แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
พุทธทาสภิกขุ : ไม่มีใครจะทำได้ ที่จะให้ภาษาธรรมเป็นที่เข้าใจแพร่หลายทันทีออกไปนี่ คงทำไม่ได้ มันจะได้แต่ค่อยๆ ค่อยๆ เข้าใจกันมากขึ้น มีอยู่ก็คือว่าให้ทุกคนพยายามทำความเข้าใจด้วยตนเองในภาษาที่เราใช้พูดกันอยู่ ที่สำคัญที่สุด ที่จำเป็นที่สุด ที่มาก่อนที่สุดก็คือคำว่า พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าในภาษาคนคืออย่างไร พระพุทธเจ้าในภาษาธรรมคืออย่างไรนี่ลองคิด ลองคิดดูเดี๋ยวนี้เลย ว่าเมื่อเราพูดขึ้นมาถึงว่า พระพุทธเจ้า ก็คิดดูว่าในภาษาคนเราหมายถึงอะไร ในภาษาธรรมเราหมายถึงอะไร ถ้าเรารู้แต่ภาษาเดียว มันเป็นที่น่าสงสาร แล้วบางทีจะเสียหาย จะขาดทุนล้มละลายเลยก็ได้ ถ้ารู้แต่ภาษาเดียว พระพุทธเจ้าในภาษาคนนั้นน่ะก็คือคน เกิดแล้ว ตายแล้ว เผาแล้ว เหลือแต่กระดูกแล้ว พระพุทธเจ้าในภาษาคน ทีนี้ถ้าพระพุทธเจ้าในภาษาธรรมไม่รู้จักตาย, ไม่รู้จักตาย ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง ไม่รู้จักตาย ยังอยู่จนบัดนี้และอยู่กับเราได้ ถ้าเราสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วก็จะมีพระพุทธเจ้าอยู่กับเรา เป็นพระพุทธเจ้าที่ไม่ตาย ตายไม่ได้ เมื่อตายไม่ได้ก็ไม่ต้องเผา พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตายแล้ว เผาแล้ว พระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งจะอยู่ตลอดนิรันดร พระพุทธเจ้าองค์นี้คือพระพุทธเจ้าในภาษาธรรม ถ้าเราไม่มีพระพุทธเจ้าในภาษาธรรม มันก็คือหมดที่พึ่ง พูดกันแต่ปากว่าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ก็ถึงไม่ได้เพราะพระพุทธเจ้าตายแล้ว เผาแล้วไง แต่ถ้าเอาพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่งได้ อยู่ในจิตใจอย่างนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่ไม่รู้จักตาย เราก็ได้รับประโยชน์
ฉะนั้นการที่บุคคลจะมีพระพุทธ มีพระธรรม มีพระสงฆ์อยู่กับตน แก่เนื้อแก่ตัวได้จริงนั้น มันต้องรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในภาษาธรรม นับตั้งแต่ว่ารู้จักพระเจ้าที่ไม่รู้จักตาย พระพุทธเจ้าที่ไม่รู้จักตาย อยู่ตลอดกาล, อยู่ตลอดกาล เข้าถึงได้ทุกคน แต่ละคน ของตน, ของตน นี่พระพุทธเจ้าอย่างนี้
ทีนี้พระธรรมก็เหมือนกัน ถ้าอยู่ที่ใบลาน อยู่ที่หนังสือ อยู่ที่คัมภีร์ อยู่ที่เสียงสวดร้องท่องบ่น มันก็ตายแล้ว ปลวกกินไปแล้ว แล้วกำลังอยู่ในตู้หรืออยู่ที่เสียงที่คนพูด แล้วจะมาอยู่ที่ในจิตในใจของเราได้อย่างไร พระธรรมนี่อาจจะเข้ามามีอยู่ในจิตใจของเราได้นี่ พระธรรมในภาษาคน เอ่อ,ในภาษาธรรม พระธรรมในภาษาคน มันก็แล้วแต่ว่าลูกเด็กๆ เขาจะคิดว่าอะไรเป็นธรรม หนังสือ คัมภีร์ เป็นพระธรรม ตู้พระธรรม หีบพระธรรม หรือว่าจะมีการสวดร้องขึ้นมา ยกมือพนมกันเป็นแถว เรียกว่าพระธรรม เสียงของพระธรรม อย่างนี้พระธรรมในภาษาคน เกิดได้ดับได้เหมือนกัน แต่ถ้าพระธรรมในภาษาธรรมแล้ว อยู่ตลอดกาล ไม่รู้จักเกิดไม่รู้จักดับ แล้วจะเข้าไปอยู่ในจิตใจของคนได้
เดี๋ยวนี้พระสงฆ์เหมือนกัน ถ้าว่าพระสงฆ์ในภาษาคนก็คือว่า ผู้ที่บวชเป็นพระสงฆ์เหลืองๆ เรียกว่าพระสงฆ์ เท่าไรก็ได้ เรียกว่าพระสงฆ์ นี่ก็จะตายได้ ก็จะเกิดได้ ตายได้ แต่ว่าพระสงฆ์ในภาษาธรรมนั้นน่ะคือคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพระสงฆ์ นี่มีอยู่ตลอดกาล ใครปฏิบัติดีปฏิบัติถูกเมื่อไรมันก็เป็นพระสงฆ์ขึ้นมา อยู่สำหรับทำให้คนเป็นพระสงฆ์ ไม่มีที่สิ้นสุดในอนาคต แล้วพระสงฆ์ชนิดนี้เข้ามาอยู่ในใจของคนได้, อยู่ในใจของคนได้ ถ้าพระสงฆ์เป็นคนคนด้วยกัน แล้วจะเข้าไปอยู่ในจิตใจของคนได้อย่างไร นี่ท่านสังเกตดูเอาเองว่า พระพุทธเจ้า ในภาษาธรรม ในภาษาคนเป็นอย่างไร พระธรรม ในภาษาธรรม ในภาษาคนเป็นอย่างไร พระสงฆ์ ในภาษาธรรม ในภาษาคนเป็นอย่างไร และที่เราจะมีพระรัตนตรัยอยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับจิตกับใจจะต้องเอาชนิดไหน, เอาชนิดไหน เอาชนิดคนหรือเอาชนิดธรรม
ทีนี้เมื่อเข้าใจในข้อนี้แล้วก็มองดูเอาเองว่า จะทำอย่างไรนะที่จะให้คนทุกคนมันรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งในภาษาคนและทั้งในภาษาธรรม มันยาก มันยากจนกระทั่งว่าตัวเอง ตัวเองมันก็ยังไม่ค่อยจะมีพระรัตนตรัยในภาษาธรรม เอาความยากของตัวเองนั่นแหละมาเป็นเครื่องคำนวณดู แล้วจะให้คนทั้งหมดทุกคนมีพระรัตนตรัยในภาษาธรรมนั้นมันจะยากสักเท่าไร ทีนี้ก็ดูต่อไปว่าจะทำกันอย่างไร จะทำได้อย่างไร ก็พอจะมองเห็นได้ด้วยตนเอง มันก็มีแต่ว่าคนนั้นน่ะ คนนั้นๆ น่ะพยายามทำให้มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในตน, ในตน, ในตน ขึ้นมาให้ได้ เป็นภาษาธรรม ให้ผู้อื่นเขาเห็นเป็นตัวอย่าง ก็พูดจากันด้วยเรื่องในภาษาธรรมนี่ให้มากขึ้นๆ ภาษาคนก็เป็นเรื่องของคน เป็นเรื่องของวัตถุ เป็นเรื่องของสิ่งที่เกิดดับ ภาษาธรรมก็เป็นเรื่องของธรรมะ ไม่ใช่วัตถุ แล้วก็ไม่เกิดไม่ดับ จะมีอยู่ได้ตลอดกาล ไปตอบเอาเองว่าทำอย่างไรจึงจะให้ทุกคนรู้ภาษาธรรม ไม่มีทางอื่นนอกจากต่างคนต่างจะพยายามรู้ของตน แล้วพูดจากันให้ลึกเข้าไป พูดจาสนทนากันให้ลึกเข้าไปถึงภาษาธรรมให้มากขึ้น อย่าง นิพพาน นี่เอาสิ่งสูงสุดเลย ในภาษาคนน่ะถือกันว่า เป็นนคร เป็นมหานคร เป็นบ้านเป็นเมือง เป็นที่อยู่แล้วไม่มีความทุกข์ แสนสนุก แล้วแต่จะพูด แต่ถ้านิพพานในภาษาธรรม มันคือความดับไปแห่งไฟในจิตใจของคน จิตใจเย็น จิตใจเย็นเมื่อไรก็มีนิพพานอยู่ในจิตใจของคนเมื่อนั้น มันไม่ใช่บ้านเมืองข้างนอก มันไม่ใช่สวรรค์ ไม่ใช่บ้านเมืองข้างนอก ถึงแม้ สวรรค์ ก็เถอะ ถ้าสวรรค์ในภาษาคนแล้วมันก็เป็นสวรรค์ตามที่พูดๆ กันอยู่นั่นแหละ เท็จจริงอย่างไรไม่มีใครวินิจฉัย แต่ถ้าสวรรค์ในภาษาธรรม สวรรค์ในภาษาธรรมก็คือความรู้สึก ในเมื่อเรารู้สึกแล้วก็ไหว้ ยกมือไหว้ตัวเองได้ ชื่นใจตัวเองเมื่อไร ก็เป็นสวรรค์ในภาษาธรรมขึ้นมา เลือกเอาเอง จะเอาสวรรค์ในภาษาคนหรือจะเอาสวรรค์ในภาษาธรรม เอาแหละเป็นอันว่าขอให้ทุกคนรู้ภาษาธรรมเพิ่มขึ้น ให้สมกับว่าปีใหม่, ปีใหม่, ปีใหม่ ก็รู้ภาษาธรรมเพิ่มขึ้น รู้ภาษาธรรมเพิ่มขึ้น ที่รู้อยู่น้อยก็ให้รู้มากขึ้น ที่ยังไม่รู้ก็ขอให้ได้รู้ ช่วยกันอย่างนี้แล้วภาษาธรรมก็จะค่อยแพร่หลายเอง เอาได้เพียงเท่านี้
พิธีกร : ครับ ท่านเจ้าของปัญหาที่ถามเมื่อสักครู่นี้คงแจ่มแจ้งนะครับ ว่าทำอย่างไรจึงจะให้ภาษาธรรมเป็นภาษากลางที่ให้คนทั้งหลายเข้าใจกัน ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเลย ที่ท่านอาจารย์ท่านเฉลยให้ฟังแล้ว ไม่ทราบใครเป็นเจ้าของปัญหา แล้วเมื่อครู่ปัญหาอีก ๒ ปัญหา เขาอ่านให้ผมฟัง แย่มาก ลืมแว่น คุณหมอช่วยอ่านหน่อย
พุทธทาสภิกขุ : ให้ผู้ถามเขามาถามเองเลย
พิธีกร : ให้ผู้ถามมาถามเองก็จะดีจริงๆ ด้วย เด็กชายปวีณ (นาทีที่ 9:42) มาเลยหนู คนเก่ง มาอ่านเอง หันหน้าไปทางท่านอาจารย์นะ
ผู้ถาม (ด.ช.ปวีณ) : ข้อ ๑ เพราะเหตุใดคนไทยจึงไม่ค่อยเข้าวัด และมีผลกระทบต่อศาสนาพุทธและชาติอย่างไร ข้อ ๒ เหตุผลใดจึงพูดว่าวัดเหมือนร่มไม้ชายคา และศาสนามีประโยชน์ทางใจเช่นใดบ้าง
พุทธทาสภิกขุ : เอ้า, ใครตอบ หาผู้ตอบ เราฟังคำถามไม่ถูก เลยตอบไม่ถูก
พิธีกร : ผมว่าขอเชิญท่านอาจารย์ทั้งหลายแหล่ เข้ามากันแยะ เราช่วยกันตอบสิครับ นะครับ ข้อที่ ๑ ว่าทำไมคนไทยไม่เข้าวัด แล้วมีผลกระทบต่อ อะไรก็ว่าไป ผมจำไม่ได้ดี แล้วข้อ ๒ คำกล่าวที่ว่า วัดเป็นร่มไม้ชายคา คือคงต้องการทราบความหมายมากน้อยแค่ไหน ๒ ข้อนี้นะครับ ผมขอเชิญท่านอาจารย์ทางมหาวิทยาลัยที่มาๆ นี้ ก็คงจะช่วยขึ้นมาชี้แจงตอบให้หนูน้อยนี่พอจะฟังได้บ้างไหมครับ ขอเชิญเลยครับ เป็นการคุยกันครับ อย่างน้อยก็ได้ประโยชน์กันแยะแหละครับ พอสมควรล่ะ เชิญเลยครับ ทำไมคนไทยไม่เข้าวัด แล้วไปเข้าที่ไหน ไม่ต้องกล่าวถึงก็ได้นะครับ แต่ว่าทำไมคนไทยไม่เข้าวัด ใช้คำว่าอย่างนั้น
พุทธทาสภิกขุ : เป็นข้อเท็จจริงหรือเปล่า ที่ว่าคนไทยไม่เข้าวัด เป็นข้อเท็จจริงหรือเปล่า
พิธีกร : นั่นน่ะช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ ช่วยวิจารณ์คำถามนี้กันด้วยนะครับ เป็นคำพูดแบบไหน แบบโคมลอย แบบมีหลักฐาน มีข้อมูลอย่างไรบ้าง ที่ว่าคนไทยไม่เข้าวัด เชิญเลยครับอาจารย์ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น (อาจารย์วีณา รัตนะ) : ขอกราบนมัสการพระอาจารย์นะคะ เพราะเหตุใดคนไทยจึงไม่ค่อยเข้าวัด เอาความรู้สึกของตัวเองตอบนะคะว่า เหตุผลนี้ เรานี่ตามก้นฝรั่งจนกระทั่งเราลืมตัวของเราเอง เราอย่าไปโทษอดีต เรามามองปัจจุบัน แต่มันเป็นผล การศึกษานี้มันจะเป็นผลเมื่อเด็กนี้โตขึ้น ข้าพเจ้าก็เป็นผลจากการศึกษาที่เราตามก้นฝรั่ง เพราะว่าแม้ข้าพเจ้าเองก็เริ่มที่จะศึกษาเมื่ออายุเกือบจะเลขสามไปแล้ว ข้าพเจ้าเองเป็นครู จึงต้องสอนเด็ก แต่ข้าพเจ้าก็คิดว่า ไม่รู้จะเข้ามาทำไม มาสวนโมกข์ก็แค่มาเที่ยว ยังไม่เห็นความจำเป็น การศึกษาของเราจุดนี้แหละค่ะที่ทำให้เด็กๆ ซึ่งเป็นผลของการศึกษา เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ช่วงอายุ ๒๐-๓๐ ปีนี้ ไม่รู้จักว่าธรรมะที่แท้จริงมันคืออะไร เขามีความคิดกันว่า ถ้าปฏิบัติธรรมะแล้วก็ต้องรอให้แก่เสียก่อนแล้วค่อยปฏิบัติธรรม เอาตัวดิฉันเองในการพิจารณา เพราะมันเกิดขึ้นกับดิฉัน เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าเริ่มที่จะศึกษาธรรมะ ก็มีเสียงล้อเลียนเกิดขึ้นทันทีว่า จะเป็นแม่ชีแล้วเหรอ คำกล่าวนี้มีอีกหลายคนที่โดนถามอย่างนี้ แล้วก็แพ้ไปในที่สุด แต่ข้าพเจ้านั้นคงมีบุญอยู่อย่างหนึ่งคือต้องสอนพุทธศาสนา ก็เลยมีความคิดว่าเมื่อเราเป็นครู เราต้องมีความรู้ แต่เมื่อเราไม่รู้ เราก็ต้องเรียนเองก็แล้วกัน ก็เลยเริ่มเรียน ก ไก่ใหม่เลย ซึ่งในบทเรียน ก ไก่ เรื่องพุทธศาสนานั้นไม่มีในโรงเรียน ต้องเรียนด้วยตัวเองมา พอเรียนมาก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า รู้สึกสงสารคนไทยอีกเยอะแยะมากมายที่ไม่ได้เข้าใจชีวิตของตัวเอง แล้วเราก็ไปวิ่งหาสิ่งภายนอกตัวเรา เพราะฉะนั้นขอตอบคำถามว่า จุดแรกเพราะเราออกจากวัดเสียแล้ว เราแยกตัวเองออกจากธรรมะ คิดว่าตัวเองเป็นมนุษย์ที่วิเศษจากธรรมะ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่พิเศษออกมาจากธรรมชาติ ทำให้มองธรรมชาตินั้นต่ำเกินไป เราจะทำอย่างไรต่อปัญหานี้ คิดว่าถ้าปฏิบัติเฉพาะตน คือจะสอนลูกศิษย์ให้เข้าใจ ว่าชีวิตกับธรรมชาติมันเป็นหนึ่งเดียว แยกกันไม่ได้ แต่ถ้าจุดอื่น คนอื่นนั้น เราต้องช่วยกันทั้งประเทศ แต่เราจะช่วยกันอย่างไรมันก็เป็นสิ่งภายนอก แต่ขอปณิธานในใจว่า จะเป็นครูคนหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจว่าชีวิตกับธรรมชาตินั้นเป็นของคู่กัน
ข้อที่ ๒ ขอตอบหนูนะจ๊ะว่า เหตุใดคนจึงพูดว่าวัดเหมือนร่มไม้ชายคา แล้วศาสนามีประโยชน์ทางใจเช่นใด เหตุใดคนจึงพูดว่าวัดเหมือนร่มไม้ชายคา ถ้าคำตอบนี้ คือข้าพเจ้านั้นยัง ถ้าพูดง่ายๆ ว่า กำลังเรียน ก ไก่ อยู่นะคะ มิได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นคำตอบที่ตอบนี้ก็เป็นความคิดเห็นของอนุบาลที่กำลังเข้าเรียนเรื่องชีวิตนะคะ เพราะฉะนั้นขอตอบหนูว่า คนเรานั้น คนนั้นก็บอกแล้วว่า มันมีกายกับจิต มันมีส่วนร่างกาย ส่วนร่างกายจะอยู่ได้มันต้องมีปัจจัย ๔ ต้องมีอาหาร มีเสื้อผ้า มีเครื่องนุ่งห่ม มียารักษาโรค ชีวิตทางกายจึงอยู่ได้ แต่ในขณะเดียวกันคนประกอบด้วยกายกับจิต จึงจะต้องมีส่วนสำคัญทางจิตด้วย จิตเป็นความรู้สึกนึกคิด จะใช้บ้าน จะใช้วัตถุ จะใช้ยา ใช้อาหาร ไม่ได้ ทางจิตจะต้องมีเหมือนกันที่จะอาศัยอยู่ได้ สิ่งนั้นคือธรรมะ จิตจะต้องกินอาหารเหมือนกันคือธรรมะ จึงจะอยู่ได้ เพราะเรื่องของจิตคือเรื่องความทุกข์และการดับในเหตุแห่งทุกข์ การที่เราจะพบรู้จักความทุกข์และการดับไม่เหลือแห่งทุกข์ได้นั้น เราต้องเข้าใจเรื่องธรรมะแล้วปฏิบัติธรรมด้วย นี่คือสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นจึงเปรียบได้ว่า วัดนั้นเหมือนกับร่มไม้ชายคา ก็คือเป็นที่พึ่งพาอาศัยของจิต เพื่อศึกษาที่จะไม่ให้เกิดความทุกข์ขึ้น นี่คือคำตอบ และศาสนามีประโยชน์ทางใจเช่นใดบ้าง หนูที่ถามนี้ ขอแทนตัวเองว่าครูก็แล้วกันนะคะว่า ครูเองก็ไม่คิดว่าศาสนานั้นมีความสำคัญ จนกระทั่ง ก็บอกแล้วว่าเกือบจะสายเกินไป แต่คิดว่ายังไม่สาย ถ้าเราเริ่มต้นในวันนี้ ทีแรกก็คิดว่ามันเหมาะสำหรับคนแก่เท่านั้นเอง แต่พอมาศึกษาแล้ว ครูก็ขอบอกว่าชีวิตของหนู ชีวิตของครูที่อยู่ในวัยทำงาน ที่กำลังพบปัญหาการงาน พบปัญหาสังคม เพื่อนฝูง แล้วชีวิตในวัยรุ่นนี่แหละ จำเป็นที่สุดที่จะต้องศึกษา เข้าใจธรรมะอย่างแท้จริง เพราะชีวิตของเรานั้นในวัยนี้เรากำลังพบปัญหารอบข้าง แล้วเราไม่เข้าใจชีวิตของเรา ทีนี้หนูคิดดูสิคะว่าถ้าเราไม่เข้าใจชีวิตของเราแล้ว เราจะใช้ชีวิตอย่างไร ครูขอเปรียบเทียบให้ฟังว่าถ้าหนูคิดเลข ครูให้บวกเลขนะคะ ๒+๔ เท่ากับเท่าไร ถ้าหนูไม่เข้าใจเลข ๒ คืออะไร เลข ๔ คืออะไร เครื่องหมายบวกมีความหมายว่าอย่างไร มีวิธีการทำอย่างไร หนูก็ทำเลขข้อนี้ไม่ได้ ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ครูขอตอบว่า ถ้าเราไม่เข้าใจชีวิตของเรา ขบวนการแห่งชีวิต แห่งการเกิดความทุกข์และการดับทุกข์เป็นเช่นไรแล้ว เราจะแก้ปัญหาชีวิตของเราได้อย่างไร เพราะฉะนั้นครูก็ตอบว่า ขอให้หนูนั้นเริ่มศึกษา ศึกษาเรื่องของศาสนาที่จะเป็นที่พึ่งทางใจของเรา แล้วรู้สึกขออนุโมทนาต่อหนูด้วยที่มีความคิดอย่างนี้ในวัยเด็ก ซึ่งไม่เหมือนครู ครูต้องเริ่มเองเมื่อชีวิตก็เดินมานานพอสมควรแล้ว
พิธีกร : ครับ ผมก็ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมาก แล้วผมคิดว่าคงจะแจ่มแจ้งแล้วนะครับ ๒ ปัญหานี้ที่อาจารย์ได้พยายามชี้แจงมาตลอดเวลา แล้วเป็นการชี้แจงเหตุผลที่ดี ที่ถูกต้องไปในทางประสานความสามัคคีกันอย่างดี มิใช่อาศัยเหตุผลเพื่อที่เราจะเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะข้อที่ ๑ นี่มีคนชอบถามกันบ่อยว่า ทำไมคนไม่เข้าวัด ไม่ต้องใช้คำว่า คนไทยหรือคนอะไร ทำไมคนถึงไม่เข้าวัด แล้วก็มักจะไปลงเอยที่ว่า วัดไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ พระไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ มีแต่ประเภทที่อาศัยเหตุผลแก้ตัวเพื่อตัวเองไม่อยากเข้าวัดก็แยะ แล้วก็ไปโจมตีฝ่ายอื่น ซึ่งมันทุกฝ่ายมันมีแต่ส่วนดีกับส่วนไม่ดีด้วยกันร่วมกันทั้งนั้น แล้วก็ไปอาศัยว่าวัดไม่ดีอย่างนั้น พระไม่ดีอย่างนี้ เราจะได้ไม่ต้องเข้าวัดไง จะได้อยู่ข้างนอกวัด เที่ยวสนุกสนานเสเพลต่อไป กูไม่อยากจะเข้าวัด กินเหล้าดีกว่าโว้ยเพราะว่าพระไม่ได้เรื่อง แล้วอย่างนี้คิดดูก็แล้วกันว่าเป็นเหตุผลที่ถูกต้องไหม แล้วคนก็ชอบพูดกันอย่างนั้นบ่อยเหมือนกัน เหตุผลอย่างนี้ก็ว่ากันมาบ่อย เป็นเหตุผลเพื่อให้ตนเอง ให้กิเลสมันครอบงำต่อไป ฉะนั้นผมได้ฟังเหตุผลของอาจารย์ที่ได้ตอบมานี้ ก็เป็นที่แจ่มแจ้งอย่างดี แล้วเป็นเหตุผลที่ถูกต้องจริงๆ เช่นนี้ด้วย เหตุผลที่แท้จริงเพราะเรามันไม่รู้เรื่องต่างหากล่ะครับ เพราะเราเองมันไม่สนใจ ไม่เห็นความสำคัญของธรรมะ จึงไม่เข้าวัด มันเนื่องจากตัวเราเองทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการตอบของอาจารย์ที่ตอบมานี้ เป็นคำตอบที่ความคิดเห็นของผมนะครับว่า เป็นคำตอบที่เหมาะสมและถูกต้องที่สุดทั้งข้อ ๑ และที่ข้อ ๒ ขอเชิญคุณธีรวัฒน์ครับ ต่อไปเลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น : เพื่อเป็นเกียรติของสถานศึกษาของท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์รับผิดชอบสอนอยู่ กระผมขออนุญาตประกาศให้ทั้งหลายได้รับทราบชื่อของอาจารย์ด้วย คืออาจารย์วีณา รัตนะ แห่งโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย กระผมขึ้นแทรกแค่นี้ครับ ต่อไปคุณหมอประยูรว่าต่อ
พิธีกร : ครับ ขอบคุณครับ พอเอ่ยโรงเรียนหาดใหญ่ ก็เป็นโรงเรียนที่เคยได้รับรางวัลมาแล้วใช่ไหมครับ เป็นโรงเรียนที่เคยได้รับรางวัลทางศีลธรรมมาแล้ว นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราได้เห็นแล้วว่า ธรรมะถ้าแทรกลงไป ได้สอดส่องเข้าไปที่ไหนแล้วเป็นแสงสว่างที่ถูกต้อง ก็จะเป็นการสนับสนุนข้อที่เมื่อครู่ที่ถามเรื่องภาษาธรรมอีกนั่นแหละครับ ภาษาธรรมนี้มันจะแทรกไปเองแหละครับ ช่วยกันศึกษาเถอะครับ เพียงแต่ตั้งใจและสนใจ แล้วจะมองออกและก็จะแจ่มแจ้งไปเรื่อยนะครับ ปีหนึ่งได้กี่คำๆ ก็ตามนะครับ อย่างเมื่อครู่พระเดชพระคุณท่านอาจารย์ก็ตั้งต้นไว้ให้แล้วนะครับ ๓-๔ คำแล้ว พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และพระนิพพาน ทั้ง ๒ ภาษา ภาษาธรรมและภาษาคน นี่มันคล้ายๆ อย่างนี้นะครับ ว่ามันจะค่อยแจ่มแจ้งเข้าไป แล้วเอาภาษาธรรมมาพูด มาตอบ มาอธิบายกัน มันจะได้เป็นภาษาเดียวกันได้ แล้วมันไม่ค่อยทะเลาะกันหรอกครับ มันเพียงแต่ว่าเอาเหตุผลมาพูดกันแบบภาษาธรรม แต่ไม่มีทางจะทะเลาะกันได้ ถ้าใช้ภาษาเหมือนกันที่เรียกว่าภาษาธรรม แต่ถ้าภาษาคนมาปนกับภาษาธรรมแล้วเถียงกันอยู่บ่อย เพราะมันคนละ คนละเครื่องวัด มันคนละอย่างกัน ครับนี่ก็เป็นการเริ่มรายการแล้วนะครับ เริ่มรายการอภิปราย เริ่มรายการตอบปัญหากันไปเรื่อยๆ ทีนี้ก็ใครมีอะไรบ้าง ก็เชิญนะครับ คือผมเปิดโอกาสเรื่อยไป เพราะว่าผมเองก็บางทีมันก็เผลอ ผมบอกตรงๆ ผมเรียนให้ท่านผู้ฟังทั้งหลายทราบ บางทีมันก็เพ้อเจ้อ เผลอไปเหมือนกัน ถ้าไม่มีใครขึ้นมาพูดอะไร บางทีผมเองก็พูดไปพูดมา บางครั้งมันก็เลยเถิดไป จะไม่ได้อะไร ฉะนั้นขอเชิญท่านทั้งหลายครับ ถ้ามีอะไร ส่งไปถาม หรือขึ้นมาถาม หรือขึ้นมาพูด ไม่ถาม ขึ้นมาพูดเลยก็ได้ เพราะผมได้ตั้งประเด็นหรือตั้งแนวไว้ตั้งแต่ตอนแรกแล้ว ถึงเรื่องปีใหม่และชีวิตใหม่ที่พระเดชพระคุณท่านอาจารย์ได้บรรยายเมื่อตอนกลางวัน แล้วอยากจะให้เราได้มาคุยมาสนทนาต่อกันให้เป็นที่แจ่มแจ้ง เพราะว่ามันเรื่องที่พระเดชพระคุณท่านอาจารย์ได้เทศน์ชั่วโมงกว่าชั่วโมงครึ่งนั่นแหละ แต่มันเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่การปฏิบัติโดยใช้ชีวิตเป็นเดิมพันกันแหละครับจึงจะฆ่าเวลากันได้ เพราะการฆ่าเวลากันได้ คือการฆ่ากิเลสให้ได้นั่นเอง เพราะเวลาในที่นี้ เห็นหรือยังครับ ก็อาจจะเป็นภาษาธรรมและภาษาคนอีกก็ได้ คำว่า เวลา น่ะ ถ้าเวลาโดยภาษาคนแล้วก็มักจะเอานาฬิกา เอาเครื่องวัดเป็นเวลา นั่นแหละภาษาคน ภาษาคนจะเอาเข็มนาฬิกาเป็นเครื่องวัด ว่าเวลา ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง คือมันสัมผัสได้ด้วยตา สัมผัสได้ด้วยหูที่ได้ยินเสียงนาฬิกามันตี ก็บอกเวลาแบบภาษาคน ว่าเวลา ๑ ชั่วโมงแล้วนะ เดี๋ยวตั้งนาฬิกาปลุก ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมง พอเสียงกริ๊งขึ้นมา เอ้า ๓ ชั่วโมงแล้วนะ นาฬิกามันปลุก มันสัมผัสได้ด้วยประสาทหู นาฬิกามันปลุกขึ้นมา นั่นเป็นเวลาภาษาคน ใช้เครื่องวัดเวลา ว่าเป็นเวลาเสีย เพราะมันสัมผัสได้อย่างนั้น
แต่เวลาภาษาธรรมนี่แหละครับ อย่างที่พระเดชพระคุณท่านได้บรรยายไว้เมื่อตอนบ่าย เราลองย้อนกลับไปอีกทีสิครับว่านี่เป็นภาษาธรรมได้ เป็นภาษาธรรม เวลาที่เป็นภาษาธรรมนั้นมันเป็นเวลาที่รู้ได้ สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกข้างในของเรา ว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่เราต้องการหรือเราอยากขึ้นมาสิ่งหนึ่งสิ่งใด จุดที่เราอยากขึ้นมาเป็นจุดแรก แล้วก็จนไปถึงจุดที่เราได้สิ่งนั้นมานั่นแหละ เวลาช่วงนั้นแหละเป็นช่วงเวลา เห็นไหมครับต้องสัมผัสจากจิตข้างใน อย่างนั้นจึงเรียกว่าเป็นเวลา นานหรือไม่นานของแต่ละคนก็แล้วแต่ความอยากมากอยากน้อย ลองสุดท้ายก็ เวลาในที่นี้หมายถึงช่วงระยะความตั้งต้นอยากด้วยกิเลสตัณหา ไม่ใช่ว่าความต้องการโดยวิชชา มันไม่ใช่นะครับ ความต้องอยากด้วยกิเลสตัณหา ตั้งต้นอยากด้วยกิเลสตัณหา ไปถึงจบ ได้รับตอบเอาเหยื่อ ที่เขาได้เหยื่อมาตอบสนองนั่นแหละ ตรงนั้นนะครับ ระยะแค่นี้และช่วงเวลาในระยะเวลานั้น นี่คงจะเป็นภาษาธรรม เป็นภาษาธรรมของคำว่า เวลา อย่างนี้ก็ได้ ทีนี้เราจะกินเวลา กำจัดเวลา ฆ่าเวลาเสียให้ได้อย่างไร อย่าเป็นทาสของเวลา อย่างเมื่อครู่ อย่างเมื่อครู่เราพูดง่ายๆ ว่า เอาอย่างเมื่อครู่ที่เราได้นั่งฟังคำปราศรัยของบุคคลสำคัญ คนที่ ๑ ก็แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ตั้งใจฟังหน่อย พอคนที่ ๒ ขึ้นมา นายกรัฐมนตรี ก็นานขึ้นมานิดหนึ่ง ก็ฟังได้หน่อย ก็ฟัง ตั้งใจฟังพอสมควร พอสมควร พอคนที่ ๓ เอานะคนที่ ๓ ใคร คนที่ ๓ ก็ท่านประธาน ประธานสภา ก็ทำท่าขยุกขยิก ใช่ไหม ขยุกขยิกแล้ว เอ๊ะ, เมื่อไรจะจบเสียทีนะ เมื่อไรจะจบเสียทีนะ พูดอยู่ได้ นี่เราพูดกันตรงๆ นะ นี่ระบายออกมาตรงๆ อย่างนั้น เมื่อไรจะจบเสียทีนะ พูดอยู่ได้ พอคนที่ ๓ ไม่ทันจบดีที เวลามันชักจะมีเรื่องเข้าแล้ว เวลามันชักจะ มันทำพิษแล้ว เราเริ่มจะเป็นทาสของเวลาแล้ว คุณธีรวัฒน์ไปหาผมแล้ว ไปหาผมแล้ว เอ๊ะ, มันไม่ไหวแล้วนี่ ผู้ฟัง ท่านนักศึกษาทั้งหลายเบื่อแล้ว ไม่อยากฟังแล้ว ไม่อยากฟัง เมื่อไรจะจบเสียทีก็ไม่รู้ ไม่อยากฟังแล้วไอ้คำปราศรัย ยกตัวอย่างอย่างนี้ รู้สึกว่าเวลามันจะทำพิษเอาแล้ว หมายความว่าเราเกิดความต้องการอะไรขึ้นมาอย่างหนึ่งแล้ว มันเกิดเหงื่อ
(28:32) ขึ้นแล้ว คือนั่งๆ แล้วมันเกิดไม่พอใจ แล้วเกิดรำคาญแล้ว เกิดว่าเมื่อไรจะจบเสียที อะไรแบบนี้ นี่ครับมองง่ายๆ ว่า นี่คือช่วงระยะนั้นแหละครับ นั่นแหละเวลามันทำพิษเอาแล้ว เพราะเรามันไปเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย รำคาญ ไม่จบ เราอยากอย่างโน้น เราอยาก ไม่ใช่อยากอย่างนี้ เราอยากเรื่องอื่น เราต้องการอย่างอื่น อยากให้สิ่งนี้มันหมดไป แล้วมันยังไม่หมดสักที ถ้าเรายิ่งอยากมาก เราจะยิ่งบ่นมาก แหมนานจัง นานจัง มันจะยิ่งนานขึ้นเรื่อย เห็นไหมครับ ทั้งที่ว่าเวลามันก็ไป มันก็ตามเรื่องตามราวของมันนั่นแหละครับ แต่ถ้าเรายิ่งเกลียดมาก ว่าเมื่อไรมันจะ ไอ้นี่กูไม่อยากฟังเลย คำพูดนี้ไม่อยากฟังเลย แหมเมื่อไรยิ่งจะจบสักที เห็นไหม เขาพูดแค่ ๒ นาทีด้วยซ้ำ แหมมันนานจังเลย ตั้ง ๑๐ นาที เหมือนกับตั้งชั่วโมง นี่เวลาในทางธรรมมันรุนแรงอย่างนั้น เราต้องเป็นทาสมันถึงขนาดอย่างนั้น ยิ่งไม่พอใจอะไรมาก ยิ่งอยากมาก ยิ่งต้องการมาก มันยิ่งรุนแรงมากครับ นี่เรื่องของเวลา หรือเรานั่งรถไปไหนก็ได้ ให้สังเกตเวลาเรานั่งรถ คนนั่งรถไฟโดยสารไปไหนก็ตาม พอเขาบอกว่ารถต้องหยุดจอดสถานีนี้ ๓ ชั่วโมง ไปไม่ได้ รถมันตกรางขวางหน้าอย่างนี้ ทีนี้สังเกตสิครับ เวลามันทำพิษขึ้นมาทันที ถ้าเรานั่งไปเฉยๆ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่องรู้ราวนี่ ถามว่าเวลามันไม่มีอะไร ตอนนั้นเวลามันไม่เกิด เรานั่งอ่านหนังสือ ทำอะไรไปด้วยสติปัญญา ว่าไปเรื่อยๆ ความอยากที่เนื่องด้วยกิเลสตัณหาไม่เกิด มันมีแต่ปัญญา เราอ่านหนังสือไป ทำอะไรไป นั่งดูวิวหรือว่าอะไรไป พิจารณาอะไรไป คิดอะไรไปก็ได้ ไม่ใช่ว่าเรา ไม่ใช่ว่าไม่อยากด้วยกิเลสตัณหา แล้วไม่ทำอะไรตะพึดตะพือ นั่นขอนไม้ ไม่ใช่อย่างนั้น เราจะนั่งอ่านหนังสือ นั่งคิดอะไร ทำอะไรไปให้มันเป็นเรื่องเป็นราวไปได้เรื่อย อย่างนั้นเรียกว่าเวลามันยังไม่เกิด เวลาไม่เกิดหรอกครับตอนนั้น เพราะเรายังไม่ได้มีความอยาก เราทำอะไรไปเรื่อยตอนนั้น เรากินเวลาอยู่ เราฆ่าเวลาแล้ว เวลาไม่ได้มีอำนาจเหนือเราตอนนั้น แต่ถ้าเมื่อไรเราได้ยินได้ทราบว่ารถไปไม่ได้แล้วนี่ ต่อไปนี้รถวิ่งไม่ได้แล้ว รถขวางอยู่ข้างหน้า ๑ คัน เราต้องรอที่นี่ ยิ่งรู้ว่า ๓ ชั่วโมงยังค่อยยังชั่วหน่อยนะว่าคอย ๓ ชั่วโมง ยิ่งบอกว่ารถจอดอยู่ที่นี่ ไม่รู้เมื่อไรจะไปได้ เอาเข้าแล้วสิครับ ทีนี้เวลามันทำพิษแล้วครับ เพราะเราอยาก เกิดความอยากบังเกิดแล้ว อยากจะไปให้ได้ อยากจะไปพบจุดหมายปลายทางตรงโน้นตรงนี้ เวลาเท่านั้น เราเกิดความอยากขึ้นมาแล้ว ทั้งที่ไปไม่ได้ เราเกิดความอยากขึ้น นั่งคอยที่สถานีนั้นน่ะ โอย, นานเป็นบ้า ๑ ชั่วโมงก็มอง ไม่รู้ว่านานเป็นเท่าไร มันยิ่งเป็นอย่างนี้ กระสับกระส่ายไปตามเรื่อง นี่เรียกเวลามันทำงานเอาแล้ว มันฆ่าเอาแล้ว มันฆ่าเราแล้ว ไม่ใช่เราฆ่ามันแล้ว ครับให้มองเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นตราบใดที่เรายังเป็นทาสของเวลาอยู่เรื่อย มันก็เป็นปีเก่าอยู่เรื่อยแหละครับ มันไม่ได้เป็นปีใหม่หรอกครับ ชีวิตมันก็ไม่ได้ใหม่หรอกครับ ไอ้ปีมันก็เรื่องของมันแล้ว ทีนี้ชีวิตมันจะใหม่ได้อย่างไรละครับ เพราะมันอยู่แต่ของเก่าอย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา กลุ้มอกกลุ้มใจอยู่กับเวลาอย่างนั้นอยู่เรื่อย กลุ้มอกกลุ้มใจอยู่กับความอยากได้ อยากได้ อยากได้ อยากได้ด้วยกิเลสตัณหาตลอดเวลา อย่างนี้มันก็ไม่ได้มีชีวิตใหม่ขึ้นมาเลยนะครับ
ทีนี้ถ้าชีวิตจะใหม่ขึ้นมา ก็ต้องนั่นแหละครับ ที่ผมว่า ช่วยกันสิครับ ช่วยกันมาพูดมาคุยสิครับ ทำอย่างไรเราจะได้ฆ่าเวลากันให้มันหมดเสียได้บ้าง เรานี่ เมื่อครู่อาจารย์จากโรงเรียนหาดใหญ่ก็ได้พูดแล้ว มาสนใจภาษาธรรม สนใจทางธรรมเรื่อย เราอย่าแยกตัวเองจากทางธรรมสิครับ เอาธรรมให้มาเป็นตัวเราเสีย นี่อีกหน่อยลามหมดไปเองอะไรแบบนี้ นี่อาจารย์ก็ได้ขึ้นมาพูดมาคุยให้พวกเราฟังกันได้แยะแล้ว เราก็พอได้เป็นกำลังใจ เราได้คุยกัน เพราะฉะนั้นใครลองช่วยมาขึ้นมาคุยต่อสิครับ ทำอย่างไรละครับให้เรามันได้มีจิตที่หนักแน่นหน่อย คือให้มันมีจิตที่หนักแน่น ให้มันหนักแน่น หนักแน่นไปด้วยสติปัญญา อย่าให้หนักแน่นไปด้วยกิเลส ให้มันสติปัญญา มันจะได้ฆ่าเวลาให้มันหมดไปอย่างนี้ อะไรทำนองนี้ ครับขอเชิญครับ ผมนี่ไม่มีใครขึ้น ผมพูดเรื่อย ผมมันเผลออย่างนี้ เชิญเลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น : นมัสการท่านอาจารย์ที่เคารพ กระผมในฐานะทาสตามธรรมชาติ ก็อยากจะออกมาแสดงความคิดเห็นบ้าง ซึ่งพิธีกรเมื่อครู่ก็ทำให้ผมรอเวลามาตั้งนาน ยกมือตั้งหลายครั้งแล้ว ผมก็เลยตกเป็นทาสของเวลาอยู่เป็นเวลานานแสนนาน ผมมีความปรารถนาใคร่ที่จะตอบปัญหาของเด็กนั่น ในความคิดหรือทรรศนะของผมบ้าง ซึ่งผมจะไม่ยืนยันว่าถูก เพราะว่าปัญญาผมยังน้อยอยู่ ตั้งแต่เริ่มเข้ามาที่สวนโมกข์ก็รู้สึกว่าตัวเองโง่มากขึ้นทุกที จากปัญหาข้อ ๑ ที่ว่า เพราะเหตุใดคนไทยจึงไม่ค่อยเข้าวัด ในทรรศนะของผมแล้ว ผมมีความรู้สึกว่าพระส่วนใหญ่ซึ่งไม่ใช่ที่นี่ ได้สอนผิดๆ เช่น ให้หวย ดูดวง ตรวจโชคชะตาราศี
พุทธทาสภิกขุ : จะไม่จริงเสียแล้ว นั้นน่ะควรจะไปวัด ถ้าทำอย่างนั้นแหละควรจะไปวัด คือคนไปวัดแน่น แน่น แน่น นั่นน่ะ ไปดูดวง ไปรดน้ำมนต์ ไปโชคชะตาราศี
ผู้แสดงความคิดเห็น : ซึ่งการเข้าวัดในลักษณะนั้น มันก็ไม่ใช่ที่พึ่งเลยเพราะว่าขัดกับหลักศาสนา ซึ่งจะต้องทำเหตุปัจจัยให้มันเหมาะสมสอดคล้อง .....
พุทธทาสภิกขุ : ไปดูวัดที่รดน้ำมนต์ ที่บอกดวงน่ะ มีคนแน่น ไอ้วัดที่สอนธรรมะ ไม่ค่อยมีคน
ผู้แสดงความคิดเห็น (ต่อ) : นั่นแหละครับ เท่ากับว่าพระนี่สนับสนุนให้ชาวบ้านเล่นการพนันมากขึ้น แล้วก็หวังแต่ดวงชะตาราศี ไม่ยอมทำมาหากิน เกียจคร้านการงาน ซึ่งขัดกับหลักศาสนาที่ดีของพุทธศาสนา ที่ว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อศาสนาพุทธนั้นในทัศนะความเห็นของผม ผมว่าศาสนาพุทธดีอยู่แล้วในตัวของมันเอง อยู่ที่คนต่างหากที่ไปถือเอาไม่ถูก ไปเอาใบ แทนที่จะไปเอาแก่นของต้นไม้ ที่ว่ามีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศชาติหรือไม่นั้น ในทัศนะของผม ผมมีความเห็นว่า กระทบกระเทือนอย่างยิ่ง เพราะเราไปติดในการให้หวย ดูดวง แล้วก็ไม่ขยันทำการงาน เกียจคร้านการงาน เสพของมึนเมา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน แล้วก็คบคนชั่ว คือไม่เข้าหาพระที่ดีๆ แนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และก็ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ชีวิตก็จะมีแต่ตกต่ำลง ชาตินี้ประกอบด้วยจากบุคคลคนๆ เดียว แล้วก็เป็นครอบครัว เป็นสังคม หากทุกคนทำตัวเองให้ไม่ดีแล้วก็มีผลกระทบกระเทือนต่อชาติโดยปริยาย
ในปัญหาข้อที่ ๒ เหตุใดคนจึงพูดว่าวัดเหมือนร่มไม้ชายคา ในทัศนะของผม ผมมีความเห็นว่า วัดเป็นสถานที่ที่รับคนทุกระดับ ตั้งแต่ยากจนจนถึงเศรษฐี และไม่ว่าจะเป็นคนรวย คนอันธพาล คนเลวมาจากไหน วัดก็รับ
ในปัญหาที่ว่า ศาสนามีประโยชน์ทางใจเช่นใดบ้างนั้น ในทัศนะของผมซึ่งได้กับตัวเอง แต่ก่อนนี้ผมเสพของมึนเมา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่นมาตลอด แล้วมีความรู้สึกว่าเวลาใดที่เราไม่ได้ออกไปเสพอะไรต่างๆ ในทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ได้ออกไปเที่ยวกลางคืน จิตใจมันเร่าร้อน มันร้อน เผาลนกระวนกระวาย มันไม่ได้มีความสุขเลย หลังจากที่ผมเริ่มศึกษาธรรมะ และได้แนวทางที่ถูกจากหนังสือของท่านอาจารย์ ก็ทำให้ผมเริ่มชนะใจตัวเองได้ ฉะนั้นธรรมะจึงมีผลจำเป็น ทำให้ชีวิตจิตใจเรานี่มีความรู้สึกสงบเย็น และก็ไม่ต้องการแสวงหาความสนุกทางเนื้อหนังอีกต่อไป นมัสการครับ
พุทธทาสภิกขุ : ขอนิมนต์หรือขอเชิญแต่ละองค์ แต่ละคน มาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปีใหม่ คติ ความคิด หรือประโยชน์เกี่ยวกับปีใหม่ ทีละคน, ทีละคน เป็นคนๆ ไป พระก็ได้ ฆราวาสก็ได้ โดยเชื่อว่าความเห็นของท่านจะต้องมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย เพราะว่าต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างเห็น
พิธีกร : ตอนนี้ผมขอสลับบ้าง ขอนิมนต์พระคุณเจ้า คือสลับๆ บ้างนะครับ เป็นการรับฟังความคิดเห็น
ผู้แสดงความคิดเห็น (พระสุรพล เขมวํโส) : ขอนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อ และเพื่อนสหธรรมิกที่มาจากต่างจังหวัดแทบจะทั่วราชอาณาจักร และก็ขอเจริญพรแด่คณะคุณโยม แล้วก็หนูๆ เด็กนักเรียนทั้งหลาย อาตมาเองอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ชื่อพระภิกษุสุรพล เขมวํโส อยู่วัดหนองสะเดา ตำบลบ้านนา อำเภอสามง่าม ที่ขึ้นมาพูดนี้ก็รู้สึกว่าตื่นเต้น คือเป็นการสัมผัสครั้งแรกที่สวนโมกข์ ด้วยการเลื่อมใสในพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่สวนโมกข์ ก็มีโอกาสมาสัมผัส แล้วก็รู้สึกประทับใจคุณหนูที่ถามปัญหา ประทับใจมาก มีความรู้สึกมากว่าทำไมคนไม่เข้าวัด ทำนองนี้ และมีความรู้สึกที่ว่า หนูตัวเล็กๆ ตัวนิดเดียวเท่านั้น แต่มีความคิดที่ก้าวไกล มีความคิดที่ดีมาก ไม่ค่อยมีใครถาม คุณโยมผู้ใหญ่ที่ไม่ค่อยขึ้นมา ไม่รู้อย่างไรไม่ทราบ แต่เด็กขึ้นมาแบบองอาจ ขึ้นมาพูดคล่อง ตอบปัญหาได้คล่องจริงๆ เลย อาตมาประทับใจเหลือเกินกับเด็กคนนี้ เป็นภาพพจน์ที่หาดูได้ยาก เป็นตัวอย่างของเด็กทั้งหลาย ทีนี้พูดในด้านของเด็กก็ยังประทับใจคือเด็กหญิงวัลลี (นาทีที่ 41: 18) ที่ท่านอาจารย์พยอมเอาสไลด์ไปฉาย นั่นประทับใจจริงๆ เป็นเด็กหญิงยอดกตัญญู เพราะฉะนั้นถ้าเด็กไทยของเรา มีความคิดแบบเด็กหญิงวัลลี ทั้งผู้หญิงผู้ชายนะ เรียกว่าต่อไปถ้าเด็กรุ่นนี้ รุ่นเด็กหญิงวัลลีโตขึ้นมาบริหารประเทศชาตินี่ คุกตารางไม่ต้อง คือพูดง่ายๆ ไม่ต้องเลยนะ ตำรวจไม่ต้องใช้ปืนก็ได้ ถ้าแบบเด็กหญิงวัลลี คนจะอยู่แบบสันติสุข
ทีนี้ก็ในโอกาสปีใหม่ที่จะขึ้นนี่ ถ้าพูดกันโดยทางโลกุตตระ ฝ่ายโลกๆ เรา ก็หมายถึงว่าเราต้องส่งของขวัญให้กัน ส่งจิตให้กัน ส่งใจ ส่งความคิดถึงให้กัน อะไรต่างๆ ที่ทำกันทุกระดับชั้น ทำกัน ตื่นเต้นกัน อย่างดีก็อาจจะเลี้ยงเหล้ากันมาก เมากันมาก ฟังข่าวเราก็รู้อยู่ ทีนี้เขาไม่เข้าใจว่าปีใหม่นะ ปีใหม่นั้นถ้าเราเปลี่ยนจิตใจใหม่ เปลี่ยนจิตใจเสียใหม่ คนเก่าให้ตายไปเลยนะ, คนเก่าให้ตายไปเลยนะ ให้ตายไปจริงๆ เลย แล้วมีจิตใจที่ริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ สร้างคุณงามความดีใหม่ เริ่มต้นแต่งเนื้อแต่งตัวใหม่ เอาของเก่าทิ้ง หิ้วกระเป๋าเดินทางใหม่ เดินทางสู่แดนที่ถูกต้องที่พระพุทธองค์ตรัสมรรคองค์ ๘ นั้นคือหลักชัยแห่งชีวิต อาตมาก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ คิดว่าลองพิจารณาดูว่าถ้าเราเดินทางแห่งชีวิต พบวันใหม่แล้ว อาตมาคิดว่า ถ้าคนเราประพฤติดีแล้ว ตั้งใจเริ่มต้นชีวิตใหม่แล้ว คิดว่าแสงตะวันและแสงอรุณนั้นยังต้อนรับเราอยู่เสมอ ที่เราคิดว่า เรานี่ลงทุนมามากแล้ว ไม่ดีมามากแล้ว ลงทุนดื่มเหล้ามามากแล้ว ติดบุหรี่มามากแล้ว ติดดัมมี่เล่นไพ่มามากแล้ว เราสลัดทิ้งเลยเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้นเราทิ้งเลย เราก้าวข้ามเลย ก้าวข้ามไปเลย แล้วเรามีชีวิตที่จิตใจบริสุทธิ์ แสงตะวันและแสงเดือนยังต้อนรับชีวิตเราอยู่เสมอ อาตมาให้ความคิดเห็นไว้แค่นี้นะ
พุทธทาสภิกขุ : เอ้า, ขอเชิญท่านผู้อื่นแสดงความคิดส่วนตัว ความคิดอิสระส่วนตัว ความคิดเห็นอิสระส่วนตัว เกี่ยวกับปีใหม่ ในแง่ใดก็ได้ ขอเชิญทีละคน, ทีละคน ทีละองค์ ทีละคน ทีละองค์ ทีละคน
พิธีกร : คือตอนนี้พระคุณเจ้า ผมก็ไม่ได้ระบุเจาะจงไว้ คือขอนิมนต์เลยนะครับ ขอนิมนต์พระคุณเจ้าองค์ไหน พอที่จะให้ประโยชน์แก่พวกเราได้ ก็ขอนิมนต์ครับ
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าพูดอย่างนั้นเป็นการดูหมิ่น เป็นความคิดที่คิดเห็นส่วนตัว คือพอใจเป็นส่วนตัว แล้วมาขยายให้ผู้อื่นฟัง มันต้องมีประโยชน์แหละ
พิธีกร : ก็ขอนิมนต์ครับ คือเปิดกว้างนะครับ ขอนิมนต์อาจารย์ทุกท่านแหละครับ คือเปิดกว้างนะครับ คือที่ท่านขึ้นมาพูดนี่มันมีประโยชน์แน่ครับ ฉะนั้นขอเชิญเลยครับ
พุทธทาสภิกขุ : ขอเชิญครูบาอาจารย์ หรือที่ไม่ใช่ เป็นมนุษย์ มีความคิด ความเห็น ความรู้สึกตลอดเวลา ๑ ปีที่เก็บไว้น่ะ เอามาบรรยาย
พิธีกร : เชิญขึ้นมาเลยครับ อย่ายกมือนะครับ กลางคืนบางทีมันมองไม่ชัด เดินขึ้นมาเลยครับ อย่ายกมือ เดินขึ้นมาเลย อย่างนั้นแหละครับ ถ้ายกมือแล้วมองไม่เห็น
ผู้แสดงความคิดเห็น : กราบนมัสการพระอาจารย์ที่เคารพค่ะ ความรู้สึกของดิฉันที่จะพูดวันนี้นะคะ พูดไปแล้วเหมือนกับจะอวดอ้างตัวเอง ตามจริงแล้วไม่มีความอวดอ้างใดๆ ทั้งสิ้นนะคะ แต่มีความรู้สึกว่าเป็นความคับอกคับใจเกี่ยวกับเรื่องธรรมะที่พบเห็นมาในชีวิต เรื่องมีอยู่ว่า ดิฉันเองเป็นชาวบ้านเกิดในชนบท แล้วสมัยเด็กๆ แม่เฒ่าก็ไปวัดบ่อยๆ ดิฉันก็ติดตามแม่เฒ่าไปวัดอยู่เป็นประจำ เมื่อโตแล้วก็มีชีวิต รักที่จะเป็นครู ในที่สุดก็ได้เป็นครูสอนนักเรียน แล้วก็ได้มาเป็นครูสอนศีลธรรม รู้สึกว่าพอใจในชีวิตของความเป็นครู ในที่สุดปัจจุบันนี้กระทรวงฯ เขาได้บรรจุให้มีการสอนพุทธศาสนาขึ้นในโรงเรียน ปกติรับราชการมา ๒๗ ปีแล้ว ก็สอนศีลธรรมมาเป็นประจำ แต่ปีนี้ก็เป็นประสบการณ์ใหม่ที่กระทรวงฯ เขาบรรจุให้นักเรียนมัธยมปลายเขาเรียน ปีนี้ได้รับการสอน ม.๕ และ ม.๖ รู้สึกเศร้าใจที่ว่าเด็กสมัยนี้ พอให้มาเรียนศาสนานี่ เขา เขาเป็นเรื่องเหมือนกับว่าเป็นเรื่องตลกอะไรแบบนี้ ดิฉันก็เศร้าใจมาก ก็ต่อสู้เรื่องนี้มานานแล้วที่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กๆ ของเราเข้าถึงพุทธศาสนา ก็ทำมาหลายวิธี จนในที่สุดก็ต้องขอประทานโทษที่ต้องเอ่ยแบบนี้ ต้องฟันฝ่าอุปสรรคมาหลายๆ อย่าง เพราะว่าระดับผู้นำก็ไม่เห็นด้วย ที่จะเอาเรื่องนี้มาให้เด็กสนใจทางด้านธรรมะ ก็เป็นอันว่าทำงานเป็นการทวนกระแส ทั้งๆ ที่ว่าดิฉันเองก็ชอบเรื่องนี้ แต่ว่าเราเอาสิ่งที่เราชอบไปให้เด็ก ผู้ใหญ่บางท่านไม่สนับสนุน แต่ก็แก้ปัญหามาได้ ทีนี้อย่างปีนี้ที่พูดก็ไม่ใช่อวดอ้างอะไรนะคะ ดิฉันก็ว่าเราจะทำอย่างไรดีที่จะให้คนทั่วไปเข้ามาสนใจกับเรื่องนี้ ก็มีการลงทุนกันนิดหน่อยค่ะ ก็ปีใหม่นี้ดิฉันก็ซื้อหนังสือของพระอาจารย์ แจกเป็น ส.ค.ส. ปรากฏว่าสั่งมา ๕๐ เล่ม แจกเพื่อนฝูง คณะหลายท่านที่ได้รับแจกก็พอใจมาก ทีนี้เมื่อได้รับแจกไปแล้ว ดิฉันก็แอบรู้สึกดีใจที่ท่านผู้ใหญ่รับแจกแล้วก็สนใจ แล้วพอตั้งใจว่าจะแจกผู้ใหญ่ๆ ปรากฏว่าหนุ่มสาวในสถานที่ทำงานเขาก็สนใจด้วย จนในที่สุดก็ตัดสินใจสั่งเพิ่มมาที่จะแจกเขาอีก ก็สรุปเรื่องที่นำความในใจมาพูดวันนี้ ก็สรุปเป็นว่า เรื่องของธรรมะนี้ คนบางส่วนมีความสนใจ มีความเข้าใจ แต่จะทำอย่างไรกับคนบางส่วน บุคคลบางประเภท ซึ่งเขามีบทบาทในสังคม เขาจะได้เข้ามา หันหน้ามาร่วมมือช่วยเหลือในกิจการนี้ด้วย ดิฉันกราบขอบพระคุณทุกๆ ท่าน และกราบคารวะอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ
พิธีกร : อาจารย์เปรมนะครับ เพื่อนเก่าในมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ผมมาที่นี่ทีไรก็เจออาจารย์เปรมทุกที เรามีอุดมการณ์เหมือนกันที่จะพาคนมาสวนโมกข์ อาจารย์เปรมพานักศึกษามา อยู่ที่ไหนครับ ท่านมีความในใจอย่างไรกับสวนโมกข์ ขอเชิญขึ้นมาพูดบ้าง พระอาจารย์ให้เปิดความในใจกันก็ได้ มีอะไรที่จะคิดจะทำในปีใหม่ คิดว่าคงเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เอ้า, ขึ้นมาแล้วครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น (อาจารย์เปรม) : ขอกราบพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณที่เคารพ คุณศรีธวัชมาบอกเสียอย่างนั้นผมว่าผมอายนะ อายที่ว่าวันก่อนผมเคยมาแสดงความคิดเห็นว่า ผมไม่รู้จะเอาเวลาไหนมาประพฤติธรรมะ หลวงพ่อน่ะ ขอเรียกว่าหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกว่าธรรมะมันประพฤติได้ทุกเวลาแหละ ผมก็เลยว่าผมพูดผิดไปแล้ว ผมอาย ตอนนั้นไม่อยากพูดครับ คืออาย เพราะว่าธรรมะประพฤติได้ทุกเวลาจริงๆ นะ ไม่ว่าขณะไหน ทีนี้ผมก็รู้สึกอายอยู่อย่างนั้นแหละ ผมไม่กล้าจะพูด เพราะว่าธรรมะนี่มันจำเป็นสำหรับคนทุกคน ผมคิดว่าอย่างนั้น ทีนี้ไอ้คนเรานี่มักจะเข้าใจสวนกันในระหว่างที่ อะไรนะ หนูอะไรที่ถามเมื่อครู่นี้ว่า อะไรนะ ขอปัญหา ผมจะขอแสดงความคิดเห็นตามนั้นนะครับ
คือคำถาม เพราะเหตุใดคนไทยจึงไม่ค่อยเข้าวัด และมีผลกระทบอย่างไรต่อศาสนาพุทธและชาติ เหตุใดคนไทยถึงไม่ค่อยเข้าวัด คำว่า ไม่ค่อย แสดงให้เห็นว่า เข้าบ้าง ที่ว่าไม่ค่อย ก็หมายความว่า ส่วนมากหรืออย่างไรไม่ทราบ คำว่า ไม่ค่อย คือเข้าบ้าง แต่ว่าที่ไม่เข้านี่เป็นส่วนมาก คนไทยน่ะผมก็มักจะคิดเห็นว่า นิสัยคนไทยนี่ก็แปลกอยู่เหมือนกัน มักจะเห็นแปลกๆ อยู่อย่างหนึ่งว่า พวกที่ได้นักธรรม นักธรรม หรือว่าได้เปรียญออกไป มักจะซ่อนนะ ซ่อนว่าไม่ใช่ฉัน มหา ไม่ใช่ ซ่อน กลัวเขาจะรู้ เพราะพวกนี้เคยเป็นคนวัด แต่แล้วก็ไม่อยากเข้าวัด ในลักษณะที่ซ่อน แต่ว่าเขาซ่อนวิธีไหนนี่ไม่ทราบ ซ่อนตัวอย่างไรนะ คือที่เขาซ่อน กลัวว่าคนจะเห็นว่าเขากินเหล้า เขาเที่ยวอย่างโน้นอย่างนี้ ซ่อนไม่ให้ใครรู้ นี่อันหนึ่ง ลักษณะอันหนึ่งที่ไม่เข้าวัด ทีนี้อย่างที่ ๒ คนที่เข้าวัด หรือว่าคนที่มักจะบอกว่า ฉันนี่เป็นมหา ทั้งๆ ที่ไม่เป็นมหา บางทีการปฏิบัติผิดพลาดอยู่ก็แสดงว่าเป็นมหา การประพฤติผิดพลาดอย่างไรล่ะ สมมติว่ามังสวิรัติ พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ แต่บอกว่า ฉันปฏิบัติมังสวิรัติเคร่งครัดมากกว่าพระ เมื่อพวกนี้มีทิฏฐิขึ้นมา ไปสร้างทิฏฐิในระหว่างคนให้แตกกัน ความคิดเห็นน่ะ คือไม่ให้มีทิฐฐิสามัญญตาอย่างนี้ แล้วมักจะโจมตี โจมตีพระภิกษุ หาว่าตัวเองเคร่งกว่าพระภิกษุ ไม่ยอมกินเนื้อสัตว์ แล้วอย่างนี้บอกว่าตัวเองเป็นมังสวิรัติ อันนี้ก็อีกแบบหนึ่งเหมือนกัน ทีนี้ทำให้คนมีทิฏฐิเขวๆ กัน ถ้าว่าในทรรศนะของคนที่จะมอง มองเพราะว่าตามปกตินั้นเราบอกแล้วว่า พระนี่เป็นคล้ายๆ เป็นครูของเรา แต่เรามองไม่เป็น เรามองพระไม่เป็น แม้แต่ในสังคมสูงๆ ผมเคยได้ยิน จะไม่ระบุชื่อนะ ผมเคยฟังเขาบรรยายกันที่มหาจุฬาฯ เพราะว่าเขาบอกมหาจุฬาฯ ผมบอกมหาจุฬาฯ ด้วย ได้ยินเขาบรรยายกันว่า ว่าพระนี่เป็นกาฝากสังคม หรือว่าเอาเปรียบสังคม พูดง่ายๆ อย่างนั้นว่าพระเอาเปรียบสังคม ทีนี้ไอ้นั่นคนฝ่ายนอกนะ ไม่เคยสัมผัสกับวัด ถึงได้พูดว่าพระเอาเปรียบสังคม ทีนี้มีคนที่เคยสัมผัสกับวัดคนหนึ่งซึ่งเป็นคนที่เคร่งครัด ก็บอกว่าถ้ารู้ว่าพระเอาเปรียบสังคมแล้ว การเอาเปรียบนั่นน่ะ ทุกๆ คนมันก็อยากจะเอาเปรียบเพื่อนอยู่แล้ว แล้วทำไมไม่ทำตัวให้เหมือนพระ ว่าพระเอาเปรียบสังคม การทำตัวแบบพระเอาเปรียบสังคม แต่แล้วทำไมไม่ทำตัวให้เหมือนพระ ไม่เบียดเบียนเขา ไม่ขโมยของเขา ไม่ต่อว่าเขา อะไรอย่างนี้ มันเป็นข้อปฏิบัติที่พระปฏิบัติอยู่ เรามองไม่เห็น นี่อันหนึ่งที่ทำให้คนไม่เข้าวัด คือไม่ค่อยมอง มักจะมองของดีเป็นของเสีย ถ้าจะพูดง่ายๆ ว่า สมัยสมชัย สมชัย (นาทีที่ 55:53) มักจะมองสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ สิ่งที่ไม่เป็นสาระมักจะมองว่าเป็นสาระ อย่างนี้เป็นเหตุอันหนึ่งที่จะเข้าวัดไม่ได้ หรือไม่ยอมเข้าวัด คือเห็นชั่วเป็นดี เห็นดีเป็นชั่วไป อย่างนี้นะครับ นี่ก็อันหนึ่ง นี่ในตามทรรศนะของผม คือเห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดีอย่างนี้ เพราะยังไม่เข้าใจว่าความดีคืออะไร ความชั่วคืออะไร อย่างนี้อาจจะเป็นได้นะ เพราะฉะนั้นแม้คนได้รับการศึกษาสูง อย่างเคยฟังวิทยุ อย่างที่บรรยายในสุโขทัย สุโขทัย เขาเรียกกันว่าอะไร มสท.พูดง่ายๆ นะ กำลังเฟื่อง เฟื่องในการบรรยาย ขนาดชั้นดอกเตอร์นะพูดว่า พรหมวิหาร พรหมวิหาร ได้แก่ ไม่บอกว่าจำนวนเท่าไร เมตตา กรุณา มุทิตา ไม่ใช่ เมตตา กรุณา และอุเบกขา ข้ามมุทิตาไป ไม่บอกให้ตรงๆ ขนาดดอกเตอร์บอกอย่างนี้แล้วเป็นไง ในเรื่องธรรมะ ก็ไม่เข้าใจธรรมะนี่ด้วยอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้นขอสรุปว่า คนที่ไม่เข้าใจธรรมะนี่ ผมก็ชักจะสงสัยนะ คือเข้าใจว่าคนไม่เข้าใจธรรมะ แล้วก็หาว่าตนเองรู้ รู้ธรรมะ จึงไม่ยอมเข้านี่อันหนึ่ง คิดว่ารู้ดีกว่าพระ อันนี้อันหนึ่งนะที่ไม่ค่อยเข้าวัด นี่ตามความทรรศนะของผมนะ ทีนี้มันเป็นความกระทบกระเทือนต่อประเทศชาติหรือต่อพุทธศาสนานั้นน่ะ สำหรับพุทธศาสนาน่ะไม่กระทบกระเทือนหรอก แต่ผมจะไม่พูดถึงนะ กระทบกระทั่งถึงพุทธศาสนา คนไม่เข้าวัด พุทธศาสนาก็อยู่ได้ แต่ว่าความกระทบกระเทือนต่อประเทศชาติ คือในการสร้างทรรศนะให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน แตกต่างกันอย่างนี้ ผมว่ามันเกิดความแตกความสามัคคี ในระหว่างการประพฤติปฏิบัติของประชาชน มันแตกความสามัคคีกัน คือเพราะมันขาดทิฏฐิสามัญญตา ความเห็นของเรามันร่วมกันไม่ได้ มันเป็นอย่างนี้ แม้แต่สภาความมั่นคงแห่งชาติเขาก็พยายามป้องกันตรงนี้ ตรงที่ทิฏฐิไม่เสมอกัน ถ้าทิฏฐิไม่เสมอกันแล้ว ก็เอาแหละ ทีนี้เราว่าอย่างไรที่ทิฏฐิไม่เสมอกัน อันนี้แหละเราต้องคิดถึงว่า หนึ่งผมว่าเกี่ยวกับผู้บริหารประเทศชาติควรเข้าใจให้ดี ผู้บริหารประเทศชาติ สองรองลงมาคือ ข้าราชการหรือว่าครู ครู ผมว่าสำคัญมาก เพราะการอธิบายบางทีไม่เหมือนกัน การตีความ คำว่า ปัญญาในพุทธศาสนานี่ ความหมายถึงปัญญาในการทำความดี แต่ปัญญาของทางโลกที่เขาเข้าใจกัน ก็คือเขาเข้าใจกันว่า ลวงเขาเก่ง โกงเขาเก่ง นี่ฉลาด ปัญญา คนนี้มีปัญญาแล้วไปโกงเขาได้ ในทำนองนั้น คือมักตรงข้ามอย่างนี้ พอเข้ามาวัด พระก็บอกอย่างนี้ มันตรงกันข้ามกับทรรศนะตัวเอง ไม่เข้าดีกว่า นี่กระผมเคยเห็นบางคนที่เขากินเหล้า กินเหล้ามาก พอพระพยอมไปเทศน์อย่างนั้น ก็ฟังไม่ได้ ก็ฟังไม่ได้เทศน์เรื่องอย่างนี้ เดี๋ยวนะครับ ผมจะ พูดมากๆ กลัวจะทำให้เกิด คือกลัวว่าจะเกิดเสียเวลากับท่านทั้งหลายที่ต้องการจะแสดงข้อคิดเห็น แต่นี่เป็นความคิดเห็นของผมนะครับว่าอย่างนั้น คือไม่มีทิฏฐิสามัญญตาด้วยกัน นี่อย่างหนึ่ง พระว่าอย่างนี้ เขาก็เห็นว่าอย่างนี้ พระพยอมไปเทศน์ ไปเทศน์ที่ ม.อ. ปัตตานี ที่ ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี ไปเทศน์ พอเทศน์เรื่องสูบบุหรี่ คนสูบบุหรี่เดินออก แสดงให้เห็นว่าเขาไม่พอใจ พอเสร็จแล้ว คนกินเหล้า สมมติว่าบอกว่าเทศน์ไม่ถูกอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ย้อนในคำถามของพระพยอมว่า คือเขาย้อนแบบมีเหตุผล เขาว่าอย่างนั้น พระพยอมก็เทศน์ในทำนองที่ว่า ลองเอานม เอาสุราให้ไอ้สุนัขก่อนนะ ลักษณะนั้น เอาสุราให้สุนัข สุนัขไม่กิน แล้วเอานมให้สุนัข สุนัขมันกิน ถือว่าสุนัขมันฉลาด ว่าอย่างนี้ ว่าฉลาด ทีนี้เขาก็แก้ว่า ที่ว่า เอ้ะ, พอเอาอันโน้นให้ กิน อันนี้ไม่กิน เอานมให้ ลาไม่กิน แล้วเอาน้ำให้ ลากิน เขาว่าทำไมลาไม่กินนม กินน้ำ ก็เพราะลามันโง่ เขาว่าอย่างนั้น เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าคนไม่กินเหล้าคือคนโง่ เอาไปย้อนพระพยอมเสียอย่างนี้ นี่คือมันมีอะไรที่มันขัดกัน ผมว่ามันสวนทางกันกับธรรมะ ที่คนเข้าวัดไม่ได้ ไม่ใช่เข้าวัดไม่ได้ ไม่ยอมเข้าวัด ไม่ใช่เข้าวัดไม่ได้ อันนี้ที่ผมเข้าใจนะ ความเข้าใจของผมเท่านั้น แต่กระทบกระเทือนต่อประเทศชาติมากนะอันนี้ ถ้าผมคิดว่า คือไม่เข้าใจธรรมะ แต่สร้างทิฏฐิให้แตกต่างกันนี่ ผมว่าประเทศชาติจะแย่ เพราะคนเรามันมีความคิดเห็นขัดแย้งกันแล้ว เราต้องคิดถึงเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์บ้าง อันนี้นะครับ ผมคิดไปนะว่า ทิฏฐิสามัญญตานี่สำคัญยิ่ง ผมคิดว่า ขอฝากความคิดเห็นแค่นี้นะครับ ข้อสองจะไม่ขอตอบ
พิธีกร : กระผมขออนุญาตคุณหมอประยูรนะครับ ไม่ทราบไปทางไหน ไปหาใครพูดอยู่ ผมก็นั่ง ผมก็ขึ้นมาพูดก่อนอีก ทำพิธีกรแทนท่าน มีผู้เขียนบันทึกต่อๆ กันมา เพราะว่ารู้จักกับคนที่มีความสามารถที่จะพอพูดกันได้ ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกท่านหนึ่งนะครับ สำหรับปัญหาของหนูนี่ นับว่าสำคัญ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนอื่นได้เอาขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ มาพูดกัน อย่างที่ว่าได้ประโยชน์กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทรรศนะกันคนละอย่างสองอย่าง แต่ว่าเป็นคำ คำตอบของอาจารย์ครั้งแรกสร้างความเยือกเย็นเหลือเกิน แต่ผมไม่ตัดสินหรอก ไม่ใช่เรื่องตัดสิน แต่ว่าศาสนาสอนให้พิจารณาที่ตัวเอง ศาสนาดูที่เรา แก้ที่เรา อะไร ปัญหาทั้งหลายแก้ที่เรา ไม่ใช่แก้ที่คนอื่น เพราะฉะนั้นการตอบของอาจารย์วีณา รัตนะ รู้สึกว่าสร้างความเยือกเย็น ของอาจารย์เปรมก็เย็นไปอีกแบบหนึ่งเหมือนกัน คือเย็นกระทบๆ นิดหน่อย เพราะว่าทำความเข้าใจกันไม่ค่อยถูก ไม่ค่อยเข้าใจ เข้าใจสวนทางกัน นี่ก็เป็นเครื่องให้เราพิจารณาแล้วว่า แม้แต่ปัญหาอันเดียวกัน พิจารณาจากบุคคลที่ได้ฟังปัญหาในทันทีเดียวกันนี้ ก็มีความคิดเห็นต่างๆ กัน เรื่องของนานาจิตตัง แสดงทรรศนะออกมา เป็นประโยชน์ครับ อันนี้ก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน ถือให้ได้ เอามาให้ได้ให้เป็นประโยชน์
ทีนี้มีอีกท่านหนึ่งที่จะขอให้ขึ้นมาแสดงทรรศนะ คุณอำนวย เมืองสุด มีอะไรที่จะพอแสดงให้เป็นประโยชน์ อาจารย์ท่านบอกว่ามีประโยชน์ทั้งนั้น ถ้าฟังเป็นนะ ต้องฟังให้เป็น และสำคัญที่สุดที่จะขอกราบเรียนไว้ก็คือว่า พวกเราจะต้องไม่นอนข้ามปี ตามสมมตินะครับ ต้องไม่นอนข้ามปี และโดยเฉพาะพระเดชพระคุณท่านอาจารย์ก็นั่งเป็นประธานอยู่ที่นี่ ก็คิดว่าทุกคนได้มาที่นี่เพื่อถวายความเคารพสักการะท่านอาจารย์ แต่ท่านอาจารย์ เราให้โอกาสว่าท่านอาจารย์ควรจะไปพักผ่อน ท่านยังไม่ไป ท่านยังนั่งอยู่ เราก็ต้องอยู่นะครับ อย่าหนีไปไหน อยู่กันตลอด ต่อไปนี้ฟังทรรศนะของคุณอำนวย เมืองสุด นะครับ ขอบคุณมาก ท่านอื่นก็เตรียมๆ ตัวนะครับ ไม่ต้องให้เรียก ขึ้นมาเลย
ผู้แสดงความคิดเห็น (คุณอำนวย เมืองสุด) : นมัสการท่านอาจารย์พุทธทาส และสวัสดีพ่อแม่พี่น้องที่มานั่งอยู่ ณ ลานหินโค้งนี้ด้วย ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นคนๆ หนึ่งที่ได้มาเที่ยวที่สวนโมกข์นี้ รู้สึกมีความประทับใจและได้เข้าใจอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับธรรมะ และข้าพเจ้าก็มีความรู้สึกและใคร่อยากจะขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียน การที่จะได้รู้อะไรเกี่ยวกับธรรมะต่างๆ เพราะว่าข้าพเจ้าก็ได้ประสบกับชีวิตข้าพเจ้าเอง รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก เพราะชีวิตของข้าพเจ้าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าใจเกี่ยวกับธรรมะ มองดูง่ายๆ และเผินๆ ก็จะเห็นได้ว่า ยังเป็นอย่างที่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจตลอดมา แล้วก็มองเห็นผ้าเหลืองหรือว่าผ้าขาวนี่ เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ แล้วก็เข้าใจว่ามันคงจะเป็นเครื่องดับทุกข์ หรืออะไรทำนองนั้นแหละ เพราะครอบครัวของข้าพเจ้ามีปัญหา แต่ว่าข้าพเจ้าก็คิดผิด เมื่อมีปัญหาข้าพเจ้าไม่ได้คิดแก้ด้วยธรรมะ ข้าพเจ้าใช้อารมณ์ ก่อนหน้านี้ข้าพเจ้ามีปัญหาทางบ้านเลยหนีมาที่สวนโมกข์ แล้วพบแม่ชีกระจ่าง ท่านอธิบายอะไรให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ท่านอธิบายให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจแล้วข้าพเจ้าก็นำไปประพฤติปฏิบัติ ก็รู้สึกว่าได้ผลจริง สิ่งที่สั่งสอนนั้น ที่ข้าพเจ้าซึ้งและรู้สึกว่ามันได้ผลจริงๆ นั่นคือคำพูดที่ว่า ใครว่าเราดีก็ถูกของเขา ใครว่าเราไม่ดีก็ถูกของเขา หรือใครไม่สนใจเราเลย ก็ถูกของเขา คำๆ นี้เมื่อข้าพเจ้าได้มาอยู่ที่สวนโมกข์ ข้าพเจ้าก็คิดและใคร่ครวญจนข้าพเจ้าตัดสินใจเองได้ แล้วก็ได้กลับไปอยู่บ้านของข้าพเจ้า แล้วก็วางตัวอย่างที่ท่านอาจารย์ได้สอนและท่านแม่ชีกระจ่างได้อบรม จนตอนนี้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ข้าพเจ้าอบอุ่น และจะขอแสดงตนและแสดงความยินดีในโอกาสปีใหม่ ขอให้ทุกๆ คนที่มาใน ณ ที่นี้ได้เข้าใจในธรรมะ ไม่เสียทีที่ได้มาสวนโมกข์ อย่างที่ข้าพเจ้าได้เข้าใจต่อไปนี้ในปีใหม่ต่อไปค่ะ ข้าพเจ้าขอแสดงความคิดเห็นแค่นี้ค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น : กราบนมัสการพระเดชพระคุณท่านอาจารย์ที่เคารพ เจริญพรญาติโยมทั้งหลาย อาตมาภาพก็มีความดีอกดีใจที่ญาติโยม โดยเฉพาะคณะอาจารย์ ครูทั้งหลาย ได้มีความสนใจในธรรม อาตมาคิดว่าในเมื่อญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายมีความสนใจในธรรม แล้วก็นำธรรมะไปปฏิบัติ นี่ที่ว่าอาตมามีความดีใจ แต่ว่าการที่เรามาปฏิบัติธรรมะนั้นอาตมาเป็นห่วงอยู่ว่า เราอย่าเมากันโยม เพราะว่าที่คุณหนู ปัญหาของคุณหนูที่ถามว่าทำไมคนไม่ชอบเข้าวัด เพราะว่าเดี๋ยวนี้คนกำลังเมาธรรมะนะโยม ธรรมะเมาเหมือนกันคุณโยม พอไปนั่งหลับตาสัก ๑-๒ นาที ตัวเองนี่เก่งแล้ว พอกินเจเท่านั้นแหละ มาถึง อาจารย์ตัวเองก็ไม่ดีแล้ว นี่เป็นปัญหาอยู่โยม ที่ว่าไปปฏิบัติธรรม ไปกินเจสัก ๑-๒ วัน หรือว่ามาสวนโมกข์ มาถึง ฟังพระเดชพระคุณท่านอาจารย์บรรยายธรรมะ เมาแล้ว กลับไปถึงบ้าน หลวงพ่อทั้งหลายที่เคยสักการะบูชานี่ไม่มีธรรมะทั้งนั้น พระที่บ้านก็ไม่มีธรรมะทั้งนั้น นี่เมานะโยมนะ ธรรมะก็เมาได้ไม่ใช่เมาแต่เหล้า ศีลก็เมาได้ บางคนพอรับศีล ๘ แล้วเพื่อนไม่มีศีลหมด พวกที่ไม่ไปวัดนี่ไม่มีศีลทั้งนั้น นี่โยมคิดดู ขอให้นึกเสียว่าโยม เรามารับศีลอยู่หยกๆ นี่ ถ้าเรากลับไปถึงบ้าน ไปถึง ว่าเพื่อน เฮ้ย, ทำไมไม่ไปวัด ไปรับศีลไปรับพร ไปฟังเทศน์ฟังธรรมเสียบ้าง เราจัดว่ามีศีลไม่ได้แม้แต่ข้อเดียวโยม ทั้งๆ ที่ว่ารับศีล ๘ นั่นแหละ เพราะว่ามันเมา ศีลก็เมา ธรรมะก็เมา อาจารย์ของตัวเองที่เคยบวช รับเข้าไปบวชในวัด พอไปกินเจวันเดียว ๒ วัน กลับมาถึง อาจารย์ไม่ดีแล้ว ธรรมะไม่มีแล้ว นี่อาตมาเป็นห่วงอยู่ว่า เรามาสวนโมกข์ก็ดี ไปที่ไหนก็ดี สำนักไหนๆ ก็ดี เราอย่าเมา อย่าเมา ปู่ย่าตายายบ้านเรา เขาเคยทำบุญตักบาตร เขามีความสุข ไม่เคยเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เขาก็มีความสุขมาตลอด แต่เดี๋ยวนี้คนเราได้รับการศึกษามาก ปู่ย่าตายายได้รับการศึกษามาก่อนนะนับ ๑๐ ไม่ค่อยถึง นับได้แค่ ๙ หรือว่าแค่ ๘ ก็เรียกว่าคนสมัยก่อนนี่ โง่นับ ๑๐ ไม่ค่อยครบ นับได้แค่ ๙ หรือว่านับถึง ๑๐ ก็มี แค่ ๘ นะโยมนะ ก็ยังดี คนสมัยก่อนนี่โง่นับ ๑๐ ไม่ค่อยถูก นับ ๑๐ ไม่ค่อยถึง ไม่ค่อยเป็น แต่คนสมัยนี้ปัญญาโยมรู้ไหม นับ ๕ ไม่ครบ นี่อาตมาเคยนำศีลคุณโยมในงานมงคลสมรส งานแต่งงาน พอถึงศีลข้อที่ ๕ เขาบอกว่าเขาไม่รับ เขาเป็นนายดาบด้วยนะ เขาบอกว่าเขาไม่รับข้อ ๕ นี่แหละโยม คนสมัยนี้ ปัญญานับ ๕ ไม่ถึงแล้ว นี่มันเป็นปัญหาที่ว่าคนไม่ค่อยเข้าวัด ไม่ค่อยเข้าวัด เพราะคนเดี๋ยวนี้มันปัญญาโยม คนสมัยก่อนมันโง่ เด็กสมัยนี้เห็นคนแก่เข้าวัดมันว่าเชย โอ้ย,เอาไปให้กินทำไม พระ กินแล้วนอน กินแล้วนอน อ้วนเหมือนหมู ไม่เห็นมาช่วยฟันหัวนาสักที ไอ้ผมนี่ช่วยทำคันนา ช่วยไถนา เอามาให้ผมกินดีกว่า อย่าเอาไปเลยวัด เข้าวัดเชยตาย โง่เปล่าๆ คนเฒ่าคนแก่เข้าวัดเด็กสมัยนี้เขาจะว่าอย่างนั้น เพราะมันได้รับการศึกษามามาก มากจนล้น เขาเรียกว่าในเมื่อมันเต็มแล้ว มันล้นแก้วแล้ว น้ำทีนี้ใส่มันไม่เอา มันเลน
(1:13:57) ในเมื่อน้ำมันเต็มแล้ว พอใส่มันไม่เอาแล้ว มันเลน แต่คนโง่สมัยก่อน ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายอยู่ได้ถึง ๗๐-๘๐ ปี ดูคุณโยมถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร เพราะเขาอยู่ด้วยความโง่ เขาเข้าวัดสมาทานศีล ฟังธรรม ที่นั้นแหละ วัดใกล้ๆ บ้านนั่นแหละ เขาเข้าทำบุญทำทาน รับศีล เขาก็อายุยืน อยู่ถึง ๗๐-๘๐ ปีบางคน แต่เด็กเดี๋ยวนี้มันปัญญา มันหาว่าคนสมัยก่อนโง่ เด็กเดี๋ยวนี้ปัญญา อาตมาเท่าที่สังเกตแล้วมันอยู่ไม่ค่อยถึง ๒๐ ปี มันอยู่ด้วยความปัญญาของมัน มันย้ายทะเบียนแล้ว นี่เพราะว่ามันหาว่าคนสมัยก่อน มันหัวไทรหัวหงส์อะไรน่ะ มันโง่ เข้าวัดแล้วก็ไดโนเสาร์ เอาไปให้กินทำไมพระนี่ แล้วก็พอได้ฟังเทปสักหน้าเท่านั้นแหละโยม เมาแล้วธรรมะ พระที่วัดนี่เทศน์ไม่เป็นทั้งนั้น นี่พระสวนโมกข์เป็นพระนักสอนทั้งนั้น โอ้ย, สอนเก่งทั้งนั้น ดีทั้งนั้น ส่วนมากนะโยม ไม่เคยไปพูดธรรมะเลย ว่าท่านอาจารย์ พระเดชพระคุณท่านอาจารย์พุทธทาสเทศน์เราได้อะไรมาบ้าง ไม่ ไม่มีหรอก ไปสวนโมกข์แล้วได้อะไรมาบ้าง ส่วนมากก็ไม่มี ส่วนมากมาติดสนุก ติดอร่อย ติดสนุก แล้วก็กลับไปเมา วัดเราไม่ดีพรรค์นั้น วัดเราไม่ดีพรรค์นี้ นี่ที่ว่าคนไม่เข้าวัด มันเป็นปัญหาเพราะว่ามันเมาธรรมะเมาศีล นี่ที่อาตมาเป็นห่วงอยู่ว่า ไม่ว่าเราไปที่ไหนในเมื่อเราไปแล้วเราอย่าเมาที่นั้น ในเมื่อเราเมาที่นั้นแล้วมันเสียหาย ขอให้เราอย่าได้เมาธรรมะกัน แล้วก็ปฏิบัติธรรมะ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมะ เขาไม่ว่า เขาไม่ว่าใคร เขามองตัวเอง เขาพิจารณาตัวเอง บัณฑิตทั้งหลาย เขาจะต้องให้ผู้อื่นสอน เขาจะต้องพิจารณาตัวเอง เขาจะต้องสอนตัวเอง ผู้ใดสอนตัวเองได้ ผู้ใดไหว้ตัวเองได้นั้นแหละดี ไม่ต้องไปปรารถนาให้คนอื่นเขาดี บางคนนี่ปรารถนา แหมพระ ให้พระดีนักหนา แต่ตัวเองไม่มี เมาเหล้าทั้งวันทั้งคืน แต่อยากจะให้พระดี อยากจะให้เณรดี ตัวเองไม่ดีสักนิดเดียว นี่เพราะอะไร เพราะเมา มันเมาได้เหมือนกันธรรมะนี่ ทีหลังก็ โอกาสข้างหน้า ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนเราอย่าไปติดกัน อย่าไปเมากัน ถ้าเราเมาแล้วจะเสียหาย อาตมาก็มีข้อคิดแค่นี้ ว่าขอให้เราอย่าเมา ไม่ว่าทำอะไร ศีลก็เหมือนกัน รับแล้วก็อย่าเมา อย่าไปว่าเพื่อนเขา เพราะเพื่อนเขายังปกติ เขาไม่ได้ว่าเรา ที่เรารับศีล ๘ ถือศีล ๘ แต่ว่าไปว่าเพื่อนเขา มาฟังธรรมะ ฟังเทปของพระเดชพระคุณท่านอาจารย์หน้าเดียว ฟังธรรมะสัก ๑๕ นาที เมาแล้ว คนอื่นไม่ดีแล้ว นี่ขอฝากไว้เพียงแค่นี้ ว่าเราไม่ว่าไปที่ไหน สำนักไหน เราอย่าไปติดอาจารย์ อย่าไปติดสำนัก อย่าไปเมาอาจารย์ อย่าไปเมาตำรา อาตมาขอพูดแค่นี้
พิธีกร : ผมใคร่ขอนิมนต์อาจารย์วิรัตน์ไว้ต่อนะครับ เพราะตอนนี้ผมเที่ยวเดินจนถึงเมื่อยเหมือนกัน คือหาแล้ว ก็เข้าใจว่าท่านอาจารย์วิรัตน์อยู่ใกล้ๆ ผมขอนิมนต์อาจารย์วิรัตน์ไว้ด้วยนะครับ ตอนนี้ก็เพื่อไม่ให้เสียเวลานะครับ ท่านอาจารย์วิรัตน์มาแล้วใช่ไหมครับ ท่านอื่นก่อนก็ได้นะครับ ถ้าอาจารย์วิรัตน์ยังไม่มา ท่านอื่นก่อนก็ได้ครับ ไม่เป็นไร
ผู้แสดงความคิดเห็น : ขอกราบนมัสการท่านอาจารย์ แล้วก็เพื่อนสหธรรมิกทุกท่าน แล้วก็ขอเจริญพรโยมทุกคน สำหรับหัวข้อที่กำลังสนทนากันอยู่เวลานี้ ก็คงเป็นหัวข้อที่ท่านอาจารย์ได้เน้นว่าขอให้ลองสนทนาในเรื่องว่า ปีใหม่ชีวิตใหม่ ขณะเดียวกันก็มีอีกหัวข้อหนึ่งซึ่งหนูคนหนึ่งได้ถามขึ้นมาว่า ทำไมคนถึงไม่เข้าวัด เราก็เลยเอา ๒ ปัญหานี้มาสนทนาร่วมกัน
สำหรับอาตมาเองนั้นคงจะขอรายงานนิดหน่อย คงไม่เป็นการล่วงเกินหรือว่าผิดธรรมเนียมที่เหมาะสมไป อาตมาเองเป็นพระบวชใหม่ แล้วก็คงจะเป็นพระที่เพียงบวชใหม่เท่านั้นเพราะว่าบวชชั่วคราว บวชเพียง ๓ เดือน ขณะนี้ก็มีอายุพรรษาเพียง ๕๐ ไม่ใช่อายุพรรษา อายุบวชก็เพียงประมาณ ๕๐ กว่าวัน บวชอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วก็ได้มาศึกษาอยู่ที่สวนโมกข์นี้ได้จนถึงวันนี้ก็ ๔๐ กว่าวัน พรุ่งนี้จะเป็นวันที่อาตมาจะจากออกไปจากสวนโมกข์ เพื่อจะให้เป็นการตอบปัญหา หรือว่าแสดงทรรศนะของอาตมาใน ๒ ประเด็นที่ยกขึ้นไว้ คือปีใหม่ชีวิตใหม่ แล้วก็เข้าวัด อาตมาจะขอลองยกเกี่ยวกับตัวเองขึ้นมาเพื่อจะเล่าให้ฟัง สำหรับอาตมานั้นถ้าจะ พื้นเพเดิมคงจะต้องบอกว่าอาตมาเองประกอบอาชีพรับราชการเป็นหมอ ซึ่งในฐานะที่เป็นหมอนั้นส่วนใหญ่เราจะเรียน เรียนมากในเรื่องของกายและจิต ทีนี้วัด ในความเห็นของอาตมานั้นวัดที่ว่าเป็นที่พึ่ง เป็นร่มโพธิ์ที่พึ่งของคน วัดนั้นพึ่งกายก็ได้ พึ่งจิตก็ได้ แต่อีกอันหนึ่งที่คิดว่าสำคัญก็คือเรื่องของวิญญาณ วัดจะเป็นที่พึ่ง เป็นที่รักษาทางเรื่องของวิญญาณซึ่งเป็นองค์ที่ ๓ ของมนุษย์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับในส่วนของอาตมาเอง แต่ก่อนนั้นก็ไม่ได้คิดหรอก ก็คิดแต่ว่ากายกับใจ เรารักษาคนไข้ ก็รักษาเรื่องกายเรื่องใจ โรคจิต โรคจิตก็รักษายากหน่อย ก็ไม่อยากรักษา บางทีก็ส่งๆ ไปเพราะว่าแก้ยาก ปัจจัยอื่นมันเยอะเหลือเกิน เรื่องกายยังพอไหว สู้ได้ ทีนี้เมื่อมาอยู่ที่นี่ในการเข้ามาบวชเข้ามาเรียน ปัญหาอันที่หนึ่งก็คือ ในวัดมีอะไรที่เราควรจะรู้ สำหรับอาตมาเองสิ่งที่อาตมาสงสัย คืออาตมาเองคิดว่าวัดน่าจะมีอะไรดี ไม่เช่นนั้นไม่ควรจะยั่งยืนมาตั้ง ๒,๐๐๐ กว่าปี แล้วก็ไม่อย่างนั้น ก็ไม่น่าจะเห็นว่ามีคนดีๆ อยู่บ้าง ฉะนั้นวัดที่อาตมาพูด น่าจะหมายถึงวัดที่แท้ วัดที่ใจ ไม่ใช่วัดคือสถานที่ ฉะนั้นในวัดต้องมีอะไรดี ในศาสนาต้องมีอะไร ถึงมีคนดีๆ อยู่ ถึงยั่งยืนอยู่ อาตมาก็ แต่ก่อนก็เรียน เรียนทางเรื่องกายเรื่องใจไป ทำงานเรื่องกายเรื่องใจไป เพียงแต่รอจังหวะว่าเมื่อไรได้โอกาสจะมาเรียนเรื่องวัดสักทีหนึ่ง ก็อยู่อย่างนั้นจนมาเรียน ก็ปัญหาแรกที่ถามก็คืออะไรคือศาสนา อะไรคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ท่องสวดกันเหลือเกิน พอสวดมนต์ก็เริ่มขึ้น พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นที่พึ่ง พระธรรมก็คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ พระสงฆ์ก็คือผู้ที่ปฏิบัติตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไว้แล้ว ฉะนั้นปัญหาที่ถามอันแรกก็คืออะไรคือธรรม หลังจากมาเรียน เอ้า, ตกลงอาตมาก็ยอมรับว่า ที่ว่านั้นก็คืออิทัปปัจจยตา สุดท้ายก็มาอธิบายเรื่องของวิญญาณ เรื่องของศาสนา คงมาเน้นที่เรื่องของวิญญาณ คือความไม่เกิดทุกข์ที่เรียกเป็นอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเอามาอธิบายหลายๆ อย่างได้ นี่คือสิ่งที่อาตมาคิดว่าได้ไป และเอาไปอธิบายอะไรได้เยอะสำหรับอันนี้
ทีนี้จากหลักอันนี้ที่ได้มา ซึ่งเข้าใจว่าทุกๆ ท่านที่มาวัด โดยเฉพาะวัดสวนโมกข์ ก็คงได้หลักอันนี้ไปแล้วในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ทีนี้เอามาลองคิดสำหรับอาตมาเอง ปีใหม่หรือว่าเข้ามาบวช เข้าวัด ก็ได้ชีวิตใหม่อันหนึ่งขึ้นมาเหมือนกัน คำว่า ชีวิตใหม่ นี้อาตมาอยากจะอ้างถึงคำอนุโมทนาของท่านอาจารย์โพธิ์เมื่อเช้านี้ที่โรงฉัน ว่าคนเรานั้นเกิดทางกายเกิดครั้งเดียว แต่เกิดทางวิญญาณนั้นเกิดหลายๆ ครั้ง หลายๆ อย่างเป็นปัจจัยต่อเนื่องกันมาจนมาถึงทำให้เกิดภพ แล้วก็เกิดมาเป็นชาติ สุดท้ายก็ชรา มรณะ เช่นนี้ก็เหมือนกัน ทุกๆ ปี หรือทุกๆ เวลาก็เกิดอยู่แล้ว ฉะนั้นเราลองมาสมมติ สิ่งที่เรากำลังพูดอยู่อันนี้ เพราะปีใหม่ ชีวิตใหม่ ก็คือสิ่งสมมติ ว่าชีวิตใหม่นั้นเราก็คงว่ามันก็คือชาติใหม่ ชาตินี้ก็คือชาติทางวิญญาณ ได้อะไรไปบ้างจากการเข้าวัด อาตมาก็คิดว่า ถ้าหลักในการเอาไปปฏิบัติ ซึ่งต่อไปข้างหน้าในส่วนของอาตมาเองจะสึก แล้วก็คงจะต้องเอาสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติให้ได้ เรามาศึกษาได้หลักไป ในหลักการปฏิบัติเราก็ลองสมมติว่า ชีวิตของเรานี่มีได้หลายระดับ ก็ตามที่เราเรียกกันว่า เป็นภูมิทั้ง ๓ จากอบายภูมิ ขึ้นมาเป็นรูปภูมิ แล้วก็ขึ้นไปสู่อรูปภูมิ ฉะนั้นเราเวลานี้อยู่ที่ไหน ไม่ว่าอะไรก็ตาม คนหรือพระก็เถอะ อาตมาก็ยังมีความเห็นว่า เราก็ยังวนว่ายอยู่ในอบายภูมิเป็นส่วนใหญ่ อบายภูมิ นี่คือสิ่งที่อาตมาคิดว่าได้ไป อาตมาก็จะกำหนดว่า เอาละ ปีใหม่นี้ชีวิตใหม่นี้ อาตมาจะเริ่มจากอบายภูมิ แล้วอาตมาจะไต่ขึ้นไปเป็นขั้นๆ ไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ ปีนี้อยู่ภูมินี้ ปีหน้าขึ้นไปอีกภูมิหนึ่ง ปีนี้อาจจะเริ่มจากเดรัจฉาน เดรัจฉานซึ่งมีอยู่แค่ ๔ ที่หลายคนชอบบอกว่า เดรัจฉานก็มีแค่ กิน ขี้ ปี้ นอน กินเอาแต่กิน ขี้คือขี้ขลาด ปี้ก็คือเสพเมถุน แล้วก็นอน ลองดูสิเดรัจฉานทุกอย่างเป็นอย่างนั้น แล้วคนของเราทุกวันนี้ก็เป็นอย่างนั้น แต่คนเรา เราบอกว่าคนนี่เป็นสัตว์ประเสริฐ มนุษย์เป็นนักคิด เพราะฉะนั้นเรามีเหนือมากกว่านั้น เรามีอีกส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นเรา แต่สภาพที่เป็นจริงของเรา สภาพที่อยู่ เรื่องกายเรื่องใจนั้น มันก่อวนเวียนอยู่ในสภาพของความเป็นเดรัจฉาน ที่อยู่กัน ฉะนั้นชีวิตใหม่ อาตมาอาจจะสมมติว่า ชีวิตใหม่ในปีหน้าเราจะเป็นเดรัจฉานให้น้อยลง อีกปีหนึ่งก็จะเพิ่มขึ้นมา ในเดรัจฉานนี้มันอาจจะแล้วแต่คน ในอบายภูมิมันต้องมีทั้งเดรัจฉาน ทั้งสัตว์นรก ทั้งเปรต ทั้งอสูรกาย ทุกคนก็ลองไปพิจารณาเองว่า ปีนี้ส่วนใหญ่เราจะเป็นอะไร ถ้าเรามีแต่เดือดร้อนใจ เราก็อาจจะเป็นสัตว์นรก ถ้าเราเห็นแก่ได้ อยากได้โน่นอยากได้นี่ อยาก อยาก ไปทุกอย่าง ไอ้โน่นก็อยากได้ไอ้นี่ก็อยากได้ เห็นอะไรขัดหูขัดตา ก็ไม่พอใจ อยากได้ อย่างนั้นก็คงจะเป็นเปรตกระมัง เพราะกินไม่รู้จักพอ ทำนองนี้
อาตมาก็คงจะต้องคิดว่า เอาละเราจะเริ่มจากอันนี้ ปีหน้าเราจะเป็นอะไร คงจะเป็นไปไม่ได้ที่บอกว่าปีหน้าจะเป็นอริยะ มันต้องไปตามขั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ให้โอวาทปาฏิโมกข์ไว้แล้วว่า อันที่ ๑ จงละกรรมชั่ว แล้วก็เจริญกรรมดี สุดท้ายก็ทำตัวให้ขาวรอบ ทุกอย่างมันต้องเป็นไปตามขั้นตอน ต้องพัฒนาไป จะกระโดดพรวดเดียว ไม่ได้หรอก เนื้อแท้ของมัน อาจจะมีได้แต่น้อยนัก ฉะนั้นเราก็ต้องไปเป็นขั้นๆ ขั้นต่อไปออกจากอันนี้ก็คือไปเป็นมนุษย์ ความเป็นมนุษย์ก็เพิ่มมาว่า รู้จักคิดแล้วนะ มีเหตุมีผลหน่อยก็เป็นมนุษย์ จากมนุษย์ก็ขึ้นไปเป็นเทวดา คือที่พูดอันนี้ คงจะต้องพูดว่าแล้วในหลักปฏิบัติมีอะไรบ้าง การที่เราจะเป็นมนุษย์ได้เราก็คงจะต้อง เอาละปีหน้าเราอยากเป็นมนุษย์ เราก็ยึดหลักว่าธรรมสำหรับมนุษย์ มนุษยธรรมมีอะไรบ้าง ก็เอาไปยึด มนุษยธรรม ฆราวาสธรรมมีอะไร ยึดอันนั้นแล้วทำอันนั้น ปีนั้นก็ทำแค่นี้แหละ อย่าเอาอย่างอื่นมาเที่ยวก้าวก่ายนัก ใช้ปัญญา ปัญญาเราอาจจะมีมากกว่านั้น แต่ตอนนี้ใช้ปัญญาปฏิบัติในเรื่องนี้ แล้วมันจะพัฒนาไปได้ ต่อจากนั้น ต่อจากมนุษย์ก็ไปเป็นเทวดา เทวดาจะยึดถือธรรมอะไร ธรรมะคุ้มครองโลก หิริโอตตัปปะ เราก็จะเจริญขึ้นไปอีกในปีหน้า ทุกๆ ปี ปีต่อไปก็เป็นอะไรล่ะ ถ้าตามขั้นจากเทวดาก็ต้องเป็นพรหม ผู้ที่มีเมตตา ผู้ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ ในขณะเดียวกันเราจะต้องละ การที่เราจะช่วยคนอื่นได้เราต้องละ ละกรรมชั่วอยู่แล้ว ขณะเดียวกันจิตใจเราก็ดีขึ้น เราก็เป็นพรหม เจริญพรหมวิหาร ๔ จากนั้นเราก็เจริญต่อไป ขึ้นไปเรื่อยๆ เข้าสู่โลกุตตรธรรม อริยธรรม หรืออะไรก็ตาม ตามแต่จะเรียก จากโสดาบันหรืออะไรก็ขึ้นไป อาตมาคิดว่ามันเป็นไปได้ ถ้าชีวิตใหม่ที่อาตมาพูดก็คือสภาพที่เป็นอยู่ สภาพที่จิตใจ เรามีจิตใจอย่างไรแล้วเรากำหนดสภาพเป็นอยู่ของเราอย่างไร ยึดถือธรรมอะไรมาทำในปีนั้น แล้วชีวิตนี้จะต้องใหม่ขึ้นไปเรื่อยๆ ใหม่ขึ้นไปเรื่อยๆ ก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นไปได้ว่ามันอาจจะตกลงไป ชีวิตใหม่ในอีกปีหนึ่งปี ๒๕๓๐ อาจจะ คือปี ๒๕๒๘ อาจจะได้ขึ้นมาเป็นมนุษย์ ๒๕๒๙ อาจจะเป็นเทวดา ๒๕๓๐ อาจจะกลับไปเป็นเปรตอีกก็ได้ ฉะนั้นทุกอย่างต้องทำไม่หยุด ไม่หยุดยั้ง ต่อเนื่องไปเสมอๆ ก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ ฉะนั้นที่อาตมาพูด สำหรับ นี่ก็คือในส่วนของอาตมาว่า ชีวิตใหม่ของอาตมาคืออะไรในปีใหม่ แล้วก็ในต่อๆ ไปคือทุกๆ ปี แล้วแต่อยากจะสมมติ จะสมมติเอาว่าปีใหม่ก็ได้ จะเอาสมมติ คือเราคงต้องสมมติ จะสมมติเอาวันเกิดเราก็ได้ หรือสมมติอะไรก็ได้ที่เราคิดว่าพอจะเป็นหลักยึดที่เราสมมติยึดเอามัน แล้วก็เจริญขึ้นไปเรื่อยๆ
ทีนี้ในอีกประเด็นหนึ่งที่ถกกันมากว่า เข้าวัดแล้วได้อะไร คือทำไมคนไม่เข้าวัด อาตมาก็มีความเห็นว่า คนไม่เข้าวัดตามความเห็นของอาตมานั้นมันมีหลายประเด็น เราคงต้องมองว่าวัดคืออะไร เราสมมติหน้าที่ว่าวัดเป็นอะไร วัดที่แท้คืออะไร ถ้าเรายอมรับว่าวัดนั้นคือที่ที่เป็นที่พึ่งทางวิญญาณของคน เป็นที่ที่มีธรรมะ สอนธรรมะ ฉะนั้นอย่างอื่นที่เป็นอย่างอื่น ที่คนเข้ากันไปอยู่ ไปหาผ้าเหลืองๆ ที่ให้ใบ้ให้หวย นั่นไม่ใช่เขาเข้าวัดและนั่นไม่ใช่วัด ฉะนั้นวัดที่อาตมาหมายความคือ ที่ที่ต้องมีสิ่งเหล่านั้นตามหน้าที่ ต้องทำหน้าที่ของตัวเอง ถ้าไม่ทำหน้าที่ก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งนั้น ก็ต้องเป็นสิ่งอื่นไป ฉะนั้นขอจะพูดว่า ฉะนั้นประเด็นอื่นอย่างที่ท่านอาจารย์ได้แย้งว่า ไม่จริง อันนั้นอาตมาก็เห็นว่า อาตมาอยากจะเรียกว่าไม่ใช่เข้าวัด ทีนี้การเข้าวัด ทำไมคนไม่เข้าวัด ส่วนใหญ่ก็เพราะคนที่มีอย่างนั้นจริงๆ อย่างความเป็นวัด ได้แสดง ได้ทำให้คนรู้ไหมว่าที่นี่มีอย่างนี้ ได้ทำกี่มากน้อยแล้ว เนื่องจากคนไม่รู้คนไม่เห็น อย่างเก่งคนที่รู้คนที่เห็นเกี่ยวกับเรื่องวัดก็จะมีความเห็น รู้ว่าเอาละทำดีก็ชาติหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่สอนกันมานานไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อคนเรา อย่างที่อาจารย์ได้แสดงไว้เมื่อวานหรือเมื่อเช้านี้เกี่ยวกับว่า มีความยึดถือวิทยาศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีเหตุมีผลและพิสูจน์ได้ เห็นได้ เดี๋ยวนี้คนเราต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่จะให้กับคนต้องเป็นอย่างนั้นด้วย ฉะนั้นคนทั่วไปก็จะบอกว่า ไม่รู้จะเข้าไปทำไม ก็ชาติหน้า ชาติหน้ามีหรือเปล่ายังไม่มีใครพิสูจน์ อาจจะมีจริงแต่ยังไม่มีใครพิสูจน์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่พิสูจน์ได้ก็ต้องชาตินี้ เดี๋ยวนี้ ซึ่งอันนี้สำหรับที่สวนโมกข์ วัดสวนโมกข์ ซึ่งอาตมาก็ คือสรรเสริญว่าเป็นวัดจริง ท่านอาจารย์ก็เน้นว่าธรรมะต้องเป็นอกาลิโก คือปฏิบัติได้และให้เห็นผลได้ด้วย เห็นได้ทันทีไม่จำกัดกาลและเวลา ฉะนั้นเมื่อไรที่ชี้แสดงอันนี้ บอกได้ว่าเป็นอย่างนี้ และให้เหตุให้ผลอธิบายให้เห็นชัดได้ คนก็จะรู้ว่าถ้าเข้าวัดแล้วเขาจะได้อย่างนี้ แล้วเขาคงจะเข้า แต่ถ้าหากว่าเขาไม่รู้อย่างนั้นเขาก็คงไม่เข้า ในส่วนอื่นถ้าหากว่าวัดบางวัดก็อาจจะมุ่งเน้นชี้สิ่งนี้ แต่เขาอาจจะใช้วิธีอื่นเพื่อให้เหมาะสมกับคน เช่นคนบางคนก็อาจจะต้องเริ่มจากศรัทธาก่อน มิใช่เริ่มจากปัญญา แต่ก็หมายความว่าวัดนั้นจะต้องยึดมั่นหลักการอันนั้นไว้ ไม่ใช่ว่าเหลิงหลงไปทางศรัทธา เจริญศรัทธา เจริญอย่างอื่นไปจนหมด อันนั้นก็หมดความเป็นวัด ที่อาตมาพูดก็หมายความว่า วัดที่จะนับเป็นวัดได้ก็คงมี ๒ อัน หนึ่งเป็นวัดแท้เลย อันที่ ๒ ก็คือยังใช้วิธีการต่างๆ เป็นขั้นศีลธรรมขั้นต่างๆ เพื่อดึงคนให้มาถึงสิ่งนี้ ต้องเพื่อดึงคนให้มาถึงสิ่งนี้ ไม่ใช่ว่าให้หลงงมอยู่ตรงนั้น จมอยู่ตรงนั้นแหละ พอแล้ว ถ้าอย่างนั้นอาตมาเลยไม่ค่อยคิดว่ามันจะต้องมีวัดที่เป็นวัด เป็นวัตถุ ขอให้วัดนั้นอยู่ที่ใจก็แล้วกัน ไม่ต้องมาเข้าวัดเถอะ ขอให้เก็บวัดนั้นไว้ในใจ ว่าวัดคืออะไร ศาสนานั้นอยู่กับใจ แล้วเราคงจะได้ ได้อะไรไปเยอะ ไปสร้างชาติสร้างชีวิตใหม่ของเราขึ้นไปเรื่อยๆ อาตมาคงมีสิ่งแสดงเพียงเท่านี้
พิธีกร : ครับ ก็คงจะได้ คือได้ฟังพระคุณเจ้ามา ก็คงจะได้มองหลายแง่หลายมุม และโดยเฉพาะผมคิดว่าวัดที่พระคุณเจ้าได้บรรยายพูดให้เราฟังนี้ เราน่าจะมาจับเป็นวัดที่มีคุณสมบัติของวัด อย่างนี้ก็คงจะเป็นว่าวัดภาษาธรรมได้หรือเปล่า ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ นี่ผมลองคิดดู คือลองไปคิดดู แล้วก็วัดที่เรามองเห็นเป็นรูปวัด แล้วคนก็เข้าไป มองเห็นรูปวัดต่างๆ จนวัดภาษาคนธรรมดาอย่างนั้นก็ได้ วัดบอกหวย วัดอะไรก็แล้วแต่จะว่า แบบนั้นจะเป็นวัดภาษาคนก็ได้ แต่วัดที่มีคุณสมบัติสำหรับไปศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมได้ พูดถึงคุณสมบัติของวัดอย่างนั้น ก็หมายความว่าเป็นวัดที่ถูกต้องหมด เป็นวัดในภาษาธรรม อย่างนั้นก็อาจจะเป็นได้ นี่เราลองคิด เราลองนึกกันดู แล้วก็ถ้ามองกันแบบนี้แล้วมันมีทางที่จะเป็นไปได้แยะ แล้วพระคุณเจ้าได้มาสาธยายให้เราฟังถึงแผนของชีวิต ชีวิตมันต้องมีแผน มีทางเดิน แล้วมีทาง มีแผนของชีวิต มีเป้าหมายของชีวิต เพราะฉะนั้นปีใหม่ขึ้นมาทีหนึ่ง มันต้องใหม่แหละครับ ถ้าคนที่มีแผนของชีวิตจริงๆ มันก็น่าจะทำอะไรในระยะที่เรายังสมมติ ที่ยังมีตัวตนอยู่นี้ ที่เรายังมีกิเลสอยู่นี้ เราสมมติไป พอขึ้นปีใหม่ทีหนึ่ง มันก็น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ไปตามแผนของชีวิตที่วางไว้ ตามภูมิต่างๆ เมื่อครู่ผมก็ได้นิมนต์ท่านอาจารย์วิรัตน์ไว้ ไม่ทราบว่ามาหรือยังนะครับ ผมได้นิมนต์อาจารย์วิรัตน์ไว้ ทีนี้ถ้ายังไม่มา ผมว่านะครับ คงจะไม่ให้เสียเวลา กระผมใคร่เชิญข้างล่าง ชั้นล่างต่อไปนะครับ คุณธีรวัฒน์คงมีใช่ไหม เชิญได้เลย ขอเชิญคุณไพสิทธิ์ สัตยาวุธ ครับ ตอนนี้ต้องขอระบุชื่อ ถ้าทราบชื่อ ก็ขอเชิญระบุชื่อละครับ ขอเชิญครับ