แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านที่เป็นครูบาอาจารย์ทั้งหลาย อาตมาจะได้บรรยายไปในลักษณะที่เป็นการตอบคำถาม อืม, ตามหัวข้อ เอ่อ, ที่ท่านกำหนดให้ว่า บทบาทและหน้าที่ของครูในการพัฒนาจริยศึกษาตามแนวทาง เอ่อ, ของพุทธศาสนา เวลาค่อนข้างจะมีน้อยก็ขอพูดอย่างรวบรัด ปัญหาทีแรกก็คือว่า จริยศึกษา เอ่อ, ตามแนวของพุทธศาสนา เอ่อ, เป็นสิ่งที่มีจริงหรือเปล่า ข้อนี้มันเกี่ยวกับคำพูดที่เราใช้กันอยู่ ทว่าที่จริงแล้วมันก็จะเกิดปัญหาที่ว่า ในพระพุทธศาสนาไม่มีแนวของจริยศึกษาก็ได้ แต่เรามีแนว เอ่อ, ของศีลธรรม ... ดูสิ (นาทีที่ 02:41) นี่มันเนื่องอยู่กับที่เราใช้คำพูดหรือบัญญัติคำขึ้นใช้นั้น มันยัง ยังไม่ตรงกัน ถ้าจะให้พูดรวบรัดก็จะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านเป็นนักศีลธรรม ไม่ใช่นักจริยศึกษาซึ่งเป็นเพียงปรัชญาของศีลธรรม ท่านจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในชั้นแรกนี้ อาตมาก็จะต้องขอทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า จริยศาสตร์หรือจริยศึกษานี่ มันก็เป็นอย่างหนึ่ง ไอ, ศีลธรรมมันเป็นอย่างหนึ่ง อ่า, ระบบมันก็ เอ่อ, คนละระบบ แม้ว่ามันจะเกี่ยวข้องกัน พระพุทธเจ้าท่านเป็นนักศีลธรรม ท่านบัญญัติอะไรออกมามันก็ในรูปแบบของศีลธรรม คือ จงประพฤติอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนปรัชญาของศีลธรรม อืม, คือ คำถามที่ว่าเหตุไรจึงต้องปฏิบัติอย่างนั้น ดังนั้น มันไม่มี มันไม่ค่อยมี หรือมันไม่ต้องมี พระพุทธเจ้าไม่ค่อยแสดงเหตุผล เอ่อ, ของข้อที่ว่าทำไมเราจึงต้องทำอย่างนั้น แต่ท่านบอกว่าจงทำอย่างนั้น แนะนำให้ทำอย่างนั้น ระบบที่บอกให้ทำอย่างนั้น อย่างนั้นลงไปเลย ไม่ต้องมีปัญหาอะไรอีกนี่ เอ่อ, มันเป็นเรื่องของศีลธรรม ส่วนข้อที่ว่าทำไมจึงต้องทำอย่างนั้น มันเป็นปรัชญาของศีลธรรม เราเอามาปนกัน เอ่อ, ก็ทำให้พูดลำบาก จะใช้คำที่เขาใช้กันอยู่เป็นสากลในภาษาอังกฤษเป็นหลัก บางทีจะช่วยได้บ้างหรือช่วยได้มาก อา, ศีลธรรม คือ morality จริยศึกษา คือ ethic ethic น่ะ ถ้าเราจะอาศัยปทานุกรมอย่าง Encyclopedia Britannica แล้วเราก็จะพบข้อความอย่างนี้ว่า ศีลธรรม คือ morality ethic คือ เอ่อ, philosophy of morality ไอ, ตัว morality กับ philosophy ของมัน มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ฉะนั้น ถ้าครูบาอาจารย์ชอบคำว่า จริยศึกษา ก็ต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่ามันหมายถึง ethic หรือเปล่า ถ้าเอาจริยศึกษาไปเป็นตัว เอ่อ, ศีลธรรมหรือระบบศีลธรรม มันก็เลยพูดกันยากน่ะ ผู้ปฎิบัติศีลธรรมเขาเรียกว่า moralist ส่วนนักจริยศาสตร์ นักจริยศาสตร์ เขาเรียก ethicist ethicist มันคนละคนนะ นี่มาพูดว่าแนวจริยศึกษาตามแนวทางพุทธศาสนา ก็คือต้องการให้พูดปรัชญาของศีลธรรมตามแนวแห่งพุทธศาสนา เราต้องกำ จำกัดความลงไปให้ชัดเสียก่อนว่า เราจะพูดเรื่องศีลธรรม หรือจะพูดเรื่องปรัชญาของศีลธรรมนั่นเอง ส่วนคำว่าตามแนวของพุทธศาสนานั้น ควรจะเข้าใจตรงกันว่าเราจะพูดตามที่เราสังเกตเห็น ไม่ใช่ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสไว้นี่ ยิ่งแนว เอ่อ, ของปรัชญาของศีลธรรมแล้วท่านไม่ได้ตรัสไว้ เราก็ได้แต่เก็บเอามา เก็บเอามา แล้วก็เอามาพูดกัน นี่สิ่งที่จะพัฒนานี่คืออะไรกันแน่ คือศีลธรรมหรือคือปรัชญาของศีลธรรม อาตมาเห็นว่า ไอ, ปรัชญาของศีลธรรมนี่ดูจะมาก หรือจะ จะเกินไปแล้วก็ได้ที่เรา เขาพูดๆ กัน มันเป็นเรื่องพูดน่ะ พอถึงระบบศีลธรรมมันมี ยังมีน้อยมาก คือไม่ได้ค่อย ไม่ค่อยจะได้ประพฤติกันนั่นเอง ถ้าจะให้พูดกันระบบของศีลธรรม มันก็จะพูด ต้องพูดกันถึงว่าเราจะทำอย่างไรให้เด็กมันมีศีลธรรม จะใช้วิธีอย่างไร เพราะฉะนั้น จะบอก จะสอนให้จดไว้นี่มันไม่มีแน่ มันมีไม่ได้แน่ อ่า, และมันจะกลายเป็นรูป เอ่อ, ปรัชญาของศีลธรรมอยู่นั่นเอง ไม่เป็นตัวศีลธรรมไปได้ อาตมา อาตมาสนใจเป็นอย่างมากก็คือในส่วนศีลธรรมที่ ที่อยู่ในรูปแบบของ เอ่อ, ศาสนา ไม่ใช่ในรูปแบบของปรัชญา ทีนี้เรื่องปรัชญา เอ่อ, คำนี้ก็ลำบาก ยุ่งยากมาก ในภาษาไทยเราเอาคำว่าปรัชญา ไปใช้กับคำว่า philosophy พวกอินเดียเขาหัวเราะเยาะ เพราะคำว่าปรัชญานั้นคือ ปัญญา ความรู้ที่ถึงที่สุดแล้ว แน่นอนแล้ว จึงจะเรียกว่า ปรัชญา อืม ไอ, philosophy มันจะค้นหางัวเงียงมโข่งอยู่ที่นี่ มันจะเป็นเรื่องอย่างเดียวกันไม่ได้ คำว่าปรัชญากับคำว่า เอ่อ, philosophy น่ะ นี่จะพูดกันในรูปไหน ถ้าพูดกันอย่างปรัชญาของศีลธรรม มันก็กลายเป็นจริยศึกษาแน่ แต่ถ้าพูดกันเรื่องศีลธรรมก็กลายเป็นเรื่องของศาสนามากกว่าที่จะเป็นเรื่อง เอ่อ, ของปรัชญา พุทธศาสนา อืม, อยู่ในรูปของศาสนาหรือพุทธศาสนาที่อยู่ในรูปของศาสนานั้นมันจะเป็นวิทยาศาสตร์ มันจะไม่เป็นปรัชญา ปรัชญาที่เป็น philosophy มันยังไม่รู้ มันต้องคำนวณ มันต้องสร้างหลักขึ้นมา เรียกว่ายังไม่ชัดเจน ไม่แจ่มแจ้ง ซึ่ง ซึ่งควรจะใช้คำว่าทัศน ทัศนน่ะ กับคำว่า philosophy ดันไปใช้คำว่าปรัชญา ซึ่งรู้ รู้แจ่มแจ้งเด็ดขาดแล้ว มันก็เลยลำบาก เอ่อ, พุทธศาสนาที่มีอยู่นี่เป็นระบบศีลธรรมมากกว่าที่จะเป็นระบบปรัชญาของศีลธรรม และพระพุทธศาสนาที่ว่าอยู่ในรูปแบบของวิทยาศาสตร์นั้นคือ ไม่ต้องคำนวณ เห็นได้โดยเปิดเผย เอ่อ, วิทยาศาสตร์นี่เห็นได้โดยเปิดเผยเหมือนกับเราเอาของมาใส่มือแล้วดูแล้วก็ทำไปถูกตามเรื่องของมัน ไม่มีการคำนวณ ถ้ามันเป็น philosophy แล้วมันก็ต้องอาศัยอยู่กับเหตุผล คำนวณกันไปตามเรื่อง บางทีก็ไม่ค่อยจบ ไอ, ศาสนาทั้งหลายเขาต้องการให้ปฏิบัติลงไป เอ่อ, ด้วยเหตุสองอย่างคือ ศาสนาพวกหนึ่งก็เห็นชัดแล้วก็ปฏิบัติลงไป ศาสนาพวกหนึ่งก็เชื่อผู้สั่งสอน เชื่อพระคัมภีร์แล้วก็ปฏิบัติลงไป ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องคำนวณ เอ่อ, ตามแบบของปรัชญา ทีนี้เราจะพูดกันถึงจริยศึกษา หึๆ, มันก็จะกลายเป็นปรัชญา เอ่อ, ของจริย คือการ การ คือศีลธรรมนั่นแหละ นี่เราทำความเข้าใจกันในข้อนี้ก่อน ถ้าเราเอาพระพุทธศาสนาเป็นศีลธรรม เอาศีลธรรมเป็นพุทธศาสนา ขอให้ ให้เพ่งเล็งไปในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์ เห็นอยู่อย่างนี้ แล้วก็ทำลงไปถูกเรื่องของมัน เช่น เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่อย่างนี้ ก็อย่าไปยึดถือมันนี่ หรือว่าที่มันง่ายที่สุด ต่ำที่สุด อืม, การฆ่าไม่มีใครชอบ เราก็ไม่ชอบให้ใครมาฆ่าเรา นี่มันเห็นชัดอยู่อย่างนี้ เราจึงไม่ฆ่า มันเป็นวิทยาศาสตร์ แม้ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตใจ การรักกัน ล่วงเกินของรักกัน ดื่มน้ำเมา การพูดปดนั้นมันก็เป็นเรื่องที่เห็นชัดอยู่ พุทธศาสนามีลักษณะเป็นไปในทางวิทยาศาสตร์อย่างนี้ แม้ว่าพุทธศาสนาจะมีคำว่าความเชื่อหรือศรัทธา แต่เราก็มีความเชื่อชนิดที่มาทีหลังปัญญา คือความรู้แจ้ง เหมือนกับรู้อย่างวิทยาศาสตร์แล้วว่ามันเป็นอย่างไรแล้วจึงเชื่อตามนั้น นี้เป็นความเชื่อที่อาศัยอยู่กับปัญญา ตามก้นปัญญาอยู่ มันเป็นการเชื่อชนิดหนึ่งนะ ขอให้ดูให้ดี ทีนี้ใน ในหมู่พวกอื่นหรือ หรือศาสนาอื่นก็มีความเชื่ออีกชนิดหนึ่ง คือความเชื่อตามที่บัญญัติไว้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาจะต้องให้เชื่อว่า ไอ, คำพูดทุกประโยคนี้มาจากพระเจ้า ฉะนั้น เชื่อก็แล้วกัน เชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ก็แล้วกัน ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ อืม, เป็น dogmatic system dogmatic system เป็น system ของ dogma เอาตามที่ยุติกันว่ามันอย่างนี้ และอย่างนี้ก็มาจากพระเจ้าด้วย แล้วก็ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ นี้เป็นความเชื่ออีกแบบหนึ่ง ท่านจำความเชื่อสองชนิดไว้ให้ดี อันหนึ่งเป็นความเชื่อที่ไปตามทางความรู้แจ้งแล้ว อันหนึ่งเป็นความเชื่อที่เชื่อตามที่เขาบอกให้เชื่อ ไม่เกี่ยวกับรู้แจ้งหรือไม่รู้แจ้ง ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะตำหนิติเตียนพวกหนึ่ง พวกหนึ่ง ยกย่องพวกหนึ่ง มันจำเป็นที่จะต้องมีความเชื่อทั้งสองชนิดน่ะ เพราะว่าคนในโลกเรานี่มันไม่ได้เหมือนกันทุกคน พวกหนึ่งมันไม่เหมาะสำหรับจะเชื่อ ให้ โดยบังคับให้เชื่ออย่างนั้นมันก็ต้องใช้ปัญญา จึงต้องเชื่อหลังจากมีปัญญาแล้ว แต่คนเป็นอันมากก็ยังเหมาะสำหรับที่จะเชื่อโดยไม่ต้องใช้ปัญญาเพราะว่าเขาไม่มีปัญญา เพราะว่าเขาไม่อาจจะมีปัญญาที่จะวิพากษ์วิจารณ์อะไร เขาก็ต้องเชื่อไปอย่างที่เรียกว่าเชื่อ หลับตาเชื่อเลย มันก็ไม่ใช่ว่าจะผิดหรือจะให้โทษ ถ้าว่า ไอ, สิ่งที่เขาเอามาให้เชื่อนั้นมันถูกต้อง เพราะสิ่งที่ ที่ ที่ไม่ผิดและเชื่อได้มาให้เชื่อ มันก็ได้เหมือนกัน จะพุทธศาสนาหรือศีลธรรมในพุทธศาสนานี้มันมีรูปแบบเป็นวิทยาศาสตร์ เห็นจริงแล้วมันก็เชื่อเองน่ะ ไม่ต้องมีใครมาขอร้องให้เชื่อ เมื่อเรามองเห็น พิสูจน์ ค้นคว้า ทดลอง เห็นชัดลงไปอย่างนี้ว่ามันเป็นอย่างนี้ อ่า, ความเชื่อมันก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมามีใครมาบังคับหรือขอร้องให้เชื่อ นี่ก็เกิดเป็นอะไรล่ะ ถ้าศีลธรรมมันก็มีสองชนิดล่ะ ศีลธรรมที่อาศัยความเชื่อ อืม, อย่างมีปัญญามาก่อน ศีลธรรมที่อาศัยความเชื่อชนิดที่ว่าเชื่อก็แล้วกัน จะใช้คำว่า เอ่อ, confidence หรือ หรือคำไหนก็ได้ แต่มันก็ยังคงต่างกันอยู่นั่นแหละ ไอ, ที่เรียกว่า faith นั่นน่ะ มะ มัน มันเชื่ออย่างงมงายได้ง่าย ไอ, confidence นี่ค่อยยังชั่ว มักจะใช้หลังจากที่เห็นแจ้งแล้วว่ามันเป็นอย่างไร ฉะนั้น ขอให้ถือว่าศีลธรรมในพุทธศาสนานี้น่ะมันมีความเชื่อชนิด เอ่อ, confidence ที่หลังจากที่ได้เห็นชัดแล้วว่ามันเป็นอย่างไร ทีนี้มาถามถึงปรัชญาของศีลธรรมชนิดนี้ มันก็ผูกพันกันอยู่กับปัญญาคือ ให้เห็นแจ้งในสิ่งนั้นๆ แล้วเขาเชื่อเขาเอง เอ่อ, แล้วเขาก็ทำด้วย อย่างว่าเด็กๆ ของเรา เรามาพูดกันแต่เรื่องว่า ดูสิ ใครฆ่าเรา เราก็ไม่ชอบ แล้วการฆ่ากันนั้นน่ะมันสนุกที่ตรงไหน นี่แสดงเหตุผลไปในรูปแบบ เอ่อ, ของวิทยาศาสตร์ คือ เหตุผลอยู่ในตัวมันเองที่มันแสดงให้เห็น ไม่ต้องคำนวณน่ะ ไอ, อย่างนี้แล้วเด็กก็ ก็เชื่อเองน่ะว่า ไอ, การฆ่านี้ไม่ดี เขาก็เว้นจากปาณาติบาตรหรือเว้นจากข้อห้ามต่างๆ อ่า, ไม่ใช่เว้นเพราะว่ากลัวครูจะตี ไม่ใช่เว้นเพราะว่าจะตกนรกน่ะ นี่ไม่มี ฉะนั้นในระบบศีลธรรมหรือปรัชญาของศีลธรรมของพุทธศาสนานี่มันเป็นอย่างนี้ มันอิงอยู่กับปัญญา เป็นไปตามแนวทางของปัญญา อ่า, อยู่เรื่อยไป ถ้าครูจะให้เด็กๆ เขามีศีลธรรม อาต อาตมาใช้คำว่าศีลธรรม ไม่ได้ ไม่ได้ใช้คำว่าจริยศึกษานะ เพราะมีจริยศึกษาไม่ต้องปฏิบัติก็ได้ จดไว้ในสมุดก็ได้ แต่นี่เราต้องการให้เด็กของเรามีศีลธรรมตามแนวของพุทธศาสนา เราก็ต้องทำให้เขาเห็นด้วยลูกตาของเขาเอง เอ่อ, ว่าการฆ่า การขโมย การล่วงเกินของรักกัน พูดเท็จกัน ดื่มน้ำเมา อะไรก็ทุกๆ อย่างที่เป็นระบบศีลธรรมนี่เขาเห็นเขาเองว่า มันน่าเกลียด มันของเลว มันของสกปรก ใครจะมาทำกับเราอย่างนั้น เราก็ไม่ชอบ เราก็เกลียด แล้วเราก็ไม่ทำแก่ใคร นี่พัฒนา เอ่อ, ศีลธรรมโดยมีปรัชญาของศีลธรรมเฉพาะ ไม่กว้างจนเฟ้อ แล้วก็ไม่ฝากไว้กับความเชื่อว่าจะตกนรกเป็นต้น หรือไม่ต้องทำเพราะว่า เอ่อ, กลัวจะถูกเฆี่ยน ถูกตี ถูกจับใส่ตารางอย่างนี้ ก็ ก็ ก็ไม่มี เราเป็นศาสนาประเภท เอ่อ, วิทยาศาสตร์น่ะคือ เชื่อหลังจากมองเห็นแล้ว ศาสนาอื่นก็ไปตามแบบของเขา คือเชื่อพระเจ้า เราก็มีความเชื่อของเราเองที่เห็นแล้วด้วยตนเอง เชื่อสิ่งที่มันแสดงอยู่ ไม่ใช่ ไม่ใช่เชื่อพระเจ้า แต่เขาอาจพูด เอ่อ, แทรกเสียเลยตรงนี้ว่า เพราะว่าเราเห็นว่ามันเป็นเช่นนี้เอง เป็นกฎของธรรมชาติเฉียบขาดเช่นนี้เอง ทำเข้าแล้วมันจะมีผลร้ายอย่างนี้เองเป็นแน่นอน เราจะเรียก ไอ, กฎเกณฑ์อันนี้ว่าพระเจ้า มันก็ได้เหมือนกันแหละ คือสิ่งสูงสุดที่บังคับสิ่งต่างๆ โดยไม่มีใครโต้แย้งได้ แต่มันละเอียดอ่อนมาก เป็นความรู้ที่ละเอียดอ่อนมาก แล้วเป็นอันว่าครูบาอาจารย์จะอะไรกัน พัฒนาปรัชญาของศีลธรรม หรือว่าจะพัฒนาตัว เอ่อ, ศีลธรรมเอง ไอ, เรื่องปรัชญา อ่า, ของศีลธรรมหรือจริยศาสตร์ หรือ ethic น่ะ เดี๋ยวนี้ก็มาก มีหนังสือเขียนขึ้นมากมาย แต่ก็ไม่ค่อยจะตกลงกันได้ เอ่อ, มันค่อนข้างจะเฟ้อ แล้วจะพูดเลย เลย เลยความจำเป็นไปเสียอีก อาตมาคิดว่า หึๆ, มันจะไม่ต้องกระมัง อืม, มันจะมากเกินความจำเป็น จะเสริม จะตัดบทเอาเพียงว่าเหตุผล อ่า, ที่ทำให้เด็กเขาเห็นแล้วประพฤติศีลธรรมนั่นแหละ คือจริยศึกษาของพวกเรา อย่างนี้ดีกว่า แม้ว่ามันจะไม่ต้องสากล เหตุผลอะไร เอ่อ, ที่ทำให้เด็กมองเห็นแล้วเขาจะปฏิบัติศีลธรรมขึ้นมาเอง เดี๋ยวนี้ทำไมเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็มี ยังไปชอบยาเสพติดน่ะ แล้วไล่ฆ่าไล่ยิงกันเหมือนกับคาวบอย จบมหาวิทยาลัยหรือกำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย จบแล้วไปเป็นฮิปปี้ก็มี นั่นล่ะขอให้ไปหยิบเอาปัญหานั้นเอามาใคร่ครวญดู ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น เพราะการศึกษาของเรามันขาดอะไร มันขาดเหตุผลของศีลธรรม ถ้าจะเรียกให้โก้หรูก็ปรัชญาของศีลธรรม อาตมาใช้คำว่าเหตุผล เพราะมันปลอดภัยกว่า เพราะคำว่าปรัชญานี้มันบัญญัติความหมายผิดเสียแล้ว ว่าปรัชญาคือ philosophy ถ้า philosophy ก็ยังเอาอะไรแน่นอนไม่ได้ ยังฝากไว้กับเหตุผลสำหรับคำนวณเรื่อยไป คำนวณเรื่อยไป คำนวณเรื่อยไป เหมือนกับทางรถไฟที่เขามีเหล็กสองเส้นขนานกันไปไม่ ไม่มีวันจะพบกันนั้น นี่ ไอ, ปรัชญามันมีอย่างนี้ อ่า, มันพบจุดที่แน่นอนยาก ไม่เหมือนกับปัญญาโดยตรง อ่า, ที่เราเรียกกันว่าปัญญาในภาษาบาลี เรียกว่าปรัชญาในภาษาสันสกฤตน่ะ มันเป็นความรู้เห็นแจ้งแล้ว มีจุดที่จบ จบบรรจบกันแล้ว ถ้าปรัชญาแล้วล่ะก็คือกำลังคว้าอยู่ รับที่จะรู้ในสิ่งที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้า นั่นคือปรัชญา ที่ท่านให้คำจำกัดมาว่าจริยศึกษาน่ะก็เลยขอพูดเสียก่อนว่า ไอ, จริยศึกษานี่ไม่ใช่ตัวศีลธรรม อ่า, มันเป็นปรัชญาของศีลธรรมที่อาจจะมากจนเฟ้อก็ได้ ให้เด็กเรียนแล้วจดไว้หาบหนึ่งก็ได้ เอ่อ, มันเป็นปรัชญาของศีลธรรม มันก็ไม่ช่วยได้ ดังนั้น จึงขอใช้คำว่าเหตุผล ให้แคบเข้ามาหน่อย มันไม่ ไม่หรูหรา ไม่โก้เก๋เหมือนคำว่าปรัชญา แต่อาตมาคิดว่าช่วยได้ ถ้าเราจะพัฒนาจริยศึกษาก็รีบหาวิธีใช้เหตุผลนี้ให้ ให้เด็กๆ เขามองเห็นเหตุผลที่ว่าจะต้องปฏิบัติศีลธรรม นี้จะแก้ปัญหาของ เอ่อ, นักเรียนได้ เรายังขาดอยู่ในส่วนนี้ เราให้เรียน เอ่อ, พุทธประวัติก็ยังช่วยไม่ได้ ถ้าเราไม่ให้เหตุผลในส่วนนี้ เราจะเรียนพุทธประวัติกันให้มากมายก่ายกองอย่างไรมันก็สร้างความเชื่อขึ้นมาได้บ้าง เอ่อ, ในพระพุทธเจ้า แต่พุทธประวัติบางชนิดกลับทำให้เด็กไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงในโลกเสียด้วยซ้ำไป นั่นมันเกิดปัญหาใหม่ ฉะนั้น จะให้เรียนพุทธประวัติก็ต้องจัดให้เรียนให้ถูกต้อง พอที่จะเด็กเขามองเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ แล้วสอนอย่างที่ฉลาดกว่าใครจริง การให้เรียนพุทธประวัตินี้มันก็ไม่เป็น ไอ, จริยศึกษาที่เพียงพอ ช่วยทีหนึ่งว่า ไอ, คำพระพุทธเจ้าท่านได้สอนลงไปอย่างไรนั้นมันมีเหตุผลอย่างไร ขอให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเริ่มศึกษา พยามศึกษา แล้วประมวลเอาเหตุผลมาอย่างเพียงพอที่จะใช้กับศีลธรรมทุกๆ ข้อทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบของศีลธรรม ท่านอาจจะไปพูดกันลำบากล่ะเมื่อพูดกับพวกอื่น เพราะเขาเอาคำว่าจริยศึกษาไปปนกับคำว่าศีลธรรมเสียแล้ว นี่ถ้าจะพูดกับอาตมาก็จำเป็นจะต้องตกลงกันใหม่ว่า ไอ, จริยศึกษามันเป็นปรัชญาของศีลธรรม ตัวศีลธรรมนั้นน่ะมันเป็นตัวศีลธรรม เช่นว่า คุณฆ่าสัตว์ไม่ได้นะ ฮะๆๆ, คุณอย่าฆ่าสัตว์นะ นี่มันเป็นศีลธรรม แล้วทำไมคุณไม่ควรฆ่าสัตว์นั่นน่ะมันคือปรัชญาของศีลธรรม ซึ่งเรียกกันว่า ethic คำตอบที่ว่าทำไม ทำไม ทำไม ทำไมคุณจึงไม่ทำอย่างนั้น อะไรนั่นมันเป็นจริยศาสตร์หรือจริยศึกษา หรือ ethic นี่มันก็งงไปหมดว่าเราจะพูดกันเรื่องศีลธรรมหรือพูดกันเรื่องปรัชญาของศีลธรรม ทีนี้ สำหรับคำว่าตามแนวของพุทธศาสนานี่ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในรูปแบบศีลธรรมทั้งนั้นแหละ ไม่มีจริยศาสตร์ในคำพูดของพระพุทธเจ้าหรอก แต่เรามาว่าเอาเอง เราชอบเรียกกันเองหรือเรานิยมเรียกกันเอง นี่ก็มีคนเป็นอันมากที่จะพยามทำให้พุทธศาสนาเป็น เอ่อ, ปรัชญา เขาเขียนใหม่ว่า เขียนว่าพุทธศาสนามีปรัชญาอย่างนั้น มีปรัชญาอย่างนี้ ปรัชญาของพุทธศาสนานั้นน่ะ เขาต้องเขียนมันขึ้นใหม่ตามแบบของปรัชญา แต่ที่จริงพุทธศาสนาจะไม่เป็นปรัชญา ไม่เป็นความรู้ที่ต้องคำนวณหรืออยากจะรู้อยู่ แต่เป็นความรู้ที่เด็ดขาดแล้ว เช่น เรื่องอริยสัจ ๔ ประการ ทุกข์อย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์อย่างนี้ ดับทุกข์อย่างนี้ ทางดับทุกข์อย่างนี้ มันไม่ใช่ปรัชญา มันเป็นระบบศีลธรรม เห็นแล้วปฏิบัติได้เลย ทีนี้เขาก็เผื่อเอาไว้ว่าเผื่อบางคนมันไม่เข้าใจ จะอธิบายให้เข้าใจ นี่ก็เอาไปอธิบายในรูปแบบของปรัชญา ก็ทำได้เหมือนกัน ระบบศีลธรรมทุกข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ถ้าใครอยากจะเอาไปอธิบายในรูปแบบของปรัชญา ก็ทำได้เหมือนกัน ฉะนั้น เดี๋ยวนี้ เอ่อ, หนังสือที่ชาวตะวันตกหรือชาวอินเดียเองเขียนขึ้น ให้พุทธศาสนาในรูปแบบของ เอ่อ, ปรัชญานี้ก็มากขึ้นเหมือนกัน ต่อไปคงจะทำความลำบากล่ะ คือมันเป็นเหตุผลที่มากเกินไป จนไม่ได้ เอ่อ, ศึกษาก็ไม่จบน่ะ แล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติกัน เหมือนที่เราให้เด็กๆ เขาเรียน ไอ, เรียนวิชาพุทธศาสนาจนไม่ได้ปฏิบัติน่ะทำนองอย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในรูปแบบของศีลธรรม เรามาช่วยอธิบายให้ท่านในรูปแบบของ เอ่อ, philosophy ไม่ใช่จะชอบพูดคำฝรั่งหรอก แต่ว่าเพื่อให้รู้ว่า ไอ, philosophy มันไม่ใช่ปรัชญานะ ชาวอินเดียปรัชญาของเขาเด็ดขาด ถูกต้องถึงที่สุดแล้ว ญา แปลว่ารู้ ปรัช ที่สุด ถึงที่สุด ปรัชญาน่ะมันรู้ถึงที่สุด แต่ philosophy นี้ กำลังไม่รู้ กำลังต้องการจะรู้ กำลังคว้างัวเงียอยู่นี่คือ philosophy เราจะต้องระวังกันให้ดีๆ ว่าเราจะพูดกันในเรื่องที่รู้ถึงที่สุดแล้วหรือพูดถึงเรื่องที่กำลังคว้ากันอยู่ ท่านคงจะเคยอ่านหนังสือปรัชญาตะวันตก ตะวันออก ปรัชญาเปรียบเทียบอะไรมาแล้ว ก็ลองดูสิ พิจารณาดูคำว่าปรัชญานั้นมันคืออะไร มันไม่ยุติ หึๆ, มันยังไม่ยุติ เป็น เอ่อ, เป็นความรู้ที่เด็ดขาด มันยังเป็น philosophy อยู่นั่นแหละ นี่ชาวอินเดียเขา อืม, ไม่รู้จะเรียกว่า เรียกเขา เขาล้อเลียนมากที่เอาคำว่าปรัชญาไปใช้กับคำว่า philosophy แต่ในเมืองไทยเราก็ได้ใช้กันแล้วนี่จะทำอย่างไรได้ ทีนี้ครูมีหน้าที่อะไร หึๆ, มีหน้าที่สอน philosophy เพ้อเจ้อ หรือว่าจะทำให้เด็กมีศีลธรรมเร็วๆ ขอให้ช่วยแยก ไอ ไอ, คำพูดนี้ให้ชัดเสียก่อน เราจะมัวสอน philosophy เพ้อเจ้อ ไม่จบ ไม่มีจุดจบ หรือจะทำให้เด็กๆ มีศีลธรรมโดยเร็วล่ะ philosophy คือความรู้ที่ยังไม่เด็ดขาด ยังไม่ถูกต้องนะ ครูจะต้อง อือ, หาเหตุผลมาเรื่อยไปน่ะ นี่หมายความว่า (นาทีที่ 31:53) คือ เราจะสอนศีลธรรมหรือจะสอนปรัชญาของศีลธรรม ถ้าจะสอนปรัชญาของศีลธรรมจะสอนเท่าที่เหตุผลจำเป็นหรือว่าจะปล่อยกว้างสนุกสนาน ไม่มี เอ่อ, จุดจบกัน อาตมาคิดว่าครูมีหน้าที่ทำให้เด็กมีศีลธรรม การศึกษามุ่งหมายให้พลเมืองมีศีลธรรม แต่เดี๋ยวนี้การศึกษาของเราไม่ค่อยจะมุ่งหมายศีลธรรม มุ่งหมาย เอ่อ, รู้หนังสือและวิชาชีพ ดูไปที่ตัวจริง (นาทีที่ 32:42) เรามุ่งหมายแต่รู้หนังสือซึ่งถือว่าจำเป็นที่สุด แล้วก็รู้วิชาชีพ แล้วก็หยุดแค่นั้นไม่เลยไปถึงความมีศีลธรรม คนรู้หนังสือมากแล้วไม่มีศีลธรรมนี่อันตรายนะ คนมีวิชา มีอาชีพดี ร่ำรวยดี แล้วไม่มีศีลธรรมนี่อันตรายนะ ดังนั้น ครูบาอาจารย์ได้สร้างสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าไว้นะ ยังไม่ปลอดจากอันตราย จะต้องช่วยให้เขามีศีลธรรมด้วย อืม, ความรู้และอาชีพของเขาจึงจะไม่ทำอันตรายเพื่อนมนุษย์ ฉะนั้น การศึกษามันก็ต้องเพื่อศีลธรรมก่อน ถ้ามีศีลธรรมแล้ว เศรษฐกิจมันก็จะดี เอ่อ, การเมืองก็จะดี การปกครองก็จะดี เพราะมีศีลธรรมนั่นแหละ ไม่มีศีลธรรมแล้วการเมืองก็บ้า การปกครองก็ดูถ้าไม่มีศีลธรรมจะเป็นอย่างไร สังคมของเราที่ไม่มีศีลธรรมนี่มันเป็นอย่างไร คนไม่มีศีลธรรมนั่นมันก็ขี้เกียจแหละ มันก็ยากจน มีสุขภาพอนามัยเลว คำว่าศีลธรรม ธรรมะนี่มันหมายถึงทำหน้าที่ของมนุษย์สำหรับตน สำหรับตน ถ้ามันไม่ทำหน้าที่ของมนุษย์ก็คือไม่มีศีลธรรม ตนนั้นมันจึงไม่ชอบทำงานน่ะ การทำงานคือหน้าที่ของมนุษย์ ทำหน้าที่ของมนุษย์เรียกว่าธรรมะ นี่ นี่คือ เอ่อ, คือ สิ่งที่เราจะต้องมองให้ชัดว่าการศึกษานี่เพื่ออะไร เพื่อมีศีลธรรม หึๆ, แล้วเมื่อมีศีลธรรมแล้วทุกๆ อย่างก็ปลอดภัยหมดไม่ว่าอะไร ไม่มีศีลธรรมแล้วทุกอย่างจะเป็นอันตรายหมด ความฉลาดของคนนั้นก็จะเป็นอันตราย อำนาจของคนนั้นก็จะเป็นอันตราย กำลังของคนนั้นก็จะเป็นอันตราย แต่ถ้าฉลาดแล้วไม่มีอะไร แต่ถ้ามีศีลธรรมแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นอันตราย ฉะนั้น เราจะเลือกเอาข้างฉลาดหรือเอาข้างมีศีลธรรม ครูบาอาจารย์จะเลือกให้ลูกศิษย์มีความฉลาดหรือมีศีลธรรม ถ้าได้ทั้งสองอย่างนั้นมันดีแน่ แต่ถ้าเลือกได้อย่างเดียวจะเลือกเอาอย่างไหนไปคิดดู บุคคลไม่มีศีลธรรมนั้นเป็นคนอันตราย ไม่ว่าเขาจะไม่ ไม่ว่าเขาจะฉลาดหรือเก่งกาจสามารถ เราเลือกเอาคนเก่งหรือเลือกเอาคนซื่อ หึๆ, คนซื่อมีศีลธรรม คนเก่งไม่มีศีลธรรมก็ได้ จะเลือกเอาคนเก่งหรือเอาคนซื่อ เอาคนมีศีลธรรม อาตมาพูดตรงๆ มันทำนองจะล้อๆ ว่า เมื่อเขาเปลี่ยนการปกครอง อือ, เป็นประชาธิปไตยน่ะ เมื่อปีเปลี่ยนการปกครอง เขาวางหลักไว้ ๖ หลัก หลัก ๖ ของคณะราษฎร์น่ะ หลัก ๖ นั้นไม่มีศีลธรรม คุณไปเปิดดูสิ หลัก ๖ ประการของคณะราษฎร์เมื่อเปลี่ยนการปกครองไม่มีศีลธรรม มีหลักเอกราช มีหลักปลอดภัย มีหลักสมาภาพเสรีภาพ เอ่อ, จนกระทั่งว่าหยอดท้ายนิดหนึ่งว่าการศึกษา การศึกษา แล้วก็มีการศึกษาที่ด้วนน่ะ ไม่ ไม่มีศีลธรรม ฉะนั้น อืม, เปลี่ยนรัฐธรรมนูญตั้ง ๑๒ ครั้งแล้ว ปฏิวัติตั้ง ๑๕ ครั้งแล้วนะ ตั้งแต่ปีนั้นมาจนทั่งปีนี้ก็ไม่เห็นว่ามัน ประชาธิปไตยมันดีขึ้นเลย ยังยอมรับกันว่าประชาธิปไตยครึ่งใบเสี้ยวใบกันอยู่เท่านั้นเอง เพราะว่า ไอ, ๖ ประการนั้นมันไม่มีคำว่าศีลธรรม ทุกอย่างมันจะไม่มีประโยชน์อะไรถ้ามันไม่มีศีลธรรม เอกราชก็ดี สมาภาพก็ดี เสรีภาพก็ดี เศรษฐกิจก็ดี อะไรก็ดี จนกว่าศีลธรรมจะกลับมาจะมีมา สิ่งเหล่านี้จึงจะดี จึงยุติกันได้ทีว่าเรามีการศึกษาเพื่อพลเมืองมีศีลธรรม ถ้าพลเมืองมีศีลธรรมทุกคนแล้ว เกือบไม่ต้องมีการปกครอง คนที่มีศีลธรรมมันไม่สร้างปัญหาอะไร ทุกคนมีศีลธรรมแล้ว อาตมาเชื่อไม่ต้องมีการปกครองก็ได้ การปกครองที่ดีที่สุดน่ะคือ คือไม่ต้องมีการปกครอง คือทุกคนมันมีศีลธรรม มันไม่มีปัญหา เอ่อ, เป็นการปกครองที่ดีที่สุด คือไม่มีการปกครอง เมื่อทุกคนมีศีลธรรม ศีลธรรมของใครมันก็ปกครองคนนั้นอยู่ มันก็ไม่ทำให้ใครคนไหนไปเป็นคนเลวร้ายอันตรายอะไรได้ นี่เรียกว่าการปกครองที่ไม่ต้องมีการปกครอง มันประเสริฐที่สุด เพราะว่าศีลธรรมในตัวบุคคลนั้นมันปกครองทุกคนอยู่แล้ว นี่เรียกว่า หึๆ, ศีลธรรม มีค่าที่สุด จำเป็นที่สุดที่จะต้องมีในทุกแขนงงาน อ่า, ของมนุษย์ในโลก แล้วแต่เราจะเรียกล่ะ การผลิตก็ต้องมีศีลธรรม การซื้อก็ต้องมีศีลธรรม การขายก็ต้องมีศีลธรรม เอ่อ, การส่งออกก็ต้องมีศีลธรรม แปลว่าเศรษฐกิจหมดทั้งกระบิมันต้องมีศีลธรรม หรือการปกครองเมืองน่ะก็ต้องมีศีลธรรม ถ้ามีศีลธรรมแล้วมันใช้ได้ทั้งนั้นแหละ มันไม่ทำอันตรายใคร เสรีประชาธิปไตยก็ใช้ได้ สังคมนิยมก็ใช้ได้ แม้แต่คอมมิวนิสต์ก็ใช้ได้ ถ้ามันมีศีลธรรมนะ ไม่ใช่ฟังไม่ดีแล้วมาพูดว่าคอมมิวนิสต์ก็ใช้ได้ ถ้ามันมีศีลธรรม เดี๋ยวนี้เพราะขาดศีลธรรมน่ะมันจึงเป็นอะไรๆ มาก มากจนเป็นปัญหา ถ้ามีศีลธรรมแล้วมันไม่ มันมีศีลธรรมเป็นผู้ปกครอง มันเป็นระบบ เอ่อ, ศีลธรรม อธิปไตยน่ะ ธรรมาธิปไตยอะไรขึ้นมา เอาเป็นยุติว่าครูบาอาจารย์ทั้งหลายจะถือหลักว่าศีลธรรมจำเป็น เป็นวัตถุประสงค์ อ่า, ของสิ่งที่เรียกว่าศาสนา แล้วศีลธรรมนี้ควรจะมีเหตุผลที่เรียกว่าปรัชญาบ้างตามสมควร อย่าให้เฟ้อ อย่าให้เฟ้อ อืม, ครูก็มีผู้นำ ก็มีหน้าที่นำ ครูมีหน้าที่เป็นผู้นำให้มนุษย์มีศีลธรรม นี่ นี่พูดเอาตามแบบที่มีมาแล้วแต่โบราณ โบรมโบราณ กระทั่งพุทธกาล กระทั่งต่อมานี่ ครูมีหน้าที่นำทางวิญญาณ ตัวหนังสือแปลว่าผู้เปิดประตูให้สัตว์ทั้งหลายออกมาเสียจากคอกมืด คืออวิชชาหรือความโง่ สัตว์ก็ติดอยู่ในคอกมืดคืออวิชชา ครูคือผู้ที่เปิดประตูให้สัตว์ออกมาเสียจากคอกมืด นี่ภาษาอินเดียคำว่าครูน่ะเขาแปลว่าผู้เปิดประตู ที่เราพูดว่าครูเป็นผู้นำในทางวิญญาณนี่ความหมายที่สอง ความหมายที่ ที่งอกออกมาเป็นความหมายชั้นสอง อ่า, ความหมายชั้นหนึ่งคือเปิดประตู ก็ต้อง หึๆ, ก็ต้องเก่งสักหน่อยล่ะจึงจะเปิดประตูได้ เดี๋ยวนี้ปัญหามัน มัน มันอยู่ที่ว่าเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้มันมีปัญหาที่ว่าทำไม่ได้ เพราะว่าครูเองก็ไม่รู้ว่าประตูมันอยู่ที่ตรงไหนน่ะ ไอ, ข้อขัดข้องที่มนุษย์ไม่มีสันติสุข สันติภาพน่ะ หนทางของสันติภาพก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ตรงไหน แล้วก็เปิดประตูไม่ถูก ฉะนั้น โดยทางจริยศาสตร์หรือปรัชญาของศีลธรรม รู้กันเสียว่า ไอ, เหตุ เอ่อ, ของ ไอ, วิกฤตการณ์น่ะ ความเสียหายทั้งหลายมันอยู่ที่ไหน เอ่อ, มูลเหตุของสันติภาพมันอยู่ที่ตรงไหน แล้วก็เปิดให้ถูกประตู นี่ครูได้ทำหน้าที่ของครูอย่างปูชนียบุคคลแล้ว บทบาทของครูก็คือแสดงหน้าที่เป็นปูชนียบุคคล เปิดประตูออกมาเสียจากความโง่ซึ่งเป็นเหตุให้ทำอะไรผิดพลาด พอคนเขาหมด หมดความโง่ เขาก็ทำอะไรถูกต้อง เขาจึงยกครูไว้ เอ่อ, เทิดทูนครูไว้ในฐานะเป็นปูชนียบุคคล อาตมาถือว่าอาชีพครูนั้นเป็นอาชีพที่ได้บุญด้วย อาชีพอื่นๆ อาจจะได้แต่เงิน แต่อาชีพครูนี้ได้เงินและได้บุญด้วย บางอาชีพเป็นอย่างนั้นแต่ไม่ใช่ทุกอาชีพ เพราะว่าอาชีพส่วนมากมันจะได้เงินแหละแต่ไม่ได้บุญน่ะ แต่อาชีพครูนี่ อ่า, มันได้บุญด้วย เขาจึงจัดให้เป็นอาชีพของปูชนียบุคคล เดี๋ยวนี้ปัญหามันมีอยู่ที่ว่าเรามันหลงปรัชญาที่วางแนวไว้ สอนไว้ เขียนไว้โดยชาวตะวันตกมากเกินไป นับถือ เอ่อ, นักปรัชญาชาวคริสต์ทั้งหลายอย่างกับว่าพระเจ้านี่ ก็ขอท้าให้ไปดูเถอะ ไปค้นดูเถอะมันจะแก้ปัญหาอะไรไปบ้าง ปรัชญารูปแบบนั้น แล้วมันก็ไม่ได้มุ่งศีลธรรมน่ะ มันมุ่งความรู้ มุ่งความรู้ รู้มากๆ รู้ไม่มีที่สิ้นสุดเป็นจุดหมาย เอ่อ, ปรัชญาหรือชาวคริสต์ที่เขาเรียกว่า philosophy เขามุ่งความรู้ ความรู้ รู้ไม่มี ไม่มีจุดจบน่ะ ปรัชญา อ่า, philosophy มันเป็นอย่างนั้น แล้วมันก็ไม่แก้ปัญหานี่ ไอ, ความรู้นั้นมันไม่ต้องมากมายน่ะ มันอยู่ที่ปฏิบัติ เดี๋ยวนี้เราก็มาดูว่า เอ่อ, เด็กของเราน่ะเพราะไม่รู้หรือว่าเพราะรู้แล้วไม่ปฏิบัติ นี่ขอฝากให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเอาไปวินิจฉัยกันอย่างดีที่สุด เด็กของเรายังไม่รู้หรือว่าเด็กของเรารู้แล้วไม่ปฏิบัติ ไอ, เรื่องยังไม่รู้นี่ไม่ ไม่ค่อยยากหรอก สอนกันจริงๆ ก็คงจะรู้ แต่รู้แล้วจะให้ปฏิบัตินี่มันยากเพราะว่าเด็กเขาบังคับตัวเองไม่ได้ กิเลสขี่คอเขา ในการอบรมน่ะผิดตั้งแต่อ้อนแต่ออกนั่น มันมีกิเลสขี่คอเขา เขาหลงใหลในความสนุกสนาน เอร็ดอร่อย เมื่อมากะเกณฑ์ให้เขาต้องปฏิบัติสิ่งที่มันไม่สนุกสนานหรือทำลายความสนุกสนานเขาเสีย เขาก็ไม่เอา มันก็ไม่แปลกน่ะที่เด็กๆ ของเราจะไปเสพเฮโรอีนบ้าง ไปเป็นนักเลงบ้าง ไปเป็น ไอ, เดี๋ยวนี้ก็คิดดูสิ นักเรียนของเรากินเหล้าเป็นกันตั้งแต่ชั้นมัธยมน่ะ ซึ่งเมื่อก่อนน่ะหาดูไม่ได้น่ะ เมื่อก่อนนี้นักเรียนไม่สูบกัญชา สมัยนี้นักเรียนสูบกัญชา สูบบุหรี่ที่ใส่กัญชาแล้วเลยไปถึงเฮโรอีน สมัยอาตมาเป็นเด็กๆ แต่เป็นเด็กวัดนะ รู้จักเข้าโรงเรียนแล้วเหมือนกัน แล้วก็เห็นคนสูบกัญชา อืม, เด็กทุกคนน่ะรังเกียจ รังเกียจคนสูบกัญชา หากคนสูบกัญชามันนั่งสูบกัญชาอยู่ใต้ถุนกุฏิ กุฏิใหญ่ ใต้ถุนกุฏิ ค่อนข้างจะทึมๆ นั่นน่ะ เด็กคนไหนไปเห็นเข้าก่อนก็มาบอกเพื่อนกันมาดูคนสูบกัญชา ให้มาดูตัวประหลาดหรือตัวเสนียดอะไรนี่ แล้วทุกคนก็ถ่มน้ำลายวิ่งหนีไป ถ่มน้ำลายเขาทีแล้วพากันวิ่งหนี เด็กสมัยอาตมาเป็นอย่างนี้รวมทั้งอาตมาด้วยนะ เดี๋ยวนี้เด็กของคุณครูเป็นอย่างนี้หรือเปล่า อาจจะเข้าไปขอสูบด้วยกระมัง หึๆ, ไม่ถ่มน้ำลายรดหน้าใส่แล้ววิ่งหนีกระมัง นี่มันการศึกษามันเป็นอย่างไร เอ่อ, เพราะว่าเขาชอบสนุก ชอบอร่อย ชอบของแปลก เอ่อ, ไม่บังคับตัวเอง ทีนี้ปัญหามันจะไปอยู่ที่ว่าเด็กรู้แล้วแต่ปฏิบัติไม่ได้หรือไม่ปฏิบัติ บังคับตัวให้ปฏิบัติไม่ได้ อันนั้นน่ะจะเป็นปัญหามากกว่าที่จะไม่รู้ อ่ะ, แล้วสมมติเด็กเขาไม่รู้ ครูก็ช่วยกัน เอ่อ, ค้นหา ไอ, หลักการ หลักเกณฑ์ เอ่อ, เหตุผลอะไรก็ตาม ให้มันพอเถอะ ให้เด็กๆ เขาเห็นได้เองว่ามันเป็นอย่างนี้ จะทำได้ไหม ครูเรานี่จะสามารถทำให้เด็กเห็นชัดว่ากัญชานี่มันเป็นของผิด ของบ้า ของเลว ของน่าเกลียดนี่ได้ไหม แล้วเด็กเขาก็จะไม่สูบกัญชา ถ้าเรายังทำไม่ได้ เด็กเขาก็ต้องสูบกัญชาล่ะ เพราะว่ามันมีคนสูบกันมากขึ้น เอ่อ, ผู้ใหญ่กินเหล้านี่ ทำอย่างไรจะไม่ให้เด็กกินเหล้า ฉะนั้น เด็กก็กินเหล้ามากขึ้น ผู้ใหญ่ทำอะไรๆ ที่ไม่น่าดูมากขึ้น เด็กมันก็ต้อง จะต้องทำให้ได้ ไอ, เรื่องที่ว่าการแสดงอะไรดูได้แต่ผู้ใหญ่ เด็กห้ามเข้าดูนั้นน่ะเลวร้ายที่สุดเลยล่ะ ยิ่งทำให้เด็กเขาอยากจะดู เด็กๆ ของเรามันมีความคิดอิสระเสรีภาพถึงขนาดนี้แล้ว ฉะนั้น อย่ามีอะไรชนิดที่ทำให้เขาสงสัย เอ่อ, ให้เขาเห็นว่าผู้ใหญ่ไม่ยุติธรรม เราก็ไม่เชื่อ ผู้ใหญ่ดูได้ เราก็ต้องดูได้ ผู้ใหญ่กินได้ เราก็ต้องกินได้ ฉะนั้น เด็กก็สูบบุหรี่หมด ก็กินเหล้าหมด ก็ทำอะไรๆ ต่างๆ อย่างที่ผู้ใหญ่เขาทำหมด ปัญหามันก็เกิดขึ้นเต็มไปหมดเพราะเหตุนี้
ทีนี้ก็อยากจะพูดถึงเรื่องศีลธรรมที่ว่ามันคืออะไรแน่ กระทรวงศึกษาธิการบัญญัติศีลธรรมไว้เป็น ไอ, แขนงหนึ่งหรือส่วนน้อยของสังคมศึกษา เป็นส่วนนิดหนึ่งของสังคมศึกษาที่มากมายน่ะ แล้ว ไอ, ส่วนน้อยนั้นยังไปแบ่งเป็น ไอ, เรื่อง เอ่อ, ศึกษาเสียมาก เสียมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของศีลธรรมคือปฏิบัติ เป็นเรื่องหลักวิชา เป็นเรื่องปรัช ปรัชญาไปเสียหมด แทนที่จะเป็นเรื่องปฏิบัติโดยความเป็นศีลธรรม ดังนั้น เด็กๆ ของเราจึงไม่มีศีล เอ่อ, ไม่มีศีลธรรม ไม่สนใจศีลธรรม ไม่เจริญในทางศีลธรรม แต่เขาอาจจะรู้ เขาอาจจะตอบได้มาก ตอบคำถามได้มากในทางจริยศึกษา เดี๋ยวนี้เปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์กันมากขึ้นๆ แทบจะเต็มบ้านเต็มเมืองอยู่แล้ว แต่มันสอนแต่จริยศึกษาอย่างที่ว่าคือปรัชญาหรือหลักวิชาเกี่ยวกับศีลธรรม ไม่อบรมศีลธรรมโดยตรง ฉะนั้น เด็กๆ เหล่านี้จะไม่มีศีลธรรมล่ะ แต่รู้เรื่องของศีลธรรมปรัชญาของศีลธรรมมากขึ้นบ้าง อืม, ถ้าทำกันอยู่ในระบบนี้ อาตมาอยากจะพูดว่าอีกร้อยปีน่ะเด็กๆ ของเราก็ไม่มีศีลธรรม อย่างที่กำลังเป็นอยู่นี่ บางทีมันจะแรงมากขึ้นไปอีก พัฒนาจริยศึกษาไม่ใช่พัฒนาศีลธรรม พัฒนาศีลธรรมไม่ใช่พัฒนาจริยศึกษา ไอ, หัวข้อที่ให้มานี่ดูจะกำกวมนะ ท่านใช้คำว่าพัฒนาจริยศึกษาแต่รวมศีลธรรมอยู่ในนั้นด้วยนะ ก็อธิบายยากไป เอาละเป็นว่า ไอ, คำว่าจริยศึกษานี่เป็นจริยศึกษา เป็นการศึกษา เอ่อ, ศึกษาให้รู้ว่าศีลธรรมคืออะไร จะต้องปฏิบัติอย่างไร นี่ส่วน จริยศึกษา อืม, ให้เขาปฏิบัติศีลธรรมด้วย ให้รวมอยู่ในนั้นด้วย ก็ เอ่อ ก็ ก็ได้เหมือนกันล่ะ ให้รู้จักปฏิบัติศีลธรรมด้วย ให้รู้จักหลักของศีลธรรมด้วย แต่อย่าลืมว่ารู้จักเพียงหลักของศีลธรรมนั้นมันไม่ปฏิบัตินี่ มันก็ไม่มีศีลธรรม เด็กของเราขาดอะไร เด็กของเราขาดศีลธรรมหรือว่าขาดจริยศึกษา ความรู้สึกของอาตมาเห็นว่าเด็กของเราไม่ ไม่ค่อยจะ ไม่ค่อยขาดจริยศึกษาหรอก มัน มันจดไว้เป็น เป็นหอบๆ กันแล้วล่ะ แต่มันยังไม่มีศีลธรรม มันขาดศีลธรรม เพราะว่า ไอ, จริยศึกษานี่มันทำได้ด้วยการเล่าเรียนธรรมดา แต่ศีลธรรมนี่มีไม่ได้ เป็นไม่ได้ด้วยการเล่าเรียนตามธรรมดา มันมีได้ด้วยการอบรม อืม, โดยเฉพาะ เป็นตัวการอบรมลงไปจริงๆ ไม่ใช่ศึกษาอย่างที่ว่าเล่าเรียน ทีนี้ก็ไปนึกถึงการอบรม ครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็รู้หลักของศีลธรรมอยู่แล้วว่ามันเป็นอย่างไร มีอย่างไรๆ แล้วก็ไปค้นคว้าหาวิธีว่าทำอย่างไรเด็กของเราจะปฏิบัติตามนั้น ไอ, ข้อนี้มันคาบเกี่ยวกันหลายชั้น อาตมาคิดว่าเพราะพื้นฐานมันไม่ดี พื้นฐานไม่ดีมาตั้งแต่เด็กๆ ชั้นอนุบาล ชั้นอนุบาลนั่นแหละเป็นชั้นที่สำคัญที่สุดล่ะ อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยนะ ถ้าเราให้เด็กอนุบาลมีรากฐานของศีลธรรมไม่ได้แล้วโตขึ้นจะลำบากล่ะ จะยกตัวอย่างให้เห็นก็ได้เช่นว่า โรงเรียนอนุบาลทำมาไม่ดี หือ, เด็กไม่รักพ่อแม่ ไม่เคารพพ่อแม่ ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ไม่กตัญญูพ่อแม่ แล้วพอ พอมาเป็นเด็กประถม เด็กมัธยมเป็นอย่างไรบ้างดูสิ เด็กชั้นมัธยมนี่รักพ่อแม่ไหม เคารพพ่อแม่ไหม เชื่อฟังพ่อแม่ไหม กตัญญูพ่อแม่ไหม มันเลวทั้งนั้นนั่น เพราะมันทำให้พ่อแม่น้ำตาตกกันเสียเกือบจะทุกคน มันใช้เงินเปลือง มันเป็นเจ้าชู้ตั้งแต่เล็ก มันเหลวไหลในการเรียน มันทำให้พ่อแม่น้ำตาตกน่ะ เพราะมันไม่มีรากฐานมาแต่อนุบาล ถ้าทำได้ เอ่อ, ให้วางหลักสูตรอนุบาลกันเสียให้ดีๆ ใหม่ ให้เด็กมันรักพ่อแม่อย่างสุดชีวิตจิตใจเลย แล้วมันก็ต้องเชื่อฟังล่ะ แล้วมันก็ต้องกตัญญูล่ะ เดี๋ยวนี้ เอ่อไอ, การศึกษาระดับอนุบาลไม่ ไม่ได้ผลอย่างนั้น ที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนเสียมากกว่า ยัง ยังจะดีเสียกว่า คือ ยังรักพ่อแม่มากกว่าที่เคยเข้าโรงเรียน แต่ธรรมดาเด็กๆ มันก็รักพ่อแม่อยู่แล้วล่ะ ลูกหมาลูกแมวมันก็รักแม่ของมันเหมือนกันแหละ มันมีเป็น เป็นทุนกันอยู่ทั้งนั้น แต่ไม่ได้พัฒนาให้ความรักนี้ เอ่อ, เต็มอัตราของมัน เด็กอนุบาลเรียนหนังสือมากเกิน เรียนเลขมากเกิน บางโรงเรียนเรียนภาษาอังกฤษน่ะ เอากับเขาสิ เด็กอนุบาลบางโรงเรียนเรียนภาษาอังกฤษน่ะ ที่ออกเป็นตัวอย่างอยู่ทางวิทยุน่ะ โรงเรียนอนุบาลนั่งสอนภาษาอังกฤษแก่เด็ก เอ่อ, ชั้นเล็ก อาตมาคิดว่าไม่ต้องเรียนหนังสือล่ะ เด็กอนุบาลนี่ยังไม่ต้องเรียนเลข ยังไม่ต้องเรียนหนังสือ แต่เรียน ไอ, รากฐานของศีลธรรม ใช้คำว่าเรียนก็ไม่ถูก ต้องใช้คำว่าอบรม ได้รับการอบรมรากฐานของศีลธรรม โดยที่ครูไม่สอน ไม่บอก แต่ทำให้เด็กมันเห็นเอง หึๆ, มันยากไหม ครูไม่สอนไม่บอกเลย แต่ทำให้เด็กมันเห็นเอง รู้สึกขึ้นมาเอง เหมือนกับวิทยาศาสตร์ เด็กเล็กมาเข้าโรงเรียนวันแรก ไอ, สิ่งที่ให้เรียนนั้นมันไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่เลข ไม่ใช่ ร้องเพลงเสียยังดีกว่า ยังดีกว่าเรียนหนังสือเรียนเลข แต่เราจะให้เด็กเขาถูกอบรมปลูกฝัง เอ่อ, ศีลธรรมลงไป เช่น เราจะมีคำถาม ขอ ขอบอกว่ามีคำถามเท่านั้นแหละไม่มีคำ ไม่มีคำสอน ไม่มีคำแนะ ไม่มีคำสอน มีแต่คำถามอย่างเดียวที่จะอบรม ปลูกฝังศีลธรรมลงไปในเด็กทารกน่ะ อนุบาลน่ะ จะมีแต่คำถามอย่างเดียว อืม, ถ้าไปสอนไปบอกให้เขาท่องจำมันก็เหลวไหลแหละ เป็นนกแก้วนกขุนทอง มันไม่ฝังลงไป แล้วเขาไม่เห็นเหมือนกับเอามาใส่ในฝ่ามือดู ลองถามว่านี่ นี่ นี่หนูมันเกิดมาเองไหม เกิดมาได้เองไหม เกิดมาจากโพรงไม้หรือเกิดมาจากอะไร เด็กมันก็ตอบถูกแน่ มันเกิดมาจากแม่แหละ ถามว่าเกิดได้เองไหม เกิดมาจากโพรงไม้ไหม มันก็รู้ว่าเกิดมาจากแม่ มันก็จะรู้จักความหมายคำว่า แม่คือผู้ที่ให้เราเกิดมา ก่อนมันไม่เคยนึกนะ แต่พอเมื่อถูกถามเข้ามันก็นึก เน้นตรงนี้ เน้นหลายๆ คำถาม มีแต่คำถาม ไม่บอก จนเด็กมันรู้สึกเป็นวิทยาศาสตร์เลยว่าเกิดมาจากแม่ อืม, คำถามมันก็มีเรื่อยไป เอ่อ, เนื้อหนังร่างกายนี้แบ่งมาจากใคร เด็กก็แบ่ง ก็บอกว่ามันก็ตอบถูกว่าแบ่งมาแต่แม่ เนื้อหนังของ ของเรานี่แบ่งมาแต่แม่ ชีวิตนี้แบ่งมาจากใคร เอ่อ, มันก็จะงงๆ บ้างแต่มันจะตอบได้ว่าชีวิตนี้ก็แบ่งมาจากแม่ โตขึ้นมาด้วยอะไร เอ่อ, กินนมแม่ แม่เอานมมาจากไหน อาตมาเคยถามเด็กเล็กๆ ตอบถูกว่า ไอ, นมของแม่คือเลือดของแม่ ไอ, เด็กคนนี้เล็กมากตอบถูก เข้าใจว่าเคยได้ยิน ได้ยินใครบอกมาแล้วหรือเล่ามาแล้ว ว่านมของแม่คือเลือดของแม่ ไอ, นี่แกกินเลือดของแม่หรือ ถามต้อนเข้าไปเลย จนมันจะรู้สึกว่าแหมนี่เรานี่ มันช่างเป็น เอ่อ, หนี้บุญคุณของพ่อแม่เสียจริง รองเท้ามาจากไหน แม่ให้ เสื้อมาจากไหน แม่ให้ กางเกงมาจากไหน แม่ให้ หมวกจากไหน แม่ให้ เข็มขัดจากไหน แม่ให้ อย่ากลัวเสียเวลา ถามมันเรื่อยไป ถามมันทุกแขนงเลย แล้วก็ถามกันจนมีคำถามตั้งสามร้อยข้อขึ้นไป พอที่เด็กมันฝังลงไปในจิตใจว่าแม่คืออะไร พ่อคืออะไร ถ้ามันโตแล้วก็ให้มันนึกบ่อยๆ ว่าธนาคารไหน ออมสินไหนที่เราเบิกเงินได้เรื่อยโดยไม่ต้องฝาก เอ่อ, ซักไซ้ให้มันนึกเห็นขึ้นเองว่าธนาคารไหนที่เราเบิกเงินได้เรื่อยโดยไม่ต้องฝาก ถ้ามันตอบเพี้ยนๆ เราสกัดไปอีก สกัด สแกนไปจนมันรู้ว่าธนาคารไหนเบิกเงินได้เรื่อยไปโดยไม่ต้องฝาก มันก็แม่อีกนั่นแหละ ฉะนั้นคำถามสี่ห้าร้อยคำถามนี่มันจะแวดล้อมให้เด็กรักแม่ บูชาแม่ เคารพแม่ เชื่อฟังแม่ กตัญญูแม่ มาโรงเรียน อืม, สองสามชั่วโมงไม่ได้เห็นแม่ร้องไห้เลย ร้องไห้จะกลับไปหาแม่ อยู่ในโรงเรียนร้องไห้คิดถึงแม่ล่ะก็ใช้ได้ละเด็กคนนั้นน่ะ มันจะรัก จะเคารพ จะเชื่อฟัง จะกตัญญู เอ่อ, พ่อแม่ แล้วก็ค่อยเลยมาถึงครูบาอาจารย์ แล้วรู้มากขึ้นไปจนถึงกับว่ารักครูบาอาจารย์ รักเพื่อนฝูง รักอะไรหมด อย่างนี้อาตมาเรียกว่าอบรมศีลธรรม ไม่ใช่จริยศึกษานะ ไม่ใช่จริยศึกษานะ จริยศึกษาก็บอกให้เด็กจด อย่างดีก็ร้องเพลง หึๆ, มันไม่สำเร็จประโยชน์ งั้นขอฝากคุณครูทั้งหลายที่นี่นะ คุณช่วยไปหาคำถามสักสามร้อยข้ออย่างน้อย อ่า, เพื่อจะถามเด็กอนุบาลของเรา ถามท่าเดียวไม่มี หรือจะแบบของโสเครติสที่เขาสอนอะไรนี่ เขาจะถามท่าเดียว เขาไม่บอกอะไรเลย ไอ, คนมันก็มีความรู้สึกนะ ไม่ใช่ความรู้นะ ไม่ใช่ความรู้นะ มันเป็นความรู้สึกนะ เกิดมาจากแม่นี่ไม่ใช่ความรู้นะ เป็นความรู้สึกนะ โดยประจักษ์แก่จิตนะ กินเลือดของแม่นี่มันด้วยความรู้สึกนะไม่ใช่ความรู้ ถ้าเป็นเพียงความรู้ไม่ได้ล่ะ เดี๋ยวมันก็ลืมล่ะ เป็นความจำก็ใช้ไม่ได้ มันต้องอย่างน้อยก็เข้าใจแล้วเลยไปถึงความเห็นแจ้งโดยประจักษ์ว่าเรากินเลือดของแม่ ใครรักเราที่สุดในโลก ไม่กล้าตอบสิ ใครรักเราที่สุดในโลก อืม, ใครแทนตาย ใครตายแทนเราได้ ให้เด็กไปหาคำถาม หาคำตอบเอาเอง ใครในโลกนี้ตายแทนเราได้ อาตมาคิดว่าคำถามสักสามร้อยข้อก็พอ ช่วยไปคิดขึ้นมาสัก อย่างมากก็ห้าร้อยข้อเพื่อจะปลูกฝังศีลธรรมลงไปในเด็กๆ ของเรา เด็กนี้จะมีศีลธรรมเป็นพื้นฐานตั้งแต่ชั้นอนุบาล แล้วมันก็จะรักแม่จนถึงกับสูบบุหรี่ไม่ได้ล่ะ มันจะเห็นว่าสูบบุหรี่นี่มันคือ เอ่อ, ทำลายพ่อแม่ หรือว่าจะทำอะไรทำนองนั้นไม่ได้ล่ะ คือทำลายพ่อแม่ จะทำลายพ่อแม่ไม่ได้ บาปเหลือประมาณ ถ้าได้ฝังรากฐานของศีลธรรมดีถึงที่สุดแล้วเราจะไม่มีเด็กๆ ที่ทำอบายมุข ผลาญเงินของพ่อแม่ อืม, เขาว่าเด็กที่ไปเรียนอยู่มหาวิทยาลัย เอ้ย, ที่วิทยาลัยอะไรทางสงขลา ทางหาดใหญ่น่ะ ปิดเทอม กลับมาบ้านที่ไชยา ขากลับ แม่ให้เงินไปสำหรับใช้จ่ายเล่าเรียนต่อเทอมต่อไปน่ะ อะ, มันชวนกันเข้าไปในรถเสบียง เมามายเหมือนกับคนบ้า ถึงสงขลา เงินเหลือไม่ถึงครึ่งน่ะ คุณรู้บ้างไหม คุณรู้ไหมคุณเป็นครูน่ะ คุณรู้ไหมว่าเด็กๆ กำลังเป็นอย่างนี้ เงินเหลือไม่ถึงครึ่ง เงินที่พ่อแม่ให้น่ะ แล้วพ่อแม่เอาเงินมาจากไหนรู้ไหม กู้ยืมทั้งนั้นแหละ นี่เด็กของเรากำลังเป็นอย่างนี้ ดังนั้น ไปหา ไอ, คำถามที่ทำให้เด็กเขารักพ่อแม่ บูชาพ่อแม่ตรงตามพระพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บิดามารดาเป็นพระพรหมของลูก เป็นพระอรหันต์ของลูก เป็นครูคนแรกของลูก คือทำให้ลูก เอ่อ, ได้บุญน่ะ เป็นพระอรหันต์น่ะ เป็นพระพรหมคือเป็นผู้สร้างชีวิตมา เป็นครูคนแรกก็หมายความว่าคนแรกจริงๆ ล่ะ ให้เขามีสัมมาทิฐิไปตั้งแต่อ้อนแต่ออกน่ะครูคนแรก เด็กๆ ของเรามีความเข้าใจถูกต้องต่อบิดามารดาไปตั้งแต่อ้อนแต่ออก นี่เรียกว่าครูคนแรก อย่างนี้ไม่ใช่จริยศึกษานะ มันศีลธรรมโดยตรงนะ แต่เราจะให้อยู่ในรูปแบบจริยศึกษาก็เอาไปวางรูปแบบกันสิ ว่าครูจะอบรมศีลธรรมลงไปในจิตใจของเด็กทารกอย่างไร คุณอยากจะเรียกว่าจริยศึกษาก็ได้ตามใจ อาตมาก็ไม่ได้คัดค้านแต่บอกว่ามันไม่ใช่ปรัชญาอย่าง philosophy นะ มันไม่ใช่เรื่อง philosophy นะ มันเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ของการฝังศีลธรรมลงไปในวิญญาณของเด็กนะ ไม่ใช่ philosophy งัวเงียจนคว้าอะไรไม่ถูกอยู่ นี่ก็พูด เอ่อ, เท่าที่จะนึกออกและเวลาก็น้อย เดี๋ยวอีกสามโมงนี้ก็ต้องไปทำงานพิเศษกันที่โน่นอีก ฉะนั้น การแก้ปัญหาของเด็กที่มีอยู่เวลานี้ไม่ใช่ด้วยจริยศึกษาเสียแล้ว แต่ว่าต้องแก้ด้วยระบบ เอ่อ, ศีลธรรม อืม, เสียแล้ว ครูที่ถูกต้องตามความหมายคำว่าครูนี่ต้องพัฒนาศีลธรรมให้แก่เด็ก ลงไปในวิญญาณของเด็กไม่ใช่เพียงแต่จริยศึกษา แต่เราก็ควรจะรู้แหละว่าศีลธรรมคืออะไร ปรัชญา philosophy ดีกว่า philosophy ของศีลธรรมนั้นคืออะไร ถ้ารู้ว่าปรัชญาของศีลธรรมคืออะไร มันก็คืออยู่ในพวกศีลธรรม ไม่ใช่จริยศาสตร์ล้วนๆ นี่คำกำลังปนกันยุ่งที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษา คำกำลังปนกันยุ่งจนครูก็เวียนหัวแหละ อาตมาจึงขอ เอ่อ, เสนอแนะแนวใหญ่ๆ ว่า ให้แยกศีลธรรมออกเป็น morality ให้แยกจริยศึกษาออกเป็น ethic คือ philosophy of morality วางอันนี้เป็นหลักตายตัวเข้าไว้ แล้วก็พิจารณาดูทีละอย่าง ทีละเรื่องว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอะไร จัดหมวดหมู่ให้ดี ถ้าเป็น philosophy ก็ให้เป็นชนิดที่เอามาใช้ได้ เอามาใช้ในการปฏิบัติ เอ่อ, ทางศีลธรรมได้ อบรมเด็กให้มีศีลธรรมได้ นี่บทบาทและหน้าที่ของครูในการพัฒนาจริยศึกษาซึ่งมีหัวใจเป็นศีลธรรม ถ้าท่านครูทั้งหลายยังชอบคำว่าจริยศึกษาก็ขอให้เติมคำว่ามีศีลธรรมเป็นหัวใจ มีหัวใจเป็นศีลธรรม จริยศึกษาของเรามีหัวใจเป็นศีลธรรม เพราะว่าถ้ายังเป็นจริยศึกษาอยู่ ยังไม่มีประโยชน์อะไร ต่อเมื่อเป็นศีลธรรมแล้วก็มีประโยชน์ ศีลธรรมคือการปฎิบัติไม่ใช่ความรู้ในสมุด จริยศึกษาเป็นความรู้ในสมุดก็ได้ แต่ถ้าเป็นศีลธรรมแล้วเป็นการปฎิบัติโดยตรง ฉะนั้น ศีลธรรมที่เป็นเหตุนะ ศีลธรรมที่เป็นเหตุน่ะคือ ตัวปฎิบัติที่ให้เกิดผลออกมา (นาทีที่ 01:07:36) แล้วผลได้รับก็เป็นศีลธรรมที่เป็นผล ศีลธรรมที่ ที่เป็นผลของการปฎิบัติ แล้วศีลธรรมที่เป็นหน้าที่ เอ่อ, คือเรามุ่งเฉพาะหน้าที่ที่ว่าเราจะต้องทำ ทุกคนรู้หน้าที่ที่จะต้องประพฤติต่อศีลธรรมให้ถึงที่สุดน่ะ นี้ก็พอจะเป็นหลักสำหรับ เอ่อ, ขุดค้นคุ้ยเขี่ย เอ่อ, จัดระบบอะไรต่างๆ ได้ ศีลธรรมที่เป็นเหตุมองให้เห็นชัด ศีลธรรมที่เป็นผลน่ะเราหวังอยู่อย่างยิ่ง ดังนั้น หน้าที่ต่อสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมนั้นเราต้องไม่บกพร่อง ครูช่วยให้เด็กได้ทำหน้าที่ทางศีลธรรม วิธีที่จะฝัง ไอ, ความรู้สึกลงไปนั่นแหละ ให้ช่วยค้น ช่วยค้นกันให้มากเถอะ การสอนให้รู้น่ะมันไม่ยากหรอก แล้วมันก็จดไว้ในสมุดได้ ไอ, ความรู้น่ะมันทำง่ายกว่าความรู้สึก เราทำให้เด็กมีความรู้อย่างไรนั้นมันง่ายกว่าที่จะทำให้เขาเกิดความรู้สึก รู้สึกจริงๆ ในสิ่งนั้น รู้สึกดี รู้สึกชั่ว ด้วยความรู้สึก ไม่ใช่ด้วยครูบอกให้แล้วจดไว้ในสมุดว่าอย่างไรเรียกว่าความดี อย่างไรเรียกว่าความชั่ว เขาเพียงแต่รู้นี่มันง่ายนะ แต่ถ้าเกิดความรู้สึกแล้วมันมากกว่านั้นนะ เขาจะเกลียด ไอ, ความชั่วอย่างยิ่งเลย แล้วก็จะรักความดีอย่างยิ่ง นั่นน่ะคือผลของความรู้สึก ถ้าเป็นแต่เพียงความรู้มันอยู่ในสมุด เอามาท่องได้เหมือนนกแก้วนกขุนทอง ขอให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเป็นผู้นำวิญญาณ เอ่อ, ของลูกศิษย์ แล้วเปิดประตูคอกของสัตว์ทั้งหลายด้วยการทำให้เขารู้สึกต่อความทุกข์ ต่อเหตุให้เกิดทุกข์ วิธีที่จะดับทุกข์ แล้วเขาจะดับทุกข์ได้ แล้วเขาจะรู้จักเอง รู้สึกเอง นี่เวลามีเท่านี้น่ะ ต้องให้เวลาให้อาตมาพักผ่อนซักยี่สิบนาที แล้วจะขึ้นไปอยู่บนภูเขา ขอยุติบรรยายไว้เพียงเท่านี้ เดี๋ยวจะเหนื่อยจนไม่มีแรงพูดบนภูเขา ขอปิดประชุม