แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านที่เป็นครูบาอาจารย์ และที่กำลังจะเป็นครูบาอาจารย์ และท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมที่มาร่วมฟังการบรรยายนี้ทั้งหลาย อาตมาขอแสดงความยินดีเป็นสิ่งแรกว่าท่านทั้งหลายได้รู้จักเพิ่มเวลาให้แก่ชีวิตอีกวันละ ๑ ชั่วโมง มีอายุมากออกไปอีกวันละ ๑ ชั่วโมง และเป็นชั่วโมงที่พิเศษหรือสำคัญเสียด้วย คือเป็นชั่วโมงที่ใช้เป็นประโยชน์ต่างจากชั่วโมงอื่นๆ ถ้ายังนอนอยู่มันก็เหมือนกับไม่ได้มี ไม่ได้เพิ่ม แยกออกมาใช้จากที่ไม่เคยใช้ได้ ๑ ชั่วโมง มันก็เหมือนกับเพิ่มอายุ คือทำให้มีประโยชน์มากขึ้นนั่นเอง นี่ขอแสดงความยินดี อาจจะเป็นของแปลกของใหม่แก่ท่านบางคนก็ได้ ขอให้ประพฤติเป็นนิสัยไม่ใช่เฉพาะเมื่อมาที่นี่ อยู่ที่สถานที่ประจำนั้นก็ใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ๑ ชั่วโมง คือตื่นขึ้นมาแล้วก็ลุกขึ้นจับปากกากระดาษเขียนคิดนึกบันทึกอะไร ลองทำดูเถอะมันจะเกิดความเคยชินเป็นนิสัย แล้วเป็นนิสัยที่เป็นประโยชน์ นี่ก็ขอแสดงความยินดี ขอแสดงความยินดีในการมาที่นี่ในลักษณะอย่างนี้ คือศึกษาธรรมะเพื่อนำไปใช้ในประ...ในการประกอบกิจการงานในหน้าที่ของตน ของตน หรือการดำเนินชีวิตให้เป็นผลดีที่สุดเท่าที่มันจะเป็นได้ ก็นี่มันยุ... มันๆ มันแล้วแต่ว่าเราทำมันนี่ เราพัฒนาได้เท่าไหร่ก็ๆได้เท่านั้น ฉะนั้นขอให้เราพัฒนามัน เป็นที่น่ายินดีที่เห็นได้ว่าครูบาอาจารย์สนใจในธรรมะกันมากขึ้น หาเวลามาศึกษาอ่า...ธรรมะกันมากขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะนี่ ข้อนี้เป็นที่น่ายินดี สรุปความว่ามันทำให้ความเป็นครูนั้นมีความเป็นครูจริงๆมากขึ้นนั่นเอง หรือกว้างออกไปให้สำเร็จประโยชน์เต็มที่ ไม่คับแคบอยู่เพียงการสอนหนังสือ เพราะคำว่าครูมันมีความหมายลึกซึ้งกว้างขวางถึงสูงสุดโน่น
เรารู้จักคำว่าครูกันแต่เพียงว่าผู้ที่ควรเคารพหนักแน่น โดยคือว่าคำๆนี้มันแปลว่าหนัก มันก็ถูกนะ มันมีบุญคุณอันหนักอยู่เหนือศีรษะคนก็เรียกว่าครูก็ได้ แต่ผู้ค้นคว้าทางศัพทศาสตร์กลับค้นพบไกลออกไปถึงว่า กิริยาคำนี้ Root ของคำๆนี้ คุรุนี่มันแปลว่าเปิดประตู มันใช้ว่าเปิดประตู คุรุนี่มันแปลว่าเปิดประตู ความหมายมันก็พิเศษกว้างไกลออกไป คือมีความหมายพิเศษกว้างไกลออกไป จะต้องเป็นผู้เปิดประตูให้ได้ จึงจะมีความหมายเต็มที่ของคำว่าคุรุ แต่คำว่าเปิดประตูนี้เขาหมายถึงประตูทางจิตใจหรือประตูทางวิญญาณ มันกลายเป็นประตูทางวิญญาณไป เปิดประตูทางวิญญาณเพื่อให้วิญญาณที่ถูกกักขังนะ หลุดออกมาจากที่กักขัง มันอยู่ในคอกแห่งความโง่ อยู่ในคอกแห่งอวิชชา มันถูกกักขังอยู่ในคอกนี้และครูก็เป็นผู้เปิดประตูให้วิญญาณที่ถูกกักขังนะมันหลุดออกมาเป็นอิสระ หรือทำอะไรได้ตามที่ควรจะทำ อ่า...ความหมายนี้ก็นับว่าดีมากดีมาก ผู้ที่เปิดประตูทางวิญญาณได้เท่านั้นแหละ จึงจะสมนามอ่า...ของคำว่าครู
เอาล่ะเดี๋ยวนี้เราก็มองเห็นอยู่ว่าครูเป็นผู้สอนหนังสือประเภทหนึ่ง สอนวิชาชีพนั้นก็ประเภทหนึ่ง แล้วก็สอนธรรมะธรรมะอีกประเภทหนึ่ง มีการเปิดประตูอยู่ใน ๓ ลักษณะ เป็นชั้นๆกันไป สอนหนังสือก็เปิดประตูออกมาเสียจากความไม่รู้หนังสือซึ่งเป็นการๆกักขังอย่างยิ่ง เอาออกมาเสียได้จากความไม่รู้หนังสือ นี่มันมืดไม่รู้จักทำอาชีพ มันก็สอนให้รู้จักทำอาชีพ นี่มันก็เป็นการเปิดประตู นี่เรื่องที่มันสูงขึ้นไปกว่าระดับธรรมดา สอนธรรมะสอนธรรมะ เป็นการเปิดประตูชั้นลึกชั้นละเอียด ให้รู้ธรรมะแล้วก็ออกมาจากปัญหาในทางจิตทางใจ ซึ่งเป็นความทุกข์อย่างละเอียดประณีต นี่ความหมายของคำว่าครูถ้ามองดูกันโดยทั่วถึงมันจะเป็นอย่างนี้ และขอให้มันมีลักษณะเป็นการเปิดประตู เปิดประตูให้สัตว์ที่ถูกกักขังออกมาเสียจากอ่า...ที่กักขัง อย่าเป็นเพียงอาชีพรับจ้าง เป็นลูกจ้างสอนหนังสือหากินไปวันๆหนึ่ง หรือว่าจะหาเงินหาทองรวบรวมไว้เพื่อใช้ดำเนินชีวิตชนิดที่ปรารถนา หรือนิยมกันในโลก มีลักษณะเหมือนสะพานหรือเหมือนเรือจ้างข้ามฟากอย่างนี้ มันเป็นการดูหมิ่นความหมายของคำว่าครูอันนี้มากนัก สมัยหนึ่งเป็นครูกันก่อน พอตั้งตัวได้แล้วก็ไปเรียนกฎหมาย ก็ได้ดิบได้ดีทางกฎหมายกันเยอะแยะไปหมด มีลักษณะเหมือนสะพานหรือเรือจ้างนี่ นี่ไม่ถูกกับความหมายของคำว่าครู ซึ่งแปลว่าเป็นผู้เปิดประตู มีลักษณะเป็นปูชนียะบุคคล ปูชนียะบุคคลแปลว่าผู้ที่คนเขาบูชากัน ขอให้รู้สึกว่าเป็นโชคดีที่เราได้มีอาชีพปูชนียะบุคคล ไม่เป็นอาชีพลูกจ้างกรรมกร เหมือนกับกรรมกรแบกข้าวสารนั่นนะ อาชีพปูชนียะบุคคลนี้มีอยู่ไม่กี่อย่างหรอก เช่น เป็นครูนี้โดยเฉพาะ แล้วก็เป็นหมอ หรือเป็นตุลาการ หรือผู้พิทักษ์ความสงบเรียบร้อยปลอดภัย อันนี้ก็เรียกว่าเป็นปูชนียะบุคคลเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าให้มากกว่าที่ได้รับ คือคำนวณดูเงินเดือน หรืออะไร หรือประโยชน์ที่ได้รับเท่าไหร่ แล้ว เราให้เขาไปเท่าไหร่ เมื่อการที่ให้ไปมันมากมายมหาศาลกว่าประโยชน์ที่ได้รับตอบแทน ผลลัพธ์มันก็ออกมาเป็น ปูชนียะบุคคล ฉะนั้นหน้าที่การงานใดๆที่ทำให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่สังคม แล้วผู้ประกอบหรือกระทำนั้นรับประโยชน์ตอบแทนเพียงเรียกว่าเล็กน้อยนะ เพียงเพื่ออยู่ได้สะดวก อย่างนี้ก็มันมีลักษณะเป็นปูชนียะบุคคลไม่ใช่เขาจ้าง ไม่ใช่ลูกจ้าง ไอ้เงินที่เขาให้มามันเป็นค่าใช้สอยไป มันไม่ใช่ค่าจ้าง หรือบางทีมันก็เป็นค่าบูชา บูชาไป ของบูชาไม่ใช่ค่าใช้สอย ไม่ใช่ค่าจ้างนี้แน่นอน ในลักษณะอย่างนี้มันมาอยู่ใต้ฝ่าเท้า แต่ถ้าเป็นค่าจ้างมันมาอยู่บนหัวนี่ ขออภัยนะใช้คำง่ายๆหยาบๆกัน...(ไม่ได้ถอดเสียงนาทีที ๑๓.๑๕-๑๓.๑๖ )
ถ้าเป็นค่าจ้างมันมาอยู่บนหัว ถ้าเป็นค่าบูชาคุณมันมาอยู่ใต้ฝ่าเท้า ฉะนั้นสิ่งที่ครูได้รับนั่นจะไม่เรียกว่าค่าจ้าง แต่จะเรียกว่าค่าใช้สอยหรือว่าค่าบูชาคุณไปเลย ผู้ที่อยู่ในลักษณะอย่างนี้จึงจะเรียกว่าเป็นปูชนียะบุคคล ควรจะมีความพอใจชื่นอกชื่นใจในการที่ได้เกิดมามีบุญมีกุศล ได้มีอาชีพปูชนียะบุคคล นั่นแหละให้ดูให้ดี มันมีความหมายสูงสุดคือเปิดประตูทางวิญญาณ ไม่ใช่เพียงแต่สอนหนังสือให้รู้หนังสือแล้วประกอบการงานตามธรรมดาสามัญ แต่สอนให้มีความสามารถสูงในทางจิตทางวิญญาณนะ ซึ่งมันตีราคาไม่ไหวเมื่อเทียบกับเงินเดือนที่ได้รับ มันก็กลายเป็นเครื่องบูชาคุณไปอย่างนี้ จึงเรียกว่าปูชนียะบุคคล จะพูดอีกคำหนึ่งพูดอย่างวรรณะที่เรียนรู้กันมาว่าวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร วรรณะ ๔ นี่ ยังมีคนเข้าใจผิดว่าวรรณะนี่ทางพุทธศาสนายกเลิกหมดแล้วไม่มีวรรณะแล้ว ขอใช้คำหยาบคายว่านั่นคนโง่มันพูดว่าเลิกวรรณะหมดแล้ว
พุทธศาสนาเลิกวรรณะเฉพาะโดยกำเนิด โดยการที่เกิดมาจากพ่อแม่ที่เป็นอะไรแล้วก็มีวรรณะอย่างนั้น ถ้าวรรณะโดยกำเนิดอย่างนี้เราเลิกจริงเหมือนกัน พระพุทธเจ้าได้เลิกจริงเหมือนกัน แต่มีวรรณะที่ไม่ ไม่ได้เลิก เลิกไม่ได้ ไม่อาจจะเลิกได้ก็มีอยู่ ในความหมายหนึ่งคือวรรณะโดยหน้าที่ การงานที่กระทำ ไปทำหน้าที่การงานอย่างไรก็มีวรรณะอย่างนั้นแหละ มันจะเกิดมาจากพ่อแม่อะไรก็ไม่ต้องสนใจล่ะ เพราะหน้าที่การงานที่มันทำอยู่อย่างไรมันก็มีวรรณะอย่างนั้น ถ้าวรรณะอย่างนี้พระพุทธเจ้ายังรับรองยังใช้อยู่ ยังไม่ได้เลิก เลิกไม่ได้ ไม่มีใครเลิกได้ แม้พระเป็นเจ้าก็มาเลิกไม่ได้หรอก เพราะมันทำไปตามหน้าที่เอ่อ...ที่กระทำแล้วก็มีวรรณะอย่างนั้น วรรณะบรรพชิตเรียกว่า เว วรรณะ วรรณะพิเศษ วรรณะวิเศษ วรรณะบรรพชิต วรรณะชาวบ้าน วรรณะฆราวาสอย่างนี้ยังไม่เลิก จึง...มันจึงเรียกภิกษุบรรพชิตว่า เว วรรณะ วรรณะพิเศษ วรรณะชั้นดี ชั้นเลิศนี้ก็มี เพราะว่าทำหน้าที่ที่สูงสุด มันยังมีวรรณะเหลืออยู่อย่างนี้ ครูทำหน้าที่อย่างไร ก็เป็นวรรณะนั้น ครูทำหน้าที่สอน ทำหน้าที่เปิดประตูทางวิญญาณ มันก็ยังเหลือวรรณะของความเป็นครูในความหมายนี้อยู่ มันก็จัดเป็นวรรณะซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของวรรณะทั้งหลาย แม้แต่กษัตริย์ก็เคารพวรรณะครู วรรณะกษัตริย์ก็ยังเคารพวรรณะครู มันเป็นผู้สอน ทุกคนต้องการความรู้ ก็ต้องมีผู้ที่จัดไว้สำหรับสอน คือผู้ที่มีความรู้พอที่จะสอน เพราะว่าเขาได้เตรียมตัวเตรียมทุกอย่างเพื่อจะเป็นผู้สอน จึงสามารถที่จะสอน แล้วก็ทำการสอน แล้วก็เป็นวรรณะผู้สอน ครูยังอยู่ในวรรณะแห่งผู้สอนนั่น มันเป็นวรรณะสุด...สูงสุดเป็นที่เคารพแห่งวรรณะทั้งหลาย แม้แต่วรรณะกษัตริย์ก็เคารพครูบูชาครูอย่างนี้เป็นต้น แต่มันก็รวมอยู่ในคำว่าปูชนียะบุคคลนั้นแหละ มันไม่ต้องไปไม่ต้องคิดไปทางไหนนักหนา รวมอยู่ที่คำว่าปูชนียะบุคคล หรือเป็นปูชนียะวรรณะ วรรณะ คือวรรณะอื่นมันมีความเคารพ
เอ้า,ทีนี้ก็จะลองวินิจฉัยกันถึงประวัติประวัติของครูของความเป็นครู มันมีมาอย่างไร สังเกตดูได้จากวรรณคดีของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นต้นตอแห่งวัฒนธรรมทั้งหลายทั้งปวงของโลกซีกนี้ ก็พบเรื่องราวเค้าเงื่อนว่าไอ้ความเป็นครูนี่มันตั้งต้นโดยแท้จริงที่ในป่าโน่น คือผู้มีสติปัญญาบางคนหลีกออกไปอยู่ในป่า ไปทำการค้นคว้า ไปทำการศึกษาด้วยตนเอง จนมีความรู้ แล้วก็สอนผู้อื่น นี่เรียกว่าจุดตั้งต้นของวรรณะครู ครูเกิดขึ้นโดยมีผู้ไปคือปลีกตัวไปศึกษาค้นคว้าจนเป็นที่พอใจ แล้วก็พูดคำอะไรออกมาเป็นที่พอใจเป็นที่เคารพของประชาชน ประชาชนก็ไปหาไปขอรับคำสั่งสอนมากขึ้น ผู้สั่งสอนเหล่านี้ก็ได้บันทึกคำสั่งสอนของตัวลงเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วก็มีลักษณะเป็นกาพย์กลอน เพราะว่ามันจำง่าย กาพย์กลอนนี้มันเหมือนกับภาชนะที่จะบรรจุคำสอนไว้ได้ดี มันจำง่ายแล้วมันลืมยาก ถ้าลองๆๆสังเกตดูถ้าจะ... คำที่เป็นคำกลอนนั่นนะ ลิ้นมันช่วยลากช่วยพาไปกลับมาได้โดยไม่ทันรู้ตัว มันๆสะดวกอย่างนั้น ไอ้คำเป็นร้อยแก้วนั่นมันไม่ๆได้มันไม่ได้มีการที่ว่าลิ้นมันลากไปได้ แต่ถ้ามันเป็นคำกลอนแล้วก็ลิ้นมันช่วยลากไปได้ จึงเรียกว่ามันจำง่ายขึ้น หรือว่ามันเรียกกลับมาง่ายขึ้นนะ มันจึงมีผู้เขียนเป็นคำกลอน คือครูบาอาจารย์เหล่านั้นเขียนไว้เป็นคำกลอน แล้วก็ยากจึงมีการเขียนอธิบายเป็นธรรมดาเป็นร้อยแก้วประกอบเข้าไว้ประกอบเข้าไว้ มันจึงมีลักษณะเป็นบาลีและเป็นอรรถกถา แม้คำว่าบาลีจะเป็นคำใหม่ๆเพิ่งเกิด แต่ก็มีความหมายอย่างนี้ เป็นหัวข้อเป็นตัวเช็คให้มันกะทัดรัดและอยู่ในลักษณะของกาพย์กลอน แล้วมีคำอธิบายเป็น commentary เป็น sub and sub sub-commentary เรื่อยๆมามากขึ้น
คัมภีร์ในอินเดียได้มีลักษณะอย่างนี้ แล้วก็ได้เกิดขึ้นอย่างนี้ มันก็อยู่ยืดยาวมา เพราะมันสะดวก ไอ้ท่องคำกลอนเพียงไม่กี่พยางค์ แต่มาเรียนคำอธิบายกันเป็นวรรคเป็นเวร ความเป็นครูมันก็ค่อยเป็นกิจจะลักษณะ เป็นสถาบันฝังแน่นอยู่ในจิตใจของบุคคลผู้ต้องการความรู้ แล้วก็เป็นอย่างนี้มามากขึ้นมากขึ้น แล้วก็ค่อยๆๆเป็นไปทุกแขนงทุกแขนง ก่อนนี้มันก็มีแต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องทางจิตใจ ที่จะดับทุกข์ทางจิตใจ เสร็จแล้วก็นำไปใช้เป็นแขนงต่างๆออกไปจนทั่วถึง จึงมีครูครบทุกอย่าง ครูสอนหนังสือ ครูสอนการประพฤติปฏิบัติ สอนมรรยาท สอนวิชาชีพ สอนวิธีการดำรงชีวิต กระทั่งสอนวิธีการต่อสู้ต่อสู้ มีมากมายมหาศาล ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ประหลาด ได้รวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างครบถ้วนนะ เรียกชื่อต่างๆกันตามภาษาอินเดียโบราณ จำยาก แต่ก็มีใจความสำคัญนะ มันสอนหัวข้อ จะเป็นบา...เอ่อ...เป็นคำกลอนนี่ก็มีคำอธิบายเป็นลำดับมาออกมา ออกมา ออกมา จนเป็นคำธรรมดาสามัญที่สุด และมีคำที่เนื่องกันอยู่ ก็การกระทำนี้ตามลักษณะของอาชีพ เป็นครูบ้าง เป็นอาจารย์บ้าง เป็นอุปัชฌาย์บ้าง แล้วมีอีกหลายต่อหลายคำ
แล้วคำว่าครูนี่ก็สูงสุดกว่าคำใดๆในบรรดาคำเหล่านี้ คือสอนเรื่องทางจิตทางวิญญาณ เป็นครูของวิทยาการที่สูงสุด คือเรื่องทางจิตทางวิญญาณ อาจารย์นี่มันสอนแต่วิชาทั่วไป สอนหนังสือหนังหา แม้แต่คำว่าอุปัชฌาย์อุปัชฌาย์นี่ก็ใช้เป็นชื่อของผู้สอนวิชาชีพก็มีนะ จึงต้องรู้ว่าไอ้อุปัชฌาย์นี่สอนวิชาดนตรี ก็เรียกว่าอุปัชฌาย์นี่ แต่คำว่าคุรุคุรุตั้งแต่โน้นแล้วก็สอนวิชาทางธรรมะทางจิตทางวิญญาณทั้งนั้นแหละ สูงสุดไม่มีคำใดสูงไปกว่า เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้สำหรับในประเทศอินเดีย แต่ในประเทศไทยนี้มันบ้าบออะไรก็ไม่รู้ มันไม่อยากให้ใครเรียกว่าครู อยากให้เรียกว่าอาจารย์ ถ้าเรียกว่าอาจารย์รู้สึกว่ามีเกียรติ ถ้าเรียกว่าครูมันดูครึคระไป จะบอกให้รู้ว่ามันกลับกันอยู่กับคำพูดแต่เดิมๆที่เขาใช้กันมาแต่เดิมๆ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีความหมายคำว่าครูๆเหลืออยู่ สำหรับเป็นที่ยึดหน่วง หน่วงวิชานี้ ทั้งที่คนชอบให้เรียกตัวเองว่าอาจารย์หรือศาสตราจารย์ แต่ถ้าเอาตามความหมายเดิมแล้ว คำว่าครูอยู่เหนือกว่าสูงกว่า มีเกียรติกว่า เป็นปูชนียะบุคคลมากกว่าล่ะ พูดกันอย่างนั้นก็แล้วกัน ทีนี้เราจะดูไอ้ความมีเกียรติหรือความมีคุณค่าหรือความมีประโยชน์กันให้มันเต็มที่เลย
อาตมาอยากจะพูดว่าครูๆนี่คือผู้สร้างโลก เพราะว่าโลกนี้มันเป็นไปตามหมู่มนุษย์ ไอ้หมู่มนุษย์นี่มันเป็นไปตามที่ครูสอนให้ ครูสอนให้ประชาชนมหาชนเป็นอย่างไร โลกมันก็เป็นอย่างนั้นแหละโลกมันก็เป็นอย่างนั้นนะ เป็นอย่างที่ครูสอนให้ประชาชนเป็นอย่างไร สอนมาตั้งแต่เป็นเด็ก ครูก็คือผู้สร้างโลกมาตั้งแต่ความเป็นเด็ก หรืออาศัยเด็กนะเป็นผู้สร้างโลก จริงหรือไม่จริง ไม่ต้องถามใครกระมัง มันมองเห็นอยู่ชัดๆ ไม่ต้องไปอ้างคำของนักปราชญ์บ้าบอที่ไหน พวกฝรั่งมันจะว่าอย่างไรก็ตามใจมัน อาตมาอยากจะพูดว่าครูเป็นผู้สร้างโลก โลกจะเป็นไปตามมนุษย์ที่ครูสร้างขึ้นมาตั้งแต่เด็กไปจนโต นี่ก็ขอให้ครูนี่มีเกียรติเท่าๆกับพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลก พระเป็นเจ้าเสียอีกสร้างโลกทางวัตถุ สร้างแผ่นดิน สร้าง อ่า...ดินฟ้าอากาศ สร้างก็สร้างสิ แต่สร้างจิตสร้างวิญญาณนี่ครูต่างหากล่ะเป็นผู้สร้าง
ฉะนั้นครูก็เป็นผู้สร้างโลกในทางฝ่ายวิญญาณ ไม่ว่าจะสร้างผ่านมาโดยทางเด็กสร้างเด็กสร้างเด็ก อ่า...เป็นผู้ใหญ่มันก็เป็นโลกเป็นโลก เพราะฉะนั้นโลกมันก็ขึ้นอยู่กับประชาชนหรือมหาชนที่ครูได้สร้างขึ้นมา แต่ถ้าครูที่เห็นแก่ตัวไม่ๆกล้ารับ ไม่กล้ายอมรับเกียรติอันนี้ แล้วก็ปฏิเสธด้วยว่ามันยากเกินไป ถ้ามายอมรับหลักการอันนี้ ครูมันมีอะไรมากเกินไปก็ไม่อยากจะรับ สู้ปล่อยไปตามสบายไม่ได้ ทำงานหาเงินมาหล่อเลี้ยงกามารมณ์มันดีกว่าอย่างนี้ มันก็เป็นเสียอย่างนี้ ไอ้ความเป็นปูชนียะบุคคลของโลกมันๆตายด้านเสียเพียงเท่านี้ มันไม่สูงขึ้นไปจนถึงกับว่ามันสร้างโลก จนกระทั่งเป็นโลกของ พระอริยะเจ้านั่นนะ
พระบรมครูคือพระพุทธเจ้า สร้างโลกระดับโลกของพระอริยะเจ้า แม้ครูธรรมดาสามัญก็เป็น ผู้เตรียมๆมนุษย์ไว้สำหรับพระพุทธเจ้าจะเป็นครูขั้นสุดท้าย สร้างคนเหล่านั้นมันเป็นพลเมืองในโลกของพระอริยะเจ้า ผู้สร้างโลกก็เห็นชัดอยู่ว่าสร้างโลกให้รู้หนังสือ สร้างโลกของศีลธรรม โลกของความมีศีลธรรมตั้งแต่เล็กๆเด็กๆเล็กๆก็มีศีลธรรมบนโลกของศีลธรรม หรือว่าเป็นโลกของแสงสว่าง โลกที่ไม่มืด มีแสงสว่างแล้วมันก็ทำอะไรถูกต้องถูกต้องถูกต้องด้วยอำนาจของแสงสว่าง ในที่สุดมันก็เป็นโลกของสันติภาพ สูงสุดที่มันเป็นโลกของสันติภาพสันติสุขสงบเย็น เป็นโลกสะอาดบริสุทธิ์สะอาด เป็นโลกไม่โง่สว่างไสวแจ่มแจ้ง แล้วก็เป็นโลกสันติภาพนะ มันสะอาด มันสว่าง มันสงบ ๓ คำนี้ใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับศึกษาได้ ต้องสะอาดก่อนคือไม่มีสกปรก จึงจะสว่าง สว่างแล้วมันจึงจะสร้างความสงบอันแท้จริงได้ เพราะว่าโง่นี้มันสร้างไม่ได้
ฉะนั้นครูสร้างโลกให้มีวิชาความรู้โดยพื้นฐาน สร้างโลกแห่งศีลธรรม แล้วก็สร้างโลกแห่งสันติภาพ มีความสะอาดสว่างสงบในที่สุด มาลองพิจารณาดูซิว่ามันมีค่าเท่าไร มีคุณค่าเท่าไร มันจะอยู่ในประเภทที่ตีค่าไม่ได้ ตีค่าไม่ไหว เพราะมันมากเกินกว่าที่จะตีค่า อย่างนี้เขาเรียกว่าหาค่าบ่มิได้ อนัฆฆะ อนัฆฆะ ในภาษาบาลี แปลว่าไม่อยู่ในวิสัยแห่งการตีค่า เมื่อไม่อยู่ในวิสัยแห่งการตีค่า มันก็หาค่าบ่มิได้ เด็กๆสมัยนี้มันจะฟังผิดไปเสีย หาค่าบ่มิได้นะเลวที่สุด แต่โดยภาษานี้ที่ได้ใช้กันมาแต่โบราณ อนัฆฆะ หาค่าบ่มิได้ นั่นนะคือมันมีค่าสูงสุดจนตีค่าไม่ได้นะ จึงเรียกว่าหาค่าบ่มิได้
เมื่อครูได้ทำหน้าที่ของตนถึงที่สุด มันก็หาค่าบ่มิได้ มันจึงเรียกว่าเป็นปูชนียะบุคคล มันเป็นปูชนียะบุคคล ยอดสุดของครูคือพระบรมครู นี่เราก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในภาษาไทยนี้ถ้าพูดถึงบรมครูก็หมายถึงพระพุทธเจ้า ท่านเป็นบรมครู ท่านก็สอนสิ่งที่สูงสุด ท่านจึงเป็นผู้ที่อยู่เหนือการตีค่า สิ่งที่ท่านสอนก็อยู่เหนือการตีค่า นี่ก็หาค่าบ่มิได้ ฉะนั้นเรื่องเหนือโลกนั้นเป็นเรื่องสูงสุด มีคำเรียกมาแต่เดิมนั่นนะ เรียกว่า โลกรุตตะระ มันแปลว่าเหนือโลก ไม่ใช่โลกทางทิศเหนือ แต่มันเหนือโลกเหนือระดับโลก ถ้าๆมันมีอยู่ในระดับโลก มันเต็มไปด้วยปัญหานานาประการ ความทุกข์ ความยาก วิกฤตการณ์นานาอย่างมันมีอยู่ในโลก ทีนี้มันขึ้นไปเสียเหนือนั่น จึงเรียกว่าเหนือโลก พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูจึงสอนในระดับที่เรียกว่าเหนือโลก แต่ถ้าจะให้ท่านพูดเรื่องในโลก เรื่องในโลก ท่านก็พูดได้เหมือนกัน ก็มีอยู่มากเหมือนกันคำสอนที่อยู่ในระดับโลก แต่ถ้าว่ามันต่ำกว่าโลกหรือใต้โลก ท่านก็สอนได้เหมือนกันแต่ว่าสอนในทางตรงกันข้าม คือห้ามไม่ให้ทำ คือมันเลวกว่าโลกธรรมดาสามัญ ก็คือโลกนรก โลกเดรัจฉาน โลกอะไรอย่างนี้ ท่านก็ยังสอนได้ว่าอย่าไปทำอย่างนั้น มันจะกลายเป็นโลกนรก เป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย
ความเป็นบรมครูของพระพุทธองค์ เห็นได้ปรากฏชัดว่าเรื่องเหนือโลกท่านก็สอนได้ เรื่องธรรมดาโลกในวิสัยโลกท่านก็สอนได้ เรื่องใต้โลกเลวกว่าโลกระดับธรรมดาท่านก็สอนได้ ท่านก็เป็นบรมครู นี่พวกเราสอนกันได้แต่บางอย่าง ก็เอาเสีย ก็ยังดี สอนไปตามหน้าที่ของตนของตน ว่าจะสอนอย่างไรก็สอนไปในลักษณะนั้นตามระดับของตนของตน แต่แล้วก็อย่าลืมว่าเรียกว่าการศึกษาทั้งนั้นแหละ การสอนให้รู้นั่นเรียกว่าการศึกษา ศึกษาศีลสมาธิปัญญาก็บรรลุมรรคผลนิพพาน ศึกษาระดับอยู่ในโลกอย่างมีเกียรติ ก็เป็นวิชาในโลกวิชาที่ถือกันว่ามีเกียรติอยู่ในโลก ศึกษาอย่าให้ ตกนรกหมกไหม้ในอบาย ก็เรียกว่าการศึกษา นี่จึงสำคัญอยู่ที่การศึกษา
ดังนั้นอาวุธของครูก็คือการศึกษา ให้การศึกษาไปก็คือให้อาวุธไปแก่ผู้ที่มีแล้ว มีการศึกษาแล้วมีอาวุธแล้ว มันก็สามารถที่จะตัดปัญหา ตัดสิ่งที่ควรตัด มันจึงเกิดคำว่าศาสตร์ขึ้นมา ศาสตรา หรือศาสตระ ศาสตระแปลว่าของมีคมสำหรับจะตัดสิ่งที่ต้องตัด มันจึงมีคำว่าศาสตร์ศาสตร์เกิดขึ้น ก็ใช้กันมาแล้วแต่โบราณ เดี๋ยวนี้ก็ยังเรียกว่าศาสตร์อยู่นั้นแหละ ไอ้รัฐศาสตร์ คุรุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ พาณิชยศาสตร์อะไร ศาสตร์ ศาสตร์ ศาสตร์นี่มันแปลว่าศาสตรา แปลว่าของมีคม ตัดความโง่ ตัดความไม่รู้ ตัดปัญหาอะไรต่างๆ เป็นหน้าที่ของครูที่จะมอบหมายไอ้ศาสตระนั้นให้ โดยวิธีการที่เรียกว่าการศึกษา ภาษาไทยเราเรียกว่าศึกษา เรียบเรียงแบบสันสกฤตที่เรียกว่า ศิทฉา ภาษาสันสกฤตออกเสียงว่า ศิทฉา ภาษาบาลีออกเสียงว่าสิกขา ๓ คำนี้มันคำๆเดียวกัน เรียกสั้นๆในภาษาไทยก็ว่าการศึกษา ครูมีหน้าที่ที่จะให้การศึกษาอย่างถูกต้อง ให้สมกับที่ว่าได้รับแล้วว่าเป็นศาสตร์ ศาสตรา ศาสตรา เป็นของมีคม คมเฉียบตัดปัญหาต่างๆได้ นั่นนะก็พอจะมองเห็นได้แล้วกระมังว่ามันต้องเป็นการศึกษาที่ถูกต้อง ถูกต้องตามหลักของการศึกษา มันจึงจะเกิดเป็นศาสตราขึ้นมา เป็นความรู้ขึ้นมา ตัดปัญหาได้จริง
อาตมาจึงรู้สึกว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่าการศึกษาศึกษานี่แหละเป็นสิ่งที่สำคัญ สำคัญ ที่จะต้องมีกันให้ถูกต้อง ใช้กันให้ถูกต้อง สอนกันให้ถูกต้อง ขอให้ท่านครูทั้งหลายสนใจคำว่าสิกขาก็ได้ ศิทฉา ก็ได้ ศึกษาก็ได้ มันเป็นคำๆเดียวกัน ที่พูดอย่างนี้ก็หมายความว่าคำๆนี้มันมีความหมายดีที่สุด ประเสริฐที่สุดอยู่ในตัวถ้อยคำแล้ว นี่ขออวดหน่อยว่าในภาษาบาลีเรามีคำว่าศึกษา สิกขานี่มาก ความหมายมากครบถ้วนเพียงพอที่จะตัดปัญหาได้ ไอ้คำว่า Educate, Education ของฝรั่งจะแปลอะไรก็ไม่รู้ ไม่ ไม่ได้เคยเรียน มันจะแปลว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่เราก็เอามาใช้คู่กันกับคำว่าศึกษา
แต่นี่มาดูไอ้ความหมายของคำว่าศึกษาในภาษาไทยนี่ ที่ๆออกมาจากภาษาอินเดียโบราณว่ามันคืออะไรกันบ้างก็จะดี นะเอาคำว่าศึกษาหรือสิกขานี่ มันประกอบอยู่ด้วยคำที่เป็นคำประธานว่า อิกขะ อิกขะ แปลว่าเห็นหรือดูแล้วเห็น แล้วก็มีคำว่าสะ เป็นๆๆเพียง Prefix ไม่ใช่ตัวคำนะ เป็นบทประกอบข้างหน้าเรียกว่า Prefix สะ อิกขะ รวมกันเป็น สิกขะ ประกอบศัพท์สำเร็จรูปเพื่อใช้ทางไวยากรณ์เป็นอิตถีดิน แปลว่า สิกขานะ ศิทฉา ศึกษา สิกขา คำๆนี้เป็น อิตถีดิน ตามภาษาเดิม มีความหมายว่าดู เห็น สะ นั่นแปลว่าเองก็ได้ แปลว่าข้างในก็ได้ คำว่า สะๆ นี่แปลว่าใกล้ก็ได้ เองก็ได้ ข้างในก็ได้ แล้ว อิกขะแปลว่าเห็นๆ คือดูแล้วเห็น มันจึงได้แต่การดูข้างในตัวเอง ดูด้วยตัวเอง โดยตัวเองนะ ใครมาช่วยดูไม่ได้ แล้วเห็น นั่นแหละคือคำว่า สิกขา แหละ ไม่ใช่เพียงแต่บอกให้เด็กๆจดๆไว้ในสมุด แล้วจะเรียกว่า สิกขา อย่างนี้ไกลกันลิบนะ มันไกลกันยิ่งกว่าฟ้าและดิน เพราะจดไว้ในสมุดนะ
ถ้าจะให้ตรงกับว่า สิกขา แล้ว ต้องดูด้วยตนเอง ในตัวเอง โดยตนเอง คำว่า สะ มันแปลว่าอย่างนั้น แล้ว อิกขะ มันก็เห็น เพราะฉะนั้นจึงมีการกระทำด้วยการ เอ่อ...ตั้งต้นด้วยการดูเข้าไปที่ตัวเอง โดยตัวเอง ในตัวเอง มันก็เห็น พอเห็นต่อมาก็รู้จัก เพราะมันดูเป็นแล้วมันก็รู้จัก รู้จักแล้วมันก็วิจัยวิจารณ์ วิจัยวิจารณ์ด้วยเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ ทุกแง่ทุกมุม เสร็จแล้วมันก็สรุปความได้ในที่สุดว่าปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างไร จึงมีการปฏิบัติ แล้วมันก็ได้รับผลโดยสมควรแก่การปฏิบัติ นี่คือความหมายของคำว่าศึกษา ศิทฉา สิกขา ในภาษาไทยที่ยืมมาแต่ภาษาอินเดียโบราณ ฉะนั้นคำว่า Educate ของฝรั่งไม่เคยเปิดดูไอ้รากศัพท์มัน ว่ามันหมายว่าอย่างไร แต่เข้าใจว่าคงจะไม่ใช่อย่างนี้ สู้คำว่า สิกขา หรือศึกษาของภาษาอินเดียโบราณไม่ได้ เป็นหน้าที่ของครู เป็นเครื่องมือของครูที่จะให้การศึกษา ดังนั้น เราจะต้องทำให้เด็กของเราสามารถดูตัวเอง เข้าไปในตัวเอง โดยตัวเอง แล้วก็รู้จักตัวเองคือเห็นนะ เห็นตัวเองแล้วก็รู้จักตัวเอง แล้วก็วิจัยวิจารณ์ วิจัยวิจารณ์ ในแล้วแต่จะแง่ไหน ในสิ่งที่ได้เห็นนั้นนะ จนในที่สุดสรุปความออกมาได้ว่าจะต้องจัดการกับมันอย่างไร นี่ก็คือการปฏิบัตินะ รวมแล้วก็เรียกคำเดียวสั้นๆว่า สิกขา สิกขา การศึกษา ฉะนั้นอยากจะขอร้องว่าขอให้ครูบาอาจารย์ที่จะรักษาความเป็นครูบาอาจารย์ของตนไว้ให้มันสมชื่อ สมเกียรติ สมนามนี้ จงจัดให้มีการศึกษาแก่ลูกเด็กๆในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่เพียงแต่ให้ท่องจำ ท่องจำ หรือว่าจดไว้ในสมุด แล้วมันก็อยู่ในสมุด มันไม่ได้มาอยู่ในจิตใจ ต้องทำให้มันมาอยู่ในจิตใจ ให้มันสามารถจะดูด้วยตนเอง โดยตัวเอง ในตัวเอง แล้วก็เห็นสิ่งๆหนึ่งก็คือตัวเอง แล้วก็รู้จักตัวเอง รู้จักตัวเอง วิจัยวิจารณ์ศึกษามันทุกแง่ทุกมุม แล้วสรุปความได้ว่าเราจะต้องจัดการกับมันอย่างไร จะต้องจัดการกับชีวิตนี้อย่างไร แล้วก็ทำไปอย่างถูกต้อง นั่นเราเรียกว่าจบการศึกษา รู้แล้วปฏิบัติ แล้วก็ได้รับผลของการปฏิบัติอย่างถูกต้อง นี่เรียกว่าจบการศึกษา ถ้าทางธรรมะเราเรียกว่า ปริยัตติ คือรู้ ปฏิบัติ คือ ปฏิบัติ ปฏิเวทะ คือรู้ผลของการปฏิบัติ ถ้ามันครบ ๓ อย่างนี้ก็เรียกว่าการศึกษาที่สมบูรณ์ ขอให้ครูคุณครูทั้งหลายนั่นมีหลักแห่งการศึกษาอย่างที่ว่ามานี่ มันก็เกินที่จะเป็นปูชนียะบุคคล แต่ว่ามันเกินในลักษณะที่ไม่เป็นอันตรายนะ มันไม่ได้เกินไปในทางที่เป็นอันตราย มันจะเกินไปในทางที่เป็นประโยชน์นะ จะมีความเป็นประโยชน์สูงสุดทุกแง่ทุกมุมทุกแขนง ที่เรียกว่าตั้งแต่ ก ถึง ฮ ตั้งแต่ตัว ก ถึงตัว ฮ มันถูกต้องหมด มันเป็นประโยชน์หมด ถึงที่สุดอย่างนี้ ก็เรียกว่าถึงที่สุดของการศึกษา
เอ้า,ทีนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่เป็นความมุ่งหมายของการมาที่นี่ของท่านทั้งหลาย คือมาศึกษาธรรมะ มาศึกษาธรรมะ เอาความรู้ธรรมะไปใช้ประกอบหน้าที่การงานกิจการหรือการดำเนินชีวิตอะไรก็ตามของตน ของตน ให้สำเร็จประโยชน์ มันก็เป็นการศึกษาชั้นสูงสุด เป็นอุดมศึกษาที่แท้จริง ถ้าจะใช้คำว่าอุดมศึกษา ก็เป็นอุดมศึกษาที่แท้จริง อุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยนั่นยังอุดมอย่างเด็กเล่น ยังไม่อาจจะแก้ปัญหาอะไรได้ บางทีไปทำให้ยุ่งยากลำบาก คือเฟ้อ คือเกินไปเสียก็มี การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยบางอย่างเฟ้อๆเกินก็เหมือนอย่างอภิธรรมเฟ้อ อภิธรรมทำเกิน ไม่ต้องเรียนก็มี หรือเรียนแต่บางพวก แล้วก็ไปช่วยแก้ปัญหาให้คนทั้งหลายนี้ก็ได้ อย่างนั้นก็ยังพอไปได้ แต่ว่ามีการศึกษาชั้นอุดมศึกษาหลายอย่างหลายชนิด ซึ่งมันละเอียดเกินไป ซึ่งๆๆ อ้า,บางคนไม่ต้องเรียน ไม่ต้องเรียนทุกคน แต่ถ้าเป็นอุดมศึกษาที่แท้จริง ก็อยากจะพูดว่าสูงสุดและจำเป็นสำหรับทุกคน ในที่นี้ก็หมายความว่าทุกคนมีความทุกข์ ก็แก้ความทุกข์ ดับความทุกข์นั้นออกไปเสียได้โดยสิ้นสุด ก็เรียกว่าอุดม อุดม คือสิ้นสุด หรือสูงสุด เป็นอุดมศึกษา คือการศึกษาธรรมะ การศึกษาธรรมะ
เอ้า,ก็เลยพูดกันถึงคำว่าธรรมะ ธรรมะ ศึกษาธรรมะก็ต้องรู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าธรรมะ เดี๋ยวนี้จะยังสอนอยู่หรือไม่ก็ไม่ทราบ ในโรงเรียนนะครูบาอาจารย์มักจะสอนเด็กๆว่าธรรมะๆ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เมื่ออาตมาเป็นเด็กๆก็ได้รับคำสั่งสอนอย่างนี้ ครูบอกว่าธรรมะๆนี่คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วก็ได้ความว่าบางแห่งยังสอนอยู่อย่างนี้ ธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าอย่างนี้แล้วมันก็น่าสงสาร น่าสงสาร มันก็เหมือนกับหลับตาสอน หลับตาสอน ครูคนนั้นมันหลับตาสอน มันไม่รู้เรื่องของคำว่าธรรมะๆ ในประเทศอินเดียคำสอนของศาสดาองค์ไหน ลัทธิไหน ศาสนาไหน นิกายไหน เรียกว่าธรรมะเหมือนกันหมดเลย ไม่ใช่เฉพาะของพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นคำสอนของเดียรถีย์อื่น เดียรถีย์เหล่าอื่นซึ่งตรงกันข้ามกับเดียรถีย์นี้ คือพระพุทธศาสนานี่ก็เรียกว่าธรรมะ ฉะนั้นเขาจึงต้องมีคำถามว่าท่านชอบใจธรรมะของใคร มันหมายความว่าถือศาสนาอะไรแหละ ถ้าว่าถามว่าท่านชอบใจธรรมะของใคร แล้วมันก็เท่ากับถามว่าท่านถือศาสนาอะไร หรือจะถามว่าท่านชอบใจธรรมะของพระศาสนะของ พระสมณะโคดม ไหม หรือชอบใจธรรมะของ นิคันตะนากบุตร มะคะริโคระสาระ อ่า...ชื่อต่างๆตามที่มีอยู่ประมาณสัก ๑๐ ลัทธิก็ได้ที่เป็นคู่แข่งขันกัน ในระดับต่อสู้แข่งขันกัน คำสั่งสอนของพระศาสดานั้นๆนะ มันเรียกว่าธรรมะทั้งนั้น ฉะนั้นอย่าไปพูดว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ของศาสนาไหนก็ได้
แล้วที่มันยังไม่ถูกอย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำว่าธรรมะๆนี้มันไม่ได้แปลว่าคำสอน มันมีคำอื่นนะคำว่าศาสนะหรืออะไรต่างๆนี่มันมี ไม่ใช่คำว่าธรรมะ คำว่าธรรมะธรรมะนั้นมันแปลว่าหน้าที่ หรือความจริงที่จะต้องรู้เพื่อแก้ปัญหาของชีวิต ถ้าไปดูเถอะ Dictionary , Dictionary เด็กๆใช้ในอินเดีย คำว่าธรรมะมันก็ออกคำแปลเป็น Duty, Duty ธรรมะคือ Duty คือหน้าที่ นั่นนะถูกตรงที่สุดเลย ธรรมะแปลว่าหน้าที่ ธรรมะคือสิ่งจะช่วยให้รอด หน้าที่ก็คือสิ่งที่จะช่วยให้รอด ดังนั้น มันจึงเป็นคำเดียวกันมาแต่ โบรมโบราณ เราเรียกเป็นภาษาไทยว่าหน้าที่ เรียกเขาเรียกเป็นภาษาบาลีว่าธรรมะ ธรรมะ อ้า,แปลว่าหน้าที่ คำว่าธรรมะรากศัพท์คำว่า ธะระ ธะระ ก็แปลว่าทรงไว้ ทรงไว้ คือชูขึ้นไว้ยกขึ้นไว้ไม่ให้พลัดตกลงไปนั่นนะ นั่นนะคือรากศัพท์ของคำว่าธรรมะ คือ ธะระ ธะระนี่ ธรรมะยกสัตว์ขึ้นไว้ไม่ให้พลัดตกลงไปในความทุกข์ หน้าที่ก็คืออย่างนั้นแหละ หน้าที่ที่เราทำแล้วมันจะยกเราขึ้นไว้ ไม่ให้พลัดตกจมลงไปในความทุกข์ ปัญหาความเลวร้าย ความเสียหาย หรือความตาย คำว่าธรรมะกับคำว่าหน้าที่จึงเป็นคำเดียวกัน
ทีนี้เมื่อจะดูกันถึง เอ่อ...เกี่ยวกับความจริงที่จะมาใช้เป็นหลักของธรรมะหรือของหน้าที่ มันมีกฎเกณฑ์มาจากอะไร มีหลักสำคัญมาจากอะไร ก็พบง่ายๆว่ามันมีกฎเกณฑ์ หลักเกณฑ์ที่พบออกมาจากสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติ ธรรมชาตินะ คือมันต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มันจึงจะถูกต้อง คุณลองคิดดูสิอะไรมีอำนาจเหนือกว่าธรรมชาติหรือยิ่งกว่าธรรมชาติ จะไปเรียกว่าพระเจ้าก็ได้ มันก็คือธรรมชาตินั้นแหละ กฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้นแหละคือสิ่งสูงสุด คือ พระเจ้า ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ธรรมะมันต้องถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มันจึงจะสามารถสามารถมีอำนาจมีความเฉียบขาด ที่จะบงการให้ไปตามที่ต้องการ เพราะฉะนั้นในบาลีคำว่าธรรมะกับคำว่าธรรมชาติเลยกลายเป็นคำเดียวกันเสีย ออกเสียงว่าธรรมะเฉยๆก็หมายถึงธรรมชาติ หรือเวลาธรรมดาก็ได้ ธรรมะนี่แปลว่าธรรมดาก็ได้ แปลว่าธรรมชาติก็ได้ มีชาติแห่งความเป็นอย่างนั้น มีธรรมดาแห่งความเป็นอย่างนั้น ก็คือมีธรรมะแห่งความเป็นอย่างนั้นนะ มันจึงหมายถึงธรรมชาติในความหมายพิเศษของภาษาอินเดีย ธรรมชาติเป็นสิ่งเดียว เป็นสิ่งทำรวบหมด ไม่มีอะไรที่มิใช่ธรรมชาติ แต่พอไปแปลเป็นภาษาต่างประเทศ คือภาษาฝรั่งมันก็น่าสงสาร เพราะยืมคำว่า Nature มาใช้อย่างนี้ ไอ้คำว่า Nature ของฝรั่งนั้นมันไม่ใช่สิ่งเดียว มันยังมีที่มีใช่ Nature หรือมี ทิวเปอร์เนเจอร์ เหนือ Nature นั้นก็มี เพราะว่า Nature ทั้ง ๒ มันหมายความอย่างนั้น แต่มันไม่มีคำอื่น ขอยืมคำว่า Nature มาใช้ นี่คำว่าธรรมชาติยังใช้คำว่า Nature แต่ไม่ถูกต้องตามหลักของพุทธศาสนา ธรรมชาติหมายมีเพียงสิ่งเดียว ไม่มีเหนือธรรมชาติ ไม่มีนอกธรรมชาติหรอก นี่ให้รู้ไว้ว่าในหลักธรรมะไม่มีเหนือธรรมชาติ นอกธรรมชาติ เป็นธรรมชาติหมดไม่มีอะไรเหลือ ตั้งแต่ขี้ฝุ่นเม็ดหนึ่ง จนพระนิพพานอันสูงสุดก็เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติโดยเสมอกัน แต่ถ้าฝรั่งมันยังมีอีก...(ไม่ได้ถอดเสียงนาทีที่ ๕๔.๕๔ )หรือที่ว่ามิใช่ธรรมชาติ ก็ตามใจเขาเถอะ แต่เดี๋ยวนี่เราเอาคำว่ายืมมานะ Nature มาใช้กับคำว่าธรรมชาติในภาษาบาลี เราก็พูดโดยหลักของเรา ไม่ต้องไปคำนึงถึงไอ้ Nature, Nature , Natural อะไรของฝรั่ง ตัวธรรมชาติแท้ๆก็เรียกว่าธรรมะธรรมะในฐานะเป็นตัวธรรมชาติ เป็นรูป เป็นนาม เป็นชีวิต เป็นไม่มีชีวิต เป็นอะไรก็ตามนะมีอยู่ตามธรรมชาติ นี่ก็เรียกว่าธรรมะ แล้วอันที่ ๒ คือกฎ กฎของธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในตัวธรรมชาตินั้น ธรรมชาติทั้งหลายมีกฎเกณฑ์อยู่ในตัวมันเอง ไอ้ตัวกฎนี่เรียกว่ากฎของธรรมชาติ อันนี้ก็เรียกว่าธรรมะ
แล้วเมื่อธรรมชาติมันมีกฎเกณฑ์กฎเกณฑ์ตายตัวอยู่อย่างนี้ มันก็เกิดหน้าที่แก่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายจะต้องปฏิบัติให้ถูกตามหน้าที่ มิฉะนั้นมันตาย จึงมีคำว่าหน้าที่ หน้าที่ Duty , Dutyขึ้นมาสำหรับปฏิบัติให้ถูกตามหน้าที่หรือตามกฎเกณฑ์ ฉะนั้นคำว่าหน้าที่หน้าที่ก็คือธรรมชาติ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ มันก็คือธรรมชาติ เมื่อทำหน้าที่แล้ว มันก็มีสิ่งที่เรียกว่าเป็นผลจากการทำหน้าที่ แม้ผลของหน้าที่ก็เรียกว่าธรรมชาติ เราจึงได้คำความหมายของคำว่าธรรมชาติเป็น ๔ ความหมายด้วยกัน ว่าตัวธรรมชาตินั้นก็ดี ตัวกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้นก็ดี ตัวหน้าที่ตามกฎเกณฑ์นั้นก็ดี หรือผลที่เกิดมาจากการทำหน้าที่นั้นก็ดี ๔ ความหมายนี้เรียกว่าธรรมะเสมอกันนะ แต่แล้วเราแยกเฉพาะ ไอ้ความหมายที่สำคัญที่สุดใน ๔ ความหมายนี้ มีความหมายที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ความหมายที่ ๓ คือหน้าที่ หน้าที่ นี่จะต้องรู้และจะต้องปฏิบัติ ถ้าไม่รู้ หรือไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิดแล้วมันจะต้องตาย ฉะนั้นคำว่าธรรมะ ธรรมะในพระพุทธศาสนาจึงหมายถึงหน้าที่ ที่ปฏิบัติแล้วจะเกิดความรอด เรารวบเอามาในคำว่าธรรมชาติหมดนะ Nature ก็ธรรมะ Round nature , Natural round ก็ธรรมะ Duty in the quadrants is the law. นั่นก็คือธรรมะ Result in the quadrants with the duty. ก็คือธรรมะ ธรรมชาติก็ดี กฎธรรมชาติก็ดี หน้าที่ตามกฎธรรมชาติก็ดี ผลตามหน้าที่นั้นก็ดี เรียกว่าธรรมะ ธรรมะ มันมากนัก รู้ทั้ง ๔ ความหมายก็ได้ แต่ว่าต้องรู้เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษถึงที่สุด คือความหมายที่ ๓ คือคำว่าหน้าที่ หน้าที่ นั่นคือธรรมะที่เราจะต้องมาใช้เป็นหลักทั่วไปโดยไม่ต้องถามกันให้ยืดยาวนะ
ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ ปฏิบัติหน้าที่คือปฏิบัติธรรมะ ปฏิบัติธรรมะคือปฏิบัติหน้าที่ ฉะนั้นเราต้องปฏิบัติหน้าที่หรือธรรมะจนดับทุกข์ได้สิ้นเชิง นี่คือธรรมะ ธรรมะที่ต้องรู้ ที่ต้องศึกษา ถ้าท่านทั้งหลายมาที่นี่เพื่อศึกษาธรรมะ ก็จงเพ่งเล็งถึงความ...ความหมายที่ ๓ คือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อชีวิตจิตใจให้ถูกต้อง แล้วชีวิตนี้ก็จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่ชีวิตนี้จะได้รับ แล้วก็ทันแก่เวลา คำว่าทันแก่เวลานี่ก็เพราะว่าชีวิตนี้เป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้ยืมมา ให้เวลาอันจำกัด ท่านจะชอบถือหลักอย่างนี้หรือไม่ก็ตามใจ ท่านมีเสรีภาพ ท่านมีอิสรภาพที่จะถือ แล้วถ้าถือตามธรรมเนียม จะเรียกว่าธรรมเนียม หรือถือกันมาเป็นธรรมเนียมตาม เอ่อ...ตามหลักของพวกศึกษาธรรมะนักศึกษาธรรมะ ก็เกือบจะถือว่าชีวิตนี้มิใช่ตัวกู มิใช่ของกู แต่เป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้ยืมมานะ ธรรมชาติให้ยืมมาในเวลาอันจำกัด แล้วก็เอามาพัฒนาเอามาพัฒนาตามชอบใจ ตามชอบใจ นี่จะพัฒนาอย่างไร จะไปลงนรกก็ได้ ไปสวรรค์ก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ พัฒนาเอาเองเถิด ให้ยืมมา แล้วในเวลาอันจำกัดอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ว่า ๑๐๐ ปี โดยประมาณไม่เกินนั้นไปได้ ต้องพัฒ...พัฒนาชีวิตคือสิ่งที่ยืมมา ให้ทันแก่เวลา ให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรจะได้ นั่นคือธรรมะหรือการปฏิบัติธรรมะ จะต้องรู้เรื่องเหล่านี้จึงจะเรียกว่ารู้เรื่องธรรมะ มาเพื่อศึกษาธรรมะ แล้วก็มาเพื่อศึกษาเรื่องเหล่านี้
ชีวิตนี้ธรรมชาติให้ยืมมา ถ้าว่ามันเป็นตัวกู ของกู ก็คือคนโกง ยืมมาแล้วมาว่าของตัวเองนี้มันคนโกง มันก็ถูกตบหน้า คือลงโทษให้มันเป็นทุกข์นะ คุณมีความคิดว่าตัวกู ของกูเมื่อไร มันจะถูกตบหน้าโดยธรรมชาติ แล้วคุณจะมีความทุกข์ที่ชีวิตนี้มันจะกัดเอา ชีวิตนี้นะมันจะกัดเอาเมื่อคุณโกง โกงว่าของกู ว่าตัวตนของกู มันจะถูกตบหน้า นี่เพราะว่าไม่รู้ธรรมะ ปฏิบัติผิดต่อธรรมะ ปฏิบัติอย่างคนโกง มันก็ถูกตบหน้าให้ความทุกข์ อย่างนี้เราเรียกว่าชีวิตของคนโง่ของคนไม่มีธรรมะ มันกัดเจ้าของ เป็นชีวิตที่กัดเจ้าของ เพราะเจ้าของมันตู่มันโกงของธรรมชาติมา มันทำผิดว่าของกู มันก็ถูกกัด ชีวิตนี้มันก็กัดเจ้าของ มันเลวกว่าหมานั่น เพราะหมาตัวไหนที่กัดเจ้าของ หายากนะ หาไม่พบ แต่ชีวิตที่ไม่มีธรรมะ มันกัดเจ้าของทั้งนั้นแหละ มันกัดเจ้าของ ฉะนั้นเราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องในฐานะเป็นของที่ธรรมชาติให้ยืมมา ให้ยืมมาอย่างไม่คิดดอกเบี้ย ให้ยืมเงินยังคิดดอกเบี้ย ในโลกนี้ยืมอะไรมันก็คิดดอกเบี้ย คิดประโยชน์ต่างตอบแทน แต่ว่าธรรมชาติให้ยืมมาอย่างไม่คิดดอกเบี้ย ไม่คิดค่าสึกหรอ ไม่คิดอะไรหมดล่ะ เพียงแต่ว่ามึงเอามาใช้พัฒนาตามชอบใจ พอถึงเวลาคืนกูก็แล้วกันนะ ธรรมชาติมันมีกฎเกณฑ์อย่างนั้น หนึ่งปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้ทันแก่เวลา นั่นนะคือการปฏิบัติธรรมะให้ทันแก่เวลา ให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์เอ่อ...ควรจะได้รับ แล้วก็ทันแก่เวลา แล้วก็คืนเจ้าของไป นี่คือสิ่งที่เรียกว่าชีวิต แล้วก็มีหน้าที่ที่ชีวิตจะต้องประพฤติปฏิบัติ จะต้องกระทำให้ทันแก่เวลาที่ชีวิตยืมมาเท่าไหร่ ยืมมาจากธรรมชาติเท่าไร อย่างไร เมื่อไร ที่ไหน ให้มันถูกต้องตามนั้น การปฏิบัติให้ถูกต้องตามนั้นนะคือธรรมะ ในฐานะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพราะถ้ากล่าวให้หมดจดสิ้นเชิง ก็เรียกว่าความรู้ที่ถูกต้อง ก็เรียกว่าธรรมะ การปฏิบัติให้ถูกต้องก็เรียกว่าธรรมะ การได้รับประโยชน์ได้รับผลออกมาให้ถูกต้องถูกต้อง ก็เรียกว่าธรรมะ แล้วมีไว้ให้ถูกต้อง ใช้มันให้ถูกต้อง มีอยู่ให้ถูกต้อง ใช้ให้มันถูกต้องออกไปก็เรียกว่าธรรมะทั้งนั้น
เราจะต้องรู้ธรรมะ เราจะต้องปฏิบัติธรรมะ เราได้รับธรรมะ แล้วก็มีไว้แล้วก็ใช้มันให้ถูกต้อง นี่เรียกว่าธรรมะธรรมะใน ๔ ลักษณะที่จะต้องประพฤติกระทำต่อด้วยกัน รู้ถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ได้รับผลถูกต้อง ใช้มันไปให้ถูกต้อง และทันแก่เวลาที่ยืมมา ชีวิตนี้จะไม่กัดเจ้าของ ถ้าผิดจากนี้ชีวิตนี้จะกัดเจ้าของ คือดูเอาเองเถอะ มันเกิดกิเลสนะ มันเกิดความผิดพลาด ความโง่เขลา ความอะไรขึ้นมา เพราะทำต่อมันไม่ถูกต้อง มันก็กัดเจ้าของ พวกฝรั่งมาที่นี่เดือนหนึ่งกว่า ๑๐๐ คน หลายเดือนมาแล้ว หลายปี มันชอบคำๆนี้มากที่สุด ฝรั่งชอบคำว่าชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของนี่มากกว่าคำไหนๆที่เราสอนเขา เพราะฉะนั้นเขาพูดว่าเขาไม่เคยพบ ไม่รู้จักชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ เขามีแต่ชีวิตที่กัดเจ้าของมาตลอดเวลา เขาเล่าเรียนจบมหาวิทยาลัย เป็นครูบาอาจารย์มาแล้วนะ วิชาที่เรียนมาอย่างนั้นอย่างนี้ ไปเป็นฮิปปี้ก็แล้ว ไปลองอย่างนั้นอย่างนี้ก็แล้ว ลองเป็นฮิปปี้กันก็ไม่พบ ไม่พบชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ ฮิปปี้เดี๋ยวนี้สูญหายไปจากโลกแล้ว เพราะมันไม่มีความจริง คือสาระนั่นแหละ นี่กำลังเที่ยวหาอยู่ว่าชีวิตชนิดไหนจะไม่กัดเจ้าของ มันก็มาพบธรรมะ ธรรมะที่ถูกต้อง ธรรมะที่สอนให้ถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ได้รับผลอย่างถูกต้อง แล้วก็มีชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ ก็เลยชอบใจ เรียกว่าชีวิตใหม่ก็ได้ เรียกว่าวิถีดำเนินชีวิตอย่างใหม่ก็ได้ อันเดียวกันแหละ ชีวิตใหม่กับวิถีชีวิตใหม่ มันก็มีผลอย่างเดียวกัน คือไม่กัดเจ้าของ
ฉะนั้นครูบาอาจารย์อย่าสอนเด็กๆว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านะ ผีมันจะหัวเราะเอา เพราะว่ามันไม่ถูก มันถูกนิดเดียว อาตมาจะนิยามบทนิยามคำนี้ให้ฟังว่า ธรรมะคือหน้าที่หรือ ระบบปฏิบัติตามหน้าที่ ที่ใช้คำว่าระบบสักหน่อยก็เพราะว่า มันต้องปฏิบัติหลายๆอย่างรวมกัน เรียกว่าระบบปฏิบัติหรือหน้าที่ที่มีระบบ แต่ต้องใช้คำว่าที่ถูกต้อง คือไม่ผิด ถูกต้องแก่อะไร ถูกต้องแก่อะไร ถูกต้องแก่ความรอด นี้ความรอดอะไร ความรอดทั้งทางกายและทางจิต เพราะมันมีอยู่ ๒ ชั้น รอดทั้งทางกายและรอดทั้งทางจิต แล้วก็เท่าไร คือทุกขั้นตอนแห่งชีวิต ตั้งแต่ออกจากท้องมารดาจนเข้าโลง ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต แล้วก็ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น ข้อนี้ทิ้งไม่ได้ ต้องมีกำ...จำกัดไว้ว่าทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น
ทีนี้คุณฟังให้ดีว่ามันมีกี่ความหมายนะ ระบบปฏิบัติสำคัญอยู่ที่ว่าระบบ ก็ต้องปฏิบัติเป็นระบบ นี่คำแรกนะ คำที่ ๒ คือ ถูกต้องถูกต้องถูกต้อง ถูกต้องตามกฎของธรรมชาตินะ ไม่ใช่ถูกต้องตาม Logic ไม่ใช่ถูกต้องตาม Philosophy ของการศึกษาอะไรสมัยใหม่นี้ ถูกต้องอย่างนั้นอย่าเอามาปนกันเลย ไว้ให้พวกนั้นเถอะ พวกเราให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ระบบปฏิบัติที่ถูกต้อง นี่คำที่ ๓ ว่า แก่ความรอด แก่ความรอด แล้วความรอดคำที่ ๔ ว่าทั้งทางกายและทางจิตใจ รอดแต่ทางกายนี้ไม่ได้ ตกนรกซะดีกว่า รอดทางกายทางจิตคือทั้งทางกายและทางจิต แล้วทุกขั้นตอนแห่งชีวิต ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย หรือตั้งแต่สมัยหินจนถึงสมัยปัจจุบันก็ได้ ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต แล้วก็ต้องทั้งเพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น นี่เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย เพราะว่าเราอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ นั่นนะนึกไว้ด้วย เมื่ออยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ เพราะธรรมชาติไม่ได้สร้างมาสำหรับให้อยู่คนเดียว ธรรมชาติสร้างมาสำหรับอยู่กันมากๆ คนมาอยู่กันมากๆ สัตว์ก็อยู่กันมากๆ ต้นไม้ต้นไร่ก็อยู่กันมากๆ มันจึงจะอยู่ได้ ถ้าสมมติว่าใครจะมามีอำนาจยกโลกนี้ทั้งหมดให้เราอยู่คนเดียว เอ้า, เราก็อยู่ไม่ได้ เราก็จะต้องตายด้วยซ้ำไป อยู่ไม่ได้หรอก เพราะธรรมชาติมันได้กำหนดมาสำหรับอยู่กันเป็นหมู่เป็นคะ...เป็นคณะ คือหลายคน จึงมีคำว่าเพื่อผู้อื่นด้วย นี่ประโยชน์ เพื่อประโยชน์ร่วมกันประโยชน์ร่วมกัน
ประโยชน์ในพระพุทธศาสนานั้นนะมันมี ๓ ประโยชน์ ประโยชน์ตัวเองนี่อย่างหนึ่ง ประโยชน์ผู้อื่นนั่นอีกอย่างหนึ่ง แล้วประโยชน์ที่มันผูกพันกันแยกกันไม่ได้ทั้งตัวเองและผู้อื่นนั้นอีกประโยคหนึ่งประโยชน์หนึ่ง มีอยู่ ๓ ประโยชน์ เมื่อเราจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน เราจะต้องปฏิบัติประโยชน์ผู้อื่นด้วย อยู่คนเดียวไม่ได้ มันตาย มันจึงมีคำว่าทั้งตนเองและผู้อื่น แล้วก็ที่มันสัมพันธ์กันทั้งตนเองและผู้อื่นนั้น มันรวมอยู่แล้วในคำว่าตนเองและผู้อื่น พระพุทธเจ้าได้ตรัสประโยชน์ไว้เป็น ๓ ประโยชน์ คือ ประโยชน์ตนเอง ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกันอย่างที่แยกกันไม่ได้ เป็น ๓ ประโยชน์ ชีวิตนี้จะต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๓ ประโยชน์ อ่า...ได้รับประโยชน์ทั้งหมดที่ชีวิตควรจะได้รับ แล้วก็ ทันแก่เวลาตามที่ธรรมชาติให้ยืมมาให้ยืมมานะ นี่ขอให้ช่วยจำไว้อย่างนี้เฉยๆว่าอย่าๆอย่าสอนเด็กๆว่าธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สอนเด็กๆว่าธรรมะๆคือระบบปฏิบัติข้อแรก ที่ถูกต้อง ข้อที่ ๒ แก่ความรอด ข้อที่ ๓ ทั้งทางกายและทางจิต ข้อที่ ๔ ทุกขั้นตอนแห่งชีวิต ข้อที่ ๕ ทั้งตนเองและผู้อื่น ข้อที่ ๖ มีสัก๓ เอ่อ...๓ เอ้อ... สัก ๖ ความหมาย สัก ๖ ความหมายอย่างที่ว่ามานี้ นี่เป็นบทพยางค์ ที่ถูกต้องที่สุดเอ่อ...สำหรับคำว่าธรรมะๆคืออะไร
เอ้า,ทีนี้ก็มาพูดต่อไปถึงคำว่ามันถูกต้องแก่ความรอด ถูกต้องแก่ความรอด คือมันดับทุกข์ได้ มันต้องดับทุกข์ได้ มันจะถูกต้องแก่ความรอด มันถูกต้องแก่ความรอดนะ มันต้องดับทุกข์ได้ มันจึงมีความสำคัญอยู่ที่คำๆเดียวว่ารอด รอด รอดนะ ศาสนามันเป็นเรื่องของความรอดๆทุกๆเอ่อ...ในความหมายนะ ธรรมะก็เพื่อความรอด คือ วิมุตติ มันแปลว่าความรอด ความหลุดพ้น ความรอด ธรรมะมันเพื่อความรอด ธรรมะโดยจุดศูนย์กลางเป็นส่วนรวมเพียงคำเดียว แปลว่าสิ่งที่เป็นไปเพื่อความรอด จะอธิบายว่าถูกต้องแล้วปฏิบัติ แล้วก็ตามใจเถอะ ในที่สุดมันก็เพื่อความรอด ความรอดมันก็คือดับทุกข์ได้ มีกฎเกณฑ์ตามกฎของธรรมชาติ เรียกว่ากฎของธรรมชาติใน ๔ ความหมาย ความหมายที่ ๒ เรียกว่ากฎเกณฑ์ ความหมายที่ ๓ เรียกว่าหน้าที่ ทีนี้หน้าที่นี้มันต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ เพราะมันต้องถูกตามกฎเกณฑ์ หน้าที่ที่ไม่ถูกตามกฎเกณฑ์มันก็ใช้ไม่ได้ มันจึงสำคัญอยู่ที่กฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์แห่งอะไร กฎเกณฑ์แห่งความดับทุกข์ ก็มาสนใจธรรมะในฐานะที่เราเป็นกฎเกณฑ์แห่งความดับทุกข์
ทีนี้ก็จะต้องพูดกันถึงเรื่อง กฎปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท เป็นคำแปลกๆ ถ้ามันไม่เข้าใจก็ตามใจเถิด ถ้ามันไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะว่ามันไม่มีชื่ออย่างอื่นเรียก ในบาลีในพระพุทธศาสนาเรียกว่า กฎแห่งปฏิจจสมุปบาท เป็นกฎของธรรมชาติ เกี่ยวกับการเกิดขึ้นและดับลงแห่งความทุกข์ กฎเกณฑ์ที่ตายตัวเฉียบขาดของธรรมชาติ เกี่ยวกับการเกิดขึ้นและดับลงแห่งความทุกข์ นี่เรียกว่ากฎปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท แปลว่าอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น นี่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ความเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ ก็ต้องอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ความดับทุกข์ก็เหมือนกัน ต้องอาศัยกันแล้วดับลง หรือๆความๆดับทุกข์เกิดขึ้นก็เพราะอาศัยกัน อาศัยเหตุปัจจัยของมันนะ จึงมีความสำคัญอยู่ที่ว่าอาศัยกัน อาศัยกัน แล้วมันก็มีผลออกมาเป็นความทุกข์ หรือเป็นความดับทุกข์ก็ตาม นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมะอันสูงสุดคือมันดับทุกข์ได้ ด้วยเรื่องดับทุกข์ ดับทุกข์กันแล้ว มันๆเป็นเรื่องสรวม...เอ่อ...สรุปรวมอยู่ที่กฎที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ขอให้ช่วยอดทนหน่อย ช่วยจำคำนี้ ไปแปลเสียมันก็มันอาจจะเลือนไปเสีย ไม่แปลนะ ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจะ แปลว่าอาศัยกัน สมุปบาท เกิดขึ้นพร้อม อาศัยกันแล้วเกิดขึ้นอย่างครบถ้วนนี้เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท เป็นหัวใจของธรรมะ คือความถูกต้องสำหรับที่จะดับทุกข์ได้ ต้องสอนเรื่องนี้ อ้า...ต้องเรียนเรื่องนี้ ก็ต้องสอนเรื่องนี้จึงจะมีประโยชน์ ในๆโลกนี้ต้องเรียนเรื่องนี้ ต้องสอนเรื่องนี้ ปฏิบัติเรื่องนี้ จะได้รับประโยชน์ในชีวิตนี้ทันแก่เวลา ปฏิจจสมุปบาท นี่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ท้าทายว่าไม่มีสอนในศาสนาอื่น แต่เรามีแปลกจากศาสนาอื่น เพราะว่าเรามีเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท มีความสำคัญมากนะ คือจะอาศัยพระพุทธภาษิตที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นฉัน ผู้ใดเห็นฉัน ผู้นั้นเห็นธรรมนะ เห็นเรานะ ตถาคตนะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็น ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ประโยคหลังนี่ไม่ค่อยจะได้ยินกันนัก เพราะมันไม่ได้อยู่รวมกัน มันอยู่ที่บางแห่ง ฉะนั้นพวกครูบาอาจารย์ไม่ค่อยเอามาพูดหรอกว่า เห็นธรรมคือเห็น ปฏิจจสมุปบาท เห็น ปฏิจจสมุปบาท คือเห็นธรรม มันไม่ค่อยได้เอามาพูดหรอก แต่บอกให้รู้เสียเดี๋ยวนี้ว่าพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ แล้วพระสาวกก็พูดต่อๆๆๆกัน จนเอาไปยืนยันว่าพระพุทธพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น ปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็น ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ทีนี้มันก็มาเข้ากันกับคำว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรานะ ต้องเห็น ปฏิจจสมุปบาท จึงจะเห็นพระพุทธเจ้า เห็น ปฏิจจสมุปบาท คือเห็นอะไร ก็บอกแล้วเห็นการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ และการดับลงแห่งความทุกข์ เห็นความจริงข้อนี้ก็ได้ เห็นภาวะคือการเป็นไปอย่างนี้ก็ได้ว่า ไอ้ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงไปอย่างไร ถ้าเห็นข้อนี้ก็คือเห็นพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าคือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงไปอย่างไร นี่พระพุทธเจ้าพระองค์จริง คือผู้ที่แสดงให้เราเห็นชัดว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงไปอย่างไร นี่ขอแถมสักหน่อยว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าอยู่ที่หลังม่านแห่งความโง่ของคุณเอง หยาบคายไปหน่อย พระพุทธเจ้าอยู่ๆที่หลังม่านแห่งความโง่ของคุณเองนะ อย่าไปหาที่วัด อย่าไปหาที่อินเดีย อย่าไปหาที่ทิเบต อย่าไปหาที่เมืองจีน อย่าไปหาที่ไหนเลย มันอยู่ที่หลังม่านแห่งความโง่ของคุณเอง รูปภาพรูปนี้มีอยู่ในโรงรูปภาพนะไปดูสิ หาม่านแห่งความโง่ของคุณเองพบ แล้วแหวกไปสักหน่อยหนึ่งก็ได้ หรือเผาเสียเลยก็ได้ ทำลายเสียก็ได้ พระพุทธเจ้าจะอยู่ที่ตรงนั้น แล้วมันจะแสดงความทุกข์และความดับทุกข์ที่ตรงนั้น ไม่ต้องไปหาที่อินเดีย
อาตมาก็เคยโง่ไปหาที่อินเดีย มันไม่คุ้มค่าเวลา ต้องไปหาที่หลังม่านแห่งความโง่ของตน ของตน ของตน จะพบพระพุทธเจ้าว่านั่งอยู่ที่ตรงนั้น เดี๋ยวนี้ตัวเองก็ไม่รู้ว่าตัวเองโง่ทีล่ะ ไม่รู้ว่าตัวเองโง่ ที่จะไปหาม่านแห่งความโง่ที่ไหน มันก็หาไม่พบอยู่ดี มาตั้งต้นกันใหม่ มันโง่ โง่ตรงไหน โง่อย่างไร โง่เมื่อไร โง่ที่ไหน เอ่อ...พบม่านแห่งความโง่นั้นแล้ว ก็แหวกออกไปหน่อยหนึ่ง ก็พบพระพุทธเจ้า โอ้, นั่งอยู่ที่ตรงนี้ นั่งอยู่ที่ตรงนี้ อย่าไปหาในโบสถ์ อย่าไปหาที่วัด อย่าไปหาที่อินเดีย อย่าไปหาพุทธศาสนาอย่างจีน อย่างเซ็น อย่างทิเบต อย่างอะไรให้มันบ้าๆบอๆ เพราะว่าท่านอยู่ที่หลังม่านแห่งความโง่ของคุณนั่นนะ นี่พระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงนี้ แล้วสอนลูกเด็กๆของเราให้รู้จักว่าพระพุทธเจ้านะอยู่ที่หลังม่านแห่งความโง่ แต่กระทรวงศึกษาธิการอาจจะไม่ยอมรับก็ได้ ไม่ให้สอนอย่างนี้ก็ได้ ตามใจเขาเถอะ เราเอาไว้พูดกันเองก็แล้ว...ก็แล้วกันว่าที่หลังม่านแห่งความโง่ของแต่ละคน แต่ละคนนั้นมีพระพุทธเจ้าอยู่ ก็คือเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท พอปัดความโง่ออกไป ม่านนี้ออกไปก็แจ่มแจ้งเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ความทุกข์มันเกิดขึ้นอย่างนี้ ความทุกข์มันเกิดขึ้นอย่างนี้
ถ้าจะสอนเด็กๆให้มีพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ก็รีบสอนให้เขารู้จักความโง่ของเขาเสีย ความโง่ออกไปเสีย ก็พบพระพุทธเจ้าพระองค์จริงนี่ จะสอนเด็กๆให้มีพระพุทธเจ้าพระองค์จริง มันก็ต้องสอนอย่างนี้ คือ ปฏิจจสมุปบาท ความจริงเรื่องความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงไปอย่างไรนั่นแหละ เราจะเสียเวลาพูดเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท กันสักหน่อย อ่า...พอให้เป็นที่เข้าใจว่า ปฏิจจสมุปบาทนั้นคืออะไร
เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท นี้มันๆก็กล่าวได้หลายแง่ คือว่ามันสอนเรื่องไม่มีตัวก็ได้ ไม่มีตัว ไม่มีตัว มีแต่กระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ก็ได้ หรือจะพูดว่ามันสอนเรื่องดับทุกข์ ดับทุกข์ ว่าความทุกข์เกิดอย่างไร ความทุกข์ดับอย่างไรอย่างนี้ก็ได้ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท แล้วมันก็เป็นเรื่องเดียวกันนะ เป็นเรื่องเดียวกันนะ ถ้ามีตัวก็มีความทุกข์ ถ้าไม่มีตัวก็ไม่มีความทุกข์ มันก็สอนเรื่องไม่มีตัว ความรู้สึกนึกคิดหรือการกระทำใดๆก็ตาม มันเป็นไปตามกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท คือคิดอย่างไร มันก็ทำอย่างนั้น คิดโง่ มันก็ทำอย่างโง่ คิดฉลาดก็ทำอย่างฉลาด คิดผิดก็ทำผิด คิดถูกต้องก็ทำถูกต้อง มันเป็นไปตามอำนาจแห่งความคิด นี่คือเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท รู้ถูกมันก็ดับทุกข์ รู้ไม่ถูกก็ไม่ดับทุกข์
สอนเด็กๆให้รู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ได้ง่าย ถ้าครูผู้สอนนั้นเข้าใจอย่างถูกต้องเพียงพอ คือสอนให้รู้ว่ามันไม่ใช่ตน แล้วไปโง่ว่าเป็นตัวตน เราบอกเด็กๆว่าตา ระบบประสาทตา มันมีระบบประสาทตา แล้วมันเห็นรูป แล้วเราก็โง่ว่ากูนะเห็นรูป ระบบประสาทตาเห็นรูป มันโง่ว่ากูเห็นรูป ระบบประสาทหู มันได้ยินสียง คลื่นเสียงกระทบระบบประสาทหู ก็รู้สึกไปตามนั้น มันว่ากูได้ยินเสียง ระบบประสาทจมูกได้กลิ่น ก็กูได้กลิ่น ระบบประสาทลิ้นได้รส มันก็กูได้รส ระบบประสาทผิวหนังทั่วไป มันรู้สึกสิ่งที่มากระทบ มันก็กูๆหรือฉันหรือตัวกูตัวฉัน รู้ระบบ อ้า รู้สิ่งที่มากระทบมันเป็นกูๆๆไปเสียหมด นี่มันโง่ นี่ระวังม่านแห่งความโง่มันตั้งต้นที่นี่นะ ที่หลังม่านแห่งความโง่ จึงจะมีพระพุทธเจ้า ที่มันโง่กันตั้งแต่ต้นอย่างนี้นะ ระบบ ปฏิจจสมุปบาท มันก็ตั้งต้นที่ตรงนี้ ยกตัวอย่าง มันมี ๖, ๖ , ๖อย่างนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่างเหมือนกัน ยกตัวอย่างมาเรื่องตา พอตา ระบบประสาทตากระทบรูป คือสิ่งที่มากระทบตา มันก็เกิดวิญญาณทางตา เอ่อ...ที่เรียกว่าการเห็นรูปทางตา วิญญาณทางตา กระทบทางหูเกิดวิญญาณทางหู กระทบทางจมูกเกิดวิญญาณทางจมูก
วิญญาณๆๆในพุทธศาสนานี่ของเพิ่งเกิด ไม่ใช่มีอย่างตายตัวเหมือนวิญญาณในระบบศาสนาอื่น อย่าเอามาปนกัน วิญญาณๆในระบบของพระพุทธศาสนานี่เพิ่งเกิด เมื่ออายตนะมันกระทบกัน อายตนะภายในคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผทัพพะธรรมารมณ์ เป็นคู่ๆ มีการกระทบตามคู่เมื่อไรก็เกิดวิญญาณเมื่อนั้น ตามชื่อนั้นๆ ทางตาเกิดจักษุวิญญาณ ทางหูเกิดโสตวิญญาณ ทางจมูกเกิดฆาณนะวิญญาณ ทางลิ้นชิวหาวิญญาณ ทางกายกายะวิญญาณ ทางใจเรียกมโนวิญญาณ นี่วิญญาณเพิ่งเกิด มันก็ได้เป็น ๓ อย่างขึ้นมา คือว่าตาอันหนึ่ง แล้วก็รูปที่มากระทบตาอันหนึ่ง แล้ววิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะการกระทบระหว่างตากับรูปนี่เป็น ๓ อย่าง เมื่อ ๓ อย่างนี่ทำหน้าที่ร่วมกันอยู่ ทำร่วมกัน ทำหน้าที่อยู่ หรือว่าทำหน้าที่ร่วมกันอยู่ อันนั้นเรียกว่า ผัสสะ ตาทำหน้าที่เห็นรูปอยู่โดยจักษุวิญญาณ ต้องมีครบ ๓ ประการจึงจะเรียกว่า ผัสสะ คุณครูอย่าสอนผิดๆว่า ผัสสะ มีเพียง ๒ อย่าง นี่คือตากระทบรูป หูกระทบเสียง เพียง ๒ อย่าง อย่างนี้ไม่ถูก ถ้าถือตามพระพุทธเจ้าสอนต้องมีครบ ๓ อย่าง ภายใน ภายนอก แล้วก็วิญญาณเกิดขึ้น แล้วก็ ๓ อย่างนี้กำลังทำงานร่วมกันอยู่จะเรียกว่า ผัสสะ ตาเห็นรูปอยู่โดยจักษุวิญญาณ หูได้ยินเสียงอยู่โดยโสตวิญญาณ จมูกได้กลิ่นอยู่โดยฆาณนะวิญญาณ ตลอดกระทั่ง๖ เรื่องนะ ๓ ประการถึงกันอยู่ทำหน้าที่กันอยู่เรียกว่า ผัสสะ เด็กพอเข้าใจได้นะแม้จะเป็นเรื่องยากสูงสุด แต่เรามีวิธีอธิบายให้พอเข้าใจได้มันก็เข้าใจได้ แล้วมันๆๆมันมีอยู่ในเรื่องประจำวันมันพอจะเข้าใจได้ พอตากระทบรูปก็เกิดการเห็นทางตา เมื่อมันมีการเห็นทางตาอยู่ด้วยในสิ่งทั้ง ๒ นั้น มันก็เรียกว่า ผัสสะ
ผัสสะ หรือสัมผัสแล้วแต่จะเรียก จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่สุด เป็นจุดเป็นหรือจุดตายก็อยู่ที่ตรงนี้ ถ้า ผัสสะ มันโง่ มันก็ไปสู่ความทุกข์ ถ้า ผัสสะ มันไม่โง่ มันฉลาด มันก็ไม่ไปสู่ความทุกข์ ผัสสะมันโง่ก็หมายความว่าเวลานั้นไม่ๆๆมีความรู้ที่ถูกต้อง เป็นอวิชชาไปหมด มันมีความโง่ตัวกู ตัวกูเป็นผู้ ผัสสะ ตัวกูเป็นผู้ ผัสสะ เช่นว่าตาเห็นรูปมันว่ากูเห็นรูป หูได้ยินเสียงก็กูได้ยินเสียง นี่มันโง่ มันโง่อย่างนี้ นี่เป็น ผัสสะ โง่อย่างนี้แล้ว ก็ต้องไปหาความทุกข์ แต่ถ้า ผัสสะ มันไม่โง่ โอ้,มันก็พวกประสาทต่างหากละมัน มาทำหน้าที่ตามธรรมชาติ ไม่ใช่มีตัวกูตัวแกที่ไหน ถ้าอย่างนี้ ผัสสะ ไม่โง่ จะไม่ไปสู่ความทุกข์ คือว่า ผัสสะ มันโง่ มันโง่ มันพร้อมที่จะเป็นตัวกู มันจะเป็นตัวกูกันที่ตรงนี้ มันโง่ เมื่อมันเกิดเวทนารู้สึกตาม ผัสสะ ขึ้นมา ก็เป็นเวทนาโง่ หลอกให้เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุข ไม่ทุกข์บ้าง พูดอย่างวิทยาศาสตร์หน่อยก็มันเป็นบวกบ้าง เป็นลบบ้าง หรือยังไม่เป็นบวก ไม่เป็นลบบ้าง มันก็จะโง่ว่าบวกน่ารัก โง่ไม่น่า เอ้อ...ลบไม่น่ารัก มันจะเกิดความแบ่งแยก เช่นว่าอร่อย ไม่อร่อย สวย ไม่สวย หอมหรือเหม็นอะไรขึ้นมา มันโง่ นี่เวทนามันโง่แล้ว พอเวทนามันโง่ มันก็เกิดความอยากไปตามเวทนานั้น มันก็เว...เป็นความอยากที่โง่ เรียกว่าตัณหา
ตัณหาแปลว่าความอยาก หรือความโลภก็เรียกว่าความอยาก ต้องด้วยความโง่จึงจะเรียกว่าตัณหาหรือเรียกว่าความโลภ แต่ถ้ามันประสงค์หรือต้องการด้วยสติปัญญาด้วยความฉลาด ไม่เรียกว่าตัณหา ไม่เรียกว่าความโลภ ไปเรียกด้วยคำอีกคำซึ่งค่อนข้างไพเราะเรียกว่า สังกัปปะ สังกัปปะ ความปรารถนาด้วยสติปัญญาในทางที่จะถูกต้อง และเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ความประสงค์อย่างนี้เรียกว่า สังกัปปะ มันไม่เรียกว่าตัณหา ไม่เรียกว่าโลภะ แต่มันก็น่าเศร้าที่ตามศาลาวัดโดยมากสอนกันอยู่ว่าถ้ามีความอยากแล้วเรียกว่าตัณหาทั้งนั้นแหละ อย่าไปเชื่อที่คำสอนอย่างนั้น ที่สอนว่าถ้ามีความอยากแล้วเรียกว่าตัณหาทั้งนั้น อย่าไปเชื่อ มันต้องอยากด้วยความโง่จึงจะเรียกว่าตัณหาหรือโลภะ ถ้ามันอยากด้วยสติปัญญาต้องการจะถูกต้อง มันก็ต้องเรียกว่า สังกัปปะ สังกัปปะ มันจะไปในทางรอดในทางถูกต้อง ถ้าตัณหาโลภะไปในทางทุกข์ พระก็มาสวดคำนี้อยู่ทุกทีที่มาฉันที่บ้านที่เรือนที่เกิดอะไร สัพเพ ปูเลนตุ สังกัปปา จันทร์โท ปัณนะระโส ยถา มณีโชติรโส ยถา ขอให้สังกัปปะของท่านบริสุทธิ์สมบูรณ์เหมือนกับดวงจันทร์วันเพ็ญหรือแก้วมณีโชติ ท่านใช้คำว่า สังกัปปะ ไม่ได้ใช้คำว่าตัณหาหรือโลภะของคุณต้องสมบูรณ์ จะใช้ว่า สังกัปปะ ของคุณจงสมบูรณ์ เพราะ สังกัปปะ มันมาจากวิชา ปัญญา หรือความถูกต้อง ภาษาฝรั่งก็เหมือนกันแหละ มันมีคำอย่างนี้ ถ้าเรียกว่า Desire หรือ เคลฟวิ่ง อย่างนี้คือตัณหาหรือโลภะที่เลวที่เป็นโทษ แล้วมันก็มีคำเรียกว่า Aspiration เป็นภาษาละตินที่ถูกต้อง มีความหมายว่ามันหวังไปในทางดี Aspiration คือตรงกับคำว่า สังกัปปะ สังกัปปะ ขอให้ Aspiration สมบูรณ์ตามที่ต้องการ ทีนี้เรามันโง่ตั้งแต่ ผัสสะ ไอ้ความอยากมันก็โง่ ไอ้ความอยากที่โง่เรียกว่าตัณหาเรียกว่าโลภะ
เอ้า,ทีนี้พอมีความอยากๆๆๆอย่างรุนแรงขึ้นในความอยาก มันก็โง่ทับ โง่ทับลงไปทีเดียว กูๆอยาก เกิดตัวกูผู้อยาก เป็นความโง่ทับลงไป เกิดมีตัวกูผู้อยาก อันนี้เรียกว่าอุปาทาน ตัวกูผู้อยากเกิดขึ้นมาตามหลังความอยาก ตรงนี้คงจะลำบากบ้างที่ว่ามันผิดลอกจิก ผู้อยากเกิดทีหลังความอยาก ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ ก็เพราะเหตุอะไร เพราะว่าไอ้ตัวผู้กระทำมันไม่ใช่ตัวจริง มันผีหลอกนี่ มันไม่ใช่ตัวจริงนี่ มันเป็นเพียงผีหลอก ผู้กระทำชนิดนี้มันเกิดทีหลังการกระทำ มันเกิดมาจากการกระทำ เมื่อมันมีความอยาก แล้วมันเกิดโง่เป็นตัวผู้อยาก นี่ตัวผู้อยาก ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน ตัวตนนั้น ไม่ใช่ตัวจริง ไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงผีหลอก แล้วกัดๆด้วย กัดเจ้าของด้วย นี่เรียกว่าอุปาทาน อุปาทาน เกิดความรู้สึกว่ามีผู้อยากตั้งต้นขึ้นมาแล้ว ความรู้สึกว่าผู้อยากนี้ก็บ่มๆๆไว้จนเกือบถึงที่สุดเรียกว่าภพ ภวะ หรือ ภพตั้งต้นแล้ว เหมือนกับว่าตั้งครรภ์นะ ตั้งครรภ์ก็เรียกว่าอุปาทาน รอกว่าจะแก่ครรภ์แก่ๆเรียกว่าภพๆๆๆ ภวะ พอถึงที่สุดแล้วมันก็ชาติ คือเกิดโพล่งออกมาเป็นชาติ ในหนึ่งโมงแห่ง ปฏิจจสมุปบาท จะมีชาติ เป็นตัวกู ตัวกูเต้นเร่าๆไปตามแบบของตัวกูของกู มันโง่ มันโง่ ไปคว้าเอาอะไรมาเป็นตัวกูเป็นของกูหมด ตัวเองเป็นตัวกู อะไรมาเกี่ยวข้องเป็นของกู ความเกิดของกู ความแก่ของกู ความทุกข์ของกู ความตายของกู อะไรๆเป็นตัวกูเป็นของกู มันก็ได้รับความทุกข์ ฉะนั้นชาติเป็นความทุกข์ เพราะว่าชาติชนิดนี้มันมาจากความโง่ วันหนึ่งมีได้หลาย ๑๐ ชาติ หลาย ๑๐๐ ชาติ มันเกิดเก่งๆอาจจะถึง ๑,๐๐๐ ชาติในวันเดียว มีชาติตั้ง ๑,๐๐๐ ชาติก็ได้ มันเกิดตัวกูครั้งหนึ่ง มันก็เรียกว่าชาติหนึ่งนะ มีชาติอย่างนี้คนธรรมดาไม่รู้จักแล้วก็ไม่พูดกัน แล้วเขาก็พูดว่า จะๆนิพพานได้ต้องรอหลาย ๑๐,๐๐๐ ชาติ หลาย ๑๐๐,๐๐๐ ชาติ มันก็หมายความว่าเข้าโลงกันหลาย ๑๐๐,๐๐๐ ชาติ หลาย ๑๐๐,๐๐๐ หน ที่จริงไม่ต้องเข้าหรอก ไม่ต้องรอจนเข้าโลงหรอก มันก็ครบ ๑๐,๐๐๐ ชาติ ๑๐๐,๐๐๐ ชาติเสียก่อนในวันเดียว เดือนเดียว ปีเดียว มันครบนะ มันพอที่จะนิพพานได้ ขอให้รู้จักชาติชนิดนี้ไว้ แล้วป้องกันอย่าให้มันเกิด มันก็ไม่เกิดทุกข์
ความรู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกว่าตัวกูว่าของกู มันก็ไม่เกิดทุกข์ มันจึงรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายที่เกิดทุกข์อย่างไร ฝ่ายที่ไม่เกิดทุกข์อย่างไร สามารถสอนเด็กๆให้เข้าใจได้ แต่ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสูงสุด ละเอียดที่สุด ลึกซึ้งที่สุด พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสอย่างนั้น ว่ามันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุด แต่เดี๋ยวนี้เราจะพยายามให้สอนเด็ก มันก็สอนให้มันรู้อย่างที่ว่ามานี้ โง่ว่าตัวกูเมื่อไหร่ก็เกิดทุกข์เมื่อนั้น ไม่โง่ว่าตัวกูก็ไม่เกิดทุกข์เมื่อนั้น ความโง่ว่าตัวกูมันเกิดมาตั้งแต่ว่าตาเห็นรูปเกิดจักษุวิญญาณ ผัสสะอารมณ์มีแล้วมันก็เกิดโง่ว่ากูเป็นผู้ผัสสะ พอเกิดเวทนาขึ้นมันก็ว่ากูเป็นผู้เวทนา หรือเวทนาเป็นผู้รู้สึก มีเวทนาเป็นตัวกู เวทนาโง่ ก็เกิดความอยากโง่ๆขึ้นมาก็ว่าตัวกูอยาก คือตัณหาตัวกูอยาก แล้วก็ตัวกูอุปาทานยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตน กระทั่งออกมาเป็นตัวชาติ ตัวกูโดยทางวัตถุชนิดหนึ่งนะ กี่นาทีก็ตามใจนะ มันเป็นชาติโง่ ออกมาเป็นตัวทุกข์อยู่ ๒-๓ นาทีก็ดับไป ก็ตามใจ มันก็เรียกว่าชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง อย่าโง่ให้เป็นตัวกู มันก็ไม่มีความทุกข์ สอนเด็กๆให้รู้ว่ามีตัวกูเมื่อไร มีความทุกข์เมื่อนั้น เหมือนพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ตั้งจิตเตนะ ปัณจุปาทานะ คันถา สุขา
โดยสรุปแล้วขันธ์ที่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูนั้นนะ เป็นตัวทุกข์ จะเป็นรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี ที่ถูกยึดถือว่าเป็นตัวกู แล้วมันก็มีความทุกข์ ฉะนั้นในกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท นั้นแหละมีเรื่องขันธ์แสดงไว้ครบ รู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท สักทีก่อน ก็ว่ามีอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็มีวิญญาณที่เกิดขึ้นจากการกระทบทางอายตนะนี่เป็นเรื่องที่ ๓ เรื่องที่ ๔ คือผัสสะ เรื่องที่ ๕ คือเวทนา เรื่องที่ ๖ คือตัณหา เรื่องที่ ๗ คืออุปาทาน เรื่องที่ ๘ อ่า...คือภพ เรื่องที่ ๙ คือชาติ เรื่องที่ ๑๐ คือทุกข์ ถ้านับอย่างนี้ก็ได้นับได้เอ่อ... ๑๐ สิบขั้นตอนนะ อายตนะภายในคือตา เป็นต้น อายตนะภายนอกคือรูป แล้วก็ ๓ ก็คือวิญญาณ ๔ ผัสสะ ๕ เวทนา ๖ ตัณหา ๗ อุปาทาน ๘ ภพ ๙ ชาติ ๑๐ คือทุกข์ ให้เด็กๆเข้าใจ ๑๐ คำนี้ เขาก็จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาท แล้วเขาก็จะรู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริง
นี่สอนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท แก่เด็กๆ นี่พอพูดถึงขันธ์นะ ไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่มันเนื่องอยู่กับร่างกายนี้ ก็เรียกว่ารูปขันธ์ก็ได้ ไอ้รูปที่มากระทบก็รวมอยู่ในรูปขันธ์นะก็เรียกว่ารูปขันธ์ พอรูปขันธ์กระทบแล้วมันเกิดผัสสะ เกิด อ่า...เวทนาขึ้นมา ก็เรียกว่าเวทนาขันธ์ เกิดเวทนาแล้วสำคัญมั่นหมายในเวทนานั้นว่าเป็นอย่างไร นี่เกิดปัญญาขันธ์ เมื่อสัญญาสำคัญมั่นหมายว่าอย่างไร ก็เกิดความคิดที่จะทำอย่างหนึ่งอย่างใด นี่เรียกว่าสังขารขันธ์ ส่วนวิญญาณขันธ์นะมีอยู่ได้หลายตอน ตั้งแต่แรกเห็นรูป ตั้งแต่มารู้สึกต่อเวทนาต่อสัญญา เรียกวิญญาณๆทั้งนั้น ๕ นี่เรียกว่าขันธ์ ๕ มีอยู่ในเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาท ในแง่ของ ปฏิจจสมุปบาท ก็ให้แสดงให้เห็นว่าไม่มีตน ในแง่ของขันธ์ ๕ ก็เห็นว่าไม่มีตน ไม่มีตนก็ไม่เห็นแก่ตน ไม่เห็นแก่ตนก็ไม่มีกิเลส ไม่มีกิเลสก็ไม่เป็นทุกข์
ฉะนั้นเราจึงพูดว่าเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่สอนให้เห็นว่าไม่มีตน เป็นเพียงกระแสแห่งธรรมชาติปรุงแต่ง ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง เป็นทุกข์ มันก็จบไปเรื่องหนึ่ง แล้วตั้งต้นใหม่ เป็นทุกข์ก็จบไปเรื่องหนึ่ง ตั้งต้นใหม่ เป็นทุกข์ก็จบไปเรื่องหนึ่ง มีเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท แสดงว่ามันเกิดทุกข์ แล้วแสดงว่ามันไม่ใช่ตัวตน มันเป็นการปรุงแต่งตามธรรมชาติของธรรมชาติ นี่ก็ว่ามันไม่ใช่ตัวตน ถ้ามันรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวตนเสียถูกต้องไปเสียตั้งแต่ตอนต้นๆ นั่นคือตอน ผัสสะ ว่ามันยังไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวกูที่เป็น ผัสสะ แล้วมันก็ไม่มีปัญหา มันไม่เห็นแก่ตน มันไม่เกิดกิเลส เมื่อมีตัวกู มีของกู เป็นชาติขึ้นมาแล้ว มันเห็นแก่ตน มันเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว นั่นช่วยจำไว้ว่านี่คืออะไร ต้นเหตุของความทุกข์ทุกชนิดเอ่อ...ของสิ่งไม่พึงปรารถนาทุกชนิด มันอยู่ที่ความเห็นแก่ตัว ถ้าไม่เห็นแก่ตัวมันไม่เกิดตัณไม่ๆเกิดกิเลสตัณหา ไม่ๆเกิดความโง่ใดๆ ตรงกันข้ามอย่างนี้ เห็นแก่ตัวจะเกิดปัญหาทุกชนิด ความทุกข์ทุกชนิด ไม่เห็นแก่ตัวก็ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดความทุกข์ใดๆ
ถ้าสมมติว่านะทุกคนในโลกไม่มีความเห็นแก่ตัว ทุกคนในโลกไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่ต้องมีกฎหมาย ไม่ต้องมีศาสนา ไม่ต้องมีศาสนา เพราะว่าศาสนามันมีสำหรับกำจัดความเห็นแก่ตัว ถ้ามนุษย์ทุกคนมันไม่เห็นแก่ตัวเสียแล้ว มันก็ไม่ต้องมีศาสนา แล้วมันก็ไม่ๆต้องมีกฎหมาย เพราะไม่ๆมีใครทำผิดทางแพ่งก็ดี ทางอาญาก็ดี ไม่มีใครทำผิดถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัว นี่คำนี้ประหลาดๆมาก ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัวแล้ว ไม่ต้องมีกฎหมาย ไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีโรงพยาบาลบ้า ไม่ต้องมีศาสนา เดี๋ยวนี้มันเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว จนมีเท่าไรก็ไม่พอนี่ มีตะรางเท่าไรก็ไม่พอ ตำรวจเท่าไรก็ไม่พอ มีศาลเท่าไรก็ไม่พอ มีโรงพยาบาลบ้าก็ไม่พอ เพราะว่ามันเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว ตั้งต้นแต่ปัญหาแรกที่สุดไปจนถึงปัญหาสุดท้าย วิกฤติการณ์ทั้งหลายมาจากความเห็นแก่ตัว ดูสิพอเห็นแก่ตัวมันก็ขี้เกียจ นี่ไม่อยากทำงาน แต่จะเอาประโยชน์ เห็นแก่ตัวมันก็ขี้เกียจ เห็นแก่ตัวมันก็เอาเปรียบ เอาเปรียบ เอาเปรียบ เห็นแก่ตัวมันก็อิจฉาริษยา เห็นแก่ตัวก็ยกหูชูหาง จองหองพองขน เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว แล้วมันก็จะสร้างมลภาวะทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนะ มลภาวะทุกชิ้นมาจากผู้เห็นแก่ตัว แล้วมันก็จะสร้างการทำลายธรรมชาติ ทำลายป่า ทำลายอะไร ก็เพราะมันเห็นแก่ตัว แล้วมันก็จะสร้างอุบัติเหตุ อุบัติเหตุทั้งหลายบนท้องถนน อุบัติเหตุที่ไหนก็ตาม มันมาจากความเห็นแก่ตัว ความโง่ ความสะเพร่าไม่มันทำให้เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว อุบัติเหตุเต็มไปหมดทั้งโลก แล้วเห็นแก่ตัวมันโง่จนไปเป็นทาสยาเสพติด มันแปลกไหมที่ว่าอยู่ดีๆไปเป็นทาสของยาเสพติด มันเห็นแก่ตัว อยากกิน อยากลองอยากเอ่อ...นี่ก็เห็นแก่ตัว ติดแล้วก็เลิกเอ่อ...ละไม่ได้ เพราะเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว แล้วก็เป็นโรคที่หมาก็ไม่เป็นนั่น โรคที่หมาก็ไม่เป็นนั่นนะ โรคที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ทั้งโลกเวลานี้ ทั้งโลกเป็นปัญหาเรื่องโรคอะไร ไม่อยากจะเอามาพูดให้สกปรกปาก นี่โรคที่หมาก็ไม่เป็นนะ แล้วผู้เห็นแก่ตัวมันก็เป็นๆๆๆๆนั่นนะ ความเห็นแก่ตัวมันเป็นอย่างนั้น แล้วมันก็ทำไปตามความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว ปัญหาสารพัดอย่างในโลกเกิดขึ้นมา เพราะมนุษย์มันเห็นแก่ตัวอยากจะพูดว่าคนกรุงเทพ คนกรุงเทพทั้งหลายมันเห็นแก่ตัว ตลอดเวลาที่คนกรุงเทพเห็นแก่ตัว ยุงมันก็เป็นเจ้านครครองกรุงเทพ ยุงๆนะ ถ้าคนกรุงเทพไม่เห็นแก่ตัวสักครึ่งไม้ครึ่งมือ ไม่ต้องเต็มไม้เต็มมือหรอก ยุงก็ไม่มีนะ นี่สมน้ำหน้ามันเสียไหม มันเห็นแก่ตัว ยุงก็เป็นเจ้าครองนคร นี่ตัวอย่างมันง่ายๆอย่างนี้
เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว มันข้นๆเข้า เข้มข้นเข้า มันก็หลงทางหลงเข้ามา ความเห็นแก่ตัวมันก็หลงทาง จนฆ่าตัวเองตาย ไปดูสิ ที่ฆ่าตัวเองตายรายไหน เศรษฐี มหาเศรษฐี แม้แต่เทวดาเมืองสวรรค์ ถ้ามันฆ่าตัวเองตาย มาจากความเห็นแก่ตัวหลงทาง ความเห็นแก่ตัวมันหลงทาง มันก็เป็นบ้า ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าลูก ฆ่าเมีย ฆ่าตัวเองตายตาม นี่ความเห็นแก่ตัวมันหลงทาง มันหลงทาง สร้างโรงพยาบาลบ้าเท่าไรก็ไม่พอหรอก ความเห็นแก่ตัวมันหลงทาง มันได้ตาย ถ้าไม่ตายก็เป็นบ้านะ ปัญหาสารพัดอย่างในโลกนี้คือ มันเป็นบ้าหรือฆ่าตัวตายนี่ ความเลวร้ายทุกชนิดไม่ยกเว้นสักชนิดเดียว มันมาจากความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว ไม่มีรัฐบาลไหนเอาใจใส่ข้าศึกอันเลวร้ายนี้ ไม่ๆๆเอาใจใส่ ไปพัฒนาให้รโหฐานให้สวยสดงดงาม ไม่ๆๆพัฒนาเพื่อสันติภาพ มันโกหก ปากมันพูดว่าพัฒนาเพื่อสันติภาพ ความจริงพัฒนาสวยงามสนุกสนานเอร็ดอร่อย เพิ่มความเห็นแก่ตัว พัฒนาสิ่งที่เพิ่มความเห็นแก่ตัว ไม่ได้พัฒนาเพื่อสันติภาพ โลกนี้มันจึงไม่มีสันติภาพ นี่เพราะมันโง่ มันบรมโง่ ต่อสิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท สอนให้เห็นว่ามันไม่มีตัว ไม่มีตัว มีแต่กระแสแห่งธรรมะตามธรรมชาติ แล้วมีความทุกข์ ก็ไม่สนใจ มันก็ไปส่งเสริมความเห็นแก่ตัว พัฒนาสิ่งที่ให้เห็นแก่ตัวโดยเครื่องจักรอุตสาหกรรม พัฒนาส่วนเกินมาหลอกให้เห็นแก่ตัวมากขึ้นไป มากขึ้นไป เพราะฉะนั้นต่อไปนี้มันก็จะเป็นบ้ากันมากขึ้น จะมีความทุกข์กันมากขึ้น เพราะความไม่รู้จัก ปฏิจจสมุปบาท
ถ้ารู้จัก ปฏิจจสมุปบาท ก็จะรู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ฉะนั้นความเลวร้ายทั้งหลายมันก็หยุด มันก็หยุด เดี๋ยวนี้มันเพิ่มความเลวร้าย เพราะมนุษย์ไปบูชาความเห็นแก่ตัว บูชาความเป็นบวก ก็เกิดความทุกข์อย่างบวก ไปบูชาความเป็นลบ ไปกลัวความเป็นลบ มันก็มีความทุกข์อย่างลบ มันเดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ ไม่มีความสงบสุขเพราะมันเห็นแก่ตัว ความหลงบวกหลงลบทำให้เห็นแก่ตัว มันก็ได้เป็นทุกข์ทั้งทางบวกทางลบ ไม่บวกไม่ลบจะไม่เห็นแก่ตัว มันจะเกิดระบบระบบอะไร ระบบประเสริฐที่สุดขึ้นมาในโลก คือ การปกครองที่ไม่ต้องมีการปกครอง คุณก็คงจะเคยได้ยิน แล้วก็คงจะไม่สนใจ แล้วก็ลืมเสียทิ้งเสีย มันบ้า การปกครองที่ไม่มีการปกครอง
เมื่ออาตมาได้อ่านหนังสือของเหล่าจื๊อ ขงจื๊อ เหล่าจื๊อโดยเฉพาะเป็นทีครั้งแรกว่า มีคนถามเหล่าจื๊อว่า การปกครองที่ดีที่สุดนั้นคืออย่างไร เหล่าจื๊อมันตอบว่า คือการปกครองที่ไม่มีการปกครอง การปกครองที่ไม่มีการปกครอง พอเราอ่าน เออ...นี่มันบ้านี่หว่า มันบ้าพูดอะไรการปกครองที่ไม่มีการปกครอง เรามันโง่เอง เรามันโง่เอง ต่อมาเรามาพบว่าไม่เห็นแก่ตัว ธรรมะไม่เห็นแก่ตัว มันก็ไม่ๆมีใครทำผิด มันก็ต้องไม่ๆมีไม่ต้องมีคุกตะราง ไม่ต้องมีศาล ไม่ๆต้องมีการลงโทษ นี่คือการปกครองที่ไม่มีการปกครอง เป็นระบบการปกครองที่ประเสริฐที่สุด มนุษย์ไม่มีความเห็นแก่ตัว มันก็ไม่ต้องมีการปกครอง มันถูกต้องอยู่โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีกฎหมาย ไม่ต้องมีคุกตะราง แล้วก็ไม่ต้องมีศาสนาด้วย ไม่ต้องมีศีลธรรมวัฒนธรรมใดๆด้วย ถ้ามนุษย์มันไม่เห็นแก่ตัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ต้องใช้ระบบศีลธรรมวัฒนธรรมอะไร ถ้ามันไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียวนะ มันจะถูกต้องอยู่ในตัวมันเองโดยอัตโนมัติ ไม่มีกระทรวงศึกษาธิการในประเทศไหน มองเห็นข้อนี้และจัดการในข้อนี้ ดังนั้นความเห็นแก่ตนยังครองโลกอยู่ตลอดไป แม้องค์การสหประชาชาติมันก็ไม่มองเห็นข้อนี้ มันไม่ได้จัดการในข้อนี้ ความเห็นแก่ตัวมันก็ครองโลกอยู่ต่อไป
ถ้าครูบาอาจารย์ทั้งหลายจะบำ...บำเพ็ญตนเป็นปูชนียะบุคคลสูงสุดแล้ว ก็ขอให้สอนเรื่องความไม่เห็นแก่ตัว ชี้แจงให้เด็กๆกลัวๆความเห็นแก่ตัว เลวอย่างนั้น เลวอย่างนั้น ชี้ให้กลัวความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เป็นบ้าหรือฆ่าตัวตายในที่สุดนะ ถ้าเด็กมันกลัวความเห็นแก่ตัวนั่นนะ มันจะมีผลในทางว่ามันจะลดความเห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัว ไปตามคำสอนในพระพุทธศาสนาคือมีธรรมะ มีธรรมะ มีธรรมะที่ถูกต้อง ขอให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายมีธรรมะอย่างนี้ ไปสอนเด็กๆอย่างนี้ลดความเห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัว แล้วเราก็จะอยู่ได้โดยระบบการปกครองที่ไม่มีการปกครอง เสรีภาพสูงสุดอยู่ที่นี่ ไม่ต้องมีใครมาปกครองให้หนักอกหนักใจ ความไม่เห็นแก่ตัวมันทำให้เกิดความถูกต้อง ไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหา เดี๋ยวนี้มันมีแต่ความเห็นแก่ตัว พอตั้งสหกรณ์ขึ้นมามันก็กลายเป็นสหโกงคุณลองไปตั้งสหกรณ์ที่ไหน มันก็กลายเป็นสหโกงที่นั่นแหละ มันเห็นแก่ตัวที่ไหน มันก็เลวร้ายที่นั่น ครูบาอาจารย์เห็นแก่ตัวมันก็หมดความเป็นครูบาอาจารย์ เป็นพ่อ...เป็นพ่อค้าขูดรีดนักเรียน ขูดเลือด อ้า...สูบ...สูบเลือดนักเรียนไป ครูเป็นผู้สูบเลือดนักเรียน หมอเห็นแก่ตัว มันก็สูบเลือดคนเจ็บคนไข้ เวลาการเห็นแก่ตัว มันก็สูบเลือดจังเลย พระเจ้าพระสงฆ์เห็นแก่ตัว มันก็สูบเลือดทายกทายิกา พูดตรงๆอย่างนี้ไม่ต้องกลัวใครโกรธ ถ้าพระเจ้าพระสงฆ์มันเห็นแก่ตัว มันก็สูบเลือดทายกทายิกา ไปเห็นแก่ตัวที่ไหน มันก็ที่นั่นแหละ เพื่อนเห็นแก่ตัวมันก็แตกกัน ผัวเมียเห็นแก่ตัวก็กัดกัน ไม่มีความผาสุก
ลด เลิก ความเห็นแก่ตัว เป็นธรรมะสูงสุดในพระพุทธศาสนา เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ช่วยให้เห็นความไม่มีตัว ความไม่ใช่ตัว แล้ววิธีที่จะควบคุมกระแส ปฏิจจสมุปบาท แล้วก็ไม่เปิดความเห็นแก่ตัว นี่คือธรรมะสูงสุดในพระพุทธศาสนา ผู้ใดเห็น ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ขอให้เราทุกคนได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ด้วยการเห็น ปฏิจจสมุปบาท แล้วก็มีปัญหาอยู่นิดว่า ต้องปฏิบัติ ปฏิจจสมุปบาท จึงจะควบคุมกระแสเลวร้ายเหล่านี้ได้ ดังนั้น มันยังมีเหลืออยู่อีกเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องยาวพูดไม่ทันในวันนี้ ไว้พูดในวันหลังว่า ความมีสติสมบูรณ์ มีสติสมบูรณ์จะสามารถควบคุมกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ดังนั้น เราต้องมีการศึกษาและการปฏิบัติอานาปานสติ อานาปานสติ อานาปานสติ แล้วจะมีสติสมบูรณ์ จะควบคุมกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท อยู่ได้ในกำมือ แล้วเราก็จะมีการปกครองชนิดที่ไม่ต้องมีการปกครอง เรื่องมันก็จบ ขอบใจที่มานั่งทนฟัง ๒ ชั่วโมงเต็มแล้ว นี่ ๒ ชั่วโมงเต็มแล้ว นั่งทนฟังอยู่ได้นะ ขอขอบคุณ มันสมควรแก่เวลาแล้ว ต้องขอยุติการบรรยาย ขอยุติการบรรยายด้วยความหวังว่า ท่านคงจะมีความรู้เรื่องธรรมะ ธรรมะ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในหน้าที่การงานการดำเนินชีวิต และอย่าลืมว่าพระพุทธเจ้านั่งอยู่หลังม่านแห่งความโง่ หาให้พบ หาให้พบ เอ้า,เอาล่ะ ขอยุติการบรรยายในวันนี้เพียงเท่านี้