แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสาธุชน นักศึกษา ผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย อาตมาขอแสดงความยินดีเป็นสิ่งแรกในการมาของท่านทั้งหลายสู่สถานที่นี้ ในลักษณะอย่างนี้คือเพื่อศึกษาธรรมะ ไปใช้ในการประกอบชีวิตหรือดำเนินการงานในชีวิตของตน ๆ ศึกษาธรรมะทำไม มันก็เรียกว่าศึกษาเรื่องความลับของธรรมชาติที่จะทำให้เราไม่ต้องเป็นทุกข์ ธรรมะในลักษณะนี้คือเรื่องความลับของธรรมชาติ ที่รู้แล้วสามารถจะปฏิบัติถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ และเราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ คำว่าธรรมะมีความหมายหลายสิบอย่าง อย่างในที่นี้หมายถึงเรื่องที่เราจะต้องศึกษาที่ยังเป็นความลับอยู่สำหรับเรา เป็นความลับของธรรมชาติ เมื่อรู้แล้วสามารถปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีทุกข์ มีความสุข สงบเย็น และก็เป็นประโยชน์ โปรดจำไว้ทั้งสองคำ สงบเย็นคำหนึ่ง ส่วนตัว และเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นอีกคำหนึ่ง และที่นี้ก็จะขอทำความเข้าใจเป็นลำดับไป เพราะว่าบางคนยังไม่ทราบแม้ว่าบางคนจะทราบแล้ว ว่าทำไมเราจึงใช้เวลาอย่างนี้ เรียกว่าโลกเวลาห้านอ เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของธรรมชาติ หรือของอาตมา อาตมาก็มีเรื่องส่วนตัวแต่เวลาอื่นไม่ค่อยมีแรงจะพูด มีแรงพูดบ้างก็สำหรับเวลาอย่างนี้ แต่นั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือไอ้เวลาอย่างนี้เหมาะสมหรับศึกษาเรื่องทางจิต นอนพักผ่อนมาตลอดเวลาตื่นขึ้นมาสดชื่นแจ่มใส่ จึงพร้อมจะศึกษาเรื่องลึกของธรรมชาติ คือ ธรรมะ มันเป็นเวลาที่เบิกบาน ทุกอย่างมันเตรียมพร้อมที่จะเบิกบาน เพื่อต้อนรับแสงอาทิตย์ ดอกไม้ป่าส่วนมากก็เตรียมเบิกบานเวลาอย่างนี้ นี้เราสังเกตดูว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้เวลาอย่างนี้ทุกพระองค์ แม้ศาสดาศาสนาอื่นก็ใช้ประโยชน์จากเวลาอย่างนี้ใช้ตรัสรู้ นี้เราไม่ไใช่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แต่เราทำการศึกษาเพื่อให้รู้อย่างเดียวกัน มันเป็นเวลาที่จิตกำลังเหมาะว่างอยู่สำหรับจะเติมอะไรลงไป ถ้าเป็นการปล่อยเวลากลางวัน เติมอะไร ฟังอะไร สัมผัสอะไร มากนักก็เหมือนกับว่าจิตมันเต็ม ถูกบรรจุที่ว่าน้ำชามันเต็มถ้วยล้นถ้วย ใส่อะไรก็ไม่ลง เวลาที่น้ำชายังไม่ล้นถ้วยนี้เหมาะที่จะใส่อะไรลงไป เรียกว่าจิตพร้อมถึงที่สุด จึงเลือกเอาเวลาอย่างนี้ ขออย่าให้เข้าใจไปว่าทำให้ลำบากหรือเสียเวลาที่จะนอน ให้เป็นสุขที่สุดอย่างที่เขาทำการอยู่ทั่ว ๆ ไป ใช้เวลานี้หาความสุขจากการนอน และที่ขอร้องที่ว่าเดินมาจาก Center มาสู่สถานที่นี้ ขอให้ถือเป็นฝึกบทเรียนตลอดเวลา เป็นโรงเรียนตลอดเวลาที่เดินมาร่วมสองกิโล เดินอย่างมีสติ กำหนดอิริยาบทเดิน ทำการศึกษาว่าไม่มีตัวผู้เดิน เป็นการเดินที่ไม่มีตัวผู้เดิน คือ มีแต่ร่างกาย กับจิตใจ จิตใจบังคับร่างกาย คือ เท้าให้มันเดินมา อย่ามีตัวกูเป็นผู้เดิน ที่ก็คือความลับที่สุดของธรรมชาติ ตามปกติเราจะรู้สึกว่าเรา ตัวกู ทำอย่างนั้นอย่างนั้นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้จะมาทำความรู้สึกคัดแยกตัวกู ของกูออกไปเสีย เหลือแต่ร่างกายกับจิตใจ และก็ทำอะไร ๆ ไปตามที่ควรจะทำ อย่างนี้เรียกว่าเดินโดยไม่ต้องมีตัวตนซึ่งเป็นผู้เดิน ให้เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจเป็นกิริยาของร่างกายจิตใจทำได้ตามลำพัง ไม่ต้องมีตัวกูผู้เดิน แต่โดยทั่วไปมันจะมีความสึกว่ามีตัวผู้เดินหรือตัวผู้ทำ อย่างนี้เราจะฝึกไม่มีตัวกูผู้กระทำ กำหนดสมาธิมีลักษณะเป็นสมาธิจะเรียกก็เรียกได้ว่า สุญญตสมาธิให้จำอีกสักคำว่า "สุญญตสมาธิ" เป็นสุญญตสมาธิเป็นการกำหนดความว่างจากตน และก็เดินมา ๆ บทเรียนนี้สูงสุดและมีค่าใหญ่หลวงมีค่าของพระพุทธศาสนา ท่านทั้งหลายอย่างได้ละประโยชน์แม้แต่การเดินมาที่นี้ และต่อไปก็ฝึกอย่างอื่น ๆ นั่งโดยไม่มีตัวกูนั่ง นอนอย่างไม่มีตัวกูนอน อย่างไม่มีตัวผู้กระทำ นี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นเรื่องของฝ่ายอื่น โดยเฉพาะเรื่องของฮินดู ก็มีตัวตน ๆ เรียกว่า อาตมัน เรียกว่า ผู้กระทำ เมื่อมายังไม่ได้บวชด้วยซ้ำไป เห็นหนังสือเล่มหนึ่งของคุณตา คุณตาก็เป็นักศึกษาธรรมะ ในหนังสือเล่นนั้นเขียนเรื่องที่ไม่ใช่พุทธศาสนา และก็ถูกกระทำให้เข้าใจว่าเป็นพุทธศาสนา เหมือนกับชีวิตร่างกายของเรามีตัวตนมีอัตตา มีประจำอยู่ในตัวตน และมันก็ออกมาทำหน้าที่ที่ตาเมื่อเห็นรูป ทำหน้าที่ที่หูเมื่อได้ยินเสียง ทำหน้าที่ที่จมูกเมื่อดมกลิ่น ทำหน้าที่ที่ลิ้นเมื่อรู้รส ทำหน้าที่ที่ร่างกายเมื่อมีสัมผัสทางผิวหนัง คิดนึกเมื่อมีเรื่องต้องคิดนึก เมื่อนับไปหน้าที่ที่ศูนย์กลางทำหน้าที่อย่างนี้ ถือได้ว่าเป็นของผู้ถือ ได้มาสอนมาก่อนพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทย ก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามาสู่แหลมทองนี้ ชาวอินเดียได้มาแล้วได้มาสอนลัทธิของตน นี้ก็เป็นเรื่องของลัทธิฮินดู อธิบายได้ว่ามันมีตัวตนมีอย่างเป็นประจำ อัตตาตัวตนซึ่งตรงกันข้ามกับพุทธศาสนาคือไม่มี มันเป็นเพียงเกิดตามธรรมชาติของร่างกายและจิตใจ ไม่ต้องมีตัวตนชนิดนั้น ก็พูดถึงว่าตัวตนชนิดนั้นสิงอยู่ในร่างกายนี้พอคนหลับมันก็ไปเที่ยวพอคนตื่นมันก็กลับมา อย่างนี้เป็นต้น คนตายมันก็ออกไปหาที่เกิดใหม่ ร่างใหม่อย่างนี้เป็นต้น แต่พุทธศาสนาเราไม่มีสิ่งชนิดนั้น มีแต่ร่างกายกับจิตใจซึ่งทำอะไรได้อย่างนั้น ร่างกายกับจิตใจสามารถทำอย่างนั้น เพราะงั้นจิตแหละกันอย่างเรียกว่าอัตตาเลย พวกนั้นมีถึงสาม มีร่างกาย มีจิตใจ และมีอัตมัต เรามีแต่เพียงสอง มีร่างกายกับจิตใจก็พอแล้ว นี้เรื่องเชื่อว่าจะต้องศึกษาให้ชัดออกไปซึ่งเป็นหัวใจของพระพทธศาสนาคืออนัตตา อนัตตาจิตที่ทำอะไรได้ทุกอย่างที่ไม่ใช่ตัวตน อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตนเป็นคำพูดคำเดียว ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เรามันอนัตตาแต่ปาก ใคร ๆ ก็พูดเป็นแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรอย่างไร ก็มีตัวตนตัวกูตลอดเวลาทุก ๆอย่างที่กระทำ ดังนี้ จึงสังเกตให้เห็นว่ามันเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เรื่องความไม่ใช่ตัวตนนี้ก็เข้าใจยาก ต้องตั้งใจกันให้ดี ๆ ศึกษาด้วยสติสัมปชัญญะละเอียดลออให้เข้าใจจนได้ ถ้าพูดกันไม่เข้าใจอย่างนี้ก็น่าหัวเราะ อาตมาก็กลายเป็นผู้นั่งเป่าปี่ให้แรดฟัง และท่านทั้งหลายก็เป็นแรดกันหมด แล้วมันจะได้อะไรเราดู คนหนึ่งนั่งเป่าปี่ให้แรดฟัง แรดทั้งหลายก็นั่งหลับ ฟังไม่ถูก ไม่รู้เรื่อง ขอได้โปรดระวังอย่าให้มีอาการอย่างนี้เลย ตั้งใจฟังทั้งหมด ด้วยจิตใจทั้งหมด ให้สมกับที่เราเลือกเอาเวลามาอย่างนี้มาเป็นเวลาสำหรับพูดกันอย่างที่กล่าวแล้วข้างตน ไม่รู้ธรรมะก็ไม่อาจจะขจัดความรู้สึกอัตตาออกไป พอมีอัตตา ความรู้สึกตัวกู ของกู มันก็เกิดอาการที่เรียกว่ากิเลศนานาชนิด แล้วมันก็กัดเจ้าของ ชีวิตที่โง่ไม่รู้เรี่องอนันตารู้แต่เรียกนัตตา ชีวิตมันจะกัดตัวเอง เราสั้น ๆ ว่าชีวิตมันกัดเจ้าของ เดี๋ยวความรักมันเกิดขึ้นมา กัดตามแบบของความรัก เดี๋ยวความโกรธก็เกิดขึ้นมา ก็กัดตามแบบความโกรธ เดี๋ยวความเกลียดเกิดขึ้นมาก็กัดตามแบบของความเกลียด เดี๋ยวความกลัว กลัวอย่างโง่เขลา ก็กัดตามแบบของความกลัว ความตื่นเต้น ๆ อะไรมาหน่อยไปดูมวย ไปดูกีฬา เกิดความตื่นเต้น ๆ ในอะไรก็ตาม มันกัด กัดเจ้าของ เดี๋ยวก็วิตกกังวลไปในอนาคตจะเป็นอย่างไร ๆ มันก็กัดเจ้าของ อาลัยอาวรณ์ไปถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้วแต่หลัง มันก็กัดเจ้าของ เดี่ยวอิจฉาริษยาซึ่งเป็นได้ง่ายที่สุด อิจฉาริษายาเป็นเมื่อไรก็กัดเจ้าของ มีความหวง ห่วงมาก ก็กัดเจ้าของ เข้มข้นเป็นความหึง ๆ ฆ่ากันตาย เรียกว่ากัดเจ้าของ ตัวอย่างเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว ว่ามันกัดเจ้าของ กัดด้วยอะไร มันมีตัวกู ทำให้เกิดความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวง หึง อย่างนี้เรียกว่าชีวิตมันกัดเจ้าของ ถือว่ามันเลวกว่าหมา เพราะว่าหมามันยังไม่กัดเจ้าของ ขอให้สนใจจัดการสิ่งเหล่านี้ออกไปเสียให้หมดสิ้น จะได้สิ่งที่น่าชื่นใจว่าเป็นชีวิตที่สดชื่นและเป็นประโยชน์และไม่กัดเจ้าของมีชีวิตสดชื่น เยื่อกเย็น และก็เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายและก็ไม่กัดเจ้าของ นี้คือสิ่งที่จะขอให้ทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้น ที่นี้จะพูดต่อไปถึงการศึกษาที่เรียกว่าศึกษาธรรมะ ในที่นี้บอกกล่าวให้ท่านทั้งหลายรู้ล่วงหน้าว่าเราจะตั้งตนด้วยการศึกษา หัวข้อธรรมที่เป็นเสมือน ก ข ก กา ABCD ของพระธรรม หรือของพระศาสนา การเรียนอย่างเป็น ก ข ก กามันเป็นหลักฐาน ลึกซึ้ง ถี่ถ้วน การเรียนหนังสือมีได้สองชนิด ท่านทั้งหลายบางคนอาจจะไม่เคยเห็นก็ได้ แต่อาตมาเคยเห็นเราเรียนอย่าง ก ข ก กาตามลำดับ ๆเป็นเวลาก็มากหน่อยแหละ แต่มันรู้ดีรู้จริง แต่ก็มีการเรียนอีกอย่างหนึ่ง เขาไม่เรียนเป็นก ข ก กาเอาหนังสือขี้นมาอ่านเลย อาของอาตมาสอนหนังสือให้กับหลานสาวคนหนึ่งสมันนู้นสมัยเด็ก ๆ ไม่ใได้เรียน ก ข ก กา เอาหนังสือลัษณาวงศ์มาถึงอ่านเลย อ่านไปทีละคำ ๆ เหมือนเรียนหนังสือจีน ลองดูดีไม่ได้เรียนแบบ ก ข ก กามีความรู้ผิวเผินมาก เสร็จแล้วก็พออ่านออก พอรู้เรื่อง เขียนก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นพอไม่มีการเรียนชนิดที่ว่าเป็นรากฐานตลอดไปเป็นอย่างเรียนหนังสือเรียนแบบ ก ข ก กาสะกดตัวไปตามลำดับ อย่างนี้มันรู้จริง ๆ ถึงที่สุด ไม่เหมือนกันเรียนหนังสือจีนทีละตัว จำไว้แล้วก็อ่านไป แต่ก็ยังอ่านหนังสือได้เหมือนกัน ในที่สุดคนนั้นเขาก็อ่านหนังสือได้พอรู้เรื่อง แต่เรียกว่ามันแกนๆ ที่นี้ก็จะถามว่า ก ข ก กาอะไรกัน สำหรับพระพุทธศาสนา ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หกอย่างข้างใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์หกอย่างข้างนอก เรียกว่าอายตนะ อายตนะ แปลว่า สิ่งที่เราสัมผัสรู้สึกได้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เรารู้สึกสัมผัสได้ แต่มันต้องรวมสิ่งที่ทำการสัมผัส ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่สัมผัสอาตนะ ตัวอายนะโดยตรง คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มีตาไว้สัมผัสและรู้จักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ขอร้องอยากให้เป็นเรื่องครึคละหรือน่ารำคาญ คนสมัยใหม่คงจะรังเกียจหรือรำคาญจะท่องจำเรื่อง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นเรื่องครึคละ เรื่องของชาววัดตามศาลาวัดบ้าๆ บออย่างนี้ไม่ถูก มันเข้าใจผิดเอามาก ๆ มันเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่ต้องรู้จักไอ้ ก ข กา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เหมือนกันไม่ได้เรียนก ข กา และก็มาเรียน จึงขอให้ตั้งใจเรียน ศึกษา เข้าใจ สิ่งที่เรียกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งทุกคนมีแต่ทุกคนก็โง่ ขออภัย พูดตรง ๆ คำมันหยาบคาบ มันไม่รู้จักแม้แต่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าคืออะไร ขอให้รู้จักตาที่ทำหน้าที่รู้จักรูปเห็นรูป หูรู้สึกเสียง ฟังเสียง จมูกได้กลิ่น หกคู่นี้ขอให้จำไว้เถอะ มันเป็นก ข ก กาที่ตายตัวและสำคัญที่สุด ไม่รู้หกคู่นี้แล้วไม่มีหวังที่จะรู้พุทธศาสนาอย่างถูกต้องและแท้จริง รู้ลึกลงถึงว่ามันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นของธรรมชาติ มันสัมผัสรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันเป็นเรื่องทั้งหมดของจักรวาล คุณดูว่าถ้าไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่รู้สึกอะไร กระนั้นโลกนี้ไม่มี ๆ ถ้าเราไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่รู้อะไรก็เท่ากับโลกนี้มันไม่มี แล้วถ้าเรามีตา หู จมูก ลิ้น หาย ใจ แต่ไม่มีอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันก็เท่ากับโลกนี้ไม่มีอีกเหมือนกัน โลกนี้ทั้งหมด ๆ มันรวมแต่รูป เสียง กลิ่น โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หกอย่างนั้น คือ ตัวโลกนี้ๆ ก็ไปเรียนโลกเรื่องดินไปตามแบบวิทยาศาสตร์แบบวัตถุนั้น มันคนละเรื่อง กับเดี๋ยวนี้เรียนธรรมและจิตใจโลกในที่นี้คือ รูป เสียง กลิ่น โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่เราจะรู้จักรู้สึกหรือเกี่ยวข้องกับมันได้โดยศึกษาให้เกี่ยงข้องกับมันได้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตั้งต้นที่ต้องเรียนไปอย่าง ก ข ก กา ปัญหามันก็มีอยู่ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันมีระบบประสาทของมันเอง พอตาได้รูปมากระทบกันมาระบบรประสาทตาทำหน้าที่ว่ารูปนั้นอย่างไรเสียงนั้นอย่างไร ระบบประสาทที่อวัยวะนั้น ๆ มันทำหน้าที่และมันรู้ แต่มีความโง่มีอวิชชามีความโง่มันว่ากู ตาเห็นรูปมันว่ากูเห็นรูป หูระบบประสาทหูได้ยินเสียง มันว่ากูได้ยินเสียง จมูกระบบประสาทจมูกได้กลิ่นมันกว่ากูได้กลิ่น กูลิ้มรส กูสัมผัสผิวหนัง กูคิดนึก มันเป็นกูไปเสียหมด ในการเป็นอยู่ตามปกติเป็นอย่างนั้น ท่านต้องมองให้เห็นว่ามันเป็นอย่างนั้น ด้วยความไม่รู้ ไม่รู้ว่าใครรับผิดชอบมันก็ไอ้คนไม่รู้ผู้ไม่รู้รับผิดชอบความโง่อันนี้ ตาเห็นรูปก็กูเห็นรูป หูได้ยินเสียงก็กูได้ยินเสียง มันเอากูเข้ามาสวมหมดเลย เจ็บนิดหนึ่งระบบประสาทรู้สึก มันก็ว่ากูเจ็บ มีดบาดนิ้วมันก็ว่ามีดบาดกู มันโง่กี่มากน้อยมีดบาดนิ้ว ก็ว่ามีดบาดกู ถ้ามีดบาดนิดเดียวมันก็ไม่มีเรื่องราวอะไรนักหนา แต่ถ้ามีดบาดกูหมายถึงความตาย ความหมายมันมากคือกูมันจะตาย ไอ้ตัวกูทำเรื่องราวให้มากมายยุ่งยากลำบาก ขอให้รู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าตัวกู ผีหลอก ตัวกูนี้เป็นผีหลอกไม่ใช่ตัวจริง รู้จักให้ดีที่สุด ไม่อย่างนั้นอาตมาขอยืนยันว่าท่านไม่อาจจะเข้าใจพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาสอนเรื่องไม่มีตัวกู มีแต่ร่างกายกับจิตใจ ความรู้สึกเหล่านั้นไม่ใช่ความรู้สึกของตัวกู เป็นความรู้สึกของระบบประสาทที่มีอยู่ประจำที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และใจด้วยแต่ไม่เรียกระบบประสาท แต่มีความหมายเดียวกับระบบประสาท มีที่ใจด้วย นี้ลองเปรียบเทียบกันดู มีตัวกูกับไม่มีตัวกูมันต่างกันอย่างไร พอมีตัวกูมันก็มีผู้อย่างนั้นอย่างนี้อย่างโน้นสารพัดอย่าง ถ้ามีไม่มีตัวกูมันก็ไม่มีตัวผู้ทำหรือตัวผู้ถูกกระทำ มันจะไม่มีตัวด่าเขาและไม่มีผู้ที่ถูกเขาด่ามันไม่มีอะไรๆ ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดกิเลศและก็มีความทุกข์ มันไม่อาจจะเกิดความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉา ริษยา หึงหวง อย่างที่กล่าวมาแล้ว ชีวิตไม่กัดเจ้าของ ถ้าไม่มีตัวกูไอ้สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่เกิดมา พอมีมาแล้วก็มีสิ่งที่เรียกว่าเป็นทุกข์ ในที่นี้เราเรียกว่ามันกัดเจ้าของ มันยากกี่มากน้อยที่ท่านจะควบคุมมันไม่ให้เกิดความรู้สึกเป็นตัวกู ไม่ยากแต่ถ้าไม่ควบคุมก็ต้องเป็นทุกข์ มันต้องศึกษาให้รู้และควบคุมมันให้ได้และชีวิตนี้ก็จะไม่กัดเจ้าของ ประโยชน์มันมีมากถึงขนาดนี้ ท่านจะคิดว่าเหลือความสามารถก็ได้ และก็ไม่ต้องทำและก็ไม่ต้องศึกษาก็เป็นคนธรรมดา แต่ถ้ารู้และควบคุมได้ท่านก็จะเป็นบุคคลชนิดพระอริยชน อริยเจ้า มันเลื่อนไปทางโน้น ถ้าไม่รู้เรื่องจริง ๆ จะควบคุมอย่างไรและท่านจะเอาอะไรมาควบคุม มันต้องมีสติเพียงพอมีปัญญาเพียงพอ ปัญญาคือความรู้ รู้ความจริงของสิ่งเหล่านี้และก็มีสติเพียงพอที่จะเอาปัญญานี้มาทันควัน ทันควันที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น สติเอาปัญญามาทันควันมาเผชิญหน้าสิ่งที่มากระทบตา กระทบหู กระทบจมูก ดังนั้นท่านต้องมีปัญญามากพอ ความรู้มากพอ และก็มีสติเร็ว ตามธรรมดามันไม่เป็นอย่างนั้น ความรู้ก็ไม่พอสติก็ยุ่มยามท่านจึงต้องมาฝึกที่ Center ของเราก่อน มีการฝึกอานาปานสติ เมื่อฝึกแล้วมีปัญญาก็มากพอ สติก็มากพอแถวสมาธิก็มากพอ สัมปชัญญะก็มากพอ สิ่งที่จำเป็นสี่อย่างนี้ สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ ที่จำเป็นจะต้องมีในการควบคุมการเกิดแห่งความทุกข์ สติไปเอาปัญญามาศึกษาไว้มากพอ กรณีจะใช้ปัญญาข้อไหนมาใช้ทันเวลา ปัญญาที่ถูกตัวออกมาแยกส่วนแบบนี้เรียกว่าสัมปชัญญะ ไม่ได้เอามาทั้งหมดเพราะเอามาไม่ได้ หรือมันไม่จำเป็นจะต้องเอามา เอามาเฉพาะแต่จะจัดการกับกรณีนี้เท่านั้น ตาเห็นรูปอย่างนี้ทำอย่างไร หูได้ยินเสียงอย่างไรนี้จะต้องทำอย่างไร ปัญญาที่แยกตัวมาเฉพาะส่วนเฉพาะกรณีแบบนี้เปลี่ยนชื่อเรียกว่าสัมปชัญญะ ท่านก็ต้องฝึกสัมปชัญญะนี้มากพอ กำลังของสัมปชัญญะมันไม่มากพอก็ต้องใช้กำลังของสมาธิระดมลงไปมันจึงพอที่จะกัดปัญหาเหล่านี้ ปัญญานั้นดีจริงแต่ถ้าไม่มีสมาธิก็เป็นหมัน ปัญญาเปรียบเหมือนความคม คมเฉียบคมเหลือประมาณแต่ถ้าไม่มีน้ำหนักจะกดลงไปมันจะตัดได้คิดดู มีดมันคมเหลือประมาณแต่ถ้ามันไม่มีอะไรที่เป็นน้ำหนักที่กดลงมัน มันก็ตัดได้ก็เป็นหมัน ความคมก็เป็นหมัน มันต้องมีทั้งความคมและน้ำหนักที่จะกดมันลงไป ความคมคือปัญญาน้ำหนักที่จะกดลงไปคือสมาธิ สติไปเอามาเฉพาะกรณีเป็นสัมปชัญญะที่เหมาะสมที่จะปราบไอ้ฆ่าศึกอันนั้น เพื่อเข้าใจง่ายก็ยกตัวอย่างเหมือนเรามีอาวุธ ในบ้านเรามีอาวุธครบทุกอย่างสะสมไว้ แต่ครั้นถึงคราวที่จะกำจัด ศัตรูเราใช้ทีละอย่าง อย่างไหนเหมาะกับกำจัดศัตรูรายนี้ก็เอาอย่างนั้น เอามาทั้งหมดมันก็จะได้บ้า หรือว่าในตู้ยาของเรามียาครบทุกอย่าง แต่พอเราจะกินยาเรากินอย่างเดียวเลือกอย่างเดียว กินยาทั้งตู้กินได้ที่ไหนนี้เรียกว่าฝึกไว้ให้พอ สติเร็วพอ ปัญญามากพอ สติสัมปชัญญะเลือกเอามาถูก ตัดถูกคนถูกกรณี สมาธิมากพอระดมกำลังลงไป ถ้าท่านฝึกอานาปสติสำเร็จท่านจะมีสิ่งเหล่านี้อย่างเพียงพอหรืออาจจะเหลือเผื่อก็ได้ ถ้าเหลือเผื่อมันเป็นเรื่องปาฏิหาริย์น่าอัจรรย์มันเตลิดเลยไปยาว มันยุ่งยากเรื่องปาฏิหาริย์ ขอร้องอย่าไปสนใจ เอาแต่เพียงดับทุกข์ได้เท่าไรถูกต้องเพียงพอ นี้มันก็จะสามารถควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดโง่เป็นตัวกูของกูการเห็นรูปก็เป็นเรื่องของระบบประสาทของตา การได้ยินเสียงก็เป็นเรื่องของระบบประสาทของหู อย่าเป็นเรื่องของกูก็เป็นตัวกู มันจะมีเรื่องมากมันจะเกิดกิเลศเป็นบวกเป็นความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัวอย่างที่ว่ามาแล้ว ขอให้ศึกษาให้ชัดเจนอย่างนี้มันจึงจะดับทุกข์ได้ ที่นี้เราจะดูกันให้ละเอียดลงไปอีก ว่าไอ้ตัวกู ๆ นั้นจะเกิดขึ้นมาอย่างไร มีธรรมชาติของมันอย่างไร ศึกษากันให้เพียงพอ ความรู้สึกว่าตัวกูเป็นความโง่ เหมือนผีหลอกเกิดชั่วคราวมันรู้สึกอย่างไรหรือกระทำอย่างไรมันก็เกิดตัวกูขึ้นมา มันต้องมีการกระทำก่อน มันจึงเกิดโง่ตัวกูเป็นผู้กระทำ มีการเดินก็กูเดิน กินอาหารก็กูกิน มีการอาบน้ำ ก็กูอาบน้ำ การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ กูถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นี้ต้องดูให้ดีจนเห็นชัดว่ามันเป็นเรื่องของกายและใจไม่ต้องมีตัวกู แต่แล้วมันก็เกิดตัวกูขึ้นมาได้อย่างไรความลับมันอยู่ที่ตรงนี้ ตัวกูหรือความรู้สึกว่าตัวกูตัวฉันตัวเราแล้วแล้วแต่จะเรียก ส่วนหนึ่งมันเป็นสัญชาติญาณ ๆ Instinct มันเป็นสมบัติของชีวิตตามธรรมชาติ ชีวิตทุกชนิดมันจะต้องมีสัญชาติญาณพอที่จะมีตัวกูสำหรับจะหนีภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนีภัย หนีอันตราย นี้เพื่อเลี้ยงชีวิตหาอาหารเลี้ยงชีวิต กระทั้งจะสืบพันธุ์หรืออะไรต่าง ๆ โดยความรู้ที่เป็นสัญชาติญาณ อันนี้มันก็มีความหมายว่าเป็นตัวกู แต่มันไม่ได้ไม่เข้มข้มมากเหมือนไอ้ตัวกูที่โง่ ๆ ที่หลังนี้ แต่มันก็มีต่างสัญชาติญาณ สิ่งที่มีชีวิตและจะต้องมีความรู้สึกที่มีความหมายแห่งตัวกูตามสมควรแก่ชีวิต คนก็มีระดับหนึ่ง สัตว์เดรัชฉานก็มีระดับหนึ่ง แม้แต่ต้นไม้ก็มีระดับหนึ่ง พูดอย่างนี้ท่านก็ไม่เชื่อ ก็ไม่ต้องเชื่อก็ได้รอไปก่อน แต่ต้นไม้ก็มีความรู้สึกที่จะสงวนชีวิตของมัน ท่านลองไปทำให้มันตายมันจะต่อสู้ ไปฟันมันจะงอกเนื้อออกมามันจะต่อสู้เพื่อความมีอยู่ของชีวิตแม้แต่ต้นไม้ มันไม่ออกลูกเข้าไฟไปสุมโค่นมันเข้ามันกลัวตายมันก็ออกลูก นี้เป็นความจริงต้นไม้ต้นไหนมันไม่ออกลูกเลยเอาไฟไปสุม มันออกลูกและตายเลยก็ได้มันทิ้งลูกไว้สืบพันธุ์ แสดงว่ามันมีความรู้สึกตัวตนตัวกูตามแบบของสัญชาติญาณ อาตมาเคยทำต้นขนุนต้นนั้นมันไม่ออกลูกพอเอาไฟไปสุมมันก็ออกมาหลายลูก ถ้าสุมมากเกินไปมันก็ตาย ไม่ต้องตายก็ได้แล้วมันก็จะออกลูกต่อไปมันก็จะออกบ่อย ๆ สัญชาติญาณมันจะมีอยู่สำหรับความไม่สูญพันธุ์ มีจุดที่เรียกว่าว่าเป็นตัวตนแต่เราจัดเป็นความโง่เป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้ามีตัวตนจะเกิดความรู้สึกกิเลศประเภททั้งหลายดังที่กล่าวมาแล้ว ตัวกูผิวเผินตามสัญชาติญาณไม่ถึงกับฆ่าใครได้ ไม่ถึงกับบ้ากามไม่ถึงกับเลวร้ายขนาดนั้น นี้เป็นตัวกูพื้นฐานตามอำนาจของสัญชาติณาณ ที่นี้ประเภทที่สองเป็นตัวกูเข้มข้ม ตัวกูเข้มข้มมันเกิดมาจากสิ่งแวดล้อมหรือแม้ที่สุดการศึกษา พอออกมามันก็มีการศึกษาอยู่ในท้องมันไม่มีการศึกษาเพราะว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันทำอะไรไม่ได้มันยังหยุดอยู่ แต่พอออกจากท้องแม่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เริ่มทำงาน ตาเห็นรูปมันก็กูเห็นรูป นึกว่ากินนมแม่อร่อย ความอร่อยทำให้เกิดความรู้สึกกูอร่อย ไปกินของขมเข้ามันกูไม่อร่อย ไปจับไฟเข้าก็กูเจ็บ ความรู้สึกว่ากูนี้มันเพิ่งงอกออกที่หลัง ผีหลอก แต่ผู้ที่ยังไม่รู้ความจริงข้อนี้ แต่โดยธรรมชาติแล้วมันก็ไม่ดีแต่มันพลอยมี กระโดดออกมาจากความโง่ทีหลังการกระทำช่วยจำไว้สำคัญมาก ตัวกู ๆไม่ได้มีอยู่ ไม่ได้รอไม่ได้มีตัวกูอยู่สำหรับกินข้าวให้อร่อย แต่พอกินข้าวอร่อยมันรู้สึกตัวกูอร่อย มันก็เรื่องหนึ่ง เดี๋ยวฟังเพลงไพเราะ ตัวกูไพเราะสลับกันอย่างนี้ ตัวกูผีหลอกอย่างนี้เกิดทางจิตทางวิญญาณเกิดอยู่เป็นประจำเดี๋ยวเกิดในเรื่องนั้นเดี๋ยวเกิดในเรื่องนี้ ขอให้รู้จักความเกิดชนิดนี้ไว้ว่าเป็นความการของความทุกข์โดยตรง เกิดจากท้องแม่เสร็จแล้วเกิดที่เดียวเสร็จแล้ว กว่าจะเข้าโลง แต่เกิดตัวกูชนิดนี้ไม่รู้วันและเท่าไร ตลอดชีวิตเกิดเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ แสน ๆ นับชาติเป็นตัวกูเกิดหมื่น ๆ แสน ๆชาติ ตัวกูทางจิตวิญญาณความโง่นี้มันเกิดเป็นแสน ๆ ชาติ ๆ ล้าน ๆ ชาติมันก็น่าจะนิพพานคือเบื่อได้ ไม่อาจจะเกิดตัวกูชนิดนี้ในท้องแม่ แต่จะมีบ้างก็เป็นเรื่องสัญชาติญาณให้ออกมา พอออกก็สิ่งแวดล้อมมาให้เกิดตัวกูเข้มข้น ทางตารูปสวยที่เขาเอามาแขว้นให้ดูมันเกิดตัวกูทางตาเข้มข้นขึ้นม เสียงขับกล่อมอันไพเราะก็เกิดตัวกูทางหู ทางจมูกก็เหมือนกัน ทางลิ้นก็เหมือนกัน กินนม กินอาหารกินอะไรก็เสริมความรู้สึกว่าตัวกู ๆ เข้มข้นทุกที ๆ นี้สิ่งแวดล้อมทำให้ตัวกูประเภทที่สองนี้เข้มข้ม ๆ ขึ้นมา เรามาเสียเวลาศึกษาเรื่องนี้อาตมาขอร้องอย่างเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่รู้ไม่ชี้ ศึกษาตัวกูที่มันเข้มข้น ๆ ขึ้นมายิ่งขึ้น ๆ มันอร่อยทางตา อร่อยทางหูทางจมูกทางลิ้นทางใจสูงขึ้นไป ๆ จนถึงระดับกามอารมณ์เพศหญิง เพศชายสูงสุดควบคุมยากและมีปัญหา มันค่อย ๆ มากขึ้นตามความรู้สึกของสัญชาติญาณ เรียกว่าสัญชาติญาณเดินมาผิดทางแล้ว เดินมาทางอวิชชามากขึ้น มากขึ้นจนเป็นความโง่เต็มรูปแบบและสิ่งแวดล้อมก็ช่วยทำอย่างนั้น เราบอกลูกเด็ก ๆ พ่อแม่พี่เลี้ยงก็บอกลูกเด็ก ๆ ว่าของหนู ๆ ไอ้นั้นก็ของหนู ไอ้นี้ก็ของหนู บ้านเรือนของหนู พ่อแม่ของหนู อะไรก็ของหนู เด็กมันก็มีความรู้สึกโง่ ๆ มีอะไรเป็นตัวกูของกูมากขึ้น ยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งเช่นเด็กเดินไปชนเก้าอี้หรือชนเสาแล้วมันก็เจ็บ บางทีก็พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงไปตีเสาไปตีเก้าอี้ช่วยเด็ก มันทำให้น้องหรือทำลูกกูเจ็บ ก็มันก็เพิ่มความโง่ให้เด็ก ให้เด็กทารก มันไม่ได้บอกว่าแกที่ทำให้เป็นเช่นนี้ มันกลับไปช่วยทำอย่างนั้น ความรู้สึกตัวกูตัวสูตัวมึงก็มากขึ้น ๆ ในเด็กจนเป็นปัญหาแยกออกไปไม่ได้ นี้คือสิ่งที่จะต้องศึกษาเราไม่ได้โง่มาแต่ในท้อง เราเพิ่งโง่ที่หลังเมื่อเกิดมาแล้ว โง่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพิ่มขึ้น ๆ นี้ความโง่มันสูงสุดมีตัวกูเป็นผีหลอกทุกทีไป แล้วก็ถ้าอะไรมาเกี่ยวข้องกับตัวกูนี้มันก็โง่อีกที โง่ว่าของกูถ้ามีตัวกูมันก็โง่ว่านี้ของกูมันช่วยไม่ได้ เพราะถ้ามีตัวกูมันมีอะไรมาเกี่ยวกับกูมันก็โง่ว่าของกูมันจึงมีตัวกูของกู มีตัวตนของตน ภาษาบาลีเรียกตัวตนว่าอัตตา แต่ของตนเรียกว่า อัตตนิยา อัตตนิยาแปลว่า เนื่องด้วยอัตตาของ ๆ ตน เราจึงมีความรู้สึกเป็นตัวตนและของ ๆ ตนยิ่งขึ้น ๆ มากขึ้นเท่าไรมันจะส่งให้ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น อย่างที่กล่าวมาแล้วมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น แล้วก็สู้รบกับมันเรียกว่าชีวิตกัดเจ้าของ ถ้าไม่เกิดความรู้ที่โง่ความรู้ว่าเป็นตัวตนของตนสิ่งเหล่านี้ไม่มีมันจะไม่มีความรัก ความโกรธ ความกลัวเข้มข้นขนาดนั้น มันจะมีแต่ความรู้เพียงความรู้ก็พอว่าอย่างนี้ต้องทำอย่างไร ก็ทำไ ป ๆ ถ้าไม่ต้องทำก็ไม่ต้องทำ มันก็ไม่เข้มข้มถึงขนาดเป็นความรัก ความโกรธ ความกลัวอะไรต่าง ๆ อย่างที่กล่าวมาแล้ว มันก็สบายดี ชีวิตมันไม่กัดเจ้า นี้มันมีความลับที่ไม่ได้โง่มาจากในท้อง พออกมาจากท้องเริ่มโง่ตามที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เริ่มทำหน้าที่พอไม่ได้ทำอะไรก็จะโง่ว่ากูกระทำ พอได้รู้สึกอะไรมันก็รู้สึกว่ากูได้รับผลอย่างนั้น ดังนั้นจึงมีอร่อยหรือไม่อร่อย ไพเราะหรือไม่ไพเราะ ตามเรื่องทุกเรื่องที่มันมี ความลับมันมีอยู่ที่ว่าไอ้ตัวกูที่กระทำนั้นมันผีหลอกไม่ใช่ความจริง แต่ระบบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รับอารมณ์และรู้สึกอารมณ์นั้นของจริง ๆ มันมีอยู่เท่านั้น และความโง่คืออวิชชาไม่ได้ศึกษามาจากท้องแม่มันก็ตัวกูเกิดขึ้น ตัวกูเกิดขึ้นทุกกรณีไป ไปสัมผัสอะไรหรือรู้สึกอะไรก็เกิดตัวกูเป็นเจ้าของเรื่องนี้สำคัญมากตัวกูไม่ได้มีอยู่จริงเพิ่งเกิดเมื่อมีการกระทำหรือรู้สึกผลของการกระทำ พูดให้ไม่มีคนเชื่อให้นักศึกษาเขาค้านเราก็พูดว่าการกระทำให้เกิดผู้กระทำ หรือผู้กระทำเกิดจากการกระทำ ไอ้ลอจิทโง่มันก็ว่าบ้าไม่มีผู้กระทำจะมีการกระทำได้อย่างไร เอามาพูดกันไม่ได้เพราะเหตุนี้ เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่ความจริงไอ้ตัวกูมันเป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการกระทำ เรียกว่าผู้กระทำเกิดที่หลังการกระทำหรือเกิดจากการกระทำ ประโยคนี้ขอให้จำตายตัวเด็ดขาด ผู้กระทำเพิ่งเกิดจากการกระทำและที่หลังการกระทำไม่ผิดลอจิลเพราะมันไม่ใช่เรื่องลอจิททางวัตถุ ถ้าเป็นเรื่องลอจิททางวัตถุมันต้องมีผู้กระทำถึงจะมีการกระทำเดี๋ยวนี้มันไม่ใช่เรื่องวัตถุ เป็นเรื่องทางจิตใจและโง่เป็นอวิชชา ตัวกู ๆเป็นความรู้สึกเพิ่งโผล่ออกมาเมื่อมีการกระทำหรือรู้สึกต่อผลการกระทำ เดินแล้วมันจึงจะรู้สึกกูเดิน นั่งแล้วกูรู้สึกว่ากูนั่ง ไม่ได้มีตัวกูซึ่งจะเป็นผู้เดินผู้นั่งก่อนการเดินหรือการนั่ง มันจึงเดินอย่างสูญตาจาก Center มาที่นี้มันไม่ได้มีตัวผู้เดิน กายกับใจทำหน้ามาอย่างนี้และก็โง่ว่ากูเดิน มาหัดซะใหม่ว่ากูไม่มีเดินมีกายกับใจเคลื่อนไหวไปเรื่องของธรรมชาติ ฝรั่งเข้าก็สะดุด doing without doer doing คือการกระทำ doer ที่ไม่มีตัวผู้กระทำ ถ้าเข้าใจข้อนี้ก็คือเข้าใจหัวใจของพระพุทธศาสนามีการกระทำมีรู้รสที่เป็นผลของการกระทำแต่ตัวกระทำแท้จริงหามีไม่ ตัวตนหรืออัตตาหามีไม่มีแต่ปฏิกิริยาที่เกิดจากการกระทำแต่จิตมันโง่ว่ากูกระทำ กูได้รับผลของการกระทำข้อนี้ขอให้คิดนึกศึกษาดูเองไม่ต้องเชื่ออาตมา ไม่ต้องเชื่อใครก็ได้ แม้แต่พระไตรปิฏกจะว่าอย่างนี้ก็ไม่ต้องเชื่อ เอาไปดูเองให้เห็นจริง ให้เห็นจริงตัวการกระทำ (ภาษาบาลีนาทีที่ 49) จงเอาไปดูเองเห็นเองไม่ต้องเชื่อใคร ตามกาลามสูตรพระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ต้องเชื่อแม้แต่ตถาคตพูดกล่าว พระไตรปิฏตไม่ต้องเชื่อที่คนอื่นพูดคนอื่นบอกหรือเล่า มันมีความจริงแสดงอยู่แล้วในตัวการกระทำหรือคำพูด อย่างพูดว่าไม่มีตัวกูกระทำไม่ต้องเชื่อที่ผู้พูดดูที่ตัวการกระทำมันเป็นเพียงปฏิกิริยาเกิดมาจากความโง่ของกายและจิตใจที่ได้กระทำอะไรลงไปก็เกิดตัวกู เพียรศึกษาเรื่องสูญญตา สูญญตาไม่มีตัวผู้กระทำ ไม่มีอัตตา มีแต่กิริยา และปฏิกิริยาตามเรื่องของธรรมชาติ ท่านจงมีสติสัมปัชชญะ ฝึกเมื่อกินอาหารโดยเฉพาะอย่าให้โง่ไปปรุงว่าอร่อยหรือไม่อร่อยให้เป็นเรื่องของระบบของลิ้นให้รู้สึกอย่างนั้นแล้วปัญญหาก็ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องหลงไปซื้อของแพงมากินให้เต็มบ้านเต็มเรือนตามที่เขาโฆษณานี้มันหลง จะกินอาหาร จะอาบน้ำ ถ่ายปัสสาวะจะทำการทำงานที่ออฟฟิสที่บ้านที่เรือน เมื่อมีการได้ผล ขาดผล เสียหาย ให้มองเห็นว่าเป็นปฏิกิริยาเกิดจากการกระทำผิดหรืออะไรก็ตาม อย่าให้มีตัวกูอย่างให้มีของกู นี้คือหัวใจของพระพุทธศาสนา ไม่มีตัวกูไม่มีของกูมันก็หมดปัญญา มันจะไม่มีตัวผู้รัก ไม่มีตัวผู้โกรธ ไม่มีตัวผู้เกลียด ไม่มีตัวผู้ตื่นเต้นไม่มีตัวผู้วิตกกังวล อาลัมอาวรณ์ ไม่มีตัวผู้อิจฉาริษยา หวงหึง สบายกี่มากน้อยท่านไปดูเอง เป็นเรื่องที่ต้องรู้สึกจิตใจตัวเอง ขอให้ฝึกเป็นประจำวันนะไม่ต้องไปที่ป่าที่วัด แต่มาที่นี้เป็นศึกษาวิธีที่จะคิดที่จะนึกและฝึกตลอดเวลาที่บ้านหรือเวลาการงาน แม้ทำการงานอยู่ก็อย่าไปหลงโกรธ หลงรักอะไรขึ้นมาให้มันวุ่นวาย ให้มันเป็นไปตามเรื่องของธรรมชาติว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ เคลื่อนไหวอย่างนี้รู้สึกอย่างนี้ ได้ผลอย่างนี้จะรู้สึกอย่างนี้ มีตัวกูขึ้นมาเมื่อไรมันก็เป็นท่วมขึ้นมาเป็นภูเขาเหล่ากาติดคุก ติดตะราง ไอ้ของตัวกูซึ่งมันผูกมัดนั้นแหละก็คือความทุกข์ ที่นี้จะเรียน ก ข ก กาโดยตรง ฟังมันเป็นเรื่องดีๆ อย่างเห็นเป็นเรื่องบ้าๆ บอ ๆ อายตนะหกชิ้นคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้างใน ข้างนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ คงจะน่าสงสารนะ ถ้าไม่รู้จักตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตัวเอง แล้วมันก็ไม่มีทางสิ่งที่เข้ามากระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันต้องรู้จักเป็น ก ข ก กา ที่เรียนแล้วรู้หนังสือหนังหา ไอ้ข้างในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หกอย่าง ข้างนอกคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หกอย่างเป็นคู่ ๆ กัน เราจะพูดที่เดียวทั้งหกคู่มันก็ยาก พูดเป็นตัวอย่างคือคู่แรก ตากับรูป ตามันมีอยู่พร้อมระบบประสาทที่มีอยู่ที่ตา เสียงรูปที่จะกระทบตามันอยู่ข้างนอกพอมันถึงกันเข้าเมื่อไร ตากับรูปถึงกันเข้าเมื่อไรมันก็จะเกิดการเห็นทางตา หูกับเสียงกระทบกันเข้าเมื่อไร ก็จะเกิดการได้ยินทางหู จมูกได้กลิ่นเมื่อไรก็จะเกิดความรู้สึกทางจมูก ลิ้นกระทบรสอาหารเมื่อไรมันก็รู้สึกรู้ทางลิ้น ความรู้สึกทั้งหกทางนี้เกิดจากการกระทบของอายตนะนี้เรียกว่า วิญญาณ ข้อนี้มันก็แยกนี้ยุ่งอีกแล้วเพราะคำว่าวิญญาณมีความหมายหลายอย่าง แล้วพวกที่มาที่นี้ก่อนมีพุทธศาสนามา เขาได้สอนเรื่องวิญญาณไว้อย่างอื่น ก่อนมีพุทธศาสนาชาวอินเดียก็มาแล้วแล้วก็มาสอนตามที่เขารู้อยู่ก่อนแล้วตามฮินดูว่าวิญญาณอย่างที่กล่าวเมื่อตะกี้ว่าวิญญาณเข้าออกจากร่างกาย วิญญาณรู้รส วิญญาณเห็นรูป วิญญาณฟังเสียง อย่างนั้นไม่ใช่วิญญาณนี้ ไม่ใช่วิญญาณอย่างพระพุทธเจ้าตรัส ถ้าพูดอย่างนั้นมันหมายถึงวิญญาณมีอยู่แล้วตลอดเวลาทำหน้าที่อย่างนั้นอย่างนี้ แต่วิญญาณที่พระพุทธเจ้ากล่าวคือไม่มีวิญญาณที่เพิ่งเกิดจากอายตนะหมดหน้าที่แล้วมันก็ดับไป ไม่มีวิญญาณถาวรนิรันดร์เหมือนกับพวกโน้น วิญญาณมีความหมายหลายอย่างยุ่งยากที่สุดพูดไปก็หมดเวลาเปล่า แต่รู้ไว้ว่าวิญญาณทางพุทธศาสนาเพิ่งเกิดเมื่ออายตนะกระทบกันไม่ได้อยู่นิรันดร์ คำว่า วิญญาญแปลว่าสิ่งที่ควรรู้ก็มี มันทางศัพท์ทางธรรมนั้นมากมายการรู้แจ้งทางอายตนะก็มีสิ่งที่ควรจะรู้แจ้งก็เรียกว่าวิญญาณก็ได้ คำอธิบายชั้นสูงสุด การรู้พระนิพพานก็รู้วิญญาณเกิดจากการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในและอายตนะภายนอกทั้งหกอายตนะนี้วิญญาณเกิดขึ้นเพราะการกระทบอายตนะที่ตรงคู่ๆ แล้วก็เลิกวิญญาณก็ดับก็เป็นเวทนา เป็นเวนทา เป็นผัสสะ เป็นไปตามแต่วิญญาณจะเป็นการเกิดขึ้นมาปรากฎขึ้นมาทุกทีที่มีการกระทบกันของอายตนะ ข้อนี้ท่านอย่าได้เพียงแต่ฟังไม่เกิดประโยชน์ต้องดูที่ตัวจริงที่เกิดจริง ๆ ตาเห็นรูปเกิด เกิดจักษุวิญญาณอย่างไร พอเสร็จเรื่องแล้วดับไปอย่างไร ก็เกิดเป็นผัสสะ เป็นเวทนา เป็นตัณหานี้เรียกว่าเรียนธรรมะจากของจริงไม่ใช่เรียนจากหนังสือ ไม่ใช่เรียนจากการฟังเทศน์ ไอ้นั้นเป็นการเรียนรู้วิธีเรียนวิธีปฏิบัติ แต่เรียนจริงๆ ต้องเรียนจากสิ่งที่เกิดจากชีวิต เอาตัวชีวิตนี้เป็นพระคัมภีร์ เอาชีวิตจิตใจเป็นพระไตรปิกฏ เป็นพระไตรปิกฏสำหรับเรียนไม่ได้เรียกจากเล่มหนังสือมันจะรู้จัดตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดีๆ รู้จักรูป เสียง กลิ่น รสดีๆ กระทบกันแล้วเกิดวิญญาณอย่างไร ช่วงขณะอย่างไรและดับไปอย่างไร นี้ ก ข ก กา ของเราบทตนก็คือว่าอายตนะในนอกกระทบกันเกิดวิญญาณทาง กาย หู จมูก ลิ้น กาย ใจเหมือนกันทั้งหกอย่าง อายตนะกระทบกันและเกิดวิญญาณนี้ตัว กอ หรือ กา ที่แรก เราจะต้องรู้สึกหรือรู้จักโดยจิตใจ ไม่ใช่จำ (ภาษาบาลีนาทีที่ 58) รู้จักเฉพาะคนรู้ด้วยจิตใจของตนเอง ที่นี้ตัว ขอ ตัว คอ หรืออะไรต่อไปตามลำดับ มันเกิดวิญญาณ ตาในคู่แรก ตาเห็นรูปเกิดจักษุวิญญาณมันเป็นสามสิ่งขึ้น ตาสิ่งหนึ่ง รูปสิ่งหนึ่ง เกิดจักษุวิญญาณการเห็นทางตาอีกสิ่งหนึ่ง สามสิ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า(ภาษาบาลีนาทีที่ 58) เมื่อสิ่งทั้งสามถึงกันอยู่ทำงานร่วมกันอยู่เรียกว่า ผัสสะ วิญญาณทำหน้าที่รู้จักรูปโดยทางตา มักจะสอนกันผิด ๆ ไม่ถูก พูดตามธรรมเนียม ผัสสะต้องมีส่วนประกอบสามอันไม่ใช่สอง ผัสสะแปลว่าการกระทำ วิญญาณกับรูปสัมผัสกันโดยมีวิญญาณเป็นสื่อ ผัสสะมีสองจังหวะ จังหวะแรกเรียกว่า ปฏิพันธสัมพันธ์ คือสักแต่ว่ากระทบ สัมผัสครั้งที่สองคือรู้ความหมาย ยกตัวอย่างทางตา ตาสัมผัสรูปที่มองเห็น สักว่ากระทบระบบประสาทมันก็รู้ได้ เพียงว่า มิติอย่างไร คือรูปร่างอย่างไร ขนาดอย่างไร สีสันอย่างไร นี้มันรู้โดยทางวิญญาณ ครั้งแรกรู้เพียงว่ารูปร่างอย่างไร สีสันอย่างไร หรือถ้าเป็นเสียงก็ว่าเสียงอย่างไร ยังไม่รู้ความหมาย เหมือนกับสัตว์ได้ยินเสียง นี้คือความรู้สึกแบบวิญญาณนั้นคือวิญญาณททางตา ทางหู ก็ตามพอมันอย่างนั้นไปแล้วมันมีสัมผัสซ้ำเรียกว่า มโนวิญญาณ เกิดขึ้นและก็มาสัมผัสกับรูป ก็โอ้ยก็รูปอย่างนั้น สีสันอย่างนั้นคืออะไร สัมผัสครั้งที่สองคือให้รู้ว่าคืออะไรคือ ดอกกุหลาบ หรือขี้หมา จึงจะรู้ว่ารูปร่างอย่างนี้ สีสันอย่างนี้ยังไม่รู้ว่าอะไรคือผัสสะที่แรกเรียกว่าปฏิธสัมผัส มโนวิญญาณเกิดขึ้นอีกทีเกิดซ้ำว่าไอ้นั้นคืออะไร เป็นรูปอะไร มีความหมายอะไร จึงรู้จักว่าเป็นอะไร เป็นรูปความหมายอะไรมันก็รู้ความหมาย นี้เรียกว่าสุนัข นี้เรียกว่าแมว นี้เรียกว่าดอกไม้ นี้เรียกว่าเก้าอี้ มีความหมายอย่างนั้นอย่างนี้ ขอให้จำไว้ว่าสัมผัสจะมีสองสัมผัส สองระยะอย่างนี้ทุก ๆ อายตนะตัวอย่างทางตาเห็นว่ามิติอย่างไร กว้างยาวอย่างไร สีอะไรอย่างนี้ที่แรกก็รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไรจึงจะรู้ว่าดอกกุหลาบ มันรู้จักเพียงคลื่นแสงโดยคลื่นแรงที่ส่งเข้ามามันรู้ที่คลื่นแสงที่แรกแล้วจึงค่อยรู้ว่าที่เห็นรูปร่างอย่างนั้นคืออะไร ทางหูเหมือนกัน สัมผัสคลื่นเสียงที่เข้ามากระทบ Frequency ที่เท่าไร เท่าไรอย่างไรมันเหมือนกัน เสียงที่เกิดมาจากการส่งแล้วแต่อะไรมันจะทำให้เกิดเสียง มันก็คือรู้จากมิติของเสียง ไม่รู้ว่าเสียงอะไร ถ้ามโนวิญญาณสัมผัสอีกทีจึงรู้ว่าเสียงอะไร เสียงรอ้งเพลงหรือเสียงอะไร เสียงของผู้หญิงหรือเสียงของผู้ชายเสียงด่าหรือเสียงชม มโนวิญญาณมากระทำอีกที ทางจมูกกลิ่นมากระทบจมูก ไอ้สิ่งที่มากระทบจมูกเป็นไอ้ระเหย เข้มข้มเท่าไร ในปริมาณเท่าไรความเข้มข้นของไอระเหยที่มากระทบจมูก ยังไม่ทันรู้ว่ากลิ่นอะไร ต้องมโนวิญญาณมาสัมผัสอีกที่รูปว่ากลิ่นดอกไม้หรือกลิ่นอุจจระได้กลิ่น รสก็เหมือนกัน พอลิ้นมันรู้สึกระบบประสาท ต่อมามันเอาวิญญาณมาสัมผัสโอ้ยหมู ไก่ ของหวาน ของคาวมันก็รู้ สัมผัสผิวหนังก็เหมือนกัน มันดูแต่ว่ามันกระด้างหรืออ่อนหรือนิ่มนวลเเท่าไรรู้แต่เพียงมิติต่าง ๆ ของสิ่งที่มากระทบผิวหนัง ที่นี้พอมโนวิญญาณมาสัมผัสก็รู้ว่าอะไรที่มากระทบ อะไรแข็ง ๆ อ่อน ๆอะไรหยาบกระด้าง นี้ก็เหลือแต่ความคิดทางความคิดจิตใจมันเป็นความกระเพื่อมแห่งจิตใจมีมิติอย่างไร ต่อเมื่อมโนวิญญาณมาสัมผัสอีกทีจึงรู้ว่าเรื่องอะไรๆ ความหมายอย่างไร นี้คือสัมผัสสองชั้นอย่าง เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งซึ่งทางวิทศาสตย์ทางโลกเขาไม่สนใจ และเข้าก็ไม่รู้เราเป็นพุทธบริษัทเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของพระพุทธเจ้าของให้รู้ว่าอายตนะทั้งสองกระทบกันแล้วเกิดผัสสะ เป็นวิญญาณ สองจังหวะอย่างไรทุก ๆ อายตนะ ที่นี้ผัสสะก่อนนี้ก็มีปัญหา พอเวลานั้นมันโง่หรือฉลาด ผัสสะนั้นเกิดอยู่อย่างนั้นทั้งสองจังหวะนั้นแหละ ถ้ามันมีวิชาหรือปัญญาเกี่ยวข้องด้วย ผัสสะนั้นก็เรียกว่า ผัสสะฉลาด ถ้ามันไม่มีปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง โง่เท่าเดิมจากท้องแม่อย่างไร ผัสสะนั้นก็ไม่มีปัญญามาเกี่ยวข้องเรียกว่า ผัสสะโง่ มันเกิดผัสสะโง่กับผัสสะฉลาด คือผัสสะลืมตาหรือผัสสะหลับตาขึ้นมาอย่างนี้ ถ้ามันโง่ไม่รู้เรียกว่าอวิชชาสัมผัส อวิชชาสัมผัสสัมผัสด้วยอวิชชา แต่ถ้ามีปัญญามาด้วยทางไหนก็ตามมีปัญญารู้แจ้งต่อ ผัสสนะนั้น เรียกว่า ผัสสะฉลาด เรียกว่าวิชชาสัมผัส ตรงกันข้ามอวิชาสัมผัส สัมผัสโง่ วิชชาสัมผัสสัมผัสฉลาด ท่านจงรู้สึกตัวเองในชีวิตประจำวันว่าสัมผัสที่ไหนเป็นสัมผัสฉลาดหรือสัมผัสโง่ เพราะมันมีผลต่างกันมากนัก สัมผัสโง่และมันก็เกิดเทวนาโง่ เทวนาคือความรู้สึกหลังจากผัสสะเรียกว่าเวทนา ถ้าโง่มันก็จะเห็นเป็นน่ารัก น่าพอใจ สุขหรือทุกข์ ถ้าว่ามันไม่โง่ก็เป็นเช่นนั้นเอง เป็นการสัมผัสและออกมาเป็นความรู้สึก ไม่หลงว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก สุขหรือทุกข์ เห็นว่าเป็นเช่นกันเองตามแบบของเวทนา ถ้าผัสสะมันโง่ มันก็เกิดเทวนาโง่ เป็นสองความหมาย ขอใช้ภาษาวิทยาศาสตร์ธรรมดาหน่อยว่าเป็นบวก หรือเป็นลบ ถ้ามันถูกใจมันก็เป็นเวทนาบวก น่ารักอยากจะได้อยากจะมีอยากจะยึดครอง ถ้าไม่ถูกใจมันก็เป็นเวทนาลบ ไม่ถูกใจอยากจะฆ่า อยากจะทำลาย นี้เป็นปัญหาใหญ่ของมนุษย์ในโลก เป็นประจำวันความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ Positive or Negative คนหลงแต่เป็นเรื่องบวกให้พรให้เป็น Positive มันบ้าบวกกันทั้งโลก มันก็โง่บ้าบวกไอ้ลบมันโง่เกลียดกลัวเป็นจัดการไม่ถูก กลัวจนจัดการไม่ถูก เกลียดจนจัดการไม่ถูกนี้มันเป็นเรื่องลบ มันมีความเป็นบวกหรือเป็นลบอย่างใดอย่างหนึ่งในเวทนานั้น เรียกว่าเทวนาโง่ เทวนาโง่ ถ้ามีสติปัญญามาตั้งแต่ผัสสะมันก็เป็นเวทนาฉลาด เวทนาที่ไม่โง่ไม่ถูกหลอกให้เป็นบวกเป็นลบมันก็ไม่ยิ่งดีไม่ยินร้าย ถ้าโง่เป็นบวกเป็นลบมันก็มียินดียินร้าย มีรักโกรธเกลียดกลัวต่าง ๆ อย่างที่ว่าไปแล้ว เรามีเวทนาที่เรารู้จักว่าเป็นผลอย่างนี้เป็นอย่างนี้จะเกิดอะไรขึ้นเราก็รู้ อย่าไปหลงรักหรือหลงเกลียดกับมัน มันมีสองอย่างรักหรือเกลียดบวกหรือลบ โง่มาจากผัสสะก็โง่จนถึงเวทนา มันก็รู้สึกเป็นบวกเป็นลบอยู่ตลอดไป นี้เราไม่ได่มีสติปัญญามาแต่ในท้องมารดา คำนี้ประหลาดที่สุดที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าทารกมันไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุตปัญญา (นาทีที่ 60) มาจากท้องแม่ ท่านใช้คำพูดอย่างนี้ออกมาจากท้องแม่ไม่มีความรู้ดับทุกข์ไม่มีความรู้เรื่องวิมุตมาจากท้องแม่มันโง่ออกมา มันก็พร้อมจะหลงผัสสะหลงในเวทนาว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ ดังนั้น กระแสแห่งการปรุงแต่งทางอายตนะ ผัสสะ เวทนาของคนเรามันจึงโง่ ๆ เพราะมันโง่มาจากท้อง กว่าจะได้ศึกษากว่าได้รู้ด้วยการศึกษามันจึงจะค่อยรู้จักฉลาดไม่ให้เวทนาหลอก เวทนาก็ไม่หลอกเพราะมันฉลาดมาจากผัสสะ เด็ก ๆ ตามบุญตามกรรมถูกหลอกให้ลบจนกว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่จึงรู้ว่าไม่ไหว มันก็เกิดความยากโง่ที่โง่ ถ้าเวทนาฉลาดมันก็เกิดความยากที่ฉลาด ถ้ามันโง่ที่เวทนาก็เกิดตัณหาด้วยความอยาก อยากโง่ด้วยตัณหา ความยากที่ไม่โง่เรียกว่าสังกัปปะ เป็นความประสงค์หรือความอยากด้วยธรรม ถ้าอยากด้วยความโง่หรืออวิชชาเรียกว่าตัณหา เรียกว่าโลภะ หรือว่าราคะหรืออะไรก็ตาม เรียกโง่แต่ถ้ามันฉลาดมันประสงค์ด้วยความฉลาด ไม่เรียกว่าตัณหา ไม่เรียกว่าโลภะแต่เรียกว่าสัมกัปปะ แปลกันว่าความดำริที่จริงก็คือความต้องการที่ฉลาด ท่านที่รู้ที่จะต้องไปพูดฝรั่งช่วยจำให้แม่นยำ ถ้ามันมีเวทนาโง่ เกิดความอยากอย่างโง่ ก็เรียกว่า(นาทีที่ 1.12) เป็นความยากที่โง่ เป็นความต้องการที่ฉลาดประสงค์ที่ถูกต้องเรียกว่า (นาทีที่ 1.12) ถ้าโง่มันเรียกว่า(นาทีที่ 1.12) ถ้าฉลาดเรียกว่า อย่าพูดโง่ ๆ ตามด้วยศาลาวัด ที่เขาด่าอาตมา พวกศาลาวัดเรียกว่าตัณหา เรียกว่า โลภะหมด ไม่ใช่อยากนั้นมันต้องแยกออกจากกันว่ามันอยากจากความโง่ก็เรียกว่าตัณหาหรือโลภะ แต่ถ้ามันอยากด้วยความฉลาดความรู้เท่าเช่น อยากจะนิพพานอย่างนี้ไม่เรียกว่า เรียกว่าตัณหา เรียกว่าสังกัปปะ สังกัปปะ มีสังกัปปะไม่เป็นไรไม่กัดเจ้าของ แต่ถ้าตัณหากัดเจ้าของ หมากัดเจ้าของ หมาปกติไม่กัดเจ้าของแต่นี้เป็นหมากัดเจ้าของเพราะมันมีความอยากด้วยความโง่ จึงมีแต่สังกัปปะประสงค์หรืออยากหรือปรารถนาด้วยสติปัญญาเรียกว่าสังกัปปะ พระให้พรก็ให้พรด้วยคำนี้ (ภาษาบาลีนาทีที่ 1.13) ขอให้สังกัปปะของท่านทั้งหลายจงสมบูรณ์ เหมือนแก้วมณีโชติพระให้พรทุกครั้งที่ให้พรบำเพ็ญบุญ พระก็ให้พรให้ท่านมีสังกัปปะถึงพร้อมไม่ได้ให้พรมีตัณหาถึงพร้อม งั้นก็ฉิบหายหมดมีสังกัปปะด้วยสติปัญญาถึงพร้อม งั้นท่านทั้งหลายจึงระวังอย่าโง่ในเวทนา ถ้าโง่มันจะเกิดตัณหาถ้าฉลาดในเวทนามันจะเกิดสังกัปปะคือรู้จักปรารถนาแต่ในทางที่ถูกต้องชีวิตของเราก็ไม่โง่ ปรารถนาแต่ในสิ่งที่ถูกต้องเพราะเวทนาโง่ความอยากจึงไม่โง่ ถ้าความอยากโง่เรียกว่าตัณหา ถ้าความอยากเป็นความฉลาดเรียกว่าสังกัปปะจำไว้แยกกัน เวนทนโง่มันก็เกิดเรื่องเผาพลาญ คือ กิเกสมีความรัก มีความโกรธ มีความเกลียด มีความกลัว มีความตื่นเต้นของให้จำตัวอย่าง ๆ สิบคำเท่านั้น ที่จริงมีมากกว่านั้นอาตมายกตัวอย่างเพียงสิบอย่าง ความรัก มีความโกรธ มีความเกลียด มีความกลัว มีความตื่นเต้น วิกตกังวล อาลัยอารวณ์ อิจฉา ริษยา หวงหึง สิบคำนี้ช่วยจำไว้เป็นตัวอย่าง มันง่ายดีสำหรับจะศึกษา ถ้าความยากมันโง่เป็นตัณหาถ้าความอยากมันฉลาดความต้องการมันฉลาดมันเป็นสังกัปปะมันไม่กัดชีวิตไม่กัดเจ้าของไม่โง่มาแต่ผัสสะไม่โง่ถึงเวทนามันก็ไม่โง่ไปถึงความอยาก ชีวิตมันก็ไม่กัดเจ้าของ ที่นี้ก็มีถึงระดับตัณหา ตัณหาคือความยาก โดยทั่วไปน่ามีความอยากอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมันจะเกิดความรู้สึก “กู” ผู้อยาก นี้เป็นแมกกานิ(นาทีที่ 1.16) ซึ่งตามธรรมดา นี้เรียกว่าตัณหาให้เกิดอุปทาน อุปทานคือตัวกู ตัวตกผู้อยาก ระหว่างเกิดมีต้องการอยากก่อนตามความรู้สึกตามธรรมชาติมันจะเกิดตัวกูผู้อยาก ตามมาเรียกว่าตัณหาความอยากให้เกิดผู้ยาก ถ้าความอยากมันฉลาดมันก็เกิดผู้อยากที่ดี ถ้าความอยากมันโง่มีก็เกิดผู้อยากที่โง่ คือ ตัณหาอุปทาน อุปทานคือตัวผู้อยากที่เกิดตามหลังตัณหามานี้เรียกว่าผู้กระทำเกิดที่หลังการกระทำ ถ้าเอาลอจิททางวัตถุมาจับมันก็ว่าบ้าไม่มีตัวผู้กระทำมันจะมีตัวผู้กระทำได้อย่างไร นี้มันมีการกระทำแล้วจึงเกิดความโง่ของตัวผู้กระทำคือความจริงของธรรมะของธรรมชาติไม่ใช่ลอจิททางวัตถุที่มันรู้เท่าหางอึ่งมันต้องรู้ชัดลึกซึ้งว่าผู้กระทำเป็นเพียงความรู้สึกเหมือนผีหลอก มันเกิดเมื่อมีการกระทำแล้วขอให้ศึกษาให้มากในข้อนี้สำคัญที่สุด ๆ คือไอ้ตัวผู้อยากนั้นเป็น อนัตตา มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงมันเป็นความรู้สึกของความโง่เกิดขึ้นมาว่าตัวกูผู้อยากตัวกู ๆ นี้อนัตตาในพระพุทธศาสนาสำคัญที่สุด อนัตตาแปลว่าไม่ใช่อัตตา อนัตตาแปลว่าไม่ใช่อัตตา ตรงนี้ก็จะพูดแทรกสักหน่อยมันก็สำคัญมากเหมือน แต่ว่าถ้าฟังเป็นเรื่องเพ้อเจ้อรำคาญก็ตามใจ อัตตา แปลว่า ตัวตนความหมายแห่งตัวตน ความผิดพลาดเกี่ยวกับตัวตนมีอยู่สองอย่าง คือสุดโตงฝ่ายนี้เรียกว่ามีอัตตาตัวตน ๆ เรียกว่าโง่ฝ่ายนี้เจอกันเข้า ไม่มีตัวตน ๆ ไม่มีอะไรๆ ซะเลย แต่ถ้าอยู่ตรงกลางคือความถูกต้องของพุทธศาสนาว่ามีอนัตตาว่ามีตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน สุดฝ่ายนี้เรียกว่าอัตตามีตัวตนเต็มที่ ฝ่ายนี้เรียกว่านิรัตตาไม่มีอะไรเลย โง่เง่าของผู้ไม่รู้ ถ้าอยู่ตรงกลางเรียกว่าอนัตตา อะ แปลว่า ไม่ใช่ อนัตตาแปลว่า ไม่ใช่ตัวตน ตัวตนซึ่งไม่ใช่ตัวตน ฟังและจำตัวนี้พิเศษ ตัวตนซึ่งไม่ตัวตน เรามีตัวตนแต่มิใช่ตัวตนแต่เราโง่ว่าเป็นตัวตน พูดตรง ๆ ว่าตัวกูซึ่งมิใช่ตัวกู ๆ มีตัวตนแต่มันมิใช่ตัวตน แต่เราก็ต้องพูดว่ามีตัวตนเพราะทั้งบ้านทั้งเมืองเรียกว่าตัวแกตัวฉันตัวสู แต่ของให้เชื่อว่าที่ผู้มันไม่ใช่ตัวตน มันเป็นความโง่เอามาตามความโง่ ตัวกูซึ่งมิใช่ตัวกูนี้หัวใจของเรื่องขอให้ช่วยจำไว้ให้ดี เรามีตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน แต่เราโง่ว่าตัวตน มันก็เกิดกิเลสเกิดกิเลสไปตามความโง่ไปตามตัวตน เรียกว่า ความรัก มีความโกรธ มีความเกลียด มีความกลัว มีความตื่นเต้น วิกตกังวล อาลัยอารวณ์ อย่างที่ว่ามาแล้ว you are you reach is not the real you (นาทีที่ 1.21) เดี๋ยวนี้พวกฝรั่งฟังถูกแล้วคุณอย่าทำเล่นนะ พวกฝรั่งฟังถูก you are you reach is not the real you (นาทีที่ 1.21) ฝรั่งผู้หญิงชูมือว่าเข้าใจแล้วว่าตัวตนที่มิใช่ตัวตน ตัวกูที่มิใช่ตัวกู ตัวฉันซึ่งมิใช่ตัวฉัน ตัวแกซึ่งมิใช่ตัวแก มันเป็นเพียงความโง่ ถ้าไม่รู้สึกขึ้นมาอย่างนั้น งั้นเราชาวพุทธอย่าให้ล่าช้าคนไทยอย่าล่าหลังฝรั่งมันรู้เรื่ยงอนัตตาแล้ว คนไทยยังไม่รู้เรื่องอนัตตาก็แย่มา ตัวกูซึ่งมิใช่ตัวกู ตัวกูเกิดมาจากตัณหา ตัณหามีความอยาก ตัณหาคือตัวความอยาก ตัวความอยากให้เกิดความรู้สึกให้เกิดตัวผู้อยาก ตัวกูผีหลอกออกมาจากปัญหา ตัวกูซึ่งมิใช่ตัวกู ตัวกูนี้เรียกว่าอุปทาน พระบาลีว่าตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปทาน มีความอยาก ๆ แล้วเกิดความรู้สึกตัวผู้อยาก ความรู้สึกว่ามีตัวผู้อยากเรียกว่าอุปทาน ไม่มีตัวจริงเกิดมาจากความโง่จึงเรียกว่าตัวผีหลอก ๆ แต่ทุกคนไม่รู้สึก ยึดมั่นว่าเป็นของจริง เกิดกิเลศนานาชนิดตัวกูกัดเจ้าของเลวกว่าหมา ตัวกูระวังเถิดมันจะทำให้เกิดปัญหาสารพัด มีตัวกูเกิดปัญหาสารพัด มันได้ มีมันเสีย กำไร ขาดทุน มันร้องไห้ มันหัวเราะ มันทุกอย่างสารพัดไอ้ตัวกู แล้วก็มีกันอย่างเหนียวแน่น ๆ และเต็มไปหมดทั้งโลกๆ ทุกคน มีตัวกูชนิดนี้จนกว่าจะรู้จักพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่องอนัตตาเรื่องอนัตตาไม่ใช่ตัวตัวคือไม่ใช่ตัวกู แต่แล้วก็ลำบากที่เราจะต้องพูดให้คนทั้งหลาย ทั้งเพื่อนบ้านทั้งโลกพูดว่ามีตัวตนกันทั้งนั้น ถ้าพูดว่าไม่มีตัวตนมันไม่มีเรื่องอะไรจะพูด แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง พระอรหันต์เองก็พูดอย่างมีตัวตนเป็นภาษาชาวบ้านชาวเมืองพระพุทธเจ้าตรัสว่าฉันก็พูดอย่างโอรีหรือภาษาชาวบ้านชาวเมือง หรืออาตมาพูดไว้มีลักษณะมีตัวตน มีความประสงค์อย่างนั้นอย่างนี้แต่ใจจิตใจของท่านไม่มีตัวตน ท่านผู้อย่างภาษาคนมีตัวตน แต่ในจิตใจท่าไม่มีตัวตน เราก็เรียกเป็นคำพูดที่น่าสะดุงอีกวลีหนึ่งว่า ปากอย่างใจอย่าง พระอริยเจ้าก็ต้องพูดว่ามีตัวตน มาบิณฑบาทมาขออาหารมีตัวตนแต่ใจท่านไม่มีตัวตน ปากอย่างหนึ่งใจอย่างหนึ่ง แต่ปุถุชนทั่วไปมีปากเดียวใจเดียวแต่มีตัวกู ๆ จริง และก็มีตัวกูจริง ๆ พระอรหันต์พูดภาษาคนมีตัวตนแต่ในใจไม่มีตัวตนเรียกว่า สุญญตา ว่างจากตัวตนท่านต้องพูดภาษาคนแต่ไม่มีความหมายอย่างภาษาตน นี้เรียกว่า ปัญหาซึ่งอยู่ในโลกคนโง่ ต้องพูดภาษาคนโง่ แม้แต่พระพุททธเจ้าท่านก็ต้องพูดภาษาบุถุชน ต้องมีตัวตนอาตมาอย่างนั้นอาตมาอย่างนี้ และก็พูดว่าจงช่วยคนจงรักคนจงเห็นแกตนมันก็พูดแต่ว่าภาษาคนในส่วนลึกของจิตใจนั้นไม่มีตัวตน ไม่มีตัวกูผีหลอก เกิดขึ้นได้ในจิตใจของพระพุทธเจ้า หรือของพระอรหันต์ผู้หมดตัวตนแล้ว ดูให้ดีท่านจะเห็นว่าตัณหาเกิดอุปทาน ความอยากให้เกิดผีหลอก ความอยากทำให้เกิดผู้อยาก ที่นี้ต่อไป ๆ มันมีอุปทานขึ้นมาเป็นครั้งแรกจากตัณหา ความอยากทำให้เกิดผู้อยากและความรู้สึกว่าผู้อยากนี้มันบ่มตัวของมันไประยะหนึ่ง เรียกว่า ภพ อุปทานให้เกิด ภพ อุปทานให้เกิด ภพ ความมีอยู่แห่งมายา ภพ ภพ ไม่มีตัวจริงแต่มันมีความรู้สึกว่าภพมีตัวจริงมันโง่ เมื่อเกิดความรู้สึกว่ามีภพ ภพนี้มันไม่อยู่เฉย มันแก่เฒ่าๆ มันเป็นอุบัติภพมันจะคลอดออกมาเป็นชาติ มันตั้งครรภ์มีครรภ์เรียกว่ากรรมภพ ไอ้กรรมภพแก่ ๆเข้า ๆ เป็นอุบัติภพคลอดออกมาเรียกว่า ชาติ งั้นมีภพแก่ถึงที่สุดมันก็มี ชาติ คือตัวกูโดยสมบูรณ์ออกมาในชีวิตนี้เป็นตัวกูขึ้นมา เป็นโง่เต็มอัตราอุปทานขึ้นมาเต็มอัตราเป็นตัวกู ๆ ผีหลอก ตัวผีหลอกเติบโตถึงที่สุดแล้วมันก็มีเป็นตัวกู ๆ ในความรู้สึก ที่นี้มันก็โง่ต่อไปอะไรก็มีเกี่ยวข้องด้วยก็เป็นของกู ๆ ที่นี้ก็เอาความเกิดเป็นของกู ความแก่เป็นของกู ความเจ็บเป็นของกู ความตายเป็นของกู อะไรทั้งหลายเป็นของกู ก็เป็นความทุกข์ขึ้นมา ที่ว่าจะต้องได้อย่างที่ต้องการมันก็ไม่ได้ มันได้อย่างที่ไม่ต้องการเป็นปฏิกิริยาของความทุกข์ทั้งหลายเพราะมีตัวกู เพราะมีตัวกู ความทุกข์สารพัดอย่างทั้งหลายทั้งสิ้นมันมาจากมีชาติว่าตัวกู ถ้าไม่มีตัวกูเป็นชาติขึ้นมันก็ไม่มีเรื่องจะเอามาป็ตนของกูก็ไม่มีความทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงตรัสในตอนสุดท้ายว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยทุกข์ทั้งปวงจึงเกิดขึ้นมา เพราะมีชาติ ๆ แห่งตัวกูตอนนี้ไม่ใช่ชาติจากท้องแม่ ท้องแม่มันเสร็จไปแล้วทีเดียว แต่ว่าชาติของกิเลศของตัณหาอุปทานมีเรื่อยวันหนึ่งไม่รู้กี่ครั้ง ชาตินี้แหละคือตัวเหตุแห่งทุกข์ อย่าหาว่าพระพุทธเจ้าพูดกลับกลอกนะขออภัยใช้คำอย่างนี้ ในอริยสัจพระพุทธเจ้าตรัสว่าชาติเป็นความทุกข์ แต่ในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าตรัสว่าชาติเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะท่านให้ความหมายคนละอย่างคนละที ตัวความทุกข์ที่ชาติก็ได้เพราะชาติเป็นปัจจัยทำให้เกิดทุกข์ก็ได้ มีชาติเป็นปัจจัยทำให้เกิดทุกข์ ต้องรู้ไว้ด้วยว่าชาติในอริยสัจเอาเป็นตัวทุกข์ แต่ชาติในปฏิจจสมุปบาทเอาเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ (ภาษาบาลีนาทีที่ 1.29) เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดความทุกข์ มาถึงความทุกข์นี้เรื่องที่เราจะต้องศึกษาจาก ก ข ก กา ตั้งแต่อายตนะให้เกิดวิญญาณ ให้เกิดผัสสะ ให้เกิดเวทนา ให้เกิดตัณหา ให้เกิดอุปทาน ให้เกิดภพ แล้วมันก็ชาติ แล้วมันก็เกิดทุกข์ ก ข ของเราเป็นอย่างนี้ แยกรูปออกเป็นหกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็สิ้นสุดในตอนนี้ด้วยความทุกข์ ความทุกข์ ในคนแต่คนมีความโง่ตลอดสายของปฏิจจสมุปบาทตั้งแต่อายนตะจนมาถึงชาติ มันก็เกิดความทุกข์ ชาติตัวกูแห่งความโง่ มันก็คว้าเอาอะไรมาเป็นของกู ทรัพย์สมบัติ ภรรยาสามี เกียรติยศ ชื่อเสียง เงินทอง อำนาจวาสนาเอามาเป็นของกูหมดมันก็ติดคุกของสิ่งที่มันเอามาเป็นตัวกูหรือของกู มันไม่มีเสรีภาพเพราะมันถูกผูกมัดและตรึงด้วยตัวกู ต้องเอาตัวกูออกไป จิตใจจึงจะบริสุทธิ์เป็นจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่มีตัวกู แล้วมันก็กลายเป็นพระอริยเจ้ากลายเป็นพระอรหันต์ไปเลย เอาตัวตัวกูออกไป ๆ ก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นต้น ๆ ก็หมดตัวกูด้วยประการทั้งปวงก็เป็นพระอรหันต์ เดี๋ยวเรายังไม่เป็นพระอรหันต์ยังมีความทุกข์ มีความโง่ประจำวันมีตัวกูเป็นประจำวัน การบรรายายในวันที่พูดแต่เรื่องให้เกิดทุกข์ ฝ่ายที่ให้เกิดทุกข์ วันหลังเราจะพูดฝ่ายที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงอย่างไร ก ข กา ในวันนี้ตั้งต้นแต่ความทุกข์เป็นความหมายเต็มรูป เต็มความหมาย ผิดหรือโง่มาตั้งแต่อายตนะ วิญญาณ ผัสสะ วิญญาณ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ การที่ปรุงแต่งกันเป็นสายแบบนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ช่วยออกเสียงให้ถูกต้อง ปะ-ติด-จะ-สะ-หฺมุบ-บาดไอ้ตัวหนังสือเขียนหนังสืออ่าน ปะ-ติด-จะ-หฺมุบ-บาด อย่างนั้นออกเสียงไม่ถูกต้อง ออกเสียงถูกต้องว่า ปะ-ติด-จะ-สะ-หฺมุบ-บาด แปลว่า การอาศัยกันและเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทแห่งความทุกข์ แต่ถ้าเอาหมดไม่ว่าอะไรอาศัยกันแล้วเกิดขึ้นเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ทุกอย่างมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตอะไรก็ตามอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ถ้าแยกออกมาเฉพาะเรื่องของมนุษย์ที่รู้สึกเป็นทุกข์ด้วยจิตใจก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท แต่ในบาลีเรียกเต็มที่เต็มยศยาวเยือยว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท ก็หมายถึงเรื่องของคนที่มีความรู้สึกเป็นทุกข์ แต่ถ้าเรียกสั้น ๆ ว่า อิทัปปัจจยตา หมายถึงทุกสิ่งแม้แตก้อนหินวัตถุแท้ๆ ล้วน ๆ มันก็มีอิทัปปัจจยตามันอาศัยกันและเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยและเกิดขึ้นงั้นเราไม่ต้องรู้เรื่องอิทัปปัจจยตาทั้งหมดก็ได้แต่รู้เฉพาะที่ทำให้เกิดความทุกข์ของชีวิตเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ข้อนี้สำคัญมาก อาตมาจะพูดอย่างนี้ว่าถ้าคุณจะตั้งต้นจะศึกษาพุทธศาสนาและก็อย่าตั้งต้นที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันจะหลับตาอยู่ตลอดเวลา ให้ตั้งต้นจากปฏิจจสมุปบาทให้เห็นว่ามันเกิดทุกข์อย่างไรและดับทุกข์อย่างไร ท่านก็จะรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ขึ้นมาเอง ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าท่านสาธยาทปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ว่ามานี้ท่านรู้สึกอยู่ลำพังคนเดียวไม่มีใคร ท่านสาธยาย (บาลี นาทีที่ 1.34 ) แจกทั้งตาทั้งหูทั้งจมูก มันสำคุญอย่างไรท่านก็คิดดูจนพระพุทธเจ้าท่านเป็นพระอรหันต์ท่านยังเอาปฏิจจสมุปบาทมาสาธยาย ที่นี้พระองค์หนึ่งมันแอบฟังอยู่ข้างหลัง พระพุทธเจ้าเหลือบเห็นอ้าวแกอยู่นี้เอาไป ๆ เรียกว่าอาทิตย์พรหจรรย์ อย่ามาตั้งต้นด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำบุญ นรก สรรค์ บ้า ๆ บอ ๆ จุดที่แท้จริง ทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ดับไปอย่างไร เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท มันมีพุทธภาษิตยืนยันชัดในข้อนี้ว่า ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราเ ผู้นั้นเห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรมะ หมายความว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทก็เห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นพระธรรมะผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าเสียงนกเสียงกา ไม่รู้อะไร ถ้าเห็นไอ้สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นอย่างไรอาศัยกันดับไปอย่างไรความทุกข์เห็นปฏิจจสมุปบาท สิ่งนั้นเรียกว่าเห็นพระพุทธเจ้า เราเริ่มเห็นพระพุธทเจ้าพระองค์กันดีกว่า อย่ามาทำเรื่องมากมายยุ่งยากเสียเวลาแล้วก็ไปหลงสวรรค์อะไรทางโน้น ถ้ามันยังอาศัยการเกิดขึ้นมันก็ทุกข์ทั้งนั้นหยุดอาศัยกันเกิดขึ้น ไม่หยุดตัวตนและก็ไม่มีอะไรอาศัยกันเกิดขึ้น นี้คือเมื่อศึกษาเรื่องความทุกข์ดับทุกข์แล้วท่านจะรู้จักพระพุทธเจ้าเอง พระธรรมเอง พระสงฆ์เอง พอท่านรู้เรื่องชัดเจนก็จะพอใจว่า ผู้ใดรู้เรื่องนี้ผู้นั้นประเสริฐสุด ได้เข้าพบพระพุทธเจ้าเองโดยเลยไม่ต้องมีใครแนะนำเพราะพระพุทธเจ้าคิดค้นเรื่องนี้ และพระธรรมเรื่องนี้ก็ประเสริฐขึ้น พระสงฆ์คือผู้รู้เรื่องนี้ก็ประเสริฐขึ้นมา ท่านรู้จักพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ตัวจริง ๆ ด้วยตัวเอง เดี๋ยวนี้มาสอนพุทธัง คชมิ ธรรมัง สรณัง คชมิ กับลูกเล็กเด็ก ๆ สอนก็จนตาย มันก็ไม่รู้ สอนให้มันรู้เรื่องดับทุกข์ ๆ มันก็พอใจว่าผู้รู้นั้นประเสริฐที่สุด ความรู้นั้นประเสริฐที่สุด ผู้ปฏิบัติตามความรู้ประเสริฐที่สุด ก ข ก กามันก็มาจบที่ตรงนี้ คือว่าเรียนมาตั้งแต่อายตนะจนเกิดความทุกข์นี้ซีกหนึ่ง ฝีกต่อไปคือเรียนดับทุกข์ได้อย่างไร สมัยโบราณพุทธกาลเขาไม่สอนมาวัดแล้วมาสอนพุทธัง คัจฉานี้ไม่มี สอนแต่เรื่องทุกข์และดับทุกข์พูดกับพระพุทธเจ้าโดยตรง พอพระพุทธเจ้าทำให้เขาเข้าใจได้ในเรื่องนี้ เขาก็พอใจ ๆ ก็ประกาศออกมาเองไม่ใช่พระพุทธเจ้าชักนำ เขาจะประกาศออกมาเองว่าข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีประภาคเจ้าเป็นที่พึ่งพร้อมทั้งพระธรรมคือคำสั่งสอนของพระองค์ พร้อมพระสงฆ์คือคณะของพระองค์จนตลอดชีวิต นี้สรณะคมแท้ ไม่ใช่มาสอนนกแก้ว นกขุนทอง เขาเห็นด้วยตนเองว่าทุกข์อย่างไรดับทุกข์อย่างไรและยินดีรับ สมัครระบบปฏิบัติอันนี้เขาก็เป็นอุบาสก อุบาสิกาขึ้นอย่างถูกต้อง ไม่ใช่อุบาสก อุบาสิกานกแก้ว นกขุนแก้วที่เต็มเกลื่อนไปทั้งเมือง นี้เป็นความสำคัญของเรื่องปฏิจจสมุปบาท เริ่มด้วย ก ข กกา อายตนะ วิญญาณ เรื่องผัสสะ เรื่องเวทนาต่าง ๆ ดังกล่าว แล้วในซีกนี้มีความทุกข์มันมีอย่างนี้ ขอให้ทานทั้งหลายพยายามอย่างยิ่งเข้าใจมันให้ดี จะดับทุกข์ต้องศึกษามีสติปัญญา กำหนดปัญญาให้เพียงพอคือ ฝึกอานาปนะสติ เรื่องอานาปนะสติมันอยู่ในซีกหลัง คือ การดับทุกข์ เราเอาไว้พูดกันวันหลังดีกว่า นี้วันนี้ขอย้ำแต่ว่า ก ข ก กาตั้งตนขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับจนรู้เรื่องความทุกข์ ว่ามีในชีวิตประจำวันของคนที่เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เป็นบวกเป็นลบเสมอ ถูกครอบงำย่ำยี่ด้วยความเป็นบวกเป็นลบ ยินดียินร้ายกุศลอกุศลอยู่เสมอถอนตัวออกจากสิ่งเหล่านี้ พ้นจากสิ้นเหล่นนี้คือประพฤติพรหมจรรย์เพื่อพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง แต่เราไม่สามารถจะทำอย่างงี้ เราได้แต่จับลูกเด็กๆ มาสอน พุทธัง คชมิ จนกระทั้งแก่เฒ่าก็ไม่รู้อะไร มารู้จักเรื่องทุกข์เรื่องดับทุกข์ให้ถูกต้องเถิดมันจะรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอัตโนมัติ จึงขอร้องขอวิงวอนขอชักชวนให้ท่านเรียก ก ข ก กา เรียนหนังสือแบบ ก ข ก กา อย่าเรียนแบบไม่รู้ ก ข ก กา มันรู้เพียงผิวเผิน เรียนอย่าง รู้ ก ข ก กา ตั้งแต่ต้นจนจบมันจะรู้ภาษานั้นชัดเจน สมบูรณ์ เรียนพระพุทธศสานาก็เรียนแบบนี้แหละ เรียนตั้งแต่ส่วนย่อยที่เรียกว่า ก ข กา อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่นโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แล้วมันทำกันอย่างไรปรุงแต่งกันอย่างไรเป็นลำดับ ๆไปอย่างไรจนเกิดความทุกข์ ก ข ก กา ในสิ่งแรกคือฝ่ายความทุกข์มันมีอย่างนี้ ท่านจับจุดตั้งต้นได้ถูกต้องแล้วท่านก็จะเดินไปได้ถูกต้อง ถ้าจับจุดตั้งต้นอันนี้ไม่ได้ไม่ถูกต้องต้องท่านก็หลับตามเดินไปเถอะ หลับตาไปชนเสาตามเรื่อง จนขอร้องให้ศึกษาให้ชัดว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ตั้งแต่ต้น ก ข ก กา ของความทุกข์เป็นอย่างไร เมื่อพร้อมกันนี้ก็ปฏิบัติไปพราง มีความรู้เรื่องความไม่มีตัวตน เป็นอยู่อย่างไม่มีตัวตน ไม่มีตัวกูมาสวนโมกข์ แต่ถ้ามีตัวกูมาสวนโมกข์ยิ่งบ้า มีสติปัญญาของจิตใจพาร่างกายมาสวนโมกข์ ตัวกูไม่ต้องเอามา เรียกว่าเอาตัวกูมาเป็นความฉลาด และก็มีอยู่อย่างไม่มีตัวกูผู้อยู่ จะเดิน ยืน นั่ง นอน ก็ขอให้ไม่มีตัวกูให้สูญญา สมาธิ ความว่างจากตัวกู ตลอดเวลาที่ Center ที่พัก ครูบาอาจารย์จะช่วยสอนท่านในเรื่องนี้ คือให้รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ใจความอย่างที่อาตมาว่าให้ฟังแล้ว เข้าใจชัดยิ่งขึ้นแล้วไปบ้านเอาไปศึกษามีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาทุกอิริยาบททุกวันทุกคืน เดิน ยืน นั่ง นอน ตื่นหลับอะไรก็ตาม สติสัมปชัญญะมีความสมบูรณ์โดยไม่มีตัวกู ชีวิตนี้จะไม่กัดเจ้าของ ชีวิตนี้จะไม่กัดเจ้าของ มันไม่โอกาสที่จะเกิดความรัก ความโกรธ ความกลัว ตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ หึงหวง อิจฉาริษยา ที่เกิดเป็นประจำวัน เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ ขอให้หมดจากสิ่งเหล่านี้ ไม่ต้องดีใจ ไม่ต้องเสียใจ ดีใจก็ไม่ต้องเอากับมัน เสียใจก็ไม่ไหว ดีใจมันก็เหนื่อย ถ้ามันพูดถึงที่สุดก็ต้องของโอกาสจะพูดว่า บุญมันก็ยุ่งไปตามแบบบุญ บาปก็ยุ่งไปตามแบบบาป อย่าเอากับมันเลยทั้งบุญและบาป เอาว่างเหนือบุญเหนือบาปคือนิพพาน ดีก็ยุ่งเลิกดีก็เป็นนิพพานก็คือไม่บุญไม่บาปไม่บวกไม่ลบไม่หัวเราะร้องไห้เสียใจ นี้คือหัวใจของพระพุทธศาสนา หรือของศาสนาใดก็ได้ถ้ามันจริงที่สุดมันเหนือบุญเหนือบาป เหนือบวกเหนือลบ ลัทธิเต๋าอินเอีย ศาสนายิวโบราณคือเหนือดีเหนือชั่ว เหนือ Good and Evil ผลไม้โง่เป็นทุกข์ Good and Evil ก็เป็นทุกข์ อย่าจัดอะไรเป็นดีเป็นชั่ว เราก็ไม่มีปัญหา ถ้าจัดเป็นดีก็ละดี ขอให้ท่านรู้จักแนวทางที่จิตนี้จะเดินไปตามลำดับจากความทุกข์ทั้งปวงไปสู่ความดับทุกข์สิ้นเชิง เพราะรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ตั้งต้นด้วย ก ข ก กา คือ อาตยนะแจกออกไปเป็นวิญญาณ เป็นผัสสะ เป็นตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ อย่างที่กล่าวมาแล้ว ขอให้จดจำโครงเรื่องนี้ให้แจ่มแจ้มให้ชัดเจนสามารถปฏิบัติ ๆ นี้แปลว่าเดินไป เดินไป ปฏิบัตแปลว่าเดินไปให้ถึงจุดหมายปลายทางมันก็ไม่เสียที่ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษญ์และได้พบกับพุทธศาสนาเพื่อได้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรได้รับ คือ พระนิพพานมีลักษณะเป็นความสะอาด เป็นความสว่าง เป็นความสงบ เป็นเสรีภาพสูงสุด เสรีภาพสูงสุดนี้เรามีชีวิตอย่างเสรีภาพที่สุดไม่มีกิเลศตัณหามาเป็นนายมาบังคับอะไรเรา ชีวิตนี้ก็จะเยือกเย็น ๆ และก็เป็นประโยชน์ พอแล้วเยือกเย็นและเป็นประโยชน์ พอแล้วเกินกว่านี้ก็บ้าแล้วอาตมากล้าพูดแบบนี้ เกินนี้ก็บ้าแล้ว คนบ้าเท่านั้นที่ปรารถนาเกินกว่านี้ พระอรหันต์ท่านเยือกเย็น ท่านทำประโยชน์แก่โลก ประโยชน์คำนี้ขอให้ขยายให้เต็มให้สมบูรณ์ ประโยชน์ตนเอง เรียกว่า อัตถประโยชน์ ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ร่วมกันเรียกว่าอุปภันประโยชน์ เกี่ยวพันกันแยกกันไม่ได้ ประโยชน์แยกได้สามประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์ที่เกี่ยวพันกันแยกกันออกไม่ได้ พระท่านบำเพ็ญประโยชน์เหล่านี้ครบสามประโยชน์ เป็นชีวิตที่สงบเย็น เป็นชีวิตไม่กัดเจ้าของ นี้แนวสังเขปของการศึกษามีอยู่อย่างนี้ ขอให้เข้าใจแล้วก็ขอให้เดินไปตามแนวนั้นอย่างถูกต้องตั้งแต่จุดตั้งต้นถึงจุดหมายปลายทาง จากความทุกข์สู่ความดับทุกข์ จากภาวะ เป็นนั้นเป็นนี้เป็นโน้นจนถึงภาวะนิพพาน ไม่มีภาวะคือไม่มีภพใด ๆ สิ้นภพโดยประการทั้งปวง เวลาสองชั่วโมงแหละ อาตมาก็เกือบไม่มีแรงพูด ท่านทั้งหลายอดทนฟังอย่างดี ขอบใจในความเป็นผู้ฟังที่ดีของให้ท่านทั้งหลายและขอให้ท่านทั้งหลายเอาไปให้ประโยชน์ช่วยตัวเองให้มีผลสมตามความปรารถนา อาตมาก็ไม่ต้องเป่าปี่ให้แรดฟัง ท่านทั้งหลายก็ไม่ต้องเป็นแรด ขอยุติด้วยเวลาอันสมควรลงเพียงเท่านี้