แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขึ้นมาตรงนี้ ขึ้นมาข้างหน้าเลย ๆ คนแก่ถอยหลังให้นิด ๆ คือหลีกทาง ขอให้เด็ก ๆ ข้างหลังขึ้นมาที่นี่ เอ้า เด็กนักเรียน โรงเรียนไหนก็ได้ ชวนกันมาที่นี่ ๆ เพื่อที่จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง เด็กนักเรียนที่อยู่ข้างหลัง ขึ้นมาข้างหน้านี้ มาตรงนี้ คนแก่ ๆ ช่วยหลีกทางให้ ให้อยู่แต่ข้าง ๆ เด็กนักเรียน สำคัญเด็กนักเรียน มีหัวหน้าชั้นด้วยยิ่งดี มีหัวหน้าชั้นควบคุมด้วยยิ่งดี เข้ามาอีก เสื่อข้างหน้านี้ยังว่าง เข้ามาอีก ๆ เพื่อนจะได้เข้ามาอีก เข้ามาอีก โรงเรียนไหน เธอแถวหน้านั่นโรงเรียนไหน (หาดใหญ่วิทยาลัย) มาทำไม ๆ ความประสงค์แท้จริงน่ะมาทำไม มาแล้วยังไม่รู้ว่ามาทำไม ความประสงค์อันแท้จริงที่มานี่น่ะมาทำไม ต้องการอะไร มาทำไม อยากจะมาเท่านั้นเองไม่ได้ต้องการอะไร นี่คงจะชั้น ม.๕ แล้วนะ บอกไม่ได้ว่าต้องการอะไร เราก็เลยให้ไม่ถูก บอกไม่ได้ว่าต้องการอะไร เราก็ให้ไม่ถูก ไม่รู้ทำยังไงเหมือนกัน เราว่ายืนก็ได้ ยืนก็ได้ ยืนพูดก็ได้ นั่งพูดก็ได้ ใครมีความต้องการอะไรว่ามาเลย เอ้า ๆ เดี๋ยวถามก่อนว่าไหว้พระเป็นแล้วยัง ไหว้พระเป็นหรือยัง กราบพระเป็นแล้วยัง (เป็นแล้ว) กราบพระเป็น (๓:๔๐)(สอนกราบ)เอ้า นักเรียนทุกคนคุกเข่า คุกเข่า เราจะสอนให้ไหว้พระ นักเรียนผู้หญิงนั่งทับขา คุกเข่า ไหว้พระเป็น เอ้า นั่งคุกเข่า ผู้ชาย ผู้หญิงนั่งทับขา ถ้าไหว้พระเป็น เราจะสั่งให้ทำ เอ้า ยังขลุกขลักกันนัก เอ้า นั่งดี ๆ เอ้า สั่งให้ทำ อัญชลี ทำอัญชลี ไม่ใช่ ทำอัญชลี ท่าไหนที่เรียกว่าอัญชลี อัญชลี ท่าที่ทำอยู่แล้วนั่นแหละคืออัญชลี เอามือพนมขึ้นไว้ตรงอกเรียกว่าอัญชลี วันทนา อภิวาท อัญชลี วันทนา อภิวาท อัญชลี วันทนา อภิวาท ขอให้ทุกคน กราบไหว้เป็น นี่ได้ไปอย่างหนึ่งแล้ว แน่นอนอย่างหนึ่งแล้วว่าทุกคนนี่ไหว้เป็น กราบเป็น อัญชลีกรณีโย แปลว่าอะไร แปลว่าอะไร อัญชลีกรณีโย แปลว่าอะไร อัญชลีกรณีโย แปลว่าอะไร นึกไม่ออกกันจริง ๆ หรือ คำว่าอัญชลีกรณีโย แปลว่าอะไร ก็คงไม่ได้สวดมนต์ คณะนี้คงไม่ได้ไหว้พระสวดมนต์ ไม่ได้ไหว้พระสวดมนต์แปล ถ้าไหว้พระสวดมนต์แปลต้องตอบได้ทันทีว่า อัญชลีกรณีโย แปลว่า ควรแก่การอัญชลี ได้แก่ ใคร ใครเป็นผู้ควรแก่การอัญชลี ในบทสวดมนต์มีอยู่แล้ว ใครเป็นผู้ควรแก่อัญชลี ไม่สนใจ (๖:๔๐) สนใจหน่อยเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ พระธรรมนี้ สนใจกันหน่อย จึงไม่คุ้นเคยกับถ้อยคำเหล่านี้ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย อัญชลีกรณีโย บอกได้หรือยังว่ามานี่ต้องการอะไร ต้องการอะไรที่มานี่ (หาธรรมะ) รู้จักธรรมะแล้วยังจึงมาหาธรรมะ ถ้ามาพบธรรมะจะรู้จักหรือ ถ้ามาพบธรรมะ ยังเอาได้หรือ ยังหยิบเอาได้ ถ้ามาหาธรรมะ เหมือนกับไปหาปู หาปลา มันรู้จัก พอเห็นปู เห็นปลาก็ตะครุบเอา ทีนี้เรามาหาธรรมะ นี่รู้จักแล้ว รู้จักธรรมะ(๘:๐๐) คนนั้นรู้แล้วนี่ พูดให้เพื่อนรู้ด้วย พูดกับไมโครโฟนแหละว่าธรรมะคืออะไร พูดจากจิตใจ ยืนก็ได้ นั่งก็ได้ พูดซิ (ธรรมะคือหน้าที่ครับ) ถูกแล้วแต่มันจะน้อยไปหน่อยนะ ใครเคยได้ยินว่าธรรมะนี้คือทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร ธรรมะ คำนี้เป็นคำพูดพิเศษในโลก แปลกประหลาดที่สุดในโลก หมายถึงทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร ไม่อาจแปลเป็นภาษาอื่นได้นอกจากใช้คำว่าธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือผลเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ใครเคยได้ยินความข้อนี้แล้ว ยกมือ ใครเคยได้ยินแล้ว สี่ความหมายของธรรมะนี้ใครเคยได้ยินแล้ว ยกมือ โอ้ เราพูดเกือบตายแล้ว สี่ข้อนี้ เราพูดไม่รู้กี่สิบครั้ง กี่ร้อยครั้งแล้ว เธอยังไม่ได้ยิน ธรรมะสี่ความหมาย ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือผลเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ใครเคยได้ยินแล้วยกมือซิ โอ หลายคน ได้ยินที่ไหน เมื่อไร (ตอนบ่าย) เอ้าได้ยินตอนบ่าย หมายความว่าก่อนที่จะมาจากหาดใหญ่เคยได้ยินที่ไหน (ที่โรงเรียน ตอนที่เรียนหน้าที่ศีลธรรม) ดี ก็แปลว่าการศึกษาของเราก้าวหน้า ก้าวหน้าจนรู้ว่าธรรมะสี่ความหมายนี่คือแบบนี้ ธรรมชาติทุกสิ่งเขาเรียกว่าธรรมะ กฎธรรมชาติมีอยู่ในธรรมชาติก็เรียกว่าธรรมะ หน้าที่ที่มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติก็เรียกว่าธรรมะ ผลที่ได้รับออกมาก็เรียกว่าธรรมะ สี่ความหมาย คือหมดไม่ยกเว้นอะไร เป็นธรรมะหมด ฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดำ ฝ่ายขาว อะไรก็เป็นธรรมะหมด ธรรมะสี่ความหมายมีอยู่ในตัวเรา ทั้งสี่ความหมายมีอยู่ในตัวเรา เอ้า ใครอธิบายได้ว่ามีอยู่ในตัวเราทั้งสี่ความหมายอย่างไร ธรรมะทั้งสี่ความหมายมีอยู่ในตัวเรามีอย่างไรใครอธิบายได้ ธรรมชาติ กฎธรรมชาติ หน้าที่ตามกฎธรรมชาติ ผลจากหน้าที่ตามธรรมชาติ ทั้งสี่ความหมายนี้มีอยู่ในตัวเรา ใครมองเห็น ใครอธิบายได้ อย่างไร เอ้า ใครว่าได้ว่าเลย สี่ความหมายในตัวเราอย่างไร จับฉวยให้ว่องไว เอ้า ถ้าได้ ว่าไปอธิบายที อย่าอาย อย่ากลัว อธิบาย ธรรมะสี่ความหมายมีอยู่ในตัวเราคืออย่างไร ๆ ว่ามา นี่เห็นไหม มีธรรมะแต่ในกระดาษ มีธรรมะแต่ในกระดาษ ธรรมะในตัวเราไม่เห็น ได้หรือยัง ได้หรือยัง ว่าเลย ธรรมะสี่ความหมายในตัวเรา นี่แหละวิทยาศาสตร์สูงสุด ยอดของวิทยาศาสตร์สูงสุด ธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ ผลจากหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ เป็นยอดของวิทยาศาสตร์ในฐานะเป็นพุทธศาสนา เป็นยอดของวิทยาศาสตร์ ถ้ารู้แล้วว่าเลย ไม่ต้องให้เพื่อนช่วย ถ้าไม่ได้ก็บอกไม่ได้ ฝูงใหญ่เลย ไม่ได้สักคน ตั้งฝูงใหญ่ เอ้า ถ้าเธอว่าไม่ได้ เราว่าให้ฟัง ตั้งใจฟังให้ดี ๆ ให้ครั้งเดียวเข้าใจจำได้เลย เอ้า หยุดที ๆ ๆ เธอหยุดพูดที ฟังเราพูดที ผลัดกันพูด ธรรมะสี่ความหมาย คือ ธรรมชาติ คือกฎของธรรมชาติ คือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ คือผลเกิดจากหน้าที่มีอยู่ในตัวเรา เอ้า ถ้าอย่างนั้นเราไม่พูด ถ้าเธอไปพูดกันเสียเอง เราพูดเก้อเปล่า ๆ ถ้าเราพูดเธอต้องฟังสิ หยุดทีเรื่องพูดของเธอหยุดที ฟังเราพูดที เอ้า ถ้าอย่างนั้นเธอพูดไป เราไม่พูด (๑๕:๒๓) มีอะไร (ธรรมสี่ความหมาย อันที่ ๑ ธรรมชาติทั้งหมด ก็หมายถึงตัวเราเอง ก็ตัวเราก็เป็นธรรมชาติ อันที่ ๒ คือ กฎของธรรมชาติ คือตัวเราเกิดมาแล้วก็ต้องมีกฎของธรรมชาติ คือ เราต้องเกิดมาแล้วต้องแก่ เจ็บ ตาย ๓ คือการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ และ ๔ คือ ผลที่ได้รับ ถ้าเราปฏิบัติถูกต้องแล้วเราก็จะมีความสุข) สี่ความหมาย เอ้า สี่ความหมาย ธรรมชาติคืออะไร คือเนื้อหนัง ทุกส่วน ทุกอณู ปรมณู รวมทั้งจิตใจด้วย นี่คือตัวธรรมชาติที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา ดังนั้น ธรรมชาติสิ่งทั้งปวงหาดูได้ในตัวเรา ทีนี้กฎของธรรมชาติอยู่ในตัวเรา ก็คือทุกอนู ทุกปรมณูที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรานั้นมันเป็นไปตามกฎของธรรมชาติมันจึงเปลี่ยนแปลง มันจึงเกิดจึงดับ จึงอะไรก็แล้วแต่ นี่แหละกฎของธรรมชาติ มีอยู่ในทุกสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา กฎของธรรมชาติที่หาพบในตัวเรา ทีนี้หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ มีอยู่ในตัวเรา นับไม่ไหวที่เราต้องทำหน้าที่ ตามธรรมชาติ ตั้งแต่จะต้องกินอาหาร จะต้องอาบน้ำ จะต้องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ จะต้องทำทุกอย่าง แม้ที่สุดกระทั่งว่าคันขึ้นมาก็ต้องเกา มันเว้นไม่ได้ หน้าที่ตามธรรมชาติ คือที่ทำอยู่แล้วก็รอดชีวิตอยู่ได้ เราทำอะไรอยู่จึงรอดชีวิตอยู่ได้ เราต้องกินอาหาร เราต้องบริหารร่างกาย นับตั้งแต่ว่าจะต้องรักษาความสะอาด จะต้องอาบน้ำ จะต้องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ จะต้องบริหารทุกอย่างให้ถูกต้อง นี่เป็นหน้าที่ พูดอย่างกว้าง ๆ ก็ต้องมีหน้าที่ทำมาหากิน จะต้องหากิน แล้วต้องกิน แล้วต้องถ่ายให้ถูกต้องทั้งนั้นเลย คือหน้าที่ของธรรมชาติ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติมีอยู่ในตัวเรา ทีนี้ผลของหน้าที่ ผลของหน้าที่ก็คือเราได้รับอยู่ ทำผิดแล้วผลเป็นทุกข์ ทำถูกแล้วผลเป็นสุข แล้วแต่เราจะทำ เพราะฉะนั้นเราจึงมีความเปลี่ยนแปลงอย่างนั้นอย่างนี้ เราสบาย เราไม่สบาย เราโปร่งอกโปร่งใจ เรางัวเงีย เรามีกิเลสรบกวน เรามีนิวรณ์รบกวน แล้วแต่ว่าเราทำผิดหรือว่าเราทำถูกตามกฎของธรรมชาติ เรียกว่าผลจากหน้าที่นั้น ก็มีอยู่ในตัวเราซึ่งได้รับอยู่ จึงเรียกว่าความหมายทั้งสี่ความหมาย ของธรรมะนั้นมีอยู่ในตัวเรา ถ้าเธอเข้าใจข้อนี้ดีจริง ๆ แล้วจะมีประโยชน์มากสำหรับจะศึกษาธรรมะอย่างอื่นต่อไปข้างหน้านั้นโดยสะดวก ศึกษาโดยสะดวก ศึกษาอย่างลึกซึ้ง อย่างแจ่มแจ้ง เพราะว่าเรารู้พื้นฐานหลัก พื้นฐานของธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะสี่ความหมาย เอ้า ทีนี้ในสี่ความหมายนี้ คือธรรมชาติ คือกฎของธรรมชาติ คือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ คือผลเกิดจากหน้าที่ รวมเป็นสี่ความหมาย แล้วเธอเห็นว่าความหมายไหนที่สำคัญที่สุด หนึ่ง สอง สาม สี่ นี่ความหมายไหนสำคัญที่สุด เอ้า ใครตอบว่าความหมายไหนสำคัญที่สุด (ข้อสามครับ คือหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎธรรมชาติครับ) หน้าที่ตามกฎของธรรมชาตินั้นสำคัญที่สุด ลองไม่ทำหน้าที่สิ มันตาย มันจึงสำคัญที่สุด ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่ ก็เพราะว่ามันสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีธรรมะแล้วมันตาย ธรรมะคือหน้าที่ เพราะฉะนั้นเราจงสนใจเรื่องหน้าที่ให้ถูกต้อง ถูกต้องแก่ เรียกว่าตัวเรา สมมติเรียกว่าตัวเรานี่แหละ ให้มันถูกต้องทุกขั้นทุกตอน ทุกเวลานาที ทุกสถานที่ ทุกหนทุกแห่ง นี่มาธรรมะชีวีแล้ว เรามีธรรมะอย่างถูกต้อง ทุกเวลาทุกหนทุกแห่ง เป็นธรรมะชีวีมีชีวิตอยู่ด้วยธรรมะ เมื่อทำหน้าที่เป็นธรรมะถูกต้องแล้วความทุกข์มันก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้นผลที่เกิดจากหน้าที่ มันก็มีแต่ผลฝ่ายที่ดับทุกข์อย่างเดียว เรียกว่าผลดีอย่างเดียว นี่เป็นความจริงของธรรมชาติที่เกี่ยวกับตัวเรา ที่เนื่องกันอยู่กับตัวเรา ถ้าเรารู้ เราจัดการให้ถูกต้อง แล้วก็จะได้รับผลดีไม่มีความทุกข์ เป็นมนุษย์ที่ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ ก็คือเป็นธรรมะชีวี เป็นธรรมะชีวี คนนี้ยืนขึ้นบรรยายประโยชน์อานิสงส์คุณค่าของธรรมะสักสิบนาที ธรรมะมีคุณค่า มีประโยชน์ มีอานิสงส์ บรรยายสักปีหนึ่งก็ไม่จบ นี่เราขอให้เธอบรรยายสักสิบนาที คนเสื้อ.. คนนี้ที่อยู่ตรงหน้าไมโครโฟน นั่งขัดสมาธก็ได้ ไม่เป็นไรถ้านั่งอย่างนั้นมันเมื่อย นั่งขัดสมาธก็ได้ ให้จิตใจมีความเคารพก็เป็นอันใช้ได้ ไม่ใช่อยู่ที่ขา นั่งตามสบาย ตามสบาย เอ้า บรรยายคุณของธรรมะมาเป็นเวลาสิบนาที หัวหน้าชั้น ก็ดีเหมือนกัน พูดใส่นั้นแหละ แหงนขึ้นให้ตรงปากแล้วก็พูดไปเลย คุณค่าของธรรมะ (คุณค่าของธรรมะที่สำคัญ เช่น ช่วยให้เราอยู่รอด ถ้าสมมติว่าเราปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักของธรรมะ ก็จะช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข) นาทีหนึ่งแล้ว ขอสิบนาที ได้หนึ่งนาที คุณค่าของธรรมะนาทีเดียวจบ เอ้าใคร ใครอีก ไมโครโฟนต่ำ ไมโครโฟนนั่งก็ได้ ยืนก็ได้ คุณค่าของธรรมะพรรณนากันสักสิบนาที เอ้า ถ้าไม่ไหวลดลงมาสักห้านาที เอ้า ลดลงมาห้านาที (สามารถตัดกิเลสคนได้ และธรรมะทำให้คนเป็นคน หรือเป็นคนพิการหรือเป็นคนมีสติปัญญาดีก็ได้ แต่ถ้าคนไม่มีธรรมะอยู่ในตัวคน อาจเกิดการฆ่าฟันกันได้ครับ) สองนาที เอ้าใคร ใครพูดให้ได้สักห้านาที ให้เป็นเรื่องเป็นราวด้วยนะ (ธรรมะช่วยค้ำจุนชีวิตโดยธรรมชาติ แต่ควรฝึกให้มีมากขึ้นกว่าธรรมชาติที่มีอยู่ เพราะธรรมชาติให้) เอ้าพูดจากความรู้สึกดีกว่า จะคล่องกว่าอย่าไปอ่านอยู่เลย พูดตามความรู้สึกในใจจริงๆ ดีกว่า ธรรมะมีคุณค่า มีพระคุณก็ได้ อย่างไร คุณของธรรมะ เอ้าดีแล้ว ไม่ต้องขันให้เสียเวลาพูดเลย ๆ กดให้แหงนขึ้นหน่อย กดก้นให้มันแหงนขึ้นหน่อย (ประโยชน์ของธรรมะนี้ ที่จริงว่ามันมีมากก็จริง แต่ว่าพูดจริงๆ ห้านาทีก็มากแล้วนะครับ เพราะว่าธรรมะนี้ถ้าว่าไปว่าโดยส่วนเดียวและเป็นคุณค่าของมันจริงๆ แล้วมีแค่สองคำ สามพยางค์เอง คำว่าธรรมะช่วยดับทุกข์ครับ ที่ว่ารวมทั้งหมดแล้ว แต่ว่าถ้าบรรยายถึงห้านาทีก็ต้องพูดว่า ธรรมะนี้ช่วยดับทุกข์ แต่ว่าผู้ที่ปฏิบัติธรรมะแล้วไม่ช่วยดับทุกข์ ก็ไม่เรียกว่าปฏิบัติธรรมะครับ เพราะว่ามันมีคุณค่า อาจารย์ก็บอกว่า ธรรมะมีความหมายว่าหน้าที่ หน้าที่ตามธรรมชาติ เพราะว่าทำหน้าที่ที่ไม่ถูก เราก็จะมีทุกข์ครับ เห็นถึงคุณค่าของธรรมะแล้ว เพราะว่าถ้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกก็คือผิดธรรมะ ก็จะทำให้อยู่ได้อย่างไม่มีความสุข คือสรุปแล้ว ธรรมะนี้ถ้าเราปฏิบัติธรรมะได้ ก็ทำให้เราเป็นคนไม่มีความทุกข์ก็เพียงพอแล้ว แล้วก็พูดโดยส่วนรวม ถ้าโลกทั้งโลกนี้ขาดธรรมะ ก็คือคนไม่มีหน้าที่ ความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ธรรมะนี้ก็ช่วยให้ทุกอย่างมีระเบียบ แล้วก็อยู่กันได้ร่วมกันอย่างมีความสุขครับ) ได้สามนาที (ธรรมะนี้ นึกดูครับว่า ในหมู่โจรธรรมะไม่มีใช่ไหมครับ เห็นไหมครับมีแต่ความวุ่นวาย แต่ถ้ามีธรรมะนี้ ก็มีแต่ความสุขทุกคน ธรรมะนี้มีคุณค่ามากจริง ๆ แต่ถ้าพูดบอกแล้วว่าเหลือสามตัวเองว่าทำให้ไม่มีทุกข์ ก็ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร นอกจากผู้ปฏิบัติได้เห็นเองครับ เพราะว่าถ้าบอกไปคนก็ไม่ค่อยเชื่ออีกว่าธรรมะดีอย่างไร ถ้าไม่ได้ทำเอง ไม่ได้เห็นเอง แล้วคุณค่าของธรรมะนี้ ถ้าพูดก็ ถ้าทำเอง ความรู้สึกมันบอกได้เลยว่าธรรมะนี้มีประโยชน์และมีคุณค่าจริง ๆ แต่ว่าถ้าออกมาเป็นคำพูดก็ออกมาได้เพียงสามพยางค์เองว่า ปฏิบัติธรรมะแล้วก็ไม่มีความทุกข์ ถ้าปฏิบัติอย่างจริง ๆ ได้แค่นี้ครับ) คำว่าคุณ คำว่าคุณนี้มีความหมายกว้างนะ คุณลักษณะก็ได้ คุณประโยชน์ก็ได้ นี่เราพูดได้หมด ทั้งคุณลักษณะ ทั้งคุณประโยชน์ แล้วก็มีเยอะแยะไปหมด ธรรมะคือหน้าที่ หมายความว่ามันช่วยให้รอด สามพยางค์แล้วก็พอ คุณประโยชน์คือช่วยให้รอด คำสั้น ๆ ทีนี้คำว่าช่วยให้รอด เราอธิบายสิว่ารอดอย่างไร รอดเท่าไร รอดอย่างไร รอดเท่าไร กี่นาทีก็ได้ นี่คุณประโยชน์ ก็พูดได้ตั้งชั่วโมง ทีนี้ถ้าคุณลักษณะ แจกลักษณะ แจกอะไรออกไปก็ยิ่งมาก ยิ่งมากกว่าเสียอีก พูดได้มากกว่าเสียอีก ถ้าเขาขอให้เราบรรยายเรื่องธรรมะสักห้านาทีนี้ควรจะได้ง่าย ๆ โดยคำแปล ธรรมะ ธรรมะ โดยคำแปล จำไว้บ้างก็ดีเหมือนกัน ที่แปลว่าหน้าที่ก็โดยความหมาย ธรรมะคือหน้าที่นี้โดยความหมาย ถ้าธรรมะโดยคำแปล ธรรมะแปลว่าสิ่งที่ชูไว้หรือยกไว้ สิ่งที่ยกหรือชูผู้ปฏิบัติ ธรรมะแปลว่าชูขึ้น ชูขึ้น ธรรมะคือสิ่งที่ยกชูผู้ปฎิบัติธรรมะ นี้เป็นลักษณะ ธรรมะช่วยให้รอดจากสิ่งไม่พึงปรารถนา นี่ก็เป็นคุณประโยชน์ ถ้าเราปฏิบัติธรรมะให้ถูกต้องตามธรรมะแล้วเราก็ได้รับประโยชน์ดี มีชีวิตที่ ไม่รู้จักเป็นทุกข์เลย ฟังให้ดี ตอบให้ถูกเผงเลย ว่าเรามีธรรมะเมื่อไรกัน ใครตอบได้ตอบเลย ว่าเรามีธรรมะเมื่อไรกัน เอ้า เงียบหมด (เมื่อเรามีหน้าที่ค่ะ) นั่นมันง่าย ๆ นี่ ตอบเท่านั้นแหละเรามีธรรมะเมื่อเราทำหน้าที่ เมื่อเราทำหน้าที่ของเราเมื่อนั้นแหละเรามีธรรมะ แล้วไม่ต้องคิดลึก ทีนี้ก็ถามว่าหน้าที่ชนิดไหนบ้าง คำว่าหน้าที่ มีธรรมะเมื่อทำหน้าที่ ก็ถามว่าหน้าที่ชนิดไหนบ้าง ตอบว่าอย่างไร (ธรรมะมีอยู่เมื่อเราทำหน้าที่ที่ปฏิบัติทำให้ตัวเรารอด) หน้าที่อย่างไรบ้าง หน้าที่เช่นอะไรบ้าง หน้าที่กี่อย่าง (หน้าที่ที่ถูกต้องครับ) หน้าที่ที่ถูกต้อง เช่นอะไรบ้าง (เช่นว่า หน้าที่ที่ถูกต้องก็คือหน้าที่ที่ไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและแก่ผู้อื่นครับ) ดี ลักษณะของหน้าที่ที่ถูกต้อง หน้าที่ที่เราทำอยู่ทุกวัน ทุกวัน ไม่ว่าหน้าที่อะไร ก็เป็นธรรมะหมด แม้แต่ว่าไปอาบน้ำให้สะอาดก็เป็นหน้าที่ธรรมะ แม้แต่ว่าเราคัน เราก็ต้องเกา มันก็ยังเป็นธรรมะ อย่ามองข้าม อย่าดูหมิ่น ดูถูก ก็ว่าที่เราทำอยู่นั้นเป็นหน้าที่ทั้งนั้น เราต้องนอน พอตื่นนอนเราต้องล้างหน้า เราต้องอาบน้ำ เราต้องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เราต้องทำอะไรกี่อย่าง กี่อย่าง ในวันหนึ่ง วันหนึ่ง ก็เป็นธรรมะหมด ก็เป็นหน้าที่เพื่อความรอดแห่งชีวิต ตามมากตามน้อย ตามสูงตามต่ำ ตามที่มันต้องการ หน้าที่ตามธรรมชาติเป็นธรรมะหมด เป็นธรรมะธรรมดา หน้าที่เหนือธรรมชาติก็เป็นธรรมะหมด ก็เป็นหน้าที่สูงกว่าธรรมดา นี่เป็นของจริงที่จะต้องเรียนจากตัวจริง คือเห็นเอง สังเกตเห็นได้เอง ด้วยตนเอง เรียนจากของจริงด้วยตนเอง ธรรมะต้องเรียนจากของจริงด้วยตนเอง ธรรมะเป็นสันทิฎฐิโกทั้งนั้นเลย ถ้ายังไม่เห็นแจ้งด้วยตนเองยังไม่เป็นธรรมะถึงขนาดนี้ ทีนี้เราเรียนในโรงเรียน เรียนหนังสือ เรียนวิชาหนังสือเป็นส่วนมาก เรียนหนังสือนี่เป็นธรรมะหรือเปล่า (เป็นครับ) เป็นในแง่ไหน เป็นในแง่ไหน (หน้าที่) หน้าที่ก็หน้าที่ช่วยให้รอด เรียนหนังสือนี่ช่วยให้รอดอย่างไร มันเป็นอุปกรณ์ของกันและกันตามลำดับ เพราะฉะนั้นหน้าที่โดยตรงก็มี หน้าที่โดยอ้อมก็มี หน้าที่เป็นอุปกรณ์ของหน้าที่โดยตรงก็มี แต่ว่าเป็นหน้าที่ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเรายังต้องการมีชีวิตอยู่ จึงจะได้ทำหน้าที่เหล่านั้น ถ้าไม่มีชีวิตอยู่มันก็เลิกหมด เพราะฉะนั้นการทำให้มีชีวิตรอดอยู่เป็นหน้าที่ทั้งหมด เรามีหน้าที่ทำให้ชีวิตนี้มันรอดอยู่ ให้รอดอยู่อย่างเป็นที่พอใจ ที่น่าพอใจที่สุด เราจึงเตรียมตัว สำหรับอย่างนี้ในอนาคต อย่าไปหลงกลกิเลส ซึ่งมันดึงให้ทำหน้าที่ผิด ๆ ทำหน้าที่ฝ่ายผิดแล้วมีความทุกข์ หน้าที่ฝ่ายผิดจึงมีความทุกข์ หน้าที่ถูกต้องก็จะดับทุกข์ เอ้า ทีนี้เราให้เธอถามเราบ้าง เราไม่เอาเปรียบ เธอจะถามอะไรเราบ้างก็ได้ เราถามเธอมากพอแล้ว เธอถามเราบ้าง ไม่รู้จะถามอะไร รู้หมดแล้ว รู้หมดแล้ว ไม่ต้องถามอะไร ที่นั่งกันอยู่ตรงนี้กี่โรงเรียน (โรงเรียนเดียวครับ) โรงเรียนเดียว เอ้า ไม่มีใครถามจริง ๆ หรือ เขาให้ถาม จดใส่เศษกระดาษแล้วมันจะอยู่กี่วัน หรือเอาไปจดใส่สมุดอีกที (อยากจะทราบสาเหตุว่า ทำไมคนปัจจุบันจึงเข้าใจว่าธรรมะเป็นแค่คำสั่งสอนคะ) ฟังไม่ค่อยถูกเหมือนกัน เสียงมันก้อง ฟังไม่ถูก พูดใหม่สิ ช้า ๆ ชัด ๆ หน่อย (ค่ะต้องการทราบว่า ทำไมคนปัจจุบันนี้จึงเข้าใจว่า ธรรมะเป็นแค่คำสั่งสอน คือคนส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่าอย่างนั้น) ก็เพราะสอนกันอย่างนั้นนี่ เพราะในโรงเรียนเขาสอนกันอย่างนั้น ปทานุกรมที่อินเดีย ธรรมะเขาแปลว่า ดิวตี้ คำว่าธรรมะเขาจะออกความหมายเป็นดิวตี้ แปลว่าหน้าที่ ทีนี้ปทานุกรมเมืองไทย ธรรมะแปลว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มันต่างกันอย่างนั้น เขาไปไกลกว่า ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดเขามีธรรมะแล้ว ธรรมะนั้นคือหน้าที่ของมนุษย์ เขาว่าธรรมะคือหน้าที่หมดเลย ถูกต้องหมดเลย ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพูดกันตามธรรมเนียมซึ่งมีความรู้แคบ ๆ แต่ถ้าเขาจะถามว่าพระพุทธเจ้าสอนเรื่องอะไร ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าสอนเรื่องอะไร เอ้าไม่รู้เสียอีก ก็สอนเรื่องหน้าที่ยังไง คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเลยเป็นเรื่องหน้าที่ หรือเกี่ยวกับหน้าที่เป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นถ้าธรรมะคือหน้าที่เสียเลยดีกว่าไม่อ้อมค้อม ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสั่งสอนเรื่องหน้าที่ แล้วก็ตอบธรรมะคือหน้าที่ไม่ต้องอ้อมค้อมไปว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เขาจะถามว่าถ้าอย่างนั้นคำสอนของคนอื่นไม่เป็นธรรมะหรือ จะตอบว่ายังไง คำสอนของคนอื่นไม่ธรรมะหรือ มันเป็นธรรมะด้วยกันแหละ ตามมากตามน้อย ตามสูงตามต่ำ คำสอนของผู้ที่ยังไม่ใช่พระพุทธเจ้า หรือว่าลัทธิอื่นมันก็เป็นธรรมะทั้งนั้นแหละ เป็นธรรมะตามแบบของ ตน ๆ ทีนี้การที่เขาตอบว่าธรรมะคือหน้าที่ มันถูกกว่า รัดกุมกว่า อะไรกว่าหมดเลย กว่าที่จะมาขยักอยู่กับธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วปรากฏว่าก่อนพระพุทธเจ้าเกิดก็มีธรรมะอยู่แล้ว นี่มันก็ขัดกันตาย ถามว่าในเมืองไทยทำไมจึงสอนว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถามอย่างนั้น ทำไมในเมืองไทยจึงสอนว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเมืองไทยมันรู้แค่นั้น มันไม่รู้ทั้งหมด พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องธรรมชาติ สอนเรื่องกฎของธรรมชาติ สอนเรื่องหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ สอนเรื่องผลจากหน้าที่ แต่ที่ท่านสอนมากที่สุด สำคัญที่สุดก็คือเรื่องหน้าที่ เรื่องที่สาม ความหมายที่สามท่านสอนมากที่สุดคือหน้าที่ที่จะดับทุกข์ ทีนี้มันเกี่ยวอยู่กับธรรมชาติ ก็เลยต้องสอนเรื่องธรรมชาติ และเรื่องกฎของธรรมชาติด้วยจึงจะรู้จักหน้าที่พอที่จะดับทุกข์ได้ สอนให้ปฏิบัติหน้าที่ถูกตรง ชนิดที่มันดับทุกข์ได้ ก็เลยดับทุกข์ได้ ทีนี้คำสอนนี้โดยส่วนใหญ่ก็คือเรื่องความดับทุกข์ เป็นหน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิตจะต้องดับทุกข์ให้ได้ คำว่าธรรมะคือหน้าที่ ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะนี่ใช้กับสัตว์เดรัจฉานได้ไหม คิดนานทำไม ธรรมะนี่ คำว่าธรรมะใช้กับสัตว์เดรัจฉานได้ไหม (ได้ครับ) ได้อย่างไร ๆ (ก็สัตว์เดรัจฉานก็มีหน้าที่ของสัตว์เดรัจฉานครับ) สัตว์เดรัจฉานมีหน้าที่ตามแบบของสัตว์เดรัจฉาน คำว่าหน้าที่เป็นธรรมะ ฉะนั้นเป็นธรรมะของสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานมีธรรมะได้ สัตว์เดรัจฉานมีธรรมะจริงจัง ๆ ทำหน้าที่จริงจังกว่าคนเสียอีก เพราะคนไม่ชอบทำหน้าที่ คอยบิดพลิ้วหน้าที่ เดี๋ยวจะได้ละอายสัตว์เดรัจฉานกันตอนนี้ ถ้าปรากฏว่าสัตว์เดรัจฉานมันจริงจังต่อหน้าที่ ธรรมะใช้กับต้นไม้ได้ไหม (ได้ครับ) ได้ คือหน้าที่อย่างไร ต้นไม้มีหน้าที่ที่เป็นธรรมะอย่างไร (ทำหน้าที่สร้างอาหาร คายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คายก๊าซออกซิเจนครับเป็นหน้าที่ของต้นไม้) ต้นไม้ก็มีหน้าที่ที่จะหาอาหาร แสวงหาอาหาร กินอาหาร บำรุงต้นมีหน้าที่เหมือนกับคน แต่เพราะมันกินอาหารต่างจากคน มันจึงดูแปลกออกไป ต้นไม้ก็ต้องแสวงหาอาหาร ต้นไม้ก็ต้องดิ้นรนเพื่อชีวิตอยู่ ธรรมะก็ใช้กับต้นไม้ได้ สัตว์เดรัจฉานได้ ต้นไม้ทำหน้าที่อย่างขยันขันแข็งยิ่งกว่าคน ใครอธิบายได้ ต้นไม้ทำหน้าที่ของมันขยันขันแข็งยิ่งกว่าคน ใครอธิบายได้ (เมื่อกี้ ที่บอกว่าธรรมชาติหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง อยากทราบว่า กฎของธรรมชาติ แล้วก็หน้าที่ และผลรวมอยู่ในธรรมชาติหรือเปล่าคะ) ฟังไม่ถูก ถามให้ชัด ๆ หน่อยสิ (ธรรมชาตินะคะท่านบอกว่าหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ทีนี้อยากทราบว่ากฎธรรมชาติ และหน้าที่ แล้วก็ผลนี้รวมอยู่ในธรรมชาติด้วยหรือเปล่าคะ) กฎของธรรมชาติก็มีอยู่ที่ตัวธรรมชาติ สังเกตเห็นได้ที่ตัวธรรมชาติ เพราะว่ากฎของธรรมชาตินั้นก็สิงอยู่ในตัวธรรมชาตินั่นแหละ บังคับให้ธรรมชาติเป็นไป ๆ ๆ ๆ ๆ ตามกฎของธรรมชาติ มันก็อยู่ที่ตัวธรรมชาติ แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ตัวธรรมชาติก็ตัวธรรมชาติ ตัวกฎของธรรมชาติ ก็กฎของธรรมชาติ ต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ถ้าต้องการจะรอดอยู่ ต้องให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติเพื่อรอด ถ้าอยากตายก็ให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติที่จะตาย มันก็ได้ตาย (ผมอยากถามว่าชีวิตคืออะไรครับ) เธอมีชีวิตหรือเปล่า (มีครับ) แล้วทำไมต้องถาม (แล้วผมอยากถามว่าที่อาจารย์ว่าธรรมะคือชีวิต ชีวิตคือธรรมะ ผมอยากถามว่า ชีวิตจะเป็นธรรมะได้อย่างไร) พูดกันทีละเรื่องสิ เรามีชีวิตด้วยธรรมะ มีธรรมะด้วยชีวิต มีชีวิตเป็นธรรมะ มีธรรมะเป็นชีวิต (แล้วชีวิตจะเป็นธรรมะได้อย่างไรครับ) คือประกอบด้วยธรรมะ ชีวิตที่มีธรรมะคือประกอบด้วยธรรมะ เอาตัวชีวิตมาก่อนสิ เอาตัวชีวิต แล้วก็มาดูว่ามันประกอบด้วยธรรมะหรือไม่ (คำถามต่อไปผมอยากจะถามว่า) เดี่ยวสิ ยังไม่จบ ชีวิตคืออะไรยังไม่ได้พูด ชีวิตชนิดไหนล่ะ ชีวิตมันมีหลายความหมาย ชีวิตถ้าเป็นทางวัตถุก็ชีวิตคือเซลที่ยังสด ๆ อยู่คือชีวิต ทีนี้ถ้าเป็นจิตใจก็หมายความว่าจิตใจที่มันมีโอกาสมีหน้าที่ที่จะทำหน้าที่ของชีวิตของจิตใจ เมื่อมันได้อาศัยร่างกายที่ยังเป็น ๆ ร่างกายที่ยังมีเซลสด ๆ แล้วจิตมันก็ทำหน้าที่ได้ เมื่อจิตทำหน้าที่ได้ในร่างกายที่เป็นที่ตั้งเป็นพื้นฐาน รวมกันทั้งสองอย่างนี้ก็พอจะเรียกได้ว่าชีวิต ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต เราก็มีชีวิตที่จะใช้ทำอะไรได้ คือยังไม่ตาย จึงหาธรรมะมาให้เป็นหลักให้ชีวิตนี้ดำเนิน เป็นชีวิตที่ประกอบอยู่ด้วยธรรมะ มันก็ดำเนินไปถูกต้องสำหรับที่จะเป็นผลดีไม่มีทุกข์ ชีวิตในความหมายอย่างอื่นยังมีอีก นี่ความหมายธรรมดา ๆ ทั่วไป เมื่อเซลของร่างกายยังสดอยู่ ก็ยังไม่ตายทุก ๆ เซล มันก็ยังมีชีวิตฝ่ายร่างกาย ทีนี้จิตมีโอกาสทำหน้าที่คิดนึกได้แสดงบทบาทของมันได้ ก็เรียกว่าจิตนี้ยังมีชีวิตอยู่ เอาชีวิตจิตชีวิตกายมารวมกันเข้าเป็นชีวิตสมบูรณ์ เราก็มีชีวิตอย่างนี้กันอยู่ทุกวัน ๆ ที่นี้ใครมาดำเนินชีวิต นี่จะเป็นคำตอบที่ยากที่สุด ชีวิตมันเป็นอย่างนั้นแล้วใครจะมาควบคุมชีวิต มันกลายเป็นว่าความรู้ของชีวิต ความรู้ พุทธิแห่งความรู้ของชีวิตนั่นแหละจะเป็นผู้ควบคุมการดำเนินของชีวิต ทีนี้จะเห็นได้ชัดว่าตัวเองพึ่งตัวเองทั้งนั้น มันไม่ได้มีสองคนไม่ได้มีสองชีวิต ในชีวิตนั้นมีพุทธิปัญญา รู้ถูกต้อง แล้วก็ดำเนินชีวิตนั้นไป นี้เรียกว่ามันก็พึ่งตนเอง ความหมายที่ว่าพึ่งตนเอง คือหมายความอย่างนี้ ในชั้นลึก หมายถึงชีวิตพึ่งตนเอง คือตัวจิต ตัวชีวิต ตัวร่างกายจะต้องทำด้วยตนเองให้ถูกต้องเพื่อความรอดอยู่ ทีนี้ถ้าจะดูให้ละเอียดกว่านั้นอีก ก็ว่าชีวิตที่เป็นกายนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน ชีวิตที่เป็นจิตก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งเองไม่ใช่ตัวตน ทั้งส่วนกายและส่วนจิตก็ไม่ใช่ตัวตน แต่มันฉลาดที่ว่าพอมันได้อาศัยกันเข้าแล้วมันทำอะไรได้ทุกอย่าง มันคิดนึกได้ แล้วมันก็สั่งให้ร่างกาย ให้ปากนี้พูดจาทำอะไรได้ โดยที่ไม่ต้องมีตัวตน สิ่งที่ไม่มีตัวตนนั่นทำอะไรได้ ทีนี้ที่ท่านสอนว่ามันไม่ใช่ตัวตนนั้น อย่าเพิ่งดูถูกนะ มันเป็นความจริงอย่างนั้น มันเป็นไปตามกฎของธรรมชาติไม่มีตัวตนที่จะดื้อดึงต่อกฎของธรรมชาติ ก็มีแต่ธรรมชาติ อยากเรียกว่าตัวตนก็ได้เหมือนกัน บางคนเขาก็เรียกว่าตัวตน แต่เราพุทธบริษัทนี้เราจะไม่เรียกว่าตัวตน เราเรียกว่าธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ทำอะไรได้ทุกอย่าง เป็นทุกข์ก็ได้ ดับทุกข์ก็ได้ เพราะฉะนั้นอย่ายึดถือให้เป็นตัวตนเลย ให้เป็นของธรรมชาติ แล้วในตัวธรรมชาติเอง มีสติปัญญาควบคุมธรรมชาติให้เป็นไปอย่างถูกต้อง แล้วก็ไม่ต้องเป็นทุกข์เลย แต่เรื่องนี้เป็นธรรมะชั้นลึก ธรรมะที่รู้ว่าไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตนเป็นธรรมะชั้นลึก เป็นความรู้ธรรมะชั้นลึก ยากหน่อย ค่อย ๆ สนใจไป เอ้า มีปัญหาอะไรอีก ว่าไป ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา (ไม่มีแล้วค่ะ) ไม่ได้ฟัง ไม่รู้ถามว่าอะไร (ไม่ได้ถาม) ถามว่าอะไรนะ พูดช้า ๆ หน่อย (ไม่มีใครสงสัยอีกแล้วครับ) ที่นั่งอยู่ที่นี่ ใครรู้จักสิ่งที่เรียกว่า นิวรณ์ นิวรณ์ นิวรณ์บ้าง ใครรู้จักนิวรณ์ยกมือ ใครรู้จักนิวรณ์ ก็แปลว่าทุกคนไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่านิวรณ์ใช่ไหม ใครรู้จักสิ่งที่เรียกว่านิวรณ์ช่วยยกมือขึ้นหน่อยจะได้อธิบาย (รู้จัก ๓ ข้อ ครับ) อะไร (กามฉันทะ แล้วก็วิจิกิจฉา แล้วก็ถีนมิทธะ) รู้จัก ๓ ข้อ ลำดับสับสน มันเป็นนิวรณ์อย่างไร เป็นนิวรณ์อย่างไร ที่ว่าเป็นนิวรณ์เป็นอย่างไร (มันเป็นสิ่งที่ต้องกังวลครับ สิ่งที่เหนี่ยวรั้งเอาไว้) รู้น้อยเกินไปเกี่ยวกับนิวรณ์ นี่คือจุดตั้งต้นที่สุด จุดแรกที่สุดที่เราจะต้องศึกษาเกี่ยวกับธรรมะในพระพุทธศาสนา ถ้าจะตั้งต้นต้องให้ถูกต้อง ศึกษาตั้งต้นให้ถูกต้องแล้วก็จะต้องศึกษาเรื่องนิวรณ์ เพราะว่านิวรณ์เป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่มีจิตใจปลอดโปร่ง สงบเย็น เราจะมีจิตโปร่ง มีจิตใจสงบเย็น เป็นจิตใจสบายทำอะไรได้ดี แล้วมีอะไรมาทำจิตใจไม่เป็นอย่างที่เราต้องการ สิ่งนั้นเรียกว่านิวรณ์ มีอยู่ ๕ อย่าง พอความรู้สึกที่คิดนึกไปในทางกามารมณ์เรียกว่า กามฉันทะเกิดขึ้น จิตก็หยุดโปร่ง หยุดสงบ เป็นจิตดิ้นรน กระวนกระวาย มืดไป หรือว่าหมดกำลังไป นิวรณ์ตัวที่สอง ความไม่ชอบใจอะไร เรียกว่าพยาบาท คือความขัดใจ ขุ่นแค้น ขัดเคือง หงุดหงิด นี่นิวรณ์ตัวที่สองพอเกิดขึ้น จิตใจของเราก็หมดความปลอดโปร่ง เยือกเย็น นิวรณ์ตัวที่สาม คือความที่จิตเหี่ยวแฟบลงไป คือจิตถอยกำลัง จิตตกต่ำ จิตเหี่ยวแฟบลงไป เรียกว่าถีนมิทธะ รวมทั้งความมึนชา (๕๙:๑๙) งัวเงียด้วยจิตก็ไม่ปลอดโปร่ง มันทำลายจิตไม่ให้ปลอดโปร่ง มันก็ปิดกั้นหนทางของจิตที่จะทำอะไรให้ดีได้ นิวรณ์ตัวที่สี่ อุทธัจจะกุกกุจจะ คือจิตมันฟู ฟุ้ง ฟุ้งซ่านไป ทีนี้ตัวที่ห้า ไม่แน่ใจในอะไร เรียกว่ามีความลังเล พอเราลังเลมันก็สูญเสียความปลอดโปร่งของจิต จิตจะก้าวหน้าไปด้วยดีได้ต้องปลอดโปร่ง ปลอดโปร่ง ถ้ามีอะไรมาขัดขวาง คือมาทำลายความปลอดโปร่ง เมื่อไม่ปลอดโปร่งมันก็ก้าวหน้าไม่ได้ นิวรณ์เขาแปลว่าเครื่องปิดกั้นไม่ให้ก้าวหน้า เราอยู่ด้วยนิวรณ์กันทุกคน ทุกวันตลอดเวลา แต่เราไม่รู้จักมัน เห็นไหม ไปรู้จักมันเสียบ้างจะได้ทำลายสิ่งปิดกั้น สิ่งกีดกั้นเอาไปเสีย จิตจะได้ปลอดโปร่ง แล้วก็จะได้ก้าวหน้า นี่เราจะต้องรู้จักนิวรณ์ที่เกิดอยู่กับเราจริง ๆ ไม่ใช่นิวรณ์ที่จดชื่อไว้ในสมุด หรือว่าได้ฟังเขาว่าคลับคล้ายคลับคลาไม่รู้แน่ ที่จริงมันมีอยู่เต็มที่ในตัวเรา ถ้าว่าเราจะตั้งใจสังเกตเอาเองก็ยังได้ บางเวลาจิตของเราไม่ปลอดโปร่ง เพราะว่ามีความรู้สึกทางกามารมณ์เกิดขึ้น บางเวลาจิตของเราไม่ปลอดโปร่ง เพราะว่ามีความรู้สึกทางไม่ชอบ ทางไม่ชอบเกิดขึ้น บางเวลาจิตมันเหี่ยวหดหู่ งัวเงีย ทรุดต่ำ เราก็ไม่ปลอดโปร่ง บางเวลาก็ฟุ้งซ่าน ฟุ้งเฟ้อสูง ฟุ้งซ่าน เราฟุ้งซ่านไม่มีที่หยุด ไม่มีจุดที่จะสงบ เรียกว่าปิดกั้น คือทำลายความปลอดโปร่ง แล้วก็ปิดกั้นความก้าวหน้าของจิต อันสุดท้ายเรียกว่า วิจิกิจฉา ลังเล อันนี้มีมากที่สุด คนเรามีมากที่สุด คนเราอยู่ด้วยความไม่แน่ใจ ไม่แน่ใจ เราอยู่ด้วยความไม่แน่ใจ ถึงเราคิดว่าเราจะต้องสอบไล่ได้ แต่เราก็ยังมีห่วงว่ามันยังมีส่วนที่ไม่ทั้งหมด มันลังเลอยู่อย่างนี้ เพราะเราทำดีที่สุดแล้วหรือยัง แล้วก็ยังลังเล มันไม่ชัดลงไปว่าเราทำดีที่สุดแล้ว เราจะมีสตางค์ใช้ไหม เราก็อยู่ในความลังเล ในอะไรที่เราตั้งใจไว้มันจะสมหวังไหม เราก็ยังอยู่ในความลังเล เพราะฉะนั้นความลังเลมีทั้งวันก็ได้ ในหลาย ๆ เรื่อง แม้แต่นอนหลับแล้วก็ยังฝันได้ เพราะความลังเล ทีนี้มันเก็บไว้ มันเก็บไว้ ถ้ามันมีความแน่ใจเฉียบขาดลงไปก็สบายมากคนเรา บางทีเราก็ลังเลว่าจะตายหรือไม่ตาย บางทีมันก็ลังเลว่าระหว่างที่ไม่ตายนี้มันจะทำอะไรดี มันจะทำอะไรดี การงานอะไรดี เป็นพระดี หรือเป็นฆราวาสดี ทีนี้มันก็ลังเล แต่มันไม่แสดงความรู้สึกรุนแรง ไม่ขบกัดเจ็บปวด เราก็เลยไม่ค่อยสนใจกัน แต่ความรู้สึกทางกามารมณ์ ความรู้สึกทางพยาบาทไม่ชอบ มันกัด มันกัดพอรู้สึกเจ็บปวด ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่ค่อยรู้สึก เราก็ไม่ค่อยรู้สึก ขอให้รู้จักจุดตั้งต้นของปัญหาของชีวิต ปัญหาชีวิตข้อแรกก็คือสิ่งรบกวนจิต ไม่ให้จิตก้าวหน้า เรียกว่านิวรณ์ มีอยู่ทุกคน มีอยู่ทุกวัน มีอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง ไปรู้จักสิ่งอันแรกนี้เสียก่อนเถอะ แล้วพยายามทำจิตให้ไม่มีนิวรณ์ มีอุบายอย่างไรก็ได้ ทำจิตอย่าให้มีนิวรณ์ ในทางธรรมะ ในทางศาสนาก็มีวิธีมีอุบาย แต่ว่าเราลองคิดเอาเองดูบ้างก็ได้ ทำจิตให้ปลอดโปร่งเยือกเย็นเป็นที่พอใจอยู่เสมอก็จะก้าวหน้า แม้เป็นนักเรียนก็ก้าวหน้าในการเรียน เป็นคนทำงานแล้วก็ก้าวหน้าในการงาน คนที่จะปฏิบัติธรรมะให้บรรลุมรรคผลนิพพานก็ก้าวหน้า บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่อย่ามีสิ่งที่เรียกว่านิวรณ์ นี่ข้าศึกชุดแรก ตัวแรก อันแรกของเราคือนิวรณ์ ทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ แล้วเราก็จะทำงานสนุก เรียนหนังสือสนุก อะไรก็สนุกเพราะจิตมันปลอดโปร่ง จิตปลอดโปร่งปกติที่สุด นิวรณ์ทำให้จิตไม่ปลอดโปร่งในลักษณะต่าง ๆ กัน ๕ อย่างนี้ เราไม่รู้จักแม้แต่ศัตรูชุดแรก ศัตรูชีวิตชุดแรกคือนิวรณ์ แล้วก็ไม่เอามาสอนกัน ไปสอนเรื่องอะไรที่เกินไปเสียอีก ไม่รู้จักแม้แต่นิวรณ์ ซึ่งเป็นของชั้นต้นที่สุด เป็นพวกแรกที่สุดที่ทำลายความสงบสุขของมนุษย์ ที่ปิดกั้นทางแห่งความดีของมนุษย์ ไปศึกษานิวรณ์จากนิวรณ์ จากนิวรณ์ของตนเองที่อยู่ในจิตใจของตนเอง ไปศึกษานิวรณ์จากนิวรณ์ เห็นนิวรณ์ในนิวรณ์ รู้จักนิวรณ์ในนิวรณ์ ในชีวิตจิตใจ และขจัดออกไปเสียให้ดีที่สุด ให้เกลี้ยงที่สุด แล้วเราก็จะมีชีวิตดีกว่าที่แล้วมามากมาย จะก้าวหน้าในทางจิตด้วย อ้าวปิดประชุม ปิดประชุมของพวกเธอ เอ้า อัญชลี วันทนา อภิวาท อัญชลี วันทนา อภิวาท อัญชลี วันทนา อภิวาท หัวหน้าชั้นเป็นคนสั่งให้ทำให้พร้อมกันแล้วสวย แล้วก็ถอยหลังออกไป