แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านอาคันตุกะทั้งหลาย มีท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เนื่องในการฟื้นฟูส่งเสริม ความรู้ทางพุทธศาสนาให้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา อาตมาภาพขอแสดงความยินดี เอ่อ, ต้อนรับการมาและสนองความประสงค์แห่งการมา เอ่อ, ด้วยความรู้สึกอนุโมทนาด้วยเป็นอย่างยิ่ง ในชั้นแรกนี้อยากจะขอปรารภ เรื่องค่อนข้างจะส่วนตัว ก็คือว่าได้มีการต้อนรับตามแบบประเพณีของวัดนี้ คือการนั่งกลางดิน ใช้เสนาสนะกลางดิน เป็นที่ประกอบพิธีหรือทำการประชุม ข้อนี้มีเหตุผล คือว่าการนั่งกลางดิน เอ่อ, นั้น ทำให้ระลึกนึกถึง อ่า,ข้อเท็จจริงอันสูงสุดข้อหนึ่งว่า พระพุทธเจ้า เอ่อ,ท่านประสูติกลางดินโคนต้นไม้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เมื่อนั่งกลางดินโคนต้นไม้ พระพุทธเจ้าท่านสอนพระศาสนาส่วนใหญ่แทบทั้งหมดเมื่ออยู่กลางดิน เกือบจะกล่าวได้ว่าพระไตรปิฎกทั้งหมดนั้นมีกำเนิดที่กลางดิน นั้นเพราะว่าที่ประทับอยู่ของพระองค์ก็พื้นดิน เสนาสนะต่างๆเกี่ยวกับภิกษุสงฆ์นั้นก็พื้นดิน และในที่สุดพระพุทธองค์ได้เสด็จปรินิพพานน่ะกลางดินเป็นข้อสุดท้าย อาตมามีความเห็นว่าการทำในใจถึงข้อนี้กันเสียก่อน จะมีประโยชน์ในการที่ปรับปรุงจิตใจเหมาะสมที่จะฟังธรรมะในลักษณะนี้ เรียกว่าใกล้ชิดธรรมชาติหรืออยู่กลางดิน ทำจิตใจเสมือนแผ่นดินก็ย่อมเหมาะสมที่จะศึกษาเรื่องราวของพระธรรมนั้นๆ ไม่มีพระศาสดาองค์ไหนในโลกที่ได้ตรัสรู้บนมหาวิทยาลัย หรือบนตึก บนวิมาน อ่า, ศาสดาทุกองค์ตรัสรู้เป็นพระศาสดาเมื่ออยู่กลางดินทั้งนั้น ไม่เฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนา อย่างในพระพุทธศาสนานี่ยิ่งแจ้งชัดถึงขนาดว่าตรัสรู้กลาง อ่า, ประสูติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน สอนกลางดิน อยู่กลางดิน นิพพานกลางดิน ขอได้โปรดทำในใจให้เสมือนแผ่นดิน หรือจะลูบคลำแผ่นดินดูด้วยความรู้สึกที่เป็นพุทธานุสติอย่างยิ่ง ก็จะมีจิตใจที่เหมาะสมที่สุดที่จะเข้าถึ อ่า, พระธรรม ซึ่งมีกำเนิดกลางดิน มีกำเนิดขึ้นมาจากกลางดินนี้เป็นข้อแรก ขอ เอ่อ, ทำความเข้าใจ อ่า, สำหรับเรื่องที่จะพูดก็ ขอแสดงความยินดีในการเปิดประชุมส่งเสริมอบรมความรู้ทางพระศาสนาในระดับอุดมศึกษา ณ สถานที่นี้ อาตมาก็ขอปวาร ปวาร ปวารณาตัวอยู่ตลอดเวลาว่าได้พยายาม อ่า, สนองความประสงค์อันนี้ตลอดมาเป็นเวลานานแล้ว และในวันนี้ก็มีความยินดีอย่างยิ่งเพื่อกิจกรรมอันนั้น อ่า, สำหรับการศึกษาอบรมเพิ่มพูนความรู้ทางพระพุทธศาสนาในระดับอุดมศึกษานี้ รู้สึกว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง มีความสำคัญอย่างยิ่งหรือจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าท่านเหล่านี้สำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ออกไปผู้ออกไปเป็นผู้มีหน้าที่การงานแก่ (16.02)ในทางสังคมอันกว้างขวาง ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย อ่า, เท่าที่จะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนากับประเทศไทยนั้น ใครๆก็ทราบดีแล้วว่า เอ่อ, สัมพันธ์กันอย่างไร จนกล้ากล่าวได้ว่ารอดตัวมาได้ก็เพราะพระพุทธศาสนา คือมีประมุขแห่งประเทศชาติตามกาลตามสมัย ที่ได้แก้ปัญหา อ่า, ระหว่างประเทศหรือปัญหาการเมืองอันเลวร้าย ด้วยการมีหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่บรรพบุรุษได้เสริมสร้างมาไว้ ให้ไว้เป็นอย่างดี ในอุปนิสัยจิตใจของแต่ละคนแต่ละคน ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นประเทศชาติ ทำให้ประเทศชาติมีเอกราชอยู่ได้ในท่ามกลางประเทศทั้งหลายที่สูญเสียเอกราชไป นี้เราถือว่าเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่งของพระพุทธศาสนาและก็ควรที่จะส่งเสริมให้ยิ่งๆขึ้นไป ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่จะบรรยายตามหัวข้อในหมายกำหนดการมีระบุว่า ให้อาตมาบรรยายเรื่องแก่นพระพุทธศาสตร์ เข้าใจว่าคงจะมีความเข้าใจถึงความมุ่งหมาย อ่า, ของคำว่าแก่นพระพุทธศาสตร์ แต่ดูจะมีอะไรที่สะดุดกันอยู่บ้างก็ได้ ถ้าอาตามาจะเรียกเสียใหม่ว่าแก่นของต้นโพธิ์ หลายคนเคยเห็นเคยรู้จักต้นโพธิ์ แล้วก็ปรากฏว่ามีแก่นชนิดที่ไม่เหมือนใคร คือไม่ได้มีแก่นเหมือนอย่างไม้แก่นทั้งหลาย ต้นโพธิ์นั้นชาวบ้านเรียกว่าไม่มีแก่น ความจริงนั้นยังถือเอาความใจความสำคัญได้ว่า ต้นโพธิ์น่ะมีแก่นเป็นความว่าง หัวใจพระพุทธศาสนาที่เป็นอย่างละเอียดที่สุดก็คือเรื่องความว่าง ว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์ เมื่อลุถึงไอ้ความว่างในทางจิตใจแล้วย่อมอยู่เหนือความทุกข์โดยประการทั้งปวง เอาล่ะเป็นอันว่าจะพูดถึงเรื่องแก่น อ่า, ของพุทธศาสตร์แล้วก็สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ข้อแรกก็อยากจะระบุ เอ้อ, ไปยังลักษณะหรือสภาวะอันแท้จริงของพระพุทธศาสนา คือว่าเราบรรดาที่เป็นพุทธบริษัทนับถือพุทธศาสนาแล้ว ในโลกก็ยังมีศาสนาอื่นๆอีกมากด้วยกันหลายๆศาสนา นี้ศาสนาทั้งหมดนี้แบ่งได้เป็นเพียง ๒ ประเภทเท่านั้น ประเภทที่ ๑ พระศาสนาที่ถือว่ามี อ่า, พระเจ้าเป็นผู้สร้าง เป็นผู้บันดาล เหตุการณ์ทั้งหลาย สุขและทุกข์มาจากพระเจ้า มีพระเจ้าเป็นผู้ๆสร้าง สร้างโลกและสร้างทุกสิ่ง ทีนี้อีกพวกหนึ่ง อีกศาสนาหนึ่งไม่ถืออย่างนั้น ถือว่าทุกอย่างนี้เป็นขึ้นมาตามกฏของธรรมชาติ ที่ในพระพุทธศาสนาเรียกว่ากฏ อิทัปปัจจยตา ไม่ได้มีพระเจ้าที่เป็นบุคคลตัวตนอะไรสร้างสรรค์ขึ้นมา แต่ความสุขและความทุกข์มันจะเป็นไปตามการปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูกต่อกฏอิทัปปัจจยตา มันมีความต่างกันอย่างนี้ ถ้าพูดกันอย่างสากล เขาก็แบ่งพระศาสนาออกเป็น ๒ พวก พวกแรกมีพระเจ้าสร้างนี้เรียกว่าพวก creationist คือพวกที่ถือว่ามี เอ่อ, ผู้สร้าง พระมีบุคคลผู้สร้าง แล้วอีกพวกหนึ่งเรียกว่า evolutionist ถือว่าวิวัฒนาการขึ้นมาเอง ตามกฎของธรรมชาติ นี้ก็ไปดูในเรื่องต่างๆ ที่เขาพูดกันในโลกนี้ ปัจจุบันนี้แบ่งศานาออกเป็น ๒ ชนิด ถ้าเราถูกถามเราก็ตอบง่ายๆ เราเป็นพวก evolutionist ในเมื่อพวกอื่นเขาเป็น creationist ที่เป็น creationist มีพระเจ้าสร้างนั้นน่ะมาก มีมากศาสนา พวกที่ถือว่าเป็นไปตามกฎวิวัฒนาการนี้ จะมีแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นจริงจัง นอกนั้นก็โดยอ้อม ศาสนาบางศาสนาในอินเดีย เช่น ศาสนาไชนะ(นาทีที่22:41) ก็ไม่ถือว่ามีพระเจ้าสร้าง มีว่าเป็นไปตามกฎของธรรมะ แต่ยังไม่ชัดเจนเฉียบขาดอย่างกับพุทธศาสนาที่ถือว่าไม่มีผู้สร้าง มีแต่การวิวัฒนาขึ้นมาตามกฎธรรมชาติ ถ้าเขาเรียกคนทั้งโลกมาถามคราวเดียวกัน ท่านเป็นพวกไหนเราก็ตอบเป็นพวก evolutionist ในเมื่อพวกอื่นเขาเป็น creationist นี่เป็นคำตอบง่ายๆ เอ่อ, สั้นๆที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เมื่อมีการพูดจาระหว่าง อ่า, ศาสนา มันแบ่งได้ ๒ พวกเท่านั้น หรือจะใช้คำพูดอย่างอื่นว่าพวกมีพระเจ้า พวกไม่มีพระเจ้า นี่ก็เป็นทางเข้าใจผิดกันอยู่มาก เพราะว่าคำว่าพระเจ้านี่ มันมักจะหมายถึงบุคคลที่มีความรู้สึกอย่างบุคคลเป็นพระเจ้า กฏของธรรมชาติน่ะเขาไม่ถือว่าเป็นพระเจ้า แต่ที่จริงนั่นแหละกลับเป็นพระเจ้าอย่างยิ่ง เป็นพระเจ้าที่มีอำนาจเด็ดขาดอย่างยิ่ง อ่า, ฝรั่งเขาจัดให้พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้า เอ่อ, ผู้สร้าง แล้วพาลกล่าวหาว่าไม่ใช่ศาสนา คือ พุทธศาสนาไม่ใช่ religion เพราะไม่มีพระเจ้า ถ้าจะให้เป็น religion ต้องมีพระเจ้าผู้สร้าง นี่เขาจัดให้พุทธศาสนานี่มิใช่ศาสนา เพราะไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง นี่เราเห็นว่าไม่ถูกต้อง เรามีผู้สร้างหรือมีสิ่งสูงสุดทำนองผู้สร้างอย่างเดียวกับพระเป็นเจ้า แต่ไม่ใช่พระเป็นเจ้าอย่างเป็นบุคคล มันเป็นอย่างกฏของธรรมชาติ มันเฉียบขาด มันเด็ดขาด อันสูงสุดมีคำว่า absolute absolute ใช้ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ในฝ่ายที่มีพระเจ้าผู้สร้างนั่น เขาก็ให้พระเจ้านั่นล่ะเป็นองค์ absolute ทีนี้เราพุทธศาสนาก็มีกฎของอิทัปปัจจยตา นั่นล่ะเป็นองค์ absolute มันก็เลยเป็นว่าพระพุทธศาสนามีพระเจ้าแต่มิใช่อย่างบุคคล การที่พวกฝรั่งเขาจัดให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาไม่มีพระเจ้า นั่นเพราะเขามองตื้นเกินไป ไม่รู้จักพระเจ้าชนิด เอ่อ, ที่เป็นกฎของธรรมชาติอันแท้จริงยิ่งกว่า นั้นพวกเรา อ่า, ควรจะรู้จักไว้ด้วย ถ้าเมื่อจะต้องสนทนาโต้แย้งอะไรกันในระหว่างศาสนาแล้ว ก็อย่าได้พูดให้ผิดไปจากข้อเท็จจริง เราเป็นศาสนาที่ถือว่าไม่มีพระเจ้าผู้สร้างอย่างบุคคล แต่มีกฎของธรรมชาติ เอ่อ, เป็นผู้สร้าง จึงมีการประพฤติกระทำแตกต่างกันอ่า, ถ้าว่ามีพระเจ้าผู้สร้างเป็นบุคคล มันก็อาศัยความเชื่อ เพราะว่าไม่มีใครเห็นนี่ ไม่มีใครเห็นพระเจ้าก็ถูกเกณฑ์ให้เชื่อ ก็ถือว่าได้ด้วยความเชื่อว่ามีพระเจ้าอย่างบุคคล แต่ถ้าถือว่าผู้สร้างคือกฏของธรรมชาติอย่างนี้ต้องเห็นด้วยปัญญา ต้องไปเห็นจริง ประจักษ์ลงไปที่สิ่งนั้นด้วยปัญญา มันจึงมีปัญญานั่นแหละ อ่า, เป็นส่วนสำคัญ ในเมื่อฝ่ายที่มีพระเจ้าผู้สร้างน่ะมีศรัทธาๆ อ่า, เป็นส่วนสำคัญ แล้วก็ไม่ให้โต้แย้ง ไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ อ่า, คำกล่าวใดๆที่เป็นหลักของศาสนา ส่วนพุทธศาสนานี้ เอ่อ, ไม่มีพระเจ้าชนิดนั้น ไม่มีพระเจ้าที่ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหนน่ะ มีแต่กฎของธรรมชาติที่มองเห็นด้วยปัญญาของตนเองว่า เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้ก็จะเกิดขึ้น เมื่อทำลงไปอย่างนี้ผลอย่างนี้ก็จะเกิดขึ้น โดยเหมาะสมแก่การกระทำเสมอ นี่เรามีปัญญาเป็นรากฐาน อือม์, ก็ได้ความว่าศาสนาพวก creationist ต้องมีศรัทธาที่เรียกว่า faith น่ะ บางทีก็เป็นอย่างหลับหูหลับตาด้วยซ้ำไป เป็นกำลัง พวกที่ถือ evolutionist วิวัฒนาการตามกฎของธรรมชาตินี้ เห็นอยู่ด้วยปัญญาเป็นอย่างสันทิฏฐิโก ตามหลักของพระธรรมที่เรียกว่า สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก ต้องเห็นชัดเป็นสันทิฏฐิโกอย่างนั้น ไม่ต้องอาศัยความเชื่อที่งมงาย นี่มันจำเป็นที่จะต้องพูดเปรียบเทียบ แต่ก็มิได้มีเจตนาร้าย อ่า, ที่จะข่มขี่ ดูหมิ่น ดูถูกผู้ใด เป็นแต่เพียงการพูดให้เห็นชัดลงไปว่ามันแตกต่างกันอยู่อย่างไร ทีนี้ถ้าจะนึกไปถึงข้อที่ว่าจะต้องอยู่ร่วมโลกกัน จะต้องอยู่ร่วมโลกกัน เราจะต้องสมัครสมานสามัคคีกัน ก็อย่ายืนยันในข้อนี้ให้มันมากนัก อย่ายืนยันในข้อมีพระเจ้าไม่มีพระเจ้ากันให้มากนัก จะมุ่งไปมองแต่ว่าท่านมีวิธีให้ดับทุกข์ ให้ดับความทุกข์น่ะอย่างไร อย่างนี้จะดีกว่า เพราะว่าคนในโลกน่ะมันมีหลายระดับ ขออภัยจะใช้คำว่าโง่ดักดานก็ยังมีอยู่มาก ไม่สู้จะโง่ก็มีอยู่มาก และก็ฉลาดน้อยกับฉลาดมาก ดังนั้นมันถืออย่างเดียวกันไม่ได้และมันจะมีหลักปฏิบัติอย่างเดียวกันไม่ได้ จะต้องมีหลักสำหรับยึดถือปฏิบัติอย่างเหมาะสมแก่ภูมิชั้นของตัว ด้วยเหตุนี้เองน่ะศาสนาทุกศาสนาถึงจะมีอะไรที่แปลกไปอย่างไรก็ยังมีผู้ถือ ในโลกนี้จะยังมีผู้ถือ อ่า, ศาสนาทุกศาสนาเป็นแน่นอน ถ้าพูดไปมันก็กลายเป็นดูหมิ่นผู้อื่น แต่ไม่ได้เจตนาจะดูหมิ่นว่า ผู้ที่ยังจะต้องถือศาสนาชนิดมีพระเจ้าผู้สร้างนั้นก็ยังมี มีมาก แต่ดูเอาเถิดจะเห็นได้ว่า เมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าๆขึ้นมาเท่าไร อ่า, ความเชื่อถือในพระเจ้าผู้สร้างนั้นก็ลดลงไปลดลงไปเท่านั้น จนเกิดปัญหาขึ้นมาว่าไม่มีพระเจ้า แล้วจะถืออะไรกัน จะเอาอะไรมาแทนพระเจ้าให้ลูกเด็กๆนับถือแทนพระเจ้า นี่พวกฝรั่งเขากำลังมีปัญหาอย่างนี้ เมื่อวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ความไม่มีพระเจ้าอย่างบุคคล ถ้าพอเท่ากับพระเจ้าตายไปแล้วๆจะให้เด็กๆเค้าถืออะไร ยึดถืออะไร แทนพระเจ้า นี่เขามีปัญหาอย่างนี้ ส่วนชาวพุทธเราไม่มีปัญหาอย่างนี้ เพราะยึดถือ เอ่อ,กฎของธรรมชาติและก็เห็นได้ รู้สึกได้และพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ไม่รู้จักตาย ถ้าวิทยาศาสตร์ยิ่งก้าวหน้า ยิ่งเจริญในโลก พุทธศาสนายิ่งมีรากฐานอันมั่นคง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ก้าวหน้าไปเท่าไรยิ่งเป็นเครื่องสนับสนุนรับรองพระพุทธศาสนาให้เข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นศาสนาพุทธจึงไม่ได้มีการเผยแผ่ศาสนาโดยวิธีจ้างออนอะไรต่างๆ และผู้ที่ต้องการพุทธศาสนากลับจะต้องเป็นผู้ลงทุนเองเที่ยวหาเอาเอง ไม่เหมือนกับศาสนา เอ่อ, ที่มีพระเจ้า ที่จะต้องมีการ เอ่อ, เรียกว่าต้องจ้างออน คือจะต้องมีอะไรให้ ต้องมีๆอะไรชักจูง มีอะไร อ่า,ให้เป็นเครื่องตอบแทนที่มาถือพุทธ เอ่อ, ที่มาถือศาสนานั้นๆ ทั้งหมดนี้ เอ่อ, จะเป็นแก่นของพุทธศาสนาหรือไม่ใช่ ขอให้ท่านนักศึกษาทั้งหลายลองพิจารณาดู นี่เพียงแต่ว่าโลกนี้มันแบ่งเป็น ๒พวก เป็นพวก creationist กับ evolutionist ๒ พวกเท่านั้น นี้มันก็เป็นแก่นของพุทธศาสนาอย่างยิ่งอยู่แล้ว เอ้า, ทีนี้ซึ่งควรจะแคบเข้ามาว่าพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ แต่แล้วทำไมจึงมีการกระทำอย่างไสยศาสตร์ พวกนักศึกษาที่เป็นฝรั่งเป็นนักศึกษามีปัญญาเขายังมองว่าพุทธศาสนามีการกระทำที่เป็นไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์นี่คำนี้ต่างจากพุทธศาสตร์ คือว่าไสยศาสตร์นั้นมีหลักการใหญ่ๆว่าพึ่งผู้อื่นนอกไปจากตัว ถ้าเป็นไสยศาสตร์จะพึ่งผู้อื่นนอกไปจากตัว แล้วรับนับถือสิ่งที่ไม่รู้จักไม่เข้าใจ นี่เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว ถ้าเป็นพุทธศาสนาต้องมีการพึ่งตัว มีตัวเป็นที่พึ่งแก่ตัวแล้วก็สิ่งนั้นเป็นที่รู้จัก ประจักษ์ชัดแก่จิตใจ ไสยศาสตร์พึ่งภูต ผี ปีศาจ เทวดา พระเจ้าอะไรก็ตามเถอะ ซึ่งล้วนแต่ไม่มีใครรู้จักตัวทั้งนั้น และการพึ่งนั้นก็เป็นการพึ่งผู้อื่นไม่ใช่พึ่งตัว แต่ถ้าเป็นพุทธศาสตร์ มันต้องพึ่งตัวเอง คือ การกระทำของตัวเอง แม้ว่าการกระทำนั้นได้รับการแนะนำมาจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านก็ยังตรัสว่าเป็นการพึ่งตัวเองแล้วสิ่งนั้นมองเห็นอยู่ประจักษ์ชัดอยู่แก่ความรู้สึกในจิตใจ จึงไม่มีความงมงาย เรื่องนี้ เอ่อ, ก็เป็นเรื่องที่ควรจะทราบอย่างยิ่งเหมือนกับว่าเป็นแก่น เอ่อ, ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน นั้นคือว่าคนเราพอเกิดมาจากท้องแม่อย่างนี้ก็ถูกอบรมให้พึ่งผู้อื่นเสียแล้ว ผู้อื่นให้กิน ผู้อื่นให้อะไรทุกอย่าง เอ่อ, เกิดผู้อื่นเป็นผู้เลี้ยงดู เป็นผู้ เอ่อ, ช่วยเหลือทุกอย่าง มันก็เลยมีนิสัยพึ่งผู้อื่นซึ่งเป็นรูปแบบของไสยศาสตร์ แล้วบางทีเด็กทารกนั้นก็ถูกหลอกให้กลัวผี ให้กลัวในสิ่งที่ไม่ๆมองเห็นตัว อ่า, สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง อย่างนี้เด็กนั้นก็มีนิสัยน้อมเอียงไปในทางเป็นไสยศาสตร์ เช่นเชื่อผีและกลัวผี และก็มีความรู้สึกว่าผู้อื่นต้องช่วยเรา แต่ก็ดูเถอะพอว่าเด็กๆนั้นโตขึ้นมา โตขึ้นมา โตขึ้นมา ไอ้ความที่ต้องพึ่งผู้อื่นมันก็น้อยลงไป น้อยลงไป นี่เรียกว่าๆวิวัฒนาการทางจิตทางวิญญาณ และก็เริ่มไม่กลัวผี เริ่มไม่เชื่อว่ามีผี หรือเรื่องอะไรที่เป็นเรื่องหลอกๆสำหรับเด็กน่ะ เมื่อเด็กโตขึ้นมาแล้วก็หมดไป นี่หมายความว่าเรายิ่งโตขึ้นมาเท่าไรก็ยิ่งเปลี่ยนจากไสยศาสตร์มาสู่ความเป็นพุทธศาสตร์ ถ้าใครเปลี่ยนได้เร็วมันก็น่าดู แต่บางคนไม่เปลี่ยนจนตายก็มี พาเข้าโลงไปด้วยเลยก็มี อย่างนี้มันก็น่าสงสาร
อ่า, คำว่าไสยะ ไสยะนี้ตามภาษาบาลีก็แปลว่า หลับ พุทธะ พุทธะ ตามภาษาบาลีก็แปลว่า ตื่น คือตื่นจากหลับ ก็ลองเทียบกันดูเถอะว่า หลับกับตื่นนั่นน่ะมันต่างกันอย่างไร เด็กๆเกิดขึ้นมาออกมาจากท้องแม่มันก็เหมือนกับหลับออกมา มันก็เหมือนๆกับหลับออกมา แล้วมันก็ค่อยลืมตา ค่อยๆตื่น ค่อยๆตื่น จนรู้จักอะไรเป็นอะไร แล้วมันก็ได้ศึกษาธรรมะหรือพระศาสนาพอสมควรแล้ว มันก็ตื่นเต็มที่ ถ้ายังหลับก็ยังเป็นไสยศาสตร์ ถ้ามันรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเหมือนกับคนตื่น อ่า, มันก็ถือพุทธศาสตร์ ซึ่งจะเรียกได้อย่างหนึ่งว่าเป็นวิทยาศาสตร์ก็โดยเหตุที่เขาไม่ค่อยเอาไป เอ่อ, เรียกว่าพุทธศาสนานั้นโดยลักษณาการแล้วเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นของคนตื่น เป็นคนมองเป็นของคนมองเห็นโดยครบถ้วนว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอย่างไร เอ้อ, ส่วนไสยศาสตร์นั้น ไม่มีทางที่จะเป็นวิทยาศาสตร์ก็ต้องฝากไว้กับความไม่รู้ความไม่เข้าใจ ความเชื่อตะพึดอยู่เรื่อยไป นี่ก็เป็นใจความสำคัญที่ขอร้องให้นักศึกษาทั้งหลายรู้จักความแตกต่างระหว่างพุทธศาสตร์ กับไสยศาสตร์และอย่าลืมว่าเรื่องของไสยศาสตร์นี่เหนียวแน่นเหนียวแน่น อีกทางหนึ่งก็มีประโยชน์ มีประโยชน์ที่ให้ เอ่อ, คนทำอะไรจริงจังได้มากเหมือนกัน การเชื่ออย่างไสยศาสตร์นั่น อ่า, เป็นเหตุให้ปฏิบัติ อ่า, ข้อปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมะ หรือปฏิบัติศาสนาได้อย่างเคร่งครัด และดูจะง่ายกว่าอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งมันเข้าใจยาก ดังนั้นระบบการเมืองสมัยโบราณ จึงส่งเสริมไสยศาสตร์ หรือบางทีก็เลือกเอาฐานรากเป็นไสยศาสตร์การปกครองบ้านเมือง ยอมให้ประชาชนถือทั้งไสยศาสตร์และทั้งพุทธศาสตร์ เพราะว่าอย่างไสยศาสตร์นั้น ทำให้เชื่อมั่นทำให้ยึดมั่นจริงจัง เรียกว่าง่ายสะดวกแก่การปกครองอย่างยิ่ง ไอ้คัมภีร์ที่พูดถึงกันมากเช่นคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง ส่วนใหญ่เป็นหลักของไสยศาสตร์แล้วก็มีพุทธศาสตร์เจืออยู่ อ่า, เป็นหัวใจแสดงว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือรัฐบาลก็ดีใช้นโยบายอย่างนี้ เพื่อง่ายเพื่อสะดวกแก่การปกครอง นั้นจะไปโทษไสยศาสตร์ว่า เอ่อ, ไร้ประโยชน์โดยประการทั้งปวงก็ไม่ได้ และคำว่าไสย ไสย นี้ยังแปลได้อีกอย่างหนึ่งแปลว่าดีกว่า ดีกว่าไม่มีเสียเลย เป็นความรู้ที่ดีกว่าไม่มีเสียเลย นี่เรียกว่าไสยศาสตร์ แต่ไม่ถึงที่สุด ถ้าถึงที่สุดต้องเป็นพุทธศาสตร์ นั้นขอให้ปรับปรุงปรับปรุงให้เข้าสู่ความเป็นพุทธศาสตร์ อ่า, เสียโดยเร็ว อย่าให้อยู่เหมือนอย่างกับว่าออกมาจากท้องมารดาแล้วก็ตั้งต้นด้วยไสยศาสตร์ แล้วก็ไสยศาสตร์ไปจนตายอย่างนี้มันก็ไม่ถูก มันต้องรีบเป็นขั้นพุทธศาสตร์ คือช่วยให้รอดได้โดยลักษณะที่มีเหตุผลทางโบราณคดี บ้านเมืองไหน เอ่อ, ที่มีอายุเกินกว่า ๑.๐๐๐ ปี เช่น ไชยา เช่นนครนครศรีรรมราชก็ตาม จะมีซากโบราณสถาน ทั้งอย่างพราหมณ์น่ะและทั้งอย่างพุทธอยู่เป็นคู่กัน เช่น วัดสำคัญที่ไชยานี้ทางตะวันออกของวัดออกไปจะมีโบสถ์พราหมณ์ทุกวัด มีโบสถ์พราหมณ์ ในโบสถ์พราหมณ์นั้นมีการไหว้พระเป็นเจ้าอย่างพราหมณ์ แถวไชยานี้ถืออย่างนิกายวิษณุ,ไวศะนะวะ น่ะมาก ก็ถือพระนารายณ์ (นาทีที่ 41.43) ทางนครศรีธรรมราชนั่นถืออย่างศิวะหรือไศวะก็เต็มไปด้วยศิวลึงค์ เอ่อ, บุคคลประชาชน รับนับถือทั้งสองอย่างพร้อมกัน อย่างกับว่ามาวัดนี่ก็ไหว้ที่โบสถ์พราหมณ์เสร็จแล้วก็มาไหว้ที่โบสถ์พุทธ หรือจะไหว้ที่โบสถ์พุทธและกลับไปก็ยังต้องแวะไหว้ที่โบสถ์พราหมณ์ และยิ่งกว่านั้นใน เอ่อ, ในๆพุทธสถานของฝ่ายพุทธแท้ๆ เช่นพระเจดีย์องค์ประธานนี่ ที่วัดแก้วนี่ ที่ตรงกลางศูนย์กลางของพระเจดีย์น่ะ เอ่อ, ค้นขุดค้นได้ทั้งพระพุทธรูปที่เป็นฝ่ายพุทธและทั้ง ศิวลึงค์ และคเณศพระคเณศร์น่ะซึ่งเป็นฝ่ายพราหมณ์หรือฮินดูรวมอยู่ด้วยกัน นี่เป็นเรื่องนโยบายที่ยอมให้ประชาชนถือทั้งอย่างพุทธและอย่างพราหมณ์ ถ้าจะพูดภาษาธรรมดาก็ถือทั้งพุทธและไสย นี่ถือทั้งไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์ไปด้วยกัน อ่า, แต่ถ้ามาถึงบัดนี้ความจำเป็นอันนี้มันหมดแล้ว มันค่อยๆหมดไป มันจึงเหลือแต่พุทธศาสตร์มากขึ้น นั้นขอให้เราสนใจเรียกว่า รู้จักโต รู้จักโต เกิดมาแล้วก็รู้จักโต หรือว่ามีการเลี้ยงแล้วก็รู้จักโต คือเลื่อนชั้นเลื่อนชั้นขึ้นมาจากการที่ฉลาด แจ่มแจ้ง หรือลืมตา ลืมตาตื่นจากหลับมากขึ้นทุกที ทีนี้ที่มีปัญหาอยู่ในที่ทั่วไปก็เช่นว่า เดี๋ยวนี้ก็มีพระเครื่องแขวนคอกันมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้นเป็นจำนวนล้านๆ ก็มีปัญหาว่าผู้ที่แขวนพระเครื่องนั้นน่ะแขวนอย่างไสยศาสตร์หรือแขวนอย่างพุทธศาสตร์ ถ้าแขวนอย่างพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์ จะช่วยคุ้มครองเหมือนกับเทพเจ้า อ่า, หรือ เอ่อ, พระเจ้าน่ะมาช่วยคุ้มครองเป็นของขลัง ของศักดิ์สิทธิ์ อย่างนี้ก็คือการแขวนพระเครื่องนั้นอย่างไสยศาสตร์อย่างไสยศาสตร์คือพึ่งผู้อื่นและในเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นตัว นี้ถ้าเอาพระเครื่องมาแขวนด้วยความรู้สึกในพระธรรมว่าดับทุกข์ได้อย่างไร ดับทุกข์ได้อย่างไร เพราะพอใจในระบบการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้า แล้วบูชาคุณของพระพุทธเจ้า เอาพระเครื่องมาแขวนที่คอ เป็นพุทธานุสติไม่ใช่แขวนอย่างขลังอย่างศักดิ์สิทธิ์ อ่า, เพื่อว่าจะเตือนให้ระลึกนึกถึงธรรมะอยู่เสมอ ถ้าอย่างนี้ก็เป็นพุทธศาสตร์ นั้นขอให้สนใจกับพระเครื่องที่สร้างขึ้นมาเป็นล้านๆองค์แล้วนี่ มันจะเพิ่มพุทธศาสตร์หรือจะเพิ่มไสยศาสตร์ อ่า, ข้อนี้มันก็อยู่ที่ผู้ใช้หรือผู้มี หรือผู้แขวนนั้นเอง ขอให้นักศึกษามีสติปัญญา และก็รู้จักแยกแยะว่าแขวนอย่างไรเป็นไสยศาสตร์ แขวนอย่างไรเป็นพุทธศาสตร์ อย่างพวกโจร พวกอันธพาล เอาพระเครื่องมาแขวนคอด้วยความเชื่อมั่นว่าจะคุ้มครอง คุ้มครองอย่างๆไม่มีเหตุผลน่ะ อย่างของขลังของศักดิ์สิทธิ์น่ะ แล้วอันธพาลเหล่านี้ก็นอนตาย ตำรวจยิงตายพระเครื่องเต็มคอ ลักษณะที่เป็นไสยศาสตร์มันก็เป็นอย่างนี้ ถ้าว่าเขาแขวนพระเครื่องอย่างพุทธศาสตร์ ไม่มีใครจะยิงตายได้ เพราะมันไม่มีการกระทำอะไรชนิดที่ทำให้ผู้อื่นจะต้องเดือดร้อน หรือเขาเกิดเป็นศัตรูคู่อาฆาตขึ้นมา และถ้าแขวนพระเครื่องอย่างไสยศาสตร์เป็นขลังเป็นศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองป้องกัน ฆ่าไม่ตายอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็ได้ตาย เดี๋ยวก็ได้นอนตาย เพราะว่าแม้ไม่มีใครฆ่า มันก็ตายแล้ว มันก็ตายแล้ว ตายด้วยความโง่อย่างยิ่งอยู่แล้ว นี่พุทธศาสนาจะแยกตัวออกมาจากไสยศาสตร์ได้อย่างไร สิ่งที่เรียกว่าไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์นั้นน่ะ เป็นของพื้นฐานแรกเริ่มเดิมทีมีมาก่อนศาสตร์ใดๆ ซึ่งพอจะพูดได้ว่าดีกว่าไม่มีน่ะวิชาอันนี้ความรู้อันนี้ ดีกว่าไม่มีอะไรเสียเลย นั้นคนในชั้นแรกจึงถืออย่างไสยศาสตร์ นับตั้งแต่ถือไอ้ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ต้นหญ้าต้นบอนศักดิ์สิทธิ์ ต้นอะไรก็ล้วนแต่ศักดิ์สิทธิ์ กระทั่งมีเทวดาในฝน ในฟ้า ในอากาศ ในแม่น้ำ ในนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย ตั้งแต่สมัยแรกๆที่สติปัญญาของคนเหล่านั้นจะๆๆเดาได้ ต้องใช้คำว่าจะเดาได้หรือจะสันนิษฐานได้ ก็เกิดเป็นไสยศาสตร์ขึ้นมาเป็นพื้นฐานก่อน แต่โดยเหตุที่ว่าแม้จะเป็นไสยศาสตร์ชนิดนั้นมันก็มีความจริงอยู่บ้าง ก็เพราะว่าบางเรื่องน่ะมันเนื่องด้วยกำลังจิต ถ้าเป็นไสยศาสตร์ที่มันเนื่องด้วยกำลังจิตมากๆ มันก็อาจจะให้ผล เอ่อ, ตรงตามความต้องการได้บ้าง เช่นทำให้เจ็บไข้ลงก็ได้ ทำให้หายไข้ ฟื้นจากไข้ก็ได้ เพราะมันทำด้วยกำลังจิต แต่ไม่ใช่เป็นความจริง นี่เรียกว่าไสยศาสตร์ คือศาสตร์ที่ยังหลับอยู่ แล้วก็พุทธศาสตร์คือศาสตร์ที่ตื่นแล้ว เอ่อ, ขอให้นักศึกษารู้จักแยกออกจากกัน รู้จักไอ้ความที่พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย คือพิสูจน์ได้ทดลองได้ พิสูจน์ได้ ทดลองได้โดยประจักษ์อย่างนี้ ก็เรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ แม้จะเป็นเรื่องทางจิตใจก็เป็นเรื่องที่รู้สึกได้ เช่นว่าพอเราเกิดกิเลสขึ้นมามันก็เป็นทุกข์ อย่างนี้มันก็เห็นได้ รู้สึกได้ เอ่อ, เป็นความจริงที่เห็นได้พิสูจน์ได้ หรือเมื่อทำผิด อ่า,จากกฎของธรรมชาติ ผลมันก็เกิดมาขึ้นมาเป็นทุกข์ เมื่อทำถูกต้องตามกฎของธรรมชาติที่มันจะไม่เกิดทุกข์ มันก็ไม่เกิดทุกข์ ทีนี้ก็มีแง่ที่จะมองดูออกไปอีกว่าเหมาะสมสำหรับ เอ่อ, คำว่าไทย คำว่าไทย อธิบายลำบากอยู่หน่อยหนึ่ง ที่คำว่าไทย ไทย นี่มันเอาตัว ย สะกดเข้าไปด้วย ถ้าว่าจะเป็นไท ที่แปลว่าอิสระแล้ว ไม่ควรจะมีตัว ย แต่นี่ก็ได้เขียนอย่างมีตัว ย เป็นไทยะ เอ่อ, ไทยะ แปลว่าของที่ให้ได้หรือถูกให้ ไม่เป็นอิสระแก่ตัว ถ้าไทยะ ถ้ามันไทเฉยๆนี่ดูจะว่ามาจากคำว่าอิสระโดยสมบูรณ์ แต่ก็ต้องสมมตินะ เอาว่าเป็นว่าแม้จะมีตัว ย สะกดก็คือไท คือความเป็นอิสระ นี่เหมาะกับหลักของพระพุทธศาสนาที่ให้ความเป็นอิสระแก่ตัว และถ้ายิ่งมองถึงเรื่องประชาธิปไตยแล้วก็ยิ่งมีมาก มากที่สุด ในศาสนาที่ถือพระเจ้าน่ะจะมีไม่ได้ ความเป็นอิสระความเป็นประชาธิปไตย เอ่อ, อย่างในพุทธศาสนานี่มีไม่ได้ในศาสนาที่มีพระเป็นเจ้า นี้อยากจะพูดให้ฟัง เอ่อ, พอรู้เรื่อง แต่ย่อๆนะเพราะเรื่องมันมากแต่พูดแต่ย่อๆว่า อือม์, พุทธบริษัทได้รับคำสั่งสอนจากพระพุทธองค์ในการเชื่อในการที่จะเชื่ออะไรน่ะ ท่านสอนว่าอย่าเชื่อโดย เอ้อ, เหตุ ๑๐ ประการ เหตุ ๑๐ ประการ ๑ อย่าเชื่อเพราะเหตุสักว่า ได้ฟังๆบอกต่อๆกันมา ได้ฟังบอกต่อๆกันมาแม้จะมากมายอย่างไรก็ไม่เชื่อ และก็ไม่เชื่อด้วยเหตุสักว่ากระทำ กระทำ กระทำตามตามสืบๆกันมานี่ และก็อย่าเชื่อด้วยเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่กระฉ่อนทั้งบ้านทั้งเมือง ทั้งโลกว่าเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ก็อย่าไปเชื่อ แล้วก็อย่าเชื่อเพราะมีที่อ้างในปิฎก ในปิฎกนี่พระไตรปิฎกนี่บางคนไม่กล้าแปล ไม่ๆกล้าถือตามตัวปิฎก ไปแปลว่าตำรา ตำอะไร แล้วก็เป็นตำราขี้โกงไปเสีย พระพุทธเจ้าท่านตรัสชัดลงไปว่าไม่เชื่อแม้มีอ้างได้ในปิฎก ก็เพราะโดยเหตุที่ว่าปิฎกนั้นน่ะ มันก็เป็นสิ่งที่ อ่า, แตะต้องได้ปรุงแต่งได้ อยู่ในอำๆนาจที่ใครจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนอะไรได้ จึงยังไม่เชื่อและก็อย่าเชื่อ เอ่อ, ว่าถูกต้องตามหลักของ อ่า, ตรรกะวิทยา พอมาดูเหตุผลทาง logic แล้วมันถูกอย่างนี้ก็ยังไม่เชื่อ และไม่เชื่อโดยเหตุผลทางนยะ คือ ทาง Philosophy แม้ตามวิธี Philosophy พิสูจน์อย่างไร เอ่อ, ได้ผลออกมาว่านี้จริงนี้ถูกก็ยังไม่เชื่อ แล้วก็อย่าเชื่อด้วยการตรึกไปตามอาการ คือตามความรู้สึกสามัญสำนึกหรือ common sense นั่นน่ะก็ยังไม่เชื่อ แล้วก็ไม่เชื่อด้วยเหตุที่ว่ามันคำพูดนั้นน่ะมันทนได้ต่อการเพ่งพินิจของเรา เพราะว่าความเพ่งพินิจของเรามันผิดได้ นั้นไม่ใช่มันตรงกับความคิดของเราแล้วมันจะถูก แล้วก็อย่าเชื่อว่าผู้พูดน่ะอยู่ในฐานะที่น่าเชื่อ และข้อสุดท้ายว่าอย่าเชื่อเพราะว่าสมณะนี้เป็นครูของเราก็คือพระพุทธเจ้าเอง พระพุทธเจ้าเองเป็นสมณะและก็เป็นครูผู้สอนของเรา ยังไม่เชื่อด้วย ๑๐ อย่างนี้ เอ่อ, เป็นประชาธิปไตยเท่าไร แต่จะเชื่อด้วยเมื่อมองดูแล้วมันเป็นอย่างนั้นได้จริง เช่นบอกว่าไอ้ราคะ โทสะ โมหะ เป็นร้อนเป็นของร้อน เป็นไฟ เป็นทุกข์ พอมองดูแล้วเห็นได้จริงก็ไม่ต้องเชื่อตาม ๑๐ อย่างนั้น เอ่อ, หรือว่าสิ่งที่ทำลงไปมันเบียดเบียนตนเบียดเบียนผู้อื่น แล้วมันสร้างผลอันเลวร้ายขึ้นมาไอ้อย่างนี้มันก็เชื่อได้โดยตัวมันเอง มันพิสูจน์อยู่ในตัวมันเอง นั้นนถ้าชาติไทยจะมีศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ มันจึงได้แก่พุทธศาสนา คือทำให้เกิดความเป็นไทย แล้วก็เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง แม้แต่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นครูของเรา ซึ่งเป็น เอ่อ, ตรัสก็ยังไม่เชื่อ ยังไม่ทันเชื่อ ยังไม่ยอมเชื่อ จะต้องดูอีกที ดูอีกทีหนึ่งว่ามันจะเป็นอย่างนั้นได้จริง นี่คือหลัก เอ่อ, ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาหรือจะเป็นแก่นของพุทธศาสตร์ คือไม่เชื่อโดยเหตุ ๑๐ ประการนั้น แต่เชื่อโดยเหตุผลที่ประจักษ์ อ่า, อยู่จริงๆ ที่ตัวการกระทำหรือมีผลออกมา ให้เห็นได้ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง ถ้ามันเป็นสิ่งที่ยังไม่มีผลออกมา แต่มันมีเหตุผล วันหน้าลองดูก็ได้ แต่คำว่าน่าลองดูนี่ ยังไม่เชื่อ ยังไม่เชื่อ ต้องลองดูแล้วทุกอย่างแล้ว ลองดูถึงที่สุดแล้วมีผลอย่างนั้นจริง จึงค่อยเชื่อ นั้นเป็นอันว่ามีแต่สติปัญญา เชื่อด้วยสติปัญญาอยู่เรื่อยไป นี่คือแก่นของพระพุทธศาสนา ทีนี้ก็มาดูถึงว่าพุทธศาสนานั้นสอนเรื่องอะไร อ่า, สอนเรื่องอะไร เดี๋ยวนี้อีกอะไรอะไรก็จะเป็นพุทธศาสนาเสียหมด ซึ่งก็ทำมาอย่างเป็นไสยศาสตร์ เป็นไสยศาสตร์ทั้งนั้น แต่ก็ถูกเข้าใจว่าเป็นพุทธศาสนาไปทั้งหมด นี่เพื่อให้มันแยกจากกันได้ก็ต้องอาศัยพระพุทธภาษิตที่ตรัสว่าแต่ก่อนก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติเฉพาะเรื่องความทุกข์กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น ใจความข้อนี้ พวกนักศึกษาชาวต่างประเทศที่มาสนใจพุทธศาสนา เขายึดถือกันเป็นหลักอย่างยิ่ง พวกเราคนไทยกลับไม่เคยได้ฟังหรือไม่เคยจะได้ฟังด้วยซ้ำไป และไม่ได้ถือด้วยซ้ำไป พวกฝรั่งเหล่านั้นมันยึดถือเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งถึงกับจำบาลีได้ บุพเพ ซาหัง ภิกษุเร เอสะระอีจะ ทุกขัง เทวะ ปัญญาเทมิ ทุกขสัจจะ นิโรธธัง (นาทีที่ 57.05) นี่ถ้าเป็นบาลีมันก็มีเท่านี้ ภิกษุทั้งหลายก่อนนี้ก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติเฉพาะเรื่องความทุกข์ กับเรื่องความดับทุกข์เท่านั้น ถ้าเรื่องนอกนั้นแล้วมันไม่ใช่ไม่ๆใช่คำของพระพุทธเจ้าตรัส หรือไม่ใช่หลักที่ต้องการจะตรัส แล้วมันก็มีเรื่อง เอ่อ, ที่มากออกไป แม้ที่สุดแต่เรื่องตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด อะไรจะไปเกิด จะไปเกิดโดยวิธีใดอย่างไร อย่างนี้ก็ยังไม่ต้องสนใจก็ได้ เพราะถ้าเกิดแล้วมันก็มีความทุกข์น่ะ ก็สนใจเรื่องดับทุกข์ก็พอแล้ว ถ้ามันไปเกิดอีกมันก็ว่าก็ดับ อ่า, ก็ต้องมีปัญหาที่เรื่องดับทุกข์ ถ้ามันไม่ไปเกิดอยู่ที่นี่มันก็ไม่มีปัญหาเรื่องดับทุกข์ นั้นสนใจแต่เรื่องที่จะดับทุกข์อย่างไร นั้นแหละจะอยู่ในขอบเขตของพุทธศาสนา ทีนี้ถ้าไปพูดนอกๆเรื่องออกไป ไกลออกไป ไกลออกไปมากมายมหาศาลนั้นน่ะก็ไม่ใช่เรื่องตัวพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องนรกอย่างนั้น อยู่ใต้ดิน เรื่องสวรรค์อย่างนั้นอยู่บนฟ้า อย่างนี้น่ะเขาพูดกันก่อนพระพุทธเจ้า เขาพูดกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า มันไม่ได้เกี่ยวกับดับทุกข์โดยตรง แล้วบางทีมันจะซ้อนความหมายอันลึกลับไว้ให้เข้าใจผิดว่า แม้ในสวรรค์นั้นน่ะก็ยังเต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะว่าสวรรค์นั้นน่ะเต็มไปด้วยกามารมณ์ เต็มไปด้วยของถูกใจ เอ่อ, ในทางกามารมณ์ ในสวรรค์นั่นแหละตัวที่จะหนาแน่นไปด้วยกิเลสน่ะ ถ้ามันเต็มไปด้วยกามารมณ์มันก็เต็มไปด้วยราคะ โลภะ ถ้ามันเต็มไปด้วยราคะ มันก็ต้องเต็มด้วยโทสะ เพราะว่ามันไม่ได้อย่างใจ มันไม่ได้อย่างที่ราคะต้องการ มันก็ต้องโกรธ และการที่ทำอย่างนั้นอยู่ก็คือโมหะ หลงอย่างนั้นโมหะ นั้นในสวรรค์ที่เต็มไปด้วยกามารมณ์นั้นแหละมันไม่มันไม่ใช่ที่ๆจะพึงปรารถนา แล้วมันไม่ดับทุกข์ นั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าเรื่องทุกข์ กับดับทุกข์อันนั้นที่ตถาคตบัญญัติขึ้นสอน มันจึงต้องดูว่าจะดับ ราคะ โทสะ โมหะ อย่างไร เรื่องนี้มันก็น่าหัว ที่ว่าเราสอนกันเรื่องไปสวรรค์ เอาสวรรค์ให้ได้และก็สวนทางกันกับพวกเทวดา มีในพระบาลีในสูตรๆหนี่งน่ะ ที่พระพุทธเจ้าตรัส เอ่อ, ถึงการที่พวกเทวดาบนสวรรค์น่ะ พอเขาจะตายคือจุติจะต้องตายน่ะ ก็มีปัญหาว่าเทวดาที่จะไปเกิดที่ไหนจึงจะเป็นสุขจะเป็นสุขคติ มองแล้วก็ไม่มีที่ไหนนอกจากในโลกมนุษย์ เพราะว่าในโลกมนุษย์นี่ยังหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้ง่าย เทวดาจึงจุติมาหาสุขคติในมนุษยโลก นี่อีกทางหนึ่งมนุษยโลกจะไปหาสุขคติในเทวโลก นี่มันสวนทางกันอย่างนี้ แล้วใครมีเหตุผล ถ้าเหตุผลมันมีอยู่ว่าดับโลภะ โทสะ โมหะ น่ะเป็นดับทุกข์ มันก็ไม่มีเหตุผลเลยที่ว่าจะต้องทำบุญทำทานเพื่อไปเกิดในสวรรค์ในเทวโลกที่สมบูรณ์ไปด้วย เอ่อ, กามารมณ์ซึ่งเป็นเหยื่อของกิเลส นี่มันพูดกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า เขาก็มีเหตุผลและพูดเพียงว่าให้คนทำดี ทำดีได้ไปเกิดในสวรรค์ มันก็มีๆผลดีทางสังคม ทีนี้พอพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ในหมู่คนที่เขาเชื่อเรื่องนรก เรื่องสวรรค์กันอย่างนั้นนะ พระพุทธองค์ทำอย่างไรนี่ ไอ้พวกเราที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าก็ถือหลักข้อนี้ให้มันถูกต้องสักหน่อย ที่ว่าเขาพูดกันอยู่อย่างไรนั้นอย่าไปค้านเขา อย่าไปทะเลาะกับเขา อย่าไปค้านเขา ถ้าเรามีอะไรจะพูดก็พูดดีกว่า พระพุทธเจ้ามาเกิดขึ้นมาในหมู่คนที่เขาเชื่อเรื่องนรกเชื่อสวรรค์อย่างนี้อยู่แล้ว ท่านก็เข้ารอยไปเลยว่าถ้าอยากไปสวรรค์ให้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ซึ่งข้อปฏิบัตินี้มันดีกว่าที่มันสอนกันอยู่ก่อน ถ้าไม่อยากไปนรกก็อย่าปฏิบัติอย่างนี้ อย่าปฏิบัติอย่างนี้ นี่มันดีกว่าที่สอนกันอยู่ก่อน ท่านก็เลยไม่ต้องกระทบกระทั่ง อ่า, เป็นข้าศัตรูข้าศึกศัตรูกันกับที่เขาเชื่อกันอยู่ก่อน อ่า, ครั้นมาถึงเรื่องที่จะตรัสเป็นของพระองค์เองก็ตรัสว่าโอว, นรกนี่อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สวรรค์อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อ่า, สวรรค์หรือนรกที่อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ฉันเห็นแล้ว บอกคนเหล่านั้นว่าฉันเห็นแล้วเมื่อทำผิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีการกระทำผิดมันก็เป็นนรกออกมา มีการกระทำถูกต้องทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นสวรรค์ขึ้นมา มันจึงอยู่ที่นี่ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เวลานี้ไม่ต้องต่อตายแล้ว แต่เมื่อเขาเชื่อกันว่ามันต่อตายแล้ว แล้วก็นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้าก็ตามใจเพราะว่ามันสอนอยู่ก่อน แล้วมันเหมาะสำหรับคน อ่า, ประเภทหนึ่ง ต่อเมื่อจะต้องการให้ดีขึ้น เอ่อ, ท่านก็ตรัสว่าให้มันแน่นอนน่ะ จะไปสวรรค์อย่างที่คุณว่าน่ะก็ทำอย่างนี้ อย่างนี้ ไปทำไอ้ประพฤติดีประพฤติชอบตามหลักใหม่ที่สอนให้ ไม่ใช่บูชายันต์ หรือไม่ใช่ทำพิธีรดน้ำ หรือว่าไม่ใช่ไอ้ที่ก่อนๆน่ะมันๆๆๆสู้ไม่ได้ มันสู้การกระทำที่ถูกที่ดีนี้ไม่ได้ นี่เราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า อ่า, จงถือหลักอย่างนี้ด้วย ในฐานะเป็นหลักหัวใจเหมือนกัน คืออย่าไปปะทะหรือไปเผชิญหน้า กับลัทธิที่มันมีอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเรามีอะไรจะพูดก็พูดไปเลย ถ้าเราจะพูดให้มันกลมกลืนกันไปได้ อ่า, ก็พูดๆให้มันกลมกลืนกันไปได้ เช่นพระองค์ตรัสว่าถ้าจะไปสวรรค์อย่างที่แกต้องการนั้นน่ะ ก็ให้ปฏิบัติอย่างนี้อย่างนี้ ให้ทาน รักษาศีลไปตามวิธีนี้ให้เราไม่ไปนรก แต่ถ้าว่าไอ้นรกจริงสวรรค์จริงนั้น มันอยู่ที่ทำผิดหรือทำถูก ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พอตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายผิวกายได้สัมผัสผิวหนัง จิตได้รับอารมณ์แล้วมันทำผิด เรียกว่ามันคิดผิด มันปรุงเป็นความคิดผิด เป็นมิจฉาทิฎฐิ จนเกิดราคะ โทสะ โมหะ นั้นนะนรก นั้นน่ะคือนรก ถ้าถูก ทำถูกไม่เกิดๆผลดีก็เป็นสวรรค์ นั้นขอให้นึกถึง อ่า, ปู่ย่า ตา ยาย ของเราที่ท่านเคยพูดไว้ถูกต้องแล้วว่า สวรรค์ในอก นรกในใจนี่ ถูกตามหลักของพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ไอ้สวรรค์อยู่บนฟ้า นรกอยู่ใต้ดินนั้นน่ะ ไม่รู้ใครพูด พูดมาตั้งแต่ก่อนแรกเริ่มมีมนุษย์น่ะ นั้นอะไรๆถ้าจะให้เป็นพุทธล่ะก็ขอให้อยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ถ้าเอาไปไว้ในส่วนที่ไม่ๆมองเห็นและก็ไม่มีเหตุผลและต้องเชื่อๆๆๆ อย่างนี้ ไม่ใช่พุทธ มันไม่ใช่พุทธ มันก็เป็นไสยศาสตร์อย่างที่ว่า เป็นศาสตร์ของคนหลับ ถ้าเป็นศาสตร์ของคนตื่น มันต้องมีลักษณะอาการเหมือนกับว่าลืมตาแล้วก็เห็น ๆๆๆ อยู่อย่างนี้ นี่จึงจะเป็นพุทธศาสตร์ ทีนี้ที่เนื่องกันต่อไปก็ว่าไอ้เรื่องความทุกข์ กับความดับทุกข์นี่ มีอยู่ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่ง อ่า, ที่ยังเป็นๆมีสัญญาและใจ นี่ก็เป็นหลักที่พวกเราละเลย เนื่องจากอาตมาได้สัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ ชาวต่างประเทศกลับยึดไอ้เรื่องนี้มากกว่าพวกเราชาวไทย ในข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า โลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับแห่งโลกก็ดี ทางถึงความดับแห่งโลกก็ดี ตถาคตบัญญัติไว้ในร่างกายที่ยาววาหนึ่งที่มีทั้งสัญญาและใจ คำว่าโลกในที่นี้เป็นอุปมาเป็นภาษาธรรม คือทุกข์นั่นเอง โลกก็คือทุกข์ โลกก็คือปัญหาไอ้ตัวทุกข์ก็ดี ตัวเหตุให้เกิดทุกข์ก็ดี ความดับแห่งทุกข์ก็ดี ทางถึงความดับแห่งทุกข์ก็ดี ตถาคตบัญญัติว่ามีอยู่ในกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังมีสัญญาและใจ หมายความว่าที่ยังเป็นๆ ที่ยังเป็นๆ ถ้าในร่างกายที่ยังเป็นๆจึงจะศึกษาไอ้สิ่งเหล่านี้หาได้ครบถ้วน ถ้าร่างกายตายแล้วก็ไม่มี เพราะว่าร่างกายตายแล้วมันไม่มีความทุกข์ หรือมันไม่มีเหตุให้เกิดทุกข์ มันไม่มีอะไร ในขณะที่ยังเป็นๆอยู่ เดี๋ยวนี้ ที่นี่เดี๋ยวนี้ยังเป็นๆอยู่นี่ขอให้รีบสนใจ ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ให้พบว่าความทุกข์เป็นอยู่อย่างไร เหตุของมันคืออะไร และความดับแห่งความทุกข์นั้นเป็นอย่างไร ให้ปรากฎอยู่ในใจ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ แล้วทางของมันคือการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ปฏิบัติถูกต้องนี้ก็ทางถึงความดับทุกข์ มันก็มีอยู่เฉพาะในร่างกายที่ยังเป็นๆ นี้เราไม่สนใจที่จะศึกษาอะไรๆจากภายในโดยมากนะ ยิ่งถ้าไปถืออย่างไสยศาสตร์จะมีอะไรมาช่วยด้วยแล้ว มันก็ไม่เลยๆไม่ต้องสนใจกันเรื่องทุกข์เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่ต้องสนใจเพราะว่าจะมีของศักดิ์สิทธิ์มาช่วย แต่พุทธศาสนา อ่า, จะเป็นอย่างนั้นไม่ได้ จะดับทุกข์ได้ต้องก็ด้วยการกระทำให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของความทุกข์ ว่ามันเกิดขึ้นมาจากอะไร แล้วมันจะดับไปเพราะการกระทำอย่างไร นี้ขอให้เริ่มวางหลักกันอย่างนี้ ขอร้องนักศึกษาทั้งหลายนะให้สนใจเฉพาะเจาะจงเรื่องความทุกข์กับความดับทุกข์ ไอ้ข้อปลีกย่อมากมายที่เอามาเถียงกัน จนทะเลาะวิวาทกันน่ะ ไม่ใช่พุทธศาสนา หรือไม่ๆใช่ตัวที่พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะให้ศึกษา ไอ้เรื่องตายแล้วเกิดหรือตายแล้วไม่เกิด มัน เอ่อ, เถียงกันมากแล้ว มักจะถามก่อน เอ่อ, ที่ว่าจะดับทุกข์อย่างไร เพราะว่าเขาไม่ได้มองเห็นว่าเขามีปัญหาเฉพาะหน้าคือความทุกข์น่ะ แต่เขาก็ไปสนใจไอ้เรื่องที่มันชวนให้สนใจ เรื่องตายแล้วเกิด ตายแล้วไม่เกิด อะไรไปเกิด มันก็เลยไปถึงว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้เห็น จะได้มีตาเห็นไอ้คนที่ตายไปแล้ว เห็นโลกของคนที่ตายไปแล้ว มันก็เตลิดเปิดเปิงไปจนไม่ๆได้ดับทุกข์ จนไม่ๆๆๆมุ่งไปหาไอ้ความดับทุกข์ เรื่องที่มันไม่เกี่ยวกับ เอ่อ, ความดับทุกข์ ล่ะก็ไม่ใช่พุทธศาสนา นั้นเราจะไม่ต้องมีปัญหาอย่างอื่น เราเกิดมาก็จะเพื่อดับทุกข์ หรือว่าเราจะไปเกิดอย่างอื่นอีก มันก็มีปัญหาคือความทุกข์และดับทุกข์อยู่นั่นเรื่อยไป ปัญหาอื่นไม่มีน่ะนอกจากความทุกข์และความดับทุกข์ ทีนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าให้ศึกษาเรื่องนี้ในร่างกายที่ยังเป็นๆ นี่คือเอาร่างกายที่ยังเป็นๆนี่ เป็นห้องทดลอง เป็นห้องศึกษาหรือเป็นห้อง lab อย่างศึกษาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะต้องรู้จักความทุกข์คืออย่างไร คือเกิดขึ้นมาอย่างไร มีเรื่องที่ควรจะทราบ แล้วก็เข้าใจกันผิดๆ อยู่บางเรื่องอีก คือว่าคนครั้งพุทธกาลโน่นๆๆแล้วล่ะ ที่เขามีความเชื่อว่า ความสุขหรือความทุกข์เกิดมาจากกรรมเก่าที่ได้ทำไว้ นั่นไม่ใช่พุทธศาสนานะ แต่เดี๋ยวนี้มีคนยืนยันว่าอย่างนี้คือพุทธศาสนา อ่า, สุขหรือทุกข์เกิดมาจากกรรมเก่าที่ได้ทำไว้ สุขหรือทุกข์เกิดมาจาก เอ่อ, พระเจ้า อิศวรคือพระเจ้า เกิดมาจากอิศวรคือพระเจ้า หรือว่าสุขหรือทุกข์นี่ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยอะไรเลย มันเกิดเองแหละ เกิดเองเฉยๆ ไอ้ ๓ อันนี้คือๆๆหลักที่ผิดที่ผิด ไม่ใช่พุทธศาสนาไอ้ที่ว่า อ่า, สุขทุกข์ไม่ได้เกิดเองเฉยๆได้ ต้องมีเหตุต้องมีปัจจัย ต้องมีการกระทำผิดๆๆมาตามลำดับมันจึงจะเกิดความทุกข์ เช่นตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันสัมผัสอะไร แล้วมันทำผิด มันก็จะเกิดทุกข์ ไอ้ความทุกข์จะเกิดเองโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยนี้ไม่ได้ นี่ก็เป็นหลักพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ที่ว่ามีเหตุ มีปัจจัยทั้งนั้นถ้าจะดับมันก็ต้องดับที่เหตุของมัน คือพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนเรื่องเหตุเรื่องปัจจัย เรื่องอิทัปปัจจยตา เรื่องปฏิจจสมุปบาท นี้ก็เป็นหลักสำคัญอันหนึ่ง ว่าพระพุทธศาสนาสอนว่าเกิดมาแต่เหตุ ทุกอย่างนี่เกิดมาแต่เหตุ นี้ที่ว่าสุขทุกข์เกิดมาจากพระเจ้า พระเป็นเจ้านี่ไม่มีในพุทธศาสนา ไม่มีพระเจ้าชนิดนั้นซึ่งเขาสอนกันอยู่ในอินเดีย อ่า, ครั้งกระโน้น มีพระเจ้าอ้อนๆวอนพระเจ้า บวงสรวงพระเจ้า ทำพิธีบูชายันต์พระเจ้า ถูกใจพระเจ้า แล้วพระเจ้าก็จะทำให้เกิดความสุข หรือถ้าไม่ถูกใจพระเจ้าก็จะทำให้เกิดทุกข์ ข้อนี้ไม่ใช่ พุทธศาสนา เป็นสิ่งที่สอนอยู่ก่อน และก็ไม่มีพระเจ้าอะไรที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นได้ เพราะความสุขและทุกข์นี่มันจะเกิดมาจากการกระทำถูกหรือผิดของเราเอง ถ้าเราทำผิดจากกฏอิทัปปัจจยตาความทุกข์ก็เกิด ทำถูกต้องจากกฎอิทัปปัจจยตาความสุขก็เกิด ทีนี้ถ้าสมมติว่านะถ้าสมมติว่า มีพระเจ้า มีผีสาง เทวดาอะไรตามใจ แล้วพระเจ้าหรือผีสางเทวดาเหล่านั้นแกล้งๆลงโทษแกล้งทำให้คนนี้มีความทุกข์ ไม่เป็นไรเราต้อนรับด้วยการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของอิทัปปัจจยตา ไอ้ผีสางเทวดาพระเจ้าทั้งโขยงมารุมทำให้มีความทุกข์ ก็ไม่มีความทุกข์ นี่พุทธบริษัทจะมีหลักชนิดที่แน่นอนแน่นแฟ้นอย่างนี้ ทีนี้ข้อที่ว่าสุขทุกข์เกิดมาจากกรรมเก่านั่นไม่ๆ สุข ทุกข์เดี๋ยวนี้ ที่นี่ ชาตินี้เวลานี้น่ะมันเกิดมาจากการทำผิดหรือทำถูกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อมีอะไรมากระทบ เอ้า, สมมติว่ามีกรรมเก่า สมมติว่ามีกรรมเก่าจะให้มันเกิดความทุกข์ แต่ถ้าเราปฏิบัติถูกต้องตามหลักของอิทัปปัจจยตาจะไม่ทุกข์ จะไม่ทุกข์แม้ว่าจะมีกรรมเก่ามาแกล้งให้ทุกข์ มาบันดาลให้ทุกข์ เรื่องนี้เป็นเรื่องหัวใจอย่างยิ่ง ที่ว่าทำผิดหรือทำถูกต่อกฎอิทัปปัจจยตา ในขณะที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจรับอารมณ์ จึงขอบอกนึกศึกษาทั้งหลายว่าจงได้สนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ จะเรียกว่า ก ข ก กา ของพระพุทธศาสนาก็ได้ในฐานะที่เป็นเบื้องต้น อย่าเข้าใจว่าเป็น ก ข ก กา แล้วจะไม่สำคัญ ความเป็นก ข ก กา นั่นแหละมีความสำคัญ เพราะมันเป็นไอ้รากฐานที่จะงอกงามขึ้นไปเป็นหลัก สิ่งแรกที่ผู้ศึกษาพุทธศาสนาจะต้องสนใจ เหมือนกับว่าเมื่อเราจะเรียนหนังสือเราก็เรียน ก ข ก กา ABC อะไรตามเรื่อง ถ้าจะลงมือศึกษาพุทธศาสนา ก็ให้ลงมือศึกษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่าเข้าใจเป็นคำครึคระ เป็นคำของคนครึคระ งุ่มง่ามอยู่ในวัด ไอ้เรื่องของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ น่ะเป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา เรามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใช่ไหม มันจึงมีปัญหาต่างๆนานาเกิดขึ้นมาได้ เอ้า, สมมติว่าถ้าเราไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่มีทางที่เกิดปัญหาอะไร ลองคิดดูในข้อนี้เห็นๆเสียก่อนเสียว่า ถ้าสมมติว่าเราไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่รู้สึกอะไรไม่สัมผัสอะไร แล้วปัญหาอะไรจะเกิดได้ มันก็ไม่มีปัญหา ดังนั้นจึงถือเอาไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เป็นตัวการที่จะทำให้เกิดปัญหา เกิดปัญหาอย่างไร เพราะว่าในโลก หรือที่เรียกว่าโลก ไอ้โลกๆทั้งหลาย โลกทั้งหลายมันไม่มีอะไรนอกจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ คือของคู่ๆๆๆกันกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นขอร้องให้ช่วยจำไอ้คำ ๖ คำ ๖ คู่นี้ไว้ให้ดีที่สุดเถิด ถ้าอยากจะเป็นนักศึกษาพุทธศาสนานั้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ก็ง่ายแล้ว ทีนี้รูปที่จะมากระทบตา เสียงที่จะมากระทบหู กลิ่นที่จะมากระทบจมูก รสที่จะมากระทบลิ้น สัมผัสผิวหนังที่จะมากระทบทางผิวหนัง แล้วก็ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นในใจ นี่ก็เป็นครบ ๖ คู่ ๖ คู่ประกอบกันอยู่เป็นเรื่องทั้งโลก เราพูดได้โดยไม่ต้องไม่ต้องเชื่อใครน่ะ ไม่ต้องไม่จะต้องไม่กลัวผิดแม้จะผิดว่า ถ้าเราไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรื่องมันก็ไม่มี หรือว่าถ้าเรามีแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่จะมากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่มีปัญหาอะไรเหมือนกันแหละ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมันก็ค้างเติ่งอยู่ทำอะไรไม่ได้ นี่โดยเหตุที่ว่า ในโลกนี่มันมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นคำว่าโลกๆๆ ในพุทธศาสนาท่านระบุไปยังไอ้ ๖ อย่างนี้ ในแผ่นดินนี้จะมีความหมายอะไรถ้ามันไม่มีลักษณะให้มาเป็น รูป เสียง กลิ่น รส อ่า, โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นอะไรๆในโลกที่มันมีความหมายขึ้นมา ก็เพราะมันเข้ามากระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแล้วมีเรื่อง แล้วมีเรื่อง ใช้คำว่าอย่างนี้ก็แล้วกันว่ามันมีเรื่องนั้น เราจึงรู้ว่ามันมีข้างในน่ะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้างนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แล้วมันก็จับคู่กันข้างนอกกับข้างใน จะยกตัวอย่างเรื่องตา ตา กับ รูป รูปอยู่ข้างนอก ตาอยู่ข้างใน คือในคนน่ะ พอมันถึงกันเข้ามันก็เกิดวิญญาณทางตา นี่วิญญาณเพิ่งเกิดเดี๋ยวนี้ วิญญาณก่อนหน้านั้นก็ไม่มี นี่วิญญาณในพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ ถ้าวิญญาณในศาสนาอื่นเป็นตัวเป็นตน เป็นเจตภูติเป็นชีโวอะไรนั้นเขามี อยู่อย่างอื่นในความหมายอย่างอื่นเข้าออกร่างกายนี้ไปเที่ยวมาเที่ยว อันนั้นเป็นวิญญาณอย่างอื่น ถ้าวิญญาณอย่างพุทธศาสนาก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อไอ้คู่ๆ คู่ๆเหล่านี้กระทบกัน เมื่อตากระทบรูปเกิดวิญญาณทางตา เมื่อหูกระทบเสียงเกิดวิญญาณทางหู เมื่อกลิ่นกระทบจมูกเกิดวิญญาณทางจมูก เมื่อรสกระทบลิ้นเกิดวิญญาณทางลิ้น เมื่อโผฏฐัพพะมากระทบผิวกายก็เกิดวิญญาณทางผิวกาย ความรู้สึกกระทบจิตก็เกิดวิญญาณ อ่า, ทางๆจิตมโน นี่วิญญาณ เมื่อของข้างในกับของข้างนอกถึงกันเข้าก็เกิดวิญญาณ เมื่อวิญญาณนี้ทำหน้าที่รู้สึกอยู่ทางตาหรือทางหูก็ตาม มันทำหน้าที่รู้สึกอยู่อย่างนั้นน่ะ ๓ อย่าง คือ ตากับรูปกับวิญญาณ ๓ อย่างนี้ทำหน้าที่อยู่นั่นน่ะคือสิ่งที่เรียกว่าผัสสะๆ เรื่องผัสสะนี่สำคัญมาก คือเป็นที่เกิดแห่งปัญหาทั้งปวง ทุกอย่างสารพัดอย่างเป็นเรื่องลึกละเอียดเกินไป ไม่อาจจะนำมาบรรยายในวันนี้หรือที่นี่ได้ แต่ขอให้ทราบไว้เป็นการล่วงหน้าว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรื่องผัสสะไว้ในฐานะเป็นที่ตั้งต้นแห่งปัญหาทุกชนิดไม่ว่าปัญหาอะไร เมื่อมีผัสสะแล้วมันก็มีเวทนา คือรู้สึกถูกใจไม่ถูกใจ รู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือเฉยๆ นี่เวทนานี่เวทนาซึ่งเกิดอยู่เป็นประจำ นี่พอเกิดเวทนาๆ แล้วมันก็จะเกิดความอยากไปตามเวทนานั้น ถ้าเวทนา อ่า, มันมาแต่ความสวยงามเอร็ดอร่อยหอมหวลอะไรมันก็เกิดความอยากจะได้ ถ้ามันไม่เป็นอย่างนั้น มันเกิดอยากจะฆ่าเสียจะทำลายเสีย ถ้ามันยังไม่เป็นอย่างไรแน่ มันก็ได้แต่สงสัยไว้ก่อน สงสัยไว้ก่อน มัวเมาอาลัยอาวรณ์ ทึ่ง หรือสนใจไว้ก่อน นี่ที่ว่าเกิดอยากได้นั้นน่ะเป็นโลภะหรือราคะ ที่ไม่ชอบไม่อยากได้ อยากจะทำลายเสียนั้นคือเป็นโทสะหรือโลภะ ที่ไม่รู้จะทำอะไรแต่จะสนใจอยู่ก่อนนี้ก็เป็นโมหะนี่ ราคะ โทสะ โมหะ มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ นั่นน่ะมันเป็นทุกข์ทั้งนั้นล่ะ ไปลองไปลองชิมดูเถอะ แต่เดี๋ยวนี้เราก็ไม่ได้สนใจไอ้สิ่งที่เรียกว่าราคะ โทสะ โมหะ อ่า, ถ้าอยากจะรู้พุทธศาสนาต้องสนใจเรื่องนี้ ต้องเรียนลงไปที่เรื่องนี้ที่มีอยู่จริง ถ้าไม่อย่างนั้นไม่มีทาง ถ้าอยากรู้พุทธศาสนาต้องเรียนลงไปที่ตัวความทุกข์และเหตุให้เกิดความทุกข์ และก็ความดับทุกข์และก็ทางให้ถึงความดับทุกข์ ที่มันมีอยู่ในชีวิตจริงๆแต่ละวันละวัน นี่เรียกว่าเวทนา อ่า, ให้เกิดตัณหาคือความอยากน่ะ แล้วเมื่อเกิดตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นในจิตแล้ว มันก็จะเกิดความรู้สึกเองตามธรรมชาติ รู้สึกเป็นตัวฉัน ตัวกูก็ได้คู่อยาก เป็นเจ้าของเรื่องขึ้นมานี่ แต่พออย่างนี้แหละก็เรียกว่าเกิดอุปาทานๆ ยึดถือเป็นตัวตน ยึดถือเป็นของๆตนไป กลายเป็นหิ้วของหนัก ตัวตนก็หนักไปตามแบบตัวตน ของๆตนก็หนักไปตามแบบของตน ไอ้ความรู้สึกยึดถือมันมีแต่ ๒ อย่างเท่านั้นแหละ ว่าเป็นตัวตนหรือเป็นของตน นี่อะไรๆมันเอามาเป็นของตนหมด เอาโลกนี้มาเป็นของตน เลยเป็นปัญหาทั้งโลก แล้วความเกิดแก่เจ็บตายซึ่งเป็นของธรรมชาติมาเป็นของตน มันก็ได้มีความทุกข์ก็เกิดแก่เจ็บตาย สมน้ำหน้ามัน อย่าไปเอามาเป็นของตน มันก็ไม่มีเรื่อง นี่อุปาทานมันจะได้ยึดถือว่ามีตัวตนที่จะเป็นเจ้าของอะไรต่างๆ แล้วก็ยึดเอามาเป็นของๆตน พอมีอุปาทานแล้วช่วยไม่ได้แล้ว มันเป็นทุกข์น่ะ คือมันหิ้วของหนักแล้ว อะไรๆมันก็เป็นเรื่องของตนหมด เรื่องได้ เรื่องเสีย เรื่องกำไร เรื่องขาดทุน เรื่องแพ้ เรื่องชนะ เรื่องอะไรเป็นตัวตนเป็นของตนหมด มันก็มีปัญหา ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าเป็นของตนหรือตัวตน มันก็ไม่มีความทุกข์แก่จิตใจ แต่มีปัญญารู้ว่าควรทำอย่างไร เรื่องนี้ควรทำอย่างไร ทำไปโดยไม่ต้องยึดถือหมายมั่นว่าเป็นตัวตนของตน ก็ไม่มีความทุกข์ นั้นเขาจึงอยู่ในโลกนี้ได้ แล้วปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดได้โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่าถ้าต้องทำงานตามหน้าที่แล้วจะมีความทุกข์ไปทั้งหมด มันอยู่ที่ว่ายึดถือ อ่า, ด้วยความโง่เขลาหรือไม่ ถ้ายึดถือด้วยความเป็นของตน มันก็หนักอึ้งไปหมด ถ้าไม่ยึดถือทำไปตามสติปัญญา มันก็ไม่หนักอะไร แล้วมันก็ไม่เป็นทุกข์อะไร เรื่องมีเท่านี้สำหรับเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือเรื่อง อิทัปปัจจยตาหรือเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท มันมีเท่านี้ นี่ขอให้ เอ่อ, กำหนดให้ดีๆเถอะ ถ้าว่าต้องการเรื่องหัวใจของพุทธศาสนาแล้วมันมีเท่านี้ แล้วก็เรียกไอ้หลักธรรมะนี้เรียกว่า อิทัปปัจจยตา อ่า, ขอให้ช่วยจำหน่อยเถิด แม้มันจะเป็นคำแปลกหูฟังรุงรัง ก็ขอให้ช่วยจำหน่อย เพราะว่ามันเป็นคำที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา คือ (85.56)เรื่อง อิทัปปัจจยตา นี่เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น มันพูดแต่เท่านี้แหละ เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น นี่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งในพุทธศาสนา ที่เรียนวิทยาศาสตร์ ทางฟิสิกส์ เคมี ก็ลองมาจับกันดู มันจะพบว่ามันตรงกับกฎของอิทัปปัจจยตา เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น แล้วก็มาถือว่าเป็นของตัวตน นี่มันก็เป็นคนขี้โกง มันเป็นของธรรมชาติ เกิดขึ้นตามกฎของธรรมชาติ แล้วมายึดถือเอามาเป็นของตน นี่มันก็เป็นคนขี้โกง เมื่อขี้โกงก็ต้องถูกลงโทษให้เป็นทุกข์เท่านั้นเอง
อิทัปปัจจยตา คือเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท มันแปลว่าอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ที่เป็นเรื่องหัวใจแท้ๆก็อย่างที่ว่ามาแล้ว อาศัยตากับรูปถึงกันเข้าเกิดวิญญาณ ๓ ประการนี้มีอยู่ก็เกิดผัสสะ มีผัสสะแล้วก็มีเวทนา เพราะมีเวทนาจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทานยึดมั่นเป็นตัวตนเป็นของตน นี่เพราะมีอุปาทานยึดมั่นในของๆตนไอ้ความทุกข์ทั้งหลายก็เกิดขึ้น กระทั่งอะไรๆที่มันเป็นตามธรรมชาติก็เอามาเป็นของตน อ่า, พระอรหันต์ท่านไม่ยึดถืออะไรมาเป็นของตน ดังนั้นท่านจึงไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระอรหันต์น่ะร่างกายของท่านนี่ มีแก่ มีเจ็บ มีตาย เหมือนกันแหละ แต่ไม่เป็นทุกข์ เพราะไม่ได้ถือว่านั่นมันเป็นของตน อ่า, ส่วนคนเราน่ะถือเอาเกิด แก่ เจ็บ ตายมาเป็นของตนจึงได้เป็นทุกข์ นี่เรื่อง เอ่อ, ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างนี้ มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้เกิดขึ้น มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้เกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องทุกข์แล้วเรื่องอื่นๆก็เหมือนกันหมดแหละ เป็นเรื่องโลกล้วนๆ เป็นเรื่องแผ่นดินโลกล้วนๆเรื่องอุตุนิยม เรื่องดินฟ้าอากาศ เรื่องทั้งหลาย เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น นี่เรียกว่าฝ่ายวัตถุธรรมข้างนอกก็อาศัยเหตุกฎเกณฑ์อันนี้ ถ้าเป็นภายในเรื่องจิตใจก็อาศัยเหตุอาศัยกฎเกณฑ์อันนี้ นี่เป็นหลักพระพุทธศาสนา ในพระบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ท่านตรัสเล่าเองน่ะ ท่านตรัสเล่าถึงไอ้การตรัสรู้ ปฏิจจสมุปบาท อย่างที่ว่ามาตะกี้นี้ (สักครู่นี้?) เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมี เอ่อ, ชาติ ชรา เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึง เอ่อ, มีอุปาทาน จึงมีภพ เพราะเหตุอะไรปัจจัยจึงมีชาติ จึงมีอุปาทาน จึงมีตัณหา จึงมีเวทนา จึงมีอะไรถอยหลังเข้ามาเรื่อย พอตรัสรู้เรื่องนี้หมดก็คือการตรัสรู้ เมื่อตรัสรู้แล้วก็ทรงทบทวนนั่งทบทวนเรื่องนี้อยู่ที่เรียกว่าใน อ่า, นั่ง พักในเรือนแก้วที่เรียกว่าพิจารณาธรรมน่ะ ก็คือพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ที่ได้ตรัสรู้ เอ่อ, ซึ่งถ้าเรียกสั้นๆก็เรียกว่า อิทัปปัจจยตาทรงพิจารณากฎอิทัปปัจจยตาอยู่แล้วๆเล่าๆตั้ง ๗ วันไม่ลุกขึ้น แล้วทีนี้ยังแปลกที่ว่าต่อมาต่อมานานมาแล้วนานมาแล้ว บางคราวพระพุทธองค์ก็ทรงเอาเรื่องนี้มาสาธยาย พูดอย่างง่ายๆก็เหมือนว่าเด็กเขาท่องสูตรคูณกันลืม พระองค์จะเอาเรื่องนี้มาท่อง วันนั้น เอ่อ, ท่านก็ท่องเรื่องนี้อยู่โดยๆๆเข้าใจว่าไม่มีใคร ท่านก็นั่งท่องเรื่องนี้อยู่ อ่า, จะ ขุน จะ ปะฏิจะ รูปาจะ อุปะสะติ วิญญาณัง ตินนัง ธัมมาณัง สัมปะติ ผัสโส ผัสสะปัจจะยา เวทนา เวทนาปัจจะยา ตัณหา ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ภะโวปัจจะยา ชาติ ชาติปัจจะยา ชรา มรณะ สุขะ เทวะ ทุกขะ ทุปาญา สามันตุ ปวันติ ทุกขานิ (นาทีที่ 91.30) ท่านนั่งท่องเหมือนเด็กท่องสูตรคูณ ไม่ใช่ว่าจะทรงลืม ไม่ใช่แต่ว่าเป็นของที่โปรดปรานอย่างยิ่ง และเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ก็เกิดตั้งปัญหาถามพระองค์เองว่า เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนี่จะเคารพอะไร ทรงใคร่ครวญไปมาก็พบ โอ้ว, เอ่อ, เคารพธรรมที่ตรัสรู้นั่นเอง คือเคารพธรรมะเรื่องอิทัปปัจจยตา ที่ตรัสรู้นั่นเอง เรื่องอิทัปปัจจยต าคือเรื่อง เอ่อ, ทุกข์เกิดทุกข์ดับ อ่าๆๆ, เคารพหลักเกณฑ์อันนี้ พระพุทธเจ้า อ่า, ทรงเคารพหลักเกณฑ์อันนี้ คือกฎของอิทัปปัจจยตาเป็นสิ่งสูงสุดในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพนี่ จึงพูดว่าถ้าเราจะมีสิ่งสูงสุดในพุทธศาสนาเทียบกับพระเจ้าแล้ว เรามีกฎอิทัปปัจจยตา นี่เทียบกันกับพระเจ้าในศาสนาอื่น เมื่อศาสนาอื่นเขาเคารพพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด พุทธบริษัทก็เคารพกฎอิทัปปัจจยตา ซึ่งพระพุทธเจ้าเองก็ทรงเคารพนี่ว่าเป็นสิ่งสูงสุด แล้วก็ตรัสประทับลงไปว่าพระพุทธเจ้าในอดีตก็ดี ในอนาคตก็ดี ในปัจจุบันก็ดี ทุกองค์ล้วนแต่เคารพธรรมะๆ ธรรมะที่ตรัสรู้คือเรื่องอิทัปปัจจยตา นี่สิ่งสูงสุดสูงสุดไม่มีอะไรสูงกว่าในพุทธศาสนาก็คือธรรมะเรื่องอิทัปปัจจยตา ที่พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพ และจากหลักอันนี้ที่จะออกมาเป็นพระพุทธ เป็นพระธรรม เป็นพระสงฆ์เป็นศีล สมาธิ ปัญญาเป็นอะไรต่างๆนานา ทุกอย่างที่มันจะเกิดเป็นหลักธรรมะขึ้นมา มันออกมาจากจุดรวมจุดเดียวคือกฎเกณฑ์เรื่อง อิทัปปัจจยตา นั้นขอได้ช่วยจำไว้ด้วยเถิดคำๆนี้ แล้วก็หาการศึกษาเพิ่มเติมเรื่อยๆไป เรื่องอิทัปปัจจยตา มีที่ไหนล่ะ อุตส่าห์ศึกษา ศึกษาเพิ่มเติมเรื่อยๆ แล้วก็จะพบหลักไอ้พุทธศาสนาครบถ้วนและสมบูรณ์ได้ อิทัปปัจจยตา แปลว่าเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงมี ถ้าจะพูดอย่างวิทยาศาสตร์ดวงอาทิตย์มาจากอะไร ไอ้นักวิทยาศาสตร์ก็ตอบไปต่างๆนานา เอ่อ, แต่ถ้าเป็นพุทธบริษัทก็ตอบ มันมาจากกฎของอิทัปปัจจยตา ซึ่งมันไม่มีทางจะผิด เพราะมันมีเหตุมีปัจจัย สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ให้เกิดอะไรก็ตาม ก็เกิดไอ้ๆๆหมอกเพลิงหรือเกิด nebular เกิดไอ้ที่จะรวมกันเป็นดวงอาทิตย์นี่ มันก็มาจากคำว่าเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น มันเลยไม่มีทางผิด ทุกอย่างที่มีรอบตัวเรานี่เหลียวไปดูต้นไม้ต้นไร่ทุกอย่างรอบตัวเรานี่ มันก็คือสิ่งที่กำลังเป็นไปตามกฎอันนี้ นั้นเราไม่ต้องไปดูที่ไหน เหลือบตาไปทางไหนก็จะเห็นผลงานของอิทัปปัจจยตาเกิดเป็นต้นไม้ ต้นไร่ เกิดเป็นก้อนหิน ดิน ทราย เกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นคน เกิดทั่วไปหมดน่ะ มันคือ เอ่อ, ความเป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา มันก็เลยไปถึงความรู้ที่เรียกว่ามันเป็นอนัตตาเป็นตัวตนไม่ได้ เพราะมันเป็นได้แต่เป็นเพียงเป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา มีแต่สิ่งที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติเรื่องอิทัปปัจจยตา ดังนั้นจะเอามาเป็นตัวเป็นตนของบุคคลนี้อย่างไรได้ล่ะ จึงๆสอนเรื่องอนัตตาต่อไปว่าทุกอย่างนี้เป็นอนัตตา เพราะเป็นเพียงสิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยตามกฎของอิทัปปัจจยตา นี่เรียกว่าแก่นพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เอ่อ,ที่สุดแล้วเท่าที่อาตมาศึกษาสนใจรวบรวมมาเป็นเวลาหลาย ๑๐ ปี เอ่อ, แต่ฟังดูแล้วมันก็ไม่ก็คล้ายๆจะไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร คือมันรวมอยู่ที่ว่าเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นเท่านั้นเอง นี่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา อ่า, ที่ๆยกตรงยกเอาบาลีอื่นมาพูด มันก็ๆเรื่องเดียวกันแหละจะยกเอาเรื่องคาถาพระอัสชิ หรือจะยกเอาอริยสัจ หรือจะยกเอาไอ้โอวาทะปาฏิโมกข์มาเป็นหัวใจพุทธศาสนาก็ตาม แต่เรื่องมันก็อยู่ที่ตรงนี้ เรื่องที่อยู่เพราะมีเหตุ เพราะเป็นไปตามเหตุ เพราะดับเหตุเสียได้มันก็ดับลงไปนี่ นั้นถ้าเราจะดับทุกข์เราต้องดับที่เหตุแห่งความทุกข์ เดี๋ยวนี้อาการมันหนัก ถึงกับว่าเราไม่รู้จักความทุกข์ อาการนี้หนักมาก ว่าเรานี่ไม่รู้จักความทุกข์ ไม่รู้สึกว่าเรามีความทุกข์ แล้วจะดับทุกข์กันอย่างไรล่ะ นั้นขอให้สนใจขั้นแรก อ่า, ที่สุดให้รู้จักว่ามันกำลังมีความทุกข์สิ สิ่งที่เป็นปัญหารบกวนจิตใจทุกชนิดนั่นแหละคือความทุกข์ แม้ที่เป็นอย่างเนือยๆน้อยๆที่เรียกว่านิวรณ์ๆ นี่ช่วยรู้จักกันเสียทีเถอะจะรู้จักพุทธศาสนาง่ายขึ้น เช่นเราอยากจะมีจิตใจโปร่งเย็นสบายทำอะไรได้ดี สะดวกสบาย เย็นอกเย็นใจ นี่ต้องการอย่างนั้น แล้วมันเป็นไปไม่ได้ นี่เพราะมันมีนิวรณ์ข้อหนึ่งคือความนึกน้อมไปในทางกามารมณ์ ความนึกน้อมไปทางกามารมณ์รบกวนมาๆๆชิงเอาไอ้ความโปร่งใจไปหมด หรือบางทีมันก็มีไอ้ความคิดที่น้อมนึกไปในทางโกรธเคือง ขัดแค้น หงุดหงิดคือไม่ชอบ อ่า, รบกวน บางทีจิตมันก็แฟบๆเสีย หดหู่เสีย รบกวน บางทีจิตมันก็ฟูๆๆ จนฟุ้งซ่านเสีย หรือบางทีมันก็ลังเลๆ ความไม่แน่ใจว่าไอ้สิ่งที่กำลังกระทำนี้ถูกต้องแล้ว นี่ขอให้สังเกตดูให้ดีน่ะ เราลังเลอยู่ด้วยความไม่แน่ใจว่าถูกต้องแล้ว มันลังเลอยู่แต่ว่าไม่ถูกต้อง ไม่ๆแน่ใจว่าไอ้หลักปฏิบัตินี้ถูกต้องแล้ว อ่า, เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว มันลังเลในตัวเอง ลังเลในความสามารถของตัวเอง ลังเลในกฎในระเบียบในอะไรทุกอย่างเลย ไอ้นี่ก็เรียกว่านิวรณ์ นี่ความทุกข์น้อยๆ เนือยๆนี่รบกวนจิตใจอยู่ทุกวันทุกวัน นี่ก็ไม่สนใจ ถ้าสนใจก็จะรู้สึก เออไอ้นี่ต้องกำจัดออกไปเพื่อเราจะได้มีจิตใจเยือกเย็นเป็นสุขสงบ แล้วก็จะได้ทำอะไรด้วยจิตใจที่เยือกเย็นที่โปร่ง ที่แจ่มใส ที่สดใส มีชีวิตเยือกเย็น นี่มีชีวิตเยือกเย็น ส่วนที่เป็นราคะ โทสะ โมหะรุนแรงนั้นน่ะ รุนแรง ไม่ใช่ เนือยๆแล้ว นั่นรุนแรงซะแล้ว มีโลภะเต็มที่ มีโทสะเต็มที่ โมหะเต็มที่ ไอ้ที่อย่างเนือยๆนี่เรียกว่านิวรณ์ แล้วก็มีอยู่ทุกวันทุกวันทุกคนและทุกวัน และก็ไม่มีใครสนใจ ถ้าสนใจเพียงแต่ทำสมาธิบ้างนั้นมันก็จะหายไป ก็ได้จิตใจที่โปร่งสดใสเยือกเย็นมา แล้วทำอะไรได้ เอ่อ, ตามเป็นที่พอใจ ถ้านิวรณ์เกิดขึ้นรบกวนจิตใจแล้วมันทำอะไรไม่ได้ แม้แต่จะเขียนจดหมายสักฉบับหนึ่งก็ไม่เป็นที่พอใจได้ เพราะมันรบกวนไอ้ความสงบ เอ่อ, ความโปร่ง ความเยือกเย็นแห่งจิตใจ จึงขอร้องว่าขอให้สนใจที่จะรู้จักไอ้ข้าศึก สิ่งที่เป็นข้าศึก อ่า, พื้นฐานที่สุด ให้ทุกท่านพยายามรู้จักสิ่งที่เป็นข้าศึก โดยพื้นฐานที่สุดคือนิวรณ์ทั้ง ๕ แต่ละวันแต่ละวันทุกคนมี หาอ่านได้จากแบบเรียนก็ได้ นิวรณ์แปลว่า เอ่อ, สิ่งที่มากลุ้มรุมจิตให้สูญเสียความปกติหรือความสงบสุขโดยหลักใหญ่ก็มี ๕ อ่า, ความรู้สึกน้อมไปในทางกาม อ่า, ความรู้สึกน้อมไปในทางเกลียดชัง อ่า, ความรู้สึกจิตหดหู่เหี่ยวแห้งแฟบลงไป อ่า, ความรู้สึกที่จิตฟูขึ้นฟุ้งซ่านเตลิดเปิดเปิงทำอะไรไม่ได้ และความที่ไม่แน่ใจ นี่ไม่แน่ใจชัดเจนลงไปว่านี้ถูกแล้วนี้ถูกแล้ว แม้สิ่งที่ปฏิบัติอยู่ก็ยังลังเลว่า เอ่อ, ไม่แน่ว่าจะถูกหรือไม่ถูก และมันก็รบกวนอยู่ตลอดเวลา เช่น ทุกคนไม่แน่ใจว่าเราปลอดภัยแล้ว การศึกษาของเรานี้ที่มีอยู่นี้จะทำความปลอดภัยให้แก่เราแน่ หรือว่าชีวิตของเราจะเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มีสิ่งอะไรที่เป็นอุปสรรค มันก็ไม่แน่ใจลงไปได้เสียเวลาเปล่าๆ จงพยายามที่จะไม่มีนิวรณ์ แล้วใจก็โปร่งเย็นสงบและทำอะไรก็ทำได้ดี นี่หลักที่ว่าจะจัดการกับความทุกข์ในเบื้องต้นก็คือ ขอให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าเป็น นิวรณ์ๆ นี่เสียก่อน นี้เครื่องมือที่จะเล่นงานกับไอ้สิ่งเหล่านี้ก็คือสติ ถ้ามันเกิดขึ้นก็ขอให้มีสติรู้จักเดี๋ยวนี้ มันก็เลยเกิดกันขยำขยี้หัวใจแหลกราญไปหมดแล้ว เราก็ยังไม่รู้จักว่าอันนี้เป็นนิวรณ์หรืออันนี้เป็นทุกข์ เราจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอันนี้มันเป็นความทุกข์ เป็นความทุกข์พื้นฐาน มีสติระลึกได้ว่าเป็นความทุกข์พื้นฐาน ก็พยายามที่จะให้ไม่ให้เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วก็ขจัดออกไป เอ่อ, เป็นหลักที่จะให้รอดได้ในพระพุทธศาสนา เอ้า, ทีนี้คำสุดท้ายอีกสักคำหนึ่ง ขอให้นักศึกษา เอ่อ, ทั้งหลายสนใจที่จะเข้าใจ คือมันเป็นคำที่ประหลาด ที่เราไม่รู้จักความหมายของคำๆนั้นอย่างถูกต้อง ตรงจุด หรือที่เป็น apply น่ะ คือจะจัดการให้เป็นประโยชน์ได้น่ะไม่ค่อยจะรู้ คำนั้นก็คือคำที่เรียกว่า ธรรม ธรรมหรือพระธรรม ธรรมะ พระธรรม ธรรม ธรรม นี่ รู้จักมาแล้วว่าอย่างไรอ่า, ถ้ารู้จักว่าพระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างนี้แล้วก็น่าสงสารนะ ถ้าครูคนไหนสอนอย่างนั้นก็เรียกว่าสอนไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ถูกต้อง เพราะคำว่า ธรรม นี้มันพูดกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดน่ะ ในประเทศอินเดียนั่นแหละ ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดน่ะ ก็มีคำว่า ธรรม ธรรม นี้พูดกันอยู่แล้ว ธรรมะของอาจารย์นั้น ธรรมะของอาจารย์นี้ ธรรมะของอาจารย์โน้น จนกระทั่งพระพุทธเจ้าเกิดท่านก็อธิบาย คำว่า ธรรม ธรรมนี่ ธรรมนี่ให้สมบูรณ์ จนถึงว่าดับทุกข์ได้จริง นี้คำว่าธรรม โดยความหมายอันแท้จริงนั้นนะแปลว่าหน้าที่ แปลว่าหน้าที่ เอ่อ, แปลว่า duty สั้นๆน่ะธรรมะ ออกคำแปลว่า duty นี้ dictionary เด็กๆในอินเดียเขาเรียนกันนะ คำว่าธรรม เขาแปลว่า duty แต่ในเมืองไทยจะแปลให้ไปทางไหนก็ไม่แน่ใจดู หรือจะแปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ตาม นี่มันถูกนิดเดียว เพราะว่ามันมีอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด ครั้นพระพุทธเจ้าเกิดแล้วท่านก็ปรับปรุงไอ้ความหมายของคำว่าธรรม ธรรมนี้ให้ดียิ่งขึ้น แต่แล้วก็เรียกธรรมเหมือนกันหมด ศาสดาตั้งหลายองค์คู่แข่งขันของพระพุทธเจ้าก็มีสิ่งที่เรียกว่าธรรมเหมือนกันธรรมเหมือนกัน สอนประชาชนอยู่ ประชาชนเขาจึงพูดกันถามกันว่าท่านชอบใจธรรมะของใครน่ะ ท่านชอบใจธรรมของใคร หมายความว่าท่านชอบใจธรรมของพระสมณะโคดม คือชอบใจธรรมของนิคัณฐนาฏบุตร พระปุลิโพสะ (นาทีที่ 104.05) แล้วแต่ แล้วแต่ว่า เอ่อ, เขาจะถามถึงศาสดาคนไหน แต่ทุกคนมีสิ่งที่เรียกว่าธรรมเป็นเครื่องสั่งสอน ทีนี้เมื่อเอา เอ่อ, ความหมายของคำๆนี้ให้ถูกตรงตามหลักของพุทธศาสตร์ซึ่งไม่ใช่ไสยศาสตร์นะ ธรรมะแปลว่าหน้าที่ ชีวิตทุกชนิดสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด ต้องมีหน้าที่ ต้องทำหน้าที่ ถ้าไม่ทำหน้าที่มันตาย นั่นถึงแม้พระพุทธเจ้าจะใช้คำว่าธรรมอธิบายเป็นอย่างไหนอย่างไหน มันก็ไม่พ้นจาก ความเป็นหน้าที่ ปฏิบัติธรรมะคือปฏิบัติหน้าที่ ที่ว่าหน้าที่ๆนั่น จำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต ช่วยคิดถึงข้อนี้ให้มาก ให้เห็นชัดเลยว่าสิ่งที่มีชีวิตต้องมีหน้าที่ สิ่งที่เรียกว่าหน้าที่น่ะ คือสิ่งที่ช่วยให้รอด ถ้าชีวิตไม่มีหน้าที่มันก็ตาย หรือว่าถ้ามันไม่ตาย มันก็อยู่ด้วยความทนทุกข์ทรมาน หน้าที่จึงเกิดขึ้นเป็น ๒ ขั้นตอนคือว่า หน้าที่เพื่อให้รอดตายนี่อย่างหนึ่ง หน้าที่ที่ให้รอดจากความทุกข์ทุกชนิดนี่อย่างหนึ่ง ธรรมะแปลว่าหน้าที่ ถ้าได้ทำหน้าที่ก็พลอยรู้สึกว่ามีธรรมะ นับตั้งแต่ว่าจะหาอาหารกิน จะอาบน้ำ เอ่อ, จะถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะนี่ ก็ต้องทำ คือเป็นหน้าที่ ถ้าไม่ทำเป็นอย่างไรบ้างคิดดู ถ้าไม่กินอาหาร ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือไม่แม้แต่ไม่อาบน้ำอย่างนี้ มันก็จะตายแล้ว นั้นหน้าที่ทุกอย่างนั่นน่ะ คือธรรม ธรรมคือสิ่งที่ช่วยให้รอดชีวิต และในขั้นต่อมา ธรรมคือช่วยให้รอดจากความทุกข์ทั้งปวง นั้นท่านสอนเป็นเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา เรื่องอะไรก็ตาม คือบอกเรื่องหน้าที่ว่าจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนั้น ดังนั้นขอให้สนใจสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ และก็ภาคภูมิใจอย่างยิ่งเมื่อได้ทำหน้าที่ โดยรู้สึกว่านี่คือการปฎิบัติธรรม ทุกท่านมีหน้าที่อย่างไร ก็ทำ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อย่างเป็นนักศึกษาหน้าที่โดยตรงก็คือศึกษา แต่อย่าลืมว่าหน้าที่ที่จะทำให้รอดชีวิตมันก็ยังมีอยู่ มันจะต้องหาอาหารกิน มันจะต้องทำทุกอย่างที่ให้รอดชีวิต และเมื่อรอดชีวิตอยู่ต้องทำหน้าที่อีกชนิดหนึ่ง คือให้อยู่สบายให้อยู่อย่างหมดปัญหา นั้นหน้าที่ใดๆก็ตามเรียกว่า ธรรมเมื่อได้เมื่อได้ปฏิบัติแล้วควรจะพอใจ ควรจะรู้สึกพอใจ นั่นแหละเป็นผู้มีธรรม เป็นผู้ประพฤติธรรม ชาวนาไถนาอยู่นั่นน่ะคือธรรมะของเขา ชาวสวนทำสวนอยู่คือธรรมะของเขา คนค้าขาย ค้าขายอยู่อย่างถูกต้องนะ ไม่ใช่โกงนะก็คือธรรมะของเขา คนข้าราชการทำราชการอยู่อย่างถูกต้องก็เป็นธรรมะของเขา คนกรรมกรทำกรรมกรอยู่อย่างถูกต้องน่ะ จะแจวเรือจ้าง จะกวาดถนน จะล้างท่อถนนจะๆ ตามแต่เถอะ เมื่อทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องแล้ว ก็เรียกว่ามีธรรมะ ธรรมะของกรรมกร แม้แต่ว่าจะนั่งขอทานอยู่ ก็เป็นขอทานที่มีธรรมะ ธรรมะของคนขอทาน นั้นหน้าที่ทั้งหลายตั้งแต่หน้าที่ของคนขอทานขึ้นไปขึ้นไป จนกระทั่งไปถึงหน้าที่ของมหาจักรพรรดิ์ หน้าที่ของเทวดาอะไรก็ตาม เรียกว่าธรรมทั้งนั้น นี่คือว่าธรรมคืออย่างนี้ แล้วใครบ้างล่ะที่จะเว้นจากธรรมได้ ถ้าเว้นจากธรรมมันก็ตายเท่านั้นเอง นั้นควรจะทำหน้าที่หรือปฏิบัติธรรมนั้นน่ะให้ดีที่สุด คือถูกต้อง คำว่าธรรมนี่ หน้าที่ที่ถูกต้อง ไอ้หน้าที่ที่ไม่ถูกต้องนั้นไม่เรียกว่าธรรมนะ เดี๋ยวอันธพาล ไอ้อันธพาลไ อ้พวกอาชญากรน่ะ มันก็จะอ้างขึ้นว่าเขาก็ทำหน้าที่ เพราะหน้าที่ของเขาคือ ขโมย ปล้น จี้ ก็ได้ก็เป็นธรรมของอันธพาล มันเป็นธรรมของอันธพาล เรารับไม่ได้ จึงต้องใช้คำว่าหน้าที่ที่ถูกต้อง นี่สำหรับนักศึกษาที่เรียน logic เรียน ตรรกะอะไรมาก็คงที่จะลำบากกับเรื่องคำว่าถูกต้อง ถูกต้อง เพราะถูกต้องตาม logic หรือตาม philosophy นั้นมันยุ่ง ไม่ค่อยมีจุดจบ เอาถูกต้องตามหลักของพุทธศาสนาดีกว่า คือมันไม่ทำอันตรายใครและมีประโยชน์แก่ทุกคน คำว่าถูกต้องตามหลักธรรมะน่ะ มันเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายและทุกคน ไม่ทำใครให้เดือดร้อน อย่างนี้ไม่มีทางผิด แล้วไม่ต้องพูดมากว่าถูกต้องเป็นหน้าที่ที่ถูกต้อง เพราะนั้นทำแล้วทำให้รอดชีวิต แล้วก็เป็นอยู่อย่างดีที่สุด ยิ่งๆขึ้นไปตามที่จะดีได้ จนกระทั่งดีที่สุดคือผลของหน้าที่ อ่า, ก็เรียกว่านิพพาน จนกว่าจะบรรลุถึงพระนิพพานน่ะ เป็นผลของหน้าที่ เมื่อเราเป็นมนุษย์ มีหน้าที่อย่างมนุษย์ก็อย่าได้บกพร่องเลย สัตว์เดรัจฉานก็ต้องมีหน้าที่อย่างสัตว์เดรัจฉาน ดูเถอะมันจะทำหน้าที่อย่างไม่บกพร่องเลยไม่ต้องมีใครเลี้ยงมัน มันก็อยู่ได้ เพราะมันทำหน้าที่ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ นี่หน้าที่ของต้นไม้ ต้นไม้นี่น่าๆเลื่อมใสนะ ต้นไม้สดชื่น ชุ่มชื่น เยือกเย็นอยู่อย่างนี้ ในสภาพที่จะๆตายอย่างนี้มันก็ทำหน้าที่ ได้ยินว่าต้นไม้คายออกซิเจนทั้งวัน ให้เราได้รับออกซิเจน กลางคืนคายคาร์บอนไดไซด์ทั้งคืน นั้นก็แปลว่าต้นไม้ทำงานวันละ ๒๔ ชั่วโมง คนๆทำได้ที่ไหน ใครทำงานวันละ ๒๔ ชั่วโมง ทำงานซัก ๘ ชั่วโมงก็ยังบ่นแล้ว เรียกว่าธรรมชาติแท้ๆมันมีหลักเกณฑ์กำหนดได้ เอ่อ, ตายตัว ต้องทำหน้าที่ถูกต้อง เอ่อ, ตามที่ควรจะทำ ในชั้นแรกจะรอดชีวิตอยู่ได้ ในชั้นที่สองจะต้องดียิ่งๆขึ้นไปจนอยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง นั้นเมื่อได้ทำหน้าที่แล้วจงภาคภูมิใจ แล้วก็อย่าดูหมิ่นดูถูกว่า บางเวลาน่ะช่วยทำหน้าที่กวาดบ้านบ้าง ถูบ้านถูเรือนซะบ้าง แม้จะเป็นครูบาอาจารย์แล้วก็ลองดู ทำหน้าที่ถูบ้านกวาดบ้าน ล้างถ้วย ล้างจาน ดูบ้างสิ แล้วถ้ามีธรรมะจริง ถ้ามีความรู้จริง จะพอใจเหมือนกัน จะพอใจเหมือนกัน แม้จะต้องทำหน้าที่ล้างส้วม ล้างจาน ถูบ้าน ถ้ามองในแง่ที่ว่าเป็นหน้าที่แล้ว มันก็จะพอใจ ก็มีธรรมะ มีธรรมะเมื่อไรจะพอใจเมื่อนั้น มีธรรมะเมื่อไรจะเป็นสุขใจเมื่อนั้น เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยทำหน้าที่ แล้วก็เรียกร้องแต่สิทธิ หวังจะได้เงินเดือนโดยไม่ต้องทำหน้าที่ พอทำหน้าที่ก็ทำอย่างเสียไม่ได้ เอาเปรียบตลอดเวลา เอาเปรียบงานในหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ที่ทำงานนั้นทำเพราะความจำใจต่างหากล่ะไม่ได้ทำเพราะรักหน้าที่ นี้เปลี่ยนซะเถอะ จะทำหน้าที่อะไรก็ขอให้ทำเพราะว่าหน้าที่คือธรรมะ จะเป็นหน้าที่เป็นเสมียน เป็นหัวหน้าคน เป็นกระทั่งว่าเป็นกรรมกร แล้วเรามีโอกาสจะทำหน้าที่ได้ตลอดเวลา ถ้าอยู่ที่ออฟฟิศทำงาน ก็ทำงานอย่างที่ออฟฟิศ ถ้าอยู่ที่บ้านก็ช่วยล้างจาน ช่วยล้างส้วมบ้างสิ แล้วก็มีความพอใจว่าได้ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน ให้เวลาทุกนาทีหรือทุกวินาทีเต็มไปด้วยการทำหน้าที่ ถ้าเหนื่อยนักก็ต้องนอนแหละ ถ้าเหนื่อยนักก็ต้องพักผ่อน ในการพักผ่อนนี้ก็ต้องรวมอยู่ในหน้าที่ เพราะว่าถ้าไม่พักผ่อนมันทำหน้าที่อีกไม่ได้ มันก็ต้องพักผ่อนเพื่อให้ทำหน้าที่ต่อไปอีกได้ เพราะฉะนั้นไอ้การพักผ่อนนี่มันก็ต้องนับรวมอยู่ในการทำหน้าที่ มีหน้าที่ต้องพักผ่อนก็พักผ่อน แต่ถ้าพักผ่อนโดยที่ไม่ต้องทำหน้าที่อะไร คือขี้เกียจน่ะ ในการพักผ่อนก็ให้พอเหมาะพอดี แล้วก็ชื่นใจเมื่อได้ทำหน้าที่ พอมาถึงที่ที่ทำหน้าที่ แล้ว ก็พนมมือให้หน้าที่ ให้ห้องทำงาน เข้ามาในห้องทำงาน ออฟฟิศในห้องทำงานหลับตาพนมมือให้แก่หน้าที่ คือห้องทำงานสักแวบหนึ่งน่ะ นั่นน่ะคือเคารพธรรมะอย่างยิ่ง เรื่องนี้คนโบราณเขา อ่า,ถือเป็นหลัก เอาควายมาจะไถนาก็พนมมือให้ควาย ให้ไถ เสียก่อนที่จะลงมือทำนา เพราะว่ามันเป็นหน้าที่ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่สูงสุดมันมีหน้าที่ มันเป็นหน้าที่ เครื่องไม้เครื่องมือที่จะทำงานหากินนั้นน่ะ ควรจะเคารพมัน รักษาให้ดี ให้สะอาด ให้พร้อม แล้วพอถึงเวลาจะทำงาน พนมมือให้กับมันเสียสักทีหนึ่ง นั่นน่ะมันจะมั่นคง มั่นคง มั่นคงในหน้าที่มีความยึดมั่นในหน้าที่ อย่างน้อยมันก็ทำให้มีสตินะ เช่นว่ามาถึงห้องทำงานก่อนจะลงมือทำงาน หลับตาก็ได้พนมมือเฉยๆนั้นน่ะ จิตนึกถึงหน้าที่ ถ้าทำได้อย่างนี้ จิตนั้นจะเหมาะสมที่จะทำงาน จิตนั้นจะมีสมาธิ มีความหนักแน่น ที่จะทำงานมันก็ทำได้ดี นี่มันเป็นการทำได้ตลอดเวลา อ่า, ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น คือทำทั้งหลับน่ะหมายความว่า เมื่อก่อนแต่จะหลับน่ะ กำหนดทำหน้าที่อย่างดีที่สุดเพื่อหลับ หลับแล้วไม่มีอะไร พอตื่นขึ้นมาก็จับหน้าที่ต่อไป อย่างนี้ท่านยอมให้กล่าวได้ว่า ทำหน้าที่อยู่ทั้งหลับและทั้งตื่น อ่า, พอถึงวันจบวัน สิ้นวัน รู้สึกว่าได้ทำหน้าที่อย่างดีมาตลอดวัน ก่อนแต่จะนอนน่ะ ยกมือไหว้ตัวเอง ยกมือไหว้ตัวเอง ก่อนแต่จะนอนลงไป วันนี้ที่ได้ทำหน้าที่ครบถ้วน ไม่บกพร่องอะไรเลย ยกมือไหว้ตัวเองเสียสักครั้งหนึ่ง ก่อนแต่ที่จะนอน ถ้ายกมือไหว้ตัวเองอย่างนี้น่ะ คือยกมือไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอ่อ, ครูบาอาจารย์ บิดามารดาให้พร้อมหมดเลย ยกมือไหว้การที่ตัวเองทำหน้าที่มาตลอดทั้งวัน รวมอยู่ในนั้นหมด ไม่ต้องไหว้หลายครั้งก็ได้ ไหว้ครั้งเดียวเป็นๆการไหว้หมด พอยกมือไหว้ตัวเองได้นั่นแหละคือสวรรค์ที่แท้จริง ความถูกต้องทางกาย วาจา ใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความถูกต้องที่ใจนั่นน่ะ คือสวรรค์ สวรรค์ที่แท้จริง ยกมือไหว้ตัวเองได้เมื่อไหร่ เป็นสวรรค์ที่แท้จริงเมื่อนั้น เกลียดชังตัวเองเมื่อไร เป็นนรกที่นั่นเมื่อนั้น หวังว่า อ่า, ท่านทั้งหลายคงจะได้เข้าใจคำว่าหน้าที่ ซึ่งทุกอย่างมันเป็นไปเพื่อดับทุกข์ เพื่อรอดตายและเพื่อดับทุกข์ นั่นก็เป็นหลักหรือเป็นแก่นของพระศาสนาด้วยเหมือนกัน พระศาสนามีสำหรับช่วยให้พ้นทุกข์ให้ดับทุกข์ ก็คือทำหน้าที่ ทำหน้าที่คือปฎิบัติธรรมะ และเป็นสุขพอใจ เมื่อได้ทำหน้าที่แล้วก็ไม่ต้องไปหาอาบอบนวดที่ไหนอีกแล้ว ไอ้คนที่มันไม่พอใจในหน้าที่ มันฝืนทำน่ะ โกงเวลาราชการไปอาบอบนวด แล้วมันก็ไม่ อ่า, มันไม่ถูกแล้ว เดี๋ยวนี้เมื่อมันพอใจในหน้าที่ พอใจในหน้าที่ขนาดยกมือไหว้ตัวเองได้ เมื่อทำหน้าที่ มันก็เลยมีความสุขแท้จริงที่ไม่หลอกลวง คือกามารมณ์นั่นน่ะ เป็นเรื่องความเพลิดเพลินที่หลอกลวง หนักเข้าจะทำให้เงินเดือนไม่พอใช้ จะคอรัปชั่น จะต้องเกิดเรื่อง ถ้าว่าเป็นสุขเมื่อทำหน้าที่ สุขแท้จริงแล้ว มันก็ไม่ต้องใช้เงิน เงินมันก็เหลือ เงินเดือนมันก็เหลือจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร นี่ความที่รู้จักหน้าที่ว่าธรรมะๆ คือหน้าที่มีความหมายอย่างนี้ อ่า, ขอได้โปรดเข้าใจว่าเป็นแก่นพุทธศาสตร์ด้วยอย่างหนึ่ง เอาล่ะเป็นอันว่าเวลาหมดแล้ว อ่า,ขอแสดงความยินดีต้อนรับที่มา เพื่อแสวงหาธรรมะ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา นั่งกลางดินนี่คือที่นั่ง ที่นอน ของพระพุทธเจ้า จงพอใจ เชื่อว่าจะทำให้มีจิตใจเหมาะสมที่จะรับธรรมะ บางทีเขาไปพูดกันบนโรงแรมชั้นหนึ่งเรื่องชาวนาไม่มีน้ำทำนา อย่างนี้เรียกว่ามันไม่ตรงจุด ถ้าพูดแต่ชาวนาไม่มีน้ำทำนา ต้องไปพูดกันกลางนานี่ ทำไมจะต้องไปพูดบนโรงแรมชั้นหนึ่ง นี่ก็เหมือนกันแหละ ถ้าจะพูดถึงเรื่องพระพุทธเจ้าล่ะก็ ก็จงพูดกันกลางดินซึ่งมันเป็นจุด เอ่อ, สำคัญที่สุดสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วก็รู้ว่าพุทธศาสนานี้ เอ่อ, เป็นcreationist ถ้าๆอย่างที่เมืองนอกพูดเพียงเท่านี้ เขาก็รู้แล้ว พูดว่าเราเป็นพวก creationist น่ะ คือถือศาสนาชนิดที่ไม่มีพระเจ้า มีแต่กฎธรรมชาติ เรามีความมุ่งหมาย อ่า, ที่จะดับทุกข์ พุทธศาสนาไม่มีเรื่องอื่นนอกจากเรื่องดับทุกข์ เรื่องทุกข์และดับทุกข์น่ะมีอยู่ในร่างกายในชีวิตที่เป็นๆ ยังไม่ตาย ต้องค้นหาให้พบ แล้วก็ต้องจัดการให้ได้เป็นพุทธศาสตร์ ต้องมีสติปัญญา เป็นไสยศาสตร์มีแต่ศรัทธา เป็นไสยศาสตร์น่ะ เชื่อขลังของขลังของศักดิ์สิทธิ์ว่าจะช่วย มีลักษณะให้ผู้อื่นช่วย ถ้าเป็นพุทธศาสตร์เชื่อปัญญา สติปัญญา ของตนเองและก็เป็นการช่วยตนเอง ก ข ก กา ของพุทธศาสนานั้นน่ะ คือเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่าได้ประมาท อย่าได้ดูถูก เรื่อง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเอาไปหัวเราะเยาะ ไปล้อ ซึ่งเด็กๆ อ่า, โดยมากไม่ค่อยรู้เรื่องความสำคัญของธรรมะ ที่พูดเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนั้นน่ะ เป็นจุดตั้งต้นของทุกอย่าง โลกนี่มันเป็นขึ้นมา มีขึ้นมาก็เพราะว่า เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมันเข้ามาถูกเราทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องจัดการกับโลกนี้ให้ถูกต้อง มีสติทุกคราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ อ่า, ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่ทุกอย่างเป็นธรรมะ เสมอกันหมด แล้วก็ขอให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำหน้าที่ สนุกเมื่อๆทำการงาน เป็นสุขเมื่อทำการงาน ปัญหาจะไม่เกิด เงินเดือนจะเหลื่อใช้จนไม่รู้จะเอาไปไหน เพราะมันเป็นสุขเสียแล้ว ไม่ต้องเอาเงินไปซื้อความสุขที่หลอกลวง หรือ ความเพลิดเพลินที่หลอกลวง ขอให้นักศึกษาทั้งหลายกำหนดใจความโดยย่อเป็นเค้าๆเป็นข้อๆอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ อ่า,ไปศึกษาต่อไปข้างหน้าให้ละเอียดลออ เต็มตามความต้องการเถิด อาตมาก็ได้พูดตามกำหนดในโปรแกรมแล้ว อ่า,การเปิดประชุมของเราก็เป็นอันว่าเปิดแล้ว การทำหน้าที่ในการประชุมตามรายการที่มีอยู่ก็จะได้กระทำกันต่อไป ขอให้สนุกและเป็นสุขในการทำหน้าที่ ในการประชุมนี้ อย่างยิ่งด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ