PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
  • จรรโลงใจแม้ไม่ใช่เรื่องจริง
จรรโลงใจแม้ไม่ใช่เรื่องจริง รูปภาพ 1
  • Title
    จรรโลงใจแม้ไม่ใช่เรื่องจริง
  • เสียง
  • 13907 จรรโลงใจแม้ไม่ใช่เรื่องจริง /aj-visalo/2025-05-21-08-47-53.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 21 พฤษภาคม 2568
ชุด
ธรรมะสั้นๆ ก่อนอาหารเช้า 2568
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต แสดงธรรมก่อนฉันเช้าวันที่ 21 พฤษภาคม 2568
    เมื่อวานพูดถึงนักเทนนิสระดับโลกคนหนึ่ง ชาวเซอร์เบียนามว่า โนวัค (Novak Djokovic) เล่าว่าเขาได้กลับไปโรงเรียนเก่าสมัยมัธยม แล้วก็ไปเจอภารโรงซึ่งทำงานที่นั่นตั้งแต่เขายังเป็นนักเรียน โนวัคนึกถึงบุญคุณของภารโรงคนนี้ ก็ทำอะไรหลายอย่างเพื่อช่วยภารโรงคนนี้ รวมทั้งแนะนำให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงความดีหรือคุณธรรมของภารโรงคนนี้ที่ชื่อว่า จอห์น
    ปรากฏว่าเรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนี่มันไม่จริง มีคนส่งลิงค์มาว่าเรื่องนี้มันแพร่กระจาย เรียกว่าเป็นไวรัส หรือไวรอล (Viral) ไปทั่วแล้วก็มีคนไปเช็ค เดี๋ยวนี้การเช็คข้อมูลก็ทำได้เร็ว
    ที่เขาบอกว่าไม่จริงก็เพราะว่า โนวัคไม่เคยมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้เลย ไม่ว่าจะเป็นสื่อสำนักใด รวมทั้งสื่อที่เกี่ยวกับการกีฬา แม้กระทั่งสื่อในเซอร์เบียก็ไม่มีการพูดถึงเหตุการณ์นี้เลย ทั้ง ๆ ที่มันน่าจะเป็นเรื่องที่มีการรายงานข่าว
    และที่สำคัญก็คือว่า เช็คที่โรงเรียนเก่าของโนวัคแล้วปรากฏว่าไม่มีภารโรงที่ชื่อจอห์น และที่จริงคำว่า จอห์น ก็เป็นคำที่คนเซอร์เบียไม่ค่อยมีชื่อนี้อยู่แล้ว ชื่อมันไม่ค่อยเป็นเซอร์เบียเลย เป็นอเมริกัน เป็นอังกฤษมากกว่า แต่ว่าใช้ชื่อจอห์นเพราะว่าคนจำง่าย ถ้าใช้ชื่อ Djokovic จำยาก หรือชื่อโนวัคก็ยังจำยาก เอาจอห์นไปเลยจะได้จำง่าย
    ก็สรุปว่าเป็นข่าวเท็จ เป็นเรื่องแต่งขึ้นมา แต่ถึงแม้เป็นเรื่องแต่ง มันก็ไม่ได้ลดทอนสาระสำคัญของเรื่องนี้ สาระสำคัญของเรื่องนี้ก็คือว่า ให้เราเห็นความสำคัญของคนเล็กคนน้อย แม้เป็นภารโรง คเขาก็สำคัญ และไม่ว่าเราจะประสบความสำเร็จ ยิ่งใหญ่ เป็นนักกีฬาชื่อดัง เป็นเศรษฐี เป็น CEO ร่ำรวยเพียงใด ก็อย่าลืมคนเล็กคนน้อยเหล่านี้ อันนี้คือสาระสำคัญที่มีความหมายกับคนที่อ่านหรือคนรับรู้มากกว่าแม้มันจะเป็นเรื่องแต่ง
    สิ่งที่สอนใจเรา สิ่งที่ให้ความประทับใจกับเรานี่ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องจริงก็ได้ เรื่องแต่งนี่มันสามารถจะสอนอะไรเราได้มากมาย อย่างนิทานอีสปนี่ก็เรื่องแต่งทั้งนั้นแหละ นกหรือหนูพูดกับสิงโตได้ คนพูดกับแกะได้ มันไม่จริงหรอกแต่ว่ามันก็ให้อะไรดี ๆ กับเราเยอะ
    สมัยอาตมาเป็นเด็กนักเรียน เคยประทับใจนิทานเรื่องหนึ่งจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว เค้าโครงเรื่องยังจำไม่ได้เลย แต่จำเหตุการณ์หนึ่งได้ พระเอกแกมีแหวนที่ได้รับเป็นมรดกตกทอด เป็นแหวนของบรรพบุรุษที่โบร่ำโบราณ แล้วก็คงมีค่ามีราคาเพราะมีคนอยากจะได้อยากจะซื้อ แต่แกไม่ขาย
    คนที่อยากได้ก็คงอยากจะเอาแหวนนี้ไปหาตามหาลายแทงกระมัง ด้วยความอยากได้มากก็เลยออกอุบายไปเป็นคนที่กำลังหิวน้ำ หิวโซในทะเลทราย เพราะรู้ว่าพระเอกกำลังจะเดินทางข้ามทะเลทราย ขี่อูฐข้ามทะเลทราย ผู้ร้ายก็ปลอมมาเป็นคนที่กำลังหิวน้ำ เรียกว่ากำลังโซ โทรมเลย กำลังจะตายอยู่แล้ว
    พอพระเอกเห็นก็ลงมาช่วยแล้วก็ให้น้ำ พอเผลอ ผู้ร้ายก็เอามีดจี้แล้วก็บังคับให้พระเอกสละแหวนประจำตระกูล แกก็ยอมให้ แต่ก่อนที่โจรจะเอาอูฐของแกไป แกบอกว่าขอร้องอย่างหนึ่งได้ไหม เมื่อกลับไปถึงเมืองอย่าไปคุยโอ้อวดว่าได้แหวนนี้ด้วยวิธีใด เพราะว่าถ้าทำอย่างนั้นต่อไปเวลาคนเขาเดินทางข้ามทะเลทรายเจอคนหิวโซ คนหิวน้ำ คนที่ลำบาก เขาจะไม่กล้าช่วยคนที่ทุกข์ยากเหล่านั้น เขากลัวว่าจะเป็นผู้ร้าย สมัยนี้เราเรียกว่ามิจฉาชีพ มาหลอกเอาเงินหรือปล้นเอาทรัพย์ไป ขอร้อง อย่าไปเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
    อาตมาก็ประทับใจ โอ้โห พระเอกแม้จะสูญเสียของมีค่าแต่ไม่ได้นึกถึงตัวเองเลย นึกถึงคนอื่น นึกถึงว่าถ้าเกิดมีคนเดือดร้อนจริง ๆ พลัดหลงกลางทะเลทรายแล้วกำลังจะตาย แล้วมีคนบังเอิญผ่านมาพอดี ถ้าเขาคิดว่าไอ้นี่เป็นอุบายของมิจฉาชีพ เขาก็จะปล่อยให้คนที่พลัดหลงอยู่ในทะเลทรายนี้ตาย แทนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ
    เรื่องนี้มันสอนใจเราได้ดีว่า เราควรจะคิดถึงคนอื่น อย่าไปคิดถึงตัวเองให้มากนัก แล้วมันก็สอนใจว่า เวลามีมิจฉาชีพแกล้งทำเป็นรถเสียกลางทาง หรือว่าเกิดอุบัติเหตุ แล้วพอคนไปช่วยด้วยเจตนาดี มิจฉาชีพถือโอกาสปล้นเอาทรัพย์เลย บางทีเอารถยนต์ไปด้วย
    แล้วก็ไปอวดว่าฉันได้เงินมาเพราะวิธีนี้ แกล้งปลอมตัวเป็นคนประสบอุบัติเหตุ การที่ไปพูดแบบนี้มันทำให้คนอื่นเขาหวาดระแวง เวลาเจอคนประสบอุบัติเหตุจริง ๆ เลยไม่กล้าช่วย เพราะกลัวจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
    อันนี้ก็เป็นเรื่องที่มันมีความหมายกับคนในยุคนี้มากทีเดียว จะใช้อุบายอย่างไรก็ตามก็อย่าไปโอ้อวดว่าใช้วิธีนี้ในการหาทรัพย์มาได้ เพราะไม่อย่างนั้นคนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่จะเดือดร้อนไปด้วย
    มีเรื่องหนึ่งที่อาตมาประทับใจ เป็นเรื่องแต่งเหมือนกัน เป็นเรื่องของบาทหลวงองค์หนึ่ง แก่แล้ว กลางดึก คืนหนึ่งก็ไปเจอคนหิวโซอยู่ที่หน้าโบสถ์ เนื้อตัวมอมแมม ผอม หนวดเคราก็เยอะ โทรมมาก แล้วคนนั้นก็หิว ทั้งหิวทั้งหนาวเพราะว่าฝนเพิ่งตก อันนี้มันในฝรั่งเศสเมื่อ 200 ปีที่แล้ว
    บาทหลวงหรือหลวงพ่อก็เลยให้ชายจรจัดคนนั้นเข้ามาในโบสถ์ แล้วก็หาอาหารมาให้อย่างดี แล้วก็เอาเสื้อผ้ามาให้ด้วย ดูแลจนอิ่มหนำสำราญ แล้วก็ให้พักในโบสถ์นั่นแหละ จัดที่นอนหมอนเตียงให้ ตื่นเช้าขึ้นมาพบว่าจานที่เป็นเงินที่ญาติโยมถวายให้กับโบสถ์ หายไปสองจาน
    ตอนบ่าย ๆ ปรากฏว่าตำรวจลากตัวชายจรจัดคนนี้มา บอกว่าจับได้เพราะว่าสงสัยว่าจะขโมยจานเงินนี่จากโบสถ์นี้ เลยนำตัวมาให้หลวงพ่อ เพราะว่าสารรูปแบบนี้ไม่มีทางที่จะมีของมีค่าแบบนี้ได้
    หลวงพ่อแทนที่จะโกรธที่อุตส่าห์เลี้ยงดูอย่างดี แล้วก็มาขโมยเอาของในวัดไป กลับบอกว่าเปล่า เขาไม่ได้ขโมย หลวงพ่อให้เขาไปเอง ดีแล้วที่ตำรวจพาเขากลับมาเพราะเขาลืมเอาเชิงเทียนอีก 2 อันไปด้วย ว่าแล้วก็เอาเชิงเทียนที่ทำด้วยเงินมอบให้กับชายจรจัดคนนั้น ซึ่งจริง ๆ ก็คือโจรนั่นแหละ
    ตำรวจก็พอรู้ว่าหรือพอเข้าใจว่าโจรไม่ได้ขโมยเอาสมบัติของวัดไป แต่ว่าหลวงพ่อให้ ก็เลยปล่อยตัว ปรากฏว่าความเมตตาของหลวงพ่อทำให้ชายคนนั้น ปรากฏว่าเปลี่ยนพฤติกรรมเลย กลายเป็นคนดี เลิกลักเล็กขโมยน้อย พยายามทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แล้วตอนหลังก็ช่วยคนอื่นที่เดือดร้อนด้วย แม้กระทั่งตัวเองจะเดือดร้อนอย่างไรก็ยอม เพราะว่าประทับใจที่หลวงพ่อเขาได้เคยทำดีกับตัวเอง
    อันนี้เรียกว่าใช้ความดีชนะความชั่ว ก็เป็นเรื่องราวในหนังสือ เรื่อง เลมีเซราบล์ (Les Misérables) มีคนแปลว่า เหยื่ออธรรม เป็นหนังที่มีชื่อมาก ชายจรจัดคนนั้นก็คือ ฌ็อง วัลฌ็อง ซึ่งก็เป็นตัวเอกของ เลมีเซราบล์ (Les Misérables) อันนี้เป็นเรื่องที่อาตมาอ่านแล้วก็ประทับใจตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มันก็เป็นเรื่องแต่งแต่ว่ามันก็กินใจคนอ่านหลายคน เพราะฉะนั้นถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องแต่งแต่ว่าก็ไม่ใช่จะไม่มีความสำคัญ
    อย่างไรก็ตามเรื่องโนวัค ในเมื่อเป็นเรื่องที่กุขึ้นมา ก็ควรจะแจ้งให้คนอื่นเขารู้ว่านี่เป็นเรื่องแต่งขึ้นมา หรือมิฉะนั้นก็เอาชื่อของนักกีฬาคนอื่นขึ้นมาแทน หรือว่าแต่ง สร้างตัวละครขึ้นมาเป็นนักกีฬาชื่อดัง แล้วกลับไปโรงเรียนเก่า คือถ้าหากว่าแยกแยะให้ถูกว่าอันไหนเป็นเรื่องจริง อันไหนเป็นเรื่องเท็จ มันก็จะดี
    เพราะว่าถึงแม้เป็นเรื่องเท็จ เป็นเรื่องแต่ง สิ่งที่เล่ามานี่มันก็มีความสำคัญ มันก็มีความประทับใจให้กับคนอ่านได้เหมือนกัน
    อันนี้เรื่องนี้ก็สอนให้รู้ว่า ตอนนี้เรื่องที่แพร่หลายกันเป็นเรื่องแต่งเรื่องกุขึ้นมาก็เยอะ Fake news ก็มาก เพราะฉะนั้นเราต้องระมัดระวัง อย่าเผลอไป บางทีก็เห็นภาพ อย่างที่เคยเล่าช้างอุ้มลูกสิงโตพาข้ามทะเลทราย เดินเคียงข้างกับแม่สิงโตในแอฟริกา คนชอบมากเลย เป็นภาพดีเด่น ปรากฏว่าเป็นภาพแต่งขึ้นมา
    เดี๋ยวนี้มันมีการเติมแต่งแบบนี้เยอะมาก เพราะฉะนั้นต้องระมัดระวัง รู้จักแยกแยะให้ถูกว่า อันไหนจริงอันไหนเท็จ และที่สำคัญคือว่ารู้จักหาประโยชน์จากเรื่องที่เราได้อ่าน ข่าวที่เราเห็นด้วย.

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service