แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2521 เจ้าภาพจะให้ทำอะไรว่าไป (นาทีที่ 0.42 น.) เพราะว่าสนทนาธรรมไม่ใช่เหรอ รูปแบบ เจ้าภาพบรรยายธรรมที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ สนทนาธรรมไม่แน่ ขอเริ่มด้วยการให้ทุกคนทำสมาธิด้วยการหลับตานึกถึงก็ที่พระพุทธเจ้าประสูติกลางดิน พระเจ้าประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน นิพพานก็กลางดิน สอนสาวกประจำวันทั่วไปส่วนมากก็กลางดิน แวะพักพลางนั่งกลางดิน ว่ามีการสอนพระไตรปิฎกลางดิน กุฏิของท่านก็กลางดิน มานั่งอยู่ตอนนี้ขอให้นึกถึงพระพุทธองค์เป็นอย่างนี้ เมื่อเรากำลังมานั่งในสภาพอย่างนี้เพื่อให้ระลึกได้โดยง่าย ในการมาสวนโมกย่อมมีโอกาสที่จะได้นั่งกลางดิน และก็นึกถึงข้อที่พระพุทธองค์มีชีวิตกลางดิน แล้วก็ทายกทายิกา (นาทีที่ 2.50 น.) ทั้งหลาย เขาทำบุญจะไปอยู่บนสวรรค์วิมานเนี่ยมันเป็นยังไง มันเล่นตลกกันยังไง ถ้าว่าเข้าใจเรื่องพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีชีวิตกลางดินและก็จะดีมาก คือจะมองเห็นได้เองว่ามันเป็นไปโดยถูกต้องตามเรื่องตามกฎเกณฑ์ตามหลักของธรรมชาติว่าธรรมะนั้นคือ ตัวธรรมชาติ ว่าธรรมะนั้นคือกฎของธรรมชาติ ว่าธรรมะนั้นคือหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ ว่าธรรมะนั้นคือผลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่เช่นนั้น 4 อย่างนี้เรียกว่าธรรมะล้วนแต่เป็นเรื่องของธรรมชาติหรือว่าเป็นเรื่องของพระเป็นเจ้าไปเลย ธรรมะกับพระเจ้านั้นมันเป็นตัวเดียวกัน ถือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ธรรมะกับพระเจ้านั้นตัวเดียวกันเรียกว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ธรรมชาติที่มีปรากฏการณ์ทั้งหลายนี้เป็นร่างกายของพระเจ้า จิตกฎของธรรมชาตินั้นเป็นจิตของพระเจ้าเป็นพระจิตเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ตามกฎของธรรมชาตินั้นเป็นข้อเรียกร้องของพระเจ้า เหตุผลเกิดจากการหน้าที่นั้นคือสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ สุขก็มี ทุกข์ก็มี แล้วแต่คนมันปฏิบัติหน้าที่กันในทางไหน ปฏิบัติหน้าที่ในทางให้เกิดทุกข์มันก็เกิดทุกข์มา ปฏิบัติหน้าที่ก็ได้สุขมา เนี่ยพระเจ้ากับธรรมชาติกับพระธรรมเป็นสิ่งเดียวกัน ถ้ามองเห็นข้อนี้ เข้าใจข้อนี้แล้วมันก็จะง่ายที่สุดที่จะเข้าใจเรื่องอื่นๆต่อไปอีก ที่พูดถึงว่าพระพุทธเจ้ามีชีวิตกลางดินท่านนั้นก็คือท่านเป็นมรรคธรรมชาติทั้งทางกายและทางจิต ทางวิญญาณ แม้แต่ทางกายของท่านก็ทุกข์เป็นอยู่กับธรรมชาติ ทางจิตของท่านก็เข้าถึงธรรมชาติ ทางสติปัญญาหรือทางวิญญาณของท่านก็คือรู้เรื่องธรรมชาติโดยสมบูรณ์ นั้นจึงถือว่าท่านเป็นนักธรรมชาติวิทยายิ่งกว่านักธรรมชาติวิทยาสมัยนี้อย่างที่จะเปรียบกันไม่ได้ เพราะว่านักธรรมชาติวิทยาสมัยนี้รู้จักธรรมชาติแต่ในด้านวัตถุ ส่วนพระพุทธเจ้าท่านรู้จักธรรมชาติไปถึงด้านจิตด้านวิญญาณด้านทั้งหมด คือสัจจะของธรรมชาติทั้งหมดที่ไม่มีรูปร่างมาเป็นเรื่องจิตเรื่องวิญญาณท่านก็รู้ แต่นี้เรามันไม่ค่อยรู้ กันในข้อนี้ รู้แต่เรื่องทางวัตถุที่สัมผัสได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เรื่องที่ต้องสัมผัสด้วยสติปัญญานั้นไม่ค่อยจะรู้ สติปัญญาก็ยังผิด ๆ อยู่ เอาไปใช้สัมผัสอะไรไม่ได้ ขอให้สนใจในส่วนนี้กันก่อน เพื่อปรับปรุงเราในทุก ๆด้านนี้ให้มันเข้ากันได้กับพระเจ้า ให้มันเข้ากันได้กับพระธรรม ให้มันเข้ากันได้กับธรรมชาติ นี้ข้อที่อยากจะปรารถนาเป็นอารับบท ให้รู้จักธรรมะในฐานะเป็นความจริงของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้สามารถเข้าถึงความจริงของธรรมชาติด้วยพระองค์เอง แล้วนำมาสอนแปลกจากพวกเราตรงที่เราไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตนเอง เราก็ต้องฟังกันต่อจากพระพุทธเจ้า ขอย้อนไปนึกถึงตัวธรรมชาติเป็นสิ่งที่เรียกว่าธรรมเหมือนกัน ตัวกฎของธรรมชาตินั้นก็เป็นสิ่งที่เรียกว่าธรรมเหมือนกัน ตัวหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎนั้นก็เรียกว่าธรรมเหมือนกัน แล้วตัวผลที่ได้รับมาจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็เรียกว่าธรรมเหมือนกัน นั้นคำว่าธรรมจึงเป็นคำที่เราอาจจะท้าได้เลยว่าในโลกไม่มีคำไหนจะประหลาดเท่า และไม่สามารถจะแปลเป็นภาษาอื่นได้ให้มีความหมายครบถ้วนตามความหมายของคำว่าธรรม มีความสนใจข้อนี้ก็แปลเป็นภาษาอังกฤษกันต่าง ๆ ต่าง ๆ นับดูได้ตั้ง 30 กว่าคำมันก็ยังไม่หมด ไม่หมดความหมายของคำว่าธรรม ถ้าจะให้หมดต้องรู้เป็นประเภท ๆ 4 ประเภทนี้จะหมด ว่าตัวธรรมชาติ ว่ากฎของธรรมชาติ ว่าหน้าที่ตามธรรมชาติ ว่าผลตามหน้าที่ นี่จะหมดความหมายคำว่าธรรม ถ้าจะแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นต้นว่าอย่างไร แม้จะแปลเป็นภาษาไทยก็ไม่รู้ว่าจะแปลว่าอะไร ถ้าจะแปลธรรม คือคำสั่งสอนเนี่ยมันเป็นอย่างขนาดเด็กอมมือเท่านั้น คือมันนิดเดียวเกินไป ที่จะแปลว่าธรรมคือคำสั่งสอนเพราะมันกินความทุกอย่าง ทั้งที่อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าไอ้ธรรมชาติทั้งหมด กฎธรรมชาติทั้งหมด หน้าที่ที่ปฏิบัติทั้งหมด ผลที่ได้รับทั้งหมดเนี่ยเป็นธรรม ไม่ยอมแพ้ แปลไม่ได้ เพราะใช้คำว่าธรรมบอกไปตามเดิม ไม่ต้องตั้งคำขึ้นใหม่ ใช้คำว่าคำคำนี้ไปตามเดิมจึงหมายถึงธรรมชาติให้ตีความหมายนั้น เป็นคำนามเพราะว่าธรรมเป็นคุณศัพท์ เพราะว่าธรรมมิตรกะ (นาทีที่ 10.33.5 น.) นั้นเป็นไปตามธรรมนี้ก็พอ ที่นี้เรามันก็ต้องรู้ว่า ไอ้ 4 อย่างนั้นอย่างไหนสำคัญและจำเป็นที่สุด ตัวธรรมชาติไม่ต้องอะไรก็ได้มันเป็นอยู่เองแล้วธรรมชาติทั้งหลายที่มีปรากฏการณ์หรือไม่มีปรากฏการณ์ก็ตามเรียกว่าธรรมชาติอยู่แล้ว ที่นี้มันมีกฎของธรรมชาติอยู่ในทุกสิ่งที่เป็นธรรมชาติเราต้องรู้ นี้เราก็รู้บ้างตามที่จำเป็นจะต้องรู้เป็นสัจจะของธรรมชาติที่จำเป็นจะต้องรู้แต่ไม่อาจจะรู้หมด ก็ต้องรู้เท่าที่จำเป็นที่จะต้องรู้ พระพุทธเจ้าเองก็ยังตรัสว่าไอ้สิ่งที่คฐาครรด (นาทีที่ 11.36.3 น.) ตรัสรู้เท่ากับใบไม้ทั้งป่า เที่ยวมาสอนพวกเธอเท่ากับใบไม้กำมือเดียว ที่นี้เราลูกศิษย์พระพุทธเจ้าได้รับใบไม้มากำมือหนึ่งมันก็หลายใบหลายสิบใบหลายร้อยใบก็ได้กำมือหนึ่ง เราเอาสักใบเดียวก็ยังไม่ได้ เช่นเดียวนี้ไม่รู้เรื่องของธรรม ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติธรรมกันอย่างไร ไม่รู้ว่าจะใช้ธรรมนี้ให้เป็นประโยชน์อย่างไร เพราะฉะนั้นอย่างไรเสียก็ขอให้รู้จักจะใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่เรียกว่าธรรมนั้น แม้อย่างน้อยเทียบแล้วก็เท่ากับว่าใบไม้สักใบหนึ่ง แม้ใบไม้กำมือหนึ่งแห้งใบไม้หมดทั้งป่า ที่นี้เรามาพูดถึงคำว่าธรรมที่จะเปรียบเหมือนใบไม้ใบหนึ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ทุกคนดีกว่า อาตมาพูดไปโดยสรุปความแล้วว่าธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโลก ถ้าโลกไม่มีธรรมมันก็วินาศที่เรียกว่าโลกแตก มันอยู่ได้โดยธรรมโดยที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเกี่ยวกับตัวมันเองก็ดี เกี่ยวกับมนุษย์ก็ดี ถ้าไม่ประกอบด้วยธรรมมันจะก็จะต้องวินาศ มันจึงมีธรรมให้ถูกต้องสำหรับจะใช้กับเราและสำหรับจะใช้กับโลก เราไม่ควรหรือไม่อาจที่จะนึกถึงแต่ตัวเราหรือมีแต่เรื่องของตัวเราก็ต้องมีเรื่องสำหรับทุกคนหรือทั้งโลกด้วย เพราะถ้าโลกมันเกิดวินาศขึ้นมาแล้วเราจะอยู่ที่ไหนคิดดูข้อนี้ก็แล้วกัน การที่จะช่วยกันทำให้โลกมันไม่วินาศเป็นหน้าที่ของทุกคน และธรรมะนี้จะช่วยคนก็พูดไปอย่างหลับตาพูดว่าธรรมะตรงกันข้ามกับโลก เป็นข้าศึกกับโลกเอามาด้วยกันไม่ได้อยู่ในโลกก็อยู่อย่างโลก ไม่อยู่อย่างธรรมนั่นเพราะเขาเข้าใจผิดเอง โลกมันต้องมีธรรมถ้าไม่มีธรรมโลกมันแตกแน่ เดี๋ยวนี้อยากจะบอกให้รู้เผื่อว่ายังไม่รู้ ไม่ใช่จะดูถูกแต่ก็อยากจะดูถูกว่าหลายคนที่นั่งอยู่ที่นี่คงจะไม่รู้ว่าคำว่าโลกนั้นแปลว่าอะไร รูดรากของศัพท์คำว่าโลกนั้นแปลว่าอะไรโลกคำว่าโลกแปลว่าสิ่งที่ต้องแตกคำว่าโลกะนั้นแปลว่าแตกเป็นสิ่งที่แตกได้ แตกง่าย แตกแน่ แตกโลกอย่างนี้มันยังไม่แตกเพราะว่ามันไม่มีธรรมกำกับเอาไว้ นี่เราจะต้องนึกถึงว่าโลกมันต้องมีธรรม อย่าเอามาเป็นข้าศึกกันเสียจนถึงไม่ได้อยู่ด้วยกัน นั่นแหละโลกมันถึงจะแตก จะเป็นโลกแผ่นดินก็ดี โลกมนุษย์ก็ดี โลกการเมือง โลกการกระทำของมนุษย์ โลกของธรรมะก็ดีมันต้องประกอบไปด้วยธรรม ถ้าไม่มีธรรมโลกมันจะต้องแตกเพราะคำว่าโลกมันแปลว่าสิ่งที่จะแตก ง่ายแก่การแตกอยู่แล้ว นี่ธรรมกับโลกมันตรงกันข้ามจริง ๆ เพราะธรรมมันจะดึงไว้ให้อยู่ ไอ้โลกมันจะดึงไปสำหรับแตกตามธรรมตามความหมายของคำว่าโลกซึ่งแปลว่าสิ่งที่ต้องแตก ไอ้โลกมันจะดึงไปหาแตก ธรรมมันจะดึงมาสำหรับอยู่ เพราะฉะนั้นโลกจะอยู่ก็ต้องมีธรรม เพราะฉะนั้นเราต้องมีธรรมสำหรับอยู่กับโลกเพื่อให้โลกมันอยู่ เอาอย่างโลก ๆ มันก็ดึงไปหาความชั่ว ความเลว หรือความทุกข์ ทิศทางหนึ่งทีเดียว ที่นี้ธรรมมันจะดึงไปหาความดีความสุขอีกทิศทางหนึ่ง มันตรงกันข้ามอย่างนี้แล้วทำไมมันจะอยู่กันได้หรือไม่ได้ เดี๋ยวนี้โลกเพื่อให้โลกอยู่ได้ต้องมีธรรมเข้าดึงโลกไว้อย่าให้มันแตก เรามีธรรมเราก็จะอยู่อย่างสงบสุข ถ้าใครไม่มีธรรมคนนั้นวินาศคนนั้นแตกกระจาย ในส่วนตัวบุคคลก็ดี ในส่วนสังคมก็ดี ในส่วนโลกทั้งโลกก็ดี เพราะไม่มีธรรมมันก็เป็นเรื่องแตก วินาศหรือเป็นทุกข์ จึงหวังว่าท่านทั้งหลายจะเข้าใจความหมายของคำว่าโลกและคำว่าธรรมโดยพื้นฐานไว้อย่างนี้ก่อน นี้เราก็จะได้พูดกันบ้างเท่าที่เวลาอำนวยถึงหลักของธรรมที่จะทำให้โลกอยู่ได้ซึ่งจะขอร้องล่วงหน้าด้วยว่าให้ช่วยจำให้ดีดีสำหรับเอาไปพูดจาเผยแผ่ให้มีการช่วยกันให้มีกระทำต่อไป ช่วยจำไว้ให้ดีดีว่าหลักของธรรมะนั้นมันต้องมีเพื่อให้โลกอยู่ได้ เพราะโลกมันจะแตกอยู่ตลอดเวลา มีธรรมะสำหรับดึงหรือประสานให้โลกมันมีอยู่ได้ นี่หลักธรรมะมันมากมายมันมากมายเหนือจะพูดให้จบได้ในวันในเดือนในปี เอาแต่หัวข้อสองสามหัวข้อดีกว่า ถ้าเรามีหลักข้อแรกที่ว่าให้เห็นว่าสัตว์โลกทั้งหลายนี้เป็นคนคนเดียวกัน คือมันมีปัญหาเหมือนกัน มันออกมาจากที่อย่างเดียวกันในลักษณะอย่างเดียวกัน กำลังมีปัญหาอยู่อย่างเดียวกัน นั้นขอให้ถือว่าเราเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายอยู่ด้วยกัน นี้โรงเรียนไม่สอนมหาวิทยาลัยก็ไม่สอน มหาวิทยาไหนก็ไม่สอน ให้มันมีบรมมหาวิทยาลัยก็ไม่สอนว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น มันก็เลยขาดหลักธรรมะขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่ว่าทุกคนเป็นคนคนเดียวกัน ศาสนาคริสต์เตียนก็ดี อิสลามก็ดี ศาสนาไหนก็ดีมันมีเรื่องทำนองนี้กันทั้งนั้นคือว่าทุกคนมันออกมาจากแหล่งที่เดียวกันจะโดยพระเจ้า หรือโดยธรรมชาติ หรือโดยอะไรก็แล้วแต่เขาจะเรียกศาสนานั้น ๆ มีเรื่องตรงกันมาจากแหล่งเดียวกัน พระพุทธศาสนาเรามาจากธรรมในความหมายที่สองคือกฎของธรรมชาติมีกฎของธรรมชาติเป็นแหล่งสำหรับให้สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้น ให้มันเกิดขึ้นเกิดขึ้นอย่างวิวัฒนาการมันออกมา เรามีธรรมในความหมายที่เราเป็นกฎธรรมชาติหรือเป็นพระเจ้าผู้สร้างก็ได้ ให้ออกมาให้เราทุกคนมาจากแหล่งเดียวกัน พ่อแม่ของเราออกมาจากแหล่งนั้น ปู่ย่าตายายของเรามาจากแหล่งนั้น เราไม่ได้ออกจากพ่อแม่หรือว่าปู่ย่าตายายของเรา เราออกมาจากแหล่ง ๆ หนึ่ง ซึ่งทุกคนซึ่งรวมทั้งพ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราออกมาจากแหล่งนั้น จึงอยากให้มีความรู้สึกว่าเป็นคนคนเดียวกัน มีปัญหาอย่างเดียวกัน มีความทุกข์ร้อนอย่างเดียวเรียกว่ามีหัวอกเดียวกัน จึงควรถือว่าเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ถ้าใครรู้สึกอย่างนี้แล้วมันจะเป็นอย่างไร มันเบียดเบียนกันไม่ได้ มันฆ่ากันไม่ได้ มันแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายแล้วฆ่ากันเนี่ยมันทำไม่ได้ มองเห็นเป็นคนเดียวกันเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน แต่นี่ก็มีปัญหาเรื่องฆ่ากันระหว่างนายทุนกับชนมาชีพ (นาทีที่ 21.10.7 น.) ก็ดี หรือบุคคลแต่ละบุคคลมีประโยชน์ขัดกันแล้วก็ฆ่ากันก็ดี หรือพี่น้องคลานกันมาประโยชน์มันขัดกันแล้วมันก็ฆ่ากันก็ดี ทั้งหมดนี้เพราะมันไม่ประสีประสาต่อหลักเกณฑ์ที่ว่าชีวิตทั้งหมดเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน นั้นขอให้สนใจหลักธรรมพื้นฐานข้อนี้ก่อนมันเป็นที่ตั้งแห่งหลักธรรมอื่น ๆหรือศีลธรรมอื่น ๆ เราจึงช่วยกันให้มีการกระทำอุทิศที่ตรงกับความหมายเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน อบรมกันได้ตั้งแต่แรกคลอดออกมาทีเดียว ให้ทารกนั้นรู้จักรักผู้อื่นหรือสัตว์ตัวอื่นในโรงเรียนอนุบาลก็สอนได้ให้เขาสามารถรักผู้อื่นไม่เบียดเบียนผู้อื่นมีอะไรก็เผื่อแผ่แบ่งปันช่วยเหลือสามัคคีรักใคร่กตัญญูซื่อสัตย์ต่อกันและกันอย่างนี้ สร้างพื้นฐานขึ้นมาอย่างนี้สำหรับสิ่งที่เรียกว่าธรรมในความหมายที่เป็นตัวกลางปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยจะมี มันมีแต่เป็นพิธีโดยมากประพฤติให้ตรงต่อหลักเกณฑ์ที่ว่าเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันนั้น ควรจะมีกิจการให้มาก ๆ ที่ทำไปในลักษณะที่ทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เช่น มีสมาคมหรือมูลนิธิสงเคราะห์สังคมกันมาก ๆ อย่างเดียวทั้งพุทธกาลโน้นก็มีเศรษฐีใจบุญไม่ใช่นายทุนใจร้าย มีเศรษฐีใจบุญตั้งโรงทานเต็มไปหมด เดี๋ยวนี้คงไม่มีใครทำแล้วก็มาทำกันอยู่ในรูปมูลนิธิสังคมสงเคราะห์อะไรเป็นต้น แต่ดูมันยังน้อยเกินไปมันยังเป็นพิธีอยู่มาก แล้วบางแห่ง บางแห่งช่วยเป็นพยานด้วยทำเอาหน้าทั้งนั้น สมาคม มูลนิธิ องค์การกุศลเรียกชื่อไพเราะๆ อย่างนั้นบางทีมันทำเอาหน้าทั้งนั้น ทำเอาจริงก็มีเหมือนกันแต่มันยังน้อยมันยังไม่พอ กับที่ว่าคนมันมากแล้วมันก็มีความหมายมากว่ามันเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันจริง ๆ ขอให้จำหลักข้อแรกว่าเราจะต้องช่วยกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นในจิตใจของคนทุกคน เพราะคนทุกคนเป็นคนคนเดียวกัน มีโชคชะตาอย่างเดียวกันต้องมีธรรมะโลกจึงจะอยู่ ไม่มีธรรมะโลกก็ไม่อยู่คือมันจะต้องแตกไปตามประสาของโลกของคำว่าโลกซึ่งมีความหมายว่าสิ่งที่แตก คำว่าโลกะมาจากลุฉะรากศัพท์ลุฉะนั้นแปลว่าแตกกระจาย นั้นถ้ามีธรรมะ ธรรมะมีรากศัพท์ว่าทะละ (นาทีที่ 24.45 น.) ทะละแปลว่าดำรงอยู่ มันตรงกันข้ามคำว่าแตกกระจายเอาธรรมมาเหนี่ยวมาหน่วงเหนี่ยวโลกไว้อย่าให้มันแตกกระจายได้ให้มันเป็นโลกที่มีธรรม ธรรมะจึงอยู่กับโลกต้องอยู่กับโลก แต่ธรรมะนั้นจึงมีไว้สำหรับเป็นประโยชน์แก่โลก ไม่ใช่มีไว้สำหรับเป็นประโยชน์แก่สิ่งอื่น อย่างนี้เราคนหนึ่งคนหนึ่งก็คือหน่วยหนึ่งของโลกรวมอยู่ในคำว่าโลก จึงต้องมีธรรมะอย่างให้มันแตกกระจายไป ที่นี้ข้อที่สองที่อยากจะพูดเพราะว่าอย่าเห็นแก่ตัว หลักข้อที่สองก็คือก็อย่าเห็นแก่ตัวเพราะทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกับคนคนเดียวกัน ถ้าจะมาเห็นแก่ตัวคนเดียวอยู่ได้ยังไง มันก็เป็นการทำโลกให้แตกเกิดแตกแยกออกมาเป็นตัวเราคนเดียวคนแก่ตัวคนเดียวไม่เห็นแก่คนนอกนั้นมันผิด มันไม่ถูกต้องไอ้หลักที่วางไว้แล้วว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันดูเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็อย่าเห็นแก่ตัวที่เรียกว่าตัวกูของกูนั้นเป็นความคิดที่เพิ่งเกิดด้วยอำนาจของการอบรมผิด ๆ มาตั้งแต่อ้อนแต่ออกจึงเกิดความรู้สึกเป็นตัวกูของกูยึดถืออยู่อย่างแน่นแฟ้น ในทางศีลธรรมก็สอนกันแต่เพียงว่าอย่าเห็นแก่ตัวนั่นก็พอแล้ว ในทางศีลธรรมระดับโลกอย่าเห็นแก่ตัวมันก็พอสำหรับโลก แต่ทางธรรมมาศชั้นสูงในทางพุทธศาสนามันสอนเลยไปอีกไกลไปอีกว่าอย่ามีตัว อย่ามีอะไรที่เป็นตัวตนหรือของตนมันไกลกันอย่างนั้น แต่ได้ผลอย่างเดียวกัน ถ้าไม่ตนมันก็ไม่เห็นแก่ตน ถ้าไม่เห็นแก่ตนเรื่อยๆ ไปมันก็จะหมดตนไปเองคือไม่เอาใจใส่กับมัน ให้รู้ว่าร่างกายกับจิตใจนี้มันเป็นอย่างนี้เอง ร่างกายเป็นเหมือนเปลือกให้จิตใจตั้งอยู่ได้ จิตใจนั้นมันเป็นอย่างนั้นเอง คือมันรู้สึกคิดนึกได้ มันบังคับร่างกายได้ มันก็เป็นเกลอกัน ร่างกายกับจิตใจนี้มันก็ช่วยกันให้ทำอะไรได้มันจึงหาอาหารกินได้อาหารได้สะสมได้อะไรได้ ใจมันคิดได้แล้วเผอิญว่ามันคิดผิดคิดว่าตัวกูเป็นของกูขึ้นมา เพราะสิ่งแวดล้อมหรือว่าเพราะสันชาตญาณเดิม ๆ ที่มันถ่ายทอดกันมาให้มันเกิดความรู้สึกทำนองว่ามีตัวกูมีของกู นี้เป็นสันชาตญาณด้วยเป็นสิ่งแวดล้อมในชั้นหลังด้วย เราในปัจจุบันนี้จึงเต็มไปด้วยความรู้สึกอันแน่นหนา เหนียวแน่นว่าตัวกูว่าของกูเกิดเห็นแก่ตัว ว่าทำไปตามเห็นแก่ตัวมันก็ทำการเบียดเบียนกันเหมือนทำให้โลกนี้มันแตกนั่นเอง นี้ข้อที่สามก็อยากจะพูดว่าอย่าแตะต้องส่วนเกินนี้บางคนเคยได้ยินมาแล้วก็นึกหัวเราะอยู่ในใจ ข้อที่สามจะมาเสนอว่าอย่าแตะต้องส่วนเกิน เราจำกัดไม่ได้ว่าคนต้องมีเท่านั้นเท่านี้ มีอะไรเท่านั้นเท่านี้เราจำกัดไม่ได้ แต่ขอให้คิดเอาเองประมาณเอาเอง ว่าถ้ามันเกินนั้นอย่าเอาดีกว่าแต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีพอกินแค่วันหนึ่งวันหนึ่ง เราต้องมีสำหรับกินสำหรับใช้สำหรับสะดวกสบายเท่าเรียกว่าพอดีพอดีไม่มีส่วนเกินนั่นแหละ มันเห็นแก่ตัวมันก็เอามากกว่าที่ควรจะเอามันก็มีการแตะต้องส่วนเกิน พอแตะต้องส่วนเกินก็เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ไอ้เรียกว่าโลภนั้นไม่ใช่อยากแต่พอดี ถ้าอยากหรือความต้องการแต่พอดีเขาไม่ได้เรียกว่าโลภ เมื่อมันไม่อยากส่วนที่ไม่ควรจะอยากมันเกินพอดี มันเกินที่ควรจะอยากมันเรียกว่าโลภ นี้เรียกว่าส่วนเกินทำให้เกิดความโลภเพราะมันโลภมันต้องการแล้วมันไม่ได้มันเกิดไม่ได้ตามที่ต้องการมันก็เกิดโกรธ เกิดโทสะขึ้นมา โทสะมันก็เกิดมาจากส่วนเกิน และที่มันทำอยู่อย่างนี้มันเรียกว่าโมหะ มันเป็นหลง หลงเกี่ยวกับส่วนเกิน โลคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นส่วนเกิน ถ้าเราไม่แตะต้องส่วนเกิน โลคะ โทสะ โมหะ มันก็ไม่อาจจะเกิดได้ มันก็เป็นเรื่องที่ตรงตามหลักธรรมะที่จะขจัด โลคะ โทสะ โมหะ นั้นขอให้ไปพิจารณาให้ดีว่าอะไรเป็นส่วนเกินแล้วก็เลิกเถอะ เราจะเอาตามหลักที่ว่าเรามีปัจจัยสี่เป็นที่ตั้งที่อาศัยของชีวิต ปัจจัยสี่คืออาหาร คือเครื่องนุ่งห่ม คือที่อยู่อาศัยเครื่องใช้ไม้สอยและอันสุดท้ายก็คือยาบำบัดโรคคือการบำบัดโรค นี้ 4 อย่างนี้จำเป็น เราเอาเท่าที่จำเป็นเท่าที่สมควรโดยเหตุผลทุกอย่างรอบด้าน ก็เรียกว่าไม่เกินแต่ถ้าเอาตามกิเลสเอาตามความเห็นแก่ตัวมันก็เกิน เรื่องอาหารเป็นเรื่องที่หนึ่ง เกินหรือไม่เกินก็ลองคิดดูเดี๋ยวนี้เรากินอาหารส่วนเกินหรือเปล่าทำไมต้องกินจนค่ำ จนดึก จนจะนอนแล้วก็ยังซื้อมาไว้กิน บางคนข้างที่นอนมีของกินทำไมมันไม่กินเท่าที่มันเวลาเท่าที่ควรจะกินอย่างที่เขาให้ถือศีลอุโบสถนี้กินแต่ในเวลาที่ควรจะกินพอแล้ว ทำมากกว่านั้นมันเกินนี้เรียกว่าเวลาโดยเวลาก็อย่าให้มันเกิน โดยวัตถุโดยสิ่งของนั้นก็อย่าให้มันเกินอย่าต้องกินเกินจนถึงขนาดว่ามื้อหนึ่งมีราคาตั้งพันตั้งหมื่นคนบ้าอะไรก็ไม่รู้ต้องกินอาหารมีราคาตั้งพันตั้งหลายหมื่นไม่มีภาษาที่จะใช้ จะเรียกว่าคนบ้าก็ยังน้อยเกินไป แต่คนบ้าก็ไม่มีโอกาสกินอาหารตั้งพันตั้งหมื่น เราจะต้องระวังให้ดีอย่าให้กิเลสความเห็นแก่ตัวนำไปในส่วนนี้คือกินเกิน อยากจะระบุว่าไอ้เรื่องชูรสสิ่งปรุงแต่งรสชูรสทั้งหลายมันทำให้กินเกิน เดี๋ยวนี้ก็มีการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ร้องเพลงบ้างอะไรบ้าง อะไรกันก็ไม่รู้ที่ทำให้คนมันกินเกินกว่าที่จำเป็น ไปดูร้านอาหารพวกนี้ศัตรูอันร้ายกาจคือเครื่องชูรสที่ทำให้คนกินเกินกว่าธรรมดาที่ควรจะกินไม่ต้องอธิบายก็คงจะรู้กันได้แล้วมั่ง เสียเวลาอธิบายแล้วมั่งว่าถ้าใส่เครื่องชูรสลงไปมันกินมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ กินก๋วยเตี๋ยวกินข้าวต้มกินอะไรก็ตามคุณก็เคยกินกันมาแล้วทั้งนั้นไปใส่ไอ้ชูรสถ้ามันกินมากกว่า เพราะฉะนั้นอยากจะระบุว่าไอ้น้ำจิ้มรสต่าง ๆ ถ้วยเล็กเล็กเล็กน้ำจิ้มบนโต๊ะตั้งยี่สิบสามสิบชนิดมันเป็นเรื่องบ้าที่ทำให้กินเกินที่ควรจะกินคือถ้าว่ามองไปทางหนึ่งมันเป็นอันตรายเหมือนกะสือที่มันจะกัดคุณจะทำให้ให้วินาศ เจ้าของร้านก็เอามาหลอกให้คนมันกินมากเขาถึงกล้าลงทุนในส่วนที่เป็นเครื่องแต่งรสชูรสเช่นน้ำจิ้มทั้งหลาย เป็นต้น ไอ้คนลูกค้ามันก็โง่มันก็กินกินกินเข้าไปตามที่ลิ้นมันสั่งอร่อย มันจึงเป็นเรื่องกินเกิน เราอย่าไปหลงสิ่งชูรสทั้งหลายซึ่งมันทำให้กินเกินเอาตามธรรมดาสามัญตัดคำว่าอร่อยออกไปเสียก็ได้ อย่ากินเพื่ออร่อยแต่กินเพื่อให้มีความถูกต้องในการมีชีวิตอยู่ แต่มันก็หลีกไม่พ้นบางครั้งเราก็จะรู้สึกอร่อยบ้างแต่เราก็อย่าไปหลงในความอร่อย มีความรู้สึกอยู่แต่ว่าอย่างนี้เขาเรียกว่ารสอร่อย แต่ถ้าเราไปหลงกับมันแล้วเราก็จะจะแตกจะเป็นโลกที่แตกที่มีจิตใจที่มันแตกสลายไม่มีธรรมะ มันเป็นโลกที่ต้องแตกเกินไปนั้นของกินเล่นก็มันเกินก็ไปนึกดูเอาเองเช่นว่า ไอ้น้ำอัดลมนี้เกินมั้ยถ้าเห็นว่ามันเกินสำหรับเราก็หยุดเสียดีกว่า น้ำแข็งมันเกินมั้ยถ้าเกินก็หยุดเสียดีกว่า นี้บางคนคงจะไม่ยอมยังติดใจอยู่ในใจจนวันนี้คือว่าเมื่อหลายเดือนมาแล้วพวกซิสเตอร์โรงเรียนคาทอริกหลายคนมาพักที่นี่มาขอความรู้เรื่องศีลธรรมและวิธีสอนศีลธรรมมีคนเอาน้ำอัดลมมาเลี้ยงไม่กินสักคนเดียวพวกซีสเตอร์ไม่ยอมกินน้ำอัดลมซักคนเดียวบอกว่าส่วนเกิน อ้างว่าอาตมาพูดว่ามันเป็นส่วนเกินทำให้ไม่ยอมกินน้ำอัดลมที่คนเอามาให้ยอมเสียมันยาก นี้มันยังติดใจอยู่จนบัดนี้ที่นี้พวกคุณอย่าเป็นอย่างงั้นได้มั้ย ใครเอาน้ำอัดลมมาเลี้ยงบอกว่ามันเป็นส่วนเกินขออภัยเถอะอันนี้จะทำได้มั้ย นี้เรามันไม่รู้เอาซะเลยว่าอะไรเป็นส่วนเกินอะไรเป็นส่วนพอดีมันก็ชวนกันส่งเสริมตามที่ความอยากความนิยมอะไรมันทำไปมันก็มีเกินมาก เดี๋ยวนี้ไปดูน้ำอัดลมมันผลิตขึ้นมาเป็นสิบล้านร้อยล้าน ตามทั้งโลกก็เป็นพันล้านหมื่นล้านเฉพาะน้ำอัดลมอย่างเดียว ถ้าไม่กินมันก็ไม่มีใครตายทำงานอันนี้ขึ้นมาเป็นมูลค่าตั้งร้อยล้านพันล้านร้อยขึ้นมามันยุ่งสักเท่าไรโลกนี้มันยุ่งสักเท่าไร แล้วมันเปลื้องเป็นอะไรไปสักเท่าไร หมอคนหนึ่งนั้นแนะนำอาตมาว่าอย่าไปกินน้ำอัดลมนั้นมันมีน้ำตาลให้แคลอรี่เพิ่มความอ้วนเพิ่มมากเท่ากับข้าวสุกจานพูน ๆ จานหนึ่งทีเดียว ถ้าอาจารย์ไม่กินข้าวสุกแต่ไปกินน้ำอัดลมขวดหนึ่งเท่ากับกินข้าวสุกจานพูนๆทีเดียวก็ยังลังเลอยู่เนี่ยยังถือบางทีก็ปฏิบัติได้บางทีก็ปฏิบัติไม่ได้แต่ก็ระวังอยู่เสมอที่จะไม่กลายเป็นเรื่องประจำไปเป็นส่วนเกินกับน้ำอัดลมเกินหยุดเสีย น้ำแข็งเกินหยุดเสีย เป็นเรื่องชักชวนว่าช่วยตัวเองอย่าให้มันมีเรื่องส่วนเกิน กินเหล้า เพื่อนกินเหล้าไม่รู้กินทำไม อธิบายไม่ถูกจะว่าไปเป็นอาหารหรืออะไรก็บอกไม่ถูก แต่มันก็มีการกินเรียกว่าเป็นการกินเหมือนกัน ถ้าเกินก็หยุดเสีย ครูคนไหนกินเหล้าก็พิจารณาดูให้ดีถ้ามันเกินก็ให้หยุดเสีย สูบบุหรี่ก็เป็นการกินชนิดหนึ่งเหมือนกันเกินหรือไม่เกินไปคิดดู ถ้าเกินก็หยุดเสีย เพียงแต่หยุดเหล้ากับบุหรี่เสียสองอย่างเท่านั้น ข้าราชการชั้นผู้น้อยจะมีเงินเดือนพอใช้ นี่ข้าราชการผู้น้อยดิ้นรนกันหนักหนาว่าเงินเดือนไม่พอใช้จะมาบอกให้หยุดเหล้ากับบุหรี่สองอย่างนี้เงินเดือนจะเริ่มพอใช้ หยุดอะไรหลายอย่างในบ้านเรือนเสียเงินเดือนจะเหลือใช้ ถ้าว่าทุกคนในประเทศไทยหยุดเรื่องส่วนเกินแล้วประเทศชาติก็จะมีการเงินที่ดีที่จะไม่เสียดุลการค้าให้อยู่ตั้งหมื่น ๆ ล้านอย่างที่เขาว่ากัน ไอ้ดุลการค้าที่เสียไปส่วนใหญ่เป็นเรื่องของส่วนเกิน ไปซื้อของที่มันเกินจำเป็นมากินมาใช้มามีอะไรกันซึ่งล้วนแต่แพง ๆ ทั้งนั้นจากต่างประเทศ ประเทศที่เขาผลิตอะไรแปลก ๆ สวย ๆ นั้นทำเงินได้มาก ทำให้คนที่หลงส่วนเกินไปซื้อหาเอามามันก็เสียเปรียบดุลการค้ากับประเทศเหล่านั้น อย่ากินเกินอย่าใช้เกินอย่านุ่งห่มเกินประเทศชาติก็จะไม่มีเสียดุลการค้าอีกต่อไปนี้ เรื่องมันนิดเดียวเท่านี้มันก็ทำไม่ได้ เนี่ยยังยอมเสียดุลการค้าแล้วก็ไปหาทางออกอย่างอื่น ซึ่งมันยุ่งยากลำบากมากขึ้นไปอีก อย่าเอาส่วนเกินข้อที่ 1 คือเรื่องอย่ากินเกิน ข้อที่ 2 ก็เรียกว่าอย่าให้มีการเกินในเรื่องการนุ่งห่ม เดี๋ยวนี้ใส่เสื้อสีลวดลายต่าง ๆ กันเหมือนกับประกวดแบบเสื้ออย่างนั้น ดูทุกคนหลาย ๆ คนทั้งผู้หญิงผู้ชายทำไมจะต้องใส่เสื้อสีมีดอกมีหลายซึ่งมันต้องแพงในส่วนนั้น ถ้าเสื้อของเราเป็นธรรมดาผ้าก็หนาก็ทนด้วยแล้วก็ไม่ต้องจ้างทำดอกทำลายมันก็ต้องถูกลงมา มาใช้เงินน้อยลงมา ถ้ามัวแต่ใส่เสื้อสีต่าง ๆ กัน เป็นผีเสื้ออยู่อย่างนี้แล้วไม่มีทางที่จะสู้คอมมิวนิสต์ เพราะคอมมิวนิสต์เขาไม่นิยมอย่างนี้ อีกคนเขาเข้าไปเมืองจีนเขากลับมาเล่าให้ฟังเขาเห็นภาพยนตร์ที่เขาถ่ายมา คนเมืองจีนแม้แต่เด็ก ๆ มันก็ยังใส่เสื้อผ้าธรรมดาสีเดียว ๆ สีทน ๆ สีไม่ต้องเปลืองลำบากเรื่องทำเป็นดอกเป็นดวงมันจึงเข้มแข็ง ถ้าเรามัวใส่เสื้อลาย ๆ สีต่าง ๆ เวื้อ ๆ วาว ๆ เป็นผีเสื้ออยู่อย่างนี้จะไปสู้มันยังไงได้ ทำไมไม่คิดดูบ้าง เริ่มตั้งความคิดกันขึ้นมาเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นสมาคม อย่าใช้เครื่องนุ่งห่มที่เป็นส่วนเกินเลยก็จะช่วยเงินเดือนพอใช้ขึ้นมาได้ หรือที่ยังไม่ได้เงินเดือนก็จะมีรายจ่ายน้อยลงมันจะไม่ลำบาก เพราะข้อนี้ไม่ต้องพูดมาก ว่าอย่าใช้เครื่องนุ่งห่มที่มันเป็นเรื่องส่วนเกินใช้แต่ที่จำเป็น นี่มันเลยไปถึงการประดับประดาตกแต่งสวยงามอย่างอื่นก็รวมอยู่ในข้อนี้ด้วย ถือศีลอุโบสถข้อ 7 นับจากอีตะวาะ (นาทีที่ 43.00 น.) วิปูชะนะ เว้นจากสิ่งเหล่านี้ เว้นสิ่งเหล่านี้ ฟ้อนรำ ฆ้อน ตะโค เต้นรำ ดีดสีตีเป่ากระทั่งว่า การลูปการทาการประดับประดาตกแต่ง ซึ่งล้วนแต่เกินจำเป็น ไม่จำเป็นสำหรับคน นี้เราก็ยังชอบกันทั้งทำเองก็มี ไปชอบดูก็มี มันเป็นเรื่องที่ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไรมันทำให้เกิน เรื่องเต้นรำที่เหมือนอาการของคนบ้า เรื่องร้องเพลงอาการของคนร้องไห้ หัวเราะอาการของเด็กอ่อน นี้เป็นพุทธภาษิตที่มีอยู่ในพระบาลี มีคนเอาไปเขียนไปแต่งเรื่องกามมนิตย์ นี้ถ้าไปขออยู่ในพระคัมภีร์ ทำไมเราไม่เห็นว่าการเต้นรำเป็นอาการของคนบ้าบ้างละ ทำไมยังนิยมเต้นเองหรือดูเขาเต้นอยู่มันเกินหรือไม่เกินถ้าว่าเข้าสมาคมไม่ได้มันก็หมายความว่าเข้าสมาคมของคนเกินไม่ได้ มันเป็นสมาคมของคนพอดีก็ได้ ทำไมจะต้องไปเห็นแก่สมาคมของคนเกิน ฉะนั้นไปคิดเอาเองอย่าให้มันมีเกินเรื่องอย่างนี้ ทีนี้ก็มาถึงที่อยู่ที่อาศัยเครื่องใช้ไม้สอย ศีลอุโบสถข้อ 8 อย่านั่งอย่านอนในที่นอนอันสูงใหญ่ บ้านเรือนและเครื่องใช้ไม้สอยทั่วไป อย่าไปเอาอย่างเขาเลย มันมีบ้านอย่างนี้อยู่แล้วมันอยากจะเปลี่ยนบ้านนี้ เปลี่ยนบ้านอื่นมันแพงขึ้นไป มีบ้านราคาแสนมันอยากมีราคาล้าน มีราคาล้านอยู่แล้วมันอยากเปลี่ยนเป็นราคาหลายล้านมันมีรถยนต์ราคาแสนอยู่แล้วมันอยากขี่รถยนต์ราคาสองแสนสามแสนมันเปลี่ยนรถยนต์เรื่อยไป มันเปลี่ยนเครื่องใช้ไม้สอยในบ้านในเรือนอยู่เสมอ ๆ นี้มันผิดศีลข้อนี้ นั้นไปพยายามดูให้ดีว่าในบ้านเราเครื่องใช้ไม้สอยอะไรอย่าให้มีส่วนที่มันเกิน ให้มีเหตุผลสำหรับจะมี สำหรับจะใช้แล้วก็จะเรียกว่าไม่เกิน ถ้ายุกยานั้นก็จะไม่ต้องพูดเพราะว่าไม่มีใครชอบกินยาอยู่แล้ว แต่มันก็ยังมียาชนิดที่คนอ่อนแอเลือกกินแต่ที่กินง่าย ขมสักหน่อยก็ไม่กิน แล้วมันจะได้ประโยชน์ ก็ขอให้ถือว่าเรามันไปเห็นแก่ส่วนเกินเหมือนกัน จะกินยาหวาน ๆ ซึ่งมันต้องแพงกว่ายาขม ๆ แล้วมันไม่มีการเกินในเรื่องเหล่านี้ก็แปลว่าไม่ทำไปตามเห็นแก่ตัวคือกิเลส ไม่เห็นแก่กิเลส ก็คือไม่เห็นแก่ตัวมันก็ไม่เห็นแก่ตัวก็ไม่ทำตัวผิดพลาดไปในทางเกิน รุกล้ำไปในขอบเขตของผู้อื่น สิ่งที่ไม่เกินสำหรับการเป็นอยู่แต่เราเอาไว้มากเกินจนคนอื่นขาดแคลนนี้ ก็เรียกว่าทำให้โลกนี้เดือดร้อน พวกนายทุนเอาอะไรไว้มากเกินคนจนมันก็เดือดร้อนถ้าไม่เอาไว้เกินมันก็เผื่อแผ่กันไปได้ นั้นจึงมีความมุ่งหมายที่จัดโลกกันอยู่แล้วในปัจจุบันนี้ อย่าให้มีใครเอาส่วนเกินควบคุมไว้ อย่าให้มีใครเอาส่วนเกินที่เรียกว่าสังคมนิยม ถ้ามันจัดถูกต้องมันก็ดี ถ้ามันจัดถูกต้องมันก็ประกอบไปด้วยธรรมะ พูดถึงธรรมมิกะสังคมนิยม สังคมนิยมที่ประกอบอยู่ด้วยธรรมะมันก็จะเป็นไปได้ ถ้าไม่อย่างงั้นแล้วมันจะแฝงการเอาเปรียบผู้อื่น หรือการเอาส่วนเกินไว้ในรูปใดรูปหนึ่งใช้ไม่ได้ ศาสนาทุกศาสนามีวิญญาณเป็นสังคมนิยมควบคุมความเสมอภาค อย่างที่ว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน เราจงเห็นแก่ผู้อื่น นี้ข้อที่ 3 อย่าเอาส่วนเกิน ข้อที่ 1 ให้เห็นทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย ข้อที่ 2 อย่าเห็นแก่ตัว ข้อที่ 3 อย่าเอาส่วนเกิน นี้ข้อที่ 4 อยากจะพูดว่าบังคับความรู้สึกทุกอย่างจะเป็นไปไม่ได้ถ้าคนเราไม่บังคับความรู้สึก ทุกอย่างที่เป็นไปในทางดีเป็นไปในทางสงบ เป็นไปในทางถูกต้อง เป็นไปในทางที่จะแก้ปัญหาได้นั้น มันจะเป็นไปไม่ได้ถ้าเราไม่บังคับความรู้สึก เมื่อทุกคนต้องบังคับความรู้สึกที่เป็นกิเลส มันก็จะเกิดความรู้สึกที่ว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายขึ้นมาถ้าเราไม่บังคับความรู้สึกเราก็จะเห็นแก่ตัวกูของกูไม่รู้ไม่ชี้กับคนอื่น เมื่อเห็นแก่ประโยชน์ตนแล้ว ก็ไม่รู้สึกว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย เราต้องบังคับความรู้สึกมันจึงจะรักษาหลักธรรมะไว้ได้ ไม่ว่าระดับจะต้องบังคับความรู้สึกให้ประพฤติธรรมะให้จนได้ ก็ไม่เห็นแก่ตัว ก็ไม่เอาส่วนเกิน นี้อยากดูหนังเหมือนกับใจจะขาดอ้าวก็ลองไปดู ว่าจะบังคับความรู้สึกได้หรือไม่และในที่สุดต้องไปดูหรือว่าไม่ได้ไปดู อยากจะกินจะเล่นจะเที่ยวอะไรอย่างใจจะขาดแล้วไม่บังคับความรู้สึก แล้วมันก็ต้องทำ ถ้าเราบังคับความรู้สึกดูบ้างมันจะเป็นยังไง มันก็ต้องต่อสู้กันอย่างเรียกว่ายากที่สุด สงครามในจิต การรบในจิตเนี่ยมันยากมันสูงมันเหนือการรบไหนๆ หมด บังคับความรู้สึกให้ชนะแก่ความรู้สึกฝ่ายกรรมให้ความรู้สึกฝ่ายธรรมะชนะความรู้สึกฝ่ายโลกก็เรียกว่าไม่มีไม่มีแตก ไม่มีความผิดพลาด ไม่มีความแตกกระจาย นับตั้งแต่จะศึกษาเล่าเรียนจะทำการทำงานจะทำอะไรก็ให้มันอยู่ในความควบคุมของความรู้สึก เราบังคับความรู้สึกได้การบังคับตัวเองนี้สมัยก่อนได้ยินมาก สมัยมาเป็นเด็ก ๆได้ยินว่าบังคับตัวเอง บังคับตัวเองให้พูดไปหมดหนังสือหนังหาก็มีทั่วไปมากที่สุด เดี๋ยวนี้ในหนังสือหนังหาก็เทียบจะไม่มีที่จะพูดอยู่ที่ปากคนมันก็ไม่มีไม่ได้ยิน นี้บอกตามความรู้สึกส่วนตัวที่สังเกตเห็นที่รู้สึกเป็นอย่างนี้ ก็แปลว่าคนสมัยนี้บังคับความรู้สึกน้อยลง หรือนิยมการไม่บังคับความรู้สึก เป็นการศึกษาที่บ้าบอที่สุดถ้าสอนให้คนไม่บังคับความรู้สึก เป็นประชาธิปไตยเลยเถิด ไม่บังคับความรู้สึกในการเรียนอย่างโลก ๆ ก็ดี ในการเรียนอย่างธรรมะปฏิบัติธรรมะก็ดีขึ้นอยู่กับการบังคับความรู้สึกทั้งนั้น ขอให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่เสียหายทุกทุกเรื่องทุกรายทุกกรณีเกิดจากการไม่บังคับความรู้สึกเป็นจุดแรกแล้วมันก็ลุกลามไปจนเป็นเรื่องใหญ่โต เป็นเพราะการไม่บังคับความรู้สึกของคนเพียงคนเดียวเท่านั้นแหละ ไฟลุกลามใหญ่โตเสียหายทั่วประเทศทั่วโลกก็ได้ หลักพระศาสนาทุกศาสนาจึงมีตรงกันหมดอีกในข้อนี้คือว่าทุกคนบังคับความรู้สึก ทุกศาสนาสอนให้เห็นว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย ทุกศาสนาสอนให้ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาส่วนเกิน ทุกศาสนาสอนให้บังคับความรู้สึก บังคับความรู้สึกนี้จะเป็นเครื่องมือรวมรวบยอดให้ปฏิบัติหลักอื่น ๆ ได้ ที่นี้กี่ข้อแล้วละ ถึงข้อ 5 จะปิดทีจะพอที ข้อ 5 ขอเพียงว่าให้ศึกษาธรรมะนั่นเอง ไม่เช่นนั้นจะบังคับความรู้สึกไปไม่ถูก ข้อที่ 5 ให้มีการศึกษาส่วนธรรมะศาสตร์ มีการศึกษาส่วนธรรมะศาสตร์ที่พวกคุณมีอยู่เดี๋ยวนี้ขอประนามว่าเป็นเรื่องศิลปศาสตร์ทั้งนั้นแหละ เพราะในโรงเรียนของพวกคุณสอนแต่เรื่องศิลปศาสตร์ หนังสือหนังหาวิชาชีพวิชาอะไร ปริญญาอะไร ยาวเป็นหางอะไรก็มีแต่วิชาศิลปศาสตร์เพื่ออาชีพเพื่อดำรงอยู่ในโลก ไม่มีธรรมะศาสตร์คือไม่มีเรื่องศาสนานั่นเอง ต้องหาความรู้ส่วนธรรมะศาสตร์ที่จะมาควบคุมไอ้ศิลป์ศาสตร์ให้มันถูกต้อง ศิลปศาสตร์นี้มันส่งเสริมกิเลส ถ้าไม่มีธรรมะศาสตร์มาควบคุมมันจะกลายเป็นกิเลสไปหมด หรือแม้แต่เมื่อจะศึกษาศิลปศาสตร์นั้นมันมีความทุกข์มีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น ต้องเอาธรรมะศาสตร์มาแก้คนมันขี้เกียจมันเหลวไหลในการศึกษาเล่าเรียน นั่นปัญหาทางศิลปศาสตร์มันเกิดขึ้นอย่างนั้น ก็ต้องเอาธรรมะมาแก้ให้มันเห็นแก่ความดี ให้มันบังคับตัวเอง ให้มันเล่าเรียนไปให้สำเร็จ หรือถ้ามีความทุกข์อย่างอื่นเกิดขึ้น อย่างเช่นสอบไล่ตก หรืออะไรสูญหายเสียหายมันก็ต้องมีความรู้ส่วนธรรมะศาสตร์มาช่วยแก้อย่าให้มันเป็นบ้า ไม่ใช่ไม่อย่างงั้นมันอาจจะไปกระโดดน้ำตาย ไม่อย่างนั้นมันจะอยู่เป็นคนบ้า ทุกคนอยู่ในโลกนี้จะต้องมีปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นต้น ซึ่งในโลกมันจะต้องมีอย่างนี้ความรู้ทางศิลปศาสตร์มันช่วยไม่ได้ ให้มีปริญญายาวเป็นหางอย่างไรมันก็ช่วยไม่ได้ ก็ต้องไปเอาความรู้ส่วนธรรมศาสตร์ของพระศาสนาของพระศาสดามาสำหรับจะแก้ปัญหาส่วนนี้ เพราะฉะนั้นขอให้เรามีความรู้ส่วนธรรมะศาสตร์เป็นคู่กันกับความรู้ส่วนศิลปศาสตร์ ธรรมะศาสตร์จะต้องเป็นธรรมะจริงอย่างที่ว่ามานี้ แล้วว่าธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมะคือกฎของธรรมชาติ ธรรมะคือหน้าที่ตามธรรมชาติ ธรรมะคือเหตุผลที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ อย่างนี้เราเรียกว่าธรรมศาสตร์ในที่นี้ ไม่ใช่ธรรมศาสตร์ที่ท่าพระจันทร์นั้นไม่รับรองแม้ชื่อมันจะเหมือนกันก็ตามใจ แต่นี้เราหมายถึงธรรมศาสตร์พระศาสดาแห่งพระศาสนาทั้งหลายที่ล้วนแต่สอนอย่างที่ว่ามาแล้ว ให้มีความรู้ถูกต้องเพียงพอที่เรียกว่าสัมมาทิฐิ มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ความคิด ความเห็นอะไรที่มันถูกต้องไปหมด นี้คือธรรมศาสตร์ในที่นี้ แล้วจะพอไหมพูดอีกก็ไม่รู้จักหมดว่าให้มีหลักที่ว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย แล้วว่าอย่าเห็นแก่ตัว แล้วว่าอย่าเอาส่วนเกิน แล้วว่าบังคับความรู้สึก แล้วว่าต้องมีธรรมศาสตร์เป็นคู่กันกับศิลปศาสตร์นี้เรียกว่าหลักรากฐานของธรรมะและศีลธรรมไปใคร่ครวญดูให้ดี แล้วหาทางปฏิบัติให้ได้ ถ้าบังคับตัวเองได้มันก็ปฏิบัติได้เป็นแน่นอน ส่วนที่จะไปสอนผู้อื่นอย่างไรนั้นก็เป็นหน้าที่ของครูที่มีวิชาครูไปหาวิธีเอาเอง ทำให้ผู้อื่นมีศีลธรรมและมีธรรมะ แต่ว่ามันจะทำไม่ได้ถ้าเราไม่มีเองเสียก่อน เราต้องมีศีลธรรมธรรมะเองเสียก่อน จึงไปหาวิธีทำให้ผู้อื่นมีได้ นั้นจึงรีบปรับปรุงตัวเองให้มีศีลธรรมมีธรรมะกันเสียก่อน ก็ไปช่วยกันชี้แจงสั่งสอน ช่วยกันส่งเสริมคือตั้งหน่วยตั้งสโมสรตั้งสมาคมตั้งอะไรก็ตามที่มันเป็นกลุ่มเป็นก้อนขึ้นมา สำหรับรักษาอุดมคติอันนี้แล้วก็ปฏิบัติให้มันมากออกไป มากออกไป เราก็จะได้ชื่อว่าทำสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะทำ แล้วก็อาจจะได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ โดยอาศัยคำคำเดียวสรุปแก้ปัญหาทั้งปวงคือคำว่าธรรม นี้สรุปความหมายของคำว่าธรรมได้อย่างนี้ส่วนที่มาจะกล่าวตอนเริ่มเรื่องนี้ก็พอแล้ว นี้ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิดดู ถ้ามีเรื่องสงสัยไต่ถามกันต่อไปนี้ก็จะให้เป็นการอธิปรายหรือซักถาม ตรงนี้ศักดิ์สิทธิ์นะมานั่งแล้วปัญหาไม่ค่อยมี ไม่ใช่เพิ่งพูดเดี๋ยวนี้ มันมีหลายคนแล้วพอมีธุระอะไรจะมาถามปัญหา ถามว่าอย่างไง ปัญหาหายไปไหนหมดแล้วไม่รู้ พอมานั่งตรงนี้ถามปัญหาปัญหาหายไปไหนหมดแล้วก็ไม่รู้ เคยมีมาแล้วแต่หลัง คุณมีปัญหาอะไรว่ามา นมัสการพระอาจารย์ที่เคารพ อยากจะให้ท่านช่วยขยายความเกี่ยวกับวิธีสอนศีลธรรมในโรงเรียนด้วยค่ะ ว่าอะไรไม่ได้ยิน เกี่ยวกับวิธีสอนศีลธรรมในโรงเรียนค่ะ อยากให้ท่านขยายความข้อนี้อีกสักนิด วิธีอะไรนะ วิธีสอนศีลธรรมในโรงเรียน สอนศีลธรรมในโรงเรียน เขาพูดกันหลายหนหลายแห่งแล้วเป็นเรื่องของคุณวรศักดิ์ เป็นเรื่องต้องมา เที่ยวประชุมกันที่นั่นที่นี่ หรือจะหลาย ๆ จังหวัดที่จะเรียกครูสอนศีลธรรมและวิธีสอนศีลธรรม อาตมาไม่ค่อยได้หยิบปัญหานี้ขึ้นคิดนึกนับ เพราะมันไม่ค่อยเกี่ยวกันมันก็เลยยุ่ง นึกไม่ค่อยออกว่าในโรงเรียนสอนกันแต่วิชาส่วนที่เป็นศิลปศาสตร์ คือให้รู้ให้ฉลาดให้สามารถประกอบอาชีพได้ดีเลิศมันก็จบเรื่องของศิลปศาสตร์ ส่วนเรื่องของธรรมศาสตร์ คือให้เด็กมีนับตั้งแต่มีมันยาทดี มีอัธยาศัยดี มีศีลธรรม แต่มันยังขาดอยู่ที่จะเห็นว่าตกมายุคนี้สมัยนี้ควรจะสนใจเพิ่มส่วนนี้และขึ้น เพิ่มส่วนที่เป็นธรรมศาสตร์นั่นคือเรียกว่าศีลธรรม ในที่นี้ถ้ามันอยู่ที่วงการที่มีอำนาจ เช่น รัฐบาลหรือกระทรวงต่าง ๆ หรืออะไรก็ตามที่มีระบบมีอำนาจ ถ้าเขาไม่ได้สั่งหรือไม่ได้เปิดโอกาสพวกครูก็คงทำไม่ได้ คือไม่มีเวลาในตารางสอนบ้างแล้วก็ไม่มีเรื่องมันไม่ใช่เรื่องที่เขาต้องการร่างมันก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้ามันไม่มีอุปสรรคเหล่านี้แล้วมันก็คงจะทำได้ตามสมควร จัดให้เด็กเรียนเรื่องอะไรถ้ามันไม่ตรงกับหลักสูตรของกระทรวงก็ไม่มีเด็กไหนเรียนหรือบังคับให้เด็กได้ เราจะอบรมให้ปฏิบัติอย่างไรถ้ามันไม่อยู่ในความต้องการของกระทรวงมันก็ทำไม่ได้ มันก็อยู่อย่างนี้ซะมากกว่า ปัญหาแรกมันก็ต้องทำให้วงการที่ทรงอำนาจเขาเอาด้วย ที่นี้ก็สอนไปอย่างนี้อบรมไปอย่างนี้ ให้มันเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เกิดการปฏิบัติประพฤติธรรมกระทำกันอย่างนี้ ให้เด็ก ๆ เขารักเพื่อนมนุษย์ เขาจะต้องประพฤติปฏิบัติอยู่เสมอในการที่จะเป็นคนไม่ใจแคบใจจืดหรือดูดาย เขาต้องรักเพื่อนเขาต้องช่วยเพื่อน ต้องมีสตางค์บาทหนึ่งก็ควรจะให้คุณเพื่อนที่ไม่มีซะห้าสตางค์อย่างนี้เป็นต้น เพราะนิสัยเขาจะไม่ดูดาย จะไม่กินอะไรในเมื่อยังไม่ได้ชวนเพื่อนกิน ข้อนี้แต่โบราณเขาสอนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีไม่ต้องสอนในโรงเรียนก็ได้ คนก็คือหลักที่ว่ามันต้องชวนเพื่อนกิน ต้องให้เพื่อนได้กินด้วย จนเกิดเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีจนกระทั่งกลายเป็นลัทธิ ลัทธิศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาถือว่าถ้ายังไม่ได้ให้ผู้อื่นกินแล้ว ไม่ยอมกิน นั้นถ้าไม่มีแขกมาเขาก็ให้นกให้กาให้ไก่ให้อะไรกิน ถ้าไม่มีนก ไก่ กา ที่ไหนจะมากินเขาก็หยิบวางไว้ข้าง ๆ หน่อยหนึ่งไว้ให้มดมันกิน ถ้ามดไม่กินก็ชื่อว่าเราได้ประพฤติปฏิบัติธรรมะข้อนี้แล้ว เราถึงจะถึงขนาดข้อนี้แล้ว เราจะทำได้โรงเรียนหรือไม่ก็ไปลองคิดดูว่าจะสอนให้คนเขารักผู้อื่น เห็นแก่ผู้อื่น เอาใจใส่แก่ผู้อื่นถึงขนาดนี้ มันอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เด็ก ๆ เขามีจิตใจเหล่านี้ เดี๋ยวนี้มันก็หายไปหายไปจนหาดูไม่ค่อยจะได้ จะมัวปลูกฝังขึ้นใหม่ในโรงเรียนมันก็คงจะไม่ได้ เป็นงานใหญ่เป็นงานหลักเหมือนกัน ก็ไปหาทางเอาเองว่าจะทำให้เด็กเขารู้สึกว่าทุกคนเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเราไม่เห็นแก่ตัว เราไม่เอาส่วนเกิน เราบังคับความรู้สึก เรามีจิตใจที่ละเอียดแต่นี่มีธรรมะ หัวข้อศีลธรรมแจกเป็นข้อ ๆ มีมากมายหลายสิบข้อแจกเป็นหมวด ๆ ก็หลายหมวดเหมือนกัน แต่ละหมวดก็ไปพิจารณาดูว่าทำอย่างไรจะให้เด็กเกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นมา มันจะไปติดตรงที่ว่ามันไม่มีในหลักสูตรมันก็ทำไม่ได้ เดี๋ยวนี้ก็มีหลักสูตรกันขึ้นมาแล้วก็ไปพิจารณาดูตามหลักสูตร ทำอย่างไรให้เด็กเกิดเมตตากรุณา ทำอย่างไรให้เด็กซื่อสัตย์สุจริต ทำอย่างไรให้เด็กเขากตัญญูกตเวที ทำอย่างไรให้เด็กเขาอดกลั้นอดทนตามลำดับนั้นเถอะไปคิดดูเถอะ สมัยก่อนอ่านหนังสือธรรมจริยาที่ผู้แต่ง ธรรมศักดิ์ พระนิติศาสตร์ไพศาล เอาธรรมะแต่ข้อๆมาทำเป็นบทเรียนบทหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยนิทานเรื่องหนึ่งด้วยวิธีทางศาสนาเคยอ่านเคยเรียนเมื่อเด็ก ๆ ยังจำได้จนบัดนี้ บางเรื่องก็มุ่งเรื่องกตัญญู บางเรื่องก็มุ่งซื่อสัตย์ บางเรื่องก็มุ่งอดกลั้นอดทน ไปหาดูก็ไม่ใช้โรงเรียนแล้ว เอามาอ่านดูก็ได้พบวิธีแทนที่จะสอนศีลธรรมในโรงเรียน หนังสือบทเรียนสอนเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่เขาใช้อยู่ในประเทศอังกฤษสมัย ห้าหกสิบปีมาแล้ว ซึ่งก็เข้าใจว่าเดี๋ยวนี้ก็คงไม่ใช้แล้วก็เหมือนประเทศไทยเราเหมือนกันที่ยกเลิกหนังสือธรรมจริยา เข้าใจว่าในประเทศอังกฤษคงยกเลิกหนังสือชุดที่เรียกว่ารอยัลรีดเดอร์ไปแล้ว แต่เมื่ออาตมาเด็ก ๆ มันยังมีอยู่มันยังมีขายอยู่ โรงเรียนคริสเตียนอัญสัมชัญเขาสั่งหนังสือนี้มาใช้สอนนักเรียน ยังหาซื้อได้ในร้านหนังสือในกรุงเทพฯ รอยัลรีดเดอร์เป็นหนังสือสอนอ่านหนังสือเรียนในโรงเรียน แต่จะมีทุกบทที่จบลงด้วยทั้งหมดนี้มันเป็นไปตามอำนาจของพระเจ้าไม่ว่าด้วยเรื่องอะไร ไม่ว่าเรื่องนิทานนิยามการทำมาหากิน ธรรมชาติก็ดี ไม่ใช่ธรรมชาติก็ดี มันจบลงด้วยคำว่านี้คืออำนาจของพระเจ้า เป็นไปตามอำนาจของพระเจ้า เด็ก ๆ เขาก็ได้รับการปลูกฝังความเชื่อในพระเจ้าทุกบทเรียน เพราะฉะนั้นคงเชื่อว่าคนอังกฤษสมัยโน่นคนอังกฤษสมัยนี้คงไม่เหมือนกันแล้ว เมื่อพูดถึงนักเรียนหนังสือเรียนคงเปลี่ยนเป็นเรื่องอะไรอะไรก็ปรมาณู อะไรอะไรก็อวกาศไปหมดแล้ว ไม่ว่าท้ายบทก็เป็นเรื่องของพระเจ้า เราไปพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไร จะสอนศีลธรรมลงไปในจิตใจของเด็ก เพราะเดี๋ยวนี้แบบเรียนมันก็ไปจบลงคำว่าปรมาณูนิวเคลียร์อะไรอวกาศไปหมด เป็นเรื่องวัตถุนิยมจัด เมื่อไรวงการที่มีอำนาจเขาปรับหลักสูตรกันใหม่ก็จะง่ายขึ้นมีแบบเรียนที่เหมาะสมที่จะทำให้มีศีลธรรมและครูก็เสียสละประพฤติปฏิบัติให้เด็กดู ทำตัวอย่างให้เด็กดูมันก็จะเป็นไปได้ ส่วนที่จะสอนโดยรายละเอียดว่าหลักธรรมข้อนี้สอนอย่างไร หลักธรรมข้อนี้สอนอย่างไรไม่อยู่ในวิสัยที่พูดเดี๋ยวนี้ได้ ไปเอามาพิจารณาดูเองแล้วศึกษาหารือกันดูเอง สรุปความว่าตอบไม่ได้ ถามปัญหาอื่นเถอะ อันนี้เป็นปัญหาของน้องเขียนใส่เศษกระดาษมานะค่ะท่าน คือข้อที่ว่าอย่าแตะต้องส่วนเกินนั้น ในเมื่อโลกเราประกอบด้วยส่วนเกินมากมายแล้วเราจะทำตัวอย่างไรซึ่งทำให้ตัวของเราเป็นอยู่อย่างในสังคมนี้อย่างดีที่สุดนะ เมื่อตะกี้บอกแล้ว เขามันมีปัญหาเรื่องสังคม เขากลัวว่าจะเสียสังคม เข้าสังคมไม่ได้ เขาจึงไม่เลิกสูบบุหรี่ อย่างนี้เป็นปัญหาที่มีมานานแล้วยังมีมาอยู่อย่างนี้เขาเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ เพราะว่าเขายังจะต้องเข้าสังคมเขาต้องกินเหล้า เขาต้องทำอะไรต่าง ๆ ที่เป็นส่วนเกิน เป็นเรื่องพูดกันคนละเรื่อง เมื่อเขายังไม่อยากจะทิ้งสังคมส่วนเกินเราก็ไม่มีปัญญาเพราะสังคมนั้นเป็นสังคมส่วนเกิน เขาไม่อยากจะทิ้งสังคมส่วนเกิน เราก็พูดกับเขาไม่รู้เรื่อง เราจะตั้งสังคมใหม่ที่ไม่เอาส่วนเกิน เราจะตั้งสังคมใหม่ที่ไม่มีส่วนเกิน เราก็จะมีสังคมผู้ที่ไม่เอาส่วนเกินเกิดขึ้น แล้วก็อยู่ในสังคมนี้ก็แล้วกัน เขาไม่กินเหล้าแล้วมันเข้าสังคมไม่ได้ จนปัญญาเขาก็อยากจะอยู่ในสังคมเหล้าจะเลิกกินเหล้ายังไง เมื่อเห็นมันเป็นโทษเพราะส่วนเกินเราก็ถอยห่างออกมาถอยห่างออกมา มาจับกลุ่มกันใหม่ที่ไม่ต้องเป็นทาสของส่วนเกิน มันมีเท่านั้นเรื่องมันมีเท่านั้น เรื่องมันแค่ตัวสังคม เอาสังคมมาเป็นหลักอ้างเพื่อแก้ตัว แต่หารู้ไม่ว่าไอ้สังคมมันมีได้ทั้งสองฝ่าย คือสังคมที่ไม่เอาส่วนเกินกับสังคมที่เอาส่วนเกิน พูดง่าย ๆ ก็คือว่าสังคมที่กินเหล้ากับสังคมที่ไม่มีกินเหล้ามันมีอยู่ทั้งสองอย่างเลือกเอาละกัน แยกสังคมกัน เอามีปัญหาอะไรอีก ผมขอนมัสการท่านอาจารย์ถามว่าความสุขที่อยู่ในชานกับความสุขอเวทนานั้นมีความหมายว่าที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ ที่ถามมาไปสุดโตงเลยเรื่องชานความสุขในชานข้อนี้ไม่ยากหรอก เราทำให้ชานเกิดดูให้รู้เองมันไม่ยาก ไอ้ความสุขทุกชนิดมันเป็นเวทนาทั้งนั้น ไม่ว่าความสุขชนิดไหน จะเป็นความสุขที่เกิดจากอาหารการกิน ความสุขเกิดจากชานจากสมาธิหรือความสุขเกิดจากการบรรลุมรรคผลนิพานถ้าเรียกว่าเป็นความสุขเพราะมันเป็นเวทนาทั้งนั้น ถ้าเรารู้สึกว่าเป็นความสุขก็เป็นเวทนาทั้งนั้น จะเป็นของจริงของเท็จของลวงมันหรืออะไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ความสุขในชานนั้นก็หมายความว่าจิตกำลังเป็นอิสระวิเวกจากการรบกวนของกามอารมณ์ และบาป อกุศลอื่น ๆ ชั่วขณะที่มีชานหรืออยู่ในชาน ส่วนความสุขอย่างโลก ๆ ธรรมดานี้ต้องเป็นเรื่องของความเอร็ดอร่อยของกามอารมรณ์เข้ามาช่วยเอาบาปของอกุศลเข้ามาช่วยเป็นความสุขของชาวบ้านปุทุชนมันก็ต้องมีรสชาติต่างกัน อันหนึ่งมันเศร้าหมองอันหนึ่งมันสะอาด ส่วนความสุขที่เกิดจากการบรรลุนิพานนั้นยิ่งไปไกลใหญ่ แต่ตัวความสุขก็ยังคงเป็นเวทนาหรือไม่มีกิเลสตัณหารบกวนโดยประการใดโดยเด็ดขาดโดยสิ้นเชิงแล้วก็มีความสุขชนิดนั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง เป็นความสุขสูงสุด เสวยสุขอันเกิดแต่นิพาน ถ้าจะพูดให้ฟังง่ายก็เรียกว่ามันเป็นความสุขที่แท้จริง ยิ่งขึ้นไปตามลำดับทีแรกมันมันก็มีความสุขหลอก ๆ หลอกความรู้สึกทางอายัตตนะ (นาทีที่ 1.15.35.2 น.) ทางระบบประสาทไปเรื่อย ๆ ไม่จริง เพราะบางอย่างก็เผารนอาจพร้อมไปในตัว เช่น มีความสนุกสนานเป็นความสุขไม่มีความไม่ทุกข์ โศกพร้อมกันไปในตัว แล้วต่อมาไอ้ความไม่จริงมันก็ลดน้อย ลดน้อยลงเป็นความจริงมากขึ้นเป็นความสุขที่ไม่หลอกลวงไม่เผารนมากขึ้นจนกระทั่งเป็นความสุขที่ไม่มีการหลอกลวงเลย ต่างอยู่เป็นชั้น ๆ ก็ถูกแล้วจะพูดก็จะมีสามชั้น อย่างโลคียะ เจือด้วยกามอารมณ์ แล้วก็อย่างสมาธิหรือชานเนี่ยไม่เจอด้วยกามอารมณ์แต่มีความยึดมั่นถือมั่นตัวตนอยู่นี้ นี้ถ้าคนนิพานแล้วก็ไม่เจือกามอารมณ์ด้วยไม่มีการยึดมั่นถือมั่นตัวตนด้วย แต่มันจะแตกต่างสูงต่ำกันอย่างไรก็ไปตัดสินดูเอง ถ้าอยากรู้จริงก็ต้องไปทำให้ก็ต้องไปทำให้มันได้จริงแล้วก็ไม่ต้องถาม เอ้ามีปัญหาอะไรอีก จิตนิยมกับวัตถุนิยมในความหมายทางศาสนาคืออะไรครับ ความหมายที่ว่า จิตนิยมกับวัตถุนิยมในความหมายทางศาสนาคืออะไรครับ นี่เป็นปัญหาที่ยังสับสนอยู่แล้วก็ยังไม่ทราบว่าศาสนาไหนไอ้คำนี้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบันว่าวัตถุนิยมว่าจิตตนิยม เอาความหมายในปัจจุบันเป็นหลักกันก่อน หมายความว่าถ้าเอาวัตถุเป็นหลักก็เรียกว่าวัตถุนิยม ถ้าเอาเรื่องของจิตเป็นหลักก็เรียกว่าจิตตนิยม คนเรามีร่างกายกับจิตใจถ้าเอากายเป็นหลักโดยส่วนเดียวก็ขาดจิตไป ถ้าเอาจิตเป็นหลักโดยส่วนเดียวมันก็ขาดกายไป ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเอาความถูกต้องหรือความจริงตรงกลางระหว่างกายกับจิต คือที่กายกับจิตมันเนื่องกันและสัมพันธ์กัน ดังนั้นพุทธศาสนาควรจะได้รับการขนานนามว่าเป็นธรรมะนิยม พุทธศาสนาไม่ใช่วัตถุนิยมและไม่ใช่จิตตนิยม แต่เอาความถูกต้องระหว่างสิ่งทั้งสองนั้นเป็นหลักจึงจะใช้คำว่าพุทธศาสนาเป็นธรรมะนิยม นั้นในทางพุทธศาสนาจะไม่มีคำว่าวัตถุนิยมหรือจิตตนิยม ถ้ามันไปเอาจิตเอาวัตถุนิยมเป็นหลัก เมื่อจิตตนิยมเป็นหลักโดยส่วนเดียวก็ถือว่าไม่ถูกต้อง แล้วก็ถือว่าไม่ใช่พุทธศานา ส่วนศาสนาอื่นนั้นเป็นอย่างไรก็ไม่แน่ไม่อาจอธิบายแทนได้ นั้นขอให้เข้าใจว่าพุทธศาสนาที่เราสนใจกันอยู่นี้ไม่สุดโต่งข้างใดข้างหนึ่งไม่สุดซ้ายไม่สุดขวา คือไม่เอาแต่จิตโดยส่วนเดียวไม่เอาแต่กายโดยส่วนเดียว เอาความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งสองนั้นที่เป็นไปอย่างถูกต้อง แล้วก็ถือเป็นหลัก จึงจะเรียกว่าธรรมะนิยม หรืออาจจะมีคำอื่นที่เหมาะกว่านี้ก็ได้ จะเอาปัจจะนิยมอะไรนิยมก็ได้แต่อย่างให้มันสุดเหวี่ยงไปเสียฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตรงตามความมุ่งหมายในทางพุทธศาสนาที่ใช้คำว่ามัชฌิมาปฏิปทาพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระพุทธศาสนาของพระองค์ด้วยคำว่าว่ามัชฌิมาปฏิปทา พอตรัสรู้และใหม่ ๆ จะประกาศธรรมะเป็นครั้งแรก คือธรรมจักรปัจวัตธรรมสูต (นาทีที่ 1.21.42.5 น.) ซึ่งเดี๋ยวมันก็พิมพ์ออกแผ่หลายก็ไม่หาดูเองอ่านดูเอง จะพบเรื่องแรกของประสูติคือเรื่องมัชฌิมาปฏิปทาเพราะจากเรื่องมัชฌิมาปฏิปทาเสร็จแล้วจึงได้ตรัสเรื่องอริยสัจ 4 แสดงพระองค์ทรงมุ่งเอามัชฌิมาปฏิปทาคือความตั้งอยู่ตรงกลางอย่างถูกต้องพอดีว่าเป็นตัวลัทธิของพระองค์หรือเป็นพุทธศาสนา หากเพราะฉะนั้นแต่พุทธศาสนาจึงคือว่ามัชฌิมาปฏิปทาถ้าพูดให้เป็นเข้ารูปชุดนี้คือมัชฌิมานิยม จำไว้ด้วยไม่เสียเวลา มัชฌิมานิยม จะพูดว่าสัจจะนิยม ธรรมะนิยมก็ถูก แต่อย่าไปพูดว่าวัตถุนิยมหรือจิตตนิยมสุดโต่ง เอ้ามีปัญหาอะไรอีก เรียนถามพระอาจารย์อีกสักข้อนะค่ะ คืออันนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัว คือตัวหนูเองอยากศึกษาธรรมะได้อย่างแตกฉานที่สุด แต่คือแหล่งที่จะศึกษาธรรมะนี้ส่วนมากก็จะศึกษาจากหนังสือยากนักที่จะหาเวลาไปฟังเทศน์ที่อื่นหรือถ้าฟังจากวิทยุก็จะเลือกเรื่องไม่ได้คือเรื่องที่เราอยากจะทราบนี้คือเรื่องที่พระท่านแสดงธรรมทางวิทยุไม่ตรงกับความต้องการของตัวของหนูเอง และส่วนมากท่านจะในวิทยุนี้ท่านจะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับถึงชานสมาบัญ (นาทีที่ 1.23.05.5 น.) สมาธิอะไรซึ่งสูงเกินไปเมื่อจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ นี้คิดว่าใช้ได้น้อยค่ะ คืออยากจะให้ท่านท่านบอกถึงแหล่งที่ศึกษาธรรมะและก็การเคล็ดลับอะไรอีกหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับการศึกษาธรรมะที่จะให้แตกฉานนะค่ะ ปัญหาถามว่ายังไง ตัวปัญหาถามว่ายังไง สั้นๆ ที่สุดถามว่ายังไง เกี่ยวกับการศึกษาธรรมะที่จะให้แตกฉานจากแหล่งใด ที่จะให้แตกฉานทั้งหมด ได้ยินว่าทั้งหมด ที่แตกฉานเฉพาะข้อเฉพาะเรื่องที่ต้องการใช่มั้ยคือปัญหามันมีอยู่ว่า เขาพูดกันมากทั่วไปหมดก็จริงแต่มันไม่ตรงกับที่เราต้องการแล้วมีเรื่องที่เราต้องการ แล้วต้องการจะรู้อย่างแตกฉานนั้นต้องทำอย่างไร ถามว่าอย่างนั้นหรือเปล่า ถามว่าอย่างนั้นหรือเปล่า จะถามแตกฉานทุกเรื่องนี้ท่าจะไม่ได้นะ เรื่องที่จำเป็นจะศึกษาให้แตกฉานได้อย่างไร ถามคงจะถามอย่างนั้น ใจความมีอยู่อย่างนั้น จำเป็นที่สุดสำหรับเราศึกษาให้แตกฉานได้อย่างไร ที่ไหน สำหรับทุกคนดีกว่าที่ควรที่จำเป็นที่ควรศึกษา เท่าที่ควรจะศึกษาเพราะทั้งหมดนั้นทำไม่ได้แน่ ให้แตกฉานทั้งหมดมันมันทำไม่ได้หรอก มันเป็นจบพระไตรปิฏกแล้วก็ยังแตกฉานอีก มันทำได้ไม่กี่คน หรือไม่ควรจะไปหวังถึงขนาดนั้น เท่าที่จำเป็นหรือว่าใบไม้กำมือเดียว หรือใบไม้เหลือใบเดียวว่าจะศึกษากันอย่างไรให้มันแตกฉานที่สุด มันต้องมีตัวปัญหาของเราเสียก่อนว่าเรากำลังมีปัญหาอย่างไร มีความทุกข์อย่างไร เราก็แก้ไขให้มันตรงจุดนั้นด้วยการศึกษาก็ดี ด้วยการปฏิบัติก็ดี จากการอ่านนั้นไม่เพียงพอเพราะจะอ่านมากที่มีทั้งหมดก็ยังไม่เพียงพอก็อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงมีการคิดให้เกิดความเข้าใจ ที่นี้เราเข้าใจด้วยการคิดก็ยังไม่พอก็ต้องไปทำให้มันประจักษ์แก่ใจด้วยปฏิบัติ เพราะฉะนั้นความรู้ในพุทธศาสนาเนี่ย ท่านนิยมจัดกันไว้เป็นสามอย่างว่าความรู้ที่เกิดมาจากการศึกษาหรือศึกษาอย่างธรรมดากับความรู้ที่เกิดมาจากการคิดเหตุผล และความรู้ที่เกิดมาจากการไปด้วยการปฏิบัติ ถ้าแตกฉานถ้าต้องการความแตกฉานในเรื่องใดต้องทำครบสามอย่างนี้ คือเรียนอย่างศึกษาธรรมดาแล้วมาคิดศึกษาด้วยการใช้เหตุผล แล้วการปฏิบัติสิ่งนั้นลงไปในลักษณะที่เป็นการพิสูจน์ทดลองลงไปจริง ๆ แล้วก็รู้จริงในอันดับที่สามนี้ อยากจะรู้เรื่องอะไรก็ต้องทำสามอย่างนี้จะตั้งต้นหยิบตรงไหนจะตั้งต้นที่ไหนนั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง ตั้งต้นที่ตรงไหนหลักธรรมะทั่วไปก็ต้องตั้งต้นที่ความทุกข์เพราะว่าความทุกข์เป็นปัญหาต้องจับตัวปัญหามาให้ได้ก่อน แล้วก็สอดส่องหาต้นเหตุแห่งปัญหาและวิธีที่จะดับหรือแก้ปัญหานั้น ถ้าเป็นพุทธศาสนาแท้จริงมันเป็นเรื่องของการปฏิบัติให้ถูกกับจุดของความจริง นั้นเราจะตั้งต้นลงที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจนี่ช่วยฟังดูให้ดีด้วยถ้าใครอยากจะศึกษาพุทธศาสนาแท้จริงให้ตั้งต้นกขกอกาลงไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ตั้งต้นเรียนพุทธศาสนาด้วยเรื่องอะไร ถ้าจะไม่มีไม่มีใครตั้งต้นด้วยเรื่องตาหูจมูกลิ้นกายใจ ใช่มั้ย ตั้งต้นด้วยเรื่องพระพุทธพระธรรมพระสงษ์ ตั้งต้นด้วยเรื่องอริยสัจตั้งต้นด้วยเรื่องอะไรไปเรื่อย ไม่มีใครตั้งต้นด้วยเรื่องตาหูจมูกลิ้นกายใจ พระพุทธเจ้าท่านตรัสในทำนองที่ว่ามันต้องตั้งต้นด้วยตาหูจมูกลิ้นกายใจ สังเกตุให้เห็นดูให้เห็นว่าไอ้เรื่องมันก่อขึ้นที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ต้องตั้งต้นที่นี่ ต้องศึกษาที่นี่ ซึ่งเป็นภายในมันมีอยู่หกอย่างตาหูจมูกลิ้นกายใจและมันเหมือนกันทั้งหกอย่าง มันเป็นคู่ ตาคู่กับรูป หูกับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส สัมผัสผิวหนังคู่กับกาย ความรู้สึกนึกคิดคู่กับใจ คู่แรกคือตากับรูป ตั้งต้นที่ตาในระบบประสาทที่เรียกกันว่าลูกตา แล้วก็มีวัตถุข้างนอกที่ตาจะเห็นมันเรียกว่ารูป นี่แค่ตากับรูปถึงกันเข้าก็เกิดจักษุวิญญาณคือการเห็นทางตา สามอย่างเข้ามาแล้วนะ คือตาอย่างหนึ่งรูปอย่างหนึ่งการเห็นทางตาจักษุวิญญาณอีกทางหนึ่งเป็นสามเรื่องขึ้นมาเรื่องตาเรื่องรูปเรื่องจักษุวิญญาณคือการเห็นทางตา ไม่ต้องเชื่อใคร ไม่ต้องอาศัยหนังสืออะไร ต้องอาศัยของจริงที่เรามีตาแล้วที่เรามีรูปแล้วเราเห็นรูป ต้องศึกษาที่ตัวจริงเหล่านี้อย่าไปศึกษาจากหนังสือเลย สามประการนี้ถึงกันเข้าตากับรูปกับจักษุวิญญาณถึงกันเข้าเรียกว่าผัสสะทางตา นี้เพราะมีผัสสะทางตาก็มีเวทนาทางตาคือสบายแก่ตาหรือไม่สบายแก่ตาหรือกลาง ๆ อยู่เรียกว่าเวทนา เพราะมีเวทนาจึงมีตัณหาคือความอยากความต้องการไปตามสมควรแก่เวทนานั้นถ้าเวทนานั้น ถ้าเวทนานั้นเป็นสุขว่ามันก็อยากได้ถ้าเวทนาเป็นทุกข์มันก็อยากจะทำลายเสีย คือถ้ามันไม่แน่มันก็ยังสงสัยอยู่ลังเลอยู่เป็นอยู่อย่างนี้ ความอยากมีอยู่อย่างนี้ มันอยากจะได้อยากจะเอานี้อย่างหนึ่งอยากจะเป็นนี้อย่างหนึ่งอยากจะไม่เป็นนี้อย่างหนึ่ง นี้เพราะมีเวทนาเพราะเกิดตัณหาอย่าเอาหนังสืออย่าเอาตัวหนังสืออย่าเอาเสียงที่พูดนี้เป็นหลักต้องเอาความรู้สึกที่รู้อยู่แก่ใจจริง ๆ เป็นหลักเป็นตัวเรื่องเป็นตัวจริงสำหรับศึกษาพิสูจน์ทดลอง นี้เพราะมีตัณหาอย่างนี้ก็เกิดความรู้สึกประเภทที่ยึดมั่นตัวตนที่เป็นเหมือนผู้ยา ตัณหาความอยากเลยเกิดขึ้นตามธรรมชาติธรรมดาแท้ ๆ ไม่ต้องมีตัวตนที่ไหนเป็นเรื่องของธรรมชาติแท้ ๆ จิตแท้ ๆ ธรรมชาติแท้ ๆ มันทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ได้จนกระทั่งเกิดตัณหาความอยากขึ้นมาในใจ เมื่อตัณหาความอยากเกิดขึ้นในใจแล้วมันก็เกิดความรู้สึกชนิดประหลาดมากคือรู้สึกว่าตัวกูนี่แหละมันอยาก ต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ และอะไรที่กูอยากจะเป็นของกูมันก็เกิดขึ้นด้วย นี้ก็เรียกว่าอุปาทาน เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้วมันก็ต้องเกิดอุปาทานความรู้สึกอยากเกิดขึ้นก่อนแล้วความรู้สึกตัวกูเกิดทีหลังพอความกูรู้สึกเกิดรู้สึกอยากขึ้นแล้วเรียกว่าอุปาทานได้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะเกิดภพคือความมีอยู่แห่งตัวกูในทางจิตใจเรียกว่าภพ ภาวะ ภาวะที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ เมื่อภพมีอย่างนี้แล้วมันก็มีชาติ ตัวกูของกูเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์หลังจากภพ เมื่อมีตัวกูโดยสมบูรณ์แล้วมันก็มีปัญหาเกี่ยวกับตัวกูและของกู นี้เป็นความทุกข์ทั้งนั้นทุกข์ทั้งปวงมาจากสิ่งที่เรียกว่าชาติได้เกิดขึ้นแห่งตัวกูแล้ว ก็จะมีปัญหาเป็นความทุกข์นี่คือกขกอกาจุดตั้งต้นที่จะเรียนพุทธศาสนาทางหลักที่แท้จริงเป็นอย่างนี้ แล้วมันจะเรียนด้วยการอ่านหนังสือแม้ว่าจะได้อ่านหนังสือเรื่องนี้ก็อ่านไปเหอะ อ่านมันแบบนี้ก็ต้องไปเรียนจริงด้วย เรื่องที่ใจที่ความรู้สึกให้เห็นเห็นเห็นเห็นมาอย่างนี้โดยลำดับ ไม่ได้คาดไม่ใช่คำนวนไม่ใช่คาดคะเน ไม่ใช่ใช้เหตุผลไม่ต้องใช้เหตุผลอยู่เหนือการใช้เหตุผล ใช้เหตุผลไม่ได้และไม่มีประโยชน์อะไร ที่นี้ก็รู้จักความทุกข์ว่ามาจากชาติ ชาติมาจากภพ ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหา ตัณหามาจากเวทนา เวทนามาจากผัสสะ ผัสสะมาจากการรู้แจ้งทางตาหรือทางหูจมูกลิ้นกายใจ มาจากการรู้แจ้งทางตา กับตากับสิ่งที่ตาเห็นคือกขกอกาของพุทธศานา นี้เรื่องทางหูก็เหมือนกันอีกเข้าใจเรื่องทางตาแล้วก็เข้าใจเรื่องทางหูทางจมูกทางลิ้นทางผิวหนังทางจิตใจได้ หูเนื่องให้เข้ากับเสียงก็เกิดการได้ยินเสียงเรียกว่าโสตวิญญาณวิญญาณทางหูได้เกิดขึ้น สามอย่างนี้ทำงานร่วมกันเรียกว่าผัสสะ ผัสสะให้เกิดเวทนา เวทนาให้เกิดตัณหา ตัณหาให้เกิดอุปาทาน อุปาทานให้เกิดภพให้เกิดชาติและให้เกิดปัญหาคือความทุกข์ทั้งปวง จงรู้จักความทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์หรือลำดับแห่งการเกิดทุกข์ให้ชัดเจนอย่างนี้ โดยไม่ต้องคำนวนโดยเห็นจริงโดยประจักษ์ในความรู้สึก พุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา หรือตรรกวิทยาที่จะไปใช้การคำนวน ถ้าเราใช้วิธีคำนวนแล้วก็จะไม่เป็นพุทธศาสนา มันจะเป็นพุทธปรัชญา เป็นพุทธตรรกวิทยา (นาทีที่ 1.36.41.1 น.) อะไรทำนองนั้นใช้อะไรไม่ได้ คือไม่ดับทุกข์คือว่าอย่างนั้น มันคงจะมีประโยชน์อย่างอื่น แต่จะใช้ดับทุกข์ไม่ได้ ถ้าเป็นเรื่องดับทุกข์มันต้องไม่ใช่ไม่ใช้คำนวนไม่ใช้คำนวนด้วยเหตุผล ไม่ใช่อนุมานอุปมานอะไรทำนองนั้น มันเป็นเรื่องที่มองตรง ๆ ลงไปที่สิ่งนั้นและเห็นว่ามันเป็นอยู่อย่างนั้น นี้จงศึกษาสิ่งนี้และที่นี่ที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ มันก็จะพบพุทธศาสนาเต็มที่จะพบเรื่องความทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์โดยชัดเจนโดยแจ่มแจ้งชัดเจน แล้วทำในทางที่ตรงกันข้ามพอผัสสะแล้วเกิดเวทนาแล้วก็มีสติปัญญาพอไม่เกิดตัณหาอุปทานภพชาติ ทุกข์มันก็ดับไปหมด แล้วก็มองเห็นทุกข์ดับไปเพราะเหตุนี้ แล้วทีนี้ก็เหลืออยู่ว่าเราจะทำอย่างไร เราจะมีการป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ทำนองนี้คอยเป็นอยู่โดยถูกต้องที่เรียกว่ามรรคมีองค์ 8 พยายามรักษาความถูกต้องโดยองค์ 8 คือโดยความคิดเห็นโดยความปรารถนา โดยการพูดจา โดยการกระทำการงาน โดยการเลี้ยงชีวิต โดยการพากเพียรพยายาม โดยความมีความตั้งใจมั่น แม้กระทั่งมีสติตั้งใจมั่น 88 ข้อ ก็เห็นได้โดยความรู้สึกอีกเหมือนกัน นี้พุทธศาสนาเต็มตัวเต็มที่พุทธศานาแท้จริง พุทธศานาที่ชัดแจ้งต้องเรียนอย่างนี้ ส่วนจะไปหาที่เรียนได้ที่วัดไหนนั้นบอกไม่ได้ แล้วก็ไม่บอกด้วย บอกว่าให้เรียนที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจเราตั้งต้นเรียนพุทธศาสนากันด้วยเรื่องอะไรให้ไปคิดดูใหม่ในโรงเรียนอนุบาลโรงเรียนประถมมัธยมมหาวิทยาลัยเขาตั้งต้นเรียนพุทธศาสนากันที่จุดไหน พระพุทธเจ้าท่านแสดงวิธีเป็นเรื่องแนะให้เสร็จ นี้ตั้งต้นที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจแล้วสูตรสูตรนี้คือสูตรที่ประหลาดกว่าสูตรทั้งหลายในพระไตรปิฏก คือเป็นสูตรพระพุทธเจ้าเองก็ทรงเอามาท่องน่าหัวอย่างนั้น พระพุทธเจ้าเองก็เอาสูตรนี้คือหลักเกณฑ์อันนี้ฟอมูลล่าอันนี้มาท่องอยู่ลำพังพระองค์เองเดียว ๆ ประหนึ่งนั่งท่องเรียนนี้ นั่งไล่ว่าเล่มอย่างนี้ ภิกษุองค์หนึ่งมาแอบฟังอยู่ข้างหลังพอท่านก็เหลียวไปเห็นว่าอ้าวไปอยู่ที่นี่เอานี้ไป นี่คือเริ่มต้นของพรหมจรรย์ อาทิพรหมจรรย์นี่คือเริ่มต้นของพรหมจรรย์แกจึงเรียนจึงรับเอาไป ทำความแจ่มแจ้งในข้อนี้ หากว่าพระองค์ทรงตรังว่านี้เป็นอาทิตพรหมจรรย์คือเริ่มต้นของพรหมจรรย์ อาตมาจึงเรียกว่ากขกอกาของพระพุทธศาสนาตั้งต้นที่ตรงนี้ ถ้าเป็นบาลีที่พระพุทธเจ้าท่านท่องเองตามที่ปรากฎอยู่ในพระภัมภีร์มันก็จะขึ้นด้วยคำว่า (นาทีที่ 1.40.10 น.) เวทนา ปรัญญา ตัณหา ตัณหาปรัญญา อุปานัง อุปาทัง เขาว่าอย่างนี้จบเรื่องตาแล้วก็มาว่าเรื่องหูอีก (นาทีที่ 1.42.47 น.) ก็ร่ายไปเป็นเรื่องของหูอีกชุดหนึ่งแล้วก็ร่ายไปเรื่องจมูกลิ้นกายใจจึงเรียกว่าครบ 6 ชุดจึงจะเรียกว่าครบชุด เหมือนกับท่องสูตรคูณ พระพุทธเจ้าถ้าเกิดท่องสูตรคูณขึ้นมาท่านท่องแบบนี้ 6 หมวด ๆ ละ 89 ตอน เรียกว่าอาทิพรหมจรรย์เป็นจุดตั้งต้นของพระพุทธศาสนา เอามีปัญหาอะไรอีก ขอรบกวนหลวงพ่ออธิบายเรื่องเกี่ยวกับชาดกว่ามีความสำคัญต่อศาสนาอย่างไร ยังฟังไม่ถูก คำว่าชาดกมีความสำคัญต่อศาสนาอย่างไรเรื่องเกี่ยวกับชาดกมีความสำคัญต่อศาสนาอย่างไร หลักธรรมะในพระพุทธศาสนามันละเอียดลึกซึ้งจำยากที่นี้เขาก็มาแสดงไว้ในรูป (นาทีที่ 1.44.22 น.) ธรรมะยาก ๆ มาฝากไว้ในรูปของเรื่องนิทาน นั้นชาดกก็เหมือนกับภาชนะสำหรับใส่ธรรมะหรือเปลือกผลไม้ที่จะรักษาของเยื่อเนื้อของผลไม้ นี้หมายถึงเนื้อเรื่องชาดกตัวนิทานในชาดกเปลือกผลไม้ใส่เนื้อในของผลไม้เหมือนกับภาชนะถ้วยชามนี้ก็ใส่ข้าวใส่แกง แต่ข้าวแกงเนื้อผลไม้คือตัวเนื้อของพระพุทธศานาที่สอนเป็นข้อ ๆ ว่าอย่างนั้น ๆๆ มันจำยาก สู้ใส่เปลือกใส่ภาชนะไว้ไม่ได้รักษาไว้ง่ายมันจำง่ายเมื่อจำเรื่องนี้ได้มันก็จำธรรมะนั้นได้ มันก็เรียกว่าชาดกนี้จำเป็นเหมือนกับที่เปลือกผลไม้จำเป็นแก่เนื้อผลไม้หรือเหมือนกับภาชนะที่มันจำเป็นต่อข้าวหรือแกงมีเพียงเท่านั้น มันจำเป็นทั้งนั้น มีอะไรอีกมีปัญหาอะไร โปรแกรมว่ายังไงต่อไปนี้ 22 และ 20 นาทีก็เตรียมตัวเปลี่ยนบทเรียน พวกเราก็ใคร่ขอกราบลาท่านอาจารย์ด้วยเลย เอาลาเผื่อไว้ก็ดีเหมือนกัน ไม่ต้องพบกันอีก ไม่ต้องพบกันอีกก็ลาเผื่อไว้ ให้ทุกคนได้มานั่ง ได้ความรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าประสูติกลาง ตรัสรู้กลางดิน นิพพานกลางดิน สอนกลางดินอยู่กลางดิน กุฏิของท่านทุกท่านพื้นดินไปดูได้ที่ประเทศอินเดียนี้กันลืมพระพุทธเจ้าก็มานั่งกลางกันเสียบ่อย ๆ ถ้าที่อื่นไม่สะดวกมาที่สวนโมกช์ ต้องเกณฑ์ให้คุณนั่งกลางดินอย่างนี้เรื่อยไปทุกที ให้รู้เป็นเรื่องของธรรมชาติต้องใกล้ชิดกับธรรมชาติจึงจะสะดวกแก่การเข้าใจธรรมะที่เป็นเรื่องของธรรมชาติ นี้ขอให้เก็บความรู้สึกอันนี้ที่จิตใจก็ได้นั่งกลางดินกลับไปบ้านติดไปบ้านไม่ให้เป็นเครื่องคุ้มกันไม่ได้ใจเศร้าหมอง มึนมัว เร้าร้อนได้โดยง่าย เพราะว่าเราได้มารับอะไรจากธรรมชาติชนิดเดียวกับที่พระพุทธเจ้าท่านได้รับ เอาในที่นี้ก็ขอให้พรให้ทุก ๆ คนมีความรู้ความเข้าใจเห็นแจ้งในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตนในทุก ๆ แขนงอยู่ มีความสุขอยู่ทุก ๆ ปีราตรีกาลเทอด