PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
  • คิดอย่างไรก่อนกินอาหารเพื่อสุขภาพ
คิดอย่างไรก่อนกินอาหารเพื่อสุขภาพ รูปภาพ 1
  • Title
    คิดอย่างไรก่อนกินอาหารเพื่อสุขภาพ
  • เสียง
  • 13589 คิดอย่างไรก่อนกินอาหารเพื่อสุขภาพ /aj-visalo/2025-03-28-09-27-10.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันศุกร์, 28 มีนาคม 2568
ชุด
ธรรมะสั้นๆ ก่อนอาหารเช้า 2568
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต แสดงธรรมก่อนฉันเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2568
    เวลาเรากินอาหารไม่ว่ามื้อใด สิ่งหนึ่งที่เราควรเตือนอยู่เสมอคือ การกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือเป็นอาหารสุขภาพ ถ้าเราทำได้มันเป็นประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม
    ประโยชน์ทางโลกคือว่า สุขภาพดี โรคภัยไข้เจ็บรบกวนน้อย สิ้นเปลืองเงินทองน้อยลง เพราะว่าไม่ต้องไปหาหมอ กินยา และอาจจะประหยัดด้วย เพราะว่าของที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมักจะไม่แพง อันนี้คือประโยชน์ทางโลก
    ประโยชน์ทางธรรมคือว่า มันช่วยทำให้จิตใจเราเข้มแข็ง ไม่พ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส กิเลสก็อยากกินของอร่อย อยากกินของที่ถูกปาก ฉะนั้น ถ้าเรากินอาหารที่เป็นประโยชน์มากกว่าความเอร็ดอร่อยก็ช่วยทำให้จิตใจเราเข้มแข็งขึ้น และไม่หลงตกเป็นเหยื่อของกิเลส ซึ่งมักจะชักนำเราไปในทางที่ก่อโทษหรือว่าเกิดความทุกข์
    อันนี้เวลาเรากินอาหารสุขภาพ หรือตั้งใจจะกินอาหารสุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วมักจะไปจดจ่อใส่ใจกับอาหารที่ไม่ควรกิน เช่น อาหารที่มีน้ำตาลเยอะ มีไขมันมาก ตั้งใจว่าจะไม่กินอาหารที่หวาน เค็ม หรือว่ามีเนื้อสัตว์
    ความคิดแบบนี้ก็ดี แต่มีคนเขาแนะนำว่าอย่าไปจดจ่อหรือใส่ใจกับการไม่กินอาหารอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะว่าถ้าเราไปจดจ่อใส่ใจมากกับอาหารที่ไม่ควรกิน จะทำให้จิตใจเราไปหมกมุ่นกับอาหารพวกนี้มากเกินไป และพอใจเราหมกมุ่นแล้วจะมีผลย้อนกลับมา ทํานองว่ายิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ
    เวลาเราห้ามจิตไม่ให้ทำอะไรมันก็จะยิ่งอยากจะทำสิ่งนั้น อย่างเช่น เขามีการทดลองว่าให้คนแต่ละคนนั่งอยู่ในห้องคนเดียว ทำอะไรก็ได้ แต่ว่าห้ามคิดถึงหมีขาว ถ้าคิดถึงหมีขาวเมื่อไรให้กดกริ่ง ปรากฏว่าให้คำสั่งไปไม่กี่นาทีเสียงกริ่งดังระงมเลย เพราะว่าพอห้ามคิดถึงหมีขาว ใจก็อยากคิดขึ้นมา
    ธรรมชาติของใจเราเป็นอย่างนั้น ยิ่งห้ามก็เหมือนกับยิ่งยุ ห้ามใจตัวเองว่าจะไม่กินนั่นไม่กินนี่ก็จะหมกมุ่นกับสิ่งที่ห้าม และทำให้อยากกินขึ้นมา เพราะว่าสิ่งที่ห้ามก็เป็นสิ่งที่ชอบอยู่แล้ว พอห้ามกินก็ยิ่งนึกถึงมันบ่อย ๆ พอนึกถึงมันบ่อย ๆ ก็อยากจะกินขึ้นมา
    อีกอย่างหนึ่งคือว่า พอตั้งใจว่าจะไม่กินนั่นไม่กินนี่ พอเห็นมันขึ้นมาก็เกิดความเครียดแล้ว ด้วยการต่อสู้ขัดแย้งภายใน ยังไม่ทันได้กินเลยก็เครียดแล้ว เขาบอกว่าเวลาเรากินอาหาร ถ้าเริ่มด้วยความเครียดก็ไม่ค่อยดี แล้วเกิดเผลอกินเข้าไปก็จะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ
    เขาพบว่าจะดีกว่าถ้าหากว่าเปลี่ยนจุดสนใจ จากการไปมุ่งมั่นว่าจะไม่กินนั่นไม่กินนี่ ก็มาให้ความสำคัญ มาให้ความสนใจกับสิ่งที่ควรกินมากกว่า สิ่งที่ควรกินก็เช่น อาหารที่มีเส้นใย ผัก หรือว่าอาหารที่มีโปรตีนสูง หรือว่าอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
    พอเราไปให้ความสนใจกับอาหารที่ควรกินก็ทำให้ความเครียด ความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการไป สนใจอย่างอื่นหรือสนใจอาหารที่ตรงข้ามกันก็น้อยลง และหลายคนพบว่าพอเปลี่ยนจุดสนใจจากอาหารที่ไม่ควรกินมาเป็นอาหารที่ควรกินแล้วสุขภาพก็ดีขึ้น จิตใจก็เครียดน้อยลง
    อันนี้เป็นข้อแนะนำที่น่าสนใจ เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนมุมมองหรือเปลี่ยนจุดสนใจ จะว่าไปก็เหมือนกับว่าเปลี่ยนจากการมองในมุมลบมาเป็นการมองในแง่บวก แทนที่จะไปสนใจอาหารที่ไม่ควรกินก็มาสนใจอาหารที่ควรกินแทน
    อันนี้เป็นวิธีง่าย ๆ สำหรับคนที่ต้องการรักษาสุขภาพด้วยการกินอาหารสุขภาพ
    ก็เหมือนการปฏิบัติธรรม การเจริญสติ เวลาตั้งใจว่าจะไม่คิดฟุ้งซ่านก็ยิ่งคิดฟุ้งซ่านเข้าไปใหญ่ และหลายคนก็พยายามไปบังคับจิตไม่ให้คิด ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ ยิ่งคิดเข้าไปใหญ่ แต่พอปล่อยให้มันคิด มันก็คิดน้อยลง
    เพราะฉะนั้น เวลาเราเจริญสติ เขาจึงสอนว่า มีอารมณ์ใด มีความคิดใดเกิดขึ้นก็ให้แค่รู้เฉย ๆ ไม่ต้องไปผลักไสไล่ส่งมัน เพียงแต่ไม่ต้องไปไหลตามมันก็พอแล้ว มีความโกรธเกิดขึ้น มีความฟุ้งเกิดขึ้นก็แค่ดูมัน รู้มันเฉย ๆ
    แต่ถ้าเกิดว่าตั้งใจตั้งแต่แรกว่าเราจะไม่คิด เราจะไม่ฟุ้ง เราจะฟุ้งให้น้อยลง มีความโกรธเราจะห้ามความโกรธ แบบนี้ยิ่งทำให้มันยิ่งเกิดความคิดฟุ้งเข้าไปใหญ่ หรือว่าเป็นการเติมอาหาร ต่ออายุให้กับความโกรธมากเข้าไปใหญ่
    ก็ใช้หลักการเดียวกันคือ ไม่ห้าม ไม่จดจ่อในสิ่งที่ไม่ดี แต่จะให้ดีก็มาจดจ่อสิ่งที่ดีแทน เช่น เวลาเราเจริญสติ แทนที่เราจะบอกว่า จะไม่คิด ไม่ฟุ้ง เราก็มาย้ำเตือนว่า ฟุ้งก็รู้ หลงก็รู้ กลับมารู้สึกตัวอยู่บ่อย ๆ แทนที่จะเน้นการที่จิตไม่ฟุ้งก็มาเป็นว่า ให้มีความรู้สึกตัวบ่อย ๆ พอเราเตือนใจแบบนี้บ่อย ๆ ก็จะกลับมารู้ตัวได้เร็วขึ้น
    มันเรื่องเดียวกัน เรื่องการกินอาหารสุขภาพ กับ การรักษาใจ เราเพียงแต่ว่าเปลี่ยนจุดสนใจ จาก สิ่งที่เป็นลบ มาเป็น สิ่งที่เป็นบวก จาก สิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ควรกิน มาเป็น สิ่งที่ควรกิน ควรทำ ก็ทำให้สิ่งที่เราตั้งใจประสบผลได้อย่างที่คิด.

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service