แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้ จะได้พูดกันถึง ระบบจิตตภาวนา ในพระพุทธศาสนา ตามที่ท่านทั้งหลายควรจะ ทราบ คำว่าตามที่ควรจะทราบ มิได้หมายความแต่เพียงว่าจะกระทำกันอย่างไร แต่ควรจะทราบเลยไป ถึงว่า มันเป็นระบบที่อาจจะนำไปใช้ ที่ในระบบศาสนาหรือวัฒนธรรมใด ๆ ก็ได้ด้วย เราจะต้องระลึก นึกถึง ข้อเท็จจริง แต่ดึกดำบรรพ์โน้นว่า มีความเกี่ยวพันกัน ในระหว่างวัฒนธรรม นานาชนิดในโลก แม้ศาสนาทั้งหลาย ก็มีความเกี่ยวพันกันโดยไม่รู้สึกตัว คือว่า ถ่ายทอดไปจากระบบวัฒนธรรมต่าง ๆ ไปรวมกันเข้าเป็นศาสนาหนึ่ง ๆ ก็ได้
ความจริงที่สำคัญที่สุดก็คือว่า มนุษย์เรานั้น แม้จะมีความแตกต่างกันในการเป็นอยู่ หรือดำรง ชีพในภายนอก แต่ว่าในภายในในจิตใจนั้นนะ มันเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือมันมีกิเลส ที่เรียกว่า ราคะ โทสะ โมหะ นี่เหมือนกัน เหมือนกันโดยธรรมชาติ
ความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า มนุษย์ทุกคนนะ มีความกลัวเหมือน ๆ กัน และอยากจะพ้นจาก สิ่งที่ตนกลัว หรือตนเกลียดเหมือน ๆ กัน เมื่อรู้จักไอ้ความกลัว ความน่ากลัว สูงขึ้นไปถึงเรื่องจิตใจ ระบบศาสนามันก็เกิดขึ้น มันจึงต้องมีความคล้ายคลึง ในการที่มันมีมูลเหตุมาจากความกลัวด้วยกัน
ความกลัวที่เนื่องด้วยปัญหาทางวัตถุหมดไปได้ง่าย ๆ แต่ความกลัว ที่เนื่องด้วยปัญหาทาง จิตใจนั้น ลึกซึ้ง ๆ ยากที่จะหมดไปโดยง่าย ก็เป็นหน้าที่ของศาสนา ที่จะต้อง จัดการแก้ไขในปัญหา ข้อนี้
เมื่อปัญหาในทางจิตใจ เหลืออยู่เป็นของเรื้อรังอยู่ ในโลกอย่างนี้ ระบบจิตตภาวนา จิตตภาวนา ก็เกิดขึ้น เพื่อจะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทางจิตใจ
คำว่า จิตตภาวนา มีความหมายได้หลายอย่าง เช่นว่า ทำจิตให้เจริญ ทำจิตให้เจริญ ให้สูงสุดไป ในทางจิต นี้ก็ได้ หรือจะสร้างความเจริญในแขนงอื่น ในด้านอื่น แต่อาศัยจิตเป็นเครื่องมือ อย่างนี้ก็ได้ ล้วนแต่เรียกว่า จิตตภาวนา จิตตภาวนาด้วยกันทั้งนั้น
ระบบจิตตภาวนาก็ต้องอาศัยความจริง หรือข้อเท็จจริงของธรรมชาติ นะเป็นหลักใหญ่ เพราะ ว่าจะทำอะไร ๆ ให้ฝืนหลักของธรรมชาตินั้น ยากที่จะเป็นไปได้ และอาจจะไม่สำเร็จประโยชน์อะไร ระบบจิตตภาวนาจึงมีความจริงตั้งอาศัยอยู่บนความจริงของสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติ
จิตตภาวนาในพุทธศาสนาก็อาศัย หลักเกณฑ์อันนี้ คือ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เพื่อให้ สำเร็จประโยชน์ อยู่ในโลกนี้ ได้แท้จริง โดยไม่ฝืนกันกับกฎของธรรมชาติ
และในที่สุดก็สรุปเป็นใจความได้ สั้น ๆ ว่า เราจะอาศัยสิ่งที่เรียกว่า จิตใจนั่นแหละ เป็นที่ตั้ง แห่งการศึกษาค้นคว้า การปฏิบัติ และก็ได้รับผลออกมา เป็นการแก้ปัญหาและประสบความสุข ในด้านจิตใจ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า จิตตภาวนา จิตตภาวนา ทำความเจริญด้วยจิตใจ
ในวันนี้ก็มุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นว่า ระบบจิตตภาวนาในพุทธศาสนานั้น อาจจะนำไปปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสมกับ ระบบวัฒนธรรม หรือศาสนาอื่น ๆ ได้อยู่มากทีเดียว อยู่มากทีเดียว
การกระทำจิตตภาวนานี้ ก็ต้องมีการตระเตรียม เรียกว่า เตรียมเพื่อเป็นการตระเตรียม เตรียมร่างกาย เตรียมจิตใจ หรือว่าเตรียมที่ ที่ที่จะอาศัย จะตั้งอยู่ จะเป็นไป หรือแม้ที่สุดแต่เรื่อง อาหารการกิน ก็ล้วนแต่ มีการตระเตรียมให้เหมาะสมทุกอย่าง เพื่อจิตตภาวนา
ที่ที่ปราศจากการรบกวน เป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับจิตตภาวนา ดังนั้นเราจึงแสวงหาเท่าที่ จะแสวงหาได้ เท่าที่จะแสวงหาได้
ที่นี้เราก็จะได้พูดกันถึงเรื่องจิตตภาวนาโดยตรง เรื่องแรกคือ ระบบพื้นฐานทั่ว ๆ ไป สำหรับการฝึกฝนจิตให้มีสมรรถนะ มีกำลัง ในการปฏิบัติหน้าที่ของจิต
เรามุ่งหมายจะฝึกฝน ในการมี สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สมบูรณ์ที่สุด และให้ความพากเพียร พยายามของเราก็สมบูรณ์ด้วย เราจึงมีระบบพื้นฐานสำหรับการฝึกสติ และความเพียรของเรา เป็นอย่างยิ่งก่อน
นี่เรามีสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท อิทธิบาท คือ รากฐานแห่งความสำเร็จ ที่ต้องฝึกอยู่ ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
เรามีวิธีฝึก สิ่งที่เราจะต้องฝึก โดยการทำให้มี อิทธิบาทแต่ละอย่าง ละอย่างนี้ สมบูรณ์ที่สุด เท่าที่จะทำได้
เรามีหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ประกอบความเพียร มีฉันทะอิทธิบาทเป็นประธาน ความเพียร ที่ประกอบนั้นมีฉันทะอิทธิบาท คือ มีความสำเร็จที่อาศัยอยู่ในเรื่องของฉันทะนั้นนะ เป็นประธาน เป็นประธาน แล้วก็เป็นหัวหน้า เป็นหัวหน้าแห่งความเพียร ประกอบความเพียร มีฉันทะอิทธิบาท เป็น ประธาน
และในขณะต่อไปก็คือ การประกอบความเพียร มีวิริยะอิทธิบาทเป็นประธาน ข้อนี้เราฝึกซ้อม ในส่วนที่เป็นเรื่องความพากเพียรและความกล้าหาญ
ขณะต่อไปเราก็ฝึกความเพียร มีจิตตะอิทธิบาทเป็นประธาน Intention Intention ในสิ่งที่เรา จะกระทำ เราฝึกให้มันสูงสุด ที่เรียกว่า ความเพียรมีจิตตะอิทธิบาทเป็นประธาน
ในขณะต่อไปเราก็ฝึก ความเพียรมีวิมังสาอิทธิบาทเป็นประธาน คือมีใจ มีการใคร่ครวญอยู่ อย่างละเอียดลออ นี่ เป็นประธานในการฝึก
ท่านลองใคร่ครวญดูเองว่า เราฝึกให้มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ให้ถึงระดับสูงสุด นี้มันเพิ่ม สมรรถนะของจิตนั้นเอง ให้เป็นจิตที่สามารถทำอะไรได้ โดยถูกต้องสมบูรณ์และว่องไว มี Activeness มากที่สุด
ท่านก็ลองคิดดูเองว่า หลักปฏิบัติ ๔ ประการนี้ จะนำไปใช้ในวัฒนธรรมอื่น ในศาสนาอื่น ได้หรือไม่
ที่นี้ก็มาถึงหมวดที่เราจะฝึก เพื่อความมีเมตตา เมตตาธรรม ความมีเมตตาธรรม ในสิ่งทุกสิ่ง เรียกว่า พรหมวิหาระ เป็นอยู่อย่างประเสริฐ
หมวดนี้มีสูตรสำหรับปฏิบัติ ก็คือว่า พยายามตระเตรียม จิตเป็นอย่างดี มีสมาธิแล้ว เป็นสมาธิ แล้ว ก็แผ่จิต แผ่ความรู้สึกของจิต อันประกอบไปด้วยเมตตา เมตตาไม่มีขอบเขตจำกัด เมตตากว้างขวาง ไม่มีขอบเขตจำกัด ไปในทิศทั้ง ๔ ไปในทิศทั้ง ๔ แผ่จิต ประกอบด้วยเมตตา อันไม่มีขอบเขตจำกัด ไปในทิศทั้ง ๔ อยู่ตลอดเวลา
คำว่าในทิศทั้ง ๔ ในกรณีเช่นนี้ หมายความว่า ทั่วไปทั้งโลก ทั้งจักรวาล ไม่มีขอบเขต
ลำดับที่ ๒ ก็แผ่จิตอันประกอบไปด้วยกรุณา กรุณา ความคิดที่จะช่วย ความคิดที่จะช่วย นี้เรียกว่า กรุณาไม่มีขอบเขตจำกัด แผ่ทั่วไปในทิศทั้ง ๔ แผ่จิตอันประกอบไปด้วยกรุณา มีขอบเขต ไม่จำกัดไปในทิศทั้ง ๔
ลำดับถัดไปนี่ ก็แผ่จิตที่ประกอบอยู่ด้วย มุทิตา มุทิตา มีความพอใจด้วย ยินดีด้วย เป็นสุขด้วย ในความเป็นสุขของผู้อื่น เมื่อสัตว์ใดมีความสำเร็จในความปรารถนา มีความสุขอยู่ ก็ขอแสดงความยินดี ด้วย พอใจด้วย ไม่มีขอบเขตจำกัด ทั่วไปในทิศทั้ง ๔
มุทิตาหมายถึง Sympathy เห็นอกเห็นใจ ยินดีด้วย มีความเห็นอกเห็นใจ เป็นเพื่อนทุกข์ เพื่อนยากด้วยกัน อย่างนี้ก็ได้เรียกว่า มุทิตา มีความอ่อนโยนแห่งจิตใจ ลงไปเป็นเพื่อน เป็นมิตรสหาย ของสิ่งที่มีชีวิต แม้สัตว์เดรัจฉาน
ลำดับดับต่อไปก็ แผ่จิตอันประกอบอันไปด้วย อุเบกขา อุเบกขา อุเบกขาคำนี้ไม่ได้หมายความ ว่า เฉยเสีย แต่หมายความว่า คอยจ้องดูอยู่ว่า เมื่อไรจะช่วยได้ นะอยู่นิ่ง ๆ นี่ แต่ว่าคอยจ้องดู จ้องดูอยู่ว่า เมื่อไรจะช่วยได้จะช่วยทันที การจ้องดูอยู่เฉย ๆ ว่าเมื่อไรจะช่วยได้ นี้เรียกว่า อุเบกขา แผ่จิตอันประกอบ ไปด้วยอุเบกขา ไม่มีขอบเขตจำกัด ไปในทิศทั้ง ๔
สรุปแล้วมันก็ ๔ ความหมายคือ ความรัก ความเมตตา นี้อย่างหนึ่ง ความคิดจะช่วย คิดจะช่วย มีความเสียสละที่จะช่วยนี้อย่างหนึ่ง แล้วก็ยินดี ยินดี ไม่อิจฉาริษยา ในผู้ที่ได้ประสพความสำเร็จ นี้อย่างหนึ่ง คอยจ้องดูอยู่เสมอว่าเมื่อไรจะช่วยได้ เมื่อเมื่อโอกาสยังไม่มี ก็ยังช่วยไม่ได้ พอโอกาสมีก็จะ ช่วยทันที อีกอย่างหนึ่ง เป็น ๔ อย่าง อย่างนี้เรียกว่า พระพรหมวิหาระ คือ เป็นอยู่อย่างประเสริฐ เป็นการฝึกจิต จิตตภาวนาในพุทธศาสนา
ท่านทั้งหลายก็ลอง ท่านทั้งหลายก็อาจจะเห็นได้เองว่า การปฏิบัติทั้ง ๔ อย่างนี้ในพุทธศาสนา จะนำไปใช้ปฏิบัติ เป็นหลักปฏิบัติ ในวัฒนธรรมอื่น ในศาสนาอื่นจะได้หรือไม่ ท่านทั้งหลายคิดดูเอง
แล้วทีนี้ก็มาถึงจิตตภาวนา ในฐานะที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจ เป็นหัวใจ ของพุทธศาสนา คือ จิตตภาวนา ที่จะทำลายความเห็นแก่ตัว อันเป็นที่เกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย ทำลายความเห็นแก่ตัว อันเป็นที่เกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย นี้เป็นจิตตภาวนาหลักสำคัญในพุทธศาสนา อย่างที่เรียกว่า เป็นหัวใจ
มันมีความต่าง ระหว่างศาสนาอยู่เป็น ๒ อย่าง คือว่า ศาสนากลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีหลายศาสนานะ เน้น เน้นเรื่องความมีตัว มีเชื้อ มีตัว มีตัวมีอัตตานี้ ศาสนาอีกกลุ่มเน้น เรื่องความไม่มีตัว ความไม่มีอัตตา นี่ปัญหามันก็มีขึ้นมาว่า จะสอนกันอย่างไร จึงจะเกิดความไม่เห็นแก่ตัว แม้ในศาสนาที่สอนว่ามีตัว และศาสนาที่สอนว่าไม่มีตัว
การสอนว่ามีตัว มีอัตตา มีตัวนี้ เป็นไปตามหลักของสัญชาตญาณนี้ก็มีความรู้สึกได้ง่ายว่ามีตัว แต่ก็ประสบความลำบากในการที่จะไม่ให้เห็นแก่ตัว ส่วนศาสนาอีกกลุ่มสอนความไม่มีตัว ไม่มีตัว ถ้าเข้าถึงความไม่มีตัวโดยแท้จริง มันก็ไม่อาจจะเห็นแก่ตัว มันก็มีความง่ายหรือสะดวกกันหน่อย หรือมากก็ได้ ในการที่จะสอนไม่เห็นแก่ตัว แต่อย่างไรก็ดี ทั้ง ๒ พวกก็สอนเรื่องความไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนั้น
แต่อย่างไรก็ดี วิธีสอนเรื่องไม่ให้เห็นแก่ตัว ในพุทธศาสนาที่สอนว่าไม่มีตัวนี้ อาจจะเอาไปใช้ ได้กับศาสนาอื่น ลัทธิอื่น ที่สอนว่ามีตัว มีตัว ก็ใช้ระบบคำสอนและปฏิบัติเดียวกันได้ ทั้งในลัทธิศาสนา ที่สอนว่ามีตัวและสอนว่าไม่มีตัว ใช้ร่วมกัน
ต่อไปนี้ก็คือ วิธีสอนให้ทราบความจริง เพื่อจะละความเห็นแก่ตัว ไปใช้ได้ทั้ง ระบบศาสนา ที่สอนว่ามีตัวและสอนว่าไม่มีตัว
ขั้นแรกที่สุดเราทำจิตตภาวนา จิตตภาวนา อบรมจิต ฝึกฝนจิต ให้เห็นแจ้งความจริง ของธรรมชาติ ข้อแรกที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงเรื่อย ไหลเรื่อย เพราะมีเหตุ ปัจจัยปรุงแต่ง แล้วก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยที่ปรุงแต่ง มันจึงเปลี่ยนแปลงเรื่อยหรือไหลเรื่อย นี้เรียกว่า เห็นอนิจจังกันก่อน