แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พระอาจารย์: เป็นของใหม่ๆ หลังสุดนี้ ลงมติกันว่าอย่างนี้ แล้วมีรายละเอียดมาก ที่จะพูดไปอีกก็เลยกลายเป็นปรัชญา ให้ตั้งปัญหาว่าอย่างไรเรียกว่าดี อย่างไรเรียกว่าไม่ดี นี่เป็นรูปปรัชญาไปเลย เพราะฉะนั้นเอาแต่เพียงเท่านี้ แล้วมันปรัชญาก็ไปตั้งปัญหาที่ว่าอย่างไรเรียกว่าความสุข อย่างไรไม่เรียกว่าความสุข อย่างไรเรียกว่าความเต็ม อย่างไรเรียกว่าไม่ใช่ความเต็ม อย่างไรเรียกว่า duty มันไปแต่ทางอย่างนี้ มันไม่ลงมือทำให้มีสิ่งเหล่านี้ ถ้าพูดถึงความรักษาคน มันก็ไม่พูดเหตุผลกันอีกแหละ มันไม่ทำ ไม่ทำจิตใจให้มีความรักษาคน ปรัชญามันสร้างไม่ได้นี่นะ ทีนี้ไอ้ ...(นาทีที่ 01:01) นี่มัน มันบางทีมันก็ไปด้วยทางปรัชญา ไม่มาในทางศาสนา
ผู้ฟัง ๑: ปรัชญาของมหาวิทยาลัยเราที่ในหลวงพระราชทาน อัตตานัง อุปมัง กเร เป็นโค้งใหญ่ในมหาวิทยาลัยมหิดล
พระอาจารย์: ก็ดี ทำตัวเองให้เป็นอุปมา แต่เด็กๆคงฟังไม่เข้าใจ (คนฟังหัวเราะ)
ผู้ฟัง ๑: แต่เด็กก็ถาม
พระอาจารย์: เพราะเด็กๆก็ไม่รู้ว่าตนนี้คืออะไร ไอ้ตนนี้คืออะไร ทีนี้เดี๋ยวนี้มันเรียนในลักษณะที่ตนเป็น.. เป็นอย่างเห็นแก่ตน มันจะเป็นตนชนิดที่มีเห็นแก่ตนเสีย เพราะตนมีหลายชั้น ไอ้ตนเลว ตนกลาง ตนดี ตนสูงสุดนั่นคือไม่ใช่ตน คือนิพพาน แต่ฝ่ายฮินดูเขาเรียกว่าตน ตนสูงสุดปรมาตมัน ปรมาอัตตา ตนสูงสุด ทีนี้ไอ้ตนธรรมดานี่ก็เอาข้างดีไม่เอาข้างชั่ว แต่ไอ้ตนสูงสุดนั้นเหนือดีเหนือชั่ว แต่เขาก็ยังเรียกว่าตน ทีนี้ตนธรรมดาคือเห็นแก่ตน ตนที่เรามีอยู่นี้ทั้งหลายนี้ก็ตน ที่ว่าเอาตนเป็นอุปมานั้นมันเป็นพุทธภาษิต ว่าให้นึกถึงใจเราไปใส่ใจเขา ทีนี้มันมีปัญหาว่าไอ้ใจเรามันเป็นอย่างไร ถ้าใจเราผิดแล้วมันก็ไปหวังกับผู้อื่นผิด นี่เหมือนกับว่าพวกอเมริกันเขากลัวคอมมิวนิสต์อย่างนี้ มันก็สอนแต่เรื่องกลัวคอมมิวนิสต์ ไปยุเด็กๆให้เกลียดคอมมิวนิสต์ มันก็ไม่มีทางสงบได้ คำขวัญนี่ก็ต้องอธิบาย ต้องมี definition ที่ดีที่อะไร ไม่เช่นนั้นเขวได้ เพราะทุกคำมันเขวได้ เช่นความว่างนี่เป็นอันธพาลก็ได้ เป็นพระอรหันต์ก็ได้ ต้องมี definition ที่ดี
ผู้ฟัง ๒: เอ่อ, ในที่มหาวิทยาลัยมหิดลจะขยายออกไปในที่ศาลายานี้ ที่มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ ที่อาจารย์สวัสดิ์กราบเรียนเมื่อกี้นี้นะครับ ก็พอดีไปติดกับที่ที่ทางราชการกันไว้ว่าเป็นพุทธมณฑล สองพันกว่าไร่
พระอาจารย์: ก็โชคดีสิ
ผู้ฟัง ๒: แต่ว่ายังไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วเรามีทางไหนที่จะให้พุทธศาสนาที่แท้จริงไปประดิษฐานในที่พุทธมณฑลที่ติดกันนี้ คือไม่ใช่เพียงแง่อนุสาวรีย์หรืออะไรแบบนั้น อันนี้จะได้ประโยชน์กับทางมหาวิทยาลัย…
พระอาจารย์: (พูดต่อจากผู้ฟัง) (มหาวิทยาลัยมากทีเดียว) ทีนี้ก็เป็นปัญหาอยู่ที่พุทธมณฑล วัตถุหรือทางวิญญาณ
ผู้ฟัง ๒: ยังไม่ทำอะไรเลยครับท่าน เป็นที่ว่างอยู่
ผู้ฟัง ๑: แต่เราก็ตั้งใจว่าจะมี อย่างน้อยพุทธมณฑลจะมีไม่มีก็ตั้งใจ
พระอาจารย์: นั่นเราต้องมี พุทธมณฑลของเรา มีโดยไม่มี ไม่ปรากฏวัตถุก็ได้ คือทางฝ่ายวิญญาณ ทางฝ่าย spiritual พุทธมณฑล นั่นกลัวว่าจะเป็นเรื่องวัตถุไปทั้งนั้น ที่อาตมาได้ยินได้ฟังคราวนู้นนะ ที่เขาวางแผนคือจะจำลองพระเจดีย์วิหาร พุทธวิหารปัจเจกอะไร ทั่วประเทศไทยไปไว้ที่นั่น หรือว่าที่ต่างประเทศมาไว้ที่นั่น นี่เป็นเรื่องวัตถุ เป็นเรื่องสร้างวัตถุ แล้วก็ว่าจะเป็นศูนย์กลางมหาวิทยาลัยพุทธศาสนา ก็อย่างที่วัดมหาธาตุ มหาจุฬาฯ ก็ทำได้เพียงเท่านั้น เดี๋ยวนี้ถ้าเราจะหลับตาคิดว่า โอ้, ประเทศไทยทั้งหมดนี้มันเป็นพุทธมณฑลอยู่แล้ว พระเจดีย์ก็มีอยู่ทุกจังหวัด พระธาตุนะ แล้วมหาวิทยาลัยนั้นก็มีอยู่ที่วัดสองวัดแล้ว หรือที่บางละมุงอีก แล้วมันจะมีผลอย่างไร แล้วการที่จะเอาไปซุกไว้ในที่เดียวนั้นมันก็คงได้ความสะดวกบ้างเท่านั้นแหละ แต่แล้วมันอาจจะทำยากขึ้นไปอีกก็ได้ การที่จะไปสร้างนิคมนครอะไรขึ้นมาอีกนั้น มันก็เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายที่ว่าก็ควบคุมยากเหมือนกัน ถ้าทำนิดๆหนึ่งมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ทำมากมันก็ควบคุมยาก
ผู้ฟัง ๒: .....เสียเงินเสียทองไปทำอะไร มันเป็นที่ว่างเปล่า ปรับเสมาอยู่สามหลัก
พระอาจารย์: เอ่อ สร้างพระพุทธรูปยืนขึ้นองค์หนึ่งใช่ไหม
ผู้ฟัง ๒: ยังไม่สร้างครับ
พระอาจารย์: ยังไม่สร้าง
ผู้ฟัง ๑: คืออันนั้นนะ ก็อย่างว่าครับ เป็นนักการเมืองมองในแง่ศาสนา ก็ต้องเป็นเหมือนอย่างที่พระคุณเจ้าว่า เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วนี่ ก็เลยนึกว่าถ้าจะทำให้ถูกนี้ต้องขึ้นไปทำที่นั่น ให้ท่าน....
พระอาจารย์: นั่นต้องให้ผู้รู้ พระก็ได้ไม่พระก็ได้ ให้ผู้ที่รู้จักตัวธรรมะตัวศาสนาวางแผนการ
ผู้ฟัง ๑: เพราะฉะนั้น มูลเหตุถึงได้...
พระอาจารย์: นั่นมันมีมูลเหตุมาจากนักการเมืองนี่ มันก็ต้องไปอย่างนั้น
ผู้ฟัง ๑: แล้วนั่นก็คงเป็นโชคดี ที่ทำอะไรไม่ได้สำเร็จจริงๆ เพราะมีเป้ามากทีเดียว อย่างที่ผมได้กราบ(เรียน) เพราะฉะนั้นถึงได้ทำอะไรไม่ได้ ก็... (นาทีที่6.14)
พระอาจารย์: ก็ได้ อย่างนี้ก็ถูก (ที่เป้ามากเลยทำไม่ได้สำเร็จ?) แต่อาตมายังคิดว่าพวกนักการเมืองนี้ตลบตะแลง พอไม่มีประโยชน์มันก็ไม่ทำเสียเฉยๆอย่างนั้นแหละ
ผู้ฟัง ๑: เขาก็ไม่ทำ
พระอาจารย์: พอไม่มีประโยชน์แก่เขา เขาก็ไม่ทำเสียเฉยๆทั้งที่พูดไว้แล้ว มันตลบตะแลง
ผู้ฟัง ๑: เรื่องของง่ายๆนิดเดียว อย่างที่กราบ(เรียน) ที่รูปพระองค์ยืน สร้างไม่ได้
พระอาจารย์: (หัวเราะ)
ผู้ฟัง ๑: คือมันมีจุดสองจุดที่แตะอยู่เท่านั้นเอง แต่ล้มยังไงก็ไม่ได้ คำนวณยังไงก็ไม่ออก เพราะถึงยังไงถ้ายิ่งสร้างก็พัง
พระอาจารย์: อืม
ผู้ฟัง ๒: ทีนี้สมมติ เป็นไปได้ว่าเรามีสำนักทางวิญญาณอย่างแบบสวนโมกข์ของท่านอาจารย์ ไปอยู่ที่บริเวณพุทธมณฑลเพื่อหวังประโยชน์ สมมุติ หวังประโยชน์ว่ามหาวิทยาลัยควรจะได้อย่างนี้ ทีนี้การที่สำนักแบบนี้ไปอยู่ไปติดมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยก็มีพวกนักเรียนที่เจี๊ยวจ๊าวอะไรต่างๆนี้ ทางสำนักนี้จะมีอันตรายอะไรไหม
พระอาจารย์: โอ้, มันก็มีที่กว้าง มีที่กว้าง ก็เด็กก็เจี๊ยวจ๊าวอยู่ในเขตของมหาวิทยาลัย เขตนี้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็เราควรจะให้เด็กเจี๊ยวจ๊าวน้อยลงด้วย
ผู้ฟัง ๒: บางคนก็กลัวว่าเอาพระไปประชิดนักเรียน มีผู้หญิงมีอะไรต่ออะไร
พระอาจารย์: ก็ดูซิกรุงเทพฯ ก็หน้าต่างจ่อกัน มันยิ่งกว่านั้นอีก ไปดูวัดสุทัศน์ วัดอะไรต่างๆสิ หน้าต่างก็จ่อกันอยู่กับชาวบ้าน ผู้หญิงมองเห็นกันอยู่ นี้มันกว้างเป็นพันไร่ อย่างนั้นก็ไม่เป็นไร
ผู้ฟัง ๒: กระผมเห็นว่าถ้ามีพุทธศาสนาที่แท้จริงเข้าไปอยู่ที่นั้นนะ แล้วก็ว่าพวกทางมหาวิทยาลัยที่เรียนทางโลกนี้ได้มีโอกาสใกล้ชิด สนทนา แลกเปลี่ยนหรือว่าเอาอย่าง คนที่เป็นทางพุทธที่แท้จริง
พระอาจารย์: นั่นสิ ก็ได้ประโยชน์ พุทธศาสนานี่เขาให้อยู่กับคน มีไว้สำหรับให้อยู่กับคน เพราะฉะนั้นแยกกันไม่ได้ เพื่อคนมันจะได้มีศาสนาดีขึ้น มีอะไรล่ะ มีกันชนกันไว้สักสิบเส้นก็พอ โดยรอบระหว่างไอ้นั่นกับนั่นสิบเส้นโดยรอบ นั่นมันก็เป็นในเขตกันชน โน่นก็เป็นใจกลาง
ผู้ฟัง ๒: ที่นี้เราอยากให้นักเรียนเขาเข้าไปหาพุทธศาสนา
พระอาจารย์: ก็เป็นครั้งเป็นคราวตามระเบียบ เป็นระเบียบ มีระเบียบ เอาให้ถูกต้องให้ดี
ผู้ฟัง ๒: แล้วทางพระก็ควรจะรู้ทางโลกบ้าง จะได้พูดจาอะไรกันรู้เรื่อง
พระอาจารย์: อันนี้แกก็เรียนกันอยู่แล้ว เรื่องในมหาวิทยาลัยนี่ พระเรียนทางโลกมากขึ้นแล้ว มีแต่จะเกิน มีแต่จะไปฝักใฝ่แต่เรื่องโลกอย่างเดียวจนรู้ทางธรรมน้อย มันมีปัญหาอย่างนั้น เดี๋ยวนี้ที่พระจะไม่รู้ทางโลกนั้นจะไม่มีปัญหาละ ไม่ต้องกลัว มีแต่จะเกิน มีแต่จะรู้เกิน เป็นปริญญาเป็นอะไรกันเยอะแยะแล้ว ไปเรียนจากเมืองนอกก็มี อินเดียก็มี ที่ไหนก็มี แม้ที่วัดมหาธาตุก็สอนเรื่องทางโลกมากกว่าทางธรรม ไอ้เรื่องทางวิญญาณนี่มันต้องคู่กันอยู่กับทางโลกเสมอ เพราะว่ามันต้อง.. มนุษย์มันต้องกินต้องใช้ ต้องเป็นอยู่ ต้องมีชีวิตอยู่ นี่เรียกว่าเทคโนโลยีก็แล้วกัน แขนงไหนก็ได้ตามความเหมาะสม ทีนี้ทางวิญญาณทุกคนจะต้องมี คือดำเนินชีวิตให้มันถูกต้อง เหมือนกับขี่ควายอย่างนี้ มันต้องรู้ว่าไปทางไหน ไม่ใช่ว่าควายมีแล้วขี่ได้แล้วมันก็จะสำเร็จ มันไม่พอ เพราะฉะนั้นชีวิตต้องเทียมด้วยควายสองตัว เทคโนโลยีตัวหนึ่ง spiritual enlightenment อีกตัว ฝรั่งเขาเก่งในทางเทคโนโลยี ฝ่ายตะวันออกก็เก่งในทาง spiritual enlightenment เดี๋ยวนี้มันโชคร้ายที่ว่าตะวันออกนี้มันไปกลับตามก้นฝรั่ง ไปหลงเทคโนโลยี จนประเทศไทยเรานี้จะสูญเสียไอ้วิญญาณเดิมๆของบรรพบุรุษ
ผู้ฟัง ๑: คือสายของเรานี่ มันบังเอิญอย่างนี้ครับ สายของเรานี้ มันเกิดขึ้นมารองใน life science ทั้งหมดนี้เราเรียกว่า life science คือมันเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์
พระอาจารย์: นั่นนะ เราอย่าใช้คำนี้ให้มันแคบเท่านั้นสิ ไอ้ life science นี้มันแปลตรงตัว ไอ้ science มันไม่จำเป็นจะต้องเป็นวัตถุนะ เป็นไอ้จิตวิญญาณ เป็นไอ้นั่นก็ได้
ผู้ฟัง ๑: เพราะฉะนั้นเราจึงเข้าใจเรื่องของที่ท่านอาจารย์พูดนี้ได้ค่อนข้างมาก กว่าพวกที่ติดเทคโนโลยีที่เราเรียก Physical …(นาทีที่ 10:26) พวกนั้นพวกไปทางวัตถุ ดังนั้นไม่ว่าจะแพทย์ก็ดี พยาบาลก็ดี ที่เกี่ยวข้องอยู่กับคนนี้ มันทำได้เหมาะทีเดียว ที่สำหรับที่จะมีเทคโนโลยีกับ..
พระอาจารย์: อาตมาก็นึกอย่างนั้นล่ะ หวังอยู่สองพวกที่พระพุทธศาสนาจะเข้าไปได้ คือพวกตุลาการ พวกผู้พิพากษา แล้วก็พวกแพทย์เพราะเท่าที่เห็นอยู่มันก็เห็นอยู่อย่างนั้น ที่มาสนใจทางนี้ก็มีสองพวกนี้มากกว่าพวกอื่น เอา life science นั้นเป็นหลักวาง นี่ก็เป็น physical life, spiritual life แล้วมารวมกันเป็นไอ้ life science นี่เป็นเรื่องนามธรรม เป็นเรื่องธรรม spiritual science นะ นี่เป็นเรื่อง physical life มารวมกันแล้วจึงเป็น life
ผู้ฟัง ๑: ใหม่ๆเขากำลังไต่ไปเรื่อง behavioral science ยิ่งอ่านแล้วยิ่งเหมือนธรรมะ สมกับพี่ใหญ่เลยทีเดีย
พระอาจารย์: นั่นนะมันไปจุดที่ทำลายความเห็นแก่ตัวแล้วเป็นธรรมะทันที
ผู้ฟัง ๑: ของมันใกล้กันมาก
พระอาจารย์: ที่จริงเรื่องนี้ก็พูดกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์นะ ทำลายความเห็นแก่ตัวนี้ อาตมาเกิดขึ้นมาก็ได้ยินแล้วที่พวกฝรั่งพูดกัน เรื่องทำลายการเห็นแก่ตัว
ผู้ฟัง ๑: เรื่องทาง spiritual science นี่ ผมว่าดี รู้สึกว่า...
พระอาจารย์: ศาสนาทุกศาสนาให้เป็น spiritual science ไม่ใช่ mythology เหมือนที่เขาประณาม แล้วเทคโนโลยีก็คือ physical science อยู่แล้ว มารวมกันเป็น life นะ life ต้องเทียมด้วยควายสองตัว
ผู้ฟัง ๒: ทีนี้ทาง life science ที่อาจารย์สวัสดิ์พูดนี้ เขาก็มีเป็นแผนกนั้นแผนกนี้ แล้วก็คณะอย่างนั้นอย่างนี้สอนวิชาต่างๆ
พระอาจารย์: อันนั้นก็จัดให้เป็นสองฝ่าย
ผู้ฟัง ๒: แล้ว spiritual science นี้
พระอาจารย์: มันยังไม่มี
ผู้ฟัง ๒: ควรจะมีคณะ หรือว่าควรจะแทรกไปในพวกอันนี้
พระอาจารย์: มันก็ได้ ไอ้รูปร่างมันไม่จำกัดล่ะ แต่ขอให้มันมีสองอย่างนี้ แล้วมันจะต้องแทรกอยู่ในชีวิต ในตัวชีวิตนั้น ในการศึกษาก็ต้องแทรก ในการเป็นอยู่ก็ต้องแทรก เพราะว่าเรานี้มันกินข้าวแล้วเรามีจิตมีใจมีอะไร มันก็ต้องคนหนึ่งจะมีสองแขนงอยู่อย่างนี้เสมอไป โลกนี้ก็เหมือนกันต้องเทียมด้วยควายสองตัวนี้ เอกชนคนหนึ่งก็ต้องเทียมด้วยควายสองตัวนี้ ไม่เช่นนั้นไม่มีทางรอด ไปไม่รอด ไม่มีความรอดไปได้ จะต้องตาย ตายอย่างพระเจ้าว่า
ผู้ฟัง ๒: แล้วท่านอาจารย์มองเห็นมีความหวังหรือเปล่าในโลก
พระอาจารย์: ไอ้เรื่องความหวังนี่มัน อืม, อย่าถามดีกว่า ถามเอาแต่ว่าควรหวังหรือไม่ควรหวัง ไอ้ที่ว่าจะหวังได้หรือไม่นี่ยังพูดยาก แต่เป็นสิ่งที่ควรหวังเพราะมันไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะต้องทำที่ดีกว่านี้ หรือที่ว่าดีกว่านี้ไม่มีแน่หรือไม่มีอื่นที่ควรทำนอกจากอันนี้ ก็เลยก็ต้องทำ มันยิ่งกว่าหวัง เพราะไม่อย่างนั้นเราก็เป็นหมันนะ ชีวิตนี้เป็นหมัน ถ้าไม่ทำเรื่องนี้
ผู้ฟัง ๒: สำนักแบบของท่านอาจารย์ที่นี้ ถ้ายิ่งมีมากแห่งก็ยิ่งดี ทีนี้ในที่พุทธมณฑลสองพันกว่าไร่นี้ ถ้าสมมติเราอยากให้มันมีทำนองนี้ เราจะเริ่มต้นอย่างไร
พระอาจารย์: นี่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจ หรือกำลังหรืออำนาจ ไอ้เราอยู่ที่นี่เราไม่ได้คิดมากนะ บางคนอาจจะมีความเข้าใจไปว่าเรามีความหวัง มีโครงการ มีอะไร แต่ที่แท้อยู่ที่นี่มันอยู่อย่างไม่มีอะไรจะทำ มันทำไปอย่างนี้เพราะก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร แล้วก็ทำเพียงเท่าที่เราจะทำได้ เราไม่ขวนขวายหาอำนาจไม่ขวนขวายหากำลัง มันเป็นเรื่องมากขึ้นไปอีก เราไม่ชอบเหมือนกัน เราจะทำเท่าที่เราทำได้ แล้วเป็นตัวอย่างเท่านั้น เป็นชนวนหรือเป็นตัวอย่าง ทีนี้ถ้าใครเข้าใจก็เอาไปทำ ต่างคนก็เอาไปทำ ทำพอสบายๆๆเหมือนกันทุกหนทุกแห่ง รวมกันแล้วมันก็ทั่วประเทศได้เหมือนกัน แต่ถ้าใครจะไปตั้งว่าเราจะทำให้ใหญ่โตอย่างนี้ คนนั้นอาจจะทำไม่สำเร็จก็ได้ มันเกินกำลัง ทีนี้เราทำตัวอย่าง ทีว่าทำงานด้วยจิตว่างนี่ก็เป็นตัวอย่าง เป็นอยู่ด้วยจิตว่าง
ทีนี้จะสอนธรรมะให้ถึงธรรมะ เราก็บอกว่าต้องเรียนจากธรรมชาติ ธรรมชาติสอนดีกว่าพระพุทธเจ้าสอน บางคนก็โกรธว่าดูถูกพระพุทธเจ้า จริงๆพระพุทธเจ้าท่านว่าเองว่าต้องเรียนจากธรรมชาติ คือไอ้ spiritual experience แท้ๆคือธรรมชาติ ที่ฟังมาจากพระพุทธเจ้านั่นมันคำพูด เรียนจากอันนั้นไม่สำเร็จ อะไรที่ผ่านๆมาแล้วแต่หนหลังเป็น experience ทั้งหลายรวมอยู่ในนี้แล้วเป็นทางฝ่ายนามธรรมนั้น เรียนจากอันนั้น นี้เรียกว่าเรียนจากธรรมชาติ ทีนี้ไอ้ spiritual experience นี้มันเกิดไม่ได้ จนกว่าเราจะมีอะไรมาแวดล้อมให้มันเกิดขึ้นมา
อย่างที่นี่ คุณเข้ามาจิตใจเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนละ จะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ต้องเปลี่ยน มาจากกรุงเทพฯ มาถึงที่นี่จิตใจต้องเปลี่ยน จะไปในทางเย็นลงหรือว่าขี้ขลาดหรือว่าอะไรก็ตามใจ มันต้องเปลี่ยน แต่ว่าถ้าปล่อยไปตามอำนาจของธรรมชาติแล้ว มันจะไปในทางสบายหรือเย็นลง สบาย สบายบอกไม่ถูก เพราะว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังลืมตัว ว่าตัวกูของกู มันลืมไป พอตัวกูของกูมันออกไป มันสบาย นี่เป็นยอดของ experience ที่ต้องมีก่อน เพราะนี้เป็นตัวบทเรียนที่จะต้องศึกษา ทำไมจึงสบาย มันตอบได้เองในที่สุด ทีแรกอาจจะตอบไม่ได้ รู้สึกแต่ว่าสบาย แต่ขอให้มันมีสบายนี่ก่อนเถอะ ก่อนนี้เรามีแต่ตัวหนังสือว่าสบายในสมุดโน้ต ว่าเป็นสุขว่าสบาย ไม่รู้ว่าอย่างไร ทีนี้มันมีในจิต เป็นตัวความสบายที่รู้สึกอยู่กับจิต นี่ก็เรียกว่าเรียนจากธรรมชาติว่าความสบายคืออะไร ความสุขนั้นคืออะไร ก่อนนี้พูดแต่ปากแต่หนังสือ ความสบายบรรยายได้เป็นตัวหนังสือเป็นสิบๆหน้าเลย แล้วก็ไม่รู้จักมัน จนกว่าเข้ามาในที่อย่างนี้ เกิดความสบายขึ้นมา ในที่สุดก็พบว่าไอ้ความสบายหรือเป็นสุขชนิดนี้ มันเกิดต่อเมื่อไม่มีตัวกูของกู มันรู้จริง ไม่ต้องเชื่อคนอื่น ไม่ต้องถามคนอื่น เพราะว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังลืมไป ไม่มีตัวกูของกูเกิด ชีวิตนี้ก็ไม่ได้นึกถึงว่าเรามีชีวิตอยู่ เพราะฉะนั้นจึงสบาย ก็เลยได้เรียนจากธรรมชาติแวดล้อมให้เกิดความรู้สึกชนิดนี้ว่า เอ้า, เมื่อใดไม่มีเป็นตัวของกูเมื่อนั้นสบาย เพราะฉะนั้นการจัดสวนโมกข์ มันจัดในรูปนี้ จากที่ว่าพอคนเข้ามาถูกครอบงำโดยไม่รู้สึก จิตเปลี่ยน แล้วเขาต้องเรียนจากความรู้สึกเหล่านั้น อย่าเรียนจากคำพูดอาตมา หรือว่าอะไรต่างๆ แต่ว่าคำพูดนี้มันก็ช่วยได้บ้าง อุปกรณ์ต่างๆ รูปภาพรูปเขียน รูปอะไรนั่นมันก็ช่วยได้บ้าง
ที่เราเรียกว่าธรรมชาตินี้เราหมายทั้งวัด เราเรียกว่าโรงมหรสพทางวิญญาณ นี่หมายทั้งวัดไม่ใช่เฉพาะตึกหลังนั้น ตึกหลังนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของโรงมหรสพทางวิญญาณ ที่พระธรรมหรือธรรมะนั่นล่ะคือตัวมหรสพ นี่มันเป็นเพียงโรง นี่เราจะดูมหรสพเราก็มาที่โรงมหรสพ คือธรรมชาติ ฝังตัวไปเป็นอันเดียวกับธรรมชาติแล้วก็ลืมตัวกูของกู เราก็ได้ดูมหรสพทางวิญญาณ คือเย็นสบายบอกไม่ถูก แล้วก็เริ่มเข้าใจว่า โอ้, ปัญหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อุปาทานเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านว่า แต่พระพุทธเจ้าท่านสอนเป็นคำพูด แต่ถ้าธรรมชาติสอน มันสอนด้วยความรู้สึก เพราะฉะนั้นจึงถือว่าธรรมชาติสอนดีกว่าพระพุทธเจ้าสอน พระพุทธเจ้าท่านก็ว่าอย่างนั้น ว่าพอฉันพูดนี่แกอย่าเชื่อ ต้องไปทำให้มี experience หรือจาก experience เดิมๆก็ตาม จนมี experience แล้วแกก็เชื่อตัวเองได้ อย่างนี้คือธรรมชาติสอน พระพุทธเจ้าพูดเพียงให้ได้เค้าเงื่อน ถ้าฉันพูดก็อย่าเพิ่งเชื่อว่าฉันเป็นผู้ที่ควรเชื่อ ท่านว่าอย่างนั้น ในกาลามสูตร อย่างเด็กๆนี่ต้องเข้าใจเรื่องกาลามสูตรที่ดีที่สุดของพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อด้วยตรรก ไม่เชื่อด้วย logic ไม่เชื่อ philosophical speculation ไม่เชื่อ ไม่เชื่อกระทั่งว่านี้เขาทำกันมานานแล้ว ไม่เชื่อว่ามันมีอยู่ในพระไตรปิฎกโว้ย ไม่เชื่อทั้งนั้นนะ ไม่เชื่อว่านี้เป็นอาจารย์ของเรา ไม่เชื่อว่านี้เป็นผู้ที่ควรเชื่อก็ไม่เชื่อ เชื่อ experience ที่ธรรมชาติสอน แต่ระวัง เด็กๆมันจะเตลิด มันไม่เชื่อใครเลย ก็แย่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องรู้จักอธิบาย
ผู้ฟัง ๒: ที่นี่ทำอย่างไร ที่ทำงาน
พระอาจารย์: อ๋อ, ที่เรียกว่าทำงานที่นี่ มันก็มาช่วยกันรักษาสภาพของวัดให้คงมีอยู่ในทางสะอาดเรียบร้อยหรือว่าสร้างอะไรขึ้นเล็กๆน้อยๆตามพอใจ เดินไปดูตัววัดสิ นี่ก็สร้างด้วยแรงงานเย็นๆที่ว่าเป็นออกกำลังเย็นๆ ไม่ได้จ้างช่าง ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ไอ้หลังใหญ่ๆนั่นก็ ที่เสร็จไปแล้วนั้นก็จ้างระดมคนอื่นเขาช่วยเหลือ แต่ว่าตอนต่อๆไปนี้จะใช้แรงงานที่เหลือตอนเย็นที่ควรจะออกกำลังให้ร่างกายมันปกติ แทนที่จะไปเล่นเทนนิส เล่นกอล์ฟ ใช้เป็นแรงงานที่สร้างสิ่งเหล่านี้วันละนิดๆๆ หลายๆปีเข้าก็เสร็จ ไม่น่าเชื่อเหมือนกัน นอกนั้นก็รักษาสภาพอย่างนี้ไว้เพื่อว่าคนที่เขาเข้ามาเขาได้รับความรู้สึกอันนี้ ได้รับความอันนี้ เราถือว่าเราได้บุญ ไม่ใช่ว่าทำงานกันอยู่เป็นประจำวัน ทีนี้ก็มีงานหนังสือ ช่วยคัดช่วยลอกช่วยแปลอะไรก็ได้ ก็เป็นงาน แล้วบางคนมันก็มีหน้าที่ที่จะช่วยรักษาไอ้ความเป็นปกติของไฟฟ้า ของน้ำ ของอะไรมันก็เรียกว่างาน ทุกคนทำโดยไม่มีใครขอบใจ เงินเดือนก็ไม่มี
ผู้ฟัง ๑: แล้วทำตอนไหนก็ได้?
พระอาจารย์: แล้วแต่หน้าที่ แล้วแต่เวลา คนที่ถนัดทำไฟฟ้าก็ทำไฟฟ้า
ผู้ฟัง ๒: การศึกษาทุกอย่างในนี้ก็เป็นโดยความสมัครใจของแต่ละคน
พระอาจารย์: นั่นน่ะ เรียกว่ามันฟลุค มันฟลุคมาพบกันเอง ไม่ได้ไปเรียกหามาจากไหนหรือว่าจ้างมา พวกแม่ครัวมันมาเอง พวกช่างไฟฟ้ามันก็มาเอง พวกอะไรมันก็มาเอง พวกจะช่วยเขียนหนังสือ พิมพ์หนังสือบ้างก็มาเอง มันมีเรื่องฉายหนัง เรื่องไอ้ ฉายหนังเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นทุกคนมันมาเองแล้วมันก็ค่อยๆรู้ ค่อยๆทำได้ ถ้าดูแล้วมันก็เป็นสิ่งที่ถ้าทำตามธรรมดามีค่าใช้จ่ายมาก เดี๋ยวนี้เราไม่ได้มีอะไรจ่าย มันสมัครกันทำ เว้นแต่ว่าอาหารน่ะต้องซื้อ นี่ก็ประมาณซื้ออาหารเลี้ยงพออยู่ได้ กินจานแมวอยู่ได้ เป็นโรงเรียนทางวิญญาณ เป็นโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ก็แล้วแต่จะเรียก บทเรียนคือ ตายเสียก่อนตาย หลักสูตรสอบได้คือตายเสร็จก่อนตาย นั่นแหละปริญญา ปริญญาสวนโมกข์ เขาเรียกกันว่าตายก่อนตาย คุณมีจิตใจอย่างตายเสร็จแล้วก่อนตาย นั่นละรับปริญญาที่นี่ ปริญญาตายก่อนตาย
มันมองไม่เห็นเป็นวัตถุแต่มันเป็นตัวธรรมะ ก็คือตัวศาสนา อยู่ด้วยการทำลายความเห็นแก่ตัว ก็คือทำงานด้วยจิตว่าง ถ้าทำงานด้วยจิตวุ่นคือมีตัวกูของกู ทำงานเพื่อกู อันนี้ก็เรียกว่าตรงกันข้ามเลย เพิ่มความเห็นแก่ตัว เพิ่มกิเลส พระที่อยู่ที่นี่ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนี้ทุกองค์ แต่บางองค์อยู่ด้วยศรัทธา ที่ว่ามันได้บุญ มาช่วยกันก็ได้บุญ นี่มันเป็นหลักทั่วไป ช่วยกันทำประโยชน์ก็ได้บุญ ผิดกันหน่อยก็มาที่นี่ไม่มีใครขอบใจ ไม่มีใครให้รางวัล แม้บางคนจะเหนื่อยอย่างยิ่งก็ไม่ได้พูดว่าขอบใจ ให้รางวัลอะไรบ้าง มันก็มีที่ว่าอยากจะให้อะไรแก่ใครบ้างแต่ไม่ได้ให้ในฐานะที่ว่าทำงาน ถ้าเจ็บไข้ขึ้นก็ช่วยกันรักษา ไม่ใช่เรื่องตอบแทน มันก็เป็นมหาวิทยาลัยทางวิญญาณซึ่งไม่มีใครมองเห็น
ที่นี้ถ้าทางนู้นมันก็มีมหาวิทยาลัยตามปกติ แล้วก็มีมหาวิทยาลัยทางวิญญาณซ้อนอยู่ด้วย โดยอย่าให้มองเห็น จึงจะได้ คือสองมหาวิทยาลัย เพราะว่าทำเทคโนโลยีกับ spiritual enlightenment พร้อมกันไป ส่วนที่นี่ไม่ต้องการเทคโนโลยีแล้วเพราะว่านี่มันเหลือใช้แล้ว เราถือว่าเหลือใช้แล้ว ไม่มีเทคโนโลยีอะไรอีกที่ทางเกี่ยวกับวัตถุทางร่างกาย ถ้าจะมีเทคโนโลยีก็เปลี่ยนเป็นเรื่องทางวิญญาณเสียอีก ทำอย่างไรจึงจะทำให้เรื่องเหล่านี้มีประโยชน์แก่ผู้มามากที่สุด นี้ก็เรียกว่าเทคโนโลยีได้เหมือนกัน แต่เป็นเรื่องฝ่ายวิญญาณ ไม่เกี่ยวกับการติดวัตถุ
(พระอาจารย์พูดกับคนมาใหม่) เอ้า, เชิญนั่งๆ ขออภัยๆ เชิญวางเก้าอี้ทางนี้ แล้วขยับอีกก็ได้ค่อยๆวาง มาทางนี้บ้าง เชิญข้างในๆ เดี๋ยววางเก้าอี้ให้พอ เชิญข้างใน นี่ก็จวนจะถึงเวลาเตรียมพระ ตั้งไล่ๆตัวกัน ถ้าจะประเคนก็วางบนนี้ วางบนนี้ ไม่เป็นไร วางบนนี้ อาตมาก็ไม่มีอะไร วางได้ เดี๋ยวไปตักบาตรจานแมวกัน เชิญนั่งๆ เซิญนั่งสิ วางเก้าอี้ต่อไปอีก รู้จักกันบ้างๆ มาจากรถด่วน
ผู้ฟัง: นี่ไปไหนกันมา
ผู้ฟัง: ก็มานี่ สองคืนแล้ว มาถือศีล
พระอาจารย์: มาธุดงค์ๆ มาชิมความเงียบ
ผู้ฟัง: มาอยู่นานแล้วหรือ
ผู้ฟัง: เย็นนี้กลับ
ผู้ฟัง: เย็นหรือกลางคืน
ผู้ฟัง: กลางคืน
พระอาจารย์: หนึ่งทุ่ม
ผู้ฟัง: พระอาจารย์จะทำงาน
ผู้ฟัง: นาทีที่.. ไม่ใช่คืนนี้จะรีบหนี เดี๋ยวผมจะทำบุญวันเกิด
พระอาจารย์: เดี๋ยวมาทำบุญกัน
ผู้ฟัง: เลี้ยงพระ
พระอาจารย์: แล้วรับประทานด้วยก็ได้ ยัง ยังไม่รับประทานอาหารเช้า เดี๋ยวรอรับประทานพร้อมกัน
ผู้ฟัง: ผมมีบ้านพักอยู่ นาที่ที่...
พระอาจารย์: ไปพักทางนู้น กลางวัน พักกลางวัน มีว่างอยู่หลังหนึ่ง จะกลับรถเดียวกันเหรอ
ผู้ฟัง: รถด่วน
พระอาจารย์: ก็ดีกลับพร้อมกัน
กำลังคุยกันถึงเรื่องว่าจะปรับปรุงการศึกษาในมหาวิทยาลัยอย่างไรจึงจะมีธรรมะติดเข้าไปด้วย
ผู้ฟัง ญ: แต่ดิฉันว่าถ้ามหาวิทยาลัย สายไป ต้องปลูกฝังตั้งแต่ขั้นเด็ก
พระอาจารย์: ต้องเป็นตั้งแต่แรกคลอด
ผู้ฟัง ญ: ตั้งแต่แรกเลย
ผู้ฟัง ๓: เราผิดมาตั้งแต่เปลี่ยนการปกครองนี่ ผมว่านะ เมื่อราวๆ ๗๕ ไปปฏิวัติอะไรต่ออะไร แล้วไปปฏิวัติไอ้การศึกษา เดี๋ยวนี้เด็กเขียนหนังสือก็ไม่เป็นเพราะว่าเลิกเขียนลายมือ อ่านหนังสือโตๆ ตัวโตๆ เขียนเป็นไก่เขี่ยเลย
ผู้ฟัง ญ: ขั้นมหาวิทยาลัยไม่น่าจะพอ มองไม่เห็นหรอก
ผู้ฟัง ๓: แล้วก็จรรยาก็เลิกเสียอีก เป็นวิชาที่ผมเกลียดที่สุดครับ แต่ก็อาทิตย์ละหนนี่ล่ะครับ อย่างน้อยก็..นิดนึง
ผู้ฟัง ๑: ทีนี้ผมมาคิดอย่างนี้ มันต้องโทษครู
พระอาจารย์: นี่เตรียมครู เขาพวกเตรียมครู
ผู้ฟัง ๑: เพราะฉะนั้นครูมันต้องมาจากมหาวิทยาลัย มันต้องสองอันปนกัน ต้องสองอันปนกัน (นาทีที่ 27:57)
ผู้ฟัง ๓: ทีนี้ก็ ครูก็ขาด
พระอาจารย์: มีแต่ครูอย่างอื่น
ผู้ฟัง ๓: ครูขาด ตกลงวิชา เวลานี้ จิ๊กโก๋ จิ๊กกี๋นี้หางานทำไม่ได้ แล้วไปทำครู ไอ้ครูทั้งหลาย การศึกษาก็ มันไปสมัครก็ได้ทุกที ทีนี้เมื่อครูมันได้ขนาดไอ้จิ๊กโก๋ เดี๋ยวนี้เลย เด็กเลยออกมาไม่มีงานทำก็ไปเป็นครูได้ แล้วครูก็ขาด
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันว่ามันไม่ ไม่อะไรล่ะ สอดคล้องต้องกัน ดิฉันจำได้ว่าสมัยที่ดิฉันอยู่กับคุณหลวงพรหม (นาทีที่ 28:37) ในสมัยนั้นนะ ให้เร่งรัดการฝึกหัดครูมากที่สุดแล้วครูที่มากคือครู ครูที่ฝึกหัดครูชนบท คือให้สอนเด็กที่พื้นฐานชั้นประถมแรกเริ่ม แล้วก็กวดขันศีลธรรมจรรยาวินัยให้มาก แต่พอครั้งต่อมาแล้วนี้ ก็ไม่ค่อยสนใจกันในเรื่องฝึกหัดครู มาสนใจในด้านวิทยาลัยครู วิชาการต่างๆ ซึ่งแน่ล่ะ สำหรับคนส่วนใหญ่นี้ อะไรที่ให้เงินเดือนแพงก็อยากจะไต่เต้ากันไป ทีนี้ก็เลยมาขั้นไปเตรียมขั้นสูงกัน ขั้นต้นก็ละ แล้วที่ดิฉันเห็นว่าขั้นประถม ๑ ถึงประถม ๗ เร็วๆนี้ก็พูดกับอาจารย์ใหญ่ว่า ควรจะสอนวิชาที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันให้มากที่สุด กินดี กินพอ อยู่พอ จะทำอย่างไร อนามัย ศีลธรรมจรรยา ไม่ใช่ว่ารู้ไปหมด รู้หมดวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พระเจ้ารามคำแหง แต่ที่รู้หมดนี้รู้อะไร ขนาดเด็กประถม ๗ เรียนมากเรื่องกฎจราจร เรื่องการประพฤติบิดา มารดา อะไร กลายเป็นพลเมืองดีทั้งนั้นนะ
พระอาจารย์: ไอ้ที่ควรรู้ไม่รู้ ไปรู้เรื่องเมืองนอกที่ไม่จำเป็นจะต้องรู้ เด็กๆท่องมาเห็นในสมุดที่เขาจดมาเรื่องที่ไม่จำเป็นแล้วก็อยู่ที่เมืองนอก เด็กเล็กๆเด็กตัวเล็กๆประถมก่อนประถม ๔ นี้
ผู้ฟัง ญ: แล้วเรียนซ้ำด้วยนะคะ เรียนซ้ำกันมาก คือที่จริงไม่ต้องรู้ละเอียด ถึงแม้จะประวัติศาสตร์ชาติไทยก็ไม่ต้องเรียนซ้ำ
พระอาจารย์: ถ้าคือตามพระพุทธเจ้าต้องถือและท่านตรัสว่า แม่เป็นครูคนแรก บุพาจาริยา มาตาปิตุโร พ่อแม่เป็นอาจารย์คนแรก ทีนี้ก็ระบุแม่มากกว่า เพราะว่าพ่อทำงาน ทีนี้เดี๋ยวนี้แม่สมัครไปเป็นพ่อเสียหมด เลยไม่มีแม่ ไอ้ลูกก็ไม่มีครูคนแรก นี้เป็นความผิดของสมัยใหม่ที่ให้ผู้หญิงไปทำงานอย่างผู้ชาย ไปพูดที่เชียงใหม่ให้ฟัง เพราะพูดกับพวกคริสเตียนก็เลยอ้างคัมภีร์ไบเบิ้ล ในคัมภีร์ไบเบิ้ลเรียกลูกผู้ชายว่า Son of God เรียกลูกผู้หญิงว่า Daughter of Man คุณดูสิไม่เหมือนกันนะ พ่อต้องทำอย่าง ผู้ชายต้องทำอย่าง ผู้หญิงต้องทำอย่าง เดี๋ยวนี้ผู้หญิงไปทำอย่างผู้ชาย เลยไม่มีแม่ เอ่อ ไอ้ Son ก็เลยกลายเป็น Son of Monkey เพราะไม่มีแม่เป็นครูคนแรก ถ้าแม่เป็นครูคนแรกคุมอยู่เสมอ พ่อไปทำงานไอ้เด็กคลอดออกมา ผู้ชายเป็น Son of God คือดีในทางจิตใจทางศีลธรรม ทีนี้แม่ก็ไปเสีย ทิ้งให้ลูกอยู่กับคนใช้ ก็ลูกก็ไม่เป็น Son of God เป็นลูกลิง ลูกหญิงก็ไม่เป็น Daughter of man ได้เหมือนกัน เพราะมันถูกทิ้ง
ผู้ฟัง ญ: แต่ถ้าแม่ทำได้ จริงๆ เอาใจใส่หน่อยนะคะ
พระอาจารย์: นั่นวัฒนธรรมไทยเดิม ละทิ้งกันหมด
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันทำงานช่วยเสร็จกิจ ถึงครอบครัวก็กลับมาบ้านเป็นแม่บ้าน
พระอาจารย์: ก็ได้ ถูกแล้ว แต่อย่าให้เสียไปในส่วนหน้าที่ที่จะสอนลูกให้เป็น Son of God
ผู้ฟัง ญ: คือถ้าเรายังมีหน้าที่เป็นมารดาก็อย่ารับไอ้หน้าที่ราชการมากมายจนเกินไป
พระอาจารย์: เดี๋ยวนี้นิยมกันว่าจะไม่ทำหน้าที่แม่เสียแล้ว ไปทำอย่างผู้ชายหมด
ผู้ฟัง ญ: อาจเป็นเพราะผู้ชายไม่ค่อย appreciate ไม่เห็นคุณค่าหน้าที่ของมารดา
พระอาจารย์: นั่นนะครูคนแรก ถ้าครูคนแรกไม่ได้ทำแล้วก็ครูคนทีหลังทำยากสุด
ผู้ฟัง ญ: เพราะบิดาบางคนนะคะคิดแต่เพียงว่ามีเงินมาให้ ไม่คิดถึงความสุขทางใจครอบครัว
พระอาจารย์: นั่นนะมันผิด มันผิดหลักวัฒนธรรมไทย ใช่ไหม ก็จ่ายเงินให้คนใช้เลี้ยงลูกสิวัฒนธรรมไทยมัน...
ผู้ฟัง ญ: ถ้าเกิดอะไรขึ้น ลูกไม่ดีก็โทษมารดา เอ้า...ก็ฉันให้เงินแล้ว คุณก็ดูแลลูกไปสิอะไร แต่บางครั้งบิดาทำสิ่งซึ่งสะเทือนใจต่อครอบครัว ลูกมันเห็นไงคะ ใช่ไหมคะ พูดความจริงนะคะ
พระอาจารย์: นั่นมันเป็นผล มันเป็นผลที่จากทำผิดส่วนใหญ่
ผู้ฟัง ญ: เพราะฉะนั้นดิฉันจึงบอกว่า ชีวิตในครอบครัวเนี้ยต้องสอนให้ถูก
พระอาจารย์: นั่นนะให้พ่อเป็นพ่อ ให้แม่เป็นแม่ ให้หญิงเป็นหญิง ให้ชายเป็นชาย
ผู้ฟัง ญ: เพราะฉะนั้นประถม ๑ ถึงประถม ๗ นี่จะเป็นพลเมืองดี ต้องให้มุ่งมั่นในศีลธรรมอันดีงาม ทีนี้เราไปสนับสนุนในเรื่องวัตถุธรรมกันมาก
พระอาจารย์: นี่กำลังพูดเรื่องนี้ กำลังพูดเรื่องนี้ที่...
ผู้ฟัง ๑: คือที่พูดถึงเรื่องครอบครัวนี้ ก็ฝรั่งก็พูดกัน มันก็ไปลำบาก หรือเราอาจจะแย่นะ เพราะว่ามันอาจจะมุ่งผลดีกว่า แล้วมัน pay มากนะ อย่างในอเมริกันนี้เดี๋ยวนี้แม่เขากลับมาเป็นแม่แล้ว
พระอาจารย์: อืม ก็ดี ก็ดี
ผู้ฟัง ๑: เพราะว่าเขาจ่ายเลย เขาจ่าย จ่ายพ่อเสียสูงพอ แม่ก็กลับมาเป็นแม่อีกครับ ไอ้เราเนี่ยออกไปหาเงิน มันจะล้าหลังจนกระทั่งเป็นบ้าไปเลย
ผู้ฟัง ญ: ของเรานี่ ที่จริงเขาเห็นแปลกเหมือนกัน อย่างแม้แต่พวกอเมริกันเองก็รู้สึกนะคะ ถามผู้หญิงไปด้วยกันนี่ ทำงานกันทั้งนั้น เขาถามว่าใครดีกว่า
ผู้ฟัง ๑: เพราะว่ามันแยกได้หลายอย่าง นี่ครับก็ถึงว่า พอมาตั้งต้นกัน ก็ต้องเรียนเรื่องสังคม ก็มาบอกเรื่องครอบครัวนี่แหละ เพราะว่าครอบครัวเป็นหน่วยเล็กๆของสังคม
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันว่าต้องเรียนเรื่องครอบครัวก่อนอื่นแล้วจึงจะขยายไปสังคม
พระอาจารย์: นั่นล่ะครอบครัว ต้องมีพ่อและแม่ เดี๋ยวนี้มีกะเทย พ่อก็ไม่ใช่แม่ก็ไม่ใช่ ไอ้คนสมัยนี้มันกำลังจะไม่เป็นหญิง และไม่เป็นชายคือจะไปเกิดให้เหมือนกันเป็นกะเทย
ผู้ฟัง ญ: แล้วเราก็ไปนั่งว่าเด็ก ที่จริงเด็กนี้รู้สึกนะคะ เด็กที่เขา......
(พระอาจารย์พูดกับคนอื่น: เอ้าเชิญนั่งๆๆ ตามมีตามได้เจ้าของบ้านไม่เป็นไร ท่านเจ้าของบ้าน ท่านนายอำเภอๆ)
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันว่าในขั้นมหาวิทยาลัยก็ต้องให้เขารู้จัก ทีนี้โดยมากเราไปมุ่งแต่ปริญญาชั้นสูง
พระอาจารย์: ถ้าอย่างไรอย่าให้ลืมหลักเดิม ให้มีพ่อมีแม่ไว้ด้วย
ผู้ฟัง ๑: ผมเชื่อในรูปวงกลมครับ อย่างที่ท่านอาจารย์ติดไว้ คือให้เรียนสูงอย่างไรก็เอากลับมาของต้นๆได้อีกครั้งหนึ่งเพราะฉะนั้นก็เลยถึงนึกว่า อย่างไรก็มาตั้งต้นที่นี่
พระอาจารย์: นั่นแหละ
ผู้ฟัง ๑: ผมเป็นหน่วยผลิตอาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะไปผลิตอะไรกันต่อไปอีกนี้ก็อยากจะให้มีเชื้อนี้มันติดไป แพร่
ผู้ฟัง ๓: กระทรวงศึกษาจะต้องรับผิดชอบมากเหลือเกิน วางแผนการศึกษา
ผู้ฟัง ญ: แต่ถ้าดูอาจารย์ชั้นสูง มองหรือเปล่า ขอประทานโทษอาจารย์หนุ่มๆที่กำลังเป็นอาจารย์
พระอาจารย์: ต้องยังไงละ
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันไม่ได้โทษ ขอประทานโทษ มีไหมคะสมัยเรานี้ อาจารย์หนุ่มๆหิ้วเสื้อ ไอ้คอเสื้อเข้าห้อง lecture นั่งบนโต๊ะไขว่ห้างแล้ว lecture เอา มีไหมฮะ สมัยเรา เคยเห็นรึเปล่าถามหน่อย ในขั้นมหาวิทยาลัย
ผู้ฟัง ๑: เราถึงจะนึกว่าจะแก้ยังไง คือมาถึงบทว่าจะแก้ยังไง
ผู้ฟัง ญ: แก้ ใช่ เราต้องช่วยกันพูด เราต้องช่วยกันมีวินัย
พระอาจารย์: ต้องแก้มาจากครูคนแรกคือ แม่ ตั้งแต่แรกคลอดๆ
ผู้ฟัง ๓: ที่มหาวิทยาลัยนะฮะ ผมทนไม่ได้ ผมไปสอนหนังสือ ผมใส่เสื้อชั้นนอกทุกที อาจารย์สมัยใหม่ใส่เสื้อเชิ้ตเข้าไป lecture แหม ผมรู้สึกมันแย่
ผู้ฟัง ญ: อาจจะเพราะอากาศร้อน มานั่งบ้าใส่เสื้อนอกกันทำไม อะไร มันก็เป็นได้ แต่ถ้าเกิดทุกคนบอกว่า เรารู้สึกเราเปลี่ยนแปลงการแต่งกายได้ มันร้อนใส่เสื้อนอกอะไรอย่างนี้ ก็เปลี่ยนใหม่
พระอาจารย์: วัฒนธรรมไทยแต่โบราณต้องปรับปรุงตั้งแต่อยู่ในท้อง ยังไม่คลอด
ผู้ฟัง ญ: ค่ะ อันนี้สำคัญ ตั้งแต่แรกเลย
พระอาจารย์: รับวัฒนธรรมอินเดียมาเค้าเรียกว่า คัพภะปาริหารย์ ทั้งนั้นละ (นาทีที่ 36:45) เมื่อแม่มีท้องก็ให้พิธีคัพภะปาริหารย์ ล้วนแต่เป็นเรื่องธรรม เรื่องอบรมแวดล้อมเพื่อให้เด็กดี เรียกว่าคัพภะปาริหารย์ ที่คลอดออกมาต้องมีระเบียบที่อบรมที่ดี กว่าไปหาครูที่โรงเรียนหรือว่าไปบวชไปเรียน ต้องมาตั้งแต่ในท้อง
ผู้ฟัง ญ: คืออย่างที่พวกสมาคมสุขภาพจิตนะคะ เขาพยายามสอน ว่าอะไร ว่ารูปสามเหลี่ยมนี้คืออะไร เป็นมาตรฐานของพวกเราคือ พ่อ แม่ ลูก คือความรัก นี่เวลานี้พอฤกษ์เกิดเนี้ย ส่วนใหญ่นี้แม่ไม่เกิดความสบายใจ
พระอาจารย์: เป็นสิ่งที่รังเกียจ
ผู้ฟัง ญ: ไม่เหมือนสมัยก่อน แต่ก็มี ไม่ใช่ว่าเลวกันไปหมด
พระอาจารย์: ถูกแล้ว มันเป็นปัญหาใหญ่ เป็นปัญหาใหญ่
ผู้ฟัง ญ: ต้องทำพร้อมๆกัน (นาทีที่ 37:47) ต้องชั้นประถมนี้ต้องเอาใจใส่เสียก่อน ติว ต้อง appreciate ในครูที่สอนด้วย
ผู้ฟัง ๑: คือฝรั่งเขาก้าวหน้าไปมาก ในระยะ ๒-๓ ปี หรือ ๕ ปีมานี้ เขาก้าวไปกว่าเราเยอะ ไอ้เราซะอีกกลับไปตามหลังในทางที่มัน.. นะครับ แล้วมันจะแย่กันใหญ่
พระอาจารย์: พูดอย่างหลักธรรมะเขาก็พูดว่าให้มันถูกไปทั้งกายและใจคือ ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ เดี๋ยวนี้มันถูกแต่ทางวัตถุ ทางกาย ปัญหามันเกิดขึ้นอย่างนี้ ที่พูดถึงทางจิตทางวิญญาณ เขาหัวเราะเยาะว่าไม่จำเป็นอะไร มันเกิดไอ้พวกที่นิยมแต่วัตถุเป็น meterialism มากขึ้นทุกที ปัญหาก็เกิดมากขึ้นทุกที ไม่มีความผาสุก
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันว่าสมัยนี้มันเกิดจากกลัวคนจะไม่รัก
พระอาจารย์: นี้คือปัญหาที่กำลังพูดอยู่ว่าจะให้รับได้ยังไง หรือว่าจะยอมแพ้ ยอมแพ้ ปล่อยไปตามบุญตามกรรม
ผู้ฟัง ญ: อย่างพ่อแม่กลัวลูกจะไม่รัก ดุลูกว่าลูก ครูก็กลัวลูกศิษย์จะไม่รัก ไปเคี่ยวเข็ญ ดุด่าว่ากล่าว
ผู้ฟัง ๓: พยายามไปแก้ปัญหาเรื่องข้างนอก แทนที่จะแก้ปัญหาเรื่องตัวเอง นี่แหล่ะกลัวคนจะไม่รัก กลับเอาเงินไปหว่านมั่ง ทำไอ้นั่นมั่ง พวกวัตถุต่างๆ เพื่อจะล่อหลอก แทนที่ตัวจะทำตัวให้คนเขารัก ไม่ได้ทำ ไปทำข้างนอก
ผู้ฟัง ญ: มันช้า ช้า
พระอาจารย์: เมื่อตะกี้ก็กำลังพูดกันว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีครู มีแต่ลูกจ้างสอนหนังสือเลี้ยงชีวิต
ผู้ฟัง ๓: อันนี้จริง เมื่อสมัยผม ผมจำได้เรามีครูแก่ๆนะ เดี๋ยวนี้ไอ้ครูที่เราเรียกว่าครู แล้วก็ครูผมนี้ เราก็เรียกอาจารย์กันไปก่อน ผมรู้สึกมันห่างกันไปหน่อย มันต้องครู
พระอาจารย์: ครูคือผู้นำทางวิญญาณ อาตมาเห็นในปทานุกรมสันสกฤต คุรุ ครูนี้ spiritual guide ดังนั้นครูก็อาจารย์ คำว่าครูนี้สูงสุดในสมัยพุทธกาลอินเดีย สูงกว่าอาจารย์ สูงกว่าอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์คืออาจารย์อาชีพ ที่เรียกอุปัชฌาย์คืออาจารย์อาชีพ ครูสอนวิชาชีพนี้ละคือตรงกับคำว่าอุปัชฌาย์ แต่ในภาษาไทยมันยกอุปัชฌาย์เป็น spiritual guide ไปเสียแล้ว กลับกันอยู่ คำพูดนี้กลับกันยุ่ง ไปพูดให้ครูเป็นครูกันเถอะ อย่าให้ครูเป็นลูกจ้างสอนหนังสือ เดี๋ยวนี้ครูเป็นลูกจ้างสอนหนังสือ
ผู้ฟัง ๑: ผมเป็นคนหนึ่งที่ก่อตั้งสมาคมสุขภาพจิต เวลานี้ผมสอนครูอนุบาลแล้วผมมุ่งมั่นที่ (นาทีที่ 41:17) ขวบแรกของชีวิต
พระอาจารย์: นั่นนะ ตั้งต้นตั้งแต่แรกคลอด
ผู้ฟัง ญ: ตั้งแต่แรก ตั้งแต่เริ่ม แต่นี้ไอ้ภาวะทางเศรษฐกิจ ทางอะไรมันก็เป็นได้... แต่ก็ต้องเห็นอกเห็นใจ สมัยก่อนเนี้ย พ่อแม่ มีแต่พ่อไปส่งลูกไปโรงเรียน
พระอาจารย์: นั่นมันไกลกันลิบเลย ให้เป็นพ่อจริง ให้เป็นแม่จริง ให้เป็นลูกจริงใช้ได้ เดี๋ยวนี้ไม่เป็นอะไรจริง ไอ้ลูกก็จะสอนพ่อแม่ ไม่ใช่เป็นลูก เด็กๆมีความคิดเปลี่ยนไปมากจากวัฒนธรรมไทยเดิมของโบราณ
ผู้ฟัง ญ: อันนี้นะ บางทีเขาเห็นพ่อแม่เคย (พ่อแม่ก็เป็นตัวอย่างไม่ดี) ความจริงก็ยาก อย่างที่เวลาพูดอย่างนี้ เขาก็ ไม่ไหว (นาทีที่ 42:25)
ผู้ฟัง ๓ พูดกับ ผู้ฟัง ๑: นี่หมอมาถึง ตี ๓
ผู้ฟัง ๑: ตี ๓ รถด่วน มาตั้ง ๕ คน
ผู้ฟัง ญ: เดี๋ยวพัก
ผู้ฟัง ๓: ไปล้างหน้า อาบน้ำ
ผู้ฟัง ๑: ไม่เป็นไรครับ
พระอาจารย์: เดี๋ยวทำบุญกันก่อน ทำบุญกันก่อน ตรงนี้แล้วจึงไป นี่ก็นั่งคุยกันตั้งแต่ตี 5 มานี่เลย
ผู้ฟัง ๑: เรากำลังคิดแล้วว่าเราต้องไปศึกษา คือเรากำลังมีที่ใหม่ ผมเรียนไว้ตั้งต้นแล้ว คือเรามีที่ใหม่อยู่หน้าศาลายา เรา มหาลัยมหิดลเรา แล้วก็มีคณะกรรมการวางแผนอะไรต่างๆ ผมเป็นประธาน เรามีอิสระ มือเปล่า จะทำของให้ดีที่สุด เราก็เห็นว่าเรา คืออยากจะมีพระอย่างที่ว่า ร่วมกับพุทธมณฑล โดยไม่ใช่ว่า ศาสนา พระเทศน์อะไรนี้ มันไม่เอา เพราะฉะนั้นก็เห็นว่า ท่านอาจารย์เนี่ยแหละครับ เป็นคน back figure มาตั้งแต่นานมาแล้ว เราถึงได้ยกพวกกัน เขาเรียกว่าแห่ ใช้คำว่าแห่กันมา เพื่อจะมาฟังท่าน ว่าท่านเห็นอย่างไร เราก็พอได้ guideline อะไรนี้ไป แล้วก็บางทีนี้เราอาจจะ โดยความคิดของอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างว่านี้ (นาทีที่ 43:45) หนุ่มๆ ที่จริง...รู้จักผมดี ว่าจะเอาศาสนาเข้ามาในมหาวิทยาลัยอย่างไร แล้วก็อย่างที่ว่า ว่าเราจะวิ่งมุ่งทางใด อย่างที่ว่า ว่าเราไปทางวัตถุเทคโนโลยีเท่าไร แต่เราต้องมีทางวิญญาณเข้ามา balance ไม่อย่างนั้นมันแย่แน่ เพราะฉะนั้นนี้กำลังคิดว่าจะออกรูปมา ต้องเรียกว่า ขลัง หรืออะไรก็ตามใจ แล้วเราในส่วนงานใหญ่ของเราข้างหน้า เพราะของเราแข็ง (นาทีที่ 42:22) คิดดูสิ เพราะเราแข็ง เรานั่น แล้วก็พูดว่า แล้วก็อย่างว่า ถ้าจะพูดว่าเราใช้เงินมากที่สุดล่ะ งบประมาณมหาวิทยาลัยเรามากที่สุด เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้นเราเชื่อว่าเราจะหาพลังอะไรมา แล้วตวงอะไรไว้ แล้วจะได้เป็นตัวอย่างว่าเรา (นาทีที่ 44:42)
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันเคยอ่าน แต่ดิฉันยังไม่ๆ ดิฉันชอบปฏิบัติบันดาลนะคะ แต่อย่างหนึ่งถึงขั้นวิปัสสนานี้ ดิฉันยังไม่เข้าใจ แต่ที่ดิฉันไปอ่านหนังสือที่อาจารย์วรณีเขียน เป็นความจริงที่ทำขึ้น จากวัดปากน้ำนะคะ ไปเรียนวิปัสสนามา ทีนี้มันก็มีโรงเรียนเด็ก อยู่คลองเตยนี้เอง แถวแหล่งสลัมคลองเตย ครูคนนั้นนะ แม้เด็ก ถ้ามันคือมันมาจากพวกลูกกรรมกร เหลือประมาณ กระเป๋าสตางค์วางไว้ก็คือไม่ได้ หายค่ะ กลางวันนี้วาง ของหายหมด ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เผอิญเป็นลูกศิษย์วัดปากน้ำ ก็ลองเอาเด็กกลุ่มหนึ่งมา เด็กที่ไม่ทานอาหารกลางวัน แล้วก็เอาเด็กลองมานั่ง มานั่งนิ่งๆ ทำวิปัสสนา ทีนี้ในหนังสือเล่มนั้น เล่าถึงความรู้สึกให้เด็กเขียน ที่เด็กทำได้แล้วนี้ เขียนเอาไว้ เขียนแจกเอาไว้ เด็กบอกว่า สบาย คือหัดทำ แล้วแกไม่หิวอาหารกลางวัน ไม่อะไรนะคะ มีเด็กกลุ่มหนึ่งล่ะที่ทำได้ ชั้นต่างๆกัน อันนี้ประมาณระหว่างประถม ๓ ประถม ๔ นี้ ทำได้ แล้วก็ครูบอกว่าเด็กดีขึ้น ของที่เคยหายก็ไม่หาย อบรมกันด้วยดี ถ้าหมอสนใจ (พูดกับผู้ฟัง ๑) เขียนโดยอาจารย์วรณี
ผู้ฟัง ๓: ละไม ใช่ไหม
ผู้ฟัง ญ: ไม่ใช่ ลูกคุณ...(นาทีที่ 46.11) เอ้อ วรณี สุนทรเวช ดิฉันศรัทธามาก
แต่ว่าอาจารย์ที่เขียนเล่าเรื่องเด็กนี้นะคะ ไม่ใช่ตัวอาจารย์วรณี เป็นอาจารย์ถวิล ชื่อถวิล เป็นครูใหญ่อยู่โรงเรียนคลองเตย
พระอาจารย์: นี้ถูกแล้ว ควรจะไปสนใจ ไอ้เด็กที่ทำสมาธิได้มันพอใจความสบายนั้นที่จะไปหาความสบายอย่างเกเร มันก็ซาไป
ผู้ฟัง ญ: มานั่งเงียบๆเลยนะ แล้วแกให้เด็กเขียน อายุ ๑๒-๑๓ เขียนว่าเห็นเป็นอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร
พระอาจารย์ : ทีนี้เรื่องของผู้ใหญ่ก็หลักเดียวกันล่ะ ถ้ามันทำความสบายในทางวิญญาณได้ ไอ้ทางวัตถุมันซาไปเอง ผู้ใหญ่หรือว่าทั่วโลกเนี้ย ถ้าทั้งโลกหมุนมาหาไอ้ความสุขทางใจนี้ มันจะซาไปทางวัตถุ เดี๋ยวนี้มันไม่มีเลยมันระดม เลยแย่งกันใหญ่ แย่งที่กันใหญ่ โบราณที่ให้มันมีอะไร มีดอกไม้มีอย่างนี้ก็เป็นเรื่องทางจิตใจ ถ้าเด็กๆรักที่จะมานั่งปลูกต้นไม้อยู่นี้ มันก็ไม่ไปเกเรอย่างระเบิดขวด อย่างอาตมาเมื่อเด็กๆนี้ชอบปลูกต้นไม้แข่งกัน กลับมาจากโรงเรียนเพื่อนฝูงก็มาแลกกันในเรื่องต้นไม้ ต้นกุหลาบบ้าง ต้นอะไรบ้างอย่างนี้ ไม่มีเวลาที่จะไปเที่ยวอย่างอื่น มัน มัน เรียกร้องมาจะอย่างนี้ ทีนี้มันก็มาในฝ่ายที่เรียกว่าวิญญาณ ที่หาความสุขจากธรรมชาติ จากอะไรจากภายในได้ ไม่ต้องมีสตางค์ ไม่ต้องไปเที่ยว เดี๋ยวนี้หายหมดละ เด็กๆสมัยนี้พอมันอยากมีปืนละ เดี๋ยวนี้เด็กนักเรียนมันอยากมีปืนละ
ผู้ฟัง ๑: เราก็ไม่มีที่ให้เค้าด้วย พูดตามตรง ไม่มีใครที่จะ provide ให้
พระอาจารย์: ที่นี่เราอยากจะมีอะไรชนิดนั้นกลับมา เป็นต้นไม้เป็นดอกไม้ เป็นธรรมชาติ พอเข้ามาแล้วสบายใจ มันติดไอ้รสอันนี้ ความคิดที่จะไปยุ่งกับวัตถุมันก็จะได้ซาลง
ผู้ฟัง ญ: ดิฉันว่าความเงียบมันช่วยได้นะคะ
พระอาจารย์: ความเงียบนี้ช่วยให้ขับอายุอะไรได้
ผู้ฟัง ๑: อย่างที่อาจารย์ว่า ว่า God แปลจริงๆก็คือ ธรรมชาติ
พระอาจารย์: คือธรรมะหรือกฎธรรมชาติ กฎของธรรมชาติคือธรรมะ ธรรมะคือกฏธรรมชาติ สร้างทุกอย่าง ควบคุมทุกอย่าง ลงโทษทุกอย่าง ให้รางวัลทุกอย่าง นั่นคือหน้าที่ของพระเจ้าแล้วมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง แล้วรู้ทุกสิ่ง เป็นทุกสิ่งเลย ใช้คำว่าอย่างนี้ God คือทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไร ซาตานก็อยู่ใน God พระเจ้ามีซาตานไว้สำหรับทดสอบคน สอบไล่คน
(ที่ตีระฆังสำหรับไปที่นั่น..............อืม ตักบาตรจานแมวไม่เคยเห็นเดี๋ยวจะได้เห็น แล้วก็ฉันจานแมว อาบน้ำในคู เป็นอยู่อย่างตายแล้ว...............ไปที่นั่นเลยๆอันนี้ข้าวของเก็บไว้เรียบร้อยแล้ว เออไปที่นั่นเลย ต้องเสร็จจากนี่ก่อน.