แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านนักศึกษาท่านสาธุชนที่มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย อาตมาขอแสดงความยิน
ดีในการมาของท่านทั้งหลายสู่สถานที่นี้ในลักษณะอย่างนี้คือแสวงหาความรู้ทางธรรมะเพื่อ
ไปใช้ประกอบในการบำเพ็ญหน้าที่การงานของตนของตน ให้สำเร็จประโยชน์ยิ่งขึ้นไปทั้ง
ในหน้าที่ที่เป็นการศึกษาและเป็นการงาน เป็นสิ่งที่มีเหตุผลที่จะต้องทำเช่นนั้นเพื่อให้ความ
เป็นมนุษย์ก็แล้วกันของเรามีความเจริญรุ่งเรืองถึงที่สุด และอยากจะขอทำความเข้าใจเป็น
พิเศษอีกส่วนหนึ่งว่า ทำไมจึงมาพูดกันในเวลาอย่างนี้
ข้อนี้ยกเว้นไอ้เหตุผลส่วนตัวอาตมาคือว่าไม่ค่อยจะสบาย มีเรี่ยวแรงพอจะพูดได้ก็
ในเวลาอย่างนี้..หัวรุ่ง แต่ที่แท้มันมีความจริงหรืออะไรยิ่งไปกว่านั้นคือความเหมาะสมของ
เวลาอย่างนี้ในการที่จะศึกษาธรรมะ ธรรมะเป็นของลึกซึ้งต้องการจิตใจที่ลึกซึ้งหรือมีความ
เหมาะสม เวลา ๐๕.๐๐ น.อย่างนี้เป็นเวลาเหมาะสมคือได้พักผ่อนมาอย่างเต็มที่แล้ว กำลัง
มีแรงมีกำลัง และโดยธรรมชาติมันก็เป็นเวลาพิเศษคือเป็นจุดตั้งต้นของวันที่พร้อมที่จะทำ
อะไรให้ดีที่สุด แม้แต่ดอกไม้ทั่วๆไปในป่านี้มันก็จะเริ่มบานเวลาอย่างนี้
สรุปความว่าโดยธรรมชาติมันมีเวลาตั้งต้นแห่งความเบิกบานกันในเวลาอย่างนี้ ที่
เห็นได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งก็คือพระพุทธเจ้าตรัสรู้เวลาอย่างนี้แม้พระศาสดาแห่งลัทธิศาสนา
อื่นก็น่าจะเป็นอย่างเดียวกันอีกไม่น้อย เราจึงถือเป็นโอกาสพิเศษเพื่อได้รับประโยชน์เช่น
นั้นบ้าง เรียกว่าโลกเวลา ๐๕.๐๐ น. ส่วนมากที่เขาไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็ยังนอนกันอยู่ยังนอน
พักผ่อนเอาประโยชน์จากการนอน ทีนี้ถ้าต้องการประโยชน์จากความคิดนึกศึกษาเบิกบาน
แห่งจิตใจก็ควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์และใช้เป็นนิสัยไปเลยคือใช้มันทุกวันเลย เรียกว่าโลก
เวลา ๐๕.๐๐ น. มันเพิ่มขึ้นมาสำหรับเราผู้ไม่นอน ผู้ไม่นอนเสียชั่วโมงสองชั่วโมงนี้ก็ตาม
ไม่นอน มันก็ได้ใช้เวลาพิเศษ ซึ่งเวลาอื่นมันไม่เป็น เวลาที่จิตใจเหมาะสมที่จะเติมอะไรลง
ไปเติมอะไรลงไป ไม่เหมาะไม่มีหรือไม่เหมาะสมเท่ากับเวลาอย่างนี้ ก็เปรียบอุปมาเหมือน
กับว่า น้ำชายังไม่เต็มถ้วยหรือว่ายังไม่ได้มีใส่ลงไปเลย ยังรินเติมลงไปได้ ถ้าเป็นเวลารุ่ง
สางกลางวันไปแล้ว เติมนั้นเติมนี่คือคิดนั่นคิดนี่เยอะแยะแล้วมันก็เหมือนกับน้ำชาที่มัน
เต็มถ้วยอยู่แล้วมันยากที่จะใส่อะไรลงไปได้
เพราะฉะนั้นขอให้เราพยายามใช้เวลาให้ตรงกับเรื่องของธรรมชาติก็แล้วกัน และเป็น
นิสัยที่จะเป็นการเพิ่มเวลาให้แก่ชีวิตอีกอย่างน้อยวันละชั่วโมงสองชั่วโมง ถือเป็นโอกาสที่
จะศึกษาอะไรเพิ่มเติมจากการฟังการอ่านก็ได้ แต่ที่ดี…ที่ดีอย่างยิ่งคือจะคิดเองออกมาเอง
เข้าใจได้เอง เป็นความเจริญอย่างยิ่งและอย่างเร็วในทางความคิดและสติปัญญา ปฏิบัติจน
เป็นนิสัย พอถึงเวลาอย่างนี้ตีห้า ลุกขึ้นทำอะไรที่เป็นการศึกษา ไม่ต้องล้างหน้าก็ได้ลองดู
ไม่ใช่ว่าจำเป็นที่จะต้องล้างหน้า ทาแป้งแต่งตัวอะไรกัน ก็จะได้เวลาเพิ่มขึ้นแล้วก็เป็นนิสัย
ที่เพิ่มขึ้น สนุกสนานเบิกบาน เยือกเย็นสงบเย็นพลอยเป็นไอ้ดอกไม้บานยามเช้าไปด้วย นี่
ขอให้ลองดู มีความจริงอย่างนี้ แล้วคนเราคนหนึ่งอายุหลายสิบปี วันละชั่วโมงเพิ่มขึ้นมันก็
เพิ่มขึ้นอีกหลายๆร้อยชั่วโมง
แม้ที่สุดแต่จะลุกขึ้นนั่งทำสมาธิ ก็สะดวกดีและทำได้ผลดี เป็นการฝึกสมาธิเวลา
อย่างนี้ หรือว่าจะหัดเดินชนิดที่เรียกว่าเป็นสมาธิภาวนาไปในตัว เรียกว่าเดินสุญญตา แปล
ว่า ว่าง เดินไม่มีตัวผู้เดิน ความรู้เรื่องไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีตัวนี่เป็นความรู้สูงสุดในพระ
พุทธศาสนา เราหัดเดินอย่างที่ไม่มีตัวผู้เดิน มีสติรู้แต่ว่ามันเป็นเพียงอิริยาบทเคลื่อนไหว
ของร่างกายและจิตใจ ไม่ต้องมีตัวกูผู้เดินอย่างนี้ก็ดีที่สุด จะเดินมาฟังหรือเดินทำอะไร
หรือเดินจงกรม ที่เขาเรียกเดินจงกรม เดินไปเดินมาอยู่ที่หรือระเบียงเรือนก็ได้
การศึกษาธรรมะหรือพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งที่ว่าจะเดิน หัดเดินอย่างไม่มีตัวผู้เดิน
ขยายออกไปจนถึงกับนั่ง นอน ยืนอย่างไม่มีตัวผู้นั่ง ยืน นอน กระทั่งว่ามีการกระทำซึ่งไม่
ต้องมีตัวผู้กระทำ กระทำทุกอย่างได้โดยไม่ต้องมีตัวผู้กระทำ ถ้าทำถึงอย่างนี้แล้วมันเป็น
ขนาดสูงชั้นสูงระดับสูงของธรรมะในพระพุทธศาสนา
ชาวต่างประเทศหรือคนไทยก็ดีที่เขามาฝึกอยู่ที่เซ็นเตอร์ ฝึกข้างนอกนู่นสองกิโล
สองกิโลจากนี้เขาก็เดิน เขาก็เดินมาฟังที่นี่เวลา ๐๕.๐๐ น. เรียกว่าฝึกบทเรียนอันนี้ นี้มัน
ยิ่งกว่าการอ่านหนังสือการทำอะไรขีดๆเขียนๆซะอีก คือมันเป็นการฝึกจิตโดยตรง
ก็ขอให้…จะใช้คำว่าลองดูก็ได้ เมื่อไม่อยากก็ลองดูก่อน ถ้ามีความประสงค์ก็ฝึกเลย
ฝึกให้มากให้เต็มที่ สรุปความแล้วมีการกระทำโดยไม่ต้องมีผู้กระทำ คือไม่หมายมั่นยึดมั่น
ว่ากูผู้กระทำผู้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้ ให้มันเป็นแต่การเคลื่อนไหวไปด้วยสติปัญญาของ
ร่างกายและจิตใจล้วนๆ ไม่ต้องมีตัวกูผู้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้ แม้ที่สุดแต่จะรับประทาน
อาหารก็อย่าต้องมีตัวกูผู้รับประทาน ให้มันเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจทีมีสติ
ปัญญาถูกต้อง แล้วก็ฝึกฝนเกิดปฏิบัติเพื่อความถูกต้องนั้นให้มันยิ่งๆขึ้นไป จะเข้าถึงความ
รู้ระดับที่เรียกว่า สุญญตา ว่างจากตัวตนยิ่งๆขึ้นเป็นจุดหมายปลายทาง เมื่อไม่มีตัวตนแล้ว
มันไม่เกิดกิเลสใดๆ จะไม่มีความเห็นแก่ตนซึ่งเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดสำหรับมนุษย์ ความเห็น
แก่ตนนั้นเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดสำหรับมนุษย์ที่ทำให้เป็นทุกข์ด้วยตัวเองแล้วก็เบียดเบียนกัน
ทำร้ายกันอย่างที่เห็นๆกันอยู่ หรือว่ามักง่ายสะเพร่าทำให้เกิดอันตรายอุบัติเหตุโดยไม่รู้สึก
อย่างนี้มันมาจากความเห็นแก่ตนทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นบทเรียนใดเป็นไปเพื่อการทำลายความเห็นแก่ตนคือไม่ให้รู้สึกว่ามีตัว
ตนนี่ เป็นบทเรียนสูงสุดในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านมีความประสงค์จะศึกษาพระพุทธ
ศาสนาทั้งในฐานะเป็นวิชาอีกวิชาหนึ่งควบคู่กันไปกับวิชาอื่นในชีวิตนี้มันก็จำเป็น หรือ
เหมาะสมหรือมีเหตุผลที่จะฝึกอย่างนี้ เรียกสั้นๆว่า ฝึกมีชีวิตอยู่โดยไม่ต้องมีตัวตน มีแต่
ร่างกายจิตใจบริสุทธิ์ล้วนๆเต็มอยู่ด้วยสติปัญญา และการกระทำเคลื่อนไหวไปด้วยสติปัญ
ญานั้นๆ มีแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ได้ผลสรุปรวมเป็นใจความสั้นๆว่า
มีชีวิตสงบเย็นและเป็นประโยชน์ สองคำพอแล้ว ผลสุดท้ายที่เราจะได้สูงสุดสรุปคำพูดเพียง
สองคำว่า ชีวิตนี้สงบเย็น นี่คำหนึ่ง และก็เป็นประโยชน์เป็นประโยชน์กว้างขวางสูงสุดเท่าที่
จะ..จะเป็นไปได้ เท่าที่จะเป็นไปได้
ขอให้ถือเป็นหลักตายตัวหรือสำคัญหรือสูงสุดว่าเราจะพัฒนาชีวิตนี้ให้เสร็จทันแก่เว
ลา คนโบราณพุทธบริษัทเขาจะมีนโยบายหรือความคิดพิเศษหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าเขา
จะถือหลักว่าชีวิตนี้เป็นของยืม..เป็นของยืม คือยืมจากธรรมชาติ ธรรมชาติให้ยืมมาเพื่อทำ
การพัฒนาเอาเองให้สำเร็จผลสูงสุดตามที่ควรจะได้รับ ทันแก่เวลาที่จะต้องส่งคืนเจ้าของ
เราเกิดมาไม่กี่สิบปีไม่เกินร้อยปีก็ตาย เวลาจำกัดที่จะธรรมชาติให้ยืมมา พัฒนาให้ได้รับสิ่ง
สูงสุดที่มนุษย์เราควรจะได้รับ แล้วก็คืนเจ้าของ ที่ถือหลักเป็นการอุปมาอย่างนี้ก็เพราะมัน
มีประโยชน์ มันมีประโยชน์ อย่างน้อยมันก็ช่วยให้ไม่ยึดมั่นหมายมั่นเป็นตัวกูเป็นของกู
คือยังเป็นของธรรมชาติอยู่ ก็ไม่รู้สึกเป็นตัวกูของกู แล้วจะรีบพัฒนารีบพัฒนาให้ได้รับประ
โยชน์ทันแก่เวลา ทันแก่เวลานี้สำคัญที่สุดจำเป็นที่สุด ธรรมชาติให้ยืมมาอย่างไม่คิดดอก
เบี้ย อย่างไม่คิดค่าสึกหรอใดๆหมด ธรรมชาติให้ยืมมา ไม่คิดดอกเบี้ยไม่คิดค่าสึกหรอ
เป็นเดิมพันที่ดีที่สุด ให้เราพัฒนาเอาเอง ทำไมจะไม่ขอบใจหรือทำไมจะไม่รีบขยันขันแข็ง
พัฒนาให้ทันแก่เวลาก่อนแต่ที่มันจะกลับไปยังเจ้าของคือความตาย แล้วเราก้ได้รับประ
โยชน์สูงสุดแล้ว นี่เป็นอุบายอันหนึ่งซึ่งเขาถือเป็นหลักกันมาว่า ชีวิตนี้หรือจะเรียกว่าธาตุ
ดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุอะไรต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกาย
เป็นจิตใจนี้ ชีวิตให้มาเป็นเดิมพันสำหรับลงทุน เหมือนกับที่เขาลงทุนค้าขาย ให้ได้กำไร
มหาศาลเสียก่อนแต่จะสิ้นอายุยืม
ถ้าใครถือหลักอย่างนี้ก็มีทางที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดทันแก่เวลาจริงๆด้วย การ
ศึกษาก็ก้าวหน้า การงานก็ก้าวหน้าการดำรงชีวิตในการทำประโยชน์ต่างๆมันก็ก้าวหน้า
ก้าวหน้า มันก็ทันแก่เวลา ได้รับสิ่งสูงสุดถึงขนาดที่เรียกว่า ไม่มีการตีราคา มันตีราคาไม่ได้
มัรสูงสุดเกินไป ก็ได้รับสิ่งที่หาค่าไม่ได้ คือ ไม่มีการตีราคานั่นเอง ขอให้เราได้ประสบความ
สำเร็จในการได้รับสิ่งสิ่งนี้ด้วยกันจนทุกคน นี่ข้อความที่จะปรารภกันในเบื้องต้นเพื่อทำ
ความเข้าใจกันให้ได้มากที่สุด
ทีนี้ก็จะพูดถึงหัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้มีหัวข้อว่า มนุษยธรรมจำเป็นสำหรับมนุษย
ชาติ มนุษยธรรมคือธรรมที่เราจะเรียนจะศึกษากันเดี๋ยวนี้ก็จำเป็นสำหรับมนุษยชาติ คือ
ความเป็นมนุษย์ของเรานั่นเองหรือของใครก็ได้ เรียกรวมๆกันทั้งหมดทั้งสากลนี้ว่า มนุษย
ชาติเป็นตัวเดียวคนเดียวทั้งจักรวาลก็ได้เรียกว่ามนุษยชาติสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษยชาติ
ก็คือสิ่งที่เรียกว่า มนุษยธรรม ธรรมะสำหรับความเป็นมนุษย์ถ้าไม่มีมนุษยธรรมมันก็ไม่
มีความเป็นมนุษย์และมีอะไรก็ไม่รู้คือหาสาระใดๆไม่ได้ ดังนั้นเราจะต้องมีไอ้สิ่งที่เรียกว่า
มนุษยธรรม ธรรมะสำหรับความเป็นมนุษย์
สำหรับคำว่า มนุษย์ นี่มันมีความหมายเฉพาะอยู่เหมือนกัน ตามตัวหนังสือแท้ๆก็
ว่ามีจิตใจสูง มน ใจ อุษย์ สูง มีจิตใจสูงก็คือสูงกว่าธรรมดา เพราะมันมีการพัฒนา ถ้าไม่
มีการพัฒนาก็มีจิตใจต่ำอย่างสัตว์ทั่วๆไป แต่เพราะมีการพัฒนามันก็มีจิตใจสูง มีความ
เหมาะสมสำหรับจะพัฒนาให้สูงมาด้วย…………..มันจึงสามารถจะพัฒนาได้ หรือภาษาอินเดีย
เขาจะมีคำแปลอย่างอื่น มนุษย แปลว่า ลูกหลานของมนูก็ได้ มนูก็มหาบุรุษที่มีจิตใจสูงสุด
ในทางสติปัญญา มันก็แปลว่าจิตใจสูงอยู่ดีนั่นแหละ จะแปลว่าลูกหลานของมนูมันก็หมาย
ถึงจิตใจสูง ถ้าปล่อยไปตามธรรมดาก็หมายถึงจิตใจสูง คำว่าสูงมันหมายถึงอยู่เหนือปัญหา
ถ้ามันจมอยู่ในปัญหาคือความทุกข์หรือยิ่งไปกว่านั้นก็คือความเลวทรามความเป็นบาปเป็น
อกุศลต่ำช้านี่มันต่ำต่ำต่ำ มันอยู่ในความต่ำมันจมอยู่ในความต่ำ ไม่มีความเป็นมนุษย์ ต่อ
เมื่อมันสูงจากสิ่งเหล่านั้น มันจึงจะเรียกว่ามีจิตใจสูง คือมันอยู่เหนือความทุกข์และถ้าจะให้
มีใจความกว้างขวางรวบหมดกันแล้วก็ใช้คำว่าเหนือปัญหาดีกว่า เหนือปัญหาทั้งปวง เพราะ
ว่าไอ้สิ่งเหล่า…สิ่งต่างๆในโลกนี้ในจักรวาลนี้เมื่อทำไม่ถูกวิธีก็เป็นปัญหาทั้งนั้นแหละ ความ
สุขก็มีปัญหา คุณคิดดูเถอะ ความร่ำรวยสวยงามก็เป็นปัญหาอย่าอวดดีไปเลย ความสนุก
สนาน ความสนุกสนานอย่างพวกคนบ้าหลังในการตามใจตัวมันก็เป็นปัญหา ยากจนก็เป็น
ปัญหา มั่งมีก็เป็นปัญหา ยังมีปัญหาตามธรรมชาติที่เราต้องเจ็บไข้ได้ป่วยจะต้องต้องพบ
กับสิ่งไม่พึงปรารถนา โดยอุบัติเหตุโดยบังเอิญอย่างนี้มันก็มีอีกมากมาย เรามีปัญหานับตั้ง
แต่ว่าเรียนไม่สำเร็จ จะสอบไล่ตก เรียนสำเร็จแล้วไม่มีงานทำ มีงานทำก็ทำไม่ได้ดี
ดำรงชีวิตให้ก้าวหน้าไปไม่ได้ ไม่ถึงความสำเร็จในชีวิตนี่เขาเรียกว่าปัญหา ปัญหา มากมาย
นับไม่ไหว ถ้าอยู่เหนือปัญหาเหล่านี้ได้มันก็ดี คือมีความสุขเย็นและเป็นประโยชน์ สุขเย็น
นี่หมายความว่า มันไม่มีไฟ ไอ้ความร้อนโดยเฉพาะคือความกิเลส ความมีกิเลสต่อความชั่ว
มันเป็นไฟ ไม่มีมันก็เย็นแล้วก็เป็นประโยชน์ คือว่าไม่ใช่ว่าจะเป็นสุขอยู่เฉยๆไม่ทำอะไร
ที่เป็นประโยชน์กลับมีประโยชน์ เพราะว่าชนะตัวตน ไม่เห็นแก่ตน ว่างจากตัวตนแล้วมันก็
เห็นแก่ผู้อื่น เห็นแก่ผู้อื่น เห็นแก่ความถูกต้อง ไอ้คนที่มันมีตัวกู..ตัวกูของกูจัด มันไม่เห็น
แก่ความถูกต้อง มันเห็นแก่ตัวกู เห็นแก่กิเลสของตัวกู ทำสิ่งชั่วร้ายเลวทรามเท่าไหร่ก็ได้
มันเห็นแก่กิเลสเห็นแก่ตัวกู ถ้าไม่เห็นแก่ตัวกูมันก็เห็นแก่ตรงกันข้าม เห็นแก่ผู้อื่นโดยอัต-
โนมัติ แล้วก็เห็นแก่ความถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ไม่ลำเอียง ไม่อคติ ชีวิตนี้มันก็เจริญงอก
งามไปในทางที่ถูกต้อง นี่เราได้รับประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะได้รับ ก็เป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูง
โดยแท้จริง เรียกว่าเป็นมนุษย์ได้จริง
นี้เป็นเรื่องที่จะเป็นมนุษย์ได้อย่างนี้ก็ต้องมีมนุษยธรรมหรือธรรมะสำหรับความเป็น
มนุษย์นั่นเอง ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “ธรรม” หรือ “ธรรมะ” นี่กันสักหน่อย
เพราะรู้สึกว่าที่มีอยู่หรือที่แล้วมา มันยังเป็นปัญหา คือ เข้าใจคำว่า “ธรรมะ” ไม่ถูกต้อง
หรือถูกต้องน้อยเกินไป ไม่เต็มตามความหมาย
คำว่า ธรรมะ ธรรมะคำนี้ ก็ให้รู้ไว้ในลักษณะกว้างขวางอย่างหนึ่งก่อนว่า มันเป็นคำ
พิเศษประหลาดที่สุด คือมันหมายถึงทุกอย่าง ทุกอย่างไม่ยกเว้นอะไรเลย แล้วจะแปลเป็น
ภาษาต่างประเทศอื่นๆก็ไม่ได้ ถ้าจะแปลให้ครบหมดเต็มที่ตามความหมายคำคำนี้ มันแปล
ไม่ได้ มีสมาคมทางภาษาแลกเปลี่ยนธรรมะกันในประเทศอังกฤษที่อ่านพบนักศึกษาทั้ง
หลายเหล่านั้นพยายามจะแปลคำว่าธรรมะ ธรรมะนี้ออกเป็นภาษาอังกฤษ ในที่สุดไม่ได้
คือแปลออกไปเป็นคำนั้นคำนั้นคำนั้นกันตั้ง ๓๘ คำเห็นจะได้ แต่ก็ยังไม่หมด ยอมแพ้ก็คือ
ไม่ต้องแปล ใช้คำว่า ธรรมะ ไปตามเดิม เป็นบาลีก็ธรรมะ เป็นสันสกฤตก็…………….เป็นไทย
เราก็ ธรรม เฉยๆในภาษาไทยเราก็เรียกว่า ธรรม ไม่ต้องแปล ภาษาอังกฤษก็เหมือนกันก็
ใช้คำว่า ธรรม ในฐานะเป็นคำนาม ธรรมมิก ในฐานะเป็นคุณศัพท์ มีอยู่ในปทานุกรมของ
ชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพิ่มขค้น โดยที่มันแปลไม่ได้ แปลแล้วมันไม่หมด
แต่ว่าความหมายของคำว่า ธรรมะ นั้น มันแยกออกไปได้เป็นส่วนๆ ส่วนๆ เอาไป
ใช้ให้สำเร็จประโยชน์ตามความประสงค์ของตนของตน ถ้าจะพูดกันอย่างนักศึกษา มันก็
กลายเป็นเรื่องของ ธรรมชาติ ธรรมชาติไป ขอให้ทราบไว้ว่าในภาษาบาลีคำว่า ธรรมชาติ
กับคำว่า ธรรม ธรรมดา หรือคำว่า ธรรมะ นี่เป็นคำเดียวกัน ในภาษาไทยยังมีเป็นสองคำ
ว่า ธรรมชาติ คำหนึ่ง ธรรมะ คำหนึ่ง ในภาษาอินเดียไม่ต้องมี ธรรม คำเดียวแปลว่า
ธรรมชาติก็ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของธรรมชาติทั้งหมด
ทีนี้สำหรับเรื่องของธรรมชาติ เราแจกออกไปได้ว่า เป็นตัวธรรมชาติแท้ๆ ตัวธรรม
ชาติแท้ๆ ซึ่งมันเป็นไอ้วัตถุธาตุใดๆก็ตาม กระทั่งมันเป็นนามธรรม มันเป็นไอ้เวลา เป็น
Time เป็น Space เป็นอะไรก็แล้วแต่มันเรียกว่าตัวธรรมชาตินี่ ก็เรียกว่าธรรม ธรรม
ธรรมะ มีอีกอย่าง ถัดออกมาก็คือ กฏ กฏของธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวธรรมชาตินั้น ภาษา
บาลีก็เรียกว่า ธรรมะ นั่นแหละ ธรรมะ ความจริงหรือกฏของธรรมชาติก็เรียกว่า ธรรม ทีนี้
สูงขึ้นมา หน้าที่ หน้าที่ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏ ไอ้หน้าที่ หน้าที่อันนี้ก็
เรียกว่า ธรรม แล้วผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ ดี ชั่ว สุข ทุกข์อย่างไร ผลของหน้า
ที่นั้นก็เรียกว่า ธรรม
๔ ความหมายนี่มันพอแล้ว ตัวธรรมชาติเอง ตัวกฏของธรรมชาติที่มีประจำอยู่ในตัว
ธรรมชาตินั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรต้องเป็นไปตามกฏ ที่นี้หน้าที่ที่สิ่งที่มีชิวตที่จะต้องปฏิบัติให้
ถูกตามกฏก็เรียกว่า ธรรม ได้ผลอะไรออกมาก็เรียกว่า ธรรม นี่จะแปลว่าอะไร จะแปลว่า
อะไร จะแปลคำว่า ธรรมะ ออกไปเป็นภาษานั้นๆว่าอะไรจึงจะมีความหมายครบถ้วนทั้ง ๔
ประเภทนี้ มันก็ไม่ต้องแปล เรียกว่า ธรรม ไปตามเดิมก็แล้วกัน
ทีนี้เราก็เลือกเอามาเฉพาะที่จะต้องรู้จะต้องปฏิบัติ มันจึงได้แก่ ความหมายประเภท
ที่ ๓ ซึ่งจะต้องรู้ให้ยิ่งจริงกว่าประเภทไหนๆ เรื่องตัวธรรมชาติก็ไม่สำคัญเท่า เรื่องตัวกฏก็
ยังไม่สำคัญเท่า กับตัวหน้าที่ หน้าที่ หน้าที่ เพราะว่าถ้าไม่ทำหน้าที่หรือทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง
มันคือความตาย ในความหมายที่ ๓ มันคือหน้าที่ตามกฏของธรรมชาตินั่นแหละคือ ธรรมะ
ธรรมะ ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติและก็ได้รับผลในทางฝ่ายดี เป็นที่น่าพอ
ใจ ก็จบเรื่องกัน ได้รับผลให้เป็นความสงบสุขเย็นเป็นประโยชน์ที่น่าพอใจ นี่เป็นอย่างนี้
เราก็จะเห็นได้ว่ามันไม่สามารถจะแปลเป็นภาษาใดๆ คงต้องใช้คำว่า ธรรมะ ต่อไป
ตามเดิม ที่ว่ามีปัญหาก็เช่นว่าในโรงเรียน ครูในโรงเรียนน่ะสอนเด็กๆว่า ธรรมะ แปลว่าคำ
สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ใดรู้ความจริงข้อนี้แล้วก็เศร้าหรือสั่นหัว เพราะในประเทศอินเดีย
คำสอนของศาสดาไหน ลัทธิไหนทุกลัทธิที่มีอยู่ในอินเดีย คำสอนของศาสดานั้นๆเรียกว่า
ธรรมะ เสมอกันหมด ไม่เฉพาะของพระพุทธเจ้าหรอก เขาก็ใช้คำประกอบให้เข้าใจว่า
ธรรมะ ของใครนี่ เช่นเขาจะถามกันว่า ท่านชอบใจธรรมะของพระสมณโคดมหรือชอบใจ
ธรรมะของนิครนถนาฏบุตร ของมักขลิโคศาล อะไรก็ออกชื่อไปแหละ ก็หมายความว่าเขา
ถือศาสๆนานั้นตามชื่อของพระศาสดานั้นๆ นี่ก็เพราะว่า เขาเอาธรรมะใช้กับทุกศาสนาทุก
ลัทธิ นี่ธรรมะ ธรรมะ มันไม่ได้แปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เราได้รับคำสั่งสอนมา
ผิดๆ แคบนิดเดียวว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า ธรรมะ ธรรมะนั้นเป็นคำสั่งสอน
ของลัทธิไหน ศาสนาไหนก็ได้ในอินเดียเรียกว่า ธรรมะ ธรรมะเหมือนกันหมด
ที่มันลึกซึ้งก็คือว่า มันเป็นเรื่องของธรรมชาติทั้งหมด เป็นตัวธรรมชาติเองก็ดี เป็นตัว
กฏของธรรมชาติก็ดี เป็นตัวหน้าที่ หน้าที่ตามกฏของธรรมชาตินั้นก็ดี แล้วผลที่ได้รับจาก
การปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ดีเรียกว่าธรรมะ โดยเสมอกัน แล้วตามที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ
นั้นมันก็เป็นตัวมนุษย์นั่นแหละตัวมนุษย์นั่นแหละ เราจะต้องศึกษาที่ตัวมัน ไม่ใช่ศึกษาที่
หนังสือหรือที่บันทึกเกี่ยวกับมัน แต่จะศึกษาที่ตัวมันเองโดยเฉพาะ จะศึกษาให้ถูกตัวจริงๆ
ก็เป็นตัวจริงๆที่อย่าตัวละเมอๆอะไรก็ไม่รู้
ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสสอนให้ศึกษาที่ตัวนี้ ตัวร่างกายนี่ ร่างกายและจิตใจนี่
ในร่างกายคนถึงยาวสักวาหนึ่ง ไม่มากกว่านั้น มันมีธรรมะครบหมด ไอ้ที่เป็นธาตุดิน น้ำ
ลม ไฟ หรือเป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อวัยวะต่างๆนี่ก็เป็นตัวธรรมชาติ กระทั่ง กระทั่งโล
หิต กระทั่งกระดูก กระทั่งอะไรก็ตามมันเป็นตัวธรรมชาติ ธรรมะในฐานะที่เป็นธรรมชาติ
รวมเรียกว่า กาย เรื่องกายที่ยาวประมาณว่าหนึ่งนี่
ทีนี้ในธรรมชาตินั้น แต่ละส่วนละส่วนนั้นมีกฏ กฏของธรรมชาติกำกับอยู่ ฉะนั้นทุก
อย่างมันจึงต้องเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เลือด เนื้อ เอ็น กระดูก
อะไรต่างๆ มันต้องเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ เพราะว่ามันมีกฏของธรรมชาติกำกับอยู่
นี่เป็นเรื่องที่สอง
ทีนี้ร่างกายนี้ ไอ้ร่างกายนี้มันต้องทำหน้าที่ ที่เห็นๆกันอยู่มันต้องทำหน้าที่ มันต้อง
แสวงหาอาหาร มันต้องกินอาหารและมันต้องบริหาร ต้องอาบ ต้องถ่าย ต้องประคบประ
หงม ต้องเยียวยาต้องรักษา มันมีหน้าที่ หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกายนี้ นี่สำคัญที่สุด ในคำ
ว่าหน้าที่ หน้าที่นี้ ธรรมะที่สำคัญที่สุด ไม่ทำก็คือตายนั้น
ทีนี้ถ้าเราทำหน้าที่ หน้าที่อย่างที่ทำมาแล้ว ก็ได้รับผลจากหน้าที่ เช่น เรียนสำเร็จมีงาน
ทำ มีการบำเพ็ญประโยชน์ เป็นคนมีประโยชน์ไปก็มี ทำหน้าที่ผิดพลาด กลายเป็นอันธพาล
เลวร้ายบ้าบอ ฆ่าตัวตายไปก็มี ผลมันก็ต่างกันอย่างนี้
แต่ดูให้ดีว่าทั้ง ๔ ความหมายนี้ มันรวมอยู่ที่ร่างกายเรานี้ แม้คนเดียวนี่ มีตัวธรรมชาติ
แล้วก็มีตัวกฏของธรรมชาติ แล้วมีหน้าที่ตามกฏของธรรมชาติ แล้วก็มีผลตามหน้าที่ ๔
ความหมาย เรียกโดยบาลีว่า ธรรมะ ธรรมะ เสมอกัน NATURE เอ้าสมมุติเรียกกันว่า
NATURE แต่จริงๆก็ไม่ใช่ถูกนัก ก็มันไม่มีคำอื่นที่จะแปลคำว่า ธรรมชาติ นั่นแหละ
NATURE แล้วก็ LAW OF NATURE ก็หมายถึงกฏ DUTY IN THE CAUSE DONE WITH THE LAW หน้าที่ตามกฏ แล้วก็ REASULT IN THE CAUSE DONE WITH THE DUTY ผลตามสมควรแก่หน้าที่
มันมีเหลือที่จะให้ศึกษาครบถ้วน ขอให้ศึกษา ๔ ความหมายนี้ให้ดีๆ จะได้รู้จัก ธรรมะ
ทั้ง ๔ ความหมาย แล้วก็รู้ธรรมะหมดสิ้นครบถ้วน สำหรับเอาไปใช้ปฏิบัติเพื่อความเป็น
มนุษย์ของตนจะได้สมบูรณ์ อย่าลืมว่าความหมายสำคัญมันอยู่ที่ความหมายที่ ๓ คือหน้าที่
ความหมายที่หนึ่งก็ต้องรู้ว่าธรรมชาตินั้นเป็นอย่างไร ธรรมชาตินี้คืออะไร อย่างกับเรียน
วิทยาศาสตร์เหมือนกัน มันก็เรียนรู้ว่ากฏ กฏเกณฑ์ของมันอย่างไรนี้ มันลึกละเอียดลงไป
แล้วก็ยังรู้ว่าต้องทำหน้าที่กับมันอย่างไร นี่ตอนนี้นี่ ไม่ทำมันก็คือผิด ผิดก็คือตาย ต้องทำ
หน้าที่ให้ถูก ถูกก็คือความเจริญรุ่งเรืองไป นี่เรียกว่าผล ผล คือจะต้องทำให้มันถูกต้องอยู่
เสมอ ทำหน้าที่ถูกต้อง ผลก็ถูกต้องอยู่เสมอ อย่างที่ท่านทั้งหลายจะทบทวนได้ด้วยตนเอง
แต่ต้นมาว่าเราได้เกิดมาอย่างไร ได้เติบโตอย่างไร ได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างไร ประสบความ
สำเร็จอย่างไร มีหน้าที่การงานอย่างไร ดำรงชีวิตอย่างไนให้เป็นประโยชน์สูงสุดอยู่ในโลก
มนุษย์นี้ มีความรู้เรื่องธรรมะ ธรรมะ และเมื่อปฏิบัติอยู่อย่างถูกต้อง ก็มีมนุษยธรรม
มนุษยธรรม ปฏิบัติหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์อยู่อย่างถูกต้องก็เรียกว่ามี มนุษยธรรม
ครั้นมีมนุษยธรรมแล้ว ความเป็นมนุษย์ของเราคือ มนุษยชาติหรือมนุษย์สภาวะ
มนุษย์ไหนก็ตาม ความเป็นมนุษย์ของเราก็ถูกต้อง ถูกต้องจนกว่าจะสิ้นชีวิต จนกว่าจะใช้
คำว่าคืนเจ้าของคืนเจ้าของ ผู้มีโชคดีก็ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตแต่ต้นจนปลาย
นี้ มีแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ ประโยชน์อย่างครบถ้วน
สำหรับคำว่าประโยชน์ ประโยชน์นี้ก็เหมือนกันแหละ ถือตามหลักพระพุทธศาสนา
ก็ง่ายดีแหละ พระพุทธเจ้าท่านแบ่งประโยชน์ไว้เป็น ๓ ประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ นี้ก็เรียก
ว่าประโยชน์ตนเอง ประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับ ก็เรียกว่าประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ที่ต้องได้
รับร่วมกันคือแยกกันไม่ได้นี่ก็เรียกว่าประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เรียกตามบาลีว่า อัตตประโยชน์
ประโยชน์ตน รัฐประโยชน์ ประโยชน์ผู้อื่น อุภยัตถะประโยชน์ ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
นั้นเนื่องกัน ไม่ต้องเชื่อใครหรอก เห็นได้เองนั้นว่าเราต้องมีประโยชน์ที่เนื่องกัน เพราะเรา
อยู่คนเดียวไม่ได้ในโลกนี้ คนไหนจะอวดดีว่า ฉันจะอยู่คนเดียวในโลกได้ แม้ว่าเขาจะยก
โลกทั้งโลกให้มนุษย์คนนั้นคนเดียวนั่นอยู่คนเดียวในโลก มันก็ตายหรอกอยู่ไม่ได้หรอก
มันธรรมชาติกำหนดมาสำหรับว่าอยู่ด้วยกัน อยุ่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นประโยชน์ผู้อื่นหรือ
ประโยชน์ที่เนื่องกันนั้นก็มีความสำคัญ
ถ้าเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ผู้อื่นแล้ว มันก็ผิดหลักของธรรมชาติ เขาก็จะต้อง
ต่อสู้กับธรรมชาติ อย่างเป็นทุกข์ทรมานแล้วก็จะล้มเหลวในที่สุด ต้องใช้หลักเกณฑ์ของ
ธรรมชาติให้ถูกต้อง บำเพ็ญประโยชน์ให้ครบถ้วนถึงที่สุดของความเป็นมนุษย์ ได้เกิดมา
เป็นมนุษย์ ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ แล้วมันก็จบ
เพราะฉะนั้นท่านจงศึกษา มนุษยธรรม ซึ่งจำเป็นสำหรับมนุษยชาติ คือความเป็น
มนุษย์ของเราเอง นี่คือธรรมะ ธรรมะที่เป็นตัวมุ่งหมาย ตัวความมุ่งหมาย ที่ท่านทั้งหลาย
ได้มาด้วยความยากลำบาก เพื่อจะศึกษามันก็คือสิ่งนี้ สิ่งนี้ คือธรรมะธรรมะ ซึ่งเราจะสา-
มารถให้บทนิยามที่ถูกต้องครบถ้วน ไม่เหมือนกับบทนิยามผิดๆที่เรียนมาในโรงเรียนที่ครู
สอนว่า ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นั้นมันเรียกว่าถูกนิดเดียวหรือเรียกว่าผิดก็
ได้ อย่างที่พูดมาแล้วคำสอนของศาสนาไหนก็เรียกว่าธรรมะทั้งนั้น และธรรมะนั้นหมายถึง
ตัวธรรมชาติ ตัวกฏของธรรมชาติ หน้าที่ตามกฏของธรรมชาติ และผลจากหน้าที่ มันเป็น
อย่างนั้น
ที่เราเห็นว่า ธรรมะ ในความที่ ๓ คือหน้าที่นั่นสำคัญที่สุด เราจึงยกมาเป็นหลักเป็น
เกณฑ์ เราจึงได้บทนิยามสำหรับคำว่า ธรรมะ สำเร็จรูปออกมา ซึ่งอยากจะขอร้องให้ตั้งใจ
ฟัง และช่วยจำไว้ดีดี ถ้าจะจดก็ช่วยจดให้มันถูกต้อง บทนิยามนั้นมีอยู่ว่า ธรรมะ คือ ระ
บอบระบบการปฏิบัติ ระบบการปฏิบัติ หมายความว่าปฏิบัติเป็นระบบ ปฏิบัติอย่างเดียว
ไม่ได้ไม่พอ ไม่ถูกต้อง ระบบปฏิบัติ แล้วก็ ที่ถูกต้อง คำถัดมาว่า ที่ถูกต้อง ถ้าผิดใช้ไม่ได้
ที่ถูกต้องแก่ความรอด รอดคือไม่ตาย ที่ถูกต้องแก่ความรอด รอดทั้งทางกายและทางจิต
เขียนลงไป ทั้งทางกายและทางจิต แล้วก็ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต เรียกว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ทุก
ขั้นตอนแห่งชีวิต แล้วก็จบว่า ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น มันยาวหน่อยแต่มีความหมายครบ
ถ้วนที่สุด สำหรับคำว่า ธรรมะ ธรรมะ
เอ้าขอทบทวนอีกทีเผื่อจะจำผิดหรือว่าจดผิดว่า ธรรมะ คือ ระบบการปฏิบัติ นี่เป็น
ตัวประธานของประโยค ระบบ นั้นหมายความว่าหลายอย่างรวมกันเป็นระบบ ที่ถูกต้อง
ถ้าผิดจากความจริงแล้วใช้ไม่ได้ ที่ถูกต้อง ถูกต้องแก่อะไร ถูกต้องแก่ความรอด ถ้าไม่รอด
ก็คือตาย ตายมันเลิกกัน ถูกต้องแก่ความรอด ทีนี้รอดทั้งทางกายและทางจิต มันทั้งสอง
รอด รอดแต่ทางกาย ทางจิตไม่รอดก็ไม่มีประโยชน์อะไร รอดทั้งทางกายและทางจิต ทีนี้
ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต ตั้งแต่คลอดจากท้องแม่จนกว่าจะเข้าโลง เรียกว่าทุกขั้นตอนแห่งชีวิต
ปิดท้ายว่า ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น นี่ความหมายหรือไอ้บทนิยามของคำว่า ธรรมะ มีอยู่
อย่างนี้อย่าเข้าใจแต่เพียงว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า มันผิดความจริงเหลือเกิน ระ
บบปฏิบัติจะต้องเรียนให้ครบถ้วนแล้วปฏิบัติครบถ้วนทั้งระบบมันจึงจะได้ จะปฏิบัติเพียง
อย่างเดียวเพียงข้อเดียวนั้น มันไม่ได้ มันไม่มีทางจะเป็นไปได้ จึงต้องปฏิบัติครบถ้วนทั้ง
ระบบ ซึ่งคงจะเคยได้ยินมาแล้วว่า ระบบศีล สมาธิ ปัญญา ระบบทาน ระบบภาวนา ระบบ
เป็นระบบ ระบบไป มันต้องครบทั้งระบบ แล้วมันเกี่ยวพันกัน มันเนื่องกัน มันไม่ครบทั้งระ
บบ มันไม่ มันเป็นไปไม่ได้ ถึงจะถูกต้อง ถูกต้อง คำว่าถูกต้อง ถูกต้องนี้ ขอให้ถือเอาตาม
หลักธรรมะในพระพุทธศาสนาดีกว่า อย่าไปเอาความหมายคำว่า ถูกต้อง ถูกต้องระบบสา
กลบ้าๆบอๆอะไรไม่รู้ เรียกว่าถูกต้องตามหลักของตรรกะ LOGIC LOGICบ้าง PHILOSOPHY
บ้าง อะไรบ้างก็ไม่รู้ ซึ่งเถียงกันไม่ค่อยรู้จักจบว่าถูกต้องอย่างไร เถียงกันตลอดเวลาก็ยัง
ไม่ยุติ
ถ้าถูกต้อง ถูกต้องตามหลักธรรมะ ก็คือไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ใดและเป็นประโยชน์แก่
ทุกฝ่าย ถ้ามันไม่ทำอันตรายแก่ใคร เท่ากับเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายนั่นแหละคือถูกต้อง ไอ้
ถูกต้องทางการเมือง ทาง PHILOSOPHY ทาง LOGIC ทางคำนวนนั้น สังคมวิทยาอะไรก็ตาม
มันไม่แน่นอนเท่ากับทางธรรมะ เราใช้คำว่าถูกต้อง ถูกต้อง มันถูกต้องเพื่อประโยชน์ตน
เองและผู้่อื่น ตั้งแต่ต่ำจนถึงที่สุด หรือว่าต่ำๆอยู่ในโลกนี้ก็ได้ สูงสุดเป็นนิพพานก็ได้ เรียก
ว่ามันเป็นประโยชน์ มันไม่มีโทษแล้วก็ถูกต้องนี่จึงใช้คำว่าแก่ความรอด ถ้าเป็นเรื่องของ
ความตายมันก็จบกัน ไม่ต้องพูดอะไร มันอยู่รอด ดำรงชีวิตอยู่ได้ ดำรงชีวิตอยู่ได้นี่คือว่า
รอด ที่รอด รอดนี้ขอให้รอดทั้งทางฝ่ายร่างกายและฝ่ายจิตใจ เพียงแต่รอดตายไม่ตาย แต่
อยู่ด้วยความเลวร้ายนี่มันไม่ใช่ความรอด เพราฉะนั้นจะต้องนึกถึงความรอดทางจิตใจ
ด้วย ถ้าจะให้ดีก็แยกไปสัก ๓ รอด รอดทางวัตถุหรือร่างกาย นี่ก็รอด รอดทางจิต มีจิตใจ
ดีนี้ก็รอด คือ จิตไม่ผิด จิตไม่ผิดยังไม่สมประกอบนั่นไม่เรียกว่ารอดทางจิต ทีนี้รอดทางสติ
ปัญญา นี่ก็ยิ่งดียิ่งสูงสุด รอดทางวัตถุ เดี๋ยวนี้เขาก็ใช้คำนี้กันทั่วไปจนเป็นที่รู้กัน มันฝรั่ง
กุ๊ยตามชาดหาดมันก็ยังพูดกัน รอดทางฟิสิกส์ PHISICALแล้วก็รอดทางระบบจิต MENTAL
ก็รอด รอดทางวิญญาณ สติปัญญา ทางSPIRITUAL SPIRITUAL ก็คือรอด ก็กลายเป็น ๓
ชั้น ทางวัตถุหรือร่างกายนั้นรอดหนึ่ง ทางจิตล้วนๆนั้นก็รอดหนึ่ง ทางสติปัญญาก็ไม่โง่ ไม่
ผิด ไม่วิปริต ก็เรียกว่ารอดทั้ง ๓ ทาง PHISICAL MENTAL SPIRITUAL
เดี๋ยวนี้ฝรั่งกุ๊ยตามชายหาดก็พูดคำว่า SPIRITUAL นั้นเป็นเหมือนกันน่ะ ไปถามมันดู
เถอะ มันมาที่นี่ เพราะฉะนั้นก็ขอให้เรารู้ด้วยว่าเขาก็สนใจกันเรื่องสูงสุด คือ ทาง SPIRI-
TUAL คือ ทางสติปัญญา รอดทางจิตเพียงจิตไม่บ้าไม่บอ มันก็พอแล้ว แต่มันยังโง่อยู่ก็ได้
ยังมีความคิดผิด หลงผิด ทำผิดอยู่ก็ได้ มันต้องทางสติปัญญาถูกต้อง ถูกต้องด้วย นี่รอดทั้ง
ทางกายและทางจิต
ทีนี้ ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต มันก็ตั้งแต่เกิดมาจนตาย ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต หรือจะเอาชี
วิตของไอ้จักรวาลก็ได้ ของทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่โลกมันมีมาจนกี่ล้านๆๆปีมาแล้ว มันเป็นกี่
ยุคกี่สมัย มันก็ถูกต้องมาทุกยุคทุกสมัยทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของโลกนี้ มันก็ได้
เหมือนกัน นี่เรียกว่า ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต
ก็จบลงด้วยคำว่า ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น นี่เป็นจุดสำคัญว่ามันอยู่คนเดียวไม่ได้
ถ้ามันไม่เห็นแก่ผู้อื่น มันเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวเมื่อไรจะเลวร้ายที่สุด ขอให้ฟังความหมาย
ของคำๆนี้ไว้ให้ดีดีไม่เห็นแก่ตัวแต่เห็นแก่ความถูกต้องหรือเห็นแก่ผู้อื่น อยากจะให้จำ
แม่นยำและเข้าใจแม่นยำ ถึงได้พูดซ้ำๆซากๆ ธรรมะ คือระบบปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ความรอด
ทั้งทางกายและทางจิต ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น มัน ๖ ความหมาย นี่
คือ ธรรมะ ธรรมะ
ผู้ใดมีธรรมะแล้วมีอานิสงส์ มีประโยชน์สูงสุดสูงสุด คือว่าชีวิตจะถูกต้อง ชีวิตจะเป็นชี
วิตที่ถูกต้องถูกต้อง พูดเป็นธรรมดาสามัญว่า ชีวิตจะไม่กัดเจ้าของ ไม่มีธรรมะแล้ว ไอ้ชีวิต
นั้นเองมันจะกัดตัวชีวิต เรียกว่ามันกัดเจ้าของ พวกฝรั่งเป็นอันมากมาที่นี่ทุกเดือน เดือน
ตั้งร้อยกว่าคน มันชอบคำๆนี้ที่สุด ชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ ก็ที่แล้วมาแต่หนหลัง มันพบแต่กับ
ชีวิตที่กัดเจ้าของงอมแงมมาแล้วนั่นน่ะ พอมารู้ธรรมะ แนะกันในแง่ที่ว่ามันจะไม่กัดเจ้า
ของก็ชอบใจชอบใจ สนใจธรรมะศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะกันจริงจังมากขึ้น มากันเอง
เหมือนกับมาตลาดนัดนั่นน่ะ ไม่ต้องออกหนังสือชักชวน มาเหมือนเขามาตลาดนัด ต้น
เดือน ๑๐ วันให้ฝรั่งใช้สถานที่ตรงนั้น พวกฝรั่งพอใจในประโยชน์ว่า ชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ
หมามันยังไม่กัดเจ้าของ ถ้ากัดเจ้าของต้องเลวกว่าหมาสิ เพราะว่าหมามันยังไม่กัดเจ้า
ของ มีชีวิตชนิดที่ไม่กัดเจ้าของ นั่นคือประโยชน์หรืออานิสงส์ของธรรมะ เอาให้ลองดูก็ได้
ลองไม่มีธรรมะ มันจะมีเรื่องที่กัดเจ้าของ ร้อนเป็นไฟ คือมันไม่มีความถูกต้องทางกายทาง
จิต ทางสติปัญญา มันก็เกิดความผิดพลาดขึ้นมาแล้วมันก็กัดเจ้าของนั่นเอง ตัวอย่างที่จะ
เข้าใจกันไว้ง่ายๆว่าสัก ๑๐ อย่างก็เห็นจะพอแล้ว ไม่ต้องร้อยอย่างพันอย่างล่ะ เดี๋ยวความ
รักกัด ไอ้คนโง่มันมีความรัก แล้วมันไอ้ความรักโง่ๆมันก็กัด เพราะความรักนั้นมันไม่มี
ธรรมะ คนที่เคยมีความรักคงรุ้รสกันมาแล้วทั้งนั้นว่ามันกัดอย่างไร เดี๋ยวความโกรธกัด
โกรธแล้วร้อนเป็นไฟอย่างไร เดี๋ยวความเกลียด เกลียดสิ่งใดสิ่งนั้นน่ะมันกัด กัดไอ้คน
เกลียด สมน้ำหน้ามัน สิ่งถูกเกลียดมันไม่รู้อะไรเลย ไอ้คนที่ไปเกลียดมันน่ะกลับเป็นทุกข์
เดือดร้อน กระวนกระวาย ความเกลียดกัด เดี๋ยวความกลัวกัด กลัวอย่างโง่เขลากลัวอย่าง
ไม่ได้ทำอะไรถูกต้องก็มานั่งกลัวนั่งกลัวแม้แต่นั่งกลัวชาวบ้านตบมันก็กลัวอย่างโง่เขลา
แล้วมันกัด ความตื่นเต้นตื่นเต้น ต้องตื่นเต้น ได้อะไรมาก็ต้องตื่นเต้น ใจคอไม่ปรกติ นี่ยัง
ไปซื้อหาความตื่นเต้น ต้องไปซื้อเหล้ากิน ต้องไปดูกีฬา ต้องไปทำอะไรที่สร้างความตื่นเต้น
ตื่นเต้น ทีนี้ความตื่นเต้นที่มันเเข้ามาหาเองนั้นมันก็กัด อยู่ด้วยความตื่นเต้นลำบาก ยุ่งยาก
อยู่ด้วยความตื่นเต้น ทีนี้วิตกกังวลต่ออนาคต ด้วยความโง่ วิตกกังวลเกินขนาดเป็นบ้า
ตาย เรียนอะไรไม่สำเร้จก็มีเยอะ มันวิตกกังวลต่ออนาคต สร้างวิมานในอากาศมากเกินไป
วิตกกังวลต่ออนาคต แล้วก็มีอาลัยอาวรณ์ต่ออดีต อดีตที่ล่วงมาแล้วยังเอามาอาลัยอาวรณ์
อยู่ไม่รุ้จักสิ้นสุดแล้วก็อิจฉาริษยา อิจริษยาผู้ใด ผู้อิจฉาริษยานั้นมันจะทนทุกข์ทรมานก่อน
ผู้ถูกริษยายังไม่รู้เรื่องก็มี ยังไม่รู้เรื่องเลยก็มี แต่ผุ้ริษยาเขานี่เหมือนกับไฟไหม้อยู่ในจิตใจ
นั่นแหละ คำว่าอิจฉาริษยานี่มันกัด ความหวง ความหวง ขี้เหนียวมันก็กัด ไอ้ความหวง
ถ้าเป็นไปในทางเพศเข้มข้นก็เรียกว่าความหึง มันก็กัด บางทีกัดพ่อกัดแม่กัดทั้งครอบครัวก็
มี ตามฆ่ากันตายเพราะความหึงนี่มีมากเหลือเกิน นี่ตัวอย่างไอ้ที่มันจะกัดเจ้าของน่ะ ชีวิตที่
มันกัดเจ้าของ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัย
อาวรณ์ อิจฉาริษยา หวงหึง เพียงเท่านี้มันก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเกินนั่นอยู่แล้ว ไม่ต้องเอา
มาตั้งร้อยอย่างพันอย่าง
ถ้ามีธรรมะมันมีแต่ความถูกต้อง ไม่มีทางที่จะกัด ไม่มีอะไรที่จะกัด ก็มีความเยือก
เย็น เยือกเย็นมีความหมายแห่งนิพพาน คำว่านิพพาน นิพพานนี้มันมีความหมายว่า เย็น
คือไม่มีความร้อน ไม่มีไฟที่เผาให้ร้อน คำว่า นิพพาน ไม่ได้หมายถึงความตาย ไม่ได้เกี่ยว
กับความตาย ที่ในโรงเรียนสอนผิดๆ ในโรงเรียนครูสอนเด็กๆว่า พระอรหันต์ตายเรียกว่า
นิพพาน นี้มันผิดเกินผิด ผิดหลายชั้น เพราะพระอรหันต์นั้นตายไม่ได้หรอก สิ่งที่เรียกว่า
พระอรหันต์นั้นตายไม่ได้ ร่างกายของพระอรหันต์แตกดับได้ แต่องค์พระอรหันต์ไม่มีวัน
ตาย
ดังนี้พระอรหันต์ก็ไม่ได้ตาย ไม่ใช่ว่าความตายของพระอรหันต์ มันก็ไม่มีทางที่จะถูก
นิพพาน แปลว่า เย็น เย็นมีความหมายพิเศษเฉพาะ คือว่ามันไม่มีความร้อนหรือความทุกข์
มันจะต้องสังเกตกันสักหน่อย ที่ว่านิพพานมันเย็นเพราะอะไร มันเย็นเพราะมันไม่มีอะไร
ปรุง ไม่มีอะไรกวน มันสงบเย็นไม่มีอะไรปรุง เย็นในที่นี้ก็หมายความว่า ไม่หนาวและไม่
ร้อนนั้นน่ะ หนาวก็ไม่ไหว ร้อนก็ไม่ไหว ไม่หนาวไม่ร้อนน่ะ เราเรียกสมมุติว่าเย็น
แต่ที่จริงมันมากกว่านั้น คือมันไม่บวกไม่ลบ ไม่ผลักไม่ดูด ไม่อะไรต่างๆทุกอย่าง ไม่ได้
ไม่เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ ไม่กำไรไม่ขาดทุน ไม่ได้เปรียบไม่เสียเปรียบ ไม่ ไม่ ไม่ ไอ้พวก
NAGATIVE และ POSITIVE ทุกคู่ทุกคู่ไม่มี เหลือแต่ความว่างจากการปรุง แล้วมันก็สงบ
สงบ ไม่ยุ่งมันก็เย็น
คำว่า นิพพาน เป็นคำสำคัญในพระพุทธศาสนา ถ้าไม่มีนิพพาน ก็ไม่มีพุทธศาสนา
แต่ว่ายังมีคนเกลียดนิพพาน ในกรุงเทพฯที่เล่าเรียนกันมากมายน่ะ มีนักปราชญ์ ครูบาอา-
จารย์บางคนเกลียดนิพพานไม่เอามาสอน กลัวว่าคนจะไม่ทำอะไร จะอยู่เฉยๆ มันไม่ใช่
อย่างนั้น นิพพาน แปลว่า เย็น แปลว่า ไม่ร้อน มันแปลว่า ทำถูกต้องทุกอย่างทุกประการ
แล้วไม่มีความร้อน ไม่ได้แปลว่าความตายของพระอรหันต์หรือไม่ได้แปลว่าความไม่ตาย
ของใครก็ไม่ หมายถึงความเย็นอยู่ที่นี่โดยไม่ต้องตาย ยังไม่ตายชีวิตนี้เย็น เย็น นี่หมาย
ความว่าปฏิบัติถูกต้อง ถูกต้อง ไม่เกิดกิเลสไม่เกิดไฟ ไม่เกิดความทุกข์ มันใช้คำว่า เย็น
นั่นแหละถูกต้องที่สุด
มันมีคำที่ใช้กันให้ถูกต้องอยู่คำหนึ่ง คือคำว่า QUENCH QUENCH ใช้กับสิ่งที่มันร้อนหรือ
มันวุ่น เมื่อมันหยุด มันสงบ มันระงับ มันเย็นลงก็เรียกว่า มัน QUENCH ให้ชีวิตนี้มัน
QUENCH คือมันเย็นลงเพราะมันไม่มีไอ้สิ่งร้อนเข้ามารบกวน คือ นิพพาน
ก่อนแต่จะมีศาสนาใดๆนั้น มนุษย์มีคำพูด พูดจาอยู่แล้ว คำว่า นิพพาน นิพพานนี้
เขาก็ใช้พูดกันอยู่แล้ว ก่อนแต่มีศาสนาใดๆ เขาหมายถึง เย็น พูดกันอยู่ตามบ้านตามเรือน
แม้แต่ในครัว ถ่านไฟแดงๆดับลงไปก็เรียกว่ามันนิพพาน ข้าว ข้าวแกงกับอาหารร้อนอยู่
กินไม่ได้ต้องรอให้เย็นเสียก่อน ก็เรียกว่ามันนิพพาน รอให้มันนิพพานเสียก่อนจึงกินได้
เอาน้ำรดไฟให้ดับก็เรียกว่าทำให้มันนิพพาน สัตว์เดรัจฉานดุร้ายเป็นพิษเป็นอันตราย มา
ฝึก ฝึกให้เชื่องเหมือนกับแมวนี้ ช้างป่าความป่าวัวป่าแหละ เอามาฝึกจนเชื่อง เหมือนกับ
แมวนี้ก็เรียกว่า ทำให้มันนิพพาน
คำว่า นิพพาน ใช้มาแต่ครั้งกระนู้นอย่างนี้ ต่อมาคนบางคนมารู้เรื่องทางจิต ว่าจิต
ร้อนเว้ย ต้องการเย็น สติปัญญามันยังน้อย มันยังโง่อยู่ มันก็คิดว่ากามารมณ์สมบูรณ์นั้น
แหละเป็นนิพพาน เพราะกามารมณ์เมื่อได้สำเร็จความใคร่ เหมือนมันก็มีความเย็นไปพัก
หนึ่ง เขารู้จักเพียงเท่านั้นก็เอากามารมณ์นั่นเป็นนิพพาน ข้อความอย่างนี้ปรากฏอยู่ในคำ
ภีร์พระไตรปิฎก มนุษย์ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเอากามารมณ์เป็นนิพพาน ต่อมาก็มีคนฉลาด ฤา-
ษีมุนีอะไรที่มันฉลาดยิ่งขึ้นไป ก็โอ๊ยไม่ไหว กามารมณ์นั้นมันเป็นนิพพานไม่ได้ เอาสมาธิ
เอาสมาบัติ เอาฌานเอาสมาธิ ระงับแห่งจิตใจเป็นสมาบัตินั้นมาเป็นนิพพาน มีอยู่หลายชั้น
แต่ก็เป็นสมาบัติเป็นสมาธิทั้งนั้น สอนกันมาอย่างนี้ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น พระ
พุทธเจ้าเกิดขึ้นก็ไปเรียนสิ่งเหล่านี้แหละ สมาบัติทุกชนิด ไปเรียนแล้วไม่พอพระทัย นี่มัน
ยังไม่ใช่ ไม่ใช่จุดสูงสุดของความเย็น ท่านมาพบว่าความหมดกิเลส หมดกิเลส ราคัคคโย
โท โมหัคคโย นิพพานัง สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ นั่นคือนิพพาน แล้วก็ไม่มีใครสอนให้
สูงไปกว่านี้ได้อีก เรื่องก็จบยุติกันนั่นแหละ สิ้นกิเลสนั่นแหละก็คือนิพพาน
นี่ท่านทั้งหลายไปคิดดูเอง ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ คือ ไม่มีกิเลส ไอ้สิ่งที่เรียกว่ากิเลส
นั้นน่ะ ตัวหนังสือแท้ๆ มันแปลว่า สกปรกหรือไม่สะอาด แต่มันหมายถึงเรื่องทางจิตใจ ว่า
ด้วยจิตใจไม่ใช่ทางวัตถุ มันจึงหมายถึงกิเลส กิเลส เป็นสิ่งสกปรกแก่จิตใจ แบ่งเป็น ๓ ประ
เภท กิเลสประเภทหนึ่ง มันมาจากความโง่ด้วยกันทั้งนั้นแหละ แต่ว่าประเภทหนึ่งมันจะเอา
ดึงเข้ามาหาตัว ดึงเข้ามาหาตัว มายึดถือมากอดรัดอะไรไว้ มายึดถือไว้นี่เรียกว่า กิเลสประ
เภทโลภะ หรือ ราคะ มีชื่ออื่นๆอีกมาก ก็เป็นประเภทที่ว่าดึงเข้ามา PULLเข้ามา กิเลสประ
เภทที่สอง ไม่ชอบไม่ต้องการ จะผลักออกไป จะฆ่าเสียจะทำลายเสีย นี่เป็นกิเลสประเภท
ผลักออกไปหรือจะทำลายเสีย ได้แก่กิเลสประเภทโทสะ โกธะ พยาบาทอะไรต่างๆ คือกิเลส
ประเภทที่สอง ที่จะผลักออกไปหรือทำลายเสีย ที่นี้กิเลสประเภทที่สาม มันไม่รู้อะไรมันโง่
มันทำอะไรไม่ถูก ดูดเข้ามาก็ไม่ใช่ ผลักออกไปก็ไม่เชิง มันก็เลยวิ่งอยู่รอบๆ วิ่งอยู่รอบๆ
ด้วยความสงสัย ด้วยความโง่ ด้วยความสะเพร่า นี่เป็นกิเลส ๓ ประเภท
ท่านจงรู้จักมันทั้ง ๓ ประเภท เพราะมนมีอยู่ในชีวิตประจำวัน เอ้า..ถ้าคุณจะช่วยพูด
คุณพูด ฉันหยุด นักเรียนนักศึกษาชั้นสูงสุดนี่มันมีเป็นอย่างนี้
กิเลสมีสามประเภท ดึงเข้ามา ผลักออกไป และวิ่งอยู่รอบๆ นี่คือกิเลสธรรมดาเรียก
ว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่มันมีกิเลสอย่างนี้ ลงไปแล้วอย่างนี้ เรียกว่า กิเลสชั้น
กิเลสประเภทธรรมดา มันมีกิเลสประเภทต่อมาคือ ความเคยชินแห่งกิเลส เช่น รัก แล้วมัน
จะชินที่จะรัก โกรธมันก็ชินที่จะโกรธ โง่ มันก็ชินที่จะโง่ เรียกว่ากิเลสประเภทอนุสัยจะ
เพิ่มขึ้นทุกทีทุกทีที่มีกิเลส นี่เป็นกิเลสประเภทอนุสัยซึ่งทำความลำบาก เราจึงละความรัก
หรือความโกรธหรือความโง่ไม่ได้ ไม่ค่อยจะได้ เพราะมันมีกิเลสประเภทนี้เก็บเข้าไว้ เก็บ
เข้าไว้ เก็บเข้าไว้ เรียกว่าอนุสัย ครั้นเก็บเข้าไว้มากเข้ามากเข้า มันก็จะดันออกมาโดยง่าย
พอได้สิ่งแวดล้อมอะไรเหมาะสม มันก็ดันกลับออกมา กิเลสประเภทนี้เรียกว่า อาสวะ กิเลส
ทีแรกเรียกว่ากิเลส ทำลงไปแล้วมันก็เกิดความเคยชินของกิเลสเก็บไว้ในใจ ความเคยชิน
ของกิเลสเก็บไว้มากมันก็พร้อมที่จะออกมา มันจึงมีสามขั้นตอนอย่างนี้
กิเลสมีอยู่สามขั้นตอนอย่างนี้ แล้วก็ทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ถ้าปฏิบัติธรรมะ รู้
ธรรมะถึงที่สุด มันก็ไม่เกิดกิเลส หรือมันค่อยละลายละลายความเคยชินที่สะสมไว้ เช่นว่า
มันควรจะเกิดกิเลสอย่างนี้คราวนี้ แต่เราไม่ให้มันเกิด ถ้าทำได้อย่างนี้ มันจะละลายความ
ชินแห่งกิเลสที่สะสมไว้ไปหน่วยหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้อยู่บ่อยๆ เราอดกลั้นไม่ให้เกิดกิเลสอยู่
ตลอด ตลอดไป ไอ้สิ่งที่เคยชินมันก็หมด นี่มันจะเป็นการทำให้บรรลุมรรคผล มันยังมีกิ
เลสอะไรที่ทำให้ไหลกลับออกมาอีก นี่จงรู้จักตัวเองและกิเลสของตัวเอง ว่ามันมีปัญหา
อย่างนี้ เกิดกิเลสแล้วเกิดความเคยชินแห่งกิเลส แล้วก็จะไหลกลับออกมา ทำอย่างนั้นอีก
นี่ความยากลำบากของการละกิเลสมันมีอยู่อย่างนี้ ถ้าใครควบคุมได้มันก็เป็นบุคคลสูงสุด
คือ เป็นพระอรหันต์
บรรดากิเลสที่เก็บไว้เป็นอนุสัยที่จะไหลออกมา มันถูกทำลายหมด ก็เพราะว่าไม่ยอม
ให้เกิดกิเลสอีก ไม่มีอะไรไปยอมหล่อเลี้ยงไอ้กิเลสที่เก็บไว้ มันขาดอาหาร มันไม่มีอาหาร
มันก็ร่อยหรอมันก็หมดไป อย่างนี้เรียกว่าการบรรลุมรรคผล คือ ทำให้กิเลสขาดอาหารลด
ลงลดลง จนไม่มีกิเลสเหลือ ก็เป็นผู้ไม่มีกิเลส
นี่คือไม่มีอะไรกัดเจ้าของอีกต่อไป ชีวิตสูงสุดเพราะมีธรรมะสูงสุด เดี๋ยวนี้เราไม่ได้รู้
เรื่องนี้ เราก็ไม่ได้สนใจ แล้วก็ทำกิเลสน่ะ ทุกโอกาสที่จะทำได้ในรูปของโลภะบ้าง โทสะ
บ้าง โมหะบ้าง จึงเต็มอัดอยู่ด้วยกิเลสและความเคยชินแห่งกิเลส แล้วก็เห็นแก่ตัว เห็นแก่
ตัว แล้วก็ยิ่งมีกิเลสมากขึ้นเพราะความเห็นแก่ตัว
เอ้า..อยากจะพูดถึงเรื่องความเห็นแก่ตัวให้เป็นที่เข้าใจหน่อย เรื่องทั้งหมดของพระ
ศาสนาทุกๆศาสนาต้องการจะกำจัดความเห็นแก่ตัว จึงเกิดศาสนานั่นศาสนานี่ศาสนาโน้น
ขึ้นมาตามลำดับตามลำดับ ตลอดเวลาหลายพันปีมันก็มีหลายศาสนา แต่ว่าทุกศาสนามัน
มุ่งกำจัดความเห็นแก่ตัว อย่างต่ำๆเห็นแก่ตัว เอ้าก็ไปฆ่า ไปฆ่าเขา ไปลักขโมยเขา ไปประ
พฤติผิดในกามต่อของรักของใคร่ของเขา ไปโกหกหลอกลวงเขา เอ้า..ไปเสพติดสิ่งมึนเมา
ให้เสียสติสัมปัชชัญญะ นี่ตัวอย่างศีช ๕ ทุกอย่างทุกประการแหละมันมาจากความเห็นแก่
ตัว เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว ให้ทำกิเลส ให้ทำความชั่วผิดบาปมากขึ้นมากขึ้น
นี่จะพูดกันในฐานะว่าเราเป็นมนุษย์ ช่วยกันพิทักษ์โลก พิทักษ์ประเทศชาติ พิทักษ์สัง
คม สังคมไทยเราด้วยกันทุกคน เพราะฉะนั้นขอให้เห็นว่าไม่สำเร็จเพราะมันมีความเห็นแก่
ตัวมันมีความเห็นแก่ตัว ตลอดเวลาที่อาตมาศึกษาค้นคว้า พยายามอย่างยิ่งยวดมาเป็นเว
ลาหลายสิบปีนี่ สรุปลงข้อความลงในพระบาลีพระพุทธวจนะทั้งหมดนั้นพบว่ามันมีอยู่ที่สิ่ง
เดียวคือ ความเห็นแก่ตัว คือถ้าละไม่ได้ก็เป็นอันธพาลยิ่งขึ้นไป ถ้าละได้ก็เป็นพระอรหันต์
ในที่สุด มันมีอยู่สองอย่างอย่างนี้
ละความเห็นแก่ตัว คือความรู้สึกว่าตัวกูว่าของกเสียไดู้ นั่นเป็นพระอรหันต์ ถ้ามันเต็ม
อัดอยู่ด้วยความเห็นแก่ตัว มันก็เป็นอันธพาล เป็นอันธพาล มันมีอยู่เท่านี้
เพราะฉะนั้นขอให้สนใจเถิดสำหรับผู้ที่มีความคิดกว้างไกลออกไปถึงกับจะขจัดสิ่งเลว
ร้ายของประเทศชาติ มีนักศึกษาจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง เพื่อที่จะชำระให้
บ้านเมืองมันสะอาด แต่เขาก็ไม่ค่อยรู้จักไอ้ความเห็นแก่ตัว บางทีกลายเป็นผู้เห็นแก่ตัวซะ
เองเสียอีก เลยเพิ่มปัญหาแทนที่จะลดปัญหา เพราะมีความเห็นแก่ตัว เพราะฉะนั้นถ้าท่าน
จะมุ่งหมายทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์แก่ประเทศชาติแก่โลกก็ดี จงรีบกำจัดความเห็นแก่
ตัวทั้งของตนเองและของผู้้อื่น หมดความเห็นแก่ตัวแล้วปัญหามันก็จะหมด ความเลวร้าย
ทุกชนิดไม่ยกเว้นชนิดไหน มันมาจากความเห็นแก่ตัวในโลกนี้ ในโลกนี้ปัจจุบันก็ดี อนา-
คตอดีตอะไรก็ดี มันก็มาจากความเห็นแก่ตัว ถ้าเข้าข้อนี้ คือเข้าใจปัญหาอันมหาศาลทั้ง
หมดของมนุษย์ กำจัดความเห็นแก่ตัวเสียได้มันก็หมดปัญหา
เพราะฉะนั้นขอฝากไว้ กระทั่งขอวิงวอนอ้อนวอนว่าให้ช่วยสนใจ ช่วยศึกษาให้เข้าใจและ
ปฏิบัติมันให้ได้ โดยดูให้เห็นเป็นลำดับไปว่ามันเป็นอย่างไร คนเห็นแก่ตัวมันก็ขี้เกียจ มัน
ขี้เกียจจะเอาแต่นอนแต่พักผ่อน แต่มันจะเอาประโยชน์นั่นน่ะ ทุกคนรู้จักน้ำหน้ามันดีทั้ง
นั้นแหละ คุณไปดูเถอะ คุณเองก็รู้จักว่าคนเห็นแก่ตัวมันขี้เกียจอย่างไรแล้วมันจะเอาประ
โยชน์อย่างไร นี่เห็นแก่ตัวแล้วมันก็ขี้เกียจ เห็แก่ตัวแล้วมันก็เอาเปรียบ เอาเปรียบทุก
อย่างทุกอย่างที่จะเอาเปรียบได้ แล้วมันก็อิจฉาริษยา อิจฉาริษยา แล้วมันก็คดโกงคดโกง
คดโกงเพราะมันเห็นแก่ตัว แล้วก็มันก็ทำลายประโยชน์ส่วนรวมเพราะมันเห็นแก่ตัว ทำลาย
สาธารณะประโยชน์ มันสร้างมลภาวะทุกชนิด มลภาวะทุกชนิดในโลกมันเกิดมาจากผู้เห็น
แก่ตัว แล้วมันทำให้เกิดอุบัติเหตุ มันเห็นแก่ตัวมันสะเพร่า มันทำให้เกิดอุปัทติเหตุเลวร้าย
ยกตัวอย่างสักสองอย่างก็ได้ วันก่อนแก๊สระเบิดเมื่อสองสามวันนี้ หัวแก๊สระเบิดระเบิดตาย
กันเป็นร้อยๆ นั้นมันมาจากความเห็นแก่ตัวของผู้เป็นเจ้าของการงาน เจ้าของรถเจ้าของกิจ
การ กระทั่งคนขับรถนั่นเอง มันเห็นแก่ตัวจนสะเพร่าจนทำให้เกิดไอ้ความยุ่งยากเสียหาย
อย่างนี้ขึ้น นี้เรียกว่าแม้ไม่เจตนา มันก็ยังทำความวินาศได้อย่างนี้เพราะความเห็นแก่ตัว
แล้วมันก็ไปเป็นอันธพาลเป็นอันธพาล คนเห็นแก่ตัวมันเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว มัน
ทำลายตัวเป็นคำพูดที่ฟังยากว่ามันเห็นแก่ตัว แต่ทำไมมันทำลายตัว มันเห็นแก่ตัวมันไป
กินเหล้า เล่นการพนันเที่ยวกลางคืน อบายมุขทั้งหลาย มันเห็นแก่ตัวแท้ๆมันจึงทำ นี่ความ
เห็นแก่ตัวมันเป็นเหตุให้ทำลายตัว แล้วมันก็ไปเอาโรคภัยไข้เจ็บที่มันไม่ควรจะเอามานั้นน่ะ
โรคแอดโรคเอดส์อะไรก็ไม่รู้ที่หมามันก็ไม่เป็นนั่น แต่มนุษย์พวกนี้มันเอามาใส่ตัว คิดดูสิ
นี่ความเห็นแก่ตัวมันทำลายตัวของมันเอง มันเห็นตรงกันข้าม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ทำ
ลายตัวของมันเองอยู่เรื่อยๆ นี่เพราะความเห็นแก่ตัว สร้างคุกตะรางเท่าไรก็ไม่พอกับคน
อันธพาล สร้างตำรวจเท่าไรมันก็ไม่พอกับคนอันธพาล สร้างศาลยุติธรรมเท่าไรมันก็ไม่พอ
กับคนอันธพาล สร้างโรงพยาบาลบ้าเพิ่มขึ้นเท่าไรมันก็ไม่พอแก่คนอันธพาล อาตมาได้ยิน
รายงานของกระทรวงต่างๆที่เป็นเจ้าหน้าที่กำลังประกาศอยู่อย่างนี้ งบประมาณจะสร้างโรง
พยาบาลบ้ามันก็ไม่มีแล้ว มันก็ไม่พอเสียแล้วมันมากเกินไป
ที่ในที่สุดคนเห็นแก่ตัวนี้มันก็หลงทางอันดับสุดท้าย ฆ่าพ่อฆ่าแม่ฆ่าลูกฆ่าผัวเมียฆ่า
ตัวเองตายตามไป เพราะความเห็นแก่ตัว หรือว่าไอ้บางทีมันก็เป็นบ้าไปอยู่ในโรงพยาบาล
บ้า ขอให้ติดตามไปที่โรงพยาบาลบ้าทุกหนทุกแห่งในโลกดูเอาว่ามันมาจากไหนคนบ้านี้
มันตั้งต้นมาจากความเห็นแก่ตัวที่หลงทาง มันเดินผิดทางทั้งนั้นแหละ โรงพยาบาลบ้ามัน
จึงเต็มไปทั้งโลกแล้วมันก็ยังไม่พออยู่นั่นแหละ นี่ความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัว ทำให้
เกิดอาชญากรรมอาชญากร เกิดมลภาวะเกิดโรคเลวร้ายที่มันไม่ควรจะเกิด เพราะมันเห็น
แก่ตัว มันเห็นแก่ความสุขสนุกสนานเฉพาะหน้า มันไม่เห็นแก่ส่วนลึกซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้มันไม่เป็นใจ นี่มันเป็นเรื่องของคนโง่
ตาใหลักธรรมะตลอดกาลนิรันดรนั้นน่ะ ไม่จำกัดอายุว่าไอ้คนโง่มันไม่รู้จักต้นเหตุแห่ง
ความเลวร้าย จะกำจัดความเลวร้ายมันก็กำจัดอยู่ที่ปลายเหตุ ถ้าเป็นคนมีสติปัญญามันกำ
จัดที่ต้นเหตุท่านจะอยู่ในฐานะเป็นชาวนาชาวสวนเป็นพ่อค้าเป็นอะไรก็ตาม เป็นกรรมกร
ก็ตามเป็นขอทานก็ตาม เป็นข้าราชการก็ตามเป็นนักการเมืองก็ตาม ถ้าถูกต้องหรือเฉลียว
ฉลาด มันจะจัดการที่ต้นเหตุ ไม่มัวไปจัดการที่ปลายเหตุ จัดการที่ต้นเหตุก็ประสบความสำ
เร็จได้ตามความประสงค์เรียกว่าเป็นคนฉลาด คนโง่มัวแต่จัดการที่ปลายเหตุปลายเหตุ
หนักเข้ามันก็โง่เป็นไสยศาสตร์ไปอ้อนวอนผีสางเทวดาอะไรก็ไม่รู้ เพราะมันไม่รู้จักต้นเหตุ
ถ้ามันรู้จักต้นเหตุว่ามันมาจากอะไร มันก็จัดการที่ต้นเหตุ มันก็รอดตัวได้มันพ้นจากความ
โง่ได้เอาตัวรอดไปได้
ดังนี้ขอให้ช่วยจำไอ้ไหลักใหญ่ๆอย่างนี้ไว้ มันเป็นหลักของพระศาสนาทุกศาสนา โดย
เฉพาะพระพุทะศาสนา ว่าจงจัดการที่ต้นเหตุของความเลวร้ายหรือของความทุกข์ ถ้าไปจัด
การที่ปลายเหตุมันเป็นเรื่องของคนโง่ ไม่ต้องพูดถึงศาสนาล่ะมันโง่เกินไป ไม่มีทางที่จะเป็น
ศาสนา ถ้าเป็นศาสนาก็เป็นศาสนาของคนโง่เป็นศาสนาของคนหลับ ที่เรียกว่าไสยศาสตร์
ถ้าเป็นพุทธศาสตร์มันแปลว่า ตื่น คือตื่นไม่หลับนั่นแหละ ก็เรียกว่าพุทธศาสตร์ มันก็จัด
การที่ต้นเหตุ ถ้ามันโง่มันก็มัวจัดการที่ปลายเหตุ คอยแต่นั่งอ้อนวอนบวงสรวงกันอยู่อย่าง
นี้ไม่มีที่สิ้นสุด
ผู้ที่จัดการที่ปลายเหตุมันถูกเปรียบด้วยลูกหมา ผู้ที่รู้จักจัดการที่ต้นเหตุเรียกว่าลูกเสือ
ลูกราชสีห์ เค้าพูดกันมานานแล้ว จะเป็นพันๆปีมาแล้วมั้ง แต่คงจะไม่ค่อยเคยจะได้ยินกัน
อาตมาได้ยินก็จำไว้ก็อยากจะบอกกับท่านทั้งหลายให้รู้ความจริงข้อนี้ว่า ลูกหมาน่ะหรือ
หมาก็แล้วกันน่ะ ใครเอาไม้ไปแหย่ ไปแหย่ไปไล่ ลูกหมาหรือหมาจะกัดที่ปลายไม้อยู่นั่น
แหละ กัดที่ปลายไม้ที่คนมันแหย่ มันเป็นลูกหมา แต่ถ้าเป็นลูกเสือลูกราชสีห์มันไม่มัวกัด
อยู่ที่ปลายไม้ มันกระโจนมาหาคนกัดโคนไม้ น่ะมันเป็นลูกราชสีห์เป็นลูกเสือ
ถ้ามัวแก้ไขที่ปลายเหตุมันเป็นลูกหมา เพราะฉะนั้นอย่าดง่เป็นลูกหมาอยู่เลย เป็นลูกเสือ
เป็นลูกราชสีห์จัดการที่ต้นเหตุที่ต้นเหตุ มันก็จะแก้ปัญหาได้ ความดับทุกข์ในเรื่องโลกๆ
โลกๆนี้ก็ดหรือจะไปมรรคผลนิพพานก็ดี ล้วนแต่จัดการที่ต้นเหตุทั้งนั้น คือ ทำให้หายโง่ให้
รู้ถูกต้องเสียก่อนแล้วก็ปฏิบัติไปตามความรุ้ที่ถูกต้อง มันก็แก้ปัญหาได้ ปัญหาในโลกนี้ก็ได้
มีทรัพย์สมบัติมีเงินทองอำนาจวาสนาบารมีได้ตามความประสงค์ จะละกิเลสไปนิพพานเป็น
พระอรหันต์ก็ได้ ถ้าจัดการกันที่ต้นเหตุ คือ ความถูกต้อง
เดี่ยวนี้ต้นเหตุสูงสุด อีกทั้งหมดมันอยู่ที่ความเห็นแก่ตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว คุณ
ลองคำนวนดูจะเป็นอย่างไร ถ้าประชาชนทุกคนไม่ยกเว้นใครมันเห็นแก่ตัว มันเห็นแก่ตัว
จะเป็นอย่างไร ไอ้ผู้ที่แทนที่มันเห็นแก่ตัวมันก็มาจ้างให้เลือก ประชาชนที่เห็นแก่ตัวมันก็
เลือกผู้แทนด้วยความเห็นแก่ตัว มันก็ได้ผู้แทนที่เห็นแก่ตัวไปทั้งนั้น แล้วผู้แทนทั้งนั้นเห็น
แก่ตัวก็ไปตั้งเป็นรัฐสภา มันก็เป็นรัฐสภาที่เห็นแก่ตัวนั้นน่ะ และจากผู้แทนเหล่านั้น รัฐสภา
จะไปตั้งเป็นรัฐบาล มันก็ได้รัฐบาลที่เห็นแก่ตัว ประชาชนก็เห็นแก่ตัว ผู้แทนก็เห็นแก่ตัว
รัฐบาลก็เห็นแก่ตัว แล้วมันจะมีอะไรเหลือเล่า ใครจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ถ้ามันเห็นแก่ตัว
กันทุกคนอย่างนี้
คุณเป็นครูบาอาจารย์เห็นแก่ตัว คุรก็ทำนาบนหลังลูกศิษย์บนหัวลูกศิษย์อยู่บนหลังผู้
ปกครองของลูกศิษย์ นี้ถ้าคุณเป็นครูเห็นแก่ตัว ถ้าคุณเป็นหมอเห็นแก่ตัว คุณก็ทำนาบน
หลังคนเจ็บที่เจียนจะตายอยู่แล้วนั้นน่ะ หมอ.. ถ้าคุณเป็นผู้พิพากษาตุลาการเห็นแก่ตัว คุณ
ก็ทำนาบนหลังจำเลย ที่มาเป็นจำเลยนั่นน่ะ นี่คิดดูเถอะ ถ้าเป็นพระเจ้าพระสงฆ์เห็นแก่
ตัว ก็ทำนาบนหลังทายกทายิกานั่นเอง นี่ถ้าว่าจะเป็นอะไรแล้วก็เห็นแก่ตัวแล้วมันก็เป็น
เรื่องน่าเศร้าหรือเลวร้ายอย่างนี้ทั้งนั้น
ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีใครขาดศีลไม่มีใครขาดศีล ไม่มีใครทำ
อันตรายใคร ไม่มีใครทำใครให้ลำบาก นอนก็ไม่ต้องปิดประตูเรือนเพราะมันไม่มีขโมย มัน
ไม่มีเหตุการณ์เลวร้ายใดๆเกิดขึ้น ไม่มีใครทำผิดเป็นอาชญากรรมอาชญากร เราก็ไม่ต้องมี
คุกมีตะรางใช่ไหมเล่า คิดดูเถอะ คุกตะรางเลิกได้ ตำรวจเลิกได้ ศาลสถิตยุติธรรมก็เลิกได้
ถ้ามันไม่มีใครทำผิด ในเมื่อไม่มีใครเห็นแก่ตัว
การปกครองก็ไม่ต้องมี รัฐบาลก็ไม่ต้องมี ไม่มีการปกครองก็ได้ ถ้ามนุษย์ทุกคนมัน
ไม่เห็นแก่ตัว ศาสนาทั้งหมดเลิกเสียก็ได้ ถ้าทุกคนมันไม่เห็นแก่ตัว มันจะมีไปทำไม เพราะ
ศาสนานี้มีไว้สำหรับกำจัดความเห็นแก่ตัว ศาสนาเกิดขึ้นมาในโลกเพราะมีคนเห็นแก่ตัว
พอไม่มีใครเห็นแก่ตัวแล้วมันก็ไม่ต้องมีการปกครองไม่ต้องมีศาสนา และมันก็เป็นโลกพระ
ศรีอาริยเมตตรัยขึ้นมาทันทีเป็นเสียเองเป็นทันที เพราะไม่มีใครเห็นแก่ตัว
ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายสนใจคำว่า เห็นแก่ตัว กับคำว่า ไม่เห็นแก่ตัว มนุษย์เริ่มมีปัญ
หาขึ้นมาเมื่อมี เริ่มมีคนเห็นแก่ตัว ถ้ากล่าวอย่างที่เรียกว่ามีเหตุผลที่พอสังเกตเห็นแล้ว
กล่าวกันอย่างประวัติศาสตร์ ก่อนประวัติศาสตร์นี้ ปัญหาของมนุษย์ในโลกเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ
มนุษย์มันเริ่มเห็นแก่ตัว แต่ก่อนนี้เขาไปเก็บอาหารที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติมากินประจำวัน
มากินประจำวัน เช้าไปเอามากินตลอดวันคืน รุ่งขึ้นไปเก็บอีก ทีนี้มันเกิดคนเห็นแก่ตัวมัน
ไปเก็บคราวเดียวมากินตลอดเดือนตลอดปี มันไม่พอมันก็จะต้องมีปัญหา จะต้องต่อสู้แย่ง
ชิงกันหรือมันจะต้องทำไร่ทำนาเป็นปัญหาอะไรขึ้นมา นี่เพราะมันเห็นแก่ตัวเริ่มมีความ
เห็นแก่ตัวก็เริ่มมีปัญหาขึ้นมาในหมู่มนุษย์ มันไปทำมันไปหลงในคำเป็นตัวกูของกูบ้าง
หลงในความเป็นบวกและเป็นลบบ้าง พูดกันง่ายๆก็่ว่ามันหลงดีหลงชั่ว ถ้าอย่าไปบ้าดีเมาดี
หลงดี อย่าไปบ้าชั่วเมาชั่วหลงชั่วมันก็ไม่มีปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเริ่มรู้จักดีชั่ว เมื่อมนุษย์
ยังไม่รู้จักดีชั่วมันก็เหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน มันไม่รู้จะไปเบียดเบียนกันทำไม แต่พอมันบ้า
ดีบ้าชั่ว บ้าหลงดีหลงชั่วมันก็เบียดเบียนกัน โดยเฉพาะไอ้บ้าดีบ้าดีเนี่ย มันจะเบียดเบียนไอ้
คนที่ด้อยกว่าเสมอ คำภีร์ของพวกยิว คำภีร์ไบเบิ้ลก่อนคำภีร์คริสต์นะก่อนพระเยซู คำภีร์
ของพวกยิวพันปีก่อนหน้านั้น เขาสอนเรื่องนี้ พระเจ้าสร้างโลกขึ้นมาแล้วห้ามมนุษย์ที่
สร้างขึ้นมานั้นว่า อย่าไปกินผลไม้ของต้นที่ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว ถ้ากินแล้วจะตาย มนุษย์นั้นมันก็
ไม่เชื่อฟังไปกินเข้าในที่สุดมันก็รู้ดีรู้ชั่วมันก็เกิดปัญหา ก่อนนี้มันไม่นุ่งผ้า มันก็ไม่มีความ
หมายอะไรเพราะมันไม่มีเรื่องดีเรื่องชั่ว นุ่งผ้าไม่นุ่งผ้า แต่พอมันดื้อพระเจ้า กินผลไม้แห่ง
ความรู้ดีรู้ชั่วแล้วมันเกิดละอาย เป็นนุ่งผ้าเป็นไม่นุ่งผ้า วันนั้นพระเจ้ามาก็เรียกตามเคย
มันก็ไม่ออกมา พระเจ้าก็ทำไมไม่ออกมา มันก้บอกว่าไม่ได้นุ่งผ้า พระเจ้าก็รู้ทันทีแล้วไอ้
หมอนี่มันกินผลไม้ที่เราห้ามไม่ให้กินเข้าไปแล้ว พระเจ้าจึงเรียกมาให้จัดการให้รู้จักเอาใบ
ไม้มาร้อยมาเย็บมาอะไรกันเข้าก็เป็นผ้านุ่ง แล้วก็มันมีเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับเพราะ
มันรุู้จักดีรู้จักชั่ว
แล้วมันก็บ้าดีบ้าดีเมาดีหลงดี จนกระทั่งคนทุกวันนี้ มันบ้า POSITIVE มันเกลียด
NEGATIVE มันก็เป็นทุกข์ทั้งสองข้าง ไอ้บ้า POSITVE มันก็เป็นทุกข์ไปอย่างนึง เกลียด NE
GATIVE มันก็ทุกข์ไปอีกอย่าง ข้อความในคำภีร์ไบเบิ้ลของพวกยิวนั้นมันก็มีว่า ลูกหลาน
ของไอ้มนุษย์คู่แรกนั้นแหละ พอมันเกิดมีลูกมีหลานขึ้นมา ไอ้พี่ชายมันก็หลอกน้องชายไป
ในป่าแล้วมันก็ฆ่าน้องของมันเสีย ด้วยเหตุแต่เพียงว่าพ่อน่ะมันรักน้อง ไม่รักตัวเองซึ่งเป็น
พี่ชาย น่ะพี่ชายมันบ้าดีมันก็เลยฆ่าน้องมันเสีย นี่เรียกว่าปัญหามันเพิ่งเกิดเมื่อบ้าดีบ้าชั่ว
หลงดีหลงชั่ว แล้วก็เห็นแก่ตัวเห็นแก่ตัวจนฆ่าน้องของมันเสีย เขาจึงสอนเรื่องไม่เห็นแก่
ตัวไม่เห็นแก่ตัวลึกไปถึงว่าอย่าไปบ้าดีบ้าชั่ว ไปหลงบวกหลงลบแล้วมันก็จะเห็นแก่ตัวเห็น
แก่ตัว
ดีก็เห็นแบบดี ชั่วก็เห็นแบบชั่ว เป็นปัญหาทั้งนั้น อย่าไปบ้าดีบ้าชั่ว อย่าไปหลงดีหลง
ชั่ว อย่าไปหลงบวกหลงลบ นี่สอนกันมาตั้งหลายพันปีแล้ว แต่ว่ามนุษย์ก็ไม่สมัครที่จะทำ
ตาม ศาสนาพุทธหรือศาสนาเต๋าพร้อมๆสมัยกันสักสามพันปีนี่ อยู่ชุดนี้ก็ไม่ให้หลงดีหลง
ชั่ว ไม่ให้หลงบุญไม่ให้หลงบาป ไม่ให้หลงบวกไม่ให้หลงลบ ศาสนาเต๋า TAOISM ก็อย่าไป
หลง ยิน หลง ยาง คือดีหรือชั่ว บวกหรือลบนั่นแหละแล้วก็จะไม่มีความทุกข์ นี่มันรู้กัน
เป็นพันๆปีแล้วมันก็ไม่มีใครทำตาม แม้ศาสนาฮินดูที่มันมีตัวตน มันก็ไม่ให้อย่าไปหลงบุญ
อย่าไปหลงบาป แล้วตัวตนมันจะหลุดพ้น มันก็ระบุไปเอาที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้ง
นั้น เราจึงต้องรู้จักว่าเดี๋ยวนี้ความเห็นแก่ตัวความเห็นแก่ตัวทำให้โง่ ทำให้โง่ ทำให้เป็นทำ
ผิดทั้งสองสถาน หลงฝ่ายบวกมันก็อิจฉาริษยาอะไร หลงฝ่ายลบมันก็ฆ่าฟันกันสนุก ไม่
เห็นแก่ตัวแล้วก็รักผู้อื่น เห็นแก่ความถูกต้อง เห็นแก่ความถูกต้อง มันก็ไม่ทำอันตรายใครนี่
เดี๋ยวนี้เรากำลังเผลอไปหรือว่าจะเรียกว่ามันไม่รู้ไม่ตื่นก็ได้ เราหลงไปในทางที่จะเห็นแก่
ตัว จนได้ทำการล้างผลาญกันใต้ดินบนดิน ไม่มีความสงบสุข เราไม่ต้องทำอย่างนั้น เราไม่
ต้องเห็นแก่ตัว เราทำไปในทางที่ถูกที่ต้องดีกว่าจะอยู่กันเป็นผาสุก
คำว่า เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวนี้มันเป็นเรื่องของความผิดความโง่ ความมืดบอด ไม่ใช่ว่า
ความรู้ที่ถูกต้อง บางคนเขาค้านว่า ถ้าไม่เห็นแก่ตัวมันก็ไม่พัฒนาสิ นั่นมันไม่เข้าใจ ไม่เข้า
ใจคำว่า ไม่เห็นแก่ตัว ไอ้เห็นแก่ตัวชนิดกิเลสนั้นน่ะมันเป็นความโง่เป็นกิเลส มันก็สร้าง
ปัญหา แต่ถ้าว่าเราเห็นแก่ตัวด้วยสติปัญญา ความถูกต้องนี้เขาไม่เรียกว่าเห็นแก่ตัวหรอก
เข่เรียกว่า ความรู้จักตัวเอง เคารพตัวเอง นับถือตัวเอง พัฒนาตัวเอง อย่างนี้ไม่ใช่เห็นแก่
ตัว มันต้องทำด้วยความโง่ เห็นแต่ประโยชน์ของตัวจนไม่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น ทำให้
ผู้อื่นเดือดร้อนจึงจะเรียกว่ามันเห็นแก่ตัว
ภาษาที่จะใช้กันทั่วๆไปมันก็เพียงว่า ไม่ SELFISH NONSELFISH นี้คือไม่เห็นแก่ตัว เท่า
นี้ก็พอแหละ มันก้ไม่ทำบาปทำอะไรที่กำลังทำกันอยู่ ถ้าว่าไอ้ SELFLESS หมดSELFโดย
ประการทั้งปวงนั้น มันก็สูงสุดหรือดีเกินไป มันเป็นพระอรหันต์เป็นไป ไปเป็นพระอรหันต์
กันหมด มันก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกันน่ะ จะเก็บไว้เฉพาะที่จะเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าอยู่กัน
ในโลกปัจจุบันนี้แล้วเอาเพียงว่า NONSELFISH ไม่เห็นแก่ตัว มุ่งหมายแต่จะเอาประโยชน์
แก่ตัว คนอื่นจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ นี้มันเพิ่งเกิดเมื่อมนุษย์เห็นแก่ตัว ปัญหานี้มันเกิด มัน
เกิดนายทุนพวกนายทุนขึ้นมา เห็นแก่ตัวดูดซับเอาประโยชน์ไปหมด มันก็เกิดกรรมกรผู้
โกรธแค้นแก้แค้น มันก็ได้รบราฆ่าฟันกันระหว่างลัทธินายทุนกับลัทธิชนกรรมาชีพอย่างไม่
รู้จักสิ้นจักสุด นายทุนก็เห็นแก่ตัวแบบนายทุน กรรมกรก็เห็นแก่ตัวแบบกรรมกร ไอ้ความ
เห็นแก่ตัวมันก็ได้รบราฆ่าฟันกันไม่มีที่สิ้นสุด
ครั้งพุทธกาลเท่าที่เราศึกษาเล่าเรียนมา คนมั่งมีนั้นมันเป็นเศรษฐีใจบุญ เศรษฐีใจบุญ
คำว่า เศรษฐี แปลว่า ประเสริฐที่สุด คำว่า ประเสริฐที่สุด เขาเอาไปใช้กับเศรษฐีพวกนั้น
คือว่าเป็นอยู่กันอย่างเพื่อนมนุษย์ เพื่อนเกิดเพื่อนแก่เพื่อนเจ็บเพื่อนตาย มีข้าทาสบริวาร
ไม่ใช่เป็นข้าทาสบริวาร มันเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทำนาด้วยกันไปวัดด้วยกัน กินอา
หารด้วยกันอันนี้ พอได้ประโยชน์มาเหลือ เหลือจากที่จะกินจะใช้แล้วก็ตั้งโรงทาน ตั้งโรง
ทาน เศรษฐีใหญ่ก็ตั้งหลายโรงหน่อยช่วยคนยากจนช่วยนักบวชบรรพชิต มีความสงบสุข
อย่างนี้เรียกว่าเศรษฐีใจบุญ สมัยนั้นไม่มีธนาคาร จะเก็บเงินไว้ก้ต้องไปซ่อนไปฝังดิน ไป
ซ่อนไว้แล้วเอามาหล่อเลี้ยงโรงทาน อย่าให้โรงทานมันล่มไป นี่เศรษฐีใจบุญ เดี๋ยวนี้มันไม่
มี มันมีแต่นายทุนกระดาษซับ ซับเอาประโชน์ไปหมดแล้วก็เอาไปเป็นทุน เพื่อเป็นทุนมหา
ศาลเป็นทุนครอบงำโลกไปเลยเป็นนายทุน มันตรงกันข้ามถึงขนาดนี้เพราะความเห็นแก่
ตัวเพราะความเห็นแก่ตัว ไม่มีความรู้สึกว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน มันมี
ความเห็นแก่ตัว มันก้มีอย่างที่ว่า ชีวิตมันก็กัดเจ้าของ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด
ความกลัว ตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวงหึง หาความสงบสุขไม่ได้ มีสง
ครามตลอดกาลนิรันดร สงครามเปิดเผย สงครามลึกลับ สงครามใต้ดิน สงครามบนดิน แม้
สงครามที่กำลังมีอยู่เดี๋ยวนี้มันก็มาจากความเห็นแก่ตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือของทั้งสองฝ่าย
ฉะนั้นจึงขอบอกกล่าวท่านทั้งหลายผู้มาแสวงหาความรู้ทางธรรมะว่า ธรรมะนั้นมันไม่
มีอะไรมากไปกว่าทำลายความเห็นแก่ตัว ทำลายความเห็นแก่ตัวแล้วชีวิตก็ไม่กัดเจ้าของ
ชีวิตก็ไม่กัดเจ้าของก็มีความสุขสงบเย็นเป็นประโยชน์แก่กันและกัน
นี่ก็คือมนุษยธรรม จิตใจสูง ไม่เห็นแก่ตัว แล้วก็เป็นมนุษยชาติ คือ ชาติแห่งความเป็น
มนุษย์ที่ถูกต้อง มันก้มีแต่ความสงบเย็น อาตมาพูดกับท่านทั้งหลายว่า โดยหัวข้อว่า มนุษย
ธรรมจำเป็นสำหรับมนุษยชาติ เมื่อต้องการจะเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องก็ต้องมีมนุษยธรรม
มนุษยธรรม คือ ทำลายกิเลส ทำลายความเห็นแก่ตัว ราคะก็เห็นแก่ตัว โทสะก็เห็นแก่ตัว
โมหะก็เห็นแก่ตัว ทำลายความเห็นแก่ตัวนี้ได้ก็สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ ไม่เป็นพิษภัย
อันตรายแก่ผู้ใด ไม่ต้องโง่ถึงกับทำลายตัวงเองให้เป็นบ้า ฆ่าตัวตายในที่สุด
นี่มนุษยธรรมจำเป็นแก่มนุษยชาติ ขอให้ท่านทั้งหลายนำไปคิดด้วยตนเอง ไม่ต้อง
เชื่ออาตมาและไม่ต้องเชื่อใครก็ได้ ถ้าถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ต้องเชื่อแม้แต่
พระพุทธเจ้า ขอแต่ว่าไอ้คำสอนที่พระพุทธเจ้าสอน ขอให้ไปดู ดู ดู ดู จะเห็นว่ามัน โอ..มี
เหตุผลแห่งความจริงอยู่ที่ตัวคำสอนนั่นแหละ จงเชื่อเหตุผลที่มีอยู่ในคำสอน ไม่ต้องเชื่อ
พระไตรปิฎก ไม่ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ไม่ต้องเชื่อครูบาอาจารย์ก็ได้ เพราะว่ามันยังไม่ถึงที่
สุดแห่งความจริง มันต้องเห็นความจริงที่มีอยู่ในคำพูดคำพูดว่าอย่างไร เหตุผลแสดงอยู่ที่
นั่นแล้วจึงเชื่อ เช่นว่าอย่าทำชั่วอย่างนี้ ไม่ต้องเชื่อใครหรอก มันเห็นเหตุผลอยู่ที่ว่าอย่าทำ
ชั่ว เพราะทำชั่วเข้าแล้วเป็นอย่างไร มันแสดงอยู่แล้ว นี่เรียกว่าเชื่อเหตุผลที่มันแสดงอยู่ใน
ตัวคำพูดคำสอน ไม่ต้องเชื่อบุคคล ไม่ต้องเชื่อพรคำภีร์ ไม่ต้องเชื่ออะไรก็ได้
พระพุทธเจ้าท่านต้องการถึงอย่างนี้นะ แต่สาวกก็ไม่ค่อยปฏิบัติตาม อยากจะเชื่อคนอื่น
อยากให้ผู้อื่นหลอก เพราะฉะนั้นขอให้เชื่อเหตุผลที่มันแสดงอยู่ในตัวธรรมะนั่นเอง ตัว
ธรรมชาติก็แสดงธรรมะ ตัวกฏของธรรมชาติก็แสดงธรรมะ หน้าที่ตามกฏของธรรมชาติก็
แสดงธรรมะ หน้าที่ เอ้อ..ผลจากหน้าที่ก็แสดงธรรมะ มันแสดงให้เห็นอยู่ในตัวโดยไม่ต้อง
เชื่อสิ่งอื่น เชื่อเหตุผลที่แสดงอยู่ในตัวธรรมะ ซึ่งมีอยู่ครบถ้วนในชีวิตของเรานี้ทั้งสี่ความ
หมายนี้
ขอให้ท่านทั้งหลายได้ประสบความสำเร็จในการมาแสดง แสวงหาความรู้ไปใช้ประกอบ
หน้าที่การงานของตน นับตั้งแต่การเล่าเรียน แล้วการทำการงานการดำเนินชีวิตจนกว่าจะ
ถึงที่สุด ให้ได้สำเร็จตามความประสงค์ทุกๆประการเถิด อย่าให้เสียเวลามาแล้วไม่ได้ประ
โยชน์อะไรกลับไป แล้วผู้ที่ไม่ตั้งใจฟัง มาพูดให้หนวกหู ขอเชิญว่าอย่าได้มาเลย จงมาแต่ผู้
ที่ตั้งใจฟังให้ได้รับความรู้สำเร็จประโยชน์คุ้มค่าและกลับไปเป็นที่พอใจด้วยกันทุกๆฝ่าย
อาตมาขอแสดงความขอบคุณสักครั้งหนึ่งว่า ขอบคุณท่านทั้งหลายเป็นอันมากนี่ ทน
ฟังเป็นเวลาสองชั่วโมงแล้วนี่ ความอดทนสองชั่วโมงแล้วนี่ อาตมาขอขอบพระคุณขอขอบ
พระคุณ ขอให้ท่านทั้งหลายได้รับสิ่งตอบแทนมีความเจริญงอกงามก้าวหน้าในทางแห่ง
ธรรมะของพระพุทธศาสนามีความสุขสวัสดีอยู่ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ ขอปิดประชุม