แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
สมาชิกเเละกลุ่มนักศึกษาปฎิบัติธรรมเเละท่านผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย ก่อนอื่นทั้งหมดอาตมาขอเเสดงความยินดีในการมาหรือในการกระทำเช่นนี้ของท่านทั้งหลาย ซื่งเมื่อทำเเล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเเก่ความก้าวหน้าของพระศาสนา ซึ่งหมายถึงประโยชน์สุขของมหาชนนั่นเอง มันตกเป็นหน้าที่ของพวกเรา พุทธบริษัททั้งหลายที่จะต้องทำในส่วนนี้ ถ้าพุทธศาสนามีอยู่ได้พุทธบริษัทก็มีอยู่ได้ โลกนี้มันก็มีธรรมะ ศาสนาอยู่ได้ ก็จะได้เป็นโลกที่หน้าดู อยู่อย่างมีสันติสุข ดังนั้นกิจกรรมใดใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในส่วนนี้เเล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา จึงขอเเสดงความยินดีเเละอนุโมทนา
วันนี้เราประชุมกันในสภาพอย่างนี้คือนั่งกลางดิน บางคนยังไม่เคยทราบว่าทำไมต้องนั่งกลางดิน ใต้ต้นไม้ ก็ขอบอกให้ทราบว่ามันมีความหมายนั่นเเหละเป็นเจตนาของที่นี่ที่จะให้ทุกคนคุ้นเคยกับที่นั่งที่นอนของพระพุทธเจ้าคือกลางดินหรือโคนต้นไม้ ท่านมาที่นี่จะได้รับสิ่งนี้คงซึ่งไม่ค่อยมีหนะที่อื่นที่จะได้นั่งกันกลางดินเเละโคนต้นไม้ โดยจุดมุ่งไปถึงข้อที่ว่าพระพุทธเจ้าท่านประสูติกลางดินโคนต้นไม้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้มานั่งกลางดินโคนต้นไม้ พระพุทธเจ้าสอนโดยทั่วๆไปก็กลางดินเเละโคนต้นไม้ ที่อยู่ข้างๆก็พื้นดิน ส่วนมากท่านประทับทิวาวิหารกลางดิน โคนต้นไม้ ในที่สุดท่านก็นิพพานกลางดินเเละโคนต้นไม้ เราจึงกล่าวได้ว่าเเผ่นดินเเละโคนต้นไม้นี่เเหละเป็นของโปรดปรานของพระพุทธเจ้า เราควรจะรู้จัก ควรจะชอบ เราควรจะถือเอาเป็นอนุสสติ จึงเมื่อมาที่นี่จะต้องถือเอานี้เป็นอนุสสติติดใจให้กลับไปว่าได้มานั่งกลางดินโคนต้นไม้ซึ่งเป็นที่นั่งที่นอนที่ประทับที่อยู่ที่นิพพานของพระพุทธเจ้า เพียงเเต่นั่งลงไปกลางดินเท่านั่นเเหละจิตใจก็เปลี่ยนมากทีเดียว เเล้วก็ไม่เหมือนกับที่ว่าเราจะนั่งบนที่นั่งอันสบาย บนตึกราคาเป็นล้านๆ ที่เขาใช้เป็นที่ประชุมอะไรกัน เดี๋ยวนี้ประชุมอะไรกันหน่อยก็ต้องบนโรงเเรมชั้นสูง เขาจัดไว้เป็นที่ประชุม ไม่เคยเห็นว่ามาประชุมกันกลางดิน เเม้ประชุมเรื่องดิน เรื่องนา เรื่องวัชพืชในนา เขาก็ประชุมกันบนโรงเเรมที่มีความสบายเหมือนกับวิมาน ยังเล่นตลกหลอกตัวเองอยู่เสมอสิ่งต่างๆมันจึงไม่ค่อยจะเป็นไปด้วยดี เดี๋ยวนี้เราจะพูดกันถึงเรื่องธรรมะของพระพุทธเจ้า เราจึงมานั่งกันในลักษณะอย่างนี้ ซึ่งเป็นที่เกิดของธรรมะ บางคนจะไม่เข้าใจ บางคนคิดเกิดของธรรมะ พระพุทธวัจนะทั้งหมดทั้งสิ้นจะเรียกว่าพระไตรปิฎกหรือว่าใดๆก็ตาม มันเกิดกลางดิน ไม่ได้เกิดบนตึกมหาวิทยาลัย เอาไปเปรียบเทียบดูเถิดว่าลักษณะอย่างไร มันต่างกันอย่างไร เเม้ตัวหนังสือหรือข้อความมันต่างกันมากเเหละกับที่เขาเอามาทำเป็นสมัยใหม่ทำเป็นปรัชะญาสอนกันในมหาวิทยาลัยนี่ มันต่างกันคนละทิศละทางเลยเเหละ พุทธศาสนาเดิมๆของเราควรจะนึกถึงไว้ว่ามันมีอย่างไร มีอยู่อย่างไร เราจะได้พูดกันถึงเรื่องนั้นมากกว่า จึงขอซ้อมความเข้าใจเรื่องนั่งกลางดินอย่างที่นั่งอยู่นี้ ถ้าใครไม่ชอบ ใครจำใจฝืนนั่งก็คิดเสียใหม่ให้เห็นว่ามันเป็นที่ที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดมีเกรียติที่สุด ในฐานะเป็นที่นั่งที่นอนที่นิพพานของพระพุทธเจ้า นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของสวนโมกข์ ท่านมาสวนโมกข์เมื่อไรก็ขอให้ตั้งใจว่าจะมานั่งกลางดินโคนต้นไม้เเบบนี้ เเล้วรู้สึกอย่างไรขอให้ติดไปด้วยขอให้ติดไปในใจด้วย พอนั่งลงกลางดินไอ้กิเลสประเภทยกหูชูหางมันลดไปเองเเหละ มันลดไปตามธรรมชาติเอง เราอยู่ให้ต่ำโดยทางวัตถุโดยทางร่างกาย ต่ำโดยทางวัตถุโดยทางร่างกายทางจิตทางวิญญาณมันก็ไปสูง ถ้าเราไปสูงทางกายทางวัตถุเเล้วจิตมันก็ไปต่ำ มันจะสวนทางกันอยู่อย่างนี้ นั่งนอนกลางดินนี่จิตมันจะอย่างหนึ่งกับนั่งนอนบนวิมาน เเต่ก็ไม่มีใครที่ว่าอยากจะนั่งนอนกลางดิน อยากจะอยู่วิมานกันทั้งนั้นหละ ทำบุญอะไรสักนิดหนึ่งก็อธิษฐานให้ได้วิมานไปอยู่วิมาน ข้อนี้ขอให้คิดกันเสียใหม่
ทีนี้ก็อยากจะพูดซักหน่อยหนึ่งไม่ใช่ว่าค่อนเเคะหรือตำหนิติเตียนอะไรเป็นเรื่องบอกให้ทราบถึงเรื่องคำ ประโยคที่ใช้ชื่อของกลุ่มที่ใช้ของคณะนี้เรียกกลุ่มนักศึกษาเเละปฏิบัติธรรมได้ยินครั้งเเรกมันก็รู้สึกว่ายาว ยาว นักศีกษากลุ่มนักปฏิบัติธรรมรู้สึกว่ามันยาว ถ้าพูดโดยภาษาชาวบ้านธรรมดา ภาษาคนธรรมดามันก็ถูกมันมีเหตุผลทีว่า เราจะต้องศึกษาเสียก่อนเเล้วจึงปฏิบัติ เกิดเป็นสองเรื่องคือศึกษาเเละก็ปฏิบัติ ชาวบ้านเรียนหนังสือไทยภาษาไทยธรรมดาจะรู้สึกอย่างนั้นเสมอว่าการศึกษาเเละการปฏิบัตินั้นมันเป็นสองเรื่องกันอยู่เราเลยต้องมีทั้งสองเรื่อง เเต่ถ้าพูดตามหลักภาษาธรรมะภาษาศาสนาหรือตัวจริงของธรรมะของศาสนา มันไม่มีหรอกคำว่าการศึกษาอย่างที่เราศึกษากันอยู่ ไม่มี ศึกษาที่เรียนจากหนังสือเนี่ยมันไม่มี เพราะมันไม่มีการใช้หนังสือ มันก็ปฏิบัติเเละคำว่าศึกษาก็หมายถึงการปฏิบัติ เช่นคำว่าศีลสิกขา ไม่ใช่เล่าเรียนเรื่องศีลเเต่หมายถึงการปฏิบัติศีล จิตตสิกขา ก็ ไม่ใช่เล่าเรียนเรื่องสมาธิอ่านหนังสือเรื่อสมาธิตำราเรื่องสมาธิ มันไม่มี มันมีปฏิบัติสมาธิเลย ปัญญาสิกขาก็เหมือนกันไม่ใช่อ่านเรื่องราวทางสติปัญญา ปรัชญา เเต่มันเป็นการปฏิบัติปัญญาเลย ศีลสิกขาปฏิบัติศีล จิตตสิกขาปฏิบัติปฏิบัติสมาธิ ปัญญาสิกขาปฏิบัติปัญญา จึงไม่มีคำว่าการศึกษา เพราะฉะนั้นเราใช้คำว่าปฏิบัติธรรมหละก็มันจะหมายถึงการศึกษาด้วย เเละโดยธรรมชาติมันเป็นอุปกรณ์หรือมันเป็นเบื้องต้นของการปฏิบัติอยู่เเล้ว ถ้ามีการปฏิบัติมันก็หมายความว่ามีความรู้สำหรับจะปฏิบัติเป็นเเน่นอน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงใช้คำว่าสิกขาเเละหมายถึงการปฏิบัติเเละหมายถึงการเล่าเรียน อย่างเล่าเรียนปริยัติ เรื่องปริยัติเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยหลังในสมัยที่มีการใช้หนังสือเเล้ว หลายร้อยปีหลังพุทธกาลจึงจะมีการใช้หนังสือเเล้วก็เล่าเรียนกันอย่างวิชาหนังสือใช้ขีดใช้เขียนใช้จดใช้จำด้วยหนังสือ ก่อนนี้มันก็เรียนด้วยปาก พูดกันไม่กี่คำจำไว้ในใจเเล้วก็ปฏิบัติ ที่นี้ข้อเท็จจริงมันมีอยู่ว่าไอ้ความรู้ที่จะเกิดขึ้นเป็นความรู้เเท้จริงนั้นไม่สำเร็จมาจากการศึกษาเหมือนที่ศึกษากันอยู่ ความรู้ที่เเท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการปฏิบัติเเล้วจึงจะได้รับสิ่งที่เรียกว่าความรู้ นี่ถ้าเป็นธรรมะ รู้ธรรมะต้องเป็นอย่างนี้ คือว่าเราอยากจะรู้อะไรเดี๋ยวนี้นะหมายถึงปัจจุบันนี้เราอยากรู้เรื่องอะไร เราก็เอาหนังสือเรื่องนั้นที่เค้าพิมพ์กันไว้เยอะเเยะมาอ่านดู มันก็รู้เเค่อ่านหนังสือเเค่จำได้ ยังไม่ใช่ความรู้ เราเอาหนังสือมาอ่านดูพิจารณาดู โอ้นี่มันมีเหตุผลที่คงจะดับทุกข์ได้เเม้เป็นเรื่องที่เราไม่รู้มาก่อน มันย่อมเเสดงเหตุผลอยู่ในตัวว่ามันคงจะดับทุกข์ได้ตามข้อความนี้ ทีนี้เราก็ปฏิบัติตามนั้น ลงมือปฏิบัติตามที่เห็นว่ามันคงจะดับทุกข์ได้ พอปฏิบัติเเล้วมันก็ได้ผลดับทุกข์ได้ ตอนนี้จึงจะเรียกว่าความรู้มีความรู้ที่เป็นความรู้จริง ตามหลักของธรรมะในพระพุทธศาสนา รู้ธรรมะคือรู้อย่างนี้ ไม่ใช่รู้เพราะอ่านหนังสือซึ่งเดี๋ยวนี้ชักจะเฟ้อก็ยังไม่ค่อยจะรู้อะไร นอกจากความจำไว้พูดไว้เถียงกันไม่ใช่ความรู้ที่เเท้จริงในพระพุทธศาสนาเลย ความรู้ที่เเท้จริงจะเกิดหลังจากปฏิบัติเเล้ว เพราะฉะนั้นเราอ่านเราศึกษาในเเง่ของการศึกษาธรรมดานี่พอปฏิบัติได้ เเล้วไปปฏิบัติเเล้วมีผลเกิดขึ้นนั่นจึงจะเรียกว่าความรู้ที่เเท้จริง รู้ธรรมะที่เเท้จริงหรือเป็นความรู้ในความหมายของพระศาสนา จึงเห็นว่าไอ้คำว่า การเรียนนั่นมันยังไม่ใช่เรื่องของความรู้ ตัดออกไปได้ ถ้าพูดถึงสิกขาหมายถึงการปฏิบัติ การปฏิบัติหมายถึงการปฏิบัติศีลเเล้วรู้จักศีล ปฏิบัติสมาธิเเล้วรู้จักสมาธิ ปฏิบัติปัญญาเเล้วรู้จักปัญญา นี่เรียกว่าความรู้ซึ่งรู้ด้วยจิตใจรู้ด้วยสติปัญญา คือรู้ด้วยใจจริงไม่ใช่รู้ทางหนังสือซึ่งเป็นความจำ เพราะฉะนั้นเรารู้ธรรมะกันก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติธรรมะนั้นเเล้ว นั่นหละขอให้ถือไว้เป็นหลัก ที่พูดนี้ไม่ใช่จะติเตียนชื่อของคุณที่ให้ไว้ ได้ตั้งขึ้นไว้ว่ากลุ่มนักศึกษาเเละปฏิบัติธรรม เเต่เพียงชี้ให้เห็นว่าตามตัวหนังสือกับตามข้อเท็จจริงในทางธรรมนั้นเป็นอย่างที่ว่า เดี๋ยวจะไปยืดมั่นถือมั่นในส่วนที่เป็นการศึกษามาก เเล้วก็จะเสียเวลาสำหรับการปฏิบัติ อย่าให้ อย่าให้ความสำคัญเท่ากันเลย ที่เราจะต้องสนใจมากที่สุดคือการปฏิบัติ ปฏิบัติเเล้วจึงจะมีความรู้ เพราะฉะนั้นการศึกษามันจะมีผลก็ต่อเมื่อปฏิบัติเเล้ว คือมีการศึกษาต่อเมื่อปฏิบัติเเล้ว เพราะฉะนั้นขอให้สนใจเรื่องการปฏิบัตินั่นเเหละว่าเป็นตัวหลักเป็นตัวเเกน เป็นตัวเเก่นของธรรมะ นี่จะเป็นการก้าวหน้าเเละเป็นความเเน่นอนมั่นคงยิ่งขึ้นไปอีก นี้เรื่องหนึ่งเเล้วก็ขออนุโมธนาเเล้วที่จัดศึกษาเเละปฏิบัติขึ้นมาอย่างนี้ มันเป็นการช่วยผดุงให้พระศาสนาหรือการปฎิบัติพระศาสนาเจริญรุ่งเรือง มีตัวศาสนาเเท้อยู่ที่ตัวการปฏิบัติ สมกับที่ว่าโลกนี้มันกำลังจะวินาศเพราะไม่มีการปฏิบัติ ถึงเเม้ว่าเราจะพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นให้เต็มโลกมันก็ช่วยไม่ได้ หรือว่าเราจะศึกษาพุทธศาสนาในรูปเเบบของปรัชญาทุกมหาวิทยาลัยในโลกมันก็ช่วยไม่ได้ เหมือนกับคนหลับอยู่นั่นเเหละ มันจะต้องเอามาปฏิบัติ จิตใจรู้สึกมีลักษณะที่เรียกว่า สันทิฏฐิโก คำนี้ขอร้องให้ทุกคนสนใจให้มาก ที่เราสวดทำวัตร สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก ขอให้สนใจให้มาก สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวไว้ดีนั้นเป็นสันทิฏฐิโก เป็นสิ่งที่กำลังรู้สึกในใจ ไม่ใช่อยู่ในกระดาษ สันทิฏฐิโก ปฏิบัติเเล้วก็ให้ผลทันทีไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องรอชาติหน้าหรืออีกหลายๆชาติหลายๆสิบชาติจะได้ผล หรือว่าตายเเล้วจึงจะได้ผลถ้าคิดอย่างนั้นไม่เป็นสันทิฏฐิโก ไม่เป็นอะกาลิโก ไม่เป็นสันทิฏฐิโก มันต้องรู้อยู่ในใจ นั่นเป็นอะกาลิโกไม่เกี่ยวกับเวลา เป็นฤดูกาลอะไร ปฏิบัติลงไปมันก็มีผลสะท้อนออกมา เรารู้สึกอยู่ในจิตใจ ให้มันรู้สึกอยู่ในใจ มันจึงจะเรียกว่ามาดูสิ มาดูสิ ฉันมีอยู่ในใจ เอหิปัสสิโก ควรจะเรียกผู้อื่นมาดู มาสิ เอหิปัสสิกะ เเปลว่า มาดู มาดู มาดู ฉันมีให้ดู ถ้าไม่มีอยู่ในหัวใจของฉันมันก็โกหกนั่นเเหละ เรียกเพื่อนมาดูเเต่มันไม่มีให้ดูมันก็โกหก มันต้องมีผลของการปฏิบัติอยู่ในใจ เเล้วก็เรียกมาดู เราจะต้องมีธรรมะกันในรูปเเบบอย่างนี้ ก็จะตรงตามเรื่องราวของธรรมะในพระพุทธศาสนาที่ว่า สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก อันนี้ก็รู้กันอยู่เเล้วว่ามันดีพอที่จะควรเอามาใส่ไว้ในใจ มีอยู่ในใจตลอดเวลา ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ต้องเป็นวิญญูชนไม่ใช่งมงาย ถ้าเป็นคนงมงายไม่ใช่เป็นวิญญูชน พุทธศาสนาไม่ใช่ไสยศาสตร์ จึงทำกับคนงมงายไม่ได้ มันต้องเป็นวิญญูชนเเล้วก็ทำได้ ถ้ามันเป็นเรื่องของไสยศาสตร์เเล้วมันก็ไม่ใช่ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่เป็นหมดเเหละไม่เป็นทิฏฐิโก อะกาลิโก ถ้าเป็นไสยสาศตร์ ระวังให้ดีเดี๋ยวนี้ถือธรรมะศาสนากันในรูปเเบบของไสยศาสตร์กันอยู่ทั่วๆไปเป็นพิธีรีตรองโดยปราศจากเหตุผลเเล้วก็หวังพึ่ง หวังความช่วยเหลือจากสิ่งภายนอกตัว นี่เเหละเป็นลักษณะของไสยศาสตร์
ที่นี้ก็จะพูดถึงธรรมะโดยตรงดังที่ได้รับคำขอร้องว่าให้พูดเรื่องสติ ใช้คำสั้นๆให้พูดเรื่องสติ ก็เป็นอันว่าจะพูดเรื่องสติ ตามที่เห็นสมควรว่าจะพูด ที่จริงคำว่าสติคำเดียว มันพอ ถ้าเรารู้ว่าเรามีสติเท่านั้นเเหละมันพอ ดับทุกข์ได้จริง เเต่ว่าเรามีสติกันเเต่ปาก มันทำสติกันตามเเต่ธรรมเนียมเเละพิธีรีตรอง มันไม่รู้จักตัวสติ ทั้งที่ว่าไอ้สตินั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่เเล้วในเรา ถ้าไม่มีสติมันตายหมดเเล้วคนเราหนะ อยากจะให้ทุกคนระลึกให้ลึกลงไปให้ถึงไอ้สิ่งที่เขาเรียกว่าสัญชาตญาณ ความรู้หรือความรู้สึกที่มันเกิดได้เองตามธรรมชาติเเก่สิ่งที่มีชีวิต อย่างที่เราได้ยินได้ฟังกันนั้นเเหละ สัญชาตญาณเเห่งการอยู่รอด การต่อสู้เพื่อมีชีวิตอยู่รอดนั่นเเหละ เป็นสัญชาตญาณที่สำคัญกว่าสัญชาตญาณใดๆ สัญชาติญานเพื่อการสืบพันธุ์ สัญชาตญาณเพื่อการเเสวงหาอาหารเนี่ย มันเป็นสัญชาตญาณลูกน้อง ก็มันขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณเพื่อมีอยู่กับมีชีวิตรอดอยู่ สัญชาตญาณเเห่งมีสัญชาตญาณเเห่งการมีตัวตนอยู่ มีตัวกูอยู่มันจึงเป็นสัญชาตญาณเเม่บท ที่นี้เพื่อให้มันจะมีชีวิตอยู่ได้มันต้องมีสัญชาตญาณหลายๆอย่าง ช่วยกันประกอบไว้ให้สำเร็จตามนั้น ที่นี้สัญชาตญาณวิเศษอันนี้คือความที่สามารถรู้สึกได้เร็วรู้สึกได้เร็ว ที่เรียกว่า สติ สติ รู้สึกตัวอยู่ เรียกว่าสติ มันมีอยู่ตามสัญชาตญาณ เต็มขนาดที่จะให้มีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่มีสติตามธรรมชาติเเท้ๆเเล้วมันก็ทำอะไรไม่ได้เเล้ว คือ เรา เราเหมือนจะหลับตานั่นเเหละ เอาสิลองดู อยากจะรู้จัก รู้จักสติคืออะไร ควรหลับตาเเล้วก็เดินสิ หลับตากินข้าว กินอาหาร หลับตาทำอะไรทำการทำงาน ลองหลับตาทำดูสิ มันจะทำไม่ได้เพราะว่ามันไม่มีสติ มันขาดสติ มันไม่มีสติ ท่านจึงถือว่าสติเนี่ยเป็นธรรม เป็นธรรมหรือเป็นสิ่งเครื่องตื่นอยู่ สติโลกสมิชาคโร (25:50) เป็นธรรมเครื่องตื่นในโลกคือไม่หลับ ถ้าใครอยากจะรู้จักสติก็ลองหลับตาดูเเล้วมันก็ทำอะไรไม่ได้ ทีนี้เราเดินไปก็ได้ เรามีสติที่จะเดินไม่สะดุดหกล้มไม่ชนต้นไม้อะไรต่างๆ เราทำอะไรทุกอย่างได้เพราะสิ่งที่เรียกว่าสติ ในระดับต่ำสุดคือตามธรรมชาติ หมาเเมวสุนัขอะไรมันก็มีสติ สิ่งที่มีชีวิตมันต้องมีสัญชาตญาณ ชื่อนี้คือสตินี้ถ้ามิฉะนั้นมันจะเหมือนกับหลับหรือสลบหรือตาย ภาษาบาลีเขาเรียกว่าสติ เเต่เขาก็ยืมคำในภาษาสันสกฤตมาใช้ด้วยคือสมประดี สัมปัตติ(26:56)คือสติคำในภาษาบาลีเเต่สมฤติ(27:00)คือสติในภาษาบาลี พอมาเป็นภาษาไทยเราเรียกว่าสมประดี มีศัพทานุกรมคำใหม่ขี้นมาว่าสมประดี นี่คือคำว่าสติในภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาบาลีเรียกว่าสติ ถ้าเป็นสันสกฤตเรียกสมฤติ ถ้าเป็นภาษาไทยเราเรียกว่าสมประดี ถ้าอย่างนี้คุณก็เข้าใจได้ทันทีว่า สมประดีคืออะไร คนไม่มีสมประดีคืออะไร คนหลับไม่มีสมประดี คนเมาไม่มีสมประดี หรือด้วยเหตุอย่างอื่นบางคนบางทีบางเวลาคนนั้นมันไม่มีสมประดี เหมือนคนบ้ามันไม่มีสมประดี คือมันไม่มีสตินั่นเอง ฉะนั้นถ้าว่าโดยยุติธรรมเเล้ว สติก็เป็นสัญชาตญานโดยพื้นฐานมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตทั่วไป สัตว์เดรัจฉานก็เหมือนกับคนนั่นเเหละพอมันขาดสติสมประดีมันก็เหมือนกับเราเมาเหล้าหรือหลับตา หรือบ้า บางทีเราไม่บ้าเพราะเรามีสติ เพราะฉะนั้นจึงขอบคุณสติให้มากที่มันทำให้เราไม่บ้า ที่ทำให้เราอยู่ได้อย่างเดี๋ยวนี้ เพราะสิ่งที่เรียกว่าสติโดยสัญชาตญาณพื้นฐาน โดยที่เราไม่รู้สึกตัวเเล้วเราก็ไม่สนใจที่จะรู้จักมัน เดี๋ยวนี้ก็มาถึงเวลาที่เราจะต้องรู้จักมันเเล้วว่าสตินั้นคืออะไร เเละจะต้องพัฒนาขึ้นมาให้สูงให้เพียงพอ ให้สำเร็จเป็นประโยชน์เเก่การเป็นมนุษย์ของเรา นอกจากปล่อย มีสติเท่านั้นไม่ได้ มันก็เหมือนกับสัตว์ทั่วไปพอ เพราะฉะนั้นจึงมีระบบเพื่อพัฒนาให้มีสติสูง สูง สูง ขึ้นไปเพื่อชีวิตมันจะได้ดีกว่า ดีกว่า จนกระทั่งดีที่สุด นี่เรียกว่ารู้จักคำว่ามีสติไว้เสียทีก่อนเถิดก่อนที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตมันเป็นสิ่งที่มีอยู่เเล้วตามธรรมชาติ ขาดไม่ได้ ถ้าขาดก็เหมือนกับหลับตา ไปลองหลับตาดู เเล้วเดินดู กินข้าวดู หรือทำอะไรดูโดยการหลับตา นั่นจะรู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าสติ โดยหลักพื้นฐานอย่างชัดเเจ้ง เเล้วจะได้เอามาพัฒนา นี่เราเรียกว่ามันเป็นสัญชาตญาณชนิดหนึ่งซึ่งต้องมีอยู่เพื่อช่วยสนับสนุนสัญชาตญาณเเห่งการอยู่รอดของชีวิต มีอยู่หลายๆอย่างที่เมื่อมันขาดเเล้วมันจะไม่อยู่รอด อยู่ไม่ได้ สตินี้ก็เป็นสัญชาตญาณ สิ่งเเวดล้อมสัญชาตญาณเเห่งการอยู่รอด มันจึงเป็นสิ่งจำเป็นหรือมันเป็นส่วนประกอบสำหรับการมีชีวิตอยู่ นี่เป็นการเเนะให้รู้เสียทีหนึ่งก่อนว่าสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายคือคนทุกคนมันมีสติอยู่ เป็นองค์ประกอบของชีวิตอยู่โดยพื้นฐานที่มันทำให้เราทำอะไรได้ตามปรกติชน ไม่ใช่คนบ้า ไม่ใช่คนหลับ ไม่ใช่คนเมา ไม่ใช่คนอะไรต่างๆ ที่นี้มันก็ไม่พอมันต้องพัฒนา ที่ก็อยากจะให้รู้ถึงคำความหมายของคำว่าสติ ถ้ารู้ความหมายของถ้อยคำเเล้วมันก็รู้ความหมายของการกระทำ เเละสามารถที่จะพัฒนาได้ เพราะฉะนั้นสติ คำๆนี้มันเเปลว่า เเล่น เเล่นมันเเปลว่า เเล่นไปเเล่นมาก็ตามเเต่ขอให้มันเเล่น รากศัพท์คือคำเดียวกับคำว่าลูกศร ศรศระ ศระ ศระเเปลว่า เเล่น เป็นนามธรรมดาอันนี้ก็เรียกมันเป็นสติ คือมันเป็นความเเล่น มีความเเล่นหรือมีการเเล่น เเล่นมันก็ลูกศรเเล่นไป เเล่นไปก็ได้เเล่นมาก็ได้ ทีนี้มันเป็นการเเล่นของอะไร มันเป็นการเเล่นมาของความรู้ก็ได้ เเล่นมาเเห่งความจำก็ได้ ความรู้กับความจำไม่ใช่คืออย่างเดียวกัน เราเรียนรู้ รู้ รู้ เป็นความรู้ซึ่งจะต้องศึกษาเป็นรูปของปัญญา ถ้าว่ามีเเต่ความรู้เเล้วมันไม่เเล่นมาทันเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น นั่นคือไม่มีสติ ไม่มีการเเล่นมาเเห่งความรู้ เราก็ทำอะไรไม่ถูก ไม่มีการเเล่นมาเเห่งความจำ เราก็นึกอะไรไม่ได้ ถึงเเม้ว่าเราจะจำอะไรได้มาก เเต่มันไม่มามันก็ไม่มีประโยชน์ที่มาเเก้ปัญหาอะไรได้ เพราะฉะนั้นสติมันจึงเป็นเพียงเครื่องขนส่ง ถ้าอุปมามันก็เหมือนกับเครื่องขนส่ง เรามีปัญญาเยอะเเยะ เเล้วมันไม่เเล่นมาทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีเครื่องขนส่ง ก็คือไม่มีสตินำปัญญามา หรือว่าเราจำอะไรไว้ได้เยอะเเยะพอเกิดอะไรขึ้นนึกไม่ออก สติไม่ได้ขนส่งมา นี่สติมันจึงเป็นเหมือนกับขนส่งวิชาความรู้หรือความจำมาใช้ให้ทันเวลาที่เกิดขึ้น ไอ้ที่เราวินาศกันเพราะว่าปัญญาความรู้หรือความจำที่มันจำเป็นมันมาไม่ทันเวลา มันมาช้ากว่าเหตุการณ์ มันวินาศเสียก่อน เเล้วตามปรกติมันก็เป็นอย่างนั้นเเหละ หรือบางทีมันก็ถึงว่าเราไม่มีความรู้เราไม่มีความจำด้วยนั่น เเล้วสติมันจะขนอะไรมันก็ไม่ได้ ยิ่งในกรณีที่เราเรียนธรรมะธัมโมเรียนมีความรู้ความจำธรรมะธัมโมได้มาก เเล้วสติมันก็ไม่ขนออกมาได้ทันเวลามันก็เกิดกิเลส พอตาเห็นรูป หูได้ฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ผิวหนังจิตได้ความรู้ สิ่งอันใดอันหนึ่งเกิดเป็นวิญญาณเป็นผัสสะขึ้นมาเเล้ว ไม่เกิดสติคือไม่มี ไม่มีการนำมาซึ่งความรู้เหล่านั้นมาทันเหตุการณ์ที่มีผัสสะ ผัสสะนั้นก็ไม่มีสติ ผัสสะนั้นก็เป็นผัสสะ หลับเหมือนกับว่าเราหลับนั่นเเหละ ผัสสะมันเป็นผัสสะหลับ เป็นผัสสะโง่ เป็นผัสสะอวิชชา มันก็ไปอย่างอวิชชา ไปอย่างคนหลับ มันก็เกิดเวทนา โง่ เกิดตัณหา เกิดอุปทานเเละเกิดทุกข์ ด้วยเหตุว่าสติไม่ควรเอาปัญญามาทันเวลาที่มีผัสสะ เราโง่เราหลับในขณะผัสสะ เราก็ต้องเป็นทุกข์ นี่ถ้าว่าเราฝึกไว้ดี ปัญญาเราก็มี สติเราก็เร็ว เอาปัญญามาทันในขณะเเห่งผัสสะ ผัสสะนั้นเป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก สำหรับรับอารมณ์ ตา หู รูป เสียง กลิ่น รส ทางอารมณ์ ไม่หลาบ ก็ป้องกันไว้ได้ไม่เป็นเวทนาโง่ ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปทาน ไม่เกิดทุกข์ ช่วยจำไว้ให้ดีเถอะว่า ในหลักปฏิบัติเเละมันมีเท่านี้นะ เรื่องหลักวิชาปริยัติมันจะมีเท่าภูเขาเหล่ากา เเต่ว่าหลักปฏิบัติมันมีเท่านี้ มันมีนิดเดียวเท่านี้ คือว่า ฉลาดเมื่อมีผัสสะเเล้วไม่มีทุกข์ โง่มีผัสสะเเล้วจะต้องได้ทุกข์ ฉลาดเมื่อมีผัสสะนั่นเเหละคือมีสติ โง่มีผัสสะนั่นคือขาดสติ เราต้องฝึกฝนสติมีไว้ให้พอให้ไวให้เร็วเพื่อที่จะเอาปัญญามาทันเวลาที่มีผัสสะเเล้วก็รอดตัว กิเลสเกิดไม่ได้ไม่มีทางจะเกิด ถ้าลองสติมันเอาปัญญามาในขณะเเห่งผัสสะหละก็ไม่มีทางที่กิเลสไหนจะเกิดได้ มันก็ไม่เกิดกิเลสไม่เกิดอนิสสัย ไม่เกิดอาสวะ(36:31)มันก็ไม่มีอะไร เดี๋ยวนี้ตามธรรมดาเราไม่มีนี่คนธรรมดาที่ไม่รู้ธรรมะไม่ฝึกฝนธรรมะไม่ศึกษาธรรมะไม่มีสติมาทันผัสสะได้เลย เราจึงต้องพัฒนาให้สติมันมีมากขยายตัวไปจนถึงมากพอเร็ว ค้นเอาปัญญามาเร็วทันเวลาที่มีผัสสะ วันหนี่งๆมีผัสสะกี่ครั้งกี่สิบกี่ร้อยครั้งก็ตามใจ ต้องมีสติค้นเอาปัญญามาทันเวลาเเห่งผัสสะทุกครั้งไป เเล้วก็จะไม่เกิดกิเลสเเละไม่เป็นทุกข์ นี่เเหละมองเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า สติ กันเสียบ้าง เท่าที่มีเเต่เดิมตามธรรมดานั้นมันไม่พอ ซึ่งเรารู้ได้ด้วยตนเองได้ว่ามันไม่พอ พอเห็นอะไรเข้าน่ารักก็รัก น่าเกลียดก็เกลียดซะเเล้ว น่าโกรธก็โกรธเสียเเล้ว น่ากลัวก็กลัวซะเเล้ว น่าเศร้าก็เศร้าเสียเเล้ว มันเเป๊บเดียวไปอยู่ที่ความรักโกรธเกลียดกลัวเศร้าของเราเสียเเล้ว มันไม่หยุดยั้งเสียได้ เพราะสติของเราไม่ได้พัฒนา ไม่สูงสุดไม่เพียงพอ ต่อการควบคุมของสิ่งเหล่านั้นได้ ควบคุมอะไรควบคุมกระเเสเเห่งกิเลส กระเเสการปรุงเเต่งเเห่งกิเลสที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาตร(38:17)เรียกสั้นๆว่ากระเเสเเห่งตัณหา คือกระเเสเเห่งกิเลสตัณหามันจะอยู่อย่างไร มันจะไหลไปจนเกิดตัณหาอย่างไร ถ้าเราหยุดมันซะได้ ปิดกั้นซะได้ มันก็ไม่เกิดกิเลสไม่เกิดตัณหาไม่เกิดทุกข์
มีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า อะไรที่จะเป็นเครื่องสกัดกั้นกระเเสเเห่งตัณหานั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สติเตสังมิวาระนัง(38:54) สติเป็นเครื่องกั้นกระเเสเหล่านั้น คือว่ากระเเสที่จะโง่เมื่อผัสสะมีเวรา ตัณหา อุปทาน มีทุกข์ก็จะถูกสกัดกั้นเสียได้ด้วยสติ เเต่ท่านก็หมายถึงสติที่เพียงพอนะ ไม่ใช่สติตามธรรมดาซึ่งไม่เพียงพอ ดังนั้นเราจึงต้องฝึกสติ เช่นสติปัฏฐานให้เพียงพอ เเล้วมันก็ต้องมีอีกส่วนหนึ่งคือ ปัญญา เราต้องอบรมปัญญา วิชาความรู้ ความจำความอะไรก็ตามที่มันเครือเดียวกันเอาไว้ด้วยพอ เราฝึกฝนสติให้เร็วพอ ค้นเอาไอ้ปัญญานี้ไปทัน ในขณะที่เร็วมากเหมือนกับสายฟ้าเเลบ พูดเเล้วก็น่จะไม่เชื่อว่าไอ้กระเเสที่เเล่นเร็วเหมือนสายฟ้าเเลบหนะ อะไรจะไปกั้นมันได้ คนธรรมดาอาจจะไม่เชื่อว่าถ้ามันเร็วขนาดนั้นเเล้ว จะไม่มีอะไรกั้นได้ เเต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สติเตสังมิวาระนัง(40:15)สติเป็นเครื่องกั้นกระเเสเหล่านั้น ทำไมกั้นได้เพราะว่าฝึกฝนไว้พอ ฝึกฝนไว้มากพอ มันพร้อมที่จะป้องกันด้วย ล่วงหน้าด้วยซ้ำไป อย่างนี้เป็นเรื่องขณะจิตที่มันต้องอธิบายกันมากละเอียดละออเวลาไม่พอ เเต่เข้าใจเองเถอะว่า ถ้าเป็นคนมีสติพอ พอตามันกระทบรูปมันก็เตรียมมีสติ ก็มันมีวิญญาณเกิดขึ้น ก็มีผัสสะด้วยสติอย่างนี้มันจึงกั้นไว้ได้จึงป้องกันไว้ได้ เมื่อกระเเสจะเร็วเหมือนสายฟ้าเเลบมันจะเข้าไปเเทรกเเซงทัน ไม่ให้ผัสสะโง่เกิดตัณหาเกิดเวทนาเกิดอุปาทานขึ้นมา ถ้าคุณไม่เชื่อก็คอยดูไปก็เเล้วกันว่าฝึกมีสติให้พอ ให้พอเถอะมันจะกั้นกระเเสกิเลสเร็วเหมือนสายฟ้าเเลบมันจะได้ มีคำที่พระพุทธเจ้าตรัสที่ว่า สติเตสังมิวาระนัง(41:34)ดังที่ว่าจะต้องใช้ได้ทุกกรณี ตาหูจมูกลิ้นกายใจที่มันจะเป็นทางเข้ามาของรูปรสกลิ่นเสียงอารมณ์ ทุกกรณีทุกเวลาทุกสถานที่ต้องใช้สติทั้งนั้นเลย คือสติอย่างเดียว ทุกอารมณ์ทุกเวลาทุกสถานการณ์ทุกสถานที่ จึงมีคำกล่าวว่าสติสัพพัทถะปัชยา(42:13) สตินี้เป็นสิ่งที่จำต้องมีในที่ทุกกรณี สัพพัทถะ(42:23)อย่าเเปลว่าในสถานที่อย่างเดียว เเปลว่าในทุกกรณีจะดีกว่าทุกเวลาทุกสถานที่ทุกเหตุการณ์อะไรหมด สติสัพพัทถะปัชยา(42:36) เป็นหลักที่ตายตัวสำคัญเฉียบขาด ก็ไม่ว่าในกรณีไหน ไม่ว่าปัญหาเเห่งกรณีไหนเราจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า สติ นั่นเเหละมันจึงจะทำการคุ้มกันไว้ได้ไม่ให้เกิดความทุกข์ สติที่เรามีอยู่ตามธรรมชาติไม่พอ ก็ดูเอาเองก็เเล้วกันว่าไม่พออย่างไร เเม้เเต่ว่าวางอะไรไว้ที่ตรงไหนมันก็ลืม หน้าต่างปิดหรือยังมันก็ลืม มันก็ทำอะไรเผลอๆเเต่ละวันหลายๆอย่างเพราะขาดสตินี่เเหละ สติตามธรรมชาติมันไม่พออย่างนั้น เราจึงจะต้องอบรมสติ อบรมอย่างที่ว่ามันเป็นกำลัง ก็เรียกว่ากำลังสติพละ อบรมอย่างที่เรียกว่าเป็นสิ่งสำคัญเค้าก็เรียกว่า สติทรีย์ สติอินทรีสติทรีย์ ย์(43:50) อบรมอย่างจะเป็นองค์ประกอบเเห่งการตรัสรู้ก็เรียกว่าสติสัมโภชชง(43:58) เนี่ยสติเนี่ยจำต้องใช้ให้ทุกกรณีอย่างนี้ อย่างไปอบรมตามหลักวิชาการนั้นๆให้มีสติสมบูรณ์อย่างมีสติสมบรูณ์ ความมีอยู่เเห่งสติเรียกว่าสัมปชัญญะคือระลึกได้เเล้วเเล่นมาเเล้ว เเล้วก็คุมไว้ได้ว่าสัมปชัญญะ สติระลึกได้สัมปชัญญะนั้นคือความระลึกนั้นยังคงอยู่ตลอดเวลานั้นก็เรียกว่าสัมปชัญญะ เราจะต้องฝึกสติ เเล้วก็มันก็จะมีสัมปชัญญะมีปัญญามีอะไรอยู่ด้วย เเล้วก็จะถูกต้องหมด สัญญาความจำอะไรมันก็ถูกต้องหมดเพราะอำนาจเเห่งสติมันมาทันเวลา ถ้าสติไม่พอเราก็จำไม่ได้มันก็เลอะเลือนมันก็ฟั่นเฟือนกลับกันอยู่ดีเป็นชั่วอยู่ชั่วเป็นดี เช่นเราเรียนหนังสือจะสอบไล่พอถึงเวลาตอบข้อสอบเรากลับกันเสีย ควรจะตอบอย่างนี้เราไปตอบอย่างนั้น มันก็กลับกันเสียก็เพราะว่าสติมันไม่สมบรูณ์ สติส่วนความจำไม่สมบรูณ์ สติส่วนความรู้ไม่สมบรูณ์คิดดูเถอะว่ามันสอบไล่ได้อย่างไร ในการทำการทำงานอันยุ่งยากลำบากเป็นเทคโนโลยีอย่างละเอียด ยิ่งต้องใช้สติสัมปชัญญะมาก เราจึงต้องพัฒนาสติให้สมกับความก้าวหน้าของสิ่งต่างๆของกิจการ ของชีวิตของอะไรก็ตาม มันจะก้าวหน้าได้ก็เพราะความมีสติเพียงพอเเก่เหตุการณ์นั้นๆ ดังนี้นี่เรียกว่าพัฒนาสติเพื่อให้เรามีสติเพียงพอสำหรับจะเป็นมนุษย์ที่ก้าวหน้า
หน้าที่ของมนุษย์นี้ช่วยจำกันไว้ว่ามันมีสองขั้นตอน ขั้นตอนเเรกเพื่อให้มันถูกต้องสำหรับจะรอดชีวิตอยู่ได้ ถูกต้องเราจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่ตายไม่เป็นอะไร ขั้นสองเมื่อเรามีชีวิตอยู่รอดได้ ให้มันสูง สูง สูงขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุดจนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน มันมีอยู่เป็นสองเเผนกอย่างนี้ ดังนั้นถ้าเรามีสติไม่พอที่มีชีวิตอยู่ได้มันก็ตายมันก็จบกันเสียก่อน มันก็ตายเเล้ว มันต้องมีสติเพื่อที่จะรอดชีวิตอยู่ได้ จะมีเรื่องการกินอาหารการนุ่งห่มการอยู่อาศัยการเยียวยารักษาโรคการอะไรต่างๆต้องมีสติทั้งนั้นเเหละมันจึงจะรอดอยู่ได้ มันขาดสติเเล้วมันก็ตายกลางถนนเพราะมันถูกรถชนตาย เป็นต้น ที่มันจะมีชีวิตรอดอยู่ได้มันต้องการสติมากเหลือเกิน เอาหละเอาเป็นว่าเราทำถูกต้องหมดเรื่องกินอาหารเรื่องนุ่งห่มเรื่องเป็นอยู่เรื่องสังคมอะไรต่างๆมันมีสติรอบครอบไม่ตายเเล้วก็ยังอยู่ได้เป็นผาสุขตอนหนึ่ง ได้รับประโยชน์จากสติ ที่นี้ก็มาถึงตอนที่จะทำให้สูงไปกว่านั้น ให้สติสูงไปกว่านั้นเพื่อดับทุกข์อันละเอียด กิเลสอันอนุไสยอาสวะ(50:32)ได้ออกไปอย่างที่มีอยู่เป็นเเบบฉบับที่ว่าเจริญ กรรมฐานนั่นเเหละ สมถกรรมฐานเเละที่ดีที่สุดก็ไม่มีอะไร มากไปกว่าสติปัฏฐาน4 สติปัฏฐานทั้ง 4 คำอธิบายที่รัดกุมเข้าใจง่ายไม่ฟั่นเฝือเเล้วก็คือสติปัฏฐาน4 ชนิดที่อธิบายไว้โดยอานาปนสติสูตร นี่เป็นขั้นตอนติดต่อรัดกุมเเจ่มเเจ้งชัดเจนถึงที่สุด ส่วนสติปัฏฐาน4 ที่อธิบายไว้โดยมหาสติปัฎฐานสูตรนั้นยืดยาวเฟ้อฟั่นเฝือเเล้วก็ไปไม่ได้ไกลเท่าไหร่ ไปเปิดดูไปเปรียบเทียบกันดูมันไม่ไปไกลจนถึงตัดกิเลสตัดอัสสวะได้ เหมือนที่อธิบายไว้ในอานาปนสติสูตร สติปัฏฐาน4 อย่างอานาปนสติสูตรเนี่ยเราถือกันเป็นเเบบฉบับตรงตามพุทธะภาษิตที่พระองค์ทรงชี้เเนะที่พระองค์ทรงเสนอทรงยื่นให้ว่าสติปัฏฐาน4 คืออย่างนี้ๆ เเล้วไปดูมันคืออานาปนสติสูตร ไม่ใช่อย่างในมหาปติปัฏฐานสูตร นั่นมันยืดยาวมันเฟ้อ อ่านสามชั่วโมงก็ไม่จบ
ทีนี้ก็จะดูตามหลักเเห่งอานาปนสติสูตรที่เรียกว่าสติปัฏฐาน4 นั้นเป็นอย่างไรคือท่านเเจงไว้เป็น 4 ตามเดิมตามหลักทั่วไปนั่นหละ กายอย่างหนึ่ง เวทนาอย่างหนึ่ง จิตอย่างหนึ่ง ธรรมอย่างหนึ่ง รวมเป็น 4 อย่าง เราเอากายมาฝึกเพื่อให้รู้เรื่องทุกอย่างที่เกี่ยวกับ กาย เอาสติเป็นไปในกายท่องเที่ยวไปในกาย ให้รู้จักกายโดยประการทั้งปวงจะเป็นกายเนื้อ คือเนื้อหนังนี้ก็ได้ หรือจะเป็นกายลมคือลมหายใจก็ได้ ก็เรียกว่ากายเหมือนกันเอามาศึกษาพินิจพิจารณาตามเเบบที่ท่านวางไว้อย่างครบถ้วนเเล้ว เราจะมีความรู้เรื่องกายอย่างเพียงพอ เเล้วเราจะมีสติที่เกี่ยวกับกายอย่างเพียงพอ ทีนี้พอปัญหามันเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ถ้ามันเกี่ยวกับร่างกายเราที่เรามองไม่เห็นก็มีความสามารถที่จะใช้ความรู้เรื่องกายเเละสติ ไปเเก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทางกายในชีวิตประจำวันมันจะเกิดกี่ครั้งกี่สิบครั้งก็ช่างหัวมัน เเต่เราสามารถที่จะเเก้ได้ ป้องกันได้โดยที่เราเคยฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (53:42)มาเเล้ว
เรื่องที่สองคือ เวทนา ที่มันเกิดขึ้นในใจเป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง เอามาเป็นอารมณ์สำหรับฝึกฝนสติเเหละปัญญาตามเเบบของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้เรื่องปิติรู้เรื่องสุข เรื่องสิ่งทั้งสองนี้ปรุงเเต่งจิต รู้เรื่องควบคุมสิ่งทั้งสองนี้ให้ดี ถ้าฝึกเวทนานุปัสนาสติปัฏฐานได้สำเร็จ หมายความว่ามีความรู้เรื่องเวทนาดี มีสติเกี่ยวกับเวทนาดี สามารถจะใช้ความรู้เเละสติเกี่ยวกับเวทนานี้มาต่อสู้ป้องกันทันเวลาทันขณะที่ปัญหาทางเวทนาเกิดขึ้น ปัญหาที่ทำให้เราหลงรัก เวทนาที่น่ารัก หลงรัก หลงเกลียดหลงโกรธไปในเวทนา น่าเกลียดหน้าโกรธหรือกลัวในเวทนา น่าเกลียดน่ากลัว ก็ไม่เกิดรู้สึกเกลียดกลัวใดๆ เพราะว่าเรามีความสามารถเเคล่วคล่องว่องไวทั้งในส่วนปัญญาอันเกี่ยวกับสติ เวทนานั้นๆ นี่มันก็สิ้นเรื่องของเวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน
เรื่องที่สามเป็นเรื่อง จิต เอามาเป็นอารมณ์สำหรับฝึกฝนทางสติเเละทางปัญญาจึงรู้เรื่องจิตดี ควบคุมจิตได้ รู้ว่าจิตเป็นอย่างไร บังคับจิตให้ ให้พอใจ ให้ยินดีได้ บังคับจิตตั้งมั่นได้ บังคับจิตให้ปล่อยวางสิ่งที่มาเกาะเกี่ยวกับจิตได้ นี่เรียกว่า สี่ความหมายนี้ฝึกได้ดีเกี่ยวกับจิตทั้งทางสติเเละทางปัญญา เมื่อใดเกิดปัญหาเกี่ยวกับจิต เราสามารถพอ ใช้ปัญญาเเละสติเเก้ปัญหานั้นๆเกี่ยวกับเรื่องจิต ซึ่งธรรมดามันก็ไวเหมือนสายฟ้าเเลบเเต่เราก็ทำได้ เพราะการฝึกนั้นมันเพียงพอ เหมือนกับที่พูดข้างต้นเเล้วว่า อย่าท้อใจว่าไอ้เรื่องที่ว่ามันไวเหมือนกับสายฟ้าเเลบเเล้วเราจะจัดการกับมันได้อย่างไร ข้อให้ฝึกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้อย่างเพียงพอเถิด จะสามารถป้องกันหรือว่าตัดสกัดกั้น ไอ้การปรุงเเต่งทางจิตที่ว่องไวเหมือนสายฟ้าเเลบนั้นได้เป็นเเน่นอน นี่เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อันสุดท้ายเรียกว่าธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานคือสิ่งต่างๆที่มันเกิดขึ้นทางกายทางเวทนาทางจิตในภายในของเรา ระบบที่เกิดกับจิตจะเป็นกิเลสก็ดีเป็นความทุกข์ก็ดี ทุกอย่างที่มันเกี่ยวกับชีวิตนี่เอามาเป็นอารมณ์สำหรับปฏิบัติ เกิดสติเกิดปัญญาอย่างทั่วถึง ที่สำคัญอย่างยิ่งคือความจริง ความจริงของชีวิตนั้นคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกาย เรื่องเวทนา เรื่องจิต หรือเรื่องอะไรก็ตามมันจะมีความจริงที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรามีสติปัญญาเพียงพอในเรื่องของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็มีสติที่จะสกัดกั้นการไหลเเห่งกิเลสการปรุงเเต่งเเห่งกิเลสได้ถึงเป็นที่สุด อย่างนี้เรียกว่าฝึกจิต ได้อาศัยสิ่งคือ ธรรม ธรรมะ เเปลว่าสิ่งทุกสิ่งได้เเล้ว ไม่ว่าปัญหาอะไรจะเกิดขึ้นที่ทำให้เราโง่ ไม่รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต่อไปนี้เราก็ฉลาด ถ้าเรามีความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาพอเเล้วเราก็จะฉลาด เราจะไม่ร้องไห้เหมือนกับที่เขาร้องไห้กันโดยมากเพราะมีอะไรมันเปลี่ยนเเปลงไปไม่ตรงกับความต้องการ เราจะหัวเราะยินดีเหมือนกับคนบ้าเมื่อมันได้ตามต้องการ มันจะยินดีเหมือนกับคนบ้าเมื่อได้ตามต้องการ มันจะยินร้ายเหมือนกับคนบ้าเมื่อไม่ได้ตามต้องการ เพราะมันขาดความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือจะสรุปให้สั้นที่สุดก็คือตัตถะตา(58:42)เเปลว่าเช่นนั้นเอง อนิจจัง อนิจจะตาเเปลว่าไม่เที่ยง ทุกขตาเเปลว่าเป็นทุกข์ อนัตตาเเปลว่าความไม่ใช่ตน รวมความเเล้วเเปลว่ามันเป็นเช่นนั่นเอง เรามีความรู้เรื่องเช่นนั้นเองเพียงพอ อะไรเข้ามาสติมัน มันมีมาทันควัน บอกให้รู้เช่นนั้นเอง รูปสวยเข้ามาทางตาความเป็นเช่นนั้นเองออกรับซะเเล้วมันไม่หลงในความสวย รูปไม่สวยเข้ามาทางตา ความรู้เรื่องเช่นนั้นเองสติมันออกมาเเล้วมาคอยต้อนรับมันเป็นเช่นนั้นเอง มันก็ละได้หมดมันเข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ กี่ทางก็ตามใจจะมาในรูปที่น่ารักก็ตามใจ จะมาในรูปให้น่าเกลียดน่าโกรธก็ตามใจ มันเอาเช่นนั้น เช่นนั้นเองไล่กลับไปหมดเลย นี่เเหละผลของสติเเละปัญญา มีผลว่าเป็นผู้มีสติสัมมาสัมปชาโน วินยะอะโรเกอภิชา โทรมนัสสัง(59:51) มีสติสัมปชัญญะนำออก จะได้ซึ่งอภิชาโทรมนัส(59:59)ในโลกทั้งปวง ในโลกทั้งปวงมันไม่มีอะไรนอกจากของสองสิ่ง พวกหนึ่งมาทำให้หลงรักพวกหนึ่งมาทำให้หลงเกลียด ทั้งนั้นเเหละ รวมเเล้วมันเหลือเท่านั้นมีสติพอปัญญาก็มากพอ ไอ้ความน่ารักความน่าเกลียดมันก็หมดความหมาย กลายเป็นเช่นนั้นเองหมด นี่สำเร็จได้ด้วยธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเห็นอนิจจังจะเกิดมีราคะ คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นจะเกิดมีโลคะดับไปจะได้เป็นความยึดมั่นถือมั่นเเละเกิดปฏินิสสโยคะ(00:40)โยนคือไปให้ธรรมชาติไม่มาหลงรักไม่มัวหลงรักหลงเกลียดอยู่ นี่คือผลสูงสุดของสติในอันดับสุดท้ายคือธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ท่านเรียกสิ่ง 4 อย่างนี้ว่า สติปัฏฐานหรืออนุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นเครื่องตั้งสติตามให้เห็นเป็นจริง เป็นฐานที่ตั้งเเห่งสติเพื่อให้เห็นตามที่เป็นจริง มีอยู่ 4 อย่างได้เเก่ ร่างกาย คือเวทนาคือจิตเเละคือธรรมะ พระพุทธเจ้าท่านเลือกสิ่งสูงสุดนี้มาเป็นฐานที่ตั้งการฝึกสติ มีความหมายครอบคลุมหมดจากต่ำที่สุดถึงสูงที่สุด เรื่องโลกๆก็ได้เป็นธรรมะเเบบโลกุตละก็ได้ ถ้ามีสติไม่ทำผิดในเรื่องศีล เรื่องนี้คือกาย เวทนา จิต ทำเเล้ว ปัญหาก็ไม่เกิด เราจึงสนใจบทเรียนที่ฝึกคือสติปัฏฐาน 4 ให้สนใจที่รูปเเบบ ปฏิบัติได้ดับทุกข์ได้จริง ไม่ใช่ ไม่ใช่ทำเป็นพิธีรีตรองออกท่าออกทางเก้เก้กังกังเหมือนคนละเมอ ป่วยกาล มันพิสูจน์ว่าถูกจริงก็คือดับทุกข์ได้ ถ้ามันดับทุกข์ไม่ได้มันก็มันก็ไม่ถูกมันก็ไม่จริง ขอให้พิสูจน์ตรงที่มันดับทุกข์ได้ คุณลองไปปฏิบัติดูว่ามันดับทุกข์ได้นั่นเเหละถูก ไม่ต้องเชื่ออาจารย์ก็ได้ อาจารย์ไม่ใช่ว่าไว้ใจได้ทุกคน หลอกลวงคนก็เก่ง เเต่ว่าความถูกต้องที่มันดับทุกข์ได้มันไม่หลอกใครหรอก ถ้ามันพิสูจน์การดับทุกข์ได้มันก็ถูกเเน่ ระะบบนั้นถูกเเน่ การปฏิบัตินั้นถูกเเน่ ด้วยอำนาจของการปฏิบัตินั่นเอง ซึ่งสรุปเเล้วมันก็เหลือเเต่สตินี่เเหละ ปฏิบัตินี้ไม่มีอะไรนอกจากการพัฒนาสติ มีฐานที่ตั้งเเห่งการพัฒนา คือกาย เวทนา จิต ธรรม 4 อย่างที่นี่เป็นพระบาลีจากพระพุทธโอษฐ์
ที่นี้เเบบฝึกสติอย่างอื่นเเบบพระบาลีนอกพระพุทธโอษฐ์ยังมีอีกมาก เช่น อนุสติ 10(3:12)อนุสติระลึกตามพระพุทธ ระลึกตามพระธรรม ระลึกตามพระสงฆ์ ระลึกตามศีล ระลึกตามทาน ระลึกตามสวรรค์ ระลึกความตาย ระลึกกายกะตา(3:25)ระลึกเทวดา บ้าเลย เเล้วก็ระลึกถึงอุปปัสสมา(3:30)เเล้วก็ข้อสุดท้ายก็มีอานาปนสติเหมือนกัน ไม่กล้าทิ้งของพระพุทธเจ้าเเล้วมาใส่ไว้เเต่เพียงชื่อ รู้เรื่องนิดเดียวอนุสติ 10เป็นเรื่องนอกพระไตรปิฏก นี่พวกกรรมฐาน 40 มันปรุงขึ้นทีหลัง มีคำว่าอานาปนสติสักเเต่ว่าชื่อ คำอธิบายไม่เหมือนกับในอานาปนสติสูตรหรือไม่เหมือนหรือไม่สมบรูณ์เหมือนในมหาสติปัฏฐานสูตร มันเลิกพูดก็ได้ไอ้เรื่องสตินอก นอกบาลี เอาสติในบาลีเเท้ๆคือสติปัฏฐาน 4 ตามเเบบเเผนอานาปนสติสูตรอย่างครบถ้วน ไปศึกษาให้เข้าใจเพียงพอ เเล้วลงมือปฏิบัติเเล้วจะรู้จะเริ่มรู้ก้าวหน้าก้าวหน้าไปเรื่อยๆ นี่เรียกว่า สติ มีอาการที่ทำให้เราเหมือนกับคนตื่น ตื่นยิ่งขึ้นๆ ถ้ามิฉะนั้นจะเหมือนกับหลับ หลับ เรียกชื่ออย่างหนึ่งว่าอัปมา ปมาทะ (04:50)ประมาทคือหลับเเล้วตาย ถ้ามีสติจะเรียกว่าอัปปะมาทะ คือตื่นไม่ตาย ได้มีสติก็ไม่ตายไม่มีสติก็ต้องตาย ตายในทางร่างกายคือถูกรถชนตาย ตายในทางจิตใจคือกิเลสครอบงำย่ำยีเป็นทุกข์ เป็นตกนรกหมกไหม้ทั้งเป็นๆอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้ก็เรียกว่าตายเหมือนกัน ถ้ามีสติก็ไม่ตายถ้าไม่มีสติก็ต้องตาย เเม้ที่สุดเเต่มันเดินชนต้นไม้มันเดินตกร่องตกกระไดต่างๆนานาที่มันจะตายในทางร่างกายที่มนุษย์ไม่ควรเลย ถ้ามีสติไม่ตายทั้งทางกายเเละทางจิต นี่จึงเห็นว่าสติเรื่องเดียวเป็นเรื่องทั้งหมดที่จะดับทุกข์ได้ ถ้าจะเเยกออกไปเป็นศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์ 8 หรืออะไรก็ได้เเต่ว่ามันย่อมมีผลเป็นอย่างนี้คือมีสติปัญญามาทันเวลา ที่มีการกระทบผัสสะทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ พุทธศาสนาต้องตั้งต้นเรียนกอขอกอกากันที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจเเล้วคู่ของมันคือรูปเสียงกลิ่นรส สรรพทางอารมณ์มี 6 คู่ พอมาถึงเข้าก็เกิดวิญญาณทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ เมื่อวิญญาณนี้ทำงานอยู่เรียกว่าผัสสะ ตอนนี้ถ้าสติไม่มาก็เกิดผัสสะหลับผิดหมด กระเเสไหลไปสู่ความทุกข์ ราชสีมาก็กั้นให้ไว้ไปในทางเเห่งความทุกข์ เราก็ไม่มีความทุกข์ นี่เป็นศาสนาสากลของธรรมชาติ เรากล้าท้าอย่างไม่กลัวใครโกรธ ว่าคุณถือศาสนาใดตามใจคุณ คุณจะถือศาสนาใดตามใจคุณเเต่ว่าความทุกข์ของคุณจะต้องเกิดขึ้นอย่างนี้ ความดับทุกข์ของคุณจะต้องดับได้ด้วยวิธีอย่างนี้ พระเจ้าที่ไหนไม่รู้จะมาสร้างให้เกิดความทุกข์เเล้วมาดับความทุกข์เราไม่รู้ ถ้าจะให้พระเจ้าเป็นกฏของธรรมะหละก็ได้ ความทุกข์จะต้องเกิดขึ้นอย่างนี้คือโง่ เมื่อมีผัสสะ ความทุกข์จะไม่เกิดขึ้นเมื่อฉลาด เมื่อมีผัสสะเนี่ยศาสนาสากลของธรรมชาติ เดี๋ยวนี้ใครจะถือศาสนาอะไรใครเป็นฝรั่งเป็นเจ็กเป็นไทยก็ตามความทุกข์มันต้องเกิดขึ้นอย่างนี้เเต่ความดับทุกข์ ทุกข์มันต้องดับได้อย่างนี้ มันคือเรื่องของสติ เรื่องทั้งหมด สมกับที่ท่านกล่าวว่า เรื่องตื่นในโลกของมนุษย์ที่อยู่ในโลกอย่างลืมหูลืมตา สติโลกัสสมีชาคโร(07:51)เราควรจะรู้ความหมายของคำ คำนี้จะเห็นได้ให้ได้รู้สึกได้ มันครอบทั้งโลกเลย เเละถ้าไม่สติเเล้วโลกทั้งโลกก็เหมือนกับหลับ ถ้ามีสติเเล้วโลกทั้งโลกก็เหมือนลืมตาใสเเจ๋วอยู่เห็นตามที่เป็นจริงยิ่งทำผิดไม่ได้ มันก็ไม่เกิดความทุกข์ขึ้น นี่เรียกว่ามันอานิสสงฆ์ของสติ เป็นสิ่งที่คู่กันมากับชีวิต ชีวิตจะต้องมีสัญชาตญาณการต่อสู้เพื่อให้รอดชีวิต สติก็เป็นอุปกรณ์อันนั้นของสัญชาตญาณเพื่อให้รอดชีวิต ลองไม่มีสติมันก็ตายเดี๋ยวนี้ เเต่ว่ามันยังไม่พอถ้าเราจะดับทุกข์ที่เกิดขึ้นในตัวมันเอง ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาสตินี้อย่างเพียงพอตามนัยที่ได้ว่ามาเเล้ว ไม่โง่ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเมื่อมีผัสสะก็ไม่เกิดความทุกข์ กระเเสความทุกข์ไหลไปไม่ได้มันก็หยุด เพราะอำนาจของสติเเละอย่าลืมว่าสตินั้นเป็นเครื่องขนส่งเอาปัญญาไปใช้ทันเหตุการณ์ ก็มาสติเเปลว่าเเล่นไปอย่างเร็วเหมือนอย่างกับลูกศร ถ้าไม่มีอะไรเปรียบยังจะเปรียบว่าเร็วเหมือนลูกศรมาทันเวลาคุ้มครองได้ เเม้ว่าไอ้กระเเสกิเลสมันจะไหลเร็วเหมือนสายฟ้าเเลบ สติมันก็เร็วพอที่จะมาสกัดกั้นกระเเสที่เร็วหมือนสายฟ้าเเลบ เเล้วเราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ ขอร้องให้ท่านทั้งหลายทุกคนจงรู้จักสิ่งที่เรียกว่าสติ คือความเเล่นมาเร็วเเห่งความรู้เเละสติปัญญาเเละความจำ ความรู้สติปัญญาความจำอะไรก็ตามมันเเล่นมาได้เร็วเหมือนกับสายฟ้าเเลบนั่นคือสติ สติเเปลว่าเเล่น สิ่งที่เเล่น ความเเล่นหรือการเเล่น ก็ไม่ต้องบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ควรมี ถ้ามันไม่พอมันก็เป็นสิ่งที่ควรจะพัฒนา ดังนั้นขอให้สนใจการฝึกวิธี สติปัฏฐานทั้ง 4 เพื่อเป็นการพัฒนาจิตให้เพียงพอกับจะรอดชีวิตอยู่เเละเพียงพอกับจะดียิ่งๆขึ้นไปจนบรรลุมรรคผลนิพพาน
เรื่องสติที่ท่านขอร้องให้พูดมันก็มันก็พูดเเล้ว โดยสมควรเเก่เวลาเเล้ว ขอให้พิจารณาตามถ้าเห็นว่ามันจะดับทุกข์ได้ก็ลองปฏิบัติดู พอปฎิบัติดูมันดับทุกข์ได้ค่อยรู้ รู้เเล้วค่อยเชื่อทีหลัง เเละขอเเสดงความยินดีเเละขออนุโมทนาในการมาของท่านทั้งหลายครั้งหนึ่ง หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้รับประโยชน์คุ้มค่าเวลา คุ้มค่าเหน็ดเหนื่อย คุ้มค่าใช้จ่ายสารพัดอย่างที่มาสู่สถานที่นี้จนได้รับผลคุ้มค่ากลับไปด้วยความพอใจอย่าให้ต้องเสียใจทีหลัง ให้เป็นการทัศนาจรเพื่อความรู้อย่าเป็นการทัศนาจรเพื่อความเพลิดเพลินมันจะทำให้โง่ ถ้าเป็นการทัศนาจรเพื่อความรู้จะทำให้ฉลาดมีประโยชน์ในการก้าวหน้าของชีวิตความเป็นผาสุขอยู่ทุกราตรีกาล
เวลาเหลืออยู่บ้างใครจะถามปัญหาก็ได้ เท่าที่มีเวลาเหลืออยู่บ้าง มีใครจะถามปัญหาอะไรบ้างมีเวลาเหลืออยู่
ถาม: ขอถามพระอาจารย์ว่าการฝึกสติที่น่าจะได้ผลมากที่สุด จะทำได้ด้วยวิธีไหนได้บ้างคะ ว่าเท่าที่พระอาจารย์ได้กล่าวมาคือหนูรู้สึกว่าเป็นประโยชน์คะเเต่ไม่ทราบว่าการฝึกสติ อยากจะทำได้อย่างไรบ้าง
ตอบ: มันเเบบฉบับเลยในรายละเอียดมันมีอยู่เเล้วไม่มีเวลาจะพูดพอ คู่มืออาณาปนสติมันมีอยู่เเล้วไปอ่านเอาเอง ได้บรรยายอาณาปนสติไว้เเล้วไม่น้อยกว่า 10 เเบบ เเบบย่อๆเเบบไม่ค่อย กลางๆ เเบบสมบรูณ์ที่สุด เเบบเล่มปกดำหนาสมบรูณ์ที่สุด เเล้วเเบบที่เล่มเขียวๆอธิบายเเบบนักศึกษาเเล้วค่อยยังชั่วหน่อย เเละเล่มเล็กๆอีกหลายๆชุดหลายเล่ม ที่มาถวายเขาไปพิมพ์นั่นเเหละ มีอยู่หลายชุดรวมอยู่ในเล่มเล็กๆนี้
ใจความของมันก็คือว่าจิตที่เราสัมผัสกับกาย ลมหายใจ สติกำหนดคือลมหายใจรู้จักลมหายใจ จากลมหายใจดีลมหายใจ หยาบเป็นของร่างกายก็มีลมหายใจละเอียด ความละเอียดของร่างกายเนื้อนี้ก็มีมันก็เนื่องต่อกันนี้ ร่างกายลมหายใจ ปรุงเเต่ง ร่างกายเนื้อมีอยู่เสมอ เราบังคับให้สงบได้โดยทางบังคับลมหายใจนั้น เมื่อลมหายใจนั้นมันสงบเเล้วมันจะทำให้ร่างกายนี้สงบ มันก็มีความเป็นสมาธิ เรียกว่าทำลมหายใจให้สงบระงับได้ ทำร่างกายสงบระงับได้มันก็เป็นสมาธิ นี่คือหมวดที่หนึ่งเรื่องกาย ที่นี้เมื่อเป็นสมาธิเเล้วในสมาธินั้นมันมีองค์ประกอบคือปิติรสุข(15:17) ก็กำหนดที่ปิติรสุขนั้นอยู่ตลอดเวลาจนเห็นว่าโอ้อันนี้มันปรุงเเต่งชีวิตคือจิต ความทุกข์บังคับได้ก็คือบังคับจิตได้นั่นเอง เขาจึงฝึกฝนการบังคับความสุขหรือปิติคือเวทนานั้นนี่หมวดที่สอง เมื่อบังคับจิตตะสังขาร(15:43)ได้ก็คือบังคับจิตได้ในหมวดที่สามจึงรู้จักจิต บังคับจิตให้ยินดีบังคับจิตให้ตั้งมั่นบังคับจิตให้ปล่อยนี่คือบทที่สี่ เมื่อจิตอยู่ในอำนาจเราอย่างนี้เเล้ว ถ้าจิตกำหนดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของทั้งสิ่งทั้งปวงที่มาปรากฏในจิต จนมันคลายความยึดถือในทุกสิ่งทั้งปวงจนดับสิ่งยึดถือทั้งปวงจนรู้ว่าเดี๋ยวนี้เราไม่มีความยึดถือเเล้วนี่เเหละหมวดที่สี่จบ ใจความมีอย่างนี้
กายละเอียดต้องไปหาอ่านดูเพราะว่าทำอย่างไรเเล้วก็ลองทำดูเเล้วก็จะรู้ ต้องทำจึงจะรู้ไม่ใช่อ่านอย่างเดียวจะพอ อ่านพอรู้วิธีทำ เเล้วก็ทำเเล้วมันจะรู้ว่ามันเป็นอย่างไรมันต้องทำด้วยจิตให้เกิดความรู้สึกเเละรู้สึกอยู่ในจิต ที่รู้สึกก็เรียกว่ารู้ เกิดญาณความรู้ในทุกๆสิ่งที่ได้ผ่านไป ทำอย่างไรมันก็เป็นชั่วโมงๆ มันก็ไม่มีประโยชน์ไปอ่านดูพอสมควรเเล้วทำดูเถิด เเล้วรู้ไปตามลำดับ รู้ไปตามลำดับ รู้ไปตามลำดับอย่างนี้ดีกว่าเเละอย่าท้อถอยกันง่ายๆ ไปทำถ้ามันไม่ได้หละกล้าบอกล่วงหน้า พอไปทำเข้าไม่ได้ก็ทำอีก ไม่ได้ก็ทำอีก จนมันได้ มันจะต้องไม่ได้หลายครั้งหลายหน เหมือนกับหัดภายเรือนั่นเเหละ ลองไปหัดภายเรือดูซิมันไม่ได้หรอกเป๋ไปเป๋มาเเต่ถ้าหัดทุกวันๆมันก็ค่อยๆภายเรือได้ มันก็บังคับเรือได้ มันก็จิตก็เหมือนกัน ขี่รถจักรยานนี่มันก็ต้องขึ้นขี่เเล้วก็ล้ม ขี่เเล้วก็ล้ม ล้ม ล้ม จนมันไม่ค่อยล้มจนไม่ล้มมันขี่ได้อย่างเดียวกัน เรื่องบังคับจิตเป็นอย่างนี้ นี่พอไปทำก็ไม่ได้ ไม่ได้เลิก เราไม่มีวาสนาทำไม่ได้เเล้วเลิก ก็เลยไม่ต้องทำกัน มันต้องอดทน ทำไม่รู้กี่สิบครั้งจนมันได้ เอาปัญหาอื่นที
หมดปัญหา เป็นผู้รู้หมดเเล้ว เดี๋ยวนี้เป็นผู้รู้หมดเเล้วคือไม่มีปัญหา
ถาม: มีคำที่ตรัสว่าเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ได้เปรียบไร
ตอบ: คือเห็นใน มันมีอยู่จริง เห็นกายว่ากายมีอยู่จริง เห็นเวทนาก็เห็นเวทนาที่มีอยู่จริง จึงพูดว่าเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา ในเวลานั้นต้องมีกายอยู่จริง ดูเข้าไปที่กายเห็นกายในกาย มีเวทนาอยู่จริงดูที่เวทนา เห็นเวทนาในเวทนา ต้องมีสิ่งนั้นอยู่จริงๆ จึงใช้คำว่าอย่างนั้น เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ถ้าไม่อย่างนั้นก็เป็นไปเรียนนักธรรมในห้องเรียน ในห้องเรียนนักธรรมก็ไม่ได้เห็นกายในกาย เเต่เห็นกายในตัวหนังสือ เห็นเวทนาในเล่มหนังสือ เห็นจิตในเล่มหนังสือ ดูกายที่กาย ดูเวทนาที่เวทนา ดูจิตที่จิต ดูธรรมที่ธรรม ที่จริงเราไม่รู้อ่านหนังสือเเล้วยังไม่รู้อ่านเข้าใจเเล้วไปปฏิบัติจึงจะรู้ เมื่ออ่านหนังสือนั้นยังไม่รู้ รู้วิธีที่จะไปทำให้รู้ อ่านหนังสือรู้วิธีที่จะไปทำ ทำเเล้วมันก็รู้
ถาม: ที่ว่ากายภายในกายภายนอก
ตอบ: ในเมื่อเรารู้เรื่องเหล่านี้ ในจิตในของเราเเจ่มเเจ้งในจิตใจของเรา ก็รู้ได้ง่ายว่าของคนอื่นก็มีเหมือนกัน อย่างนี้เรียกว่ารู้กายภายนอก รู้ธรรมะภายนอก ขอให้ดูภายในของตนอย่างชัดเเจ้งๆก็จะเห็น ได้เอง ของเพื่อนของเราก็เหมือนกัน ของเพื่อนมนุษย์ของเราทั้งหลายก็เหมือนกัน ไม่มีความสงสัย ให้เราของเราเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร ของเพื่อนของเรามนุษย์คนอื่นก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างนั้น อย่างนี้เเหละเห็นภายนอกด้วย ถ้าเห็นภายในจริงมันจะเห็นขึ้นมาชัดเองว่าเห็นของเพื่อนของเราของคนอื่นก็เป็นอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน ราคะ โทสะ โมหะ ของเราเป็นอย่างไร ของเพื่อนคนอื่นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ที่พูดวันนี้มันเป็นเเต่เพียงหัวข้อ รายละเอียดต้องไปย่อยไปเเยกเเยะพิจารณากันอีกด้วยตนเองให้เข้าใจ พูดชั่วโมงครึ่งนี่มันได้เเต่เพียงหัวข้อ หรือเเนว ต้องไปนั่งดูเอาเอง
ถาม: อยากเรียนถามท่านเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับสติ คือไม่เข้าใจว่าสติในขณะฝึกสมถกรรมฐานกับสติในกานฝึกวิปัสสนากรรมฐานคือสติตัวกันไม๊ เเล้วก็การฝึกสติในชีวิตประจำวันเนี่ยเป็นตัวเดียวกันใช่หรือไม่
ตอบ: สติอย่างสมถก็เพียงกำหนดอารมณ์ สติในวิปัสสนาคือกำหนดลักษณะคือธรรมะลักษณะ สติในระบบสมถหรือสมาธิกำหนดอารมณ์นั้นๆให้อยู่กับจิตเท่านั้นเอง ถ้าในระบบวิปัสสนาก็กำหนดที่ลักษณะหรือธรรมะลักษณะของสิ่งต่างๆ เช่น ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นต้น ดังนั้นมันก็ต่างกัน ที่ว่าจะฝึกในชีวิตประจำวันจะฝึกระบบไหนนั้นมันก็เเล้วเเต่คนนั้นมันมีปัญหาอยู่ในระบบไหน มันก็ต้องฝึกให้ถูกกับเรื่องของตัวหรือปัญหาของตัว มันตอบไม่ได้ เเต่มันก็หลีกไม่พ้นที่ว่าตอนเเรกๆ เเรกๆมันก็ต้องฝึกระบบกำหนดอารมณ์ตามเเบบสมถ พอคล่องเเคล่วดีเเล้วก็กำหนดลักษณะตามจริงตามเเบบของวิปัสสนา
ถาม: ขอพระอาจารย์ช่วยสรุปว่า สติที่เอาปัญญามาทันนั้นเรียกว่าสติปัญญากับสติที่เอาความจำมาทันนั้น สติสัมปชัญญะใช่หรือไม่
ตอบ: สติก็คือสติ ปัญญาก็คือปัญญา สติขนเอาปัญญามาทัน เช่นปัญญาว่าเช่นนั้นเอง ขนออกมาทันมันก็ไม่หลงรักหลงโกรธ ถ้าเกี่ยวกับความจำมันต่ำกว่านั้น เกี่ยวกับปฏิบัติสกัดกิเลสจะต้องขนเอาปัญญาอมาทัน ขนเอาความจำมาใช้เด็กๆสอบไล่ เพราะว่านักปฏิบัติตัดกิเลสไม่เกี่ยวกับความจำ ไม่เกี่ยวกับความรู้ หัวข้อมันนิดเดียวเเต่รายละเอียดมันมาก เอาไปใคร่ครวญดู เเม้เเต่เพียงขี้ลืม วางของไว้ตรงไหนเเล้วหาไม่ถูก อย่างนี้ก็เเย่เเล้ว ไม่มีสติเเม้เเต่ในสติชั้นต่ำๆ เเต่ก็ควรฝึกถ้ามัน มันไม่มีนะ ขี้ลืมอย่างนี้ต้องฝึกสติ ก่อนที่เราจะวางของ พอเราวางของเราทำภาพ การวางของให้ประทับตราประทับใจประทับว่ามันวางอยู่อย่างนี้ ที่นี่ ถ้าทำสติอย่างนี้เสียก่อนเมื่อวางของเเล้วมันก็ไม่ค่อยลืมมันก็จะนึกได้ว่าวางไว้ตรงไหน พอนึกได้ว่าวางไว้ตรงไหนก็วิ่งมาเอาถูกได้ทันที เเต่ถ้ามาวางอย่างเคลิ้มๆไม่ได้กำหนดว่าวางที่ไหน วางอย่างไรหละก็มันก็ลืมได้ไม่รู้ว่าวางที่ไหน เพราะฉะนั้นสอบไล่เเม้ว่าขี้ลืมก็ต้องใช้ไม่ได้ ถ้ายังเป็นคนขี้ลืมขนาดนี้อยู่ ก็เรียกว่าไม่มีสติด้วยเหมือนกัน บางคนทำช้าๆมีสติพอทำเร็วหน่อยทำไม่ได้ลืม อย่างนี้ก็ต้องฝึกให้มันเร็ว ให้มันเร็เข้า สติให้มันเร็วเข้า
ถาม: ขอถามว่าตัวสติกับสมาธิเป็นตัวเดียวกันหรือไม่ ต่างกันเเบบไหน
ตอบ: สมาธิจิตตั้งมั่น สติก็คือความระลึกได้ ไม่ใช่ตัวเดียวกัน สติกับสมาธิมันคนละเรื่อง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ห้าอย่างนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน สมาธิคือความตั้งมั่นเเห่งจิต สติคือความระลึกได้เเห่งจิตว่องไวในการระลึก คือการเเล่นไปเอาความรู้เอาปัญญาไปเเก้ปัญหาที่มันเกิดเรื่อง ถ้าเราฝึกอาณาปนสติขั้นเเรกๆนี้มันจะเป็นการฝึกพร้อมกันไป ทั้งในลักษณะของสมาธิเเละสติ ฝึกสติให้กำหนดอารมณ์นี่เรียกว่าฝึกสติ เมื่อจิตตั้งมั่นในอารมณ์เป็นสมาธิ มีลักษณะเเห่งสมาธิ ถ้ามันรู้สึกว่าเป็นอารมณ์นี่คือลักษณะเเห่งปัญญา มันเเล้วเเต่จะมองกันในเเง่ไหน ความเพียรในขณะนั้นเป็นวิริยะ ความเชื่อว่าสิ่งนี้จะมีผลประโยชน์นี้เรียกว่าศรัทธา พอเราลงมือฝึก ลงมือฝึกเช่นกายกตา(29:10)กำหนดลม มันก็มีทั้ง วิริยะสติ ปัญญา ต้องทำให้กลมกลืนสม่ำเสมอกันทั้งห้าอย่าง อันไหนหย่อนต้องเพิ่มเรียกว่า ทำให้อินทรีย์ที่มันสมดุลให้มันครบถ้วนให้มันพร้อมเพรียง ศรัทธาก็เต็มที่ วิริยะก็เต็มที่ สติก็เต็มที่ สมาธิก็เต็มที่ ปัญญาก็เต็มที่ เรื่อยไปอย่างนี้คือการฝึก ศรัทธาคือความเชื่อ วิริยะคือการกระทำอย่างยิ่ง สติคือระลึกได้อยู่ กำหนดได้อยู่ สมาธิคือความมั่นคงเเห่งจิต ปัญญาคือความรอบรู้ในสิ่งนั้นๆ ห้าอย่างนี้ท่านถือว่าสำคัญที่สุดจนเรียกว่าอินทรีย์ ไม่ว่าการงานอะไรของมนุษย์ในโลกเรามันจะต้องใช้อินทรีย์ทั้งห้านี้เสมอ เเต่เขาไม่รู้เรื่องนี้เขาก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้ เขาก็ใช้คำพูดอย่างอื่น ใช้การฝึกอย่างอื่น ถ้าเราเป็นพุทธบริษัทเเล้วเราใช้อินทรีย์ 5 พละ 5 นี่ในทุกกรณีเเห่งการงาน ทำนาก็ได้ ทำสวนก็ได้ ให้มันมีห้าอย่างนี้ครบอยู่ในการทำนาเถอะ ก็เรียกว่าทำนาสำเร็จ
ถาม: ถ้าทำสมาธิไม่ต้องหลับตาได้หรือไม่
ตอบ: จะนั่งทำสมาธิจะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ คิดว่าจะเดินไปไหน การหลับตา นั่งทำสมาธิหลับตาก็ได้ ไอ้ตามันจะหลับหรือจะลืมก็ได้ สบายอย่างไหนเอาอย่างนั้น เข้าใจว่าเเบบโบราณเเท้ๆเขาไม่ได้สั่งให้หลับตาเเล้วเเต่ตามันจะเป็นไป หลับตาตามันร้อนถ้าลืมตาตามันเย็นเพราะลมมันโกรกอยู่เสมอ เเล้วทำอย่างหลับตานั้นเก่งกว่าอย่างลืมตานั้นเก่ง หลับตา พูดอย่างนี้ยังไม่รู้อีกว่าทำอย่างลืมตานั้นเก่งกว่าอย่างหลับตา ทำยากกว่าเก่งกว่า นั่นเพราะว่าจิตมันไปกำหนดอยู่ที่อารมณ์ตามันไม่เห็นอะไร บางคนสบายสำหรับหลับตาบางคนสบายสำหรับลืมตา เอาตามความพอใจ พวกโยคีเขาทำอย่างลืมตากันทั้งนั้น