แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นักศึกษา : เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนานะครับ จัด คือพิธีกรรมเกี่ยวกับศาสนา แบบศาสนาพุทธนี่นะครับ แบบมีการตักบาตรอะไรนี่ จัดเป็นธรรมะ หรือว่าจัดเป็นอะไรในพุทธศาสนา
ท่านพุทธทาส : พิธีกรรมมันก็มักจะเป็นเรื่องงมงาย ถ้าการปฏิบัติไม่ต้องพิธีกรรมนี่ ปฏิบัติด้วยสติปัญญาแล้วก็ใช้ได้ ถ้าพิธีกรรมจะเป็นศาสนาไสยศาสตร์เสียมากกว่าเป็นการกระทำด้วยสติปัญญานั่นแหละจะเป็นศาสนาตัวจริง หรือถูกต้อง
นักศึกษา : ฉะนั้นถ้าพิธีกรรมเป็นไสยศาสตร์ใช่ไหมครับ ถ้าพิธีกรรมเป็นไสยศาสตร์ แล้วถ้าไม่มีพิธีกรรมนี่นะครับ ผมอยากทราบว่า ศาสนาจะอยู่ได้อย่างไรจนกระทั่งบัดนี้
ท่านพุทธทาส : ก็คือการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องงมงาย มันมีอยู่ในหมู่พระอริยเจ้า โดยไม่ต้องมีไสยศาสตร์ให้งมงาย ท่านทำอะไรไปได้
นักศึกษา : แล้วสมมุติการตักบาตรนี่ครับ การตักบาตรเป็นพิธีกรรมนะครับ ถ้าเกิดว่าประชาชนไม่ตักบาตร พุทธศาสนิกชนไม่ตักบาตร แล้วพระเจ้า ...
ท่านพุทธทาส : เอ้า,ประชาชนที่ตักบาตรเพราะไสยศาสตร์ก็มี ประชาชนตักบาตรเพราะพุทธศาสตร์ก็มี ประชาชนไม่ได้ตักบาตรด้วยจิตใจเหมือนกันทั้งหมด บางที่ก็ตักบาตรเป็นการค้าก็มีจะเอาผลสวรรค์วิมานอะไรก็มีตักบาตรด้วยไสยศาสตร์ ต้องทำไม่ทำไม่ได้นั้นก็มี ตักบาตรโดยคิดว่าเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือให้ศาสนามีอยู่ในโลก เป็นประโยชน์แก่โลกอย่างนี้ก็มี ฉะนั้นการตักบาตรนั้นมีเจตนาต่างๆ ต่างกันหลายแบบ กระทั่งเป็นไสยศาสตร์ก็มี หรือกระทั่งว่าเป็นการค้าก็มีอย่างที่ว่า เพราะเขาสอนกันมาว่าตักบาตรสักช้อนหนึ่ง ก็จะได้วิมานหลังหนึ่งอย่างนี้ มันเกินไสยศาสตร์ไปเสียอีก
นักศึกษา : พระคุณเจ้าครับขอเรียนถาม ความหมายที่พระคุณเจ้ากล่าวว่า คำว่างมงายนี้คือ อย่างไหนเรียกว่างมงาย อย่างไหนไม่เรียกว่างมงาย
ท่านพุทธทาส : คือถ้าทำด้วยปัญญาที่ถูกต้อง ความรู้ที่ถูกต้องเขาเรียกว่าปัญญานี่ ถ้าทำด้วยปัญญาก็ไม่งมงาย ถ้าทำด้วยอวิชชา หรืออัญญาณ อัญญาณะคือไม่มีปัญญา ก็งมงาย เหมือนกับหลับตา กับลืมตา คนหลับตาทำ คนลืมตาทำ ไสยศาสตร์ก็คือ หลับตา พุทธศาสตร์ก็คือ ลืมตา
นักศึกษา : ท่านบวชมานานท่านหวังอะไรครับ
ท่านพุทธทาส : ว่าอะไรนะ ฮะ
นักศึกษา : ที่ท่านบวชมาตั้งนานนี่ ท่านหวังอะไรครับ
ท่านพุทธทาส : ไม่ได้ยิน
นักศึกษา : ทานโทษนะครับ ที่ท่านบวชมาตั้งนาน นี่ ท่านหวังอะไรครับ
ท่านพุทธทาส : ก็หวังอะไรสิ มันเป็นเรื่องส่วนตัวโว๊ย,ไม่ต้องตอบก็ได้ ถ้าให้ตอบก็ตอบว่า ไม่ได้หวังอะไรหรอก บวชสนุก ๆ มาอย่างนั้นแหละ
เออ, คำนี้ก็อีกคำหนึ่งซึ่งจะต้องพูดกันให้เข้าใจกัน เรื่องจิตว่าง คำว่าจิตว่างก็พูดแล้ว แต่ว่าเช่นนั้นเองก็พูดแล้ว ทีนี้คำว่าความหวัง ช่วยจำให้ดีคำว่าความหวังนี่ เป็นคำที่เป็นปัญหาการศึกษาสมัยใหม่ แม้ของพวกฝรั่งนี่เขาก็ยกย่องความหวังว่ามีประโยชน์ แต่สิ่งที่เรียกว่าความหวังนี่ ในภาษาบาลีในภาษาธรรมะนั้นเป็นสิ่งเลวร้ายเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งทรมานจิตใจของคน เราหวังอะไร มันก็เท่ากับว่าทรมานอยู่ด้วยความหวังนั้นแหละ สิ่งที่เรียกความหวังในภาษาธรรมะ เขาให้ความหมายอย่างนี้ คือสิ่งที่มันจะทรมานจิตใจของผู้หวังคือเป็นทุกข์ ฉะนั้นอย่างไปหวัง เมื่อรู้ว่าควรจะทำอย่างไร แล้วก็ทำโดยไม่ต้องหวัง ทำโดยอำนาจของอะไร ด้วยอำนาจของความรู้ของสติปัญญาไม่ต้องหวัง แต่ถ้าหวัง มันก็ผิดหวังตั้งแต่วินาทีที่หวังนั่นแหละ คุณลองหวังอะไรเข้าเถอะ มันจะผิดหวังตั้งแต่วินาทีที่หวัง เพราะมันยังไม่มา ยังไม่เกิดผล เขาเรียกว่าผิดหวังตั้งแต่วินาทีแรกจนวินาทีสุดท้าย ทำด้วยความหวังก็คือทรมานอย่างยิ่ง ทำด้วยสติปัญญาดีกว่า จะหาเงินทำไร่ทำนา ทำงานอะไรก็ตามอย่าทำด้วยความหวัง แต่ให้ทำด้วยสติปัญญา รู้ว่าทำอย่างนี้แล้วผลจะเกิดอย่างนี้ ทำอย่างนี้แล้วผลจะเกิดอย่างนี้ทำอย่างนี้ แล้วผลจะเกิดอย่างนี้ ทำไปด้วยความรู้อันนี้โดยไม่ต้องหวัง สติปัญญาเป็นเหตุให้ทำถูกต้องแล้วผลมันก็เกิดขึ้นเอง เพื่อให้เข้าใจง่ายหรือลืมยาก พระพุทธเจ้าท่านตรัสเปรียบอุปมาว่า แม่ไก่ฟักไข่ตามวิธีที่ถูกต้องของธรรมชาติที่แม่ไก่มันฟักไข่ แม่ไก่นั้นไม่ต้องหวังว่าลูกไก่จงออกมา ทำให้ถูกวิธีของธรรมชาติเรื่อยไป แม่ไก่ไม่ต้องหวังว่าลูกไก่จงออกมา แม่ไก่ตัวไหนหวังว่าลูกไก่จงออกมามันเป็นแม่ไก่บ้า อย่าไปเอากับมันเลย มันเพียงแต่ฟักไข่ให้ถูกตามวิธีของธรรมชาติ แล้วลูกไก่ก็จะออกมาจากไข่เอง
ฉะนั้นเราทำไร่ทำนา ทำอะไรก็ตามเถอะ ทำให้มันถูกตามเทคนิคของเรื่องนั้นๆ แล้วมันจะมีผลของมันเอง ตามกฎของอิทัปปัจจยตา แล้วเราก็ไม่เป็นทุกข์ในหลักธรรมะจึงสอนให้ทำด้วยสติปัญญา อย่าทำด้วยความหวังคืออาสา อย่าทำด้วยความอยากคือตัณหาอย่างนี้เป็นต้น เดี๋ยวนี้จะยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ว่าซื้อล๊อตเตอรี่มา เอามานอนหวังให้มันกัดกินหัวใจ เดี๋ยวมันบ้าเลยแหละไอ้คนหนึ่งก็ซื้อล๊อตเตอรี่มา ไม่รู้เก็บไว้แล้วกัน ถึงวันๆออกเมื่อไหร่ก็ไปตรวจสลากก็แล้วกัน มันไม่ต้องหวังให้ทรมานหัวใจ นี่ความหวังๆ นี่เรากำลังเกี่ยวข้องกับมันผิดใช้มันผิดไปสอนลูกเด็กๆ นักเรียนเล็กๆ ให้หวังๆ หวังที่ไหนสำเร็จที่นั่น หวังที่ไหนสำเร็จที่นั่น ไม่เท่าไรเด็กๆของเราเป็นโรคประสาทหมดแหละ อย่าไปหลอกให้เขาหวัง หลอกให้เขาทำให้ถูกต้อง ตามเรื่องของเรื่องด้วยสติปัญญา ฝรั่งเขาจะสอนว่าให้หวังๆ ก็ตามใจเขาเถอะ เราไม่เป็นทาสความรู้ของฝรั่ง เราเป็นทาสความรู้ของพระพุทธเจ้า เราจะทำอะไรด้วยสติปัญญา ไม่ทำด้วยความหวัง หวังว่าท่านนักศึกษาทั้งหมดนี่ จะรู้จักความหมายของคำว่าความหวังนี่ให้ถูกต้อง ให้ถูกต้องกว่าที่แล้วมา อย่าเป็นอยู่ด้วยความหวังมันทรมานจิตใจ อยู่ด้วยสติปัญญาดีกว่า มันสบายดี มันเยือกเย็นสบายดี มันไม่ทรมานจิตใจ เพราะว่าความหวังนี่ต้องมาจากอวิชชา ความไม่รู้เสมอ มันจึงหวังและมันจึงอยาก มันไม่ต้องหวังมันไม่ต้องอยาก ทำให้มันถูกต้อง แล้วผลมันก็ออกมา นี่คำๆ นี้ คำว่าความหวังนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องรู้จัก ให้แจ่มแจ้งชัดเจนแล้วทำกับมันให้ถูกต้อง อย่าให้มันกัดเอา
นักศึกษา : ครับผมมีคำถามอีกนิดหนึ่งคือ หลักคำสอนของศาสนาพุทธ สอนให้คนพึ่งตนเองข้อหนึ่ง และก็สอนให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณอีกข้อหนึ่ง แล้วตามสภาพปัจจุบันจะเห็นว่าคือผมยกลักษณะเป็นพ่อแม่ทั้งหมดคือ ถ้าพวกลูกๆของตนได้ทำงานแล้ว ก็ไม่อยากจะทำอะไรคือ ต้องการจะพึ่งลูกของตน แล้วถ้าลูกไม่เลี้ยง คือไม่ส่งอะไรอย่างนี้ จะหาว่าลูกอกตัญญู แล้วผมกระผมใคร่ขอถามว่า ในเมื่อลักษณะเกิดขึ้นอย่างนี้ เราถือว่าพุทธศาสนาไปทำลายพุทธ คือ พุทธศาสนาไปทำให้พุทธศาสนากลายเป็นไสยศาสตร์ได้ไหมครับ
ท่านพุทธทาส : ไม่ ๆๆ มีทางหรอกพุทธศาสนาจะเป็นไสยศาสตร์อย่างไรได้ละ
นักศึกษา : คือทำให้พ่อแม่ไม่อยากจะพึ่งตนเอง คือไปพึ่งพวกลูกหลาน
ท่านพุทธทาส : เอ้า,พ่อแม่เขาก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ว่าหวังพึ่งลูก ถึงจะหวังพึ่งลูก มันก็เป็นเรื่องที่มีเหตุผล เพราะบิดามารดาเป็นเจ้าหนี้ เป็นเจ้าหนี้เหนือลูกอยู่ท่วมหัว ถ้าลูกมันไม่ใช้หนี้มันก็เป็นลูกเนรคุณ แต่ท่านก็ไม่ได้หมายความว่า มันมีหลักลัทธิที่ว่าจะต้องหวังพึ่งลูก เราอย่าไปดูหมิ่นบิดามารดาคนเฒ่าคนแก่ถึงขนาดนั้น ลองทำอะไรให้ไม่ถูกใจท่านๆ สะบัดหน้าไม่เอากับมึงๆจะดีวิเศษเป็นเทวดามาอย่างไร กูก็ไม่เอากับมึง นั่นจะเป็นรูปนั้น ถ้าเป็นบิดามารดาที่เขามีธรรมะ ไม่ได้ทำผิดหลักที่ว่าจะพึ่งลูกเป็นพระเจ้านะ แต่ว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องระดับศีลธรรม ถ้ามีศีลธรรมอย่างนี้สังคมจะเป็นสุข เขาจึงบัญญัติไว้ในระดับศีลธรรม
นักศึกษา : ๑๒.๐๕...( เบามากฟังไม่ได้ยินค่ะ )ผมรู้สึกสับสนเป็นอย่างมาก อยากให้พระคุณเจ้าอธิบาย.......
ท่านพุทธทาส : ไม่สับสน เว้นแต่จะไปชนความมันผิด คือจิตก่อนแต่ที่กิเลสจะเกิด จิตที่กิเลสยังไม่เกิดนั่นนะจิตเดิม พอจิตเกิดกิเลสในจิตนั่นนะเป็นจิตใหม่ เทียบกับเก่ากับใหม่ก็แล้วกัน จิตที่ยังไม่เกิดกิเลสนั่นนะคือ จิตเดิม แต่ต่อมากิเลสเกิดก็เป็นจิตใหม่ ทีนี้พอกิเลสหายไปก็กลับไปสู่สภาพจิตเดิม แต่เดิมชั่วคราว ไม่ใช่เดิมตลอดไป ทีนี้มีวิธีทำให้ไม่เกิดกิเลสอีกต่อไป มันก็เป็นจิตเดิมถาวรตลอดกาล เป็นจิตเดิมชนิดนิพพาน
นักศึกษา : ๑๓.๐๐
ท่านพุทธทาส : มันภาษาบัญญัติ ภาษาบัญญัติ เรารู้ว่าความหมายแท้จริงของมันอย่างไร เดี๋ยวนี้การบัญญัติภาษาใหม่ๆ ทำยุ่งหมดแล้ว เพราะว่าผู้บัญญัตินั้นมันก็ไม่รู้จริง ไปบัญญัติ ทำยุ่งนี้เป็นภาษาบาลีนะ ศีลธรรมก็ดี คุณธรรมก็ดี คำเหล่านี้เป็นคำบาลีนะ ถ้าศีลธรรมภาษาบาลีมันก็แปลว่า สิ่งที่ปรกติ หรือสิ่งที่ทำความปรกติ คือสงบสุข ถ้าคุณธรรมก็ว่าสิ่งที่มีคุณ คำว่าคุณแปลว่าค่า มันมีค่า ดีหรือชั่วก็มันมีค่า มันตรงกับคำว่าค่า เลวก็มีค่าอย่างเลว ดีก็มีค่าอย่างดี มันมีค่าคุณธรรม คำว่าคุณไม่ได้มีความหมายว่าดีในภาษาบาลี แต่ในภาษาไทยมันมีความหมายแต่ทางดีอย่างเดียว เพราะภาษาบาลีมันเป็นธรรมชาติกว่า ด้วยเหตุที่ว่าไอ้คุณค่าของสิ่งใดนั้น ไม่ได้มีความหมายว่าดีหรือเลวอย่างเดียว มันเป็นได้ทั้งสองอย่าง แล้วแต่ใช้มันในแง่ไหน คำว่าคุณก็คือค่า แล้วมนุษย์ก็หลงในค่า ก็ติดอยู่ในค่าของสิ่งเหล่านั้น ถ้าถูกใจตัวก็ว่าดี ถ้าไม่ถูกใจตัวก็ว่าเลว แต่คำว่าคุณในภาษาบาลีมีความหมายว่าค่า คล้ายกับคำภาษาอังกฤษว่า Value Value ไม่ได้หมายความว่าดีหรือเลว แต่มันมีค่าของมันตามหน้าที่ของมันอย่างหนึ่ง แต่ถ้าไปมองอย่างอื่นมันก็เป็นค่าอย่างอื่น ไปมองอย่างอื่นมันก็เป็นค่าอย่างอื่น เช่นอุจาระนี่ ถ้าเรามองในทางหนึ่งมันก็ไม่ไหว แต่ถ้ามองอีกทางหนึ่งมันเอาไปทำปุ๋ยได้ แล้วแพงด้วย เดี๋ยวนี้ว่าได้ยินว่ากิโลตั้ง ๔ บาทนะปุ๋ยหมักนะ ทำเล่นกับค่า มันแล้วแต่ความยึดถือของบุคคลนั้น ถ้าไปยึดถือในค่าแล้วก็คือปุถุชน ถ้าไม่มียึดถือในค่า อยู่เหนือความมีค่าแล้วเป็นพระอรหันต์ นี่คำว่าคุณในภาษาบาลี แต่ในภาษาไทยเปลี่ยนไปแล้ว เปลี่ยนไปในทางดี ในทางน่าหลงใหลทางเดียวเท่านั้น ถ้าพูดกันในแง่ภาษาแล้วมันก็ลำบาก เพราะประเทศหนึ่งหรือหมู่หนึ่ง มันบัญญัติคำๆ นั้นเป็นอย่างอื่น ไม่เหมือนคำเดิม หรือแยกไปอีกทางหนึ่งก็มี เพราะฉะนั้นเราอย่าพูดโดยยึดถือคำพูดเป็นหลัก ยึดถือความจริงของตัวจริง เป็นหลักให้มากเข้าไว้ จะพูดกันรู้เรื่องง่ายกว่า ที่บัญญัติกันใหม่ๆ เพื่อให้มันเข้ากับคำฝรั่งนี้กำลังยุ่งที่สุด กำลังยุ่งจนกระทั่งย้อนมาขัดกันเอง เอาใจความไม่ได้ เอาเป็นหลักอะไรไม่ได้
นักศึกษา : ผมขอเรียนถามครับว่า ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนานะครับ มีความหวังในเรื่องปรินิพพานหรือเปล่าครับ
ท่านพุทธทาส : โอ้,ก็ไปถามคนนั้นซิ ถามไปถามคนที่บวช หวังๆ หรือเปล่า คนที่เขาบวชนะเขามีความหวังต่างๆๆๆกัน น้อยคนนักที่จะหวังพระนิพพานโดยแท้จริง เพราะไม่รู้จัก ไม่รู้จักพระนิพพาน คนเราไม่รู้จักพระนิพพาน แต่เมื่อเขาว่ากันว่าดีๆ ก็เอาเข้าไปทีก่อน บวชด้วยเหตุต่างๆ กันคนเรา ที่จะหวังพระนิพพานนะหายาก
นักศึกษา : แล้วการปรินิพพานนี้พิสูจน์ได้หรือเปล่าครับ
ท่านพุทธทาส : อย่าให้ชิดปากนะ
นักศึกษา : การปรินิพพานนี้พิสูจน์ได้หรือเปล่าครับ
ท่านพุทธทาส : พระนิพพานไม่ต้องไป ยิ่งไปยิ่งไม่ถึงพระนิพพาน พระนิพพานมีแต่จะทำให้ว่างไป ไม่มีความยึดถือ ไม่ต้องไป ภาษาชาวบ้านที่พูดว่าไปนิพพาน ไปนิพพานนั้นมันภาษาไสยศาสตร์ ภาษาคนไม่รู้จักพระนิพพาน สมมุติบัญญัติเป็นเหมือนกับเมืองกับบ้าน ไปอยู่ที่นั่นแล้วสบายกันใหญ่เลย นั่นนะนิพพานของไสยศาสตร์ ต้องไปถ้าไม่ต้องไป แต่นิพพานแท้จริงในธรรมะในพุทธศาสนานั้น ไม่ต้องไปสลายตัว เป็นเรื่องสลายตัว จิตไม่ยึดถือสิ่งใดโดยความเป็นตัวตน ให้ตัวตนมันสลายไปเสีย แล้วจิตก็ถึงสภาพที่อิสระ ว่างเหนือสิ่งทั้งปวง ถึงเรียกว่านิพพานถึงได้โดยไม่ต้องไป ทำให้มันว่างจากตัวตน จิตนั้นก็ถึงเข้ากับนิพพาน คือความว่างจากตัวตน ว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์ วันนี้ได้พูดมากเลยหายเป็นหวัด เมื่อวานก็จะพูดไม่ได้
นักศึกษา : อยากจะเรียนถามพระคุณเจ้านะครับที่บอก คือที่เจอๆ มาเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาพุทธของเราไม่ว่าที่วัด หรือที่ไหน ก็เรียกได้ว่าเมื่อเริ่มพิธีกรรม ตั้งแต่เริ่มจนถึงจบก็มักมีการพนมมือไหว้ อยากจะทราบว่า การพนมมือไหว้ เราพนมมือทำไมครับ
ท่านพุทธทาส : ช่วยว่าอีกทีว่าให้ใกล้ๆ ให้ถูก มันฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วเป็นหวัดนี่หูมันอื้อด้วย
นักศึกษา : คืออยากจะเรียนถามที่ว่า พิธีกรรมทางศาสนาพุทธของเราที่เจอๆ มาตั้งแต่เริ่มต้นพิธีจนถึงจบพิธีนี้ ก็จะมีการพนมมือไหว้กัน อยากจะเรียนถามว่า เวลาเราพนมมือไหว้นี้ เราพนมมือไหว้ทำไมครับ อยากจะเรียนถาม
ท่านพุทธทาส : อ๋อ เกี่ยวกับการพนมมือไหว้
นักศึกษา : แล้วถ้าไม่พนมมือไหว้มันจะ
ท่านพุทธทาส : การพนมมือไหว้นี้เป็นเรื่องวัฒนธรรม การที่เราพนมมือไหว้ในเมื่อทำอะไรมันเป็นเรื่องวัฒนธรรม เราก็รับวัฒนธรรมอินเดียมา การพนมมือไหว้นี่เป็นท่าทาง รูปแบบของวัฒนธรรมอินเดีย ถ้าเราถือว่าเมื่อพนมมือไหว้นั้นนะ มันเป็นการรวบรวมจิตเป็นสมาธิ ส่งกำลังจิตอะไรได้ดีกว่า จะคิดนึกหรือจะทำอะไรได้ดีกว่าเมื่อไม่พนมมือ เมื่อไม่พนมมือมันฟุ้งซ่าน คุณลองยกมือขึ้นพนม จิตมันก็จะรวมเหมือนกับมือที่พนม แล้วจะมีกำลังจิตที่ดีกว่า เป็นวัฒนธรรมอินเดียโบรมโบราณ เขาเคยได้รับผลมาแล้ว เขาก็ทำกันอย่างนั้น คนชั้นหลังก็รับช่วงทอด มันก็ดีเหมือนกันก็ดี มันช่วยให้ง่ายขึ้นในการรวบรวมกำลังจิต แล้วแสดงความเป็นมิตรเป็นความเป็นมิตร แสดงความรัก ความนับถือ ในอินเดียการพนมมือไหว้นี้ เป็นของธรรมดาสามัญที่สุด มันจะยกมือไหว้ทันทีที่เหลือบเห็นกัน แสดงความเป็นมิตร ไม่ต้องคิดว่าใครแก่กว่าอ่อนกว่าพอเหลือบเห็นมันยกมือไหว้ โดยไม่ต้องคิดว่าใครแก่กว่าอ่อนกว่าเป็นวัฒนธรรมโบรมโบราณที่ดีมาก
นักศึกษา : เมื่อกี้นะครับ พระคุณเจ้าบอกว่า การนิพพานนี้แปลว่าการไม่ต้องไป แล้วการที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนี้จริงหรือเปล่าครับ
ท่านพุทธทาส : ใครว่าใครเป็นคนว่าพระพุทธเจ้าไปนิพพาน นี่เป็นคำพูดชั้นหลังๆ ที่มันค่อยเลือนๆๆ เปื้อนไป พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ตรัสว่าไม่ต้องไป นิพพานถึงได้โดยไม่ต้องไป คือดับราคะโทสะโมหะ ดับอุปาทานยึดถือ ดับกิเลสอาสวะ แล้วจิตมันก็ไม่มีสิ่งเหล่านั้น มันก็ถึงกันเข้ากับสิ่งที่ไม่มีสิ่งเหล่านั้น คือไม่มีทุกข์ จิตสัมผัสกันได้กับภาวะที่ไม่มีทุกข์ที่นั่นแหละ เมื่อทำให้กิเลสอาสวะสลายไปหมดแล้ว จิตก็สัมผัสเข้ากับสิ่งที่ไม่มีกิเลส ไม่มีอาสวะ นิพพานถึงได้ไม่ต้องไป ไปคิดดูเถอะจะเข้าใจได้ ถ้าไปมันมีความหวังอันใดอันหนึ่ง หรือมาก็มีความหวังอันใดอันหนึ่ง หรือหยุดอยู่กับที่ใดที่หนึ่งมันก็มีความหวังอันใดอันหนึ่ง เราจะไม่ไป ไม่มา ไม่หยุด คือมันว่างไปจากความหวัง
นักศึกษา : แล้วเราพิสูจน์ได้อย่างไรครับว่า จิตเราถึงจุดนั้นแล้ว
ท่านพุทธทาส : ว่าอะไรนะ
นักศึกษา : เราพิสูจน์ได้อย่างไรครับว่าเราถึงจุดนั้นแล้ว
ท่านพุทธทาส : เอ้า,ก็ลองเป็นกันดูสิ ใครจะพิสูจน์ให้ใครได้เล่า เรานะเป็นแล้วจะรู้ว่า โอ้,เดี๋ยวนี้ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรห่อหุ้มไม่มีอะไรเผาลนไม่มีอะไรผูกมัดไม่มีอะไรครอบงำ ผู้นั้นนะจะรู้ได้เอง นี่คือความหมายคำว่าสันทิฏฐิโก ที่เราสวดกันอยู่ทุกวัน สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อกาลิโก สันทิฏฐิโก ก็คือนั่นแหละ พอเรา จิตมันถึงอันนั้นนะจิตมันรู้ได้เอง อ้าว,มันอย่างนี้อย่างนี้ ไม่มีกิเลสเป็นของเย็นอย่างนี้ๆ สันทิฏฐิโก มีกิเลสร้อนอย่างนี้ ก็สันทิฏฐิโก
นักศึกษา : ตั้งแต่ผมเรียนมาตั้งแต่ชั้นประถมนะฮะ เขาจะสอนว่าศาสนามีองค์ประกอบ ๓ อย่างฮะ คือศาสดา พระธรรมคำสั่งสอน แล้วก็สาวก แล้วเมื่อกี้พระคุณเจ้าบอกว่า เวลาเราศึกษาธรรมะนี้ เราไม่ต้องไปสนใจว่า จะมีพระพุทธเจ้าหรือไม่ ซึ่งหมายถึงพระศาสดา แสดงว่าศาสนาพุทธเราไม่ต้องสนใจว่า เรามีศาสนาหรือไม่
ท่านพุทธทาส : มันพูดกันคนละชั้น มันพูดกันคนละชั้น คนละระดับ ที่มันจะเป็นรูปแบบปรากฏออกมาตามประชาชน ภาษาธรรมดาประชาชน ก็ต้องว่ามีผู้สอน มีสิ่งที่สอน แล้วก็มีผู้รับคำสอน มันจึงจะสำเร็จรูปเป็นศาสนา หรือเป็นการสั่งสอน แต่เดี๋ยวนี้ที่มันลึกไปกว่านั้นนะ มันลึกไปกว่านั้น เมื่อได้รับคำสั่งสอนแล้วปฏิบัติแล้ว มันก็ขึ้นไปถึงว่ามันไม่มีตัวบุคคล ไม่มีตัวไม่มีตน มันเป็นเพียงการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ แล้วก็จะเหมือนๆ กัน ถ้าจิตนี้มันเป็นได้อย่างนั้น มันก็เป็นผู้สอนก็ได้ผู้รับคำสอนก็ได้ หรือเป็นตัวธรรมะที่สอนก็ได้ มันมารู้สึกอยู่ที่จิตนั้นได้หมดน่ะ จิตที่ฉลาดจึงจะสอนความรู้ที่มันมีสำหรับจะสอน หรือการได้รับรู้เรื่องที่มีสอน เขาเรียกว่าพูดกันคนละชั้น พูดอย่างให้มีวัตถุมีบุคคลนี่ชั้นธรรมดา เรียกว่าบุคลาธิษฐาน พูดระบุไปยังบุคคล ที่สูงขึ้นไปเขาไม่ระบุที่บุคคล เขาระบุที่ธรรมะ เขาเรียกว่าธรรมาธิษฐาน คือระบุไปที่ตัวธรรมะ อย่างที่เราพูดว่าไม่ต้องมีตัวพระพุทธเจ้านั่นนะไม่มีบุคคลที่เป็นพระพุทธเจ้านี่มันชั้นหลังสุด ชั้นที่สูงชั้นที่เหนือบุคคล เหนือความมีบุคคล ถ้าธรรมดาต้องมีตัวบุคคล มันรู้สึกว่ามีตัวบุคคลมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของกิเลส ของความอยาก ของความต้องการ ของความหวัง พอรู้ว่าไอ้นี้มันเป็นอย่างนี้ ก็ตามแบบนี้ไม่ควรจะเรียกว่าบุคคล เรียกว่าธรรมชาติ การปรุงแต่งของจิตก็ได้ มันก็กลายเป็นนามธรรมไปหมด เป็นธรรมะไปหมด ไม่เป็นบุคคล แต่คนธรรมดาฟังไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้นเราต้องพูดอย่างมีบุคคลเสมอ ชาวบ้านพูดภาษาคน พระอริยเจ้าหรือผู้หลุดพ้น ท่านก็พูดภาษาธรรม หลุดพ้นไปจากความยึดถือหมายมั่นว่ามีคน ว่าเป็นคน นั่นในชั้นสูงเป็นอย่างนั้น คนชาวบ้านก็เป็นวัตถุนิยม รู้แต่เพียงวัตถุ พูดอะไรก็มุ่งไปที่วัตถุ เห็นหลักฐานที่วัตถุ ไม่ค่อยรู้เรื่องจิตใจต้องมีการศึกษาพอสมควร จึงจะผ่านวัตถุไปยังเรื่องของจิตใจ แล้วก็เห็น โอ้,จิตใจก็ไม่ใช่จิตใจ คือธรรมชาติชนิดหนึ่ง มันก็เลยพ้นจากจิตใจไปอีก ไปยังนิพพานน่ะ คือว่างๆจากบุคคล
เอ้า,ทีนี้พูดถึงคำว่าบุคคลสิ พูดมากี่คำๆแล้วช่วยจำให้ดี พูดถึงไอ้คำว่าอะไรนะ คำสุดท้ายนี้ก็ว่าความหวัง ความเช่นนั้นเอง ทีนี้คำว่าบุคคลตัวตนนี่ เรามันรู้สึกได้เองว่า มีตัวฉัน มีตัวกู โดยสัญชาตญาณอะไรก็ไม่รู้ล่ะ ซึ่งมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่ามันตรงกันทั้งทางธรรมะและทั้งทางวิทยาศาสตร์ ที่สัญชาตญาณในจิต ในสิ่งที่มีชีวิตจะต้องรู้สึกว่าเป็นตัวตนได้ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจะเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือสัตว์มนุษย์ มันมีความคิดนึก รู้สึกว่าเป็นตัวตนได้ โดยสัญชาตญาณอันนี้ พอมันรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง มันจะต้องรู้สึกต่อไปว่า ฉันรู้สึก เช่นว่ามันกินอิ่ม มันจะเกิดความรู้สึกว่าฉันอิ่ม พอความรู้สึกต้องการๆ ตามธรรมชาติ มันจะเกิดความรู้สึกถัดไปว่าฉันต้องการ อย่างนี้ทุกกรณี มันมีตาหู จมูกลิ้นกายใจ อะไรเข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ถูกใจมันชอบ พอมันรู้สึกชอบ รู้สึกพอใจ มันจะปรุงแต่งความรู้สึกอันดับต่อไปว่าฉันๆพอใจ มีตัวฉันที่พอใจ ทีนี้ตัวฉันหรือตัวตน หรือตัวกูนี่เป็นผลของการปรุงแต่งทางจิต มิได้มีตัวตนอยู่อย่างแท้จริง แต่คนไม่รู้ คนแต่ก่อนก็ไม่รู้ มันรู้สึกว่าฉัน มันก็ฉัน ก็มีตัวตน พอยึดถือว่ามีตัวตน จนบัญญัติให้มีตัวฉัน ตัวตนสัตว์บุคคล เหตุที่เรียกว่าเจตภูต วิญญาณ อาตมันอะไรขึ้นมา เชื่อกันมาอย่างนั้น มีตัวตนกันมาอย่างนั้น จนกว่ามาถึงยุคพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าไม่ใช่ มันไม่ใช่ตัวตนอันแท้จริงอะไรของมัน มันเป็นความคิดปรุงแต่งของจิตเช่นนั้น คือมันมีความรู้สึกอย่างไรแล้ว มันจะปรุงความรู้สึกว่าฉันรู้สึก เช่นมันรักขึ้นมา มันก็ต้องปรุงความรู้สึกถัดมาว่าฉันรัก ฉันโกรธหรือฉันเกลียดหรือฉันกลัว นี่ความคิดนึกอันนั้นมันปรุงกันขึ้นมา ทยอยขึ้นมาจนมีความรู้สึกเป็นตัวตน คือเป็นความหมายว่าเป็นตัวตน นี่เมื่อสองสามร้อยปีมานี้ ฝรั่งคนหนึ่งก็ยังโง่เรื่องนี้ นักปรัชญาที่ชื่อ เดการ์ต คนฝรั่งเศสน่ะ เพราะฉันคิดได้ฉันจึงมีอยู่ สูตรปรัชญาเขาได้รับความนับถือไปทั่วโลก ฉันคิดได้ฉันจึงมีอยู่ เพราะฉันคิดได้นี่ ฉันๆ ต้องมีตัวฉันอยู่ นี่พระพุทธเจ้าท่านพบมานานแล้ว ไอ้ที่คิดได้นั่นมันจิตเท่านั้น ไม่ต้องเป็นตัวฉัน เมื่อจิตมันคิดได้มันก็คิดว่ามีตัวฉัน ฉะนั้นตัวฉันก็ไม่ใช่เป็นของจริง
นักศึกษา : ขออนุญาตถามครับ ๓๒.๔๕
ท่านพุทธทาส : ไม่ได้ยิน ตอบไม่ถูก
นักศึกษา : ร่างกายที่เราสามารถมองเห็นอยู่ แล้วร่างกายที่เราสามารถลูบคลำด้วยสัมผัสนี้ไม่ใช่ตัวฉันหรือครับ
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละยิ่งหลอกที่สุดแหละ มันก็ ไอ้ฝ่ายหนึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ถูกลูบคลำ วัตถุของแข็ง ของอ่อนอะไรก็ตาม แล้วเมื่อจิตมันคลำ เมื่อๆๆ มีการคลำด้วยมือ จิตมันรู้สึก จิตมันรู้สึกว่าคลำ มันก็เกิดความรู้สึกเข้าไปว่าฉันคลำ มีตัวฉันผู้คลำ ภาษาธรรมะของพระพุทธเจ้า จะไม่มีไอ้สิ่งที่เรียกว่าตัวฉันหรือตัวตน จึงไม่มีคำว่าตัวตนให้เลย จิตก็ไม่ใช่ตัวตน ทีนี้หนังสือชั้นหลัง เช่นหนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็พูดเสียเลยว่า จิตนั่นแหละคือตัวตน คือจิตที่รู้สึกอะไรได้นั่นคือตัวตน ก็เลยมีตัวตนที่จิต แต่คำของพระพุทธเจ้าว่ามันก็สักว่าจิต มันไม่ใช่ตัวตนมันรู้สึกเช่นนั้นได้ตามหน้าที่ของๆจิต แต่จิตนั้นก็ไม่ใช่ตัวตนคือธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งเราเรียกมันว่าจิต ธรรมชาติอันนั้นจะต้องคิดนึกได้ จะต้องรู้สึกได้ ต้องปรุงแต่งได้ หรือจำได้ก็ตาม มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่งซึ่งมันทำหน้าที่อย่างนั้นได้ แต่มันก็ไม่ใช่ตัวตน แต่มีคัมภีร์บางคัมภีร์ของบางพวกว่า จิตนั่นแหละคือตัวตน เอามาสอนกันอย่างนี้ก็เรียกว่า จิตนั่นแหละคือตัวตน นั่นไม่ใช่พุทธศาสนาแท้ พุทธศาสนาชั่วคราว สำหรับสอนศีลธรรม เพราะว่าถ้าไม่มีตัวตนเสียเลยมันก็ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม ทำดีทำชั่วไปทำไม มันก็ต้องมีตัวตนสำหรับจะดีจะชั่ว แต่ว่าธรรมะแท้มันไม่ ๆๆๆ หยุดอยู่ที่ดีที่ชั่ว มันเห็นเป็นของเด็กเล่นไปหมด มันก็สูงขึ้นไป เลยดีเลยชั่ว จิตก็พลอยไม่ใช่ตัวตนไปด้วย ไอ้ดีชั่วก็เป็นผลของความรู้สึกของจิตเท่านั้น ก็พลอยไม่มีตัวตนไปด้วย เนี่ยพุทธศาสนาสุดยอดอยู่ที่นี่
นักศึกษา : เบามาก ๓๕.๓๘ ไม่ทราบว่าทำไม
ท่านพุทธทาส : เรื่องเล็ก ๆ เรื่องเบ็ดเตล็ด มันเป็นระเบียบวางไว้สำหรับพระสงฆ์ เพื่อจะได้เป็นอยู่อย่างง่าย สะดวกที่จะรู้ธรรมะสูงๆ ขึ้นไป ไม่มักมากในการกิน มีชีวิตชนิดที่ไม่มักมากในการกิน ชีวิตนี้จะง่ายที่จะรู้ธรรมะสูงๆ ขึ้นไป มันไม่ใช่มีแต่ระเบียบว่า ไม่ฉันหลังเที่ยง มีข้อระเบียบยุบยิบไปหมด หลายสิบหลายร้อยข้อ เพื่อสนับสนุนให้ภิกษุนั้นเป็นผู้ที่ง่าย หรือสะดวกที่จะรู้ธรรมะสูงๆ ขึ้นไป วินัยอย่างนี้ฆราวาสไม่ต้องถือ เพราะฆราวาสไม่ได้มุ่งหมายที่จะรู้สูงๆยิ่งขึ้นไปโดยเร็ว ส่วนภิกษุนั้นเขาต้องการจะให้รู้สูงยิ่งขึ้นไปโดยเร็ว เขาจึงมีระเบียบปฏิบัติของการเป็นอยู่เลี้ยงชีวิตให้เหมาะสมที่จะรู้อะไรขึ้นไปเร็วๆ ระเบียบอย่างนี้สำหรับพระเท่านั้น ฆราวาสไม่ต้องปฏิบัติ อย่างว่าไม่นอนฟูกอย่างนี้ หรือว่าไม่กินอาหารหลังเที่ยงอย่างนี้เยอะแยะหมด นี่สำหรับภิกษุเท่านั้น เป็นของบัญญัติเพื่อให้เกิดระเบียบปฏิบัติเร็วสำหรับจะรู้ธรรมะง่ายที่จะรู้ธรรมะ เป็นชีวิตที่เบาสบายง่ายที่จะรู้ธรรมะ สำหรับผู้ที่อยากจะไปเร็วๆ ส่วนฆราวาสยังไม่ต้องการจะไปเร็วๆ ก็อยู่ไปตามเดิม หรือว่าตามพอใจหน่อย
ตัวตนมีสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ แต่ถ้าสำหรับผู้รู้แล้วตัวตนไม่มี มีแต่ธรรมชาติชนิดหนึ่ง คิดนึกว่าเป็นตัวตนได้ ฉะนั้นถ้าเรายังไม่รู้ก็พูดอย่างมีตัวตนกันไปก่อน เป็นปุถุชนคนธรรมดาก็พูดอย่างมีตัวมีตน เป็นเรื่องของตัวตนกันไปก่อน ดีสำหรับตัวตนกันไปก่อน แต่พอดีถึงที่สุดแห่งตัวตนแล้วทีนี้มันก็จะเห็น อ้อ,มันยังแย่ ยังยุ่งยาก ยังผูกพัน ยังมืดมน อยากจะพ้นไปกว่านั้น จึงถึงขั้นที่ว่าเลิก เลิกตัวตน เลิกตัวตน มีความรู้สึกเป็นตัวตนที่ไหนเมื่อไร มันจะเกิดความหนักขึ้นในจิตที่นั่น และเมื่อนั้น ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวตนที่ไหน เมื่อไร มันจะมีความหนักที่จิตเมื่อนั้น เรามาศึกษาเรื่องที่ว่าจะไม่ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวตน จิตก็จะไม่หนักเลย อยู่อย่างไม่หนักเลยจนตลอดชีวิต นี่คือเป็นพระอรหันต์ ไม่ได้ถืออะไรไว้โดยความเป็นตัวตนโดยจิตนะ เขาเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ คนธรรมดามีจิตคิดนึกธรรมดา มันก็ต้องเห็นเป็นตัวตน แล้วก็มีปัญหาเกี่ยวกับตัวตน มันก็เป็นของหนักแก่จิตใจ ไอ้ชีวิตของคนธรรมดาจึงเป็นชีวิตหนัก ชีวิตของพระอรหันต์จึงเป็นชีวิตเบา มันต่างกันเท่านั้น ชีวิตปุถุชนเป็นชีวิตหนัก เพราะแบกหามยึดถือ พระอรหันต์เป็นผู้ปลงลงหมด ทิ้งหมดขว้างหมด ไม่ๆหนัก ไม่หนัก เพราะว่าไม่ยึดถือ เพราะไม่มีการยึดถือ บางเวลาเราก็ไม่ได้ยึดถืออะไรเหมือนกัน เวลานั้นคิดดูให้ดีเถอะ เบาสบาย บางเวลาเราจะโกรธขึ้นมา ไม่รู้ไม่ชี้ หลังจากนั้นจะสบาย จะเบาสบาย ถ้าไปรู้ไปชี้เสียหมดนะมันจะหนักขึ้น แต่มันชั่วคราวเท่านั้น ควรจะสังเกตเอาเองศึกษาเอาเอง รู้ออกมาจากภายในจิตใจของตัวเอง แล้วจะรู้ธรรมะดี เรียกว่าสันทิฏฐิโก สันทิฏฐิโก เรียนออกมาจากความรู้สึก รู้จากความรู้สึก ชิมลองมาจากความรู้สึก นั้นคือของจริง ที่พูดนี่เป็นเสียง ในกระดาษมันเป็นตัวหนังสือ แม้ว่ามันจะบรรยายถึงเรื่องของจริงทั้งนั้น มันจะเป็นของจริงไปไม่ได้ เพราะมันเป็นเพียงเสียงหรือตัวหนังสือ ส่วนของจริงแท้ๆ ต้องรู้สึกที่จิตใจ
ฉะนั้นขอให้พยายามศึกษาให้เข้าใจเถอะ แม้แต่ละคำๆๆ นี้ คุณเข้าใจให้ดีเถอะ จะรู้หมด จะเข้าใจได้หมด คำที่พูดมากี่คำๆ แล้วเมื่อตะกี้เช่นคำว่าความหวัง เช่นคำว่าเช่นนั้นเอง เช่นคำว่าตัวตน เช่นคำว่ายึดถือ เราไม่เข้าใจคำเหล่านั้นแต่ละคำๆอย่างถูกต้อง หรือครบถ้วน เราจึงไม่เข้าใจธรรมะโดยถูกต้องและครบถ้วน เลยเกิดคาราคาซังเป็นปัญหาที่ไม่รู้ แล้วก็ไม่ๆ ดับทุกข์ ไม่ดับทุกข์
ท่านพุทธทาส : พรุ่งนี้จะกลับกันตอนไหน
ท่านพุทธทาส : ไอ้ตามหมายกำหนดการณ์คุณน่ะ จะกลับกันตอนไหน
นักศึกษา : คือของผมจะกลับวันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม ครับ
ท่านพุทธทาส : ไม่ใช่กลับพรุ่งนี้หรือ
นักศึกษา : ไม่ใช่ครับ
ท่านพุทธทาส : แล้วพรุ่งนี้ใครกลับ
นักศึกษา : มีไหม
นักศึกษา : ไม่ ๆ มีใครกลับครับ
ท่านพุทธทาส : อ๋อ,มันก็ยังมีเวลาที่จะพูดเรื่องบางเรื่อง ทำให้มันชัดเจน ให้มันเพียงพอ โดยเฉพาะเรื่องปีใหม่ เรื่องปีใหม่สำหรับปัญญาชน ปีใหม่สำหรับนักศึกษาปัญญาชนที่ไม่ใช่คนโง่ ปีใหม่มีเฉพาะคนโง่ กับคนไม่โง่แล้วมันไม่มีปีใหม่ – ปีเก่า เรื่องมันยาวหน่อยไว้พูดกันพรุ่งนี้ วันนี้พูดเรื่องเบ็ดเตล็ดเป็นคำๆ ข้อๆ ปีใหม่อย่างจีนก็วันหนึ่ง ปีใหม่อย่างไทยก็วันหนึ่ง ปีใหม่อย่างฝรั่งก็วันหนึ่ง แล้วปีใหม่ของไทย น่ะใหม่ๆจริง ไม่มีปัญหาอะไรแล้วหรือ เกิดไม่มีปัญหาเสียแล้ว
นักศึกษา : อยากจะกราบเรียนถามปัญหาที่ซ้ำซาก เสียหน่อยครับคือว่า อยากจะถามว่า คนเราเกิดมาเพื่ออะไรครับ
ท่านพุทธทาส : ........๔๕.๓๓ เทียบกันไม่ถูกเลยนะ
นักศึกษา : คือว่าผมเคยอ่านคำถามว่า คนเราเกิดมาเพื่ออะไร แล้วก็มีคำตอบหลายคำตอบ อยากจะเรียนถามพระคุณเจ้าว่า คำตอบที่แท้จริงคืออะไรครับ
ท่านพุทธทาส : ถามว่าเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่ออะไรอย่างนั้นหรือ เป็นปัญหาเฉพาะคน ไปดูเอาเองเถอะ ตัวเองคิดว่าอย่างไรมันก็เพื่ออย่างนั้น ตัวเองคิดว่าเพื่ออย่างไรมันก็เพื่ออย่างนั้น แล้วมันแล้วแต่จะมอง จะมองขึ้นหรือมองลง หรือมองย้อนหน้าย้อนหลัง
นักศึกษา : สมมุติว่าคนต่างก็แสวงหาธรรม จนกระทั่งยึดถือแต่ความว่างเปล่า แล้วก็ความไม่มีตัวตน แล้วทีนี้ไม่ช้าคนก็ต้องสูญพันธุ์ครับ
ท่านพุทธทาส : ฟังไม่ถูก
นักศึกษา : เพราะว่าเรามุ่งแต่มาบวช แล้วก็ยึดแต่ความว่างเปล่า ความไม่มีตัวตน ไม่ช้าคงต้องสูญพันธุ์แน่ๆ ครับ
ท่านพุทธทาส : ว่าอย่างไรนะ เสียงก็ฟังยาก ฟังไม่ถูก อย่าให้ถึงปากนะๆ แล้วพูดให้ช้า ๆ นะ
นักศึกษา : ถ้าคนยึดแต่ความว่างเปล่า ความไม่มีตัวตน อนัตตา ไม่ช้าคนก็คงจะสูญพันธุ์แน่ๆ ครับ
ท่านพุทธทาส : ถ้ากลัวยึดถือความว่างเปล่า คนก็หมดพันธุ์แน่ๆ ความว่างเปล่ายึดถือไม่ได้ คุณยึดถือได้หรือความว่างเปล่า ไอ้ความว่างเปล่าแท้ๆ นะเป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ มันก็ยึดถือไม่ถูกความว่างเปล่า เพราะฉะนั้นมันก็ไม่สูญพันธุ์
นักศึกษา : ผมหมายความว่าแสวงหาสัจธรรมที่พระคุณเจ้าได้สอนนะครับ คือพากันมาบวชพระทั้งหมด แล้วก็
ท่านพุทธทาส : ไม่ได้สอนให้ยึดถือความว่างเปล่า คือไม่ให้ยึดถืออะไร ไม่ให้ยึดถืออะไร แล้วมันก็ว่างเอง ก็ไม่มีความทุกข์ เอากันที่ว่าไม่มีความทุกข์ เมื่อเราไม่ยึดถืออะไร แล้วมันจะไม่มีความทุกข์ จะมีเงิน ก็ไม่ต้องยึดถือให้เป็นทุกข์ จะใช้เงินก็ไม่ต้องยึดถือให้เป็นทุกข์ จะกินของอะไรเข้าไปในปาก ก็ไม่ต้องยึดถือให้มันเป็นทุกข์ ถ้ายึดถือจะมีความหมาย จะมีความหนักอึ้งขึ้นมาในความยึดถือ จงมีชีวิตชนิดที่ไม่ต้องยึดถือ พวกคริสตังเขายังสอนเรื่องนี้กันเป็นว่า ไม่ยึดถือเหมือนกันแหละ แต่ไม่ใช่พระเยซูเอง สาวกพระเยซู เรียกว่าไม่ยึดถือ มีภรรยาก็จงมีจิตเหมือนกับไม่มีภรรยา ก็หมายถึงสามีด้วย มีทรัพย์สมบัติ ก็จงมีจิตเหมือนกับไม่มีทรัพย์สมบัติ มีความสุข ก็จงมีจิตเหมือนกับว่าไม่มีความสุข ไม่ได้มีความสุข ไม่ได้มีความสุข
นักศึกษา : เกิดมีอยู่บ้างไหมครับ
ท่านพุทธทาส : ซื้อของที่ตลาด แล้วไม่เอาอะไรมา คืออย่ายึดถือสิ่งนั้นๆ โดยความเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา แล้วจะไม่มีความทุกข์เลย จะกินจะอยู่จะใช้จะสอย จะเคี้ยวอยู่กับปากอยู่ในปาก ก็ไม่ต้องยึดถือว่าเรากินอยู่ เคี้ยวอยู่ มันจะไม่มีความทุกข์เลย มันเอากันที่ว่าไม่มีความทุกข์เลย มีทรัพย์สมบัติ จิตใจรู้สึกเหมือนกับไม่ได้มีทรัพย์สมบัติ แต่มันก็ใช้ทรัพย์สมบัติ หรือว่ากินสิ่งที่ได้มาด้วยการใช้ทรัพย์สมบัติ ทำทุกอย่างแหละแต่จิตใจมันไม่ยึดถือ เพื่อไม่มีความทุกข์อย่างเดียว แต่ปฏิบัติหน้าที่ทุกอย่างถูกต้องตามที่ควรจะปฏิบัติ เพราะเขาปฏิบัติด้วยปัญญา ไม่ต้องปฏิบัติด้วยความยึดถือ
ท่านพุทธทาส : เอ้า,มีปัญหาอะไรอีก
นักศึกษา : ความไม่ยึดถือไม่ยึดมั่น ช่างมันเถอะ แล้วไม่รู้ไม่ชี้อะไรนี่ มันจะขัดเกี่ยวกับการนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับจะยกความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น แทนที่เขาจะทำงานได้เงินแค่นี้ เขาน่าจะทำให้ดีขึ้นกว่านี้ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขาให้ดีขึ้น ไม่ทราบทาง เกี่ยวกับทางศาสนาจะขัดกันหรือเปล่าครับ
ท่านพุทธทาส : รัฐบาลเขาต้องการอย่างไร
นักศึกษา : คือให้ความเป็นอยู่ของประชาชนที่ฐานะไม่ค่อยดีนะครับ ให้มีฐานะที่ดีขึ้น
ท่านพุทธทาส : ก็ได้ ก็ไม่ผิดๆ อะไร สันโดษ ยินดีด้วยสิ่งที่มีอยู่ เพื่อให้คนเรามีกำลังใจ มีความรู้สึกที่พอใจ พอจะเป็นสุขบ้าง ถ้าเราไม่มีความพอใจในอะไรเสียเลย เราจะรู้สึกอย่างไร มันคงจะไม่ชวนให้ทำอะไรมากขึ้น ถ้าเรายินดีด้วยที่มันได้มาเท่านี้แล้วมันจะช่วยทำให้มากขึ้นนั่นหละ เพราะสันโดษมันไม่ได้เป็นเครื่องให้หยุดทำอะไร ถ้าเขาจะไม่มีอะไรสำหรับพอใจเลย เขาก็จะไม่ทำอะไรเลย เช่นหาเงินได้บาทหนึ่ง มีความพอใจ ก็เป็นเหตุให้หาเงินอีกบาท ๒ บาท ๓ บาท ถ้ามันไม่มีความพอใจเลย มันก็จะไม่หาอีกเลย เพราะฉะนั้นสันโดษเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ทำต่อไปให้มากขึ้น คือให้มีกำลังใจสำหรับจะทำต่อไป
นักศึกษา : ๕๔.๐๐ โลกุตรธรรม กับ โลกียธรรม
ท่านพุทธทาส : โลกุตรธรรมกับโลกียธรรม โลกียธรรมคือเป็นไปตามโลก เป็นไปตามกระแสโลก เป็นไปตามมาตรฐานโลกๆ เพื่ออยู่ในโลกๆก็แปลว่าเป็นไปในโลก ถ้าโลกุตรธรรมก็แปลว่าเหนือวิสัยโลก เอาความหมายสั้นๆ ก็ว่าอยู่เหนืออิทธิพลของโลก ถ้ายังอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งที่เรียกว่าโลกนั้น เขาเรียกว่าโลกียธรรม คนนั้นอยู่ใต้อิทธิพลของสิ่งที่เรียกว่าโลก โลกจะบังคับบีบคั้นอะไรเขาอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าว่าเป็นโลกุตระอยู่เหนือโลกแล้วไม่มีอิทธิพลอะไรในโลกจะมาบีบบังคับเขาได้ ความหมายมีเท่านั้นนะ คือคนที่อยู่ใต้อิทธิพลของโลก ก็มีสิ่งที่มาทำให้เขายินดียินร้าย ดีใจเสียใจ รู้สึกอะไรไปตามเรื่องของโลก แต่ถ้าจิตอยู่เหนือโลก ไม่มีอะไรมาทำให้เขารู้สึกยินดียินร้าย อย่างที่ชาวโลกเขารู้สึกกัน ถ้าเรามีจิตใจธรรมดาๆ เป็นชาวโลกนี่ มีอะไรมาให้รักก็รัก มีอะไรมาให้เกลียดก็เกลียด มีอะไรมาให้โกรธก็โกรธ เรียกว่าอารมณ์ในโลกมีอิทธิพลเหนือจิตใจของเขา แล้วเขาได้รับอบรมจิตใจของเขาให้สูงไปกว่านั้นแล้วก็ไม่มีอิทธิพลใดๆ ในโลกมาทำให้เขาเป็นอย่างนั้น ถ้าเด็ดขาดสูงสุดเลยเขาเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้ายังไม่เด็ดขาดสูงสุดก็มีชื่อรองๆๆๆลงมา ก็อาจจะมาจรดกับชั้นปุถุชนคนธรรมดา รวมทั้งคำที่เรียกว่าไสยศาสตร์ด้วย ถ้ายังเป็นชาวโลก เป็นโลกียชนอยู่ก็ต้องยังเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ อยู่ใต้อิทธิพลไสยศาสตร์ ถ้าโลกุตระก็อยู่เหนือหมดเลย ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ ถ้ายังจิตใจเป็นโลกๆอยู่ก็กลัวตายอย่างนี้เป็นต้น มีความตายเป็นที่หวาดกลัวหวาดเสียว ยุ่งยากลำบากไปหมด ถ้าว่าจิตใจมันอยู่เหนือโลก ความตายก็ไม่ได้มีความหมายอะไร ความเกิดก็ไม่มีความหมายอะไร เห็นเป็นเช่นนั้นเองเหมือนกัน เสมอกัน ความได้ความเสีย ความแพ้ความชนะ เหมือนกันหมดเลย เป็นของอย่างเดียวกัน นี่เรียกว่าจิตใจมันอยู่เหนือโลก เหนือระดับความหมายอย่างโลกๆ คือพระอริยเจ้า
ทีนี้เนื่องจากโลกนะมันมีหลายชนิดหลายระดับ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ค่อยจะออกไปจากโลก โดยประการทั้งปวงได้ มันยังมีโลกบางระดับมีอำนาจมีอิทธิพล เกี่ยวข้องจิตใจของเขาไว้ เพราะว่าโลกบางระดับนะมันประณีตๆ สุขุม ละเอียดๆ ดึงดูดโลกชั้นเลวมันก็ไม่เท่าไร แต่มันมีโลกชั้นดีที่เขาเรียกว่าสวรรค์บ้างพรหมโลกบ้าง โลกชนิดนั้นนะดึงดูดมาก ยากที่จะขึ้นไปให้พ้นได้ ถ้ามีแต่โลกนรก โลกมนุษย์นี้มันก็คงไม่ยาก แต่มันมีโลกที่ละเอียดอ่อนกว่านั้น น่าดึงดูด ดึงดูดใจกว่า คือเราหาอารมณ์ที่ละเอียดอ่อน ที่เป็นที่ดึงดูดใจได้มากกว่าธรรมดา ความเจริญในโลกนี้ก็สร้างโลกชนิดที่ดึงดูดมากขึ้นไปกว่าธรรมดา แล้วก็ติดกันอยู่ที่ตรงนี้ โลกที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใหม่ ให้ละเอียดอ่อน ให้ดึงดูดกว่าธรรมดา โดยเฉพาะคือโลกปัจจุบันนี้ ให้มีสิ่งที่ไม่น่าเบื่อหรือยั่วไม่ให้เบื่อมากขึ้นๆ ถ้ามีอะไรน้อยๆ อย่างครั้งพุทธกาล การติดโลกมันก็น้อยกว่า การฟังธรรมะเข้าใจได้ง่ายกว่า
นักศึกษา : ๖๑.๐๕ คือเกี่ยวกับการนับถือศาสนา จะเห็นได้ว่าพวกไทยพุทธ ไทยมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม จะเห็นได้ว่าอะไรก็ตาม การทำบุญของฆราวาส พวกนับถือศาสนาอิสลามจะปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง..........ทั้งหมดไม่ชัดมาก ๆ ๖๑.๕๕
ท่านพุทธทาส : พวกที่ถือพุทธ ไม่สามารถจะละอบายมุขได้เหมือนพวกที่ถืออิสลามอย่างนั้นหรือ คุณหมายความว่าอย่างนั้นหรือ
นักศึกษา : ๖๒.๑๐ ขยายความคำถามแต่เบามาก
ท่านพุทธทาส : อย่างเคร่งครัดเหมือนพวกมุสลิม นั่นนะเพราะว่า **มันมีอันอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ความถืออย่างเคร่งครัด รุนแรงมันก็มี เขาอบรมกันมาอย่างนั้น จึงถือศาสนานั้นเคร่งครัดอย่างนั้น แล้วบางทีจะเป็นพืชพันธุ์ของมนุษย์ที่นั่นมีจิตใจรุนแรง เคร่งครัดแบบนั้นอยู่ด้วย ประเทศอาหรับนี่เราลองไปอ่านดูเรื่องราวเกี่ยวกับอาหรับกลุ่มนั้น น่ะ ประชาชนมีจิตใจรุนแรงเครียดครัดอย่างยิ่ง ฉะนั้นเมื่อมาถือศาสนาก็ถือกันอย่างเคร่งครัด เครียดครัด กลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไป บางทีจะเป็นประโยชน์ของความถือพระเจ้า จะเป็นประโยชน์ของไสยศาสตร์ในแง่หนึ่งก็ได้ ที่ให้ถืออย่างเคร่งครัด เคร่งเครียด แต่ว่าเท่าที่ทราบ พวกที่ถือพุทธกลุ่มอื่น ประเทศอื่น เขาถือพุทธเคร่งครัดเหมือนกับที่มุสลิมถืออิสลามก็มีเหมือนกัน แต่ในเมืองไทยมันไม่มี ในเมืองไทยมีให้เห็นแต่ว่า มุสลิมถืออิสลามเคร่งครัดที่สุด ชาวพุทธนี่เหลวไหลโลเล ไม่ใช่เกี่ยวกับหลักธรรมะนะ มันเกี่ยวกับเหตุผลแวดล้อมอย่างอื่น ตัวอย่างที่ดีมันมีตัวอย่างที่ดีถือ ไม่ใช่ความบกพร่องของพุทธศาสนานะ พุทธศาสนาจะถือให้เคร่งก็ได้ ถือให้หลวมก็ได้แล้วแต่ **ซ้ำนาทีที่๖๕.๔๐ – ๖๘.๔๕ **
นักศึกษา : ให้เคร่งเหมือนกับไทยมุสลิมหรือเปล่าครับ
ท่านพุทธทาส : มันเหตุผลอย่างอื่น เหตุผลอย่างอื่น สิ่งแวดล้อมอย่างอื่น หรือขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมอย่างอื่นเข้ามาแทรกแซง แต่เท่าที่เราทราบมา บรรพบุรุษของเรา ปู่ย่าตาทวดของเรา เคยถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่หระหลวมอย่างที่เห็น ถือพอดีๆน่ะดีสุด เคร่งครัดนักเข้ามันจะเกินไปแล้ว ถือพอดีๆ ถืออย่างเคร่งครัดเคร่งเครียดนะเขาเรียกว่าปาทาน ถืออย่างเคร่งเครียดด้วยความไม่รู้นะเขาเรียกอุปาทาน ถ้าถือพอดีๆด้วยสติปัญญานะเขาเรียกว่าสมาทาน ๒ คำนั้นนะระวังให้ดีอย่าไปปนกัน อุปาทานกับสมาทาน สมาทานใช้ได้ แต่อุปาทานไม่ไหว เกินพอดี
นักศึกษา : เสียงเบา นาทีที่ 71.10
ท่านพุทธทาส : เอ้า,นี่คือเรื่องที่กำลังเกิดอยู่เวลานี้ คือเรื่องที่ชาวคริสต์เขากล่าวอะไรจ้วงจาบเข้ามาในพุทธศาสนามากมายหลายข้อ รวมทั้งข้อนี้ด้วย เขาต้องการจะ อยากจะ เข้าใช้คำว่าจะกลืนพุทธ ที่ฝ่ายที่ถูกใช้คำว่าชาวคริสต์เขาพยายามหาวิธีจะได้เปรียบ เอาเปรียบหรือกลืนพุทธ ถ้ามันมีกลืนได้ ถ้ามันมีกลืนได้นะไม่ใช่ชาวพุทธหรอก เพราะว่าชาวพุทธไม่ใช่คนโง่ ถ้าเขากลืนเข้าไปได้ มันก็เป็นชาวพุทธแต่บัญชี ชาวพุทธแต่ทะเบียน ไม่ใช่ชาวพุทธแท้จริง มันอาจจะกลืนได้ อาจจะเอาไปได้ แต่ถ้าเป็นชาวพุทธโดยแท้จริง ไม่กลืนเข้าไปได้หรอก ถ้าเขากลืนพุทธเข้าไป เขาเองก็เป็นพุทธแหละคอยดู ฉะนั้นที่เป็นพุทธจริงๆ เขากลืนเข้าไปไม่ได้ ถ้าเขากลืนเข้าไปได้ เขาต้องกลายเป็นพุทธแหละ ไม่ต้องกลัว เรื่องนี้เขามีละเอียดยืดยาวมาก ไปหาอ่านเอาเอง กำลังมีปัญหากันอยู่ที่กรุงเทพฯ ทางสำนักใหญ่ที่เมืองนอก เขาเร่งรัดว่าพวกนี้มาทำเหลวไหลอะไรกันตั้งสามสี่ร้อยปีแล้ว หาสมาชิกได้ไม่กี่คน ทางเบื้องบนทางต้นตอเขาโกรธ พวกนี้ก็เลยหาวิธีที่จะกลืนพุทธให้มากๆ ก็เลยโดนต่อต้าน แล้วมิหนำทางเบื้องบนต้นตอนี่เขายังหานโยบาย คิดค้นนโยบายหาทุนหารอนหาอะไรให้มาอีกแยะ ว่าให้มากลืนให้ได้ กลืนให้ได้ ทีนี้ฝ่ายพุทธที่ไม่ใช่พุทธก็ถูกกลืนได้ เพราะเขาเอาประโยชน์ เอาประโยชน์มาดึงเอาไป แต่ชาวพุทธที่เป็นพุทธแท้ๆน่ะกลืนไม่ได้หรอก เพราะมันไม่เห็นแก่ประโยชน์ ชาวคริสต์เขารู้สึกว่าเขาก็สูญเสียสมาชิกไปมากเข้าๆ คือฝรั่งที่เคยถือคริสต์นะหันมาสนใจพุทธมากเข้าๆนะเขาสูญเสียอันนี้ เขามาหาทางออกชดเชยด้วยการมากลืนพุทธๆ เข้าไปแทน เข้าไปเป็นคริสต์ ก็ได้ไปแต่คนที่เห็นแก่ประโยชน์ ถ้าหาว่าพระพุทธเจ้ามากรุยทางให้พระเยซู แล้วพระเยซูเกิดที่หลัง แล้วทำไมสอนไม่เหมือนกันละ มันต้องพิสูจน์ได้ว่ามาสอนดีกว่าจริงกว่า อะไรกว่านั่นจึงจะเรียกว่ามาที่หลัง ตามที่เขากรุยไว้ให้แล้ว เดี๋ยวนี่มันก็ไม่ดีกว่า พวกฝรั่งที่เคยถือคริสต์ก็หันมาสนใจพุทธกันมากขึ้น เขาหาประโยชน์มาล่อไป ประโยชน์ทางโลกๆ เอ้า,มีปัญหาอะไรอีกว่าไปสิ
นักศึกษา : เสียงเบา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ นาทีที่ 76.50
ท่านพุทธทาส : ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ ธรรมในความหมายนี้หมายถึง ความเปลี่ยนแปลง หรือการปรุงแต่ง มีจิตใจนำ คือมันเปลี่ยนที่จิตใจก่อน การกระทำการพูดการคิดการอะไร มันมีจิตใจนำไปก่อน เห็นได้เอง ไม่ๆๆต้อง ไปคิดดู ไปมองดู เห็นได้เองว่า การกระทำการพูดจาการเปลี่ยนแปลง การอะไรต่างๆ นี่ ถูกปรับปรุงอะไรนี้มันๆ ไปตามจิตใจที่มันๆ คิดไปก่อน จะทำชั่วก็เพราะใจมันชั่วก่อน จะทำดีก็เพราะใจมันดีก่อน เป็นหลักทั่วไปที่ใครๆ ก็พอจะมองเห็นได้ เขาพูดอย่างนี้ก็เพื่อสอนให้เราเอาใจใส่ ระมัดระวังจิตใจให้ดีๆ ให้ระมัดระวังจิตใจดีๆ เพราะว่าจิตใจจะนำไปผิดหรือถูก เอาใจใส่จิตใจดีๆ ให้มันเป็นแต่เรื่องถูก มีแต่เรื่องถูก คือให้ถือหลักว่าจิตใจนี่มันสำคัญ มันเป็นสิ่งที่ปรุงๆ ใหม่ ปรับปรุงใหม่ ปรุงใหม่ คิดนึกใหม่ ปรับปรุงใหม่ ระวังให้ดี ๆ อย่าให้มันผิดได้
จิต ในความหมายหนึ่งแปลว่า คิด จิต ในความหมายหนึ่งแปลว่า สะสม ก่อสร้าง หรือสะสม ในความหมายนั้นน่ะสำคัญ ถ้ามันก่อสร้างผิด สะสมผิดแล้วก็แย่
ท่านพุทธทาส : ปัญหาหมดแล้ว ปัญหาหมดแล้ว
นักศึกษา : ผมเห็นว่าปัญหาก็หมดแล้วครับ แล้วก็สมควรแก่เวลาที่จะให้ท่านได้พักผ่อนบ้าง เพราะว่าท่านก็ไม่สบาย แล้วก็ถ้าเกิดว่าเรามีปัญหาอะไรอีกก็ เมื่อท่านเทศน์ธรรมะพรุ่งนี้เราก็ค่อยถามต่อ เพราะว่าวันนี้เราอาจจะนึกคิดไม่ออก
ท่านพุทธทาส : เอาสิปิดประชุม
นาทีที่ 81.00 - 138.47 การแลกเปลี่ยน แบ่งปันเรื่องธรรมะระหว่างฆราวาส
ท่านพุทธทาส : พูดภาษาใต้ 82.00 – 83.30 เอ้า คุณเชาว์มาแสดงบทบาท
โฆษก : อ่า ขอเรียนเชิญคุณหมอยูรครับ ได้มาทำหน้าที่เพื่อจะเอาคณะขึ้นครับ ขอกราบเรียนเชิญครับ
คุณหมอยูร : นาทีที่ 83.40 ......ทุกๆท่าน ตอนนี้เราก็ขออาสาสมัครที่อยู่ในวัยพอสมควร ในวัยที่เราเคยต่อสู้กันมาแบบนี้ทุกปีนะครับ โดยปกติแล้วในวันขึ้นปีใหม่ของสวนโมกข์เรา เราจะมีการฟังบรรยายจากพระเดชพระคุณท่านอาจารย์ และโดยเฉพาะปีนี้เราได้ฟังเป็นระยะยาว เป็นการสังคยานา หรือสัมมนาก็ได้นะครับ สัมมนาแก่ท่านนักศึกษาทั้งหลายเราก็ได้รับฟังกันไปด้วย ทีนี้ว่าเหลือแต่สมาชิกหรือสหายธรรมที่มาร่วมในพิธีในวันนี้ เราก็อย่าให้เสียประเพณีที่เราเคยทำมา เพราะว่าในวันสิ้นปีนี้ เราจะมาอยู่เพื่อส่งท้ายปีใหม่ ส่งท้ายปีเก่าเพื่อรับปีใหม่ โดยสมมติในทางโลกนะครับ ส่วนปีเก่า ปีใหม่จะมีจริงหรือไม่นั้นไว้ฟังพระเดชพระคุณได้บรรยายในวันพรุ่งนี้ ถ้าปุถุชนก็ต้องหรือคนธรรมดาก็พูดไปก่อนเรื่องปีเก่า ปีใหม่ ทีนี้เพราะว่าถ้าหากว่าเรากลับไปมองในตอนนี้นะครับ มันจะกลายเป็นคนนอน ๒ ปีนะคืนนี้นะครับ ถ้าไปนอนตั้งแต่ตอนนี้นะครับมันจะกลายเป็นคนนอน ๒ ปีไป นั้นเขาถือ จะงมงายหรือไสยศาสตร์น่ะแต่เขาถือนะครับ ว่าถ้านอนคืนนี้ก่อนสองยามนะครับ มันจะกลายเป็นคนนอน ๒ ปีไป มันจะยิ่งไสยศาสตร์หนักเข้าไปอีกนะครับ มันนอนหนักเข้าไปอีก นอนตั้ง ๒ ปีนี่ไม่ค่อยไหวละ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่จนกว่าจะถึงปีใหม่ แล้วจึงค่อยกลับไปนอน นี่เราพวกที่อายุกันมากๆแล้วนะครับ เราเชื่อกันอย่างนั้น จะเป็นไสยศาสตร์หรือเป็นอะไร เราก็ว่าก็ดีเหมือนกัน อยู่ให้เป็นประโยชน์มาพูดมาปรับทุกข์มาทำความเข้าใจกัน ถึงว่าปีที่แล้วมันเป็นอย่างไร ควรทำอย่างไรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น อะไรเป็นคู่ชีวิตของเราจริงๆ ชีวิตของเราจะก้าวหน้าได้อย่างไร เราว่าไป อาศัยประสบการณ์ในชีวิต มาว่ากันไปเรื่อยๆ เพื่อจะได้ให้มีความรู้ให้มีปัญญาแตกฉาน เพื่อเป็นการตั้งต้นชีวิตต่อไปข้างหน้า นี่คือเราพวกที่เหลือนะครับ ส่วนท่านนักศึกษาที่นั่งฟังจนเหนื่อย เราก็เห็นใจเพราะเดินทางมาก็ไกลมาฟังแล้วนานไม่เป็นไร เพราะว่าพรุ่งนี้นักศึกษาก็ได้มีเวลาฟังบรรยายจากพระเดชพระคุณท่านอาจารย์พระคุณเจ้าในวัดนี้อีกนะครับยังอยู่อีก ทีนี้พวกเราที่มากันไกลๆ ก็ช่วยกันมาคุยต่อมาคุยต่อนะครับ มาคุยต่อถึงชีวิตกันดีกว่าครับ ชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงที่จะไปกันใหม่ข้างหน้า ไม่ใช่จะไปเรื่อยๆ อะไรคือชีวิต คู่ชีวิตจริงๆ คืออะไร จะไปถึงไหนกันอย่างไรกัน เราจะกะเกณฑ์ชีวิตกันอย่างไรแบบนี้
ผมว่ามาคุยกันเถอะครับ ให้มันประทับ ให้มันแน่นกัน เอาประสบการณ์ในชีวิตมาคุยกันก็ได้นะครับเอาประสบการณ์ในชิวิตมาคุยกันก็ได้ เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ ใครมีความสมหวังไม่สมหวังอะไรที่พระเดชพระคุณท่านได้กล่าวแล้วว่าความหวังมันเป็นทุกข์นะฮะ สมหวังหรือไม่สมหวังมันก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้มันทุกข์อะไรต่างๆเรามาคุยกันอย่างนี้ก็ได้ นั้นพอดีผมก็ได้รับหนังสือจากพระเดชพระคุณท่านอาจารย์ เล่มหลังเล่มสุดท้ายนี่เล่มต่อหางสุนัขนี่ล่ะครับ คืออบรมพระในพรรษานะครับ อยู่ในพรรษาคราวที่แล้วนะครับ ทำให้การศึกษามันสมบูรณ์แบบขึ้น แล้วมีเนื้อหาที่สำคัญอยู่ในนั้นนับ ๑๐ เรื่องอยู่ในนั้น มันมีเรื่องขี้เรื้อนน่าเอามาพิจารณามามองให้เห็นกันทั้งนั้นแหละครับ ถ้ามองเห็นได้จริงแล้วก็ผมว่ารู้สึกว่าชีวิตเราจะสบายขึ้นแยะ ปัญหาต่างๆ จะลดน้อยลงไปหมดมานานล่ะครับ นั้นผมจะให้นำประเด็นนี้ขึ้นมาก็ได้นะครับ เนื้อหาที่ท่านพระเดชพระคุณท่านอาจารย์ได้พูดไว้ในหนังสือเล่มนั้น ก็เรื่องคู่ชิวิตนี่นะครับ อะไรคือคู่ชิวิตนะครับ เราโตจนป่านนี้แล้ว รู้แล้วรึยังอะไรคือคู่ชีวิตนะครับ คู่ชีวิต ทิศทั้ง ๖ นะครับ คู่ชิวิต ทิศทั้ง ๖ นรก สวรรค์ นี่เราอายุมาป่านนี้แล้วเข้าใจนรกสวรรค์ดีแล้วยัง อะไรแบบนี้ คู่ชีวิต ทิศทั้ง ๖ นรก สวรรค์ แล้วก็นิพพาน ปัจจุบันนะฮะ ลืม อะไรนะผมว่าไปก็กลัวจะผิด แต่มันมีเนื้อหา ที่ไปในเรื่องสำคัญๆ ทั้งนั้นนะครับ ฉะนั้นเชิญขึ้นมาคุยได้ แล้วผมก็เห็นว่ามีหลายท่านวันนี้นะครับ อย่างน้อยก็คงจะอยู่จนถึงส่งปีเก่าได้ล่ะครับ มาแล้ว พอผมพูดก็เพื่อนมานั่งแล้ว มานั่งอยู่ข้างหน้าแล้ว แฟนเก่าของเรามีแยะ อย่าเพิ่งเบื่อครับ แล้วเราพูดกันเองซักกันเองอย่างนี้สนุกนะครับ ซักสนุกเอาประสบการณ์จริงชีวิตมาพูดกัน แล้วซักกันสนุกโดยเฉพาะเรื่องของพุทธศาสนาเรา นี่ล่ะมัน ถ้าศึกษากันจริงๆ แล้วว่าไอ้เรื่องเถียงกันจริงๆ แล้วมันจะน้อยครับ เพราะมันจะไปถึงจุดจบกันง่ายครับ แต่ว่าถ้าเถียงกันแบบที่น้ำขุ่นๆ นั้นมันเถียงกันได้เรื่อยล่ะครับ แต่ว่าถ้าถามกันเพื่อให้รู้ มันไม่นานล่ะครับมันก็จะจบกันได้ง่าย แต่ว่ามันมีข้อที่น่าคิดอยู่มากล่ะครับ จนกระทั่งบัดนี้แล้วบางท่านยังจะต้องเถียงกันอยู่เรื่อย อย่างตัวเราเรียน อย่างๆเมื่อกี้พระเดชพระคุณท่านใช้กาลามสูตรนะครับ กาลามสูตรๆอย่างนี้ แล้วก็คนที่ไม่เคยได้สนใจจริงๆ ถึงตัวธรรมะจริงๆ แล้ว ก็จะต้องเถียงกันเรื่อย เพราะว่าธรรมะนี้มันไม่สำเร็จด้วยการคิดนะฮะ พระนิพพานนี้ไม่สำเร็จได้ด้วยการคิด ความหลุดพ้นความดับทุกข์ไม่ได้สำเร็จด้วยการคิดว่ากันอย่างนั้นเรื่อยไปนะครับ ไอ้อย่างนี้สิครับ นี่ถ้าเรามาคิดกันหรือมาพูดกัน มาทำความเข้าใจกันได้ แต่จะให้มันสำเร็จถึงผลของมันจริงๆ นั้นมันไม่ได้
นี่ครับ เราต้องนึกไว้ในแง่นี้เสมอนะฮะ แต่จะไปถามว่ามันรู้ได้อย่างไร เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ หมดกิเลสไปแล้วยัง อะไรอย่างนี้ไอ้อย่างนี้รู้ได้อย่างไร ไอ้อย่างนี้มันเป็นเรื่องของผล ผลมันต้องมาจากการปฏิบัติ แต่ข้อนี้มันก็ไม่ต้องสงสัย ปฏิบัติไปแล้วมันก็รู้เอง ยกตัวอย่างอย่างนี้นี่เป็นเรื่อง แล้วจากประสบการณ์ที่ผมเกิดขึ้นในจิตใจของผมจริงๆก็อริยสัจ ๔ ยกตัวอย่างนี้นะครับ เราได้ศึกษาใหม่ๆ ฟังไปก็เออ ก็เข้าใจอริยสัจดี อ่านรู้เรื่อง ชักกระโดดโลดเต้นดีใจใหญ่ว่าเรารู้แล้วอริยสัจ ๔ รู้แล้วอริยสัจ ๔ เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เราก็รู้กับเขาด้วย เรารู้ด้วยก็ดีใจ แต่เสร็จแล้ว ผมมานั่งถามตัวเอง เอ๊ เรารู้อริยสัจ ๔ แล้วแต่ทำไมต้องมานอนกลุ้มใจอยู่อีกล่ะ ทำไมจะต้องมาหนีเมียไปนั่งร้านกาแฟเป็นวันๆ อะไรทำนองนี้ นี่แหละครับมันเป็นเรื่องที่เราได้เห็นได้ชัด มันเรื่องของธรรมะเรื่องของพุทธศาสนา มิใช่เรื่องที่อ่านแล้วเข้าใจนะครับ นี่เห็นได้ชัดๆ ต้องมีตัวปฏิบัติลงไปจริงๆ แล้วปฏิบัติแล้วด้วยนะครับ เรื่องอาการ ๑๒ อริยสัจ ๔ ต้องรู้โดยอาการ ๑๒ นะครับ ๔ ๓ ๑๒ นะครับ ต้องรู้จนกระทั่งว่าปฏิบัติแล้วนะครับ ดีขึ้นแล้วจึงเป็นอย่างนั้น นี่แหละครับเป็นตัวสำคัญ เรื่องศาสนาที่อยู่ที่ตัวการปฏิบัติ ทีนี้ส่วนปริยัติ ส่วนเรื่องปริยัตินั้นมันเป็นความรู้ที่เพื่อให้ปฏิบัติจริงๆกันให้ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องยิ่งขึ้น แต่ถ้ามาพูดคุยกันเรื่องผลของมันแล้วเถียงกันตายล่ะครับ ไม่มีทางคือมัน เพราะเอามาให้ดูกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นผลมันอยู่ที่หลังจากการปฏิบัตินะครับ นี่มันเป็นซะอย่างนั้น ฉะนั้นอะไรๆ ก็ตามที่เรารู้ๆ แล้ว แล้วก็ผู้รู้ผู้สอนเอง ก็ทำไปอย่างหนึ่งแล้วก็พูดไปอย่าง อะไรอย่างนี้ นี่ๆ เพราะว่ามันเป็นเรื่องของรู้ๆ แล้วก็พูดๆ แล้วก็สอนๆตามๆ เพ้อๆ กันไป มันจึงมีปัญหาอะไรแยะ แล้วบางทีทั้งที่รู้ก็ไม่รู้จริงอีก ทั้งที่รู้จริงแต่บางทีก็ต้องการเอาความรู้มาหาผลประโยชน์เสียอีก นี่ฉะนั้นเลยธรรมะบางทีก็เผลอไปซะอีก เผลอไปเพราะผู้รู้ไปหาประโยชน์จากธรรมะซะอีก นี่ก็ทำให้เกิด จึงทำให้คนไม่รู้จริงอีกไปเบี้ยวซะ ไปเบี้ยววัตถุประสงค์ของ ของๆ ของตัวธรรมซะเองนะครับ ไปเบี้ยวซะ แล้วก็ไปออกผลอีกด้านหนึ่งเสียอย่างนี้ก็มี ฉะนั้นตอนนี้ เมื่อกี้ผมได้ฟัง ตอนนี้ครับ ผมขอพูดเสียสักหน่อยหนึ่ง แล้วมันบางทีมันก็ได้สบายใจเหมือนกัน เมื่อกี้ผมได้ฟังมาถึงตอนที่ อ่า เดี๋ยวนะครับ เรื่อง ครับ เดี๋ยวมันชัก ชักงงๆ กันล่ะครับ เดี๋ยวเอาอย่างนั้น เดี๋ยวผมตั้งสติใหม่ ฉะนั้นระยะนี้ ผมขอเชิญคุณเป็งฮั้วเถอะครับ คุณเป็งฮั้วมาไกลแล้วถ้าไม่ได้พูดวันนี้บ้างก็น่าเกลียดครับ ฉะนั้นเราในฐานะสหายธรรมอาวุโส นะเชิญนะครับ คุณเป็งฮั้วนะครับ ขึ้นมาช่วยขัดจังหวะในการที่จะส่งท้ายปีเก่ารับปีใหม่ มีอะไรที่จะฝากพวกเรากันในแง่คิดของทางธรรมพอสมควรนะครับ แล้วเราจะได้อยู่เป็นสุขสบายนะ ขอบคุณครับ
คุณหมอยูร : สวัสดีพระคุณเจ้า และท่านที่เคารพ เราก็ใกล้จะถึงวันปีใหม่แล้ว เอ่อ ประมาณอีกชั่วโมงเศษ เราก็ดีใจที่ว่า ชีวิตในปี เอ่อ ๒๐๐ ปีที่เราผ่านมา ๒๐๐ ปีที่เราฉลองรัตนโกสินทร์เราก็ได้ผ่านพ้นไป ฉะนั้นในปี ๒๕๒๕ เราสามารถที่จะรอดพ้นไปได้ จนมีชิวิตที่จะมารับปีใหม่ เอ่อ ก็เรียกว่าเป็นบุญนักหนา เอ่อ เป็นบุญนักหนาที่เราได้สร้างบารมีมา นั้นในปีใหม่นี้เราก็ได้รับ ในเวลาอันนิดเดียวที่จะถึงนี้ ก็เป็นการที่ว่า ทำให้จิตใจของเรานี่ตื่นเต้นขึ้นมากว่าเรามารับปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ก็เอาล่ะครับ ตอนนี้เอ่อ ฟังพระคุณเจ้าพูดถึงเรื่อง กาลามสูตร กาลาม ชาวกาลมะนี่จำเป็นจะต้องฟังเรื่องนี้มากเพราะว่า เอ่อ สาเหตุที่ว่าพระพุทธเจ้าท่านพูดถึงเรื่องสูตรชาวกาลามะ นี่ ถ้าเรารู้สาเหตุที่ว่าพระพุทธองค์ เพราะเหตุใดพระพุทธองค์จึงจำเป็นจะต้องพูดสูตรนี้ก็ทำให้แก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งจะถามเหล่านั้นได้อย่างดี สาเหตุที่ว่าพระองค์ได้ตรัสเรื่องกาลามะนี่ ก็เนื่องจากว่าชาวกาลามะ นี่ เป็นแดนแห่งหนึ่งซึ่งพวกศาสดาต่างๆ จะต้องเดินทางผ่าน อ่า เมืองนี้เป็นเมืองที่ต้องเดินทางผ่านของศาสดาต่างๆ เขาก็มีลัทธิของเขาเผยแพร่ให้กับชาวกาลามะ พอศาสดานี้ผ่านไป พอศาสดาอื่นมาก็บอกว่าศาสดาที่แล้วน่ะพูดไม่ถูก เขาเองที่เป็นผู้พูดถูกนะฮะ มีลัทธิที่ควรจะเชื่อถือ ฉะนั้นศาสดาอื่นเขามาอีก ศาสดาก็บอกว่าศาสดาที่ผ่านไปทั้งหมดนั่นไม่ถูกอีกอ่ะ ไม่ถูกอีก ควรจะมาเชื่อเขา ศาสดามาใหม่อีกอ่ะเขาก็ว่าศาสดาที่เก่าที่พูดไปน่ะไม่ถูกทั้งนั้นน่ะเขาเองที่ถูก ครั้งนั้นน่ะพระองค์ได้เสด็จไปถึงในแดนของชาวกาลามะ พระองค์ได้รู้เรื่องของศาสดาต่างๆ ที่เขาเดินทางมาเผยแผ่ลัทธินั้น พระองค์ในความปรีชาของพระองค์ พระองค์ก็เห็นว่าถ้าทำอย่างศาสดาต่างๆ ที่เขาทำไปนี่ ต่อไปเมื่อพระองค์เสด็จพ้นไปจากชาวกาลามะ นี่ถ้ามีศาสดาอื่นมาพูดอะไรอีกนี่ ก็บอกว่าพระพุทธเจ้าท่านพูดผิดแล้ว ไม่ถูกอีกแล้ว ฉะนั้นในความปรีชาของพระองค์ พระองค์จึงตรัสสูตรของชาวกาลามะ นี้ขึ้นก็เพื่อจะแก้ไขโดยตรงเฉพาะชาวกาลามะ เพราะว่าชาวกาลามะ เป็นคนขี้เชื่อนะฮะ คือขี้เชื่อคือคล้ายๆ กับว่าเอะอะก็เชื่อ พูดอะไรก็เชื่อทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้นพระองค์บอกอย่าเชื่อ ที่ตรัสว่าอย่าเชื่อนั้นน่ะ ก็เพื่อจะให้ชาวกาลามะ นี่เกิดการสำนึกตัวขึ้น สำนึกในการที่จะเชื่อไปอย่างนั้นแหละ ที่เป็นคนขี้เชื่อนั้นแหละจะไม่ได้ประโยชน์อะไร ฉะนั้นชาวกาลามะ พอได้ฟังสูตรของพระองค์ที่ตรัส เรื่องสูตรกาลามนี่ ก็สำเร็จกันเป็นจำนวนมากนะฮะ คือรู้ เอ่อรู้ตัว สำนึกตัวขึ้น รู้ตัวขึ้นสำนึกตัวขึ้น การสำนึกตัวขึ้นนี่แหละคือชาวพุทธ พุทธะ พุทธะแปลว่าผู้ตื่นขึ้นนะ ตื่นขึ้นมาจากความงมงายนะฮะ ถ้าเรายังงมงายอยู่ ยังไม่ตื่นขึ้นมานี่ คือยังไม่สำนึก เหมือนเราตกลงไปในน้ำเลย ในทะเลนี่ เราไม่สำนึกว่าเราควรจะมองดูที่ไหนเป็นฝั่ง แล้วก็พยายามที่จะว่ายเข้าฝั่ง เพราะว่าเรานี่งมงาย เราก็ไม่อยากจะดูว่าตรงไหนนี่มันเป็นที่พึ่งที่แท้จริงนะฮะ ฉะนั้นกาลามสูตรนี่แหละ เอ่อ ผมก็ศึกษามา ผมก็เข้าใจว่ากาลามสูตรนี่ใช้เฉพาะชาวกาลามะ เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเป็นคนที่ขี้เชื่อ
ฉะนั้นต้องอย่าให้เชื่อนะฮะ แก้ไข เหมือนกับเราถ้าเป็นหิด ก็ใช้ยาหิดมาทา เราก็จะหายจากการเป็นหิด แต่ว่าถ้าเราไม่ได้เป็นหิด แล้วเอายาแก้หิดมาทานี่ ตัวเรามันก็อาจจะเป็นหิดขึ้นมาได้ เอ่อ คนเป็นวัณโรคนี่ เขาก็ใช้ สเตรปโตมัยซิน มาฉีด ก็หายจากวัณโรค โรคปอดนี่ แต่คนไม่เป็นโรคปอดนี่หมอดูผิดไปนึกว่าเป็นโรคปอด ก็เอาสเตรปโตมัยซินมาฉีดเข้า คนนั้นทั้งๆที่ไม่เป็นโรคปอด ก็เป็นโรคปอดไปนะฮะ เพราะว่ามัน มันใช้ไม่ตรงกับการฉีดยา เอ่อ ยานะฮะ ที่จะแก้ไขไข้ ฉะนั้นถ้าเรามสอนนิสิตนักศึกษาอย่าเชื่อๆ เอะอะก็อย่าเชื่อนี่ ในที่สุดนิสิตนักศึกษานี่ก็ไม่เชื่อทั้งครูบาอาจารย์ไม่เชื่อทั้งตำรับตำรานะฮะ แล้วไม่เชื่อ ไม่เชื่ออะไรหมด แล้วเชื่อในตัวเองซะด้วย ตัวเองคิดอะไร นึกอะไร ก็เกิดความคิดว่านี่แหละตัวเราเองควรจะเชื่อ กลับเป็นผลร้ายอันใหญ่ ทำให้นิสิตนักศึกษาหรือคนที่กำลังศึกษาพระพุทธศาสนานี่งมงายกันไปหมดเลย ก็บอกว่า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าอย่าเชื่อ ฉะนั้นในสมัยหนึ่ง เอ่อ สมัยหนึ่งที่วิทยาลัยธรรมศาสตร์นี่ เขาก็ผ่าตัดพระพุทธศาสนา เขาก็เอาไอ้กาลามสูตรนี่มาเป็นที่ตั้ง เขียนตัวใหญ่ๆ แล้วก็ออกมาเพื่อที่จะให้คนที่สนใจในพระพุทธศาสนานี่ ไปโต้เถียงกันในเรื่องนี้ ในที่สุดไม่มีใครโต้เถียง ไม่มีใครเข้าใจ กลับไปเข้าใจว่าเรื่องพระพุทธศาสนานี่เชื่อไม่ได้ ตำรับตำรานี่ก็ไตรปิฎกนี่ก็เชื่อไม่ได้ แม้ครูบาอาจารย์ก็อย่าได้เชื่อ แม้พระพุทธเจ้าท่านตรัสก็อย่าได้เชื่อนี่ไปกันใหญ่ อย่างนี้ในที่สุดก็กลับเป็นผลร้าย ในการที่เราจะออกเผยแผ่พระพุทธศาสนานะฮะ ฉะนั้นผมจึงพยายามที่จะใช้วิธีการที่จะดึงคนเหล่านั้นกลับมาเพื่อให้เขากลับเข้าใจเสียใหม่ว่า เอ่อ สูตรของพระพุทธเจ้านั้น แต่ละสูตรแต่ละสูตรนั้นน่ะ เราจะต้องรู้ รู้ถึงเหตุของที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสสูตรนี้เพราะเหตุอะไรนะฮะ สูตรหนึ่งสูตรหนึ่งก็เหมือนกับยาขนานหนึ่ง ที่เราใช้กับคนไข้ให้ตรงกับไข้ให้ตรงกับไข้นะฮะ ให้ตรงกับไข้อย่างยาแก้หิดนี่นะฮะ เราควรจะนำมาทา ไม่ใช่เอายาแก้หิดมากินเข้าไปในท้อง ก็พอดีตายกันพอดีนะฮะ ฉะนั้นไอ้เรื่องที่ว่าเราใช้ไม่ตรงกัน ไอ้เรื่องที่ว่าคนมันขี้เชื่อแล้วพระพุทธองค์จึงได้ตรัสอย่าเชื่อๆ ฉะนั้นคนที่เขาไม่ใช่คนขี้เชื่อนั้นน่ะ เราก็อย่าได้นำไอ้สูตรนี้มาสอนกับเขา เพื่อทำให้เขากลับงมงายไปใหญ่ เลยเกิดไม่เชื่ออะไรทั้งหมด กลับไปเชื่อความคิดของตนเองว่าตนเองนี่คิดถูกแล้ว ใครจะมาตักเตือนอะไรก็ไม่ได้ นั้นจะต้องเอาความคิดของตน ตนเองเป็นที่ เอ่อ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ตั้ง ตนเองนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ดังนั้นก็ เอ่อ ไอ้เรื่องการที่ว่ากาลามสูตร ผมจึงบอกว่าเป็นสูตรที่จะใช้แก้ไขกับคนที่ขี้เชื่อ คือเชื่อกันง่ายซะเหลือเกิน เอะอะก็เชื่อ เอะอะก็เชื่อ จึงสมควรที่จะนำสูตรนี้มาใช้เหมือนกับว่านำยานี่มาแก้ไขมาให้รักษาคนไข้ ให้มันตรงกับยา เพราะว่าคนไข้ถ้าเรานำยามารักษานี่ มันไม่ตรงกับไข้แล้วก็ทำให้คนที่ คนไข้นี่หนักเข้าไปอีก แล้วกลับนำยาซึ่งมาให้คนที่ไม่เป็นไข้กิน คนที่ไม่เป็นไข้กลับเป็นคนไข้ขึ้นมา เอ่อ ผมจึงว่าเอ่อ อย่างนี้ครับ สูตรของพระพุทธองค์ดีหมดทุกสูตร ไม่มีสูตรไหนที่ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นก็ถ้าเรานำสูตรนี้มาใช้กับในอะไรที่มันตรงกันแล้วก็ แล้วก็เป็นเป็นการถูกต้อง เอาล่ะครับผมก็หมดเวลาเพียงเท่านี้ ขอบพระคุณ
โฆษก : ครับ ขอบคุณครับ ความจริงก็พูดได้เรื่อยล่ะครับ แต่นี่หมดเวลาเดี๋ยวเราก็เตรียมไว้ว่าถึงเวลา ๕ ทุ่มเราได้ฟังพระดำรัส ไม่ใช่พระดำรัสสิ เอ่อ พระสังฆราช ท่านสังฆราชอีกสักเวลาหน่อย แล้วเราจะได้พูดกันต่อไปอีก ทีนี้ คุณเป็งฮั้วก็ได้วิจารย์มาถึงเรื่องการเชื่อ ตอนนี้เราเปิดนะครับเราเปิดฟรี วิจารย์ว่ากันได้เต็มที่ นะครับว่าสูตรนี้จะใช้เหมาะหรือไม่เหมาะ กับนักศึกษา พวกเราก็เอามาว่ากันได้นะครับ เพราะว่าความเชื่อกาลามสูตรนี้ไม่ใช่ว่าห้ามไม่ให้ปฏิบัตินะครับ ว่าปฏิบัติลงไปโดยไม่ต้องเชื่อก่อนก็ได้นะครับ แล้วเมื่อเห็นผลจริงๆ แล้วจึงเชื่อ นั้นแล้วแต่คน ใครจะวิจารณ์ได้ว่าสูตรนี้จะใช้กับนักศึกษาได้หรือไม่ได้นะครับ แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแล้ว แล้วว่าคนที่จะเข้าถึงพุทธศาสนาจริงจะต้องใช้หลักกาลามสูตร แล้วเราเปิดโอกาสไว้อภิปรายและพูดกันต่อได้นะครับ โอกาสนี้จะถึงเวลาแล้วยังครับอาจารย์ครับ อ่า แล้วเดี๋ยวก็พอถึวเวลานะครับเราก็ฟังท่านสังฆราชได้อวยพรรับพร อ่า ไอ้อันนี้เราก็ไม่อยากจะพูดเหมือนกันนะไอ้พร เดี๋ยวใครจะพูดกันก็ได้ว่าพรนี้เรารับกันได้จริงหรือเปล่า เอาไว้รับฟังคำปราศัยของท่านสังฆราช แต่ที่เวลาเหลือเล็กน้อยก่อนจะถึงเนี่ยนะครับ ก็ใคร่คุยกันต่อสักนิดนะครับ ว่าเรื่องเชื่อหรือไม่เชื่อนี้นะครับ ก็อยากให้นึกว่าพุทธศาสนานี้ เราเป็นศาสนาของปัญญา เป็นศาสนาของปัญญา เพราะฉะนั้น อะไรๆ มันต้องไม่เชื่อไว้ก่อนแหละดีนะครับไม่เชื่อไว้ แต่รับมาปฏิบัตินะครับ แต่รับมาปฏิบัติ แต่ว่าอย่าเพิ่งปักใจเชื่อไปดีที่สุด ถ้าปักใจเชื่อไปเสียเลยแล้วก็ มันจะเป็นเรื่องที่เชื่อไปทางงมงายได้ง่าย แต่รับมาปฏิบัติ สิ่งไหนที่เห็นว่าน่าปฏิบัติรับมาปฏิบัตินะครับ แล้วอย่าเพิ่งเชื่อ ในสิ่งข้อนั้นนั่นแหละครับ เอาอย่างนั้นดีกว่า เพราะว่าบางเรื่องจริงๆ เราเห็นได้ชัดจริงๆว่า มันเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ นะครับ แม้แต่ในตำราที่ว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะตำรามันก็ต้องลอกคัดมา มันก็ผิดได้ง่ายๆ แล้วตำรามันก็เขียนอยู่โดยคนที่มีเหตุผล อยู่ระยะหนึ่งสมัยหนึ่ง เหตุผลนั้นมันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ไปตามสมัยไหนก็ตามน่ะ มันลึกไปถึงขนาดนั้น ทีนี้แม้แต่ว่าอย่าเชื่อครูบาอาจารย์ก็ครูบาอาจารย์ก็แต่ละคน มันก็ตามความคิดเห็นของตนเองก็ได้นะครับ ก็ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอะไรต่างๆ มันก็ถูกครับ
ทีนี้พระพุทธเจ้ายอมเปิดเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงแม้แต่ตัวพระองค์ท่านเองก็ยังบอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อพระองค์ท่านเอง ไอ้นี่เราต้องมองให้ลึกหน่อยนะครับว่า ท่านต้องการให้เรานี้เกิดปัญญาขึ้นจริงๆ แล้วจึงได้เชื่อต้องการอย่างนั้น ไม่หัดให้เราเป็นคนมักง่าย ต้องการให้เราเป็นคนมีสติปัญญา เพราะพุทธศาสนามันนำด้วยปัญญา นะปัญญา ศรัทธา และเพียร มันต้องมี ๓ ประการนี้แหละครับ เราจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ แต่ศาสนาไหนมันนำด้วยอะไรเท่านั้นเอง พุทธศาสนานำด้วยปัญญาเป็นเรื่องใหญ่ เพราะฉะนั้นต้องอย่าเชื่อเป็นเรื่องใหญ่ไว้ก่อน แต่ให้ปฏิบัติไปแล้วเกิดปัญญาแล้วจึงเชื่อ ศรัทธาตามหลัง ต้องศรัทธาโดยปัญญาสิครับ มันจึงเป็นอินทรีย์หรือเป็นพลังอย่างหนึ่ง ศรัทธาความเชื่อมันเป็นกำลังอย่างหนึ่ง เดี๋ยวพวกเราจะตกใจจะค้านอีก พระพุทธเจ้าว่าอย่าเชื่อแต่ทำไมศรัทธานี่เป็นพละ เป็นกำลังอีกอย่างหนึ่งอีก ต้องศรัทธาที่มีปัญญา มันต้องเชื่อลงไปโดยปัญญา จึงจะเป็นกำลังอย่างหนึ่ง และต้องฟังอย่างนี้ด้วยนะครับ นั้นศรัทธาต้องเป็นศรัทธาที่มีปัญญาเป็นพื้นฐานนั่นแหละครับ แล้วจึงจะเป็นกำลังอย่างหนึ่ง นี่ความคิดที่ผมเข้าใจไปอย่างนี้ แล้วใครจะพูดอะไรก็ได้ นะครับนี่มันเป็นเรื่องของปัญญาของพุทธศาสนา ทีนี้ของศาสนาอื่นเขาถึงใช้ศรัทธานำเลยครับ เชื่อไว้ก่อนเชื่อไว้ก่อนทุกอย่าง อะไรก็เชื่อไว้ก่อนไม่ต้องเถียง นะเชื่อไว้ก่อนไม่ต้องเถียง นี่เป็นเรื่องของพระเจ้าสั่ง จดไว้แค่นั้น เพราะฉะนั้นนั่นเป็นเรื่องของศรัทธาโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก เชื่อไว้ก่อน แล้วอีกศาสนาอื่นบางศาสนาก็ใช้บังคับให้ทำไปเลย ทำไปก่อนๆ บังคับๆให้ปฏิบัติ ใช้ความเพียรๆ บังคับทำ ปฏิบัติไปเรื่อยอย่างนี้ก็ได้นะครับ อย่างศาสนาอิสลามนี่ให้บังคับไหว้พระไปเรื่อยวันละกี่ครั้งๆ ก็ไหว้เข้าไป ว่าเข้าไป ทำเข้าไปๆ มันก็เกิดผลมาบ้างเหมือนกันจากความเพียรที่ทำ จากศรัทธาก็ทำไปก่อนแล้วเห็นผลทีหลังมันก็ได้ แต่ของพุทธเรานั้นเอาปัญญามาก่อน เพราะฉะนั้นนี่ ไม่ถึงปัญญาบางทีเราจึงต้องเละเทะไปก่อนนะครับ ไม่เป็นไรครับ เพราะเราไม่ได้ปัญญาที่แท้จริง เราก็เละเทะไปก่อนบางครั้งไม่ได้เข้าใจจริง เลยก็ทำอะไรไปในทางอบายมุข ทางอะไรไปเรื่อย เยอะแยะไปหมด เพราะว่าเราไม่ได้มีการบังคับกันที่แท้จริงนะครับ นี่ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น จึงได้เละเทะมาก เพราะเราไปเอาปัญญา เอ้ย ไม่ใช่ว่าไปเอาหรอกครับ พระพุทธเจ้าบอกสำเร็จด้วยปัญญา เรื่องจริงมันต้องเป็นอย่างนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วในมรรคในทางอริยมรรค ตัวพรหมจรรย์ตัวปฏิบัติจริงๆ เพื่อหลุดพ้นก็ขึ้นต้นด้วยสัมมาทิฏฐิซะอีกแล้ว ก็ต้องปัญญาอีกนั่นแหละครับเป็นตัวนำ เพราะฉะนั้นมันก็ต้องอย่างนี้แหละครับ ถึงเวลารึยัง ยังไม่ถึงใช่ไหมครับ ถ้ายังไม่ถึงก็ผมขอเชิญ คุณ ใครครับใครก็ได้นะครับ เดี๋ยวผมเชิญ ก็หน้าเก่าเดี๋ยวก็รำคาญ แต่ไม่ถึงรำคาญหรอกครับ แต่อยากเชิญ ใครๆก็ได้นะครับ ครับมีความคิดเห็นอะไร ก็เชิญเถอะครับ เราไม่ได้มีการผูกขาดกันหรอกครับ ถือว่าทุกท่านเรามาแลกเปลี่ยนกันเพื่อประดับสติปัญญา เชิญเถอะครับนะฮะเราพูดกันนี่ไม่ได้มีการผูกขาดอะไร ใครมีอะไรเชิญครับ ถ้าไม่มีก็ เชิญครับ เชิญๆครับ นี่ถ้าไม่ลุกขึ้นมา คุณเชาว์ก็จะจ้องจะขึ้นมาแล้วนะครับ ระวังนะจับคุณเชาว์ไว้ด้วยนะ เดี๋ยวคุณเชาว์จะรีบขึ้นมา ขอเชิญคนอื่นรีบขึ้นมาครับ เชิญเลยครับ ช่วยกันมา อ่ะ ไม่ต้องก็ได้ครับ เชิญตามสบายเลยครับนะสหายธรรมทั้งหลาย ถือว่าตอนนี้เราครอบครัวเดียวกันนะครับ สหายธรรมนะครับ เชิญครับ
คุณ... : ผม ... โอสถ ครับ นาทีที่ 113.51 อยู่ที่ธรรมศาสตร์สาขาวัดมหาธาตุ คือเมื่อกี้นี้เห็นว่าจะให้พูดอะไรก็ได้ แต่ว่าเมื่อกี๊เห็นบอกว่าเราควรจะศึกษาเรื่องอริยสัจ ๔ กันนะฮะ ทีนี้เรื่องอริยสัจ ๔ นี่นะครับ กระผมคิดว่าเราควรจะศึกษากันจริงๆ นะฮะ ให้เข้าใจจริงๆ คราวนี้เราจะเข้าใจได้อย่างไรว่าอริยสัจ ๔ น่ะมันเกิดขึ้นในจิตใจของเรานี่ เกิดขึ้นได้อย่างไร คราวนี้ก็ต้องอาศัยครับ หลักพระสูตรนี้กัน เชื่อพระสูตรพระองค์ได้ ธาตุทั้งหลาย ๖ ประการนะฮะ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ นำก้าวลงสู่ครรภ์มารดานะครับ นามรูปย่อมมี เมื่อมีนามรูป สฬายตนะ ย่อมมี เมื่อมี สฬายตนะ ผัสสะ ย่อมมี เมื่อมีผัสสะ นะฮะ เวทนาย่อมมี พอถึงเวทนานี่นะครับ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า นี้แหละเป็นความทุกข์ ครับ ที่ว่าเวทนานี่อย่างนี้แหละเป็นความทุกข์นะฮะ แล้วก็ว่านี้แหละเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็อยู่ที่เวทนานั่นแหละครับ คราวนี้เป็นความดับทุกข์ก็อยู่ที่เวทนานั่นแหละครับ นี่เป็นทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ก็อยู่ที่เวทนานี่แหละครับ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องจ้องพิจารณาครับ ว่าทุกข์ที่ว่าพระองค์ว่า เกิดจากเวทนานี่ เวทนาก็คือว่า สุข ทุกข์ และอทุกขะหรือสุขะ ๓ อย่างด้วยกัน ครานี้พระองค์บอกว่าสุขทุกข์ในภายในนะครับ คือเวทนานี่มันเป็น ๒ ชั้นกันอยู่นะครับ เวทนาชั้นนอกอันหนึ่งนะครับ เวทนาชั้นในอันหนึ่ง เวทนาชั้นในก็คือสุข ทุกข์ในภายในนี่น่ะครับ เป็นเวทนาชั้นใน คือตัวเวทนานี่นะครับไม่ใช่ โสกะปริเทวะ ทุกขโทมนัส อันนั้น ทีนี้ทั้งสุขและทุกข์นี่แหละครับเป็นตัวทุกข์อริยสัจนะครับ เป็นความทุกข์อริยสัจทั้งหมด คือทั้งสุขและทั้งทุกข์ก็เป็นทุกข์อริยสัจทั้งหมด คราวนี้ไอ้สุขทุกข์ในภายในนี่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเกิดขึ้นกับเราแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไร เราสามารถจะรู้ได้ต่อเมื่อเกิดจากผัสสะทางอายตนะครับ เช่นตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส รู้ธรรมารมณ์ที่ใจนะฮะแล้วจะเกิด จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหล่านี้ขึ้น เพราะว่าเมื่อมีอย่างนี้แล้วมันถึงจะเกิดผัสสะขึ้นมา เมื่อผัสสะแล้วจึงเป็นเวทนาขึ้นมา เพราะฉะนั้นสุขทุกข์ในภายในนะครับ ก็คือผลของเวทนาที่เกิดจากตาหูจมูกลิ้นกายใจนี่เอง ทีนี้ถ้าหากว่าเมื่อเราสัมผัสทางอายตนะนี่นะครับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุขทุกข์ในภายในได้เกิดขึ้นมาแล้ว เกิดขึ้นมาแล้วกับเราแล้วล่ะ สุขเรามีความยินดี เราพอใจ เราอยากได้นะฮะหรือเราปราถนา อันนี้มันเป็นความสุขครับ ถ้าเรามีความยินดีในรูปนะครับ นั่นน่ะความสุขมันเกิด นั่นแหละครับ มันเกิดขึ้นในภายใน แต่ถ้าว่าเรามีความยินร้ายล่ะ มีความไม่พอใจล่ะนะฮะนี่อันนั้นเป็นความทุกข์ครับมันเกิดปฏิคะ ส่วนสุขมันเกิดราคะครับ สุขมันจะเอา แต่ทุกข์มันปฏิเสธ นี่ล่ะครับ เป็นราคะและปฏิคะ นี่ล่ะครับ มันเป็นตัวปัญหา เป็นทุกข์ สมุทัยครับ เพราะฉะนั้นเราจึงตกอยู่กับตัณหาซะโดยมากครับ คือสุขเราเพลิดเพลิน สุขเราเพลิดเพลินไปครับ เราชอบสรรเสริญ เราก็หมกอยู่เรื่องความสุข มันก็เลยเป็นราคะไปเป็นตัณหาไป ทุกข์ก็เกิดสิ นี่สิครับเป็นอย่างนั้น ครานี้เราจะทำอย่างไรล่ะครับ ถึงจะดับตัณหาได้ เราจะทำอย่างไรถึงจะดับๆตัณหาได้ เราต้องไม่เข้าไปในฝ่ายยินดี หรือฝ่ายยินร้ายครับ ทั้ง ๒ ทาง พอใจหรือไม่พอใจนี่ เราต้องวางตนเป็นอุเบกขาครับ อยู่ข้างกลางเสีย ถ้าเราเข้าไปยินดีเข้า นั่นแหละครับตัณหามันเกิด ตัวกูมันก็เกิด ถ้าไปยินร้ายเข้า ตัณหามันก็เกิด ตัวกูมันก็เกิดครับ ฉะนั้นเราจะต้อง ไม่ต้องเข้าไปทั้งทางยินดี และไม่ต้องเข้าไปทั้งทางยินร้ายครับ วางตัวเป็นอุเบกขาครับ อยู่ทางสายกลางซะ อุเบกขาวางเฉยครับ อันนี้คือว่าไม่ดีใจไม่เสียใจ อุเบกขาอันนี้แหละครับ จึงจะเป็นตัวนิโรธได้ นิโรธในที่นี้หมายความว่าเรามีความอิสระในทางจิตครับ อิสระในทางจิตคือว่าไม่เข้าไปยึดในทางความยินดี ไม่เข้าไปยึดในทางยินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ อันนี้เราไม่เข้าไปยึดอันนั้นน่ะครับ เราจึงมีความอิสระในทางจิตขึ้นมาได้ ไอ้ความเป็นอิสระในทางจิตนี่แหละครับ พระพุทธเจ้าท่านมุ่งหมายนัก
เพราะฉะนั้นมีพุทธพจน์อยู่บทหนึ่งครับ ผมจำได้ว่าที่ว่าสาระของชีวิตน่ะ หาได้ขึ้นอยู่กับผลได้ในทางลาภ ในทางเกียรติ ในทางชื่อเสียง หาได้ขึ้นอยู่กับผลของการปฏิบัติศีลาจารวัตร หาได้ขึ้นอยู่กับผลของความรู้ทั้งภายในและภายนอก หากแต่เป็นการมุ่งความอิสระในทางจิต ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นความหมายที่แท้ เป็นสาระสำคัญในปั้นปลายของชีวิตที่บริสุทธิ์ นี่ล่ะครับความเป็นอิสระในทางจิต นี้เราไม่เข้าไปยินดี และไม่เข้าไปผูกพันกับความยินร้ายนี่แหละครับ ความเป็นอิสระในทางจิตจึงจะเกิดขึ้น ครานี้เมื่อเรารู้ว่าทุกข์คืออะไร เหตุเกิดทุกข์คืออะไร ความดับทุกข์คืออะไร นี่ล่ะเป็นสัมมาทิฏฐิล่ะครับ เป็นตัวสัมมาทิฏฐิ ครานี้เราดำริชอบ ดำริชอบหมายความว่าดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากความเบียดเบียนนี่ล่ะครับ อันนี้มันต้องพ้นจากอำนาจของมโนของเจตนานะครับ เราต้องอยู่เหนืออำนาจของมโนของเจตนานะครับ ถ้าอยู่ในอำนาจของมโนของเจตนาอยู่ มันตกอยู่ในกฎของกรรมนะครับ มันไม่ใช่ทางสายกลางนะ ถ้ายังตกอยู่ในกฎของกรรมล่ะก็ มันอยู่ทั้งดีทั้งชั่วครับ ทำดีทำชั่วไป วจีชอบก็เหมือนกัน ต้องพ้นอำนาจจากวจีของเจตนานะครับ การงานชอบก็ต้องพ้นจากอำนาจของกายะของเจตนานะครับ อาชีพชอบต้องพ้นจากอำนาจของนันทิตัณหา หรือราคะในอาหารครับ ความเพียรชอบ เพียรปฏิบัติธรรมให้สมควรอยู่กับธรรม ที่ว่า ธัมมานุ ธัมม ปฏิปัตติ ระลึกชอบ ต้องระลึกอยู่เสมอครับว่าชีวิตของเรานี่มันเป็นธรรมชาติหรือเป็นธรรมนะฮะ มีสติระลึกอยู่เหล่านี้ล่ะครับ ว่าชีวิตของเรานี่มันเป็นธรรมชาติหรือเป็นธรรม สมาธิชอบ ก็เราไม่หวั่นไหวไปกับโลกธรรมทั้ง ๘ และมีนิมิตญาณทัศนะเป็นจริงดั่งหมายด้วย ครับนี่แหละครับ เราจะแลเห็นว่าอริยสัจ ๔ นะอยู่ในใจของเราหมด ต้องน้อมเข้ามาในใจของเราหมดด้วย คราวนี้ถ้าจะพิจารณาว่าเป็นไตรลักษณ์อย่างไร หรือสามัญลักษณะอย่างไร สุขมันมีความเสี่ยงครับ ทุกข์ก็มีความเสี่ยง มันไม่ได้คงที่เลยครับ มันเสื่อมได้ เมื่อสุขก็เสื่อม ทุกข์ก็เสื่อม จึงตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า สัพเพ สังขารา อนิจจาครับ คนเรานะครับประเดี๋ยวก็สุขประเดี๋ยวก็ทุกข์ ประเดี๋ยวก็สุขประเดี๋ยวก็ทุกข์ มันแปรปรวนอยู่อย่างนี้ล่ะครับ จึงทนได้อยาก มันไม่ได้อยู่สุขก็ให้คงที่ มันไม่ได้ ท่านถึงว่ามันทนไม่ได้ ทนได้ยากก็ตรงกับคำว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา จริงอยู่ ธรรมที่เป็นสังฆสะก็ดี ธรรมที่เป็นอสังฆสะก็ดีครับ เราบังคับบัญชามันไม่ได้นะครับ พิจารณาดูเถอะครับ เมื่อเราบังคับบัญชามันไม่ได้นะครับ ท่านถึงบอกว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา นี่เราจะแลเห็นว่า แม้กระทั่งสามัญลักษณะก็อยู่ในเวทนานี่ทั้งหมดครับ อีกประการหนึ่งมาพิจารณาเรื่อง สมมุติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ กันนะครับ ในอริยสัจ ๔ ที่ว่านี่น่ะครับ ว่ามันเป็น สมมุติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ ก็เมื่อเรามีความสำคัญมั่นหมาย ในสภาวะอย่างหนึ่งว่าเป็นสุข ในสภาวะอย่างหนึ่งว่าเป็นทุกข์ ไอ้การที่เราไปย้ำคำมั่นหมาย ว่าสภาวะอย่างนั้นว่าเป็นสุขเป็นทุกข์นั่นน่ะครับ อันนั้นน่ะครับมันเป็น สมมติสัจจะ ขึ้นมา สมมติสัจจะ นี่ล่ะครับ มีความเกิดปรากฏ ความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ก็แปรปรวน ก็สุขนะครับที่เรา ที่เราว่าสุขนี่ครับ มันมีความสมมติขึ้นแล้ว เมื่อมีความสมมติขึ้นแล้วนี่แหละครับ นั่นแหละคือตัวความเสื่อมนะครับ สุขทุกข์นี่ครับ ความเสื่อมของสมมติ สุขมันก็เสื่อม อย่างที่ผมได้อธิบายไปแล้ว ทุกข์มันก็เสื่อม นี่ล่ะครับความเสื่อมจึงปรากฏสุข ประเดี๋ยวก็สุขประเดี๋ยวก็ทุกข์ ประเดี๋ยวก็ทุกข์ประเดี๋ยวก็สุข นี่แหละครับ มันเป็นความแปรวปรวน เมื่อตั้งอยู่ก็มีความแปรปรวน นี่ล่ะครับครานี้ปัญหาที่ว่า ปรมัตถสัจจะล่ะครับ ปรมัตถสัจจะ ความเกิดไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ก็ไม่แปรปรวน ก็เมื่อเราไม่มีสมมติแท้นะครับอะไรจะเกิดครับ อะไรจะเสื่อม อะไรจะแปรปรวน ก็หมด ความเสื่อมความแปรปรวนก็ไม่มีครับ มีแต่ความเป็นอย่างนั้นอย่างนั้น นี่แหละครับ เพราะฉะนั้นเรื่องอริยสัจ ๔ นี่แหละครับ ถ้าเราจะพูดกันตามความหมายว่า เราควรจะพิจารณากันอย่างไรนั้นนะครับ ผมถือหลักพระสูตรนี้ครับ และก็มาพิจารณา และลองมาปฏิบัติด้วยตนเองนะครับ ผมขออธิบายเพียงเท่านี้นะครับ ขอบคุณครับ
โฆษก : ครับก็เป็นการยืนยันแล้วนะครับว่าที่พูดมาทั้งหมดนี้ ลงสุดท้ายต้องมาปฏิบัติโดยตนเอง ให้เกิดทุกข์กำหนดทุกข์ในตนเอง เวทนาๆในตนเองนะครับ ดับเหตุในตนเองอะไรลงสุดท้ายก็ไปสนับสนุนว่าอย่าเพิ่งเชื่อก่อนนะครับ ฟังๆแล้วไปให้มันเกิดขึ้นในเราในตนเอง แล้วปฏิบัติคือเป็นอย่างนี้เห็นไหม นี่แหละครับหลักของพุทธศาสนาแปลว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ก็ตรงตนนี้ในความหมายอย่างนี้ ความหมายที่ว่าจะปฏิบัตินั้นน่ะเราต้องพึ่งตนเองนะ เราจะพ้นทุกข์นั้น เราจะต้องพึ่งตนเอง แต่ถ้าศาสนาอื่นไม่แน่นะครับ ศาสนาอื่นก็อาจจะมีหลักว่าพึ่งพระเจ้า พระเจ้าช่วยอย่างนั้นแต่นี่เราไม่ใช่มาเปรียบเทียบเพื่อแตกแยกนะฮะ เราเลิกเชื่อกันว่าเปรียบเทียบเพื่อแตกแยก แต่ว่าในความหมายที่ว่าให้พึ่งตนเองนะช่วยตนเองอะไรต่างๆนี่ก็คงในแง่ของการปฏิบัติธรรมนั่นแหละครับ เพื่อจะเราได้เชื่อ เอาตัวเราเองเป็นเกณฑ์นะครับ และโดยการปฏิบัติ กำหนดในตัวเราเอง เพราะฉะนั้นถ้าเป็นแต่ฟัง รับฟังๆ มันก็รับฟังกันอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ฉะนั้นผลจะเกิดขึ้นก็จากการปฏิบัตินะครับ และเกิดขึ้นมาในตนเอง จึงจะเกิดปัญญาเพิ่มขึ้นมา แล้วปัญญานี้มันจะไปทำลายกิเลสของมันเอง ซึ่งไม่ต้องเชื่อใครหรอกครับ มันไปทำลายของมันเองล่ะครับในตัวเรา ถ้าเมื่อเราโง่ๆ อยู่ แล้วมันเกิดปัญญาขึ้นมาในตัวเรา นั้นความโง่ในตัวเรามันก็ค่อยหมดไปเอง ไอ้นี่มันไม่ต้องไปเชื่อใคร มันเป็นของมันอย่างนั้น เป็นของมันอย่างนั้น เหตุผลเป็นอย่างนั้น ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องไปเชื่อใครที่ไหนล่ะครับ เมื่อเราโง่ๆอยู่ มันทำๆปัญญาเกิด โง่ก็หายไป ไม่ต้องเถียงใคร นะไม่ต้องไปเถียงกับใครแล้ว บอกกันแค่นั้นนะครับ นี่คือเรื่องของการปฏิบัติธรรมกันจริงๆนะครับ ครับก็เวลาก็ยังมีกันอยู่บ้างนะครับ ขอเชิญนะครับ ขึ้นมานะฮะ ขึ้นมาเป็นการระบาย เปิดเผยอะไรกันนะครับ ตามที่เราจะพูดคุยกันได้ เชิญเถอะครับใครมีอะไรก็เชิญครับ นะครับๆ พุทธศาสนาคือศาสนาของปัญญา ไม่ได้ผูกขาดใคร เป็นเรื่องของธรรมชาติ ที่พระพุทธเจ้าได้เปิดเผยให้เราฟัง นะครับ แล้วเราก็ไม่ต้องมาสงสัยหรอกครับว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ไม่มีจริงนะครับ ก็มาถึงขนาดนี้แล้วก็อย่าเอาพระพุทธเจ้ามีจริงไม่มีจริงมาพูด เดี๋ยวเสียเวลา แต่ที่พระพุทธเจ้าเปิดเผยแล้วนี่มันเท็จจริงเป็นอย่างไร เราได้ประสบมาแบบนั้นกันก็ได้ ก็เป็นเรื่องของธรรมชาตินะฮะ เรื่องธรรมะเป็นเรื่องของธรรมชาติ พระเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ แต่กฎอันนี้ก่อนที่พระเจ้าเปิดเผยนั้นมันไม่มีใครรู้ เรามารู้หลังพระพุทธเจ้าเปิดเผยแล้ว กฎอิทัปปัจจยตานี่
มันเพิ่งรู้เมื่อพระเจ้าเปิดเผยแล้ว เมื่อก่อนไม่มีใครเอามาเปิดเผย เราก็ยังไม่รู้ เหมือนกับเพชรที่มันจมอยู่ในโคลน เมื่อยังไม่ขัดไม่มาทำให้มันเป็นมันนะครับ มันก็รัศมีมันก็ยังไม่ออกมา แต่ความจริง ไอ้แสงเม็ดของเพ็ชรมันมีอยู่แล้ว ธรรมะก็เช่นเดียวกัน มันเป็นกฎของมันอย่างนั้น พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นก็ตามหลักอันนี้ล่ะครับ ธรรมชาติ เพราะฉะนั้นตัวธรรมะจริงมันไม่ต้องเถียงกัน ตัวธรรมะจริงมันมีอยู่แล้ว มันเป็นเช่นนั้นเอง กฏอันครั้งนี้ใครไปทำอะไรไม่ได้นะครับ ตัวนี้แหละครับที่ศาสนาอื่นหรืออื่นๆเขาก็ว่าเป็นพระเจ้า เชื่อกันแล้วก็เป็นพระเจ้ากันแล้วก็ได้ นะแล้วแต่จะมองกันในแง่ไหน แต่ของเราพุทธศาสนาแล้วเรายึดหลักธรรม ธรรมชาติ ธรรมะ เพราะฉะนั้นตัวเราเองก็เป็นธรรมชาติ ฉะนั้นถ้าเราจะเรียนธรรมะ ก็เรียนธรรมชาติของตัวเราเอง เพราะเราเองก็เป็นธรรมชาติ กฎอริยสัจก็อยู่ในตัวเรา กฎแห่งกรรมก็อยู่ในตัวเรา สัจธรรมก็อยู่ในตัวเรา ตัวธรรมะก็อยู่ในตัวเรานะฮะ มรรคผลนิพพานก็อยู่ในตัวเรา ธรรมะ ๔ ความหมายก็อยู่ในตัวเราทั้งนั้น ฉะนั้นเราก็ศึกษาจากในตัวเรานี่ ก็ไม่รู้จบนะครับ เชิญครับ นะครับ เชิญครับ มีไหมครับ เชิญครับ ขึ้นมาๆ สนทนาข้างบนสิครับ ขึ้นมาสนทนาข้างบนได้ฟังกันหลายๆคน นะครับใครมีอะไรเชิญ ท่านสุภาพสตรีก็ได้นะครับ นะฮะท่านสุภาพสตรีที่มีอยู่ก็ได้ ไม่ได้ผูกขาดนะครับ ไม่ได้ผูกขาดสำหรับใคร ทุกคนสามารถที่จะมาพูดคุยกันได้ เผยแผ่กันได้ ให้ความรู้เป็นธรรมกันได้ นะฮะแล้วถ้าเราไปยึดนะ ไปยึด ถ้าเราไปจับเอาในแง่ประเด็นว่า อย่าเชื่อๆๆอย่างเดียว บางคนไปเข้าใจอย่างนั้นก็ได้ นั้นการพูดอย่างนี้ก็ไม่มีความหมายสิครับ ถ้าเราไปปฏิเสธ ไอ้อย่าเชื่อนี่ไม่ได้ห้ามว่าอย่ารับไปปฏิบัตินะครับ คือรับไปปฎิบัติ รับฟังแล้วไปปฏิบัติได้ ฉะนั้นการพูดครั้งนี้มันมีความหมายทั้งที่ว่าอย่าเชื่อนั่นแหละครับ แต่เรารับฟังเอาไปปฏิบัติได้ เอาไปคิดหาเหตุหาผลได้ ยังไม่ลึกไปถึงขั้นภาวนามยปัญญา คือยังไม่ถึงที่จะเกิดปัญญาแท้จริงในตัวเรา แต่เราเอาไปคิดหาเหตุหาผลได้แล้วลองไปทำดู ปฏิบัติดูจริงๆ จนกระทั่งมันเกิดปัญญาขึ้นจริงๆข้างใน โดยทีนี้ไม่ต้องใช้เหตุผลแล้ว ปัญญารู้เอง มันรู้เองขึ้นมาจริงอย่างนั้นก็จบ มันจบจนถึงขั้นที่ว่าปัญญานั้นมันลึกแรงพอ ลึกแรงพอจนกระทั่งทำลายกิเลสได้ นะตัวสำคัญมันตรงนี้แหละครับ ถ้าเราฟังจนมากเท่าไร เอาไปนั่งท่องให้จำได้เท่าไรก็ตาม ไม่มีทางสำเร็จ จะแยกแยะอะไรจนกี่ข้อๆ ก็ไม่สำเร็จ อยู่ที่ว่าเราทำปัญญาของเราให้ลึกได้จนมี เอาล่ะครับ ตอนนี้รับฟังท่านสังฆราชได้แล้วครับ