แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย อาตมาขอแสดงความยินดีในการมาของท่านทั้งหลาย
สู่สถานที่นี้ในลักษณะอย่างนี้ คือแสวงหาความรู้ทางธรรมะ เพื่อไปใช้ดำเนินชีวิตของตนให้มีผลเป็นที่น่าพอใจสมกับที่เป็นพุทธบริษัท ขอแสดงความยินดีอนุโมทนาในการกระทำอย่างนี้ และขอต้อนรับด้วยธรรมปฏิสัณถาร โดยสมควรแก่สถานการณ์ ขอทำความเข้าใจพิเศษเล็กน้อยหนึ่งว่า ทำไมจึงมาพูดกันในเวลาอย่างนี้ คือ เวลา ๕ นอ นี่ก็เพราะว่าเป็นเวลาที่เหมาะสม เป็นเวลาที่คนธรรมดาใช้เพื่อแสวงหาความสุขในการนอน แต่เราจะใช้ในทางที่ดีกว่านั้น จึงเป็นเวลาที่แสวงหาความรู้ทางธรรมะตามความเหมาะสม คือเป็นเวลาที่จิตใจเหมาะสมที่จะรับเอาซึ่งธรรมะ เป็นเวลาที่พร้อมที่จะเบิกบาน คือว่าตื่นขึ้นมา แม้แต่ดอกไม้ในป่านี้ก็พร้อมที่จะเบิกบานในเวลาเช่นนี้ สัตว์ทั้งหลายก็เบิกบาน ร่าเริง เพราะตื่นขึ้นมาใหม่ๆ จิตใจยังเหมาะที่จะเติมอะไรลงไป ถ้าเป็นเวลากลางวันจิตใจมันได้รับการเติมนั่นเติมนี่ลงไปสารพัดอย่าง ยุ่ง ไม่เหมาะที่จะเติมอะไรใหม่ๆ ลงไปได้ ที่นี่เราเรียกอย่าง
ล้อๆกันเล่นว่า น้ำชามันเต็มถ้วย มันรินเติมลงไปไม่ได้อีก ถ้าเวลาอย่างนี้มันยังว่างอยู่พอที่จะเติมอะไรลงไปได้อีก นี้ก็เป็นความจริงที่จะมองเห็นได้ไม่ยากนัก ที่จริงก็เป็นเวลาที่พร้อมที่จะฟัง พร้อมที่จะคิดไปตาม พร้อมที่จะเข้าใจ พร้อมที่จะรับอะไรใหม่ๆ นั่นๆเอง แม้แต่พระพุทธองค์ก็ยังตรัสรู้ในเวลาอย่างนี้ หัวรุ่ง ก่อนสว่าง แล้วเข้าใจว่าแม้ศาสดาองค์อื่นๆ แห่งศาสนาอื่นก็คงจะใช้เวลาอย่างนี้กันมาเป็นอันมากแล้ว ถือเป็นเวลาที่เรียกว่า รุ่งอรุณ
รุ่งอรุณ หมายความว่า กลางวันมันจะตามมา คือมันจะสว่างแน่ เวลานี้จึงเหมาะแก่การที่จะรับฟังสิ่งใหม่ๆ เพื่อความรู้นั้นขอให้ทำจนเป็นนิสัยจะได้ประโยชน์ คือว่าเราจะมีชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อยก็ชั่วโมงหนึ่ง เวลา
๕ นอ ถ้ารู้จักใช้โลกเวลา ๕ นอให้เป็นประโยชน์ ชีวิตก็จะเพิ่มขึ้นวันละชั่วโมง ลองพิสูจน์ดูว่าจะได้อะไรสักกี่มากน้อย เป็นเวลาที่พิเศษที่จะได้รับของอะไรใหม่ๆ ออกมา นี่ขอให้ฝึกจนเป็นนิสัย จนเป็นนิสัยว่า เวลา ๕ นอ จะเป็นเหมือนกับเวลาเที่ยงวัน คือตื่น ตื่นออกมาจากความหลับ หรือออกมาจากความมืด เมื่อใช้เป็นนิสัย กว่าจะตายได้เพิ่มได้หลายๆๆ สิบหลายสิบชั่วโมง เป็นเวลาพิเศษ
ทีนี้สำหรับเรื่องที่จะพูดกัน อาตมาจะใช้หัวข้อว่า “มนุษยธรรมทุกระดับ” มนุษยธรรมทุกระดับ หมายความว่า จะพูดกันถึงเรื่องมนุษย์ทุกระดับ ระดับชั้น คือว่าได้ยินว่านี่ได้มาหลายหมู่ หลายพวก หลายคณะ ปฐมวัยก็มี มัจฉิมวัยก็มี ปัจฉิมวัยก็มี ทีนี้ก็เลยถือโอกาสพูดเสียคราวเดียวกันว่า มนุษยธรรมทุกระดับ มนุษย์ใจความสำคัญว่า มีจิตใจสูง คือว่าสูงอยู่เหนือปัญหา เหนือความทุกข์ ถ้ายังไม่อยู่เหนือปัญหา เหนือความทุกข์โดยสิ้นเชิง ก็เรียกว่า ความเป็นมนุษย์ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่เต็มเปี่ยม เมื่ออยู่เหนือปัญหาโดยสิ้นเชิงก็ว่าคนนั้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรือเป็นมนุษย์ที่เต็มเปี่ยม
ในทางบาลีไวยากรณ์เขาแปลคำว่า มนุษย์ ได้หลายอย่าง แปลว่า เหล่ากอของพระมนู มนู มนุษย์เป็นเลิศประเสริฐ ให้โลกตามความรู้สึกของชาวอินเดียอย่างนี้ก็มี แต่มันก็ใจสูงนั่นแหละ มนูนั่นแหละตัวใจสูง ตัวใจสูงจนอยู่เหนือปัญหา เหนือความโง่เขลา เหนือความผิดพลาด เหนือความทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้นมนุษย์ถือเอาความหมายว่า มีจิตใจสูง อยู่เหนือปัญหา มนุษยธรรมก็คือธรรมะสำหรับจะทำให้มนุษย์เป็นเช่นนั้น มีตั้งแต่ระดับต้นที่สุดจนถึงระดับสุดท้าย ล้วนแต่เรียกว่า มนุษยธรรม ซึ่งมีอยู่ตามลำดับ เราจะศึกษากันถึงสิ่งที่เรียกว่า ธรรม ธรรมะนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดีที่สุด เพื่อจะรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ธรรม ในทุกความหมาย
คำว่า ธรรม นี้ จะกล่าวอย่างกว้างขวาง กล่าวรวบหมดจะเป็นทางศาสนาหรือมิใช่ทางศาสนา หรือทางวิทยาศาสตร์ หรือของคนป่าก็แล้วแต่ คำว่า ธรรม แปลว่า ธรรมชาติ ๔ ความหมาย บาลีคำบาลีคำว่า ธรรมะ กับ ธรรมชาติ คำเดียวกัน ธรรมชาติ ๔ ความหมาย ก็คือ
- ตัวธรรมชาตินั้นเอง ความหมายหนึ่ง
- คำว่า กฎของธรรมชาติ ที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้น อีกความหมายหนึ่ง
- และหน้าที่ที่ต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาตินั้น อีกความหมายหนึ่ง
- และผลที่จะได้รับโดยสมควรหน้าที่ที่กระทำ
นี่ก็ขอให้คิดดูเถิดมันกว้างขวางอย่างไร มันมันหมายถึงทุกอย่างไม่ยกเว้นอะไร ตัวธรรมชาตินี้ก็เป็นธรรมชาติกันทั้งหมด เด็กทารก เด็กวัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ มันก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ ตัวธรรมชาติ เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ ที่ไม่มีชีวิตเป็นแผ่นดิน เป็นโลก เป็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวในจักรวาลนี้ก็คือธรรมชาติ ข้างในก็เป็นธรรมชาติ ข้างนอกก็เป็นธรรมชาติ จงรู้จักว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นธรรมชาติ
แล้วก็ในธรรมชาตินั้นมีสิ่งที่ สอง คือ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มีอยู่อย่างตายตัว เฉียบขาด มีอำนาจสูงสุด อย่างจะสมมติก็ต้องเรียกว่าเป็นพระเจ้า เป็นพระเป็นเจ้า คือตัวกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั่นเองเป็นตัวพระเป็นเจ้า ในพุทธศาสนาเราก็ยอมรับกฎของธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท นี่จงรู้ไว้ว่าเราก็มีพระเป็นเจ้าแต่มันไม่ใช่เป็นอย่างบุคคล เป็นอย่างกฎเกณฑ์จะได้เฉียบขาด แน่นอน ยุติธรรม มั่นคง ยุติธรรม มั่นคงยิ่งกว่าอย่างที่เป็นบุคคลด้วยกัน นี่คือกฎของธรรมชาติ ควบคุมภายนอกทั้งจักรวาล และควบคุมภายใน ในชีวิตนี่ทุกปรมาณูแห่งชีวิตเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
ตามตัวกฎของธรรมชาติ แล้วมันก็มีหน้าที่สำหรับสิ่งที่มีชีวิต คือบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติเหล่านั้น มิฉะนั้นจะต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย หรือหาความสงบสุขไม่ได้ในเมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเหล่านั้น
เมื่อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเหล่านั้นแล้วก็เกิดสิ่งสุดท้ายคือผล ผลอันเกิดจากหน้าที่ตามสมควรแก่การปฏิบัติหรือความรู้ ดังนั้นเราจึงต้องรู้แล้วจึงปฏิบัติ แล้วจึงได้รับผลของการปฏิบัติ แล้วก็ยังมีแก่ใจสอนผู้อื่นให้รู้กันต่อๆ ไป ไม่มีขอบเขตจำกัด นี่คือหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติ
14:00 ควบคุมภายนอกทั้งจักรวาล และควบคุมภายในในชีวิต นี่ทุกปรมาณูแห่งชีวิตเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ นี่ตัวธรรมะ ตัวกฎของธรรมชาติ แล้วมันก็มีหน้าที่สำหรับสิ่งที่มีชีวิต คือบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย จะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติเหล่านั้น มิฉะนั้นจะต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย หรือหาความสงบสุขไม่ได้ในเมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเหล่านั้น เมื่อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเหล่านั้นแล้วก็เกิดสิ่งสุดท้ายคือผล ผลเกิดจากหน้าที่ตามสมควรแก่การปฏิบัติหรือความรู้ ดังนั้น เราจึงต้องรู้ แล้วจึงปฏิบัติ แล้วจึงได้รับผลของการปฏิบัติ แล้วก็ยังมีแก่ใจสอนผู้อื่นให้รู้กันต่อๆ ไปไม่มีขอบเขตจำกัด นี่คือหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ แล้วมันก็มีหน้าที่สำหรับสิ่งมีชีวิต คือบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติเหล่านั้น มิฉะนั้นจะต้องตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย หรือหาความสงบสุขไม่ได้ เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเหล่านั้น เมื่อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเหล่านั้นแล้วก็เกิดสิ่งสุดท้ายก็คือผล ผลอันเกิดจากหน้าที่ตามสมควรแก่การปฏิบัติ หรือความรู้ ดังนั้น เราจึงต้องรู้ แล้วจึงปฏิบัติ แล้วจึงได้รับผลของการปฏิบัติ แล้วก็ยังมีแก่ใจสอนผู้อื่นให้รู้กันต่อๆ ไปไม่มีขอบเขตจำกัด นี่คือหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติ 17:03 มีให้ครบหมดทุกอย่าง ทุกประการ ทุกลำดับ ทุกวัย จะเป็นวัยปฐมวัย เป็นเด็กทารกมันก็มีเรื่องจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ เป็นเด็กวัยรุ่น เป็นหนุ่มสาว เป็นพ่อบ้าน แม่เรือน เป็นคนแก่ คนเฒ่า มันก็ล้วนแต่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ในชีวิตนี้จึงจะเป็นชีวิต ที่เรียกว่า ชีวิต คือมีความสดชื่น มีความสุขสงบ
เมื่อกล่าวถึงธรรมะว่ามีอยู่ ๔ ความหมายอย่างนี้แล้ว ท่านทั้งหลายลองคิดดูว่ามันยกเว้นอะไร มันยกเว้นอะไร มันไม่ยกเว้นอะไร มันหมายถึงทุกอย่าง ทุกอย่างเป็นธรรมะ จะเป็นสิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งก็เป็นธรรมะไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็เป็นธรรมะใน ๔ ความหมายนี้ หรือเกี่ยวกับ ๔ ความหมายนี้ นี่เรียกว่า ข้อแรกที่จะต้องรู้ก็คือ ธรรมชาติ ๔ ความหมาย แล้วก็พูดได้เลยไปถึงว่า ธรรมะคือทุกสิ่งๆๆ ไม่ยกเว้นอะไร ทั้งที่เรารู้จักแล้ว และเรายังไม่รู้จักอีกมากมาย ก็รวมอยู่ในคำนี้คือคำว่า ธรรมะ
ธรรมะ ธรรมะคำนี้เป็นคำพูดที่ประหลาดที่สุด คำพูดที่แปลภาษาอะไรก็ไม่ได้ เอาตามความหมายเดิม มันจะตอบคำถามได้หมดไม่ว่าจะตั้งคำถามขึ้นมาว่าอะไร เป็นคำถามอย่างเด็ก อย่างผู้ใหญ่ อย่างคนแก่คนเฒ่าลองตั้งคำถามขึ้นมา มันเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าธรรมะทั้งหมด ทำไมจึงเกิดมีธรรมะ ทำไมจึงแก่เจ็บตายมีธรรมะ ทำไมจึงหิวก็มีธรรมะ ธรรมชาติคือเกิดตามธรรมชาติ ทำไมจึงอิ่ม ทำไมจึงดี ทำไมจึงชั่ว ทำไมจึงชนะ ทำไมจึงพ่ายแพ้ ทำไมโลกมันวินาศ ก็เพราะมันขาดธรรมะ ทำไมโลกจะอยู่เจริญรุ่งเรือง ก็เพราะว่ามีธรรมะ คำว่าธรรมะคำเดียวมันตอบปัญหาแล้วแต่ว่าใครจะถามขึ้นมาว่าอย่างไร คนหนุ่มก็มีปัญหาเรื่องธรรมะ คนแก่ก็มีปัญหาเรื่องธรรมะ เด็กๆ ก็มีปัญหาเรื่องธรรมะ เกี่ยวกับธรรมะจะต้องประพฤติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ หรือสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ
ทีนี้ถ้าจะดูที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ก็ตอบได้ว่า ธรรมะนั้นคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรู้ ท่านได้ตรัสรู้ทุกสิ่งที่อาจจะรู้หรือควรจะรู้ แล้วท่านก็นำมาสอนเท่าที่จำเป็น เท่าที่เห็นว่าจำเป็นสำหรับคนทั่วไปจึงเกิดการเปรียบเทียบขึ้นมาว่า ได้ตรัสรู้เท่ากับใบไม้หมดทั้งป่า แต่เอามาสอนประชาชนเท่ากับใบไม้กำมือเดียว พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้แก่ภิกษุในระยะที่กำลังเดินอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ธรรมะคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แต่แล้วยังมีความหมายที่ละเอียดกว่านั้น ธรรมะนั่นแหละคือพระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระองค์ยังตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดไม่เห็นธรรมผู้นั้นไม่เห็นเรา คำว่าธรรมในที่นี้ก็คือธรรมใน
๔ ความหมายนั้นก็ได้ ถ้าจำกัดเฉพาะว่า ความรู้อันเกี่ยวกับความทุกข์ และความดับทุกข์ มีคำกล่าว มีคำตรัสว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นฉัน เห็นเรา
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ว่า ความทุกข์อาศัยกันเกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์อาศัยการดับลงอย่างไร มันมีเหตุ มันมีปัจจัย มันอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยดับลง อย่างนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นธรรมะผู้นั้นเห็นเรา นี่คือพระพุทธเจ้าพระองค์จริง คือสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ แต่ท่านทั้งหลายไม่เคยจะได้ยินได้ฟังอย่างนี้แต่มีอยู่ พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจะเคยได้ยินได้ฟังแต่ว่า ธรรมะเป็นองค์หนึ่งในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถ้าเอาอย่างนี้เป็นหลักก็ตอบได้ว่า ธรรมะ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ ได้ตรัสรู้ ตรัสรู้แล้วพระองค์ท่านเคารพธรรมะนั้น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เคารพธรรมะที่ได้ตรัสรู้ นี่คืออยู่อย่างนี้ก็มี จะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงก็ได้จะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ได้
เอาที่มันเกี่ยวกับคนเรา เกี่ยวกับพวกเรา ธรรมะก็คือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อความรอด นึกถึง ๔ คำ ๔ คำแรกที่ว่า ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือผลที่จะได้รับ เมื่อกล่าวเป็น ๔ อย่างคืออย่างนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความหมายที่ ๓ คือหน้าที่ๆๆ ตามกฎของธรรมชาติ นี่คือตัวธรรมะที่จำเป็นที่จะต้องรู้ จะต้องปฏิบัติ และพระพุทธเจ้าท่านถือเป็นหลักเกณฑ์ที่สุดว่าจะต้องเคารพธรรมะ คือหน้าที่ แล้วก็ประพฤติกระทำไปเพื่อความรอด ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็เป็นความตาย จงเข้าใจในลักษณะที่สรุปสั้นที่สุด สุดยอดที่สุดว่า ธรรมะคือหน้าที่อันถูกต้องเพื่อความรอด มันต้องถูกต้องเพื่อความรอด ไม่ใช่ถูกต้องเพื่ออย่างอื่นอันไม่จำเป็น จำเป็นที่สุดก็ถูกต้องเพื่อความรอด รอดทั้งทางร่างกาย รอดทั้งทางจิตใจ รอดทุกขั้นตอนทุกระดับแห่งชีวิต แล้วก็ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น รอดอยู่คนเดียวไม่ได้ในโลกนี้ ใครๆ อยู่คนเดียวในโลกคนเดียวเดี๋ยวนี้ไม่ไม่เท่าไรมันก็ตายมันอยู่ไม่ได้ เพราะมันสร้างสำหรับอยู่กันมากๆ คนก็มาก สัตว์ก็มาก ต้นไม้ต้นไร่ก็มาก แผ่นดินก็มาก อะไรก็มาก นี่ต้องรอดด้วยกันมาทั้งนั้นมันจึงจะอยู่กันมาได้
ธรรมะ คือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องแก่ความรอดทั้งทางกาย และทางจิตทุกขั้นตอนแห่งชีวิต ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น ธรรมะโดยหลักปฏิบัติที่สมบูรณ์มันเป็นอย่างนี้ ขอย้ำอีกทีหนึ่งเพื่อจำให้แม่นยำว่า ธรรมะคือระบบปฏิบัติ มันเป็นระบบไม่ใช่สิ่งเดียวมันต้องนำมาปฏิบัติเป็นระบบหลายอย่างที่ถูกต้อง ถ้าทำไม่ถูกต้องมันก็ใช้ไม่ได้ ถูกต้องแก่ความรอด ความไม่ตายทั้งทางกายทั้งทางจิต และทุกขั้นตอนแห่งชีวิตตั้งแต่เด็กทารกจนเข้าโลงทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น ครูในโรงเรียนสอนเด็กๆ ว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้อนี้มันไม่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะในประเทศอินเดีย คำว่า ธรรมะใช้แก่ทุกๆ ศาสนา ทุกๆ ลัทธิ สอนธรรมะกันทั้งนั้น แต่ว่าสอนตามหลักเกณฑ์ของตน ดับทุกข์ตามหลักเกณฑ์ของลัทธิ ศาสนานั้นๆ จึงไม่เหมือนกัน
เราคือชาวพุทธมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติของชาวพุทธ คือ รู้เรื่องความแห่งให้เกิดทุกข์ รู้เรื่องความดับทุกข์ ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท แล้วปฏิบัติตามนั้น ดับทุกข์ได้ นี่เรียกตัวธรรมะ คือตัวธรรมะ มันสำคัญอยู่ที่หน้าที่ๆ ถ้าไม่มีหน้าที่ก็คือความตาย ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตมันมีหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ปฏิบัติให้ถูกตามกฎของธรรมชาติ แล้วมันก็อยู่รอดและสูงขึ้นไปตามลำดับ ตามลำดับจนได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่สูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ
นี่พูดมายืดยาวนี่เพื่อจะตอบคำถามสั้นๆ ว่า ธรรมะ ธรรมะนั้นคืออะไร ธรรมะคือธรรมชาติ ๔ ความหมาย รวมทุกสิ่งหมดไม่ยกเว้นอะไร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องรู้คือหน้าที่ที่จะดับทุกข์ นี่คือธรรมะ ลูกเด็กๆ ก็ต้องรู้ธรรมะในลักษณะอย่างนี้ คือหน้าที่ที่ดับทุกข์ไปตามประสาลูกเด็กๆ คนวัยรุ่น คนหนุ่มสาว พ่อบ้านแม่เรือนก็ให้รู้ธรรมะไปตามหน้าที่ของตน หน้าที่ของตนเมื่อใดปฏิบัติหน้าที่เมื่อนั้นเรียกว่ามีธรรมะ สรุปสั้นๆว่า เมื่อใดมนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ของมนุษย์เมื่อนั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรม
เมื่อใดมนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ของมนุษย์เมื่อนั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรม ระดับไหนก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น จะทำไร่ ทำนา จะค้าขาย หรือว่าทำราชการ หรือจะเล่าเรียน หรือจะอะไรก็ตาม แม้ที่สุดแต่ว่าจะรับประทานอาหาร จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เมื่อใดทำหน้าที่ของมนุษย์เมื่อนั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรม จะต้องทำให้ดีที่สุด แม้จะนั่งอยู่บนโถส้วม ในห้องน้ำ ทำหน้าที่นั้นให้ถูกต้อง ให้ดีที่สุด ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมที่นั่นนี่อย่างต่ำที่สุดแล้ว จะกิน จะอาบ จะถ่ายอะไรก็ให้มันถูกต้องตามหน้าที่ เมื่อใดมนุษย์ทำหน้าที่เมื่อนั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรมะถูกต้องตามระดับของตน เป็นทารกก็ได้ เป็นเด็กโตก็ได้ วัยรุ่นก็ได้ หนุ่มสาวก็ได้ พ่อบ้านแม่เรือนก็ได้ คนแก่ คนเฒ่าก็ได้ คนที่พร้อมที่จะเข้าโลงก็จะต้องปฏิบัติธรรมะให้ถูกต้อง จึงจะเรียกว่าเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง นี่คือตัวธรรมะ ธรรมะ
ท่านจงถือเอาความหมายให้ถูกต้องตามวัย หรือตามสถานการณ์ของตนที่เป็นอยู่อย่างไร มีธรรมะชื่ออะไร ธรรมะข้อไหน แต่แล้วมันก็ไปรวมอยู่ในคำว่า หน้าที่ๆ หน้าที่ที่จะต้องประพฤติ ปฏิบัติให้ถูกต้องทุกกระเบียดนิ้ว นี่ธรรมะคืออะไร แจกเป็นสำหรับคนปฐมวัย เป็นเด็ก เป็นหนุ่มสาว เป็นพ่อบ้านแม่เรือน มีรายละเอียดที่รู้กันอยู่แล้ว ในที่นี้ขอย้ำแต่ที่ว่ามันเป็นหน้าที่ๆ เมื่อใดปฏิบัติหน้าที่เมื่อนั้นเรียกว่ามีธรรมะ แล้วก็จะได้รับผลของธรรมะโดยสมควรแก่การปฏิบัติในหน้าที่นั้นๆ มันจึงมีหลายระดับแล้วแต่อายุหรือวัย หรือสถานการณ์ หรือสถานะของตน
ทีนี้ก็จะพูดถึงคำต่อไปว่า ชีวิตนั้นคืออะไร ถ้าเราได้พูดมาจะเห็นว่าธรรมะนั้นมันคู่กันกับชีวิต หรือถึงกับเป็นตัวชีวิตเสียเอง ชีวิตที่ไม่มีธรรมะจะต้องตายหรือจะต้องอยู่อย่างรับทุกข์เจียนตาย เหมือนกับตกนรกทั้งเป็น มีธรรมะก็เพื่อดำเนินชีวิตให้มันถูกต้อง โดยไม่ต้องมีความทุกข์ ดังนั้นเราควรจะถามหรือศึกษาให้รู้ว่าชีวิตนี้คืออะไร คำว่าชีวิตก็เหมือนกัน มีความหมายที่หมายหรือแปลได้หลายความหมาย โดยสามัญสำนึก ใครๆ รู้สึกได้เองว่า ชีวิตคือความไม่ตาย คือยังเคลื่อนไหวได้อยู่ มันก็เรียกว่ายังไม่ตาย แม้แต่นาฬิกา ถ้ามันยังเดินอยู่ก็เรียกว่ามันยังไม่ตาย ในสามัญสำนึกของคนก็คือความที่มันยังไม่ตาย ในทางภาษาศาสตร์ ชีวิตก็คือความที่ยังเป็นอยู่ ยังไม่ตาย โดยทางวิทยาศาสตร์ที่ละเอียดลึกซึ้งลงไปมันก็มีความหมายคล้ายๆกันว่า ความถี่เซลล์หนึ่งๆ ที่มีโพโตพลาส มีวุ้นอยู่ในเซลล์หนึ่งๆ เมื่อโพโตพลาสนั้นยังไม่ตาย ยังไม่เน่า ยังไม่เปลี่ยนแปลง ยังไม่อะไร เซลล์นั้นก็ยังสดอยู่ ก็เรียกว่าชีวิตนั้นยังอยู่ มามองดูที่เซลล์แต่ละเซลล์ที่ประกอบกันเป็นสัตว์ เป็นคนว่ามันยังสดอยู่ แต่ละเซลล์ ละเซลล์ ความที่ยังมีความสดอยู่ในโพโตพลาสที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเซลล์ หนึ่งๆ เรียกว่า ชีวิต มีการบัญญัติกันอย่างนี้ก็ได้ ก็ถูกไปตามเรื่องนั้นๆ
ถ้าเอากันตามหลักธรรมะแล้ว ชีวิต คือระบบของการเป็นอยู่ ที่จริงคำว่า อาชีโว อาชีโวนั่นล่ะเป็นความหมายที่ดีที่สุดของคำว่าชีวิต อาชีโว แปลว่า การดำรงชีวิต ทำอย่างไรก็ตามทุกอย่างทุกประการที่จะทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ อันนั้นตามภาษาบาลีเรียกว่า อาชีโว หรือ อาชีวะ ไม่ได้มีความหมายแต่เพียงว่าประกอบกิจการงาน หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอย่างถูกต้องนั่นไม่ใช่ มันหมายถึงดำรงชีวิตทุกอย่าง เป็นอยู่ทุกอย่าง และเราจะต้องเป็นอยู่อย่างไร จะกินอะไร จะนุ่งห่มอะไร จะอยู่ที่ไหน จะบำบัดเยียวยารักษาโรคภัยไข้เจ็บอย่างไร เอามารวมๆ กันหมดแล้วก็เรียกว่า การดำรงชีวิต เป็นตัวภาษาบาลีก็เรียกว่า อาชีโว อาชีวะ หรือถ้าว่า ว่ากันโดยอาศรมทั้ง ๔ ในหลักเกณฑ์ในอินเดียโบราณว่า ไอ้ชีวิตนี้แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนต้น เรียกว่า พรหมจารีย์ เป็นเด็กๆ เป็นวัยรุ่น เป็นหนุ่มสาวนี่ต้องศึกษาๆๆ ให้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเผชิญชีวิต เรียกว่า อาศรมแห่งพรหมจารีย์ แล้วก็ไปครองเรือนเป็นคฤหัสถ์ เป็นบ้านเป็นเรือน เรียกว่า อาศรมของคฤหัสถ์ หรือ อาศรมสามี-ภรรยา บิดา-มารดา ครั้นแล้วเพียงพอแล้วก็แสวงหาความสุขส่วนตัว ออกจากบ้านเรือน หรือละวางภาระของบ้านเรือนไปหาความสงบ อยู่ในป่าก็ได้ที่ไหนที่มีความหมายคล้ายป่าก็ได้ทั้งนั้น เรียกว่า วนปรัสถ์ เป็นอาศรมแห่งความสงบ แล้วก็ถ้าดีกว่านั้นอีก มันเก่งกว่านั้นอีก มันก็ถือโอกาสเที่ยวแจกของส่องตะเกียงให้ประชาชนรู้ธรรมะ นี้เรียกว่า สันยาสี แต่คนโง่ทำไม่ได้หรอก คนโง่เพียงแต่ว่าจะอยู่ป่าหาความสงบสงัดมันก็ทำไม่ได้ โดยเฉพาะข้าราชการพอเกษียณอายุแล้วก็วุ่นวายเหมือนกับปลาถูกจับโยนขึ้นมาบนบก หมดท่าแล้ว หมดอะไรแล้ว นี่มันเป็นเรื่องของคนโง่ ไม่สามารถจะดำเนินชีวิตให้ครบถ้วนใน ๔ ความหมายว่า เป็นพรหมจารีย์ ศึกษาไปๆ คฤหัสถ์ๆครองเรือนไปถึงที่สุดแห่งคฤหัสถ์แล้ว ก็หาความสงบในความหมายของคำว่า อยู่ป่า หรือหาความสงบ เมื่อได้พบความสงบหรือมีความรู้ในทางนี้มากมายพอแล้ว ก็เที่ยวสั่งสอนประชาชนเพื่อนมนุษย์ เรียกว่า สันยาสี นักบวชหรือพระอรหันต์ทั้งหลายที่จบการศึกษาของตนแล้วก็เป็นสันยาสีกันทั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าเองก็เป็นสันยาสีองค์หนึ่งที่แจกของส่องตะเกียงจนตลอดชีวิต
นี่ชีวิตคืออะไร ชีวิตคือต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนใน ๔ ความหมายนี้ เมื่อวัยศึกษาก็ศึกษาให้ดีที่สุด วัยครองเรือนก็ครองเรือนให้ดีที่สุด แล้วก็แสวงหาความสงบในเบื้องบั้นท้ายแห่งชีวิต ถ้าดีกว่านั้นก็เที่ยวสอนผู้อื่นให้มีความรู้อย่างนั้นด้วย ใครดำเนินชีวิตครบ ๔ อย่างนี้แล้วก็เรียกว่าสมบูรณ์ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ก็เลยเกิดความหมายอย่างหนึ่งขึ้นมาในลักษณะที่เป็นอุปมา เรียกว่า ชีวิตะ สังโวหาระ โวหาระ คือ โวหาร สังโวหาระ คือ โวหาระอันเต็มเปี่ยมอันทั่วพร้อม ในที่นี้หมายถึงการดำเนินชีวิตอันทั่วพร้อม สังโวหาระ คำนี้ แปลว่า ทำการค้าขาย ภิกษุทำการค้าขายด้วยรูปียะ เขาเรียกว่า เป็น อาบัติ คำนี้ก็คือคำว่า สังโวหาระ สังโวหาระ แปลว่า การค้าขาย เราได้ยินแต่คำว่า โวหารๆ พูดเก่ง มันก็รวมอยู่ในนี้ เพราะว่ามันทำให้ได้รับประโยชน์
สังโวหาระ เป็นการค้าขายของชีวิต ชีวิตนี้ธรรมชาติให้มาเป็นเดิมพันในลักษณะให้ยืม ลักษณะให้ยืมชีวิตนี้มาผลิตผลประโยชน์เอาเอง พัฒนาเอาเอง อย่าให้ล้มเหลว แล้วก็คืนเจ้าของ อย่าเอาไปใช้ทุจริตคดโกงอย่างอื่น ชีวิตนี้ธรรมชาติให้ยืมมา เพื่อผลิตผลให้เกิดผลดีตามที่ควรจะได้รับ เมื่อถึงเวลาแล้วก็คืนเจ้าของ อย่าโง่ อย่าสะบัด อย่าคดโกง มาเป็นตัวกู เป็นของกู นั้นเป็นเรื่องของคนโง่ ถ้าเป็นเรื่องของธรรมะมันเป็นเรื่องของ อนัตตา ไม่ใช่ของกูไม่ใช่ตัวกู ธรรมชาติให้ยืมมา สำหรับทำการค้าเอาตามชอบใจ ให้ได้รับผลดีที่สุด แต่ว่าน้อยคนนักที่จะไปจนถึงจุดสุดท้าย จุดหมายปลายทางว่า เป็นนักเรียน นักศึกษา เป็นพ่อบ้าน แม่เรือน เป็นวนปรัสถ์ เป็นสันยาสี ดังที่กล่าวแล้ว ไม่มีความรู้ แสงสว่างทางนี้ก็คือคนบอด คนบอดหลับตาคลานอยู่นั่นแหละ หลับตาคลานนั้นจะไปถึงไหนเล่า มันต้องลืมตา มันต้องมีแสงสว่างมีความรู้แจ้ง มันก็เดินไปก็ได้ วิ่งไปก็ได้ หรือมันเหาะไปก็ได้ ไม่ใช่หลับตาคลานอยู่บนพื้นดินอย่างนี้ นี่เรียกว่าชีวิตะ สังโวหาระ เมื่อคนนั้นสำเร็จหน้าที่ในการงานทางบ้านเรือน มีทรัพย์สมบัติเป็นปึกแผ่น มีอะไรมั่นคงแล้วก็ปลดตัวเอง ปลดตัวเองเหมือนกับปลดเกษียณนั่นแหละ แต่ว่าปลดตัวเอง คือมอบหมายทรัพย์สมบัติ หน้าที่กิจการงานต่างๆ ให้ลูก ให้หลาน ตัวเองก็เป็นผู้จบสังโวหาระ นุ่งผ้าขาว ใส่เสื้อขาว ใส่รองเท้าขาว กั้นร่มขาวไปเที่ยวเดินเล่นอยู่ตามป่าละเมาะริมลำธาร หมดภาระใดๆ นี่เรียกว่า จบชีวิตะ สังโวหาระ
ตรงนี้ขอเล่าต่อไปอีกอย่างอีกตอนหนึ่งว่า คนชนิดนี้ บังเอิญไปพบกันกับพระพุทธเจ้า เขาก็แสดงท่าเบ่งว่า เขาเป็นผู้จบชีวิตะ สังโวหาระ พระพุทธเจ้านั้นยังไม่จบ ยังเที่ยวทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้ ก็อวดเบ่งทำนองนั้น พระพุทธเจ้าก็เลยถามว่า ท่านจบชีวิตะ สังโวหาระ ถ้าลูกตาย หลานตาย เหลนตาย เป็นอย่างไรบ้าง ถ้าทรัพย์สมบัติเหล่านั้นเกิดวิบัติ ฉิบหายไปเป็นอย่างไรบ้าง เขาก็สารภาพว่า เขาก็เป็นทุกข์และเสียใจ พระพุทธเจ้าก็เลยสอนให้รู้ว่า นั่นน่ะยังไม่จบ ชีวิตะ สังโวหาระของท่านยังไม่จบ มันจบแต่เรื่องโลกๆ จบแต่เรื่องทางวัตถุ ไม่ใช่จบในเรื่องทางจิตทางวิญญาณ ถ้าจะจบเรื่องทางจิตทางวิญญาณจะต้องไม่มีความทุกข์ร้อนอีกต่อไป แม้อะไรจะวิบัติเปลี่ยนแปลงอย่างไร ความเกิดก็ไม่เป็นปัญหา ความแก่ก็ไม่เป็นปัญหา ความเจ็บก็ไม่เป็นปัญหา ความตายก็ไม่เป็นปัญหา นายคนนั้นก็เลยเกิดสนใจขึ้นมาว่า มันยังไงกันๆ ขอให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
พระพุทธเจ้าก็แสดงธรรม ให้รู้ว่ารู้เรื่อง อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท แล้วชีวิตก็ไม่เป็นปัญหา ชีวิตนั้นจบ ชีวิตะสังโวหาระทั้งฝ่ายโลกๆ และทั้งฝ่ายธรรมะ คือทั้งฝ่ายต่ำและทั้งฝ่ายสูง นี่เราจงรู้และสำนึกว่ามันมี ชีวิตะ สังโวหาระ แปลตรงๆ ก็ว่า การค้าขายด้วยชีวิตที่ธรรมชาติให้ยืมมาเป็นต้นทุน ให้ยืมมาอย่างไม่คิดค่าดอกเบี้ยนะ ให้ยืมมาอย่างไม่คิดค่าสึกหรอนะ แต่มนุษย์โง่นี้มันก็โกงเอามาเป็นตัวกู เป็นของกู ไม่ได้ถือเอาว่าเป็นไปตามธรรมชาติ หรือธรรมชาติให้ยืมมา ท่านทั้งหลายเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า ธรรมชาติให้ยืมมาลงทุนค้า ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่คิดค่าสึกหรอ เอาสิ พอได้รับผลตามที่ต้องการแล้ว มันก็ควรจะคืน ส่งคืนให้ธรรมชาติอย่างถูกต้อง ไม่คดโกง เอาเป็นของกู เอาเป็นตัวตนของกู
นี่ต้องปฏิบัติต่อชีวิตกันในลักษณะอย่างนี้ สมบูรณ์ด้วยชีวิตะโวหาร แล้ว ทั้งในประเภทโลกียะคืออย่างโลกๆ ทั้งในประเภทโลกุตตระ คือมีจิตใจอยู่เหนือโลก โลกนี้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป แม้ชีวิตนี้ยังอยู่ที่นี่ อยู่ในโลกนี้ ร่างกายนี้อยู่ในโลกนี้ แต่ว่าโลกนี้ไม่เป็นปัญหาอะไรแก่ชีวิตนี้อีกต่อไป ถ้าอย่างนี้ก็เรียกว่า โลกุตตระ ถ้าอะไรๆ ในโลกมันยังเป็นปัญหาอยู่ ก็เรียกว่ายังเป็นโลกียะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ อย่างนี้มันเรียกว่ามันอยู่ใต้อิทธิพลของโลก ถ้ามันมีแต่ความสงบเย็นๆ ในทุกๆ กรณี ก็เรียกว่าอยู่เหนือโลก ท่านไม่ต้องคิดว่าตายแล้วจะไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ โลกุตตระอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ รู้สึกว่าอยู่ที่นี่ๆโดยความที่โลกเบียดเบียนไม่ได้ โลกในแง่บวกก็ดี ในแง่ลบก็ดี เบียดเบียนให้เป็นทุกข์ไม่ได้ นี่เรียกว่า มันอยู่เหนือโลก เป็นชีวิตะโวหารที่สมบูรณ์
นี่เดี๋ยวนี้เราจะแจกกันให้มันเป็นที่ศึกษากันเข้าใจง่ายๆ มันก็พอจะพูดกันได้โดยแจกออกเป็นวัยๆ ปฐมวัย มัจฉิมวัย ปัจฉิมวัย แต่เราอยากจะพูดให้มันชัดกว่านั้น เพราะว่าที่ประชุมนี้มีทั้ง ปฐมวัย มัจฉิมวัย ปัจฉิมวัย แยกออกเป็นวัยในภาษาไทยง่ายๆ ว่า วัยเรียน คงจะรู้ดีว่าคืออะไร วัยเรียนก็คือวัยรัก บางทีก็มีความหมายแห่งนรกรวมอยู่ด้วยในวัยรักนั่นแหละ วัยเรียนแล้วก็วัยรัก แล้วก็วัยรวย ทำการงานแล้วก็รวย แล้วก็วัยร่มเย็นๆ เยือกเย็น คิดดูวัยเรียน วัยรัก วัยรวย วัยร่มเย็น ซึ่งจะต้องชนะให้ได้ ต้องผ่านไปให้ได้ทุกวัย เมื่ออยู่ในวัยเรียน ก็เอาชนะให้ได้ คือเรียนให้จบ เรียนให้สำเร็จให้สุดความสามารถที่มันจะเรียนได้ จบการเรียนแล้วก็มันเริ่มด้วยวัยรักเป็นธรรมดา คนหนุ่ม คนสาว ถ้ารักอย่างโง่เขลา มันก็มีนรกรวมอยู่ด้วยในความรัก ถ้ารักอย่างฉลาดมันก็ไม่ต้องมีก็ได้ จะไปเกี่ยวข้องกับกามารมณ์ในลักษณะที่ฉลาดมันก็ได้ มันก็ไม่มีปัญหาอะไรมากมาย มันเป็นของธรรมดาเหมือนกับอาหารชนิดหนึ่งก็ผ่านไป แต่ไปทำผิด ไปบูชาโง่เง่า หลงใหล มันจะมีวัยนรกรวมอยู่ในนั้นด้วย บางทีก็ถึงกับฆ่าตัวตาย แล้วก็ทำการงานๆ ด้วยความเฉลียวฉลาดจนตั้งตัวได้ มีทรัพย์สมบัติพอตัว มีเกียรติยศชื่อเสียงพอตัว มีเพื่อนมิตรสหายที่ดีพอตัว นี่ก็เรียกว่า วัยรวยๆ ก็เข้าไปหลายสิบปี แล้วในที่สุดก็มาถึงวัยร่มเย็นซึ่งมีแต่เฉพาะคนฉลาด คนโง่มีไม่ได้ คนโง่มันจะเป็นปัญหาไปหมดร่างกายแก่ชรา เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์ เป็นห่วงลูกห่วงหลานห่วงเหลน ไม่มีวันร่มเย็น นั้นมันคนฉลาดไอ้คนไม่ฉลาดมันเป็นคนโง่
มันถึงจะวัยร่มเย็นไม่ได้ มันก็ตายไปในวัยยุ่งๆ นี้ มันเกษียณอายุไม่เป็น มันศึกษาธรรมะไม่ครบถ้วน ไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างครบถ้วน มันไม่เห็นเช่นนั้นเองๆๆ ของธรรมชาติ มันไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตา ตถาตา มันเย็นไม่ได้เพราะมันไม่ศึกษาธรรมะให้สมบูรณ์ ถ้ามันศึกษาธรรมะสมบูรณ์ มันรู้ ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา แล้วมันหัวเราะเยาะ มันหัวเราะเยาะความเกิด หัวเราะเยาะความแก่ หัวเราะเยาะความเจ็บ หัวเราะเยาะความความตาย
คนไม่เคยได้ยินได้ฟังคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ท่านตรัสว่า “ถ้าสัตว์เหล่าใดได้อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว สัตว์เหล่าใดได้อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดจะพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่จะพ้นจากความแก่ สัตว์ที่มีความเจ็บจะพ้นจากความเจ็บ สัตว์ที่มีความตายจะพ้นจากความตาย” ท่านตรัสอย่างนี้ ใครเคยได้ยินบ้าง คงจะน้อยคนเต็มที ถ้าไม่เคยอ่านข้อความตอนนี้ก็ไม่พบหรอก ว่าพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้อย่างนั้นจริงๆ แสดงอานิสงส์สูงสุดของความมีกัลยาณมิตร แต่นี่มันเอามาท่อนเดียว มันเอามาครึ่งเดียว มันมานั่งท่องอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดาไม่พ้นความเกิดไปได้ก็ร้องไห้โฮๆ สัตว์ทั้งหลายมีความเจ็บเป็นธรรมดาไม่พ้นความเจ็บไปได้ก็ร้องไห้โฮๆ สัตว์ทั้งหลายมีความแก่ ความตายเป็นธรรมดา ก็นั่งร้องไห้โฮๆ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ไม่พ้นจากกรรมและผลกรรมนั้นไปได้ นี่มันก็ร้องไห้โฮๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายได้ พ้นจากกรรมได้ สิ้นกรรมได้ อยู่เหนือกรรมได้ นี่ทำไมไม่เอามาว่ากันนะ
ดังนั้นถ้าจะให้การศึกษาสมบูรณ์ท่านทั้งหลายจงรู้ไว้ว่า พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสสอนไว้เป็นอย่างนี้ คือ พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ เพราะอาศัยพระองค์เป็นกัลยาณมิตร ประพฤติตนให้สิ้นสุดแห่งความมีตัวตน ความยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวตน ว่าของตนแล้วไม่ต้องรับกรรมอะไร กรรมหมดไป กรรมใหม่ กรรมเก่าไม่มี เลิกกัน กรรมใหม่ก็ไม่มีขึ้นมา นี่เรียกว่า อยู่เหนือกรรมโดยประการทั้งปวง นี่จะต้องรู้กันถึงอย่างนั้น จึงจะเรียกว่า เป็นพุทธบริษัทโดยสมบูรณ์ อย่ามาพูด ท่องกันอยู่แต่เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา ไม่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตายไปได้ มีกรรมเป็นของตน ต้องรับผลแห่งกรรมนั้น มันทำได้ โดยอยู่เหนือกรรม และไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตายอีกต่อไป นี่เป็นพุทธบริษัทสมบูรณ์ นี่วัยร่มเย็น คนแก่ คนเฒ่าคนไหนขึ้นมาถึงขั้นนี้ได้ ก็เป็นวัยร่มเย็นสมบูรณ์ ไม่ใช่วัยหมดท่า หมดความหมาย เหมือนกับข้าราชการเกษียณอายุรู้สึกกัน
เอาละย้ำกันอีกทีหนึ่งว่า วัยเรียน วัยรัก แล้วก็วัยรวย แล้วก็วัยร่มเย็น ขอให้ทุกคนทำให้ดีให้ผ่านพ้นไปได้ทั้ง ๔ ทั้ง ๔ ความหมาย ก็จะเรียกว่าได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ และใช้คำหยาบคายหน่อยว่า ไม่เสียชาติเกิด ถ้ามันไม่ได้ครบอย่างนี้ มันยังเสียชาติเกิด มันไม่ได้รับความร่มร่มเย็นแห่งชีวิตที่มีธรรมะสมบูรณ์ ประพฤติธรรมะได้สมบูรณ์และมีความร่มเย็นแห่งชีวิต จึงขอพูดเฉพาะท่านผู้สูงอายุทั้งหลายที่นั่งอยู่ที่นี่ ท่านกำลังย่างขึ้นมาถึงวัยที่มีค่าที่สุด มีราคาที่สุด มีความร่มเย็นแห่งชีวิต มีจิตใจแจ่มแจ้งสว่างไสวไปด้วยธรรมะ หัวเราะเยาะความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หัวเราะเยาะทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็อยู่ด้วยความร่มเย็น ปราศจากตัวตน ปราศจากของตน มีจิตว่าง เข้าถึงความหมายแห่งพระนิพพาน พระนิพพานคือว่างจากตัวตน ขอให้ได้ครบถ้วนทุกอย่าง ทุกประการอย่างนี้ นี่เรียกว่า ชีวิตคืออะไร ชีวิตคือสิ่งที่ต้องพัฒนา ต้องพัฒนา เกิดมาแล้วต้องทำงานอันนี้ คือ พัฒนาชีวิตจะปฏิเสธว่า เอ้อ..ฉันไม่รู้ ฉันไม่สัญญากันนี่ว่าจะเกิดมาพัฒนา อย่างนี้ไม่ได้ มันจะตกนรกทั้งเป็น เมื่อเกิดเข้ามา เกิดขึ้นมาแล้วก็เข้ามาสู่ขอบเขตอันนี้แล้วต้องพัฒนาชีวิตให้ครบถ้วนอย่างที่ว่ามาแล้ว ว่า วัยเรียน วัยรัก วัยรวย วัยร่มเย็น ได้ไม่ครบก็เรียกว่าไม่ได้ทุกสิ่งที่ควรจะได้ ได้ครบก็ดี ไม่เสียทีที่เกิดมา
ทีนี้ก็จะพูดโดยหัวข้อต่อไปว่า การศึกษา การศึกษานี่สำคัญที่สุดคือทำให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ เกิดมาจากท้องมารดามันไม่รู้อะไรมันออกมาเผชิญโลกอย่างไม่รู้อะไร มันก็ไม่ได้ ดังนั้น มันจึงต้องมีการศึกษา การศึกษานั้นเพื่อทำให้ชีวิตได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ แต่ถ้าไม่รู้มันก็ไปหลงเอาไอ้ที่โง่ๆ ง่ายๆ ต่ำๆ แต่ว่าสนุกสวยงามดี สนุกสนาน สำเริงสำราญอันนั้นเป็นที่สุดแห่งชีวิต อย่างนี้มันก็ช่วยไม่ได้เหมือนกัน เพราะมันศึกษาครึ่งท่อนไปหลงเหยื่อในโลกเสีย แล้วมันก็ติดอยู่ที่นั่น ถ้ามีการศึกษาสมบูรณ์มันก็ไปถึงที่สุดจุดหมายปลายทางที่เรียกว่า บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นชีวิตที่เยือกเย็นๆๆ จนตลอดชีวิต นี่เราจะต้องมีการศึกษาเอาความหมายของคำว่า สิกขา ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา ศึกษาในด้านวัตถุร่างกายภายนอก ศึกษาในด้านจิตใจในภายใน ศึกษาในเรื่องจิต เรื่องวิญญาณอันสูงสุดเพื่อเอาตัวรอดไปได้ เดี๋ยวนี้การศึกษามันเอาแต่เพียงหาเงิน มีเงินมากๆ แล้วก็สำเริงสำราญ สำเริงสำราญจนเป็นนรกทั้งเป็น เห็นแก่ตัวจนมันฆ่าตัวตายในที่สุด อย่างนี้ไม่ใช่การศึกษา
การศึกษาจะต้องให้เป็นสิ่งที่ทำให้สำเร็จได้มาซึ่งสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ นั่นแหละจึงจะเรียกว่าเป็นการศึกษา ศึกษาจบแล้วก็ใช้ทำลายอุปสรรค แก้ไขอุปสรรค ขึ้นไปจนถึงชีวิตนี้เยือกเย็น ชีวิตนี้เป็นประโยชน์ ชีวิตนี้สามารถจะแจกของส่องตะเกียงให้แก่ผู้อื่นได้ ขอให้ท่านมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า การศึกษาที่แท้จริงในทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างไร การศึกษาอย่างโลกๆ มันเพียงแต่หากินได้ หาเงินได้มาก หาชื่อเสียงได้มาก หาอำนาจวาสนาได้มาก นั้นมันเรื่องของชาวโลก แล้วมันจะต้องยินดียินร้าย จะต้องหัวเราะ จะต้องร้องไห้ บางทีเป็นมหาเศรษฐีแล้วก็ยังต้องฆ่าตัวตาย มีอำนาจสูงสุดแล้วมันก็ยังต้องฆ่าตัวตาย มีเหตุการณ์บังคับให้ต้องฆ่าตัวตายแล้วมันจะดีอะไร มันต้องได้รับผลอย่างที่ว่านี่แหละ ผ่านไปได้ทุกวัย วัยเรียน วัยรัก วัยรวย วัยร่มเย็น ถ้าไปถึงวัยร่มเย็นนั่นแหละมีการศึกษาสำเร็จ การศึกษาที่ทำกันอยู่ในโรงเรียน มันเรียนหนังสือ มันแค่ได้เรียนหนังสือสำหรับจะถ่ายทอดวิชาให้แก่กันและกัน แล้วมันก็รับการถ่ายทอดวิชาสูงขึ้นไปๆ จนถึงแก่ทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลส นั่นคือถึงที่สุดของการศึกษา
ฉะนั้นอย่าเข้าใจเพียงว่าเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็จบการศึกษา บางทียิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัย กิเลสยิ่งสุมหัวๆ เต็มไปหมด กิเลสยิ่งสุมหัว เต็มไปหมดเพราะเขาเรียนเพื่อความเห็นแก่ตัว เขาเรียนเพื่อประโยชน์ของตัว เพื่อหาเงินเพื่อหาอำนาจวาสนา ไม่ได้แสวงหาความสงบเย็น ถ้าจะเป็นชีวิตที่ร่มเย็นต้องเรียนมหาวิทยาลัยของพระพุทธเจ้า เรียนมหาวิทยาลัยของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบรมครู คือรู้จักกำจัดความรู้สึกฝ่ายต่ำให้หมดไป ไม่เกิดกิเลสใดๆ ไม่มีความเห็นแก่ตัวๆ นั่นแหละจบมหาวิทยาลัยของพระพุทธเจ้า ยิ่งเรียนยิ่งเห็นแก่ตัวๆ นั่นเป็นมหาวิทยาลัยของอันธพาล โลกนี้จะวินาศเพราะการเรียนอย่างนี้ ไม่มีการเรียนเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส
ดังนั้นคำว่า ศึกษา ศึกษาในภาษาไทย หรือคำว่า สิกขา ในภาษาบาลี หรือคำว่า สิกฉา ในภาษาสันสกฤต คำเดียวกันนั้นแหละ บาลีว่าสิกขา สันสกฤตว่าสิกฉา ภาษาไทยว่าศึกษา มีความหมายนี่เป็นคำๆเดียวกัน คือ การศึกษา ขอให้ท่านมีการศึกษาตามความหมายที่แท้จริงของคำว่า สิกขา ช่วยฟังให้ดีมันมีหลายระดับอยู่ สะสะ แปลว่า เอง สิกขะ สิกขะ แปลว่า เห็น ดูแล้วเห็น สิกขา แปลว่า ดูแล้วเห็น จึงมีคำจำกัดความว่า ดูตัวเอง ดูซึ่งตัวเอง โดยตัวเอง ในตัวเอง ต้องดูด้วยตัวเอง ซึ่งตัวเอง ในตัวเอง ดูเข้าไป แล้วก็จะเห็นตัวเอง แล้วก็จะรู้จักตัวเอง แล้วก็จะวิจัย วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องอย่างไร ทำอย่างไรกันดี วิจัย วิจารณ์ตัวเองพอแล้ว ก็ปฏิบัติไปตามความรู้ที่วิจัย วิจารณ์ได้ ก็ได้รับผลสูงสุดในการที่มีชีวิตเกิดมาเป็นมนุษย์
นี่คือการศึกษาที่สมบูรณ์ตามความหมายในภาษาบาลีว่า สิกขา ดูซึ่งตัวเอง โดยตนเอง ในตนเอง ก็ต้องดูด้วยตัวเอง คนอื่นดูแทนไม่ได้ แล้วก็ดูที่ไหน ก็ดูในตัวเอง ดูซึ่งตัวเอง ในตนเอง โดยตนเอง แล้วก็เห็นๆ ตนนั้นนะ ดูไม่เป็นก็ไม่เห็น ดูเป็นก็เห็น ถ้าเห็นถูกต้องก็จะรู้จักตัวเอง รู้จักตัวเองว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่ถูกต้องก็ไม่รู้จัก ฉะนั้น รู้จักตัวเองมาแล้วก็ วิจัย วิจารณ์ วิจัย วิจารณ์ใคร่ครวญด้วยเหตุผลอย่างนั้น อย่างนี้ มีเหตุอย่างไร มีผลอย่างไร เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร วิจัยตัวเอง วิจารณ์ตัวเอง เสร็จแล้วก็ปฏิบัติตามความถูกต้องของการวิจัย วิจารณ์ ก็ได้รับผลของชีวิต เกิดมาไม่เสียชาติเกิด ได้รับผลที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ นี่ท่านจำความหมายของคำว่า สิกขาๆ ไว้ว่าเป็นอย่างนี้ เพื่อดูตัวเอง ในตัวเอง โดยตนเอง เห็นตนเอง รู้จักตนเอง วิจัย วิจารณ์ตัวเอง ถึงจะปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่วิจัย วิจารณ์ได้ นี่คำว่า ศึกษา โดยภาษาบาลี ใช้เรื่องของธรรมะทั้งหมดทั้งสิ้น
คำว่า Education ที่มาใช้กันเป็นการศึกษาของโลก Education นี้แปลว่า นำออกมาดูเหมือนกัน รวบรวมมาดู รวบรวมเอามาดูเหมือนกัน ความหมายคล้ายๆ กันมากนะ แต่ไม่ใช่ เพียร ท่อง จดไว้ในสมุดอย่างนี้ มันเป็นเรื่องเห็น เข้าใจ แจ่มแจ้ง ประพฤติปฏิบัติอยู่ทั้งเนื้อทั้งตัว ถ้าความหมายของคำว่า สิกขา แล้วก็สมบูรณ์ที่สุด ถ้าเอาความหมายของคำว่า Educate อย่างที่เราใช้กันอยู่ในโลกนี้ ก็ต้องขยายความออกไปว่า นำอะไรมาดู นำอะไรออกมาดู นำขึ้นมาดู มันก็ต้องนำความจริงทั้งหลายของธรรมชาติในทุกๆ ความหมายนั้นนะขึ้นมาดู มันก็จะเป็นการศึกษาที่จะพอเข้ากันได้
การศึกษาสมบูรณ์ก็จะเป็นอย่างนี้ แล้วมันก็จะได้ความรู้ที่ถูกต้อง มีความรู้ถูกต้องก็สามารถที่จะดำเนินชีวิตให้ได้รับผลดีที่สุด ชีวิตนั้นจะไม่กัดเจ้าของ ชีวิตของคนที่ไม่มีการศึกษาคือคนโง่นั้นมันจะกัดเจ้าของ ไอ้ตัวชีวิตนั่นแหละมันกัดเจ้าของ มันเลวกว่าหมาอีก เพราะเราไม่เห็นหมาตัวไหนกัดเจ้าของเลย แต่ชีวิตของคนโง่นี่มันกัดเจ้าของ เดี๋ยวความรักกัด เดี๋ยวความโกรธกัด เดี๋ยวความเกลียดกัด เดี๋ยวความกลัวกัด เดี๋ยวความตื่นเต้นๆ กัด เดี๋ยวความวิตกอนาคตกัด เดี๋ยวความอาลัยอดีตกัด ความอิจฉาริษยากัด ความหวงกัด ความหึงกัด กัดไม่มีที่ ไม่มีขอบเขต นี่ชีวิตมันกัดเจ้าของเพราะเป็นชีวิตของคนโง่ เป็นชีวิตของผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาอย่างถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา ขอให้ท่านสนใจให้ดีๆ ให้มีการศึกษาที่ถูกต้อง ก็จะผ่านไปได้โดยเรียบร้อย เยือกเย็นว่า ผ่านวัยเรียน ผ่านวัยรัก ผ่านวัยรวย ไปถึงวัยร่มเย็น วัยร่มเย็นนี่ขอให้จัดการกับสิ่งเหล่านี้ให้ดีๆ
ทีนี้เราจะลองวิพากย์ไอ้ชีวิตหรือสิ่งที่ชีวิตเกี่ยวข้องต้องการนี้ ดูให้เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งว่ามันมีอยู่ ๒ คำ คือ โลกียะ กับ โลกุตตระ ถ้าโลกียะมันก็เป็นไปอย่างโลกๆ ถ้าโลกียะมันก็เหนือโลก ความรู้อย่างโลกียะช่วยให้เราอยู่ในโลก ความรู้ทางโลกุตตระช่วยให้เราอยู่เหนือโลก อันไหนสบายกว่า อยู่ในโลกมันเดี๋ยวก็ต้องหัวเราะ เดี๋ยวก็ต้องร้องๆห้ เดี๋ยวก็ต้องดีใจ เดี๋ยวก็ต้องเสียใจ เดี๋ยวก็ชนะ เดี๋ยวก็พ่ายแพ้ เดี๋ยวก็กำไร เดี๋ยวก็ขาดทุน มันมีแต่อย่างนี้ เรื่องโลกๆ นั่น ถ้าอยู่เหนือนั้นให้หมดไปก็เป็นโลกุตตระ อยู่เหนือความได้ ความเสีย ความแพ้ ความชนะ เรียกอย่างวิทยาศาสตร์ก็ว่า อยู่เหนือบวก และเหนือลบ สิ่งที่เป็นบวกมาทำให้หัวเราะก็ไม่หัวเราะ เช่นนั้นเอง สิ่งที่เป็นลบมาทำให้โกรธ ให้เสียใจ มันก็ไม่เสียใจ มันก็เช่นนั้นเอง มันอยู่เหนือบวก เหนือลบ ไม่มีความเป็นบวก เป็นลบ มันก็อยู่ในโลกนี้อย่างเป็นผู้ชนะ ถ้าอยู่ใต้บวก ใต้ลบมันก็อยู่ในโลกนี้อย่างเป็นผู้พ่ายแพ้ และยิ่งกว่าพ่ายแพ้ก็คือเป็นทาส เป็นขี้ข้า เป็นทาส เป็นขี้ข้าของความเป็นบวก และความเป็นลบ ดังนั้นมันจึงต้องเดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ อย่างนี้ไปจนเข้าโลง ไม่ๆๆๆเคยพบกับความสงบเย็น จึงให้รู้ไว้ว่า เรื่องโลกียะก็ต้องรู้สำหรับอยู่ในโลก จะทำไร่ ทำนา ค้าขายอะไรก็ให้มันเป็นไปอย่างนั้น แม้จะบริโภคกามารมณ์ก็อย่าให้มันกัดเอา แล้วก็ให้มันอยู่เป็นโลกุตตระ อยู่เหนืออำนาจ เหนืออิทธิพลของสิ่งเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้นไม่มาทำให้หัวเราะ ไม่มาทำให้ร้องไห้ นั่นเรียกว่าชนะ ชนะโลก อยู่ในโลกอย่างผู้ชนะ มันแบ่งออกได้เป็น ๒ ความหมายอย่างนี้
การกระทำของเรา ถ้าพ่ายแพ้ในโลกมันก็ตกนรกทั้งเป็นอยู่ที่นี่ ถ้าชนะโลกได้มันก็เป็นสวรรค์ เป็นมรรค ผล นิพพานกันอยู่ที่นี่ ไม่ต้องไปเกิดกันที่ไหน ที่นี่ ทำดีก็ดี ทำชั่วก็ชั่ว ถ้าเหนือดีเหนือชั่วก็หมดปัญหา เดี๋ยวนี้มันมีแต่ทำชั่ว ถ้าทำดีก็ยึดมั่นถือมั่นในความดี ยกหัวชูหางจนกลายเป็นเรื่องยุ่งยากไปเสียอีก มันต้องเหนือดีเหนือชั่ว ไม่บ้าดีไม่บ้าชั่ว ไม่หลงดีไม่หลงชั่ว ไม่หลงบุญไม่หลงบาป ไม่หลงอะไรหมด อยู่เหนือบุญ เหนือบาป เหนือดี เหนือชั่ว นั่นก็เป็นโลกุตตระ สบายเท่าไร ร่มเย็นเท่าไร แต่คนแก่โง่ๆ เอาไม่ได้ คนแก่โง่ๆ มัวแต่ห่วงนั่น ห่วงนี่ แล้วก็หลับตาตายไปอย่างด้วยความเป็นห่วง ไม่มีความสงบเย็น
ดังนั้นขอพูดกับท่านผู้สูงอายุโดยเฉพาะว่า เป็นพุทธบริษัท นับถือพระพุทธศาสนาแล้ว งั้นขอให้ได้ก้าวขึ้นมาจนถึงขั้นนี้ด้วยกันจนทุกๆ คน ก้าวขึ้นมาจากมิจฉาทิฏฐิที่โง่ที่สุด มืดมนที่สุดนั้นมิจฉาทิฏฐิ แล้วก็มาสู่สัมมาทิฏฐิอย่างโลกๆ เรียกว่า โลกียะสัมมาทิฏฐิ แล้วก็เรียกว่า สาสวาสัมมาทิฏฐิ ก็เรียกคือ สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะเหลืออยู่บ้าง คือตัวตนนั่นแหละ สัมมาทิฏฐิที่ยังมีตัวตน มีดี มีชั่ว มีบุญ มีบาป มีสุข มีทุกข์ มีนรก มีสวรรค์ มีอะไรเหล่านี้ เป็นสัมมาทิฏฐิอย่างโลกียะ เป็น สาสวา มีอาสวะติดอยู่
เลื่อนๆๆๆอีกทีเป็นอนาสวาสัมมาทิฏฐิ ไม่มีตัว ไม่มีตน มีแต่ธรรมชาติ อยู่เหนือ มีจิตใจอยู่เหนือๆตัวตน เหนือความมีตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ต้องหลงดี ไม่ต้องหลงชั่ว ไม่ต้องไปเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอะไรกันที่ไหน จบสิ้นสุดนี้เป็นอนาสวาสัมมาทิฏฐิ ความรอดออกมานี้มันมีอยู่ ๒ ขั้นตอนอย่างนี้ สาสวาสัมมาทิฏฐิ มีดี มีชั่ว มีบุญ มีบาปอะไรกันไปก่อน มีตัว มีตนที่ถูกต้องกันไปก่อน จนกว่าจะมี อนาสวาสัมมาทิฏฐิ หมดตัวตนโดยประการทั้งปวง ใครขึ้นมาได้ถึงขนาดนี้ก็เรียกว่ามี สัมมาทิฏฐิโดยสมบูรณ์ในลักษณะที่เรียกว่า ล่วงพ้นความทุกข์ทั้งหลายได้ด้วยการสมาทานสัมมาทิฏฐิ
ความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นแหละ รู้ให้ดี รู้ให้ถูกต้อง จะช่วยให้ชีวิตร่มเย็น ถ้าจะเอาอะไรติดตัวเข้าโลงไปบ้าง ก็จงเอาความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าเอาปัจจัยแห่งสวรรค์ วิมานอะไรไปเลย มันรุงรัง ไปยุ่งข้างหน้า เอาความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สลัดตัวตนออกไปเสีย มีจิตหลุดพ้นจากสิ่งทั้งปวงนั่นแหละถูกต้อง จะได้รับความร่มเย็นจนวินาทีสุดท้าย เข้าโลงไป คนแก่ๆ จงรู้จักสิ่งนี้ จึงจะมีชีวิตที่เยือกเย็นจนถึงวาระสุดท้าย
เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา เรียกว่าเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ถ้าเรียกให้ถูกก็เรียกว่า
อิทัปปัจจยตา คือสิ่งทั้งหลายมีเหตุมีปัจจัย และต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าเรามีความรู้เรื่องนี้ เราไม่ยึดถือโดยเป็นตัวตน มันก็ไม่ทำอะไร มันก็จะทำให้เกิดความสงบเย็น กับไปยึดถือเป็นตัวตนอะไรเข้า มีเกิด มีตาย มีเวียนว่ายแล้วมันก็เป็นทุกข์ จงศึกษาเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท คือ เรื่องชีวิตนี้ให้ถูกต้องว่ามีเหตุ มีปัจจัย แล้วเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย
โดยสรุปสั้นๆ พูดให้ลูกเด็กๆ เข้าใจ กระทั่งคนแก่ก็ว่า เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พอตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รับอารมณ์เป็นรูป เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันก็เกิดวิญญาณ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก นี้เพิ่งเกิดก็เมื่อมีการกระทบ เกิดวิญญาณอย่างนี้แล้วก็เรียกว่า มีผัสสะแล้ว วิญญาณเป็นคู่ผัสสะ สิ่งนั้นๆ เช่น ทางตานี่วิญญาณทางตาสัมผัสรูปที่มากระทบตา โดยอาศัยตาเป็นเครื่องมือ มันมี ๓ อย่าง คือ ตา และรูปที่มากระทบตา และวิญญาณที่รู้จักรูปนั้น
- ๓ อย่างนี้ทำงานร่วมกันอยู่ เรียกว่า ผัสสะ
- พอมีผัสสะแล้วก็ต้องมีเวทนา เป็นสุข เป็นทุกข์ พอใจ หรือไม่พอใจ
- แล้วก็มีตัณหา อยากไปตามเวทนานั้น
- ความอยากแรงเข้าๆ ๆเป็นความอยากแรงเข้า มันก็เกิดความรู้สึกโง่ ว่า กูผู้อยาก ผู้ต่อสู้
ผู้ขวนขวาย ผู้กระทำ นี่เป็นอุปาทาน
- อุปาทานอย่างนี้มีแล้วก็เรียกว่า ตั้งครรภ์แห่งตัวกู
- มีในครรภ์ มีตัวกูอยู่ในครรภ์ เรียกว่า ภพ
- พอครรภ์แก่ๆๆ ก็คลอดเกิดมาเป็น ชาติ เป็นตัวกูสมบูรณ์อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น แสดง
บทบาทไป เอาอะไรเป็นตัวตนของตนหมด แล้วก็ได้รับความทุกข์ ต้องพูดว่า สมน้ำหน้ามัน ต้องว่าอย่างนั้นดีกว่า โง่จะเป็นตัวตน แล้วก็ตกอยู่ในอำนาจแห่งสิ่งเข้ามาแวดล้อม ต้องกระโดดโลดเต้น ต้องสุข ต้องทุกข์ ต้องมีอย่างที่ว่ามาแล้วว่าชีวิตมันกัดเจ้าของ เต็มไปด้วยความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวงหึง เหล่านี้มันเป็นทุกข์เพราะมันไม่รู้จัก ปฏิจจสมุปบาท
หรือว่าเอาเพียงง่ายๆ ว่า ขันธ์ ๕ เมื่อตากระทบรูป มันก็เกิดรูปขันธ์ แล้วก็เกิดวิญญาณขันธ์ทางตา แล้วก็เกิดเวทนาขึ้นมาจากการกระทบนั้น แล้วก็เกิดสัญญาสำคัญมั่นหมายในเวทนานั้นว่ามีค่า คุณค่าอย่างไร แล้วก็เกิดสังขารขันธ์คือความคิดจะทำอะไร จึงทำกรรมนานาชนิด นี่เรียกว่าเป็นเพียงขันธ์ ๕ ให้รู้จักไว้ ถ้าสมบูรณ์เป็น ๑๒ ความหมาย ก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา จึงรู้จักตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน ก. ข. กอ. กา. เราเรียนหนังสือ เพื่อเรียน ก. ข. กอ. กา. เรียนธรรมะสูงสุด จึงตั้งต้นด้วยการรู้จักตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และรู้จักของที่คู่กันกับมันคือ
- รูปคู่กับตา เสียงคู่กับหู กลิ่นคู่กับจมูก ลิ้นเออรสคู่กับลิ้น สัมผัสภายนอกคู่กับกาย ความคิดคู่ กับใจ มันมีเป็นคู่ๆ อย่างนี้
- แล้วมันก็เกิดวิญญาณเมื่อมีการกระทบเป็น ๖ วิญญาณ
- แล้วเกิดผัสสะจากการที่วิญญาณมันทำหน้าที่เป็น ๖ ผัสสะ
- แล้วมันก็เกิดเวทนา ไปตามกระทบเมื่อผัสสะ เป็น ๖ เวทนา
- ทีนี้มันจะเกิดตัณหา อุปาทาน
ต้องรู้จักตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ให้ดีๆ เป็นจุดตั้งต้นเหมือนกับเราเรียน ก. ข. กอ. กา. เริ่มเรียนหนังสือก็ต้องเรียน ก. ข. กอ. กา. เริ่มเรียนธรรมะสูงสุดก็ต้องรู้จักไอ้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้ามิฉะนั้นจะหลงใหลๆ จะเป็นทาสของอายตนะ คงจะเป็นคำที่ไม่เคยได้ยิน แต่เป็นคำที่มีความหมายดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด เป็นทาส ขี้ข้า นะบ่าวขี้ข้าทาสนะ เป็นทาสของอายตนะ เป็นทาสของตา ของหู ของจมูก ของลิ้น ของกาย ของใจ เที่ยวแสวงหาแต่เหยื่อที่สวยงาม เอร็ดอร่อย สนุกสนาน มาบำรุงบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างนี้เรียกว่า เป็นทาสทางอายตนะ ซึ่งเป็นกันอยู่โดยมากในหมู่คนที่ไม่รู้ธรรมะ หรือจะต้องเรียกว่าเป็นอันธพาล เป็นอันธพาลต้องเป็นทาสของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกให้ถูกกว่านั้นก็เป็นทาสของกิเลส ตัณหา
เป็นชีวิตที่เป็นทาสของกิเลส ตัณหา ถูกกิเลส ตัณหาเผาลน ทิ่มแทง กัดเอา อะไรเอาก็แล้วแต่ที่เรียกว่าความทุกข์ในชีวิต ความทุกข์ในวัฏฏะนี่มันเป็นอย่างนี้ เพราะว่ามันไม่รู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้เรื่องขันธ์ ๕ ซึ่งมีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้ารู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่า โอ้...เช่นนี้เองโว้ย เช่นนี้เองโว้ย กูไม่ไปทุกข์ ไปบ้า ไปอะไรกับมึง กูจะรักษาความปกติแห่งจิตไว้ ไม่ให้ไปทุกข์ไปร้อนกับมัน แล้วก็ไม่ไปบ้าไปหลง ไปยินดีพอใจกับมัน อยู่เหนือมันเสีย ไม่ต้องไปยินดี ไม่ต้องไปยินร้าย ไม่ต้องไปมัวต่อสู้อย่างนั้น อย่างนี้ เป็นผู้ชนะโดยไม่ต้องมีการต่อสู้ เพราะว่าไม่ไปยึดถือสิ่งใดโดยความเป็นตัวตน มีชัยชนะโดยไม่ต้องมีการต่อสู้นั่นแหละ เป็นสิ่งที่ควรจะรู้จักไว้ และเข้าใจไว้
ทีนี้มันก็ทำยากที่จะไม่ให้รู้สึกว่าเป็นตัวตน มันก็ต้องศึกษาอย่างที่ว่ามาแล้ว คือรู้สึกว่ามันไม่ใช่ตัวตน ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวตน เป็นของธรรมชาติให้ยืมมา
เวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวตน มันเป็นเพียงความรู้สึกตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
สัญญา ก็ไม่ใช่ตัวตน สำคัญมั่นหมายไปตามความโง่ หรือ ความฉลาด
สังขาร ก็คิดไปตามอำนาจของสัญญานั้นๆ มันไม่ใช่ตัวตน เพียงแต่ว่าทำลงไปอย่างนั้น ผลมันก็เกิดอย่างนี้ ทำลงไปอย่างนี้ ผลก็เกิดอย่างนี้
ฉะนั้น ทำให้ถูกต้องจะเกิดแต่ผลที่ไม่ขบกัดเจ้าของ ในชีวิตนี้ไม่ขบกัดเจ้าของมันก็ใช้ได้ๆ ท่านจงจำคำนี้ แม้จะแปลกหูสำหรับท่าน ก็ช่วยจำกันไว้สักหน่อยเถอะว่า จงมีชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ คือเจ้าของมันฉลาด ฉลาดจนชีวิตกัดไม่ได้ ถ้าเจ้าของมันโง่ มันไม่รู้อะไรเสียเลย ชีวิตนี้มันก็กัดเจ้าของ เดี๋ยวเดือดร้อนด้วยความรัก เดี๋ยวด้วยความโกรธ เดี๋ยวด้วยความเกลียด เดี๋ยวด้วยความกลัว ด้วยความตื่นเต้นๆๆ เดี๋ยวความวิตกตื่นเต้น อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวงหึง ถึงกับฆ่ากันตาย ยกตัวอย่างมาเพียง ๑๐ อย่าง ที่จริงมีมากมายกว่านี้มากหลาย ๑๐ อย่าง ยกตัวอย่างมาเพียง ๑๐ อย่าง มันก็จะพอแล้ว
ทำอย่างไรจึงจะไม่กัดเจ้าของ ทำอย่างไรชีวิตนี้จึงจะไม่กัดเจ้าของ ก็คือมีธรรมะๆ รู้จักธรรมะ และมีธรรมะ ศึกษาธรรมะ แล้วก็ปฏิบัติธรรมะ แล้วก็มีธรรมะ แล้วก็ใช้ธรรมะ ใช้ธรรมะให้ถูกต้องแล้วก็ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้ นี่ชีวิตไม่กัดเจ้าของ ถ้ามีแต่ความโง่ มีโลภะ โทสะเกิดอยู่ มันก็กัดเจ้าของเรื่อยไป เรียกว่า ไม่ได้รับผลดีอะไรในการที่เกิดมา ถ้าจะให้ได้รับผลดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ แล้วก็จงได้พบชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ
เอาชนะมันได้ทั้งนั้นเลย ไอ้ความรักก็ไม่ทำอะไรได้ ความโกรธก็ไม่ทำอะไรได้ ความเกลียดก็ไม่ทำอะไรได้ ความกลัวก็ไม่ทำอะไรได้ ความตื่นเต้นก็ไม่ทำอะไรได้ วิตกก็ไม่ทำอะไรได้ อาลัยก็ไม่ทำอะไรได้ อิจฉาริษยาก็ไม่ทำอะไรได้ ความหวง ความตระหนี่ ขี้เหนียวก็ไม่ทำอะไรได้ ความหึงในทางเพศ ทางกามารมณ์ก็ไม่ทำอะไรได้ ชีวิตนี้จะสดชื่นสุดๆ สดชื่นยิ่งกว่าความสดชื่นของสิ่งใดๆ เป็นความสดชื่นของการมีธรรมะ แต่ว่าถ้าไม่รู้ธรรมะมันทำไม่ได้ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของคนโง่ มันเป็นเรื่องของคนที่ฉลาดๆ ในธรรมะ รู้ธรรมะ มีธรรมะ ประพฤติธรรมะ ใช้ธรรมะอยู่
นี้ข้อต่อไปที่จะพูดก็ว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็นอย่างนั้น ก็ตอบ มีธรรมะให้ถูกต้องและเพียงพอ ธรรมะอะไรกันที่ถูกต้องและเพียงพอ
๑. เป็นคนที่มีสติๆ ระลึกได้ไวๆ เหมือนกับความเร็วของลูกศร บาลีมันไม่มีไฟฟ้า มันไม่มีเรื่องอะไรที่จะเปรียบเทียบเรื่องความเร็วยิ่งไปกว่าความเร็วของลูกศร ความเร็วของลูกศรเรียกว่าสติ ระลึกได้เร็ว มีสติระลึกได้เร็ว แล้วก็ไปเอาปัญญามา ที่เรียนรู้ไว้เอามาแก้ไขสถานการณ์ ปัญญาก็มากลายเป็นสัมปชัญญะเฉพาะเรื่องนั้นๆ ต่อสู้กับสถานการณ์นั้นๆ แต่ถ้ากำลังมันน้อยไป ก็เพิ่มสมาธิ กำลังสมาธิให้ เรื่องมันก็สำเร็จปัญหาไปได้ นี่เป็นเคล็ด หรือว่าจะเป็นเทคนิคอะไรก็ได้ของการมีธรรมะ จะต้องมีธรรมะอย่างน้อย ๔ เกลอ ธรรมะ ๔ เกลอ ช่วยจำไว้ดีๆ มันจะช่วยได้ ที่ ๑ คือ มีสติ ระลึกมาได้ ที่ ๒ คือ ปัญญา ที่ศึกษาไว้ เอามาด้วยสติ พอสติมาแล้ว มาทำเป็นสัมปชัญญะ เฉพาะเรื่อง เฉพาะเหตุการณ์ มีสัมปชัญญะแล้วก็ต่อสู้กับสถานการณ์ แล้วถ้ากำลังจิตมันอ่อนแอ ต้องมีสมาธิ สมาธิเป็นน้ำหนักเพิ่มให้แก่ปัญญา ปัญญานี้มันต้องคู่กันกับสมาธิ ปัญญานี้มันเป็นแต่เพียงความคม ความคมนี้จะคมยิ่งกว่ามีดโกนคม คมเท่าอะไรก็ตามเถอะ แต่ถ้าไม่มีน้ำหนักแล้วมันไม่ตัดน่ะ ความคมไม่มีน้ำหนักมากดนั้นมันไม่ตัด ดังนั้นความคมต้องมีน้ำหนักมากด มันจึงจะตัดมันนั้นดังนั้นจึงต้องมีสมาธิ ปัญญาคม สมาธิหนักก็ตัดลงไปได้ แล้วสถานการณ์อันยุ่งยากก็จะหมดไป จะพ้นจากความเลวร้ายทุกๆอย่าง ทุกๆ ประการ
สติ ปัญญา สัมปชัญญะ และสมาธิ นี่ ๔ เกลอ เพื่อนคู่ชีวิต ถ้ายังมีไอ้ ๔ เกลอ นี้เป็นคู่ชีวิต คนนั้นจะต่อสู้จะชนะได้ทุกสถานการณ์จะหมดปัญหาแห่งการมีชีวิต สตินั้นคือความเร็วในการระลึก และเอาปัญญามา ปัญญาเอามาแต่ไหน เอามาแต่การศึกษาๆๆๆ อย่าไปศึกษาบ้าหอบฟาง มันไม่มีแก่นสาร ศึกษาให้ถูกเรื่อง ถูกราว โดยเฉพาะที่จะดับทุกข์ได้ นี่เรียกว่า ปัญญาที่แท้จริง สะสมไว้ๆ ให้ครบทุกแง่ทุกมุม เพราะว่าปัญหาหรือความทุกข์นั้นมันมีหลายร้อยชนิด เราต้องศึกษาปัญญาไว้ครบทุกชนิดศึกษาเก็บไว้ๆ นี่เรียกว่า ปัญญา พอมีเหตุการณ์มาก็ สติไปเอาปัญญา เป็นผู้เอาปัญญาไปเผชิญหน้าเหตุการณ์ให้ตรงกับเรื่อง เหมือนกับว่าเรามีอาวุธไว้มากมายในบ้านในเรือน พอจะใช้ก็ใช้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ใช้ทุกอย่าง เหมือนกับเรามีหยูกยาไว้ในตู้ยาครบทุกอย่าง แต่พอเวลากินมันกินอย่างเดียว นี่ปัญญามันมีไว้ครบทุกอย่าง แต่พอจะใช้แก้สถานการณ์มันเพียงอย่างเดียว มันก็ต้องทำมันไว้ครบทุกอย่าง แล้วสติจะไปเลือกเอามาใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ ปัญญาที่เลือกเอามาเฉพาะกับเหตุการณ์โดยเหมาะเจาะนั้นก็เรียกว่า สัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ร้ายที่เผชิญหน้าอยู่ นี่ก็เรียกว่า สัมปชัญญะ ต่อสู้ๆๆ กับสถานะนั้น จนกว่าจะมีชัยชนะ ถ้ากำลังมันอ่อนลงไป ก็ให้ด้วยสมาธิ เพิ่มสมาธิๆ น้ำหนักมันก็มีมากขึ้น ปัญญามันก็ตัดได้ดีขึ้น ก็ชนะเหตุการณ์นั้น ๆ จะเป็นเหตุการณ์เลวร้ายอะไรก็ตามเข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อะไรก็ตาม ปัญญาหรือสัมปชัญญะที่ตรงกับเหตุการณ์มันจะแก้ได้ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงพยายามฝึกฝนให้มีธรรมะ ๔ เกลอ เป็นของคู่ชีวิต ประจำตัว
ธรรมะ ๔ เกลอ เปรียบเป็นคู่ชีวิตประจำตัว แล้วจะได้ต่อสู้ แก้ไขสถานการณ์ได้ทุกอย่าง ไม่ยกเว้นอะไรๆ เรามีบทเรียนฝึกโดยเฉพาะ เรียกว่า ฝึกอานาปานสติ มีสติกำหนดสิ่งที่ควรกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า เรียกว่า อานาปานสติ พระพุทธเจ้าท่านแนะนำว่า อานาปานสติ เป็นกรรมฐานประเภทที่เย็น สบาย ไม่ยุ่งยาก ไม่วุ่นวาย ไม่เดือดร้อน แล้วก็ทำให้เกิดธรรมะทุกอย่างที่พึงปรารถนา นี่เรียกว่า อานาปานสติ
ฝรั่งมาที่นี่ทุกเดือน เดือนละ ๑๐๐ กว่าคน ทุกเดือนๆ ก็สอนแต่เรื่องปฏิจจสมุปบาท กับ อานาปานสติ ๒ เรื่องเท่านั้น “อานาปาน ปฏิจจสมุปบาท สอนให้รู้ว่า ความทุกข์เกิดอย่างไร จะดับไปอย่างไร” “อานาปานสติ ก็ปฏิบัติเพื่อให้เป็นอย่างนั้น ให้จงได้” จึงปฏิบัติตามอานาปานสติ ซึ่งเป็นธรรมะสูงสุดที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อตถาคตอยู่ด้วยอานาปานสติวิหาร วิหาระนะคืออยู่ด้วยอานาปานสติก็ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ควรจะเข้าใจเรื่องอานาปานสติที่เป็นหลักสำคัญ ที่สรุปรวมธรรมะสำคัญไว้อย่างครบถ้วน คือ รู้เรื่องทั้ง ๔ เรื่องที่ ๑ คือ เรื่องกาย เรื่องที่ ๒ คือเวทนา เรื่องที่ ๓ คือ เรื่องจิต เรื่องที่ ๔ คือ เรื่องธรรมะอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ
รู้เรื่องกาย กายเนื้อ กายหนังนี้ก็ดี กายลมหายใจก็ดี เรามีร่างกายเป็นที่ตั้งแห่งชีวิต เราจะต้องจัดมันให้ถูกต้อง ควบคุมมันให้ถูกต้อง ให้มันเหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งแห่งชีวิต เราจึงทำกายานุปัสสนา ควบคุมกาย บังคับกาย รู้จักกาย ดำรงกายไว้ให้ถูกต้อง ให้กายลมหายใจมันละเอียด สงบ ระงับ แล้วมันก็ช่วยให้กายเนื้อหนังร่างกาย ละเอียด สงบ ระงับ เราก็เป็นผู้มีอำนาจเหนือกาย จะทำให้กายลมหรือกายเนื้อสงบ ระงับเมื่อไรก็ได้ หมายความว่าต้องการความสุขทางกายเมื่อไรก็ได้ นี่เรียกว่าหมวดกาย
แล้วหมวดที่ ๒ เวทนา เวทนา คือ ความรู้สึกของกายที่รู้สึกเป็นยินดี ยินร้าย เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นไอ้ถูกใจ ไม่ถูกใจนั่นแหละ มันครอบงำอยู่ตลอดเวลา ทุกคนเป็นทาสของเวทนา การหาเงินมามากๆ ก็เพื่อซื้อเวทนาที่ท่านต้องการ ท่านมีบุญอำนาจวาสนามากก็ใช้มันเพื่อไปหาเวทนาต้องการ แม้ท่านจะครองโลกมันก็ครองให้ได้เวทนาที่ท่านต้องการ ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าเวทนาที่ท่านต้องการ เวทนามีอำนาจถึงขนาดนี้ มันปรุงแต่งให้เกิดความคิดและการกระทำสารพัดอย่าง เราต้องควบคุมมันให้ได้ ให้หลงไปในเวทนาบวก อย่าไปกลัวในเวทนาลบ ให้อยู่เหนือเสียทั้งบวกและลบ ควบคุมเวทนาได้แล้วจิตจะปกติ จิตจะไม่ถูกปรุงแต่งให้ยุ่งยากวุ่นวาย ต้องการความสุขทางความรู้สึกเมื่อไรก็ทำได้ นี่เรียกว่า มีเวทนานุปัสสนา
ทีนี้เรื่องที่ ๓ ก็เป็นเรื่องจิต ศึกษารู้จักจิตทุกชนิดๆ แม้จิตที่เราไม่เคยได้รับ เราก็คำนวณ เช่นว่า จิตหลุดพ้น เรายังไม่หลุดพ้น เราก็รู้จักการที่ถูกขังอยู่ที่นี่เป็นทุกข์ เวทนาอยู่ที่นี่ยังกับอยู่ในนรก ก็คำนวณเท่าตรงกันข้าม หลุดพ้นออกไปจากนี้มันเป็นอย่างไร นั่นแหละเรารู้จักจิตที่หลุดพ้นได้โดยที่เรายังไม่หลุดพ้น เราเอาจิตที่เรารู้จักอยู่แล้วๆ เป็นเครื่องคำนวณว่า ถ้าตรงกันข้ามมันจะเป็นอย่างไร เราจึงรู้จักจิตที่หลุดพ้น จิตที่ประเสริฐ จิตที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่า แล้วก็บังคับจิตได้ตามต้องการ บังคับให้บันเทิงก็ได้ บังคับให้คงที่ มั่นคงเป็นสมาธิก็ได้ บังคับให้ปล่อยวางสิ่งใดๆ ที่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ก็ได้ นี่ฝึกจิตอย่างนี้ เรียกว่า จิตตานุปัสสนา เป็นเรื่องวิเศษ ประเสริฐที่สุด ถ้าบังคับจิตได้ ความทุกข์ไม่มีหรอก
เรื่องที่ ๔ เรื่องสุดท้าย เรียกว่าเรื่อง ธรรมานุปัสสนา นิรู้จักสิ่งทุกสิ่งที่มันมาหลอกให้เรายึดมั่นถือมั่นไม่ว่าอะไร ถ้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนซะแล้วมันกัดเอาทั้งนั้นนะ ทุกสิ่งในโลกที่มีอยู่ในจักรวาล สากลจักรวาล สิ่งใดเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น รู้จักมันเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่เรียกว่ารู้จักธรรมๆ ธรรมานุปัสสนา เมื่อเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไปยึดมั่นถือมั่นเข้าแล้วเป็นทุกข์ ก็เบื่อหน่าย ก็คลายจากความยึดมั่นถือมั่นที่เคยยึดมั่นถือมั่นอยู่ก่อน เคยยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งใดก็คลายจากความยึดมั่นถือมั่นนั้น คลายออกๆๆ มันก็หมดความยึดมั่นถือมั่น นี่หลุดพ้น เป็นความหลุดพ้น เป็นการบรรลุมรรค ผล ชั้นสูงสุด ครั้นหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า โอ้,หลุดพ้นแล้วๆ หลุดพ้นจากอำนาจผูกพันของธรรมชาติ อำนาจอะไรต่างๆ หลุดพ้น เป็นวิมุติหลุดพ้น เป็นพระนิพพาน ภาวะที่ไม่ถูกเกี่ยวเกาะ ผูกพันอยู่กับอะไร เรียกว่า การหลุดพ้น เป็นความหมายของพระนิพพานคือความสงบเย็นๆ
ขอให้รู้จักเรื่องที่จะต้องรู้ว่ามันมีอยู่อย่างนี้ ๔ เรื่องด้วยกัน รู้เรื่องกายดี รู้เรื่องเวทนาดี รู้เรื่องจิตดี รู้เรื่องสิ่งที่ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นดี ก็ไม่เกิดกิเลสใดๆ มันก็ไม่มีความทุกข์โดยประการทั้งปวง จำแนกออกไปเป็น ๔ ชนิด คือ สติๆๆ ปัญญาๆๆ สัมปชัญญะ และสมาธิ ที่จริงนั้นไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่เสียเลย มันมีอยู่ด้วยกันทุกคน แต่มันน้อยมาก สติที่มันมีอยู่ตามธรรมชาติมันน้อยมาก มันไม่พอที่จะแก้ปัญหา ปัญญาที่มันมีอยู่ตามธรรมชาติมันน้อยมาก ต้องเพิ่มเติม สัมปชัญญะที่มันมีอยู่ตามธรรมชาติมันไม่แหลมคมพอ มันต้องฝึกฝน สมาธิที่มันมีอยู่ตามธรรมชาติมันก็ยังไม่พอที่จะข่มขี่กิเลส ที่จะควบคุมกิเลส หรือทำปัญญาให้เกิดขึ้นมา ฉะนั้นต้องเพิ่มเติมๆๆ เพิ่มเติมสติ เพิ่มเติมปัญญา เพิ่มเติมสัมปชัญญะ เพิ่มเติมสมาธิ แล้วเราก็จะมีสิ่งที่ประเสริฐสุด ไม่มีอะไรประเสริฐเท่า คือดับทุกข์ได้ ป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ได้โดยประการทั้งปวง
นี่เรียกว่า คู่ชีวิต ธรรมะ ๔ เกลอ มีอยู่เป็นคู่ชีวิต จะผ่านชนะทุกวัย วัยเรียน วัยรัก วัยรวย วัยร่มเย็น กระทั่งถึงเข้าโลง จะเย็นๆๆ ในทางจิต ทางใจ ไม่มีอะไรทำให้เป็นทุกข์ได้ ชีวิตเบื้องปลายเป็นชีวิตที่สงบเย็นจนกว่าจะเข้าโลงไป นี่เรื่องมนุษยธรรมในทุกระดับ มันก็มีอยู่อย่างนี้
ระดับปฐมวัย เป็นเรื่องของเด็กเล็ก วัยรุ่น หนุ่มสาว ของมัจฉิมวัย เป็นเรื่องของการครองเหย้าครองเรือน และปัจฉิมวัยก็เป็นเรื่องแสวงหาความสงบ แล้วก็แจกจ่ายความรู้นั้นให้แก่ลูกแก่หลาน คนแก่คนเฒ่าที่มีความรู้เรื่องความสงบจนถึงสามารถแจกให้แก่ลูกแก่หลาน นั้นแหละเป็นคนแก่ที่แท้จริง ไม่ใช่แก่เปล่า แก่มะพร้าวห้าว มะละกอ คนแก่ต้องรู้อะไรหมดเท่าที่ได้ผ่านมาที่ลูกเด็กๆ มันยังไม่รู้ ที่คนแก่สามารถที่จะสอนให้รู้ได้ ก็เลยได้รับผลดีกันหมด ทั้งลูกทารก ลูกเด็กๆ วัยรุ่น คนหนุ่ม-สาว สามี-ภรรยา พ่อบ้าน-แม่เรือน คนแก่-คนเฒ่า จนกระทั่งว่าได้แจกของส่องตะเกียงให้คนได้รับสิ่งที่มีค่า นั่นแหละมันประเสริฐที่ตรงนั้น ดับทุกข์ของตัวเองได้อย่างเดียวมันยังไม่ดีเท่ากับว่าช่วยให้ผู้อื่นดับทุกข์ได้ด้วย
นี่คือ มนุษยธรรม ธรรมะสำหรับมนุษย์ทุกระดับ ปฐมวัย มัจฉิมวัย ปัจฉิมวัย หรือแจกแจงให้ละเอียดกว่านั้นก็ว่า วัยแห่งการศึกษา วัยแห่งการครองเรือน วัยแห่งการหาความสงบ และวัยแห่งการแจกความรู้เรื่องความสงบ เป็นคติธรรมในอินเดียมาแต่โบราณ พุทธศาสนาก็ยอมรับคติธรรมอันนี้ ว่า ต้องเรียนให้ดี ต้องครองเรือนให้ดี ต้องรู้จักแสวงหาความสงบสุข แล้วก็แจกจ่ายความสงบสุขไปให้เพื่อนมนุษย์ เพื่อให้โลกนี้มันมีสันติภาพ
เวลาที่เหลืออยู่เล็กน้อยจะขอพูดเรื่อง อุปสรรค หรือ มาร มารหรืออุปสรรคที่ป้องกันไม่ให้เป็นอย่างนั้น เรามีมารที่ทำให้เราไม่ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด เรามีมารที่ทำให้โลกๆๆ นี้ไม่มีสันติภาพ สิ่งเหล่านี้เราเรียกกันว่า มาร เรียกกันว่า มาร หรืออุปสรรค กำลังมีอยู่ในโลกและมีมากขึ้นๆ แล้วโลกนี้จะวินาศก็เพราะสิ่งนี้ เมื่อโลกยังไม่เจริญ ยังเป็นคนป่า เกิดไม่นุ่งผ้า มันไม่ค่อยจะมีมารในเรื่องนี้ พอมีความเจริญๆๆ ไอ้มารนี้มันก็มากขึ้นๆ ท่านลองทายซิว่านั่นคืออะไร คำตอบก็คือความเห็นแก่ตัวๆ มารร้ายทั้งหลายทั้งหมดทั้งสิ้น มันรวมอยู่ที่ความเห็นแก่ตัว ขันธมารก็เพราะความเห็นแก่ตัว กิเลสมารก็เพราะความเห็นแก่ตัว มารไหนๆ ก็เพราะความเห็นแก่ตัว เมื่อมารเห็นแก่ตัวแล้วมันก็เกิดกิเลส แล้วมันก็ได้รับผลของกิเลสคือจมอยู่ในกองทุกข์
ความเห็นแก่ตัวนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป และก็ไม่รู้จัก แล้วก็ไม่สนใจ ขอให้รู้จักและสนใจ อาตมาขอยืนยันว่าคุ้มค่าที่สุดในการที่เราจะมาศึกษากันเรื่อง ความเห็นแก่ตัว ซึ่งกำลังจะทำโลกให้วินาศ มนุษย์ทีแรกไม่ได้เห็นแก่ตัว มนุษย์ป่าสมัยคนป่าไปหาเก็บของป่ามากิน เก็บเช้ากินเช้า เก็บเย็นกินเย็น ต่อมามีคนเห็นแก่ตัวไปเก็บมาไว้มากๆ กินหลายๆ วัน มันก็เกิดขาดแคลนไม่พอกัน มันก็เกิดความยุ่งยากลำบากกัน มันก็ต้องปลูกต้องฝัง ต้องเลี้ยงต้องสร้าง อ้าวมันก็เห็นแก่ตัว ทำลายล้าง โขมย มันก็เดือดร้อนเพราะเห็นแก่ตัว ใครมีอะไรมันก็คอยโขมย นี่ก็เป็นเรื่องความยุ่งยากลำบาก ไม่มีสงบสุข เพราะความเห็นแก่ตัว ต่อมายิ่งเจริญยิ่งอยากกินดีอยู่ดี สวยงาม เอร็ดอร่อยยิ่งขึ้น มันก็เห็นแก่ตัวมากขึ้น มันก็ต้องเบียดเบียนกันมากขึ้น เดี๋ยวนี้เจริญทางวัตถุสูงสุด ความเห็นแก่ตัวมันก็มากขึ้นในโลกๆ ไปเทียบกับสมัยคนป่าแล้วมันน่าหัวเราะ คนป่ามันหัวเราะคนสมัยนี้ที่เจริญด้วยวัตถุ แล้วก็ยิ่งเห็นแก่ตัว หาความสงบสุขไม่ได้ แม้นอนก็ฝันร้ายนะ เรียกว่า ความเห็นแก่ตัว เอ้า,มาระบุกันที่ความเห็นแก่ตัวดีกว่า ผู้เห็นแก่ตัวเป็นอย่างไรๆ
ผู้เห็นแก่ตัวแล้วมันขี้เกียจ ไม่อยากทำงาน แต่มันจะเอาประโยชน์
ผู้เห็นแก่ตัวนั้นก็ลำเอียง ไม่ให้ความยุติธรรม มันคอยแต่จะคัดค้านๆ หาความสนุกสนานด้วยการคัดค้าน
คนเห็นแก่ตัวก็บิดพริ้ว ไม่ทำสิ่งที่ควรจะทำ คนเห็นแก่ตัวมันทำอะไรชุ่ยๆ ไม่ละเอียด ไม่ปราณีต ไม่สุขุม
คนเห็นแก่ตัวทำอะไรก็เอาเปรียบผู้อื่น ตระหนี่ ขี้เหนียว แล้วก็คดโกงซึ่งหน้า
คนเห็นแก่ตัวมันอิจฉาริษยา
ผู้เห็นแก่ตัวมันไม่สามัคคี
ผู้เห็นแก่ตัวมันไม่กตัญญู มันอกตัญญู
ผู้เห็นแก่ตัวมันก็ลบหลู่บุญคุณของท่าน
ผู้เห็นแก่ตัวมันก็ยกตนข่มผู้อื่น
คนเห็นแก่ตัวมันโกรธง่าย โกรธเร็ว เป็นคนบ้าๆ บอๆ อะไรก็ไม่รู้
คนเห็นแก่ตัวมันก็ชอบใส่ความผู้อื่น
คนเห็นแก่ตัวมันไม่ซื่อตรงแม้แต่เวลา ไม่ซื่อตรงต่อเวลา ไม่ซื่อตรงต่อเพื่อนมนุษย์
ลองคำนวณดูว่าผู้เห็นแก่ตัวมันเป็นอย่างนี้ มันจะทำอะไรได้ล่ะ มันเป็นเสนียดจัญไรที่สุดอยู่ในโลกนี้ คือ ผู้เห็นแก่ตัว มันเห็นแก่ตัวๆ อย่างที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ ดูเถอะความเห็นแก่ตัวมีอยู่กี่มากน้อย ทวีขึ้นตามความเจริญทางวัตถุๆ มันล่อให้หลงใหลในความสวย ความงาม ความเอร็ดอร่อย ความสนุกสนาน คนก็ต้องเพิ่มความเห็นแก่ตัว
ความเห็นแก่ตัวมันก็มากขึ้นในโลก แล้วความเห็นแก่ตัวมันก็สร้างปัญหาที่เรียกว่า ปัญหาโลก ปัญหาของคนทั้งโลก ปัญหาโลก อันแรกก็คือ มลภาวะเต็มไปทั้งโลกเพิ่มมากขึ้นเพราะความเห็นแก่ตัว Pollution มลภาวะมันเกิดขึ้นเพราะผู้เห็นแก่ตัว โลกมันจะเน่าเพราะการกระทำของผู้เห็นแก่ตัว นี่เรียกว่า มลภาวะ แล้วผู้เห็นแก่ตัวมันก็จะสร้างอุบัติเหตุๆ รถชนกัน อะไรชนกันในถนนหนทาง ในแม่น้ำลำธาร ในคลอง ในทะเลอันกว้างใหญ่ แม้ในอากาศ ในอวกาศ ผู้เห็นแก่ตัวมันสร้างอุบัติเหตุเลวร้ายๆ บนท้องถนนมีแต่อุบัติเหตุ เพราะมันมีผู้เห็นแก่ตัว ครั้งหนึ่งทางโรงพยาบาลเขารายงานว่า คนเจ็บที่เข้ามาโรงพยาบาลประจำวันนั้นมาจากอุบัติเหตุมากที่สุด มากกว่าโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมดา ความเห็นแก่ตัวมันสร้างอุบัติเหตุนาๆ สารพัดอย่าง ทั้งแก่ผู้อื่นและแก่ตัวมันเอง
นี้ผู้เห็นแก่ตัวมันทำลายๆ ทำลายธรรมชาติ ทำลายป่าไม้ ทำลายธรรมชาติ และทำลายสิ่งที่เขาสร้างไว้ดีแล้ว คือทำลายสาธารณประโยชน์ การทำลายนี้มาจากผู้เห็นแก่ตัว ทำลายธรรมชาติก็ดี ทำลายสิ่งที่เขาสร้างไว้แล้วก็ดี ฉะนั้น ผู้เห็นแก่ตัวมันนี้มันก็โง่ ถูกความเห็นแก่ตัวหลอกไปติดยาเสพติด ยาม้า ยาอะไรก็ไม่รู้ ยาเสพติดที่ทำให้ไม่เป็นผู้เป็นคนเป็นติดยาเสพติด แล้วมันก็ติดอบายมุข ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร ไปติดอบายมุข เพราะความเห็นแก่ตัว
แล้วผู้เห็นแก่ตัวก็ได้เจ็บป่วยเป็นโรค โรคเลวร้าย โรคผีๆ สางๆ โรคที่มนุษย์ไม่ควรจะเป็น เพราะว่าหมายังไม่เป็น ขอพูดคำหยาบ สุนัขนี่ไม่เป็นโรคเอดส์ ซิฟิลิส โกโนเลีย หมาไม่เป็นแต่คนเอามาเป็น เพราะมันเห็นแก่ตัว มันสมน้ำหน้า มันได้เป็นโรคที่แม้แต่สุนัขก็ไม่เป็น เพราะความเห็นแก่ตัวๆ คนเห็นแก่ตัวนี่แสดงบทบาทอนาจาร น่าเกลียดน่าชัง เลวร้ายทั่วไปทุกหัวระแหง มันก่อการร้ายนาๆ ชนิด เป็นอันธพาลกระทั่งว่าเป็นผู้ขายชาติ คนเห็นแก่ตัวมันรักชาติไว้ขาย มันรักชาติแต่มันรักไว้ขาย นี่ผู้เห็นแก่ตัว นี่ความเลวร้ายของผู้เห็นแก่ตัว ขอให้พิจารณาดูว่ามันเลวร้ายกี่มากน้อย มันสร้างมลภาวะ มันทำลายธรรมชาติ มันสร้างอุบัติเหตุ มันทำให้ติดยาเสพติด แล้วก็เป็นอันธพาล เป็นผู้อนาจาร ทำได้ทุกอย่าง จุดจบของผู้เห็นแก่ตัวก็คือ เป็นบ้า ไปอยู่ อยู่โรงพยาบาลบ้า จุดจบของผู้เห็นแก่ตัวก็คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าลูก ฆ่าเมีย แล้วฆ่าตัวเองตายตามไป ประชด ผู้เห็นแก่ตัวมันจบด้วยความเป็นบ้า หรือ ฆ่าตัวตาย เป็นมหาเศรษฐีก็ยังฆ่าตัวตายเพราะเหตุอย่างนี้ก็มี และทำลาย ทำลายโลก ผู้เห็นแก่ตัวนี่เป็นเหตุให้เกิดสงคราม ให้เกิดมหาสงครามปรากฏอยู่แล้วในประวัติศาสตร์ ผู้เห็นแก่ตัวก็ทำลายโลก นี่มาไล่กันอีกทีไล่อย่างมันละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเรา
ถ้าเอาว่าครูทั้งหลายเห็นแก่ตัว จะเป็นอย่างไร ครูๆๆๆๆๆนี่ เห็นแก่ตัวกันมา บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร มันก็ทำนาบนหลังลูกศิษย์ ทำนาบนหลังผู้ปกครองของลูกศิษย์
ถ้าหมอเห็นแก่ตัว จะเป็นอย่างไร ก็ทำนาบนหลังคนเจ็บ เป็นเพชรฆาตแทนที่จะเป็นหมอ
ถ้าตุลาการเห็นแก่ตัว ก็ทำนาบนหลังจำเลยๆ
ถ้าพระเจ้าพระสงฆ์เห็นแก่ตัว ก็ทำนาบนหลังพวกคุณ พระเจ้าถ้าทรงเห็นแก่ตัวทำนาบนหลังทายกทายิกา
ถ้าอุบาสก อุบาสิกาเห็นแก่ตัว ก็ทำความยุ่งยาก ลำบากให้แก่พื้นฐานของพระพุทธศาสนา
เศรษฐีก็เห็นแก่ตัว ขอทานก็เห็นแก่ตัว มั่งมีถึงที่สุดก็ยังเห็นแก่ตัว ยากจนถึงที่สุดก็ยังเห็นแก่ตัว นายจ้างก็เห็นแก่ตัว ลูกจ้างก็เห็นแก่ตัว สามีก็เห็นแก่ตัว ภรรยาก็เห็นแก่ตัว แล้วมันจะอยู่กันได้อย่างไร พ่อ แม่ กับลูก บางทีก็แยกเป็นฝ่ายเห็นแก่ตัว ลูกเห็นแก่ตัวพ่อแม่ก็น้ำตาตก พ่อแม่เห็นแก่ตัวลูกก็ไม่เป็นผู้เป็นคนนั้นนะ นี่ความเห็นแก่ตัว เพื่อนก็หมดความเป็นเพื่อนถ้าเห็นแก่ตัว ความเป็นเพื่อนมีไม่ได้ แม้แต่ว่าความเป็นครู เป็นลูกศิษย์ก็มีไม่ได้ โลกนี้มันจะเป็นอย่างไรถ้ามันมีแต่ความเห็นแก่ตัว มันก็สร้างคุกตารางกันไม่หวาดไหว สร้างโรงพยาบาลบ้า วิกลจริตกันไม่หวาดไหว ไม่พอที่จะรับใส่ผู้เห็นแก่ตัว ถ้ามองในวงกว้างทางการเมือง ราษฎรก็เห็นแก่ตัว ผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาก็เห็นแก่ตัว รัฐบาลก็เห็นแก่ตัว ข้าราชการก็เห็นแก่ตัว แล้วจะเป็นอย่างไร บ้านเมืองนี้จะเป็นอย่างไร ราษฎรก็เห็นแก่ตัว รัฐบาลก็เห็นแก่ตัว สภาผู้แทนก็เห็นแก่ตัว นี่เรียกว่ามันจะหมดแล้วไม่มีอะไรเหลือ คุกตารางเท่าไรก็ไม่พอ สร้างตำรวจเท่าไรก็ไม่พอ สร้างศาลเท่าไรก็ไม่พอ สร้างโรงพยาบาลบ้าเท่าไรก็ไม่พอ สร้างวัดขึ้นมาเท่าไรก็ไม่พอ พิมพ์คัมภีร์ก็เผยแผ่เท่าไรมันก็ไม่พอ ออกกฎหมายมาเท่าไรก็ไม่พอ ศีลธรรมไม่พอ ประเพณีไม่พอที่จะป้องกันสิ่งเหล่านี้
อ้าวทีนี้ ถ้าไม่เห็นแก่ตัวๆ สิ่งเลวร้ายเหล่านี้ก็ไม่เกิด ถ้าไม่เห็นแก่ตัวแล้วจะไม่มีคดีแพ่ง ไม่มีคดีอาญา จะไม่มีใครฆ่าฟันทำลายผู้อื่น แล้วก็ไม่มีใครคดโกงเอาเปรียบผู้อื่น ถ้าใครล่วงเกินก็อดทนได้ ให้อภัยได้ ผู้ไม่เห็นแก่ตัวมันให้อภัยได้เสมอ แล้วก็ไม่มีคดีแพ่ง หรือคดีอาญาเกิดขึ้นในศาลโดยประการทั้งปวง เอากฎหมายไปทิ้งทะเลเสียก็ได้ คุก เรือนจำทั้งหลายปิดหมด ศาลปิดหมด เอากฎหมายไปทิ้งทะเลเสียก็ได้ ถ้ามนุษย์มันไม่เห็นแก่ตัว แล้วศาสนาก็ไม่จำเป็นต้องมี เพราะมันถึงที่สุดของพระศาสนาเสียแล้ว ผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัวน่ะมันถึงที่สุดแห่งคนดีของพระศาสนาเสียแล้ว อยู่อย่างเป็นสุขๆๆ ก้าวหน้าๆไปทางพระนิพพาน แล้วก็ไปถึงพระนิพพานในที่สุด เพราะฉะนั้นมันถึงที่สุดแห่งพระศาสนาเสียแล้ว พระคัมภีร์เอาไปเก็บเงียบไว้ที่ไหนก็ได้ เอาไปทิ้งทะเลก็ได้ ถ้ามนุษย์มันไม่เห็นแก่ตัวมันไม่มีปัญหาอะไรทั้งทางโลก และทั้งทางธรรมะ มันไม่มีปัญหาอะไร นั้นขอให้สนใจอย่างนั้นเถอะ นี่มนุษย์มันสูงสุดกันอยู่ที่นี่ คือความไม่เห็นแก่ตัวๆ ไม่เห็นแก่ของตัว ไม่เกิดกิเลสใดๆ มันก็มีแต่การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
เดี๋ยวนี้สิ่งสกัดขัดขวางเราอยู่ก็คือความเห็นแก่ตัวๆ แม้แก่ตัวเอง แม้แก่ผู้อื่น แม้แก่ประเทศชาติ แม้แก่โลก มันเป็นความเห็นแก่ตัว ในหลายๆ ระดับ เป็นความเห็นแก่ตัวทั้งนั้นระดับบุคคลก็เห็นแก่ตัว ระดับสังคมหนึ่งๆมันก็เห็นแก่ตัว ระดับประเทศแต่ละประเทศก็เห็นแก่ตัว ระดับโลกมันก็เห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัวมันเป็น โลกุตตระ เหนือโลก เหนือปัญหาของโลก นั่นแหละสูงสุดของมนุษยธรรม มนุษย์ตั้งต้นเลวร้ายที่ความเห็นแก่ตัว แล้วก็ลดลงไปๆ จนหมดความเห็นแก่ตัว มันก็เป็นโลกุตตระ นี่มนุษยธรรมมันมีลำดับอย่างนี้ๆ ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้ก้าวหน้าๆๆ ไปตามลำดับๆ ของมนุษยธรรมด้วยกันทุกๆ ระดับ
วัยรุ่นก็ก้าวไปสู่ความถูกต้อง เป็นหนุ่มสาวถูกต้อง พ่อบ้าน แม่เรือนถูกต้อง คนแก่ คนเฒ่าถูกต้อง ขอให้มีความก้าวหน้าๆ ที่เรียกว่า ความเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนานี้จงมีแก่ท่านทั้งหลายทุกๆ ท่าน ทุกๆ คน นี่ก็ได้ชื่อว่า ก้าวหน้าแห่งมนุษยธรรม ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาแล้วก็ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้รับ การบรรยายเรื่องมนุษยธรรมทุกระดับ แสดงมาอย่างที่ท่านทั้งหลายได้ฟังมาแล้ว เหลืออยู่ก็แต่ท่านทั้งหลายจะนำไปประพฤติ ปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ มีความก้าวหน้าโดยแท้จริงในทางแห่งมนุษยธรรม มีความสุขสวัสดี เป็นที่น่าพอใจอยู่ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ ขอยุติการบรรยายๆ