แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
คณะสันติอโศก : ยืนยันผลการปฏิบัติการจรณะ ๑๕ หรือเปล่า (นาทีที่ 0:20) มีหลักฐานในพระไตรปิฎกหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เรื่องยืนยันนี้ คือว่าท่านไม่ ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องยืนยัน แต่เราถือกันเป็นหลักทั่วไปว่า ไอ้สิ่งที่ท่านเอามาตรัสแล้วเป็นอันว่ายืนยัน แต่จะเอาคำพูดยืนยันโดยตรงนั้นมันไม่มี มันไม่มีธรรมเนียม จะมีบ้างก็ไม่กี่เรื่องที่ต้องมายืนยันกันอีก ถือว่าถ้าเป็นเรื่องที่ท่านเลือกเอามาตรัสก็เป็นอันว่าท่านแน่ใจว่ามันจะมีผล ใคร (นาทีที่ 1:08) จะไปยืนยันโดยอัตโนมัติ
คณะสันติอโศก : ข้อ ๕ วิชาคืออะไร ประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ๆ อะไรบ้าง
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ถ้าเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ วิชา ก็คือ วิชาที่เรียกว่า "วิชชา ๓" ญาณเป็นเหตุให้ระลึกได้ถึงขันธ์ ในภพก่อนๆ แล้วก็มายังงั้น (นาทีที่ 1:38) ที่เรียกว่า "ปุพเพนิวาสานุสติญาณ" แล้วการเห็นสัตว์เวียนว่ายไปตามกรรม เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" เมื่อเห็นอาสวะ เหตุให้เกิดอาสวะ ความดับอาสวะ ทางจึงดับอาสวะ นี้เรียกว่า "อาสวักขยญาณ" เป็นความรู้ระดับสูงสุดเกี่ยวกับการบรรลุพระอรหันต์ วิชชาในที่นี้หมายถึงอย่างงั้น ถ้าเราเอามาใช้ในวิชาทั่วไปในเรื่องโลกๆ มันก็..มันก็ได้เหมือนกัน แต่ความมุ่งหมายเดิมของเขาเพื่อจะบรรลุพระอรหันต์ ที่เรียกว่า "วิชชา" ในที่นี้คือ รู้ขนาดบรรลุพระอรหันต์ คือสิ้นกิเลส หลักปฏิบัตินี้จะมาใช้วิชาหาวิชชาธรรมดาก็ได้เหมือนกัน แม้ไม่ถึงนะ (นาทีที่ 2:57)
คณะสันติอโศก : ข้อ ๖ วิชชามีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎกหรือไม่ เช่นใด
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไอ้วิชชาเนี่ย ถ้าใช้คำว่า วิชชา ชช วิชชาสาร (นาทีที่ 3:13) มีทั่วไปในพระไตรปิฎก เป็นสิบๆ แห่ง เป็นร้อยแห่ง ในพระไตรปิฎก ก็ล้วนแต่วิชชาอย่างที่ว่าเนี่ย เป็นวิชชาที่ถึงขั้นการบรรลุพระอรหันต์
คณะสันติอโศก : ข้อ ๗ วิชชาค่า (นาทีที่ 3:41) สูงสุดในพุทธวิชชาคืออะไร มีได้อย่างไร ปัจจุบันมีหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เอ...วิชชาสูงสุดก็คือข้อที่ ๓ ของวิชชา ๓ คือรู้ที่ทำให้สิ้นกิเลส สิ้นอาสวะ มีได้เมื่อมีการบรรลุพระอรหันต์ ถ้าเวลานี้มันมีการบรรลุพระอรหันต์ก็มีได้ แต่เราไม่อาจจะยืนยันว่ามีได้อย่างไร ที่ไหน ก็ถือตามหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เรามีการปฏิบัติชอบ เป็นอยู่ชอบ โลกก็ยังไม่ว่างจากพระอรหันต์ ถ้าถามอย่างนี้ก็ตอบได้เพียงเท่านี้
คณะสันติอโศก : ข้อ ๘ พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายพุทธวิชชาไว้ว่าอย่างไร ที่ไหน
ท่านพุทธทาสภิกขุ : พุทธวิชชา คุณจะหมายถึงวิชชา ๓ รึ ต้องหมายถึงวิชชา ๓ อย่างที่ว่า มีมากอย่างที่ว่า หลายสิบแห่ง ตั้งร้อยแห่งในพระไตรปิฎก ที่จะดูกันให้ละเอียด สะดวกๆ ก็สูตรอยู่ตอนต้นๆ ของคำภีร์ทีฆนิกาย ระบุสามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย ควรจะไปหาดูจากที่นั่น มันง่าย มันสะดวก และมันละเอียดกว่าที่อื่น วิชชาทั้ง ๓
คณะสันติอโศก : ข้อ ๙ พระพุทธเจ้าสรรเสริญวิชชา ที่ไม่ใช่พุทธวิชชาหรือไม่ ที่ใด
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็ไม่มีอะ ไอ้พุทธวิชชาเช่นนี้ (นาทีที่ 5:30) คำว่าพุทธวิชชานี้ท่านก็ไม่เคยใช้ และโดยมากเราก็ไม่ค่อยได้ใช้ ไม่ใช่ว่าวิชชา ๓ ก็เป็นอันรู้กันว่าวิชชาในพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสั่งสอน ถ้าว่าไม่ใช่พุทธศาสนามันก็ต้องเป็นวิชชาที่ไม่ใช่วิชชา ท่านก็ไม่ได้สอน จะกลายเป็น รู้ผิด เห็นผิด หลุดพ้นผิด ไปเสียมากกว่า งั้นก็เป็นอันว่าไม่ดี (นาทีที่ 6:06) ที่ไม่ใช่...ที่ไม่ใช่พุทธศาสนาก็ต้องถือว่าไม่ดี ถ้าเป็นวิชชาที่ถูกต้องก็ต้องเป็นพุทธศาสนา
คณะสันติอโศก : ข้อ ๑๐ พุทธวิชชาเป็นวิชชาที่พระพุทธองค์กำหนดไว้สำหรับผู้ใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่มีโจทย์กำหนดสำหรับใครโดยเฉพาะ นอกจากว่าสำหรับผู้ที่จะบรรลุพระอรหันต์ ไม่ระบุคนนั้นคนนี้ เป็นระบุรวมๆ ว่า ยอดสุดของการปฏิบัติเพื่อบรรลุวิชชา แล้วก็เป็นพระอรหันต์ แล้วก็ใครก็ได้
คณะสันติอโศก : ส่วนที่ ๒ ค่ะ (นาทีที่ 6:52) ข้อ ๑ การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้าแปลว่าอะไร เป็นอย่างไรจึงเรียกว่าบรรลุธรรม
ท่านพุทธทาสภิกขุ : กำกวมว่า การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า คือที่พระพุทธเจ้าท่านบรรลุเอง หรือว่าที่จะ คนอื่นจะบรรลุของท่าน หมายความว่ายังไง อืม..การที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะบรรลุธรรมตามแบบของพระพุทธเจ้า จะถามว่ายังไง ถามว่ายังไง
คณะสันติอโศก : การที่คนอื่นจะบรรลุธรรมตามแบบของพระพุทธเจ้าแปลว่าอะไร เป็นอย่างไรจึงเรียกว่าบรรลุธรรม
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็แปลว่า บรรลุถึงความหมดกิเลส ความสิ้นกิเลส จึงจะเรียกว่าบรรลุธรรมโดยแท้จริง บรรลุโดยแท้จริง โดยถูกต้อง โดยสมบูรณ์ ก็คือบรรลุถึงความหมดกิเลส ความสิ้นกิเลส เรียกกันง่ายๆ ว่า บรรลุพระอรหันต์ บรรลุความเป็นพระอรหันต์
คณะสันติอโศก : ข้อ ๒ การบรรลุธรรม รู้อะไร รู้อย่างไร ใครเป็นผู้รู้ เหมือนกันหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็ต้องตาม..นั่นก็ต้องว่ารู้ อริยสัจ ๔ คือผู้นั้นจะต้องรู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รู้ความดับแห่งทุกข์ รู้ทางอันเป็นความดับแห่งทุกข์ และก็รู้ด้วยตนเอง ไม่มีทางที่จะรู้แทนกันได้
คณะสันติอโศก : เหมือนกันมั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เหมือนกับใคร
คณะสันติอโศก : แต่ละคน
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ๋อ แต่ละคนถ้าบรรลุนี่ก็ต้องเหมือนกัน ต้องบรรลุสิ่งเดียวกันเนี่ย แล้วก็มวล (นาทีที่ 8:40) ก็เหมือนกัน ดับทุกข์ถึงที่สุดได้เหมือนกัน
คณะสันติอโศก : ข้อ ๓ การบรรลุธรรมมีขั้นตอนหรือไม่ แยกออกได้ชัดเจนหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ่าก็เหมือนที่ว่า จรณะ ๑๕ เนี่ย คือขั้นตอน ขั้นตอนอย่างอื่นก็มีแจกอย่างอื่น กล่าวไว้อย่างอื่นก็มี แต่ว่า จรณะ ๑๕ นี้ก็คือขั้นตอนลูกนะ ขั้นตอนระบอบของมัน (นาทีที่ 9:09) ไปร่ายดู จากนั้นก็ ๓ หมวดน่ะ ขั้นตอนที่เป็นศีลโดยตรง ขึ้นตอนที่เป็นหมวดธรรมอุปกรณ์แก่ศีลและแก่สมาธิ แล้วก็ขั้นตอนที่ ๓ ก็คือ สมาธิโดยตรง มันก็เป็นขั้นตอนอย่างนี้
คณะสันติอโศก : หมายถึงว่าขั้นตอนของการแบ่งพระอริยบุคคล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นั่นก็ผล ถ้าการปฏิบัติก็มีขั้นตอนอย่างนี้ มีขั้นตอนอย่างจรณะ ๑๕ หรือที่กล่าวไว้อย่างอื่นก็มี นี้ขั้นตอนแห่งการปฏิบัตินะ ก็ดูได้ง่ายที่สุดในสามัญญผลสูตรที่ว่าเมื่อตะกี้อีกแหละ ที่นี้การบรรลุผลก็มีขั้นตอนที่เรียกกันว่าอริยบุคคล ๔ เป็น โสดา สกิทาคา อนาคา และอรหัตถ์ นี้ก็เป็นขั้นตอน กลุ่มหนึ่งคือว่าชุดหนึ่ง ที่นี้เขายังมีขั้นตอนอย่างอื่น เช่นว่าเป็นพระอรหันต์หรือเป็นปัจเจกพุทธะ หรือว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ อย่างโน้นมันเป็นขั้นตอนของกลุ่มใหญ่ๆ เป็นลำดับ สูงยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ที่นี้ขั้นตอนที่ว่านี่ก็ในเฉพาะในกลุ่มน้อย คือกลุ่มของพระสาวกที่จะบรรลุเป็นโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตถ์ ก็เป็นขั้นตอน ส่วนนี้เป็นผล ขั้นตอนของผล ขั้นตอนของการปฏิบัติก็มีอยู่แล้ว แล้วพอบรรลุผลก็มีขั้นตอนการบรรลุผลอีกที
คณะสันติอโศก : ขั้นตอนเหล่านี้แยกได้ชัดเจนหรือเปล่าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มีชัดเจนในพระบาลีนั้น (นาทีที่ 11:17) ขั้นตอนเกี่ยวกับอริยบุคคล ๔ ก็มี ในสูตรหลายสูตรนะ สูตรชื่ออะไรบ้างก็นึกไม่ได้ จำไม่ได้ นั่นคือไม่อยากจะจำ แต่ไปค้นดูได้ ในหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ก็เอามาใส่ไว้บางสูตร พอจะรู้ลักษณะของ โสดา สกิทาคา อนาคา และอรหัตถ์
คณะสันติอโศก : ข้อ ๔ ขั้นของการบรรลุธรรมแต่ละขั้นแตกต่างกันอย่างไร
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไหนว่าใหม่ ฟังไม่ค่อยถูก
คณะสันติอโศก : ขั้นของการบรรลุธรรมแต่ละขั้น หมายความว่า ขั้นพระโสดา ขั้นพระสกิทาคา อย่างนี้เจ้าค่ะ แตกต่างกันยังไง
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว..มันก็ต้องว่า ขั้นปฏิบัติ ถ้า...ขั้นๆ (นาทีที่ 12:11) อันนี้เป็นขั้นการปฏิบัติ ก็คือดีขึ้น สูงขึ้นๆ เวลาขั้นของการบรรลุผล มันก็คือสูงขึ้นๆ เหมือนกัน คำว่าขั้นในที่นี้ว่างรูปแบบไว้ในลักษณะที่มันสูงขึ้นๆ
คณะสันติอโศก : สูงขึ้นหมายความว่าไงคะท่าน
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็หมายความว่า อย่างปฏิบัติอย่างนี้ได้ แล้วก็ปฏิบัติที่ยิ่งไปกว่านั้นได้ ก็ปฏิบัติที่ยิ่งไปกว่านั้นได้ ก็ปฏิบัติที่ยิ่งไปกว่านั้นจนกว่าจะถึงที่สุด นี่เรียกว่าขั้น เช่นเป็นพระ..เออ..ถ้าเป็นเรื่องผล เรื่องการบรรลุผล พระโสดาบัน ก็ละสังโยชน์ได้ ๓ พระสกิทาคามี ก็ละสังโยชน์ได้ ๓ แปลว่าทำให้อย่างอื่นเบาบางลงไปได้อีก พระอนาคามี ก็ละได้ ๕ พระอรหันต์ก็ละได้หมดทั้ง ๑๐ อย่างงี้ก็เรียกว่า "ขั้นตอน"
คณะสันติอโศก : ข้อ ๕ ก่อนการบรรลุธรรมขั้นกลาง และขั้นสูง ผู้บรรลุทุกคนต้องผ่านการบรรลุขั้นต่ำก่อนหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อะไรขั้นกลาง คือว่าถ้ามันมีตั้ง ๒๐ ขั้นเนี่ย อะไรจะเป็นขั้นกลาง
คณะสันติอโศก : ก็ประมาณเอาเจ้าค่ะ หมายความว่าต้องผ่านขั้นต้นหรือไม่เจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ๋อ มันต้องตั้งต้นทั้งนั้นแหละ ต้องตั้งต้น เช่นว่าจะเอากันสั้นๆ ศีล สมาธิ ปัญญา มันก็ต้องผ่านศีล จึงมีสมาธิ จึงมีปัญญา แม้ว่าจะทำพร้อมๆ กัน มันก็แบ่งได้ว่าอะไรมันต่ำกว่า เหนือกว่า สูงกว่า ไอ้ขั้นตอนของปฏิบัติตลอดแนวนี้มันก็จะมีลักษณะสูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น
คณะสันติอโศก : ข้อ ๖ ใครบ้างที่จะสามารถบรรลุธรรมแบบพระพุทธเจ้าได้ ปัจจุบันมีหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คนที่จะบรรลุธรรมแบบพระพุทธเจ้า มันก็คือคนที่จะเป็นแบบพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คนธรรมดา เขาจึงมีไว้ระดับหนึ่งสำหรับผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ก็มีธรรมะระดับนั้น แม้ทุกคนนอกนั้นไม่ต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้า หรือไม่อาจจะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต้องปฏิบัติไอ้ธรรมะระดับนั้น ปฏิบัติอย่างที่จะเป็นพระสาวก จึงมีระดับที่จะเป็นพระสาวก ระดับที่จะเป็นปัจเจกกับพุทธะ ระดับที่จะเป็นสัมมาสัมพุทธะ ในระดับที่จะเป็นสาวกก็ยังมีหลายระดับย่อยๆ ออกไป ไอ้ธรรมะสำหรับพระพุทธเจ้าก็มีสำหรับผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สำหรับคนทั่วไป
คณะสันติอโศก : แล้วสำหรับผู้ที่จะเป็นพระสาวกนี้ มีใครบ้างที่จะบรรลุได้เจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ฮืม..ถามกันที่ไหน เมื่อไหร่ล่ะ หมายถึง ที่ไหน เมื่อไร...เวลานี้ ?
คณะสันติอโศก : เจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไอ้คนที่มันปฏิบัติถูกต้องที่สุดบรรลุได้ มันไประบุไม่ได้ ใคร ที่ไหน แต่คนที่ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมะที่วางไว้คนนั้นบรรลุได้
คณะสันติอโศก : ปฏิบัติถูกต้องแปลว่าอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็คือปฏิบัติตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ถูกต้องตามนั้น แล้วก็ครบถ้วนตามนั้น
คณะสันติอโศก : มีแนวในการปฏิบัติยังไงบ้างเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว ก็เช่น จรณะ เป็นต้น คุณถามยังไง ไม่มองเห็นหรือ มองข้ามมัน อย่างน้อยก็จรณะ ๑๕ นี้ก็แนวหนึ่งแล้ว ที่นี้ก็มีแนวอื่นที่เขาเรียกชื่อย่างอื่น ที่ดีที่สุดก็ในนั้นอีกล่ะ ในสามัญญผลสูตรนี่ไปดูเถอะ มีอยู่สักสิบ ๑๖ หรือ ๑๗ ขั้น แล้วในสูตรอื่นๆ ก็มี คล้ายกันน่ะ เหมือนกันก็มี ในสูตรอื่นๆ ก็มี แล้วจะมีไว้ตั้งแต่ออกบวช แล้วก็มีศีล แล้วก็มีอะไรเรื่อยๆๆๆ ไป จนเกิดมีสมาธิ แล้วก็บรรลุวิชชา ๓
คณะสันติอโศก : ข้อ ๗ การบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้าตั้งต้นอย่างไร และบรรลุอย่างไร
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ช่วยอ่านพุทธประวัติดีกว่า เรื่องมันยืดยาว ท่าน... คุณจะตั้งต้นตั้งแต่เมื่อไหร่
คณะสันติอโศก : เป็นคนธรรมดาเจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ่า..ก็เป็นคนธรรมดาอยู่ที่ในเมือง ท่านก็คิดว่า มันป่วยการที่จะมาซ้ำรอยอยู่อย่างนี้ ก็คิดว่าอะไรมันดีกว่า แล้วท่านก็ออกบวช เนี่ยเรียกว่าตั้งต้น ก็ไปเที่ยวลองดูทุกรูปแบบของการปฏิบัติที่เขามีกันอยู่ในเวลานั้น ไอ้ช่วงเวลา ๖ ปีนั้นแหละ รวมอยู่ได้ ๖ ปีเนี่ยก็..ได้ทดลองหลายรูปแบบ จนไม่มีที่ทดลอง ที่นี้ท่านจึงมานึกคิดของท่านเอง ทำสมาธิให้เกิดขึ้นสมบูรณ์ แล้วก็บรรลุวิชชา ๓ นี่รูปแบบการบรรลุของพระพุทธเจ้า ทำสมาธิให้เกิดขึ้นสมบูรณ์ มาที่หมวดที่อยู่หมวดท้ายของจรณะนั้น แล้วก็บรรลุวิชชา ๓
คณะสันติอโศก : ข้อ ๘ การบรรลุธรรมของพระสาวกของพระพุทธเจ้าใช้อะไรเป็นเครื่องวัด วัดอย่างไร ใครเป็นผู้วัด
ท่านพุทธทาสภิกขุ : วัดว่าอะไร
คณะสันติอโศก : วัดว่าบรรลุแล้วเจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : วัดว่าบรรลุแล้ว เออ...คนอื่นวัด ว่าใช้ไม่ได้ คือไม่รู้ แต่ว่าตามเค้าเรื่อง พระพุทธเจ้าอาจจะทราบการบรรลุของสาวก แต่การวัดที่แน่นอนนั้นคือตัวเองวัดว่ามันไม่มี ไม่มีอะไรที่เป็นความทุกข์อีกต่อไป มันคือเครื่องวัดที่แน่นอน เขาไม่ได้สนใจจะเป็นนั่นเป็นนี่ ชื่อนั้นชื่อนี้กันหรอก เขาไม่ได้สนใจกัน เขาสนใจแต่ว่าไอ้ความทุกข์มันดับหมดสิ้นหรือยัง มันไม่เหลือวี่แววแห่งความทุกข์ก็พอใจแล้ว ไม่มีใครอยากจะเป็นพระอรหันต์หรือว่าใช้คำพูดอย่างนั้น เขาอยากจะดับทุกข์สิ้นเชิงเท่านั้น พอดับทุกข์สิ้นเชิงมันไม่มีความทุกข์เหลือ รู้อยู่แก่ใจว่าไม่มีความทุกข์เหลือก็พอใจ
คณะสันติอโศก : ทุกข์แปลว่าอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อะไรนะ
คณะสันติอโศก : ทุกข์แปลว่าอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว ทุกข์ก็เป็นภาษาธรรมดาที่สุด คือว่า ไอ้สิ่งที่มันเป็นความทนทรมาน เป็นความทุกข์ยากลำบากในทางจิต ทางวิญญาณ ในความหมายทั่วๆ ไปก็คือว่า ความต้องทนเกี่ยวกับทุกข์ ถ้าโดยวงกว้างก็แปลว่า มันดูแล้วมันน่าเกลียดน่าชัง เนี่ยคือความทุกข์... อะไรอีก
คณะสันติอโศก : ข้อ ๑๐ พระพุทธองค์ตรัสสั่งสอนอะไรว่าเป็นทางแห่งการบรรลุธรรม
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อย่างที่เขาเรียกกันมากที่สุดก็คือ อริยมรรค มีองค์ ๘ คำนี้ใช้มากที่สุดกว่าคำอื่น กว่าชื่อใดๆ ว่าอริยมรรค มีองค์ ๘ แพร่หลายมากหาอ่านที่ไหนก็ได้ สรุปสั้นๆ ก็เรืยก ศีล สมาธิ ปัญญา มี ๓ ขยายออกไปโดยรายละเอียดก็เป็น ๘ ไอ้ ๘ นั้นจะขยายไป ๑๕ อย่างเมื่อตะกี้นี้ก็ได้ ยึดเอาอริยมรรค มีองค์ ๘ เป็นหลัก
คณะสันติอโศก : ส่วนที่ ๓ ข้อต้น (นาทีที่ 22:32) ของจรณะ ๑๕ คืออะไร แปลว่าอะไร
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ศีลสัมปทา แปลว่าสมบูรณ์ด้วยศีล
คณะสันติอโศก : ข้อ ๒ ศีลคืออะไร มีกล่าวไว้ที่ส่วนใดของพระไตรปิฎก
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ศีล เป็นระเบียบปฏิบัติที่ปฏิบัติแล้วไม่มีโทษ ไม่มีปัญหาเหลืออยู่ที่กาย วาจา คือความมีกาย วาจา ปราศจากโทษ เขาเรียกว่า ศีล มีอยู่ทั่วๆ ไปในพระไตรปิฎก สูตรนั้นบ้างสูตรนี้บ้าง ระเอียดบ้างย่อๆ บ้าง มีทั่วไปทั้งพระไตรปิฎก
คณะสันติอโศก : ข้อ ๓ พระภิกษุต้องมีศีลหรือไม่ มีศีลอะไร มีได้อย่างไร แสดงได้อย่างไรว่ามีศีล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มันเป็นคำถามที่เรียกว่ามันไม่น่าจะถาม ก็เป็นภิกษุได้มันก็เพราะมีศีลนั่นแหละ ก็เพราะปฏิบัติศีล แล้วศีลของภิกษุมันก็มีชัดอยู่แล้ว ที่เรียกว่าศีลของภิกษุ เป็นภัทวาฏิโมกข์(นาทีที่ 24:02) เป็นหลัก แล้วก็วัตรต่างๆ นอกพระปาฏิโมกข์อีกมากมาย ศีลของภิกษุ ภิกษุต้องปฏิบัติศีลเหล่านี้จึงจะเรียกว่า ภิกษุในพระพุทธศาสนา เพราะต้องปฏิบัติศีลที่พระพุทธเจ้าท่านทรงวางไว้สำหรับภิกษุ แล้วก็ปฏิบัติแล้วตามนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุในพุทธศาสนา ถ้าเขาทำผิดพลาดไป เขาก็ต้องทำใหม่ทำคืนทำใหม่ กระทั่งว่าบอกเลิกไม่เป็นภิกษุอีก เพราะว่าทำอะไรเสียหายถึงที่สุด นี่ก็เรียกว่าทำคืนเหมือนกัน ถ้ายังเป็นภิกษุก็ต้องยังมีศีลตามที่พระองค์ตรัสไว้ว่าสำหรับภิกษุ
คณะสันติอโศก : งั้นภิกษุแสดงได้อย่างไรเจ้าคะว่ามีศีล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็คือปฏิบัติตรงตามสิกขาบท
คณะสันติอโศก : ข้อ ๔ พระภิกษุต้องสอนศีลหรือไม่ สอนศีลอะไร สอนอย่างไร สอนใคร
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ภิกษุต้องสอนศีล คือว่า สอนผู้อื่นน่ะ หมายถึงสอนผู้อื่น หรือให้ผู้อื่นสอน
คณะสันติอโศก : สอนผู้อื่นเจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไอ้เรื่องสอนผู้อื่นนั้นไม่แน่ ถ้ามีหน้าที่สอน ท่านก็ต้องสอน ถ้าไม่มีหน้าที่หรือไม่สมัครจะสอนก็ไม่ต้องสอน ข้อนี้ไม่ได้บรรญัติแน่นอน แต่ว่าเขาถือเอาตามเหตุผล ตามความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เมื่อควรจะสอนเขาก็สอน
คณะสันติอโศก : ถ้าจะต้องสอน จะสอนได้อย่างไร
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เมื่อมีคนต้องการให้สอน ก็สอนไปตามหลักตามเกณฑ์ ตามระเบียบที่วางไว้ สอนอย่างอื่นไม่ได้ ต้องสอนอย่างพระพุทธเจ้าท่านวางไว้ แล้วเราก็สอนเมื่อมีคนต้องการให้สอน หมายถึงบอกให้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ต้องไม่ทำอย่างไร ให้เขาปฏิบัติได้ ตลอดถึงดูแลให้เขาปฏิบัติได้ เรียกว่าสอน
คณะสันติอโศก : พระที่จะสอนศีลนี้ต้องทำเป็นตัวอย่างมั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นั้นโดยนัย โดยนัย ถือว่าไอ้คนสอนนั่นต้องปฏิบัติได้นะ โดยนัยตามที่รับรู้รับผิดชอบรับรู้กันว่าคนนั้นมันต้องปฏิบัติได้มันจึงควรจะสอนคนอื่น แต่ถ้าใครมันต้องการให้สอนอย่างนกแก้วนกขุนทองสอนตะพรึดโดยปฏิบัติไม่ได้นั้นก็ได้เหมือนกันน่ะ คล้ายกับอ่านหนังสือให้ฟัง
คณะสันติอโศก : ข้อ ๕ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล คืออะไร มีอยู่ในส่วนใดของพระไตรปิฎก มีรายละเอียดว่าอย่างไร
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ในสูตรที่บอกเมื่อตระกี้นี้ ดีที่สุด สามัญญผลสูตรน่ะมีรายละเอียดเรื่อง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ดีที่สุดกว่าสูตรอื่นๆ ไอ้สูตรอื่นๆ ที่เหมือนกันก็มีเหมือนกัน แต่สูตรนั้นมันสะดวก หรือว่าสูตรหน้าจากสูตรนั้นก็ได้ เรียกว่า พรหมชาลสูตร แต่ที่สะดวกที่สุดก็คือ สามัญญผลสูตร
คณะสันติอโศก : ข้อ ๖ พระภิกษุต้องศึกษาและปฏิบัติตาม จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล หรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คือพระพุทธเจ้าท่านประสงค์ให้ภิกษุปฏิบัติตามศีลเหล่านั้น ต้อง ไม่ต้อง ก็ไปรู้เอาเอง แต่เป็นที่แน่ชัดว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงประสงค์ให้ภิกษุปฏิบัติตามศีลเหล่านั้น
คณะสันติอโศก : ข้อ ๗ พระภิกษุต้องศึกษาและปฏิบัติตามปาฏิโมกข์ (นาทีที่ 29:25) หรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มันก็แน่นอน เป็นหลักเบื้องต้นทางวินัยทางศีล
คณะสันติอโศก : ข้อ ๘ พระภิกษุต้องมีศีล ๕ หรือไม่ ต้องมีศีล ๘ หรือไม่ ต้องมีศีล ๑๐ หรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้อ มันรวมอยู่แล้วในศีลของภิกษุ ศีลเหล่านี้มันเป็นแกน เป็นโครง ของศีลของภิกษุอยู่ด้วยเหมือนกัน คือปาฏิโมกข์น่ะมันประกอบอยู่ด้วยไอ้ศีลเหล่านี้ทั้งหมด ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลอะไรก็สุดแท้ มันอมอยู่ในปาฏิโมกข์ที่เป็นศีลของภิกษุ
คณะสันติอโศก : คำว่าศีลกับวินัยต่างกันมั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ในบางแห่งพูดว่าเป็นคำแทนกันก็ได้ หมายความว่าโดยศัพท์ แล้วก็มันก็ต่างกันบ้าง ไอ้ศีลมันก็ทำให้ปกติให้เรียบร้อย ไอ้วินัยมันก็คือนำไปให้ดีให้เรียบร้อย เหมือนกัน คำว่าศีล ถ้ามันเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้างมันก็หมายถึงทั้งหมด ระเบียบปฏิบัติทั้งหมดที่ทำให้มันสงบ ระงับทางกายทางวาจา ถ้าว่าเป็นความหมายแคบๆ มันก็เป็นศีลเฉพาะพวกเฉพาะข้อ ข้อนั้นข้อนี้ ส่วนวินัย คำนี้หมายถึงระเบียบปฏิบัติทั้งหมดสำหรับภิกษุจะต้องทำ จึงมากไปกว่าศีลก็มี ระเบียบปฏิบัติที่มันมากไปกว่าศีล เลยไปกว่าศีล แต่รวมเรียกว่าวินัย อย่างงี้ก็มี เป็นคล้าย (นาทีที่ 32:04) ช่วงทำจิตต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวศีลตัวสิกขาบท ก็เรียกว่าวินัย คือกว้างไป แล้วคำว่าวินัยในความหมายที่กว้างที่สุด ก็หมายถึงพระศาสนานี้ทั้งหมดก็มี พระพุทธเจ้าเคยใช้คำว่าวินัยนี่ หมายถึงศาสนาทั้งตัวทั้งหมดนี้ก็มี
คณะสันติอโศก : คำพูดที่ว่า "ถ้าไม่ผิดวินัย ไม่ผิดศีล" นี้ เป็นข้อความที่ถูกต้องซักแค่ไหนเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เออ ถ้าเขาปฏิบัติถูกต้อง ก็ไม่มีการผิดศีลผิดวินัย
คณะสันติอโศก : ไม่ใช่เจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มันก็อย่างงั้นแหละ
คณะสันติอโศก : เขาบอกว่า "ถ้าหากว่าไม่ผิดวินัย ก็ถือว่าไม่ผิดศีล"
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มันก็ได้ ใช้ความหมายอย่างนี้มันก็พอจะได้ พอจะได้ ไม่ผิดวินัย ก็ไม่ผิดศีล ไม่ผิดศีล ก็ไม่ผิดวินัย
คณะสันติอโศก : แต่มีศีลอื่นที่ไม่อยู่ในวินัยหรือเปล่าเจ้าคะ ไม่อยู่ในวินัย ๒๒๗ ข้อ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นั่นน่ะกลับกันแล้ว คือมันจะเรียกว่าศีลก็ได้ เรียกว่าวินัยก็ได้ ไอ้ ๒๒๗ ข้อเรียกว่าศีลก็ได้ ศีลของพระ เรียกว่าวินัยก็ได้ คือวินัยของพระ
คณะสันติอโศก : แล้วอันไหนถึงจะถูกต้องที่สุดเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ถูกทั้งสองอย่างแหละ ไอ้ชื่อเรียกน่ะถูกทั้งสองอย่างแหละ แล้วแต่ว่าใครจะมีเรื่องที่ต้องใช้คำไหน
คณะสันติอโศก : ข้อ ๙ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ สรุปแล้วมีความมุ่งหมายอย่างใดในการปฏิบัติ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นั้นมันเหมาะสมสำหรับระดับของคน คนควรถือศีล ๕ คนควรถือศีล ๘ คนควรถือศีล ๑๐ นี่เขาก็จัดให้มันเหมาะกับระดับของคน แล้วความมุ่งหมายร่วมกันก็ไม่ให้มันมีความผิด ที่เรียกว่าเป็นความผิดทางกาย ทางวาจา เกี่ยวกับบุคคลนั้นๆ เช่นว่า ฆราวาสถือศีล ๕ ก็เรียกว่าพอจะมีศีลล่ะ ก็เรียกว่ามีศีล หรือถือศีล ๘ ในบางครั้งก็มีศีลที่ดีกว่าเป็นใคร (นาทีที่ 34:43) เณรก็ถือศีล ๑๐ ก็เรียกว่ามีศีลนะ ให้มันเหมาะกับว่าเขาจะอยู่ในสภาพอย่างไรในศาสนานี้ ถ้าต้องการจะอยู่ในสภาพคฤหัสถ์ หรือคฤหัสถ์ชั้นดี หรือว่าเป็นเณร หรือว่าเป็นพระ มันก็มีศีลให้ตรงตามระดับของเขา แล้วก็เรียกว่าเขามีศีล ไอ้ศีลนี้มันเป็นเรื่องบัญญัติ งั้นก็ต้องมีตามที่บัญญัติ ถือศาสนาไหนก็ต้องถือศีลตามที่ศาสนานั้นบัญญัติอย่างไร จึงจะเรียกว่ามีศีลในศาสนานั้น
คณะสันติอโศก : เมื่อกี้พระเดชพระคุณพูดถึงว่า...(นาทีที่ 35:35) หมายความว่าไงเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ว่าอะไรนะ
คณะสันติอโศก : เรื่องผิดเจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ผิดอะไร
คณะสันติอโศก : เมื่อกี้นี้พูดถึงศีลที่ว่าผิด... (นาทีที่ 35:45)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ผิดศีล ?
คณะสันติอโศก : ไม่ใช่เจ้าค่ะ ...เดี๋ยวดิฉันขออนุญาต (นาทีที่ 35:49)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เออ..เออ..ดูสิ
...(นาทีที่ 35:55) (ไม่แน่ใจว่าเสียงกรอเทป หรือเสียงประกาศ ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ความผิด ! เดี๋ยว..เดี๋ยวปนกันหมดอ่ะ แล้วนี่อะไร...
ความผิด หมายความว่า มีการกระทำที่เรียกว่าผิด ที่ไม่ควร ที่ไม่ถูก ที่เป็นโทษอยู่ทางกายหรือทางวาจา นี้เรียกว่าความผิดศีล ทุศีล ไม่มีศีล อันนี้เรียกว่าความผิด ต้องไม่มี ต้องไม่มีความผิด...(นาทีที่ 36:54)
คณะสันติอโศก : ข้อ ๑๐ ศีลบริสุทธิ์แปลว่าอะไร ทำได้ เป็นได้หรือไม่ ทำได้อย่างไร เป็นได้อย่างไร ที่ใด เมื่อใด
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ฮือ..เมื่อรักษาศีลทุกข้อบริสุทธิ์ เมื่อรักษาศีล ปฏิบัติศีล ทุกข้อบริสุทธิ์ นั่นน่ะเรียกว่ามีศีลบริสุทธิ์ ทำได้เมื่อนั้น เมื่อเขารักษาบริสุทธิ์ ปฏิบัติบริสุทธิ์ ที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ ถ้าเขาปฏิบัติบริสุทธิ์ครบถ้วนก็เรียกว่ามีศีลบริสุทธิ์
คณะสันติอโศก : ศีลบริสุทธิ์แปลว่าอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็คือปฏิบัติศีลถูกต้อง ไม่มีผิดพลาด เรียกว่ามีศีลบริสุทธิ์
คณะสันติอโศก : ผิดพลาดนี่หมายถึงด่างพร้อย หรืออะไรเจ้าคะ ?
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เออ..ผิดจากบทบัญญัติน่ะ ผิดจากบทบัญญัติ ผิดหมด ก็เรียกว่าขาด หรือผิดหมด ผิดครึ่งๆ กลางๆ ก็เรียกว่าด่างหรือพร้อย ทะลุเป็น...(นาทีที่ 37:59) ผิดมากผิดน้อย คือผิดมากผิดน้อยนั่นเอง
คณะสันติอโศก : ใครจะเป็นผู้ตีความเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มันก็เกี่ยวกับการปฏิบัติ แล้วคนนั้นน่ะมันก็รู้ของมันเอง ถ้าเกี่ยวกับอธิกรณ์ (นาทีที่ 38:16) เอามาโจทก์ มาท้วง มาเป็นเรื่อง เป็นคดีกันขึ้น ก็เจ้าหน้าที่ที่ตั้งไว้เป็นผู้ตีความ เออ เขาเรียกว่า พระวินัยธร คือพระที่มีหน้าที่รอบรู้ในเรื่องวินัย เรียกว่าพระวินัยธร ไอ้คนพวกนี้เขามีหน้าที่ตีความหมายของสิกขาบทต่างๆ ว่าผิดถูก มากน้อยยังไง ถ้าเกิดปัญหาขึ้นก็เป็นหน้าที่ของคนเหล่านี้
คณะสันติอโศก : ส่วนที่ ๔ ข้อ ๑ เครื่องราง ของขลัง วัตถุมงคล พระเครื่อง การเสกเป่าลดน้ำมนต์ ผิดศีลของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ข้อใด กล่าวไว้ในส่วนใดของพระไตรปิฎก
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ผิดในชุดมหาศีล จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล น่ะมี ในสามัญญผลสูตร
คณะสันติอโศก : ข้อ ๒ ถ้าผิดศีล พระสาวกของพระพุทธเจ้าทำแล้วผิดศีลหรือไม่ เหตุใดจึงกระทำกันอยู่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : แล้วไอ้เรื่อง..หมายถึงเดี๋ยวนี้น่ะ ? ฮืม ก็เพราะอยากทำ เพราะอยากทำ ก็สักแต่ว่าแต่เขา (นาทีที่ 39:43)
คณะสันติอโศก : ถ้าผิดศีล แล้วอยากทำแล้วจะวางตัวเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าได้ยังไงเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็ทำใจเขาซิ เดี๋ยวนี้มันยัง..ยังไม่มีกฎหมาย หรือยังไม่มีอะไรที่จะไปจัดการกับคนเหล่านั้น เพราะมันเป็นประชาธิปไตย หรือเพราะเหตุอื่นๆ ก็ได้ แต่เขายังไม่จัดการกับคนที่ทำผิดศีลผิดวินัย
คณะสันติอโศก : เขาน่ะคือใครเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็คือคนที่มีอำนาจ
คณะสันติอโศก : แล้วในประเทศไทยเวลานี้จะมีใครที่มีอำนาจคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : แล้วแต่เขาตั้งใครให้เป็นเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับพระเนี่ยเขาก็มีของเขา ผู้มีอำนาจดูแล เกี่ยวกับฆราวาสก็มีเหมือนกัน
คณะสันติอโศก : ในขณะนี้ในประเทศไทยใครมีหน้าที่นั้นเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อืม เจ้าหน้าที่มี ใครบ้างก็ไปถามกันดูเถอะ อาตมาไม่รู้ล่ะ จึงไม่อยากจะรู้
คณะสันติอโศก : ถามได้ที่ไหนเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อืม ก็ถามที่กรมการศาสนาก็ได้ ไปถามพระเถระที่เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองก็ได้ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาคก็ได้ เถรสมาคมก็ได้
(นาทีที่ 41:20 ข้อ ๓ ถูกข้ามไป ไม่มี)
คณะสันติอโศก : ข้อ ๔ พระพุทธศาสนาทำให้คนเราด้อยพัฒนาหรือ ทำให้ขี้เกียจหรือ ทำไมคนเราจึงพูดเช่นนั้น
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็เพราะว่า บางคนเขาไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจความหมายของหลักธรรม เขาเข้าใจไปเช่นนั้น แล้วเขาก็พูดเช่นนั้น เป็นธรรมดา ไอ้ธรรมะแท้ๆ ไม่ได้ทำให้เป็นเช่นนั้น ธรรมะต้องการให้ทุกคนทำหน้าที่ตามหน้าที่ดีที่สุด ทำประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายตัวเองและฝ่ายผู้อื่น แล้วจะมัวขี้เกียจอยู่ได้ยังไง
คณะสันติอโศก : ข้อ ๕ เหตุใดคนในปัจจุบันจึงคลายศรัทธาในศาสนา พุทธศาสนาเป็นที่รักของคนแก่เท่านั้นหรือ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คุณรู้ได้ยังไงว่าคนเดี๋ยวนี้คลายความนับถือศาสนา
คณะสันติอโศก : เพราะว่า เท่าที่มีในอาชีพนี้มีความรู้สึกว่า เพื่อนร่วมงานก็ดี ในกรมที่เกี่ยวข้องก็ดี นิสิตนักศึกษาก็ดี มีความรู้สึกที่ไม่ค่อยจะเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเจ้าค่ะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ถ้ามันมีจริง แปลว่าคนเหล่านั้นมันไม่รู้พุทธศาสนา มันไม่รู้พุทธศาสนา มันก็ไม่จับไปถูกตัวพุทธศาสนา มันก็หาความเอาพุทธศาสนา การที่มีคนบางคนปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นมันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตัวศาสนา มันตัวคนนั้น จะไปเอาบาปของคนนั้นไปใส่กะศาสนาก็ไม่ถูก ถ้าใครมันรู้จักตัวพุทธศาสนาจริงๆ แล้วเขาจะยิ่งชอบ ยิ่งพอใจ ยิ่งเลื่อมใส ยิ่งถือมั่นน่ะ ไปบอกให้ศึกษาให้เข้าใจให้ดีๆ
คณะสันติอโศก : เมื่อกี้พระเดชพระคุณพูดถึงว่า เพราะเขาไม่รู้ศาสนา ทำยังไงถึงจะให้คนรู้ศาสนา
ท่านพุทธทาสภิกขุ : โอ๊ะ อันนี้มันเป็นปัญหา... พูดอย่างกำปั้นทุบดินก็สอนเขา คือเขาไม่ต้องการจะรู้ เขาก็ไม่ยอมให้สอน เขาไม่ให้โอกาสที่จะสอน มันก็ต้องปลุกระดมให้คนมันรู้จักพุทธศาสนาว่ามีประโยชน์อะไร ลองอยากจะรู้เราก็ช่วยกันสอนให้
คณะสันติอโศก : พระเดชพระคุณจะแนะนำวิธีปลุกระดมซักวิธีหนึ่งได้มั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อืม..ยังไม่ได้นึก
คณะสันติอโศก : ข้อ ๗ ..ข้อ ๖ เจ้าค่ะ พุทธศาสนาเสื่อมจริงหรือ เพราะเหตุใด ใครจะปั้มมุม (นาทีที่ 45:33) เพื่อแก้ไข แก้ไขอย่างไร
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เนี่ยมันเหมือนเมื่อตะกี้แหละ ปัญหาเหมือนเมื่อตะกี้ ไอ้ตัวศาสนา ตัวความจริง ตัวธรรมะมันเสื่อมไม่ได้ มันตายตัวอยู่อย่างนั้นแหละ เนี้ยไอ้คนปฏิบัติศาสนานั่นมันน้อยลงได้ หรือมันเหลวแหลกก็ได้ อย่างนี้เรียกว่าไอ้การปฏิบัติศาสนาของคนน่ะมันเสื่อม ไอ้ตัวศาสนาแท้ๆ มันไม่เสื่อม หรือมันไม่มากไม่อะไร มันตายตัว หลักธรรมะตายตัวไม่มีขึ้นมีลง แต่การปฏิบัติของผู้ปฏิบัติศาสนาในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ก็ดี เป็นคนทั่วไปก็ดี มันมีขึ้นๆ ลงๆ มันก็จะมีเสื่อมหรือไม่เสื่อมก็อยู่ที่ตรงนี้ เพราะเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งแหละ เพราะเหตุปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้คนไม่ปฏิบัติศาสนาให้ถูกต้อง มันมีเหตุปัจจัย เขาใช้คำว่าเหตุปัจจัย มีอยู่หลายอย่างหลายประการที่มาดึงคนไปเสียจากศาสนา หรือว่าไม่นับถือศาสนา ไปนับถือประโยชน์ที่จะได้เป็นวัตถุเป็นเงินเป็นทอง จนไม่ปฏิบัติศาสนาก็มี หรือใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือหาประโยชน์ของตัวเสียก็มี อย่าไปหาว่าศาสนาเสื่อม มันต้องไปมองว่าไอ้การปฏิบัติของคนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาน่ะมันมีขึ้นๆ ลงๆ
คณะสันติอโศก : เมื่อกี้พระเดชพระคุณพูดถึงเหตุปัจจัย จะกล่าวซักสองสามข้อได้มั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : มันก็ได้ เช่นว่าเดี๋ยวนี้มันไม่มีการสั่งสอนอบรมที่ดี เช่น อย่างเช่นว่า ขนบธรรมเนียมประเพณีมันเปลี่ยน ไม่มีการสอนธรรมะในบ้านในเรือน ในครอบครัว ในวัฒนธรรม ในอะไรต่างๆ เด็กๆ ก็ไม่ค่อยมีโอกาสรู้ธรรมะ หรือรู้ศาสนา แล้วก็สิ่งยั่วยวนกำลังเป็นที่นิยม เด็กๆ ก็เฮไปตามไอ้สิ่งยั่วยวนหรือตามความนิยม มันก็ไม่สนใจศาสนา เนี่ยเป็นเหตุปัจจัยอันหนึ่ง ในหลายๆ อย่าง หลายๆ สิบอย่างก็ได้ เหตุปัจจัยมีหลายๆ สิบอย่าง หรือการจัดการศึกษาไม่ได้จัดให้มีธรรมะหรือมีศาสนา ไอ้เด็กๆ มันก็ไม่รู้ธรรมะไม่รู้ศาสนา อย่างนี้เป็นต้น เป็นตัวอย่างเหตุปัจจัยที่ทำให้ไม่เรียนศาสนา ไม่ปฏิบัติศาสนา ไม่ได้รับผลของศาสนา
คณะสันติอโศก : ข้อ ๗ ท่านคิดว่าพระจะช่วยสร้างศรัทธาของคนต่อพระพุทธศาสนาได้หรือไม่เจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ่า..ถ้าจะตั้งใจก็ได้หนิ ถ้าพระเขาอยาก เขาต้องการ เขาตั้งใจจะทำอย่างนั้นก็ทำได้
คณะสันติอโศก : จะทำได้ยังไงเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว..ก็ช่วยสอนไงล่ะ ช่วยสอนให้มันถูกต้อง ช่วยทำให้คนเข้าใจธรรมะ พอใจในศาสนา คือว่าพระนั้นเขาต้องรู้ แล้วเขาก็ประสงค์จะทำหน้าที่อันนั้นน่ะมันก็ได้ เดี๋ยวนี้ก็ไม่แน่ว่าเขาจะทำหน้าที่อันนั้นหรือไม่
คณะสันติอโศก : แล้วพระควรจะต้องมีหน้าที่นั้นหรือเปล่าเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ถ้าพูด..ถ้าถามว่าควร มันก็ควรจะควรนะ ควรจะเป็นอย่างนั้น
คณะสันติอโศก : พระมีหน้าที่อะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็มีหน้าที่โดยตรงก็คือ ศึกษาแล้วก็ปฏิบัติศาสนา ได้รับผลแล้วก็สอนผู้อื่น ก็เรียกว่าหน้าที่ ตัวเองเรียนแล้ว ปฏิบัติแล้ว มีผลดีแล้ว ก็สอนผู้อื่น เรียกว่าเป็นหน้าที่ได้เหมือนกัน การสอนผู้อื่น หน้าที่ตามพระพุทธประสงค์ คือความต้องการของพระพุทธเจ้า ก็มีเรียกว่าหน้าที่ พระพุทธเจ้าท่านทรงขอร้อง หรือว่าหน้าที่โดยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของท่านเองก็มี ก็เป็นหน้าที่เหมือนกัน
คณะสันติอโศก : พระพุทธเจ้าทรงขอร้องให้พระทำอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ให้ช่วยกันรักษาพุทธศาสนา ให้เผยแผ่พุทธศาสนา เนี่ยหลังจากที่ปฏิบัติของตัวแล้วนะ ให้ช่วยกันสืบอายุพุทธศาสนา ช่วยกันเผยแผ่สั่งสอนพุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์กว้างขวางออกไป
คณะสันติอโศก : ข้อ ๘ พระพุทธศาสนาจะช่วยจรรโลงความ..(นาทีที่ 51:27) แก่ปวงชนได้หรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ความต้องการของศาสนาเป็นอย่างนั้น ความต้องการของทุกๆ ศาสนาก็ต้องการอย่างนั้น ก็มีเหตุผลอย่างนั้น เขาจึงบัญญัติอย่างนั้น แล้วมันก็ต้องช่วยได้ เขาตั้งศาสนาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์อย่างนั้น ส่วนใหญ่พอมันตรงเรื่องตรงราว ถูกฝาถูกตัวมาแล้ว ไม่ต้องถามกันอีก เหลือแต่ว่ามนุษย์มันจะเอาหรือไม่เอาเท่านั้นเอง
คณะสันติอโศก : พระเดชพระคุณจะกรุณาพูดถึงตัวอย่างซักตัวอย่างหนึ่งที่ศาสนาจะช่วยจรรโลงความ..(นาทีที่ 52:12) ได้หรือไม่เจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว..ศาสนาทำให้ทุกคนมันไม่เห็นแก่ตัว มันรักผู้อื่น มันก็พอ เพียงเท่านี้มันก็จะพอ หรือเกินพอ พอมันรักผู้อื่นแล้วมันก็ไม่มีปัญหา ถ้าคนมันรักผู้อื่นนะมันก็ไม่.. ถ้าไม่ขโมย ไม่ร่วมประเวณี ไม่โกหก ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่ทุกอย่าง มันก็เป็นความสงบเย็นแก่สังคมมนุษย์ นี่มันเป็นความมุ่งหมายของศาสนา ไปทำลายความเห็นแก่ตัว รักผู้อื่น เรียกอีกทางหนึ่งก็เรียก ทำประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ตนเองก็มีความสงบสุข เพราะมีธรรมะมีศาสนา แล้วก็ช่วยผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย ปัญหามันเกิดขึ้นมาในโลกนี้ก็เพราะว่า คนมันเห็นแก่ตัว มันไม่รักผู้อื่น เขาให้ทำลายความเห็นแก่ตัว พอรักผู้อื่นมันก็ไม่มีการประทุษร้ายต่อกัน ขอให้รักกระทั่งสัตว์เดรัชฉานโน่น งั้นประโยชน์มันก็กว้างลงไปถึงสัตว์เดรัชฉาน
คณะสันติอโศก : ข้อ ๙ กับ ข้อ ๑๐ นี่ กราบเรียนถามเรื่องส่วนตัว แต่ดิฉันไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะจาบจ้วง หรือว่าล่วงเกินพระเดชพระคุณเลยเจ้าค่ะ ข้อ ๙ ทำไมท่านจึงบวช ท่านครองเพศสมณะจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากี่ปี ท่านคิดจะกลับมาครองเพศฆราวาสอีกหรือไม่ เพราะเหตุใด
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อืม..ทำไมจึงบวช บวชตามประเพณี บวชมานี่ก็ ๕๔ ปีแล้วบวช แล้วกำลังสนุกในเรื่องบวช ยังไม่ได้คิดเรื่องสึก
คณะสันติอโศก : ข้อ ๑๐ ท่านคิดว่าท่านจะยืนยันมรรคผลของท่านเองหรือไม่
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เรื่องภิกษุน่ะ เขาห้าม มีวินัยห้ามการยืนยันการบรรลุผลของตัวเอง
คณะสันติอโศก : คำว่า การยืนยัน นี่ต่างกับคำว่า ตอบ มั้ยเจ้าคะ สมมติว่ามีคนถาม จะถือว่าเป็นการยืนยัน หรือว่าเป็นแค่คำตอบเฉยๆ เจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เหมือนกันแหละ จะบอกเล่า หรื่อยืนยันเนี่ย เป็นเรื่องทำไม่ได้ เป็นเรื่องวินัยห้าม
คณะสันติอโศก : คำถามก็หมดเพียงเท่านี้แล้วเจ้าค่ะ ดิฉันขอกราบขอบพระเดชพระคุณพระคุณเจ้าเป็นอย่างสูง
(นาทีที่ 56:09 เสียงซ่าไม่ได้ยินที่พูด)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ฮืม...ไม่ได้เตรียมตัวมาแสดงธรรม
คณะสันติอโศก : ขอบพระเดชพระคุณพระคุณเจ้าเป็นอย่างสูงนะเจ้าคะ
(นาทีที่ 56:23 ถึง 56:48 มีแต่เสียงซ่า)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : สักข้อหนึ่งว่า ให้ทุกคนไปทำงานให้สนุก มีเท่านั้นแหละ อย่าต้องไปสนุกนอกบ้าน คือนอกออฟฟิศ นอกหน้าที่การงาน ให้ทุกคนทำงานให้สนุก ใครมีการงานอย่างไร ทำการงานนั้นให้ดีที่สุด ขอให้สนุกอยู่ในการงานจนไม่อยากจะเลิก การงานคือการปฏิบัติธรรม การทำหน้าที่ของตนคือการปฏิบัติธรรม ท่านทุกคนทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด แล้วสนุกในการทำมีความสุขในการทำ โดยไม่ต้องไปหาไอ้อบายมุข ไม่ต้องมีอบายมุข เพราะว่ามีความสุขในการงานที่ทำ แล้วการทำงานในหน้าที่นั้นคือการปฏิบัติธรรม อย่าให้มีอะไรบกพร่องได้ นับตั้งแต่การ...ที่บ้าน ที่เรือนน่ะ ทุกอย่าง การกวาดบ้านถูบ้าน การซักผ้า การล้างจาน การล้างส้วม อะไรก็ตามอะ เนี่ยนับตั้งแต่นี้ขึ้นไปจนถึงไอ้การงานที่มีเกียรติ คือหน้าที่การงานที่ออฟฟิศ การงานที่ไหนก็ตาม ให้ทำด้วยความรู้สึกที่เป็นสุข เงินเกือบไม่ต้องใช้ เกือบไม่ต้องใช้เงินหาความสุข เพราะเรามีความสุขเสียแล้ว พอเสียแล้วในการทำงาน ให้การทำการงานหรือการทำหน้าที่ของตนของตนนั่นน่ะเป็นการปฏิบัติธรรม แล้วก็มีความสุขมีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้เขามีความสุขด้วยเรื่องอบายมุข ด้วยสิ่งประเล้าประโลมต่างๆ เรามีความสุขในการงาน พอได้ทำการงานก็พอใจตัวเอง มีปีติปราโมชในตัวเอง แล้วมีความสุข มันพอแล้ว แม้แต่เมื่อถูบ้านล้างจานอยู่ก็มีความสุข ใครทำได้บ้าง มันต้องมีจิตใจเป็นธรรมะแท้จริงมันจึงจะทำได้
คณะสันติอโศก : การปฏิบัติธรรมนี่ทำอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ทำหน้าที่ของมนุษย์ให้ถูกต้อง แล้วแต่มันเป็นมนุษย์อะไร ชนิดไหน มีหน้าที่ที่ถูกต้องที่สมควรนั่นแหละ อย่างไร นี่เราเรียกว่า การปฏิบัติธรรม ไม่เฉพาะที่วัดล่ะ ไม่ต้องอยู่วัด ไม่ต้องอะไรก็ได้ ที่บ้านก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ทำหน้าที่ของมนุษย์ให้ถูกต้องตามความหมายของมนุษย์ ตามหน้าที่ของตนของตน รวมกันทำโลกนี้ให้มีความสงบสุข รับหน้าที่กันคนละอย่าง คนละอย่าง เป็นชาวนา เป็นพ่อค้า เป็นข้าราชการ เป็นอะไรก็ตาม ทำหน้าที่กันคนละอย่างละอย่าง อย่างดีที่สุด แล้วโลกนี้มีความสงบสุข เรียกว่าทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องนั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม หน้าที่ไม่เหมือนกัน มีร้อยแปดอย่าง แล้วแต่ว่าใครมันอยู่ในฐานะที่จะทำหน้าที่อะไรได้
คณะสันติอโศก : ในปัจจุบันนี้ความไม่สงบสุขเกิดจากอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ก็เกิดจากการเบียดเบียน เกิดจากความเห็นแก่ตัว แล้วก็เบียดเบียนเอาเปรียบ เราเห็นว่าสงครามเป็นมูลเหตุแห่งความยุ่งยากทุกอย่าง เมื่อมีสงครามก็เป็นมูลเหตุ เมื่อยังไม่มีสงครามก็เป็นมูลเหตุ มูลเหตุก็ด้วยสงครามเหมือนกันล่ะ เดี๋ยวนี้เขาเตรียมสงครามกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งสงครามเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โลกยุ่งยากลำบาก สงครามระหว่างประเทศ สงครามระหว่างกลุ่มแห่งประเทศ ครอบงำโลกอยู่ตลอดเวลา แล้วก็สงครามระหว่างกลุ่มเล็กๆ สงครามระหว่างกลุ่มการเมือง แย่งกันครองเมืองนี้ก็เป็นสงคราม สงครามของนักการเมืองแย่งกันครองเมือง ก็เป็นปัจจัยแห่งความยุ่งยาก ถ้าทำสงครามระหว่างบุคคล ทะเลาะวิวาท เอาเปรียบ ก็เรียกว่า ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนผู้อื่น มุ่งประโยชน์ตัว เห็นแต่ประโยชน์ตัว เบียดเบียนผู้อื่น เป็นสงคราม มันต้องการประโยชน์ตัวเห็นแก่ตัวนะจึงจะทำการเบียดเบียนได้
คณะสันติอโศก : เราถึงห้ามเขาไม่ได้ใช่มั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เห็นๆ อยู่ ..ก็บอกให้ปลุกระดมให้ธรรมะกลับมา แล้วมันก็คงจะหยุดไปได้ ด้วยการปลุกระดมไปทั่วโลกให้ธรรมะกลับมา ไอ้พวกนั้นก็อาจจะหยุดการเบียดเบียน ที่เป็นพุทธ ก็ให้พุทธกลับมา ที่เป็นคริสต์ ก็ให้คริสต์กลับมา ที่เป็นอิสลาม ก็ให้ศาสนาอิสลามกลับมา เดี๋ยวนี้มันไม่ค่อยมีเหลือกันอยู่ในโลกนี่ทุกๆ ศาสนา ไม่ค่อยมีใครปฏิบัติศาสนาของตน ของตน แล้วไม่ค่อยรู้จักศาสนาของตน ของตน โดยถูกต้อง พวกพทุธบริษัทก็รีบรู้จักพุทธศาสนาเสียให้ถูกต้อง ศาสนาอื่นก็ควรจะเป็นอย่างงั้น แล้วก็มีศาสนากันทุกคน อย่าให้มันว่างจากศาสนา คงก็เบียดเบียนกันไม่ลง ไม่มีการเบียดเบียนกันเลย ก็เป็นโลกพระศรีอารยเมตไตรย ศาสนาแห่งมิตรภาพ เมตไตรย แปลว่า มิตรภาพ พอในโลกนี้ไม่มีใครเบียดเบียนใครก็เป็นโลกพระศรีอารยเมตไตรย เดี๋ยวนี้เต็มไปด้วยการเบียดเบียนชนิดที่ไม่น่าจะเป็น ก็ยังเป็น ยังมี
มาแล้วก็ศึกษารูปภาพในตึกนี้ให้มากเท่าที่จะมากได้ เนี่ยภาพชุดนี้เป็นภาพที่เรียกว่าดี ลึกในทางธรรมะ ภาพชุดนี้ อยู่ที่คานรูปสีน่ะ (นาทีที่ 1:06:31) เรื่อง "หนวดเต่า เขากระต่าย"
เริ่มด้วยภาพแมลงมุมชักใย นี่ภาพกลมๆ ใยแมงมุมต้องต้นตรงนี้ นี่ตรงนี้ อยู่ตรงนี้..ตรงนั้น วงกลมๆ แมลงมุมชักใย มีนกทุกชนิดไปติดอยู่ที่ใยแมงมุม อืม..ที่ว่าสัตว์โลกทุกๆ ชนิดติดอยู่ที่อวิชชา จิตที่อยู่ในข่ายของอวิชชา มนุษย์..มนุษย์อยู่ตรงกลาง ข้างใต้มี ๔ อบาย ๔ ข้างบนมี ๓ คือเทวดา รวมเป็น ๘ ชนิด ติดอยู่ในข่ายของอวิชชา แล้วมันก็เกิดเป็นมาร ขึ้นมาทำอันตราย ล้างผลาญด้วยอาการต่างๆ จนไปถึงตรงโน้น ความโง่ ความหลง ไอ้ความ..กิเลส ไอ้ความทุกข์ ทุกๆ ชนิด มาถึงตรงนี้ หมุนอยู่ในใบพัด พอมาถึงตรงนี้นึกถึงธรรมะกัน แล้วไปแสวงหาธรรมะกัน บรรทุกมาบนหลังราชสีห์ คชสีห์ พอมานี่ชุบ..ชุบพระยาบรมจักรขึ้นมา เป็นกุมาร เป็นหนุ่มขึ้นมา ไปหาฤาษีขออาวุธ เขาก็ได้เขากระต่ายมาทำคันศร ได้หนวดเต่ามาทำสายศร ได้นอกบมาทำลูกศร ..ฮืม.. ไปหา "เขากระต่าย" "หนวดเต่า" "นอกบ" คือความรู้เรื่อง "สุญญตา" ด้วยนะนักตาม (นาทีที่ 1:08:54) ก็เอาศรนี่ไปยิง แล้วปราบยักษ์ ที่ยอดหัก..ยอดปราสาทหัก ยักษ์หนีออกจากเมือง..เออ..พระยาจักรนี้ก็เข้าไปครองเมือง อภิเษกกับนางศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอะไรครบถ้วน มีช้าง มีม้า มีอะไรต่างๆ แล้วก็ออกไปติดตามฆ่ายักษ์ที่มันหนึออกจากเมืองทิ้งเมืองไป มาจบที่ตรงนั้น ผู้ชายฆ่ายักษ์ผู้ชาย ผู้หญิงฆ่ายักษ์ผู้หญิง จนกระทั่งตายหมด เรื่องก็จบด้วยพระพุทธเจ้าแสดงธรรม แสดงธรรม เรื่องนิพพาน ๓ มี สุญญตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน อนิมิตตนิพพาน (นาทีที่ 1:09:51) ...จบ จบเรื่อง มีเท่านี้เอง รวม ๗๐ ภาพ (นาทีที่1:10:11)
คณะสันติอโศก : หนวดเต่าไปเอามาจากไหนเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ฮืม..ไปหาเอาเอง มันก็เอาจากฤาษี ฤาษีคนนั้นก็เลี้ยงเต่า หนวดเต่า เขากระต่าย นอกบ เอาจากฤาษีทั้งนั้น
คณะสันติอโศก : แล้วหมายความว่ายังไงเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ้าว..ความรู้เรื่องสุญญตา เรื่องไม่มีตัวตน ว่างจากตัวตน ไม่มีตัวตน เปรียบด้วยหนวดเต่า เขากระต่าย นอกบ คนโบราญเขาสนใจกันมาก เขาคิดกันอยู่เรื่อย จนออกมาเป็นรูปภาพ ฮือ..จนออกมาเป็นรูปภาพ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ออกมาเป็นรูปภาพ นี่ไม่ใช่คิดกันเอง เขามีอยู่แล้วในสมุดข่อย จะเขียนกันมาหลายร้อยปีแล้วก็ได้
คณะสันติอโศก : สมัยโบราญเขาเขียนเป็นภาษาอะไรเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เขียนเป็นรูปภาพ หนังสือก็มีคำสองคำ ไม่ได้ตั้งใจจะใช้หนังสือ เออ..เพราะว่าประชาชนไม่รู้หนังสือจะเขียนไปทำไมหนังสือ ยุคโน้นประชาชนไม่รู้หนังสือ หนังสือก็ไม่มี ไม่มีความหมาย ไอ้รูปภาพมันมีความหมายก็บอกให้มันเห็น รูปอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้
คณะสันติอโศก : เหตุใดจึงตั้งโรงมหรสพทางปัญญาเจ้าคะ (นาทีที่ 1:12:00)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : หา ?
คณะสันติอโศก : เหตุใดจึงตั้งโรงมหรสพทางปัญญาเจ้าคะ (นาทีที่ 1:12:03)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ๋อ มันก็คำธรรมดาๆ มหรสพชาวบ้าน ที่ตลาดมีมหรสพทางวิญญาณ ทางจิต ทางวิญญาณ ทางธรรมะ ดั้ง (นาทีที่ 1:12:18) ในทางธรรมะ ในทางธรรมะเขาเรียกว่าทางวิญญาณ ความสุขอย่างชาวบ้านมีเขาเรียกว่าความสุขอย่างชาวบ้าน ความสุขอย่างธรรมะทางจิตใจเขาเรียกว่าความสุขทางวิญญาณ ไม่รู้จะเรียกอย่างไรก็เรียกอย่างงี้ ทางวิญญาณก็หมายความว่าตรงกันข้ามกับเรื่องของชาวบ้าน
ภาพเกือบทั้งหมดนี้ เรียกว่า ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ก็อปปี้เขามา ที่ประดิษฐ์ขึ้นคราวนี้เพื่อเขียนที่นี่มี ๒-๓ ภาพ ตรงนี้ ตรงนี้ มีอยู่ ๒-๓ ภาพ นอกนั้นทั้งหมด คิดแล้ว ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ก็อปปี้เขามา
คณะสันติอโศก : แล้วพวกนั้นเป็นลักษณะคล้ายๆ จีน
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ่า..ก็รูปจีน รูปเดิมเป็นจีน รูปเขียนสีแดงเพลิง (นาทีที่ 1:13:28)
คณะสันติอโศก : เป็นของนิกายเซนหรือว่ายังไงเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เซนก็มี ไม่ใช่เซนก็มี ...คำสอนธรรมะด้วยรูปภาพ วิธีโบราญเมื่อประชาชนไม่รู้หนังสือ ชาวบ้านทั่วไปไม่ได้รู้หนังสือ ไม่ได้เรียนหนังสือ เขาเลยใช้รูปภาพเนี่ยเป็นหนังสือหรือแทนหนังสือสอนธรรมะ คนนี้ดูเข้าใจ แล้วก็อธิบายให้คนที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจ ไม่เท่าไหร่ก็เข้าใจกันทุกคน ทุกคนเข้าใจธรรมะทะลุเป้า (นาทีที่ 1:14:10)
อีกพวกหนึ่งก็เป็นภาพตรงๆ เช่น ภาพเวสสันดรชาดก ภาพสุวรรณสามชาดก ไป (นาทีที่ 1:14:28) เขาก็สลักให้ ประชาชนมาดู เขาอธิบายกันเดี๋ยวเดียวก็รู้หมดทุกคนล่ะ ทั้งทีประชาชนทุกคนไม่รู้หนังสือ แต่เขารู้เรื่องเวสสันดรชาดกอย่างละเอียด ฉัททันตชาดกอย่างละเอียด (นาทีที่ 1:14:44) สุวรรณสามชาดกอย่างละเอียด มหากปิชาดกอย่างละเอียด มีราว ๑๐ ชาดกได้ ที่พระเจ้าแผ่นดินหรือว่าคณะสงฆ์เขาต้องการจะสอนประชาชน เขาก็สลักหิน สลักด้วยหินติดตามพระเจดีย์บ้าง ตามภูเขาบ้าง คนเหล่านั้นก็ไปดู ก็เข้าใจ จำได้ รู้เรื่อง พระเวสสันดรผู้ให้ทานสูงสุด เรื่องสุวรรณสามกตัญญูสูงสุด มันมีเรื่องๆ แต่ละเรื่องมันมีความหมายสำคัญอยู่ทุกข้อ
คณะสันติอโศก : ชาดกนี้เรื่องจริงมั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อือ..จริง จริงประเภทไหน (นาทีที่ 1:15:43) จริงคือสอนธรรมะได้จริง เรื่องชาดกเหล่านี้มันจริง มันสอนธรรมะได้จริง ไอ้เรื่องนั้นจะได้เกิดขึ้นอย่างนั้นจริงหรือไม่ ช่างมัน แต่สอนธรรมะให้คนดีได้จริงก็พอ เดี๋ยวนี้คนเขาหาว่าไม่จริง แล้วก็ไม่สนใจซะเลย เลยไม่ได้รับประโยชน์อะไรสักนิด ควรจะสนใจว่าเขาสอนว่าอะไร เขาพูดว่าอะไร ในเรื่องน่ะเขาพูดว่าอะไร แล้วก็จะได้ประโยชน์กัน
ตรงนี้ ตรงนี้ มีชาดกเรื่องลิงล้างหู ลิงล้างหู เนี่ยไปเก็บมาจากมัยชาดก (นาทีที่ 1:16:53) ในคัมภีร์ชาดก เอามาประดิษฐ์เป็นภาพ เป็นเรื่องลิงล้างหู ...คุณเคยได้ยินแล้ว ลิงล้างหู
คณะสันติอโศก : ไม่เคยได้ยินเจ้าค่ะ ...(ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ) (นาทีที่ 1:17:06)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : นั่นล่ะ เขาละ..เขาพิมพ์ เขาเคยไปพิมพ์จำหน่าย เลยรู้กันมากเรื่องลิงล้างหู ชาดกด่าคนในโลกปัจจุบัน
คณะสันติอโศก : เพราะคนพูดหยาบเหรอเจ้าคะ ลิงถึงต้องล้างหู
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ฮือ..นั่นสิ ไอ้คน..พระเจ้าแผ่นดินเขาจับลิงไปเลี้ยงไว้ในวัง เผอิญไปถูกลิงฉลาด ลิงโพธิสัตว์ ไปเลี้ยงเล่นในวัง พอเบื่อแล้วก็ปล่อยกลับมาป่า เนี้ยไอ้ลูกลิงทั้งหลายมันก็ถามว่าในเมืองมีอะไร ที่ไปอยู่ตั้งนานน่ะมีอะไรมาเล่าให้ฟังที ไอ้ลิงโพธิสัตว์บอกว่า อย่าเล่าดีกว่า เขารู้แล้วว่าไม่ควรจะเล่า ไอ้ลูกลิงทั้งหลายมันคะยั้นคะยอให้เล่าจนได้ อ้าวงั้นก็เล่า ไอ้พวกลิงพวกนั้นมันก็เล่าว่า ทั้งวันทั้งคืนฉันได้ยินแต่คำว่า เงินของกู ทองของกู เมียของกู ผัวของกู ลูกของกู ยังไม่ทันเล่าาจบไอ้ลิงพวกลูกลิง โอ๊ย..อย่า อย่า หยุด หยุด หยุด ไม่งั้นไปล้างหูหนิ ฮือ..ชาดกนี้
คณะสันติอโศก : ทำไมถึงเรียกชาดกเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : งั้นก็เรียกถึงว่าชาติก่อนๆ ของพระพุทธเจ้า
คณะสันติอโศก : เป็นคำกล่าวของคนอื่นใช่มั้ยเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ไม่ต้องถามล่ะ ควรจะถามว่าในชาดกนั้นมันมีคำพูดว่าอะไร ที่มีประโยชน์แก่เรา เขาก็มีอยู่แล้วในพระคัมภีร์ เอาประโยชน์จากเนื้อเรื่องของชาดก ดีกว่าไปถามว่าใครมาเล่า หรือว่าใคร..จริงหรือไม่จริง
...นาฬิกาไม่ได้ตั้งรึ ? หา..ตั้ง..อือฮึ..จะหกโมงเหรอ ห้าโมงจะหกโมงเหรอ
คณะสันติอโศก : แล้วภาพหนังสือนั่น หนังสือนั่นหมายความว่าไงเจ้าคะ ไว้ตอบ... (นาทีที่ 1:19:41)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อ๋อ..คัมภีร์บางพระธรรมน่ะ คัมภีร์บางพระธรรม พระพุทธรูปบางพระพุทธเจ้า คัมภีร์บางพระธรรม ลูกชาวบ้านบางพระสงฆ์
คณะสันติอโศก : หมายความว่าไงเจ้าคะ
ท่านพุทธทาสภิกขุ : อืม..หมายความยังงั้นแหละ หมายความว่ายังงั้น รู้จักกันแต่พระคัมภีร์ หนังสือ ไม่รู้จักพระธรรม
ห้าโมง จะขำเหรอ ฮึ..เนี่ย..เฮ้อ..(ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ)...ซักเก้าโมงสิบโมง (นาทีที่1:20:33)
คณะสันติอโศก : ...(ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ) (นาทีที่ 1:20:45)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ฮืม..จำไม่ได้ก็ไม่ต้องถามสิ ก็ไปจำให้ได้เสียก่อนสิ..ฮือ..
มะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน กลางทะเลที่พึ่ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลที่พึ่ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญ ...ไปคุยกันที่พระนาฬิเก
คณะสันติอโศก : ...(ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ) (นาทีที่ 1:21:52)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : จะได้เห็นไอ้ต้นมะพร้าว ได้เห็นน้ำ เห็นอะไร เย็นๆ ก็ไปคุยกันที่นั่น ถ้าฝนไม่ตกไปเหอะ ไปนั่งคุยกันรอบๆ สระ ...มันจะเห็นน้ำ พริบๆๆๆ เป็นวัฏสงสาร บุญและบาป เป็นคู่ๆๆๆ กัน มันเป็นทะเลวัฏสงสาร เป็นความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว และบุญ และบาป อะไรต่างๆ ส่วนต้นมะพร้าวนั้นหมายถึงนิพพาน อยู่กลางวัฏสงสาร แต่ไม่ใช่วัฏสงสารก็แล้วกัน ต้นมะพร้าวนั้นอยู่เหนือบุญเหนือบาป เหนือน้ำ เหนือทะเลที่พึ่ง ..ของโบราญเหมือนกัน ไม่ใช่เราคิดขึ้น ของโบราญ กล่อมลูกให้นอน บทกล่อมลูกให้นอน
...แล้วคนที่รับประทานอาหารก็มีนะ ไม่ไปไหน เลิก
คณะสันติอโศก : ...(ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ) (นาทีที่ 1:23:27)
ท่านพุทธทาสภิกขุ : ฮือ..เลิกประชุม ไปหุงข้าวกิน..ฮือ..จนถึงยังกินอาหาร (นาทีที่ 1:23:36)
คณะสันติอโศก : ทุกคนมีน้ำใจครับ (นาทีที่ 1:23:39)
คณะสันติอโศก : อาจารย์ครับ เดี๋ยวกระผมจะลากลับเย็นนี้เลย
ท่านพุทธทาสภิกขุ : เอาสิ แล้วแต่ แล้วแต่ แล้วแต่ใครมีความจำเป็นยังไง ...กลับรถหนึ่งทุ่มเหรอ รถไฟมี..ห้าโมง ห้าโมงกว่านี้ก็มีแล้ว หนึ่งทุ่มก็มี ..อะไรติด..