องกำหนด กำหนดสิ่งที่ควรกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ทำไมจะไปกำหนดเล่า ก็ถามแบบนั้นขึ้นมาบ้างสิ เพราะไอ้สิ่งนั้นมันเป็นปัญหา ที่มันทำให้เราเป็นทุกข์ ทำไมชีวิตมันกัดเจ้าของ สิ่งใดเป็นปัญหา ทำให้ชีวิตมันกัดเจ้าของ สิ่งนั้นแหละต้องเอามาจัดการ เอามาจัดการกับมัน มันเป็นเรื่องของอุปทานเสมอ และก็ไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด โดยการเป็นอุปทานเรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องกุศล เรื่องอกุศลเรื่องทุกอย่างไป แม้แต่ว่า เรื่อง อสังขตะ คือเรื่องเพื่อนิพพาน ก็ยังเป็นที่ตั้งความยึดมั่นถือมั่นได้
ท่านทั้งหลายช่วยฟังคำนี้ให้ดีๆหน่อย ความยึดมั่นถือมั่นน่ะ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คนโง่มันยึดมั่นได้หมด แม้กระทั่งเรื่องในโลกธรรมดา ทุกเรื่องมันยังไปยึดมั่นเพื่อนนิพพาน ตามการคาดคะเนของเค้า ว่า นิพพานคงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้เลยยึดมั่นหมายมั่นในการนิพพาน โดยความโง่ของเขา ก็มีผลกับการยึดมั่น และก็เป็นทุกข์
มีเรื่องน่าหัว จะมาเล่าให้ฟังนิดนึงว่า ผู้หญิงคนหนึ่งก็มาขอทำงาน สอนเรื่องนิพพาน อาตมาก็เอา ได้เหมือนกัน แต่เค้าบอกร่วงหน้าว่า ในนิพพาน เมืองนิพพานไม่มีรำวง ไม่มีรำวง เค้าขอถอน ไม่เอา ไม่เอาไม่ต้อง ไม่ต้อง ไม่ต้อง......ไม่ต้องบอก ก็ในเมืองนิพพานไม่มีรำวง โลกผู้หญิงคนนี้คงเมารำวง หลงไหลในเรื่องรำวง อยากไปนิพพานโดยหวังว่า รำวงในเมืองนิพพานนั้นจะประเสริฐวิเศษกว่าที่นี่มาก แต่พอบอกว่าไม่มีรำวง ก็ถอนไม่เอาอ่ะ มันยึดมั่นถือมั่นในพระนิพพานได้ แม้ยังไม่มีวันบรรลุถึงก็คำนวนคาดคะเน อนุมานเอาว่า พระนิพพานต้องเป็นอย่างนี้อย่างนั้น มันก็มีอุปทานได้แม้ในพระนิพพาน
นี่กำหนดสิ่งที่ควรกำหนด หยุดทุกครั้งที่หายใจเข้าออก เป็นการฝึกในเบื้องต้น ให้กายและใจนี้เหมาะสมเพื่อจะปฏิบัติให้สูงขึ้นไป ในเบื้องต้นนี่เป็นการเตรียมกายและใจที่ยังหยาบๆโง่ๆนี่ ให้มันมีความเหมาะสม ที่จะปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไป มันก็รวมอยู่ในสายการปฏิบัตินี่ด้วยโดยเฉพาะ ไอ้หมวดกายานุปัสสนา มันเตรียมสำหรับจะปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นไป ทีนี้เท่าที่ ..........ในพระบาลี ในพระสูตร ท่านทั้งหลายก็ได้ฟังแล้ว ได้อ่านแล้ว ว่ามี 4 หมวด หมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต หมวดธรรมะ แต่ละหมวด ละหมวดมีข้อปฏิบัติ 4 ขั้น ก็ 4 หมวด หมวดละ 4 ขั้น มันก็เป็น 16 ขั้น เป็น 16 บทเรียน มีบทเรียน 16 บทเรียนตลอดแนวของอานาปานสติ ก็แบ่งเป็น 4 หมวด หมวดละ 4 บทเรียน เป็น 16 บทเรียน ก็จะได้พูดกันต่อไป
หมวดที่ 1 เรียกว่ากายานุปัสสนา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า กาย กาย ไอ้กายนี่ตามธรรมดาเราก็หมายถึงร่างกาย ร่างกาย แต่มันมีความลับว่าไอ้ร่างกาย เนื้อหนังเนี่ย มันอยู่ได้ด้วยลมหายใจ มันอยู่ได้ด้วยลมหายใจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าแม้ลมหายใจ ก็คือกายชนิดหนึ่ง คำนี้ตัดเอง ว่าลมหายใจที่หายใจอยู่นั้น ก็เรียกว่ากายชนิดหนึ่งได้ด้วยเหมือนกัน มันเลยเป็นกายลมหายใจ และกายเนื้อหนังมีอยู่ 2 กาย และทั้ง 2 กายนี่มันเนื่องกัน ไม่แยกจากกัน ลองไม่มีกายลมหายใจมันก็ตาย ลมหายใจมันหล่อเลี้ยงกายเนื้อหนังอยู่เอาไว้ เราจะต้องรู้จัก เราจะต้องควบคุมให้ได้ ต้องนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด
ในบทเรียนบทที่ 1 ของบทนี้ เรียกว่า กำหนดลมหายใจยาว บทเรียนที่ 2 กำหนดลมหายใจสั้น บทเรียนที่ 3 กำหนดลมหายใจและกายเนื้อหนัง 2 อย่างนี้มันเนื่องกัน เรียกว่ารูปกายทั้งปวง กายลม และกายเนื้อ ในบทที่ 4 ก็ทำให้กายลมให้ระงับ ทำกายลมให้ระงับ กายเนื้อก็ระงับ เป็นร่างกายที่เหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อไป และมีความสุขอยู่ได้ในตัว
เพียงประสบความสำเร็จในหมวดที่ 1 เกี่ยวกับกายเท่านั้นแหละ มีความสุขเยอะแยะไป มีชีวิตสงบเย็นก็กายสงบระงับ ก็ลมหายใสสงบระงับ ลมหายใจละเอียดสงบระงับ กายนี่สงบระงับ ก็เป็นความสุขเย็นในขั้นต้น เป็นความสุขที่จัดว่าเป็นฝ่ายโน้น สุขฝ่ายนิรามิตร ไม่ต้องมีเหยื่อ สุขที่ไม่มีเหยื่อ เช่นถ้ากายสงบระงับก็มีลักษณะเย็นของพระนิพพานอยู่มากพอแล้ว ที่กำหนดอย่างไร กำหนดลมหายใจ ทั้งยาวและสั้น กำหนดกันคนละที บทเรียนที่ 1 ก็กำหนดลมหายใจยาว เพื่อรู้จักลมหายใจยาว บทเรียนที่ 2 กำหนดลมหายใจสั้น เพื่อให้รู้ลมหายใจสั้นว่า มันต่างกันอย่างไร
ลมหายใจยาวมีอิทธิพลต่อร่างกายนี้อย่างไร ลมหายใจสั้นมีอิทธิพลเหนือร่างกายนี้อย่างไร ความหยาบความละเอียดมันไม่เท่ากัน เรื่องที่ต้องกำหนด ว่ารู้จักลักษณะลม ว่าลมมันเป็นอย่างไร ว่าลมยาวมีลักษณะอย่างไร ลมสั้นมีลักษณะอย่างไร มันมีธรรมชาติของมันอย่างไร แต่ถ้าปล่อยไปตามเรื่องมันเป็นอย่างไร พอไปควบคุมเข้ามันเป็นอย่างไร ถ้าปล่อยไปตามเรื่องมันก็ไม่มีปัญหาอะไรหายใจตามธรรมชาติ แต่พอไปกำหนดเข้ามันเกิดปัญหาทันที จะควบคุมไม่ได้มันจะต่อสู้ นี่ต้องรู้ว่าธรรมชาติของลมหายใจมันเป็นอย่างนี้ เพราะมันมีอิทธิพลต่อความรู้สึก คืออิทธิพลที่ว่าจะทำให้เกิดเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ได้นั้นลมหายใจ
ลมหายใจยาว มีอิทธิพลต่อความรู้สึกอย่างไร ลมหายใจสั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกอย่างไร ศึกษาได้โดยลองหายใจยาวดู ว่ามันรู้สึกอย่างไร หายใจสั้นดูว่ามันรู้สึกอย่างไร นี่เรียกว่าอิทธิพลของลมหายใจที่มันมีอยู่เหนือชีวิต คือเหนือร่างกาย ทีนี้มาถึงประโยชน์ ประโยชน์มันหล่อเลี้ยงชีวิตไว้ และทำให้สงบได้โดยทำให้มันสงบ และชีวิตนี้ก็สงบ มีประโยชน์อย่างยิ่งสมารถทำชีวิตนี้สงบเย็นได้ โดยการควบคุมลมหายใจ ที่นี่อีกด้านหนึ่งถ้าว่าควบคุมได้เต็มที่ จัดว่าดีทั้งลมหายใจ ทั้งร่างกายเนี่ยมันจะมีสมรรถนะ น่ะ ความสามารถน่ะมากมากที่สุดน่ะ จะทำอะไรได้มาก กระทั่งว่าจะเหาะเหิรเดินอากาศก้ได้ถ้าต้องการ
ลมหายใจที่ฝึกฝนดีแล้ว ทำให้ร่างกายนี้มีสมรรถนะ ได้มากอย่างที่เป็นเรื่องเวทมนต์ คาถาอะไรต่างๆ แต่ว่าเราไม่สนใจเราไม่ต้องการ เราต้องการแต่ความสงบ เพียงเท่านี้เราก็ได้รู้จักความสงบสุข เสวยความสุขเพียงเท่านี้ก็มากเหมือนกันนะ การกำหนดเย็นของต้นต้นของอานาปานสติ หมวดที่ 1 นี่ก็เยอะเหมือนกัน สงบเย็นทำนองเดียวกับนิพพาน
โตเป็นขั้นต้นต้นของขั้นลูกเด็กๆ และถ้าทำให้มันโตๆๆๆเป็นถึงขั้นสูงสุดแท้จริง ข้อนี้มันมีประโยชน์ที่ว่าเป็นจุดที่ต้องตั้งต้น ถ้าไม่ตั้งต้นมันไม่มีทางจะเลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป เหมือนกับเราต้องมีบรรไดขั้นต้น ถึงจะขึ้นบรรไดขั้นต่อไปได้ เราก็ฝึกลมหายใจหรือร่างกายนี้ เป็นบทเรียนขั้นต้นเพื่อที่จะปฏิบัติให้สูง โดยเลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป จะปฏิบัติกันถึงฌาน ถึงฌานก็ได้ แต่เสียเวลามาก ไม่ต้องถึงฌานก็ได้เป็นสมาธิพอสมควร แล้วก็ปฏิบัติต่อไปได้ แต่ถ้าใครสมัครอยากจะปฏิบัติให้ถึงฌานก็ต้องยอมเสียเวลามาก ปฏิบัติกันมากก็มีฌานคล่องแคล่วในฌานนั้นก็ยิ่งวิเศษ ยิ่งดีขึ้นไป
แต่ความประสงค์มุ่งหมายในสิ่งนี้ ต้องการความมีสมาธิพอสมควร สำหรับจะมีวิปัสสนาต่อไปข้างหน้าก็ได้ เพราะว่าเรื่องฌานนั้นไม่ใช่ง่าย บางคนทำไม่ได้ ปฏิบัติจนตายมันไม่ได้ก็มี แต่บางคนได้โดยง่ายมันก็มีเหมือนกัน แต่เราไม่บัญญัติ พระพุทธเจ้าก็ไม่บัญญัติว่าต้องถึงฌาน เอาแต่ว่ามีสมาธิพอสมควร การปฏิบัติมีสมาธิพอสมควรแล้วก็ ข้ามไปปฏิบัติหมวดที่ 4 โน่นเลยก็ได้ ไปตัดลัด ถ้าไม่ตัดลัดก็ไปตามลำดับของ 4 หมวด ถ้าตัดลัดก็หมวดที่ 1 พอสมควรก็กระโดดไปหมวดที่ 4 ปฏิบัติต่อไป บรรลุมรรคผลได้เหมือนกัน แต่ถ้าสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริงแล้วก็ให้มันครบทั้ง 4 หมวด
ทีนี้วิธีกำหนด เข้าใจว่า คงจะได้รับการฝึกมาพอสมควรแล้ว ที่จะ.......ที่จะฝึก กำหนดลมหายใจยาวว่าเป็นอย่างไร จนรู้จักมันดี ลมหายใจยาวเป็นอย่างไร จนรู้จักมันดี รู้จัก เหมือนกับรู้จักสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า รู้จักอย่างนี้ ลักษณะอย่างไร คืออิทธิพลอย่างไร ประโยชน์อย่างไร รู้จักดี เรียกว่าลมหายใจยาว แล้วก็นั่งชิน ความสงบเกิดจากลมหายใจยาวซะบ้างก็ได้
บทเรียนที่ 2 ก็ลมหายใสั้น ศึกษาทันทีว่าลมหายใจสั้นต่างกันอย่างไร เปลี่ยนไปอย่างไร ลักษณะเปลี่ยนไปอย่างไร อิทธิพลต่อชีวิตต่างกันอย่างไร สมรรถนะต่างกันอย่างไร ขอให้รู้จักทั้งยาวและสั้น และพร้อมกันนั้นให้รู้จักว่ามันหยาบหรือละเอียด ถ้ามันหยาบร่างกายก็หยาบ ถ้าละเอียดร่างกายก็ละเอียด ถ้าสงบระงับ มันก็.......สงบระงับ เป็นอันว่าเราจะรู้จักลมหายใจยาว และทั้งสั้น ที่มีอิทธิพลอยู่เหนือร่างกายนี้ ด้วยบทเรียน 2 หมวด มาตอนต้น และมากำหนด เพ่งกำหนดๆๆ อยู่ที่ว่า ไอ้ลมหายใจนั่น เนื่องกันอยู่กับร่างกาย มันไปด้วยกันๆ ลมหายใจหยาบ ร่างกายนี้ก็หยาบ ลมหายใจนี้ละเอียด ร่างกายนี้ก็ละเอียด ลมหายใจสงบระงับ ร่างกายนี้มันก็สงบระงับ เพ่งความจริงข้อนี้ เพ่ง เพ่ง เพ่ง เพ่ง จนเห็นว่า อู้วว ไอ้ลมหายใจกับไอ้ร่างกายเนี่ยมันเนื่องกัน ขึ้นด้วยกัน ลงด้วยกัน ไปด้วยกัน มาด้วยกัน อย่างนั้นแหละ นั่นล่ะบทเรียนที่ 3 ของบทนี้
มาบทเรียนที่ 4 ทำลมหายใจให้ระงับ ทำลมหายใจให้ระงับ โดยวิธีต่างๆ ตามวิธีเทคนิคที่กล่าวไว้แล้ว กำหนดที่นิมิตร แล้วก็ทำนิมิตรให้ละเอียด ละเอียดลงไป มันก็สงบระงับไปตาม หากสั้นๆที่สุดก็ว่าวิ่งกำหนด วิ่งตาม กำหนดลมหายใจติดตามอยู่ ก็หยุดอยู่ที่แห่งหนึ่ง แล้วก็สร้างนิมติรขึ้นมาที่ตรงนั้น บังคับนิมติรได้ตามชอบใจ เมื่อทำได้เช่นนี้ ลมหายใจก็ละเอียด ละเอียดเหลือประมาณ เราก็ได้ร่างกายที่สงบระงับเหลือประมาณเหมือนกัน
ทำลมหายใจให้สงบระงับได้เท่าไหร่ ร่างกายนี้ก็สงบระงับได้เท่านั้น ท่านต้องเข้าใจ ด้วยจำได้ดีว่ากำหนดลมหายใจก่อน ว่ามันเป็นอย่างไร นั่งเพ่งพิจารณากำหนดอยู่ และก็ลมหายใจสั้นตามมา จนรู้จักทั้ง 2 อย่าง จนสามารถจะมีได้ทั้ง 2 อย่าง จะเปลี่ยนอารมณ์ได้ ด้วยเปลี่ยนลมหายใจ ก็กำหนด ก็อ้าว ไอ้นี่มันเนื่องกันอยู่ ลมหายใจกับร่างกายเนี่ย หยาบด้วยกัน ละเอียดด้วยกัน กำเริบด้วยกัน สงบด้วยกัน มีอยู่ 2 คนน่ะ เป็นเกลอกัน ลมหายใจกับร่างกาย เราไม่อยากบังคับ ที่ร่างกายโดยตรง แต่เราบังคับได้โดยอ้อม เราบังคับได้ที่ลมหายใจ บังคับลมหายใจได้มันก็ไปบังคับร่างกาย ทำลมหายใจให้ละเอียดเถิด ไอ้ร่างกายมันก็ระงับเอง เราฝึกเพ่งดูอยู่อย่างนี้ กำหนดอยู่อย่างนี้ ศึกษาอยู่อย่างนี้ ทุกครั้งที่หายใจออก-เข้า แล้วทีนี้ก็กำหนดลมหายใจละเอียด ละเอียด ละเอียด ละเอียดยิ่งขึ้นไป ร่างกายสงบระงับละเอียดมีความสุขอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา ก็กำหนดอยู่ได้ กำหนดอยู่ได้ รู้จักมันให้ดี
ความลับของธรรมชาติมันมีอยู่ว่า ถ้าเราจะรู้จักอะไรให้ดีที่สุด แล้วสิ่งนั้นมากำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก เราอยากจะรู้จักอะไร ความจริงของอะไร ความลึกลับของอะไร ที่จะเข้าใจมัน จงเอาสิ่งนั้นมากำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ก็จะรู้จักสิ่งเหล่านั้นดี ก็จะรู้จักความดี ความชั่ว ความเจริญ ความเสื่อม ท่านจะรู้จักมันดี ก็มากำหนดดูทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ก็จะรู้สึกดีที่สุดเลย นี่เป็นหลักโดยทั่วไป ว่าจะได้รู้แจ้งแตกฉานในอะไร จงเอาสิ่งนั้นมากำหนดดูอย่ทุกครั้งที่หายใจออก-เข้า นี่ก็จบบทเรียนหมวดที่ 1 คือหมวดกาย หมวดกายา กายเนื้อก็ดี กายลมก็ดี เหล่านี้อยู่ในอำนาจของเรา เราสามารถสงบระงับได้ ด้วยการฝึกบทเรียน หมวดที่ 1 ซึ่งมีอยู่ 4 บทเรียน ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น กายทั้ง 2 กาย คือกายลม กายเนื้อ แล้วก็บังคับกายเนื้อโดยผ่านทางกายลม นี่ความลับหรือหัวใจของเรื่องของบทที่ 1
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ 2 หมวดที่ 2 หมวดที่ 1 เรียกว่า กายานุปัสสนา แปลว่า การเห็นกายตามกำหนด กาย หมวดที่ 2 เรียกว่า เวทนานุปัสสนา คือการเห็นเวทนาตามกำหนดเวทนา เรียกว่า เวทนานุปัสสนา รู้จักสิ่งที่เรียกว่าเวทนากันเสียก่อน เวทนานี้มันไม่ได้หมายความแคบๆ เพียงว่า ทุกข์ยากลำบากให้ภาษาไทย ในภาษาบาลีไม่ได้หมายความว่า ทุกข์ยากลำบาก น่าสงสาร น่าเวทนา นั้นไม่ได้เวทนาในที่นี้ เวทนาในที่นี้คือความรู้สึกที่เป็นผลเกิดมาจาก การที่ อายัสมา มันสัมผัสอารมณ์ เช่น ตาเห็นรู้ หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส ผิวหนังก็สัมผัสและเกิดความรู้สึกที่ว่ายินดียินร้ายอะไรขึ้นมา เรียกว่าเวทนา เวทนา โดยความจริงมันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการในแง่บวก คือต้องการในแง่สุขเวทนา แต่ว่าทั้งสองแง่แหละ มันกระทำแก่บุคคลอย่างเจ็บปวด มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เดี๋ยวก็มีสุขเวทนา เดี๋ยวก็มีทุกขเวทนา สลับกันไปอย่างนั้น และทุกคนก็หวัง หวัง หวังใจจะขาด ว่าจะได้สุขเวทนา ไอ้เวทนามันจึงมีอิทธิพลอยู่เหนือจิตใจของคน ต้องรู้ความจริงข้อนี้ ทั้งโลกทั้งฟ้า ทั้งจักรวาล สิ่งที่มีชีวิต ตกอยู่ภายใตความต้องการของเวทนา ที่เค้าชอบที่เค้าพอใจ คือเวทนาชนิดไหน
ถ้าไม่เป็นสัตว์ประเภท กามาวจร มันก็บูชากามอารมณ์ ถ้าเป็นสัตว์ รูปาวจร อรูปาวจร มันก็บูชาสมาธิ สมาบัติ ไปตามเรื่อง แต่ว่าเวทนาทั้งนั้นแหละ เวทนาที่ต่างกัน เป็นลำดับ ลำดับ เวทนานั่นแหละ มันผลักดันให้คนเคลื่อนไหว ท่านมาที่นี่เพื่อฝึกสมาธิก็ต้องการเวทนาที่ดีกว่า ดีกว่าเก่า ท่านจะทำไร่ ทำนา ทำอุตสาหกรรม ก็เพื่อได้เวทนาที่ดีกว่าเก่า ทุกคนขวนขวายก็เพื่อได้เวทนาที่ดีกว่าเก่า ทุกคนก็เป็นทาสของเวทนา เป็นขี้ข้าของเวทนา ทำเพื่อเวทนา ทำเพื่อเวทนา ทุกคนในโลกทำอะไรๆ เพื่อเวทนาตามที่เขาต้องการ พวกกาม ก็ปรารถนา กามก็ทำเพื่อกาม พวกที่สูงขึ้นไปเป็นพระอริยเจ้าก็เพื่อ สูงขึ้นไปตามลำดับเป็นเรื่องสมาธิ สมาบัติ จนเป็นเรื่อง สูงสุด คือพระนิพพาน ทำเพื่อเวทนา ทำเพื่อเวทนา เนี่ยเวทนาเป็นอะไร ใช้คำหยาบ หมายความว่า มันเป็นนาย เป็นนายเหนือหัว เวทนาบังคับคนให้ไปทำ ไปทำ ทำอย่างลำบากยากเข็ญเพื่อประโยชน์แห่งเวทนาที่เขาต้องการ แล้วมันก็เป็นทุกข์ตลอดเวลา กว่าจะได้ตามที่ต้องการ ถ้าได้มาแล้วก็หลงรักหลงยินดีก็เป็นทุกข์ต่อไปอีก ทีนี้จะล่ะแก้ลำ ไม่แสวงหาก็ไม่เป็นทุกข์ ฉันไม่เป็นทุกข์ ไม่แสวงหาก็ไม่เป็นทุกข์ เวทนาที่ควรจะได้
ได้มาแล้วก็ไม่เป็นทุกข์ ไม่หลงไหล ไม่มัวมองในเวทนานั้นๆ นี่คือประโยชน์ของความรู้เรื่องของเวทนา จะไม่เป็นทาสของเวทนาอีกต่อไป
จึงมีการฝึกให้รู้จักเวทนาว่าเป็นอย่างไร อย่าได้ไปหลงไหลบูชาเวทนา ก็เรียกว่าไม่เป็นทาสของเวทนา เลิกเป็นทาสของเวทนากันเถอะดี ถ้าทำได้อย่างนี้คือการปฏิบัติในหมวดที่ 2 ที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนา บทเรียนก็มี 4 ขั้นเองแหละ บทเรียนมี 4 บทเองแหละ
บทที่ 1 เอาปีติ เอาปีติมาทำไว้ในใจ ศึกษาปีติ รู้จักปีติ เข้าใจปีติ ปิตินี้คือความพอใจ พอใจเมื่อประสบความสำเร็จในอะไร เราก้มีความพอใจ หรืออิ่มใจ ถ้าเราประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหมวดกาย หมวดที่ 1 เราก็มีปีติเยอะแยะ ประสบความสำเร็จในหมวดกาย เอามาทำเวทนาในหมวดที่ 2 เอาความพใจอื่มใจนั้นเป็นความปิติ แล้วกำหนดว่าเป็นอย่างไร ซึมซาบดูดดื่ม ในเวทนานั้นจนรู้จักมันดีว่าปีติ ปีติเป็นอย่างไร มันก็เป็นความสุขชนิดที่ยังไม่ถึงที่สุด เป็นความสุขที่ยังกำลังฟุ้งซ่าน เรียกว่าปีติ ถ้าความสุขนั้นสงบระงับลงไปแล้วก้เรียกว่าความสุข ปีติ กับความสุขล่ะเป็นเรื่องเดียวกัน มันต่างกันก้แต่ว่า ปีติมันยังไม่ระงับ ถ้าสุขมันระงับแล้ว ดีใจจนเนื้อเต้น มันก็คือความสุขที่มัน มัน มันพุ่งและมันเดือด ความพุ่งที่มันเดือด เค้าเรียกว่าปีติ ต่อมาสุขสงบระงับเย็นเนี่ยก็เรียกว่าความสุข เวทนาที่กำลังเดือด กับเวทนาที่สงบระงับ เรียกที่ต่างกันว่าปีติพบสุข
เรื่องนี้เป็นสุดยอดของอันที่เราต้องการ ไอ้เวทนาที่เป็นทุกข์นั้น มันไม่มีอิทธิพลมากมายเหมือนเวทนาที่เป็นสุขหรอก เราชนะเวทนาที่เป็นทุกข์ได้โดยง่าย หรือไม่อยากไปเอากับมัน แต่พอเวทนาที่เป็นสุข เรามอบกายถวายชีวิตให้มันเลย มันเป็นอย่างนั้น จงรู้จักมันให้ดีในแง่ ชั้นสูงสุด คือว่า ฝ่ายที่เป็นสุข ถ้าเราชนะฝ่ายที่เป็นสุขได้ก็ไม่เป็นปัญหาล่ะ ฝ่ายที่เป็นทุกข์มันชนะได้ง่าย อย่าไปโง่ไปหลงฝ่ายที่เป็นสุข พอไอ้ฝ่ายที่เป็นทุกข์มัน็ไม่โง่ ไม่หลง แต่มันจะพลอยรู้ พลอยรู้ไปด้วยกัน ถ้าไม่หลงเวทนาที่เป็นสุข มันก็ไม่หลงเวทนาที่เป็นทุกข์
บทเรียนที่ 1 กำหนด ปีติ ปีติ ปีติเอามาจากไหนก็ได้ แต่ถ้า ไม่เอามาจากไหนได้ก็เอาเวทนาแหละ มันได้มาจากปฏิบัติหมวดที่ 1 ปีติ ปีติ ดีใจ ปีตินี่ถ้าฟุ้งซ่านมากถึงกับเนื้อเต้น ถึงกับกระโดดไปได้ ถ้าปีติครอบงำมากนี่ จะลอยตัวกระโดด ปุ้งปั้ง ปุ้งปั้ง ไปได้ ปีติไม่ใช่ของเล็กน้อย แต่เราไม่รู้จัก แต่เราไม่เคยได้ ปีติชนิดที่ทำให้เรากระโดดไปได้ทั้งๆที่เรานั่งขัดสมาธิ์ ไม่เคยได้ไม่เคยมี แต่เอามาพูดถึงให้รู้ไว้ว่ามันเป็นไปได้ คือมันหยาบและมันเดือดพร่านฟุ้งซ่าน จนกว่ามันจะสงบระงับ สงบระงับ นิ่ง เงียบ เย็น เป็นปกติ หรือเป็นสุขเวทนา ปีติเวทนานั้นไม่สงบไม่ระงับ ฟุ้งซ่าน สุขเวทนานั้นสงบระงับน่าพอใจ เมื่อชิน ปีติรู้จักมันดีแล้ว มันก็มาชิน สุข ให้รู้จักอย่างที่สุดด้วยกัน ว่าลักษณะเป็นอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร ฤทธิ์เดชเป็นอย่างไร รู้จักมันเสียให้หมด
บทเรียนที่ 3 ไอ้หมอนี่เอง คือ ปีติ และสุข นี่เอง ที่ปรุงแต่งจิต ให้คิด ให้นึก ให้คิด ให้นึกไปได้สารพัดอย่าง ปีติและสุขนี่เรียกว่า จิตตสังขาร ปรุงแต่งให้เกิดจิตคือความคิดขึ้นมาทุกอย่าง ทุกอย่าง เรามาถึงขั้นเนี๊ย ขั้นที่ 3 ของหมวดที่ 2 นั่งดู นั่งดู นั่งดู ไอ้เวทนานี่ปรุงแต่งความคิดทุกชนิด ทุกอย่าง กำหนดความจริงข้อนี้อยู่ ปฏิบัติบทเรียนที่ 3 ของหมวดที่ 2 สำเร็จแล้วก็เลื่อนไปว่า ควบคุมไอ้การปรุงแต่ง อย่าให้มันปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งแต่ในทางที่ไม่วุ่นวายไม่ยุ่งยาก นี่ก็บังคับเวทนาอย่าให้ปรุงแต่งในทางที่ไม่ควรปรุงแต่ง เค้าปรุงแต่งกันในทางที่ควรปรุงแต่ง อย่างนี้เรียกว่า ควบคุมเวทนาได้ หรือควบคุมจิตได้ สังขารคือเวทนา เวทนาบางทีเรียกว่าเวทนา บางทีเรียกว่าจิตตสังขาร เครื่องปรุงแต่งจิต ควบคุมเวทนาได้ คือควบคุมไอ้เครื่องปรุงแต่งจิตได้
เอ้าไล่มาให้เข้าใจได้ง่ายอีกทีว่า บทเรียนที่ 1 ของหมวดที่ 2 เนี่ย ชิม รส ดูดดื่ม สิ่งที่เรียกว่าปีติ ปีติ ปีติ ให้มันรู้กันจนถึงที่สุดว่ามันเป็นอย่างไร เป็นอย่างไรในทุกความหาย มันมีอิทธิพลอย่างไรเนี่ยมันสำคัญมาก ลดลงมา ลดความกำเริบนั้นมาเป็นสุข สุขนั้นสงบเย็นกว่าเป็นอย่างไร เป็นอย่างไร ดูดดื่มอยู่ในความสุขทุกครั้งที่หายใจเข้าออก จะมากำหนดความจริงว่า อ้าวไอ้หมอนี่ มันปรุงแต่งความคิด ปรุงแต่งจิต เพ่งดูอยู่ที่ความจริงข้อนี้ว่าไอ้เวทนานี่มันปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งจิตเห็นชัดอยู่อย่างนี้ เป็นบทเรียนที่ 3 บทเรียนที่ 4 ก็ควบคุมการปรุงแต่งไม่ให้ปรุงแต่ง ให้ปรุงแต่งแต่น้อย หรือปรุงแต่ไปในทางที่ควรมี หรือที่ควรปรารถนา คุณจะต้องคล่องจะต้องให้ขึ้นใจ ดูดดื่มในปีติ ดูดดื่มในความสุข พอรู้ความจริงว่า ไอ้หมอนี่ ปรุงแต่งจิต แล้วก็ควบคุมปัญญาให้ปรุงแต่งจิต ในทางที่ไม่ควรปรารถนาให้หยุดซะเลยก็ได้
นี่หมวดที่ 2 อานาปานสติ หมวดที่ 2 มีบทเรียน 4 บทอย่างนี้ เข้าใจว่าคงจะได้ยินได้ฟัง โดยรายละเอียดมาแล้ว ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังล่ะก็ ต้องศึกษาต่อไป หาเทปไปฟัง หรือหาอะไรไปฟัง ให้มันเข้าใจ หมวดที่ 2 เรื่องเวทนา เวทนาเสร็จไปแล้ว ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ 3 เรียกว่า จิตตานุปัสสนา ตามเห็นจิต ตามเห็นจิต ตามศึกษาจิต ขอทบทวนอีกทีว่า หมวดที่ 1 เนี่ยตามศึกษากาย หมวดที่ 2 ตามศึกษาเวทนา หมวดที่ 3 นี่ตามศึกษาจิต การรู้จักจิต จนควบคุมจิตได้ เราจะต้องรู้จักธรรมชาติ หรือกำพืด ภาษาเด็กๆกำพืด ของจิตให้แตกฉาน จนรู้จักจิต และควบคุมจิตให้ได้ และก็ใช้จิตให้เป็นประโยชน์ให้ได้ ถ้าเราควบคุมมันไม่ได้เราก็ใช้มันเป็นประโยชน์ไม่ได้ ไอ้ควบคุมมันได้เราก็ใช้มันเป็นประโยชน์ได้ เอาจิตมารับใช้ ก่อนนี้จิตมันเป็นนายมันบังคับ ชีวิตเดี๋ยวนี้จะให้จิตมารับใช้ สติปัญญาให้ชีวิตมันเยือกเย็น
หมวดที่ 3 เรียกว่า จิตตานุปัสสนา การตามเห็นซึ่งจิต การตามศึกษาจิต เข้าใจจิต หมวดที่ 3 ก็มี 4 บทเรียนอีกเหมือนกัน แต่ว่าควรจะรู้โดยหลักทั่วไปซะก่อนว่าเราจะทำอย่างไร เราจะเริ่ม เริ่มด้วยการรู้จักจิตทุกชนิด จิตทุกชนิดที่จะรู้จักได้น่ะ ควรจะรู้จักเสียให้หมด แต่บางอย่างรู้โดยประจักษ์ รู้โดยประจักษ์ คือ รู้มันมีอยู่จริง แต่บางอย่างก็รู้โดยอนุมาน เพราะมันไม่มีประจักษ์ อยู่ที่นั่น แต่โดยอนุมานว่ามันต้องเป็นอย่างไร คือมันตรงกันข้าม
สิ่งแรกก็รู้ว่าจิตมีราคะ ถ้าจิตกำลังมีราคะ จิตนี้กำลังมีราคะ ก็รู้ว่ามันมีราคะ รู้จักจิตชนิดที่มีราคะ แล้วก็ตั้งปัญหา ถ้าจิตไม่มีราคะล่ะ จะเป็นอย่างไร ก็รู้ได ก็มันตรงกันข้ามกับจิตที่มีราคะ เราใช้วิธีอนุมานอย่างนี้เราก็รุ้จักจิตได้ทั้ง 2 ชนิด คือมีราคะ และไม่มีราคะ ศึกษาให้รู้จักไปตามลำดับว่า จิตมีโทสะ หรือ จิตไม่มีโทสะ ไอ้เรื่องโทสะนี่เคยกันมามากมายแล้ว ไปนึกดูว่ามโทสะมันเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ในโรงวิปัสสนามันไม่มีโทสะแล้วแต่ว่ามันเคยมีแต่ก่อน ถ้ามันกำหนดว่าจิตมีโทสะมันเป็นอย่างไร แล้วถ้าจิตไม่มีโทสะเป็นอย่างไร ราคะก็เหมือนกัน บางเวลาไม่มีราคะเป็นอย่างไร บางเวลาไม่มีโทสะเป็นอย่างไรก็รู้ได้ จิตไม่มีโมหะเป็นอย่างไร จิตไม่มีโมหะเป็นอย่างไร เอามากำหนด กำหนด นี่ต่อไปก็ว่า จิตที่หดหู่ หรือไม่หดหู่ ตัวฟุ้งซ่าน นั่นก็อย่าละ หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน นั้นก็รู้จักว่า หดหู่นี่เป็นอย่างไร ฟุ้งซ่านนี่เป็นอย่างไร รู้จักมันให้ดี จนรู้จักน้ำหน้าของมัน ใช้คำหยาบคายหน่อยนะ จิตหดหู่เป็นอย่างไร จิตฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร รู้จักชัด จนรู้จักเลือกว่าควรจะเป็นอย่างไร
ทีนี้จิตมีคุณธรรมอันใหญ่หลวงหรือหาไม่ อันนี้มันยากหน่อย แต่รู้ไว้ก็ดี มีคุณธรรมอันใหญ่หลวง จะมีจิตของเราสามารถทำสมาธิชั้นสูงได้หรือไม่ ถ้าสามารถก็จิตนี้มีคุณธรรมอันใหญ่หลวง มาดู อ้าวไม่มี ก็รู้ไม่มี เลยเป็นเหตุให้คำนวนได้ว่า มีคุณธรรมอันใหญ่หลวงนั้นจิตเป็นอย่างไร จิตไม่มีคุณธรรมอันใหญ่หลวงเป็นอย่างไร นี้เรียกว่า มี มี มีคุณธรรมใหญ่ หรือไม่มีคุณธรรมใหญ่
ที่ข้อต่อไปว่า จิตนี้มีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือไม่ มันก็ตอบได้ทันทีว่ากูยังต่ำต้อย ยังมีจิตอื่นที่ดีกว่าเหนือกว่าคือ จิตพระอริยเจ้า จิตของเรายังต่ำมาก ยังมีจิตที่เหนือ เหนือกว่าอยู่ แต่ถ้าเกิดเป็นพระอริยเจ้าขึ้นมาก็ไม่มีจิตที่เหนือกว่าก้ได้ แต่เดี๋ยวนี้เรายังเป็นนักเรียน เราก็จะรู้แต่ว่าจิตที่ ไม่มีจิตอื่นเหนืออื่นกว่าน่ะ มันต๊อกต๋อยอยู่อย่างนี้ แล้วถ้าจิต ไม่มีจิตอื่นยิงกว่า มันสูงกว่านี้ หรือว่าจิตที่มีคุณธรรมสูงสุดหรือไม่มีคุณธรรมสูงสุด และอีกคู่ตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น มั่นคง มั่นคง กิเลสี่รบกวนไม่ได้ นั่นเรียกว่าตั้งมั่น เดี๋ยวนี้กิเลสของเรารบกวนได้ คือไม่ตั้งมั่น ถ้าว่ากิเลสรบกวนไม่ได้ มันก็คือตั้งมั่นมันจะเป็นอย่างไร รู้จักดีทั้งที่จิตตั้งมั่น และจิตไม่ตั้งมั่น อันสุดท้ายก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้น รู้ว่าจิตนั้นยังมีอุปทานใดๆเกี่ยวของอยู่ เป็นทุกข์อยู่ นี่ไม่หลุดพ้น ถ้าจิตไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องมายึดมั่นถือมั่นนี้มันหลุดพ้น เดี๋ยวนี้จิตของเราเป็นอย่างไร มันก็จะพบแต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้น ก็คำนวณดูว่าหลุดพ้นจะวิเศษอย่างไรก็ได้เอามาคำนวณดู รู้ว่าหลุดพ้นเป็นอย่างไร ไม่หลุดพ้นเป็นอย่างไร
ท่านให้ตัวอย่างไว้เป็น 8 คู่ ด้วยกัน สำหรับทดสอบจิตเพื่อจะรู้จักจิตด้วยจากการทั้งปวง ย้ำอีกครั้งหนึ่งก็ได้ว่าจิตมีราคะ หรือไม่มีราคะ ดู ดู ดู จิตมีโทสะ หรือไม่มีโทสะ จิตมีโมหะ หรือไม่มีโมหะ จิตฟุ้งซ่านหรือไม่ฟุ้งซ่าน และจิตมีจิตใหญ่มีคุณธรรมสูง หรือไม่มีคุณธรรมสูง จิตมี.........ไม่มีจิตอะไรดีกว่านี้ หรือว่ายังมีจิตที่ดีกว่านี้ ก็รู้ จิตตั้งมั่น หรือไม่ตั้งมั่น คือทนต่อกิเลส แล้วก็จิตหลุดพ้นหรือยังไม่หลุดพ้น มาทดสอบไล่เลียงตรวจดูก็รู้ว่าจิตทั้งหลายเป็นอย่างนี้ จิตทั้งหลายเป็นอย่างนี้ รู้จักจิตทั้งหลายมันหมด ก็ใช่จะเลือกได้ง่าย
นี่บทเรียนอันแรก เรียกว่าจิตตานุปัสสี รู้จักจิตทุกชนิด มานั่งทบทวนใคร่ครวญลักษณะของจิตอยู่ทุกชนิด เป็นบทเรียนของบทที่ 1 ของหมวดที่ 3 หมวดที่ 3 คือรู้จักจิต บทเรียนที่ 1 รู้จักจิตทุกๆชนิด ทีนี้บทเรียนที่ 2 ของหมวดนี้ ฝึกจิต บังคับจิต เกลี้ยกล่อมจิต ให้บันเทิง ให้บันเทิง ให้ปราโมทให้บันเทิง
ในหมวดที่ 2 พูดถึงปีติมาแล้ว เอาปีตินั่นมาอีกทีก็ได้ ถ้ามีปีติมันก็บันเทิง เราทำ ทำเก่งจนสามารถจะมีจิตบันเทิงเมื่อไหร่ก็ได้ จิตเศร้าสร้อยไม่บันเทิงไม่มีรสไม่มีชาติ และเราทำจิตให้บันเทิงเมื่อไรก็ได้
เรียกก็ประสบความสำเร็จในบทเรียนที่ 2 ของหมวดที่ 3
บทเรียนที่ 3 ต่อไปก็ทำจริงจังมั่นเป็นสมาธิ ตั้งมั่น ตั้งมั่น ตั้งมั่น ตั้งมั่น เป็นสมาธิ ให้คงที่ให้ตั้งมั่นให้เป็นสมาธิ อะไรมาผลักไสแตะต้องไม่ได้ นี่บทเรียนที่ 3 และบทเรียนที่ 4 ของหมวดนี้
มันปล่อย ปล่อยไปจากสิ่งที่มันยึดมั่น หรือให้สิ่งที่ยึกมั่นหลุดไปจากจิต เค้าเรียกว่าปล่อย บทเรียนที่ 1 รู้จักจิตทุกชนิด บทเรียนที่ 2 บังคับให้มันบันเทิง บทเรียนที่ 3 บังคับให้มั่นตั้งมั่น บทเรียนที่ 4 บังคับให้มันปล่อย จิตตานุปัสสี รู้จักทุกชนิด ปโมดาหัง ทำให้มันบันเทิง สมาดาหัง ทำให้มันตั้งมั่น นิโมจยั่ง ทำให้มันปล่อย ให้บันเทิงได้ตามต้องการ ให้ตั้งมั่นได้ตามที่ต้องการ ให้ปล่อยได้ตามที่ต้องการ หลังจากที่เรารู้จักจิตทุกชนิดแล้ว ทีนี้ก็มาอธิบายกันต่อตั้งมั่นกันโดยเฉพาะ คำนี้สำคัญมาก บันเทิง ตั้งมั่น แล้วปล่อย ไอ้ตั้งมั่นนี่มีความหมายมาก ตั้งมั่นก็คือว่ากิเลสรบกวนไม่ได้ กิเลสมาโยกโครงไม่ได้ จิตตั้งมั่น ก็ว่าตั้งมั่น จิตตั้งมั่นนี้มันบริสุทธิ์ มันบริสุทธิ์ไม่มีนิวรณ์ ไม่มีอะไรที่ทำให้สกปรก นี่มีความตั้งมั่นในความบริสุทธิ์ มีความบริสุทธิ์อยู่ในจิต เป็นองค์ประกอบองค์หนึ่งของคำว่าตั้งมั่น
และแล้วองค์ประกอบที่ 2 คือมันรวมกำลัง มันรวมกำลัง ตั้งมั่นนี้คือรวมกำลัง จิตที่ฟุ้งซ่านแผ่ไปทั่วทิศทาง วันนี้รวมกำลังเป็นจุดเดียว จุดเดียว พอมารวมกำลังเป็นจุดเดียว มันก็เป็นจิตที่แข็งกล้า ตัวอย่างมันก็เหมือนแสงสว่างเนี่ย เรามีแก้วชนิดที่นูนตรงกลางมารวมแสงสว่าง เมื่อแสงสว่างเหล่านั้นมารวมจุดเดียวมันลุกเป็นไฟ เด็กๆก็เคยเล่นเอาแก้วนูนมาส่องเข้ากับแสงแดด มันก็ลุกเป็นไฟที่ศูนย์กลาง เพราะมันรวมแสงสว่างทั้งหมดเข้ามาสู่ จุดๆเดียว เดี๋ยวนี้ก็รวมจิตที่แผ่ไปทุกทิศทุกทาง มาเป็นจุดเดียว จุดเดียว เพ่งอยู่ที่จุดเดียว นี่เรียกว่ารวมกำลัง มีความเข้มแข็งมาก มีกำลังมาก เพราะว่ามันรวมกำลัง นี่องค์ที่ 3 ต่อไปก็คือ ว่องไวในหน้าที่ เรียกว่ากรรมณียะ เดี๋ยวนี้จิตว่องไวในหน้าที่ จิตอบรมณ์มาดีแล้วจะว่องไวในหน้าที่ จะคิดจะนึก จะพูด จะทำอะไรก็ว่องไวถูกต้องไปหมด ภาษาสากล เรียกว่า “Active” Active เค้านิยมกันนักทั้งโลกน่ะ เค้านิยม Active ความที่มันคล่องแคล่วว่องไวในหน้าที่ เดี๋ยวนี้จิตของเรามีได้เพราะการกระทำอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ จิตมีกรรมณียะ แคล่วคล่องว่องไวในหน้าที่ จะน้อมไปเพื่ออย่างไรก็ได้ เหมือนกับว่าดินเหนียวที่อ่อนดีแล้ว จะปั้นเป็นรูปอะไรก็ได้ มันคล่องแคล่วว่องไวในหน้าที่ นี่คือหมวดที่ 3 หมวดที่ 3 สรุปสั้งๆว่ารู้จักจิตทุกชนิด แล้วบังคับให้มันบันเทิงๆๆๆๆอยู่นี่ และบังคับให้ตั้งมั่นๆๆๆๆโดยองค์ 3 อย่างนี้ แล้วมันก็ให้ปล่อยไม่จับฉวยอะไรไว้ ด้วยอุปทาน บทเรียนนี้ยากหน่อย ยากขึ้นมาถึงขนาดปล่อยหลุดออกจากอุปทาน ทั้งหมวดที่ 3
ทีนี้ก็หมวดที่ 4 ต่อไป บทที่ 4 เรียกว่า ธรรมานุปัสสนา การศึกษาธรรมะ ธรรมะ ธรรมะในที่นี้หมายถึงสิ่งที่เป็นปัญหา เค้าว่าธรรมะ ธรรมะหมายถึงทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร แต่ว่าในบทเรียนนี้ หมายเฉพาะสิ่งที่เป็นปัญหา ที่มันเป็นที่สร้างแห่งความยึดมั่นถือมั่นและทำให้เราเป็นทุกข์ เอาตัวธรรมะนั้นแหละมาศึกษา มาพิจรณามาใคร่ครวญ เอาเป็นว่าเราดูว่าเรากำลังยึดมั่นอะไรอยู่ ทนทุกข์ทรมานเพราะอะไรอยู่ เอาอันนั้นแหละมาเป็นอารมณ์เพื่อจะศึกษาข้อนี้ ทุกข์ทั้งปวง มันมาจากความยึดมั่นอะไรเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น เอาสิ่งนั้นแหละมาทำเป็นอารมณ์ของการปฏิบัติ หมวดนี้ เรียกมาสั้นๆว่า ธรรมะ ธรรมะ หรือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ทำให้เรายึดมั่นและเป็นทุกข์ ก็เอามาเป็นอารมณ์ของการศึกษา ความจริงข้อนี้นะ ความจริงที่ว่า มันเป็นทุกข์เพราะยึดมั่น ควรจะจำให้ดี ศึกษาจนตลอดชีวิตน่ะ ความทุกข์ มีเพราะความยึดมั่น เพราะยึดมั่นตนจึงเป็นทุกข์อะดูอะ ถ้าว่าละความยึดมั่นไม่ได้มันก็จะต้องเป็นทุกข์ ความจริงข้อนี้มีเป็นของธรรมชาติมาตั้งแต่ว่า ไอ้สิ่งมีชีวิตมันเกิดขึ้นมาในโลก ตามทางวิทยาศาสตร์ เค้ามักจะยึดติดกันว่า ไอ้โลกนี่ประมาณตั้งล้านปี โลกนี้มีอายุเป็น มีสิ่งที่มีชีวิต มีมนุษย์ขึ้นมานี่ เกือบเป็นมนุษย์มานี่ ตั้งล้านปี ตั้งแต่นั้นน่ะ ตั้งแต่นาทีนั้นมันก็เป็นทุกข์ ไปยึดมั่น จิตมันไปยึดมั่นสิ่งใด มันก็เป็นทุกข์เพราะเหตุนั้น ความจริงข้อนี้มีอายุตั้งล้านปี ความจริงข้อนี้เก่าตั้ง ล้าน ล้าน ล้าน ล้าน 1 ล้านปี จนกระทั่งบัดนี้ จนกระทั่งบัดนี้ เป็นทุกข์เพราะยึดมั่น มันจะเจริญวิเศษ วิโส ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีก็ตาม มันเป็นทุกข์เพราะยึดมั่น ไปดู บุคคลก็ดี สังคมก็ดี ประเทศชาติมหาอำนาจก็ดี มันจะมีปัญหาเพราะยึดมั่นทั้งนั้น สรุปว่ามันมีความทุกข์เพราะว่ายึดมั่น ยึดมั่น ล้านปีมาแล้วจนบัดนี้
ถ้าจะดับทุกข์ต้องดับความยึดมั่น เนี่ยะหมวดที่ 4 มันจะทำลายความยึดมั่น ยึดมั่นก็ยึดว่าตัวตน หรือของตน ความรู้สึกของธรรมชาติเป็นระบบประสาท มันไปยึดมั่นว่าตัวตน ตัวกู ขอซ้ำ หรือย้ำอย่างน่ารำคาญอีกทีว่า เมื่อตามันเห็นรูป มันก็.........เอากับมันสิ เมื่อหูได้ยินเสียง ระบบประสาทที่หูทำหน้าที่ ในการรับเสียงว่า กู ได้ยินเสียง เนี่ยกูผีหลอกมาเกิดขึ้นมาอย่างนี้ จมูกได้กลิ่น ก็กูได้กลิ่น ไอ้ลิ้น ประสาทลิ้นได้รส กูก็ได้รส ผิวหนังสัมผัส ผิวหนัง ก็ กูสัมผัสผิวหนัง ความคิดเกิดขึ้นมาในจิต ก็กูคิด กู กู กู กูเข้ามาทั้งนั้น เด็กคลอดมาจากท้องแม่ มาครั้งแรกกินนม อะสมุติว่ากินนมแล้วรู้สึกอร่อย มันก็ไม่รู้สึกว่านี่คือธรรมชาติ มันรู้ว่า กูอร่อย กูอร่อย ถ้าไม่อร่อย ก็ กูไม่อร่อย มันมี กู กู กู ขึ้นมาอย่างนี้ มีดบาดนิ้ว มันก็มีดบาดกู คุณคำนวณดูเองซิ ถ้ารู้สึกว่า มีดบาดนิ้ว กับมีดบาดกู มันต่างกันเท่าไหร่ มันมีปัญหาทางจิตใจต่างกันเท่าไหร่ ถ้ามีดบาดนิ้ว กับมีดบาดกู มีความรู้สึกโดยธรรมชาติของมันเองว่า มีกู มีกู มีกู ความรู้สึกนี้เรียกว่า สัญชาตญาณ เด็กทารก เดินได้ ไปชนเสา หรือไปชนเก้าอี้ มันเจ็บขึ้นมา มันก็เตะเก้าอี้ หรือไม่ก็ร้อง ร้องว่าไอ้เก้าอี้ มันทำอะไรแก่กู ไอ้เก้าอี้เป็นตัวกู ฝ่ายนู้นตัวกู ฝ่ายนี้เจ็บก็ร้อง บางทีพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงมาช่วยตีเก้าอี้ ช่วยตีเก้าอี้ว่าเออ มันทำมึงเจ็บกูช่วยตี เนี่ยะก็สอนให้เด็กมันโง่มากขึ้นไปอีก มันจะเป็นซะอย่างนั้น จะสอนให้รู้ว่าเนี่ยมันธรรมชาติ มันก็เหลือเกินเด็กมันไม่รู้ ก็ผสมโรงว่ามัน มันตัวกู ถูกเก้าอี้ทำเจ็บ ก็ช่วยตีเก้าอี้ ช่วยตี
บทเรียนให้เด็กโง่มันมีมาตั้งแต่คลอดมาจากท้องแม่ มากขึ้นๆๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ความรู้สึกว่าตัวตน ตัวตน ก็เกิดขึ้นรอบทั่วไปหมด และมันเกิดทีหลังการกระทำนะ มันต้องมีการกระทำหรือความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จึงจะเกิดความรู้สึกว่าตัวตนหรือตัวกู เพราะว่าตัวกูหรือตัวตน ไม่ได้มีอยู่จริง มันไม่ได้มีอยู่จริง หรือรอยู่จริงเหมือนที่ลัทธิอื่นเค้าสอน ลัทธิอื่นเค้าอาจจะสอน ว่าตัวตนมีอยู่ในร่างกายนี้ คอยรับอารมณ์ คอยรับสัมผัส แต่พุทธศาสนาไม่ว่าอย่างนั้น มันมีความกระทบหรือความรู้สึกอย่างใดขึ้นมาแล้ว มันโง่ว่า กู กู กู กู มันต้องอร่อยขึ้นมาก่อน ถึงจะกูอร่อย ไม่อร่อยขึ้นมาในปากก่อน ถึงจะกูไม่อร่อย มีแผลเจ็บปวดขึ้นมาก่อน มันจึงว่ากูเจ็บ กูเจ็บ ถ้าไม่มีแผลก็ไม่คิดว่ากูเจ็บ กูเป็นผีหลอก ความโง่เกิดขึ้นมา ทีหลังการกระทำหรือ ทีหลังความรู้สึกใดๆ
งั้นพูดให้ชัดเป็นหลัก ตรรกหน่อยก็ว่า ไอ้ตัวผู้กระทำนั้น ไม่ใช่ตัวจริง เพิ่งเกิดมาจากการกระทำ ต้องมีการกระทำตามธรรมชาติแล้ว จึงจะเกิดรู้สึกว่าตัวกู กูกระทำ อันนี้ใครๆก็จะบ้า ไม่มีตัวกูแล้วแล้วจะมีไอ้ผู้กระทำที่ไหนอ่ะ เค้าไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจพุทธศาสนา มันมีการกระทำปรุงแต่งไปตามธรรมชาติ รู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจึงค่อยเกิดความรู้สึกว่า กู เช่นมีการกินอาหารอร่อยอยู่ที่ปากแล้ว มันจึงเกิดความกูอร่อย ก่อนหน้านั้นไม่มีตัวกู แล้วไม่มีอยู่ที่ไหน ก็มันไม่มี นี่ว่าตัวการ ตัวผู้กระทำมันมาทีหลังการกระทำ มันเกิดจากการกระทำ มันเป็นความลับที่ลึกที่ลับที่ยากจะเข้าใจ ว่าผู้กระทำเกิดจากการกระทำ หรือเกิดทีหลังการกระทำ คนที่เรียนมาอย่างซื่อๆทื่อๆ มันก็ไม่เชื่อ แต่ถ้าศึกษาพุทธศาสนาอย่างถูกต้องจริงๆแล้วมันจะมองเห็น อู้ มันมีการกระทำ มีความรู้สึกอย่างใดอย่างนึ่งอยู่ มันจึงเกิดความรู้สึกว่า กู ซึ่งเป็นผู้กระทำนั้น ประสาทตาเห็นของสวยๆก่อน มันจึงจะเกิดความรู้สึกว่า กูได้เห็นของที่สวย ประสาทหูรับเสียงที่ไพเราะหรือไม่ไพเราะก่อนมันจึงจะเกิด กูได้ยินเสียง กูนี่ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นผีหลอก จึงเกิดทีหลังการกระทำ เกิดออกมาจากการกระทำ ที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่า กูเป็นอย่างนั้น กูเป็นอย่างนี้ มันต้องมีเงินเสียก่อนนะ จึงจะคิดว่ากูมีเงิน ต้องมีความร่ำรวยเสียก่อน มันจึงจะคิดว่า กูร่ำรวย นี่ไอ้ตัวกูผีหลอก มันเพิ่งเกิดจากการกระทำ นี่คือความจริงมันจะต้องรู้จักให้ได้ เข้าใจให้ได้
สัญชาตญาณมันก็คอยจะหลอก ให้เป็นตัวกูเสมอ มันต้องมีภาวิตญาณ ที่เรามาทำสมาธิวิปัสสนานี้เรามาสร้างความ วิตญาณ ให้เข้าใจถูกต้องว่าให้เลิกล้างสัญชาตญาณโง่ๆนั้นเสีย มันก็พยายามอย่างยิ่งให้มีวิปัสสนา ให้มีอาณาปานสติเลิกโง่โดยสัญชาตญาณนั้นเสีย มันยึดมั่นถือมั่นได้ในทุกสิ่ง และในแง่ที่ไม่บวกก็ลบ ไม่ลบก็บวกมี 2 อย่างเท่านั้น มีการเกิดแล้วจึงว่า โอ้ ตัวกูเกิดแล้ว มีความสุขแล้วจึงจะว่าตัวกูมีความสุข ตัวกูนี่เป็นผีหลอก ลากหางตามมาทีหลัง แต่แล้วก็ยึดมั่นเหลือประมาณ ยึดมั่นเหลือประมาณ แยกกันไม่ออก มันก็เลยเป็นทุกข์ ยึดมั่นในสิ่งใดก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ยึดมั่นในสิ่งใด มันก็หนัก เหมือนกับแบกของหนัก เพราะเหตุนั้น
ภาษาบาลีจึงมีว่า พาลา หะเว ปัญจะขันธา คือ ขันธ์ ทั้ง 5 เป็นของหนัก รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็นของหนัก เพราะว่าจิตโง่มันไปยึดถือว่า ของกู รูปของกู เวทนาของกู สัญญาของกู สังขารของกู วิญญาณของกู มันก็หนัก หนัก หนัก ถ้าไม่ยึดถือมันก็ไม่หนัก ในความทุกข์เกิดมาจากความยึดถือว่าตัวตน ตัวตนเกิดมาจากความโง่ ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ว่านี่เป็นการกระทำตามธรรมชาติ ตามกฏของธรรมชาติเป็นความรู้สึกของระบบประสาทเท่านั้น ตาเห็นรูป ระบบประสาทที่ตาเห็นรูปอย่างนั้นอย่างนั้น ก็รายงานไปที่จิตใจ ว่าเห็นรูปอย่างนั้น ไอ้จิตโง่ก็กูเห็นรูป กูเห็นรูป มันตัดบทซะอย่างนี้ ไปซะทุกอย่าง ทุกประการนี่ว่ากู มีตัวตน อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องก็เรียกว่าของตน มีตัวตนยืนอยู่เป็นหลัก ถ้าอะไรๆเข้ามาเกี่ยวข้องก็เรียกว่า เป็นของตน ดังนั้นเราจึงมีทั้งตนและของตน ตัวตนยืนลงอยู่ อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องก็เป็นของตน จึงมีความสุขของตน ความทุกข์ของตน ความเกิดของตน ความแก่ของตน ความตายของตน เข้ามาเกี่ยวข้อง และมันก็มารวบเอาเป็นของตนหมด ทั้งที่มันเป็นของธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน มันเป็นของธรรมชาติ นี่จะต้องรู้ความจริงข้อนี้ จะต้องรู้ความจริงข้อนี้ ว่ามันไม่มีอะไรเป็นของตน
สังขตธรรม ทั้งหลาย ไม่ยกเว้นอะไร มันก็ไม่ใช่ตน แต่ว่ายึดถือโง่ๆว่าตนก็ได้ อสังขตธรรมทั้งหลาย รวมทั้งนิพพานอยู่ด้วย มันก็เป็นของธรรมชาติไม่ใช่ตน แต่มันก็ถูกยึดถือว่า ตน จนได้ มันยังไม่มีทั้งพระนิพพาน มันก็หยั่งเอาเองว่าพระนิพพานเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น และก็เป้นตัวตน และก็เป็นของตนขึ้นมา ทั้งที่ยังไม่บรรลุนิพพาน ก็นิพพานในการยึดมั่นของมันไม่ใช่นิพพานจริง นั้นคนจึงยึดมั่นไปเสียหมด
ทีนี้บทเรียนสำหรับบทที่ 4 เนี้ย สูงสุด เป็นบทเรียนสำคัญ ที่จะทำให้บรรลุมรรคผลนิพพาน เมื่อตะกี้ได้พูดแล้วว่า ถ้าเราประสบความสำเร็จในหมวดที่ 1 คือ เรื่องกาย มีความระงับแห่งจิตพอสมควรแล้ว เรากระโดดข้ามมาหมวดที่ 4 เลยก็ได้ ผ่านหมวดเวทนา และผ่านหมวดจิตมาก็ทำได้ หรือว่าถ้าเราไม่สามารถจะทำเราก็ไม่ต้องทำ แต่ว่าสามารถกระโดดข้ามมาหมวดที่ 4 ที่ว่า ธรรมานุปัสสนา เห็นธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ บทเรียนก็แบ่งออกเป็น 4 บทตามเคยอ่ะ บทละ 4 บท บทเรียนที่ 1 ก็ เห็นอนิจจัง อนิจจังความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง เรียกว่า อนิจจานุปัสสี ตามเห็น ดูเห็น มองเห็นอยู่เรื่อยไปว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยง สังขารนี้ไม่เที่ยง ธรรมะนี้ไม่เที่ยง เห็นไม่เที่ยง ไม่เที่ยงๆๆ คือเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ ตามปัจจัยอยู่เนืองนิด ทีนี้มันก็ ไม่มีใครจะสนใจ จะดูนี้ มันจะอยากเห็นแต่เที่ยง จะได้อร่อย ของกู ของกู มันไม่มองในแง่ที่ไม่เที่ยง มันมองในแง่ที่เที่ยงกันซะหมดจึงไม่เห็น
แต่ถ้าว่าเห็นโดยทำจิตให้เป็นอิสระแล้วก็จะเห็นว่า เออ มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนไปจริงๆ ร่างกายทุกๆปรมานู เปลี่ยนอยู่เสมอ เวทนาความรู้สึกสุขทุกข์เปลี่ยนอยู่เสมอ สัญญาความหมายมั่นอย่างนั้นอย่างนี้เปลี่ยนอยู่เสมอ สังขารปรุงแต่งคิดนึกอย่างนั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ วิญญาณรู้อารมณ์ก็เปลี่ยนอยู่เสมอ นี่แหละเห็นความไม่เที่ยง คือมันเปลี่ยนจากสภาพที่ปกติ ที่กำลังมีอยู่ อยู่เสมอ เพราะมันมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง มันก็เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง นี่ก็เห็นความไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นจุดตั้งต้น สำคัญที่สุดถ้าไม่เห็นจุดนี้แล้วไม่มีทางหรอก ที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานน่ะ ไม่มีทาง ถ้าไม่เห็นสิ่งนี้ คือความไม่เที่ยงเป็นจุดตั้งต้นแล้ว จะไม่มีทางเห็นสูงขึ้นไปจนหลุดพ้นหรอก มัเป็นบทเรียนตัวแรก อันแรกที่ต้องเห็นความไม่เที่ยง เราจะเอาอะไรมาพิจารณาก็ได้
ที่ฉลาดที่สุดก็เอาบทเรียนทุกขั้นตอนถ้าปฏิบัติมาอย่าง 16 ขั้นนะ ลมหายใจก็ไม่เที่ยง ความยาวก็ไม่เที่ยง ความสั้นก็ไม่เที่ยง กายนี้ก็ไม่เที่ยง ความสงบแห่งกายก็ไม่เที่ยง เวทนาปีติก้ไม่เที่ยง เวทนาเป็นสุขก็ไม่เที่ยง จิตตสังขารก็ไม่เที่ยง การระงับแห่งจิตตสังขารก็ไม่เที่ยง จิตทุกชนิด ทุกชนิดไม่เที่ยง จะเป็นจิตที่ว่าบันเทิงหรือตั้งมั่นรึปล่อยวาง ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยง มองซ้ำ มองซ้ำ รู้มาตามลำดับว่าไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ไม่ต้องไปเอาของนอกตัวมาดูหรอก แต่ถ้าใครจะมองดูของนอกตัวบ้างก็ได้ ว่าชีวิตเกิดมาตั้งแต่ออกมาจากท้องมารดา มีอะไรเที่ยง ของเราก็ไม่เที่ยง ของผู้อื่นก็ไม่เที่ยง อย่างดีก็ไม่เที่ยง อย่างเลวก็ไม่เที่ยง ชนิดไหนก็ล้วนแต่ไม่เที่ยง ขอให้เห็นความไม่เที่ยงอันนี้
พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พวกอื่นก็เห็นเหมือนกันความไม่เที่ยง เค้าเห็นเหมือนกัน แต่ว่า ตายด้าน มันเห็นเพียงว่าไม่เที่ยงมันหยุดเสีย มันไม่เห็นความเป็นทุกข์ที่เกิดมาจากความไม่เที่ยง เราจะตั้งเห็นติดกันไปเลย พอเห็นว่าไม่เที่ยง ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ตามใจเรา ไปเอากะมันเข้ามันก็กัดเอา เพราะมันไม่เที่ยงมันจึงเป็นทุกข์ เพราะเราต้องไปผูกพันธ์กับมันสิ่งที่ไม่เที่ยง เราจึงต้องเป็นทุกข์ มองดูความทุกข์ที่เราเป็นทุกข์อยู่ เรามีความรักในเงินทองข้าวของทรัพย์สมบัติ บุตร ภรรยา สามี ไปผูกพันธ์กับสิ่งท่ีไม่เที่ยงมันก็ต้องเป็นทุกข์ ไม่ต้องผูกพันธ์ก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ ก็ทำอะไรก็ได้ ถ้าไปผูกพันธ์ก็เกิดสิ่งไม่เที่ยง มันก็ต้องเป็นทุกข์ นี้เรียกว่าเห็นทุกข์
ถ้าเห็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงและจะเห็นทุกข์ เห็นทั้งไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์แล้วก็เห็น โอ้ มันไม่ใช่ตัวตนโว้ย มันตกลงอะไรกันไม่ได้ พูดจากันไม่ได้ เพราะว่ามันไม่มีตัวตน ถ้าพูดให้ละเอียดก็ต้องพูดว่า เมื่อไม่เห็นเราไม่มีตัวตนอย่างนี้แล้ว ก็ โอ้ มันเป็นตามธรรมชาติอย่างนี้เอง เรียกว่าเห็น ธรรมมัตถิตตา ตั้งอยู่ตามธรรมชาติอย่างนี้เอง แล้วเดี๋ยวก็เห็นต่อว่า โอ้ มันมีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่โว้ย นี่ก็ว่า เห็นธรรมนิยามตา เห็นธรรมนิยามตา กฎของธรรมชาติบังคับอยู่อย่างนี้แล้วก็เห็นว่า อิทัปปัจจยตา คำนี้สำคัญมากไม่มีตัวตนที่เป็น อิสระ มีแต่ตัวตนโง่ที่ต้องไปตามเหตุตามปัจจัย ไปตามเหตุตามปัจจัย มีเหตุ มีปัจจัยของมัน แล้วไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน ทุกๆอย่างนี้เรียกว่า อิทัปปัจยตา
ถ้าแคบเข้ามาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตจิตใจก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ความหมายเดียวกันแหละ ปฏิจจสมุปบาท กับ อิทัปปัจยตา คือความที่มันต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย อาศัยการเกิดขึ้นอาศัยการดับลงนี้ เรียกว่าเห็น อิทัปปัจยตา ถ้าเห็นข้อนี้แล้วมันก็ มันก็เลิกโง่ แต่พูดกันให้ละเอียดอีกทีก็เห็นสุญญาตา สุญญาตา ก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิด ไม่มีตัวตนว่างจากตัวตน เรียกว่าเห็นสุญญาตา เห็นว่างจากตัวตนอยู่อย่างนี้แล้วก็สรุปสุดท้ายรู้หมดว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เรียกว่าเห็น ตถาตา ตถาตา
เมื่อเห็น ตถาตา แล้วก็ปรากฎออกมาเป็น อตัมมยตา มันมีจิตที่เห็นสิ่งนี้แล้วมันคุมที่ มันเปลี่ยนไปอย่างอื่นไม่ได้ ปัจจัยอะไรๆคลุมแต่งไม่ได้ เรียกว่า อตัมมยตา อตัมมยตา เห็นแล้วก็เป็นพระอรหันต์ ท่านคงจะจำไม่ได้ แต่ว่า ให้ได้ยินว่าเป็น อนิจจตาไม่เที่ยง เป็นทุกขตา ความเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน เป็นธรรมมัตถิตตา ตั้งอยู่ตามธรรมชาติเช่นนั้นเอง ธรรมนิยามตา กฎธรรมชาติบังคับอยู่ อิทัปปัจยตา ความต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน สุญญตา ว่างจากตัวตน ตถาตา เป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่อาจจะเป็นดี ไม่อาจจะเป็นชั่ว ไม่อาจจะเป็นบวก ไม่อาจจะเป็นลบ ไม่อาจจะเป็นอะไร ก็เรียกว่าเห็น อตัมมยตา ความจริงสูงสุด ความลับสูงสุดมีอยู่อย่างนี้ เห็นก็ได้ ไม่เห็นก็ได้แล้วแต่ผู้ปฏิบัติ ถ้าเห็นความจริงอย่างนี้แล้วมันก็ เกิดผลขึ้นมาทันที
บทเรียนที่ 1 เห็นไม่เที่ยง เห็นไม่เที่ยง เห็นไม่เที่ยง อย่างนี้แล้ว บทเรียนที่ 2 โอ้ อย่างนี้คลายออกแล้วโว้ย ความโง่ของเราที่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้น สิ่งนี้อยู่คลายออกแล้วโว้ย นี่เรียกว่า วิราคะ เป็นอนิจจตา เห็นอนิจจัง คือที่สุดแล้วจะมี วิราคะ คลายจากสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น เห็นวิราคะแล้วก็จะเห็นนิโรธะ ว่าไอ้ความทุกข์ดับลง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ความทุกข์ก็ดับลง ดับลง ดับลง แล้วก็เห็นสุดท้าย ปฏินิปตะคะ เดี๋ยวนี้ไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นแล้ว ไม่มีอะไรที่ยึดมั่นแล้วคืนเจ้าของหมดแล้ว ก่อนนี้ไปปล้นเอาของธรรมชาติมาเป็นของกู มาเป็นตัวตนของกูู เดี๋ยวนี้ เห็นความจริงแล้วไม่เอาแล้ว คืน คืน คืนให้ธรรมชาติหมดแล้ว นี่เรียกว่า ปฏินิปตะคะ เห็นความสลัดคืนไม่เป็นโจร ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นคนขี้ฉ้ออีกต่อไป ก่อนนี้ไปเอาของธรรมชาติมาเป็นตัวกู มาเป็นของกู เป็นขโมย ไอ้คนขี้ฉ้อ พอเห็นความจริงแล้ว คืน คืน คืน นี่เรียกว่า ปฏินิปตะคะ โยนกลับ คำนี้เลย คือโยนให้เจ้าของ ก็รู้ว่าเดี๋ยวนี้หมดแล้ว ธรรมะหมดแล้ว กิจที่ต้องปฏิบัติหมดแล้ว ก็สลัดทุกสิ่งคืนออกไปหมดแล้ว ธรรมะที่ต้องปฏิบัติไม่มีเหลืออีกแล้ว ปรากฎออกมาเป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน กันในขั้นนี้ แล้วแต่จะปฏิบัติได้เพียงไร นี้เป็นบทที่ 4 มีบทเรียน 4 บทเหมือนกัน
ท่านจะต้องจำให้แม่นล่ะ อย่างน้อย หมวดที่ 1 กาย เห็นลมหายใจยาว เห็นลมหายใจสั้น เห็นลมหายใจปรุงแต่งกาย ก็ระงับเครื่องปรุงแต่งกาย
หมวดที่ 2 ก็ว่าเห็นเวทนาคือปีติ เห็นเวทนาคือสุข เห็น 2 อย่างนี้ปรุงแต่งจิต เห็นความที่เราบังคับให้มันไม่ปรุงแต่งจิตก็.....
หมวดที่ 3 จิตตานุปัสสนา จิตแต่ละชนิด แต่ละชนิดเป็นอย่างไร เราบังคับให้มันบันเทิงเมื่อไรก็ได้ บังคับให้มันตั้งมั่นเมื่อไรก็ได้ บังคับให้มันปล่อยเมื่อไรก็ได้
ทีนี้ก็หมวดสุดท้าย หมวดที่ 4 เห็นอนิจตา อนิจจัง อนิจจัง คือแจ่มแจ้งไปถึงอตัมมยตา ถ้าเห็นก็หมดกันโอ้ เห็นไปถึงอตัมมยตา จะสรุปสั้นๆเรียกว่าเห็นอนิจจัง ไม่เที่ยงๆ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มันก็เบื่อ เบื่อที่จะไปยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า เวราคะ พอเวราคะจางออก จางออก จางออกอย่างนี้อยู่เดี๋ยวก็ดับหมดเรียกว่า นิโรธะ พอดับสิ้นสุดแล้ว มันก็จบเรื่องเรียกว่า ปฏินิปตะคะ จบเรื่องจบพรหมจรรย์ คืนเจ้าของหมดแล้ว
4 หมวด หมวดละ 4 บทเรียนก็เป็น 16 บทเรียน แน่นแฟ้นอย่างนี้ไม่มีอื่นเข้ามาแทรกแซงนี่เรียกว่าพระบาลีอานาปานสติสูตร ถ้าคุณจะไปใช้ มหาสติปัฏฐานสูตร ตามที่เค้านิยม มันก็เหมือนติดฝิ่น
อ่าน 6 ชั่วโมงก็ไม่จบ เพียงแต่อ่านตัวสูตร 6 ชั่วโมงคุณก็อ่านไม่จบ แต่อานาปานสติของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็น 4 หมวด หมวดละ 4 บทแล้วก็จบ ก็เป็นอันว่า อานาปานสติ อานาปานสติ มีอยู่ 4 หมวด หมวดละ 4 บทเรียนขอให้พยายามเถิด จะเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานก้ได้ จะอยู่ในโลกนี้อย่างมีความผาสุขก็ได้ ก็ถ้าคุณไม่ต้องการมากกว่านิพพาน จะอยู่ในโลกนี้อย่างสงบเย็นเป็น...........ก็อาศัยสิ่งนี้แหละ มันไม่เกิดบวกมันไม่เกิดลบแล้วมันก็ไม่เกิดกิเลสใดๆ ถ้าความรู้สึกเป็นบวกรู้สึกกิเลส ประเภทโลภะ ราคะ ขึ้นมาจะเอาจะได้ ถ้ามันรู้สึกเป็นลบ มันก็เกิดกิเลสประเภทลบ คือ โทสะ หรือโกธะ มันจะทำลายมันจะฆ่า ถ้าว่ามันไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ มันก็โง่เท่าเดิม สงสัยอยู่ว่านี้คืออะไรก้ไม่รู้ มันก็เกิดกิเลสประเภทโมหะ ราคะ โทสะ โมหะ มีอยู่ตลอดเวลาที่เรายังโง่ว่าเป็นบวก ว่าเป็นลบ อย่า...........เป็นบวกเป็นลบ กิเลสอะไรๆก็ไม่เกิดเราก็สบายดี
เป็นกรรมกรแบกข้าวสารอยู่ก้ได้ จิตไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ เหงื่ออกมาก็เป็นน้ำมนต์เย็นเยือก มันใช้ประโยชน์แม้ในโลกนี้ก็ได้ เป็นกรรมกรก็ได้ เป็นแม่ค้าทำขนมขายอยู่ก็ได้ ไม่มีร้อนเลย นั่งอยู่หน้าเตาไฟ ...................... ก็มันไม่มีความเป็นบวก ไม่มีความเป็นลบ เรื่องมันก็จบ เอ้าทีนี้มาขอสรุปกันอีกสักนิดหน่อยเวลาเหลืออยู่นิดหน่อย อานิสงส์ อานิสงส์ จะได้อานิสงส์อะไร อานิสงส์ว่าโอ้ เดี๋ยวนี้มารู้จักตัวตน ตัวตนมายาไม่เอานะ เลิกกันที ไม่ยึดมั่นตัวตนหรือของตน เห็นอนัตตา ไม่ยึดมันอะไรแล้วมันก็ไม่กัด ถ้าไปยึดมั่นอะไรสิ่งนั้นแหละมันกัด ยึดมั่นชีวิต ชีวิตก็กัด ยึดมั่นเงินทอง เงินทองก็กัด ยึดมั่นอำนาจวาสนามันก็กัด ยึดมั่นสามี สามาีกัด ยึดมั่นภรรยา ภรรยากัด ไปยึดมั่นในสิ่งใด สิ่งนั้นแหละมันกัด เดี๋ยวนี้ไม่ต้องมีอะไรกัด นี่ อานิสงส์ รู้จักตัวทุกข์ตัวความดับทุกข์ โดยสิ้นเชิงๆ รู้จักว่าโลกียะ จมอยู่ในกองทุกข์เป็นอย่างไร โลกุตระ ขึ้นมาเสียจากกองทุกข์เป็นอย่างไรมันก็รู้ รู้ และก็รู้จัก พระรัตนตรัย โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีใครมาบอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระธรรมเป็นอย่างไร พระสงฆ์เป็นอย่างไร ก็รู้ถึงตัวพระพุทธ ตัวพระธรรม ตัวพระสฆ์ คือรู้ว่าผู้รุ้ความจริงข้อนี้ ผู้มีความจริงข้อนี้ ผู้สอนความจริงข้อนี้นั่นแหละ คือพระพุทธเจ้ารู้เอง รู้เองเมื่อได้ฟังคำสอนเรื่องนี้แล้ว ควรรู้จักพระพุทธเจ้าขึ้นมาเอง มันต่างกันมากกับ จับเด็กๆมาสอนพุทธังอะไรกัน มันเป็นเรื่องนกแก้วนกขุนทอง
ถ้าเป็นอย่างพุทธกาลก็ได้ฟังธรรมเรื่องดับทุกข์ และเห็นเอง อู้ว พระพุทธเจ้านั้นคือผู้รู้เรื่องนี้ สอนเรื่องนี้ และพระธรรมก็คือเรื่องนี้ สอนเรื่องนี้ พระสงฆ์ผู้ที่ปฏิบัติเรื่องนี้ได้ก็พอใจ ก็ขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งเป็นที่ระลึก โดยที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกแม้สักคำเดียว ว่า พระพุทธเป็นอะไร พระธรรมเป็นอะไร พระสงฆ์เป้นอะไร ไม่เคยบอก เพราะเพิ่งพบกันเดี๋ยวนี้ เพิ่งพบกันไม่กี่นาทีนี่ แต่เผอิญมันโชคดี คนนี้มันไม่โง่ มันเข้าใจธรรมะเรื่องความดับทุกข์ได้ มันก็จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ขึ้นมาเอง ก็ประกาศเดี๋ยวนั้นน่ะ ข้าพเจ้าขอถึงธรรมวินัยนี้เป็นหลัก ปฏิบัติเป็นพรหมจรรย์ ขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งตลอดไป นั่นแหละ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่แท้จริง ปรากฎแต่เขาโดยที่ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนสักคำเดียวหนึ่งว่า พระพุทธเป็นอย่างไร พระธรรม เป็นอย่างไร เรียกว่าสอนกันจนคอจะแห้งตายแล้ว ว่า พระพุทธเป็นอย่างไร พระธรรม เป็นอย่างไร พระสงฆ์เป็นอย่างไร มันก็ไม่มีใครรู้จักอยู่นั่น เพราะว่ามันไม่รู้ธรรมะที่เป็นชั้นหัวใจ ว่าพระพุทธเจ้าท่านรู้อะไร ท่านสอนอะไร พระธรรมอะคือเรื่องว่าอย่างไร พระสงฆ์น่ะดับทุกข์ได้อย่างไร
นี่ขอให้ปฏิบัติอานาปานสติเถิดจะมีพระพุทธจริง พระธรรมจริง พระสงฆ์จริงขึ้นมาในจิตใจของท่าน จะถูกต้องและครอบถ้วนเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง เนี่ยะคือหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าเปรียบเท่ากับใบไม้กำมือเดียว ซึ่งใบไม้หมดทั้งป่านั้น ไม่ต้องเอามาสอน เอามาสอนเท่ากับใบไม้กำมือเดียว เป็นอันว่าได้อานิสงส์เหลือที่จะกล่าว อานิสงส์เหลือที่จะกล่าวคืออยู่เหนือความทุกข์ทุกประการโดยประการทั้งปวง
พูดเรื่องชาวบ้านหน่อย เป็นชาวบ้านไม่ต้องการไปมากกว่านิพพาน เดี๋ยวนี้เค้ามีสติ วิเศษประเสิร์ฐที่สุด มีสติ อะไรเกิดขึ้นทางตาหูเป็นต้น ก็มี สติ ระลึกถึงปัญญาว่าความจริงเป็นอย่างไร เอาปัญญามาเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ได้ประสบ ก้เห็นรูป รส ฟังเสียงอะไรก็ตาม เกิดเป็นสัมปชัญญะ ขึ้นมายืนต่อต้านกับอารมณ์นั้น เอาชนะได้ แล้วก็มีสมาธิพอที่จะเพิ่มกำลัง ให้ตัดปัญหานั้นออกไป ปัญญาเหมือนกับความคม แม้จะคมเฉียบแต่ถ้าไม่มีน้ำหนักมันตัดไม่ได้หรอก มันคม คมเป็นหมัน คมเก้อไปเอง มันต้องมีน้ำหนักกดลงไป ความคมจึงจะตัด เราจึงมีแต่ปัญญา หรือวิปัสสนาไม่ได้ มันยังไม่ตัด มันต้องมีสมาธิมาช่วยกดหลังให้มันถึงจะตัด แล้วก็มีครบอะ มีสติระลึก เอาปัญญามาทำเป็นสัมปชัญญะ ต่อสู้กับอารมณ์เฉพาะหน้าอยู่ แล้วก็มีสมาธิ กดตัดปัญหาเหล่านั้นลงไปนี่ ในชีวิตประจำวันที่บ้านที่เรือน เป็นอยู่อย่างชาวบ้าน ทำนา ทำสวน ทำค้าขายทำไรก็ทำอะ มันสามารถที่จะมีธรรมะ อะไร ธรรมะเป็นเพื่อนคู่ชีวิต เพื่อนคู่ชีวิต ป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์