แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้จะได้พูดกันถึง ระบบจิตตภาวนา ในพระพุทธศาสนา ตามที่ท่านทั้งหลาย ควรจะ ทราบ คำว่า ตามที่ควรจะทราบ มิได้หมายความแต่เพียงว่า จะกระทำกันอย่างไร แต่ควรจะทราบเลย ไปถึงว่า มันเป็นระบบที่อาจจะนำไปใช้ ในระบบศาสนาหรือวัฒนธรรมใด ๆ ก็ได้ด้วย เราจะต้อง ระลึกนึกถึงข้อเท็จจริง แต่ดึกดำบรรพ์โน้นว่า มีความเกี่ยวพันกัน ในระหว่างวัฒนธรรมนานาชนิด ในโลก แม้ศาสนา ทั้งหลายก็มีความเกี่ยวพันกันโดยไม่รู้สึกตัว คือว่าถ่ายทอดไปจากระบบวัฒนธรรม ต่าง ๆ ไปรวมกันเข้าเป็นศาสนาหนึ่ง ๆ ก็ได้
ความจริงที่สำคัญที่สุดก็คือว่า มนุษย์เรานั้น แม้จะมีความแตกต่างกันในการเป็นอยู่ หรือดำรงชีพในภายนอก แต่ว่าในภายในในจิตใจนั้น มันเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ มันมีกิเลส ที่เรียกว่า ราคะ โทสะ โมหะ นี่เหมือนกัน เหมือนกันโดยธรรมชาติ ความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า มนุษย์ ทุกคน มีความกลัวเหมือน ๆ กัน และก็อยากจะพ้นจากสิ่งที่ตนกลัวหรือตนเกลียดเหมือน ๆ กัน เมื่อรู้จักไอ้ความกลัวความน่ากลัว สูงขึ้นไปถึงเรื่องจิตใจ ระบบศาสนามันก็เกิดขึ้น จนต้องมี ความคล้ายคลึงกัน ในการที่มันมีมูลเหตุ มาจากความกลัวด้วยกัน
ความกลัวที่เนื่องด้วยปัญหาทางวัตถุ หมดไปได้ง่าย ๆ แต่ความกลัวที่เนื่องด้วยปัญหาทาง จิตใจนั้นลึกซึ้ง ๆ ยากที่จะหมดไปได้โดยง่าย ตกเป็นหน้าที่ของศาสนา ที่จะต้องจัดการแก้ไขปัญหา ในข้อนี้ เมื่อปัญหาทางจิตใจ เหลืออยู่เป็นของเรื้อรังอยู่ ในโลกอย่างนี้ ระบบจิตตภาวนา จิตตภาวนา ก็เกิดขึ้น เพื่อจะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทางจิตใจ คำว่า จิตตภาวนา มีความหมายได้หลายอย่าง เช่นว่า ทำจิตให้เจริญ ๆ ให้สูงสุดไปในทางจิตนี้ก็ได้ หรือจะสร้างความเจริญในแขนงอื่น หรือด้านอื่น แต่อาศัยจิตเป็นเครื่องมือ อย่างนี้ก็ได้ มันล้วนแต่เรียกว่า จิตภาวนา จิตตภาวนา ด้วยกันทั้งนั้น
ระบบจิตตภาวนาก็ต้องอาศัย ความจริง หรือข้อเท็จจริงของธรรมชาติ เป็นหลักใหญ่ เพราะว่าจะทำอะไร ๆ ให้ฝืนหลักของธรรมชาตินั้น ยากที่จะเป็นไปได้ และอาจจะไม่สำเร็จประโยชน์ อะไร ระบบจิตตภาวนาจึงมีความจริงตั้งอาศัยอยู่บนความจริงของสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติ จิตตภาวนา ในพุทธศาสนาก็อาศัยหลักเกณฑ์อันนี้ คือเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ อยู่ใน โลกนี้ได้แท้จริง โดยไม่ฝืนกันกับกฎของธรรมชาติ แต่ในที่สุดก็สรุปเป็นใจความได้สั้น ๆ ว่า เราจะ อาศัยสิ่งที่เรียกว่า จิตใจนั่นแหละ เป็นที่ตั้งแห่งการศึกษา ค้นคว้า การปฏิบัติ และก็ได้รับผลออกมา เป็นการแก้ปัญหา และประสบความสุขในด้านจิตใจ ดังนั้นจึงได้เรียกชื่อว่า จิตตภาวนา จิตตภาวนา ทำความเจริญด้วยจิตใจ
ในวันนี้ก็มุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นว่า ระบบจิตตภาวนา ในพุทธศาสนานั้น อาจจะนำไป ปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสมกับ ระบบวัฒนธรรม หรือศาสนาอื่น ๆ ได้อยู่มากทีเดียว อยู่มากทีเดียว การกระทำจิตภาวนานี้ก็ต้องมีการตระเตรียม เรียกว่า ส่วนที่เป็นการตระเตรียม เตรียมร่างกาย เตรียมจิตใจ หรือว่าเตรียมที่ ที่ที่จะอาศัยจะตั้งอยู่จะเป็นไป หรือแม้ที่สุดแต่เรื่อง อาหารการกิน ก็ล้วนแต่มีการตระเตรียมให้เหมาะสมทุกอย่างเพื่อจิตตภาวนา ที่ที่ปราศจากการ รบกวน เป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับจิตตภาวนา ดังนั้นเราจึงจะแสวงหาเท่าที่จะแสวงหาได้ เท่าที่จะ แสวงหาได้
ที่นี้เราก็จะได้พูดกันถึงเรื่อง จิตตภาวนาโดยตรง เรื่องแรกก็คือ ระบบพื้นฐานทั่ว ๆ ไป สำหรับการฝึกฝนจิตให้มีสมรรถนะ มีกำลัง มีการปฏิบัติหน้าที่ของจิต เรามุ่งหมายจะฝึกฝน ในการมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สมบูรณ์ที่สุด และให้ความพากเพียรพยายามของเราก็สมบูรณ์ด้วย เราจึงมีระบบพื้นฐานสำหรับการฝึกสติ และความเพียรของเราเป็นอย่างยิ่งก่อน เรามีสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท อิทธิบาท คือ รากฐานแห่งความสำเร็จ ที่ต้องฝึกอยู่ ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
เรามีวิธีฝึกสิ่งที่เราจะต้องฝึก โดยการทำให้มีอิทธิบาทแต่ละอย่าง ๆ นี้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ เรามีหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ประกอบความเพียร มีฉันทะอิทธิบาทเป็นประธาน ความเพียร ที่ประกอบนั้น มีฉันทะอิทธิบาทคือ มีความสำเร็จที่อาศัยอยู่ในเรื่องของฉันทะนั้นนะ เป็นประธาน แล้วก็เป็นหัวหน้า เป็นหัวหน้าแห่งความเพียร ประกอบความเพียรมีฉันทะอิทธิบาทเป็นประธาน
ขณะต่อไปก็คือ การประกอบความเพียรมีวิริยะอิทธิบาทเป็นประธาน ข้อนี้เราฝึกซ้อม ในส่วนที่เป็นเรื่องความพากเพียรหรือความกล้าหาญ ขณะต่อไปเราก็ฝึกความเพียร มีจิตตะอิทธิบาท เป็นประธาน Intention Intention ในสิ่งที่เราจะกระทำเราฝึกให้มันสูงสุดที่เรียกว่า ความเพียรมีจิตตะ อิทธิบาทเป็นประธาน ขณะต่อไปเราก็ฝึกความเพียร มีวิมังสาอิทธิบาทเป็นประธาน คือ วิจัยวิจารณ์ ใคร่ครวญอยู่อย่างละเอียดลออ นี่เป็นประธานในการฝึก
ท่านลองใคร่ครวญดูเองว่า เราฝึก ให้มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ให้ถึงระดับสูงสุด นี่มันเพิ่มสมรรถนะของจิตนั้นเอง ให้เป็นจิตที่ สามารถทำอะไร ได้โดยถูกต้องสมบูรณ์ และว่องไว มี Activeness มากที่สุด ท่านก็ลองคิดดูเองว่า หลักปฏิบัติ ๔ ประการนี้ จะนำไปใช้ในวัฒนธรรมอื่น ในศาสนาอื่นได้หรือไม่
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่เราจะฝึก เพื่อความมีเมตตา เมตตาธรรม ความมีเมตตาธรรม ในสิ่งทุกสิ่ง เรียกว่า พรหมวิหาระ เป็นอยู่อย่างประเสริฐ หมวดนี้มีสูตรสำหรับปฏิบัติก็คือว่า พยายามตระเตรียม จิตเป็นอย่างดี มีสมาธิแล้ว เป็นสมาธิแล้ว ก็แผ่จิตแผ่ความรู้สึกของจิต อันประกอบ ไปด้วยเมตตา เมตตาไม่มีขอบเขตจำกัด เมตตากว้างขวางไม่มีขอบเขตจำกัด ไปในทิศทั้ง ๔ ไปในทิศทั้ง ๔ แผ่จิต ประกอบด้วยเมตตาอันไม่มีจำกัด ไปในทิศทั้ง ๔ อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าทิศทั้ง ๔ ในกรณีเช่นนี้ หมายความว่า ทั่วไปทั้งโลก ทั้งจักรวาลไม่มีขอบเขต
ลำดับที่ ๒ ก็แผ่จิตอันประกอบไปด้วยกรุณา กรุณาความคิดที่จะช่วย ความคิดที่จะช่วยนี่ เรียกว่า กรุณาไม่มีขอบเขตจำกัด แผ่ทั่วไปในทิศทั้ง ๔ แผ่จิตอันประกอบไปด้วยกรุณา มีขอบเขต ไม่จำกัดไปในทิศทั้ง ๔ ลำดับถัดไปก็แผ่จิตที่ประกอบอยู่ด้วยมุทิตา มุทิตามีความพอใจด้วยยินดีด้วย เป็นสุขด้วยในความเป็นสุขของผู้อื่น สัตว์ใดมีความสำเร็จในความปรารถนา มีสุขอยู่ก็ขอแสดง ความยินดีด้วยพอใจด้วย ไม่มีขอบเขตจำกัดทั่วไปในทิศทั้ง ๔ มุทิตาหมายถึง Sympathy เห็นอก เห็นใจ ยินดีด้วย มีความเห็นอกเห็นใจ เป็นเพื่อนทุกข์เพื่อนยากด้วยกัน อย่างนี้ก็ได้เรียกว่า มุทิตา มีความอ่อนโยนแห่งจิตใจ ลงไปเป็นเพื่อน เป็นมิตรสหายของสิ่งที่มีชีวิต แม้สัตว์เดรัจฉาน
ลำดับต่อไปก็แผ่จิตอันประกอบไปด้วยอุเบกขา ๆ อุเบกขาคำนี้ไม่ได้หมายความว่า เฉยเสีย แต่หมายความว่า คอยจ้องดูอยู่ว่าเมื่อไรจะช่วยได้ แม้อยู่นิ่ง ๆ นั่นละ แต่ว่าคอยจ้องดู ๆ อยู่ว่าเมื่อไร จะช่วยได้ จะช่วยทันที ความจ้องดูอยู่เฉย ๆ ว่าเมื่อไรจะช่วยได้นี่เรียกว่า อุเบกขา แผ่จิตอันประกอบ ไปด้วยอุเบกขา อันไม่มีขอบเขตจำกัดไปในทิศทั้ง ๔
สรุปแล้วมันก็ ๔ ความหมาย คือ ความรักความเมตตานี่อย่างหนึ่ง ความคิดจะช่วย คิดจะ ช่วย มีความเสียสละที่จะช่วย นี่ก็อย่างหนึ่ง แล้วก็ยินดี ๆ ไม่อิจฉาริษยาในผู้ที่ได้ประสบความสำเร็จ นี่อย่างหนึ่ง แล้วก็คอยจ้องดูอยู่เสมอว่าเมื่อไรจะช่วยได้ เมื่อโอกาสยังไม่มีก็ยังช่วยไม่ได้พอโอกาสมี ก็จะช่วยทันที อีกอย่างหนึ่ง เป็น ๔ อย่าง อย่างนี้เรียกว่า พระพรหมวิหาร คือ เป็นอยู่อย่างประเสริฐ เป็นการฝึกจิต จิตตภาวนาในพุทธศาสนา ท่านทั้งหลายก็ลอง หรือท่านทั้งหลายก็อาจจะเห็นได้ เอง แล้วว่าการปฏิบัติทั้ง ๔ อย่างนี้ในพุทธศาสนาจะนำไปใช้ปฏิบัติ เป็นหลักปฏิบัติในวัฒนธรรมอื่น ในศาสนาอื่นจะได้หรือไม่ ท่านทั้งหลายคิดดูเอง
ที่นี้ก็มาถึงจิตตภาวนา ในฐานะที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจ เป็นหัวใจของพุทธศาสนา คือ จิตตภาวนา ที่จะทำลายความเห็นแก่ตัว เป็นที่เกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย ทำลายความเห็นแก่ตัว อันเป็น ที่เกิด แห่งกิเลสทั้งหลาย นี่เป็นจิตตภาวนาหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา อย่างที่เรียกว่า เป็นหัวใจ มันมีความต่างระหว่างศาสนาอยู่เป็น ๒ อย่าง คือว่า ศาสนากลุ่มหนึ่งมีหลายศาสนา เน้น ๆ เรื่อง ความมีตัว มี Self มี soul มีตัวมีอัตตา นี่ ศาสนาอีกกลุ่มหนึ่งเน้นความไม่มีตัว ความไม่มีอัตตา
นี่ ปัญหามันก็มีขึ้นมา ว่าจะสอนกันอย่างไร จึงจะเกิดความไม่เห็นแก่ตัว แม้ในศาสนาที่ สอนว่ามีตัว และศาสนาที่สอนว่าไม่มีตัว การสอนว่ามีตัวมีอัตตา มีตัวนี้เป็นไปตามหลักของ สัญชาตญาณ มันก็มีความรู้สึกได้ง่ายว่ามีตัว แต่ก็ประสบความลำบาก ในการที่จะไม่ให้เห็นแก่ตัว ส่วนอีกกลุ่มศาสนาหนึ่ง สอนความไม่มีตัว ไม่มีตัว ถ้าเข้าถึงความไม่มีตัวโดยแท้จริง มันก็ไม่อาจจะ เห็นแก่ตัว มันก็มีความง่าย หรือความสะดวกหน่อย หรือมากก็ได้ในการที่จะสอนไม่ให้เห็นแก่ตัว แต่อย่างไรก็ดีทั้ง ๒ พวก ต้องสอนเรื่องความไม่เห็นแก่ตัวทั้งนั้น
แต่อย่างไรก็ดี วิธีสอนเรื่อง ไม่ให้เห็นแก่ตัว ในพระพุทธศาสนาที่สอนว่า ไม่มีตัวนี่ อาจจะ เอาไปใช้ได้กับศาสนาอื่น ลัทธิอื่น ที่สอนว่า มีตัว มีตัว เราใช้ระบบคำสอนและปฏิบัติเดียวกันได้ ทั้งใน ลัทธิศาสนาที่สอนว่ามีตัว และสอนว่าไม่มี ตัวใช้ร่วมกัน
ต่อไปนี้ก็คือ วิธี สอนให้ทราบความจริง เพื่อจะละความเห็นแก่ตัว มันใช้ได้ทั้งระบบศาสนา ทั้งที่สอนว่ามีตัว และสอนว่าไม่มีตัว
ขั้นแรกที่สุด เราทำจิตตภาวนา จิตตภาวนา นี่ อบรมจิตฝึกฝนจิตให้เห็นแจ้งความจริง ของธรรมชาติ ข้อแรกที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงเรื่อย ไหลเรื่อย เพราะมี เหตุปัจจัยปรุงแต่ง แล้วก็เปลี่ยนแปลง ไปตามเหตุตามปัจจัยที่ปรุงแต่ง มันจึงเปลี่ยนแปลงเรื่อย หรือไหลเรื่อย นี้เรียกว่า เห็นอนิจจังกันก่อน การมองเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เป็น นิจ นี้ก็สามารถทำลายความเห็นแก่ตัวได้บางระดับ แต่ยังไม่ถึงที่สุด เราจะต้องทำต่อไป
เราประกอบจิตตภาวนา ต่อไปให้เห็นว่า การที่ชีวิตต้องผูกพันกันอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยงนี้ เป็นความทุกข์ลำบาก เป็นความยาก เป็นความลำบาก และเป็น ลักษณะที่ดูแล้วน่าเกลียด มีอาการ อันน่าเกลียดนะ ความทุกข์แปลว่า ทนได้ลำบากไม่น่าพอใจ แล้วก็มีอาการที่น่าเกลียด เห็นแจ้งชัด ในเรื่องของความทุกข์ อย่างนี้ การมองเห็นว่าเราก็ดี เพื่อนมนุษย์ทั้งหมดของเราก็ดี มีความทุกข์ อยู่อย่างนี้ มันก็ลดความเห็นแก่ตัว ลดความ เห็นแก่ตัวลงได้มาก แต่ยังไม่ถึงที่สุด เรายังจะต้องทำ ต่อไป
ทีนี้ก็มาถึงจิตตภาวนา ที่ทำให้เห็นชัดว่า ชีวิตหรือสิ่งทั้งปวง ที่เนื่องกันอยู่กับชีวิตนี้ เป็น อนัตตา ไม่ควรถือหรือสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นอัตตา หรือ Self ความรู้สึกหรือ concept ว่าอัตตา อัตตานี้ เป็นความลวงของธรรมชาติ ของจิตที่ไม่รู้จักธรรมชาติ แล้วก็ถูกลวง คือ พอมันมีความรู้สึก ทางระบบประสาท ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น มันก็คิดว่าฉันรู้สึก ไม่ใช่ระบบประสาทรู้สึก เช่น ความรักเกิดขึ้น มันก็โง่ว่า ก็มีตัวฉันที่จะเป็นผู้รัก หรือความโกรธเกิดขึ้น ความที่น่าโกรธเกิดขึ้น มันก็คิดว่าฉันโกรธ ไม่ใช่ความรู้สึกตามระบบของธรรมชาติ ความรู้สึกใด ๆ ทุกอย่าง ล้วนแต่ทำให้ เกิดความคิดว่าฉัน ฉัน ฉันเป็นอย่างนั้น ฉันเป็นผู้กระทำอย่างนั้น นี่เรียกว่า ความรู้สึกว่าเป็นตัวตน นั้นเป็นความเข้าใจผิด เกิดมาจากความถูกลวงของธรรมชาติ โดยธรรมชาติแท้ ๆ ไม่ได้มีตัวตน ที่จะทำหน้าที่อย่างนั้น
เมื่อมี Concept ว่าตัวตนแล้ว มันก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมี concept ว่า ของตน มันเลยเป็น คู่กันว่า ตนกับของตน ภาษาไทยเรียกกันอย่างง่าย ๆ ว่า ตัวกูแล้วก็ของกู มันก็ไปเอาทุกสิ่งที่เข้ามา เนื่องกับตนนี่เป็นของตน อะไรก็ตามถ้ามันเนื่องกับตน ถ้าจะเป็นบวกหรือเป็นลบก็ตาม มันเอาเป็น ของตนหมด มันก็เลยมีปัญหาเพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่งว่า มีตัวตนด้วย มีของตนด้วย
ไอ้ความรู้สึกยึดถือว่า ของกู ของกูนี้ มันละเอียดอ่อนและกว้างขวาง ที่เป็นภายใน มันก็รู้สึก ว่าชีวิต ๆ นี้ก็ของกู ร่างกาย ๆ นี้ก็ของกู ที่เป็นภายในทั้งที่โดยแท้จริง เป็นของธรรมชาติ เป็นไปตาม ธรรมชาติ ก็เอามาเป็นของกู เสีย คล้ายกับปล้นหรือแย่งชิงมาจากธรรมชาติ เอามาเป็นของกู ที่เป็น ภายนอก ทรัพย์สมบัติ ข้าวของ บุตร ภรรยา สามี เกียรติยศ ชื่อเสียงที่เป็นภายนอก ก็เอามาเป็นของกู ของกู ๆ นี่กว้างขวาง ลึกซึ้งมหาศาล ทีเดียว คำว่า ของกู ของกู นี่
ถ้าเรากำจัดความรู้สึก หรือ Concept ว่า ตัวตนของตน ตัวกูของกู ออกไปเสียได้ ความเห็นแก่ตัว ไม่อาจจะเกิด ไม่อาจจจะเกิด โดยประการทั้งปวง การจะกำจัดความเห็นแก่ตน ออกไปเสียได้ ก็ต้องเห็นความจริงที่ว่า มันไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน หรือเป็นของตน มีแต่ของ ธรรมชาติ ที่เราไปเกี่ยวข้อง ยืมเอามาใช้มากกว่า เป็นของยืมมาใช้มากกว่า ในลัทธิศาสนาอื่น อาจจะ มีวิธีอย่างอื่น ที่จะตัดความเห็นแก่ตัว ในพุทธศาสนามีวิธีที่จะตัด ความเห็นแก่ตัว โดยการเห็นความ จริง ว่ามันไม่มีตัวและของตัว ไม่มีสิ่งที่ควรเรียกว่า ตัวและของตัว
แม้ว่าความรู้ เรื่องไม่มีตัว ไม่มีของตัวจะบรรเทาหรือ ตัดทอน ไอ้ความเห็นแก่ตัวได้หมดสิ้น เราก็ยังมีสิ่งที่ควรจะรู้สืบต่อไปอีก จากความเห็นว่าไม่มีตัว ไม่มีของตัว ยังมีความรู้ลำดับ ต่อไปอีก เมื่อรู้ความจริงเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างแจ่มแจ้ง ถึงที่สุดแล้ว ก็ยังมีความรู้ที่รู้ว่า โอ้, นี่มัน เช่นนี้เอง ธรรมชาติเป็นอย่างนี้เอง ความเป็นไปตาม ธรรมชาตินี้มันเป็นอย่างนี้เอง คือเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้เอง เป็นการตั้งอยู่ตามธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติอย่างนี้เอง ต้องรู้ความ เป็นอย่างนี้เองตามธรรมชาติ
ก่อความที่ต้องเป็นไปตามธรรมชาติอย่างนี้ เรียกชื่อว่า ธรรมธิตัดตา ธรรมธิตัดตา ๆ (นาทีที่ 01:06:14) เป็นสิ่งที่ต้องรู้ ฉะนั้นท่านเห็นว่ามันเป็นตามธรรมชาติ อย่างนี้แล้ว มันต้องรู้ต่อไปอีกว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ศึกษาต่อไปก็เห็นได้ว่า เพราะมันมีกฎของธรรมชาติบังคับ อยู่ เรียกว่า ธรรมนิยามตา (นาทีที่ 01:06:58) มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่ มันจึงเป็นอย่างนี้
กฎของธรรมชาติ หรือธรรมนิยามตา (นาทีที่ 01:08:08) อาจจะถูกเรียกในวัฒนธรรมอื่น หรือศาสนาอื่นว่า พระเจ้าหรือพระเป็นเจ้าก็ได้ เพราะมีพระเจ้าบังคับอยู่ มันจึงเป็นไปตามนั้นก็ได้ แต่ในพุทธศาสนา ว่ามีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่ เลยเรียกว่า ธรรมนิยามตา (นาทีที่ 01:08:26) เมื่อทำความเข้าใจแก่กันและกัน เราก็ควรจะเห็น ความหมายอันแท้จริงว่า กฎของธรรมชาติก็ดี พระเป็นเจ้าก็ดี มีอำนาจ ที่จะบังคับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ให้เป็นไปตามเป็นจริงอย่างนี้ เราจะเรียก กฎของธรรมชาติว่า Impersonal God ก็ได้ เราอย่ามี God แต่ personal อย่างเดียว เราจงมี Impersonal God ด้วย เราก็เข้าใจกันได้ ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นไปภายใต้ ของบังคับบัญชาของสิ่งที่เรียกว่า พระเป็นเจ้า ทั้ง Personal และทั้ง Impersonal ทั้งหลาย แล้วแต่เราจะชอบเรียกอย่างไหน
กฎของธรรมชาติ บังคับให้สิ่งทั้งปวง ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ คือ เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ที่ปรุงแต่งสิ่งนั้นอยู่ ทุกสิ่งต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ที่ปรุงแต่งสิ่งนั้นอยู่ อำนาจนี้ มาจากสิ่งสูงสุด ว่าสิ่งทั้งปวงต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่ ความจริงข้อนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ความที่ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ของสิ่งที่ปรุงแต่งสิ่งนั้นอยู่ เมื่อเราเห็นความจริง ว่าเป็นไปตามธรรมชาติอย่างนี้โดยกฎธรรมชาติบังคับอยู่ ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติอย่างนี้ แล้วก็เห็นความจริง ความจริงที่สรุปเป็นใจความสั้น ๆ ว่า โอ้, มันเป็นอย่างนี้เอง มันเป็นอย่างนี้เอง มันเป็นอย่างอื่นไม่ได้ มันเป็นอย่างนี้เอง นี้เรียกว่า เห็นตถาตา เห็นตถาตา
เมื่อสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามกฎเกณฑ์อย่างนี้ ตามความจริงอย่างนี้ ก็จะเห็นได้ชัดว่า สิ่งทั้งปวง นะไม่ควรจะยึดถือ Classify หรือ Regard สิ่งใด ๆ ว่า เป็นอัตตาหรืออัตนิยา เป็นตนหรือเป็นของตน มันจึงเห็นความจริงว่า โอ้, ไม่ไม่มีตัวตน Void of self ว่างจากสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน สุญตา สุญตาเป็น ชื่อของสิ่งนี้
เมื่อจิตได้ผ่านความจริง ๘ ขั้น อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จิตก็มาถึง ภาวะสูงสุด ภาวะ สูงสุดของจิต เรียกว่า อตัมมยตา เป็นจิตที่อะไร ๆ จะมาปรุงแต่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้อย่างโน้น ไม่ได้ มันจะคงที่อยู่ในความจริง คงที่อยู่ในความถูกต้องของสิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว จิตคงที่อยู่ใน ความถูกต้องอย่างยิ่งอย่างนี้ เรียกว่า อตัมมยตา ก็หมดปัญหา ภาวะสูงสุดของจิตอยู่ที่ อตัมมยตา คงที่ คงที่ คงที่ ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงได้ หรือจะมากระทำสิ่งใด ๆ ต่อจิต ให้หวั่นไหว ไม่ได้
มันเป็นคำที่แปลเป็นภาษา อื่นยาก เรียกโดยภาษาบาลีตามเดิมมันง่าย ว่าอะไร ๆ ปรุงแต่ง ให้เป็นอย่างไรไปไม่ได้ เราอยากจะตีความหมายว่านี้ เป็นการคุ้มครองของพระเป็นเจ้าก็ได้ ถ้าเราจะ อยากมีพระเป็นเจ้าอย่างบุคคล คุ้มครองไม่ให้อะไร ๆ มาแตะต้องได้ ไม่ให้อะไรมาทำอะไรได้ นี่ละคือ อตัมมยตา คงที่อยู่ในความถูกต้องคือ ความปลอดภัย ความบริสุทธิ์ ความสะอาด ความเป็นอิสระ ด้วยประการทั้งปวง จะเรียกให้ลูกเด็ก ๆ ฟังว่า Spiritual Equilibrium ก็ได้ จะเรียกให้ผู้ใหญ่ฟังว่า Unconditional ability of the mind ก็ได้แล้วแต่เราจะเรียกกัน เกี่ยวกับภาษา
ความคงที่ไม่หวั่นไหวของจิต ที่เรียกว่า อตัมมยตานี้ เราเข้าใจได้เมื่อนำไปเปรียบเทียบ ว่าหิมาลัยในเอเชีย แอลป์ในยุโรป ร็อกกี้ในอเมริกา ยังหวั่นไหวได้ หวั่นไหวได้ เมื่อแผ่นดินมันไหว แต่จิตที่มีอตัมมยตาหวั่นไหวไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถูกปรุงแต่งไม่ได้ นี่มันคงที่ถึงขนาดนี้ ๆ ความคงที่ขนาดนี้ นำไปใช้ในวัฒนธรรมอื่น ในศาสนาอื่นได้หรือไม่ ท่านตัดสินใจเอาเอง
ความจริงอันสูงสุดหรือสัจธรรม ๙ ประการนี้คือ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ธรรมธิตัดตา ธรรมนิยามตา (นาทีที่ 1:25:08) อิทัปปัจจยตา ตถาตา สุญตา อตัมมยตา ๙ อย่างนี้ จะนำไปใช้ ในวัฒนธรรมอื่นหรือศาสนาอื่นได้หรือมา ท่านคิดดูเองก็จะเห็นได้ อาตมาเสนอแนะมาในฐานะที่ว่า มันใช้ได้
สิ่งสุดท้ายที่จะต้องพูดก็คือ จิตตภาวนาอันสูงสุด สูงสุดยอดในพุทธศาสนาที่เรียกว่า ธรรมสมาธิ ธรรมสมาธิ สมาธิในสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะในทุกความหมาย ข้อนี้หมายความว่า เราไปเอา สิ่งสูงสุด สูงสุดกว่าสิ่งใด มาทำเป็นอารมณ์ของสมาธิ ในพุทธศาสนาจะเรียกว่า นิพพาน ในศาสนา ของลัทธิอื่นอาจจะเรียกว่า พระเป็นเจ้าหรืออะไรก็ตามเถิด แต่ขอให้หมายถึง สิ่งสูงสุดไม่มีสิ่งใด จะสูงไปกว่า นี่เราจะได้พิจารณากัน
เมื่อเราเตรียมจิตใจเหมาะสม แล้วเราก็ เอาอารมณ์สูงสุด คือ สิ่งสูงสุด จะเรียกว่า นิพพาน หรือจะเรียกว่า พระเป็นเจ้า หรือจะเรียกว่า อุดมธรรม อะไรก็ตาม แต่เรียกว่า สิ่งสูงสุดนั่นนะดีที่สุด มาเป็นอารมณ์ แล้วก็พิจารณาในลักษณะ ที่ให้เห็นว่า เอตัง สันตัง(นาทีที่ 01:29:38) สิ่งนี้สงบระงับ ที่สุด เอตัง ปะนิตัง (นาที ที่ 01:29:41) สิ่งนี้ละเอียดประณีต ละเอียดลึกซึ้งที่สุด อย่างนี้ก่อน
ต่อไปก็คือ สัพพะ สังขาระ สะมะโธ (นาทีที่ 01:30:51) เป็นที่สงบหยุดเสียได้ซึ่งการ ปรุงแต่งอันวุ่นวาย หยุดเสียได้ซึ่งการปรุงแต่งอันวุ่นวาย เรียกว่า สัพพะ สังขาระ สะมะโธ (นาทีที่ 01:31:15) นี้คือสิ่งที่มีค่าอัน สูงสุดของสิ่งที่ เราเรียกว่า สูงสุด ๆ กว่าสิ่งใด มันสูงสุดเพราะหยุด เสียได้ ซึ่งการปรุงแต่งอันวุ่นวาย
ต่อไปก็คือ สัพพู ปะทิ ปะติ นิสะโค สัพพู ปะทิ ปะติ นิสะโค สัพพู ปะทิ ปะติ นิสะโค สัพพู ปะทิ ปะติ นิสะโค (นาทีที่ 01:32:24) แปลว่า หยุดหรือโยนภาระหนัก หรือของหนักแห่งชีวิตออกไป เสียได้โดยสิ้นเชิง ไม่มีของหนักทั้งทางกาย และทางจิตใจ สัพพู ปะทิ ปะติ นิสะโค (นาทีที่ 01:32:49)
สรุปความสั้น ๆ ว่า สิ่งสูงสุด ๆ ที่เราบรรลุถึงนั้นนะ ทำให้เราหมดภาระหรือของหนัก โดยประการทั้งปวง
ข้อต่อไปเรียกว่า ตัณหักขโย (นาทีที่ 1:33:57) หมดความอยาก หยุดความอยาก หยุดความ หิว หยุดความหวัง โดยประการทั้งปวง อิ่ม ๆ เพราะไม่มีหิวอีกต่อไป ไม่มีหิวอีกต่อไป ก็เป็นอิ่ม นิรันดร นี่คุณสมบัติสูงสุดที่จะได้รับจากสิ่งสูงสุดคือ หยุดความอยาก หมดความอยาก
สิ่งถัดไปเรียกว่า วิราโค แปลว่า ปราศจากสิ่งผูกพัน ไม่มีสิ่งใดที่จิตใจไปเกาะเกี่ยวยึดถือ และหลงใหล จิตไม่ถูกผูกพันโดยสิ่งใด นี่เรียกว่า วิราโค
สิ่งต่อไปเรียกว่า นิโรโธ แปลว่า ความดับ สนิทดับไฟ หรือสิ่งที่เป็นปัญหา เป็นความร้อน เป็นความทุกข์ สิ่งนั้นดับสนิท เรียกว่า นิโรโธ
สิ่งสุดท้ายเรียกว่า นิพพานัง นิพพานัง ความเย็นนิรันดร เย็นในทุกความหมาย เย็นถึงที่สุด และเย็นอย่างนิรันดร
ข้อนี้ก็คือเราเอาสิ่งสูงสุด ๆ หรือคุณลักษณะของสิ่งสูงสุด มาเป็นอารมณ์ของจิตตภาวนา และทำไปตามลำดับอย่างนี้ เรียกว่า ธรรมสมาธิ สามารถจะนำไปปรับปรุงใช้กับลัทธิใด ๆ วัฒนธรรมใด ๆ ศาสนาใด ๆ ที่มุ่งหมายความดับเย็นแห่งชีวิต
ทบทวน กันในที่สุด ว่าจิตตภาวนา เพื่อความมีอิทธิบาท ก็ดี เพื่อความมีพรหมวิหาร ในทิศ ทั้ง ๔ ก็ดี พิจารณาสัจจะ ๙ ตา เพื่อทำลายความเห็นแก่ตัวก็ดี และธรรมสมาธิ มีสิ่งสูงสุดเป็นอารมณ์ แห่งสมาธินี้ก็ดี จะนำไปปรับปรุง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับลัทธิใด ๆ วัฒนธรรมใด ๆ ศาสนาใด ๆ ก็ได้ ดังที่เห็น ๆ อยู่ ว่าทุกคน ทุกชีวิต ต้องการความเย็นแห่งชีวิต ต้องการความดับทุกข์ ต้องการ ความหมดปัญหา อาตมาเสนอ ในฐานะที่เป็นจิตตภาวนาในพุทธศาสนา ว่าสามารถสนอง ความประสงค์อันนั้น ขอท่านทั้งหลายจงได้พิจารณาดูด้วยดีเทอญ
ความจริง ความจริงนั้นมีเพียงอย่างเดียว สิ่งสูงสุด สิ่งสูงสุดต้องมีเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเรา เข้าใจผิด เราจะเห็นเป็นหลายอย่าง และจะเกิดความขัดแย้งแตกต่างกัน สูญเสียความสงบสุขของโลก ขอให้ถึง ขอให้เข้าถึงความจริงอย่างเดียวสิ่งสูงสุดอย่างเดียว โดยหลักแห่งพระศาสนา ทุก ๆ ศาสนา โดยการกระทำจิตตภาวนา ตามวิธีการดังที่กล่าวมาแล้ว จงทุก ๆ ท่านเทอญ
เราได้พิจารณากันถึง The Supreme Truth , The Supreme Thing จนถึงที่สุดแล้ว และเวลาก็ หมดแล้ว ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายได้ตั้งอกตั้งใจฟัง ด้วยความอดทนมาเป็นเวลาเกือบ ๒ ชั่วโมง แล้ว จำเป็นต้องขอยุติการบรรยาย และขอแสดงความหวังว่า ท่านทั้งหลายคงจะได้รับประโยชน์ จากการศึกษาในเรื่องนี้ เพื่อจะปรับปรุงหน้าที่การงานของท่านทั้งหลาย ให้สำเร็จประโยชน์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอยุติการบรรยาย