แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ตอบปัญหาของคณะผู้ฝึกสมาธิ Tag3 ครั้งที่ 3 วันที่ 19 ตุลาคม 2533 เวลา 5 นาฬิกา ณ ลานม้าหินหน้ากุฏิ กราบเรียนท่านเจ้าคุณอาจารย์ครับ คณะปฏิบัติธรรมที่ได้มาปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์นานาชาติได้ฟังคำบรรยาย 2 ครั้งเรื่องการอบรมธรรมและการอบรมจิตก็ยังมีข้อสงสัยบางประการที่จะขอเรียนถามเพื่อความกระจ่างและเป็นแนวปฏิบัติต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับธรรมะและอานาปานสติ ในข้อแรกถามว่าจิตว่างคืออะไร แล้วก็เราจะมีจิตว่างโดยที่ไม่ต้องฝึกอานาปานสติได้หรือไม่ ทำไมจึงฟังไม่ค่อยถูกเสียงมันเป็นยังไง จิตว่าง ไม่ใช่ๆเครื่องมันเป็นยังไงมันก้องหรือไง ปัญหาว่ายังไง จิตว่างนี้คืออะไรอยากเข้าใจว่าเรื่องจิตว่างคืออย่างไร แล้วเมื่อปฏิบัติอานาปานสติแล้วจะได้จิตว่างเป็นอย่างไร จิตว่างนี้จะมีโดยไม่ต้องปฏิบัติอานาปานสตินี้ได้หรือไม่ เป็นการถามเพื่อให้เห็นความสำคัญของการฝึกอานาปานสติ อยากจะทำความเข้าใจให้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าปัญหาเพราะว่ามันมีอยู่ 2 ชนิด ปัญหาบางปัญหามันก็ถาม ถามเล่นๆโดยไม่มีปัญหา กรุณาช่วยฟังให้ดีปัญหาบางอย่างบาง… ถามโดยไม่มีปัญหา ปัญหาอีกอย่างหนึ่งเป็นปัญหาแท้จริงถามโดยที่มันมีปัญหา ปัญหามี 2 ความหมาย ปัญหาภายในคือสิ่งที่มันกำลังรบกวนอยู่ รบกวนอยู่น่ะมันเป็นปัญหา หาความสงบสุขไม่ได้มันรบกวนอยู่มันก็มีสิ่งที่เรียกว่าปัญหา ครั้นมีปัญหาอย่างนั้นรบกวนอยู่มันจึงไปถามเพื่อหาทางที่จะแก้ปัญหานั้นซึ่งมันเป็นปัญหาภายนอก ถ้าทางฝรั่งดูมันมีอยู่ 2 คำด้วยกันน่ะ ไอ้คำว่า Problem น่ะมันๆรบกวนอยู่ข้างในแล้วก็ทำให้เกิดคำพูดหรือคำถามขึ้นมาภายนอกมันก็เรียกว่า Question หรืออะไรทำนองนั้น ปัญหาข้างในมันรบกวนทนอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีปัญหาข้างนอกแล้วก็มาถามเพื่อไปแก้ปัญหาข้างในเนี่ยเป็นปัญหาที่แท้จริงถามแล้วตอบแล้วก็มีประโยชน์ แต่ก็มีคำถามบางอย่างถามโดยไม่ได้มีปัญหาข้างในถามเพราะอยากรู้ถามว่าเพราะว่าจะเอาไปเป็นความรู้เล่นงานคนอื่นก็มี ปัญหาอย่างนี้ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง และก็ไม่ค่อยจะคุ้มค่าของเวลาที่จะเอามาถามมาตอบกัน
ที่ถามว่าจิตว่างคืออะไรเอามาแต่ไหนพูดคำๆนี้เอามาแต่ไหนพูดหรือว่ามันได้ยินมา ได้ยินมาไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็รบกวนอยู่ข้างในจึงต้องเอามาถามให้ตอบ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไปได้ยินมาจากที่อื่นไม่ใช่สิ่งที่รบกวนอยู่ข้างในมันก็ไม่ค่อยรู้จักอ่ะ ไม่ค่อยรู้จักตัวปัญหาถึงแม้จะตอบมันก็ไม่ค่อยรู้จักตัวปัญหาหรือ หรือคำตอบนั้น เพราะฉะนั้นผู้ที่จะรู้จักจิตว่างนี่ก็จะต้องถูกจิตวุ่นรบกวนอยู่แล้วเขาก็อยากจะกำจัดจิตวุ่นเพื่อเป็นจิตว่าง นี่มันตอบได้เองล่ะจิตว่าคือไอ้สิ่งที่มันจะระงับจิตวุ่น มันก็ไม่ๆๆรู้ว่าอะไรจึงต้องถามอีกทีหนึ่งว่าจิตว่างมันคืออะไร ตอบย้อนหลังไปก็คือสิ่งที่จะระงับจิตวุ่นเนี่ยป็นปัญหาจริงเป็นปัญหาตัวจริงขึ้นมาพูดกัน เนี่ยเป็นปัญหาตัวหนังสือเอามาพูดเอามาถามมันก็ๆได้ก็มีประโยชน์บางล่ะเป็นอีกระดับหนึ่ง จิตว่างก็เอาตามความหมายธรรมดาดิที่เราใช้คำๆนี้พูดกันอยู่จิตว่างไม่ได้หมายความว่าไม่มีจิตนะ มีจิตแต่ว่างจิตว่าง นี้คำว่าว่างก็หมายความว่าไม่ติดธุระอะไรไม่ติดธุระอะไรเหมือนเราว่างอ่ะเราไม่ติดธุระอะไร ถ้าจิตไม่ติดธุระกับสิ่งรบกวนจิตหรือปัญหาของจิตก็เรียกว่าจิตว่าง เรียกว่าจิตว่างได้เหมือนกัน อีกทางหนึ่งที่กลับกันก็คือว่าไม่มีอะไรรบกวนจิตก็เรียกว่าจิตว่างเหมือนกันนะคือไม่จิตไม่ไปติดอยู่กับอะไรเรียกว่าจิตว่างและก็ไม่มีอะไรมารบกวนจิตเลยจิตเวลานั้นมันก็ว่างมันก็มีผลคล้ายๆกันแต่ว่าเรามองดูกันคนละทางที่จิตไม่ไป ไม่ไปจับอะไรไม่ไปติดอยู่กับอะไรมันก็เออก็สบายดี คำตอบมันมีว่าจิตว่างคือจิตที่ไม่ไปจับจุดฉวยอะไรอยู่ด้วยอุปาทานและก็ไม่มีอะไรมารบกวนจิตก็เป็นเหตุให้เรามีความสงบสุขไม่ถูกรบกวนมีความเยือกเย็นเป็นอิสระ มองในแง่ที่ว่าจะได้รับก็คือว่าอิสระและเป็นสุขมองในแง่ที่จะทำประโยชน์ต่อไปก็จิตว่างชนิดนี้สามารถจะทำประโยชน์จะเฉลียวฉลาดในการที่จะทำประโยชน์อ่ะยิ่งๆขึ้นไปจนถึงที่สุดจนหมดหน้าที่ที่จะต้องทำ สรุปความว่าจิตว่างคือจิตที่ไม่ยึดจับอะไรให้ติดอยู่แล้วก็ไม่มีอะไรมารบกวนจิตแล้วก็จิตนี้ก็มีความสงบสุขอยู่ในตัวมันเองแล้วก็เป็นประโยชน์คือสามารถทำประโยชน์ก็ขอรวมอยู่ในคำว่าสงบเย็นแล้วก็เป็นประโยชน์นั้นคือจิตว่าง การทำอานาปานสติเมื่อทำถูกวิธีจะนำไปสู่ผลสุดท้ายคือมีจิตว่างมีความหมายเป็นทางที่ว่าเป็นอิสระไม่มีอะไรมารบกวนจิตได้อีกต่อไปโดยเฉพาะคือกิเลสกับความทุกข์ไม่อาจจะรบกวนจิตโดยไม่เพราะว่าไม่ๆๆจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปหรือถ้ามันมีปัจจัยอะไรจะให้เกิดมันก็เกิดไม่ได้เพราะว่าจิตวันอยู่ในสภาพที่ว่างหรืออะไรปรุงแต่งไม่ได้เนี่ยเกี่ยวกันกับสิ่งที่เรียกว่าอานาปานสติอย่างนี้พูดอย่างเอาเปลี่ยนหน่อยก็ว่าท่านทำอานาปานสติสำเร็จแล้วท่านก็จะรู้จักจิตว่างจะมีจิตว่างจะใช้ประโยชน์จากจิตว่างได้รับผลเต็มตามความหมายที่ว่าสงบเย็นและเป็นประโยชน์เนี่ยคือจิตว่าง
คำถามต่อไปต้องการความกระจ่างเพื่ออีกนิดหนึ่งว่าเราจะมีจิตว่างโดยที่ไม่ต้องทำอานาปานสติได้หรือไม่ มีทางอื่นหรือไม่ที่จะมีจิตว่าง อ๋อนี้ก็เป็นเรื่องทั่วไปเป็นหลักทั่วไปที่จะควรจะทราบไว้ว่าการที่จะไม่มีกิเลสหรือว่างจากกิเลสหรือมีนิพพานคือว่างจากกิเลสนี้มีได้เป็น 2 ชนิด คือเราได้ประพฤติได้กระทำสำเร็จจนมีขึ้นมาไอ้ทางหนึ่งมันเป็นไปโดยบังเอิญมันเป็นไปของมันเองหรือตามธรรมชาติตามธรรมชาติ จิตว่างตามธรรมชาติก็คือว่าเมื่อยังไม่มีอะไรมารบกวนหรือปรุงแต่งหรือเมื่อจิตมันไม่ไปจับฉวยเอาอะไรเข้าก็ได้ อ่ะเพราะว่าโดยธรรมชาติอันลึกซึ้งแล้วพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ให้รู้ความจริงข้อนี้ให้เห็นความจริงข้อนี้ว่าจิตนี้โดยธรรมชาติเป็นประภัสสรคือเรืองแสง แต่ว่าจิตนี้ไอ้เศร้าหมองไปเมื่อมีอุปกิเลสเข้ามาครอบงำไม่ประภัสสรคือมีกิเลสเข้ามาครอบงำแล้วเป็นไปตามกิเลสพ้นว่าเรื่องของกิเลสแล้วกลับสู่ความเป็นประภัสสรเดี๋ยวมันๆมีกิเลสมากเกินไปติดต่อกันไปจนไม่ค่อยจะมีไอ้ระยะที่เป็นประภัสสรนี้เกิดบังเอิญมีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วก็ทำให้กิเลสเป็นอุปกิเลสเข้ามาครอบงำไม่ได้มันก็เป็นประภัสสรได้เหมือนกัน คือกิเลสไม่รบกวนโดยธรรมชาติทั้งๆ 24 ชั่วโมงหรือทุกๆวินาทีเวลาที่มันไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติมันก็มีอยู่หรือมีเหตุบังเอิญโดยเราไม่ได้ตั้งใจไม่ๆให้มันเกิดมันก็ไม่เกิดมันก็มีอยู่หรือว่าเราตั้งใจทำๆลงไปจริงๆปฏิบัติลงไปจริงๆสำเร็จประโยชน์ก็เกิดไม่ได้นี้มันก็มีอยู่ นั้นจึงเป็นของธรรมดาที่ว่าจิตว่างอยู่ตามธรรมชาติมันก็มีหรือบังเอิญเข้าไปอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่กิเลสเกิดไม่ได้เช่นคุณกำลังฟังพูดอยู่เดี๋ยวนี้กิเลสเกิดไม่ได้ก็มีหรือประสบความสำเร็จในการปฏิบัติกิเลสไม่เกิดก็มีดูเอาเองว่ามันมีได้ถึง 3 ขั้นตอน เรามีธรรมชาติตามธรรมชาติเป็นมามันก็ไม่ได้สร้างมาให้มีกิเลสตลอดเวลาอย่างพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสแล้วว่าจิตนี้ประภัสสร ต่อเมื่อกิเลสเข้ามามันจึงจะสูญเสียประภัสสรเมื่อกิเลสไม่เข้ามาอุปะแปลว่าเข้ามาอุปกิเลสมีบาลีชัดเจนว่า……… (นาทีที่ 0:15:31) ราคะ โทสะ หรือโมหะมันจะเข้ามาเมื่อเข้ามาก็เป็นอุปกิเลสบุกรุกเข้ามาจิตก็สูญเสียความเป็นประภัสสรคือความว่างปุถุชนเราก็มีความว่างชั่วเวลาชั่วขณะที่กิเลสไม่เกิดขึ้นหรือไม่มีปัจจัยให้กิเลสเกิดขึ้นเราก็ว่างอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าเราอบรมจิตดีปฏิบัติธรรมสำเร็จอบรมจิตถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์จิตนั้นเปลี่ยนสภาพ เปลี่ยนสภาพไปถึงกับว่าไม่มีอะไรมาบุกรุกเข้ามาได้ไม่มีอะไรมาบุกรุกเข้ามาได้จิตนั้นก็เป็นประภัสสรอยู่ตลอดเวลาเป็นจิตของพระอรหันต์ดูเอาเองว่าว่างเองได้อย่างไรว่างตามธรรมชาติได้อย่างไร ว่างโดยเด็ดขาดได้อย่างไร
เรียนถามต่อไปนะครับ เมื่อกิเลสเข้ามาครอบงำจิตแล้วนี้จะมีผลอย่างไรต่อไปเมื่อสูญเสียจิตประภัสสรอยากให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อธิบายเรื่องอุปกิเลสกับกิเลสและก็อาสวะอนุสัยกับนิวรณ์ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร อ่ะทำไมผมจึงฟังไม่ค่อยรู้ ถูกที่คุณพูดลองพูดให้ช้ากว่านั้นหน่อย พูดให้ช้าอย่าให้ใกล้ไมโครโฟนนัก ให้ช้ากว่านั้นหน่อย เออเมื่อกิเลสเกิดขึ้นในจิต ท่านเจ้าคุณอาจารย์บอกว่าอุปกิเลสกับกิเลสเป็นตัวเดียวกันทีนี้กิเลสจะมีจะพัฒนาต่อไปอย่างไรคือไม่เข้าใจเรื่องอาสวะเรื่องอนุสัยเรื่องนิวรณ์ว่ามันเป็นกิเลสยังไงเกี่ยวเนื่องกันยังไง นั้นมันอีกเรื่องหนึ่งมันต่อไปเอาตอนแรกที่ว่าอุปกิเลสคืออะไร เออข้อนี้ดีมากคือมันมีปัญหาจริงอยู่ในโรงเรียนหรือในหมู่ผู้ศึกษา พระบาลีใช้คำว่าอุปกิเลสๆ……… (นาทีที่ 0:18:02) คือมีอุปกิเลสเป็นอาคันตุกะเข้ามา หรือบาลีแห่งหนึ่งก็ว่าไอ้ตัว ราคะ โทสะ โมหะ แต่ละตัวนั้นแหละเป็นอุปกิเลสได้เมื่อมันไม่บุกรุกเข้ามาในจิตใจในจิตประภัสสรมันก็เป็นกิเลสธรรมดา ต่อเมื่อมันเข้ามาบุกรุกเข้ามามันจึงมีความหมายเป็นอุปกิเลสแปลว่ากิเลสที่เข้ามาที่บุกรุกเข้ามา ข้าศึกที่มันอยู่นอกประเทศก็เรียกว่าข้าศึกแต่ถ้าข้าศึกมันบุกรุกเข้ามาข้างในประเทศเนี่ยก็เรียกว่าข้าศึกจึงเข้ามามันบุกรุกเข้ามา กิเลสตามธรรมชาติของมันก็เรียกชื่อไปอีกว่ากิเลสๆ แต่ถ้ากิเลสไหนเมื่อไรอย่างไรบุกรุกเข้ามาในจิตใจทำลายความเป็นประภัสสรของจิตนี่ก็ผู้เข้ามา ผู้เข้ามา เรียกว่าอุปกิเลส ทีนี้หนังสือแบบเรียนเช่น……… (นาทีที่ 0:19:10) มันระบุชื่ออุปกิเลสไว้ 16 อย่างไปเปิดดูเอาเอง 16 อย่างนั้นเรียกว่าอุปกิเลส มีคนเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นมีอุปกิเลส 16 ชื่อแล้วก็เป็นอย่างนั้นมันก็ถูกเหมือนกันแหล่ะไอ้ๆๆ 16 ชื่อนั้นมันก็ออกไปจาก 3 อย่างอ่ะจาก ราคะ โทสะ โมหะ เขาจึง เขาจึงค้านๆผมไม่ใช้ค้านพระพุทธเจ้าที่ผมใช้คำตามที่พระพุทธเจ้าท่านใช้ว่าเมื่อมีอุปกิเลสเกิดขึ้นหรือเข้ามา แล้วเขาก็ยึดหลักกันอยู่ย่างหนึ่งว่ากิเลสเกิดอยู่ตลอดเวลาเนี่ยพูดกันไม่รู้เรื่อง พวกหนึ่งน่ะเล่าเรียนหรือสั่งสอนกันว่ากิเลสเกิดอยู่ตลอดเวลาแต่ผมมันถือตามหลักตามที่ผมเรียนรู้มาว่ากิเลสเกิดต่อเมื่อมีเหตุมีปัจจัยมีโอกาสของกิเลสมันจึงจะเกิด เมื่อกิเลสไม่ได้บุกรุกเข้ามาคือไม่ได้เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตของจิตนี่มันก็เรียกว่าไม่ใช่อุปกิเลส ก็กิเลสนั้นแหล่ะไม่ใช่กิเลสไหนพอบุกรุกเข้ามาในขอบเขตจิตน่ะจิตสูญเสียความเป็นประภัสสรก็ให้ชื่อมันหน่อยว่ากิเลสที่บุกรุกเข้ามา นี้ถ้าว่าถามไปถึงเรื่องของกิเลสไกลออกไปโดยคำว่าอนุสัยคืออะไร อาสะวะคืออะไรนั้นก็เป็นอีกตอนหนึ่งต้องทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องเป็นเรื่องของกิเลสที่ๆจะต้องรู้ อ่ะถ้าไม่รู้ก็จัดการกับมันยาก กิเลสเกิดขึ้น เป็นราคะ เป็นโทสะ หรือเป็นโมหะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามเพราะว่าสิ่งแวดล้อมมันเข้ามาปรุงแต่งจิตมันโง่จิตมันไม่มีวิชาจิตมันว่างจากวิชามันเป็นจิตอวิชามันก็เป็นโอกาสให้กิเลสปรุงแต่งมันก็เกิดตัวกิเลสขึ้นมา เข้าใจได้ง่ายๆว่าคำว่ากิเลสนี่แปลว่าของสกปรก ของสกปรกไอ้คำว่ากิเลสนี่แปลว่าของสกปรก จิตประภัสสรของสะอาดของสกปรกเข้ามาปะปิดมันก็เป็นเออสูญเสียประภัสสรเหมือนกับเพชรสุกสกาวแวววาวโชติช่วงอยู่นี่พอโคลนมาปะเข้าไปนิดมันก็สูญเสียเนี่ยกิเลสมันเกิดขึ้นก็เป็นอย่างนี้คือสกปรกสูญเสียความประภัสสรหรือเรืองแสง กิเลสนี้มีอยู่ 3 ประเภท 3 ชื่อ 3 ชื่อ ราคะ โทสะ โมหะ มีความหมายเฉพาะ คำว่าราคะหรือบางทีก็เรียกว่าโลภะมันเป็นกิเลสประเภทที่เกิดขึ้นแล้วมันรวบรัดเอารวบรัดไว้รวบรัดเข้ามาทะนุถนอมรักษาไว้มีลักษณะเป็นกิเลสบวกคือกิเลสดึงเข้ามาหาตัวมีอาการดึงเข้ามาหาตัวเป็นกิเลสประเภทบวกให้ชื่อมันว่าเป็นกิเลสประเภทบวกในรู้ของโลภะหรือต้องการจะได้ถ้าเข้มข้นกว่ากำนัจยินดีเรียกว่าราคะก็ได้นี่กิเลสประเภทดึงเข้าไว้ดึงๆเข้ามา กิเลสประเภทที่ 2 มันเป็นลบมันไม่เท่ากันกับความรู้สึกความต้องการของจิตมันเป็นกิเลสประเภทลบก็คือผลักออกไป ผลักออกไป มีลักษณะของโทสะบ้าง ของโภคะบ้างจะเรียกว่าโภคะจะเรียกว่าโทสะก็ตามแต่ แต่มันมีลักษณะผลักออกไป ผลักออกไปตรงกันข้าม นี่กิเลสประเภทที่ 3 เรียกว่าโมหะนี่ไม่รู้ว่าบวกหรือลบแต่มันมีความสงสัยยึดมั่นว่าจะต้องมีประโยชน์มันก็เลยเฝ้าดูด้วยความสงสัยมีลักษณะเหมือนกับวิ่งๆตามอยู่รอบๆวิ่งตามอยู่รอบๆ เมื่อเราพบก้อนกรวดก้อนหินอะไรก้อนหนึ่งซึ่งถ้าเข้าใจว่าเป็นเพชรจะมีเพชรอยู่ข้างในก็เอามารักษาเอามายึดถือไว้นี่เรียกว่ามันไม่แน่ใจว่ามันบวกหรือลบ เรารู้จักกิเลสได้ง่ายๆโดย 3 อย่างคือว่ากิเลสประเภทบวกดึงเข้ามาหาตัวมีลักษณะดึงเข้ามา กิเลสประเภทลบมีลักษณะผลักออกไปกระทั่งว่าจะฆ่าจะทำลายเสียเลยนี่ก็เรียกประเภทที่ 3 โง่ไม่รู้ว่าบวกหรือลบสงสัยวิ่งวนอยู่รอบๆวิ่งเวียนอยู่รอบๆอาการทั้ง 3 นี้เป็นอาการของกิเลสสิ่งนี้เราเรียกชื่อกันง่ายๆว่า กิเลสๆเป็นประเภทหนึ่งระดับหนึ่ง ทีนี้เมื่อกิเลสได้เกิดขึ้นทีหนึ่งแล้วมันไม่ใช่ว่าเกิดแล้วมันจะดับไปเฉยๆเพราะหมดปัจจัยมันยังเหลืออะไรไว้ให้ในจิตใจเรียกเป็นภาษาไทยๆธรรมดาว่าความเคยชินที่จะเกิดกิเลสอีกเนี่ยความหมายที่ดีความเคยชินที่มันจะเกิดกิเลสอย่างนั้นอีกมันเหลือไว้ในจิตใจสิ่งนี้เราเรียกว่าอนุสัยๆ อนุแปลว่าตาม สัยแปลว่านอน นอนตาม ตามนอน นอนตามเหลืออยู่ในจิตใจเช่นมีราคะมีความรักขึ้นมาทีหนึ่งมันก็ดับไปแล้วมันก็เหลือความเคยชินที่จะรักเหลือไว้ในจิตใจหน่วยหนึ่ง โทสะมันเกิดโกรธแล้วก็เหลือความเคยชินที่จะเป็นอย่างนั้นง่ายขึ้นเคยชินที่จะโกรธอีกอย่างง่ายขึ้นกว่าเดิมก็เหลือไว้ในจิตใจโง่ๆสะเพร่าไปทีหนึ่งมันเหลือความเคยชินที่จะโง่ซ้ำเหลือไว้ในจิตใจลักษณะอย่างนี้เรียกตามพระบาลีว่า อนุสัย ความเคยชินที่จะเกิดกิเลสเช่นนั้นอีกไม่ใช่ตัวกิเลสแต่ว่าพวกหนึ่งครูบาอาจารย์พวกหนึ่งที่สอนกันอยู่แม้ที่กรุงเทพฯเขาสอนอย่างหนึ่งเรียกมันว่ากิเลสเหมือนกันเรียกว่ากิเลสประเภทอนุสัยที่แท้เป็นความเคยชินที่จะเกิดกิเลสเรียกว่าอนุสัยก็ได้มันเพิ่มขึ้นหน่วยหนึ่ง หน่วยหนึ่งทุกครั้งที่มีกิเลส มีกิเลสประเภทความรัก 10 ครั้งมันก็มีอนุสัยเข้มข้นเท่ากับ 10 หน่วย โกรธมา 10 ครั้ง อนุสัยเข้มข้น 10 หน่วยตามจำนวนครั้งที่มันเกิดขึ้น ที่มันเกิดกี่ 10 ครั้งกี่ 100 ครั้งลองคิดดู คนนั้นมันก็เคยชินที่จะเกิดกิเลสอย่างนั้นยิ่งขึ้น มันรักบ่อยๆมันก็เคยชินที่จะรักบ่อยๆและง่ายเข้า ง่ายเข้า มันโกรธบ่อยๆมันก็เคยชินที่จะโกรธอีกและง่ายขึ้น ง่ายเข้า ง่ายเข้าที่จะเกิด เกิดๆได้ง่ายๆเกิดเร็วเกิดง่ายโง่สะเพร่าก็เหมือนกันเมื่อมันโง่ซ้ำๆสะเพร่าซ้ำๆก็ง่ายที่จะเกิดความเป็นอย่างนี้เรียกว่า อนุสัย เป็นสิ่งที่มันเหมือนกับว่าเก็บไว้แต่มันไม่ใช่ ไม่ใช่คนอยากจะเก็บไว้แต่มันมีๆลักษณะเหมือนกับเก็บไว้อยู่ในจิตใจอยู่ในสันดานเรียกว่าในสันดาน นี้คนเราจึงรักง่ายโกรธง่ายโง่ง่ายเก็บไว้ในสันดานๆมากขึ้น มากขึ้น จะขอพูดซะเลยในทางที่ตรงกันข้ามน่ะ ถ้าสมมุติว่าเราได้เก็บอนุสัยของความโลภไว้ 10 หน่วย ที่มาวันหลังพอเกิดมีอารมณ์มีโอกาสที่จะเกิดความโลภอีกอย่างรุนแรงต่อสู้ได้กำจัดได้ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิด คราวนี้ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดความโลภ มันจะไปลดจำนวนอนุสัยที่มีอยู่แล้วลงหน่วยหนึ่งเหมือนกัน นั้นถ้าเราบังคับไม่ให้โกรธ หรือไม่ให้โลภ ไม่ให้โลภ ไม่ให้โลภได้ทุกครั้งที่มันเกิดไอ้ความเคยชินที่จะโกรธง่ายมันก็จะลดลง ลดลง ลดลง คือการรักษาศีลการทำสมาธิการอะไรที่จะห้ามกันกิเลสได้ครั้งหนึ่งก็ไปลดอนุสัยลงหน่วยหนึ่งเสมอมีประโยชน์ นั้นเราจะทำให้มันหมดอนุสัยโดยระวังไม่ให้เกิดกิเลสอีกต่อไปได้ก็ได้เหมือนกันแต่ถ้าว่าเราไปทำสมาธิวิปัสสนาเนี่ยมันเข้าไปเล่นงานอนุสัยโดยตรงจะไปรื้อถอนจะไปละลายอนุสัยโดยตรงให้มันน้อยๆลงไป เอาเป็นว่าเดี๋ยวนี้ได้เกิดกิเลสแล้วก็เกิดอนุสัยแล้วก็เก็บไว้จำนวนหนึ่งเลย ทีนี้เมื่อมีอนุสัยเก็บกดไว้อย่างนี้อยู่ภายในมันก็ดิ้นจะกลับออกมา จะกลับออกมาถ้าไหลกลับออกมาได้เมื่อไหร่เมื่อนั้นก็เรียกว่า อาสวะๆ ไม่ใช่กิเลสล่ะมันเป็นอาสวะคือกิเลสที่ไหลกลับออกมาแต่ก็ไปเรียกกันว่ากิเลสอีกกิเลสอาสวะมันก็ยุ่งก็เข้าใจลำบากอย่าไปเรียกไอ้ 2 อย่างที่หลังเรียกว่ากิเลส เขาไปเรียกว่ากิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานอย่างนี้ยังว่าเลย ว่ากิเลสจะเป็นของเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้แล้วถ้ามันเกิดมันก็ต้องเปลี่ยนแปลงแต่ว่าความเคยชินมันมีได้ ครั้นความเคยชินมากเข้ามันก็ง่ายที่จะไหลกลับออกมาเหมือนกับว่าในตุ่มใส่น้ำลงไปมากเท่าๆไรไอ้ความเบ่งดันที่จะกลับออกมามันก็มากเท่าๆนั้นแหล่ะ นั้นถ้ามีรูรั่วสักนิดหนึ่งนะมันก็ออกมาปรี่ออกมาทางรูรั่ว ถ้าน้ำมากมันก็ปรี่ออกมาแรงถ้าน้ำไม่มากมันก็ปรี่ออกมาน้อย เนี่ยคือข้อที่ว่าถ้าอนุสัยมันไม่มากความดันที่จะกลับออกมามันก็ไม่มาก ถ้าอนุสัยมันมีมากความดันที่จะกลับออกมามันก็มาก ทีนี้พอได้เหตุปัจจัยภายนอกได้รับอารมณ์ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรทางภายนอกนี่เรียกว่ามีปัจจัยและก็มีโอกาสด้วย กิเลสประเภทอนุสัยหรืออนุสัยมันก็จะไหลออกมาเป็นกิเลสใหม่ เป็นกิเลสใหม่อีก อย่างนี้เรียกว่าอนุสัยๆให้กิเลสเป็นอาสวะกิเลสเป็นอาสวะก็เกิดขึ้นใครมีอนุสัยมากเท่าไรมันก็เกิดอาสวะได้มากเท่านั้นน่ะพอมีอารมณ์อะไรมามันก็เกิดกิเลสอีกและก็มากเท่าอนุสัยที่มีอยู่อนุสัยก็เกิดอาสวะเมื่อหมดอนุสัยก็หมดอาสวะก็เป็นพระอรหันต์สิ การทำอย่างใดอย่างหนึ่งจนไม่มีอนุสัยเหลืออยู่ในใจนั้นน่ะคือเป็นพระอรหันต์เราเจริญวิปัสสนาตัดอนุสัยตัดสังโยชน์ตัดไอ้ตามชื่อเรียกจนอนุสัยหมดไปก็ไม่มีอาสวะที่ไหลออกมานี่เรียกว่าสิ้นกิเลสสิ้นอาสวะสิ้นกิเลสที่จะเกิดขึ้นใหม่หรือว่าสิ้นกิเลสที่จะไหลกลับออกมาเพราะมันไม่มีอะไรที่จะไหลกลับออกมาเพราะมันสิ้นอนุสัยเกี่ยวข้องกันอยู่เป็น 3 ชั้นอย่างนี้ งั้นตัวการร้ายมันก็คืออนุสัย ความเคยชินที่จะเกิดกิเลสที่เก็บไว้ในสันดานลดมันเสียโดยวิธีภายนอกก็คือว่าระมัดระวังไม่ให้เกิดกิเลสใหม่ๆขึ้นมาอีกอนุสัยมันลดไปตามจำนวน หรือทำวิปัสสนาตัดอนุสัยโดยเฉพาะโดยตรงเข้าไปอนุสัยมันก็หมดไปอนุสัยหมดได้โดย 2 วิธีอย่างนี้ถ้ามีสติสัมปชัญญะปัญญาอะไรก็ตามไม่ให้เกิดกิเลสเพิ่มได้อีกอนุสัยมันจะลดๆๆเบาบางๆๆๆจนกระทั่งหยุดไปหมดไปมันก็ได้แต่ถ้ามันช้าเกินไปหรือไม่ ไม่นักเลงก็ทำสมาธิให้สำเร็จหรือทำวิปัสสนาให้สำเร็จพิจารณาตามหลักของวิปัสสนาเห็นไม่เที่ยงเห็นเป็นทุกข์เห็นอนัตตาเห็นตาๆๆๆจนกระทั่งมีอตัมมยตากวาดล้างอนุสัยให้หมดเลย ตามหลักการละสังโยชน์10 ที่ทำให้เกิดเป็นพระอริยบุคคลน่ะไปอ่านดูมีอยู่ในหนังสือเรียนทุกเล่มละอนุสัยได้เท่าไรเป็นพระโสดาบัน ละได้เท่าไรเป็นสกิทาคามี ละได้เท่าไรเป็นอนาคามี ละหมดเป็นพระอรหันต์ นี่ขอสรุปความทั้งหมดมามองดูให้เห็นว่ากิเลสสกปรกมันเกิดขึ้นเพราะโง่เพราะเผลอนี่เรียกว่ากิเลสเกิดกิเลสทีหนึ่งไปเก็บไว้เป็นความเคยชินอยู่ในสันดานเรียกว่าอนุสัยๆๆ อนุสัยเก็บไว้มากพอมีโอกาสมีปัจจัยมาจากข้างนอกก็กลับออกมาเป็นอาสวะไหลออกมาจากภายในกิเลสอย่างนี้ก็เรียกว่าอาสวะคือกิเลสที่ไหลออกมาจากข้างในคืออนุสัยอยู่ข้างในก็ไหลออกมาเป็นอาสวะ อาตามาอธิบายอย่างนี้นะและก็ขอยืนยันว่าที่อื่นเขาอธิบายอย่างอื่นไม่เหมือนอย่างนี้และบางทีก็จะคัดค้านด้วยก็เลือกเชื่อเอาเองที่จะเชื่อนี้ไม่ต้องเชื่อใครอ่ะเชื่อตัวมันนั้นแหล่ะไปใคร่ครวญดูตัวมันเองก็แล้วกันจะพบความจริงว่ามันเป็นอย่างนั้นเราอยู่ในชีวิตประจำวันโง่เมื่อไรก็เกิดกิเลสเมื่อนั้น เกิดกิเลสเมื่อไรก็สะสมอนุสัยไว้หน่วยหนึ่งเมื่อนั้นอนุสัยมากเข้า มากเข้าเมื่อไรแล้วเหตุปัจจัยจากข้างนอกมันก็เป็นของล่อจากข้างนอกเทกลับออกมาเป็นอาสวะทำลายอนุสัยเสียได้เมื่อไรก็ไม่มีอาสวะก็สิ้นอาสวะก็เป็นพระอรหันต์ ว่างเด็ดขาด ว่างจากกิเลสเด็ดขาดเพราะการเป็นพระอรหันต์ ว่างชั่วคราวก็เพราะอนุสัยไม่แสดงบทบาท นั้นแหล่ะดูๆให้เห็นต่อสืบต่อกันมาด้วยดีว่างหรือไม่ว่างก็เพราะว่ากิเลสเกิดหรือไม่เกิดกิเลสนี้ก็มีลักษณะ 3 ชนิด ตัวกิเลสอย่างหนึ่งตัวความเคยชินของกิเลสอย่างหนึ่งเรียกว่าอนุสัยตัวอนุสัยที่จะไหลกลับออกมาเรียกว่าอาสวะอีกอย่างหนึ่ง มีสติสัมปชัญญาไม่ให้เกิดกิเลสวิเศษไม่ให้เกิดอนุสัยไม่มีอนุสัยก็ไม่มีอาสวะ นี่ถ้าอนุสัยมีอยู่แล้วสะสมไว้มากแล้วก็ทำสมาธิวิปัสสนาเล่นงานมันน่ะเห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา อย่างนี้เพิ่มขึ้นๆมันก็ร่อยหรอไป เหมือนกับว่าส่องไฟเข้าไปเผาอนุสัยมันก็สูงเข้าบรรลุมรรคผลตามลำดับ เนี่ยๆคือเรื่องจิตว่างหรือไม่ว่างแล้วเกี่ยวข้องกันอยู่กับสิ่งที่เรียกว่ากิเลสหรืออนุสัยหรืออาสวะในลักษณะอย่างที่กล่าวนี้
ขอเรียนถามต่อไปถึงเรื่องนิวรณ์ครับว่านิวรณ์นี้เป็นกิเลสหรือไม่อย่างไร เนื่องๆกับกิเลสหรือไม่อย่างไรจะแก้อย่างไร คำว่านิวรณ์เราไม่เคยเรียกกันว่ากิเลสคือมันเป็นเรื่องเศษของกิเลสหยุมหยิมรบกวน รบกวนความสงบสุขแต่ไม่ถึงขนาดที่เรียกว่ากิเลสแต่อย่างไรก็ดีมันก็มีมูลมาจากอนุสัยความเคยชินที่จะเกิดกิเลสที่เรียกว่าอนุสัยแต่มันรั่วออกมาน้อย รั่วๆออกมาน้อยๆโดยอะไรก็ตามมันรั่วออกมาน้อยๆไม่ถึงกับเป็นกิเลสใหญ่ก็มีผลรบกวน รบกวนความปกติสุขของจิตทำให้จิตไม่ว่างทำให้จิตเศร้าหมอง ทำให้จิตเศร้าหมองได้เหมือนกันแต่มันไม่ใช่เรื่องเอาเป็นเอาตาย แต่ว่ามันก็เป็นฆ่าศึกของสมาธิไม่ๆให้สมาธิเกิดขึ้นหรือว่าเป็นไปอย่างถึงที่สุดนิวรณ์ยังไม่ๆควรจะเรียกว่ากิเลสเรียกว่านิวรณ์ไปตามเดิมอนุสัยน้อยๆที่รั่วไหลออกมาน้อยๆไม่ถึงขนาดที่จะเรียกว่าอาสวะก็เรียกว่านิวรณ์ๆเป็นเครื่องห่อหุ้มหรือปิดกันจิตไม่ให้สว่างไสวไม่ให้เป็นสมาธิไม่ให้เป็นวิปัสสนาแต่เมื่อดูแล้วมันก็เป็นฆ่าศึกอย่างยิ่งจิตไม่แจ่มใสก็เพราะนิวรณ์จิตรบมันมีนิวรณ์รบกวนมันก็ไม่แจ่มใส อยากจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายเหมือนกับแมลงหวี่ แมลงหวี่ ขึ้นมาตอมที่ตาเข้าตาเข้าจมูกมันสูญเสียความสงบสุขแต่มันไม่ถึงกับตายไม่ใช่เสือมากัดตายแต่ว่าความรำคาญนี้ก็ไม่ใช่เล่นเข้าใจว่าคนเคยรู้เรื่องแมลงหวี่ให้ความรำคาญจนเกิดโมโหโทโสเอาก็ได้ถ้าอย่างนี้ไม่ใช่นิวรณ์แล้วถ้าไปโกรธแมงหวี่ตบตีกันตึงตังใหญ่โตอย่างนี้ก็เป็นไอ้พวกกิเลสกลับออกมาเกิดเป็นอาสวะแล้ว แต่ว่าลำพังนิวรณ์แท้ๆนั้นมันไม่ใช่เรื่องเป็นเรื่องตายเป็นเรื่องรบกวนความสงบสุขบ้างแล้วก็เป็นเครื่องกีดกันความเป็นสมาธิวิปัสสนาของจิตบางมันก็มีโทษบางอยู่เหมือนกัน ทำสมาธิวิปัสสนาไม่สำเร็จก็เพราะนิวรณ์รบกวนนี่คือสิ่งที่เรียกว่านิวรณ์เป็นเศษเล็กน้อยรั่วไหลออกมาจากอนุสัยแต่ไม่ออกมาถึงกับเป็นกิเลสใหม่หรือเป็นอาสวะเลยจะเรียกกันว่านิวรณ์ๆรบกวนเป็นธรรมดารบกวนเป็นประจำวันเหมือนกับแก๊สไม่ได้รั่วถึงกับระเบิดแต่มันรั่วๆออกมาน้อยๆๆๆก็รบกวนๆ
ข้อเลื่อนมาถามถึงเรื่องวิเวกครับท่านเจ้าคุณอาจารย์บรรยายให้ความรู้ว่ากายวิเวกเป็นปัจจัยช่วยให้เกิดจิตวิเวก จิตวิเวกช่วยให้เกิดอุปธิวิเวก ทีนี้วิเวกทั้ง 3 นี้จะเกิดแยกจากกันได้หรือไม่เช่นว่า นี่เรียกว่าไงวิเวกทั้ง 3 เนี่ยนะ วิเวกทั้ง 3 เนี่ย วิเวสทั้ง 3 เนี่ยจะไม่เนื่องกันได้หรือไม่เช่นว่าจะเกิดอุปธิวิเวกโดยที่ไม่มีจิตวิเวกได้หรือไม่ อ๋อว่าวิเวกทั้ง 3 จะมีโดยไม่เนื่องกันได้หรือไม่ มันแล้วแต่กรณีแต่ตามธรรมดาทั่วไปแล้วมันก็เนื่องกันหรือว่าจะเรียกว่ามันต้องมีครบแต่ว่าบางอย่างมันในลักษณะซ้อนเล้นจนดูเหมือนกับว่าไม่มีเช่นถามว่าจะมีอุปธิวิเวกโดยไม่มีกายวิเวก จิตวิเวกได้หรือไม่นี้ เนี่ยมันก็อาจจะตอบได้ว่ามันมีอยู่อย่างซ้อนเล้นโดยไม่มองเห็นก็ได้และถ้ามันมีอุปธิวิเวกแล้วมันก็มีกายวิเวกและจิตวิเวกอยู่ในตัวโดยอัตโนมัติน่ะเอาตามธรรมดาก่อนวิเวกทางกายคือไม่มีอะไรมารบกวนในทางกายเป็นอิสระและสบายมันก็ไม่มีอะไรรบกวนจิตมันก็ง่ายที่จะไม่มีอะไรรบกวนจิตมันก็เป็นจิตวิเวกพอจิตวิเวกไม่ถูกนิวรณ์รบกวนอะไรรบกวนมันก็ง่ายที่จะมีวิปัสสนาสามารถทำให้เกิดอุปธิวิเวกว่าแต่ว่าเข้าใจอุปธิวิเวกว่าอย่างไรเดี๋ยวก่อนดีกว่าเอาละที่เข้าใจกันอยู่ทั่วๆไปก็เรียกว่าวิเวกจากกิเลส วิเวกจากกิเลสเรียกว่าอุปธิวิเวกแต่ถ้าจะให้เข้าใจง่ายเข้าใจชัดและก็จะต้องใช้คำว่าวิเวกจากอุปทานหรือของหนักสิ่งใดไปจับฉวยไว้ด้วยอุปทานสิ่งนั้นเป็นของหนักถ้าว่างเสียจากของหนักเหล่านี้ก็เรียกว่าอุปธิวิเวกแปลว่าว่างจากอุปทานก็ได้ว่างจากของหนักก็ได้ทีนี้มันจะทำได้เท่าไรก็แล้วแต่บุคคลหรือกรณีมีกายวิเวกนี่ก็มีผลเยอะแยะเหมือนกันมีผลมากพอเหมือนกันกายวิเวกไม่มีอะไรรบกวนกายก็เป็นความเป็นสุขคือไม่มีอะๆๆๆไรรบกวนกายก็คือวัตถุแวดล้อมบุคคลแวดล้อมอะไรที่เป็นเรื่องกายๆวัตถุด้วยกันไม่มารบกวนเราก็ได้หรือมีกายวิเวกความไม่ถูกรบกวนในทางกาย วิเวกนั้นแปลว่าเดียวๆหรือล้วนๆไม่มีอะไรอีกวิเวกะความเป็นหนึ่งอย่างไม่มีอะไรรบกวนวิเวกทางกายก็แสวงหาไว้ก่อนมันง่ายกว่า ทีนี้นิวรณ์รบกวนจิตมันก็ยากขึ้นไปที่จะเอาออกไปเสียจากเรื่องจิตมันก็ต้องยากขึ้นไปอีกหน่อยหนึ่งเจริญสมาธิสำเร็จก็มีจิตวิเวก ทีนี้อันสุดท้ายวิเวกจากอุปทานคือสิ่งที่ยึดมั่นถือมันด้วยอุปทานมีเท่าไรก็หนักเท่านั้นเผารนเท่านั้นครอบงำเท่านั้นยุ่งยากลำบากเท่านั้นแล้วควรจะวิเวกเสียเป็นขั้นสุดท้ายหรือขั้นสูงสุด ทีนี้แยกเป็น 3 อย่าง อย่างนั้นก็ปฏิบัติไปได้แต่ละอย่างละอย่าง จะขอแนะเคล็ดลับ เคล็ดลับคือวิเวกจากตัวกู วิเวกจากตัวกูนี่มันรวมอยู่ในอุปธิวิเวกตัวกู ตัวกูมันเป็นอุปทานชนิดหนึ่งวิเวกจากตัวกูคือวิเวกชนิดอุปธิวิเวกอย่ามีความรู้สึกว่าตัวกู อย่าให้เกิดความรู้สึกว่าตัวกู ควบคุมไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าตัวกู วิเวกหมด วิเวกหมดเลย กายก็พลอยวิเวกจิตก็พลอยวิเวกอุปธิอุปาทานก็พลอยวิเวก สมมุติว่าคุณเข้าไปนั่งในป่าช้านะ ไปนั่งในป่าช้าคุณคิดว่าจะได้กายวิเวกไม่มีอะไรรบกวนแต่ถ้าในจิตของคุณเต็มไปด้วยตัวกู ตัวกู เดือดพล่านอยู่ในความหมายใดความหมายหนึ่งไม่มีแม้แต่กายวิเวกล่ะเพราะจิตมันถูกรบกวนโดยตัวกู ตัวกู อาละวาดอยู่ข้างใน นิถ้าไม่มีตัวกู ไม่มีตัวกู ไม่ต้องไปอยู่ในป่าช้าหรอกนั่งอยู่ข้างเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมอันมากมายแต่อย่ามีตัวกู อย่ามีตัวกู คือไม่รำคาญกับมันไม่รับเอาอารมณ์นั้นไม่มีตัวกูรับอารมณ์นั้นมันก็วิเวกได้เหมือนกัน หรือใครมาแตะมาอะไรคุณอยู่ก็ถ้าคุณไม่มีตัวกูออกรับมันก็วิเวกได้เหมือนกัน นี่ไม่มีตัวกูมันจะเริ่มวิเวกตั้งแต่กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก นั้นที่ต้องยึดมันถือมั่นว่าจะต้องไปนั่งในป่าช้าหรือต้องปิดกันรอบอย่างนั้นอย่างนี้ต้องไม่มีใครมารบกวนเลยโง่มันยึดถือในวิเวกมากเกินไปมันยึดถือตัวหนังสือมากเกินไป เรานั่งทำสมาธิโดยแท้จริงอยู่ให้ใครมันมาเข็กหัวเล่นเข็กหัวเล่นเอาไม่รู้สึกไม่มีตัวกูรับรู้มันก็ยังเป็นวิเวกอยู่นั้นแหล่ะนั้นอย่าไปยึดมั่นในตัวหนังสือนี้มันมากเกินไปมันจะลำบากเองและมันจะหาที่วิเวกไม่ได้คนจะยึดมั่นถือมั่นขนาดนี้มันจะหาที่วิเวกไม่ได้ก็ตา หู จมูก ลิ้น กายใจมันมียังมีอยู่มันก็เหลือบเห็นได้ยินได้ฟังอยู่ไม่มีวิเวกจัดกายกับตัวกูอย่าให้เกิดออกมารับอารมณ์จะเป็นวิเวกไปหมดทุกหนทุกแห่งวิเวกทางกายด้วยวิเวกทางจิตด้วยวิเวกทางอุปธิด้วยคนเขาก็ด่าว่าพุทธทาสโกหกว่าเอาเองก็ตามใจไม่เป็นไรแต่ขอให้คุณไปลองดู วิเวกอย่างนี้จะช่วยได้มากช่วยได้ง่ายในที่ธรรมดาสามัญอย่างเราอย่าให้เกิดตัวกูมันจะมีวิเวกทันทีไม่ว่าในระดับไหน แต่ตามในบาลีกล่าวไว้ตั้ง 3 วิเวกกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวกและขอแถมครบว่าตัวกูวิเวกมันก็พวกนั้นแหล่ะพวกอุปธิวิเวกแต่มันในระดับต่ำๆระดับธรรมดาอย่าไปมีตัวกูรับอารมณ์สนใจกับมัน ไม่รับอารมณ์ไม่มีตัวกูรับอารมณ์ก็เป็นวิเวกตลอดสายทำได้ง่ายทำได้สบายจะทำได้ง่ายสำหรับทุกคนขอให้เรียกว่าวิเวกจากตัวกูแล้วก็จะได้วิเวกหมดทุกวิเวก
ครับผมขอเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องฝึกอานาปานสติเออจำเป็นที่จะต้องกำหนดรู้ทั้ง 14 ขั้นคือกำหนดหัวข้อของ 4 หมวด 16 ขั้นไว้ก่อนหรือไม่ในการที่จะฝึกอานาปานสติคือต้องรู้ทั้ง 16ๆขั้นนี้ไว้ก่อนหรือไม่ ว่ายังไงฟังไม่ถูกอ่ะเสียงมันยังไงไม่รู้ ในการในการศึกษาอานาปานสตินี้ นั้นแหล่ะ นั้นแหล่ะ ได้ยินแล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์แนะนำว่าควรจะรู้ 4 หมวด 16 หัวข้อไว้ก่อนแล้วจะง่ายต่อการปฏิบัติอันนี้เป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ นี้มันเป็นปัญหารวมที่จะตั้งขึ้นมาว่าเรียนรู้เรื่องเหล่านั้นเสียก่อนแล้วจึงไปปฏิบัติจะดีไหมใช่ไหมทำควรทำอย่างนั้นใช่ไหมข้อนี้มีปัญหาอาจจะกลายเป็นผลร้ายขึ้นก็ได้แต่ถ้ามีถูกใช้วิธีก็เป็นคนดีก็ได้แต่อยากเอามาปนกันการเรียนเป็นวิชาความรู้ก็เรียนๆๆไว้แล้วก็ไม่ๆยึดถือให้มันมากนักไม่เกิดตัณหาไม่เกิดความยากความกระหายขึ้นมาเพราะเหตุนั้นแล้วก็ปฏิบัติไปตามลำดับมันก็ได้เหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้เรียนรู้เป็นสมมุติว่า 16 ขั้นทั้ง 16 ขั้นรู้ดีมันก็เกิดตัณหาล่วงหน้าอยากจะเอาเร็วๆอยากได้เร็วๆตัณหามันก็รบกวนมันก็เกิดความคลุ้มคลั่งตามปกติก็จะได้รับคำแนะนำสั่งสอนจากผู้สอนผู้ช่วยผู้สั่งสอนหรือจากพระพุทธเจ้าก็ตามไปทีละขั้น ทีละขั้น ละขั้น ละขั้น ปฏิบัติต่อไปไม่ได้เรียนทีเดียวตลอดทั้ง 16 ขั้นแต่นี้เมื่อตรัสเป็นพระสูตรตรัสเป็นพระสูตรตรัสเป็นหลักพระสูตรไม่ใช่สอนวิปัสสนาหรือโดยเฉพาะท่านก็ตรัสมันทั้ง 16 ขั้นเพื่อจะให้รู้จักสิ่งนี้ให้สนใจในสิ่งนี้เพื่อให้รู้ว่าพระพุทธองค์เองก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพราะการปฏิบัติระบบนี้คืออานาปานสติ 16 ขั้นข้อที่ว่าจะดีหรือไม่ดีเนี่ยไปดูเอาเองถ้าเรารู้จักสิ่งที่เราจะทำล่วงหน้านั้นทางวัตถุดีแน่แต่ทางจิตนั้นยังไม่แน่ถ้าทางวัตถุทางร่างกายทางสิ่งของเรารอบรู้สิ่งที่เราจะต้องทำข้างหน้าหมดมันก็ทำไปได้สะดวกสบายแต่ถ้าทางจิตนั้นมันยังมีปัญหาเพราะว่ามันจะมีตัณหามากเกินไปแล้วจะว่าเอาเองด้วยมันจะกระโดดข้ามไปโดยว่าเอาเองขั้นนั้นขั้นนี้แล้วอย่างนี้ก็ๆเรียกว่าไม่ๆใช่ผลดีไม่ใช่ผลดีแต่ถ้าเขาฉลาดเป็นบัณฑิตเป็นผู้เป็นบัณฑิตเพียงพอก็ควยคุมไม่ให้มันเกิดตัณหากระโดดไปตามความรู้ที่เรียนไว้มากๆล่วงหน้าอย่างนี้ก็ได้ไม่ใช่ไม่ได้อย่าให้เกิดตัณหาการปฏิบัติตามความรู้ที่เรียนไว้ล่วงหน้าทั้ง 16 ขั้น นั่นนี้เป็นหน้าที่ที่จะปรับปรุงกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้ปฏิบัติให้ความรู้แนวทั้ง 16 ขั้นไว้เป็นการล่วงหน้ามันก็ดีไม่ใช่ไม่ดีแต่ขอร้องว่าให้ผู้ปฏิบัติทำไปทีละขั้น ทีละขั้น ทีละขั้น โดยไม่ต้องไปห่วงหรือวิตกกังวลข้างหน้า ข้างหน้า ซึ่งมันเป็นตัณหาหรือเป็นไอ้สิ่งที่กีดขวางรบกวนทำลายผมตอบไม่ได้ว่าอย่างไหนดีแน่โดยเด็ดขาดเพราะมันจะดีแน่ได้สำหรับผู้ที่มีสติปัญญาเป็นบัณฑิตไม่ให้ความรู้ที่มีอยู่ล่วงหน้านั้นรบกวนสมาธิมันก็ดีๆๆๆๆแต่ถ้าคนมันเป็นคนวิตกจริตคิดมากอะไรมากมันรู้ก็ดีเหมือนกันให้มันรู้ไปทีละขั้น ละขั้นปฏิบัติไปทีละขั้น ทีละขั้น มันก็ดีเหมือนกันมันเหมาะสำหรับคนนี้แต่มันก็ไม่เหมาะสำหรับคนโน้น เหมาะสำหรับคนโน้นไม่เหมาะสำหรับคนนี้ก็เป็นหน้าที่ของผู้สอนผู้แนะนำจะต้องใคร่ครวญเอาเองว่าผู้ปฏิบัติผู้นี้นะควรจะได้คำแนะนำอย่างไรเท่าไรเมื่อไรมันต้องตอบอย่างนี้ตอบไม่ได้โดยส่วนเดียวว่าให้รู้ล่วงหน้านั้นดีหรือไม่ดี ดีก็ได้ไม่ดีก็ได้
เออมีปัญหาในการปฏิบัติของบางท่านคือตั้งใจปฏิบัติแล้วแทนที่จะเกิดความปลอดโปร่งของกายของใจแต่เมื่อปฏิบัติแล้วกลับรู้สึกเคร่งเครียดปวดศีรษะหรือว่าเออรู้สึกว่าร่างกายโยกโครงเหมือนกับเมาเรือถ้าเป็นอย่างนี้ควรจะแก้อย่างไร พอปฏิบัติแล้วเกิดกลับจะเกิดความเครียดหรือเกิดไอ้ความยุ่งยากใจตอบง่ายๆเพราะว่าผู้นั้นมันทำการปฏิบัติด้วยตัณหา ผู้นั้นทำการปฏิบัติด้วยตัณหา ไม่ปฏิบัติด้วยฉันทะที่พอเหมาะพอสมมันปฏิบัติด้วยตัณหาคือมันหิวด้วยตัณหามันไม่ได้หิวด้วยสติปัญญาขอให้ไปปรับปรุงความต้องการของตนให้เป็นความต้องการของสติปัญญาที่อยากจะปฏิบัติหรืออยากจะทำเรียกว่าอยากด้วยปัญญาอยากปฏิบัติด้วยปัญญาด้วยสติด้วยสัมปชัญญะอย่าให้อยากด้วยตัณหาหิวด้วยตัณหาอยากปฏิบัติเร็วๆถ้าอย่างนี้จะยุ่งไปหมดจะมีความเครียดเข้ามาครอบงำมากมายและก็มีหลังถ้ามันมากเกินไปมันจะได้เป็นบ้าด้วยซ้ำไปถ้ามันอยากปฏิบัติด้วยตัณหา ถ้าต้องการจะวิเศษต้องการจะมีไอ้ฤทธิ์มีเดชมีปฏิหารย์มีตาทิพย์เห็นเลข 3 ตัวแล้วๆจะได้ลองเหอะดูจะได้เป็นบ้าเพราะมันปฏิบัติด้วยตัณหาขอให้ปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยปัญญา
เนื่องจากผู้ปฏิบัติอาจจะต้องกลับไปอยู่ที่บ้านและมีกิจการงานมากอยากจะขอท่านเจ้าคุณอาจารย์ช่วยแนะนำเคล็ดการปฏิบัติอย่างย่อๆถ้าในกรณีที่ปฏิบัติทั้ง 16 ขั้นไม่ได้เมื่อยู่บ้านขั้นไหนบ้างที่จำเป็นหมวดไหนบ้างที่จำเป็น ทำไมมันฟังยากไหนว่าใหม่สิ ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ 16 ขั้น ช้าๆลงพูดช้าๆลง ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ 16 ขั้นควรที่จะให้ความสำคัญกับหมวดไหนหรือขั้นไหนเมื่อกลับไปบ้านแล้วจะได้ทบทวนในขั้นนั้นหรือหมวดนั้นให้มากๆจะมีการแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเออเคล็ดการปฏิบัตินี้อย่างไร คำถามอย่างนี้มันตอบยากมันเกี่ยวกันมากมายมันเกี่ยวข้องกันกว้างขวางปฏิบัติในที่ปฏิบัติกับกลับไปปฏิบัติที่บ้านมันก็มีปัญหามาตั้งแต่ทีแรกแล้วว่าปฏิบัติที่บ้านจะปฏิบัติสักเท่าไรปฏิบัติที่ในป่าจะปฏิบัติสักเท่าไรสามารถปฏิบัติได้สักเท่าไรก็จัดทำมันเหมาะสมสิ ถ้าในกรณีที่มันปกติดีไม่มี ไม่มีตัณหาไม่มีอะไรชักนำเนี่ยเราว่าปฏิบัติในป่าได้ไม่ถึงที่สุดก็ไปปฏิบัติต่อๆไปที่บ้านในป่าเราอยู่กันเวลาเล็กน้อยเพียงแต่ให้รู้วิธีปฏิบัติก็ถมไปแล้วปฏิบัติไม่ๆๆเสร็จปฏิบัติไม่ทันก็ไปกลับไปปฏิบัติต่อที่บ้านมันก็เนี่ยเป็นหลักทั่วไปพูดกับฝรั่งก็พูดอย่างเนี่ยช่วง 10 วันคุณเออคุณเรียนไม่หมดปฏิบัติไม่หมดกลับไปบ้านคุณก็ปฏิบัติต่อไปเรื่อยไปถ้าไม่ทันอีกปีหน้ามาใหม่ให้มันมีการปฏิบัติชนิดที่ดีขึ้นเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นมันพูดไม่ได้โดยเจาะจงอ่ะบางอย่างมันปฏิบัติที่บ้านสะดวกบางอย่างมันก็ไม่สะดวกแต่ว่าปรับปรุง ปรับปรุง ให้มันปฏิบัติได้เท่าที่จะได้ ทีนี้ก็มาพูดถึงว่าชาวบ้านกับชาวป่าถ้าเป็นฤษีมุนีชีไพรอยู่ในป่าเวลาทั้งหมดมันอุทิศให้ได้อย่างนี้มันก็มีแผนการปฏิบัติละเอียด ละเอียด ทุกขั้นทุกตอนทุกแง่ทุกมุมไปเลยแต่ถ้าเป็นชาวบ้านมีธุรการงานตามบ้านเรือนอยู่มันทำอย่างนั้นไม่ได้มันก็รวบรัดปฏิบัติเท่าที่เหมาะสมดังนั้นในอานาปานสติ 3 หมวดนั้นมันก็ปฏิบัติหมวดที่ 4 โดยเฉพาะปฏิบัติหมวดที่ 1 พอเป็น พอเป็นพื้นฐานพอเป็นปัจจัยสำหรับทำจิตพอเป็นสมาธิบ้างเท่านั้นก็พอไม่ต้องถึงกับเต็มขั้นของทั้งหมดของหมวดที่ 1…หมวดที่ 2 หมวดที่ 3 จะเว้นเสียก็ได้ไปปฏิบัติหมดที่ 4 เพ่งดูอนิจจัย ทุกข์ขัง อนัตตา ไปตามลำดับตามลำดับอย่างงี้ทำได้ ทำได้แม้ที่บ้านทำได้แม้ที่ออฟฟิสที่ทำการงานศึกษาให้เข้าใจเรื่องอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตาเป็นพื้นฐานแล้วก็ไปเห็นมากขึ้นๆๆโดยวิธีที่เรียกว่าจะลัดที่สุดก็ได้ คือให้เห็น 9 ตา 9 ตา มันๆๆสะดวกมันง่ายมันไม่รุงรังมันไม่ยุ่งยากมันรวบรัดจะทำได้แม้ที่ออฟฟิสมีเวลาสักหน่อยหนึ่งก็คิดทำได้หรือเวลาที่มันมีการงานทำการงานอยู่ยุ่งยากขึ้นมาในตัวการงานนั้นมันก็แก้ไขได้ด้วยการเห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนันตามันเลยเป็นการทำการงานพร้อมกันไปเลยแทนที่จะเป็นการ แทนที่จะเป็นการปฏิบัติเมื่อทำการงานมันกลายเป็นว่าเอามาใช้ทำการงานเสียเลยเป็นตัวทำการงานเสียเลยปฏิบัติผิดพลาดเห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ปฏิบัติถูกต้องสำเร็จก็เห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตาอย่างนี้ อย่างนี้น่ะดีมาก ผมคิดว่าตอบไม่ได้หรอกว่าที่บ้านดีหรือว่าในป่าดีแต่ว่าที่แน่นอนที่สุดก็ว่าเลือกให้มันพอเหมาะพอสมว่าจะปฏิบัติที่บ้านอย่างไรเท่าไรปฏิบัติในป่าอย่างไรเท่าไร ขอให้ผู้ที่ว่าจะต้องกลับไปบ้านไปทำหน้าที่การงานก็ไปปรับปรุง ปรับปรุง ที่เรียกว่าประยุกต์กับมันให้พอเหมาะสมจะทำได้เท่าไรเพราะมันปฏิบัติได้ทุกๆอิริยาบถจริงๆเมื่อเดิน เมื่อยืน เมื่อนั่ง เมื่อนอน เมื่อรับประทานอาหาร เมื่ออาบน้ำ เมื่อถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะมันปฏิบัติได้ทั้งงั้นแหล่ะถ้าฉลาดในการปรับปรุงให้เหมาะสมมันเป็นการปฏิบัติตลอดเวลาเมื่อรับอารมณ์ร้ายก็ปฏิบัติได้เมื่อรับอารมณ์ดีก็ปฏิบัติได้แต่ถ้ามันโง่มันไม่ได้ มันไม่ได้ ทุกๆอย่างถ้ามันทำด้วยความฉลาดสุขุมประณีตแล้วมันปฏิบัติได้ทุกๆอย่างคงที่ไว้อย่าๆๆๆดีใจอย่าเสียใจอย่าโกรธอย่าให้มันเร็วมีความปกติไว้เรื่อยๆมันจะปฏิบัติได้ที่เรียกว่าทุกอิริยาบถ ทุกอิริยาบถ ทุกอิริยาบถ ในขั้นนี้ไม่เข้าใจเอ้าก็ไปลองดู ไปลองดู ก็มันยังไม่ตายนิลองดูว่าจะปฏิบัติได้กี่มากน้อย กี่มากน้อย ก็คอยรู้เอง ก็คอยรู้เอง ต่อไปข้างหน้า แต่ว่าถ้ากล่าวโดยหลักที่เขามีกันมาแต่โบราณน่ะเขาก็จัดเวลา จัดเวลาที่จะปฏิบัติธรรมะเนี่ยไว้เป็นส่วนๆเช่นวันๆปฏิบัติธรรมะวันพระวันอะไรทีวันจะปฏิบัติธรรมะก็ปฏิบัติวันทำการงานก็ทำการงานจัดให้มันเป็นรูปไม่ขัดเข้ารูปกันไม่ๆขัดขวางกัน แม้ในวันหนึ่งเราก็แบ่งให้เป็นเวลาปฏิบัติธรรมะสักๆจำนวนหนึ่งทำการงานสักจำนวนหนึ่งบริหารอะไรๆสักอีกจำนวนหนึ่งก็มันต้องทำหลายอย่างเวลาที่หัวรุ่งอย่างนี้แหล่ะหัวรุ่งอย่างที่กำลังมีอยู่นี่ใช้เป็นเวลาปฏิบัติธรรมะที่บ้านก็ได้หรือเวลาก่อนนอนเขานอนกันหมดแล้วเราก็ปฏิบัติได้ถ้าเรามีอิสระที่จะทำได้ สรุปความว่ามันอยู่ที่เราจะจัดเวลาที่เหมาะสมเตรียมไปสำหรับที่จะปฏิบัติต่อ เตรียมไปสำหรับปฏิบัติต่อที่บ้านซะเดี๋ยวนี้ล่ะจบคอร์สปฏิบัติที่วัดก็เตรียมหัวเงื่อนหัวต่อไปปฏิบัติต่อที่บ้านถ้ามันแยกได้เป็นเรื่องๆๆๆๆไปเรื่องไหนแล้วเรื่องไหนยังไม่เสร็จก็ปฏิบัติต่อให้มันถูกเรื่องมันจะสอนมันเองมันจะบอกในตัวมันเองว่าจะทำอย่างไร โดยเฉพาะอานาปานสตินี่มันจะแสดงผมมันจะวัดผลให้เห็นอยู่ในตัวเองเราคอยสังเกตุดูให้ดีๆก็เสริมต่อไปๆตามลำดับ ไปตามลำดับไอ้ที่มันสอนเองแหล่ะระวังให้ดีๆๆที่สุดกว่าใครสอนมันสอนมันเองตัวการปฏิบัติมันสอนมันเองให้ได้ความรู้ใหม่ๆออกมาเองว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป นี่ดีกว่าคนสอนการปฏิบัติมันบอกให้เองมันแนะให้เองมันแสดงให้มันเห็นเองว่าควรทำอย่างไรต่อไปนี่เป็นหลักสำคัญที่สุดการปฏิบัติธรรมนั้นตัวการปฏิบัติมันสอนเอง สอนเอง ยิ่งกว่าครูบาอาจารย์สอน
ที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์บอกว่าให้มีสติในอิริยาบถต่างๆหรือในทุกอิริยาบถนี้จะกำหนดอย่างไรวิธีกำหนดสติในอิริยาบถเมื่อทำการงานหรือเมื่อ ไอ้คำตอบมันกว้างถ้าๆจะใช้คำสั้นๆว่ามีสติทุกอิริยาบถความหมายมันกว้างๆเหลือประมาณจะสรุปเอาเป็นใจความสำคัญที่สุดทีแรกก็ว่าทุกอิริยาบถอย่าให้โง่เกิดเป็นความรู้สึกว่าตัวกูโผล่ขึ้นมาในการทำอิริยาบถนั้นๆเนี่ยเป็นหลักครอบๆทั้งหมดในๆหลักธรรมะในทุกๆอิริยาบถจะแจกเป็นกี่อิริยาบถกี่สิบอิริยาบถหรือกี่ขั้นตอนก็ตามไม่ให้มีความรู้สึกว่าตัวกูว่า ว่าตัวกู จะเดินจะยืนจะนั่งจะนอนจะกินจะอาบจะถ่ายมีสติสัมปชัญญะอันนี้เป็นไปตามธรรมชาติรูปและนามคือกายกับใจทำไปตามเหตุผลตามปัจจัยที่มันจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนั้นอย่าให้ตัวกูแทรกแทรงเข้ามาเนี่ยเป็นหลักใหญ่มีสติทุกอิริยาบถไม่ให้เกิดตัวกูตาเห็นรูปก็อย่าว่ากูเห็นรูป หูได้ยินเสียงก็อย่าว่ากูได้ยินเสียง จมูกได้กินมันก็ไอ้จมูกที่อย่าว่ากูได้กลิ่น ลิ้นได้รสกายได้สัมผัส ผิวหนังก็ให้เป็นเรื่องของนามรูปร่างกายกับจิตใจปฏิบัติไปตามเรื่องของธรรมชาติอย่ามีตัวกูเข้าไปแทรกแทรงเนี่ยเป็นใจความครอบงำหมดของสติปัฐฐานก็เรียกของอานาปานสติก็เรียกมันเรื่องเดียวกันแหล่ะโดยใจความอย่าให้เกิดตัวกูขึ้นในอิริยาบถใดในขณะใดเนี่ยมีสติทุกอิริยาบถจะเรียกไปอีกแง่หนึ่งก็ว่าอย่าให้กิเลสเกิดขึ้นได้แม้ในอิริยาบถใด นี่เป็นส่วนละ เป็นส่วนละ ระวังหรือป้องกัน ทีนี้ในส่วนที่จะตรงกันข้ามคือทำให้มันเจริญขึ้นมาให้ทุกๆอิริยาบถนั้นเป็นการศึกษาเพิ่มเติมทุกอิริยาบถเป็นการศึกษาเพิ่มเติมรู้อะไรเพิ่มขึ้น รู้อะไรเพิ่มขึ้น ทุกอิริยาบถนี่ก็เรียกมีสติสัมปัชชัญญะทุกอิริยาบถได้ อย่างแรกก็อย่าให้เกิดกิเลสในทุกอิริยาบถ อย่างที่สองให้เกิดปัญญาเกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นทุกอิริยาบถอย่างแรกว่าอย่าให้เกิดผลร้ายในทุกอิริยาบถ อย่างที่สองให้มันเกิดผลดีทุกๆอิริยาบถนี่เป็นความหมายของคำๆนี้ว่ามีสติสัมปชัญญะทุกอิริยาบถ คือมันปลีกย่อย ปลีกย่อยเป็นเรื่องๆไปก็จัดการกันตามเรื่องที่ว่ามันปลีกย่อย ปลีกย่อย เสร็จแล้วมันได้ผลว่าทุกอิริยาบถไม่เกิดโทษ ทุกอิริยาบถเกิดกำไลเกิดสติปัญญาเกิดความรู้เพิ่มขึ้นตามที่ว่าเวลามันเพิ่มขึ้นไม่เกิดโทษไม่ให้ ไม่ให้ ช่องหรือโอกาสเกิดโทษในชีวิตประจำวันทุกอิริยาบถ แต่อะไรเข้ามาแล้วเกิดปัญญาเกิดความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นๆๆๆอยู่ทุกอิริยาบถถือเป็นหลักสักอย่างหนึ่งว่าชีวิตนี้เป็นการศึกษาอยู่ในตัวมันเอง ถ้าเราเป็นมนุษย์ชีวิตนี้จะเป็นการศึกษาอยู่ในตัวมันเองทุกกระเบียดนิ้วทุกวินาทีแต่ถ้าเราเป็นแมวไม่ใช่คนไม่ใช่มนุษย์คือเป็นสัตว์ว่างั้นเถอะมันไม่ๆเป็นการศึกษามากอย่างนี้เป็นการศึกษาน้อยมากและเป็นการศึกษาเท่าที่จำเป็นที่สัตว์จะต้องรู้แต่ถ้าว่าเราเป็นมนุษย์เราศึกษาได้เกินกว่าความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องรู้ก็ยังทำได้ อืมความไอ้ที่เรียกว่าไอ้ความเจนจัดดความที่ได้ผ่านสิ่งต่างๆไปน่ะเป็นการศึกษาทุกเรื่องให้รู้ในเรื่องผิดก็ได้ให้รู้ในเรื่องถูกก็ได้ให้รู้ในเรื่องที่ทำให้ดียิ่งๆขึ้นไปก็ได้ถ้าทำได้อย่างนี้มันจะเป็นการศึกษาอยู่ในทุกๆอิริยาบถเรียกว่ามีสติสัมปัชชัญญะกอบโกยเอาประโยชน์ได้จากทุกสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกๆอิริยาบถโดยสรุปพูดได้อย่างนี้กล่าวได้อย่างนี้โดยรายละเอียดปลีกย่อยเฉพาะตนก็คือระวังๆอย่าให้มีความผิดพลาดในทุกอิริยาบถจนเกิดความรู้สึกยินดีหรือยินร้าย ถ้าเกิดความรู้สึกยินดีเป็นความบวกแล้วก็ผิดแล้วเกิดความยินร้ายเป็นความลบก็ผิดแล้วไม่เกิดความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบตลอดเวลาคือความสมบรูณ์แห่งสติสัมปัชชัญญะในการปฏิบัติธรรมะอยู่ทุกๆอิริยาบถ คำว่าอิริยาบถในทางธรรมะนี้มันมีความหมายดีกว่าคือมันไม่มีความหมายทั้งทางเวลาและทั้งทางไอ้ๆพื้นที่ทั้งกาละละเทศะน่ะ อิริยาบถมันต้องประกอบด้วยเวลาและเทศะทั้ง Time และ Space ทั้งสองอย่างมันจะมีรวมอยู่ในคำว่าอิริยาบถมันก็ถูกต้องทั้งทางเวลาและทั้งทางพื้นที่ทางเนื้อที่คือมีสติสัมปัชชัญญะไม่มีอะไรผิดพลาดทุกอิริยาบถถ้าทำได้อย่างนี้มันจะเจริญเร็วก้าวหน้าในธรรมเจริญเร็วไปถึงที่สุดจุดหมายปลายทางได้ก่อนตาย ก่อนตาย
มีผู้ใดต้องการจะถามคำถามก็ขอเชิญ กราบเรียนพระคุณเจ้าผมมีปัญหาในการปฏิบัติขั้นตอนที่กายานุสติปัฏฐานเออมีความจำเป็นไหมที่เราจะต้องสร้างอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก่อนที่จะได้ปิติและสุข เดี๋ยวอะไรว่าอะไรนะตอนหลังนี้ว่าอะไรนะมีความจำเป็นอะไรนะ มีความ อ๋อจำเป็นไหมที่จะต้องมีนิมิต ถ้าเป็นเรื่องของสมาธิแล้วไม่พ้นจะต้องมีเรื่องของสิ่งที่เรียกว่านิมิตถ้าไม่อย่างนั้นจิตก็ไม่มีที่กำหนดสิ ถ้าไม่มีนิมิตจิตไม่มีที่กำหนดไม่ได้กำหนดอะไรมันก็ไม่มีสมาธิจะต้องมีนิมิตตามลำดับไป ไอ้วัตถุโดยตรงเป็นนิมิตแล้วก็ต่อมาไอ้วัตถุมโนภาพเป็นนิมิตเพื่อละเอียดๆๆสูงขึ้นไปเป็นนิมิตสำหรับความเป็นสมาธิ ที่พอไปถึงวิปัสสนามันก็เป็นอารมณ์สำหรับวิปัสสนาเป็นนิมิตที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก เอาๆง่ายๆนิมิตคือสิ่งสำหรับกำหนดเครื่องกำหนดก็ได้แต่ว่าสิ่งสำหรับกำหนดเราเรียกว่านิมิตถ้าจิตไม่ได้กำหนดที่อะไรมันก็เท่าๆกับจิตไม่ได้ทำงานอะไรที่เรามาแยกเรียกในส่วนสมาธิเป็นๆอุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตอะไรก็ให้มันละเอียดเข้าเท่านั้นแหล่ะไม่ศึกษาก็ไม่รู้แต่ถ้าปฏิบัติถูกต้องมันก็ไม่ๆๆๆต้องไม่ต้องรู้จักเรียกชื่อก็ได้ขอแต่ให้มีอะไรสำหรับจิตกำหนดแล้วกำหนดละเอียดๆๆๆๆขึ้นไปตามลำดับจิตก็จะมีสมาธิอย่างแท้จริงมากขึ้นไปตามลำดับก็ได้รับผลทางสมาธิแล้วก็เอามันไปใช้เพื่อเป็นเออบาทฐานของวิปัสสนาเพื่อความเห็นแจ้ง เห็นแจ้ง เห็นแจ้ง สมาธินี่ก็เตรียมจิตให้เห็นแจ้งวิปัสสนาคือการเห็นแจ้งในการเตรียมจิตเพื่อความเห็นแจ้งนี่มันมีอะไรมีๆเคล็ดลับมีเทคนิคของมันโดยเฉพาะทำให้ถูกตามนั้นมันเร็วขึ้น เร็วขึ้น ถ้าไม่มีเทคนิคถูกต้องโดยเฉพาะมันก็ช้า มันก็ช้า งั้นพวกครูบาอาจารย์หรือฤาษีมุนีชีไพร่แต่ดึกดำบรรพ์โน้นมันค้นพบมาแล้วตามลำดับมันก็สอนไว้ให้สอนไว้ให้ปรับปรุงแก้ไขให้มันดีขึ้นกว่านั้นระบบในการมีนิมิตและการใช้นิมิตให้สูงขึ้นไปอย่าไปเข้าใจไปในทางว่าเป็นของขลังเป็นของศักสิทธิ์เข้าใจในของเป็นธรรมชาติอย่างนั้นเองธรรมชาติอย่างนั้นเองจิตมันพล่าไปเหมือนกับแสงสว่างถ้ามีอะไรมากำหนดเจาะจงเฉพาะลงไปมันก็รวมกำลังนั้นน่ะคือนิมิตๆรวมได้ขนาดไหนก็มีชื่อตามขนาดนั้นรวมได้อย่างพล่าๆหรือรวมได้อย่างเข้มงวดหรือรวมได้อย่างถึงที่สุดเลยมีความหมายทั้งนั้นเป็นตามธรรมชาติที่จะต้องมีต้องใช้อย่าให้เกิดความคิดไปทางโอ้นี้เป็นเรื่องลับลึกลับศักสิทธิ์ขลังศักสิทธ์กายสิทธิ์อะไรก็ไม่รู้ซึ่งก็เคยเป็นมาแล้วที่ได้ทราบมาในการเจริญสมาธิภาวนาแบบโบราณที่มันเสื่อมทรามไปๆมากน่ะเพราะเข้าใจอย่างนั้นเขาเลยมีบทหรือพิธีกรรมที่เชิญนิมิตเชื้อเชิญ เชื้อเชิญนิมิตมาเชื้อเชิญองค์ฌานมาทำพิธีเหมือนกับเชิญผีให้มาถ้าอย่างนี้มันเข้าใจผิดไปแล้วเนี่ยเราถ้ารู้อย่างถูกต้องโอ้ธรรมชาติๆมันต้องเป็นอย่างนั้นจิตจะต้องมีสิ่งกำหนดจิตจึงจะรวมกำลังรวมอะไรต่างๆเป็นสมาธิรู้จักนิมิตเป็นเพียงอุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับช่วยจิตเป็นสมาธิได้ง่ายเข้า
คำถามเมื่อกี้นี้มีข้อหนึ่งที่อยากจะระบุว่าจำเป็นต้องได้สมาธิในระดับไหนครับคือต้องได้ภาพมโนภาพที่สร้างขึ้นเป็นอุคหนิมิตหรือไม่หรือเพียงแค่จิตสงบลมหายใจรู้ลมหายใจดีแล้วก็พอแล้วเพื่อมาน้อมดูความไม่เที่ยง นี้มันเป็นเทคนิคหรือเคล็ดที่ทำไว้อย่างละเอียดซึ่งแบ่งเป็นขั้นตอน ขั้นตอน ขั้นตอน แม้ในขณะบริกรรมนิมิตก็จัดไว้ให้หลายขั้นตอน อุคหนิมิตก็จัดไว้ให้หลายอย่างหลายขั้นตอน ยิ่งปฏิภาคนิมิตแล้วสามาถที่จัดได้หลายอย่างหลายขั้นตอนขอแต่ให้มันได้ผลเป็นการทำให้จิตระงับลง ระงับลง ตามความละเอียดๆของสิ่งที่เรียกว่านิมิตสิ่งที่เรียกว่านิมิตละเอียดและสงบระงับเข้าเท่าไรจิตก็จะมีความสงบระงับละเอียดได้เท่านั้นนั่นคือสมาธิที่มันเป็นมากขึ้นหรือเป็นๆสมาธิจริงจังมากขึ้นไม่ต้องไปยึดติดตามตัวหนังสือเหล่านั้นแต่ว่าเขาได้พยายามผ่านกันมาแล้ว แล้วก็บอกไว้ให้อย่างนั้นเพื่อความสะดวกสำหรับคนข้างหลัง อาจจะทำจิตให้เป็นสมาธิโดยไม่รู้เรื่องคำชื่อเหล่านี้ก็ได้แต่มันก้มีอยู่ในตัวแหล่ะมันก็มีอยู่โดยอัตโนมัตินั่นแหล่ะเพราะจิตต้องกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอสิ่งที่ถูกกำหนดจะเรียกว่านิมิตทั้งนั้นกำหนดเพื่อหนทางสมาธิสมถะก็ดีกำหนดเพื่อหนทางวิปัสสนาญาณก็ดีสิ่งที่ถูกกำหนดจะเรียกว่านิมิตทั้งนั้นอารมณ์ก็เรียก
ท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติเพิ่มเติมขอเชิญนมัสการพระคุณเจ้าในการทำสมาธิถ้าหากว่าจิตเกิดนิวรณ์ขึ้นมารบกวนจนไม่สามารถจะทำสมาธิได้เราจะมีวิธีจัดการกับสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร ถ้ายังไง ถ้ามีนิวรณ์เกิดขึ้นมารบกวนจนกระทั่งตั้งจิตเป็นสมาธิไม่ได้ควรจะทำยังไง เอาก็ไม่ได้อย่าไปสนใจกับมันอย่าให้ความสำคัญหรืออย่าให้อะไรค่าๆอะไรกับนิวรณ์ไม่รู้ไม่ชี้ตั้งใจกำหนดๆอย่างง่ายๆๆๆไว้ก่อนแล้วกำหนดให้มันสูงให้มันลึกให้มันยากขึ้นไป นี่มันเตรียมจะมีนิวรณ์ล่วงหน้าอย่างนี้ไม่ไหวนิวรณ์มันก็มากๆโดยไม่จำเป็นนิวรณ์เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติความเคยชินที่จะไปตามอารมณ์ก็เรียกว่าเป็นนิวรณ์เราดูความตั้งใจที่จะทำฉันทะๆความอยากด้วยๆปัญญาถ้าอยากด้วยกิเลสตัณหาเรียกว่าเรียกว่าตัณหาเรียกว่าโลภะเรียกว่าแต่ถ้าอยากด้วยปัญญาประสงค์ด้วยปัญญาอย่างงี้จะเรียกว่าฉันทะก็ได้จะเรียกว่าสังกัปปะก็ได้มีฉันทะมีสังกัปปะไปแต่ต้นมือนิวรณ์จะไม่ค่อยมารบกวนเห็นแจ้งว่ามีความทุกข์อย่างนั้นจะต้องดับอย่างนั้นแล้วมีฉันทะพอใจอย่างรุนแรงที่จะดับอย่างนั้นโอกาสไหนที่นิวรณ์จะรบกวนมันก็ไม่มีเพราะเอาจิตไปใช้กับเรื่องที่จะต้องทำให้ถูกต้องให้ถูกต้องทั้งหมดมันก็มีมันก็มีปัญญาๆเจริญงอกงานมไปตามลำดับ นี่เพราะเหตุที่ได้รับการสั่งสอนล่วงหน้าว่ามีนิวรณ์อยากสอนกันล่วงหน้าว่ามีนิวรณ์คงจะไม่มีปัญหานี่มันรู้ล่วงหน้ามากเกินไปเตรียมพร้อมสำหรับจะมีนิวรณ์อย่าสนใจเรื่องนิวรณ์ดีกว่ากำหนดสมาธิที่มีอยู่เดี๋ยวนี้กำหนดๆๆๆ กำหนดให้มันแรงเข้าถ้าว่านิวรณ์จะมาดึงไปกำหนดให้มันแรงเข้า กำหนดให้มันแรงเข้า นิวรณ์ก็ดึงไปไม่ได้ระงับไว้แต่ในตัวมันเองเราไม่ เราไม่ปราถนานิวรณ์เรารังเกียจนิวรณ์กำลังจิตทั้งหมดรวมมาพุ่งมาที่จะกำหนดอารมณ์กำหนดนิมิต แม้ว่าจะมีกิเลสกล้ามาพาให้เกิดนิวรณ์ก็พักไว้แล้วมาทำความแข็งกล้าแห่งจิตใจในการกำหนดนิมิตนิวรณ์ก็จะให้โอกาส
กราบเรียนพระคุณเจ้าจากการฝึกปฏิบัติตามลำดับปรากฏว่าพอจับจุดที่ลมมากระทบปลายจมูกแล้วเกิดความรู้สึกว่าเย็นซาบซ่าสงสัยว่านี่ใช่ปิติหรือไม่แล้วจากการที่จะผ่านขั้นปิติไปจะกำหนดสติอยู่ที่ความรู้สึกเย็นซาบซ่านี้จะเป็นการตั้งจิตมั่นแล้วหรือเออแล้วขั้นต่อไปถ้าจะเปลื้องความเย็นนี้ออกไปจากจิตจะเป็นการทำจิตให้บันเทิงหรือไม่หรือว่าจะต้องรอให้ปิตินี้หายไปเองเพื่อให้เกิดความสุขในจิตก่อนแล้วถึงจะเลยไปขั้นทำจิตให้มั่น ไม่รู้ว่าถามอย่างไร เมื่อๆกำหนดจิตอยู่ที่ปลายจมูกนะครับเมื่อรู้ลมหายใจแล้วเนี่ยเกิดความเย็นซาบซ่าขึ้นในจิตอันนี้เรียกว่าปิติหรือไม่แล้วก็เมื่อมันเกิดแล้วเนี่ยจะให้มันดับไปเองหรือจะต้องทำอย่างไร เกิดความเย็นซาบซ่าที่ปลายจมูกไม่เกี่ยวกันไม่เกี่ยวกับสมาธิเกี่ยวกับร่างกายเกี่ยวกับระบบประสาทหรือเป็นการหลอนของประสาทไม่ต้องสนใจกำหนดสมาธิต่อไปไม่ต้องสนใจกับสิ่งเหล่านั้นจนกว่าจะเกิดความพอใจในการปฏิบัติได้สำเร็จนั้นแหล่ะปิติที่แท้จริง เพียงแต่ว่าพอใจที่ได้ทำพอๆนั่งลงสำหรับจะทำสมาธิก็พอใจอ้อโอกาสดีโชคดีได้ทำก็ได้เหมือนกันแหล่ะเป็นปิติเป็นปิติอย่างหยาบๆเป็นปิติพื้นฐานยังไม่ใช่ปิติขององค์สมาธิ ปิติว่าได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนานี่มีได้ตลอดเวลา พอใจที่กำหนดอารมณ์สำเร็จเกิดความสุขแสดงว่าถูกต้องๆพอใจรู้สึกอยู่ในความเป็นสมาธินั้นเองปิติอย่างนี้เป็นองค์ของสมาธิเรียกองค์ของฌานในขั้นแรกก็รู้สึกเป็นสุขด้วยแล้วก็พอใจในความสุขนั้นด้วยจึงเรียกว่ามีวิตกมีวิจารณ์มีปิติมีสุขมีเอกคตาการกำหนดอารมณ์การรู้ต่ออารมณ์แล้วก็พอใจแล้วก็เป็นสุขแล้วก็มีอารมณ์อันเดียวอยู่ที่นั้นนี่แหล่ะปิติที่เป็นองค์ของสมาธิ มีประโยชน์ที่จะทำให้ทำสมาธิอย่างสนุกสนานอย่างพอใจยิ่งๆขึ้นไปหล่อเลี้ยงวิริยะคือการกระทำแต่ว่าในที่สุดก็ต้องละนะในที่สุดก็ต้องละให้เหลือแต่ความเป็นสมาธิจะมามัวปิติๆอย่างงี้ไม่ได้มันเออมันๆๆๆไม่ไปอ่ะมันมัวหลงอยู่ในปิติก็ติดอยู่ที่นี้ละปิติเสียละสุขเสียเป็นความกลางๆเฉยๆแล้วก็เป็นสมาธิด้วยเอกคตาจิตมีอารมณ์เดียว อารมณ์เดียว อารมณ์เดียว ไปเพ่งหวังแต่ความดับทุกข์โน้นมุ่งความดับทุกข์เป็นเบื้องหน้า ปิติเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องใช้เพื่อเกิดกำลังในการปฏิบัติแต่ครั้นเกิดการปฏิบัติแล้วจะมามัวนั่งปิติอยู่ที่นี่ไม่ได้ก็ต้องละไปอีกทีเพื่อผลที่ดีกว่านั้นต่อไปข้างหหน้าแต่ว่าอย่างไรก็ดีในการทำการงานทั้งหลายแม้ในทางโลกๆเนี่ยขอให้มีปิติพอใจๆอยู่ในการกระทำนั้นไม่ว่าจะทำนาทำสวนขุดดินอะไรก็ตามเถอะพอใจๆในการกระทำนั้นมันทำให้เหนื่อยน้อยมันทำให้ทำได้มากทำได้ดีจะว่ามีโทษมันก็ไม่ๆเชิงมันมีประโยชน์แต่ถ้าไปหลงกับมันๆก็ตีบตันอยู่ที่นั้นมันก็ก้าวหน้าไปไม่ได้มันจะพอใจซาบซ่าไปบ้างมันก็ปล่อยไปตามเรื่องเราทำมุ่งหมายข้างหน้าเป็นสมาธิต่อไปอีกอย่าไปสนใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆซึ่งมันจะต้องซึ่งมันจะต้องมีแทรกแทรงขึ้นมาเป็นธรรมดา สำหรับผู้ที่มีระบบประสาทไม่ค่อยจะปกติด้วยแล้วสิ่งแทรกแทรงเหล่านี้จะมีมากแล้วแปลกมากที่สุดไม่ต้องสนใจกำหนดอารมณ์ของสมาธิทำสมาธิต่อไปหนักขึ้นดีกว่า นั้นแหล่ะเพียงแต่รู้ว่ามันมีก็ปล่อยมันดีกว่ารู้ว่ามันมี รู้ว่ามันมี รู้ว่ามันรู้สึกปิติก็พอไม่ต้องไปสนใจให้ความหมายอะไรกับมันมากมันจะช้ามันจะมาติดอยู่ที่นี่ทำสมาธิต่อไปกำหนดอารมณ์ให้ละเอียดให้ไกลอออกไปไกลออกไปให้สูงขึ้นไปไม่มาหลงในปิติเว้นไว้แต่มีความต้องการจะหยุดอยู่ที่นี่จะหาความสุขอยู่ที่นี่ก็ได้เหมือนกันนะมันก็ติดอยู่ที่นั้น ปิติหลายชนิดไปรู้จักใช้เป็นประโยชน์ตามความชนิดของมัน มันเป็นกำลังใจให้ๆเพิ่มกำลังใจ พูดกันง่ายๆก็ไม่รู้ไม่ชี้ทำสมาธิต่อไปสลัดออกเสียในฐานะเป็นสิ่งที่ไม่ประสงค์ชั่วคราวทำสมาธิต่อไปทำสมาธิต่อไป
คือเคยอ่านพบที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์เคยได้อ่าอ่านมาว่าไอ้คำว่าธรรมราคะเนี่ยมีความรู้สึกยังไงจิตใจมีความรู้สึกยังไงครับธรรมะที่คำว่าความหมายของคำว่าธรรมราคะ นั้นเรื่องภาษาไม่ใช่เรื่องธรรมะแต่เป็นเรื่องของภาษายืมมาใช้พูดในกรณีที่ต้องการจะพูดอย่างนั้น ราคะมันมีในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสและก็มีความหมายมากมีความรุนแรงมากขอยืมมาใช้หน่อยว่าขอให้เราราคะหรือความรู้สึกอย่างนั้นน่ะในสิ่งที่เรียกว่าธรรมะมีความพอใจยินดีในสิ่งที่เรียกว่าธรรมะให้มีน้ำหนักนะเท่ากับที่มีราคะในกามารมณ์ ยืมมาใช้เป็นเรื่องทางภาษาถ้ามีฉันทะในธรรมะเนี่ยคือคำพูดที่ธรรมดาคำพูดธรรมดาที่ถูกต้องแต่ใช้เอาคำที่พิเศษมาใช้เพื่อโฆษณานี่ก็ใช่ว่าธรรมราคะก็ได้เหมือนกันมันจะเข้าใจง่ายสำหรับผู้ที่มีราคะแต่ก็ยังมีคำอื่นๆอีกหลายคำคือไปยืมเอาคำฝ่ายใช้กันอยู่ในเรื่องของกิเลส ยืมมาใช้ในฝ่ายของธรรมะเพื่อเอาแต่น้ำหนักหรือความหมายหรือกำลังๆของมันเท่านั้นเองเราจึงมีความพอใจในธรรมะเหมือนที่คนพวกโน้นมีความกำหนัดพอใจกามารมณ์ไม่ใช่ตัวปฏิบัติเป็นภาษาที่ใช้พูดเพื่อการโฆษณาหรือเพื่อการชักชูงให้เกิดกำลังใจ ธรรมราคะก็ๆเรียกธรรมนันทิก็ๆเรียก ล้วนแต่เป็นเรื่องยืมภาษากิเลสมาใช้ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าจะได้ใช้คำนี้หรือไม่ก็ยังไม่แน่แต่ว่าในภาษาหนังสือในๆชั้นบาลีที่กล่าวไว้ในสูตรโดยเฉพาะในอัฐคาถาแล้วล่ะก็ใช้คำอย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านก็ใช้คำอย่างนี้เมื่อต้องการให้เกิดความหมายรุนแรงกระทบจิตใจ กระทบจิตใจแก่ผู้ฟังท่านก็ใช้คำประเภทนี้ด้วยเหมือนกัน พระอานนท์ยังใช้คำว่าละอาศัยตัณหาละตัณหา อาศัยราคะละราคะนี้ก็ยิ่งหนักเข้าไปอีกแต่มันเปลี่ยนความหมายราคะหรือตัณหาในธรรมะที่จะช่วยให้รอดไม่ใช่ตัณหาราคะในการที่จะจมอยู่ในกองทุกข์พอใจในพระนิพพานให้มากเท่าที่คนมีราคะพอใจในกามารมณ์ขอยืมความหมายมาเทียบเคียงอย่างนี้ ยังอีก 15 นาที
ถ้าไม่มีใครพูดอาตมาก็จะใช้เวลา 15 นาทีเนี่ยพูดต่อในเรื่องที่มันเกี่ยวข้องกับเราสงสัยไหมพอพูดว่ากับเราเนี่ยทำไมไม่สงสัยว่าเราไหนก็ไหนอนัตตาไม่มีเรา คำว่าเราในที่นี้ก็เลยสมมุติๆว่าอะไรเป็นเราก็นั่นแหล่ะเอาสิ่งที่สมมุติพูดกันตามภาษาธรรมดาๆว่าเราว่าฉันทั้งที่ไม่มีตัวเราไม่มีตัวฉันแม้พระพุทธเจ้าท่านก็ต้องใช้คำพูดแบบนี้เหมือนกันแหล่ะแม้เป็นพระพุทธเจ้าแม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ใช้คำพูดธรรมดาพูดเหมือนกันเช่นพระพุทธเจ้าตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม ทั้งที่ท่านสอนว่าไม่มีเราไม่มีตนแต่ท่านก็ต้องพูดเมื่อพูดกับคนธรรมดา พูดกับคนธรรมดาก็ต้องพูดภาษาธรรมดาหรือว่าพูดให้เข้าใจกับคนทั่วไปก็ต้องพูดภาษาคนทั่วไปนั่นจึงใช้คำพูดธรรมดาเพราะว่าคนธรรมดามีปัญหาอยู่กับเรื่องของธรรมดาอย่างนี้เรื่องของสมมุติเรื่องของหลงในสมมุติเออในความยึดมั่นถือมันว่ามีตัวเราท่านจึงใช้คำว่าเราหรือใช่คำว่าพระพุทธเจ้าของเราหรือพระพุทธเจ้ากับเราไอ้คนที่เขายึดคำพูดเป็นหลักเอ๊ยไอ้นี้บ้าแล้วไหนว่าไม่มีเราไหนไม่มีเรา เราก็เรียกว่าพูดตามสมมุติที่ว่ามีเราชาวบ้านร้านตลาดคนเดินถนนทั้งหลายก็ต้องพูดว่าเราว่าเขาว่าไปตามเรื่องเรียกว่าโดยสมมุติเราสมมุติว่าเราคืออะไร อะไรคือเราเอานั้นแหล่ะเป็นเราเพราะนั้นแหล่ะคือตัวปัญหาความโง่ว่ามีเราแหล่ะคือตัวปัญหามันต้องเอาหนามบ่มหนาม เอาหนามบ่มหนาม เอาเรานั้นแหล่ะฆ่าเราเสียเราจะต้องรู้จักตัวเราจนเห็นว่าไม่มีตัวเราไปเรื่อยๆจนไม่มีตัวเราจนเขาเลิกพูดตลอดเวลาที่เรายังไม่รู้สึกว่าตัวเราอยู่เราก็มีปัญหาเรื่องตัวเรามีปัญหาเรื่องตัวเราคือจะหาที่พึ่งให้แก่ตัวเราจะช่วยตัวเราจะช่วยตัวเอง พระพุทธเจ้ากับเรานี่เรียกๆๆว่าเป็นตัวปัญหาพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นนี่เราก็จะได้เห็นชัดต่อไปว่าผู้ใดมีธรรมะผู้นั้นก็มีพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราผู้ใดมีธรรมะผู้นั้นก็มีเราผู้นั้นก็มีพระพุทธเจ้านี้มันก็เป็นไอ้หลักที่ทำให้เรามีพระพุทธเจ้าดีว่ามีแม้ว่าเราจะเป็นอย่างสมมุติไม่มีตัวจริงแต่ว่ามีตัวจริงที่มีปัญหาอยู่ในจิตใจเราก็มีพระพุทธเจ้าอยู่กับเราคือมีอยู่กับจิตใจที่โง่ว่าเรามันก็จะชะล้างความโง่นั้นออกไปจนกระทั่งไม่มีตัวเรานี่พูดอย่างธรรมดาๆกันก่อนภาษาของคนธรรมดาว่าถ้ามีธรรมะก็มีเราซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเห็นธรรมะคือเห็นเราเห็นธรรมะก็คือเห็นเรามีธรรมะก็คือมีเราปฏิบัติธรรมะก็คือปฏิบัติต่อเราใครมีธรรมะคือมีเราๆก็ช่วยผู้นั้นโดยสมมุติก็เป็นอย่างนี้จึงทำให้เกิดพระพุทธเจ้าในความหมายนี้ขึ้นมาคือธรรมะๆๆมันๆมีความหมายกว้างจนไม่ๆมีขอบเขตจะมีความหมายเฉพาะอยู่ความหมายหนึ่งธรรมะคือหน้าที่ตามกฏของธรรมชาติ ธรรมชาติทั้งหมดก็เป็นธรรมะกฏของธรรมชาติก็เป็นธรรมะหน้าที่ตามกฏของธรรมชาตินั้นแหล่ะคือตัวธรรมะที่เกี่ยวข้องกับเรา เรามีหน้าที่ๆจะปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติครั้นเรามีธรรมะอย่างนี้แล้วเราก็มีพระพุทธเจ้าอยู่กับเราตลอดเวลาที่เรามีเราอยู่ก็มีพระพุทธเจ้าอยู่กับเราพอหมดเราก็เลิกกันเราก็ไม่ได้มี ไม่ได้มีพระพุทธเจ้ามันว่างไป ตลอดเวลาที่มันยังไม่ว่างมันยังมีตัวเราจิตมันยังไม่ว่างจิตมันยังมีตัวเรา เราก็ต้องมีสิ่งที่จะทำที่พึ่งให้แก่ตัวเราสิ่งนั้นก็คือธรรมะศึกษาธรรมะก็คือศึกษาพระพุทธเจ้าเพราะธรรมะคือๆองค์พระพุทธเจ้านั้นรู้จักธรรมะก็รู้จักพระพุทธเจ้าตัวธรรมะๆนะคือองค์พระพุทธเจ้าอย่าลืมประโยคที่ตายตัวผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม เห็นธรรมคือเห็นปฏิจจสมุปบาทคือเห็นว่าความทุกข์อาศัยการเกิดขึ้นอย่างไรความทุกข์อาศัยการดับลงไปอย่างไรความจริงข้อนี้แหล่ะคือปฏิจจสมุปบาทเห็นความจริงข้อนี้คือว่าเห็นธรรม เห็นธรรมคือเห็นองค์พระพุทธเจ้าคือองค์หรือสิ่งที่จะช่วยดับทุกได้จะช่วยดับทุกได้ขอให้เห็นปฏิจจสมุปบาทเถิดแล้วจะเกิดเป็นการเห็นพระพุทธเจ้าคือสิ่งหรือผู้หรืออะไรก็ตามเอเย่นต์อะไรก็ตามที่มันจะช่วยดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้ ให้เราเห็นปฏิจจสมุปบาทว่าทุกข์เกิดอย่างไรทุกข์ดับอย่างไรนี้อยู่ในการปฏิบัติที่เรามีหัวข้อให้ศึกษาแล้วรู้ปฏิจจสมุปบาทแล้วก็ปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทให้ถูกต้องตามกฏก็คือปฏิอานาปานสติ รู้จักเราคือพระพุทธเจ้าก็สามารถปฏิบัติเรานี่ก็รู้รสของธรรมะเรารู้รสของเราให้ทานธรรมะออกไปก็คือให้เราให้เราให้พระพุทธเจ้าเราแจกพระพุทธเจ้าเมื่อดื่มธรรมะก็คือดื่มพระพุทธเจ้ามันเป็นคำพูดที่ค่อนข้างจะฟังง่ายดื่มธรรมะคือดื่มพระพุทธเจ้าเพราะธรรมะคือพระพุทธเจ้าถ้าอิ่มไปด้วยธรรมะก็อิ่มไปด้วยพระพุทธเจ้าไม่มีความอิ่มอันไหนจะดียิ่งไปกว่าความอิ่มอันนี้ไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดปัญหามันหมดปัญหาไม่มีกิเลสไม่มีความทุกข์ไม่เกิดทุกข์พระพุทธเจ้าที่เป็นพระองค์ธรรมคืออย่างนี้คือผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรมพระพุทธเจ้าองค์นี้เรียกว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมเป็นตัวธรรม ธรรมเป็นตัวพระพุทธเจ้าแล้วก็มีพระพุทธเจ้าที่คนเข้าใจไม่ถูกหรือหลงกันนักคือพระพุทธเจ้าพระองค์คน คนที่มีร่างกายเนื้อหนังอย่างคนนี่เรียกว่าเกิดเมื่อสองพันกว่าปีเป็นลูกพระเจ้าสุทโธทนะกับนางสิริมหามายาเราอ่านกันตามพุทธประวัตินั้นพระพุทธเจ้าพระองค์คนเดี๋ยวนี้เรามันติดกันอยู่กันแต่พระพุทธเจ้าพระองค์คนไม่ออกไปถึงพระพทุธเจ้าพระองค์ธรรมเราจงศึกษาธรรมปฏิบัติธรรมจนเรามีธรรมดื่มธรรมอิ่มธรรมเราก็มีพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมที่จะช่วยได้จริงพูดกันง่ายๆพระพุทธเจ้าพระองค์คนเมื่อสองพันกว่าปีตายแล้วเผาแล้วเหลือแต่กระดูกแล้วจะมาช่วยอะไรนี้พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม พระองค์ธรรมเนี่ยมันอยู่ในเรามาอยู่ในใจมาอยู่ในชีวิตจิตใจแล้วก็ช่วยได้จริงนั้นขอให้รู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมที่สามารถน้อมนำมาอยู่ในชีวิตจิตใจแล้วก็ช่วยได้จริงพระพุทธเจ้าพระองค์คนนั้นก็มีประโยชน์ที่ว่าได้สอนให้เรารู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมพระพุทธเจ้าพระองค์คนท่านรู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมก่อนๆแล้วท่านก็สอนไว้ สอนไว้ สอนไว้ เป็นคำสอนสืบมาถึงเราให้เราสามารถรู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมเราขอบพระคุณพระพุทธเจ้าพระองค์คนที่ช่วยให้เรารู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมพระพุทธเจ้าพระองค์คนนะชั่วขณะ ชั่วขณะ ตายแล้วเผาแล้วพูดคำขออภัยพูดคำธรรมดาไปหน่อยแต่ไม่ใช่ดูถูกจ่วงจาบพระพุทธเจ้าว่าตายแล้วเผาแล้วนะแต่พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมเนี่ยเป็นนิรันดร์ไม่มีเกิดไม่มีตายอยู่นิรันดร์ อยู่นิรันดร์ ใครเห็นก็เห็นใครไม่เห็นก็ไม่เห็นเราอาศัยความรู้ความแนะนำช่วยเหลือของพระพุทธเจ้าพระองค์คนแล้วเราก็เข้าถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม พระองค์ธรรมจะมีอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งเดี๋ยวนี้พระพุทธเจ้าพระองค์คนจะเหลือแต่กระดูกเหลือแต่สิ่งที่เขาทำแทนขึ้นมาแทนสมมุติเช่นพระพุทธรูปเป็นต้นนี่เป็นพระองค์แทน พระองค์แทน แต่ว่าอะไรๆจะมาแทนพระพุทธเจ้าพระองค์จริงได้ไม่มีดีเท่ากับธรรมะพระสารีริกธาตุก็พระสารีริกธาตุ พระพุทธรูปก็พระพุทธรูปแต่ที่จะแทนองค์พระพุทธเจ้าพระองค์จริงได้จริงก็คือธรรมะที่มีอยู่ในหัวใจเราท่านจงปฏิบัติอานาปานสติให้สำเร็จแล้วก็ท่านจะมีธรรมะๆที่พระพุทธเจ้าพระองค์จริงมาอยู่ในหัวใจของท่านแล้วคุณสมบัติอันนั้นจะคุ้มครองๆๆๆไม่ให้เกิดความทุกข์โดยประการทั้งปวงประสพความสำเร็จสูงสุดตามความมุ่งหมายของสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่เป็นพระองค์คนก็จะช่วยให้ในข้อนี้ให้ดับทุกข์ยิ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมแล้วก็มีความมุ่งหมายมีเจตนารมณ์ไรเป็นการช่วยให้ดับทุกช์ ดับทุกข์ ดับทุกข์ มันจงเลื่อนจากพระพุทธเจ้าพระองค์แทนมาสู่พระองค์คนเลื่อนจากพระองค์คนไปสู่พระองค์ธรรมคือพระองค์จริงมันอย่าได้ติดอยู่เพียงแค่พระพุทธรูปหรือพระบรมธาตุหรือแม้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์คนที่นิพพานไปแล้วให้มาถึงพระพุทธเจ้าพระองค์จริงที่เป็นนิรันดร์ที่สามารถที่จะเข้ามามีอยู่ในจิตใจของเราได้ทันทีที่เรามีธรรมะปฏิบัติธรรมะมีธรรมะแล้วพระพุทธเจ้าพระองค์จริงก็จะเสด็จมาประดิษฐานอยู่ในเราร่างกายเราก็เป็นโบสถ์แท้จริงสำหรับพระพุทธเจ้าน่ะประทับอยู่ พระพุทธเจ้าพระองค์คนไม่รู้จักโบสถ์ฟังถูกไหมในสมัยพุทธกาลไม่มีโบสถ์พระพุทธเจ้าของเราไม่รู้จักโบสถ์เพราะโบสถ์มันพึ่งสร้างขึ้นทีหลังเมื่อมีพระพุทธรูปหรือมีอะไรแล้วพระพุทธเจ้าพระองค์คนพระพุทธเจ้าสิทธัตถะโคตะมะไม่รู้จักโบสถ์ไม่มีโบสถ์ในครั้นพุทธกาลไม่มีโบสถ์ถ้าจะทำสังฆกรรมก็จะทำกลางแจ้งกลางลานกลางไรงี้มีวินัยบัญญัติไว้ว่าถ้าฝนตกหรือพายุมาเลิกๆๆได้ไม่เป็นไรเพราะมันไม่มีอาคารมันไม่มีโบสถ์ถาทำสังฆกรรมก็ทำตามธรรมชาติหรือถ้าว่าวิหารมันใหญ่โตพอที่จะประชุมในวิหารที่อยู่ที่อาศัยได้ก็ทำในนั้นได้อย่างนี้ก็มีบางสูตรกล่าวถึงไอ้ทำสังฆกรรมในวิหารที่อยู่อาศัยโบสถ์อย่างที่เรามีกันอยู่เดี๋ยวนี้ร้อยล้านไม่มีพระพุทธเจ้าไม่รู้จักแต่มาทำร่างกายของเรานี้ให้เป็นโบสถ์ให้พระพุทธเจ้าพระองค์จริงคือพระองค์ธรรมมาอยู่ในโบสถ์คือร่างกายของเราทำกายวาจาใจของเราให้เป็นเสมือนหนึ่งโบสถ์อันบริสุทธิ์ให้มันถูกต้องแล้วพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมก็จะเสด็จมาอยู่ในโบสถ์นี้เองไม่ต้องเชื้อเชิญท่านก็มาเองพระพุทธเจ้ากับเราเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้ากับเราเป็นอย่างนี้ เราจะมีพระพุทธเจ้าอย่างนี้เราจงทำไอ้สิ่งที่เรียกว่าเราให้เลิกความเป็นเรากลายเป็นโบสถ์ให้พระพุทธเจ้าพระองค์จริงมาประทับอยู่เถิดจะมีอะไรดีกว่านี้มีขันธ์ห้าที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลสเป็นโบสถ์ให้พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมมาประทับอยู่แล้วขอสรุปความว่าพระพุทธเจ้าพระองค์จริงกับเราน่ะมีโอกาสที่จะพบปะกันแล้วก็ไล่เราออกไปเสียจากร่างกายเบญจขันธ์อัตภาพนี้ยกร่างกายเบญจขันธ์อัตภาพนี้ให้เป็สำหรับนโบสถ์พระพุทธเจ้าพระองค์จริงประทับอยู่โดยตลอดไปเรื่องจบแล้วพระพุทธเจ้ากับเราก็จำไปพระพุทธเจ้ากับเรา เรากับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ากับเรามีข้อเท็จจริงอย่างนี้ขอให้ท่านทั้งหลายทุกคนจงประสพความสำเร็จในการทำชีวิตร่างกายนี้ให้เป็นเหมือนโบสถ์เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์จริงคือพระองค์ธรรมแล้วท่านทั้งหลายก็มีธรรม ดื่มธรรม ธรรมอิ่ม ธรรมเจริญอยู่ด้วยธรรมเป็นสุขทุกทิวาราตรีกาลเทอญ ขอยุติการบรรยาย