แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ต่อไปนี้ตั้งใจฟังให้ดี ให้สำเร็จประโยชน์ในเรื่องที่จะต้องทำ การบรรพชานี้ก็ทำด้วยจิตใจ จิตใจต้องรู้แจ่มแจ้งในการกระทำ จึงจะเป็นการกระทำ เดี๋ยวนี้เรากำลังขอบรรพชา เพราะใคร่จะได้บรรพชา ให้ทำในใจอย่างนั้นให้ถูกต้อง และควรจะรู้ไปตามลำดับว่าบรรพชานั้นคืออะไร เป็นต้น เธอได้กล่าวคำขอบรรพชาเฉพาะตน คือไม่ผูกพันกัน ไม่มีหุ้นส่วนกัน โดยภาษาบาลี ด้วยคำปรารภ และคำขอเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว เดี๋ยวนี้มีแต่จะทำความเข้าใจในความหมายของคำเหล่านั้น เผื่อว่า บางคนยังไม่เข้าใจ และยังควรจะรู้ความหมายที่เต็มเปี่ยมของไอ้คำเหล่านั้นด้วย
ในชั้นแรกพึงเข้าใจความหมายของคำว่าบรรพชา ตัวหนังสือว่าบรรพชา ความหมายว่าไปหมด เว้นหมด จากความเป็นฆราวาส เป็นผู้เห็นประโยชน์ของการบรรพชา แล้วก็ต้องการจะขอบรรพชา ขอระเบียบปฏิบัติที่เป็นการเว้นหมดจากความเป็นฆราวาส ซึ่งต่อไปนี้เราจะต้องเว้นตั้งแต่การคิดนึก การพูดจา หรือการกระทำอย่างฆราวาสโดยสิ้นเชิง ให้มันเต็มที่อยู่ในจิตใจ แม้ว่าจะฝันก็ขอให้ฝันอย่างผู้ที่มีบรรพชา
ความมุ่งหมายของการบรรพชาก็คือ การที่จะประพฤติ ปฏิบัติ ขูดเกลากิเลสทุกอย่างในสันดาน ให้เกิดจิตใจใหม่ พบปะกันกับความสะอาด สว่าง สงบ ตามขั้นตอน ทีนี้มันจะต้องอดทน เพราะว่าการทำอย่างนั้นมันเป็นการขูดเกลานิสัย นิสัยสันดานเดิมๆมีอยู่อย่างไรจะต้องขูดเกลา ก็จะต้องมีความลำบากบ้าง หรือจะเรียกว่ามีความเจ็บปวดบ้าง เพราะเป็นสิ่งที่ขูดเกลา เราจึงควรตั้งใจเสียแต่เดี๋ยวนี้ว่าเรายินดีที่จะมีการขูดเกลา แม้จะเจ็บ จะปวดอย่างไรก็ยินดีจะทน จะประพฤติพรหมจรรย์แม้โดยน้ำตา คือว่าจะไม่ยอมให้เสียไปในส่วนพรหมจรรย์ แม้จะต้องทนจนน้ำตาไหล ก็จะเอาขั้นอดทน ไม่เลิกละความอดทน ทั้งนี้เพื่อจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ด้วยดี ซึ่งมีคำกล่าวเป็นอุปมาไว้ว่าเหมือนกับหอยสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว เราจะขัดเกลานิสัยสันดานในทำนองที่เขาขัดเปลือกหอยสังข์ที่หัดขัดกันอย่างดีแล้ว เมื่อเราขอก็หมายว่าเรายินดีที่จะประพฤติ ปฏิบัติตามนั้น เราจะต้องรักษาคำพูดนั้น จึงต้องอายัด (นาทีที่ 22.44)คำพูดเหล่านี้ไว้ระหว่างกันและกันทั้ง ๒ ฝ่าย ถ้าเธอเข้าใจตามนี้แล้ว ก็ยินดีที่จะรับบรรพชา ก็เป็นอันว่ามีการกระทำที่ถูกต้องไปส่วนหนึ่งในทางจิตใจแล้ว
ทีนี้ก็อยากจะให้มีกำลังใจมากขึ้นในการประพฤติพรหมจรรย์ ก็จะได้บอกให้ทราบประโยชน์ หรืออานิสงส์ของการบรรพชา เธอต้องตั้งใจฟังให้ดี ให้เข้าใจ และจะได้มีกำลังใจในการอดกลั้น อดทน ประโยชน์ของการบรรพชานั้น ท่านกล่าวว่าเหลือที่จะประมาณได้ จึงกล่าวโดยอุปมาว่าแม้จะเขียนอานิสงส์ของการบรรพชาให้เต็มไปทั้งท้องฟ้า ท้องฟ้าก็จะเต็มเสียก่อน อานิสงส์ของการบรรพชายังมีมากกว่านั้น นั่นแหละขอให้คิดดู เราจะพูดกันโดยรายละเอียดทั้งหมดนั้นไม่ไหว จึงเป็นพูดเป็นประเภทๆ จำแนกแจกออกไปเป็น ๓ ประเภท คืออานิสงส์ที่ตัวเธอผู้บวชเองจะได้รับ และอานิสงส์ที่ญาติทั้งหลาย มีบิดา มารดา เป็นต้น จะพึงได้รับ และอานิสงส์ที่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งพระศาสนาเป็นส่วนรวมจะพึงได้รับ กำหนดไว้ให้ดีว่าเราจะได้รับประโยชน์ อานิสงส์ของการบรรพชานี้ คือเมื่อได้ประพฤติจริง บวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง มันก็เกิดเป็นบุคคลใหม่ ที่มีอะไรใหม่ เต็มไปด้วยกุศล เต็มไปด้วยความดีเช่นนี้ ซึ่งเราไม่เคยได้รับมาก่อน ซึ่งท่านถือกันว่าไม่มีอะไรดีกว่านี้สำหรับมนุษย์เราที่ได้เกิดมา ฉะนั้นจึงเป็นอันว่าเราได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ นี่เป็นอานิสงค์ส่วนตัวเรา
ทีนี้ที่ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดา เป็นต้น จะพึงได้รับนั้น ท่านเรียกกันว่าเป็นการบวชที่สนองพระคุณของบิดามารดา เพราะว่าเราเป็นหนี้บุญคุณของบิดา มารดา เพราะว่าเราเกิดเองไม่ได้ บิดามารดาต้องเกิดเรามา เป็นผู้ให้ชีวิตก็เท่ากับให้ทุกอย่าง ดังนั้นเราจึงต้องรับรู้บุญคุณอันใหญ่หลวง จะมีการสนองพระคุณได้อย่างไร ก็จะทำจนสุดความสามารถของตน โดยคตินิยมถือกันว่าไม่มีอะไรจะเป็นการสนองพระคุณบิดา มารดา ได้ดีเท่ากับการชักนำให้บิดา มารดา เข้ามาเป็นญาติในพระศาสนาให้ยิ่งๆขึ้นไป นี่หมายความว่าเมื่อเราบวชแล้ว ทำให้บิดา มารดาได้มีความใกล้ชิดพระศาสนายิ่งขึ้น ขอให้ดูว่าแม้แต่เตรียมบวช ก็มีการบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนามากเป็นพิเศษ และเมื่อได้บวชแล้วก็ยังกระทำมากเป็นพิเศษ แล้วก็มีความเข้าใจ ความเข้าถึง คุณของพระธรรม ของพระศาสนายิ่งขึ้นไปกว่าแต่ก่อน เช่นว่าศรัทธาก็มีเพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ก่อน สัมมาทิฏฐิก็มีเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ความพากเพียรในบุญกุศลก็จะมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่าเราได้ชักนำบิดา มารดาให้เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นญาติในพระศาสนานี้ยิ่งกว่าแต่ก่อน ข้อนั้นเป็นประโยชน์ เป็นอานิสงส์ เป็นผลดีแก่บิดา มารดา เหลือที่จะกล่าวได้
ท่านเปรียบไว้ว่าแม้จะบำรุงบิดา มารดาไว้บนบ่า ไม่ให้ลงดิน มีความสุขอยู่ตลอดเวลา ก็ยังไม่เท่ากับการที่ชักนำให้เข้ามาเป็นญาติในพระศาสนา ท่านมีคติที่ถือกันมาอย่างนั้น เราก็พอจะมองเห็น สังเกตได้ว่ามันๆๆเป็นจริงอย่างนั้น การเป็นญาติในพระศาสนานั้นมันเป็นเรื่องทางจิตใจ ได้ประโยชน์ในทางจิตใจ ยิ่งไปกว่าประโยชน์ในทางวัตถุ ดังนั้นขอให้เธอพยายามทุกประการในการที่จะให้สำเร็จประโยชน์ตามนั้น คือว่าเธอจะต้องบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้รับผลจริง ก็จะเป็นการชักจูงให้บิดา มารดา เป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้นไปดังที่กล่าวแล้ว นี้เรียกว่าอานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ญาติทั้งหลาย มีบิดา มารดา เป็นต้น
ทีนี้ประโยชน์อานิสงค์ข้อที่ ๓ จะได้แก่สัตว์ทั้งหลายทั่วไป และพระศาสนาด้วย นี่มันเป็นของคู่กัน ถ้าพระศาสนายังมีอยู่ในโลก โลกทั้งโลกก็ได้รับประโยชน์จากพระศาสนา ฉะนั้นเราจะทำให้พระศาสนายังคงมีอยู่ในโลก เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยการบวชเพื่อสืบอายุพระศาสนา หมายความว่าศาสนาจะมีอายุอยู่ได้เพราะมีคนบวช มีคนเรียน มีคนปฏิบัติ มีคนได้รับผลของการปฏิบัติ และมีคนสั่งสอนสืบต่อๆกันไป เดี่ยวนี้เราก็เป็นผู้หนึ่งที่จะทำอย่างนั้น แม้ว่าจะบวชในระยะไม่กี่เดือนก็ตาม ก็จงตั้งใจ ปักใจให้มั่นคงว่าให้การบวชของเรานี้มีความสมบูรณ์ ถึงขนาดที่เรียกได้ว่าเป็นการสืบอายุพระศาสนา ไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกจากคิดว่าจะบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง เผยแผ่ สั่งสอนไปตามที่เราจะทำได้ อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการสืบอายุพระศาสนา เป็นการสนองคุณท่านที่ได้สืบอายุพระพุทธศาสนาไว้มาจนถึงเรา คืออุปัชฌาย์อาจารย์ของอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ได้สืบๆกันมา จนศาสนาตกทอดมาถึงเรา เราก็จะสืบไว้สำหรับผู้ที่จะมาข้างหลังต่อไปอีก จะบวชสักกี่วัน กี่เดือน กี่ปีนั้นก็ไม่สำคัญ ขอแต่ว่าให้ทุกเวลานาทีนี้ให้มันเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาก็แล้วกัน ก็จะทำให้พระศาสนามีอยู่ และประโยชน์ก็จะได้รับแก่สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง เพราะว่าศาสนายังมีอยู่ ขอให้เธอพยายามในข้อนี้ด้วย
เมื่อได้พยายามจนได้รับประโยชน์ทั้ง ๓ ประการแล้ว ก็เห็นได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุด ไม่มีอะไรยิ่งกว่า สมกับที่ท่านกล่าวกันว่าจะเขียนประโยชน์ อานิสงส์ของบรรพชาให้เต็มท้องฟ้า ก็ไม่อาจจะเขียนได้หมด ฟ้าจะเต็มเสียก่อนอย่างนี้เป็นต้น นี่คือประโยชน์อานิสงส์ของบรรพชาเมื่อเธอได้ทำดีถึงที่สุด
ทีนี้ก็จะพูดเป็นข้อที่ ๓ ถึงวัตถุฐาน ที่ตั้ง ที่อาศัยของสิ่งที่เรียกว่าบรรพชา ข้อนี้คือพระรัตนตรัย เราก็ได้ปฏิญาณไปแล้ว ประกาศไปแล้วว่ามีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ถึงเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง จึงใคร่จะบวช และได้ขอบวช นี่ก็หมายความว่าบวชอุทิศพระรัตนตรัย อุทิศพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ และต้องมีพระรัตนตรัยนั่นแหละเป็นฐานที่ตั้ง ที่อาศัยของการบรรพชาโดยคุณธรรม โดยคุณธรรมนั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือนกันตรงที่มีความสะอาด สว่าง สงบ เป็นคุณลักษณะ ถ้ามีคุณลักษณะนี้อยู่ในใจ ก็ชื่อว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในใจ ฉะนั้นเราจะทำจิตใจนี้ให้มีลักษณะที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ประจำอยู่ จะเป็นที่ตั้งแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ หรือการบรรพชานั้น เธอทำในใจหมายมั่นในการที่จะรักษาไว้ซึ่งความสะอาด ความสว่าง และความสงบ เป็นองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่แท้จริง แน่นแฟ้น มั่นคงอยู่ในจิตใจ แล้วก็จะได้ที่ตั้ง ที่อาศัยแห่งบรรพชาโดยสมบูรณ์ นี่ได้กล่าวให้เข้าใจถึงเรื่องที่ต้องเข้าใจ และจะได้กระทำในใจให้ถูกต้องไปตามลำดับ การกระทำของเราก็จะเป็นการกระทำที่มีผล ไม่ใช่สักทำพอเป็นพิธี หรือลมๆแล้งๆ ถ้าเธอไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งมาแต่ก่อน เดี๋ยวนี้ก็จงทำความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง มีความแจ่มแจ้งนี้อยู่ในใจ ทำการบรรพชาต่อไป
ทีนี้ก็มาถึงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตจปัญจกกรรมฐาน เพื่อเป็นการซักฟอกจิตใจในเบื้องต้นนี้ ให้มีจิตใจที่เหมาะสมแก่การที่จะครองผ้ากาสายะ ผ้าสีเหลืองนี้เรียกกันว่าผ้ากาสายะ เป็นลักษณะ เป็นสัญลักษณ์ของพระอรหันต์ คือบุคคลผู้สิ้นกิเลสอาสวะ เราจะเอาสัญลักษณ์นั้นมานุ่ง มาห่ม มาคลุมเข้าโดยไม่มีความหมายนั้นย่อมไม่เป็นการสมควร และจะเกิดโทษ เราจึงตั้งใจที่จะทำจิตใจให้เหมาะสมแก่ผ้ากาสายะนั้นอย่างน้อยในเบื้องต้น จงตั้งใจฟังตจปัญจกกรรมฐานนี้สืบต่อไป เพื่อเป็นการบอกให้เข้าใจว่า ไอ้ความหลงในความสวยความงาม ความโง่เขลานั้นจะต้องหมดออกไปจากจิตใจที่นี่ และเดี๋ยวนี้ เพื่อว่าจะมีจิต มีจิตใจเหมาะสมที่จะนุ่งห่มผ้ากาสายะนั่นเอง
ก่อนนี้เราเคยหลงเหมือนคนธรรมดาทั่วไปในเรื่องสวย เรื่องงาม โดยเฉพาะความสวย ความงามที่เกี่ยวกับเพศตรงกันข้าม ซึ่งเป็นธรรมดาของสัตว์ เมื่อเป็นฆราวาสก็ไม่เป็นไร แต่เดี่ยวนี้มันจะละจากความเป็นฆราวาสมาสู่ความเป็นบรรพชิตแล้ว จะลากเอาความโง่อันนั้นแขวนคอมาด้วยไม่ได้ ขอให้ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ว่าเราจะเลิกหลงใหลในเรื่องความสวย ความงาม เพราะฉะนั้นท่านจึงให้สอนตจปัญจกกรรมฐานแก่ผู้หวังจะบรรพชา และอุปสมบท โดยให้ยกเอาส่วนประกอบของร่างกายมาสัก ๕ อย่าง มาพิจารณาเห็นความไม่งาม ที่จริงมันทุกอย่าง แต่เราพูดไม่ไหว ก็พูดกันสัก ๕ อย่างก็พอจะเป็นเครื่องเทียบเคียง
สิ่งแรกที่สุดคือผม ซึ่งเรียกโดยภาษาบาลีว่าเกศา ที่เราเคยเห็นว่าสวย ว่างาม ทั้งของเรา ทั้งของผู้อื่น มุ่งหมายจะประดับประดา ตกแต่ง ประกวดประขันกันนั้น โดยเนื้อแท้แล้วเป็นของปฏิกูล ปฏิกูลคือไม่ๆงาม ไม่งามโดยรูปร่าง เส้นผมโดยรูปร่างเส้นยาวๆนี่ก็ไม่งาม โดยสีสันวรรณะ ดำบ้าง หงอกบ้าง เหลืองบ้างก็ไม่งาม โดยที่เกิดของมัน เกิดหนังศีรษะ มันก็ไม่งาม โดยสีก็ไม่งาม โดยกลิ่นของมันก็ไม่งาม โดยที่เกิด ที่งอกก็ไม่งาม โดยหน้าที่การงานมันก็ไม่งาม ดูไว้สำหรับรับฝุ่นละอองบนศีรษะ เมื่อปล่อยไปตามธรรมชาติแล้วจะปรากฏเป็นความน่าเกลียดอย่างยิ่ง เรายังหลงรัก หลงตกแต่ง หลงประกวดประขันกันว่างาม เดี๋ยวนี้ความโง่ ความเขลาอันนั้นต้องหลุดไป เป็นข้อที่ ๑
สิ่งที่ ๒ เรียกว่าขน โดยภาษาบาลีเรียกว่าโลมา ต่างจากผมก็ตรงที่ว่าขนนี้มีอยู่ทั่วๆไปตามตัว พิจารณาผมโดยความเป็นของไม่งามอย่างไร ก็พิจารณาขนเป็นของไม่งามอย่างนั้น
ที่มาถึงที่ ๓ เล็บ โดยบาลีเรียกว่านขา พิจารณาโดยความเป็นของที่เคยโง่ เคยหลง เคยเห็นว่าสวย ว่างามในระหว่างกันและกัน เดี๋ยวนี้มามองเสียใหม่โดยธรรมชาติว่าเป็นของปฏิกูล โดยรูปร่างของเล็บนี่ก็มีรูปร่างน่าเกลียด โดยสีสัน วรรณะของเล็บที่เหมือนกับกระดูกนี้ก็น่าเกลียด โดยกลิ่นของเล็บนี้ก็มีกลิ่นน่าเกลียด โดยที่เกิด ที่งอกของเล็บตามปลายนิ้วนี้ก็น่าเกลียด แล้วใต้นั้นมีเลือด มีน้ำเหลือง มีอะไรต่างๆ โดยหน้าที่การงานของเล็บสำหรับแคะๆ แกะ เกา อย่างนี้มันก็เป็นเรื่องที่น่าเกลียด เราจึงเลิกหลงว่ามันเป็นของงามเสีย
สิ่งที่ ๔ ฟัน เรียกโดยภาษาบาลีว่าทันตา เห็นไม่ยากที่ว่าจะเป็นของปฏิกูลอย่างไร รูปร่างของฟันแต่ละซี่ก็น่าเกลียด สีของฟันแต่ละซี่ก็น่าเกลียด กลิ่นของฟันแต่ละซี่ก็น่าเกลียด หน้าที่การงานของฟันสำหรับเคี้ยว บด นี้ก็น่าเกลียด ก็เป็นอันว่าเราจะเลิกความเข้าใจ และความพยายามในฐานะที่ว่าฟันเป็นของสวยของงามนั้นกันเสียโดยสิ้นเชิง
สิ่งสุดท้ายคือ หนัง ผิวหนัง เรียกโดยภาษาบาลีว่าตโจ อันนี้ก็เป็นของปฏิกูล และร้ายกว่าปฏิกูลก็คือเป็นที่ตั้งแห่งความสัมผัสอันลึกซึ้ง พิจารณาหนังโดยรูปร่างของมันก็น่าเกลียด โดยสีสัน วรรณะของมันก็น่าเกลียด โดยกลิ่นของมันก็น่าเกลียด โดยที่เกิด ที่งอก ที่ตั้งของมันคือหุ้มห่ออยู่ทั่วตัวนี้ก็น่าเกลียด โดยหน้าที่การงานคือรับฝุ่นละออง ถ่ายเข้า ถ่ายออกแห่งเหงื่อไคล ไอร้อนเหล่านี้ก็เป็นของน่าเกลียด นี่ในส่วนที่เป็นปฏิกูล อีกส่วนหนึ่งเป็นที่รับสัมผัส โดยเฉพาะสัมผัสทางเพศ ทำให้เกิดกิเลส ทำให้เกิดปัญหานาๆประการ ทำให้คนเลวไม่มีชิ้นดี เพราะเป็นผู้หลงใหลในสัมผัสอันนั้น ก็เรียกว่ามีโทษ ฉะนั้นเราจะเห็นเป็นของสวย ของงามได้อย่างไร พิจารณาเห็นตามที่เป็นจริงเหล่านี้แล้ว ก็จะเห็นว่าตัวเคยโง่ ทีนี้ก็เลิกโง่เสีย มันก็จะได้เหมาะสมสำหรับที่จะบรรพชา ให้เลิกเห็นเป็นของสวย ของงามในสิ่งทั้ง ๕ นี้ แล้วเปรียบเทียบไปทุกสิ่งทั้ง ๓๒ สิ่ง หรือแล้วแต่จะมองดูกันสักกี่สิ่งว่าเป็นของไม่สวยไม่งาม ไม่โง่ ไม่หลงในสิ่งที่เคยสวยงามตามธรรมดาของชาวบ้านทั่วไปแล้วก็เรียกว่ามีจิตใจที่เหมาะสมนุ่งห่มผ้ากาสายะ เพื่อบรรพชาเป็นบรรพชิตสืบต่อไป เธอจงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ว่ามานี้ เพื่อว่าจะมีความเหมาะสมสำหรับนุ่งห่มผ้ากาสายะนั่นเอง
ต่อไปนี้จะมีการรับตจปัญจกกรรมฐานที่ว่านี้โดยภาษาบาลี จงตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลี โดยว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี๋เรียกว่า ว่าตามลำดับ ทีนี้ว่าโดยทวนลำดับคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา จำได้ลองว่าดู
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
สิ่งทั้ง ๕ มีข้อความอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ เรียกโดยภาษาบาลีอย่างนี้ ให้ทำในใจไว้ให้มั่นคง สำเร็จประโยชน์ในการที่จะต่อสู้กับกิเลสในการบรรพชา นี่แสดงว่าจำได้แม่นยำ มีใจคอปกติ มีสติสัมปชัญญะ เหมาะสมสำหรับจะทำการบรรพชา เรามีความยินดีในข้อนั้น และขออนุโมทนา จึงทำการบรรพชาให้แก่เธอ ขอให้เป็นผู้เจริญงอกงามในพระศาสนาของสมเด็จพระศาสนาสมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาตลอดไป
ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลี โดยการว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ทีนี้ทวนลำดับคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ลองว่าดู
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
แสดงว่าจำได้แม่นยำ มีใจคอปกติ มีสติสัมปชัญญะพอสมควรที่จะทำการบรรพชา เรายินดีจะบรรพชาให้เธอ ขอให้เป็นผู้เจริญงอกงามในพระศาสนาของสมเด็จพระศาสนาสมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการ
เข้ามาอีก ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน ก้มลงมา โดยภาษาบาลี โดยการว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ทีนี้โดยทวนลำดับ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ลองว่าดู
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
แสดงว่าจำได้แม่นยำ ไม่มีทางที่จะสับสน มีความจำดี มีสติสัมปชัญญะดี สมควรจะบรรพชาได้ จึงมีความยินดีในการบรรพชาของเธอ บรรพชาให้แก่เธอ จงเป็นผู้เจริญงอกงามในพระศาสนา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชานั้นทุกประการ
ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลี โดยการว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยทวนลำดับคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา จำได้ลองว่าเลย
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
ให้ว่า ๓ รอบนี่เพื่อทดสอบความแม่นยำ ควาไม่งกๆเงิ่นๆ ความมีสติสัมปชัญญะ เดี๋ยวนี้พิสูจน์ความแม่นยำ ความมีสติสัมปชัญญะแล้ว เห็นความสมควรจะบรรพชาได้ จึงทำการบรรพชาให้แก่เธอ ขอให้เธอมีความเจริญงอกงามในพระศาสนา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการ
ตั้งใจรับตจปัญจกกรรมฐาน โดยภาษาบาลี โดยการว่าตามเราดังต่อไปนี้ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยทวนลำดับคือ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา จำได้ลองว่าดู
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา ตโจ อ่ะ, เกศา
พุทธทาส : เอาใหม่ๆ
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
พุทธทาส : อีกที
พระบวชใหม่ : เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา
เราต้องการใจคอที่ปกติ มีสติสัมปชัญญะ เนื้อตัวอยู่กับจิตใจ จิตใจอยู่กับเนื้อตัว จึงให้ลองว่าดู เดี๋ยวนี้ก็พิสูจน์ความแม่นยำ ความมีสติสัมปชัญญะพอสมควรแล้ว ข้อความใดๆที่ได้สั่งสอนเกี่ยวกับสิ่งทั้ง ๕ นี้ เมื่อตะกี้นี้ ขอให้จำไว้เป็นหลักสำคัญในการที่จะพินิจพิจารณา ต่อสู้กับกิเลสตัณหา ถ้าหากจะเกิดขึ้นมาเนื่องด้วยสิ่งนั้นๆในอนาคตกาลต่อไป เธอมีความเหมาะสมที่จะทำการบรรพชา จึงทำการบรรพชา โดยหวังว่าจะเป็นผู้เจริญงอกงามในพระศาสนา สมตามความมุ่งหมายของการบรรพชาทุกประการ
นั่งก่อนก็ได้ คุกเข่า พนมมือ ตั้งใจฟังให้ดีอีกครั้งหนึ่ง เธอได้กล่าวคำขอนิสัย เป็นภาษาบาลี และเราก็ได้กระทำทีนี่พิธีกรรมโดยวินัยให้ การถือนิสัยด้วยการรับเป็นอุปัชฌายะ เดี๋ยวนี้เธอได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอุปัชฌายะ เพราะว่าต้องมีอุปัชฌายะจึงจะขออุปสมบทได้ เดี๋ยวนี้เธอเป็นผู้มีอุปัชฌายะ พร้อมที่จะขออุปสมบทได้ การมีนิสัยนั้นสำเร็จประโยชน์ด้วยการประพฤติ ปฏิบัติตามระเบียบ วินัยของนิสัย ผู้ที่ถือนิสัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยการเอาใจใส่ในอุปัชฌายะ อุปัชฌายะปฏิบัติหน้าที่ในการถือนิสัย คือการควบคุมดูแลให้เป็นไปถูกต้อง และให้มีความปลอดภัย นี่ชื่อว่ามีนิสัยผูกพันกัน ในระหว่วงกันและกัน โดยความมุงหมายเป็นอย่างนี้ มีความผูกพันอย่างนี้เรื่อยไปจนๆกว่าจะสิ้นสุดของการบรรพชา อุปสมบท
ระเบียบถือนิสัยนั้นจะต้องไม่ทำอะไรโดยไม่บอกกล่าวอุปัชฌายะ จะทำ จะพูด จะคิดอะไร ถ้าเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ประหลาด หรือแปลกอยู่ ต้องถามก่อนจึงจะทำได้ อย่าไปทำเข้าโดยที่ไม่แน่ใจ จะทำให้เสียหาย ฉะนั้นจึงมีหน้าที่ๆจะต้องรายงาน มีหน้าที่จะต้องอยู่ในสายตา ถ้าจะต้องไปไหนต้องไปด้วยอุปัชฌาย์ ถ้าไปด้วยกันไม่ได้ ให้ไปด้วยผู้ที่เขามอบหมายให้ เพื่อจะได้ดูแลแทน แม้ที่สุดแต่ไปบิณฑบาต เป็นอันว่าเธอมีนิสัยอันได้ถือแล้วโดยพฤตินัย ต่อไปนี้ก็กล่าวการผูกพันนิสัยโดนภาษาบาลีพร้อมๆกัน อัชชะตัคเค
เอ้า, นั่งพับเพียบ ต่อไปนี้จะเป็นการขออุปสมบท ผู้จะขออุปสมบทจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับชื่อของตนเองโดยภาษาบาลี ชื่ออุปัชฌายะโดยภาษาบาลี ชื่อของบริขารโดยภาษาบาลี เป็นต้น สามเณรวิจิตร มีชื่อโดยภาษาบาลีว่าวิจิตโต สามเณรสุเทพ มีชื่อโดยภาษาบาลีว่าสุเทโว สามเณรจำนง มีชื่อโดยภาษาบาลีว่าเจตนิโก สามเณรไชยา มีชื่อโดยภาษาบาลีว่าชยเสโน สามเณรจเร มีชื่อโดยภาษาบาลีว่าจรโณ จงจำไว้ให้แม่นยำ เมื่อเขาถามถึงชื่อจะได้ตอบถูกว่าข้าพเจ้าชื่อนั้นๆ เช่นว่า อะหัง ภันเต สุจิตโต นามะ เป็นต้น อุปัชฌายะมีชื่อโดยภาษาบาลีว่าอินทปัญโญ เมื่อเขาถามก็ตอบให้ถูก อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสมา อินทปัญโญ นามะ ดังนี้ เป็นต้น
ทีนี้ก็รู้จักชื่อของบาตร โดยภาษาบาลีว่าปัตโต จีวรห่มว่าอุตตะราสังโค สังฆาฏิ อุตตะราสังโค สังฆาฏิๆ จีวรห่มว่าอุตตะราสังโค สบงว่าอันตะระวาสะโก อาจารย์เขาจะบอกให้ เธอจะต้องจำไว้ รู้ว่าเราเป็นผู้มีบาตร หรือจีวรอันสมบูรณ์แล้ว ก็จะยังต้องไปอธิษฐานเฉพาะสิ่งด้วย ทีนี้ (นาทีที่ 01:08:03)
เอ้า, คุณไปนั่งรออยู่ตรงที่เหมาะสม อย่าอยู่ในหัตถบาตรๆ ก็ไปอยู่ตรงโน้น ไกลออกไปโน้น
ผมขอเผดียงพระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ใช้สิทธิของสงฆ์เต็มที่
ผมขอเผดียงพระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ใช้สิทธิของตนๆ ในการรับอุปสัมปทาเปกข์เหล่านี้หรือหาไม่
กระผมของเผดียงภิกษุทั้งหลาย ให้ใช้สิทธิของสงฆ์ในการรับอุปสัมปทาเปกข์
ลดบาตรกราบ อาจารย์สุ ช่วยบอกอนุศาสตร์ ผมไม่ได้ (นาทีที่ 01:41:50) เลือดขึ้นเลี้ยงสมองไม่ทัน จะเงื่อนแล้วเป็นลมเอ้า, มาอีก มานั่งเป็ฯแถว บาตรวางตรงหน้า ๕ องค์ ถอยๆไปนิด ไปทางนี้นะ ไปอีกๆ ไปทางโน้นอีกๆ ตั้งเป๋ฯแถวให้ดี ระยะแถวให้ดี เอาบาตรวางตรงหน้า
ต่อนี้ไปจะได้บอกอนุศาสน์ มี ๘ อย่าง คือ นิสสัย ๔ และอกรณียกิจ ๔ นิสสัย ๔ เป็นเรื่องสำคัญที่ภิกษุจะต้องศึกษาแต่แรก เพราะเป็นปัจจัย เครื่องอาศัยของบรรพชิต เพื่อที่จะได้รู้ และเข้าใจในการบริโภค ใช้สอยปัจจัย ๔ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค อกรณียกิจ ๔ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ภิกษุจะต้องศึกษาแต่แรกเช่นเดียวกัน เพราะเป็นสิ่งที่ภิกษุไม่ควรทำ เป็นกิจไม่ดี ไม่งามแก่สมณะ เป็นสิ่งที่ภิกษุทำไม่ได้เป็นอันขาด สิ่งไม่ดี ไม่งามของภิกษุมีมากกว่า ๔ อย่าง แต่ในอนุศาสน์กล่าวไว้เพียง ๔ อย่าง เพราะเป็นข้อสำคัญที่ภิกษุถึงแม้ไม่รู้ล่วงเข้าก็ขาดจากความเป็นภิกษุ จำเป็นที่ภิกษุผู้บวชใหม่ซึ่งยังไม่รู้กว้างขวางในพระวินัย ให้รู้ไว้เพียง ๔ อย่างก่อน ฉะนั้นท่านจึงยกขึ้นสอนก่อนในขณะเมื่ออุปสมบทเสร็จ ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาติไว้แล้ว เมื่ออุปสมบทแล้วบอกนิสสัย ๔ และอกรณียกิจ ๔ ว่า
บรรพชาอาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ถ้ามีอดิเรกลาภ คือลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาติ เช่น ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวาย ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท
บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ถ้ามีอดิเรกลาภ คือลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาติ เช่น ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าแกมกัน เส้นด้าย แกมไหม
บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ถ้ามีอดิเรกลาภ คือลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาติ เช่น วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ท้องถ้ำ
บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ถ้ามีอดิเรกลาภ คือลาภเหลือเฟือก็ทรงอนุญาติ เช่น เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
ต่อไปเป็นส่วนอกรณียกิจ ๔ ดังต่อไปนี้
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในเดรัจฉานตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจจะมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ภิกษุก็เหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้เป็นส่วนขโมย โดยที่สุดหมายเอาถึงเส้นหญ้า ภิกษุใดถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้เป็นส่วนขโมย บาทหนึ่งก็ดี ควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้วไม่อาจจะเป็นของเขียวสด ภิกษุก็เหมือนกัน ถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้เป็นส่วนขโมย บาทหนึ่งก็ดี ควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงมดดำ มดแดง ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงยังครรภ์ให้ตก ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้ว เป็นของกลับต่อกันไม่ได้ ภิกษุก็เหมือนกัน แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม โดยที่สุดว่าเรายินดีในเรือนร้าง ภิกษุใดมีความอยากอันลามก อันความอยากอันลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง คือฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดด้วนแล้วไม่อาจจะงอกอีก ภิกษุก็เหมือนกัน มีความอยากอันลามก อันความอยากอันลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองพระองค์นั้น ตรัสศีลไว้โดยชอบแล้ว ตรัสสมาธิโดยชอบแล้ว ตรัสปัญญาโดยชอบแล้ว โดยหลายขบวน เพียงเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้น อันเป็นทางย่ำยีความเมาเสีย เป็นทางนำความอยากเสีย เป็นทางถอนอาลัยขึ้นเสีย เป็นทางเข้าไปตัดวนเสีย เป็นทางสิ้นแห่งตัณหา เป็นทางฟอกจิต เป็นทางดับทุกข์ ในศีล สมาธิ ปัญญานั้น สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้วย่อมพ้นจากอาสวะโดยชอบคือ จากอาสวะคือความอยากได้ จากอาสวะคือความอยากเป็น จากอโดยเคารพ พึงศึกษาสิกขาคือปัญญายิ่งโดยเคารพ ในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตตรัสประกาศฉะนี้ พึงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทในนั้นเทอญ
เอาถาดมาอีกใบ กรวดในถาดแหละ กรวดในถาด เอาถาดใบโน้นก็ได้ๆ(นาทีที่ 01:59:58) มันไม่ต้องก้ม ไม่น่าเกลียด
เวลาอนุโมทนา มีอยู่ ๒ ตอน ตอนที่ว่ายะถา วาริวะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ ญาติทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว โดยรินน้ำให้มันเล็กที่สุด ถ้าวิธี(นาทีที่ 02:00:35) ด้วยจิตที่แน่นิ่งจึงจะรินน้ำให้เป็นสายเล็กได้ ด้วยจิตเป็นสมาธิอุทิศส่วนกุศล ครั้นพอจบยะถา แล้วก็ขึ้นสัพพีก็เทน้ำหมดแล้วพนมมือรับพร เอ้า, ญาติโยมทั้งหลายตั้งใจฟังอนุโมทนารับพร มันขรุขระ(นาทีที่ 02:01:02) นี่เขาเรียบร้อยอยู่แล้ว เอาๆนิ้วแตะกับๆปาก รินให้เล็กที่สุด
ตั้งใจให้พรผู้บวชใหม่
ให้พรทายิก ทายิกา