แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เรื่องศีลธรรม ก็ยินดีร่วมมือในการปรับปรุง เรื่องของศีลธรรมทั้งทางวิชาและทางปฏิบัติ นี่เขาส่งไอนี่มาให้เรื่อย เอกสารนี่ ส่งมาให้เรื่อยๆ เท่าแต่อ่านดูแล้ว รู้สึกว่าสำหรับตัวเราถ้าจะให้ความเห็นได้ แต่พระก็ให้ความเห็นได้ แต่เป็นหลักการของพระอยู่เหมือนกันแหล่ะ ว่ากันตามวงศาสนาก็มีแบบนี้ คือ หนึ่ง วิชาว่าอย่างไร เรื่องที่สอง ปฏิบัติได้อย่างไร แล้วสาม จะสอนเด็กสอนคนจะสอนอย่างไร ก็ยังช่วยวิพากษ์วิจารณ์ ช่วยเสนอความคิดเห็น เพิ่มอะไรอีก หรือว่าจะตัดอะไรออก ว่าด้วยหลักทั่วไป เราจะมีวิชาให้รู้ แล้วต้องปฏิบัติมันให้ได้ แล้วมันต้องบอกคนอื่นให้ทำตามๆๆ กัน ด้วยกันได้อีก มีอยู่สามข้อ
สามข้อนี้พอหรือยังหล่ะ ครูพุด (พอ) พอ แล้วเติมอีกได้หรือ แล้วครูพุดไม่เติมซะแล้ว (อาจารย์อย่าเกรงใจ อาจารย์จะเติม เติมเลย) หรือว่าจะรวบรัดตัดเอาให้มัน (เอาเลย อย่าเกรงใจเลย) แม้แต่นักเรียนก็มีความเห็นได้ พอ ไม่พอ อย่าคิดว่าเกินวิสัยนักเรียน นักเรียนก็มีความเห็นได้ว่าเราจะช่วยกันทำโลกให้ดีนิ ในการปฏิบัติทางธรรม ทางศีลธรรมนี่ หนึ่ง เรามีวิชาเรื่องนี้ที่ถูกต้อง สอง เรามีวิธีปฏิบัติ และปฏิบัติให้ได้ตามวิชา เพราะว่าต่อไปนี้วิชานี้จะไม่จดอยู่ในสมุดโน้ต ตามความต้องการนี่ แล้วจะบอกเพื่อน บอกเพื่อนให้ช่วยกันปฏิบัติต่อๆ ไปได้อย่างไร ที่จะพูดอย่างทั่วไปของมนุษย์ทั้งโลก เราจะบอกเพื่อน บอกกล่าวเพื่อนให้สนใจ ให้อยากปฏิบัติกันได้อย่างไร แต่ถ้าในขอบเขตของครู วิชาจะสอนมีหลักเป็นอย่างไร วิชาสำหรับที่มีไว้จะสอนมันเป็นอย่างไร หัวข้อมันเป็นอย่างไร แล้วทางปฏิบัติทำได้อย่างไร แล้วครูจะสอนให้สำเร็จประโยชน์ตามอย่างนี้ได้อย่างไร
ยกตัวอย่างให้เข้าใจคำสามคำนี้อีกทีหนึ่ง เรื่องศีล เอาศีลห้านี่แหละ อย่างเป็นศีลเฉยๆ เรื่องศีล มันมีแบบนั้นแหละ ด้วยหลักวิชามันมีแบบนั้น ให้เหตุผลว่าเหตุไรมันจึงต้องมีศีล แล้วถ้าปฏิบัติศีลแล้วมันจะเกิดผลขึ้นอย่างไร ด้วยรายละเอียดมันมีมาก ว่าวิชานี้ ว่าศีลมันมีในโลกมาแต่ครั้งไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วมันปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาอย่างไร แล้วมันมีความจำเป็นสำหรับโลกสมัยนี้อย่างไร อันนี้เป็นเรื่องของวิชา เรื่องทฤษฎีล้วนๆ จำแนกเป็นกี่อย่างกี่ข้อ แล้วว่าอุปมาอย่างไร อะไรอย่างไร มันอยู่ในตัวทฤษฎีหรือว่าวิชา เรื่องศีล ข้อหนึ่ง ครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักศีล ที่เรียกว่าศีลนั้น ก็โดยหลายแง่หลายมุม ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความจำเป็น ด้วยประวัติ ด้วยไรก็ตาม ให้นักเรียนรู้จักเรื่องศีล ยังไม่ได้ปฏิบัติเลยหล่ะ ก็มาข้อที่สอง ลำดับที่สอง ปฏิบัติอย่างไร นี่มันชัดเจนว่าปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติศีล ก็ต้องสอนกันเรื่องว่าควบคุมจิตใจ ควบคุมกายวาจา รู้เท่ารู้ทันของจิตใจที่มันจะทำให้ผิดศีล มันต้องมีธรรมะอะไรบ้าง เช่นความจริงใจ ความอดกลั้นอดทน ความเคารพตัวเอง มันต้องให้สร้างขึ้นมาแล้วก็ปฏิบัติได้ ถ้าปฏิบัติเว้นสิ่งที่ควรเว้นนี่ได้ ในแง่ว่าตัวการปฏิบัติ ไอนั้นมันวิชาและทฤษฎี นี้เป็นตัวการปฏิบัติ เหลือเรื่องที่สาม เป็นเรื่องของครู ว่าครูจะมีวิชาจูงใจเด็กให้มาสนใจได้อย่างไร เพื่อให้เด็กจำได้ง่ายๆ สะดวกอย่างไร แล้วเด็กจะปฏิบัติได้ด้วยความพอใจอย่างไรนี้เป็นหน้าที่ของครู ครูนี้คล้ายเป็นตัวสื่อที่จะดันให้เด็กปฏิบัติ ความรู้มันมีอย่างหนึ่งแล้ว ระเบียบการปฏิบัติมีอยู่อย่างหนึ่งแล้ว แต่มันไม่ปฏิบัติก็ได้ ครูต้องทำให้มันเกิดความสนใจ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจถูกต้องแล้วให้คนทำให้ได้ เพื่อปฏิบัติ หัวข้อแค่ว่าศีลคำเดียวแล้วแยกเป็นสามหัวข้อ หัวข้ออื่นๆ ก็เหมือนกัน ทุกหัวข้อที่เอามาเรียนมาสอน
ถ้าเราจะปฏิบัติสนองความเรียกร้องของกระทรวงแล้ว มันต้องแบบนี้ แบบอื่นมันไม่พอ แบบอื่นมันไม่พอแน่ๆ ถ้าเราจะสนองความต้องการของรัฐบาลของกระทรวง หรือของใครก็สุดแต่แหล่ะ เริ่มมาที่ของมนุษย์นั้นแหละ ต้องมีเรื่องมาเป็นสามสิ่ง แต่แล้วมานั้นเหมือนว่าเราเพียงเอารวมกันไปหมดทุกพูดแหล่ะ พูดว่าไรอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร อะไรอย่างไร ก็มันพูดรวมกันคราวเดียวอยู่ในคำพูดที่จดไว้ในสมุด พูดนี้บ้าง พูดนั้นบ้าง พูดนิด พูดหน่อย ก็รวมๆ กันก็เป็นเรื่องนี้ เป็นความรู้เรื่องนี้ก็จดกันไว้ในสมุด ผลของมันก็คือว่า เด็กของเรายังไม่มีศีลธรรมเลย อันนี้คงยอมกันนะ ก็เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับว่าเด็กของเรายังไม่มีศีลธรรมเต็มเท่าที่เราต้องการ ยกเว้นเด็กบางคน ส่วนน้อย เด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีศีลธรรมในเนื้อในตัวเต็มเท่าที่เราต้องการ ครูพุดว่าไง จริงไม่จริง จริง ไม่อายหรือ เธอไม่ต้องอาย นักเรียนหล่ะว่าอย่างไร รู้สึกว่าเรามีศีลธรรมเต็มตามที่ควรประสงค์หรือควรต้องการ นักเรียนคนไหนก็ได้ที่นั่งอยู่ ว่าตัวเองมีศีลธรรมเต็มตามหลักสูตร หรือว่าเต็มตามความประสงค์ของโรงเรียน ของพ่อแม่ ของสังคม เรามีการประพฤตินะ ไม่ใช่มีความรู้นะ นักเรียนนี้ตั้งใจฟังอีกทีนะ ว่าเรามีการประพฤติทางศีลธรรมเต็มครบบริบูรณ์ตามที่สังคมต้องการ หรือเท่าที่โรงเรียน ครูบาอาจารย์เอามาสอนเท่านั้นหล่ะ ว่าสังคมเค้าต้องการแค่นี้ ถึงเรานักเรียนมีการประพฤติกระทำเต็มครบถ้วนตามนั้นแล้วหรือยัง ว่าเรานักเรียนปฏิบัติศีลธรรมเต็มตามความมุ่งหมาย ตามต้องการของสังคม แล้วก็เอามาใช้เป็นหลักสูตรในโรงเรียน มาสอนกันในโรงเรียน
ให้ยืนยันว่าเรามีการปฏิบัติทางศีลธรรมไม่บกพร่อง ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายแหละ ใครรู้สึกว่าตัวเองเต็มบริบูรณ์ในเรื่องศีลธรรม หรือใครยังรู้สึกว่ายังบกพร่อง ลองคำนวณ ลองพิจารณาคำนวณตัวเอง แต่ว่าข้อนี้มันขึ้นอยู่กับความรู้ของเรา บางทีเรามันรู้น้อย เราคิดว่าเต็มแล้วก็ได้ แล้วตามความเป็นจริงแล้ว เราอาจจะเชื่อว่าไม่เป็นแบบนั้น เรารู้ว่าเรายังไม่ปฏิบัติอยู่อีกมากมาย เรารู้ดีว่าเรายังไม่ได้ปฏิบัติอยู่อีกมากมาย ถ้าเป็นแบบนั้นเข้าใจว่า เรายังมีสามข้อนี้ เวลาก็ล่วงมาหลายนาทีแล้ว ใครนึกออกบ้างว่าควรจะเติมข้อไหนเข้าไปอีก ควรจะเติมอะไรเข้าไปอีก ๑๑.๓๑....... นี้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางปฏิบัตินี้ มีข้อไหนเติมเข้าไปได้อีกให้มันสำเร็จประโยชน์ มีความรู้ มีหลักปฏิบัติ แล้วมีการจูงใจ สั่งสอนให้ปฏิบัติ รวมทั้งโอกาสด้วย อะไร (เรื่องอุปสรรคต่างๆ) อุปสรรคต่างๆ ดีนะ ก็มีปัญหาจริงๆ อุปสรรคจะเกิดขึ้นในการที่จะสอนในการที่จะให้ปฏิบัติ แต่อุปสรรคส่วนไหนที่จะเกิดขึ้นเรารวมเข้าไปในส่วนนั้น อุปสรรคโดยมากควรจะเป็นอะไร ขอถาม อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในหลักการสามข้อนี้ มันจะได้แก่อะไร คืออะไร อย่างไร (ตัวครูผู้สอน) ตัวครูผู้สอน ไม่สามารถหรือ ยังไม่สามารถ (ยังไม่เป็นตัวอย่างที่ดี) หรือหมายความว่าอุปสรรคมันเกิดฝ่ายใคร ฝ่ายครู หรือฝ่ายวิชา ฝ่ายการปฏิบัติ และฝ่ายครู อุปสรรคเกิดขึ้นกับฝ่ายครู ถึงมีอุปสรรคไหนอีก อุปสรรคอะไรอีก
อุปสรรคที่ประสบอยู่จริงนะ (คือตัวผู้สอน) ผู้สอนคือครูไม่สามารถสอน แล้วอุปสรรคที่มีอยู่จริงนั้นคืออะไร (อุปสรรคที่มีอยู่จริงคิดว่าอยู่ที่ตัวผู้ปฏิบัติ) ข้อที่สอง อยู่ที่การปฏิบัติ (การปฏิบัติศีลธรรมนี้นะครับ คือว่ามันต้องระงับ มันไม่ได้สนองกิเลส เพราะฉะนั้นย่อมเป็นการเปรียบเหมือนกลิ้งครกขึ้นเขา) นั้นก็เป็นอุปสรรคอันหนึ่ง เป็นอุปสรรคอันหนึ่ง ซึ่งเราจะถือว่ามันเนื่องมาจากความรู้มันไม่พอ ความรู้มันไม่ค่อยพอ มันจึงเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ (แต่ผมยังมาคิดนะ ความรู้ มีพอแหล่ะแต่ว่าไม่ปฏิบัติ) นั้นแหละ ควรจะแบบนั้นซะ มันไม่ปฏิบัติตามที่รู้ นักเรียนไม่ปฏิบัติตามที่รู้ นักเรียนทุกคนควรปฏิบัติเต็มตามที่รู้ ใครปฏิบัติเต็มตามที่รู้ยกมือสิ นักเรียนทั้งหมดนี่แหละ ใครปฏิบัติเต็มตามที่ตัวรู้แล้ว ใครปฏิบัติเต็มตามที่ตัวรู้ยกมือขึ้นสิ อ้าวไม่ยก ไม่ยกเพราะเหตุไรหละ คือมันรู้มากกว่าปฏิบัตินี่แหละ มันรู้มาก ถึงมันรู้มาก รู้หมดซะด้วยซ้ำไป แล้วไม่ได้ปฏิบัติ นี่แหละคืออุปสรรคที่คนมองแล้วสะดุดเป็นข้อแรก เป็นอุปสรรคทั่วไปในทางศาสนา ในทางไหนก็ตามแหล่ะ ทั่วโลก มันอยู่ที่ว่า ไม่ได้ปฏิบัติ ตามแต่รู้ เท่าที่รู้ สาเหตุนี้เหมือนกัน อุบาสก อุบาสิกาทั่วไป พลเมืองทั่วไป รวมทั้งนักเรียนด้วย ไม่ได้ปฏิบัติเต็มตามที่รู้ นี้เป็นอุปสรรคในรูปที่แสดงออกมา แล้วเหตุไรจึงเป็นอย่างนั้น จึงเป็นอย่างนั้น ก็นำมาสู่ข้อที่ว่า เพราะมันบังคับกิเลสไม่ได้ มันไม่ทวนกระแส เป็นเอาตามกิเลส มันเลยไม่ปฏิบัติทั้งที่รู้ ทั้งนั้นเป็นปัญหาทั้งโลก ทั้งโลกทุกศาสนา และทั้งโลกทุกประเทศ คนยิ่งเจริญด้วยวัตถุ ยิ่งหลงใหลในวัตถุ แล้วยิ่งไม่ปฏิบัติทางศีลธรรม เพราะมันทวนกระแสกัน มันกลับกันอยู่ นี่น่าจะได้ทำความเข้าใจแก้ไขกันเสียแต่เล็กๆ ก็จะดีนะ มันจะดี แก้ไขเด็กๆ ให้จริงใจในการปฏิบัติ ให้เต็มมาที่รู้ เราก็ไม่ได้สอนให้มันเฟ้อไปนัก เราก็ไม่ได้สอนให้มันเฟ้อไปนักที่จริง ควรจะสอนมากกว่านี้ นี่ถ้าเอาตามหลักสูตรปฏิรูปใหม่ มันมากกว่านี้เรื่องที่นักเรียนต้องรู้ เมื่อก่อนเราก็ไม่ได้สอนมากเท่านี้ แต่แล้วนักเรียนก็ไม่ได้ปฏิบัติเต็มตามที่เราสอน ถ้าเราจะเพิ่มไอวิชาเข้าไปอีก ไม่เป็นตามที่เราสอนมากจะอย่างไร แล้วต้องแก้ปัญหาข้อนี้ด้วย นั้นเป็นวิชาครูโดยตรงนะ ครูต้องสามารถจูงใจ ๑๗.๐๐ .... จะจูงใจทำให้สนุกสนาน ได้ให้มันปฏิบัติได้เต็ม ไอ้ข้อนี้ก็สำคัญเหมือนกัน เป็นหลักของพระพุทธเจ้า เผื่อท่านที่ยังไม่ทราบ บางคนที่ยังไม่ทราบ หลักของพระพุทธเจ้านั้นมีว่า การสอนนั้น ต้องทำให้กล้าหาญ และทำให้ร่าเริง มีหลายคำ แต่สรุปความแล้ว ทำให้กล้าหาญ ทำให้ร่าเริง พูดง่ายๆ ให้สนุก ให้รู้สึกสนุก ให้รู้สึกร่าเริง กระปีกระเป่าขึ้นมาทีเดียว ทำให้เชื่อนั้นว่าทำให้กล้าหาญ กล้าปฏิบัติเพราะมันเชื่อ ถ้ามันเชื่อแล้วมันก็กล้าหาญแล้วก็ปฏิบัติ คำสอนต้องปลุกให้กล้าหาญและเชื่อ และคำสอนต้องปลุกให้มีความร่าเริง ข้อนี้เข้าใจว่าครูคงพยายามกันอยู่แล้วนะ แต่คงไม่สมบูรณ์นะ แต่จะทำให้เต็มที่สมบูรณ์ว่านักเรียนเชื่อเต็มที่ และกล้าเต็มที่ สนุกสนานร่าเริงในการปฏิบัติ นั้นก็เป็นเรื่อง เป็นเรื่องที่ว่าปรับปรุงของที่ทำอยู่แล้ว ปรับปรุงของที่ทำอยู่แล้ว วิชาที่สอนต้องให้ง่าย เด็กเข้าใจง่าย ฟังง่ายแล้วจะเข้าใจ แล้วจะสนุกไม่ชวนง่วง ในที่สุดเชื่อ เห็นด้วย แล้วจะพาให้ร่าเริงแล้วก็ปฏิบัติ นี่แหละคือวิธีของพระพุทธเจ้า ถ้าวิธีนี้ไม่มา คือไม่ถูกนำมาใช้แล้วนะ น่ากลัวว่าเราจะทำไม่ทันแน่ เราจะทำไม่ทัน ในการที่จะสอนเรื่องมากๆ ให้นักเรียนรับเอาไปแล้วปฏิบัติ เพราะว่านักเรียนนี่มันไม่สนุกนี้ มันไม่สนุก ไม่กล้าหาญ ไม่ร่าเริง ไม่เชื่อ มันไม่สนุก ไอ้ของมากมันก็จะมากเป็นภูเขาเลากานี่เหละ ถ้าเราทำให้สนุก รับเอาๆๆ ปฏิบัติเอาๆ มันก็จะน้อยลง
แล้ววันนี้เราพูดถึงอุปสรรคนะ ถ้าจะเพิ่มเข้าไปอีกเป็นหลักการอีกข้อหนึ่ง หรือว่าจะให้คำว่าอุปสรรคมันรวมอยู่ในสามข้อนั้น คือ หนึ่งวิชา สองวิธีปฏิบัติ สามการสอน การชักจูงให้คนปฏิบัติ ถ้าพิจารณาแล้ว อุปสรรคมันจะมีอยู่ทุกข้อ ทั้งสามข้อนี้มันมีแง่ที่เป็นอุปสรรคอยู่แล้วทั้งสามข้อ วิชาไม่เพียงพอนี้ก็อุปสรรค วิธีปฏิบัติ มันปฏิบัติไม่ได้ หรือมันไม่อยากจะปฏิบัติ หรือมันปฏิบัติไม่ได้ มันก็เป็นอุปสรรคส่วนการปฏิบัติ แล้วถึงครูไม่สามารถ ไม่รู้จักชักจูง ก็เป็นอุปสรรค ในใจก็อยากให้รวมอุปสรรคไว้ในสามข้อนั้น เพราะอุปสรรคมันประปรายทั่วไปหมดทั้งสามข้อ (ไม่ต้องแยก) อือ ไม่ต้องแยก ลงไว้ว่าไม่ต้องแยก (ต้องหาวิธีแก้) ต้องหาทางแก้ในสามข้อนั้น และเรามาพิจารณาอุปสรรคว่า การเรียนไม่สมบูรณ์ สอนไม่สมบูรณ์ ไม่สมบูรณ์ตามลำดับนั้นๆ ชั้นประถม ชั้นมัธยม ชั้นอุดม ไรก็ตาม มันไม่สมบูรณ์ เป็นอุปสรรค เพราะความที่ไม่สมบูรณ์ คราวนี้มาถึงตัวปฏิบัติ มันปฏิบัติไม่ได้ ก็มี ปฏิบัติไม่ได้เพราะสอนไม่สมบูรณ์ไม่ถูกต้องก็มี เพราะสอนผิดก็มี แต่ถ้าประยุกต์ได้ ที่สอนไรแบบนี้ applied ได้ หมายความว่ามันสอนมาถูกต้อง มันจึงปฏิบัติได้ เราจะต้องจัดให้การสอนมันถูกต้อง ไม่เหลืออยู่เป็นอุปสรรค ในการปฏิบัติ แล้วก็จะมีอุปสรรคน้อยมาก ก็จะทำให้อุปสรรคส่วนปฏิบัติแท้ๆ น้อยลง ก็ต้องสร้างไอ้คุณสมบัติแก่ ช่วยให้ปฏิบัติได้เพิ่มเติม ช่วยกันด้วย นี้อาจารย์ลองสังเกตดู ไอ้วิชามันถูกแล้ว สอนพอแล้ว สำหรับปฏิบัติ แต่คุณธรรมอันอื่นที่ช่วยให้มีการปฏิบัติ มันยังไม่พอ มันไม่จริงใจพอ ไม่อดทนพอ ไม่เคารพตัวเองพออะไรแบบนี้แหล่ะ มันทำให้ปฏิบัติได้ ทำอย่างนี้เพิ่มเข้ามา จับหลักวิชาให้ถูกต้องเอาเป็นว่าปฏิบัติได้ เป็นอันว่าไม่มีอุปสรรคในข้อปฏิบัติ
อันนี้ข้อที่สาม อุปสรรคที่ครูนี้ อย่าอาย อย่าเสียใจนะ ถ้าพูดนี่นะ ว่าครูจะต้องไม่บกพร่อง ไม่บกพร่องในการทำหน้าที่ ครูใจนะ ไม่ได้สอนนะ อย่าอายนะ ครูสอนนะ มันสอนๆๆๆ ศีลธรรมนะ สอนๆๆๆ นั้นมันเรื่องการเมือง หมายถึงครูจะกระตุ้น จะผลักดันให้นักเรียนปฏิบัตินี้ มันไม่ใช่เรื่องสอนนะ มันคนละเรื่องที่ได้ยกมาเป็นเรื่องที่สาม นั้นมันวิธีสอน วิธีผลักไสผลักดันให้นักเรียน ปฏิบัติด้วยการจูงใจก็ตาม (อันนี้เป็นบุคลิกภาพของครู) แล้วมันหามาแต่ไหน บุคลิกภาพ มันต้องสร้างขึ้นไม่ใช่หรือ บุคลิกภาพถ้าจะรอให้เป็นเอง มันจะไม่รอไหวหรือ มันต้องสร้างขึ้น เพราะนั้นก็ต้องพูดกันในข้อนี้ ความเป็นครู นั่งขัดสมาธิเถิด อย่าไปนั่งพับเพียบเลย นอกเรื่องหน่อยนะ ในอินเดียที่เก่าๆ เกินพันปี ในที่ประชุมของพระพุทธเจ้า พระนี้นั่งขัดสมาธิ ในอินเดียที่เก่าๆ ตั้งพันกว่าปีแล้ว นั่งประชุมกัน พระบางองค์นั่งขัดสมาธิก็มี เขาไม่ได้ถือว่าท่านั่งนั้นมันสำคัญเหมือนในเมืองไทย ในเมืองไทยนั่งพับเพียบ ฝรั่งนั่งไม่ได้เลย เพราะงั่นนั่งตามสบายเลย ขัดสมาธิเถิด
(๒๕.๔๖..เรื่องความหมายทั้งหมดนี้ อยู่ที่จุดประสงค์ที่ต้องการ ถ้าเราต้องการอะไรแล้วก็ต้องพยายามไปจุดตรงนั้นให้ได้ ถ้าเด็กสมัยนี้ ถ้าเรา.....) นั่นแหละคือข้อเท็จจริงในปัจจุบัน (๒๖.๑๑.....ถ้ามันต้องการมันก็ดิ้นรนมาได้ เหมือนวันนี้มันอยากจะมามันก็มาได้ ..) ไม่ต้องการก็ไม่มา (๒๖.๒๑ แล้วศีลธรรมอีกอย่างหนึ่ง ดูที่จุดประสงค์ที่ทำ ศาสนาหรือความพอใจ.....อยู่ที่ตั้งจุดประสงค์ให้เด็กหรือครู.....) นั้นแหละ นั้นแหละ เป็นข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ที่เกิดขึ้น มากขึ้นๆ ในยุคสมัยนี้มีสิ่งมาดึงดูดใจคนไม่ให้มาสนใจในศีลธรรมในศาสนามากขึ้น ปัญหาข้อนี้จะบรรจุในข้อไหนในสามข้อ ปัญหาในทุกเรื่องหรือ จะบรรจุไว้ในสามข้อไหน ในวิชา ในการปฏิบัติ หรือในครู มอบเป็นหน้าที่ของใครหล่ะ ก็ต้องครูไปแก้ไขนักเรียน เป็นหน้าที่ของครู ไปโทษนักเรียนไม่ได้ ต้องมอบให้ครูไปแก้ไขนักเรียนที่ไม่สนใจให้มาสนใจ (สำหรับความสนใจของครูก็ถูกต้อง ตามหลักวิชาครู ก็มีหาวิธีจูงใจเด็ก เรียกว่าการจูงใจภายนอก การจูงใจภายใน การจูงใจภายในก็ได้แก่การสรรเสริญเยินยอ จูงใจภายนอกก็ได้แก่จัดรางวัล จัดคะแนนให้ ทำนองนี้แหละครับ ใครปฏิบัติศีลธรรมดีก็ให้รางวัลเป็นตัวเดือน ระยะสิบห้าวัน เป็นตัวปี ก็แล้วแต่ ถ้านี้ทุน นักเรียนอาจจะพยายามเพื่อจะเอารางวัลนั้น แต่ว่าไม่ใช่ทำ ผลที่ได้เพื่อไปหารางวัล ไม่ใช่ แต่การปฏิบัติบ่อยๆ ครั้ง นั้นแหล่ะจะเป็นนิสัยของเด็กเอง โดยไม่รู้ตัว ที่นี่หาว่าเด็กพุนพินนิสัยกระด้าง เมื่อไม่ต้องการที่ประพฤติตาม เราก็ต้องมีบทลงโทษเช่นเดียวกันกับที่บ้านเมืองถืออยู่ทุกวันนี้ บ้านเมืองถืออยู่ทุกวันนี้เราก็รู้อยู่แล้วว่า หนึ่ง ถือด้วยอำนาจศาสนา ไม่ทำความชั่วทั้งต่อหน้าและลับหลัง ที่นี่บางคนก็อยู่ด้วยอำนาจกฎหมาย พอลับหลังก็ทำความชั่ว ต่อหน้าไม่ทำ เพราะนั้นนักเรียนที่นิสัยกระด้างพลันนี้ เราก็มีบทลงโทษไปบ้าง เมื่อถูกลงโทษบ่อยๆ อาจจะกลับตัวเป็นคนดี กลายเป็นเพชรที่ดี กลายเป็นคนดีได้ สำหรับวิธีการลงโทษก็เป็นแบบนี้)
อันนั้นเป็นวิธีการอันหนึ่ง ในหลายๆ วิธีการที่แก้ไขนักเรียนที่ไม่เอาถ่าน แก้ไขนักเรียนที่ไม่เอาถ่าน ถ้านั้นก็คือว่าเป็นหลักที่เราๆ ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นหลักทั่วไปในโลก ในเรื่องจูงใจ คำว่าจูงใจความหมายมันกว้าง แม้แต่การขู่เข็ญก็เป็นการจูงใจ การปลอบโลมก็เป็นการจูงใจ การล่อการอะไรก็เป็นเรื่องการจูงใจ เป็นวิชาครูก็ไปค้นเอาเอง ในฐานะเป็นการแก้อุปสรรคในข้อใดข้อหนึ่งในสามข้อ เห็นว่านี้เป็นเรื่องสำคัญมากและขอให้สนใจให้มาก ให้ทำอย่างที่เรียกว่า รักนักเรียนเหมือนกับลูกหลาน หรือว่าเราต้องการจะทำให้มนุษย์ทั้งโลกมันดีขึ้น ก็ต้องสนใจพิเศษในข้อนี้ อุปสรรคที่นักเรียนไม่สนใจ อุปสรรคคือการที่นักเรียนไม่สนใจนี้ มันอยู่ในข้อไหนในสามข้อที่ได้พูดไว้แล้ว แล้วจะมาขอความช่วยเหลือ มาช่วยกันซักฟอกว่าไอ้สามข้อนี้ มันพอหรือไม่พอนะ ช่วยกัน ถ้าไอ้สามข้อนี้มันพอแล้วก็ได้เขียนลงไปเลย เสนอแนะเลย ว่าในสามข้อนี้ วิชามันไม่พอ การปฏิบัติ กำลังใจในการปฏิบัติมันไม่พอ หรือว่าครูไม่สามารถ การในเวลานี้ปรากฏว่ายังมีนักเรียนที่ไม่สนใจ คือไม่เอาถ่านอยู่มากนี้ มันเป็นอุปสรรคในข้อไหนมันเกิดในข้อไหน ในสามข้อนี้ มันเกิดอยู่ในข้อไหน เพราะความรู้ไม่พอ หรือไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติ หรือว่าครูไม่สามารถ อะไรมันไม่พอ (ทั้งสามข้อ) ทั้งสามข้อ นั้นแหละ อาจจะออกมาได้จากทั้งสามข้อนั้นแหละ ได้จากทั้งสามข้อ (๓๑.๒๓ ความรู้.......) อ้า นี่มันเด็ก เรามันยอมรับแหล่ะว่ามันรู้มาก แต่มันไม่ได้ปฏิบัติ นี้จะทำแบบไหนดี (๓๑.๓๕....) สอนกันจริงๆ มันรู้มาก แต่มันไม่ได้ปฏิบัติ นี้ต้องพูดกันให้เป็นส่วนเดียว ทุกโรงเรียนแหละ เป็นของครู ครูทุกๆ คนมองเห็นข้อนี้ เข้าใจจริงแบบนี้แหละ (๓๒.๐๒ เหตุผล กระผมว่า ถ้าเมื่อสมัยก่อนนั้น เขามีการสอนถูกหลักสูตรดี แล้วก็มันวิชาครบ .....) ไอ้การสอนศีลธรรมนั้นมีมาแต่โบราณ ใช้กันทุกประเทศ มีเรื่องจูงใจระยะยาวตั้งแต่ต้นจนปลาย จูงใจโดยการกล่อมนิสัย ให้เพิ่มนิสัยขึ้นมาเอง ทีละน้อยๆ โดยไม่รู้สึกตัว มีนิทานอีสบ นิทานสุภาษิต นิทานอะไรต่างๆ ครบทั้งทุกชาติ ทุกภาษา ต่างๆ นานา จริงนะ ข้อนี้ต้องยอมรับว่าเราละเลยวิธีนี้ไปเสียมาก วิธีนี้ถูกละเลยไปเสียมาก เอาอื่นมาแทน เป็นแบบสอนงานของเด็กสมัยนี้ แบบไม่มีจริยธรรม ศาสนาแทรกปนอยู่ โดยเฉพาะของไทยเรานั้น ของคริสเตียนยังมีนะ ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่คนเขาเอาไปพูดถึง ว่าแบบเรียนนั้น แบบเรียนนั้น ในหัวข้อที่หนึ่ง คือความรู้ แบบเรียนให้ความรู้ แบบเรียนของเราขาดวิธีจูงใจอย่างลึกซึ้งในแง่ของจริยธรรมในศาสนา โดยเฉพาะบทเรียนที่เป็นวิชาที่สอนธรรมจริยานั้นหายไป หนังสืออ่าน หนังสือสอนอ่าน เรื่องอะไรแบบนี้ กระทั้งเรื่องปัจจุบันเรื่องอาชีพมันมากเกินไป มันไม่สมส่วน มีความผิดพลาดในแง่ของวิชา ตำรา มีผลทำให้เด็กกระด้างต่อจริยธรรม ต่อศีลธรรม แล้วก็ไม่อยาก ไม่ยอมจะปฏิบัติศีลธรรม เอาแต่วิชาถูกใจที่ว่า หลักสูตรกำหนดให้เรียน กำหนดให้เรียนที่ว่าเอาคะแนน ถ้าไม่มีหลักสูตรให้เรียนก็ไม่ต้อง เป็นความผิดพลาดของใครหรือ ข้อนี้เป็นความผิดพลาดของใคร เป็นความผิดพลาดของใครหล่ะ ครูพุด ถ้าว่าของกระทรวง เราก็ไปทำอะไรกระทรวงได้ อึ เราไปทำไรกระทรวงได้ เราก็ต้องทำของเราแหละ เราหาให้นักเรียนอ่านนอกเวลาแหล่ะ เราได้จัดให้นักเรียนได้อ่านได้ฟังได้ยินนอกเวลา ให้นักเรียนอ่านหนังสือสอนอ่านนอกเวลา ว่ายังไง (๓๔.๓๒ ตามความรู้สึกของผม .... ปัญหาสำคัญประการแรกคือปัญหาสังคม ปัญหาของผู้ใหญ่เป็นอุปสรรค ..... ผู้ใหญ่ทั่วไปเป็นผู้ชักนำให้เด็กประพฤติตาม อันนี้กระผมเชื่อว่าเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์.......) อันนี้เป็นข้อเท็จจริงหรือเปล่า ทุกคนเห็นว่านี้เป็นข้อเท็จจริงหรือ (ผมสนับสนุนว่าเป็นข้อเท็จจริง) เป็นข้อเท็จจริงหรือ (๓๖.๑๖ ..........สังเกตว่าพระกำลังสวดเจริญพระพุทธมนต์ ข้างล่างก็กินเหล้ากันสนุก นี่ปัญหาอันนี้แหล่ะครับ) อันนี้พวกเราว่าเป็นข้อเท็จจริง เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง (เด็กสูบบุหรี่ไม่ได้ ผู้ใหญ่สูบได้) ถ้าอุปสรรคอันนี้เข้าไม่ได้ในสามข้อก็ต้องเพิ่มอีกข้อหนึ่ง (ปัญหาสังคม) อือ ใช่ปัญหาสังคม มันจะไปเข้าว่า ความรู้ไม่พอ ปฏิบัติไม่ดี หรือว่าครูไม่เก่ง (ผมว่าถ้าให้แยกออกมา อุปสรรคและสิ่งจูงใจ) สิ่งแวดล้อมแบบนี้แหละ เป็นคำเดียวพอ (สิ่งแวดล้อมแหละ มันจะหนักที่สุด) นั้นแหละมันจะอีกข้อหนึ่งอีก ถ้าว่าวิชาไม่พอมันก็ไม่ใช่นะ นี้มันสิ่งแวดล้อม เพราะว่าการปฏิบัติ ไม่รู้เรื่องการปฏิบัติ มันไม่ใช่ของนักเรียนนะ ต้องพ่อแม่ ต้องผู้ปกครอง ต้องสังคม เนื่องว่าครูบกพร่อง ได้ๆ ก็เติมเข้าไป เอาหล่ะ ถ้ามันเป็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่งที่แยกออกไป ใครจะแก้ นอกจากครู (ผู้ใหญ่แหละต้องแก้ ต้องช่วยกันแก้ ผมว่าหลักสูตรมันดีขึ้นแล้ว ถูกต้อง ครูก็มีอยู่แล้ว ครูสอนศีลธรรมนั้นนะ แต่ว่ายังมีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ว่ามันไม่ช่วยเหลือไม่เสริม ในการปฏิบัติ ) แล้วนี้เราไม่ต้องเขียนเพิ่มเข้าไปอีกข้อหนึ่งหรือ แล้วจะเอาไปให้กระทรวงได้หรือ กระทรวงจะมีหน้าที่อะไรที่จะจัดการกับสิ่งเหล่านี้หล่ะ มันไม่ใช่เรื่องของกระทรวงมหาดไทย (ผมว่า กระทรวงศึกษากับกระทรวงมหาดไทยก็ต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขอันนี้ กระทรวงศึกษาก็แก้หลักสูตร มาดำเนินวิธีการแบบนี้ แต่ทางมหาดไทย ยังปล่อยให้ภาพยนตร์ที่ผิดกับศีลธรรมออกมาเรื่อยๆ ฝ่ายหนึ่งแก้ฝ่ายหนึ่งส่งเสริม ส่วนน้อยแก้ ส่วนใหญ่ไม่แก้ มันก็ไปไม่ได้ ) คือว่าเป็นอุปสรรคอันหนึ่ง เรายกศีลธรรมของเยาวชนไม่ได้ แล้วมันไม่อยู่ในสามข้อนั้น เขาไม่ทำจริง เขาไม่ทำจริง เขาแก้ไม่สำเร็จ เหมือนไม่ได้แก้ (เจ้าหน้าที่ ที่อยู่กองส่งเสริม ต้องการเงินต้องการทองเพื่อที่จะได้ลาภ) ไอ้กองส่งเสริมมันชอบเสียเองแหละ ไอ้วิทยุเลวๆ มันส่งมาเพราะเจ้าหน้าที่มันชอบนี่ ไอ้วิทยุเลวๆ ที่ส่งมาเพราะเจ้าหน้าที่มันชอบ ใครจะแก้ได้หล่ะ ผู้ใหญ่มันไม่ชอบ บางที แต่ควบคุมไม่ได้ เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยชั้นผู้ส่งมันชอบ แล้วนั้นมันส่งออกมาๆ มันกลายเป็นเรื่องแขนงแยกไปแล้ว ความรู้ถูกต้อง การปฏิบัติถูกต้อง ครูถูกต้อง ครูดี แต่สภาพแวดล้อมยังเป็นอุปสรรคอยู่มาก แล้วจะให้กระทรวงศึกษาจะรับผิดชอบได้หรือ (ขอความร่วมมือไป) ครูยังสามารถแก้ปัญหานี้ได้หรือ (ครูแก้ไม่ได้) แก้ไม่ได้ (ครูก็แก้ได้แบบนี้ แก้ในการสอน) แก้ในการสั่งสอนหรือ (หนังก็ให้ดูแต่ดีๆ ที่ไม่ดีก็อย่าเอามา) นั้นแหละ ครูมีส่วนที่สั่งสอน ชักจูง ชี้แจง ให้มาในทางที่ถูก แต่แล้วปรากฏว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมันมีอิทธิพลมากเกิน หนักครู เกินกำลังครู
(เด็กได้รับการอบรมมาดีแล้ว) อย่าลืมว่าหัวข้อของเราที่เขามอบหมายมานั้น เขาให้ช่วยผดุง ยกสถานะทางศีลธรรมของเด็ก ให้หัวข้อไว้แบบนั้น ว่ามีวิธีการอย่างไร ในการทำให้มีศีลธรรม ถ้าว่ามีความรู้ถูกต้อง มีการปฏิบัติถูกต้อง มีครูที่เหมาะสมที่ดีชักจูง ที่ต้องแก้ไขอุปสรรค สิ่งแวดล้อม (๔๒.๐๐ กระผมขอเสนอวิธีสอนอีกอย่างหนึ่งครับ .... คือการฟังบางทีมันก็ผ่านพ้น แต่ถ้าทำให้เห็นกับตามันก็จะติดนาน คือการปิดป้ายให้เห็นอุดมคติ ติดไว้ตามข้างบริเวณโรงเรียน ข้อคิดทางศีลธรรม ข้อคิดทางอนามัย อะไรแบบนี้ ติดไว้หลายๆ อย่าง ตามโรงเรียน เด็กเห็นบ่อยๆ ก็จะได้ซึมซับ ..... จะได้ปฏิบัติ ...) มันรวมในข้อหนึ่งแล้ว รวมในข้อหนึ่งที่คำสอนที่ถูกต้อง คำสอนที่ถูกต้องและเพียงพอ รวมอยู่ในข้อหนึ่ง เป็นรายการปลีกย่อยของข้อหนึ่ง เรื่องนี้ดีแหละ ขอรับรองว่าดี ตัวเราเดินไปในที่ที่เขาติดป้ายสุภาษิต ธรรมะไว้ตามต้นไม้นั้น โดยเฉพาะที่วัดอุโมงค์ที่เชียงใหม่ จำได้หลายข้อ เราก็จำได้หลายข้อ (๔๓.๑๗....) โฆษณาจริยธรรม อันนั้นเป็นข้อปลีกย่อย ได้รวมอยู่ในความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอ หนทางที่ได้ยินและฟัง
แล้วถ้านี้ ข้อที่ว่าเรามีความรู้ เรามีการปฏิบัติ เรามีผู้สอนที่ดี ผู้ช่วยเหลือดีกว่า คราวนี้ขอพูดเรื่องธรรม เรื่องธรรมที่อยากพูด เรามีความรู้ถูกต้องเพียงพอ เรามีการปฏิบัติที่ปฏิบัติได้จริง ได้ถูกต้องเพียงพอ แล้วคงหมายถึงครูที่ใช้คำว่า มีการสอนที่ดี มีการจูงใจที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีการสนับสนุนที่ดี มีการให้โอกาสที่ดี ความหมายมันมาก แต่เราใช้คำว่ามีครูผู้สอนที่ดี ที่มีการสั่งสอนที่ดี แล้วการสอนมันไปอยู่แล้วที่ข้อหนึ่งนะ ที่ว่าได้ความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอ การปฏิบัติต้องทำให้ปฏิบัติได้ และครูก็มีวิธีที่จะให้สำเร็จประโยชน์ตามนั้น เป็นทั้งผู้สอนเป็นทั้งผู้เกลี่ยกล่อม สนับสนุน จูงใจ และเป็นเพื่อน ทางธรรมะเขาเรียกเพื่อน อาจารย์สอนศาสนา เขาเรียกกัลยาณมิตร เขาไม่ได้เรียกครู ในคำบาลีนั้น ในคัมภีร์บาลีนั้น เรียกอาจารย์ที่สอนศาสนาว่า กัลยาณมิตร งั้นครูเรานี้ ลองเอาความหมายนี้ไปใช้ ครูนั้นเป็นกัลยาณมิตร แล้วจะตรงตามหลักทั้งทางพระ และทางศาสนา เป็นแต่ผู้สอน ผู้ควบคุมอย่างเดียวมันน่ากลัว เป็นทางเพื่อนที่ดี พระท่านว่านั้น ทุกอย่างแหละ ทำหน้าที่ด้วยความรักความพอใจ ความยินดี เป็นที่ปรึกษา เป็นครูในความหมายว่าเป็นเพื่อนที่ดี นี่แหละน่าจะต้องเอามาใช้ มีสอนไหมในตำราวิชาครู ครูมีหน้าที่เป็นเพื่อนที่ดี (มี) มีแล้วก็ได้ นั้นแหละก็ได้แล้ว ครูเป็นเพื่อนที่ดี เป็นกัลยาณมิตร เพราะถ้าเป็นเพื่อนที่ดีมันจะเสียสละมาก ครูจะเสียสละมากทีเดียวถ้าเป็นเพื่อนที่ดี
นี่ยังงงๆ อยู่ ยังอึดอัดอยู่ อีกข้อหนึ่ง เติมขึ้นมาข้อหนึ่งเถิดว่า ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี บุคคลที่สอนนี้ ต้องมีสภาพที่ดี โอกาสที่ดี ช่วยอีกแรงหนึ่ง จึงจะยกสถานะทางศีลธรรมขึ้นมาได้ (เพิ่มสิ่งแวดล้อม) นั้นแหละ สภาพแวดล้อม เขาไม่โห่นะ เสนอไปแล้วเขาโห่ ก็ไม่ไหวนะ
ที่นี่ที่ได้ก็สี่ข้อ ข้อที่หนึ่งมีความรู้ถูกต้อง ข้อที่สองคือการปฏิบัติได้ ข้อที่สามมีครูผู้ชักจูงที่ดี แล้วข้อที่สีนี่ ต้องได้รับการร่วมมือรอบด้าน ในการแก้ไขสภาพสิ่งแวดล้อมให้ถูกต้อง แต่ว่าข้อนี้มันอยู่นอกวิสัยของครู เราจะใส่เข้าไปอย่างไร ไม่รู้ว่าทรวงมหาดไทยตอนนั้น ได้ใส่เข้าไปในคำแนะนำแล้วไม่ เลยงงขอบเขตที่เขาให้มา เป็นการเสนอภาคผนวก ก็เสนอ เอาได้อะไรบางอย่างแล้ว
เราจะขอทดสอบอะไรบางอย่าง จะพูดกับนักเรียนบ้าง ก็นั่งหลับกันบ้างแล้วนะ เท่าที่นักเรียนมีความรู้ เท่าที่นักเรียนมีความรู้เวลานี้ มีใครเรียนมัธยม (มีครับ) ถ้านักเรียนมีความรู้ในเวลานี้นะ นักเรียนใหญ่ๆ นะ นักเรียนชั้นปลายๆ นะ นิพพานนั่นคืออะไร เอาเลยตอบได้เลย เอาเลยถ้านึกได้ก็ตอบเลย ไม่ต้องรอให้ชี้ นิพพานคืออะไร เอานี่ไม่รู้สักคนเลยเหรอ เอาใครตอบได้ ใครพอรู้ยกมือที ตอบเลย ตอบเลย รู้มาก รู้น้อย ตอบเลย ว่านิพพานคืออะไร นักเรียนชายก็ได้ หญิงก็ได้ เขามีในบัญชีรายนาม นิพพาน โลกกุตระ หรือธรรมสัจจะนี่แหละ นิพพานคืออะไรเท่าที่รู้ในเวลานี้ตอบเลย (นิพพานคือการหลุดพ้นจากสิ่งทั้งหลาย) ไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ถนัด นิพพานว่าให้ดังอีกสักนิด (นิพพานคือการหลุดพ้นจากสิ่งต่างๆ ในทางโลก) คือหลุดพ้นจากอะไรนะ (สิ่งต่างๆ ในทางโลก) นิพพานคือการหลุดพ้นจากสิ่งต่างๆ ในทางโลก ว่าเท่านั้นแหละ นิพพานคือการหลุดพ้นจากสิ่งต่างๆ ในทางโลก รู้สึกตอนไหนหล่ะ ใครอีกๆๆ (นิพพานแปลว่าเย็นทั่วๆ ไป) เอา นิพพานแปลว่าเย็นทั่วๆ ไป ไปจำใครมาพูด หรือว่ารู้ได้เอง ว่านิพพานคือเย็นทั่วๆ ไป เอา ใครอีกๆ ตอบอย่างอื่นนะ ใครอีก ไม่กล้าตอบเลย คือไม่กล้าแสดงความรู้ หรือความรู้สึกที่รู้อยู่แล้ว เคยเรียนมาแล้ว เขาจะบรรจุคำว่านิพพาน เรื่องของนิพพานไว้ในม.ศ.สี่ ม.ศ.ห้า โน้น แต่เรามาถามดูนี่แหละ แล้วจะทำกันอย่างไร มีหลักวิชาว่าอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไร เรื่องสอนนี่ ครูจะสอนอย่างไร จะสอนเรื่องนิพพานนี้จะสอนอย่างไร เรื่องของนิพพานว่าไปนี่ แล้วจะปฏิบัติอย่างไร สิ่งที่ครูจะสอนเรื่องนี้อย่างไร แล้วถ้าเด็กๆ ว่านิพพานคือการหลุดพ้นจากทางโลกให้หมด มันเป็นข้อความที่ใช้คำไม่สมบูรณ์ หลายนาทีแล้ว เอาใครอีก ใครจะตอบว่านิพพานคืออะไร นักเรียนชายบ้างก็ได้ นักเรียนหญิงตอบสองคนแล้ว นักเรียนชายบ้างเถิด นิพพานคืออะไร เสียชื่อโรงเรียนพุทธนิคม ถ้างั้นเราถามแบบนี้นะ ถ้าเรายกนิพพานออกเสีย พุทธศาสนาจะเป็นอย่างไรบ้าง ใครตอบได้ เอาให้เวลาหนึ่งนาที ถ้าเรายกเรื่องนิพพานออกเสีย พุทธศาสนาจะเป็นอย่างไรบ้าง ครูสอนไม่เป็น ครูสอนไม่เป็น ครูสอนไม่ดี นักเรียนขี้ขลาดหมด จะสอนศีลธรรมกันอย่างไร (เด็ก ม.ศ.สี่ นี่ยังไม่สอน สอนแต่ ม.ศ.ห้าอยู่นิดเดียวเท่านั้น) เอาตอบจากสามัญสำนึก ให้นักเรียนตอบจากสามัญสำนึกว่าถ้าเอานิพพานออกเสียแล้วพุทธศาสนาจะเป็นอย่างไรบ้าง เอาตรงนี้แหละ ปรึกษากันนานแล้ว ตามความรู้สึก พามาทั้งทีไม่เกิดประโยชน์ไรเลยถ้าอย่างนั้น เขาเชิญนักเรียนมาทั้งทีไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ตอบเลย ตามความเห็นไม่ใช่ว่าใครจะทำไรได้ ไม่กล้าตอบ พุทธศาสนาจะหมดความเป็นพุทธศาสนาหรือไม่ หรือจะเหลือซักครึ่ง จะเหลือซักเสียวอะไร ตอบแบบนี้ก็ได้ งั้นขอถามครูดีกว่านะ ว่าถ้าเราเอาเรื่องพุทธศาสนาไปทิ้งเสียให้หมดแล้ว เอาพระนิพพานไปทิ้งเสียให้หมดแล้ว เรื่องพระนิพพานเอาออกเสีย พุทธศาสนาจะเป็นอย่างไร ครูพุด (พุทธศาสนาก็จะมีแต่กระพี้ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ปฏิบัติถึงพระนิพพานเพราะไม่มีแก่น) ไม่มีแก่น ดีนี่ เป็นคำตอบที่กะทัดรัดที่สุด ถ้าเอาเรื่องพระนิพพานไปทิ้งเสีย โครงการศีลธรรมจะเป็นอย่างไร จะไม่ขาดอะไรไปหรือจะขาดอะไรไป ถ้าเราเอาเรื่องนิพพานออกไปเสีย โครงการศีลธรรมจะเป็นอย่างไร จะทบกระเทือนหรือว่าไม่ทบกระเทือน พุทธศาสนามันจะไม่มีแก่นนะ แล้วโครงการศีลธรรมอย่างไรบ้าง ถ้าเอาเรื่องพระนิพพานออกไปเสีย เอาช่วยตอบเถิด นั่งตั้งหลายคน เอาครูตองหล่ะ ครูตองตอบ โครงการศีลธรรมจะกระทบกระเทือนอะไรบ้าง เอาครูชวน ครูตอง กำนันรำ นี่คอยตอบปัญญาประจำวัน หรือไม่กระทบกระเทือนเพราะมันอยู่กันคนละชั้น ตอบอย่างนั้นหรือ (กระทบกระเทือนครับ) กระทบกระเทือนอย่างไร (๕๗.๔๐ เพราะว่าการปฏิบัติเพื่อไปสู่พระนิพพาน.......มันเป็นแก่น หากว่าไม่เอาศีลธรรมมาเป็นพื้นฐาน ไม่ปฏิบัติตามศีลธรรม เป็นพื้นฐานการเข้าสู่พระนิพพานแล้ว ผู้นั้นก็ไม่ปฏิบัติจริง ผู้นั้นจะไม่ปฏิบัติจริงแล้วจะทำให้กระทบกระเทือนในสังคมที่เป็นอยู่) ถูก ถูกโดยใจความ ถูกโดยคำพูด มากนะ คำพูดให้สั้น ประโยคสั้นๆ คำพูดให้ประโยคสั้นสุดว่าอย่างไร ได้กระทบกระเทือนวงการศีลธรรมหรือไม่ ตอบสั้นที่สุดเลย (คือว่าการปฏิบัติศีลธรรมเป็นเบื้องต้นการไปสู่นิพพาน ถ้าเราไม่รู้นิพพาน นิพพานหมดไป ศีลธรรมก็จากหายระเหยหายไป) ใช้คำพูดมาก ไม่เอา เอาครูตองตอบอีก ว่าอย่างไร ว่าอย่างไร (ตัวนี้ผมถือว่านิพพานคือจุดหมายปลายทาง ถ้าเอานิพพานออกไปแล้ว อย่างอื่นคือศีลธรรมก็ไม่มี) มันมาก คำพูดอย่าให้มันมากนักสิ พูดให้มันสั้นๆ ไม่เกินสิบพยางค์ ไม่เกินแปดพยางค์ เพราะถ้าเอานิพพานออกไปเสียจากวงการของศีลธรรมมันจะอะไร ใครนึกได้ช่วยว่าที (ศีลธรรมจะหมด) สั้นเกินไป สั้นเกิน มันสั้นเกิน ต้องสอนภาษาไทยกันอีก วงการศีลธรรมจะขาดจุดหมาย พูดไม่ได้หรือ พูดเท่านี้ไม่ได้หรือ ถ้าเราตัดนิพพานออกไปเสียจากวงการศีลธรรม จะทำให้ศีลธรรมขาดจุดหมายปลายทาง ไม่ถึงแปดพยางค์ จะทำให้ศีลธรรมขาดจุดหมาย นี้มองเห็นกันจริงหรือ เห็นว่าจริงหรือ ถ้าเราเอานิพพานออกไปเสีย ระบบศีลธรรมทั้งหลายจะขาดจุดหมายไป แย่ไม่แย่ (๖๐.๑๗........) เดี๋ยวก่อน กำลังถามว่ามันคืออะไร ก็มันรู้ว่าถ้าเอานิพพานออกเสีย ศีลธรรมไม่มีที่มุ่งหมาย ก็จะรู้ว่านิพพานคืออะไร นี่ถึงได้ถามแบบนั้นแบบนี้นะ ก็จะถามอีกเพื่อให้ช่วย ให้ท่านทั้งหมดนี่แหละ ให้พวกเราทั้งหมดได้ช่วยกันออกความเห็นว่าการที่กระทรวงออกหลักสูตร นี่หลักสูตรใหม่ที่บรรจุคำว่านิพพานเพิ่มเข้ามา มันเกินหรือไม่เกิน มันเกินไปหรือมันเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม ก็จะตอบไม่ถูกอีกถ้าไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร ครูพุดว่าอย่างไร ที่เอาเรื่องนิพพาน เรื่องโลกุตระมาบรรจุอยู่ในหลักสูตร ม.ศ.ปลายนี่ เกินหรือไม่เกิน หรือพอดี หรือเฟ้อ (ดีถ้าบรรจุลงไป) ไม่เฟ้อหรือ ถ้างั้นต้องวินิจฉัยต่อไปอีก เรื่องว่า เรื่องนิพพานนี้เป็นอย่างไร วิธีปฏิบัติเรื่องนิพพานนี้เป็นอย่างไร แล้วครูจะสอนเรื่องนิพพานว่าอย่างไร ครูคนไหนที่สอนม.ศ.ปลาย จะสอนเรื่องนิพพานว่าอย่างไร แล้วจะปฏิบัติเรื่องนิพพานตามสถานะของเด็กๆ จะปฏิบัติอย่างไร ครูจะสอนอย่างไร ไม่ใช่ให้ไปบวช แล้วถึงจะปฏิบัตินิพพานได้ ก็เขาขีดคั้นไว้ตายตัวว่า เรื่องนิพพาน เรื่องโลกุตระ เรื่องปรมัตถ์อะไรก็ตามเอามาสอนนักเรียน ในระดับที่นักเรียนควรจะทราบ แต่ความหมายมันเหมือนกัน ไม่ว่าระดับใดก็ตาม ความหมายมันอย่างเดียวกัน ที่สาวว่านิพพานคือเย็น โดยทั่วไปมันก็ถูกนั้นแหละ นิพพานคือเรื่องเย็นทั่วๆ ไป แม้แต่เรื่องทางการเมืองก็บรรลุนิพพานได้ บ้านเมืองสงบราบคาบด้วยเยือกเย็นทางการเมืองได้ เหมือนกันทางการเมืองเย็นนี่ก็เรียกนิพพาน นิพพานทางการเมือง
เอาหล่ะ จะรวบรัด ก็ต้องถามว่าการที่เลือกเรื่องโลกุตระ เรื่องนิพพานนี้ บรรจุอยู่ในหลักสูตรนี้ไม่ใช่ของเฟ้อนะ ไม่เฟ้อนะ ครูคนไหนเห็นว่าเฟ้อมั้งหล่ะ ครูว่าเฟ้อไม่เฟ้อ ไม่เฟ้อ ระดับ ม.ศ.ปลาย ก็คิดดูว่าเขาก็เจตนาดีหลักสูตรศีลธรรมยุคปฏิรูป เรื่องนิพพานก็เป็นเรื่อง เป็น article อันหนึ่งของนักเรียนทีเดียว ไม่เป็นครูเหมือน เมื่อก่อน พระพุทธเจ้าเข้านิพพานอะไรก็เคยได้ยินแหละ แต่ไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร (๖๓.๓๐ ...คือต้องการให้คนเข้าใจถูก.........) แต่ถ้าครู ครูยอมรับว่าเรื่องโลกุตระ เรื่องนิพพาน ไม่ใช่ของเฟ้อ เอาเข้ามาในโรงเรียนมาเพื่อการศึกษา ครูก็ต้องเตรียมตัวให้รู้เรื่องนิพพานในลักษณะที่สอนเด็กได้ เด็กปฏิบัติได้
(๖๓.๕๓ เปลี่ยนเทป) ให้พ้นจากเรื่องโลกๆ เรื่องโลกมันร้อน เรื่องนิพพานเรื่องเย็น เย็นมันจางร้อน แต่ไม่ได้หมายความให้ทำลายโลกเสีย ให้เป็นอยู่ในโลก เป็นอยู่ในโลกโดยไม่มีความร้อน นี่นิพพาน ครูต้องเข้าใจว่า พระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอน หรือไม่ได้แนะว่าให้ออกไปจากโลก ทิ้งโลกไปอยู่ในป่า ไปบวชไปเรียนอะไรแบบนั้น มันไม่ได้สอนแบบนั้น แล้วนี่คนมันเข้าใจเอาเอง หาความใส่ความ ตู่พุทธศาสนาว่า สอนให้คนออกไปจากโลก ไปทิ้งโลก ไม่ทำไรต่อไร มันก็เลยเห็นได้ทันทีว่าหลักสูตรนี้ก็ดี หลักสูตรที่สอนให้รู้ว่านิพพานไม่ต้องทิ้งจากโลก ถ้ามันเขียนแบบนี้ก็จะเป็นประโยชน์ เรื่องโลกุตระก็ไม่ต้องไปอยู่ในวัด แล้วไม่ต้องไปอยู่ในป่า อยู่ในคนแหละ จิตใจของคนไม่ได้รับความกระทบกระเทือน เนื่องจากเรื่องธรรมดาสามัญของโลก ต้องสรุปความไว้ เรื่องโลกมันต้องร้อนเป็นธรรมดา แต่มันทำให้เราร้อนไม่ได้ก็แล้วกัน มันจะทำให้ใครคนอื่นร้อนก็ตามใจ แต่มันทำให้เราพุทธบริษัทร้อนไม่ได้ ก็แล้วกัน เป็นประโยชน์ต้องพระนิพพาน เป็นประโยชน์ของโลกุตระ
ต่อไปครูจะก็ต้องรับภาระมากที่จะสอน ม.ศ.ปลาย แล้วก็สอนให้โลกุตระเอามาใช้ได้ในการเป็นอยู่ประจำวันคือไม่ร้อน เบื่อหน่ายในเรื่องของโลกแล้วกัน นี่แหละคือโลกุตระ ก็ยังทำมาหากิน ทำไรต่อไร ตามที่เคยนั้นแหละ แต่มันผิดกันตรงที่มันไม่ร้อน ที่นี่มันไม่ร้อนอีกต่อไป เมื่อก่อนมันร้อน ร้อนเป็นบ้าก็มี ฆ่าตัวตายก็มี ถ้านั้นมีผลร้ายต่อใจเรา พูดตามจริงเลย ทั้งหญิงและชาย เป็นผลร้ายต่อจิตใจเรา ใครเคยร้อนยกมือ ถ้าใครเคยร้อนยกมือ อันนี้มันก็มีโลกุตระอยู่บ้างแล้ว ถ้ามันไม่มีโลกุตระอยู่เฉยๆ มันต้องร้อน ไม่ว่าของหาย ตกสูญ มันก็ต้องร้อน นั้นไม่มีความสุข ไม่เป็นโลกุตระอยู่เลย
ถ้ายิ่งสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป ไมว่าไร หรืออะไร ก็ไม่ต้องร้อน แก้ไขในบางเรื่อง นั้นแหละความรู้เรื่องโลกุตระ ถ้ากระทรวงเข้ามาใส่ในหลักสูตรนี้ ในความหมายที่ถูกต้อง จะมีประโยชน์แก่มนุษย์มาก นี่มนุษย์ก็ไม่ต้องร้อน มนุษย์ก็ไม่ต้องเป็นโรคประสาท โรคเครียด จะปกติ แล้วก็จะเย็น แล้วจะว่าง จะเป็นนักเรียนก็เย็น ศึกษาเล่าเรียนก็เย็น อะไรก็เย็นไปหมด แต่ขอให้ทราบว่าถ้าเขาบรรจุลงในการศึกษา เขาเขียนแต่ตัวหนังสือนะ ไม่มีคำอธิบายนะ เขาเขียนเป็นแต่ตัวหนังสือนะ ไม่มีคำอธิบายเลย แล้วเราอธิบายนี้ เขาจะเอาไม่เอาก็ไม่รู้นะ ยังไม่รู้ว่าเขาจะเอาไม่เอาที่เราพูดนี่ ถ้าเขาถามเรา เราก็ไม่มีทางที่จะอธิบายอย่างอื่น เราก็อธิบายอย่างนี้เท่านั้น เมื่อเราต้องมีความรู้เรื่องนี้ ต้องปฏิบัติเรื่องนี้ให้ได้ เราต้องมีผู้ชักจูงแนะนำ สั่งสอนเรื่องนี้จริงๆ นี่เป็นข้อเสียข้อหนึ่ง แล้วถึงสิ่งแวดล้อมไม่อำนวยด้วย
จะถามใหม่อีกทีหนึ่ง ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่อำนวยเลยหล่ะ เราจะทำไม่ได้เลยหรือ ได้ข้อปัญหาอีก ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่อำนวยหล่ะ เราจะทำไม่ได้เลย เราจะไม่ทำเลยหรือ (๖๘.๓๒ ทำได้ แต่ว่าไม่ได้ดีที่สุด) สิ่งแวดล้อมบางอย่างเราไปบังคับมันไม่ได้ เมื่อเราบังคับข้างนอกไม่ได้ เราต้องปรับปรุงข้างใน ยอมรับสถานการณ์เผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมอันเลวร้าย โดยการแก้ไขข้างใน โดยการแก้ไขข้างในดีกว่าไปทำลายข้างนอกนัก แบบปราบคอมมิวนิสต์ต้องแก้ไขข้างในด้วย ไม่มุ่งปราบข้างนอกอย่างเดียว น่าจะไม่สำเร็จ
ถ้านับว่ามาแล้ว ได้ผลพอใจแล้ว ได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว ได้รับผลที่พอใจแล้ว สี่ห้าคนที่มานี่ ขอบใจที่มารับเชิญขอบใจ ถ้ามาแค่ห้าคนสี่คน เพื่อตอบคำถามเรื่องนี้ เพื่อคัดเกลาเรื่องนี้ ก็จะฝากปัญหากลับไปก็คือว่า จะสอนเรื่องนิพพานกันอย่างไร จะปฏิบัตินิพพานกันอย่างไร ครูจะสอนนิพพานให้นักเรียนเล็กๆ อย่างไร ม.ศ.สี่ ม.ศ.ห้า มันก็ยังไม่ค่อยโตกันที แล้วสอนเรื่องโลกุตระอย่างไร สอนเรื่องสัจธรรมอย่างไร หรือว่าอีกทีหนึ่งสอนเรื่องศาสนากันอย่างไรนั้นแหละ คำถาม ให้มันเป็นประโยชน์ ไม่ใช่ว่าสอนอย่างไรนะ ให้เหตุผลมันช่วยจัด ให้หัวข้อมันช่วยจัด ว่าลักษณะ แล้วเหตุ แล้วผล มีเท่านั้น มีสามสี่หัวข้อ จำแนกไปว่า ตามลักษณะมันอย่างไร เหตุ มูลเหตุมันมาอย่างไร แล้วผลจะได้ แก้ไขเรื่องชื่อ อะไร ก็มีเท่านั้นเอง ที่จริงมันก็พอ เป็นหัวข้อเป็นคำพูดขยายได้ สงสัยว่าอย่างไร (๗๑.๑๑......) ออ เขาไม่ให้ระบุ เขาใช้คำพูดกลางของมนุษย์ ทั้งหมดเป็นคำพูดกลางๆ ของมนุษย์ ไม่จำกัดศาสนา ถึงว่าโลกุตระหรือนิพพาน (๗๑.๔๒.......) ไอนั้นไม่บังคับ ไอวิชาพุทธประวัติว่าไปตามเดิม แต่ว่าเขามีทุกศาสนา ในนี้มีทุกศาสนา มีทุกศาสนาแล้ว นี่ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ไอนี่ก็ต้องรู้นะ ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาซิกส์ ศาสนาขงจื้อ ศาสนาเต๋า มีศาสนาชินโต ศาสนาไชนะ ศาสนายิว จบที่ศาสนายิว มีสิบศาสนา นี่มันหลักสูตรปลาย หลักสูตรชั้นปลาย แล้วก็มีเรื่องที่เขากำหนดไว้ไปหาในตำรับตำรา ที่นี่เราจะสอนจริยธรรมและศีลธรรม เราทำให้ทุกศาสนามันเป็นอันเดียว ถึงจะทำให้มนุษย์มันอยู่กันเป็นปกติสุข ก็จะเหมือนกันหมดทุกศาสนา ทุกศาสนาจะเน้นเรื่องความไม่เห็นแก่ตัว ทุกศาสนาจะเน้นเรื่องความไม่เห็นแก่ตัว แล้ววิธีปฏิบัติมันมากน้อยต่างกัน ถ้าเลือกศาสนาไหน ก็ต้องเปลี่ยนประวัติของศาสนานั้น นี่เขาก็มีละเอียดนะ เรื่องข้อเตือนใจก็มีละเอียดนะ เรื่องที่ว่าเล่านิทานก็มี มีเรื่องสิ่งแวดล้อม การสอน สิ่งแวดล้อมการสอน การเล่านิทาน การแสดงละคร การกีฬา ทุกอย่าง นี่ก็อยู่ในเรื่องของครู ในข้อสามที่ว่าครูจะจูงไปอย่างไร มันมีรายละเอียด ถ้าเก่งจริงเล่นละครเรื่องนิพพานได้
ถ้าเก่งจริง ถ้าครูเก่งจริง เล่นละครสอนเรื่องนิพพานได้ (๗๔.๑๓ ........) นี่แหละ มันเรียกว่านิพพานแปลว่าเย็น (ตัวพยัญชนะหรือครับ) อือ ตัวพยัญชนะแปลว่าเย็น นี่เด็กๆ จำไว้ด้วยนะว่า คำว่านิพพาน นิพพานะ ถ้าเป็นภาษาชาวบ้าน ยุคพุทธกาล ก่อนพุทธกาล คำนี้ คือคำว่าเย็น เย็นในภาษาไทย ส่วนคำว่าดับทุกข์ หรือไปจากทุกข์ นั้นเป็นความหมายที่สอง ความหมายที่สาม มันเลือนมาจากความหมาย เครือข่ายมาจากความหมายที่หนึ่ง ความหมายที่หนึ่งคือชาวบ้านพูด ชาวบ้านชาวเรือนแปลว่าเย็น ถ้าพูดในครัว แต่ก่อนก็ว่าข้าวนิพพานแล้วมากินได้ คือมันเย็นพอจะกินได้ ถ้าข้าวยังร้อนกินไม่ได้ นี่เป็น คำพูดที่พูดอยู่จริง เป็นคำพูดที่เขาพูดอยู่จริง เหมือนถ่านไฟที่แดงแล้วนิพพานแล้วมันดำ เหมือนคนนี้มันหายบ้าแล้วนิพพาน นี่ก็นิพพานในความหมายชาวบ้าน แต่พอเป็นความหมายทางธรรมทางศาสนา แล้วมันเย็น จากไปซึ่งกิเลส กิเลสคือไฟที่ร้อนที่สุด พอเย็นจากไฟกิเลสก็เรียกนิพพาน นี่ความหมายในทางศาสนา ในทางธรรม งั้นทุกคนต้องการนิพพานโดยไม่รู้สึกตัว เพราะทุกคนต้องการเย็นโดยไม่รู้สึกตัว เราอาบน้ำให้เย็น มานั่งตากลมให้เย็น อย่างกินน้ำแข็งนี่ ก็สงเคราะห์ให้เย็นเหมือนกัน เพราะเรามันชอบเย็นนี่ เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อที่ดี ไอ้คนแรกเขาเอาคำนี้ขึ้นมาใช้มันเก่ง มันฉลาด มันก่อนพระพุทธเจ้านะ คำว่านิพพานใช้อยู่ก่อนพระพุทธเจ้าหลายชั่วหล่ะ มันเย็น เย็น ใครที่สนใจว่าเย็นอย่างไร ได้อธิบายไปแล้ว มันเข้ากันกับความรู้สึกของคนทั่วๆ ไปที่มันต้องการเย็นอยู่แล้ว มันไม่ต้องการร้อน นี่คือนิพพานโดยความหมาย (๗๖.๔๔.........) ถ้าเอาตามตัวหนังสือ ถ้าตามตัวหนังสือแท้ๆ อาจารย์มันคือบุคคลควรประพฤติตามโดยสมบูรณ์ อาจารย์เป็นบุคคลที่ทุกคนควรประพฤติตามโดยสมบูรณ์ นั่นแหละคืออาจารย์ แต่ความหมาย มันก็เปลี่ยนไปตามเรื่องแหละ ส่วนมากอาจารย์สอนหนังสือมันไม่ได้เกี่ยวกับประพฤติ แต่คำว่าอาจารย์ก็คือผู้ที่บุคคลควรประพฤติตามโดยสมบูรณ์ ไม่ยกเว้น ถ้าจะเป็นอาจารย์ทั้งทีก็ต้องประพฤติดีที่สุด ไม่มีที่ตำหนิแหละ คนจึงจะประพฤติตามโดยสมบูรณ์ได้
คำว่าครู ภาษาตามพจนานุกรมปกติธรรมดาแปลว่าคนที่ควรเคารพ ที่เราต้องเอาใจใส่ ต้องมีความหนักแน่น ต้องมีความเคารพเอาใจใส่ เป็นครูที่ทุกคนควรเคารพ เห็นว่าเป็นผู้สำคัญ ควรทำตามนะ ถ้าเคารพ ไม่ทำตามก็ไม่มีประโยชน์ เราอ่านพบในหนังสือบางเล่ม เขียนว่าคำว่าครู ครั้งโบราณจริงๆ ตั้งแต่แรกโบราณ คำว่าครูแปลว่าผู้เปิดประตู หมายความว่าสัตว์ในโลกนี้แหละ มันเหมือนกับอยู่ในกรงที่มืด อยู่ในคอกในกรงที่มืด สัตว์โลกทั้งหมดอยู่ในโลกเหมือนอยู่ในกรงที่มืด คือโลกมันเป็นกรงที่มืด ถ้านี้คนที่เรียกว่าครูคือคนที่เปิดประตูให้ออกมาสู่แสงสว่าง ถ้าแปลว่าผู้นำทางวิญญาณนี้เป็นการแปลโดยความหมาย ให้ความหมายไม่ใช่รูปศัพท์ ผู้นำทางวิญญาณ ก็มีผู้ส่องแสงสว่างอีก ไอดิกชั่นเนอรี่ที่ใช้ในอินเดียมันก็นิยมให้คำแปลในภาษาธรรมดามากเหมือนกัน ไม่ค่อยจะเอาตามรูปศัพท์นะ เอาตามภาษาธรรมดาที่ใช้พูดแล้วรู้เรื่อง นั้นแหละแปลครูว่าผู้นำทางวิญญาณ ถ้าแปลกันตามตรง ครูว่าหนัก ครูก็ต้องหนัก ต้องเคารพกันหนัก
เอาหล่ะมีเวลาเหลืออีกหน่อยหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะได้คำตอบที่พอใจแล้ว เวลายังมีหน่อยหนึ่ง ยังไม่เลิก ยังไม่หยุด ยังไม่เลิกแน่ จะเลิกกี่โมง สิบสอง (เลิกเที่ยง) เลิกเที่ยงนะ แล้วจะพูดให้มันเนื่องกันไป ก็เหมือนตรงนี่แหละ เด็กๆ มันตอบนิพพานเหมือนเย็นทั่วๆ ไป จะไปจำจากใครมาพูดก็ตามใจแต่มันถูก ถ้ามีโอกาสจะสอนเรื่องนิพพานทันทีเลย ถึงไม่ใช่ม.ศ.ปลายก็ตาม ถ้าจะสร้างพื้นฐานความรู้เรื่องนิพพานก็สอนได้แล้ว เด็ก ม.ศ.ต้น หรือประถมปลาย ก็เพราะนิพพานของพระพุทธเจ้าคืออะไรที่มันเย็นไปหมด ถ้าเด็กมันน้อมจิตใจไปทางอยากจะเย็น มันจะสอนศีลธรรมง่าย ถ้าเกิดเขาชอบนิพพานที่ว่าเย็นแล้ว จะสอนศีลธรรมได้ง่าย จะเป็นเหตุให้การหยุดดื้อดึงเกเร เกกมะเหรกอะไรได้มาก มันช่วยกันมากเหลือเกินแหละ ทำให้ถูกวิธีเถิด ปัญหาเด็กเกเรไม่เอาถ่านไม่ยอมฟัง ไม่ยอมสนใจ เราก็ทำให้เขาเกิดความสนใจ ขึ้นมาเป็นจุดแรก เป็นข้อแรก นี่แหละเรื่องของครู เป็นหลักเรียนข้อที่สามของครู เป็นผู้นำผู้สอน นำให้เกิดความสนใจเรื่องนิพพาน เรื่องโลกุตระนี่ได้ วิเศษที่สุด และรับรองได้ว่ามันต้องทำได้ มันจะยาก มันจะลึกซึ้ง มันจะวิเศษอะไร มันต้องทำได้ ในระดับเด็กๆ สอนเย็นไปก่อน สอนให้ชอบเย็นไปก่อนเถิด สอนให้มันชอบเรื่องเย็น หรือว่าทำอะไรให้มันเป็นเรื่องเป็นราว ฉาวโฉ่ที่มันร้อนให้มันเย็น สอนไปทางนี้ เรื่องสุรุ่ยสุร่ายที่มันร้อนให้มันเย็น มันเข้าใจได้โดยไม่ต้องพูดเรื่องศีลธรรม สรุปความว่าถ้าจะสอนเรื่องนิพพานให้สอนเรื่องคำว่าเย็นคำเดียว ทุกระดับเลย คนนี้ต้องให้มันเย็น เด็กกว่าเพื่อน เย็นไม๊หล่ะเธอ คนนี้แหล่ะ คนเล็กๆ นี้แหละ ชอบร้อนหรือชอบเย็น ชอบเย็น ชอบเย็นจริงหรือ โดยสันดานหยาบโดยสามัญสำนึก มันชอบเย็นนะคนเราหน่ะ คำถามนี้จำได้ เมื่อเวลาเป็นเด็กๆ ครูเคยถามนะ เด็กทุกคนมันตอบว่าชอบเย็นนะ แต่ว่ามีเด็กคนหนึ่งตอบประหลาดว่าชอบร้อน แต่ก็เอาพัดมาพัดเรื่อย เอาแล้วมันชอบร้อน ครูก็จนปัญญาเลย ไม่รู้จะทำให้มันชอบเย็นได้ มันชอบร้อน
เรื่องเย็นคำเดียวแหละ กระจายเป็นหลักสูตรทั้งหมดได้ คนเราไม่มีความรู้นี่มันร้อนหรือมันเย็นหล่ะ ไม่มีความรู้ร้อนหรือเย็น ทำไม่ถูก ทำไม่ถูก ถ้าเราไม่มีความรู้อะไรเลยเรามันจะร้อนหรือเราจะเย็น (ร้อน) ร้อน ร้อนอะไรหล่ะ ร้อนอะไร ก็พูดมาเถิด ร้อนใจ ร้อนอะไรก็พูดมา ไม่มีสตางค์นี่ร้อนหรือเย็น ร้อน อันนี้ตอบเร็วเลย รู้เรื่องดี ตอบทันที่เลย ให้สนใจเรื่องเย็นกันให้มากๆ แล้วก็เป็นไปเองในทางศีลธรรม มันก็ง่ายเอง มันเข้าร่องเข้ารอย เข้าอะไรเอง
ไอ้เรื่องนิพพานมันแปลว่าเย็น มันง่ายที่ครูจะสอน ไปคิดเอาเองเถิด ไปคิดเอาเอง ว่าจะสอนให้เด็กสนใจเรื่องนิพพานอย่างไร มันง่ายแหละ เพราะมันเย็น มันแปลว่าเย็น แต่ว่าเรื่องโลกุตระ อยู่เหนือโลกนี้ คนคงงง สอนยาก ทำความเข้าใจก็ยาก จริงแล้วมันเป็นเรื่องเดียวกัน นิพพานนั่นแหละโลกุตระนั่นแหละ นิพพานนั้นยอดโลกุตระ ก็มันเหนือร้อน มันก็ใช้คำว่าโลกุตระ แล้วเหนือ อยู่เหนือโลก เหนือระดับโลก เหนือปัญหาของโลก เหนือความทุกข์ในโลก เหนือความยุ่งยากในโลก เหนือความร้อนในโลก เรียกว่าโลกุตระ พูดกันเข้าใจได้ เข้าใจขนาดม.ศ.ปลาย ก็พูดกันได้ว่าเราอยู่เหนือปัญหา ยุ่งยากในโลก ด้วยประการทั้งปวง นี้ท่านเรียกว่าโลกุตระ สอนไหวไม่ไหว คุณครูลองคิดกันล่วงหน้าทีว่าเราจะสอนกันไหวหรือไม่ไหว สอนเรื่องโลกุตระ สอนเรื่องนิพพาน สอนเรื่องมรรคผล จะไหวหรือไม่ไหว ถ้าช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องนี้นะ หาคำตอบเรื่องนี้ให้ได้ที ได้บุญนะ ไม่ต้องได้เรื่องเลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ว่าได้บุญเพราะว่าจะทำให้ได้ความมุ่งหมาย ความประสงค์ของกระทรวงไม่เป็นหมัน ก็กลัวจะเป็นหมันนะ ที่พูดนี้ หลักสูตรที่ออกมาจะเป็นหมัน ถ้าสอนกันไม่ถูกเรื่องแล้วมันจะเป็นหมันทีเดียว ถ้ามันไม่ได้รู้เรื่องไร มันจะปฏิบัติไรไม่ได้ แล้วกระทรวงก็ของเรานี่แหละ กระทรวงก็ไม่ใช่ของคนอื่น (อาจารย์ ถ้าผมว่า ถ้าหาก ว่าไม่แก้กันทุกฝ่ายแล้ว ในภาคปฏิบัติก็เป็นหมัน) ก็นั่นแหละ เป็นหมัน (ต้องแก้ระดับรัฐบาลต้องแก้) นั้นมันเรื่องการเมืองแล้ว ไม่ใช่เรื่องครูแล้ว นี่เราพูดกันหน้าที่ของครู เรารับผิดชอบเรื่องหน้าที่ของครูให้เต็มที่ร้อยเปอร์เซนต์ก่อน แต่ถ้าจะแก้ได้กันทั้งประเทศนั้นเป็นเรื่องการเมืองของรัฐบาล นี่ของกระทรวงศึกษาต้องการให้ศีลธรรมมีกลับมา ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ตามประสงค์ของรัฐบาล เพราะวัตถุประสงค์ของรัฐบาลจะสำเร็จได้โดยง่าย ถ้านี่วัตถุประสงค์ของกระทรวงศึกษาจะเป็นหมันในการออกหลักสูตรมามากเหลือเกิน มันเป็นอากาศ หลักสูตรนี้มันเป็นอากาศ แล้วไม่ให้คำอธิบายอะไรบ้างหรือ นั้นแหละเขาเป็นทุกข์ เรื่องนี้เขาเป็นทุกข์ เขาไม่รู้จะเอาครูอย่างไร (๘๘.๓๕.........) ไม่เอาๆๆ เราไม่เอาแน่ บอกล่วงหน้า บอกไปเลย เราไม่เอาแน่ อยู่ช่วยข้างนอก อยู่ช่วยข้างนอก (พระครูต้องไปชี้แจง) ไม่ นี่ก็ชี้แจงแบบนี้แหละ จะให้โน้ตบันทึกไป จะให้โน้ตบันทึกไป ถ้าจะให้ไปอบรมด้วยตัวเอง ไม่เอาแน่ เราเกษียณแล้ว เราคือคนชราแล้ว แต่ว่าเรานี่ช่วยกันได้ ช่วยกันทำความเข้าใจ เตรียมรับ กันให้มากขึ้นข้างหน้า ถ้าจะอย่างไร ความประสงค์นี้ก็ไม่เป็นหมัน กระทรวงศึกษาก็ไม่หน้าแตก นี่เราพูดกันลับหลังนะ ว่าถ้าครูทุกคนเราช่วยกันแบบนี้ กระทรวงศึกษาก็จะไม่หน้าแตก แต่ถ้าปล่อยไปทือๆ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นหมัน จะทำไม่ได้ จะปฏิบัติไม่ได้ จะสอนไม่ได้ มันก็เป็นหมัน
มันไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่จะสอนให้เด็กเข้าใจเรื่องนิพพาน เรื่องโลกุตระ เรื่องวัฏสงสาร เรื่องสัจธรรมนี่ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย กระโดดที่เดียวสุดหมดเลย เป็นไปตามศีลธรรมเลย แต่ความจริงมันก็สนุกดีนะ ถ้าเราสนใจก็สนุกดีเรื่องนี้ ไปคิดดูว่าจะสอนโลกุตระ กับเด็กๆ อย่างไร แล้วก็ตัวเล็กๆ แบบนี้ เรื่องหนักอกหนักใจ เรื่องต่างๆ ในโลก ก็เรียกว่ามันจมอยู่ในโลก ถ้าเราหมดเรื่องนี้ ก็สิ้นพ้นโลก เหนือโลก ข้อเท็จจริงมันมีอยู่ว่าเรามันยังไม่ได้สอน มันคล้ายๆ เราควรจะสอนได้ แต่ไม่ได้สอน มันไม่ใช่สอนไม่ได้ แต่มันไม่ได้สอน ก็ไปสอนเรื่องอื่นซะหมด ในที่สุดแม้แต่เรื่องศีลธรรมชั้นต้นๆ ต่ำๆ นี่ ก็เมื่อวานวันเด็ก คุณครูได้สอนอะไรบ้าง ได้สอนศีลธรรมจริยธรรมขั้นต้นๆ ต่ำๆ ให้เด็ก อะไรบ้าง อะไรบ้างว่ามาเมื่อวานนี้ สอนเด็กๆ เรื่องศีลธรรมอะไรบ้าง ขั้นต้นๆ วันเด็ก วันสำคัญของเด็ก ที่สอนไปเมื่อวานนั้น เมื่อวานสอนหรืออบรมเด็ก เราหมายถึงวันสำคัญของเด็ก เท่านั้นหล่ะ รอดตัวไป สอนอย่าให้ทำสกปรก ทำไรนี้ นี่แหละความไม่รู้ ความไม่พอ ความไม่รู้อย่างเพียงพอของกระทรวง ว่ากระทรวงตรงนี้นะ อย่าไปพูด เหมือนจัดให้วันเด็กมันสอนอะไรที่มันดี จัดให้วันเด็กสอนเรื่องให้มันเป็นเด็กที่ถูกต้อง ไม่ใช่พาไปเที่ยวไปดูหนังดูโน้น ไปเที่ยวแลเรือรบ มันไม่ได้สอนความเป็นเด็กที่ดี วันอื่นก็ได้ วันอื่นก็ไม่มีอยู่แล้วนิ ให้วันเด็กเป็นวันศักดิ์สิทธิ์วันสำคัญแล้วก็สอนเรื่องที่ให้มันเป็นเด็กที่ถูกต้อง เป็นเด็กที่ดี เป็นเด็กที่ถูกต้อง มันจะไปสอนกันวันไหน มันก็กลายว่าวันเด็กเป็นวันที่สนุกสนาน เด็กมันก็จะชอบหลงใหลความสนุกสนานเกินไปนะ ดูให้ดีเถิด วันเด็กไม่สอนให้เด็กรู้จักความเป็นเด็ก แล้วรู้จักความเป็นบิดามารดา ให้เคารพบิดามารดาสูงสุด ให้รู้เรื่องความเป็นเด็กดีที่สุด สมกับเป็นวันเด็ก เป็นวันแม่ นี่มันไปจัดให้สนุกสนานสรวลเสเฮฮาไป เล่นละครไปทายปัญหาหัวเราะกันนี่มันก็ไม่ได้ผล ก็จะเป็นเด็กที่ดี เรามองในแง่นี้กันบ้าง ว่าเราไม่ได้สอน เด็กมันยิ่งไม่รู้จักความเป็นเด็กที่สมบูรณ์
วันเด็กก็มาให้ประชุมกันพรรณนาพระคุณของพ่อแม่ พลัดกันพรรณนาพระคุณของพ่อแม่ ใครพูดดีก็ให้รางวัล แล้วเด็กก็ยิ่งจะรู้จักตัวเอง รู้จักพ่อแม่ให้มากขึ้น เอาปีหน้าถ้ามาเราจะทำแบบนี้กัน ถ้าพาเด็กมาอย่างนี้ เด็กๆ ก็ช่วยกันพรรณนา ความเป็นเด็ก ความเป็นพ่อแม่ ให้รู้จักคุณพ่อแม่ ใครพูดได้ดีให้รางวัล มันก็ก้าวหน้า มันก็ดีกว่าพาไปเที่ยวเล่นเที่ยวหัวเที่ยวไร จะได้มีเวลาให้เด็กรู้จักคิดให้หนักว่าพ่อแม่คืออะไร เราคืออะไร เราจะต้องตอบแทนพ่อแม่อย่างไร ได้ เท่าที่จะทำได้ แต่ที่อื่นควรจัด จะเตรียมรางวัลไว้ให้เด็กคนไหนตอบดี พรรณนาคุณของพ่อแม่ได้ดีจะหารางวัลไว้ให้ ส่วนที่จะสนุกสนานก็เห็นว่าพอแล้ว วันอื่นก็ได้ แต่วันเด็กวันแม่นี่ศักดิ์สิทธิ์นะ ให้มีความศักดิ์สิทธิ์กล่อมนิสัยคนให้มันดีขึ้น ไอ้เรื่องเล่นหัวนี่มันก็เกินไป แล้วปลุกใจให้รักชาติกันตลอดเวลา วันเด็กนี่มาเป็นวันศีลธรรมจริยธรรมกันดีกว่า ให้จริยธรรมเด็กดีขึ้นๆ เรียกว่าด่ารัฐบาลได้ก็ได้ ว่าจัดเรื่องนี้ยังไม่ถูกต้อง ไม่ถึงกับด่า น่าจะวิพากษ์วิจารณ์ แต่ว่ารัฐบาลก็ไม่เคยนึกเคยฝันว่าเด็กจะเจริญในศีลธรรมอย่างไร ก็ทุกๆ รัฐบาล ทุกยุค ทุกรัฐบาล วันเด็กก็ให้เด็กสนุกสนานเท่านั้น แต่ไม่ได้ให้เด็กเกิดความรู้สึกทางศีลธรรม เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์แค่นี้ก็พอ ถึงวันเด็กก็ควรให้เด็กเข้าใจในข้อนี้