แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านนักศึกษา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เนื่องจากท่านทั้งหลายเป็นนักศึกษาฝ่ายจิตวิทยา เมื่อขอร้องให้พูดเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา อาตมาก็เห็นว่ามีเหตุผล ควรจะเป็นอย่างนั้น
จึงเป็นอันว่าจะบรรยายเรื่องจิตวิทยาตามแนว แห่งพระพุทธศาสนา ที่จะไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในโลกได้อย่างไร
คำว่า จิตวิทยา ให้มีความหมายที่ไม่ค่อยจะแน่ชัด ถ้าพูดกันอย่างชาวบ้าน มันไม่หมด เพราะเรื่องจิตวิทยามันเป็นเรื่องที่เหนือโลกก็มี จะรู้กันแต่ในโลกนี้มันก็ไม่พอ แต่จะสรุปความได้ว่า
จิตวิทยานั้นคืออะไร ความหมายของคำๆ นี้ ก็คือวิทยาในการจัดการเกี่ยวกับจิต เรียกเป็นบาลีว่า จิตตภาวนา คือการพัฒนาจิต เพื่อให้จิตมีความสามารถเหนือวิสัยธรรมดา
อย่างที่มีๆ กันอยู่ กล่าวโดยทั่วไปไม่แยกประเภท พัฒนา
จิตให้มีความสามารถเหนือวิสัยธรรมดาที่มีๆ กันอยู่ ทีนี้ก็มาดูว่าพัฒนากันไปทางไหน กี่อย่าง กี่ชนิด ก็ตอบได้ว่ามีสองประเภท
ประเภทที่เป็นกุศล และประเภทที่เป็นอกุศล การพัฒนาจิตในทางที่เป็นกุศล ก็คือ อบรมจิตให้รู้เรื่องความทุกข์ และก็ดับทุกข์ได้ นี้ประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง ก็เพื่อจะรักษาโรคเกี่ยวกับจิต มีความรู้เรื่องโรคจิต รักษาโรคจิต แม้กระทั่งว่ารองลงมาเป็นโรคประสาท เราเรียกว่าจิตวิทยาที่เป็นไปเพื่อกุศล
เดี๋ยวนี้มันก็มีจิตวิทยาประเภทอกุศล คือใช้จิตวิทยา เพื่อหาประโยชน์หากำไร เอาเปรียบผู้อื่นให้มากกว่าธรรมดา
จิตวิทยาเพื่อได้เปรียบในการต่อสู้ กระทั่งจิตวิทยาที่จะคดโกง หลอกลวงให้มันถึงที่สุด นี้เป็นอกุศล จึงพูดว่าจิตวิทยานี้ทำกันไปทั้งในแง่กุศล และอกุศล
ทีนี้เรื่องที่ไม่เป็นกุศล ไม่ต้องพูด จะหาประโยชน์ หากำไร หาความได้เปรียบ หากลโกงนั้นไม่ต้องพูด จะพูดกันแต่ในแง่ที่เป็นกุศล พัฒนาจิต อบรมจิต ให้รู้เรื่องความทุกข์ ดับทุกข์ได้ แม้ที่สุดแต่จะรักษาโรคจิต อยากจะพูดเรื่องรักษา
โรคจิตก่อนเพราะเป็นเรื่องเล็กน้อยกว่า เพราะว่า จิตนี่มันเป็นโรคส่วนจิต กระทั่งว่า มีสุขภาพไม่ดี และก็มีความวิปริต ผิดปรกติ มีความเห็นผิดเป็นต้นเหตุ มีความเห็นแก่ตัว เป็นต้นเหตุ ขอระบุไปยังความเห็นแก่ตัว เพียงอย่างเดียวก็พอ
ความเห็นแก่ตัว นั้นนะขอให้สนใจเป็นพิเศษเถอะ มันเป็นที่รวมแห่งปัญหาทุกชนิด ปัญหาขี้ผงไม่มีความหมายอะไรหนัก กระทั่ง ปัญหาโลก ปัญหาระหว่างประเทศ ปัญหาโลก นี่มาจากความเห็นแก่ตัวทั้งนั้น ไม่มีปัญหาไหนที่ไม่มาจากความเห็นแก่ตัว ท้าอย่างนี้ก็ขอให้ไปช่วยกันพิสูจน์
ความเห็นแก่ตัวนั้น ให้ความหมายไปทางอกุศลทั้งนั้น คือกิเลส รักตัว สงวนตัว ทำตัวให้ดี นั้นเขาไม่เรียกว่าความเห็นแก่ตัวหรอก
ทีนี้เราหมายถึงความเห็นแก่ตัวชนิดที่ จัดเป็นบาป เป็นอกุศลของทุกๆ ศาสนา ................. 00:06:08
ความเห็นแก่ตัวด้วยอำนาจของกิเลส เป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวง ทุกศาสนาต้องการที่จะกำจัดสิ่งนี้ และก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ สู้มนุษย์ไม่ได้ มนุษย์หาโอกาสเห็นแก่ตัวได้มากขึ้น มากขึ้น ศาสนายังแพ้อยู่นั่นล่ะ คนเห็นแก่ตัว มันก็ขี้เกียจ เอาเปรียบไม่ทำงาน คนอื่นทำ ฉันก็เอาแต่ผลงานก็แล้วกัน มันขี้เกียจ คนเห็นแก่ตัวมันไม่สามัคคี คนเห็นแก่ตัวมันอิจฉาริษยา เห็นแก่ตัวหนักเข้าๆ แล้วมันก็เป็นบ้า ไม่ต้องสงสัย หนักขึ้นไปอีก มันก็ต้องฆ่าตัวตาย
ความเห็นแก่ตัวนี้มีได้ ระหว่างหมู่คณะก็ได้ ในครอบครัวก็ได้ และมันน่าประหลาดที่ว่า พ่อแม่ก็เห็นแก่ตัว ลูกก็เห็นแก่ตัว แล้วมันจะอยู่กันอย่างไร มันมีได้ไหมครอบครัวอย่างนี้ มันเป็นปัญหาให้เกิดความสับสนทางจิตใจ ยุ่งไปหมดจนเป็นบ้า คือประกอบอาชาญกรรมอย่างที่เลวร้ายอย่างที่ไม่ควรจะมี
นี่เป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัวทั้งนั้นแหละ ความเห็นแก่ตัวกำลังครองโลก ขอให้ดูให้ดี คอมมิวนิสต์ก็เห็นแก่ตัว นายทุนก็เห็นแก่ตัว ลูกจ้างก็เห็นแก่ตัว นายจ้างก็เห็นแก่ตัว
กระทั่งทุกคน ผู้เลือกผู้แทนก็เห็นแก่ตัว ผู้แทนก็เห็นแก่ตัว
ก็ได้ผู้เห็นแก่ตัวไปเต็มสภา มันทำไปด้วยความเห็นแก่ตัว
ลักษณะอย่างนี้ ถึงกับมีปัญหาเป็นโรคทางจิตถึงกับเป็นบ้า
โดยตรงก็มี ไม่ถึงกับเป็นบ้า แต่วิปริตทางจิต นอนหลับยากเป็นโรคประสาท เป็นโรคจิต ไปสืบประวัติดูคนบ้าทุกคนในโรงพยาบาลบ้า มันเป็นโรคความเห็นแก่ตัว หลงทาง
ความเห็นแก่ตัว มันหลงทาง จนในที่สุดเป็นบ้า น่าเศร้าที่ว่า ไม่มีใครสนใจหยิบปัญหานี้ขึ้นมาพิจารณา ทั้งโลกหลับตา ช่วยกันหลับตา ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว คือการศึกษาหมาหางด้วน การศึกษาที่มีแต่ให้ฉลาด ฉลาด ฉลาด จนไม่รู้ว่าฉลาดกันอย่างไร เดี๋ยวนี้ไปเที่ยวโลกพระจันทร์ ไปดวงดาวต่างๆ ได้ ไปเที่ยวเล่น มันก็ไม่มีสันติภาพ
โลกนี้มันไม่มีสันติภาพ เพราะมันยังเห็นแก่ตัว การศึกษาทั้งโลก ตั้งแต่อนุบาล จนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีแต่ให้ฉลาด ฉลาด ฉลาด สามารถปราดเปรียว ฉลาด ไม่มีอะไรที่จะควบคุมความฉลาดเลย ไม่มีอะไรควบคุมความฉลาด ดูให้ดีเถอะ ก่อนหน้านี้ ศาสนาควบคุมเดี๋ยวนี้ปัดศาสนาออกไปจากการศึกษา
การศึกษาก็ไม่ได้สอนการควบคุมความฉลาด มีแต่สอนให้ฉลาดอย่างเดียว มันก็ไปฉลาดเห็นแก่ตัว รับใช้ความเห็นแก่ตัว ความฉลาดจะไปรับใช้เศรษฐกิจ เพื่อเห็นแก่ตัว
ความฉลาดจะไปรับใช้การเมือง ก็เพื่อเห็นแก่ตัว ไม่หนีไปไหนไหว นอกจากเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว
โลกนี้จึงเต็มไปด้วยการเห็นแก่ตัว เพราะการศึกษาหมาหางด้วน ส่งเสริมให้เป็นเช่นนั้น ชั้นอนุบาลก็เห็นแก่ตัวอย่างอนุบาล ชั้นประถมก็เห็นแก่ตัวชั้นประถม ชั้นมัธยมก็เห็นแก่ตัวชั้นมัธยม ชั้นอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยก็เห็นแก่ตัวลึกซึ้ง ถึงที่สุดไม่มีอะไรควบคุมความฉลาด นี่ความวิปริตของจิตจึงมีมากขึ้น มากขึ้น ระบุไปยังความเห็นแก่ตัวอย่างเดียวก็พอแล้ว
มันก็ป่วยกันในทางวิญญาณกันหมดเลย ธรรมะหรือศาสนาถ้าประพฤติจริง คือกำจัดความเห็นแก่ตัว ศาสนานะเป็นเรื่องกำจัดความเห็นแก่ตัว ทุกศาสนาไปดูเถอะทุกศาสนา
ไม่ว่าศาสนาไหน มันมีจุดหัวใจกำจัดความเห็นแก่ตัว มันทำไม่ได้ มันยังทำไม่ได้ เพราะมันไม่ปฏิบัติกัน
นี่เรากำลังมีปัญหาอย่างยิ่งที่ว่า โลกนี้มันยิ่งเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ทีนี้มันจะเกินเป็นบ้า
มันจะฆ่าตัวตาย มันจะอะไรกันมากมาย มีโรควิกลจริต
ปัญหาไหนๆ ก็ล้วนแต่มาจากความเห็นแก่ตัว ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ปัญหายาเสพติด ปัญหาโสเภณี ปัญหาโรคเอดส์ บ้าบออะไรก็ มันล้วนแต่มูลเหตุมาจากความเห็นแก่ตัว
นี่เป็นเรื่องป่วยทางจิต ป่วยทางวิญญาณ
ถ้ามีธรรมเข้ามาจัดการได้ ปัญหานี้ก็จะหมดไป แล้วเรื่องที่ลึกกว่านั้นคือเรื่องกิเลส ในธรรมชาติที่ลึกไปกว่านั้นก็จะพูดกันที่หลัง
ทีนี้เพื่อจะกำจัดโรคจิต โรคปราสาทโดยธรรมดา ธรรมะช่วยได้แน่นอน สร้างความปรกติ สร้างความปรกติ มีสติสัมปชัญญะ ไม่หลงใหล อย่างธรรมดานี่ก็ไม่หลงใหล
มากเกินไป ถ้าถึงกับไม่หลงใหลของที่เป็นคู่ๆ ก็นับว่าดีมาก
ของเป็นคู่ก็คือ ความพอใจ หรือความไม่พอใจ เรียกเป็นภาษาวิทยาศาสตร์สักหน่อยก็ว่า บวกหรือลบ ความรู้สึกที่เป็นบวก โพตสิทีฟ หรือลบเนคกาทีฟ ครอบงำย่ำยีหัวใจอยู่ตลอดวัน ตลอดวัน ตลอดวัน ตลอดคืน เดี๋ยวรู้สึกเป็นบวก ก็เกิดกิเลสประเภทบวก คือ โลภะ ราคะ เดี๋ยวรู้สึกขัดใจก็เป็นลบ มันก็เกิดกิเลสประเภทลบ โทสะ โพทะ
ถ้าไม่ได้เป็นบวกเป็นลบ ก็สงสัยฉงนอยู่นั่นแหละ ก็เกิดกิเลสประเภทโมหะ โลภะ โทสะ โมหะ มันเกิดเพราะความหลง
ในการเป็นของคู่ อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ สูงสุดกว่าเรื่องใดใด ความหลงเป็นของบวก ความหลงเป็นของลบ จิตใจเป็นบวก จิตใจเป็นลบ หาความสงบไม่ได้ เมื่อดีใจก็ตื่นเต้น เมื่อเสียใจ ก็ทุกข์ทรมานหาความสงบไม่ได้
ถ้าไม่ ไม่บวก ไม่ลบ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ปกติ ปกติ สบายที่สุด กินข้าวอร่อย นอนหลับดี เพราะความไม่เป็นบวกเป็นลบ นี่เป็นเรื่องจิตในส่วนลึกเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันก็มีโรค
ตามมาก ตามน้อยจนกระทั่งโรคสูงสุด อยากจะบอกกันว่าเรื่องนี้ มนุษย์เคยรู้ กันถึงที่สุด เกลียด กลัว บวก ลบ มีพระศาสดา เกิดขึ้นมาในโลก สอนให้ละ บวก ลบ
คัมภีร์ไบเบิล ของพวกยิว ยิวก่อนคริสต์ คัมภีร์เก่า
...........00:15 46
บรรทัดแรก ใบแรก ท่อนแรก พระเจ้าสอนผัวเมียคู่แรกที่สร้างขึ้นมาในโลกว่า แกอย่ากินผลไม้ของต้นไม้ที่ให้ความรู้เรื่องดี เรื่องชั่ว ถ้าแกกินแกจะต้องตาย หมายความว่าเป็นทุกข์ตลอดกาล พอรู้ดี รู้ชั่ว รู้บวก รู้ลบ มันก็มีปัญหา ก็มีความทุกข์ในแง่ลบ นั่นก็คือตาย พวกยิวก่อนคริสต์เขาก็สอนอย่างนี้ ลากหางมาจนถึงพวกคริสต์ พวกอิสลามที่เป็นสายเดียวกับศาสนายิว
เหลาจื๊อ นี่ก็สอง สามพันปีมาแล้ว พร้อมกับสมัยของพระพุทธเจ้า ก็สอนว่า ให้อยู่เหนืออำนาจของหยิน และหยาง
ภาษาเจ็กธรรมดาเรียก อิน เอี๊ยง ภาษาจีนหนังสือ เรียกหยิน หยาง คือบวก และลบ ให้ความรู้สึกเป็นหยิน เป็นหยางเป็นบวก เป็นลบ มีความทุกข์อยู่เหนือ หยิน หยาง คือเหนือบวก เหนือลบ
ศาสนาฮินดู โบราณ อุปนิสะ เวลันตะ ก็เหมือนกันเหนือบุญ เหนือบาป เหนือบุญ เหนือบาป ไม่ใช่หลงบุญ ไม่ใช่เหนือบุญ เหนือบาปแล้วหลุดพ้น ศาสนาพุทธเราก็เหมือนกัน
เหนือดี เหนือชั่ว เหนือบวก เหนือลบ พระพุทธเจ้าใช้คำว่าอภิชชา และโทมนัส ความรู้สึกที่จะเอาเป็นบวกเรียก
อภิชชา อภิชชา ไม่ใช่อวิชชานะ อย่าไปเขียนผิด อภิชชานั้นคือ บวก โทมนัส เป็นลบ
อย่ามีอภิชชา และโทมนัส ในอารมณ์ทั้งปวง ก็ไม่บวก ไม่ลบ เป็นพันๆ ปีมาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้มันหายไปหมด ไม่มีใครสนใจที่จะชนะบวก และลบ ก้มหัวเป็นทาสบวก พอใจในรสอร่อยของเนื้อหนังโดยเฉพาะทางกามารมณ์
เดี๋ยวนี้โลกเต็มไปด้วยเหยื่อล่อทางกามารมณ์ เพราะว่าเขาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตในรูปของเหยื่อ ทั้งกิเลสโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตเต็มทั้งโลกมากขึ้นๆ แล้วไอ้กฏเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นมันจะทนไหวหรือ เป็นทาส ขี้ค่าของความเป็นบวกนี้หมด ต่อไปมันจะบ้ากันมากกว่านี้
นี่แหละจิตวิทยาสูงสุดที่เคยมีมาแล้วเป็นพันๆ ปี อยู่เหนือความหมายของโพตสิทีฟ เนคกาทีฟ แต่คนมันโง่ มันไม่สนใจ มันเลิกกันไปหมดแล้ว มันสมัครที่จะเป็นทาสของความเป็นบวก สอนกันแต่ให้แสวงหาบวก ก้าวหน้าในทางบวกคือเจริญรุ่งเรือง มันสวนทางกับที่พระศาสดาได้เคยสอนไว้ ต้องอยู่เหนือของอิทธพลของความเป็นบวก เป็นลบ
เดี๋ยวนี้ก้มหัวให้กับความเป็นบวกนี่มันผิด
จิตวิทยาชั้นสูงสุด สูงสุดที่สุดของธรรมชาติที่ว่าแกอย่าเป็นทาสของความเป็นบวก และความเป็นลบ ถ้าเป็นแล้วมันจะตาย ภาษาไบเบิลเขาว่า อย่ากินผลไม้ ถ้ากินเข้าไปแล้วจะตาย สัตว์เดรัจฉานนั่นแหละ ไม่มีความรู้เรื่องบวก ลบ
ไม่เป็นทาสของบวก ลบ สัตว์เดรัจฉานจึงมีความสงบ ไม่มีความเห็นแก่ตัว มนุษย์เจอความเป็นบวกเป็นลบยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น
ความเห็นแก่ตัวเจริญยิ่งขึ้น ปัญหาก็มากมายมหาศาล เมื่อเทียบกับสัตว์เดรัจฉาน มันไกลกันตั้งพันเท่า หมื่นเท่า แสนเท่า ล้านเท่า
ในหมู่มนุษย์เต็มไปด้วยความเบียดเบียน เพราะความเห็นแก่ตัว ความหิวกระหายเหมือนเปรต คือมีเงินเดือนเท่าไหร่ เท่าไหร่มันก็ไม่รู้สึกพอ มันหลงบวก มันอยู่ใต้อำนาจของ
ความเป็นบวก ก็หาสันติสุขไม่ได้ เป็นมหาเศรษฐีก็ยังมีการฆ่าตัวตาย มหาเศรษฐีเท่าไหร่ เท่าไหร่ ก็ยังมีความทุกข์
เกี่ยวกับการเกิดแก่ เจ็บ ตาย เกี่ยวกับความรัก ความสูญหายความอะไรต่างๆ ไม่พ้นไปได้ จะมั่งมีเท่าไหร่ก็ไม่พ้นไปจากอำนาจของบวก และลบ
มีอำนาจมหาศาล ร้อยเท่า พันเท่า ............... 00:20:24
อะไรก็ตาม มันก็ไม่พ้นไปจากอำนาจของบวก และลบ
มันเป็นความทุกข์เสมอไป เป็นทาสของความเป็นบวก และความเป็นลบ ขอให้อยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวก และความเป็นลบ นั่นแหละ จิตนี้เจริญสูงสุด สูงสุด ไม่มีอะไรเจริญกว่า เป็นความมุ่งหมายของทุกศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนานี้เรียกว่า ความหลุดพ้น หลุดพ้น
จากอะไร หลุดพ้นจากอิทธิพลของความเป็นบวก และลบ
หลุดพ้นแล้วก็เป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นแล้วก็มีอตัมมญาตา
แข็งๆ คงที่ ไม่เปลี่ยนเป็นอะไรได้ เหนือปัญหาทั้งปวง
อตัมญญตา แปลว่า อะไรมาปรุงแต่งให้เป็นบวก เป็นลบไม่ได้ แข็งโป้ก
นี่เรื่องจิตวิทยาที่สูงสุด และก็ไม่สูงสุดก็ลดลง ลดลงมาเท่าที่เราควรจะต้องการ มีธรรมะได้เท่าไหร่ก็มีประโยชน์เท่านั้นแหละ ไม่ต้องสงสัยเลย ขอให้ลดอำนาจของการเป็นบวก เป็นลบ ลดลงมาตามลำดับ อย่าหัวเราะง่ายนัก อย่าร้องไห้ง่ายนัก เท่านี้ก็ดีถมไปแล้ว คือไม่เป็นบวกเป็นลบ มากเกินไป อะไรนิดก็ร้องไห้ อะไรนิดก็หัวเราะ นี่มันคนบ้า มันก็มีแต่ความระส่ำ ระสายในชีวิต มีความทุกข์ ปัญหาและความทุกข์ ขอให้จำคำที่ว่า ถ้าหลงบวก หลงลบ ก็จะเกิดความเห็นแก่ตัว ประโยคนี้สำคัญที่สุด หลงบวก หลงลบ
จะเกิดความเห็นแก่ตัว หลงตัวที่เป็นบวก ก็เกิดกิเลสบวก
หลงตัวที่เป็นลบ ก็เกิดกิเลสลบ มีความทุกข์ทั้งสองชนิดแหละ ไม่ว่าบวก หรือลบ เราจะพัฒนาจิตชนิดที่ไม่ให้เป็นอย่างนี้ ไม่โง่จนหลงบวก หลงลบ และก็มีความสุข เย็น เป็นนิพพาน
นิพพาน แปลว่าเย็น ไม่ได้แปลว่า ตาย ครูในโรงเรียนทั้งหลายนี่ดีนัก ตัวการที่สอนให้เด็กโง่ สอนเด็กๆ ว่านิพพานแปลว่าการตายของพระอรหันต์ นั่นมันผิดเหลือประมาณ
พระอรหันต์ไม่ตายหรอก พระอรหันต์ตายไม่ได้ ร่างกายตาย แต่พระอรหันต์ไม่ตาย พระนิพพานไม่ได้แปลว่าตาย
นิพพานแปลว่า เย็นที่นี่ อยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ยังเป็นๆ อยู่ เย็น เย็น เย็น เย็นเพราะไม่มีร้อน ร้อนคือกิเลส ไม่มีร้อนก็คือเย็น
เย็นคือ นิพพพาน นิพพานแปลว่าความเย็น
ความเย็นในชีวิตนี้ นิพพานแปลว่าเย็นเธอจำไว้ด้วย อย่าสอนเขาให้ผิดๆ ให้หมายความว่า ตาย หนังสืออะไรที่ตายของพระเจ้าแผ่นดินเรียกอย่างนั้น ตายของวัว ของควายเรียกอย่างนั้น ตายของข้าราชการชั้นนั้นเรียกอย่างนั้น ตายของพระอรหันต์เรียกว่า นิพพาน สอนผิดๆ เกินร้อยเปอร์เซ็นต์ พระอรหันต์ไม่ตาย พระอรหันต์ตายไม่ได้ ร่างกายตาย คุณภาพที่เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ตาย แล้วนิพพานไม่ได้แปลว่าตาย แปลว่าเย็น เยอะแยะไปหมด ตัวอย่างในพระคัมภีร์ แปลว่าเย็น
ชีวิตเย็น พัฒนาถึงที่สุด สูงสุด จิตอยู่ในสภาพที่ร้อนไม่ได้
เพราะมันไม่ได้เป็นบวกเป็นลบ มันก็ไม่มีอะไรร้อน นี่มันเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เดี๋ยวเป็นบวก เดี๋ยวเป็นลบ เห็นแก่ตัวก็
เป็นบวกบ้าง เป็นลบบ้างทั้งสองอย่าง มันก็มีชีวิตชนิดที่กัดเจ้าของ มีชีวิตชนิดที่กัดเจ้าของ เลวกว่าหมา หมามันยังไม่กัดเจ้าของ นี้ชีวิตของคุณมันกัดเจ้าของ ความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ความเกลียดบ้าง ความกลัว ความตื่นเต้นบ้าง ความวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยาบ้าง หวงบ้าง หึงบ้าง กัดเจ้าของทั้งนั้น เจ้าของมันโง่ มันไม่มีธรรมะ มันไม่มีจิตที่อบรมดีแล้ว มันก็มีชีวิตชนิดที่กัดเจ้าของ ขอให้ช่วยสนใจในการพัฒนาชีวิต ให้ชีวิตอยู่เหนืออำนาจของการเป็นบวก และเป็นลบ มันก็ไม่เกิดตัวตน ความเห็นแก่ตน ชนิดบวก และชนิดลบ นี่ว่ากันทีเดียวหมดเลยสูงสุด ถึงเรื่องสูงสุด ต่ำสุดถึงเรื่องสูงสุด พัฒนาจิตมาถึงขั้นนี้ ก็เรียกว่า สูงสุด
จิตที่ไม่เป็นบวก ไม่เป็นลบ เป็นโรคจิตไม่ได้หรอก เป็นบ้าไม่ได้ จิตที่ทำให้คนเป็นบ้า ต้องไปส่งโรงพยาบาลบ้านั้นมันเป็นบวก ลบ มากเกินไป เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว หลงทางเข้าก็เป็นบ้า ฆ่าตัวตาย ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ตาย ฆ่าได้ทั้งนั้นแหละ
ความเห็นแก่ตัวที่มันหลงทาง จิตที่มันผิดไปแล้วมันเป็นอย่างนั้น
เราจะต้องมีการอบรมฝึกฝนพัฒนาให้มันตรงกันข้ามให้มันเป็นจิตสอาด จิตสว่าง จิตสงบ นี่คือจิตวิทยาตามหลักของพระพุทธศาสนามันเป็นอย่างนี้
ทีนี้ไม่เอาศาสนาแล้ว เอาไปไว้ทางอื่น พูดถึงเรื่องธรรมดาสามัญ โรคจิตที่ไปโรงพยาบาลโรคจิต ถ้ามีการสั่งสอนอบรมจิตกันมาถูกต้องแล้วมันก็ ไม่ต้องเป็นโรคจิต เดี๋ยวมันสอนกันให้แต่ฉลาด ฉลาด บ้าดี หลงดี เมาดี เกินไปตั้งแต่เล็กๆ
นี่มันพร้อมจะเป็นโรคจิต เราอย่าไปสอนเด็กให้บ้าดี เมาดี หลงดี สอนให้อยู่ระดับที่พอดี พอดี ถูกต้อง พอดี ถูกต้องพอดี เขาก็ไม่มีโอกาสเป็นโรคจิต สอนกันจนหิว หิว
หิวดี บ้าดี เมาดี จนตลอดเวลา มันก็พร้อมที่จะเห็นแก่ตัว
ได้โอกาสเมื่อไหร่ก็เห็นแก่ตัวเมื่อนั้น มันก็เพิ่มโรคจิต เพิ่มโรคจิต จนได้เป็นบ้า
แม้ไม่เป็นบ้า แม้ไม่ตาย มันก็อยู่กันอย่างเอาเปรียบ เอาเปรียบ เอาเปรียบ บางทีผัวเอาเปรียบเมีย เมียเอาเปรียบผัว มันก็น่าหัวถึงขนาดนั้น พ่อแม่เอาเปรียบลูกเด็กๆ ลูกเด็กๆ เอาเปรียบพ่อแม่ มันก็มีอยู่ ขอให้สนใจว่า ไอ้จิตนั้นเต็มทีมากเลวมาก ต่ำมาก ที่ไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้อง
นี่ในเรื่องอย่างโรคจิตตามธรรมดา ถ้ามีการเป็นอยู่ที่ถูกต้อง
ปฏิบัติธรรมะอยู่เป็นปรกติแล้ว ไม่ต้องเป็นโรคจิตตามธรรมดา ไม่ต้องเป็นโรคปราสาทด้วยซ้ำ นี่ถ้าพัฒนายิ่งขึ้นไปกว่านั้น ก็จะเป็นมนุษย์ที่ไม่รู้จักกับความทุกข์ คือเป็นพระอรหันต์ ชีวิตนี่เย็น เย็น เย็น ไม่กัดเจ้าของ ไม่กัดเจ้าของ นี่ผลของการพัฒนาจิต ทีนี้เรามาดูกันให้ละเอียดไปในส่วนที่เป็นเรื่องทางศาสนา หรือเป็นเรื่องชั้นสูง
ในทางศาสนา เป็นจิตวิทยาของพระพุทธศาสนาในลักษณะที่จะดับทุกข์ ก็คือฝึกฝนจิตให้อบรมจิต ทำจิตให้รู้เรื่องของความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ ศึกษาเข้าไปที่ตัวความทุกข์ ให้รู้จักทุกข์ ตรงนี้จะขอพูดถึงเรื่องคำว่า ศึกษา ศึกษาสักหน่อย
การศึกษาอย่างในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย นั้นไม่พอที่จะมาเห็นทุกข์ มันเป็นการศึกษาให้ท่องจำ เป็นการศึกษาผิวเผินที่สุด ถ้ามาเทียบกับการศึกษาในทางพระศาสนา ไม่ต้องอะไรเอาคำว่า สิกขา ในภาษาบาลี หรือ สิกฉา ในภาษาสันกฤต หรือ ศึกษา ในภาษาไทย คำเดียวเท่านั้นแหละ ภาษาไทยว่า ศึกษา ภาษาสันสฤตว่า ศิกฉา
เขียน ศ คอ ภาษาบาลีว่า สิกขา เขียน สอ ร เพราะมันไม่มี ศ คอ
คำว่า สิกขา หรือศึกษา เนี่ยมันมีความหมายสมบูรณ์ สิกขา มันมาจาก สะ กับ อิกขะ สะ กับ อิกขะ สะ แปลว่า
เอง แปลว่า ใน แปลว่า ใกล้ สะ อิกขะ อิกขะ แปลว่า เห็น สิกขา ก็มีความเห็น ซึ่งตัวเอง ด้วยตัวเอง ในตัวเอง
ขอให้จำกัดความให้อย่างนี้ว่า นักศึกษาทั้งหลาย จงได้สนใจ
คำว่าสิกขา หรือศึกษานั้น มันขึ้นต้นด้วยคำว่า ดู ดู ดู ดู ดู เห็น เห็น เห็น ดูเป็น เห็น เห็น เมื่อเห็น เห็น ก็รู้ ไม่เห็นก็ไม่รู้ ต้องเห็น จึงรู้ รู้ รู้ พอรู้แล้วก็กระทำให้ถูกต้องตามที่รู้ มันสี่คำที่ประกอบกันเป็นคำว่า ศึกษา ดู เห็น รู้และก็พิสูจน์ทดลองตามที่รู้ ทั้งหมดนี้เป็นไปในตัวเอง ด้วยตัวเอง ด้วยการกระทำของตนเอง ด้วยคำว่า สะ
ทำไมจะไม่สำเร็จประโยชน์ล่ะ มันทั้งดู ทั้งเห็น ทั้งรู้ ทั้งพิสูจน์ ทดลอง และก็ปฏิบัติไปตามผลของการพิสูจน์ทดลอง
ศึกษา สิกฉา ในภาษาธรรมะ ภาษาศาสนา ทำทางจิตใจ ทางภาวนา มีความหมายอย่างนี้
ดูเข้าไปในตนเอง โดยตัวเอง แล้วก็เห็นเอง แล้วก็รู้เอง พิสูจน์ทดลองเอง และก็ปฏิบัติตามนั้น คือคำว่า ศึกษา
คำว่า ศึกษา ในโรงเรียนไม่มีความหมายอย่างนี้ บอกให้จำ ให้จดลงในสมุดด้วยซ้ำไป ในทางธรรมนั้นต้องการให้เห็น ความจริงแท้ของทุกสิ่งที่มันมีอยู่ในตัวสิ่งนั้น ไม่ต้องไปฟังใคร ไม่ต้องไปเชื่อใคร ดูให้เห็นความจริงที่มันมีอยู่ที่นั่น ที่สิ่งนั้นว่ามันจะเป็นทุกข์ หรือไม่เป็นทุกข์ หรือว่ามันเป็นทุกข์เพราะเหตุอะไร จะกำจัดออกไปเสียได้อย่างไร จงดูที่ตัวความทุกข์ ไม่ต้องมีใครบอก มันเห็นเป็นทุกข์นั่นแหละ ดูให้ลึกว่ามันมาจากอะไร ดูให้ลึกไปอีกระดับซะได้ ว่ามีประโยชน์อะไร เมื่อพบความจริงแบบนี้แล้ว ก็พบว่า ทำอย่างไรจึงจะดับมันเสียได้ เรื่องอริยสัจ ๔
ดู เห็น รู้จัก ว่ามันคืออะไร แล้วเป็นอย่างไร แล้วก็เห็นได้เลยว่ามันมาจากอะไร เห็นต่อไปว่า เพื่ออะไร คือเพื่อดับมันเสีย โดยวิธีใด คือการปฏิบัติธรรมะ ลอจิกของอริยสัจจ์
ในพุทธศาสนา สี่คำสั้นๆ ว่า คืออะไร มาจากอะไร เพื่ออะไร และโดยวิธีใด
ขอให้ใช้หลักการอันนี้ จัดการไปกับทุกสิ่งที่จะต้องศึกษา ถ้าจะศึกษาเรื่องจิตก็ใช้วิธีนี้ อะไรมันมาจากอะไร เพื่อประโยชน์อะไร สำเร็จได้ด้วยวิธีใด ท่านก็จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาจิต หรือจะเรื่องดับทุกข์ก็เหมือนกัน
ทุกข์คืออะไร จากอะไร เพื่ออะไร เพื่อให้มันดับเสีย โดยวิธีใด โดยอริยมรรค มีองค์ ๘ มันต้องเห็นชัดอย่างนี้ เห็นชัดอย่างนี้แล้วจึงจะทำตามนั้น แล้วรู้จักมันดี ว่ามันคืออะไร
ให้ทุกข์ให้โทษอย่างไร ดับเสียได้จะมีประโยชน์อย่างไร ด้วยวิธีใด ให้เห็นชัดอย่างนี้ นี่ปัญหาตอนต้น มันก็จบไป
มันเหลือปัญหาตอนหลัง มันทำไม่ได้ ทำอย่างนั้นไม่ได้ ไม่สามารถ จะทำอย่างนั้นได้ หมายถึงปัญหาอบรมจิตใจ
อบรมจิตใจให้มันทำได้ เรารู้เรื่องความทุกข์แล้ว แต่ว่าดับมันไม่ได้ เพราะเราบังคับจิตไม่ได้ มาจัดการกับจิต บังคับจิตให้ได้ มันจึงจะทำได้ เราจึงต้องมีระบบของการพัฒนาจิต ให้ถึงขนาดที่ทำได้ คือว่า รู้โดยหลักวิชาเสียก่อนว่า
เป็นอะไร อย่างไร เพื่ออะไร ทีนี้ก็มาถึงวิธีปฏิบัติ ว่าจะปฏิบัติอย่างไร มันจึงจะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ และปัญหามันอยู่ที่เดี๋ยวนี้ จิต ไม่สามารถจะทำอย่างนั้น เพราะนั้นจึง
ต้องอบรมจิต อบรมจิต ให้ถูกต้องตามธรรมชาติของจิต จนจิตสามารถจะทำอย่างนั้น เราก็ใช้จิตนั้นดับทุกข์เสียได้ ดับทุกข์เสียได้
พวกฝรั่งมาที่นี่ทุกเดือน ต้นเดือน ๑๐ วัน หลายสิบคน ก็สอนอย่างนี้แหละ สอนโดยสองหัวข้อ ให้รู้เรื่องความทุกข์
เรื่องปฏิจจสมุปบาท ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร จะดับลงไปอย่างไร ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท เข้าใจนี้ โดยส่วนวิชชา
ดับไม่ได้ก็ต้องสอนเรื่องการอบรมจิตให้จิตเข้มแข็ง ให้รู้ให้จนดับได้ เรียกว่า อานาปนสติ อันนี้เป็นการฝึก เป็นการปฏิบัติ
ตอนแรก อานาปนสติเป็นการศึกษาเล่าเรียน เรียน เรียนธรรมะ และก็ปฏิบัติจิต ปฏิบัติจิต ด้วยวิธีอานาปนสติอบรมจิตจนจิตสามารถเข้มแข็งควบคุมได้ บังคับจิตได้ ไม่ให้พ่ายแพ้แก่อารมณ์ ไม่เกิดบวก เกิดลบ ขึ้นมาได้ สองหัวข้อเท่านั้นแหละพอ ไม่ต้องมากมายแปดหมื่นสี่พัน พระธรรมขันธ์ ยุ่งยากอะไร
สองหัวข้อ รู้โดยวิชาการว่าเป็นอย่างไร แล้วก็ปฏิบัติโดยวิธีปฏิบัติตามหลักนั้นแหละ ขอให้ฟังให้ดีนะว่า เพียงแต่รู้ทางวิชาการไม่ดับได้หรอก จิตมันไม่สามารถ มันยังต่ำต้อย
มันไม่สามารถ ต้องฝึกจิต ฝึกจิต ฝึกจิต ฝึกจิต เป็นเวลาที่ยากลำบากหน่อย ให้ศึกษาทางวิชาการ ให้รู้อย่างไรไม่สู้ยาก ไม่สู้ลำบาก มันมายากลำบากตอนที่จะฝึกจิตนี่
เล่าเรื่องติดต่อกันก็คือว่า เราไม่มีสติ เพียงพอในขณะที่รับอารมณ์ หรือสัมผัสอารมณ์ เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
พอรูป เสียง กลิ่น รส โผฏทัพพะ มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราไม่มีสติพอ เราโง่ในเวลานั้น เราไม่มีสติพอ
สิ่งเหล่านั้นก็ให้เกิดอารมณ์เป็นบวก และเป็นลบขึ้นมา เราก็ต้องมีอารมณ์รัก อารมณ์เกลียด ตรงกันข้ามต่ออารมณ์นั้น อารมณ์รักก็เกิดกิเลสประเภทรัก ประเภทบวก อารมณ์เกลียดก็เกิดกิเลสประเภทลบ ขึ้นชื่อว่ากิเลสทำให้เกิดความทุกข์ทั้งนั้น เรารู้ว่า เรามีสติในขณะที่รับอารมณ์หรือสัมผัสอารมณ์ แต่เราก็ทำไม่ได้ เพราะเราไม่มีสติ เราจึงต้องไปฝึก ฝึกให้มีสติ ให้สติมาก ให้สติเร็ว เร็วเหมือนฟ้าแลบ มาทันทีที่รับอารมณ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อะไรก็ตามสติมาควบคุม ไม่ให้โง่ คือไม่ให้หลงโง่ ไม่ให้หลงบวก หลงลบ ไม่เห็นหลงน่ารัก น่าเกลียด น่าชัง จิตก็เป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ก็ไม่เกิดกิเลส ปัญหามันก็ไม่มี นี่เรียกว่าเราไม่มีสติในขณะแห่งผัสสะ
ทีนี้ต่อมามันพลาดไปแล้วในขณะแห่งผัสสะ ก็เกิดเวทนา เวทนาเกิดแล้ว เป็นบวก เป็นลบแล้ว เราก็ยังต้องมีสติอีกครั้งหนึ่ง มีสติทันในเวลาที่เกิดเวทนา อย่าไปหลงเวทนาที่เป็นบวก เป็นลบ นี่ก็ยังพอเป็นทางออก ขั้นสุดท้าย ก็ยังไม่มีสติอีก ไม่รู้อยู่ที่ไหนหมด ต้องฝึกสติ ฝึกสติ ฝึกสติ
นั่นล่ะตอนยาก ฝึกจิตตอนยากโดยตรงคือฝึกให้มีสติ ทีนี้ก็มารู้กันต่อไปว่า สติน่ะมันทำงานอย่างไร มันมีกลไกในการทำงานของมันอย่างไร คือมันเนื่องด้วยธรรมะอื่นอีกบางข้อ
สติระลึกได้ หมายความว่า มันไปขนเอาปัญญามา ตามปกติเราศึกษา ศึกษา มีปัญญา ปัญญา เก็บไว้ในสต็อก ปัญญามากเหลือเกิน พอเกิดเรื่องอะไรขึ้นอย่างหนึ่งๆ สติจะต้องไปเอาปัญญาที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยเฉพาะมาทันเวลา เป็นปัญญาเดียวเท่านั้นล่ะ ไม่ใช่ปัญญาทั้งหมด แต่เราศึกษารวบรวมไว้ทั้งหมดเพื่อแก้ปัญหาทั้งหมด เหมือนกับว่าตู้ยาเราทั้งหมด มียาครบ แต่พอเกิดเรื่องอะไร ไม่มีใครกินยาทั้งตู้หรอก มันบ้าแน่ๆ มันก็กินแต่ขนานที่จะแก้โรคนี้เท่านั้นแหละ นี่ก็เหมือนกัน สติมันก็ไปเอาปัญญาที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องนี้ให้ตรง ให้ตรงเรื่อง
สติขนส่งมาอย่างเร็วเป็นสายฟ้าแลบ ไปเอาปัญญามาคือนึกได้ และปัญญา ปัญญานั้นมาเปลี่ยนรูปเป็นสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสัมปชัญญะคุมเชิงอยู่ ไม่ให้กิเลสมันดำเนินไปได้ มีสัมปชัญญะ ปัญญาเฉพาะหน้า ปัญญาในการทำหน้าที่เรียกว่าสัมปชัญญะ
ถ้าสัมปชัญญะอ่อนกำลัง อ่อนกำลังต้องมีกำลังของสมาธิเพิ่มเข้าไป กำลังเข้มแข็ง สมาธิทำให้สัมปชัญญะเข้มแข็งกำลังเพียงพอ มันจึงจะแก้ปัญญาเหล่านั้นได้ ขอให้สังเกตุดูให้ดี มีถึงสี่ชื่อ มีสติขนมา มีปัญญา มีสัมปชัญญะ มีสมาธิ ตั้งสี่อย่าง ถ้าไม่มาครบทั้งสี่อย่างทำอะไรไม่ได้หรอก มันทำคนละหน้าที่ คนละขั้นตอน ต้องมาเป็นชุดเป็นทีมเวิร์ค เรียกว่า ไอ้สี่เกลอก็แล้ว สติ ปัญญา
สัมปชัญญะ สมาธิ มาครบทั้งสี่เกลอแล้วก็ หั่นแหลกหมด
ไม่เกิดกิเลสได้ ฝึกสิ ฝึก กว่าจะมีครบทั้งสี่อย่าง เป็นผู้มีสติ ปัญญา สมัปชัญญะ สมาธิ ครบทั้งสี่อย่าง ระบบฝึกจิตโดยตรง
การฝึกเพียงอานาปนสติเรื่องเดียว มีครบหมดแล้วมีมากกว่านี้อีก จะมีสติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ พอใช้ทีเดียว
ขอให้ฝึกอานาปนสติ แล้วเราก็จะมีสี่ทหารเกลอพร้อมที่จะจัดการทุกปัญหา ธรรมะสี่เกลอนี่วิเศษที่สุด แก้ปัญหาได้ทุกปัญหา สติเอาปัญญามาทันเวลา สัมปชัญญะควบคุมไว้
สมาธิเพิ่มกำลังให้ถึงที่สุดมันก็ตัดไอ้สิ่งเหล่านั้นออกไปได้
ปัญญามันเหมือนกับความคม มันไม่ตัดได้ มันต้องมีน้ำหนัก สื่อสมาธิเป็นน้ำหนัก แม้จะคมยิ่งกว่ามีดโกนก็ไม่ตัด
ตัดอะไรล่ะถ้าไม่มีน้ำหนัก ต้องมีน้ำหนักมันจึงจะตัด ปัญญา ก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีน้ำหนัก ไม่มีสมาธิมามันตัดไม่ได้หรอก มันคมเท่านั้นแหละ มันตัดไม่ได้ มันต้องมีสมาธิ สมาธิเป็นน้ำหนัก ปัญญาตัดลงไปขาด ดูเถอะธรรมะ แม้ธรรมะมันก็ยังเป็นทีมเวิร์ค เป็นระบบที่เราจะต้องประพฤติกระทำให้ครบถ้วน
ขอให้จำไว้ทีเถอะธรรมสี่เกลอ คือสติ ปัญญา สัมปชัญญะ
สมาธิ ถ้าขาดแล้วไม่สำเร็จประโยชน์ ต้องครบชุด ฝึกไว้โดยวิธีใดก็ได้ขอให้ฝึกเถอะ เป็นวิธีที่แน่นอน ก็คือวิธีที่เรียกว่า อานาปนสติ ภาวนา อย่างที่เราฝึกให้พวกฝรั่งอยู่ทุกเดือน หลังจากเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายทฤษฎี ฝ่ายวิชาการ แล้วก็ฝึก ฝ่ายปฏิบัติ คืออานาปนสติ ภาวนา
นี่คือการบำเพ็ญจิตตภาวนา อย่างสูง
ทีนี้ขอ โอกาสพูดเรื่อง อานาปนสติ ภาวนา คือมีการฝึก
ด้วยอาศัยลมหายใจเป็นเครื่องควบคุม คือให้มันทำซ้ำ ซ้ำ ซ้ำทุกครั้งที่หายใจออกเข้า จนมันชัดเจนแจ่มแจ้งมีแรงถึงที่สุด จึงจะเรียกว่าอานาปนสติ คำว่าอานาปนสติแปลว่า สติทุกลมหายใจเข้าออกเท่านั้นแหละ จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้
แม้ไม่ใช่เรื่องบุญเรื่องกุศล เป็นเรื่องบาปก็ได้ คิดอะไร นึกอะไรอยู่ ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ก็เป็นอานาปนสติได้ แต่ว่า อานาปนสติอย่างนั้นมันไม่ดับทุกข์หรอก ก็เพิ่มทุกข์
แฟนอยู่ที่อเมริกา คิดถึงเขาทุกลมหายใจเข้าออก ก็ได้นั่นก็คืออานาปนสติเหมือนกันแหละ นี่มันไม่มีประโยชน์ที่จะดับทุกข์ มันต้องในสิ่งที่สามารถจะดับทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงเลือกเอามาให้เหมาะที่สุด สำหรับจะปฏิบัติก็เลยได้เป็นสี่อย่าง หรือสี่เรื่อง สำหรับที่จะมาฝึกจิตเกี่ยวกับอานาปนสติ
อย่างแรกเรียกว่า กาย คือร่างกายนี้ มันก็ไม่อยู่ในอำนาจของเรา บังคับไม่ได้ มันต้องฝึกจนบังคับได้ บังคับกาย
ตรงๆ ไม่ได้หรอก บังคับโดยอ้อมคือบังคับลมหายใจ
กายแท้ๆ มันขึ้นอยู่กับลมหายใจ ถ้าลมหายใจหยาบกายนี้ก็หยาบ ถ้าลมหายใจละเอียด กายนี้ก็ละเอียด ถ้าลมหายใจกำเริบ กายนี้ก็กำเริบ ถ้าลมหายใจระงับกายนี้ก็ระงับ ก็เราก็มีวิธีการอุบาย หรือทริค แล้วแต่จะเรียกกัน บังคับกายโดยผ่านทางลมหายใจ หมวดที่ ๑. นี้จึงบังคับกายโดยผ่านทางลมหายใจ ศึกษาลมหายใจให้รู้ชัดเจน ว่าเป็นอย่างไรเราบังคับมัน ให้มันหยาบอย่างไร ให้มันละเอียด
มันไม่สงบก็ทำให้มันสงบ เมื่อลมหายใจสงบ ร่ายกายนี้ก็สงบ ความเยือกเย็นทางกายก็เกิดขึ้น ทีนี้กายของเราอยู่ใต้อำนาจของเรา เราต้องการกายสงบระงับเมื่อไหร่ก็ได้
เมื่อกายสงบระงับ มันเป็นปัจจัยให้จิตสงบระงับมีกำลังต่อไป
แต่ในเบื้องต้นนี้ บังคับกายกันก่อนเป็นขั้นตอน ขั้นตอนในหลักอานาปนสติ รู้จักเรื่องหายใจยาว รู้จักเรื่องหายใจสั้น
รู้จักเรื่องที่ร่ายกายสัมพันธ์กันกับลมหายใจ เมื่อบังคับลมหายใจก็คือบังคับกาย บังคับลมหายใจได้ถึงที่สุด ก็บังคับกายได้ถึงที่สุด นี่หมวดแรก หมวดหนึ่ง บังคับกาย
ทีนี้หมวดที่สอง เวทนา เวทนาที่เรารู้สึกกันอยูนี่แหละ ไอ้พวกทุกขเวทนาก็มีไปตามแบบของมัน แต่ว่าไอ้เวทนาที่เป็นปัญหาแก่มนุษย์นั้นน่ะ คือสุขเวทนา
สุขเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งความหลงไหล บูชา คุณจะหาเงิน หาอำนาจวาสนามาเพื่อซื้อสุขเวทนาทั้งนั้นแหละ ไปดูเองก็แล้วกัน มีสุขเวทนาขึ้นมาในหัวใจ เราจะเล่นงานมัน จะควบคุมมัน เขาเรียกว่า เวทนา
ถ้าความสุขนั้นหยาบสั่นระรัวอยู่ เรียกว่าปีติ เรียกว่าปีติ ที่สั่นระรัวอยู่เรียกว่าปีติ ปีติ ถึงกับจะเป็นบ้าก็ได้ ถ้าความสุข
นั้นมันสงบระงับลงก็เรียกว่า ความสุข มีอยู่สองเวทนา
ที่จะต้องจัดการกับมัน เวทนาอื่นเก็บไว้ก่อนยังไม่จำเป็น
ปีติ ความสุขที่สั่นระรัว ก็ดูเวลาอิ่มใจ พอใจนี่ก็นอนไม่หลับ
คุมไว้ไม่ได้ก็เป็นบ้าได้เหมือนกันปีตินี่ น้ำตาไหลบ้าง ตัวสั่นบ้าง สารพัดอย่างของปีติ มันไม่ใช่ความสงบ มันเป็นการปรุงแต่งมากเกินไป ถ้าพอมันสงบ มันก็กลายเป็นความสุข
เรียกว่าความสุข อันนี้ก็ครอบงำจิตใจ เป็นที่ตั้งแห่งความหลงไหล เวทนานั้นน่ะเป็นเหตุให้เกิดความคิดอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างนั้นอย่างนี้ คิดที่จะสะสมเงินทอง สะสมหลักทรัพย์
สะสมไอ้เครื่องใช้ไม้สอยให้เกิดความสุข ความสนุกอะไรก็แล้วแต่ก็มาจากเวทนาเป็นต้นเหตุ
ถ้ามันไม่หยุด มันปรุงแต่งเรื่อยมันก็นอนไม่หลับ มันก็เป็นบ้าได้ โดยเฉพาะไอ้ปีติ ปีติ นั้น เรามากำหนดดูอยู่ โอ..
อย่างนี้ปีติ อย่างนี้เป็นสุข ไอ้สองอย่างนี้ปรุงจิตกูเรื่อย กูจะ
หยุดกำลังอำนาจของมันเสีย 4 ขั้น นี่เรียกว่าหมวดที่สอง.
จัดการกับเวทนาได้สำเร็จ สำเร็จ จิตวิทยาแห่งการบังคับเวทนา
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สาม. บังคับจิตเลย บังคับจิตเลย ฝึกฝนมาดีจนรู้ว่าเวทนาปรุงแต่งจิต ก็บังคับจิต บังคับเวทนานั่นแหละ บังคับปีติ บังคับสุข บังคับจิตได้ จะลดกำลังบ้าคลั่งของจิตได้ หัดรู้จักจิตทุกชนิดเสียก่อนนะ ที่มันจะรู้สึกได้ด้วยเรารู้สึก จิตมีราคะ มีลักษณะอย่างไร ถ้าสมมติว่าไม่มีราคะมันจะมีลักษณะอย่างไร จิตมีโทสะมีลักษณะอย่างไร
ก่อนที่มันจะมีใครบอกรู้กันอยู่เต็มที่
ถ้ามันไม่มีโทสะมันจะมีลักษณะอย่างไร มันมีโมหะ หรือเดี๋ยวนี้จิตขุ่นมัว หรือจิตผ่องใส จิตมีนิวรณ์ จิตไม่มีนิวรณ์
จิตนี้ยังเลว หรือจิตนี้ดีแล้ว รู้ รู้ มันให้ได้ทุกๆ จิตก่อน เรียกว่าบังคับมันไปสู่จิตที่ต้องการ คือให้สงบระงับ เป็นสมาธิ
จิตเป็นสมาธินี่ โดยวิธีบังคับ บังคับในข้อแรกให้มัน รู้สึกสดชื่นรื่นเริงบังเทิง ถ้าเราบังคับเวทนาได้ ตั้งแต่หมวดที่สอง.
เราสามารถบังคับจิตให้บันเทิงรื่นเริงได้ บังคับจิตให้หยุด
หยุดรวมกำลังทั้งหมดเป็นโฟกัสอันเดียว เหมือนแก้วรวมแสงแดด จนไฟลุก บังคับจิตให้เป็นสมาธิ
บังคับที่สาม.คือ บังคับให้ว่องไวในหน้าที่ ให้มันแอ๊คทีฟที่สุดในหน้าที่ของมัน นี่เราก็จะเรียกว่าบังคับจิตได้ บังคับจิตให้ปล่อยอารมณ์ที่มันยึดถือ ที่มันจะหลงรักเกาะเกี่ยวสิ่งใดก็บังคับได้ คือรู้จักจิตดี บังคับให้บันเทิงรื่นเริง และก็บังคับให้มั่นคง บังคับให้ปล่อยไอ้สิ่งที่กำลังยึดมั่นถือมั่นอยู่ ความเป็นสมาธิคืออย่างนี้ คือสะอาด คือมั่นคง คือว่องไวในหน้าที่
ฝรั่งจะเข้าใจผิดติเตียนในสมาธิของพวกโยคี ทำไมต้องมานั่งสมาธิอย่างพวกโยคี เขาไม่รู้ว่า สมาธิมันสำคัญที่สุด ที่จะแก้ปัญหาทั้งหลายได้ มีจิตเข้มแข็ง เข้มแข็ง บังคับได้ไม่ให้มันผิดพลาดได้ จะทำงานก็ทำได้ดีได้เร็ว จะจำก็จำเก่ง คิดเก่ง ตัดสินใจก็เก่ง จิตที่ฝึกฝนอบรมดีแล้วอย่างนี้ เดี๋ยวนี้เราบังคับจิตได้ ตามที่เราต้องการ เป็นชุดที่สาม. เรียกว่า
จิตตานุปัสสนา
ชุดที่หนึ่ง. บังคับกาย ชุดที่สอง. บังคับความรู้สึกที่เรียกว่า
เวทนา ชุดที่สาม.เรียกว่าบังคับจิต
ชุดที่สี่. บังคับสติ ปัญญาให้มีความถูกต้อง ให้มีความถูกต้องไม่โง่ ไม่หลง คือรู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เนี่ยเป็นเริ่มแรกก่อน ไม่โง่เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของธรรมชาติ แล้วก็พิจารณาหนักที่สุดในเรื่องของอนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อยไหลเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย นี่เรียกว่า อนิจจัง มีสอนในพวกอื่น ลัทธิอื่น นอกจากพุทธศาสนาก็มี การเห็นอนิจจัง มันไม่ลึกลับอะไรหนัก มีได้แม้ในลัทธิอื่น แต่มันเป็นจุดตั้งต้นที่เว้นไม่ได้จะต้องเห็น
พีลักทีตัส..... เป็นชื่อภาษากรีก 00:57:04
ปรัชญาเมธี พีลักทีตัส พร้อมๆ กับสมัยพระพุทธเจ้า เขาสอนลัทธิ แพนทารี แพนทารี แพนตัส แปลว่าทั้งหมด รีแปลว่าไหล แพนทารี ภาษากรีกแปลว่า ทุกอย่างไหล ทุกอย่างไหล นั่นคือเรื่องอนิจจังในพุทธศาสนา ประชาชนทั้งหลายว่า ไอ้นี่มันบ้า ลึกลับอะไรของมันไม่รู้ ไม่มีใครสนใจ ที่จริงก็เรื่องอนิจจัง อนิจจัง อนิจจัง ทุกอย่างไหล ทุกอย่างไหล เพราะมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นไปตามเหตุ ปัจจัยมันก็เปลี่ยนแปลงเรื่อย นั่นคือทุกอย่างไหล
ทุกอย่างไหล ทุกอย่างไม่เที่ยง เรียกว่า อนิจจัง การที่ถูกบังคับให้ต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเปลี่ยนเรื่อย
สิ่งที่เปลี่ยนเรื่อยมันก็เป็นทุกข์ ที่บังคับไม่ได้ทั้งสองอย่างนี้มันเป็นอนัตตา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นหลักพื้นฐานของการที่สติ ปัญญาไม่โง่
ก่อนนี้สติปัญญาไปหลงโง่อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ เดี๋ยวนี้จับมา ให้มันรู้อย่างถูกต้อง เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นลึกเข้าไปอีกก็เห็น ธรรมทีตตา..... สามอย่างนี้เป็นการตั้งอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ มันเป็นธรรมาญามัตตา.....
มีกฏธรรมชาติบังคับให้เป็นอย่างนี้ อย่างนี้เรียกว่า
อิทัปปัจจัยตา อาศัยการเกิดขึ้น อาศัยการดับลง เรียกว่า
อิทัปปัจจัยตา เห็นต่อไปอีกว่า โอ..มันสุญญตา มันว่างจากตัวตน นี่มันต้องเป็นอย่างนี้ มันต้องไปตามนี้ มันทนอยู่ไม่ได้ เพราะมันไม่มีตัวตน โอ้..เช่นนี้เองเว้ย ตถาตา ตถาตา
เช่นนี้เองเว้ย
เห็นตถาตา แล้วจิตคงที่ไม่หวั่นไหวไปทางบวกและทางลบ
เรียกว่า อตัมมะญะตา เป็นพระอรหันต์กันตอนนี้ อตัมมะญะตา จิตที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้ ภาวะของจิตที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้
บรรยายเรื่อง อตัมมะญะตา อยู่ทุกๆ เดือน วันอาทิตย์ที่สาม. จะขอพูดไปสักปี สองปี ให้มันกลายเป็นคำพูดของมนุษย์เป็นของธรรมดาเหมือนกับคำอื่นๆ มันเก็บหมกเป็นหมันอยู่ในพระไตรปิฏกอยู่สองพันกว่าปี เอาออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ให้มันรู้จักว่าต้องมีอตัมมะญะตา จึงจะควบคุมไอ้ความถูกต้องไว้ได้ จิตนี้อะไรปรุงแต่งไม่ได้ เรียกธรรมดาๆ ก็ว่า can not be produce can not be conductied
can not be connect by every thing ..... 01:00 28
พูดกันธรรมดาก็ว่าอย่างนี้ can not be produce by everything ถ้าเราจะพูดเป็นคำเดียว คำเดียวสั้นๆ ก็คือว่า
......... 01:00:42
ความที่คอนคอก ไม่ได้ก็ปรุงแต่งไม่ได้ Un.......
01:00:49 ก็ได้แทนกันได้ ภาวะที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้
คือ อตัมมะญะตา มันคงที่เป็นบวกลบไม่ได้ มันแข็งโก๊ก
มีอตัมมะญะตาแล้วมันไม่หวั่นไหว
เดี๋ยวนี้หรือ ขวดเหล้าก็พาไปได้ สนามม้าก็พาไปได้ บ่อนการพนันก็พาไปได้ มันปรุงแต่งได้นี่ เดี๋ย วนี้มันปรุงแต่งไม่ได้มันแข็งโก๊ก
ภูเขาหิมาลัย ยังหวั่นไหวได้ ถ้าแผ่นดินมันไหว แต่
จิตมีอตัมมะญะตา ไม่หวั่นไหว ไม่หวั่นไหว แม้โลกมันจะหวั่นไหว ภูเขาหิมาลัยละลายหมด จิตก็ไม่หวั่นไหว นี่เรียกว่า มีอตัมมะญะตา มีอตัมมะญะตา แล้วก็ละไอ้สิ่งที่เคยติดมาแต่ก่อนนี้
นักเลงเหล้าก็พูดกับขวดเหล้า กูไม่เอากับมึงแล้วเว้ยต่อไปนี้ สนามม้าการพนัน กูไม่เอากับมึงต่อไปแล้วเว้ย ถ้ามันมี
อตัมมะญะตา
หญิงสาวสวยคนหนึ่งมีอตัมมะญะตา นี่ก็เทียบเคียง ชายชู้ที่ฉลาดรูปงามสวยงามมาสักฝูงหนึ่ง ก็เกี้ยวเอาตัวไปไม่ได้
เพราะเขามีออตัมมะญะตา หรือว่าชายหนุ่มรูปงามคนหนึ่ง
ให้นางงามจักรวาล นางฟ้ามาสักฝูงหนึ่งก็ลากตัวมันไปไม่ได้ เพราะมันมีอตัมมะญะตา คุณก็ไปคิดดูเองว่า
อตัมมะญะตา คืออะไร คืออะไรปรุงแต่งไม่ได้ อะไรปรุงแต่งไม่ได้ เป็นบวกเป็นลบไม่ได้
พอถึงตอนนี้แล้วเห็นหรือยัง ความโง่ที่ไปยึดมั่นถือมั่น มันไม่มีตัวตนคลายออก คลายออกแล้วก็ดับหายไป ไม่มีอะไรยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความทุกข์ ยังรู้ด้วยว่า โอ้เดี๋ยวนี้ หมดปัญหาแล้วจบ จบเรื่อง
ภาษาบาลีใช้คำขำขันว่า คืนให้เจ้าของ ปฏินิสักคะ ก่อนนี้ไปปล้นเอาของธรรมชาติมาเป็นของกู ตัวกูมาเป็นของกูไปหมดพอเห็นอย่างนี้ เอาคืนเจ้าของหมด ไม่มีอะไรที่ยึดมั่น
กันไว้ด้วยอุปปาทาน ไม่มีความทุกข์ นี่หมวดที่สี่. เรียกว่า
ธรรมานุปัสสนา
หมวดที่หนึ่ง. เรียกว่า กายา บังคับกายได้ หมวดที่สอง.เรียกว่า เวทนานุปัสสนา บังคับเวทนาได้ หมวดที่สาม. เรียกว่าจิตตานุปัสสนา บังคับจิตได้ หมวดที่สี่.เรียกว่า
ธรรมมานุปัสสนา บังคับสติปัญญาให้ถูกต้องในทางธรรมได้
หลุดพ้นฟรี ฟรี เป็นอิสระ ต้องการให้กายสงบระงับเมื่อใดก็ได้ หายใจสองสามครั้งกายนี้สงบระงับดี ดีไม่ดีคุณคิดดูเอาเอง เมื่อเวทนารบกวนยุ่งไปในจิตใจหมด ตะเพิดไล่ไปด้วยการหายใจ เพียงครั้งเดียวสองครั้ง เขาก็มีเวทนานุปัสสนา จิตฟุ้งซ่าน จิตอย่างนั้นอย่างนี้ ตะเพิดไล่ไปด้วยการ
หายใจเพียงสองสามครั้ง จิตจะสบายเยือกเย็น
ความหลงผิดที่เป็นเหตุให้รัก โกรธ เกลียด กลัว ไล่ตะเพิดออกไปด้วยการมีธรรมานุปัสสนา ต่อไปนี้เราก็เป็นนาย เป็นนายเหนือจิต บังคับจิตไว้ได้ จิตนี้ไม่ไปโง่ไปหลง หลงบวก หลงลบ เป็นทาสของความเป็นบวกเป็นลบ ต้องการจะมีการพักผ่อน แห่งจิตให้เยือกเย็นสบายที่สุด บังคับได้ที่นี่เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องเสียสตางค์ไปเที่ยวชายทะเล ไปบำเรอบำรุงไม่ต้อง ไม่ต้อง ไม่เสียสตางค์สักสตางค์เดียว สามารถมีจิตที่พอใจเยือกเย็นผ่องใสได้ และก็ไม่ต้องใช้สตางค์เพื่อให้ความพักผ่อนกับจิต ใช้คำพักผ่อนก็ได้ มีดีหน่อย ไม่ต้องเสียสตางค์ไปหัวหิน สามารถจะทำได้ที่นี่ มีนิพพานที่นี่ มีความเยือกเย็นที่นี่
เวทนา ที่ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำก็ไล่ออกไปได้ จิตที่ไม่ถูกต้องเบียดเบียนก็ไล่ไปได้ ความรู้สติปัญญาที่ไม่ถูกต้อง รบกวนก็ไล่ไปได้ เป็นนายเหนือชีวิต เหนือจิต ชีวิตนี้ก็จะไม่กัดเจ้าของอีกต่อไป เพราะว่าเราได้ขึ้นมาถึงขั้นสุดท้ายแล้วของการพัฒนาจิตตามแบบของธรรมะในพระพุทธศาสนา มีลักษณะเป็นจิตวิทยาสูงสุดในแง่นี้ ในแง่ดับทุกข์อันบริสุทธิ์ ไม่ใช่จิตวิทยาไปโกงใครเอาเปรียบใครกิน
ขอให้ท่านทั้งหลายรู้ว่าจิตวิทยายอดสุดมันอยู่ที่นี่ บังคับจิตได้ ตามประสงค์และก็ไม่มีปัญหาอะไรเหลืออยู่อีกต่อไป ได้นิพพานมาเปล่าๆ โดยไม่ต้องซื้อ หมายความว่า มีความสุขเย็นได้โดยไม่ต้องเสียสตางค์ ชอบหรือไม่ชอบก็ไปคิดดูเอาเอง นี่คือเรื่องจิตวิทยาตามแนวแห่งพระพุทธศาสนา ปฏิบัติได้ดีถึงที่สุดแล้ว ใช้ทางโลกๆ ก็ได้ เจริญอยู่ในโลกก็ได้ สูงไปถึงโลกุตรระ เป็นนิพพานก็ได้ไม่เสียหลาย ไม่ใช่ว่ามีแล้วมันขัดขวางไปหมด ทำความเจริญทางโลกไม่ได้
มันโง่มันพูดผิดๆ ยิ่งมีสมาธิเท่าไหร่ ยิ่งทำได้ดี มีกำลังกาย มีกำลังใจ มีความเข้มแข็ง มีความเฉลียวฉลาด มีทุกอย่างที่มันควรจะมี จิตนี้ว่องไวที่สุดเรียกว่า แอ๊คทีฟ ที่สุด
เพราะมีสมาธิภาวนาในลักษณะอย่างนี้
นี่คือจิตภาวนาที่เป็นกุศล กุศล และเป็นยอดกุศลสูงสุดเลย
ส่วนจิตวิทยาที่ประเภทอกุศลที่จะใช้หล่อเลี้ยงกิเลส ใช้เอาเปรียบผู้อื่น ใช้คดโกงผู้อื่น อย่าพูดถึงกันเลยไม่มีประโยชน์
ไม่ต้องพูดถึง ไว้ให้ชาวโลกเขาทำกันตามเรื่องของเขา
เดี๋ยวนี้ก็มีจิตวิทยาเพื่อเอาเปรียบอย่างนี้กันทั้งนั้นแหละ ดูหนังสือจิตวิทยาในการขายของ จิตวิทยาในการเล่นอะไรก็ตาม มันเรื่องด้วยเอาเปรียบไม่ซื่อ ไม่ใช่กุศลมันแก้ปัญหาไม่ได้
จงมีจิตวิทยาในแง่ที่เป็นกุศล พัฒนาจิตสูงขึ้นไปเรียกว่า จิตตภาวนา พัฒนาจิตสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป ตามวิธีที่กล่าวแล้วก็มี จิตอยู่เหนือปัญหา มีชีวิตอยู่เหนือปัญหา มีความสงบสุขเหยือกเย็น มีความเป็นอิสระ หมดปัญหาของการเกิดมาเป็นคน เมื่อได้สิ่งนี้ แล้วก็ได้สิ่งดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ เรื่องก็จบ นี่คือจิตวิทยาตามแนวแห่งพระพุทธศาสนา เป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนอยู่เหนือโลก อยู่เหนือทุกข์ เหนือปัญหา โดยประการทั้งปวง
ขอฝากให้นักศึกษาครูบาอาจารย์ทั้งหลายเอาไปคิด และใคร่ครวญดูเถอะว่า มันเป็นอย่างไร เรื่องนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้น มันเป็นกฏของธรรมชาติ ทรงค้นพบและนำมาเปิดเผย ไม่ได้อยู่ในอานัติของใคร เป็นกฏของธรรมชาติ ทำให้ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ แล้วก็จะได้ผลอย่างนี้
ดังนั้นเรื่องจิตวิทยา ก็เป็นเรื่องธรรมชาติชนิดหนึ่ง ให้รู้เท่าทันธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ โดยการมีจิตที่พัฒนา แล้วมันก็อยู่เหนืออะไรหมด แม้แต่ธรรมชาติจะทำให้เราเป็นทุกข์ เราก็ไม่เป็นทุกข์ เพราะเราสลัดออกไปได้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาตามธรรมชาติ ถูกสลัดออกไปไม่มีความทุกข์ นี่เรื่องจิตวิทยาเป็นอย่างนี้
พอสมควรแก่การบรรยายในวันนี้ ขอยุติการบรรยาย