แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
สมัยก่อนทางภาคกลาง มีเรือชนิดหนึ่งชื่อว่าเรือเข็ม เรือเข็มคือเรือพายชนิดหนึ่ง แต่ว่าเล็กมาก เรียวมากให้นึกถึงปลาเข็ม ปลาเข็มเป็นอย่างไร เรือก็เป็นอย่างนั้น ความกว้าง กว้างที่สุด 1 ศอก หรืออาจจะเล็กกว่านั้นก็ได้ พอที่คนจะนั่งหรือหย่อนก้นลงไปได้ แค่หย่อนก้นลงไปก็เรียกว่าเต็มกาบเรือแล้ว
เรือชนิดนี้เขามีไว้ให้พระพาย พระพายตอนไหน ตอนบิณฑบาต เพราะสมัยก่อนนี้ชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำในสวนตามริมคลอง พระสมัยก่อน เวลาบิณฑบาตหลายท่านต้องใช้เรือพาย พายไปตามลำคลองลำน้ำ โดยเฉพาะถ้าไม่มีคลื่นก็ใช้เรือเข็มนี้
ชาวบ้านเวลาถวาย ไม่ได้ใส่ถุงพลาสติกแต่ใส่ปิ่นโตหรือว่าหม้อเล็กๆ พระท่านก็เอาหม้อนั้นวางไว้เรียงเป็นแถวเลย ไม่ถึง 10 หม้อก็เต็มเรือแล้ว ในแง่นี้ก็ทำให้พระบิณฑบาตไปได้ไกลเพราะว่าเรือเล็กแล้วก็เร็ว เพราะว่าเบา แต่ว่าต้องอาศัยสมาธิและสติมากเลย เพราะว่าถ้าหากพายเรือแล้วเร่งรีบ ไม่มีสติไม่มีสมาธิหรือขาดสมาธิ เรือก็คว่ำได้
ถ้าเรือคว่ำ ญาติโยมก็จะตำหนิได้ว่า พระคุณเจ้า หลวงพี่ไม่มีสมาธิเลย เพราะฉะนั้น พระต้องฝึก ฝึกที่จะต้องใช้พายเรือเข็มให้คล่อง ต้องอาศัยสติ สมาธิ พระบางรูปฝึกมาตั้งแต่ก่อนบวชเลย พ่อแม่ต่อเรือเข็มให้ฝึกพายตั้งแต่ยังไม่ทันบวช เพื่อว่าพอบวช ก็สามารถพายเรือเข็มได้ทันที สามารถรับบิณฑบาตจากญาติโยมด้วยเรือเข็มได้
มองในแง่หนึ่ง เรือแบบนี้ก็พายลำบาก ไม่สะดวกเลย เพราะเรือลำเล็กมาก แต่ว่ามันก็เป็นวิธีฝึกสติฝึกสมาธิของพระที่ดีเลย พระนี่ถ้าพายเรือหรือไปรับบิณฑบาตแล้วเหม่อลอย เรือก็คว่ำเอาได้ง่าย เรียกว่าเป็นอุบายของคนโบราณที่ช่วยทำให้พระก็ดีเณรก็ดี มีสติมีสมาธิในชีวิตประจำวัน
ที่จริงสมัยก่อนมีสิ่งแวดล้อม อย่าว่าแต่พระเลย ญาติโยมที่ทำให้มีสติมีสมาธิ อย่างเช่น เรือนไม้ เรือนไทยปูด้วยไม้กระดาน ไม้กระดานถ้าเดินเร็วๆแรงๆก็เสียงดัง ใครที่เดินไม่เป็น เสียงจะดัง อย่าว่าแต่เรือนไม้เลย ศาลาของวัดเรา ไม่ว่าจะเป็นหอไตร หรือว่าศาลาไก่สมัยก่อน คนที่ไม่คุ้น คนจากในเมือง พอเดินขึ้นศาลา เสียงดังเลย เพราะว่าเขาทิ้งน้ำหนัก แล้วก็เดินเร็ว
แต่ว่าคนสมัยก่อนจะไม่ทำอย่างนั้นเขาจะเดินช้าๆ แล้วก็ไม่ทิ้งน้ำหนัก และที่สำคัญมีสติกับการเดิน เพราะฉะนั้น ไม้จะอ่อนอย่างไรก็ไม่มีเสียงดัง คนที่เติบโตในวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมแบบนี้ จะมีสติมีสมาธิได้ง่าย หรืออย่างสะพาน สะพานข้ามคลอง สะพานข้ามท้องร่อง ยังทันเคยเห็นสะพานข้ามท้องร่อง มันก็ไม่ใช่สะพาน มีแค่เป็นไม้ท่อนเล็กๆ ท่อนหนึ่ง บางทีก็เป็นไม้ไผ่
เวลาเดินก็เดินไต่ไปตามท่อนไม้หรือลำไผ่ จะเดินข้ามได้ก็ต้องมีสมาธิมีสติ ที่จริงว่า วัดเราสมัยก่อน สะพานก็ไม่ได้ดีแบบนี้หรอก เอาปลีกไม้มาต่อๆกัน คนจะเดินก็ต้องมีสติพอสมควร ซึ่งก็ดีเพราะว่า เมื่อจะมาวัดมาฝึกสติแล้วก็ควรจะมีสติตั้งแต่มาถึงหน้าวัดเลย สะพานที่สร้างไม่แน่นหนาแข็งแรง มันฝึกสติสมาธิให้กับเราได้มากเลย ทำให้เราระมัดระวัง
ก็เหมือนกับหมู่บ้านแถวนี้สมัยก่อน ถนนนั้นไม่ได้ดีเท่าไร ถนนดินถนนลูกรัง มีหลุมมีบ่อ เวลาขับรถก็ต้องระมัดระวัง ขับเร็วไม่ได้ แต่พอเปลี่ยนมาเป็นถนนมาตรฐาน ลาดยางเทปูน ขับรถได้สะดวก ปรากฏว่าสิ่งที่ตามมา คนไม่ค่อยมีสติเท่าไร คนไม่ระวัง ไม่ว่าจะเป็นรถกะบะ มอเตอร์ไซค์ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่าย สมัยนี้มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้เอื้อให้เกิดสมาธิ สติเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ใช้ชีวิตเร่งรีบและมีสิ่งเร้ามากมายที่ทำให้ใจลอยหมกมุ่นครุ่นคิดต่างๆ รวมทั้งเกิดอารมณ์นานาชนิด
เวลาสร้างบ้านจะเดินเหิน จะเดินพื้นเรือนก็ไม่ต้องมีสติเท่าไหร่ก็ได้ เพราะเทปูน เดินวิ่ง ทิ้งน้ำหนักมันก็ไม่มีเสียงดัง คนก็เลยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการมีสติสมาธิในระหว่างการเดิน รวมทั้งการใช้ชีวิตด้วย เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ สิ่งแวดล้อมไม่ได้ช่วยให้เรามีสติสมาธิมากขึ้น หรือมีความรู้สึกตัว
แต่เราก็รู้ว่าสติสมาธิความรู้สึกตัวนั้นสำคัญ เพราะฉะนั้น เราจะรักษาหรือประคอง หรือว่าสร้างสติสมาธิความรู้สึกตัวได้อย่างไรในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองชีวิตเร่งรีบ ก็คือ เราก็ต้องฝึกตัวเอง สิ่งแวดล้อมไม่ช่วย เราก็ต้องทำตัวของเราเอง
อย่างเช่นเสาร์อาทิตย์อยู่บ้านที่จริงเราก็อยู่บ้านตั้งแต่จันทร์ถึงอาทิตย์แล้วเพราะว่าทำงานที่บ้าน แต่ว่าวันอาทิตย์งานการน้อยลง เราก็ต้องลองฝึกลองทำอะไรช้าๆลงบ้าง เวลาเดินก็เดินช้าๆ แต่ไม่ต้องช้ามาก แค่เดินแบบไม่ต้องรีบ จะอาบน้ำจะถูฟันทำครัว ก็ลองลดสปีดลงบ้าง
หรือแม้กระทั่งกิน เราก็ทำให้ช้าลงบ้าง ไม่ใช่เพื่อช้าด้วยตัวมันเอง แต่เพื่อให้มีสติมีสมาธิ มันก็จะช่วยทำให้เรามีจิตที่พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตที่มันเร่งรีบ ที่มันกระตุ้นเร้า เพราะว่าชีวิตมันเร่งรีบเท่าไหร่ ยิ่งมีใช้ชีวิตให้ช้าลงบ้าง
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล แสดงธรรมก่อนฉันเช้าวันที่ 7 สิงหาคม 2564
สมัยก่อนทางภาคกลาง มีเรือชนิดหนึ่งชื่อว่าเรือเข็ม เรือเข็มคือเรือพายชนิดหนึ่ง แต่ว่าเล็กมาก เรียวมากให้นึกถึงปลาเข็ม ปลาเข็มเป็นอย่างไร เรือก็เป็นอย่างนั้น ความกว้าง กว้างที่สุด 1 ศอก หรืออาจจะเล็กกว่านั้นก็ได้ พอที่คนจะนั่งหรือหย่อนก้นลงไปได้ แค่หย่อนก้นลงไปก็เรียกว่าเต็มกาบเรือแล้ว
เรือชนิดนี้เขามีไว้ให้พระพาย พระพายตอนไหน ตอนบิณฑบาต เพราะสมัยก่อนนี้ชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำในสวนตามริมคลอง พระสมัยก่อน เวลาบิณฑบาตหลายท่านต้องใช้เรือพาย พายไปตามลำคลองลำน้ำ โดยเฉพาะถ้าไม่มีคลื่นก็ใช้เรือเข็มนี้
ชาวบ้านเวลาถวาย ไม่ได้ใส่ถุงพลาสติกแต่ใส่ปิ่นโตหรือว่าหม้อเล็กๆ พระท่านก็เอาหม้อนั้นวางไว้เรียงเป็นแถวเลย ไม่ถึง 10 หม้อก็เต็มเรือแล้ว ในแง่นี้ก็ทำให้พระบิณฑบาตไปได้ไกลเพราะว่าเรือเล็กแล้วก็เร็ว เพราะว่าเบา แต่ว่าต้องอาศัยสมาธิและสติมากเลย เพราะว่าถ้าหากพายเรือแล้วเร่งรีบ ไม่มีสติขาดสมาธิ เรือก็คว่ำได้
ถ้าเรือคว่ำ ญาติโยมก็จะตำหนิได้ว่า พระคุณเจ้า หลวงพี่ไม่มีสมาธิเลย เพราะฉะนั้น พระต้องฝึก ฝึกที่จะต้องใช้พายเรือเข็มให้คล่อง ต้องอาศัยสติ สมาธิ พระบางรูปฝึกมาตั้งแต่ก่อนบวชเลย พ่อแม่ต่อเรือเข็มให้ฝึกพายตั้งแต่ยังไม่ทันบวช เพื่อว่าพอบวช ก็สามารถพายเรือเข็มได้ทันที สามารถรับบิณฑบาตจากญาติโยมด้วยเรือเข็มได้
มองในแง่หนึ่ง เรือแบบนี้ก็พายลำบาก ไม่สะดวกเลย เพราะเรือลำเล็กมาก แต่ว่ามันก็เป็นวิธีฝึกสติฝึกสมาธิของพระที่ดีเลย พระนี่ถ้าพายเรือหรือไปรับบิณฑบาตแล้วเหม่อลอย เรือก็คว่ำเอาได้ง่าย เรียกว่าเป็นอุบายของคนโบราณที่ช่วยทำให้พระก็ดีเณรก็ดี มีสติมีสมาธิในชีวิตประจำวัน
ที่จริงสมัยก่อนมีสิ่งแวดล้อม อย่าว่าแต่พระเลย ญาติโยมที่ทำให้มีสติมีสมาธิ อย่างเช่น เรือนไม้ เรือนไทยปูด้วยไม้กระดาน ไม้กระดานถ้าเดินเร็วๆแรงๆก็เสียงดัง ใครที่เดินไม่เป็น เสียงจะดัง อย่าว่าแต่เรือนไม้เลย ศาลาของวัดเรา ไม่ว่าจะเป็นหอไตร หรือว่าศาลาไก่สมัยก่อน คนที่ไม่คุ้น คนจากในเมือง พอเดินขึ้นศาลา เสียงดังเลย เพราะว่าเขาทิ้งน้ำหนัก แล้วก็เดินเร็ว
แต่ว่าคนสมัยก่อนจะไม่ทำอย่างนั้นเขาจะเดินช้าๆ แล้วก็ไม่ทิ้งน้ำหนัก และที่สำคัญมีสติกับการเดิน เพราะฉะนั้น ไม้จะอ่อนอย่างไรก็ไม่มีเสียงดัง คนที่เติบโตในวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมแบบนี้ จะมีสติมีสมาธิได้ง่าย หรืออย่างสะพาน สะพานข้ามคลอง สะพานข้ามท้องร่อง ยังทันเห็นสะพานข้ามท้องร่อง มันก็ไม่ใช่สะพาน เป็นแค่ไม้ท่อนเล็กๆ ท่อนหนึ่ง บางทีก็เป็นไม้ไผ่ เวลาเดินก็เดินไต่ไปตามท่อนไม้หรือลำไผ่ จะเดินข้ามได้ก็ต้องมีสมาธิมีสติ
ที่จริง วัดเราสมัยก่อน สะพานก็ไม่ได้ดีแบบนี้ เป็นปลีกไม้ที่เอามาต่อๆกัน คนจะเดินก็ต้องมีสติพอสมควร ซึ่งก็ดี เพราะว่า เมื่อจะมาวัดมาฝึกสติแล้ว ก็ควรจะมีสติตั้งแต่มาถึงหน้าวัดเลย สะพานที่สร้างไม่แน่นหนาแข็งแรง มันฝึกสติสมาธิให้กับเราได้มาก ทำให้เราระมัดระวังมาก
ก็เหมือนกับหมู่บ้านแถวนี้สมัยก่อน ถนนไม่ได้ดีเท่าไร เป็นถนนดินถนนลูกรัง มีหลุมมีบ่อ เวลาขับรถก็ต้องระมัดระวัง ขับเร็วไม่ได้ แต่พอเปลี่ยนมาเป็นถนนมาตรฐาน ลาดยางเทปูน ขับรถได้สะดวก ปรากฏว่าสิ่งที่ตามมา คนไม่ค่อยมีสติเท่าไร ไม่ระวัง ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะ มอเตอร์ไซค์ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่าย
สมัยนี้มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้เอื้อให้เกิดสมาธิ สติเท่าไหร่ เพราะเป็นสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ใช้ชีวิตเร่งรีบและมีสิ่งเร้ามากมายที่ทำให้ใจลอยหมกมุ่นครุ่นคิดต่างๆ รวมทั้งเกิดอารมณ์นานาชนิด เวลาสร้างบ้านจะเดินเหิน จะเดินพื้นเรือนก็ไม่ต้องมีสติเท่าไหร่ก็ได้ เพราะเทปูน เดินวิ่งทิ้งน้ำหนักมันก็ไม่มีเสียงดัง คนก็เลยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการมีสติสมาธิในระหว่างการเดิน รวมทั้งการใช้ชีวิตด้วย
เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ สิ่งแวดล้อมไม่ได้ช่วยให้เรามีสติสมาธิมากขึ้น หรือมีความรู้สึกตัว แต่เราก็รู้ว่า สติ สมาธิ ความรู้สึกตัวนั้นสำคัญ เพราะฉะนั้น เราจะรักษา หรือประคอง หรือว่าสร้างสติสมาธิ ความรู้สึกตัวได้อย่างไรในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองที่ชีวิตเร่งรีบ ก็คือ เราก็ต้องฝึกตัวเอง สิ่งแวดล้อมไม่ช่วย เราก็ต้องทำตัวของเราเอง
อย่างเช่น เสาร์อาทิตย์อยู่บ้าน ที่จริงช่วงนี้ เราก็อยู่บ้านกันตั้งแต่จันทร์ถึงอาทิตย์แล้วเพราะว่าทำงานที่บ้าน แต่ว่าวันอาทิตย์งานการน้อยลง เราก็ต้องลองฝึกลองทำอะไรช้าๆลงบ้าง เวลาเดินก็เดินช้าๆ แต่ไม่ต้องช้ามาก แค่เดินแบบไม่ต้องรีบ จะอาบน้ำ จะถูฟัน ทำครัว ก็ลองลดสปีดลงบ้าง
หรือแม้กระทั่งกิน เราก็ทำให้ช้าลงบ้าง เพื่อให้มีสติมีสมาธิ มันจะช่วยทำให้เรามีจิตที่พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตที่มันเร่งรีบ ที่มันกระตุ้นเร้า เพราะว่าชีวิตยิ่งมันเร่งรีบเท่าไหร่ ยิ่งมีสิ่งเร้ามากเท่าไหร่ สติ สมาธิ ความรู้สึกตัวก็ยิ่งมีความสำคัญ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไหลไปตามสิ่งเร้า หรือว่าเป็นทุกข์เพราะสิ่งเร้า
ยิ่งถ้าหากว่าเราสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นตัวช่วยได้ เช่น ต้นไม้ร่มรื่นถ้ามีที่ มันก็จะช่วยกล่อมใจให้สงบ แต่ถ้าไม่มีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวช่วย เราก็ต้องฝึกของตัวเราเอง อย่างน้อยๆการทำอะไรให้ช้าลง เดินช้าลงบ้าง มันก็เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสติ และก็ทำความรู้สึกตัวให้เกิดขึ้น
- พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต แสดงธรรมก่อนฉันเช้าวันที่ 7 สิงหาคม 2564