แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
ที่พูดเก่า หรือว่าๆมัน เพื่อให้ฟัง ให้ๆฟังให้ดีที่พูดมาแล้ว ทำอย่างไรให้ว่างนั้นก็เคยตอบมาแล้ว พูดกันมากๆยืดยาวว่าไม่ต้องทำอะไร เพียงแต่ให้รักษาที่มันว่าง ว่างอยู่เองแล้ว อย่าไปคิดว่าจะต้องทำมันขึ้นมา คือหลักมันคนละหลัก แล้วบางพวกบางคณะเขาต้องทำขึ้นมาให้มันว่าง นี่เราถือหลักว่าไม่ต้องทำ ให้มันว่างอยู่เอง แล้วก็รักษาความว่างนั้นไว้ให้มันยาวออกไปๆๆ แล้วก็ต้องรู้จักความวุ่น ให้รู้จักความที่มันว่างเองตามธรรมชาติ ใช้วิธีธรรมชาติดีกว่า คือให้รู้ว่ามันว่างเองได้อย่างไรบ้าง แล้วรักษาความเป็นอยู่แบบนั้นไว้
ที่จะไปตั้งหน้าตั้งตาเจริญสมาธิอานาปานสตินั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง บางทีมันก็ยุ่งมากขึ้นไปอีก แต่ถ้าจะทำก็ได้นะ แต่มันสู้ทำตามธรรมชาติ ค้นเองตามธรรมชาติ สังเกตเองตามธรรมชาตินี้ไม่ได้ อย่างไรมันวุ่น อย่าทำอย่างนั้น อย่าปล่อยไปอย่างนั้น คือให้นึกว่าเป็นเรื่องตามธรรมชาติ เหมือนกับสัตว์ทั่วๆไป มันพบสบายอย่างไร มันก็เอาอย่างนั้น ไม่ต้องทำให้เกิดพิธี เกิดลำบากอะไรขึ้นมา ลองดูอย่างนั้นก่อน นิพพานให้มันมีเอง แล้วก็รักษาไว้ เริ่มต้นด้วยการสังเกตว่างตามธรรมชาตินี้ แล้วก็ค่อยๆรักษามันไว้ ถ้าจะทำอานาปานสติตามแบบฉบับนั้นต้องกินเวลาเป็นวัน หลายๆวันติดต่อกันไป แล้วก็ต้องซักไซ้กันมาก บางทีก็ยังไม่ได้ผลดีเหมือนคราวที่ทำอย่างง่ายๆอย่างตามธรรมชาตินั้น เขาเรียกว่าทำแบบปัญญาวิมุตติ คือปัญญารู้สึกตามธรรมชาติสามัญสำนึก ถ้าไปทำแบบกรรมฐาน แบบจริงจังเขาเรียกว่าเจโตวิมุตติ มันยุ่ง คือต้องกินเวลามาก แล้วก็ต้องมีพิธีมาก เว้นไว้แต่กผู้ที่มีเวลาพอ ตั้งใจจะเป็นโยคีจริงๆจึงจะทำ โดยทั่วไปนี่เรามีหลักว่าคิดยังไงมันว่าง คิดยังไงมันวุ่น ทำอย่างนั้น ถ้าทำแบบคนอายุมากนี่ยิ่งดี คนอายุมากเห็นโลกมามาก มันพอจะเห็นได้ทีเดียวว่าอย่างไรมันวุ่น อย่างไรมันว่าง พอความคิดไปทางนี้มันวุ่น ความคิดไปทางนี้มันว่าง เด็กๆหรือคนหนุ่ม พระหนุ่ม ภิกษุหนุ่ม นี่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องนี้ ทำยาก คนแก่ๆทำได้ไม่ยาก มันก็วกไปยังเรื่องที่เคยพูดมามากๆ มองเห็นแต่ความไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็น อย่าๆลืมเสีย ถ้าลืมหรือยังสงสัยอยู่ก็ต้องคิดให้มันแตกออกไป ให้มันชัดลงไปว่าไม่มีอะไรที่น่าๆเอา น่าเป็น น่าหวัง น่ายึดมั่นถือมั่น อยู่ด้วยจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วก็ทำอะไรไปตามที่จะต้องทำโดยไม่ยึดมั่นถือมั่น หลักโดยที่แท้มันมีเท่านี้ รู้จักกลัว รู้จักเข็ดหลาบความยึดมั่นถือมั่น แล้วมันเกิดขึ้นก็อย่าไปเดือดร้อน อย่าไปเดือดเนื้อร้อนใจอะไรมากนัก ก็เป็นธรรมดา พอเรารู้เท่ามันก็หายไป พอเรานึกได้ก็หายไป อย่าไปเสียใจขนาดที่ว่ามันเป็นไม่รู้แล้ว ไม่ๆๆไม่รู้ๆแล้วรู้รอด ถึงแม้จะรู้สึกว่าแย่หน่อย วุ้ย,ก็ให้มันเอาใหม่ ตั้งต้นใหม่ ที่จริงมันก็เป็นเรื่องเสียหายมาก แต่เราก็ไม่ต้องๆร้อนใจมาก ฉะนั้นทำอะไรให้มันเพลิดเพลินไปเสียได้ก็ดี ทำอะไรโดยไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ให้มันเพลิดเพลิน ถ้ามันจะเกิดอะไรขึ้นก็นึกได้ทันท่วงทีว่า เอ้า, ยึด มันยึดอีกแล้ว หรือว่ามันไม่ควร เลิกเสีย แล้วก็ตั้งต้นระวังต่อไปใหม่ เรียกว่าไม่ได้ทำให้เกิดความว่าง แต่ว่ารักษาความว่างที่มีอยู่ พยายามค้นหาความว่างที่มีอยู่ ที่เราถนัด หรือมันๆมีแก่เราโดยง่าย อย่างไรมันว่าง
โดยมากเขาหวังว่าจะต้องปรับปฏิบัติเป็นการใหญ่ หรือแบบ กลายเป็นแบบเป็นโยคี เป็นอะไรไปเลย เขาเรียกโยคี คือผู้ปฏิบัติระบบใหญ่ๆมากๆเสร็จไปทั้งระบบ ถ้าไปห่วงอย่างนั้นมันก็ทำไม่ได้เหมือนกัน ทำอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าอยากสมบูรณ์แบบอย่างนี้ก็ไปอ่านหนังสืออานาปานสติให้เข้าใจ ถ้าทำมันก็ต้องพิธีการใหญ่โตอีก ที่ว่าจะเอาวิธีอย่างนั้นมาใช้อย่างๆลัดๆสั้นๆง่ายๆ ก็พอจะสรุปความได้ว่ารู้จักทำจิตใจให้โปร่ง ถ้ามัน จิตใจมันโปร่งดีอยู่แล้วก็ดูไอ้เรื่องนี้ ดูไอ้เรื่องไม่มีอะไรที่น่าเอา ที่น่าเป็น ไม่มีอะไรที่น่ายึดมั่นถือมั่น ไม่มีอะไรที่น่ารัก หรือน่าเกลียด หรือน่าอะไรทุกๆอย่าง แล้วก็ซ้ำอยู่อย่างนั้น ซ้ำอยู่นั้น ไม่ใช่ซ้ำ ย้ำอยู่อย่างนั้น ย้ำแล้วย้ำเล่านั้นในที่สงบสงัดคนเดียว พอจะออกไปสู่ที่สังคมกับผู้อื่นก็ให้ระวัง เป็นการสอบไล่ เป็นการทดสอบ หรือว่าจะไปทำอะไรเข้า ทำการงานประจำวันนี้อาจจะทดสอบว่ามันเสียไปหรือเปล่า อย่างนี้เรียกว่าปฏิบัติตามหลัก ตามหลักคือค่อนข้างที่จะเป็นหลัก แล้วก็เป็นระเบียบ
ทีนี้สมมติว่าเป็นคนธรรมดา ไม่รู้หนังสือ เป็นคนแก่ เป็นคนไม่รู้หนังสือหนังหา อย่างครั้งพุทธกาลก็มีนะ ก็ศึกษาเพียงคราวที่แล้วมา ข้างในจิตใจที่แล้วมา ไม่มีอะไรที่น่าจะยึดมั่นถือมั่น ไม่มีคำอื่นดีกว่าคำนี้ ยึดมั่นอะไร ที่ไหน มันก็เป็นทุกข์ที่นั่น ไอ้ยึดมั่นมันฟังยาก คำๆนี้ฟังยาก ปัญหามันมาติดอยู่ที่นี่ ไอ้การสั่งสอนไม่ได้ผล การอธิบายแก่ประชาชนไม่ได้ผล ไอ้คำว่ายึดมั่นฟังยาก และเราก็ไม่รู้ว่าใช้คำอะไรให้เหมาะ นี่ต้องรู้จักสังเกต แบ่งแยก ความรู้สึกในใจออกเป็นสองประเภท ประเภทไหนเรียกว่ามีความยึดมั่น คือมีความรู้สึกที่มันเจืออยู่ด้วยตัวกู ของกู อย่างไหนมันไม่ยึดมั่นถือมั่น คือไม่มีปน ไม่ๆปนอยู่ด้วยตัวกู ของกู ถ้าจับอันนี้ได้แล้วจะง่ายขึ้นมาก แล้วให้เอาไปตั้งแต่ตื่นนอนเลย ความคิดอะไรเกิดขึ้น เป็นตัวกู หรือไม่เป็นตัวกู อย่าไปนึกถึงเรื่องอื่น เช่นว่าตื่นนอนขึ้นมาทำอะไรไปตามลำดับๆๆ ว่าเจืออยู่ในตัวกู ของกูหรือไม่ สมมติว่าลุกขึ้นมาก็ล้างหน้า ก็สังเกตดูความคิดเวลาล้างหน้า มันเจืออยู่ในตัวกูของกูหรือไม่ ถูฟันหรืออะไรเสร็จไป ถ้ามันเกิดไม่พอใจ มันเกิดท้อแท้ขึ้นมาตั้งแต่ตื่นนอน หรือว่ามันไม่ได้อย่างใจ อึดอัดอยู่ นี่ก็เรียกว่าตัวกู ของกู ถ้ามันสนุกไปตามธรรมชาติ ตามไปตามธรรมชาติ ก็เรียกว่าไม่มีตัวกู ของกู เรื่องอื่นๆก็เหมือนกันอีก มันแล้วแต่ใครมีหน้าที่อะไร จะต้องไป เข้าไปในครัว นี่มันก็มีเรื่องมากในครัว ทุกระยะ ระยะไหนเกิดอึดอัดขึ้นมาก็เป็นตัวกู ของกู ถ้ามันเรียบร้อยไปตามธรรมชาติ ไม่กระทบกระทั่งอะไรก็เรียกว่าไม่มีตัวกู ของกู ถ้าเข้าโรงเรียนชั้นต้นก็อย่างนี้ก่อน โดยมากมันเกิดเมื่อมีอะไรไม่ถูกใจ มีอะไรไม่ถูกใจ เช้าตื่นนอนขึ้นมา ถ้าไม่มีเรื่องอะไรมันว่าง เรียกว่าว่างเองอยู่แล้ว ตื่นขึ้นมาด้วยความว่าง นี่ระวังอย่าให้มันเกิดไม่ว่างขึ้นมา ถ้าตื่นนอนขึ้นมา มาพบไอ้แก้วน้ำหรือขันน้ำมันสกปรกนี่สมมติ ว่ามันจะเกิดตัวกูหรือไม่ ถ้ามันไปน้อยใจว่าไม่มีใครทำให้มันสะอาด หรือว่าทำไมมันจึงไม่สะอาด อึดอัดอย่างนี้มันก็เรียกว่าไม่ว่าง นี่ถ้าเห็นว่าสกปรกแล้วก็ล้างมันเสีย เช็ดมันเสีย อะไรมันเสียโดยจิตใจคอที่ปกตินี้ก็คือว่าง ปกติในที่นี้มันหมายถึงเรารู้แล้วก็ทำไปตามปกติ ไม่ใช่ยึดถือความปกติ หรือระเบียบอะไรเข้าไปอีก ทุกเรื่องเป็นลำดับๆไป เรื่องที่ต้องทำๆๆอย่างที่ไม่เกิดตัวกู ของกู ไม่เกิดอึดอัด หรือไม่เกิดหลงใหล นี่เรียกว่ารักษา หรือป้องกันความว่างเอาไว้ จะเรียกว่าทำก็ได้ จะเรียกว่าปฏิบัติก็ได้ แต่ไม่อยากให้เรียกว่าปฏิบัติอะไรมากมาย เรียกว่ารักษาเอาไว้ป้องกันเอาไว้ให้คงว่างอยู่กับเหมือนตอนตื่นนอนขึ้นมามันว่าง ถ้ามันเผลอไป ก็รีบนึกเข้ารูปเดิม ให้มันว่าง เคยใช้ประโยคว่าอะไรลืมไปแล้ว ประโยคเช่นว่า อ้าว,นี่มาอีกแล้วๆ นี่ที่เค้าใช้กันมาก ตัวกูมาอีกแล้ว เมื่อพูดกันที่ริมสระ เขาบอกว่าเต่าขึ้นมาอีกแล้วๆ ขึ้นมาจากสระอีกแล้ว มันง่ายอยู่มากไอ้เรื่องเกี่ยวกับกิเลสทำนองนี้ ถ้าพอรู้ว่า อ้าว, นี่มาอีกแล้ว ก็เท่านั้นเอง ก็เงียบไป ก็ดับไป ถอยไป ขอแต่ให้รู้ว่ามันมาอีกแล้ว นี่พอจะ อาจจะเป็นคนที่ว่องไว ว่องไวต่อไอ้ความรู้ก็รู้สติว่ามาอีกแล้วนี้ ต้องหัด หัดไว้ คือเกี่ยวกับว่าให้ละอาย ให้กลัว ให้เข็ดหลาบนี้ ก็คือตรงนี้ ตรงที่เผลอนี่ ที่จะนั่งท่อง นั่งบริกรรมไว้นั้น มันก็ไม่ได้ประโยชน์ เดี๋ยวมันก็กลายเป็นเรื่องพูดแต่ปาก เที่ยวท่องนั่น ท่องนี่ ออกเสียงอย่างนั้น อย่างนี้ ให้เป็นเรื่องที่รู้สึกๆอยู่ ระวังๆอยู่
ทีนี้การระวัง ถ้าว่าระวังเหมือนกับระวังขโมยขึ้นบ้าน หรืออะไรนี่มันก็แย่ มันก็กลายเป็นนอนไม่หลับ กลายเป็นเรื่องยุ่งขึ้นไปอีก มันเพียงแต่ว่าทำไว้ดี จัดไว้ดี ทำไว้ดี ฝึกหัดไปวันละเล็กวันละน้อยทุกวัน เป็นระเบียบ ตื่นขึ้นมาแล้วมีอะไรบ้าง ๑ โมงเช้า ๒ โมงเช้า ๓ โมงเช้า เรื่อยไป จนกระทั่งสิ้นวันหนึ่ง แล้วเป็นกรณีๆไป อยู่คนเดียว อยู่กับคนนั้น คนนี้ ทำนั่น ทำนี่ กับคนนั้น คนนี้ ก็ต้องมีรู้เท่า นี่เรียกว่าระวังๆอย่าให้เกิดวุ่น ทำจากภายนอก เป็นการระวังข้างนอก ทำจากภายนอก มีเวลาว่างเมื่อไหร่ทำ ทำข้างใน ทำจากภายใน หรือพิจารณาดูถึงในเรื่องที่เคยเป็นมาแต่หนหลัง ความทุกข์เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่ต้องไปเอาของคนอื่น เอาของเราคนเดียวพอ ถ้ามันเอือมระอาต่อความยึดมั่นถือมั่น นี่มันเกิดความรู้สึกข้างในขึ้น เป็นนิสัยอันใหม่ เป็นความรู้สึกอันใหม่ เกิดขึ้นมาใหม่ เกลียดๆ กลัวเกลียด ระอาความยึดมั่นถือมั่น นี่ถ้าว่ามีเวลาทำสมาธิก็ทำเพียงเท่านี้พอ คือใช้แบบระบบไม่ต้องทำอะไร ถ้าเรานึกอยู่อย่างนี้ รู้สึกอยู่อย่างนี้ ก็คือทำอานาปานสติอยู่แล้ว มันเท่ากับหายใจไปพลาง เกิดนึกอย่างนี้อยู่ๆๆๆกลางตลอดเวลา เป็นอานาปานสติเหมือนกัน ไม่ต้องๆเสียใจว่าไม่ได้ทำอย่างสมบูรณ์แบบ นึกเกลียด ถ้านึกจนเกลียด เกลียดความยึดมั่นถือมั่น แล้วก็มีลมหายใจอยู่ หายใจเข้าก็เกลียด หายใจออกก็เกลียด เกลียดความยึดมั่นถือมั่น ถ้าท่านมัวนั่งทำอย่างนี้ มันก็เสียเวลา เสียเวลาการงาน ให้ทำพร้อมกันไปกับการงานดีกว่า ส่วนมานั่งทำอยู่อย่างนี้ตามเวลาว่าง เวลาจะนอน เวลาว่างจริงๆที่ไปทำงานอะไรไม่ได้ เวลาไหว้พระสวดมนต์ เวลาอย่างนั้นจัดไว้เฉพาะ ซึ่งก็ไม่มากนัก ความจริงถ้าเราทำงาน หัดทำงานด้วยๆจิตไม่วุ่นวายนี่พอๆๆเกิดเป็นนิสัยสักหน่อยแล้วไม่ยาก สนุกไปในการงาน สนุกในการงานในที่นี้ไม่ใช่ว่ายึดมั่นถือมั่น สนุกมันก็บอกยาก มันสนุกไปโดยไม่ต้องๆหวังอะไร ไม่ได้อะไร ไม่ๆหวังจะเอาอะไร หรือไม่ได้อะไร แต่มันก็สนุก งานอาชีพก็ได้ งานทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นเอาบุญเอากุศลก็ได้ ได้ทั้งนั้น ทำอาชีพก็หัดทำให้มันเป็นเรื่องสนุกไปเสีย ไม่เป็นการงานเหมือนกับนั่งทำไอ้สิ่งที่เอาบุญเอากุศล ผลสุดท้ายอยากจะพูดว่าไม่ทำอะไร คือไม่หมายมั่นปั้นมือว่าทำอะไร พูดไปอย่างนี้มันไปเข้าเรื่องของพวกนิกายเซน ที่เขาพูดอยู่ก่อนแล้ว ว่าอยู่ๆเฉยๆไม่ต้องทำอะไร ทีนี้เรามันเฉยไม่เป็น นิ่งไม่เป็น เฉยไม่เป็น หมายความว่าทำงานอยู่ด้วยมือ ด้วยเท้า ด้วยเหงื่อไหลไคลย้อยนี้ มันก็ไม่รู้สึกว่าทำอะไร ไม่รู้สึกว่าเราทำอะไร เหมือนกับไม่ได้ทำมัน คือไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ส่วนนั้นมันเหมือนกับไม่ได้ทำ ถ้าหวัง หรืออยาก หรือเจตนานี้มันคือก็เท่ากับทำ เท่ากับมีเรา และเราทำ ทำด้วยเจตนา ด้วยอะไร เป็นตัวเป็นตนไปเลย นี่ทำๆอย่างสนุกสนาน คล้ายๆกับว่าไปทำให้คนอื่นอย่างสนุกสนาน เมื่อเราไปช่วยงานศพ หรืองานอะไรก็ตามที่บ้านๆๆญาติ บ้านเพื่อน เราสังเกตจิตใจดู ไม่ค่อยจะยึดถือ คือว่าทำสนุกไปงั้น เพราะไม่ใช่ของเรา ให้เอาลักษณะอย่างนั้นมาใช้ มาใช้กับที่เราทำที่บ้านเรา หรือทำที่เรียกว่าเพื่อเราโดยตรง ที่ธรรมดาเค้าทำเพื่อเรา แต่เราทำโดยไม่ไปรู้สึกอย่างนั้น ทำเหมือนกับทำที่บ้านคนอื่น ทำตามที่จะต้องทำด้วยจิตใจที่สนุกสนาน งานก็ได้ผลดี แล้วก็ไม่มีใครมีความทุกข์ นี่เราก็ลองแยกดูเป็นอย่างๆๆๆจะทำอะไรบ้างวันหนึ่งๆ เหมือนกับหยิบครกมาตำหมาก หยิบตะบันมาตะบันหมากนี้ดู คนแก่ๆไม่ๆมีความทุกข์ ไม่มีอะไร สบาย แต่ทีให้ทำอย่างอื่นๆไม่ค่อยจะเป็นอย่างนั้น ต้องหัดทำให้มันเป็นอย่างนั้น
มีความรู้สึกล่วงหน้า คิดล่วงหน้าไว้บ้างว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นก็ดีนะ เช่นว่าจะพูดกับคนๆนี้ หรือว่าจะทำงานชิ้นนี้มันจะเกิดอะไรขึ้น นี่แหละสติล่วงหน้าป้องกันไว้ แล้วพอเกิดขึ้นจริงๆมันก็จะได้ไม่ประหลาด ไม่เกิดขึ้นได้ ไม่มีเรื่องอะไรขึ้นมา ที่เราไปหาคนนี้มันจะต้องด่าเราแน่ ถ้าคิดไว้ก่อนก็ไม่เป็นไร ถ้าเค้าด่าจริงๆก็เลยสนุก มีอุปสรรคอื่นๆที่จะเกิดขึ้นในการทำงานทุกชนิดประจำวันนี้ ถ้าคิดไว้ก่อน พอมันเกิดขึ้นมันก็หัวเราะ แล้วเราก็ต้องรู้ว่าเรานี่ถึงขนาดนี้แล้ว อายุขนาดนี้แล้ว ทำไมจะต้องวุ่นวายกันอีก แต่พอบอกว่าอายุนี่ก็ใช้อายุไอคิวกันบ้าง คือว่าแม้จะอายุน้อยแต่ว่าเคยศึกษามามาก ควรจะรู้ ไม่ควรจะเสียใจ ไม่ควรจะร้องไห้ ไม่ควรจะหม่นหมอง ไม่ควรอะไรหมด
บางทีก็อยากให้เขาถือว่ามันเป็นศิลปะ เราเป็นศิลปิน การทำอย่างนี้ให้ถือเป็นศิลปะ มีชีวิตอยู่โดยศิลปะ คือทำอะไรโดยไม่มีความทุกข์เลย โดยไม่มีความหม่นหมอง ศิลปะนี่เขาหมายถึงว่าให้มันสวยงดงาม ให้มันน่าดู ให้มันงดงาม แล้วไม่เกี่ยวกับได้ กับเสีย ไม่เกี่ยวกับกำไร หรือขาดทุน มันค่อยยังชั่วหน่อย ถ้าเราเอาจริงเอาจังกัน มันเป็นเรื่องขาดทุนไปทั้งนั้น พอขาดทุนมันก็ไม่ยอม พอกำไรมันก็หลงใหลไป ถ้าหนักเข้าๆมันก็กลัวว่าจะขาดทุนไปเสียเรื่อย ถ้ามันมีเรื่องเสียคือที่เขาเรียกกันว่าขาดทุน เราก็มองในแง่อื่น ในแง่ว่ามันมาสอนให้เราฉลาด จะมองในแง่ว่ามันของธรรมดาก็ได้เหมือนกัน แต่มันๆมองยาก คือว่าเราไม่ชอบ คือเรามองในฐานะเป็นของดีไป มันมาสอนให้เราฉลาด เพราะเราโง่มันจึงขาดทุน มันมาสอนให้เราฉลาด ฉะนั้นเรื่องที่มันมีผิดพลาด เสียหายเล็กๆน้อยๆหรือมากก็ตามประจำวัน มองในแง่นี้ มันเป็นของสนุก มีชีวิตเหมือนกับศิลปิน ไม่ใช่มนุษย์ผู้รับภาระหนัก และถ้าว่ากันที่ถูกแล้ว นี่ก็คือศิลปะจริงๆ เป็นศิลปิน เป็นศิลปะ คืออย่างนี้จริงๆ ใครทำได้ก็น่าดูนะ ไม่มีความทุกข์ ศิลปะของชาวพุทธอยู่ที่นี่ อยู่ที่มีชีวิตอยู่โดยไม่ต้องมีความทุกข์ ทีนี้เขาไปมองที่โบสถ์ วิหาร พระเจดีย์ รูปภาพ รูปเขียน ไอ้สิ่งสวยงามอื่นๆ เรียกว่าศิลปะของชาวพุทธ นั่นมันคนละเรื่อง ที่แท้ก็ไม่ใช่ศิลปะของชาวพุทธ มันศิลปะของคนโง่ ศิลปะของชาวพุทธ ชาวพุทธแปลว่าคนฉลาด หรือคนรู้ พุทธะแปลว่ารู้ แล้วก็รู้เรื่องจิต รู้เรื่องทางจิต ทางใจ ไม่ให้โอกาสความทุกข์เกิด นี่คือศิลปะของชาวพุทธ นอนหลับฝันดียิ้ม ตื่นนอนขึ้นมาแล้วยิ้มตลอดวัน ทุกอย่างเป็นเรื่องน่าหัวไปหมด น่าขันหมด อย่างนี้เรียกว่าไม่ได้ทำอะไร ฉันไม่ได้ทำอะไร คือไม่ได้ทำอะไร เหมือนกับคนไม่ได้ทำอะไรนะ ไม่ได้มีเจตนา มั่นหมายยึดมั่นอะไร ที่จะทำอะไร จะได้อะไร จะเสียอะไรไม่มี ทีนี้เราชำนาญขึ้นทุกที ชำนาญในการทำ เราเลยทำอะไรก็ได้ ทำบัญชีก็ได้ ทำงานฝีมือก็ได้ อ่านหนังสือก็ได้ คิดอะไรก็ได้ สอนใครก็ได้ มันง่าย มันสะดวกไปหมด ถ้ามันทำจนๆชำนาญ เหมือนกับอาจารย์เยื้อนเย็บใบตองนั้น ไม่เห็นว่าต้องคิดอะไร แต่ถ้าคนอื่นๆไปทำเข้าแล้วมันยาก มันลำบาก ฉะนั้นเราทำให้มันเป็นของเล่นๆ ในการงานนั้นเป็นของเล่น ในของเล่นนั้นเป็นการงาน มีการงาน ถ้าทำบัญชี ทำๆของเล่น เล่นทำบัญชี ถ้าหุงกินข้าว ก็เล่นหุงข้าวกิน หรือทำอะไรที่ยากกว่านั้น ก็เรียกว่าทำเล่น เล่นละครแบบนั้น ไอ้เรื่องที่ยาก มันทำยาก มันเผลอ มันเกิดโมโห หรือว่าเกิดเสียใจหรือเกิดอะไรขึ้นมาโดยไม่ทันรู้ ดังนั้นเราต้องไม่มีอะไรเป็นเรื่องใหญ่ ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่อง เสียเงินสักล้านหนึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ ทำดีที่สุดพอแล้ว แล้วก็ไม่ๆละโมบ ทำให้มันมากเกินความสามารถ เกินความจำเป็น ไม่จำเป็นก็ไม่ทำ
เขามีบทๆธรรมะ หลักธรรมะอยู่บทหนึ่งที่ไม่ค่อยจะเข้าใจกัน คือว่าไม่จำเป็นก็ไม่ทำ อย่าไปหาเรื่องให้มันมาก ทำให้พอดี พอเหมาะ พอสะดวก แล้วมันหาความสุขได้ง่าย จะเรียกว่ามีการงานน้อยก็ไม่ถูก คือมันไม่น้อยหรอก เพราะว่าเมื่อทำถนัดแล้วมันมีผลมาก แต่ว่าไม่ให้มันมากเรื่อง หรือเหนือความสามารถ จะเรียกว่าน้อยก็ได้ มีการงานน้อย มีการงานพอประมาณ อัปปะกิจโจ มีๆๆกิจน้อย เพราะรู้พอประมาณ สัลละหุกะวุตตินี่คือเบาอยู่เสมอ เบาสบายในการงานอยู่เสมอ นี่เป็นหลักที่ๆเป็น จะเป็นพระโสดาบัน ก่อนการเริ่มต้นเป็นพระโสดาบันก็มีบทอย่างนี้ บทที่พระสวดอยู่บ่อยๆ เช้าๆก็สวด ตรงนี้ก็สวด อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ คุณบทนี้เป็นคุณบทของผู้ที่จะเป็นพระโสดาบัน อัปปะกิจโจ ตัวหนังสือแปลว่ามีๆการงานน้อย แต่มันไม่ใช่น้อยอย่างที่ น้อยอย่างนั้น มันน้อยเรื่อง หรือมันน้อยปริมาณก็ตามใจ แต่มันมีผลมาก ถ้าเราเลือกเอาอย่างนั้น มีเรื่องน้อย มีการงานน้อย มีการงานพอประมาณ แต่ว่าไอ้การงานนั้นมันมีผลมากพอที่จะอยู่ได้ เป็นอยู่ได้ หรือว่าได้ตามที่จะเป็นอยู่ ข้อนี้มันขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นั้น ถ้าเขาเป็นคนสามารถ และคำว่าน้อยมันเท่าภูเขาของไอ้คนโง่ๆ หรือคนไม่สามารถ เหมือนกับคนที่มันฉลาดสามารถคนหนึ่งนี้มันจะทำงาน สมมติว่าทำโรงสี ๑๐ โรง มันก็ทำได้ คือมันสามารถทำๆโรงสี ๑๐ โรงกลายเป็นงานน้อย แล้วคนธรรมดาทำครึ่งโรงก็งานมาก งานมากเหลือๆๆทน เหลือๆกำลัง ฉะนั้นเราก็ทำงานที่เราถนัด น้อยก็คือมาก แต่ถ้ามันสามารถทำได้ ๑๐ โรง ไปทำ ๑๐๐ โรงนั่นมันบ้าแล้ว คือว่ามันจะต้องเกิดเรื่องยุ่งยาก เสียหาย จะยุ่งกันใหญ่
ข้อแรกก็รู้ว่าเราควรจะทำอะไร เท่าไหร่ การงานที่ทำวันหนึ่งๆ หรือว่าเราจะมีชีวิตอยู่ด้วยการงานเท่าไร ไอ้พวกอาชีพ แล้วก็เอาเท่าที่มันจะทำได้ มันก็มี เรียกว่ามีกิจน้อย ถ้าสัลละหุกะวุตติ นี่มันก็เป็นไปได้ คือมันเบาสบาย คล่องแคล่ว เบาสบายอยู่เรื่อย คล่องแคล่วเบาสบาย ไม่หาบ ไม่คอน ไม่อะไรอย่างที่เรียกว่ามันหนักขึ้นไปหมด สันตินทริโย นี่ก็ภายในจิตใจปกติ มีใจคอปกติ นิปะโก มีปัญญาพอๆๆดีกับการงาน อัปปะคัพโภ ไม่คึกคะนอง นี่ตัวอย่าง ศิลปะมีชีวิต ศิลปะในการมีชีวิตเพื่อเป็นพระอริยบุคคล หรือมันเป็นพระอริยบุคคลอยู่ในศิลปะนั้น ไอ้คำพูดที่มาพูดนี้สำหรับพระ ก็เป็นคำพูดสอนพระโดยตรง แต่ว่ามันเหมือนกัน ใช้กันได้กับชาวบ้าน คำว่าน้อยสำหรับพระก็อย่างหนึ่ง น้อยสำหรับชาวบ้านก็อย่างหนึ่ง แต่ต้องมีหลักว่าน้อยนี่คือมีการงานพอดี คือมีแต่น้อย พอกับความสามารถ เพราะว่าไอ้การบรรลุมรรคผลก็ไม่ได้จำกัดว่าเป็นพระ หรือเป็นฆราวาส เป็นฆราวาสก็เป็นพระโสดาบัน เป็นพระก็เป็นพระโสดาบันได้ ไม่ๆจำกัด ฉะนั้นหลักใหญ่ๆมันจึงเหมือนกัน เป็นคนที่มีศิลปะ มีศิลปะในการมีชีวิต พ้นจากไอ้ความเป็นวัว เป็นควาย เป็นอะไรหนักๆ
ทีนี้ปัญหาของปุถุชนมันอยู่ที่มันวาง ตั้งจิตไว้ผิด ตั้งจิตไว้ผิดเป็นหลักใหญ่ มากเกินไป เกินความสามารถก็มี หรือมันคิดให้เป็นมากไปเสียก็มี คิดให้เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องยาก เรื่องลึก ต้องใช้คำนี้เพราะมันกลัว มันกลัวจะเสีย จะขาดทุนตัวมัน หรือถ้ามันโลภมาก มันก็คิดไปในทำนองว่าไม่ได้ผลมาตามที่กิเลสต้องการ นี่มันก็เลยวุ่นวายเป็นทุกข์ นี่เราไม่มีกิเลสสำหรับต้องการ เรามีความพอเหมาะพอดี มีความรู้ถูกต้อง มีศิลปะแบบนี้แหละ ก็คืออยู่นิ่งๆ คืออยู่นิ่งๆ โดยเฉพาะเป็นฆราวาส เมื่อมาได้ค้นๆหาอย่างสุดความสามารถแล้วมันไม่พบ ที่ว่าอุบาสก อุบาสิกา จะต้องทำอานาปานสติให้สมบูรณ์แบบอะไรต่ออะไรนี้มันไม่มี มันมีแต่ทำแบบนี้ ทำแบบอย่างที่ว่า ทำวิปัสสนา ทำกรรมฐาน ทำอะไรก็เหมือนกัน มันทำแบบนี้ ไม่ต้องไปทำอะไรเหมือนกับที่เขาจัดกันขึ้นเดี๋ยวนี้ คือทำอย่างพระที่ไปอยู่ป่าแล้วตั้งใจทำ ไม่มีที่สำหรับอุบาสก อุบาสิกา ที่จะต้องทำ แต่มันก็มีอย่างอื่นทำแทนแล้วได้ผลเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามันช้ากว่า มันค่อยเป็นค่อยไป ไอ้พระที่ไปทำจริงๆจังๆในป่า ในถ้ำ ในโคนต้นไม้ มันก็มีล้มเหลวเยอะแยะไป มันอยู่ที่ไอ้จิตที่มันตั้งไว้ผิดหรือถูก มันโลภมาก มันทะเยอทะยาน ทะเยอทะยานในการทำ ในการบรรลุธรรมต่างๆ ข้อนี้แน่นอนว่าไม่มีๆหลัก ไม่มีธรรมเนียม ที่ว่าอุบาสก อุบาสิกา จะไปทำกรรมฐานแบบพระทำในป่า ในถ้ำ ในภูเขา ในที่สงัดคนเดียว ทำอย่างเคร่งเครียดเป็นโยคี นี่ก็ว่ามีสอนเรื่องสุญญตาแก่ชาวบ้าน อย่างพุทธภาษิตเรื่องสุญญตานั้น ก็แปลว่าชาวบ้านนี้ปฏิบัติเรื่องสุญญตาได้ ปฏิบัติอยู่ที่บ้าน แบบชาวบ้าน อย่างชาวบ้าน คือทำงานด้วยจิตว่าง คือทำงานด้วยจิตที่ประกอบอยู่ด้วยสุญญตา เลี้ยงลูกก็ได้ ทำงานอะไรก็ได้ ทำนา ทำสวน ทำไร่ก็ได้ ไม่มีในอรรถกถา ไม่มีในบาลี หญิงเป็นโสดาบัน ถ้าสามีเป็นนายพรานอย่างนี้ ก็ช่วยเหลือสามีเกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือหรืออะไรอย่างนี้ เหมือนที่ภรรยาจะต้องทำก็ยังมี มันพูดไปเดี๋ยวมันก็จะเป็นเรื่องน่าหัว หรือน่าหัวเราะเยาะ ทำงานด้วยจิตว่าง สามีเป็นนายพรานนี้ ภรรยาจะต้องทำอะไรบ้าง จะต้องหุงข้าวให้กินอยู่ตอนนี้ บางทีจะต้องช่วยชุนตาไปข่ายดักนกด้วย จะต้องส่งเครื่องมือเครื่องใช้ไปให้ เดี๋ยวนี้เราไม่มีปัญหามากถึงขนาดนั้น ไม่ต้องไปคิดมันก็ได้ นี่เขาว่าไว้อย่างนั้นในอรรถกถาเพื่อว่าจะได้หมดปัญหา ไม่มีเจตนา หรือมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือมันๆจำเป็นจะต้องทำอยู่ มันก็มีช่องทางที่จะทำด้วยจิตว่าง จิตไม่ยึดมั่นถือมั่น หรือว่าจะแยกทางกันเดินก็ทำได้ มันต้องได้ทั้งนั้นแหละ ต้องไม่มีเรื่อง ที่ถ้าเป็นบุคคลที่เป็นอิสระแก่ตัวนี่มันก็ควรจะง่าย มีเวลาสังเกต คิดนึก ศึกษาอยู่เรื่อย ฉะนั้นก็หมายถึงเป็นคนจน มีความจำเป็นบังคับ มีอะไรหลายอย่าง เป็นภรรยาของนายพรานอย่างนี้
เดี๋ยวนี้เรามีเงินใช้ มีข้าวกิน มีบ้านอยู่ ไม่มีอะไร เรียบร้อย เป็นอิสระ ก็ควรจะทำได้ แล้วก็ควรจะเป็นพระโสดาบันได้ ดังนั้นมันก็น่าละอายขายหน้า ไอ้คนที่ว่านี่ เขาไม่ได้คิดอะไรมาก เขาไม่ได้รู้อะไรมาก รู้มากจนๆๆโง่ ไอ้เรานี่ระวังให้ดีจะรู้มากยากนาน รู้มากจนโง่ รู้มากจนๆทำอะไรไม่ได้ แล้วก็พูดมันก็ไม่รู้จบหรอก มันสรุปความได้ว่าสังเกตๆจนพบ สังเกตให้พบว่าอย่างไรมันวุ่น อย่างไรมันว่าง มีจิตพอใจในความว่าง พยายามพอใจในความว่างนี่ คือว่าเราดื่มรสของความว่างให้บ่อยๆ มันจะมีความพอใจในความว่าง แล้วมันเอียงมาหาไอ้ความว่าง จิตมันน้อมมาเอง ประคับประคองนิดหน่อย อย่าทำให้มันวุ่นขึ้นมา แล้วพอใจในความว่างอยู่เรื่อย จนถึงระดับหนึ่งมันวกไปหาความวุ่นไม่ได้ มันเกลียดเต็มที มันพอใจที่จะน้อมไปในทางๆว่าง ทางๆสบาย ทางสงบ ทางเย็น ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นมันเสียสละได้หมด คงเอาไว้แต่ไอ้ความสงบเย็น แต่เรื่องมันไม่ต้องถึงอย่างนั้น ไม่ต้องถึงว่าสละสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องสละ มันก็ต้องแก้ไขได้ แล้วการแก้ไขปัญหานั้นแหละคือการปฏิบัติพระธรรม การปฎิบัติธรรมะอย่างสูง ไม่ต้องไปที่วัด ไม่ต้องไปในดง ในป่า แก้ปัญหาที่มันเกิดขึ้น ที่มันเกิดขึ้นตรงไหนแก้ตรงนั้น เที่ยวเอาชนะปัญหาให้ได้ โดยเอาชนะกิเลสภายในให้ได้ อยู่อย่างชอบ อยู่โดยชอบ เป็นอยู่โดยชอบ โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์เพราะเป็นอยู่โดยชอบ เป็นอยู่ให้ถูกต้องเข้าไว้ในรูปของศิลปะ คือยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ยึดมั่นถือมั่นกับเขาไม่เป็น นี่ก็เป็นอยู่โดยชอบเรื่อยๆๆไป มันก็ไปถึงของมันเอง ไปถึงที่สุดของมันเอง ไม่ต้องพูดถึงจะไปเรียนพระไตรปิฎก ไปเรียนอภิธรรม ไปเรียนอะไรมากมายก่ายกองทั้งนั้น หรือแม้ว่าไปปฏิบัติไอ้ชุดอานาปานสตินี้ก็ยังไม่ต้องพูด ยังไม่จำเป็น อยู่อย่างนี้ อยู่อย่างให้ถูกต้อง แล้วมันเป็นหมดเอง เป็นครบหมด เป็นพระไตรปิฎกเป็นอะไรอยู่ในนี้เสร็จ มีลมหายใจอยู่ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นหมดทุกอย่าง เป็นอภิธรรมสูงสุด ถ้าปล่อยให้มันงอกงามไปตามธรรมชาติ เราไม่เร่งด้วยความกระหาย ด้วยอะไร
โดยเรามีหลักที่มองเห็นอยู่ว่าไอ้ๆทั้งหมดมันก็มีรสชาติอย่างนี้ อย่างน้ำทะเลนี้มันเค็มทั้งนั้น ทั้งมหาสมุทรมันก็เค็มทั้งนั้น ตักมาขันหนึ่งมันก็เค็มทั้งนั้น ดังนั้นเรากินเค็มเท่านี้ก็พอ ทีนี้เราไม่ต้องกินทั้งมหาสมุทรก็ได้ คือเราเอาที่มันว่าง ว่างสบายอยู่ ทีละเรื่องๆๆ ไม่ให้มันมากเรื่องออกไป ให้มันมีที่ไม่ว่างน้อยลงๆ เพราะเราจะไปโลภกินทั้งมหาสมุทรทำไม ถ้ามันเค็ม เค็มเท่านั้น นิพพานจริงมันก็สบายเท่านั้น นิพพานชั่วคราวมันก็สบายเท่ากัน นี่เรารักษาไอ้ชั่วคราวนี้ให้มันมากเข้าไว้ ให้มันหลายชั่วคราวๆ ให้มันติดปะต่อเนื่องกันไปจนกว่ามันจะเป็นนิพพานจริงก็เท่านั้น ว่างชั่วคราว ว่างชั่วขณะ ว่างโดยบังเอิญ มันก็มีรสชาติอย่างนี้ ว่างจริงมันก็รสชาติอย่างนี้ อย่างนี้มันก็อย่างเดียวกัน มันจึงไม่ละโมบ ไม่ละโมบไอ้ที่จะได้อะไรมากๆเร็วๆ พยายามดื่มกินไอ้เท่าที่มันได้ รสชาติมันเท่านี้ ถ้าขยายมันให้มันติดต่อเนื่อง ไม่เหนือวิสัยของใคร ใครๆก็พอจะทำได้ ฉะนั้นว่างได้ ๑ นาที ๕ นาที ๑๐ นาทีก็วิเศษ จะดื่มกินมัน แล้วมันจะๆชอบ แล้วมันจะน้อมไปทางนั้น เดี๋ยวนี้มันไม่รู้จักดื่มกินไอ้สิ่งเหล่านี้ มันกระหายอะไรก็ไม่รู้ กระหายนิพพานที่ไหนก็ไม่รู้ นิพพานที่มีให้จริงๆนี่มีอยู่แล้ว อาจจะมีอยู่แล้วก็ไม่ๆๆเอา ไม่รู้จัก ไปหวังนิพพานที่ไหน เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ บางคนหวังมากหลายกัปหลายกัลป์จึงจะได้ อย่างนี้มันยิ่งกว่าตายเปล่า ทีนี้นิพพานที่มันมาบังเอิญเย็นขึ้นมาเองก็กินเสียก่อน รสชาติอย่างเดียวกัน ตัวอย่างสินค้า รสชาติอย่างเดียวกับสินค้าที่ซื้อจริงๆ
ที่ว่าสติพิจารณานั้นมันไม่ใช่พิจารณาลึกซึ้งอะไร พิจารณาคือระวังนี้ ระวังตรงที่มันจะกินเข้าไปนี่จะถึงแล้ว จะถึงเข้าแล้ว ตื่นขึ้นมาจะทำอะไรบ้าง ทำให้มันถูก ถูกตามเรื่องตามราว แล้วพอจะทำอะไร หรือจะๆกินอะไร ก็แน่นอนก่อนว่ามันไม่ผิด ที่เขาให้ปัจจเวก มีๆการปฏิบัติที่เรียกว่าปัจจเวก คือให้นึกให้ได้เสียก่อนจึงทำลงไป หรือจึงกินอะไรเข้าไป หรือว่าอะไรก็ตาม นึกให้ได้เสียก่อน มันเป็นเรื่องสติสัมปะชัญญะ ถ้าเรื่องนั้นมีความหมายมาก มีความหมายแก่จิตใจมาก ดังนั้นต้องยิ่งพิจารณามาก ต้องรอให้จิตใจมันตั้งตัวได้ก่อนจึงจะทำลงไปหรือจะกินลงไป เพราะสิ่งนั้นมันยั่วกิเลสมาก คงจะมีเพียงการนี้ ปัญหายุ่งยาก ส่วนเรื่องธรรมดาสามัญก็ไม่มีอะไร เพราะเราก็เคยศึกษาเล่าเรียน เคยรู้อะไรมามากแล้ว ดังนั้นจะเผลอแต่เรื่องที่มันมากกว่าเรื่องธรรมดา มันยั่วยวน หรือดึงดูดมากกว่าธรรมดา แล้วก็แก้ไขปัญหานี้จนกลายเป็นธรรมดาไปเสียอีก ในที่สุดมันไม่มีอะไรที่ไม่ๆ คือไม่มีอะไรที่มันใหญ่โต หรือว่าเหนือความสามารถ ความตายก็ไม่มีความหมาย ความอยู่ก็ไม่มีความหมาย ความตายก็ไม่มีความหมาย เป็นของธรรมดาที่ผ่านไปด้วยดี ถ้านึกว่าตายเสร็จแล้วก็หมดปัญหา ปัญหาเหลือน้อย หรือหมดปัญหา ไม่มีตัวเราไม่มีของเราอยู่เสียแล้วก็ไม่มีปัญหา แต่กลัวจะไม่จริง มันลืมไปเสียอีก พอความเจ็บไข้มาถึงความตายมาถึงๆ มันก็เป็นทุกข์มากมาย แล้วไม่ทันรู้ตัว อย่างนี้ต้องนึกไว้ก่อน
การที่จะเอาหัวกะโหลก โครงกระดูก มากอดไว้ หรือมานอนในโลงนี้มันๆก็มีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ไม่ๆๆๆใช่ทั้งหมด หรือไม่ใช่เรื่อง หรือไม่ให้เกิดความเคยชินได้บ้างเหมือนกัน ความเคยชินคือไม่แปลกได้บ้าง แต่เรื่องทางจิตใจมันไกลกว่านั้น มันต้องทุกข์เพราะเรื่องเกี่ยวกับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในใจแล้วเราไม่ทุกข์ เราก็ทำให้มันเคยชินเหมือนกับว่านอนในโลงจนไม่กลัวโลง หรือว่านอนกับโครงกระดูกจนไม่กลัวผีอย่างนี้ แต่มันคนละเรื่องนะ นอนในโลง กับนอนกับโครงกระดูกก็คนละเรื่อง การเคยชินทางวัตถุ ทางภายนอก ทีนี้ทางจิตใจนี้เราชินกับความทุกข์ที่เราเคยทุกข์ เห็นเป็นของธรรมดาไปเลย เหมาะสำหรับคนแก่ อย่าลืมว่ามันเหมาะสำหรับคนอายุพอสมควร เด็กๆเข้าใจไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลักธรรมะชั้นสูงนี้เขาสำหรับคนแก่ คนที่ผ่านโลกมาแล้ว สำหรับเด็ก หรือสำหรับคนหนุ่มนั้น ในบางกรณี พิเศษ พระอรหันต์เด็กๆมีสักสิบกว่าองค์เท่านั้น พระอรหันต์แก่ๆทั้งนั้นเลย เพราะว่าเรื่องนี้มันเหมาะสำหรับคนที่ผ่านโลกมาแล้ว
เมื่อหลายปีมาแล้วเคยสอนกันง่ายๆว่า ไม่ต้องอะไร ไปดูว่าอะไรมันน่าสนุกบ้าง บางคนแก่ๆนี่ ไม่ใช่สอนเด็ก มีเงินสนุกไหม มีสามีสนุกไหม มีภรรยาสนุกไหม มีลูกสนุกไหม มีวัวมีควายสนุกไหม มีอะไรสนุกไหม ถามมีแล้วมันสนุกไหม เป็นเศรษฐีสนุกไหม เป็นขอทานสนุกไหม น่าเป็นไหม เพื่อให้มันไปสู่จุดที่ว่าเราอย่าไปยึดมั่นว่าเป็นอะไร อย่าได้ยึดมั่นว่าเราเป็นอะไร เป็นก็เป็นแต่สมมติ เขาสมมติให้เป็น หรือว่าเป็นโดยสมมติ แต่ใจอย่าเป็น แบบปากอย่างใจอย่าง กระทั่งว่าเป็นเทวดาสนุกไหม น่าเป็นไหม คนที่ไม่รู้เรื่องต้องๆอยากเป็นแน่ เป็นเทวดา เพราะเขาฝันไว้ว่าดี เป็นเทวดาก็ยังไม่ๆดีเท่าเป็นพรหม เป็นพรหมคือสูงสุด น่าเป็นไหม พอไม่เป็นอะไร พอไม่ พอจิตไม่น้อมไปเพื่อจะเป็นอะไรแล้วมันก็จะเป็นไอ้ที่ๆว่า ที่ถูกทาง คือว่าง คือจะเป็นพระอริยเจ้า ทีนี้เราถูกๆสอน ถูกอบรมให้ไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ อะไรก็น่าเป็นไปหมด น่าเอาไปหมด เทวดาก็น่าเป็น เป็นพรหมก็น่าเป็น อะไรก็น่าเป็น นิพพานก็น่าเป็น น่าเอา มันเลยยืดยาวๆอีกมาก เพราะไม่รู้ว่าเทวดาคืออะไร พรหมคืออะไร ยังยืดยาวอีกมาก ถ้าว่าเป็นเศรษฐีพอจะเห็นง่าย บางทีคนไม่เคยเป็นเศรษฐีก็ชักจะสั่นหัวได้ว่าไม่น่าเป็น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คนที่ไม่โง่นักก็จะมองเห็นว่าไม่น่าเป็น แต่พอที่จะเป็นเทวดา เป็นพรหมนี่น่าเป็น มันมองไม่เห็นว่าไม่น่าเป็น เพราะมันฝันเอาได้ มันต้องอธิบายกันเสียหน่อยว่าเป็นอย่างนั้นๆแล้วมันก็ไม่อยากเป็น สู้ไม่เป็นอะไรไม่ได้ ไม่นึกว่าเราเป็นอะไร เขาให้เป็นก็เป็นได้ทั้งนั้นน่ะ เป็นได้ทุกอย่าง เขาสมมติให้เป็น ที่ใจมันไม่เป็นตามนั้น มันมองเห็นว่ามันไม่ควรจะเป็น ไม่น่าเป็น นี่คือๆไม่เป็นอะไร คือว่าง หรือว่าไม่เป็นอะไร เป็นศิลปะสูงสุด ศิลปะสำหรับไม่เป็นอะไร ทีนี้ก็ทำไปตามที่ว่าหน้าที่นั้นมันควรจะทำอะไรบ้าง ก็ทำไปโดยไม่ไปยึดมั่นถือมั่น อย่างเป็นสมภารอย่างนี้ หน้าที่สมภารมันก็ทำไปอย่างๆที่มันจะทำไปได้ มันก็ไม่ยึดถือมั่นจนถึงกับว่าเมื่อมันไม่ได้ทำ มันก็เป็นทุกข์ เมื่อได้ทำก็ดีใจ หลงใหล ทำไม่ๆไหวก็ลาออก ไม่ต้องเสียใจ เดี๋ยวนี้ทำไม่ไหวแล้วก็ยังไม่ยอมลาออก มันก็เหมือนกับคนบ้า ดังนั้นหน้าที่หรือเกียรติยศอะไรที่มันไม่ มันควรจะลาออกก็ลาออกเสียได้ ถ้ามันยังต้องอยู่ ยังลาออกไม่ได้ มันก็ต้องอย่ายึดมั่นถือมั่น ทำไปตามหน้าที่ๆจะทำได้ แล้วก็ไม่ต้องเสียใจ หรือว่าไม่ต้องให้ใครเขาโทษได้ว่าเราทำไม่ได้ ให้เราทำก็ทำไม่ได้ นี่ก็เรียกว่าเราไม่ๆๆเป็นอะไร ไม่เอาอะไร ไม่อะไรหมดน่ะ โดยจิตใจก็ไม่เอาอะไร โดยสมมติก็ทำไปตามที่จะทำได้ ทำไม่ได้บอกเลิก ถ้าคิดว่าอะไรก็ไม่ยอม ไม่ยอมหยุด ไม่ยอมเลิก จะทำให้มันได้ไปหมด มันก็ทำไม่ได้ ขืนทำมันก็บ้าตาย ยิ่งกว่าคนที่มันไม่รู้อะไรเสียอีก เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาพอก็ต้องคิดบัญชี คิดสรตะ คิดสรตะว่าเกิดมาทำไม มันควรจะได้อะไร อะไรมันเป็นอย่างไร คิดๆให้หมด แล้วก็วางสรุป วางโครงการสรุปว่ามันควรจะมีเพียงเท่าไร เป็นอะไรอย่างไร
เดี๋ยวนี้เขาไม่ได้สอนเด็กๆให้รู้ว่าเกิดมาทำไม มันก็ลำบาก แต่เราก็สอนของเราเองได้ พยายามค้นคว้าพอให้รู้ว่าเกิดมาทำไม แล้วมันจะต้องทำอะไรบ้าง ไม่ต้องทำอะไร อะไรไม่ต้องทำ ให้มันแน่ในส่วนหลักการใหญ่ๆก็พอ ว่าเราจะเกิดมาเพื่อไม่มีความทุกข์ เอากันอย่างนี้เลย ฉันเกิดมาเพื่อจะไม่มีความทุกข์ แล้วก็วางไอ้โครงการต่างๆให้เป็นไปเพื่อฉันไม่ต้องมีความทุกข์ มันๆจะค่อยเข้าไปหาไอ้เรื่องๆเป็นอยู่ด้วยศิลปะ ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น เด็กๆคิดว่าเกิดมาเพื่อสนุกสนาน เอร็ดอร่อย ทุกข์หรือสุขไม่ต้องพูด นี่พอมันเป็นทุกข์เข้ามามันก็ทำไม่ถูก พอได้สนุกสนาน เอร็ดอร่อย มันก็โง่มากขึ้นไปอีก ฉะนั้นให้ถือว่าไปคิดปัญหาว่าเกิดมาทำไมให้มันแน่นอนเสียก่อน ให้มันลุล่วงไปเสียก่อนว่าเกิดมาทำไม แล้วมันจะพบๆเอง พบว่าจะต้องทำอะไรบ้าง คือพบหลักใหญ่ที่ทำอะไรไม่ๆผิด ได้แน่ๆ เกิดมาทำไม เกิดมาเพื่อไม่ทุกข์ มันก็พบหลักที่ว่าจะทำให้ไม่ทุกข์ อะไรมันทุกข์ก็ไม่ทำ นี่เราก็ไม่แน่ว่าเกิดมาทำไม เดาเอาเองก็ยังเดาไม่ถูก ไอ้ที่ว่าจะเกิดมาเอาบุญเอากุศลนี่ว่าๆตามๆกันทั้งนั้น ว่าตามๆไปตามหลับหูหลับตา ไม่ได้มองเห็นจริงว่ามันจะเป็นอย่างไร ผลสุดท้ายก็เหมือนเด็กๆ เกิดมาเพื่อสนุกสนาน เอร็ดอร่อย ให้ดียิ่งๆขึ้นไป ให้ชั้นสูงขึ้นไป เป็นชั้นเทวดา ชั้นพรหม อย่างนี้มันเป็นการที่เรียกว่าเกิดมาไม่รู้ว่าเกิดมาทำอะไร นอกจากเกิดมาสนุกๆ เอร็ดอร่อย อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างนู้น มันก็เลยเดินไปคนละทางกับที่ว่าเกิดมาพบความไม่ทุกข์ มาหาความไม่ทุกข์
ฉะนั้นก็ต้องถือเสียว่าเราไม่ได้อยากเกิด มันเกิดมาแล้วเท่านั้นเอง ถามว่าเกิดมาทำไมนี่อย่าไปเข้าใจว่าเรามันอยากเกิด เราก็ไม่รู้ เราก็ไม่ได้อยากเกิด มันเกิดมาแล้ว พอเกิดมาแล้วจะต้องทำอะไรบ้างนั้น จะต้องถือว่านั้นนะเกิดมาเพื่อทำสิ่งนั้น เกิดมาเพื่อฉลาด แล้วก็เพื่อรู้ๆๆๆๆๆๆๆ รู้จนรู้ว่าไม่มีอะไร ไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็น ถ้าไม่รู้เรื่องนี้ มันก็ไม่รู้จะทำอะไร น่าเอา น่าเป็นไปเสียหมด ไปเสียทั้งหมดก็มี แล้วก็มีความทุกข์มากเท่าที่ว่ามันอยากจะเอา จะเป็น ไปเสียทั้งหมด ไม่ได้ก็ฆ่าตัวตาย ก็เลยยิ่งน่าสงสารมากขึ้น เพราะสิ่งที่ตัวไปฆ่าตัวตายเพื่อจะเอานั้นไม่มีๆราคาเลย ฉะนั้นถ้าคนที่ฆ่าตัวตายนั้นจึงถือว่าเป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย ที่มาเทียบกับไอ้คำสอนในพุทธศาสนามันไม่มีใครจะตาย ไม่มีใครที่จะเกิดมา ไม่มีใครต้องการอะไร มีแต่จิตใจรู้สึกคิดนึกได้ จิตใจก็จงทำหน้าที่ช่วยตัวเอง ทำอย่างไรไม่รู้สึกเป็นทุกข์ได้ก็เอาอย่างนั้น จึงอยู่เหนือความเกิดมา เหนือว่าเราเกิดมา หรือมีใครเกิดมา ในที่สุดมันก็ตอบปัญหาอย่างเด็กๆไม่ยอมรับว่าเกิดมาเพื่อให้รู้ว่าเราไม่ได้เกิดมา
ที่จริงถ้ามนุษย์ในโลกทุกคนรู้ว่าเกิดมาทำไมแล้วก็ โลกนี้ก็น่าดูมาก จะมีแต่ความสงบ เป็นโลกพระศรีอารย์ ไม่รบราฆ่าฟัน ไม่ทำอะไรที่มันไม่ควรทำ นี่ทุกคนไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม รู้แต่ว่าฉันต้องการอะไร จะเอาให้ได้ แล้วคิดหาวิธีเอาให้ได้ เพียงๆคิดเท่านี้มันก็เป็นบาป เป็นอกุศลแล้ว คิดว่าเราจะเอาอะไรให้ได้ตามที่เราต้องการ คิดเท่านี้ก็เป็นบาป เป็นอกุศล ก็ไม่ได้ทำอะไรสักที มันก็ลงๆไอ้ คือตั้งต้นที่จะทำบาป ทำอกุศล ความเจริญในโลกนี้ก็คือตั้งหน้าตั้งตาแย่งชิงแข่งขัน หาเอาตามที่ตัวต้องการโดยไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม อะไรเป็นตัวความทุกข์ก็ไม่รู้ ยิ่งๆๆๆเข้าไปหาไอ้ความทุกข์นั้นมากขึ้น เดี๋ยวนี้โลกทั้งโลกมันอยู่ในกำมือของพวกนักการเมือง ไอ้นักการเมืองเหล่านี้เป็นคนโง่ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม เมื่อพาโลกไปสู่ความทุกข์ เรามีวิธีใดที่จะปลีกตัวออกมาเสียได้ โดย ถ้าไม่ได้โดยร่างกายก็ต้องได้โดยจิตใจ ผลสุดท้ายก็ได้พึ่งเรื่องความว่างอีกแล้ว
เรื่องสุญญตานี้ นี่เราพูดกันยืดยาวแล้วว่าเราสรุปได้ ตั้งต้นให้รู้เสียทีว่าเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่อไม่เป็นทุกข์ ไอ้ความทุกข์มาจากความยึดมั่นถือมั่น ก็อยู่โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยเกลียดกลัวความยึดมั่นถือมั่น ศึกษาให้รู้จักความยึดมั่นถือมั่น จนมันไม่อาจจะเกิดได้ วิธีง่ายๆก็คือเป็นคนโง่เสีย เป็นคนไม่ประสีประสา ไม่ทะเยอทะยาน ไม่หวัง ไม่อยากทั้งนั้น เลี้ยงสุนัขไว้เป็นอาจารย์ มันไม่อยากอะไรแล้ว มันก็สบายอยู่ มันสบาย แล้วมันไม่ต้องการอะไร เราก็อย่าต้องการอะไรให้มากไป เทียบส่วนกันแล้วเราก็อย่าๆๆๆต้องการอะไรให้มากเกินกว่าที่จำเป็น อย่าต้องการด้วยความยึดมั่นถือมั่น หรือด้วยความโง่หรืออวิชชา รู้แต่เพียงว่าอะไรจะต้องทำ รู้อะไรจะต้องทำก็ทำตามๆสติปัญญา ตามความรู้ที่ถูกต้องว่าอะไรควรจะต้องทำ ก็ทำๆ นี่คือวิธีปฏิบัติที่เรียกว่าเป็นหลักทั่วไป เหมาะสำหรับทุกคน ตัวกูให้ตายเสียก่อน เหลือแต่จิตใจที่ไม่เป็นตัวกู ให้เป็นเพื่อนกันไปกับร่างกาย แล้วก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำไป อะไรเป็นหน้าที่ของจิตใจ อะไรเป็นหน้าที่ของร่างกาย มันก็ทำไป ตัวกูอย่าเกิดขึ้น นั่นคือเวลาที่มันว่าง ว่างเป็นคราวๆ ว่างเป็นพักๆ เรื่อยไปๆจนว่างจริง ถ้าตัวกูไม่เกิดขึ้นในจิตใจ จิตนี้ก็ว่างหรือเป็นจิตประภัสสร คือเป็นจิตที่ไม่มีกิเลส ถ้าตัวกูเกิดขึ้นในจิตนี้ก็มีความวุ่น มีกิเลส มีความทุกข์ เวลานั้นมันก็เรียกว่าจิตเดิม จงพยายามให้จิตเป็นเดิมอยู่เรื่อย พระพุทธเจ้าก็ต้องใช้คำว่าให้จิตมันปราศจากความยึดถืออยู่เรื่อย ว่างจากความยึดถืออยู่เรื่อย หรือเป็นประภัสสรอยู่เรื่อย คือแจ่มใสกระจ่างรู้ถูกพอดี ถูกต้องพอดี ไม่เจืออยู่ด้วยกิเลส แล้วก็ทำการงานทุกอย่างไปตามหน้าที่ พวกหนึ่งเขาเรียกว่านี่คือไม่ทำอะไรๆ ไม่มีตัวฉันที่ทำอะไร อยู่นิ่งๆ จิตอยู่นิ่งๆ ไม่ปรุงเป็นตัวกูขึ้นมา เรียกว่าไม่ทำอะไร พวกหนึ่งเรียกว่าอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอยู่โดยชอบ ไม่เกิดตัวกู ของกูเหมือนกัน นี่พูดให้สมมติมากหน่อยก็เรียกว่ามีจิตใจอยู่กับพระเจ้า อยู่กับพระเป็นเจ้า หรือพระเจ้าเสีย ไม่มีตัวกู ของกู ที่จะทำอะไรเพื่อตัวกู ทำตามที่พระเจ้าได้แนะไว้ วางไว้ เป็นๆประพฤติถูกไปหมด นี่สำหรับสัตว์ที่มีสติปัญญา คือมนุษย์ ถ้าสัตว์เดรัจฉานไม่มีสติปัญญาก็ไม่มีอะไรที่จะเป็นปัญหาอยู่แล้ว คือมันไม่อยากของมันเอง ไม่ปรารถนา ไม่ยึดมั่นถือถือมั่นของมันเอง หรือมีน้อยจนไม่มีปัญหา นี่ถ้าเป็นไอ้สัตว์ที่ต่ำลงไปอีกก็ยิ่งไม่มีอีก เป็นต้นไม้ก็ยิ่งไม่มีอีก สบาย ถ้ามันไม่มีๆความฉลาด มันรู้สึกเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มีความรู้สึก แต่มันไม่มากจนเป็นทุกข์ เป็นสุข มันคล้ายๆกับว่าเป็นกลางๆ สุขก็ได้ทุกข์ก็ได้ ชีวิตตั้งต้นมาจากไอ้ชนิดนี้ จากต้นไม้ จากพืช แล้วจึงมาถึงสัตว์ แล้วมาถึงคน วิวัฒนาการไปเพื่อความทุกข์ที่ละเอียด ที่ประณีต ที่สุขุม ที่ลึกซึ้ง แล้วก็แก้ได้โดยรู้ๆ แล้วก็หยุด หยุดความทุกข์ได้ ถ้าไม่รู้ก็ไม่หยุดความทุกข์ได้ แล้วก็มีความทุกข์มากกว่าสัตว์ หรือมากกว่าต้นไม้ เอาไอ้สัตว์หรือต้นไม้เป็นครูในบางแง่ หรือโดยหลักใหญ่ๆว่าอย่ายึดมั่นถือมั่น อย่าเกิดความยึดมั่นถือมั่น อยู่ไปตามมี ธรรมชาติอย่างนั้น เดี๋ยวนี้มันยึดมั่นถือมั่นจนกระทั่งหลับมันก็ หลับแล้วมันก็ยังฝัน ยึดมั่นถือมั่นใต้ๆสำนึก
ทีนี้ไอ้เรื่องที่ว่าเชื่อตัวเองนั้นก็คือเรื่องที่พูดแล้ว ไม่เชื่อคัมภีร์ ไม่เชื่อหนังสือ ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อที่เขาพูดกัน หรือว่าไม่เชื่อความเดา ความคาดคะเน คือเชื่อความแจ่มแจ้ง ความทุกข์ที่เคยเกิดมาแล้ว แล้วดับไปได้อย่างไร มองเห็นสิ่งเหล่านี้ อย่างนี้เขาเรียกว่าเชื่อตัวเอง ฟังจากพระพุทธเจ้านั้น เชื่อเพียงว่าเอามาทดลองดู มาทดสอบดู พอเห็นว่าจริงตามนั้นจึงเชื่อ ทีนี้บ้างเรื่องไม่ต้องทดสอบดู เพราะมันรู้อยู่ก่อนแล้ว เช่นพระพุทธเจ้าตรัสว่าความโกรธเป็นของร้อนนี่เชื่อพระพุทธเจ้าได้ทันที แต่นั่นมันไม่ใช่เชื่อพระพุทธเจ้า มันเชื่อเรา เพราะเราเคยรู้มาแล้วว่าความโกรธนี้มันร้อน พระพุทธเจ้าท่านต้องการอย่างนี้ ต้องการให้ทุกคนเชื่อไอ้ความรู้ที่มีอยู่แล้วจากไอ้สิ่งที่ได้ผ่านมาแล้ว ต้องไปอ่านกาลามสูตร ไปศึกษาเรื่องกาลามสูตรดู มา สมโณ โน ครูติ อย่าเชื่อว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา อย่าเชื่อด้วยเหตุผลแต่เพียงว่าสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา นี่มันบ่งถึงตัวพระพุทธเจ้าเองเลย เราไม่เชื่อว่าสมณะนี้ เพราะสมณะนี้เป็นครูของเรา เราจึงเชื่อ มา ปิฏกสัมปทาเนนะ อย่าเชื่อว่าเพราะนี่มันมีอยู่ในพระไตรปิฎก อยู่ในปิฎก นี่ก็บ่งถึงพระไตรปิฎก อย่าเชื่อ มา ภัพพรูปตายะ อย่าเชื่อเพราะเหตุว่าคนนี้มันพูดน่าเชื่อ หรือมันอยู่ในฐานะที่น่าเชื่อ ควรเชื่อ ก็อย่าเชื่อ แล้วก็อย่าเชื่อโดยการใช้เหตุผลทางตรรก ทางปรัชญา อย่าเชื่อทางข่าวเล่าลือ ทางประพฤติสืบๆกันมานาน บอกกันมานาน นี่ก็ไม่เชื่อ นี่เป็นเรื่องกาลามสูตร พระพุทธเจ้าตรัสให้ชาวบ้านหมู่หนึ่งถือหลักอย่างนี้ พอราคะเป็นของร้อน โทสะเป็นของร้อน โมหะเป็นของร้อน ไอ้ที่รู้มาแล้วมันเลยเชื่อ เดี๋ยวก็ดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ จะเป็นของเย็น แม้มันไม่เคย มันก็รู้ได้ แต่มันก็เคยว่างจากราคะ โทสะ มาเป็นครั้งคราว มันรู้ว่าเย็น ทีนี้ก็อนุมานได้ว่าถ้าดับราคะ โทสะ โมหะเด็ดขาด มันก็จะเย็นที่สุด เย็นๆตลอดกาลไปเลย แล้วนั่นคือนิพพาน ฉะนั้นจึงเชื่อว่านิพพานนี่ต้องดีแน่ คือเย็นแน่ นี่เขาก็เรียกว่าเชื่อตัวเอง ถ้าว่ามันเคยนิพพานมาแล้วเป็นครั้งๆคราวๆ คือเมื่อมันว่างจากกิเลส มันเย็นสบาย มันรู้ว่านิพพานเย็น ตทังคนิพพาน นิพพานบังเอิญก็ยังเย็นขนาดนี้ แล้วนิพพานแท้จริงเด็ดขาดลงไปมันก็ต้องวิเศษแน่ หรือว่าได้แต่เพียงเท่านี้ก็เอาแล้ว พอใจแล้ว พอใจแค่นิพพานชั่วคราวนี้ก็พอใจแล้ว ฉะนั้นจึงเชื่อว่านิพพานนี้เป็นบรมธรรมแน่ เป็นของที่ควรปรารถนาแน่ ดังนั้นก็เลยเชื่อตัวเอง
ที่เรียกว่าใช้หลักที่ว่าภาษาคน ภาษาธรรม เมื่อพูดว่าเชื่อตัวเองนี้ต้องถือว่าเป็นคำพูดในภาษาธรรม ถ้าพูดในภาษาคน ภาษาของอันธพาลนั้นก็ไปอย่างหนึ่ง กลายเป็นเรื่องหนึ่ง เรื่องอันธพาลไปเลย ไม่ๆเชื่อใคร เชื่อตัวเอง เชื่อกิเลสของตัวเอง เราก็เตือนว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่าให้เชื่อตัวเองนี้คือให้เชื่อ นี่พูดภาษาธรรม คือการพูดอย่างแบบภาษาธรรม ไม่ใช่ภาษาคนอันธพาล มีสูตรอยู่สูตรหนึ่งชื่ออะไรจำไม่ค่อยได้แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าแม้ตถาคตมิได้เกิดขึ้นในโลก สัตว์ทั้งหลายก็ยังอาจจะบรรลุนิพพานได้ นี้หมายถึงพวกพระปัจเจกพุทธะอะไรทำนองนี้ เขาไม่ได้ฟังจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็มิได้เกิดขึ้น เขาก็ทำให้ตัวเองบรรลุมรรคผลนิพพานได้ตามลำพัง เป็นเรื่องรู้เอง เชื่อเอง อะไรเองตามลำดับ เป็นผู้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เหมือนกัน ถ้าทำได้เองอย่างนี้ก็เรียกว่าปัจเจกพุทธะ แต่เดี๋ยวนี้ปัญหาอย่างนี้มันไม่มี เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้ามันกำลังแพร่หลายเต็มไปหมดทุกหนทุกแห่ง ยังไม่สิ้นศาสนา เหลือแต่ว่าจะเชื่อที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ในลักษณะอย่างไรหรือวิธีไหน มันก็ต้องวกไปหาไอ้เชื่อความรู้ประจักษ์แก่ใจตัวเอง ก็เป็นปัจเจกพุทธะ เขียนชนิดหนึ่ง(นาทีที่ 01.34.07-01.34.08) แต่มันมีมูลมาจากการได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ธรรมะนี้เป็นของอันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน นี่ก็บ่งว่าจะเชื่อผู้อื่นมันไม่มี มันไม่มีทางจะเป็นไปได้ เพราะธรรมะมันเป็นอย่างนี้ สันทิฏฐิโก เห็นเอง ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ รู้เฉพาะตน เราก็ไม่พูดว่าคนพาล เราพูดกันแต่คนธรรมดา เป็นสัตบุรุษ แล้วก็สอนให้รู้จักวิธีเชื่อตัวเอง จะเชื่อตัวเองได้ดีก็เฝ้าศึกษาเรื่องความยึดมั่น ความไม่ยึดมั่น ความว่าง ความวุ่น วัฏฏสงสารในจิตใจที่มีอยู่ นิพพานที่มีอยู่เป็นบางครั้งบางคราวในวัฏฏสงสาร สลับกันอยู่ พอแล้ว หมดเวลาแล้ว