PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
  • แก้ซึมเศร้าด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม
แก้ซึมเศร้าด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม รูปภาพ 1
  • Title
    แก้ซึมเศร้าด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม
  • เสียง
  • 11228 แก้ซึมเศร้าด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม /aj-visalo/2022-11-02-15-29-38.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 02 พฤศจิกายน 2565
ชุด
ธรรมะสั้นๆ ก่อนอาหารเช้า 2565
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต แสดงธรรมก่อนฉันเช้าวันที่ 26 ตุลาคม 2565
     
         เดี๋ยวนี้ยาชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมาก อาจจะรองจากยาแก้ปวด หรือยานอนหลับ ก็คือยาต้านโรคซึมเศร้า เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะ
         ตอนที่มียาต้านซึมเศร้าออกวางขายเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้วนี่ คนดีใจกันมากเลย เพราะว่าคนที่ทุกข์เพราะโรคนี้เยอะมาก แล้วอาการก็หนักมาก ทรมาน หลายคนกินแล้วก็รู้สึกดีขึ้น
         ยาที่ว่านี่ไปทำหน้าที่ควบคุม หรือว่าปรับการดูดซึมของสารชนิดหนึ่งชื่อว่าเซโรโทนิน ซึ่งมันช่วยทำให้เกิดความสุข เกิดความสบาย ถ้าสารตัวนี้มีน้อยจะทำให้คนก็มีอาการหดหู่ซึมเศร้าได้ง่าย
         แต่ตอนนี้เขาพบแล้วว่า ยาประเภทนี้มีโทษมากกว่าคุณ เพิ่งมาค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้แหละ หลังจากที่คนใช้ยาชนิดนี้มาสามสิบกว่าปี แล้วก็ใช้กันทั่วโลก คนผลิตก็ได้เงินเยอะมากมาย
         เขาพบว่าในแง่ประโยชน์ ถ้าเทียบกับยาหลอก ยาต้านโรคซึมเศร้ามีประโยชน์แค่กับผู้ป่วยแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ คือเขาทดลองเปรียบเทียบกับคนที่กินยาหลอก โดยไม่ให้คนไข้รู้ว่าเป็นยาหลอก แล้วก็คิดว่าเป็นยาต้านซึมเศร้า พอกินแล้ว หลายคนก็รู้สึกดีขึ้น
         ขณะที่ยาต้านซึมเศร้าตัวจริงๆ ก็มีประสิทธิภาพไม่มากไปกว่ายาหลอกเท่าไหร่เลย แล้วก็มีประโยชน์กับเฉพาะคนป่วยสิบห้าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งก็หมายถึงคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ารุนแรงแค่ 15 เปอร์เซ็นต์เองนะ ในขณะที่โทษมันนี่แรงมากนะเพราะกินไปนานๆ ก็ อาจจะเกิดโรคหัวใจ อาจจะมีอาการชักบ่อยๆ อาจมีอาการของหลอดเลือดสมองที่เขาเรียกว่าสโตรค หลอดเลือดอุดตันในสมอง พิการเลยก็มี หรืออย่างน้อยๆ ก็มีอาการตายด้าน อาการด้านชาทางอารมณ์ ไม่มีอารมณ์ความรู้สึก รวมทั้งอารมณ์ทางเพศด้วย แล้วถ้าเกิดว่า กำลังตั้งครรภ์อยู่ เด็กในท้องคลอดออกมาก็อาจจะมีความผิดปกติ
         ตอนนี้เขาก็พบแล้วว่า โทษนี้มากกว่าคุณ เพราะฉะนั้น ตอนนี้เขาก็เริ่มแนะนำกันแล้วว่า ถ้าหากว่าผู้ป่วยซึมเศร้าอาการไม่รุนแรงนี่อย่าไปให้ยาชนิดนี้ จะต้องให้โดยเฉพาะกับผู้ที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรงจริงๆ ชนิดที่เรียกว่าอาจจะฆ่าตัวตายได้
         แต่ถ้าคนซึมเศร้าแบบอ่อนๆ หรือปานกลางให้ไปนี้เกิดผลเสียนะ พอมันจะเกิดจากการติด พอติดแล้วก็เกิดผลข้างเคียงตามมามากมาย กว่าจะถอนยานี่ยากนะ บางคนใช้ยาตัวนี้มาเป็นสิบปี ทั้งที่อาการไม่รุนแรง แต่พอจะเลิกนี้ไม่ใช่ง่ายนะ ไม่ใช่ว่าเลิกทันที แล้วก็ ไม่ใช่แค่ใช้เวลาสองสามเดือนถึงจะเลิกได้ ต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะเลิกได้ แล้วก็ต้องให้หมอสั่งหมอแนะนำด้วย
         เพราะฉะนั้นตอนนี้เขาก็เริ่มที่จะแนะนำหมอว่า ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านี้มา ถ้าอาการไม่รุนแรงอย่าไปให้ยาตัวนี้ ซึ่งก็มีชื่อหลายชื่อ โปรแซคก็อันหนึ่ง มันมีหลายชื่อการค้านะเพราะว่ามันก็เหมือนแอสไพริน ก็มีชื่อต่างๆ กัน
         แล้วคราวนี้ถ้าเกิดอาการไม่รุนแรงทำอย่างไร ก็มีสิ่งอื่นที่ดีกว่าเช่น การออกกำลังกาย ออกกำลังกายนี้ก็ช่วยทำให้เคมีในสมองนี้มันดีขึ้น หรือว่าทำให้ใจนี้ไม่มาหมกมุ่นอยู่กับเรื่องร้ายๆ ในอดีต ที่เป็นเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้า หรือว่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น อย่างที่ ในอังกฤษตอนนี้เขาก็ใช้วิธีที่เรียกว่า โซเชียลเพสไครบิ้ง (Social prescribing) ก็คือให้ไปทำกิจกรรมเช่น เต้นรำบ้าง หรือว่าวาดรูปบ้าง ถักโครเชต์บ้าง ให้มีอะไรทำ ชนิดที่จิตจะได้มีสมาธิอยู่กับสิ่งนั้น จะได้ไม่ฟุ้งซ่าน วาดรูปก็ได้ หรือว่าแกะสลัก สำหรับคนที่ชอบทาง ด้านศิลปะ จัดดอกไม้ก็ช่วยได้เหมือนกัน เดี๋ยวนี้ก็ให้ไปทำ
         หมอนี่เวลาสั่งให้ไปทำนี่นับเป็นชั่วโมงเลยนะ ยี่สิบชั่วโมงสี่สิบชั่วโมง แล้วก็ทำให้ได้ตามนั้น ถึงค่อยมาหาหมอ ไม่ใช่ว่าแนะนำเฉยๆ แต่ว่าระบุจำนวนชั่วโมงด้วย แล้วพอไปทำนี้ก็ต้องมีคนเซ็นนะว่าได้ทำมาแล้วกี่ชั่วโมง พอครบยี่สิบชั่วโมงสี่สิบชั่วโมง ก็ค่อยมาหา หมอ แบบนี้ก็ทำให้คนไข้อาการดีขึ้นโดยที่ไม่ต้องพึ่งยา
         คนที่ล้า หรือเรียกว่าหมดไฟจนมีอาการคล้ายๆ กับซึมเศร้า ที่จริงก็แค่พักผ่อน หรือว่าหยุดงาน ลางานอย่าไปทำงานหนัก เพราะว่าบางทีมันไม่ใช่แค่ความเศร้า บางทีเกิดจากความเครียด พอหายเครียดอาการก็ดีขึ้น หรือบางแห่งบางที่นี่ก็ให้ไปใกล้ชิดกับธรรมชาติ  ให้ไปทำกิจกรรมเรียกว่า ป่าบำบัด ไปอยู่ในป่า ทำกิจกรรมในป่า วาดรูป นั่งสมาธิง่ายๆ เบาๆ หรือว่าเล่นโยคะ หรือว่าไปกอดต้นไม้ ญี่ปุ่นเขาเรียกว่าอาบป่า ปรากฏว่าคนไข้ก็มีอาการดีขึ้นโดยที่ไม่ต้องพึ่งยา
         แล้วก็วิธีหนึ่งที่คนมักจะแนะนำกัน หวังดีให้ไปทำสมาธิ อันนี้อาตมาก็ไม่แนะนำนะ เพราะว่าขืนไปนั่งสมาธิ หรือไปเจริญสตินี่มันกลับอาการหนัก เพราะว่าพอมันว่างๆ ไม่มีอะไรทำ จิตก็วกกลับมาสู่เรื่องเดิมๆ ปัญหาเดิมๆ ในอดีต เกิดความซึมเศร้า หรือว่าไปนึกถึงปัญหาในอนาคต เกิดอาการเครียด
         คนไม่เข้าใจก็ไปคิดว่าสมาธิภาวนานี้เป็นยาสารพัดนึก คนที่ไม่ชอบใช้ยาก็ไปแนะนำทำสมาธิ คนที่ไม่เห็นคุณค่าสมาธิก็แนะนำให้ไปใช้ยา อันนี้สุดโต่งสองทาง สำหรับการแก้ปัญหาซึมเศร้า ทางสายกลางคือว่าหาอะไรทำ ให้จิตได้จดจ่อจะได้ไม่ฟุ้งซ่านมาก แล้วมันก็มีผลต่อร่างกายด้วย
         แล้วในเวลาเราเจอใครที่เป็นโรคซึมเศร้า เดี๋ยวนี้เขาก็มีวิธีการอะไรที่ดีกว่าการใช้ยา แต่หมอในเมืองไทยนี้ก็ยังอดไม่ได้ เพราะว่ามันง่าย เจอคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าให้ยาไปเลย ตอนนี้ในเมืองนอกที่เขาระมัดระวังมากนะ เพราะยานี้มันมีโทษมากกว่าคุณอย่างที่ว่ามา

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service