แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
ที่นี่เคยอบรมผู้พิพากษาหลายชุด บางชุดตั้งแต่ ๘๔ คน ผู้พิพากษาๆ อบรมผู้สอบได้ แล้วก็ฝึก ๑ ปี จึงให้นั่งบัลลังก์ ในระหว่างฝึก ๑ ปีนี่ก็ฝึกหลายๆอย่าง รวมทั้งอบรมหลักธรรมะด้วย ผมไปช่วยอบรมราว ๑๑ รุ่น ๗ ปี แล้วต่อไปก็ไม่ไปกรุงเทพ เขาตามมาที่นี่ ๓-๔ รุ่น บางรุ่น ๘๔ คน บางรุ่น ๓๒ คน บางรุ่น ๒๔ คน นั่งอย่างนี้แหละ ก็นั่งอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ ถ้ามาที่โรงเรียนนี้ก็นั่งอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ แล้วก็ซิสเตอร์ พวกซิสเตอร์ของคริสต์เตียน ๒ รุ่นมาที่นี่ แล้วก็นักศึกษา นิสิตนักศึกษาหลายรุ่น จำไม่ได้ว่ากี่รุ่น แต่หลายรุ่นในปีมาพูดกันที่นี่ นี่โรงเรียนนี้คุ้มค่าแล้วแหละ โรงเรียนก้อนหินนี่คุ้มค่าสร้าง คุ้มค่าที่สร้างโรงเรียน อบรมพระก็มีเหมือนกัน แต่อบรมนิสิตดูจะมาก มากกว่าพวกอื่น แต่ผู้พิพากษาก็ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ คน ผมอบรมผู้พิพากษามาประมาณ ๔๐๐ คนได้ ทั้งที่กรุงเทพและที่นี่
มันจะได้ความรู้สึกเมื่อนั่งกลางดิน มหาวิทยาลัยทางวิญญาณต้องนั่งกลางดิน มันจึงจะรู้อย่างที่ว่ารู้ด้วยจิตใจที่เป็นความรู้สึก พระพุทธเจ้าท่านตรัสธรรมะ สอนธรรมะประจำวันก็นั่งกลางดินทั้งนั้น ไปดูบาลีเถิด เพราะสิ่งที่เรียกว่าวิหารๆ มันพื้นดิน แล้วบางทีท่านก็ไม่ได้ทำในวิหาร โคนไม้ไหนก็ได้ อุโบสถแท้ๆ ไม่ได้ทำในวิหารก็มี คือทำกลางลาน กลางสนามหญ้า เขียนไว้ชัดในสูตรบางสูตร พอฝนตกก็ต้องเลิกปาติโมกข์ ฝนตกหรือพายุมาก็ต้องเลิกปาติโมกข์ เพราะว่ามันทำกันกลางแจ้ง บรรยากาศก็ต้องผิดๆกันมาก เพราะฉะนั้นผมจึงอยากจะให้ลองดูบ้าง
แต่นี่มันเป็นฤดูฝน มันไม่สะดวก คือยุงมันชุม ถ้ามันเป็นฤดูแล้ง มันไม่มียุง ที่ตรงนี้เป็นฤดูแล้งก็ไม่มียุง แต่นี่มันเป็นฤดูฝน อย่างน้อยเราก็ได้ชิม ชิมรสและความรู้สึกว่าท่านเคยทำกันอย่างไร ท่านเคยทำกันอย่างไร ในพวกพุทธบริษัทเรานี่ แม้ภิกษุ ภิกษุสงฆ์ท่านก็ประชุมกันกลางแจ้ง แล้วประชุมโอวาทปาติโมกข์ก็นั่งกันกลางแจ้ง ไม่ใช่ว่าจะไม่มีวิหาร มันก็พอจะมีแต่ว่าท่านนิยมทำกลางแจ้ง
พวกซิกส์ พวกซิกส์เขาอบรมกันเข้มแข็ง เขาจะประชุมกันเวลาหิมะตก ดึกๆหิมะตกนั่งประชุมกันกลางแจ้ง พวกซิกส์ พวกทหารซิกส์ ประชุมเข้มแข็ง ฉะนั้นเราก็ควรจะได้ๆรับการอบรมเช่นนั้นบ้าง ดึกๆนี่มันหนาว แล้วมันยังมีหิมะตก แล้วมันยังดึกด้วย แล้วนั่งประชุมกันกลางแจ้ง อบรมสั่งสอนทหาร ผู้ถือดาบจะกำจัดมุสลิม มันได้ผลเป็นความเข้มแข็งอย่างหนึ่ง อย่างน้อยมันก็ได้ผลที่พอดี ไม่อ่อนแอ ที่มันมากไปมันก็ได้ผลของความเข้มแข็งมาก เราก็ไม่ๆเอาถึงอย่างนั้นก็ได้ เราเอาที่พอดีตามธรรมชาติ อย่าอ่อนแอ แล้วมันจะอย่าอ่อนแอด้วย แล้วมันจะได้ความคิด ความเห็นที่กลมกลืนกับธรรมชาติด้วย เราจะพูดธรรมะกันในห้องเรียน ในตึกเรียนที่สะดวกสบาย แล้วก็เอาธรรมะนั้นมาพูดกันในป่า ในธรรมชาติอย่างนี้ บางคนจะคิดว่ามันก็มีผลอย่างเดียวกันแหละ เพราะพูดเรื่องเดียวกัน โดยบุคคลคนเดียวกัน แต่ผมว่ามันผิดกัน
แม้จะพูดโดยบุคคลคนเดียวกัน เรื่องเดียวกัน ในการพูดในท่ามกลางธรรมชาติที่มันมีอิทธิพลของมันเอง มันมีผลกว่า เพราะว่าพอเราเข้ามานั่งในธรรมชาติอย่างนี้แล้ว จิตมันเปลี่ยนแล้ว จิตเปลี่ยนไปอยู่ในสภาพอื่นแล้ว เพื่อรับสถานการณ์บางอย่าง และการรับคำพูดมันก็รับได้แปลกกัน การคิดนึกก็แปลกกัน เราควรจะได้รับทุกแบบ ฉะนั้นขอให้พยายามได้รับธรรมชาติ ได้รับผลจากธรรมชาติทุกๆแบบ ที่กลางทุ่งบ้าง บนภูเขาบ้าง ริมทะเลบ้าง แล้วแต่จะทำได้ ที่ไหนมีป่า มีไอ้ธรรมชาติก็ไปอยู่ที่นั่น ไปพักกันที่นั่นเป็นครั้งเป็นคราว พูดจากันที่นั่น แล้วสังเกตดูเถิด มันจะได้ผลต่างกันๆ เพราะว่าธรรมชาติมันช่วย
ความจริงที่ชวนมานั่งกันที่นี่สักครู่หนึ่ง แล้วก็จะได้ถ่ายรูปแปลกๆเอาไปดู รูปพวกซิสเตอร์ก็นั่งตรงนี้แล้วถ่ายรูปไว้ ก็ดูก็แปลกดี คือคนเขาก็ไม่รู้ว่านี่มาทำอะไรกันที่นี่ ดูแต่รูปไม่รู้ว่ามาทำอะไรกันที่นี่ แล้วก็ถ่ายรูปแปลกๆไว้ดู ถ่ายภาพที่ไม่น่าเกลียด ภาพไหนที่มันน่าเกลียดอย่าไปถ่าย เดี๋ยวมันเอาไปโฆษณา ใครเขาเห็นเข้าก็จะเข้าใจผิด
นี่จะต้องปรับปรุงให้ๆเหมือนเดิม ให้ดีกว่านี้ ตรงนี้ต้องโล่งหมด เอาๆๆรกๆออกหมด แล้วก็โล่งเห็นภาพ เมื่อเรานั่งอยู่ที่นี่ นี่ลมทะเลมาจากทางนี้ ตรงนี้ ๓ กิโลนะถึงๆอ่าว ถึงอ่าวทะเล ก้นอ่าวนี่ที่มันยาวยืดพุ่งไปนู่น ไปภูเวียง ประมาณ ๑๐ กิโล ที่ลมทะเลจะผ่านเข้ามา
บางฤดูสบายมาก แต่นี่มากันฤดูฝนจะทำยังไงได้ ก็คุณมาฤดูฝน มันก็ต้องเผชิญอากาศอย่างนี้ บนภูเขานางเอนนี้นี่น่าดู ภูเขาอีกลูกหนึ่งที่สูงมาก โล่งไปถึงทะเล ช่วยให้จิตโล่ง หรือว่าง หรือเกลี้ยงได้ง่าย เมื่อเราไปพูด นั่งพูดกันตรงที่มันโล่งสุดสายตาไปเลย จิตมันก็พลอยโล่ง พลอยเคลื่อน พลอยว่างง่ายกว่าที่จะพูดกันในห้องเรียนแคบๆ
ทีนี้ก็ไม่รู้จะพูดเรื่องอะไรดี โรงเรียนๆที่ไม่มีหลักสูตร นึกออกว่าเมื่อคืนเราพูดกันถึงอิทัปปัจจยตา กฎของอิทัปปัจจยตาเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ตรัสไว้โดยพระพุทธเจ้าที่ท่านเรียกว่าอาทิพรหมจรรย์ ทีนี้ดูให้ดี ดูไปตามอิทัปปัจจยตา ดูให้ดี ศึกษากันโดยทฤษฎีก็ได้ คือปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจยตาสำหรับศึกษานั้นก็คือสูตรยาวๆ วิชา สังขาร วิญญาณ นาม รูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ และทุกข์ทั้งปวง ยาวเฟื้อย แล้วก็ศึกษาโดยรายละเอียด รู้แล้วก็เป็นการรู้เท่านั้น เป็นการรู้โดยทฤษฎี ยาวมากแหละ มันก็ยาวมากเลย เดี๋ยวดูๆสูตรเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทรวมกันทุกสูตรก็แล้วกัน
ทีนี้พอมาถึงปฏิบัติ พอๆเปลี่ยนรูปเป็นเรื่องการปฏิบัติเหลือนิดเดียวๆ เหลือสั้นนิดเดียว ประโยคเดียวเท่านั้น ว่ามีสติเมื่อผัสสะเท่านั้นเอง อย่าทำผิดเมื่อมีผัสสะ คือทำให้ถูกต้องเมื่อมีผัสสะ มันเหลือเท่านั้น ปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่ใช่ซับซ้อน ลึกซึ้ง ยืดยาวอะไร ปฏิบัติเพื่อให้มีสติสัมปชัญญะเมื่อมีผัสสะ แล้วสิ่งทั้งปวงจะถูกต้องเอง มันสั้นนิดเดียว แต่ๆมันก็ไม่ง่ายนัก ในการปฏิบัติมันก็ไม่ง่ายนัก แม้มันจะเหลือสั้นนิดเดียว เพราะว่าเราไม่มีสติที่รวดเร็วพอ แล้วเราก็ไม่มีปัญญามากพอ ที่เป็นอยู่ตามปกติปัญญาของเราไม่มากพอ สติของเราไม่เร็วพอ
มันก็เป็นการยากที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องเมื่อมีผัสสะ เพราะว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่าผัสสะนั้นมันเร็วมากเลย มันเร็วเปรียบได้สายฟ้าแลบ ถ้าสติไม่เร็วพอ ปัญญาไม่มากพอ มันไม่เกิดธรรม ฉะนั้นจะต้องฝึกปัญญาให้รู้ว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไรนี่ให้มันเพียงพออยู่เรื่อย สิ่งทั้งหลายทั้งปวงยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ด้วยเหตุไร นี่ดูกันด้วย สติก็ฝึกสติตามแบบของการฝึกสติให้คล่องแคล่ว ชำนาญ สตินี่เป็นเครื่องขนๆเอาปัญญามา คือสติต้องระลึกขึ้นได้ก่อน แล้วจึงระลึกเป็นปัญญาออกมา มันคนละอันนะ สตินี่เป็นเหมือนกับเครื่องขนเอาปัญญามา แล้วปัญญาก็เพียงพออยู่แล้ว สติมันก็เอามาได้ทันควัน ในขณะแห่งผัสสะ ดังนั้นผัสสะนั้นจึงไม่ประกอบด้วยอวิชชา มันๆๆๆเป็นวิชชาสัมผัส มันไม่เป็นอวิชชาสัมผัส ถ้าสติไม่มา ถ้ามาไม่ทัน ปัญญาก็มาไม่ทัน ผัสสะนั้นจะเป็นอวิชชาสัมผัส คือสัมผัสด้วยอวิชชา อย่างนี้แน่นอนแล้ว มันก็ไปหาความทุกข์ อวิชชา ปัจจยา สังขารา วิญญาณัง (นาทีที่ 17:21)
อวิชชานี่ สัพเพสุ ธัมเมสุ อนุปติฎฐิตา (นาทีที่ 17:24) พระบาลีว่าอย่างนี้ คล้ายๆกับว่า อวิชชามันพร้อมอยู่ทุกเมื่อในที่ทั้งปวง ในสิ่งทั้งปวง พอเราเปิดโอกาสมันก็เข้ามาทันที มันเป็นธรรมชาติของอวิชชา ตามกฎอยู่ในธรรมทั้งปวง แต่ถ้าเรามีสติ มีสัมปชัญญะ หรือปัญญา อวิชชามันตกเข้ามาไม่ได้ มันเข้ามาในผัสสะนี้ไม่ได้ ในผัสสะนี้มันก็เป็นวิชชาสัมผัส เวทนาก็ไม่โง่ ตัณหาก็ไม่มี อุปาทานก็ไม่มี ความทุกข์ก็ไม่มี ถ้าผัสสะนั้นมันไม่มีวิชชา มันไม่มีปัญญา ไม่มีสติ แล้วมันก็เป็นผัสสะอวิชชา มันก็เกิดเวทนาของอวิชชา เกิดความอยากของอวิชชา คือตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติ เกิดทุกข์ทั้งปวง ล้วนแต่เป็นอวิชชาตลอดสาย นี่เรื่องอิทัปปัจจยตามันเป็นอย่างนี้
โดยๆการศึกษาทางทฤษฎีมากมาย พูดกันมากมาย แต่ถ้าไปปฏิบัติแล้วมันเหลือนิดเดียว มีสติเมื่อผัสสะ ใช้สัมปชัญญะแทนปัญญาได้ มีสติ สะโต จะ สัมปะชาโน สติ มีสติ สะโต ก็สัมปชัญญะ คือมีปัญญาพร้อมที่จะควบคุมผัสสะ มันคนละอัน ไอ้สตินั้นมันเป็นเรื่องระลึกได้ ก็คือทำให้มีมาเท่านั่นเอง มันจึงเหมือนกับเครื่องขนส่ง สติ ปัญญาคือความรู้ มาเป็นสัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่ด้วยปัญญาอย่างถูกต้อง ผัสสะมันก็ถูกต้อง ไม่มีอวิชชา
พวกที่เขาเล่นวิทยุกันนี่ เขาแสดงให้เห็นว่าไอ้คลื่นวิทยุที่มันส่งมานั้น ที่ๆทางส่งไอ้ต้นๆๆๆทางนั้น เขาส่งคลื่นมา ๒ ชนิด คือคลื่นพา คลื่นพาหนะ คลื่นที่เป็นคลื่นมา และอีกคลื่นหนึ่งคือ คลื่นเสียงที่มันแทรกมาในคลื่น ในคลื่นพา ไอ้ๆๆคลื่นพามันก็ขยักขย้อนไปตามคลื่นเสียงที่มันแทรก พอมาถึงฝ่ายเรานี่ มันมาถึงแล้วทั้งคลื่นพา และคลื่นเสียง คลื่นเสียงมันก็มาทำปฏิกิริยาถอยกลับออกมาเป็นเสียง เช่นเดียวกับเขาใช้เสียง ทางโน้นเขาใช้เสียง ก็มาแทรกเข้าไปในเครื่องที่ทำให้มันเกิดคลื่นที่มันแทรกกันได้ แล้วคลื่นนั้นมันมาๆทำถอยหลังกลับเป็นไอ้เสียง เราจึงได้เสียงที่นี่ไม่ใช่เสียงมันมา เสียงมันไม่ได้มา แต่เขาใช้เสียงทำคลื่นชนิดหนึ่ง ให้พามาโดยคลื่นชนิดหนึ่ง พอมาถึงนี่ไอ้ๆคลื่นเสียงนั้นมันมีเครื่องๆมือ เครื่องรับวิทยุที่ทำให้กลับ ถอยกลับมันก็ออกไปเป็นไอ้เสียงทีแรกที่พ่นเข้ามานี่ ฉะนั้นเสียงที่โน้นไม่ได้มา เสียงที่นี่ที่สร้างขึ้นมา นี่เรียกว่ามันมี ๒ คลื่น คลื่นเสียง กับคลื่นพา
นี่เราดูไอ้ผัสสะในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท มันก็คล้ายๆกัน สติเป็นคลื่นพา มันก็พาไอ้คลื่นปัญญา ปัญญามันก็คลื่นเสียง มาเป็นสัมปชัญญะมา มันก็มีปัญญามาใช้ในผัสสะ ไอ้ผัสสะมันก็เป็นวิชชาสัมผัส สัมผัสที่ควบคุมอยู่ด้วยวิชชามันก็ผิดไม่ได้ เพราะมันมีความรู้ มีปัญญามาทำให้มีสัมปชัญญะอยู่ มันก็เลยรู้สึกคิดนึกไปอย่างถูกต้อง ไม่เกิดเวทนาโง่ ไม่ๆยินดี ยินร้าย ก็ไม่เกิดตัณหาอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น มันก็ไม่เกิดอุปทาน แล้วมันก็ไม่เกิดทุกข์ เรื่องมีเท่านั้นเอง อย่าทำผิดเมื่อมีผัสสะ ในการปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทเหลือนิดเดียวสั้นๆ อย่าทำผิดในผัสสะ ต่อผัสสะ หรือกระทำให้ถูกในผัสสะ นั่นคือมีสติในขณะแห่งผัสสะ เราก็ไปฝึกสติกันให้เพียงพอ ให้คล่องแคล่ว ให้รวดเร็ว แล้วก็ไปศึกษาปัญญา โดยเฉพาะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เพียงพอ ให้คล่องแคล่ว พอผัสสะปั๊บ สติก็พาปัญญามาปุ๊บ ควบคุมผัสสะนั้น มันก็ถูกต้อง มันก็ทำผิดไม่ได้ มันก็ไม่เป็นทุกข์ คือมันไม่โง่ เมื่อๆมีผัสสะแล้วมันไม่โง่ เพราะมันมีสติปัญญามาคุมอยู่ ไม่เกิดเวทนาโง่ ไม่เกิดตัณหา ตัณหานั้นคือความอยากที่โง่ ความอยากของความโง่เรียกว่าตัณหา ไม่มีตัณหาก็ไม่มีอุปาทาน แล้วมันก็ไปเข้ารูปเดียวกันกับไอ้ปฏิจจสมุปบาทสายยาวตลอดสายโดยทฤษฎี
ถ้าเราอธิบายปฏิจจสมุปบาทตลอดสายโดยทฤษฎีได้ ก็เข้าใจได้แล้วว่ามันมาทำอย่างเดียวกัน มันมีผลอย่างเดียวกัน แต่วิธีปฏิบัติมันมีนิดเดียว ที่ว่ามีสติทันควันในขณะมีผัสสะ ดับทุกข์ได้เพราะมีการปฏิบัติถูกต้องต่อสิ่งที่เรียกว่าผัสสะ นี่คือหัวใจแห่งพุทธศาสนา คือเขาไม่สามารถเอาไปบิดผันอย่างที่กำลังทะเลาะกันอยู่อย่างเดี๋ยวนี้ได้หรอก เพราะเราดับทุกข์ได้โดยการกระทำถูกต้องต่อผัสสะ ไม่ใช่พระเจ้ามาช่วย ไม่ใช่พระเจ้าอย่างบุคคลมาช่วย แต่ถ้าจะพูดให้เป็นอุปมา เป็นพระเจ้าช่วย มันก็คือพระเจ้าอิทัปปัจจยตานั่นเอง เราปฏิบัติถูกต้องตามหลักของอิทัปปัจจยตา พระเจ้าอิทัปปัจจยตาก็ช่วย เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะว่าเราปฏิบัติถูกต้องในขณะแห่งผัสสะ ซึ่งเป็นขั้นตอนอันหนึ่งของอิทัปปัจจยตา ทั้งสายนั่นมันก็ ๑๒ สิ่ง ๑๑ อาการ ผัสสะมันอยู่ในอาการหนึ่งของสายนั้น ไอ้ตรงนั้นจุดสำคัญ ผิดก็ทุกข์ ถูกก็ไม่เป็นทุกข์
แล้วก็ควรจะทราบไว้ด้วยว่า ในพระบาลีอื่นอีกมากๆที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มันสำคัญอยู่ที่ผัสสะ ทุกเรื่องมันสำคัญอยู่ที่ผัสสะ ฉฉักกสูตรจะระบุที่ผัสสะทั้งนั้น จะเกิดกรรม หรือจะดับกรรมก็ตรงผัสสะ จะเกิดทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ก็ตรงผัสสะนี่ เพราะมีผัสสะอย่างไรมันก็ออกมาเป็นความคิดอย่างนั้น ถูกหรือผิดมันก็แล้วแต่ผัสสะ จนเกือบจะพูดได้ว่าผัสสะนั้นเป็นจุดสำคัญ จุดตั้งต้นของทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมะ ฉะนั้นก็ขอให้จำไว้ แล้วก็ไปศึกษาต่อไปข้างหน้า ทิฎฐินั้นมาจากผัสสะ ทิฏฐิผิด ทิฏฐิถูก ก็มาจากผัสสะ แต่มันเป็นมโนสัมผัสเสียมากกว่า แต่มโนสัมผัสมันก็มาจากผัสสะอื่นๆ ไอ้ข้างต้น ๕ อย่างนั้น ถ้าสัมผัสผิด มันก็เกิดความรู้ผิด พูดผิด อะไรผิด ถ้าสัมผัสด้วยปัญญาถูก มันก็เกิดความรู้ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะมีผัสสะจึงมีกรรม คือรู้สึกแล้วกระทำเป็นกรรมดี กรรมชั่ว แล้วแต่ว่าผัสสะมันโง่ หรือผัสสะมันฉลาด
ในพระบาลีพรหมชาลสูตร ตรัสไว้ชัดเลย มาจากผัสสะ ทิฏฐิทั้ง ๖๒ ชนิดนั้นมาจากผัสสะ มีอีกหลายเรื่อง ผมไม่ได้จำไว้หมด เพราะว่าได้ความว่าโอ้, มันตั้งต้นที่ผัสสะกันเสียจริงๆด้วยทุกเรื่อง ก็ไปสนใจ ไปศึกษาบันทึกไว้
ผมตั้งใจจะพูดต่อจากเมื่อคืนที่พูดเรื่องพระเจ้าสูงสุดอยู่ที่อิทัปปัจจยตา นี่ผมก็จะพูดต่อไปว่า ถ้าจะมองให้ละเอียด ไกลออกไปอีกๆ มันก็จะไปถึงผลของอิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตานี่ถ้าเรารู้แล้วก็คือ ให้ทำให้รู้สุญญตา ถ้าเรารู้อิทัปปัจจยตา คือปฏิจจสมุปปบาทตลอดสาย เราจะพบว่าอ้าว, ไม่มีคนๆ ว่างจากคนคือสุญญตา สุญญตา ว่างจากคน สุญญตา ว่างจากตัวตน เพราะฉะนั้นความรู้อิทัปปัจยตามันคลอดผลออกมาเป็นสุญญตา คือว่างจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ว่างจากไอ้ตัวตนก็แล้วกัน ฉะนั้นถ้าพระเจ้าแบบนี้ พระเจ้าแบบของเรานี่คืออิทัปปัจจยตาแล้ว มันก็เลื่อนไปเป็นสุญญตาก็ได้ จนพูดได้ว่าไอ้สุญญตานั่นแหละคือสิ่งสูงสุด ความว่างจากตัวตนนั่นแหละคือสิ่งสูงสุด
เมื่อคืนเราๆเน้นที่คำว่าสิ่งสูงสุด ไอ้สิ่งสูงสุดนั่นมันก็คือกฎอิทัปปัจจยตา แต่นี่มันมีผลจากนั้นไปอีกทีก็คือสุญญตา เอาสุญญตาเป็นสิ่งสูงสุดก็ได้ ภาวะที่ปราศจากตัวตนนั่นแหละคือสิ่งสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด แล้วทำอะไรได้หมด แต่อธิบายด้วยคำพูดยาก อธิบายยากว่าสุญญตามันทำอะไรได้ทุกอย่าง นี่พูดยาก หรือจะพูดแบบวัตถุ เพราะมันไม่มีอะไรก่อน มันจึงมีอะไรขึ้นมา แล้วมันยังขาดอะไรอยู่ มันจึงมีอะไรขึ้นมา ในความว่างนี่ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ช่วยให้เกิดอะไรต่างๆออกมา แต่ถ้าเราจะเอาความหมายกันแต่เพียงว่าสูงสุดๆแล้วก็ ก็มันก็คือว่างเท่านั้นแหละ คือสุญญตา
อนัตตาในความหมายสูงสุดคือสุญญตา อนิจจัง ทุกขัง ก็ช่วยให้เห็นอนัตตา เห็นอนัตตาแล้วก็คือจะเห็นสุญญตา คือว่างจากตัวตน ไม่มีอะไรสูงไปกว่านั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่านั้น ไม่มีอะไรประเสริฐวิเศษไปกว่านั้น
นิพพานเป็นบรมธรรม นิพพานเป็นว่างอย่างยิ่ง ปฏิสัมภิทามรรคไม่ๆใช่พุทธภาษิต ที่สรุปความได้ว่านิพพานว่างอย่างยิ่งไม่ใช่พุทธภาษิต เป็นผู้แต่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคซึ่งเชื่อว่าพระสารีบุตรนี่ นิพพานนั้นคือว่างอย่างยิ่ง เพราะท่านเพิ่งมาผูกเป็นคาถากันขึ้นในนี้ สมัยรัชกาลที่ ๓ นี้ นิพพานัง ปรมัง สุญญัง นั้นไม่มีในพุทธภาษิต เก็บความในปฏิสัมภิทามรรคมาผูกๆเข้าไปในคาถาบาทนั้น แต่ก็ใช้ได้ เนื้อความยังถูกต้อง นิพพานว่างอย่างยิ่ง ไอ้คำว่าว่างอย่างยิ่งนี่หมายความหมายครอบจักรวาลเลย มันว่าง ว่างจากตัวตน ว่างจากผล ว่างจากเหตุ ว่างจากๆสังคตะ ว่างจากสังคตะทุกชนิด ทุกรูปแบบ จึงว่านิพพานนี่มันว่างอย่างยิ่ง ทีนี้เราเอาคุณค่าในทางธรรมะ แล้วก็เรียกว่ามีค่าสูงสุด เราไม่ได้เอาคุณค่าทางวัตถุ หรือการกระทำอย่างวัตถุ บุคคล กระทำอย่างวัตถุ อย่างบุคคล เขาก็ไปเล็งที่บุคคลที่ช่วยๆใครได้ จะมีประโยชน์หรือช่วยใครได้ แต่ถ้าคุณค่านี้มันๆๆเล็งถึงไอ้ธรรมะล้วนๆโดยบริสุทธิ์ แล้วมันก็คือความเป็นอิสระอย่างยิ่ง ความว่างอย่างยิ่ง
คำว่าพระอิศวรนั้น อิศร ก็แปลว่า อิสระ แต่มันเป็นอย่างบุคคล อิสระไม่ได้กี่มากน้อยหรอก เดี๋ยวพระอิศวรก็มีความรู้สึก คิดนึกอย่างนั้น อย่างนี้ขึ้นมา มันก็เลยยุ่ง ไม่ว่าง ในความว่าง อิสระอย่างยิ่ง ไม่มีใครทำอะไรแก่ความว่างได้ เพราะมันว่าง พระอิศวรที่แท้จริงคือความว่าง พระอิศวรธรรมดาของพวกฮินดูก็คือพระอิศวรในความหมายแห่งบุคคล อยู่ที่กรุงเทพ หรือเรียนอยู่ในกรุงเทพ ผมก็คิดว่าคงจะไม่เคยฟังนิทานเรื่องพระอิศวรกินกุ้ง เรื่องนี้ผมก็เคยเล่าในวิทยุที่นำกลับมาอยู่บางครั้ง (นาทีที่ 33.19) ที่นี่มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนแก่ๆชอบเล่าให้เด็กฟัง ผมก็ฟังมาตั้งแต่เด็ก เป็นเด็กเล็กๆ เรื่องพระอิศวรกินกุ้ง พระอิศวร พระเจ้าสูงสุด แต่มันมีความรู้สึกอย่างบุคคล คิดดู มันเป็น Personal God มันมีความรู้สึกอย่างบุคคล แล้วก็คิดอย่างบุคคล
เขาเล่าให้ฟังว่าสัตว์ทั้งหลายไปฟ้องพระอิศวรเป็นเจ้าว่า เดี๋ยวนี้สัตว์ทั้งหลายเดือดร้อนสูงสุดแล้ว คือมนุษย์เขาเบียดเบียน ฆ่าแกง สัตว์ทั้งหลายเดือดร้อนเป็นที่สุดแล้ว แล้วในบรรดาสัตว์นั้น กุ้งมันก็ไปด้วย ก็เข้าไปในหมู่นั้น ไปฟ้องพระอิศวรด้วย กุ้งมันก็เกิดไปพูดเป็นพิเศษว่า เขาถูกมนุษย์เบียดเบียนยิ่งกว่าใครๆ กุ้งเขาว่าอย่างนั้น ยิ่งกว่าสัตว์ใดๆ พระอิศวรก็สวนออกมาว่า ถ้าอย่างนั้นเนื้อของแกคงจะกินดี ฉันก็อยากจะลอง พระอิศวรที่มีความรู้สึกอย่างบุคคลมันเป็นอย่างนี้ แล้วก็เลย กุ้งนั้นก็เลยตกใจสุดขีด มันก็ถอยกลับมาโดยไม่ได้กลับหลังหัน เท่านั้นละกุ้งมันจึงเอาหลังไปหน้า แล้วคุณคงจะไม่รู้ เพราะคุณไม่เคยไปๆดูกุ้งที่มันอยู่จริงๆในน้ำ พวกที่อยู่ริมๆคลอง ริมนี่ จะเห็นกุ้งมันไปทางหลัง เอาหลังไป เพราะกลับหลังหันไม่ทัน ตกใจพระอิศวรจะกิน กุ้งเลยวิ่งไปทางหลัง เอาหลังวิ่ง เอาหลังโก่งวิ่ง ก็เลย มันตกใจสุดขีดๆ แล้วก็ขี้ อุจจาระนั้นไปรวมอยู่ที่หัวหมด เขาจะเล่าให้เด็กฟังเพียงเท่านี้ ว่าไปดูกุ้งเดี๋ยวนี้มันก็วิ่งเอาหลังไป แล้วขี้อยู่บนหัวหมด แล้วเด็กๆก็ชอบใจ เห็นด้วย มันจะเป็นเรื่องที่เล่าให้เด็กฟังฉลาดก็ได้ แต่ว่ามันเป็นเรื่องกระทบพระเป็นเจ้ามากที่สุด มันจะเป็นเรื่องย่ำยีๆศาสนาอื่นหรือไม่ ก็เห็นว่ามันเป็นไปได้มากที่มันจะข่มขี่ ย่ำยี ศาสนาที่มีพระเจ้าอย่างบุคคล
คนแก่ๆเล่ากันเรื่อย แล้วก็เด็กๆก็ได้ฟังแล้วก็เล่าต่อๆกันมา ผมก็ยังจำได้อยู่จนบัดนี้ ทั้งที่ฟังมาตั้งแต่เด็กเล็กๆ ก็เลยเอามาพูดกันเดี๋ยวนี้ว่าไอ้พระเจ้าที่มีความรู้สึก มีอารมณ์อย่างบุคคลนั้นมันๆๆจะเที่ยงแท้ไปไม่ได้ แล้วมันจะอิสระไม่ได้ เพราะอารมณ์ครอบงำจิตของพระเจ้าชนิดนี้ได้ มีความรู้สึก มีอารมณ์อย่างคน แล้วมันจะสูงสุดไปได้อย่างไร ฉะนั้นเราก็มีพระเจ้าคือกฎของอิทัปปัจจยตา ถ้าเลื่อนไปอีกชั้นหนึ่งคือความว่างที่อิทัปปัจจยตาแสดงให้เราเห็นนั้น คือสุญญตา ผมก็เลื่อนพระเจ้าขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง เลื่อนชั้นพระเจ้าขึ้นไปอยู่ที่สุญญตาเมื่อคืนติดอยู่แค่อิทัปปัจจยตา ทีนี้ไม่มีพระเจ้าไหนไล่ทันแล้วไหม พระเจ้านี้เปิดลิบไปอยู่ที่สุญญตา ไม่มีพระเจ้าของใครจะมาไล่ทัน นี่รู้ไว้เถิดว่ามันจะช่วยให้มีความคิด ความรู้อะไรขยายตัวไปได้ไกล ในโอกาสหน้ามันก็คงมีสักวันหนึ่งที่จะต้องปะทะกัน ระหว่างศาสนา Dialogue (นาทีที่ 37:47) ระหว่างศาสนาเกี่ยวกับพระเจ้าเกี่ยวกับอะไรต่างๆ เราจะได้พูดเป็น เราไม่ยอมให้ฝรั่งมาขีดเส้นให้เราเรียนว่าพุทธศาสนาไม่มีพระเจ้า เรามีพระเจ้าอย่างของเรา ไม่มีพระเจ้าอย่างของแก และเป็นพระเจ้าที่จริงกว่า เหนือกว่า ไม่มีใครจะเหนือกว่าพระเจ้าอันนี้ไปได้แล้ว ความหมายสำหรับพระเจ้ามีอยู่กี่คำๆๆๆนั้นมาๆๆอยู่ที่พระเจ้านี้หมด พระเจ้าที่เป็นสัตว์ ที่เป็นอย่างบุคคลไม่ได้ เดี๋ยวก็หวั่นไหว อยากจะกินกุ้ง อยากจะโกรธ อยากจะรัก อยากจะอะไรขึ้นมาอีก
มันก็เห็นได้นะ คือคนธรรมดาจะมองเห็นได้ว่าถ้าพระเจ้ายังมีความรู้สึกอย่างบุคคล พอรักขึ้นมาก็โปรดปราน พอโกรธขึ้นมา แกล้งลงโทษ อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้หรอก จะยุติธรรมไม่ได้หรอก แล้วก็จะอิสระเหนือสิ่งอื่นใดไปไม่ได้ ต้องอยู่เหนืออารมณ์ เหนือไอ้ความรู้สึก เหนืออะไรทั้งปวงดังนั้นเรื่องสุญญตาเลยเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด แล้วมันไม่ใช่เป็นความไม่มีอะไร มันเป็นไอ้คำว่าไม่มีความหมายแห่งตัวตน แต่จะมาพูดกันความไม่มีอะไร มันก็ได้เหมือนกัน เพราะคำว่าสุญญตามันก็แปลความอย่างนั้นได้ เพราะความไม่มีอะไรมันจึงเกิดมีอะไรขึ้นมา เพราะความไม่มีอะไรมันให้เนื้อที่แก่ไอ้ๆสิ่งที่จะเกิดมาทีหลัง เป็นโอกาสให้เกิดสิ่งทีหลัง คือมีอะไรขึ้นมา นี่พระเจ้าสูงสุด คือความภาวะที่ว่างจากสังขตธรรมหรือสังขตลักษณะทุกชนิด เลยเป็นอสังขตะ
ที่นี้พระเจ้าฝ่ายศาสนาอื่นเขาๆอ้างให้เป็นอสังขตะเหมือนกันนะ หนังสือที่ย่อฉบับนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น พระเจ้าเป็นอสังขตะ แต่ถ้าพระเจ้ายังมีความรู้สึก มีอารมณ์อยู่ มันเป็นอสังขตะไปไม่ได้ อสังขตะแท้จริงมันต้องๆเหนือทุกสิ่งจริง อะไรไปทำให้เกิดการปรุงแต่ง เปลี่ยนแปลงขึ้นในสิ่งนั้นไม่ได้ สิ่งนั้นจึงจะเป็นอสังขตะ เรียกว่านิพพาน เรียกว่าอะไรก็ๆๆตามเถิด แต่ในความหมายที่เป็นอสังขตะ
ในพระไตรปิฏกมีหลายคำที่เราไม่ค่อยสนใจกัน เช่นคำว่าเกพลี คำว่าตาที (นาทีที่ 40:52) อีกหลายๆคำทีเดียว อตัมมยตา อตัมมยตานี้ดูจะไม่เคยได้ยินกันก็ได้ เป็นคำที่อธิบายยาก เข้าใจยาก ในพระบาลี พระไตรปิฏก ความที่ไม่ได้เกิดมาจากสิ่งนั้น อะๆ แล้วก็อะ แล้วก็ตัมมยตา อตัมมยตา อตัมมโย แล้วแต่สิ่ง (นาทีที่ 41:19)ที่จะใช้ มันเป็น มันไม่ มันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดมา หรือสำเร็จมาจากสิ่งนั้นๆ สิ่งใดก็ได้ สิ่งใดที่มีอยู่ก็มีไปเถิด แต่ว่าอันนี้ไม่ได้เกิดมาจากสิ่งนั้นๆ นี่คืออสังขตะ นอกนั้นก็เป็นบาลีเลียนเสียง อตัมมยตาๆ เพราะคำชนิดนี้เราไม่ค่อยเอามาพูด มาเรียน มาสอนกัน มันยังจึงมืดมน มันยังๆใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะยังไม่เข้าใจ
อะตอมมันก็ยังเป็นสังขตะ ภาวะที่ไม่ได้สำเร็จมาจากสิ่งนั้นๆซึ่งเป็นสังขตะ สิ่งที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สิ่งนี้ไม่ได้เกิดมาจาก ไม่ได้สำเร็จมาจากสิ่งนั้น เกพลี แปลว่าทั้งหมด เป็นทั้งหมด ตาที (นาทีที่ 42:32) แปลว่าคงที่ ก็มีคำแสดงความหมายอีกมากๆคำ แต่ว่ามันแสดงไปทางอื่น ทิศทางอื่น ไม่มุ่งจะแสดงไปในทางสูงสุดเด็ดๆขาด ซึ่งเราจำไว้ จำไว้ทุกคำแหละ แล้วก็ไปศึกษาๆๆ จะรู้จักพระพุทธศาสนาดีขึ้น แต่อย่าลืมว่าบางคำใช้ร่วมกันนะ ใช้ร่วมกันกับศาสนาอื่นในอินเดียที่พ้องสมัยกัน บางคำใช้ร่วมกันแต่ความหมายไม่เหมือนกัน แม้แต่คำว่า อะระหัง อะระหัง ภควา ก็ใช้ร่วมกันกับในศาสนาอื่นในอินเดีย แต่เขามีความหมายอย่างอื่น แม้แต่คำว่านิพพานเขาก็ใช้ร่วมกัน ในศาสนาอื่นก็มีนิพพานในความหมายของเขา เรามีนิพพานในความหมายของเรา พวกศิษย์ของพราหมณ์พาวรีมานพ ๑๐ กว่าคนจึงมาทูลขอให้พระพุทธองค์จงทรงแสดงนิพพานของพระองค์ นิพพานอย่างของพระองค์ นี่แสดงว่าเขาก็มีนิพพานอยู่แล้ว จะมาขอให้พระเจ้าจงทรงแสดงนิพพานอย่างของพระพุทธเจ้า
คำว่าอะระหังนี่เก่าแก่มากใช้ร่วมๆกันมาๆๆ ความหมายมันสูงขึ้นๆๆจนสูงสุด คำว่า ภควันต์ (นาทีที่ 44:05) นี่ดูจะเป็นคำแพร่หลาย ธรรมดามาก มันเป็นอาจารย์ มีหน้า มีตามาสักหน่อย เรียกภควันต์ (นาทีที่ 44:16)หมด เรามันมีความหมายอย่างอื่น ฉะนั้นเราจะต้องรู้ไว้ว่าในประเทศอินเดียนั้นมันสัมพันธ์กันโดยที่ว่า มันเกิดทีหลังๆๆๆนี่มาเรื่อยๆ มันก็ใช้คำๆเดิมนั้นในความหมายใหม่เสมอ พวกที่ต่ำเป็นๆอย่างบุคคล มีพระอิศวร อิศระอย่างบุคคล แต่พอมันสูงกว่านั้น มันเหนือบุคคล เหนืออัตตา คำว่าอิศวรก็ต้องแปลความหมาย เปลี่ยนความหมายเป็นว่าสูงสุดจริงๆ พระอิศวรแท้จริงก็คือกฎอิทัปปัจจยตา นั่นเป็นพระอิศวรแท้จริง แล้วก็ในภาษาธรรมะด้วย พระอิศวรในภาษาคน ภาษาธรรมดาก็เก็บเอาปล่อยไว้ให้เขาตามเดิม เขาเอาไปใช้กันตามเดิม พระอิศวรที่มีความรู้สึกอย่างคนมันลดต่ำๆๆลงไป จนไปอ่านเรื่องรามเกียร์ติดู พระอิศวรนี่แย่มากเลย นี่ก็ๆอย่าเอามาปนกัน
พระอิศวรสูงสุดก็คือกฎอิทัปปัจจยตา เมื่อเราพูดต่อจากเมื่อคืนคือเรื่องสิ่งสูงสุด หรือพระเจ้า ได้แก่สิ่งที่เรียกว่าสุญญตา ไอ้สุญญตานี่ดูจะรอดตัว เพราะว่าเราไม่เคยพบในลัทธิอื่น ไม่เหมือนคำว่านิพพาน ไม่เหมือนคำว่าอะระหัง ภควันต์ (นาทีที่ 46:12) มันพบในลัทธิอื่น ความหมายอย่างอื่น แต่สุญญตานี่มันคล้ายกับว่าพวกๆอื่นเขาไม่ต้องการ เขาไม่ขึ้นมาถึงความจริงชั้นนี้แล้วเขาจึงไม่มี ถ้าสุญญตา ก็สุญญตา มิจฉาทิฏฐิไปเลย คือไม่มีอะไรเสียเลย สุญญตาอย่างนั้นใช้ไม่ได้ สุญญตาที่แท้จริงคือ ไม่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีความหมายแห่งตัวตน ว่างจากการกระทบกระทั่งของสิ่งทั้งปวง เพราะไม่มีอะไรปรุงแต่ง นี่ดูจะพบแต่ในพระพุทธศาสนา จะอธิบายไปในแง่ของอิสรภาพก็ได้ ผู้สร้างก็ได้ ผู้ควบคุมก็ได้ อะไรก็ได้ๆเหมือนกัน
ถ่ายรูปแล้วนนะ ยกๆๆกองไปถ่ายข้างบนภูเขาอีกที ไปที่โบสถ์ เดินลัดๆทางไหน เดินลัดสั้นๆทางไหน (นาทีที่ 47:26) เอ้า, ถ่ายให้เสร็จที่ตรงนี้ ถ่ายให้สร็จ